คำตอบ


ภิกษุณีในไทย

เก๋

คำตอบ
not yet answered

ทำใจอย่างไรดี

orion

คำตอบ
not yet answered

เฮฮาศาสตร์ 3

paew

คำตอบ

หนูแป๋ว

ขอบคุณที่ชวนครับ

อยากไปมากถึงมากที่สุด

แต่กำลังดูงานว่าจะปลีกตัวหลีกเร้นได้ซักขนาดไหน

งานของอาจารย์เป็นงาน ๗ วัน ขนาดนี้วันอาทิตย์ยังไม่ได้พักเลยครับ

จึงอยากไปมาก เพราะถือโอกาสพักผ่อนด้วย

ขอตกลง ๕๐% ก่อนนะครับ :)

วันของเรา

นาย เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี

คำตอบ

สวัสดีครับ

ขออภัยที่ยุ่งจนลืมดูคำถาม

มิน่าผมถึงมีพลังมาก เป็นเพราะคุณหมอส่งมาให้นี่เอง

จะจำไว้ครับ ๑๓ สค. วันมือซ้ายสากล

ขอบคุณครับ

ธีมใหม่ Bamboo

Little Jazz

คำตอบ

ขอบคุณหนูซูซาน

อาจารย์ก็ว่าเย็นตาดีนะ

ลองใช้ดู...แต่รูปของอาจารย์สีมันจะกลืนไปหน่อยมั้ย

น่าจะออกโทนตัดกันหน่อย อาจเปลี่ยนสีรูปอาจารย์ฉากหลังให้ออกโทนแดงน้ำตาล

ขอบคุณมากครับ จะลองใช้ดูครับ

ไม่มีโอกาสไปร่วมสัมนาแต่ขอซื้อเสื้อ 1 ตัว sizeSค่ะ

Sasinand

คำตอบ

ผมก็เสียใจที่ไม่มีโอกาสพบตัวจริงในครั้งนี้ครับ

เรื่องเสื้อคงเบอร์ S และค่าส่งนั้นผมคงสำรวจดูหน่อยครับว่า จะตกเท่าไหร่ครับ จะแจ้งอีกครั้งครับ ขอที่อยู่ด้วยนะครับ หรือถ้าสะดวกมีใครที่รู้จักมาไหมครับ จะได้ฝากไปให้ครับ

โอกาสหน้าคงได้พบกันครับ :)

พิชัย

 

รายงานต้นสังกัดค่ะ

กฤษณา สำเร็จ (Krisana Sumret)

คำตอบ

หนูกฤษณา อาจารยืกำลัง confirm วิทยากรทุกท่าน คาดว่าวันนี้คงเรียบร้อย จะส่งภายในวันพรุ่งนี้ครับ

ชวนเพื่อนๆมาเยอะๆนะครับ ขอบคุณแต้แต้

แก้โค้ดอีกทีค่ะ

Little Jazz

คำตอบ

ขอบคุณมากครับ

ผมแก้แล้ว ทันทีเลย

เอ? เพิ่มข้าวกั๋นจิ้นให้อีกห่อ แอมด้วยน้ำเงี้ยวด้วยดีก่อ

 

ขออนุญาตค่ะ

จันทรรัตน์

คำตอบ

ยินดีครับ

ขอบพระคุณและอนุโมทนาในจิตคิดกุศลด้วยครับ

จิต วิญญาณ กับ โรคสมองเสื่อม

มัทนา

คำตอบ

หนูมัท

คำถามดีและต้องตอบยาวหน่อยครับ พอดีผมมาเปิดเจอตอนกำลังจะเดินทาง ขอติดไว้ก่อนแล้วจะมาตอบอีกทีครับ

หนูมัท

ได้ฤกษ์ตอบปัญหาที่ติดค้างมาเสียนานเสียที

ทีจริงคำถามของหนูนี้ การตอบต้องอาศัยความรู้สองด้านคือ ความรู้ทางโลกและความรู้ทางธรรม

ความรู้ทางโลกนั้น ได้แก่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ด้านการแพทย์ ที่มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านสาขานั้น เช่น ระบบประสาท ระบบสมอง และจิตวิทยา

ความรู้ทางธรรม ได้แก่ ความรู้ด้านปริยัติธรรม คือ พระอภิธรรม และความรู้ด้านการปฏิบัติธรรม

สำหรับอาจารย์มีเพียงความรู้ทางธรรมเท่านั้น ซึ่งเป็นความรู้ระดับพอรักษาตน

ดังนั้น การตอบครั้งนี้ หนูก็อย่าเอาไปถือเป็นจริงจังว่าเป็นคำตอบสุดท้ายนะจ๊ะ

ก่อนอื่น ขอทำความเข้าใจว่า ในทางธรรมนั้น แยกส่วนของชีวิตออกเป็นสภาพธรรมสองประการ คือ รูปและนาม

คำว่า "รูป"นั้น มาจากคำว่ารูปธรรม หมายถึงสิ่งที่เห็นได้ สัมผัสจับต้องได้ เป็นสิ่งที่ไม่มีสภาพรู้และมีสภาพเสื่อมไปอยู่เสมอ ได้แก่ ร่างกายทั้งหมด ตั้งแต่ศรีษะจรดปลายเท้า ทั้งรูปภายนอกและอวัยวะภายในทุกชิ้น

ส่วนคำว่า "นาม"นั้น มาจากคำว่า นามธรรม หมายถึงสภาพที่มีแต่ชื่อแต่ไม่มีรูปร่างให้เห็นหรือจับต้องได้ มีเพียงสภาพ"รู้"ได้ เท่านั้น

นาม แบ่งออกเป็น ๔ อย่าง ตามสภาพรู้ คือ

เวทนา คือความรู้สึก ชอบ ชัง เฉย ขณะกระทบอารมณ์ทางกายและใจ

สัญญา คือความจำได้และหมายรู้ เป็นภาวะรู้ที่ทำหน้าที่รู้และเก็บความรู้นั้นไว้ในภวังค์จิต(ส่วนนี้แหละที่เกี่ยวข้องกับคำถามเรื่องอัลไซเมอร์)

สังขาร คือ สภาพรู้ที่ปรุงแต่ง เป็นการประมวลเอาความรู้ที่เกิดจากการรับรู้อารมณ์แต่ละขณะมาปรุงแต่ง เป็นสภาพมโนกรรม พร้อมที่จะทำกรรม(ดี ชั่ว) ทางกาย วาจา ต่อไป

วิญญาณ คือ วิญญาณ๖ ที่เกิดสภาพรู้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เป็นสภาพรู้ที่ก่อให้เกิดการรับรู้เบื้องต้น แบ่งออกเป็นสองช่องทาง คือ กายวิญญาณ (สภาพรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย) และ มโนวิญญาณ (สภาพรู้ทางใจ)

ทั้งหมดประมวลเรียกว่า ขันธ์ ๕ อย่างที่เเคยรู้กัน

ทีนี้มาเข้าประเด็นคำถามของหนู คนทีเป็นโรคสมองเสื่อมนั้น แน่นอนสาเหตุแรกเกิดจาก รูปเสื่อม ได้แก่ตัวสมองและระบบประสาทในสมอง

เมื่อรูปเสื่อม ย่อมก่อให้เกิดการรับรู้ วิปริตไปด้วย เช่น

เมื่อวิญญาณรับอารมณ์ที่เข้ามากระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สิ่งที่รู้ที่เกิดติดตามมา ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร จึงรู้ผิด วิปริตไปด้วย

ดังนั้นผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม จึงเกิดสภาพรู้ที่วิปริตไปจากความเป็นจริง เพราะสภาพกายหรือรูปเสื่อมไปเป็นเหตุต้นและเกิดสภาพรู้ที่วิปริตไปเป็นผล จึงเกิดอาการต่างๆ เช่น เห็นภาพหลอน หรือแปลสิ่งที่รับนั้นผิดไป เช่น กินของเย็นว่าเป็นของร้อน

สิ่งที่สูญเสียประสิทธิภาพหรือความสามารถไป ได้แก่ สัญญา ที่ทำหน้าที่สองอย่าง คือ จำได้ และหมายรู้

การจำได้ คือการนำสิ่งที่เกิดจากการรับรู้ไปเก็บไว้(ทางโลกเชื่อว่าสมอง แต่ทางธรรมบอกว่า ภวังคจิต) สิ่งที่เคยพบเห็น สิ่งที่เคยกระทำ สภาพจิตที่เรียกว่าสัญญานี้จดจำไว้ได้หมด เป็นประจุกรรมของชีวิต

หมายรู้ เป็นสภาพรู้ที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะของการรับรู้ทางระบบกายวิญญาณ(ตา หู จมูก ลิ้น กาย) ในสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยรับรู้มาก่อน จิตจึงทำอาการเหมือนขีดหมายไว้ว่า สิ่งนี้มีรูปร่าง ลักษณะใด เรียกว่าอะไรก่อให้เกิด"การจำได้"ติดตามมา

คนที่เป็นโรคสมองเสื่อม จึงเกิดการพกพร่องทางด้านการหมายรู้ เพราะแยกแยะไม่ได้ ว่าเคยรู้เห็นมาแล้วหรือเป็นสิ่งใหม่

และการจำได้ จึงเก็บเฉพาะสิ่งที่เคยรับรู้เดิมๆได้เท่านั้น 

ดังนั้นคำตอบแรกต่อคำถามที่ถามว่า... แต่ถ้าเราดูทางจิตวิญญาณ มัทอยากทราบว่าจิตวิญญาณของคนไข้ทำงานไม่ได้ เพราะร่างกายเรามันไม่ครบ เส้นประสาทต่อกันไม่สมบูรณ์เหรอค่ะ คือการทำงานของจิตก็ต้องใช้รูปกายทางระบบประสาทช่วยด้วย?

คงกระจ่างขึ้นจากการประมวลความรู้เบื้องต้น เพราะเมื่อรูปเสื่อม วิญญาณก็เสื่อม เวทนาก็วิปริต สัญญาก็วิปริต สังขารก็วิปริต

โดยเฉพาะสังขารจิต เป็นสภาพธรรมที่ปรุงแต่งให้เกิดการกระทำทางกาย วาจา เป็นกรรมดี กรรมชั่ว เรียกว่า สัญญเจตนา จึงผิดเพี้ยนไป

คำถามที่สอง...แล้วถ้าเราฝึกให้มีสติมากๆจะช่วยได้ไม๊ ถึงร่างกายเสือมตามอายุแต่จิตยังแข็งแรง

ช่วยได้ครับ การฝึกเจริญสติ หมายถึงฝึกฝนให้เกิดการ"รับ" และ การ"รู้" ให้ถูกตามความเป็นจริง ไม่วิปริตไป จนรู้เห็น"ธรรมตามความเป็นจริง" เรียกว่าเกิดปัญญารู้แจ้ง

แต่...มิได้หมายว่าจะช่วยให้สภาพกายหรือรูปนั้นไม่เสื่อม เพราะทุกสรรพสิ่ง(รูปและนาม) ย่อมมีสภาพเสื่อมไป(อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) เป็นธรรมดา

ผู้เจริญสติ เมื่อแก่เฒ่าลง มีสภาพร่างกายเสื่อมลงตามธรรมดาโลก แต่ก็มีสภาพจิตที่ดี คือ รู้ทันอาการที่เป็นไปนั้น อย่างปล่อยวาง ไม่ยึดติดหรือยึดติดน้อยลง ขึ้นอยู่กับว่าสภาพของรูปใดเสื่อมไป เช่น แขน ขา หู ตา สมอง เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ผู้ปฏิบัติธรรม ยังมีสภาพสติที่ดีกว่า ปุถุชนคนธรรมดา ถึงแม้จะป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ แต่ในขณะจิตสุดท้ายก่อนจะดับ สติที่ฝึกมาดีแล้ว จะเข้ามาอุปถัมน์จิต จิตที่เกิดในวาระสุดท้าย จะเป็นจิตในระดับการรับรู้ในมโนทวาร คือเอาประจุกรรมสัญญาในภวังคจิตออกมา เป็นชนกกรรม (กรรมนำเกิด) ไปสู่สุคติภูมิแน่นอน

ดังนั้น จึงต่างกับผู้ที่ไม่เจริญสติ และไม่ประกอบกรรมดีเป็นทุนของชีวิตไว้ เมื่อในขณะสุดท้ายกรรมที่มานำเกิดจึงเป็นอาจิณกรรม(กรรมที่ทำบ่อยๆ) นั่นเอง ขึ้นอยู่กับเคยทำกรรมอย่างไรไว้มากน้อยกว่ากัน

ฉนั้น ผู้ที่เคยปฏิบัติธรรม เจริญสติ หรือประกอบกรรมดีมา แม้ว่า ในช่วงสุดท้ายของชีวิต สภาพทางกายอาจดูภายนอกย่ำแย่ ป้ำๆเป๋อๆ แต่เมื่อในขณะจิตสุดท้าย สติเจตสิกและกุศลเจตสิกจะเกิดขึ้นในจิตดวงสุดท้ายอย่างแน่นอน ดังพุทธพจน์ที่ว่า

"จิตเต อสังกิลิเถ สุคติ ปาฏิกังขา" เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง สุคติเป็นอันพึงหวังได้ ไม่ต้องสงสัยเลย" ดังนี้

  • อ.เคยเห็นคนที่เจริญสติได้ขั้นสูงๆเป็นโรคสมองเสีื่อมไม๊ค่ะ
  • (หวังลึกๆในใจว่าไม่เคย)
  • หนูเอย สภาพธรรมทั้งหลาย ย่อมเสื่อมไปเป็นธรรมดา ไม่มีข้อยกเว้น

    ใดใด แม้พระพุทธเอง ยังได้รับทุกขเวทนาทางกายมาก เพียงแต่สภาพจิตไม่ทุกข์ตาม ตามสำนวนผู้ปฏิบัติธรรมว่า

    "ทุกข์แต่กาย ใจไม่ทุกข์"

    ที่ไม่ทุกข์ เพราะ มีสติรู้เท่าทัน (ว่าเป็นเช่นนั้นเอง)

    หลวงปู่ชา พระอาจารย์ดังๆหลายรูป ต่างก็ตกอยู่ในสภาพธรรมนี้มาแล้ว แต่ท่านเหล่านั้นมีทุนเดิม คือสติที่ฝึกมาดีแล้วนำจิตไป จึงไม่เกิดทุกข์เวทนาทางใจ และสังขารทุกข์ ปรุงแต่งไปทางอกศลอีก

    ท่านจึงได้ชื่อว่า ผู้ไปดี

     

    แล้วเวลาหมอวางยาสลบเรา จิตเราอยู่ไหนและทำอะไรอยู่?

    แหม หนูมัทอยากรู้มากจังนะ ถ้าเป็นสมัยก่อนอาจารย์จะไม่ตอบ แล้วบอกว่าให้มาปฏิบัติจะรู้ได้ด้วยตนเอง แต่เห็นว่าอยู่ไกลจึงตอบพอเป็นแนวทางจ๊ะ

    จิต หมายถึง สภาพที่รู้อารมณ์

    โดยปกติ จิตจะอยู่ได้ทั่วไปในกายเรา เช่น เกิดรู้ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เรียกง่ายว่าเกิดการรู้สองระดับ คือ รับรู้ทางกายทวาร และมโนทวาร เมื่อถูกวางยาสลบ ยานั้นก็จะไปทำหน้าปิดกั้นหรือกดระบบการรับรู้ทางกายทวาร ทำให้ช่องทางนั้นปิดไป

    แต่ จิต ต้องทำหน้าที่รับอารมณ์อยู่เสมอ คำว่าจิตว่าง(จากอารมณ์)ไม่มี ดังนั้นจิตจึงต้องหันไปหาอารมณ์เก่าที่เก็บไว้ในภวังคจิตหรือสัญญาเดิม เมื่อเก็บมาก็มาปรุงแต่งเป็นสังขารจิตได้ จึงเกิดการรู้ตัว เช่นฝันไป หรือเกิดปฏิกิริยาตอบสนองจิตรู้นั้นได้ ปรุงแต่งไป เรียกว่าเกิดจิตสืบต่อได้เรื่อยๆ

    จึงเรียกว่า จิตกินอาหารเก่า และนำมาปรุงแต่งใหม่

    สำนวนครูอาจารย์เรียกว่า "วัวเคี้ยวเอื้อง" เคยได้ยินหรือเห็นวัวเคี้ยวเอื้องไหม?

     สรุป มัทคิดว่าสิ่งที่มัทไม่เข้าใจคือ ความสัมพันธ๋ของ จิต วิญญาณ กับ ระบบประสาทและการทำงานของสมอง แล้วก็เรื่องใจด้วยค่ะ เพราะเวลาคิดถึงจิต มัทไม่ได้นึกถึง"ในหัว"ไปซะทุกครั้ง

    คิดว่าจากคำตอบเบื้องต้น หนูคงเข้าใจในกระบวนการทำงานของกายและใจหรือรูปกับนาม พอสมควร

    ถูกแล้ว จิตไม่ได้อยู่ในสมอง สมองเป็นเพียงโรงงานของจิต ที่อาศัยก้อนเนื่อเยื่อ สารเคมีและระบบประสาท เป็นสะพานรับและส่ง"สภาพรู้" ไปทั่วร่างกาย

    เวลาคิดมากๆ จึงปวดหัว มิใช่ปวดใจ เพราะ(โรงงาน)สมองทำงานหนัก ปั้มชี่ง ปั้มชึ่งๆๆๆๆ เครียด! จน! กินเหล้า! กินขนมหวาน! อ้วน!

    แต่เวลากระทบอารมณ์ที่เป็นความรู้สึก จึงปวดที่ใจ เช่นอกหัก หรือเจอกิ๊ก เป็นต้น จะปวดแปล็บๆที่ใจ...ฮ่า!

     

    นึกว่าหมดแล้ว ยังมีคำถามสุดท้าย

    เวลาเจริญสติจน "เห็น" แจ้งแล้วเนี่ยะ คำถามของมัทจะได้รับคำตอบไม๊ค่ะ?

    โถ หนูมัท ใช่แล้ว เมื่อหนู"เห็นแจ้ง" คำตอบทุกอย่างก็จะผุดขึ้นมากระจ่างชัดประจักษ์แก่ใจหนูเอง ดังคำว่า "รู้แจ้ง" ไงครับ

    การรู้ธรรม มิได้รู้จากการอ่าน คิด แต่เกิดจากสั่งสมการปฏิบัติ(เจริญหรือภาวนา) จนเกิดปัญญา...ผุดรู้ขึ้นมาในแต่ละขณะ แต่ละขณะ จน สว่างโพล่ง เรียกว่า ตามดู ตามรู้...รู้ตาม.. รู้ตาม... จน... เห็นแจ้ง

    เป็นคำตอบที่หนูจะได้ จากใจของหนูเอง โดยไม่ต้องพึ่งใครอีกเลยจ๊ะ

    (คำตอบนี้ อาจารย์ใช้สัญญาและสังขารจิตปัจจุบันขณะตอบ หากมีอะไรขาดตกพกพร่อง หรือไม่ตรงตามตำรา อย่าได้ถือสาและขออภัยด้วย)

     

     

    คนเรานี่ก็แปลกนะ เจอะกันที่สนามกอลฟ์แค่นั้นก็มาสนิทกันได้

    เอ๋

    คำตอบ

    หนูเอ๋ครับ

      ถูกต้องแล้วครับ เพราะคนเรานั้นผูกกันมาด้วยแรงกรรม ทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว จะผูกพันรักไคร่อุปถัมน์ค้ำจุ้นหรือเบียดเบียนกัน ก็เพราะเหตุเก่าในอดีตที่เคยทำไว้

    แต่มิได้หมายความว่า จะรักกันหรื่อเกลียดกันตลอดไป ขึ้นอยู่กับปัจจุบันกรรม หากกรรมกรรมต้องชักนำเราให้มาพบกันด้วยรักหรือชัง ศัตรูหรือมิตรก็ตาม เราสามารถเปลี่ยนได้ด้วยกรรมปัจจุบัน

    แปลงชังให้กลายเป็นรัก แปลงศัตรูให้กลายเป็นมิตรได้ ด้วยธรรม ด้วยการไม่จองเวร ด้วยเมตตา

    หากรู้ว่าผูกกันมาด้วยดี ก็สร้างเหตุดีนั้นแข็งแรงยิ่งๆขึ้น เป็นการสร้างทางที่ดีเบื้องหน้า คู่รักบางคู่กลายเป็นมิตรที่ดีที่เกื้อกูลกันต่อไป กลายเป็นกัลยณมิตร หรือครูบาอาจารย์ของกันและกันต่อไปภายหน้าได้

    ข้อสำคัญ คือเรารู้ว่าปัจจุบันกรรมเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นปัจจุบันเหตุ อยากได้ผลอย่างไร พึงกระทำกรรมปัจจุบันให้เป็นเหตุไปสู่ผลที่ตนอยากได้นั้น

    แวะมาขอบคุณค่ะ

    หนูนา

    คำตอบ

    ขอบคุณที่ติดตามครับ

    หนูคงเป็นโยคีแน่ ชีวิตสามัญคือชิวิตจริงครับ

    และสามัญลักษณะของชีวิตคือไตรลักษณ์

    คนที่เข้าใจในสามัญลักษณะในชีวิตจริง

    นับได้ว่าเข้าถึงธรรมในระดับหนึ่ง

    หากเข้าถึงในขณะเจริญสติ เรียกได้ว่า ได้วิปัสสนาญาณครับ

    ขอบคุณที่ให้กำลังใจครับ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท