หลังจากเข้ามาทดลองใช้ชีวิตในชุมชน Gotonow มาได้หนึ่งเดือนเต็ม ก็ถึงเวลาที่ผมพอจะมีข้อมูล นำไปเล่าถ่ายทอดให้เพื่อนร่วมงานใน ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทย์ม.อ. ฟัง
ผมเริ่มจากการติดตามงาน CoP ของภาควิชาที่ได้เคยประชุมกันมาแล้วว่า ปีนี้จะจับประเด็น การป้องกันอันตรายจากรังสีสำหรับผู้ป่วยของเรา ทั้งสามหน่วยงาน คือ รังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์
อีกส่วนหนึ่งก็คือ การแนะนำ Blog GotoKnow
โดยมีคุณเสรี หนึ่งในกรรมการ KM ของคณะ เป็นพี่เลี้ยง
ผมเริ่มต้นจากการบอกทุกคนว่า
เดิมผมเป็นคนอคติกับ webboard อย่างมาก เพราะการแสดงความคิดเห็นในนั้นเป็นชนิด จากมุมมืด คือไม่ต้องแสดงตัวตน ดังนั้นจึงสำ..าก อะไรออกมาก็ได้ โดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเห็นเหล่านั้น
แต่ชุมชนบน blog เปลี่ยนความคิดเห็นของผมโดยสิ้นเชิง เพราะทุกคนแสดงตัวอย่างเปิดเผย
อาจจะเรียกว่า เปลือยตนเองสู่สาธารณะด้วยซ้ำไป ประโยคนี้ ตอนนั้นผมไม่ได้พูดหรอกครับ แต่ถ้าได้เจอ เหตุการณ์ blog tag ก่อนหน้านั้น โดยเฉพาะกรณีของหนุ่มเหนืออย่างอาจารย์เอก และสาวอิสานอย่าง ดร. Ka-Poom แล้ว ผมคงไม่พลาดประโยคนี้แน่
ผมทึกทักเอาเองว่า คนที่อยู่ในชุมชน blog มักจะเป็นคนที่เปิดใจ เปิดเผย และไม่หวงวิชา ยินดีที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งนั่นคือ โอกาสที่เราจะได้เรียนรู้ในวงกว้างมากขึ้น สมกับกลยุทธหนึ่งของภาควิชาที่อยากจะมีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอก
ผมยกตัวอย่างการทำ CoP อย่าง Pain = 5th vital sign ของท่านอาจารย์หมอสมบูรณ์
โอกาสที่เราจะได้ใกล้ชิดและเรียนรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิทางรังสีเทคนิค อย่าง อาจารย์มาลินี
โอกาสที่จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ หน่วยงานรังสีอื่นๆ เช่น กลุ่มของโรงพยาบาลบำราศนราดูร
ผมตั้งใจจะเว้นไม่พูดถึง เพื่อนบ้านของเรา ภาควิชาพยาธิ ที่ประสบความสำเร็จในเรื่องนี้เป็นอย่างสูง เพราะตั้งใจว่าจะต้องเชิญแกนนำคนใดคนหนึ่งมาเล่าประสบการณ์ให้เราฟัง แต่ก็อดพูดถึงด้วยความชื่นชมไม่ได้ และยังไงก็ต้องเชิญมา แต่อยากให้เป็นอย่าง peer assist นั่นคือ หลังจากเราได้มีประสบการณ์ของเราเองบ้างแล้ว
ผมยังได้พูดถึงข้อเสียอย่างหนึ่งของ Gotoknow คือ เสพย์ติด และดูดเวลาของเราไปอย่างไม่รู้ตัว แต่ผมก็ถอนตัวเองไม่ขึ้นเสียแล้ว นอกจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการทำงานแล้ว ที่นี่ยังเป็นที่ๆเราได้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้ชีวิต บันทึกเรื่องราวส่วนตัว ซึ่งผมก็บอกว่า ผมเลิกเขียน diary ของตนเอง แล้วมาพิมพ์ใส่ GotoKnow แทน
ในที่สุด เราก็ตกลงกันว่า อยากจะเชิญอาจารย์ จันทวรรณ น้อยวัน หรือไม่ก็ เพื่อนบ้านของเราจากภาคพยาธิ มาคุยอะไรให้เราฟังในเดือนมีนาคม
อาจารย์ครับ
หากเราเชื่อมั่นในการแลกเปลี่ยนที่เป็นธรรมชาติ และเทคโนโลยีที่น่าตื่นเต้นมีชีวิต จะไปช่วยสร้างบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ "ภาควิชารังสี" ให้มีชีวิตชีวาขึ้น ผมเชียร์เต็มที่ครับ
ผมคิดว่า "best practice" มีให้เห็นที่ มอ. คือ "ภาควิชาพยาธิ" ของ มอ. ครับ เป็นโอกาสอันดีที่ลงตัวที่สุด
หากเรื่องของ "บุคคลเรียนรู้" ผมบอกอาจารย์จากประสบการณ์นะครับ หากไม่เข้าข้างตนเอง เมื่อผมก้าวมาในโลกเสมือนที่มีผู้คนหลากหลายความคิด ความรู้ แต่ใจหนึ่งเดียวเรื่องการแบ่งปัน เอื้ออาทร เป็นชุมชนที่มีเรื่องเล่าที่มีชีวิตชีวา ...ชีวิตผมเปลี่ยนไปมากเลยครับ ผมพัฒนาตนเองขึ้นอย่างไม่รู้ตัว ที่วิเศษไปกว่านั้น คือ มิตรภาพที่อบอุ่น จากผู้ที่ไม่เคยเห็นกันมาก่อน...ที่ไหนจะมีแบบนี้
ตามที่อาจารย์เขียนและบรรยากาศในการเริ่มต้น ผมรู้สึกชื่นชมอาจารย์มากครับ ผมคิดว่าแต่นี้ต่อไป ต้นกล้าใหม่ ที่ มอ.จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ตามการดูแล เอาใจใส่ของอาจารย์และคนในภาควิชาครับ
อาจารย์และภาควิชารังสีวิทยา ไม่โดดเดี่ยวครับ
ให้กำลังใจเต็มที่.....
จริงค่ะ G2K ดูดเวลาไปเยอะเลย
ปกติ เวลานี้ ต้องไปดูแลเวบ
แต่ตอนนี้ทิ้งเวบส่วนตัวไปเลย สมาชิกยังเข้าใจว่าเวบมาสเตอร์กำลังป่วยอยู่
หารู้ไม่ว่า แต่ความจริงกำลังมาเพลินอยู่ที่นี่ 555
ปล. อจ.คะ ไม่ชวนคุณรุ่งทิพย์มาเขียนบล็อกบ้างล่ะคะ ? (แบบว่าเพื่อนคนนี้คิดถึงอย่างแรง ^^)
^___^
อาจารย์จันทวรรณครับ งั้นผมถือว่าอาจารย์ตกลงแล้วนะครับ ขอบคุณครับ จะทำหนังสือเชิญไปครับ คงจะขอให้พูดร่วมกับ..เพื่อน จากพยาธิครับ ตั้งใจอย่างนั้นอยู่แล้ว
อาจารย์จตุพรครับ ขอบคุณครับสำหรับกำลังใจ
คุณ k-jira ครับ ขอบคุณที่แวะมา ส่วนคุณรุ่งทิพย์นั้น ผมชวนแล้วครับ เขาก็มาฟัง แต่เนื่องจากเขา......หนักมาก ผมหมายถึง..ภาระ นะครับ ทั้งงานในหน่วยและปริญญาโทที่จะต้องเรียน แต่ก็ยังมั่นใจในความหนัก..แน่นของศักยภาพเขาครับ
คุณเอื้อ หมายถึงอาจารย์เต็ม start เครื่องแบบนี้ ไปโลดแน่ ส่วนหนึ่ง เพราะอาจารย์เป็นผู้ถ่ายทอดได้ดีที่ดี เป็นทุนอยู่แล้ว
เคยคิดว่า g2k ดุดเวลาเราไปเช่นกันค่ะ แต่ตอนนี้ ไม่คิดเช่นนั้น คิดว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เป็นส่วนหนึ่งของงาน เวลาของ g2k ไม่ใช่เวลานอกที่จะต้องหาให้ อยู่ที่ให้ความสำคัญและจัดเวลา ดังที่ใครบางคนพูดถึงไม่นานนี้ว่า เวลานี้เป็นของเรา เราเป็นผู้กำหนดเวลา
จริงๆผมจะกลับมาเขียนความในใจเรื่อง "ดูดเวลา" จริงหรือ
แต่พอเห็นข้อคิดเห็นของ อ.หมอ.ปารมี แล้ว ผมขอสนับสนุนครับ...ตรงใจผมจัง
ครับ
ผมว่าผมเริ่มปรับตัวได้บ้างแล้วครับ แต่ตอนช่วงแรกนี้ ไม่เป็นอันกินอันนอนเลย แล้วผมก็ใช้เป็นที่หัดพิมพ์ดีดด้วย เลยช้า
ขอบคุณครับ
ไม่โดเดียวค่ะ อาจารย์ ดิฉัยเป็นรังสีเทคนิคคนหนึ่งที่ใช้ CoP นี้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนและอาจารย์
ผมนึกภาพ "คลำดีด" ได้ครับ
แต่ฟังดู"เสียวๆ" นะครับ
ไม่ได้มาดูดอะไรหรอกนะคะ...มาตามรอยที่อาจารย์ไปทิ้งไว้ค่ะ...ทุกวันนี้กะปุ๋มก็จิ้มดี...บันทึกใน GotoKnow ค่ะ...แต่เป็นแบบจิ้มเร็วๆ กว่าปกติน่ะค่ะ...
(^______^)
ปล.ทุกอย่างทั้งสิ้นอยู่ที่ตัวเราค่ะ..ที่เราจะสามารถจัดการตนเองได้ดีแค่ไหน...ซึ่งแม้แต่ในตัวเราก็ยังไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวเลยค่ะ...
มีทั้ง "คลำ ดีด ดูด จิ้ม" อะไรก็ไม่รู้!!
พี่เต็มทำเป็น knowledge sharing ของคณะแพทย์ไปเลยดีไหมครับ หรือว่ายังไม่กว้างขวางขนาดนั้น ยังไงๆตอนมี session นี้ แอบกระซิบหรือ post ลง community นี้หน่อย จะไปร่วมฟังด้วย
สำหรับผมแล้ว Blog ไม่ "เสียเวลา" เลยแม้ว่าเราได้ "ใช้เวลา" ไปเป็นสัดส่วนที่เยอะพอประมาณ เนื่องจากคำว่า "เสียเวลา" นั้น ก็เหมือนคำว่า "ไม่มีเวลา" คือเป็น สัมพัทธ์
"สัมพัทธ์กับอะไร?" ก็สัมพัทธ์กับลำดับความสำคัญ ความคาดหวังของแต่ละคน ดังนั้น้เวลาเราบอกว่าเรื่องอะไรที่เราไม่ทำนั้น แปลตรงๆก็คือ "ยังไม่ถึงลำดับความสำคัญสูงสุด ณ เวลานั้นๆ"
ที่น่าสนใจคือกิจวัตรประจำวันที่ "สำคัญนักหนา" นั้น บางทีมันไม่ได้สำคัญอย่างที่เรา (แอบ) ตั้งไว้ แต่เป็นการทำเพื่ออื่นๆมากกว่า เช่น แต่งหน้าตา ทำผม อาบน้ำ แคะขี้มูก เกา ฯลฯ ตัดออกหมดปรากฏว่ามีเวลาเพิ่มขึ้นเป็นชั่วโมงก็มีนะครับ
ดังนั้นที่พี่เชิญมาใน Blog สำหรับผมก็ยังอยู่ใน category "The Best thing (yet) ever happens to me" rating ยังไม่ตกครับ ยังคงเสพต่อไปเรื่อยๆ
อาจารย์ kanitta ครับ
อาจารย์ เอก ครับ
อาจารย์ Ka-Poom ครับ
อาจารย์ สกล ครับ
วันนี่ต้องขอขอบคุณ คุณ โอ๋ มากเลยครับ ที่อุตส่าห์แวะมาถ่ายทอดกลเม็ด แบบ F2F ถึงถิ่นของผมที่รังสีรักษา
- การอำนวยความสะดวกให้เพื่อนร่วมงานเข้าถึง G2K ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงาน
- การใช้ G2K เป็นรายงานภาระงาน
- การค้นหาจุดเด่นและดันดาราเป็นรายคน
- การจัด workshop แนะนำ G2K แบบสัมผัสหน้าจอ คนต่อคน
และที่สำคัญ... ต้องใจเย็น
ขอบคุณอีกครั้งนะครับ