โครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ (ช่วงที่ 5: วันที่ 30 สิงหาคม – 1 กันยายน 2560)


ขอต้อนรับเข้าสู่โครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ (ช่วงที่ 5: วันที่ 30 สิงหาคม – 1 กันยายน 2560)

ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณรุ่นที่ 1 เมื่อปีที่แล้ว

ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับความไว้วางใจจากมหาวิทยาลัยทักษิณจัดโครงการให้อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งครั้งนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 51 คน จากทั้งวิทยาเขตสงขลาและพัทลุง

และขอใช้ Blog นี้เป็นคลังความรู้ที่เราจะเรียนร่วมกันสำหรับช่วงที่ 5 ครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

โครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน

.. สร้างพลังในการขับเคลื่อนความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัย

สรุปการบรรยาย

วันที่ 30 สิงหาคม 2560

 

การคิดเชิงกลยุทธ์ กับการบริหารสมัยใหม่

: วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและการมองเป้าหมายร่วมกัน

โดย ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

 

การบริหารจัดการสมัยใหม่

          - ส่วนหนึ่งอยู่ที่การแข่งขัน (Competitiveness)

          - การบอกว่าเราไม่ได้แข่งขันกับใคร เราแข่งขันกับตัวเอง น่าจะไม่จริงเพราะในโลกปัจจุบันนั้นมีการแข่งขันตลอดเวลา ดังนั้น การคิดเชิงกลยุทธ์ ไม่สามารถอยู่ได้ถ้าไม่ได้แข่งขันกับใคร เนื่องจากต้องมีการแย่งชิงทรัพยากร

ยกตัวอย่าง การผลิตคนต้องมีการแย่งชิงทรัพยากรหรือไม่ ต้องการได้เด็กมาเรียนจะต้องทำอย่างไร

 

การคิดเชิงกลยุทธ์เพราะอะไร

          1. การแข่งขัน

          2. การแย่งชิงทรัพยากร

          - นักศึกษาเก่งและดี

          - อาจารย์และบุคลากรเก่ง

          - งบประมาณ รายได้จากอะไรบ้าง อาทิ ค่าเทอมนักศึกษา โครงการที่เสนอต่าง ๆ งานวิจัยต่าง ๆ

อนึ่ง ทั้งนี้เราจะขอมาได้อย่างไร

 

มหาวิทยาลัยอยู่ในภาวะที่ต้องแข่งขันและอยู่กับตัวเองไม่ได้

          - การคิดสมัยใหม่ ธุรกิจจะเกิดการแข่งขันตลอดเวลา เราจะคิดเสมอเลยว่าแต่ละที่มี Asset อะไรบ้าง

 

ความสามารถในการแข่งขัน

1. Asset (ทรัพยากร)

1. Infrastructure เรื่องที่ดินอย่างที่ ม.สงขลาวิทยาเขตสงขลามีเนื้อที่ 160 ไร่ ที่วิทยาเขตพัทลุงมี 3,000 ไร่

          - สินทรัพย์ต่าง ๆ เหล่านี้ได้ทำให้เกิดรายได้อย่างไร

2. Capital เงินสด

          - แต่ก่อนมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะฝากออมทรัพย์

- แต่ตอนหลังพอเกิดปัญหาก็ควรหาแหล่งอื่นด้วย ควรมีการนำไปลงทุนทางด้านไหนอย่างไร

3. Technology

4. Human Resource  บุคลากร

          - มหาวิทยาลัยไม่ได้วัดความเก่งที่ตึก แต่วัดที่บุคลากร ยกตัวอย่างในเมืองนอก จะมองว่าอาจารย์ในมหาวิทยาลัยได้ Nobel Prize กี่คน ส่วนใหญ่ที่เมืองไทยดูที่เป็นศาสตราจารย์หรือไม่ มีงานวิจัยอะไรบ้างที่ Break Through ยกย่อง และตีพิมพ์

          - ทรัพย์สินทางปัญญา ต้องมีคนยอมรับต่างหาก ไม่ใช่อวยกันเอง

          - คนที่เป็น Talent ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่มีความสามารถ Ego สูง และรำคาญกับระบบราชการ จะอยู่กับองค์กรที่ไม่เป็น Competitive ไม่ได้ ต้องมี Talent Program และให้อิสระกับเขา

 

2. Business Process (กระบวนการทำงาน)

          Business Process Improvement ในวันนี้เราต้องตั้งคณะทำงานจัดการการทำงานต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ซี.พี. ตั้งหน่วยหนึ่งมีวิศวะกร  30 คน เข้าไปฝังตัวในโรงงาน แล้วดูว่าจะขับเคลื่อนได้อย่างไร เยี่ยมและปรับปรุงให้เสร็จภายใน 6 เดือน แล้วไปที่ใหม่ อาจจะดีกว่าให้คนที่อยู่หน้างานคิด

          1. Quality คุณภาพ

          2. Cycle Time ระยะเวลา

          3. Responsiveness การตอบสนอง

          4. Service level การบริการ

          5. Productivity ผลิตภัณฑ์

          6. Efficiency ประสิทธิภาพ

          ยกตัวอย่าง พระจอมเกล้าธนบุรี มี CIO ทำหน้าที่คิดกระบวนการในการนำ Software ไปใช้ มีการประเมินผลเป็นอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด มีการให้บุคลากรไปกรอกข้อมูล และหัวหน้าไปประเมินเป็นขั้น ๆ แล้วมีการส่งอีเมลล์เตือนว่าขณะนี้คนทำอย่างไร

 

3. Competitiveness

          1. Market Share การวัดความสามารถในการแข่งขันเราวัดที่ Market Share อย่างคนที่จบที่ภาคใต้ สัดส่วนคนจบที่ ม.ทักษิณ ม.อ. วิทยาลัยราชมงคล ฯลฯ เป็นเท่าไหร่ เรียงมา 10 แห่งแล้วดูว่าในภาพรวมมีนัยยะสำคัญเท่าไหร่

          2. Profit Margin กำไรหรือรายได้เราลดลงหรือไม่

          3. Growth

          4.  Asset Value

          5.  Value Creation  แบรนด์ คนซื้อเราเพราะแบรนด์ ดังนั้น ม.ทักษิณต้องทำการ Rebranding ในการสะท้อนสิ่งที่เป็น

 

การร่วมแสดงความคิดเห็น

          1. มีจำนวนนิสิตที่เข้ามาตามที่คาดหวัง ได้นิสิตเข้ามาตามแผน แต่ประเด็นคือทำอย่างไรให้เขาคงอยู่จนจบการศึกษา

          2. คาดว่าไม่มีโอกาสรายได้จากการศึกษาติดลบ  จากรายได้ส่วนอื่นที่เพิ่มขึ้น อย่างรายได้บริการวิชาการที่เพิ่มขึ้น รายได้ดอกเบี้ย แต่พยายามคุมค่าใช้จ่ายให้เท่าเดิม

          สัดส่วน 95 : 5

          ปัจจุบันเป็น 80 : 20

          สิ่งที่ถามคือสัดส่วนสุดท้ายเพิ่มขึ้นหรือไม่ รายได้หลักเกิดจากการเรียนการสอน ไม่ได้เกิดจากการวิจัยหรือพัฒนา โครงสร้างเกือบทั้งหมดไม่มี COE หรือ Center of Excellence ยังมีพลังงาน มีเรื่อง Green Environment

          Revenue Driven และให้ Cost Conscious

          สิ่งที่อยากฝากคือ รายได้ที่ได้จาก ม.ทักษิณรายได้หลักคืออะไรต้องคงไว้ และอันอื่นค่อยเสริมขึ้นมา

ยกตัวอย่างคนเก่งในสามก๊ก คือ

          สุดยอดของคนเก่งคือให้คนอื่นคิดและให้คนอื่นทำ เช่น เล่าปี่ โจโฉ ขงเบ้ง

          - ผู้บริหารที่เก่งจริง จะต้องให้คนอื่นคิด แล้วให้คนอื่นทำ แล้วเราคอยให้กำลังใจ คอยเป็น Facilitator เป็น Infrastructure เช่นให้เด็กชมว่า พี่เขารู้ เขาเก่ง แต่เขาไม่พูด

 

Competitive Strategies ของ Michael E.Porter

Primary Strategies

1. Cost Leadership Strategies แข่งที่ราคา

การทำถูกไม่ใช่จะชนะ แต่เป็นการทำถูกที่มีอุดมการณ์ 

2. Differentiation Strategies

          รูปลักษณ์ สมรรถนะ คุณค่าการบริการที่แตกต่าง

          อย่าง ม.ทักษิณให้อะไรที่แตกต่าง เราสร้างความแตกต่างตรงไหน นักศึกษาได้อะไรที่แตกต่างจากเรียนที่อื่น มหาวิทยาลัยมีจุดแตกต่างในด้านไหน  จุดแข็งต้องเป็น ณ วันนี้ด้วย ต้องเป็นเรื่องปัจจุบันไปถึงอนาคต

การร่วมแสดงความคิดเห็น

          ยกตัวอย่างที่คณะวิทยาศาสตร์การจัดการสุขภาพ มีนิสิตจบแล้วมีงานทำมาก

          - มีการต่อยอดมาจากมหาวิทยาลัยที่บัณฑิตครู ความเด่นชัดมาจากการมุ่งเน้นในการผลิตครู นิสิตที่จบในม.ทักษิณเป็นอันดับ 2 ในปีการบรรจุ 2560 มี Brain ในวิชาชีพครูที่ทำให้นิสิตเลือก และคณะศึกษาศาสตร์ส่วนใหญ่เด็กจะล้นในเรื่องการผลิตบัณฑิต และสอบบรรจุ

ดร.พงษ์ชัย เสริมว่า สิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน คณะศึกษาศาสตร์ เป็นคณะที่แย่งกันรับ หรือเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง  ถ้าไม่ใช่ตัวเลือกที่หนึ่งที่สอง เราไม่ทำ อย่างเช่น Jack Welch บอกว่า ถ้าโรงงานไหนในการตลาดถ้าไม่ใช่ที่หนึ่งที่สองให้ปิดหมด ให้มาดูที่ ม.ทักษิณ มาดูว่าสาขาไหนไม่อยู่ใน 1 ใน 10 มาพิจารณากัน แล้วค่อยมาทำให้ได้ 1 ใน 5

 

Supporting Strategies

3. Innovation Strategies

          ยกตัวอย่างเช่น Sony , I-Phone มีนวัตกรรม อย่าง ม.ทักษิณ จะทำอะไร มีทรัพยากรแค่ไหนทำ มีคนแค่ไหนทำ และจะขยายผลได้แค่ไหน

4. Growth Strategies

          กลยุทธ์ในการโต  สิ่งที่น่าเป็นตัวอย่างคือ 7-eleven นับกลยุทธ์ในการโตเป็นรายได้ อย่างถ้ารายได้ของร้านจะสูงขึ้นจากอะไรได้บ้าง

          - ไม่ขยายสาขา แต่หาของเข้าไปในร้าน เช่น ขายกาแฟ เบเกอรี่ ร้านหนังสือ กล้วยปิ้ง

อย่าง ม.ทักษิณ ถ้าเพิ่มไปให้ถูกจุด อะไรที่ขายไม่ออกให้หยิบออกแล้วเอาอย่างอื่นเข้าไปแทน  

ดังนั้น การมีรายการมากขึ้น แล้วรายได้มากขึ้นหรือไม่ การโตจะโตแบบไหนในลักษณะการโตที่มีคุณภาพ

5. Alliance Strategies

          ยกตัวอย่างในการจับมือกับพันธมิตรอื่น ๆ อย่าง ม.ทักษิณมีพันธมิตรคือใคร ควรจะเป็นใคร ยกตัวอย่าง จุฬาฯ มหิดล บางมด ธรรมศาสตร์ จะมีการร่วมมือกันเสนอรับงานวิจัยจากรัฐบาล

 

Stage of the Industry Life Cycle

ทุก ๆ สิ่งในโลกเรามีช่วงชีวิต มีวัฎจักรของมัน  อย่างอุตสาหกรรมมีช่วง เกิด โต แก่ เจ็บ ตาย

S-Curve ตัวเก่าต้องตายไป ต้องสร้าง S-Curve ตัวใหม่ เช่น I-Phone ที่ต้องสร้าง S-Curve ตัวใหม่ตลอดเวลา อย่าง ม.ทักษิณ ปัจจุบันอยู่ในวัฏจักรอะไร  ดูที่ตัวมหาวิทยาลัยก่อน แล้วค่อยมาดูที่คณะต่าง ๆ เราต้องยอมรับความจริงว่า S-Curve ในปัจจุบันต้องเปลี่ยน ต้องกลับมาถามว่าในแต่ละหลักสูตร ในแต่ละภาควิชาในแต่ละภาคของมหาวิทยาลัยอยู่ตรงไหนของมัน

ต้องดูว่าอะไรที่เราปล่อยเขาไป และอะไรที่ขึ้นอยู่ข้างบน


วิชาที่ 16 การประเมินนโยบาย แผนงาน และโครงการ

โดย ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

 

Competitive Model Focus

1. What is driving competition in the current or future industry?

- ถ้าไม่สามารถตอบได้อะไรที่กำลังแข่งอยู่ และกำลังแข่งอยู่ในอนาคต อาจมีปัญหาในการทำธุรกิจ

ยกตัวอย่างธุรกิจการแข่งขันโทรศัพท์มือถือ ที่มีการเปลี่ยนสู่ระบบ Organize เป็นการแข่งขันในระบบปฏิบัติการ ไม่ใช่ตัวเครื่องโทรศัพท์ ทำให้โทรศัพท์ยักษ์ใหญ่อย่าง Nokia ค่อย ๆ ทรุด แสดงถึง บริษัทเหล่านี้ไม่เข้าใจ S-Curve ของตัวเอง เพราะไม่เข้าใจว่าปัจจุบันและอนาคตแข่งอะไรอยู่

          อย่างโทรศัพท์ในปัจจุบันไม่จำเป็นต้องซื้อ I-Phone หรือ Sumsung แต่เป็นการแสดงถึงภาพลักษณ์ในการถือโทรศัพท์อย่างหนึ่งด้วย โทรศัพท์ในปัจจุบันเปลี่ยนเสมือนแฟชั่นอย่างหนึ่ง ดังนั้น ทั้ง Sumsung หรือ IPhone ต้องตอบคำถามข้อนี้อย่างไร

 

การร่วมแสดงความคิดเห็น

          ในเรื่องโทรศัพท์ ธุรกิจเดิม หรือบริษัทเดิม ไม่สามารถคิดก้าวข้ามในเรื่องที่ตัวเองทำอยู่ได้เพื่อให้พัฒนาในการกลับไปสู่อีกยุคหนึ่งได้

          ดร.พงษ์ชัย เสริมว่าความภาคภูมิใจในอดีตทำให้เราจมปลัก เช่น ภาคภูมิใจในโทรศัพท์มือถือก็จะเป็นเสมือน Nokia ดังนั้น คนที่นั่งอยู่ข้างในจะคิดเหมือนกัน ไม่กล้าคิดนอกกรอบได้ เนื่องจากมีวัฒนธรรมองค์กรแบบเดียวกัน

          การคิดต่างไม่ใช่ความผิด การคิดต่างไม่ใช่ก้าวร้าว สังคมต้องยอมรับความคิดต่าง การคิดต่างเท่านั้นถึงเกิด New Idea หรือนวัตกรรม เราอย่ามองคนรุ่นใหม่ร้อนวิชา

          คิดต่างต้องตั้งใจฟัง ต้องมีพลวัตรในการปรับอยู่ตลอดเวลา

          ในสถาบันการศึกษา ปัจจุบันแข่งขันอะไร และในอนาคตแข่งขันอะไร

          ใน

คำถาม : อะไรเป็นตัวขับเคลื่อนในการแข่งขันมหาวิทยาลัยทักษิณในปัจจุบันและในอนาคต ?

1.ถ้าจะแข่งต้องแข่งทุกด้านที่มี เริ่มต้นจากหลักสูตรที่ทำเพื่อไปตอบสนองโจทย์ของเป้าหมาย

          ดร.พงษ์ชัย เสนอว่า เราต้องคิดก่อนว่าในอุตสาหกรรมทิศทางเราไปทางไหน ยกตัวอย่างอุตสาหกรรมกระทิงแดงเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมชูกำลังเป็นอุตสาหกรรมมิกซ์เซอร์ และคู่แข่งคือกินกาแฟยังมีสุขภาพน้อยกว่า 

          ในวันนี้ให้พูดถึงอุดมศึกษารวมก่อนเช่น มีการเรียนการสอนเปลี่ยนแปลงมากขึ้น อาจได้แค่ประกาศนียบัตรได้หรือไม่  เรียนออนไลน์มากขึ้น สอบเทียบได้หรือไม่ โอนไปต่างประเทศได้หรือไม่ เป็นดิจิตอล E-learning หรือเปิดในบริษัทมากขึ้น หรือบริษัทมีมหาวิทยาลัยของตนเอง

          ดังนั้นต้องคิดว่าอะไรแข่งในปัจจุบันและแข่งในอนาคต

2. What are current or future competitors likely to do and how can a company respond?

ใครคือคู่แข่งคนปัจจุบันและใครคือคู่แข่งในอนาคต ทั้งคู่แข่งที่มองเห็นและมองไม่เห็นคือใคร อาทิ มหาวิทยาลัยในพื้นที่ภาคใต้ มาเลเซีย สิงคโปร์ บริษัทต่าง ๆ มหาวิทยาลัยต่างประเทศ

          เราต้องดูว่าคู่แข่งปัจจุบันทำอะไร อาจไปคัดข้อมูลจาก สกอ.ดู จำนวน นศ.ลดลงหรือคงที่ แล้วคนอื่น ลดลงหรือคงที่หรือไม่ ดังนั้นฝ่ายแผน ต้องคิดใหม่ เราห้ามไม่ได้ไม่ให้เกิดคู่แข่ง จะมีกลยุทธ์อย่างไร อาทิ ที่ เชียงใหม่ มีกงศุลอเมริกามาเปิดที่เชียงใหม่ เพื่อสร้างความร่วมมือ หรือในใต้อาจมีการให้กงสุลจีนมาตั้งได้หรือไม่ หรือเอกชนที่มาภาคใต้มีบริษัทอะไรบ้าง เช่นผลไม้ สมาคมอาหารแช่แข็ง คณะกรรมการยางพาราร่วมกับเอกชน ฯลฯ 

 

3. How can a company best posture itself to achieve and sustain a competitive advantage?

          การมองไปไกล ๆ การที่ ม.ทักษิณจะอยู่เป็น 100 ปีได้ ม.ทักษิณจะต้องมีอะไร เช่น ม.อ.มีคณะแพทยศาสตร์ มีโรงพยาบาล ส่วน ม.ทักษิณจะมีอะไรที่อยู่ได้ 100 ปี เช่นอะไรที่เป็นทรัพย์สินของคนใต้ ต้องสร้างเครือข่าย ดังนั้นการทำวิจัย บริการวิชาการให้เป็นเลิศ ต้องทำให้เป็นเลิศในภาคใต้ ไม่ใช่อยู่ภาคใต้แล้วทำให้เป็นเลิศในภาคอื่น

 

Workshop

1. กิจกรรมสำคัญ ๆ ที่ส่งผลโดยตรงต่อการให้บริการและความสำคัญของมหาวิทยาลัยของท่าน (ในแต่ละด้าน) มีอะไรบ้าง

2. กิจกรรมสำคัญ ๆ ที่ส่งผลทางอ้อมต่อการให้บริการและคงความสำคัญของมหาวิทยาลัยของท่าน (ในแต่ละด้าน)มีอะไรบ้าง

3. การควบคุมคุณภาพและมาตรฐานในกิจกรรมสำคัญ ๆ ต่อการให้บริการของมหาวิทยาลัยของท่าน ท่านทำอย่างไร หรือ ด้วยเครื่องมือ หรือมาตรฐานใด (ในแต่ละด้าน) มีอะไรบ้าง

 

กลุ่มที่ 4

1. กิจกรรมสำคัญ ๆ ที่ส่งผลโดยตรงต่อการให้บริการและความสำคัญของมหาวิทยาลัยของท่าน (ในแต่ละด้าน) มีอะไรบ้าง

  • โครงการ Open House
  • เปิดห้องเรียนพิเศษ
  • Roadshow
  • หลักสูตรต่อเนื่อง
  • งานวิจัยเชิงพาณิชย์
  • การจดสิทธิบัตร
  • บริการวิชาการ มีการทำความร่วมมือกับเครือข่ายในท้องถิ่น

2. กิจกรรมสำคัญ ๆ ที่ส่งผลทางอ้อมต่อการให้บริการและคงความสำคัญของมหาวิทยาลัยของท่าน (ในแต่ละด้าน)มีอะไรบ้าง

          ทางอ้อมมีการประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่าง ๆ มีเวปไซต์ สื่อออนไลน์ต่าง ๆ ป้ายไฟ ป้ายโฆษณา

กิจกรรมส่งเสริม

3. การควบคุมคุณภาพและมาตรฐานในกิจกรรมสำคัญ ๆ ต่อการให้บริการของมหาวิทยาลัยของท่าน ท่านทำอย่างไร หรือ ด้วยเครื่องมือ หรือมาตรฐานใด (ในแต่ละด้าน) มีอะไรบ้าง

- ใช้ตัวควบคุมการชี้วัดเป็นรายกิจกรรม ส่วนการประเมินผลเป็นตามการชี้วัด

 

กลุ่มที่ 1

1. กิจกรรมสำคัญ ๆ ที่ส่งผลโดยตรงต่อการให้บริการและความสำคัญของมหาวิทยาลัยของท่าน (ในแต่ละด้าน) มีอะไรบ้าง

  • เป็นพี่เลี้ยงเด็กเข้ารับการศึกษา
  • การสร้างศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการและวิจัย
  • การแก้ไขปัญหาและลงพื้นที่

2. กิจกรรมสำคัญ ๆ ที่ส่งผลทางอ้อมต่อการให้บริการและคงความสำคัญของมหาวิทยาลัยของท่าน (ในแต่ละด้าน)มีอะไรบ้าง

- การสื่อสารองค์กร การประชาสัมพันธ์ สร้างแบรนด์

- สร้างความรัก ความผูกพันองค์กร

- การสร้างเครือข่ายต่าง ๆ เช่นเครือข่ายองค์กรการศึกษา และอื่น ๆ

3. การควบคุมคุณภาพและมาตรฐานในกิจกรรมสำคัญ ๆ ต่อการให้บริการของมหาวิทยาลัยของท่าน ท่านทำอย่างไร หรือ ด้วยเครื่องมือ หรือมาตรฐานใด (ในแต่ละด้าน) มีอะไรบ้าง

          ใช้ระบบประกันคุณภาพเป็นเครื่องมือ

 

กลุ่มที่ 3

1. กิจกรรมสำคัญ ๆ ที่ส่งผลโดยตรงต่อการให้บริการและความสำคัญของมหาวิทยาลัยของท่าน (ในแต่ละด้าน) มีอะไรบ้าง

          - ให้นิสิต อาจารย์สายสนับสนุน เข้าสู่กิจกรรม English online

          - วิสาหกิจศึกษา

          - กิจกรรมนานาชาติ

          - การร่วมกับชุมชน

          - กิจกรรม Open House

2. กิจกรรมสำคัญ ๆ ที่ส่งผลทางอ้อมต่อการให้บริการและคงความสำคัญของมหาวิทยาลัยของท่าน (ในแต่ละด้าน)มีอะไรบ้าง

          - การส่งเสริมให้อาจารย์และนิสิตเข้ากิจกรรมแข่งขันนานาชาติ

          - เข้ารับรางวัลต่าง ๆ

          - การแลกเปลี่ยนบุคลากรในต่างประเทศ

3. การควบคุมคุณภาพและมาตรฐานในกิจกรรมสำคัญ ๆ ต่อการให้บริการของมหาวิทยาลัยของท่าน ท่านทำอย่างไร หรือ ด้วยเครื่องมือ หรือมาตรฐานใด (ในแต่ละด้าน) มีอะไรบ้าง

          - ระบบประกันคุณภาพต่าง ๆ ประกันคุณภาพหลักสูตร เกณฑ์ความเป็นเลิศ ประกาศคุณวุฒิการศึกษา และระเบียบ

 

กลุ่มที่ 5

1. กิจกรรมสำคัญ ๆ ที่ส่งผลโดยตรงต่อการให้บริการและความสำคัญของมหาวิทยาลัยของท่าน (ในแต่ละด้าน) มีอะไรบ้าง

          - การรับนิสิตโดยตรง

          - การรับคัดเลือกอาจารย์ปริญญาเอก

          - การวิจัยผลิตภัณฑ์

          - พี่เลี้ยงนักวิจัย

          - จัดประชุมนานาชาติ

          - การเรียนรู้ชุมชนเป็นฐาน

2. กิจกรรมสำคัญ ๆ ที่ส่งผลทางอ้อมต่อการให้บริการและคงความสำคัญของมหาวิทยาลัยของท่าน (ในแต่ละด้าน)มีอะไรบ้าง

          - เกษตรแปรรูป

          - ค่ายกิจกรรมนักศึกษา

          - รับน้อง        

          - อบรมวิชาการ

          - เยี่ยมชมศึกษาดูงาน

3. การควบคุมคุณภาพและมาตรฐานในกิจกรรมสำคัญ ๆ ต่อการให้บริการของมหาวิทยาลัยของท่าน ท่านทำอย่างไร หรือ ด้วยเครื่องมือ หรือมาตรฐานใด (ในแต่ละด้าน) มีอะไรบ้าง

          - Roadshow นิสิตที่เข้าสมัคร

- การรับคัดเลือกอาจารย์ปริญญาเอก

          - การพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่

          - การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา จดทะเบียน

          - การศูนย์การวิจัย

          - การจัดผลงานนานาชาติ การตีพิมพ์ผลงาน

          - การจัดการเรียนรู้ ปรัชญามหาวิทยาลัย

 

กลุ่ม 2

1. กิจกรรมสำคัญ ๆ ที่ส่งผลโดยตรงต่อการให้บริการและความสำคัญของมหาวิทยาลัยของท่าน (ในแต่ละด้าน) มีอะไรบ้าง

          - กิจกรรมแนะแนว Roadshow ตามโรงเรียนต่าง ๆ

          - การรับโควตาพิเศษต่าง ๆ เช่นนักกีฬา บุตรเกษตรกร       

          - สถาบันทุนมนุษย์ให้บุคลากรทั่วไปเข้ามาให้ความรู้

2. กิจกรรมสำคัญ ๆ ที่ส่งผลทางอ้อมต่อการให้บริการและคงความสำคัญของมหาวิทยาลัยของท่าน (ในแต่ละด้าน)มีอะไรบ้าง

          - สถานีวิทยุ ออกอากาศทุกวัน

          - ลงเวทีร่วมกับชุมชน

          - เครือข่ายมีทั้งภายในและภายนอก

3. การควบคุมคุณภาพและมาตรฐานในกิจกรรมสำคัญ ๆ ต่อการให้บริการของมหาวิทยาลัยของท่าน ท่านทำอย่างไร หรือ ด้วยเครื่องมือ หรือมาตรฐานใด (ในแต่ละด้าน) มีอะไรบ้าง

          - การประเมินและควบคุมหลักสูตรต่าง ๆ ทั้งภายในภายนอก

          - การศึกษาดูงานวิสาหกิจต่าง ๆ

 

ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

          เสริมว่า การคิด Strategic ต้องมองถึงระยะยาวด้วย กิจกรรมที่ทำอยู่ใช่หรือไม่ ถ้าทำอยู่แล้วใช่ หมายถึงต้องเป็นที่ 1 ของภาคใต้แล้ว แสดงว่า

          - กิจกรรมที่ทำทำไม่พอ น้อยไป หมายถึงกิจกรรมนั้นใช่ แต่เรายังทำไม่มากพอ ดังนั้นให้ทำอย่างเต็มที่

          - กิจกรรมไม่ใช่ ต้องพิจารณาใหม่

          ดังนั้น ก่อนลงไปที่กิจกรรมหรือโครงการ ต้องดูว่ามีทิศทางที่ชัดเจนหรือยัง ถ้าในวันนี้เราจะชนะจะทำอย่างไร ม.ทักษิณจะใช้กลยุทธ์ Strategy อะไร

          เรามีแก่นหรือไม่ หรือมีแต่กระพี้ ถ้ามีแก่นทำไม่กี่อย่างก็ชนะแล้ว กิจกรรม Cut short เวลาหรือไม่

 

Workshop 2

Current Situation

1. สิ่งใดบ้างที่ท่านคิดว่าทำได้ดี หรือได้เปรียบกว่ามหาวิทยาลัยอื่น ๆ

 

2. สิ่งใดบ้านที่ท่านคิดว่าทำได้ไม่ดี หรือ เสียเปรียบกว่ามหาวิทยาลัยอื่น ๆ

3. นอกเหนือจากเงินทุน หรืองบประมาณแผ่นดินแล้ว ปัจจัยใด มหาวิทยาลัยมีข้อจำกัดอะไรบ้างที่ทำให้ไม่สามารถขยายความสามารถได้เหมือนมหาวิทยาลัยอื่น ๆ

4. สิ่งใดบ้างที่ท่านคิดว่าทางมหาวิทยาลัยน่าจะทำมากขึ้น หรือน้อยลง หรือปรับเปลี่ยนถ้าทำได้ พร้อมระบุสาเหตุที่ยังทำไม่ได้ หรือเคยทำแล้วแต่ไม่สำเร็จ

Future Plan

1. แผนในการดำเนินการในปัจจุบันและในอนาคต

2. ข้อจำกัดของมหาวิทยาลัยของท่านในการดำเนินการตามแผนในปัจจุบันและในอนาคต

3. พันธมิตรทางธุรกิจ (Business Strategy Partners) ที่จำเป็นได้แก่ใครบ้าง โปรดระบุให้ชัดเจน

4. องค์ความรู้ หรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่จำเป็นที่สามารถจะช่วยเหลือให้ยกระดับได้เร็วยิ่งขึ้น

 

Current Situation

1. สิ่งใดบ้างที่ท่านคิดว่าทำได้ดี หรือได้เปรียบกว่ามหาวิทยาลัยอื่น ๆ

กลุ่มที่ 2

- ชุมชน มีความเหนียวแน่นและใกล้ชิด มีการใช้ผลิตภัณฑ์ชุมชน

- การเรียนการสอน บริการวิชาการ

- ทำวิจัย

ดร.พงษ์ชัย เสริมว่าเราสามารถเป็นมหาวิทยาลัยต้นแบบได้หรือไม่

กลุ่มที่ 5

          - การใช้ชุมชนเป็นฐานของมหาวิทยาลัยทักษิณ

กลุ่มที่ 4

          - มหาวิทยาลัยทักษิณเป็นมหาวิทยาลัยเดียวในจังหวัดพัทลุง ไม่มีคู่แข่ง

กลุ่มที่ 1

          - มหาวิทยาลัยทักษิณมีสถาบันทักษิณคดีศึกษา ที่อื่นไม่มี เป็นที่ศึกษาแหล่งวัฒนธรรมของภาคใต้

 

2. สิ่งใดบ้านที่ท่านคิดว่าทำได้ไม่ดี หรือ เสียเปรียบกว่ามหาวิทยาลัยอื่น ๆ

กลุ่มที่ 4

          - Mindset ผู้บริหาร การกำหนดยุทธศาสตร์และการวางเป้าหมาย

กลุ่มที่ 5

          - การแสวงหารายได้ สินทรัพย์ ยังไม่ได้แสวงหาได้ดีเท่าที่ควร

กลุ่มที่ 1

          - การสร้างแบรนด์ ประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กรยังไม่ได้ดีเท่าที่ควร

          ดร.พงษ์ชัย เสริมว่าเป็นเรื่องใหญ่ที่มีผลต่อภาพลักษณ์

กลุ่มที่ 3

          - การกำหนดอัตราค่าลงทะเบียนเท่าภาคกลาง

          ดร.พงษ์ชัย บอกว่าน่าจะให้มองในเรื่อง Value คือคุณค่าที่ให้ไม่คุ้มกับที่เขาจ่าย โดยตัวอย่างไม่ทัดเทียม

กลุ่มที่ 2

          - หลักสูตรไม่มีความแตกต่างที่ดึงดูดให้คนมาเรียนในภาคใต้ ยังไม่มีสาขาต่างจากวิชาอื่นในภาคใต้

          ดร.พงษ์ชัย เสริมว่าต้องสำรวจหรือไม่ว่าคุณค่าเป็นอย่างไร มหาวิทยาลัยเพื่อชุมชนทำแล้วเด่นหรือไม่ ทำแล้วสื่อสารองค์กรหรือไม่ ทำแล้วเปรียบเทียบเป็นอย่างไร ดังนั้น วิธีคิดแบบเอกชนการทำ CSR ก็มีการหวังผลแบบหนึ่งเหมือนกัน วิธีการดำเนินการต้องเปลี่ยน จะทำเรื่องรายได้อย่างไร ทำเรื่อง Branding อย่างไร ทำเรื่องการเรียนการสอนอย่างไร การสร้างความแตกต่างเชิงได้เปรียบทำอย่างไร การสร้างแบรนด์ทำอย่างไรบ้าง ต้องเปลี่ยนวิธีการอย่างไรบ้าง มีโครงการอะไรบ้าง ชุมชนได้งานวิชาการอะไรกลับมา

 

3. นอกเหนือจากเงินทุน หรืองบประมาณแผ่นดินแล้ว ปัจจัยใด มหาวิทยาลัยมีข้อจำกัดอะไรบ้างที่ทำให้ไม่สามารถขยายความสามารถได้เหมือนมหาวิทยาลัยอื่น ๆ

กลุ่มที่ 2

          ปัญหาที่ดินยังเป็นข้อจำกัดอยู่ ดังนั้นการจะลงทุนอะไรในเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างรายได้ยังทำไม่ได้เนื่องจากเราไม่ได้สิทธิในการครอบครอง 100 %

กลุ่มที่ 4

          วัฒนธรรมองค์กรของแต่ละองค์กร แต่ละบุคคล

          ดร.พงษ์ชัยเสริมว่า ถ้าวัฒนธรรมองค์กรที่ดีจะทำให้ประสบความสำเร็จ แต่ถ้าวัฒนธรรมองค์กรไม่ดีก็ทำให้ไม่ไปไหน เช่นวัฒนธรรมคนไทยเป็นคนที่ง่าย ๆ สบาย ๆ ข้อเสียคือ เป็นคนมักง่าย อะไรก็ได้ ข้อดีคือ คนต่างชาติชอบมาเพราะง่าย ๆ สบาย ๆ หรือติดขายของข้างถนนเป็นอันดับ 1 คือหมายถึงวัฒนธรรมองค์กรมีทั้งดีและไม่ดี

          ตอบ วัฒนธรรมที่ไม่ดีเช่น ยังติดอยู่ในระบบราชการเหมือนเดิมแม้ออกนอกระบบแล้ว งานก็ติดขัดโดย พรบ.จัดซื้อจัดจ้างเป็นปัญหา

กลุ่มที่ 5

          ที่ตั้งของวิทยาเขตสงขลาอยู่ในเขต 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดความรุนแรงบ่อยครั้ง ทำให้เกิดการตัดสินใจไม่มาเรียน

 

4. สิ่งใดบ้างที่ท่านคิดว่าทางมหาวิทยาลัยน่าจะทำมากขึ้น หรือน้อยลง หรือปรับเปลี่ยนถ้าทำได้ พร้อมระบุสาเหตุที่ยังทำไม่ได้ หรือเคยทำแล้วแต่ไม่สำเร็จ

          กลุ่มที่ 5 การออกระเบียบโดยสภามหาวิทยาลัยควรออกให้อิสระและคล่องตัวมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันยังยึดระเบียบที่ติดระบบล่าช้าอยู่         

          ดร.พงษ์ชัย เสริมว่าที่บางมดมีคณะกรรมการที่มีรองอธิการบดีฝ่ายอาวุโส เป็นกรรมการอยู่ ถ้าเราออกนอกระบบอะไรที่ติดขัดก็เข้ามาคณะกรรมการยุคนี้ ดังนั้นคณะกรรมการยุคนี้จะเป็นรุ่นใหม่ทั้งหมดที่คอยปรับเปลี่ยน ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะตั้งยังเติร์กขึ้นมาใหม่

          บริหารแบบพุทธะ ต้องบริหารด้วยฉันทะ คือทุกคนมีความสุขกับการทำ อยากให้คนรักองค์กร ต้องมี 2 แบบ แบบที่ 1 ล่อด้วยกิเลสตัณหา เพราะเมื่อหมดตัณหาก็ไม่ทำ อย่างเช่นอยากทำเพราะเป็นหัวหน้า แต่ถ้าไม่เป็นหัวหน้าไม่ทำ หรือถ้าทำเพราะรักองค์กร

          ทำอย่างไรให้คน Autonomous ในตัวคน ไม่ใช่องค์กร ให้คนอยากเดินมาทำเพื่อส่วนรวม แล้วคนอยากจะคิดเยอะ ๆ ทำเยอะ ๆ ช่วยเยอะ ๆ

          คนแต่ละ Generation มีปัญหาเพราะมีชุดความคิดไม่เหมือนกัน แต่ละคนมีดีไม่เหมือนกัน อย่าหันด้านสวยของตนเองและมองอัปลักษณ์ของคนอื่น อยากรู้เรื่องเทคโนโลยี เรื่องนักศึกษาถามคนรุ่นใหม่ ถ้าถามคนรุ่นเก่าให้ถามถึงบทเรียน ถึงประสบการณ์ที่เขาเดินผิดพลาดมา แต่เราไม่สามารถทำให้คนรุ่นใหม่หรือรุ่นเก่าต่างเงียบ เพราะจะไม่เกิดกำลังใจในการทำงาน  ไม่ใช่อยู่มานานรักองค์กรมากกว่า ไม่ได้หมายความว่าเพิ่งก้าวมาไม่รักองค์กร ไม่อย่างนั้นคนรุ่นใหม่จะคิดว่าจะพูดทำอะไรไม่ได้เลย ไม่มีสิทธิพูด

          อย่างที่ ดร.จีระ บอกว่า ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดคือมนุษย์

 

การประเมินนโยบาย แผนงาน และโครงการ

          สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ

1. ประเมินผลการดำเนินงาน

2. ศึกษาบริบทใหม่ที่มีผลกระทบ เช่นอะไรที่จะมากระทบ ม.ทักษิณ และอุตสาหรรม Higher Education ในอนาคต

3. ต้องทำแบรนด์ ยุทธศาสตร์ และคน และมองใน 5-10 ปีข้างหน้า

          เราต้องมีการประเมินแผน 2 แล้วไปทำแผน 3 ใช้หลักคิด PDCA คือ Plan-Do-Check-Act กฎเกณฑ์เหล่านั้นทำให้คนเก่งกลายเป็นคนกลาง ๆ เช่นบางหลักสูตรควรมี ดร. 6-9 คน เราต้องหาวิธีการทำให้เก่งกว่าคนอื่น คิดแล้ววางแผนแล้วจะปรับอะไร อะไรทำน้อยไป อะไรทำได้มากขึ้น

          โดยส่วนตัว ไม่เชื่อว่ากฎระเบียบของ ม.ทักษิณดี เพราะขนาดรัฐบาลยังต้องปรับปรุง อย่าง ม.ทักษิณ กฎ ระเบียบที่ล้าสมัยต้องปรับ แล้วให้มายกร่างเป็นแผนถัดไป ประเมินเพื่อดูความคืบหน้าเพื่อส่งต่อไปเป็นแผนใหม่ ๆ

          ดู Input – Process- Output – Outcome

          Output คือรายงาน ทำโครงการจริงๆ หรือไม่ มีอะไรรายงาน ทำ Survey มีความพึงพอใจในตำแหน่งงานเท่าไหร่ อย่าหาอย่างอื่นมาแก้ตัว ให้ Check แล้วดูตาม KPI ที่กำหนดไว้ มีการประเมินดูงานโครงการและ KPI ที่เราวัด แม้แต่ KPI เองบางครั้งอาจไม่ได้เรื่องเนื่องจากคิดที่ตัวเองทำได้ แต่ประเด็นคือได้ KPI แล้วเป็นอย่างไรต่อ  เช่นเปิดหลักสูตรให้ได้ในปีนี้แล้วอย่างไรต่อ เช่น KPI คือแผนการรับนักศึกษา แล้วเรารับได้เต็มเลย 40 คน แต่ปรากฏว่าทยอยออก แสดงว่าการคิด KPI ผิด ดังนั้นคนที่ตั้ง KPI ต้องรู้ว่า KPI ได้ประโยชน์อย่างไร ต้องรวบรวมบริบทใหม่ ๆ บางเรื่องทำแล้วต้องซ่อม ต้องเสริมใหม่ และต้องสร้างใหม่ ดังนั้นการประชุมต้องดูว่าเรื่องไหนทำไม่เสร็จ แผนงานไหนต้องซ่อม ต้องเสริม และต้องสร้างใหม่

          ตัวชี้วัดทำเป็น Decision Tree ผลได้ตามเป้าหรือไม่ ได้ตามเป้าหรือไม่ได้ตามเป้าเพราะอะไร ทำแล้วได้อะไร เป็นผลจากโครงการฯ หรือเป็นผลจากเราจริงหรือไม่ เป็นความสามารถของเราหรือฟลุ๊ก

ขอบเขตของการศึกษา

          การทำแผนยากหรือไม่ อย่างการทำแผนม.ทักษิณได้ดูแผนของมหาวิทยาลัยอื่นหรือไม่ ม.อ.ทำอย่างไร ราชภัฎทำอย่างไร จุฬาฯ มหิดล ม.ต่างประเทศทำอย่างไร

          การประชุมกลุ่มย่อยให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นเต็มที่และตกผลึก หรือการประชุมกลุ่มย่อยที่ทำเพียงพิธีกรรม ประเด็นคือเราประชุมกลุ่มย่อยแบบไหน

ขั้นตอนการดำเนินการ

  • รวบรวมแผนที่เกี่ยวข้อง เช่นแผนอุดมศึกษา แผนป.ย.ป. แผนการปฏิรูป สภาพัฒน์ เขตเศรษฐกิจพิเศษ แล้วค่อยตกผลึกรวมกับคำถามตอนเช้าว่าสิ่งใดที่เราทำได้ดี และดีไม่เพียงพอ
  • ทำยุทธศาสตร์
  • ประเมิน ได้มีการเชิญคนภายนอกอย่างชุมชน หรือนักศึกษามาประเมินเราหรือไม่อย่างไร
  • ประชุมกลุ่ม
  • จัดทำข้อเสนอแนะประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับต่าง ๆ ประกอบด้วยวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) เป้าหมาย(Goal) กลยุทธ์สำคัญ (Important Strategy) , Winning Project, KPI, Action Plan

ยกตัวอย่าง บางมดที่ไม่ประสบความสำเร็จคือไปเปิด Campus ที่ราชบุรี แต่ไม่ได้เด็ก Cream มาเรียนที่ราชบุรี เนื่องจากผู้ปกครองมองว่าทำไมไม่มาเรียนบางมด แต่ต้องไปราชบุรี ดังนั้น จึงมองว่า Campus ราชบุรียังล้มเหลว และกำลังคิดว่าอีก 5 ปีต่อไปข้างหน้าจะทำอย่างไร เราไม่สามารถทำผลิตด้วยตัวคนเดียว ต้องนำพลังหนุ่มสาวมา และต้องเป็นคำถามที่ทำให้คนคิดแบบ Critical Thinking

 

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. การประเมินโครงการฯ มีวิธีการคาดคะเนหรือไม่ว่าโครงนี้จะทำได้ไม่ประสบความสำเร็จตั้งแต่ต้น จะได้ไม่ทำโครงการนั้น

             ตอบ ในระบบราชการไม่มีทำแบบนั้น ก่อนทำโครงการได้มีการทำโครงการที่มีรายละเอียดชัดเจนมานำเสนอ ถ้าตกจะตกตั้งแต่ในแผนโดยยังไม่ของบประมาณ แต่ระบบความคิดราชการที่มีในหัวคือจะขอเยอะไว้ก่อนแล้วให้เขาไปตัดเอง ดังนั้นหมายถึงทุกคนยังไม่ตกผลึก มือใครยาวสาวได้สาวเอา พอเลยตามเลยเลยต้องมาประเมินทีหลัง

             เอกชนดูว่าถ้าไม่มี Progress Terminate จะทำไม่ได้ อย่างราชการก็เช่นกันต้องตั้งกรรมการสอบ แต่อาจต้องเลยตามเลยในช่วงแรก แต่เอกชนสามารถหยุดได้เลยเมื่อไม่เป็นไปตามแผน ถ้าไม่ได้ตามเป้าต้องปรับกระบวนการตามแผน

ฝากข้อคิด

         ถ้าเรายอมรับความจริงว่าเราเป็นโรค แล้วดูแลสุขภาพตัวเองเราจะหาย แต่ถ้าเราไม่ยอมรับความจริงไม่ยอมรับว่าเราเป็นโรค เราก็จะไม่หาย สิ่งที่พูดมีเจตนาดี 100 % เพื่อให้องค์กรของ ม.ทักษิณไปอย่างดีที่สุด เป็นสิ่งที่ดีที่สุดด้วยเจตนาดี คือคิดดี พูดดี ทำดี ให้มองว่าสิ่งที่พูดไปจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ดังนั้นสิ่งที่พูดด้วยความจริงใจ 100% อย่างไรก็ตาม ม.ทักษิณยังเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีในภาคใต้ มั่นใจว่า ม.ทักษิณไปได้ไกล เพียงแค่ยอมรับว่าอะไรเป็นข้อจำกัดที่เราไปไม่ได้ไกลกว่านี้ ให้ยอมรับข้อจำกัด แล้วสู้ต่อไป


วิชาพิเศษ Learn-Share-Care : นำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงานสู่การปรับใช้กับการทำงานและมุมมองเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัย

โดย     ตัวแทนกลุ่ม 1 – 5

ร่วมวิเคราะห์โดย อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

         

ประธานรุ่นฯ

สิ่งที่เข้าไป ม.รังสิต สิ่งที่เห็นอยู่คือ

  • ชอบศาลาดนตรีสุริยเทพ
  • ชอบเรื่องมารยาทในการเข้าหาผู้ใหญ่ อย่างเช่นเวลาเสิร์ฟน้ำและบริการกรรมการ พนักงานเสิร์ฟมีการคุกเข่า แต่ ม.ทักษิณไม่มี แต่ไม่ได้ฟันธงว่าแบบไหนดีหรือไม่ดี
  • มีการบริการในจุดต่าง ๆ จุดเดียว เช่นการลงทะเบียน มีครบทุกอย่าง มีการลงทะเบียนออนไลน์ คนที่ติดปัญหาก็แก้ปัญหาเลย มี กยศ. การเงิน ทะเบียนอยู่จุดเดียว
  • ห้องประชุมและห้องทานอาหาร พื้นทีใช้ตรงกลางใช้ประโยชน์ค่อนข้างมาก พื้นที่ตรงกลาง เป็นที่พักคอยการประชุม ใช้ประโยชน์พื้นที่ดี แต่ ม.ทักษิณยังใช้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า
  • มีการประชาสัมพันธ์องค์กรในทิศทางเดียวกันไม่ว่าอยู่จุดไหนก็ตาม
  • ตอนฟังการบรรยายจะเห็นการโชว์ตราสัญลักษณ์เช่นแก้วน้ำ
  • การบริหารงานบุคคล นวัตกรรมการเป็นองค์กรชั้นนำ การพัฒนานวัตกรรม
  • ม.รังสิตเน้นวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม อะไรบ้างที่เป็นนวัตกรรมในการนำสู่องค์กรชั้นนำได้
  • นวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานโดยใช้ RSU Cyber ดำเนินการ

กลุ่มที่ 1

         ฝ่ายบริหารบุคคลและงานบุคคล ได้ยุบรวมที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วยกันเหมือนโรงพยาบาลพญาไท ฝ่ายวิชาการการรับผิดชอบโดยสาย Cyber City ฝ่ายสนับสนุนรับผิดชอบโดย HRD

         มีการใช้ระบบเทคโนโลยีช่วยในการประเมินและพัฒนา

         งานด้านวิชาการดูเรื่องการเรียนการสอน งานด้านสนับสนุนดูงานบุคลากร

         การจ้าง จ้างคราวละ 2 ปี หลังจากนั้นมีการต่อสัญญาจ้างเป็นคราว ๆ มีเรื่องการเกษียณอายุ 65 ปี การคิดอัตราการจ้างต่อคิดเป็นปีต่อปี

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

         ม.รังสิต คนของเขาจะมี Mindset ให้มหาวิทยาลัยอยู่รอด แต่ม.ทักษิณเป็นราชการมานานเลยมีปัญหาเรื่อง Mindset การออกมาด้านกฎหมาย ไม่ได้ออกมาด้านพฤติกรรม ดังนั้นที่มาช่วย ม.ทักษิณคือ ถ้ามีบันไดอยู่ 10 ขั้น สิ่งนี้เป็นขั้นที่ 1 แต่จะยิงเข้ามาที่สมองในการทำอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่องจะเกิดประโยชน์

         ข้อดีคือไม่คาดหวังมาก ต้องจำบรรยากาศระหว่างเรียนให้ดี

         โลกในอนาคตขับเคลื่อนด้วยการบริหารจัดการ การเรียนรู้ต้องปรึกษาหารือกัน

         ม.รังสิตดูเรื่อง Demand Side ได้ดี

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล       

         ม.รังสิตเปรียบเสมือนกระต่าย ม.ทักษิณเปรียบเสมือนเต่า แต่เต่าไม่ได้ไม่ดี เต่าช้า แต่เต่าอายุยืนมาก ถ้า ม.ทักษิณเป็นเต่า บุคลากรสายสนับสนุนคือกระดองของ ม.ทักษิณ ช่วยประคับประคองให้เดินหน้าไปได้ สายสนับสนุนจะเป็นส่วนสนับสนุนให้เคลื่อนทั้งระบบ สายดูแลต้องค่อย ๆ ปรับและจะทำให้การเรียนได้รับประโยชน์ สิ่งที่ทำคือจะทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ อาจไม่เคลื่อนทั้งร้อย แต่เราช่วยในการขับเคลื่อน คนต้องทำด้วยระบบ แล้วในวันหนึ่งจะเคลื่อนได้ คนต้องมีแรงขับตัวบุคคลคือ Passion หมายถึงถ้า Passion ยังไม่มาก็ให้เคลื่อนตามระบบคือ Meaning ก่อน

         การเป็นผู้บริหารระดับสูง สิ่งที่ดูงานให้นำกลับไปใช้

 

กลุ่มที่ 2

         การดูงานนวัตกรรม ม.รังสิตมีการสร้างอัตลักษณ์ตัวเองที่ต้องการเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบที่การศึกษาคือนวัตกรรม  โดยใช้ชื่อตัวเองว่า RSU Cyber University มีอธิการบดีเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล จะมองถึงอนาคตในส่วนที่มองไม่เห็น สร้างนวัตกรรมเพื่อความแตกต่าง จะมีส่วนแบ่งตลาดเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำ สร้างทีมดูแลด้าน Cyber มหาวิทยาลัย มีศูนย์การเรียนรู้ให้แต่ละคณะไปปรับการเรียนการสอน โดยแต่ละศูนย์จะมีหน่วยงานในการ Support คณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงของฟรีและดียังมีในโลก นอกจากนี้ได้ดู Trend ของผู้เรียน ม.รังสิตจึงได้ปรับให้มีการเรียนOnline E-Book ใช้ ใช้ Google Map และอาจารย์ต้องมีการปรับการเรียนการสอนให้ทันสมัยตามยุค ทำให้ม.รังสิตเดินไปแข่งขันในอนาคตได้ จะคิดไปข้างหน้า มีการพัฒนาปรับใช้ นอกจากนวัตกรรมการเรียนการสอน ยังมีส่วนช่วยเหลือสังคมต่าง ๆ เช่นจัดตั้งตำรวจมหาวิทยาลัย โดยใช้ รปภ.มาช่วยดูแลตำรวจไม่เพียงพอ และมีการช่วยเหลือนิสิตที่ไม่มีค่าเทอม โดยเอาข้าวสารมาแลกค่าเทอม โดยมีเครือข่ายมหาวิทยาลัยในการเข้าไปมีส่วนร่วม

         ปัจจัยความสำเร็จ ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ชัดเจน มีการร่วมคิดพัฒนา มีการสร้าง Networking พัฒนาหน่วยงานทั้งภายในภายนอก มีการปรับ Mindset พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ Demand Side มีจิตวิญญาณผู้ประกอบการนักศึกษา มีการวิจัยในอนาคต มีการวิจัยอย่างต่อเนื่อง ใช้ข้อมูล Big Data สร้างคุณค่าเพิ่ม คุณค่าใหม่และความหลากหลาย ศึกษาดูงานและปรับใช้ในมหาวิทยาลัย มีการกำหนดนโยบายชัดเจน มีการ Learn and Share ใช้นวัตกรรมสู่ความเป็นเลิศ ปรับ Mindset ให้ใช้ในการเรียนการสอน การพัฒนา และการบริการทางวิชาการ โดยใช้ Big Data นำมาวิเคราะห์วิจัยให้ตรงกับความต้องการของนวัตกรรม มีการจัดตั้งหน่วยงานนวัตกรรมให้ใช้งานอย่างเหมาะสม ให้ใช้งานง่ายตอบโจทย์ลูกค้า โดยเริ่มจากนวัตกรรมที่ไม่ต้องลงทุน มีการสร้างชุมชนนักปฏิบัติเพื่อโชว์และแชร์ต่อองค์กรให้นำความรู้ในการนำไปใช้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง อย่างม.ทักษิณจะสำเร็จหรือไม่ให้อยู่ที่การผลักดันและการทำงานร่วมกัน

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

         หลักสูตรนี้ไม่ได้จบวันที่ 1 ก.ย. เกิดจาก 3 ขั้นตอนคือการวางแผนร่วมกัน การมีประธานที่ดีแบบรุ่นนี้จะทำให้เกิดผล เพราะการเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดขึ้นภายในทันทีแต่เราต้องทำอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และเมื่อผู้บริหารระดับสูงเห็นคุณค่าเมื่อไหร่ จะแบ่งหน้าที่กันทำงาน  ในวันนี้เรายังมี Gap อยู่

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

         ตัวคน ๆ หนึ่งมีทักษะ 2 แบบคือแบบหนึ่งทางวิชาการคือการเรียนรู้ อีกด้านคือด้านการจัดการ  ผู้นำม.รังสิตมองอนาคต มีวิสัยทัศน์ และหลักการบริหารชัดเจน คำถามคือ ผู้บริหารทุกที่มีวิสัยทัศน์ที่จะมองอนาคตออก หรือไม่ เพราะไม่เช่นนั้นไม่ขึ้นมาเบอร์หนึ่ง แต่คำถามคือ  มหาวิทยาลัยเอกชน ไม่เลี้ยงคนที่ไม่มีคุณภาพ แต่ของ ม.ทักษิณ ผู้บริหารมองเห็นแต่ต้องเชื่อมไปกับกระบวนการที่มหาวิทยาลัยมี ถ้าผู้นำเคลื่อนแล้วบุคลากรเคลื่อนหรือไม่ เราต้องตระหนักว่าเราคือตัวช่วยสำคัญในการให้มหาวิทยาลัยก้าวไปสู่แบบที่เราเป็น อย่างม.รังสิตใช้ Free Application  ม.ทักษิณจะทำอย่างไรได้บ้าง

 

กลุ่มที่ 3

ม.รังสิต เป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบที่การศึกษาคือนวัตกรรม มีการทำ E-Learning , E-Book , มีการจัดงานบุคคลให้คนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง เนื่องจากสายสนุนมีเวลาจำกัด เปิดโอกาสให้เรียนรู้มากขึ้น งานการเงินมีระเบียบค่อนข้างมากทั้งโครงการและประชุม สู่การปรับการสร้าง Content ให้เข้าใจง่าย ลดการตีกลับของเอกสาร มุมมองเรื่องการพัฒนามหาวิทยาลัย เป็นเรื่องการบรรยาย ทำให้เกิดการขาดความน่าสนใจและปิดกั้นความคิดของผู้เรียน

ผู้บริหารต้องมีนโยบายชัดเจนในการขับเคลื่อน มีหน่วยงานกลาง มีการ Road Show สู้คณะต่าง ๆ มีการนำมาปรับใช้ในการเรียนเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนและประเมินผล มีเรื่องปรับ Mindset สร้างวัฒนธรรมองค์กร จัดเป็น E-learning

 

Unilever

          ได้เข้าไปศึกษาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับธุรกิจเอกชน นิสิตของม.ทักษิณต้องคิดเรื่องการรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตด้วยเช่นกัน

          การนำนักพูด นักขายมาขายสิ่งที่คิดโดยนำนักวิชาการมาป้อนข้อมูลให้เขา ไม่ได้นำเอานักพูดมาเป็นนักวิชาการ และเอานักวิชาการมาเป็นนักพูดเขามีการแบ่งที่ชัดเจนตามความถนัด

กลุ่มที่ 4

          Unilever มีอายุกว่า 150 ปี มีสินค้ากว่า200 แบรนด์และ 1,000 กว่าชนิด  ช่วยให้คนในองค์กรเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ เราไม่ควรหยุดนิ่ง ควรให้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ควรมีการปรับ Mindset บุคลากรทุกคน

          จุดแข็ง เป็นผู้นำทางการตลาด มีความเข้มแข็งทั้งภายในและภายนอก ทุกคนในบริษัทต้องมีการทดสอบก่อนนำผลิตภัณฑ์ไปขายให้ผู้บริโภค

          มุมมองสู่การพัฒนา ให้มหาวิทยาลัยมีการปรับ Mindset และทัศนคติในทิศทางเดียวกัน มหาวิทยาลัยควรมีการสำรวจความต้องการของลูกค้าเช่นเดียวกับ Unilever โดยให้นำไปพัฒนาและปรับปรุง เช่น เรื่องความล่าช้าในการติดต่อให้มหาวิทยาลัยนำความต้องการลูกค้ามาปรับใช้ได้

          อยากให้ทุกคนในองค์กรก้าวออกจาก Comfort Zone เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ให้บุคลากรเห็นเป้าหมายเดียวกัน อยากให้มหาวิทยาลัยทำการตลาด สร้างแบรนด์ให้ทุกคนรู้จักเหมือนที่ Unilever สร้างแบรนด์ให้คนรู้จัก

 

KBTG

          สิ่งที่เห็นได้ชัดคือนวัตกรรมตั้งแต่ห้องประชุม การปรับลดใช้ไฟฟ้า การสร้างคนให้มี Core Value ที่ทำอย่างรวดเร็ว ใช้นวัตกรรมบริหารจัดการให้ก้าวทันผู้บริโภคยุคดิจิตอล

กลุ่มที่ 5

          จากที่ดูงาน ที่เห็นคือผู้นำกสิกรได้กำหนดวิสัยทัศน์องค์กรชัดเจนว่าจะเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมดิจิตอล จนเป็น KBTG สิ่งที่เห็นชัดคือการสร้าง Core Value

          V – Value  สร้างคุณค่าให้กับองค์กร ลูกค้า สังคม และประเทศ อย่างเช่น การสร้างเทคโนโลยีที่ Support คนที่มีปัญหาทางสายตาสามารถใช้ได้อย่างเท่าเทียมกับคนทั่วไป

I – Innovation เป็นเรื่องนวัตกรรม การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ

A –Agility คือความรวดเร็วในการทำงาน

          ตรงกับ 3 V ของอาจารย์จีระ

          สิ่งที่ปรับใช้คือการปรับความคิดให้รับความคิดใหม่ ๆ ทำอย่างเป็นทีม ทำโดยมีเป้าหมายไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน มีข้อมูลรอบด้านสู่การตัดสินใจวางแผนร่วมกัน มีการจัดสถานที่ทำงานเอื้อต่อการทำงานที่มีความสุขในการทำงานของบุคลากร ให้บุคลากรทำงานอย่างมีคุณภาพ

          มีการทำนวัตกรรมในการเข้าถึงง่าย ใช้เทคโนโลยีในการทำงาน อย่างม.ทักษิณควรสร้างนวัตกรรมคือเรื่องการลงทะเบียนนิสิต คือให้ลงทะเบียนแล้วสามารถจ่ายเงินได้ทันที

 

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

          กล่าวถึง การมีวิญญาณแห่งการทำได้ แล้วทุกอย่างจะทำได้

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          อย่าง Unilever เขามีการสร้าง Alumni เสนอว่าเราต้องสร้าง Network ของ Alumni ชุมชน และธุรกิจ ปัจจัยสำคัญที่สุดคือเก็บข้อมูลแบบ Big Data ต้องรู้ว่า Data อยู่ที่ไหน และใครเป็น Potential Customer  

          โลกในอนาคตต้องมีที่ปรึกษา และต้องหาทางออกร่วมกัน การไปดูงานเพื่อนำมาปรับพฤติกรรมของเรา แต่การดูงานไม่ใช่ปรับได้ทันที

          ฝ่ายสนับสนุนคือนักการตลาดตัวจริง แต่บางครั้งอาจไม่ได้ทำเพราะรู้สึกว่าไม่เกี่ยวกับเรา

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          บทเรียนที่ได้ศึกษาดูงาน นำมาใช้กับการปรับพฤติกรรม

          1. ปรับจากความเป็นจริง

          - ถ้าดีมากอาจรู้สึกท้อ แต่ถ้าเข้าใจแล้วปรับใช้ ปรับจากความเป็นจริงจะเคลื่อนไปได้เร็ว

          2. ตอบสนองต่อมหาวิทยาลัยทักษิณ จะทำให้ตอบสนองการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยได้

          3. คนทำงานต้องเริ่มจาก Mindset กว่าจะค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนต้องใช้เวลา พอคนเราปรับ Mindset แล้ว มี 6 เรื่องที่ต้องทำคือ

          - สายสนับสนุนทำให้ดีเลิศ

          - แต่ละที่ไปแล้วรู้สึก Happy เพราะเขาทำงานอย่างสนุก อย่าไปสู้กับการเงินยาก ๆ ให้หาเรื่องใหม่ ๆ และทำให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อมีความสนุกจะมีความสุขในการรับผิดชอบร่วมกัน ทำงานอย่างมีความสุข

- มองเห็นอนาคต แล้วจะปรับตัวเองได้เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัย

          - การออกจาก Comfort Zone

          - สร้างงานใหม่ ๆ คือนวัตกรรม

          - Continuous Improvement คือพัฒนาให้ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ

 

ประธานสรุป สิ่งที่ได้ศึกษาดูงานมาทั้ง 3 ที่เขามีความเชื่อมั่นในองค์กร ผู้บริหารในห้องนี้ต้องเชื่อว่า TSU เป็นที่หนึ่งให้ได้

         

 

วิชาที่ 17 การบริหาร “คน” ของบุคลากรสายสนับสนุน

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          เน้นทฤษฎี 2 R’s คือความจริงและตรงประเด็น วัตถุประสงค์ในวันนี้คือได้ไปที่ทุกคน ข้อดีคือวิทยากรในวันนี้ทำเรื่องทุนมนุษย์ตลอดชีวิต การปะทะกันทางปัญญา ต้องคิดต่าง และสรุปให้ได้ถึงจะอยู่รอด ต้องเอาชนะอุปสรรค

          ศักยภาพคือเมื่อจบไปแล้วจะทำอย่างไรกับตัวคุณเอง

การปลูกต้องมีการปลูกในช่วงเรียนและเข้ามหาวิทยาลัย แต่ยังไม่พอ ต้องปลูกในวัยทำงานด้วย ทุกคนต้องปลูกตลอดเวลา และหลังจากจบไปแล้วให้ติดตามตลอดเวลาว่าทำอะไรต่อ หน้าที่ของทุกคนคือ Process

          การทำ Workshop คือการปะทะกันทางปัญญา สิ่งที่ควรทำคือต้องต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง และถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่ามีบางคนที่พูดอะไรที่คาดไม่ถึง ให้เก็บไว้เป็น Moment เลย การปะทะกันทางปัญญา แม้ไม่อยู่ในห้องเรียน ก็สามารถไปจัด Workshop ได้ ให้เขาพูดให้จบก่อน ให้ฟังก่อนว่าเขาพูดอะไรอยู่ แล้วค่อยหาทางเอาชนะ

          การปลูกมีทั้งการปลูกปัญญาและปลูกความดี

          Execution คือ ความสำเร็จที่เกิดจากการเอาชนะอุปสรรคที่เกิดขึ้น ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเอาชนะอย่างไร อุปสรรคอย่างหนึ่งแก้ด้วยฝ่ายสนับสนุน อย่างไรฝ่ายสนับสนุนต้องแก้เรื่องคนให้เป็น เราต้องหาตัวอย่างหรือเหตุผลว่าบางจุดเราได้ทำสำเร็จมาแล้ว บางจุดเราทำล้มเหลว

          สิ่งที่น่าสนใจคือทำไมจัดหลักสูตรนี้

          คนเราจะขึ้นเพราะการมี Passion Purpose และ Meaning เน้นการทำให้ดีที่สุด ดังนั้น Session นี้ไม่มีใครไม่ได้ประโยชน์ สิ่งที่กลับไปทำคือการทำ Sequence เปิด ระหว่างกลาง และ Hi-light ให้ดูว่าคนเก่งในเมืองไทยเขาทำอะไร

          การเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นราชการมาก่อนจะติดนิสัยการเป็นราชการ ถ้าไม่รู้จักปรับตัวจะอยู่รอดยากมากเลย  อย่าติดอยู่ที่พฤติกรรมเท่านั้น ต้องมีการปะทะกับคนเก่ง

          วิชานี้มีประโยชน์หรือไม่คือได้ยิงเข้าไปในสมองหรือไม่ ปลูกฝังอย่างไร และนำกลับไปใช้หรือไม่ จุดแข็งของแต่ละคนมีอะไรบ้าง และต้องหาจุดแข็งของคนอื่นในการทำงานร่วมกัน ให้กระตุ้นทุกวันว่าทุกวันนี้อะไรสำคัญที่สุด องค์กรกับตัวเรามีการ Alignment กันหรือไม่ และผลประโยชน์ส่วนตัวและมหาวิทยาลัยไปด้วยกัน

          หลักสูตรต้องวิ่งแนวนอนไม่ใช่วิ่งแนวตั้งอย่างเดียว ต้อง Value Chain

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          การปลูกเสมือนการปลูกต้นไม้ คือการพัฒนาคนต้องมีการปลูก เป็นเสมือนการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างหนึ่ง การปะทะกันทางปัญญาเป็นหนึ่งในกระบวนการหรือ Process หนึ่ง

          การเก็บเกี่ยวทำได้ 2 แบบคือ 1. ทำทันที 2.ทำทีหลัง โดยดูความพร้อมของคนว่าคนพร้อมหรือยัง

          Execution คือการทำให้สำเร็จเน้นการทำให้สำเร็จ

          การเป็นม้าตีนปลายหรือไม่ ให้เลือกในสิ่งที่เราถนัด เป็นประโยชน์ เช่น ดร.จีระ เลือกทุนมนุษย์ เลือกกีฬาเพื่อเน้นสุขภาพดี

          สิ่งที่ทำให้คน ๆ หนึ่งสำเร็จมากกว่าคนหนึ่งคือการเลือก เลือกสิ่งที่เราถนัดและเก่ง และการเอาชนะอุปสรรค

 

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

          โดยทั่วไปการทำงานองค์กรต้องเน้นผู้บริหาร การสนับสนุนคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยเห็นความสำคัญมาก เพิ่งเห็นองค์กรเดียวที่ทำ Subordinate Skill ที่เน้นการทำอะไรที่ทำให้สำเร็จในภาพรวม มีการปลูก เก็บเกี่ยว เอาชนะอุปสรรค มีการใส่ปุ๋ย ใส่ความรู้ รวมถึงใส่จิตวิญญาณในองค์กร

          การดูแลคน มีการ Caring คนมีความแตกต่างกัน แต่ละคนต้องการได้รับความเอาใจใส่ไม่เหมือนกัน บางคนอยากให้นายถาม บางคนไม่อยากให้นายถาม ต้องเข้าใจ

          การเก็บเกี่ยว เป็นเรื่องของ Learning & Development ทุกคนต้องเป็นคนที่อยากเรียนรู้ด้วยตนเอง การเก็บเกี่ยวความรู้ และการพัฒนา

          โมเดล 70:20:10

          10 %   เรียนรู้จาก Classroom

          20%    เรียนรู้จากคนอื่น หมายถึงเอาตัวเราเดินออกไปหาคนอื่น ซึ่งการทำตรงนี้ได้อย่างน้อยเราต้องมีทัศนคติบวก ถ้าเราเรียนรู้จากคนอื่น และคนอื่นเรียนรู้จากเราคือเป็นการ Knowledge Sharing

          70%    เรียนรู้จากการทำงาน คือทำงานไปเรียนรู้ไป ทุกครั้งที่แก้ปัญหางานใหม่ ๆ คือการเรียนรู้

          สังเกตได้ว่า 90% คือการเรียนรู้ที่ไม่ได้จากห้องเรียนเลย เป็นการเรียนที่เราต้องเอาความรู้ใหม่ ๆ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และถ้าจะพัฒนาตนเอง จากนี้ไปเราต้องค้นหาตัวเองว่าเราจะพัฒนาอะไร หลังจากนี้ไปเราต้องทำแผนพัฒนาตนเองได้ว่าจะพัฒนาอะไร ซึ่งถ้าเราทำได้ทั้งหมดคือการทำ Learning Organization เป็นการสร้างองค์กรให้เกิดการเรียนรู้ ให้เอาชนะอุปสรรค เพราะเราอยู่บนโลกแห่งความไม่แน่นอน หลายสิ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก เช่น เรียนน้อย ประเด็นคือ เราจะทำอย่างไรให้เราเอาชนะอุปสรรค

          ก่อนที่เราจะเป็นผู้นำ ความสำเร็จลึก ๆ คือการพัฒนาตัวเอง และเมื่อเป็นผู้นำแล้วความสำเร็จอยู่ที่การพัฒนาคนอื่น

          การเอาชนะอุปสรรคหมายถึง เราต้องเอาชนะการเปลี่ยนแปลงให้ได้ อย่างทุกวันนี้เราอยู่ในโลก

1. VUCA World คือโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่แน่นอน ซับซ้อนมากขึ้น และความไม่ชัดเจน

2. เราต้องเรียนรู้ตลอดเวลา

3. เราต้องพัฒนาตนเอง

4. หาเป้าหมายที่ชัดเจนคือ Purpose เราเป็นอย่างไร เป้าหมายในชีวิตทำงาน เป้าหมายในชีวิตส่วนตัว

          เราต้องกล้าที่จะยอมรับความเก่งของเรา คือต้องยอมรับว่าเราดีตรงนี้

          การสะท้อนความคิด เราต้องทำตัวที่เป็น Reflection บ่อย ๆ คือเข้าใจอย่างไรและจะ Applyอย่างไร

          เช่น ค่านิยมองค์กรคือทีม อาจารย์มี Networking เยอะหรือไม่ในองค์กร อยากให้คนในมหาวิทยาลัยรู้จักเราในฐานะอะไร

          เราจะเรียนรู้อย่างไร เรียนรู้แล้วต้อง Re-Learn และต้อง Un Learn ด้วย ต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ทุกวัน เราต้องมีพื้นที่ในการรับสิ่งใหม่ ๆ เราต้องเอาของเก่าออกไปบ้าง เพราะของเก่าคือความสำเร็จในอดีต และบางครั้งไม่สามารถใช้ในยุคนี้ได้แล้ว เราต้องเสริมความคิดใหม่ ๆ เข้าไปเพื่อได้ก้าวข้ามสามารถสร้างนักศึกษาออกไปเป็นคนที่มีคุณภาพขององค์กร

          เราจะทำอะไรบ้างเพื่อสร้างทีมของเราให้เป็น A+ Team เราจะสร้างอย่างไร และคำว่า A+ Team หมายถึงอะไรกับพวกเรา           ดังนั้นในการบริหารคน จะเหมือน Shape Diamond

          1. Develop Self Awareness คือต้องตระหนักในตัวตนของเรา

          2. Accountable Result คือทำงานให้ได้ผลลัพธ์

          บางครั้งเราทำเพื่อ KPI แต่มีผลการวิจัยจากโลกตะวันตกบอกว่า KPI มีปัญหาได้ ซึ่งถ้าเราต้องการให้งานออกมาดี นายกับลูกน้องต้องมีการพูดคุยอย่างสม่ำเสมอ ต้องมี Dialog Regularly คือบทบาทของหัวหน้าต้องโค้ชลูกน้องเป็น

การพัฒนาตนเอง

1. Mindset

2. Value ค่านิยมในตัวเอง

3. Manage Team เราดูทีมเราว่ามี Generation อะไรบ้าง เช่น BabyBoom Gen X GexY GenZ เราต้องสามารถพัฒนาทีมอย่างให้มี Accountability

          การมี Mindset อะไรแล้วจะออกมาที่การกระทำ แล้วการกระทำจะออกมาที่ผลลัพธ์ เช่นถ้านายต้องการแต่งาน แล้วจะสนใจแต่งาน ไม่สนใจว่าลำบากลำบนแค่ไหน จะต้องการแต่งาน ผลลัพธ์ที่ได้มาคือความเครียด และไม่รักกัน เพราะว่าถ้านายมาซ้าย เราจะไปขวา เราจะคอยตั้งป้อมว่าเราจะโดนอะไรอีก

          สิ่งที่เราเห็นเป็น 10 % แต่ความรู้สึกข้างใต้มีอยู่มาก และเราจะใช้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล ซึ่งถ้าเราได้รับ Feedback บ่อย ๆ จะเป็นการดี

          Growth Mindset จะเป็นคนที่เห็นการเปลี่ยนแปลงเป็นโอกาส เห็นช่องทางในการเจริญเติบโต เห็นการเรียนรู้ใหม่ ๆ ความล้มเหลวเป็นการผลักดันให้เราทำอะไรดีขึ้น ส่วน Fix Mindset เป็นเรื่องตรงข้าม

          Value คือความเชื่อ แต่ละคนยึดถืออะไรเป็นค่านิยมในตัวเองบ้าง

          เราต้องเข้าใจในพฤติกรรมของเขาเพื่อทำงานได้อย่างมีความสุข เราต้องเข้าใจคนอื่น และคนอื่นเข้าใจเรา

การร่วมแสดงความคิดเห็นเรื่อง Value

          1. ทำอะไรทุกอย่างด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจสูงมาก

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ข้อสังเกตเรื่องการบริหาร “คน” ของบุคลากรสายสนับสนุน ของ TSU

1. Non - HR

ทุกคนในห้องนี้เป็นฝ่ายสนับสนุนที่เรียกว่า “Non – HR” คือ ทำงานเรื่องอื่น ๆ แต่ก็มีลูกน้อง มีเจ้านาย มีฝ่าย HR ของมหาวิทยาลัย ดังนั้น งานที่ทำต้องแน่ใจในบทบาทของตัวเอง

2. บทบาทของตัวเอง

บทบาทของตัวเอง.. หากพิจารณาตามแนว Chira Way – เรื่องคนมี 3 เรื่อง ประกอบด้วย

1. ปลูก - - 8K’s+5K’s

ปลูกในทุกขณะที่หาความรู้ เพื่อให้ทันเหตุการณ์ เพื่อให้มีศักยภาพ ใน 8K’s , 5K’s จะเหมือน Prerequisite  8K’s 5K’s มีพื้นฐานจาก Gary Becker คือต้องลงทุน แต่ไม่ใช่การลงทุนด้านปริมาณอย่างเดียว

2. เก็บเกี่ยว - - ทฤษฎี 3 วงกลม + HRDS

ทำอย่างไรให้คนทำงานตามศักยภาพของเขา คือการสร้างแรงจูงใจ ต้องดูแต่ละคนให้ดีว่าเขาต้องการอะไร บางคนต้องการครอบครัว ต้องการอิสรภาพ ไม่ได้เห็นเงินสำคัญที่สุด เมื่อมอบอำนาจแล้วให้ทำให้ดีที่สุด มีเรื่อง HRDS คือ Happiness , Respect , Dignity และ Sustainability  

3. สุดท้าย คือ ทำให้สำเร็จ คือ Execution

3. บทบาทของตัวเอง (Non HR+ CEO + HR)

HR –Non HR- Stakeholder ต้องทำร่วมกัน ปล่อยให้ผู้บริหารทำคนเดียวก็ไม่รอด ต้องมีฝ่ายสนับสนุนด้วยจึงทำให้สำเร็จ

การพัฒนาคนจึงต้องไปด้วยกัน มีอุปสรรคต้องเอาชนะมัน ต้องกระตุ้นให้ลูกน้องเป็นเลิศ

บทบาทของทุกคนจึงจะต้องเสริมงานของผู้นำระดับอธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี เรียกว่า CEO และบทบาทของอาจารย์สายสนับสนุนที่ดูแลเรื่อง HR โดยตรง

 

 

          1. ต้องคิดเรื่องคนเป็นยุทธศาสตร์

          2. ต้องบริหารการเปลี่ยนแปลง

          3. เปลี่ยน Training เป็น Learning

          4. เปลี่ยน Expense เป็น Investment

          5. เปลี่ยน Stand alone เป็น Partnership

          ฯลฯ

4. ช่วยเป็น Mentor และ Coach ให้กับลูกน้อง

          Mentor คือการช่วยดูแล และต้องมีการ Coach ไปด้วยกัน ผู้บริหารหรือสายสนับสนุนในห้องนี้มีลูกน้อง ควรจะมีส่วนช่วยในการดูแลลูกน้องว่าเขาทำงานอย่างไร ขาดเหลืออะไรที่ควรจะทำ คือ ทำตัวเป็นพี่เลี้ยง Mentor และ Coach ไปด้วย ขณะเดียวกันก็ช่วยท่านคณบดีในการดูแลเรื่องคน

5. ค้นหาตัวเอง /ลูกน้อง – ปลูก + เก็บเกี่ยว – ทำงานข้าม Silo     

หลัก ๆ ก็คือ ค้นหาตัวเองว่าเรื่องคนอยู่ตรงไหน จะมีบทบาทอย่างไรเพิ่มขึ้น เช่น เคยทำงานเรื่องการเงิน หรือ เรื่องวิชาการ    ก็สนใจเรื่องคนด้วยว่า.. เรื่องปลูกเรื่องเก็บเกี่ยว เขาขาดอะไร? ช่วยแนะนำ และสุดท้ายก็เน้นคุณภาพชีวิตที่ดี และทำงานข้าม Silo มากขึ้น

6. ค้นหาตัวเอง ทำงานร่วมกับคนอื่น อย่าทำงานคนเดียว

เมื่อค้นหาตัวเองว่า ‘จุดแข็งเรื่องคนคืออะไร’ ก็ทำงานร่วมกับคนอื่น ๆ เรียกว่า “ทำงานเป็นทีม อย่าทำงานคนเดียว”

7. Cross Functional Team

เน้นการทำงานแบบ Cross Functional Team .. เพราะในอนาคต มหาวิทยาลัยจะทำงานแบบ Silo ไม่ได้ ต้องข้าม Silo ต้องเน้นการทำงานเชิง Diversity เอาความหลากหลายมาเป็นพลัง

8. ทฤษฎี 3 วงกลม

เรื่องการบริหารคน ผมเสนอแนวคิดเรื่อง 3 วงกลม

 

วงกลมที่ 1

ดู contextในองค์กรว่าเอื้ออำนวยหรือเปล่า

- จะเอา IT มาใช้

- ระบบองค์กรที่คล่องตัว

- process ของงาน

- การนำ data และ knowledge

  มาสร้างมูลค่าเพิ่ม

วงกลมที่ 2

มองดูคุณภาพจาก gap analysisว่ามี skills และ competencies อะไรและขาดอะไร  แล้วพยายามลดช่องว่าง

Competencies ที่ได้เกริ่นไว้ในตอนต้น ประกอบด้วย 5 เรื่องที่สำคัญ ประกอบด้วย

1. Functional Competency  คือ ความรู้ที่เราต้องเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงาน เช่น วิศวกร ต้องฝึกเรื่องช่าง บัญชีก็ต้องฝึกเรื่องบัญชี

2. Organizational  Competency  เน้นเรื่องความรู้ที่มีประโยชน์ให้องค์กร  มีการศึกษาเรื่อง Reengineering, Six Sigma, การปรับองค์กร, TQM, วัฒนธรรมองค์กร, การทำงานเป็นทีม, การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้

3. Leadership  Competency

  • เน้นเรื่อง People Skill
  • เน้นเรื่อง Vision
  • เน้นเรื่องการสร้าง Trust 

.         4. Entrepreneurial   Competency

(1) มีความคิดริเริ่ม

(2) มีความคิดในเชิงผู้บริหาร

(3) เผชิญหน้ากับความล้มเหลว

(4) บริหารความเสี่ยง

5. Macro and Global Competency

(1) รู้ทันเหตุการณ์ว่าอะไรกำลังดำเนินอยู่ทั้งในระดับประเทศ และระดับโลก

(2) แสวงหาโอกาส และหลีกเลี่ยงความเสี่ยง

ผมว่าคนไทยยังไม่มี...

  • การแสวงหาความรู้ (Learning Culture )
  • เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
  • ภาวะผู้นำ
  • การมองโลกทัศน์ที่กว้างและกำหนดวิสัยทัศน์ที่ดี
  • Innovation
  • การบริหารเวลา (Time Management)
  • Creativity
  • การมีทัศนคติเป็นบวก (Positive Thinking)
  • ทำงานเป็นทีม
  • การบริหารความรู้ (Knowledge Management)
  • Change management
  • การกระจายอำนาจให้ได้ผล
  • ความสามารถในการตัดสินใจ
  • ความสามารถในการรับฟังและยอมรับความจริง

เป็นต้น

วงกลมที่ 3

         จะทำอย่างไรให้การ motivation มีประสิทธิภาพ และเกิดผลจริงกับงาน

  • โครงสร้างเงินเดือน
  • การมีส่วนร่วม
  • การทำงานที่ท้าทาย
  • การทำงานเป็นทีม
  • การให้รางวัลพิเศษ
  • การไปเพิ่มพูนความรู้
  • ค่าตอบแทนที่เป็นไปได้ เช่น โบนัส
  • วัฒนธรรมองค์กร
  • การประเมินผลอย่างโปร่งใส
  • ความเป็นธรรม
  • Style การบริหาร
  • สภาพแวดล้อมในการทำงาน
  • Empowerment
  • อื่นๆ

9. ทฤษฎี HRDS

และบทบาทสำคัญที่สุดของท่านก็คือ กระตุ้นให้ อาจารย์เป็นเลิศ นักศึกษาเป็นเลิศ ผู้ร่วมงานเป็นเลิศ

เครือข่าย (Networks) ข้างนอกเป็นเลิศ ตามแนวทางทฤษฎี HRDS

10. ทำงานเป็น Process มุ่งไปสู่ลูกค้า

เมื่อค้นหาตัวเอง ทำงานเป็นทีม เน้น HRDS ที่เหลือคือ ทำงานเป็น Process คือ เน้นการร่วมมือกันในแนวนอน เพราะแนวนอนจะไปสู่ลูกค้า ลูกค้าของคุณ คือใคร ต้องคิดให้ดี เพราะอนาคตของ TSU ต้องมีฝ่ายสนับสนุนที่ช่วยบทบาทของ CEO และอาจารย์มากขึ้น

11. HRDS + Inspiration + Empowerment + Role Model

นอกจาก HRDS แล้ว การสร้าง

       1. Inspiration      ให้ทีมงานก็สำคัญ

       2. การมอบหมายงาน Empowerment ก็สำคัญ

       3. การเป็น Role Model ก็สำคัญ

           ทั้งหมดนี้คือหน้าที่ของท่าน แต่ตัวท่านเองก็ต้องมีความสามารถ มั่นใจว่าทำได้ ลองสำรวจตัวเองดูว่าใน 10 วันที่อยู่ด้วยกัน.. ช่วยท่านในเรื่อง “คน” อย่างไร และทำอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

12. ความสำเร็จของหลักสูตรนี้ .. ท่านได้อะไรบ้าง?

          สรุป ความสำเร็จของหลักสูตรนี้ คือ สร้างความสัมพันธ์ที่ดี เรียกว่า Informal Networking

ช่วยให้เราคิดเป็น วิเคราะห์เป็น ทำให้สามารถจับประเด็นได้ แบบ 2 R’s

          ทุนเหล่านี้จะช่วยคุณได้อย่างไร? ก็ต้องกลับไป Reflect หรือสะท้อนดูว่า 10 วันนี้ท่านได้อะไรที่จะติดตัวท่านไป..

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

          หัวข้อคือการบริหารจัดการคนในช่วงการเปลี่ยนแปลง การทำงานของทุกที่แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ CEO ฝ่ายบริหาร – Non HR และ Stakeholder

          โดยความเป็นจริงทุกคนทำงาน HR อยู่ทุกวันเป็น On the job training เริ่มตั้งแต่ทำงานวันแรก มีรุ่นพี่สอนรุ่นน้องมาเรื่อย ๆ ซึ่ง Non-HR ทำ HR มากสุดในด้านนี้จากการปฏิบัติงานจริง

          1. การปลูก คือการพัฒนาคน

- ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ Learn-Share-Care แต่อย่างไรก็ตามอย่าหยุดการเรียนรู้

- การเรียนรู้แบบ Life Long Learning  และ

- Learning Community เป็นการเรียนรู้ร่วมกัน

          ดังนั้นการปลูกในเรื่องเรื่องปัจเจก อย่าลืมเรื่อง 8K’s 5K’s ใครมีมากก็ใช้อันนั้น อย่างเรื่องทุนทางวัฒนธรรม ทำอย่างไรเก่งให้ทำอันนั้น

          2. การเก็บเกี่ยว คือการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ตามแนวทางทฤษฎี HRDS

          - Happiness

          - Respect บางคนต้องการมี Reward ให้ด้วย

- Dignity คือ Identity

          - Sustainability คือ Life long learning เอาชนะไปเรื่อย ๆ

3. การก้าวข้ามอุปสรรค

- ใช้ทุนทางสังคมเป็นเครื่องมือ

- ดูว่า Stakeholder ทำกับใคร ภายในหรือภายนอก อย่าง ดร.จีระเสนอว่ามีตัวละคร 4 กลุ่มคือ ภาครัฐ ชุมชน เอกชน และวิชาการ

- 3 V’s มี Value Added , Value Creation, และ Value Diversity

          ดร.จีระ เสริมว่า 8K’s เป็นพื้นฐาน ส่วน 5K’s เป็นการต่อยอดสู่การทำงานสมัยใหม่ มีเรื่องอารมณ์มาเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นเรื่องที่พูดนานแล้วคือเรื่องเจริญสติ

          ถ้าลูกน้องเก่งแต่ก้าวร้าวต้องเก็บเอาไว้ เช่นเรื่องทุนทางอารมณ์ ถ้าควบคุมสีหน้าไม่ได้ เจ้านายจะฆ่าทิ้ง อย่างไรลูกน้องต้องมีปิยวาจา คือทำให้เป็น ให้ระวังเรื่อง Ego ด้วย เพราะถ้าคนไม่ Happy จะทำให้เกิดปัญหา เราต้องระวังเรื่องอย่าโพล่งเกินไป ต้องควบคุมสีหน้า ต้องระมัดระวังเรื่อง Verbal and Non-Verbal Communication

          ผู้นำที่ดีคือได้รับการศรัทธาจากคนในสังคม แต่อาจมีตำแหน่งหรือไม่มีตำแหน่งก็ได้ ต้องรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น อย่าดื้อ

 

WORKSHOP : ทำกลุ่มละ 1 ข้อ

 

กลุ่ม 4  ข้อ 1. ในช่วงเวลา 10 วัน เรื่องคน ไม่ว่าจะ “ปลูก “เก็บเกี่ยว” หรือ “Execution” แบบ Chira Way ที่จะติดตามฝ่ายสนับสนุนไปและนำไปปฏิบัติได้ 5 เรื่องคืออะไร เพราะอะไร?

กลุ่ม 3  ข้อ 2. การทำงานของท่านที่เกี่ยวกับ

         - นักศึกษา

         - อาจารย์

         - ผู้บริหาร / CEO

         - พ่อแม่ ผู้ปกครอง

         - นักธุรกิจ

         - ระหว่างคณะต่าง ๆ

         ลองยกตัวอย่างสิ่งที่จะทำต่อ ต่อตัวละครเหล่านี้ และอุปสรรค คืออะไร?

กลุ่ม 2  ข้อ 3. ที่ผ่านมา..

      ความสำเร็จในงานของท่านเรื่องการบริหาร “คน” คืออะไร 2 เรื่อง เหตุผลที่สำเร็จเพราะอะไร?

      ความล้มเหลวในงานของท่านเรื่องการบริหาร “คน” คืออะไร 2 เรื่อง  เหตุผลที่ล้มเหลวเพราะอะไร?

กลุ่ม 5 ข้อ 4. ในฐานะ Non – HR ถ้าจะมีการพัฒนาต่อเนื่องเรื่องคนใน TSU ลองเสนอแนวทางที่เป็นไปได้ 3 แนวทาง พร้อมเหตุผล

กลุ่ม 1 ข้อ 5. วิเคราะห์ปัญหา/อุปสรรคเรื่องความผูกพันของคนในองค์กร และขอให้เสนอแนวทางในการสร้างความผูกพันของบุคลากรสายสนับสนุนใน TSU

 

 

Workshop

กลุ่ม 4  ข้อ 1. ในช่วงเวลา 10 วัน เรื่องคน ไม่ว่าจะ “ปลูก “เก็บเกี่ยว” หรือ “Execution” แบบ Chira Way ที่จะติดตามฝ่ายสนับสนุนไปและนำไปปฏิบัติได้ 5 เรื่องคืออะไร เพราะอะไร?

          1. การปรับ Mindset สิ่งหนึ่งคือ Mindset ที่สอดคล้องกับค่านิยมหลักของบุคลากรอาทิการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น มีกิจกรรมที่ตอบโจทย์ค่านิยมหลักจริง ๆ เพื่อให้ไปทิศทางเดียวกัน

          2. การเรียนรู้ และสร้างบรรยากาศให้เกิดการเรียนรู้ เนื่องจาก โลกไม่หยุดนิ่งการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา สร้างกิจกรรมให้เกิดการเรียนรู้เป็นช่องทางให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

          3. การมอบหมายงานให้ตรงความสามารถ กระตุ้น เสริมแรง สร้างสิ่งที่สอดคล้องกับตัวตนของเขา มีการปรับการกำหนด TOR ที่คำนึงถึงความแตกต่างของคน มีช่องสำหรับงานเชิงพัฒนาที่สอดคล้อง

          4. บทบาทของการเป็น Mentor เป็นที่ปรึกษาอย่างระบบแม่ไก่ ให้รุ่นน้องเรียนรู้งานจากรุ่นพี่ มีการพัฒนาความก้าวหน้าของบุคลากรด้วย

          5. การสร้างความสำเร็จ สร้างจากสิ่งที่ถนัด สนใจ มีเวทีให้เจ้าของผลงานได้ Share ให้ประชาชนได้รู้ และมีการนำเสนอนวัตกรรมด้วย

 

กลุ่ม 3  ข้อ 2. การทำงานของท่านที่เกี่ยวกับ

         - นักศึกษา

         - อาจารย์

         - ผู้บริหาร / CEO

         - พ่อแม่ ผู้ปกครอง

         - นักธุรกิจ

         - ระหว่างคณะต่าง ๆ

         ลองยกตัวอย่างสิ่งที่จะทำต่อ ต่อตัวละครเหล่านี้ และอุปสรรค คืออะไร?

1. นักศึกษาข้อจำกัดคือการพัฒนาคำร้อง online

2. อาจารย์

          มีส่วนสำคัญในการให้ความรู้กับนิสิต ในสายสนับสนุนมีหน้าที่สนับสนุนด้านนวัตกรรมการเรียนการสอน สิ่งที่สนับสนุนคือผลักดันให้อาจารย์ใช้นวัตกรรมต่าง ๆ ได้ คือจำเป็นต้องสร้าง Mindset ให้อาจารย์ว่าเทคโนโลยีมีประโยชน์จริง ๆ เช่น แบบฝึกหัด Online สอบ Online หรือการบันทึกในระบบด้วยคอมพิวเตอร์

3. ผู้บริหาร /CEO

          การวิเคราะห์สาเหตุที่เมื่อดำเนินการล่าช้าและไม่เป็นไปตามเวลาที่กำหนด ยังไม่เกิดความเข้าใจแท้จริง อยากเป็นกลไกที่ช่วยวิเคราะห์เพื่อผู้บริหารระดับสูงและระดับล่างมีความเข้าใจตรงกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นคือข้อจำกัดบุคลากรเป็นปัญหาที่เราต้องกำจัดออกไปเพื่อที่จะดำเนินการต่อในเรื่องนี้

          เป็นลักษณะการสื่อสารองค์กรแบบ Two way คือต้องการถ่ายทอดนโยบายสู่ภาคปฏิบัติเนื่องจากการถ่ายทอดไประดับล่างไม่ได้กระจายอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว เกิดข้อจำกัด มีกระบวนการหรือขั้นตอนมาก ดังนั้นกระบวนการเหล่านี้ต้องทำให้เกิด Two way เช่น ลดขั้นตอนหรือกระบวนการทำให้การสื่อสารในองค์กรง่ายขึ้น

4. พ่อแม่ / ผู้ปกครอง

          การประชุมทุกปีเพื่อสร้างความผูกพัน ปัญหาคือไม่ได้มีการประชุมที่ให้ไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อนิสิตเข้ามาเรียนเราจะสื่อสารอย่างไรให้เขาไว้วางใจ มีความวางใจว่าลูกจบแล้วได้รับการไว้วางใจเป็นไปได้ตามที่คาดหวัง  ถ้ามีกระบวนการหรือวิธีการหรือเวลาที่มีการชี้แจงเป็นรายปี การสื่อสารที่ทำให้เกิดความเข้าใจมีช่วง Gap จะทำให้องค์กรมีแคบลง ช่องว่างจะดีขึ้น การใช้เทคนิคนี้มาช่วยทำให้ความรัก ความผูกพันดีขึ้น แต่อุปสรรคคือผู้ปกครองแท้จริงมาหรือไม่

5. นักธุรกิจ

          การวางกลยุทธ์การบริหารระหว่างองค์กรกับองค์กรเช่น โครงการการก่อสร้างหรือซื้อขาย อุปสรรคคือยังยึดกฎระเบียบแบบราชการ

6. ระหว่างคณะต่าง ๆ

          การสร้างเครือข่ายระหว่างคณะ และ Learn-Share-Care เป็นอุปสรรคสำคัญ

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เสริมว่า Pilot Project ลองทดลองโครงการนำร่องที่ร่วมระหว่างฝ่ายสนับสนุนและอาจารย์ที่แต่ละส่วนต่างต้องการซึ่งกันและกัน เราต้องมองทั้งสองส่วนที่เป็นลักษณะ Mutual Benefit

Michael Hammer พูดว่างานที่ทำมี 2 ชนิดคืองานที่ทำที่ไร้สาระ และงานที่ทำแล้วมีประโยชน์

เน้นการทำที่ Reality + Relevance แล้วจะทำให้เกิดมูลค่าขึ้นมา

          ในอนาคตข้างหน้าถ้าร่างแผนให้อธิการเรื่องการบริหาร Stakeholder ดูว่าฝ่ายอาจารย์คิดอย่างไร ฝ่ายบริหารคิดอย่างไร แต่ที่ผ่านมาต่างคนต่างทำ ก็ควรมาคิดเชิงนโยบายบ้าง ฝ่ายสนับสนุนต้องบริหารจัดการด้วย

 

กลุ่ม 2  ข้อ 3. ที่ผ่านมา..

      ความสำเร็จในงานของท่านเรื่องการบริหาร “คน” คืออะไร 2 เรื่อง เหตุผลที่สำเร็จเพราะอะไร?

          1. Happiness Capital คือทุนแห่งความสุข เป็นสิ่งสำคัญให้การบริหารคนสำเร็จ มีการให้เกียรติกัน ยกย่องชมเชยกัน และมีความสุขด้วยตัวเองด้วยคือ Happy at Work

          2. Social Capital มี Networking ช่วยเหลือกัน ทำงานเป็นเครือข่าย และมีเรื่อง Stakeholder มาเกี่ยวข้องด้วย เน้นการฟังเสียงลูกค้าด้วย  เช่น การ MOU ในการเรียนรู้จากหน่วยงานเพื่อนำมาปรับเปลี่ยนพัฒนา ซึ่งการMOU มีทั้งภายในและต่างประเทศ เป้นการพัฒนาอย่างดี

      ความล้มเหลวในงานของท่านเรื่องการบริหาร “คน” คืออะไร 2 เรื่อง  เหตุผลที่ล้มเหลวเพราะอะไร?

          1. Knowledge Capital ทำไปเพื่อส่งมหาวิทยาลัย ไม่ได้ส่งที่แท้จริง ขาดการ Show and Share อยู่ในกระดาษแต่ไม่มีประโยชน์คนอื่น

          2. Learn-Share-Care เป็นการทำเพื่อต้องทำไม่ใช่ทำเพราะอยากทำจริง ๆ และเรื่อง Life Long Learning น้อยอยู่เนื่องจากองค์กรจัดให้ และมีบางส่วนที่น้ำเต็มแก้ว ทุนมนุษย์ไปได้ไม่สุดศักยภาพถ้าหยุดการเรียนรู้ตลอดชีวิต อยากให้มี KM ในกลุ่มแบบนี้เพราะการปะทะกันจะได้มากกว่าการสื่อสารชั้นเดียว ถ้ามีการ Share ออกไปจะต้องให้มีประโยชน์มากกว่า KM ที่จะทำต่อไปต้องเป็นการนำองค์ความรู้มาสร้างให้เกิดประโยชน์ได้

          3. Innovation Capital ไม่ได้มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาเลย มีของฟรีใช้ ก็ไม่ใช้ ไม่เคยคิดการพัฒนาระบบการทำงานที่ตอบสนองเกินความต้องการของลูกค้าอย่างไร สิ่งที่ควรทำอันแรกคือนวัตกรรมการทำงานจะสร้างคุณค่าได้อย่าง สร้างคุณค่าใหม่ในการสร้างคุณค่าเพิ่ม คุณค่าใหม่ และคุณค่าจากความหลากหลายอย่างไร โดยเริ่มจากงานของเราเองก่อน หน้างานมีกระบวนการไหนบ้างที่จะลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ประหยัดทรัพยากร ลดความสูญเสียและตอบสนองลูกค้าให้มากที่สุด

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เสริมว่าฝ่ายสนับสนุนจะใช้ศาสตร์เพิ่มเติมอย่างไร

          Stakeholder แรกคือลูกค้า นิสิต นักศึกษา Stakeholder ต่อมาคืออาจารย์ที่มาใช้บริการเรา สิ่งนี้คือภาพลักษณ์ขององค์กร เนื่องจากคนที่เข้ามาจะมีการคาดหวัง ถ้าเข้ามาแล้วบริหารได้ ไปศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค ผู้มีส่วนได้เสียว่าเขาคาดหวังอะไร ถ้าคาดหวังแล้วเราสามารถตอบโจทย์ได้ จะเป็นประโยชน์มาก ดังนั้น Stakeholder ที่สำคัญต่อมาคือผู้ปกครอง ต้องดูว่ามีความคาดหวังอะไร เช่น รวดเร็ว มีการบริการที่ดี ดังนั้น การให้บริการที่สร้างความประทับใจ เป็นสิ่งที่เราจะต้องบริหารจัดการอย่างไรให้บรรลุเป้าได้อย่างแท้จริง

           

กลุ่ม 5 ข้อ 4. ในฐานะ Non – HR ถ้าจะมีการพัฒนาต่อเนื่องเรื่องคนใน TSU ลองเสนอแนวทางที่เป็นไปได้ 3 แนวทาง พร้อมเหตุผล

          1.  Non-HR จะเป็นการพัฒนาด้านทฤษฎีค่อนข้างเยอะ ดังนั้นขึ้นอยู่กับจัดตรงไหนเข้ามา ได้มีการทำแผนพัฒนารายบุคคลเพื่อพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่องให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในองค์กรนั้น ๆ ตั้งชื่อ Class A ถ้ามีแผนจะพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนได้

          2. การบริหารงานในส่วนที่ไม่ถนัด เช่น นักวิชาการศึกษาต้องสามารถทำได้หมด แต่ความถนัดส่วนบุคคลไม่เกิด เมื่อมีการมอบหมายงาน ต้องมีการพัฒนางานคน ๆ นั้น เช่นสมมุติให้คนไปทำด้านกีฬา มหาวิทยาลัยต้องมีบทบาทในการพัฒนาคน ๆ นั้นให้ได้

          3. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เก็บปัญหาเล็กน้อยมาแลกเปลี่ยน เอางานที่เกิดปัญหา หาแนวทางและทำใหม่ ทำให้คนเดินไปข้างหน้าได้

 

กลุ่ม 1 ข้อ 5. วิเคราะห์ปัญหา/อุปสรรคเรื่องความผูกพันของคนในองค์กร และขอให้เสนอแนวทางในการสร้างความผูกพันของบุคลากรสายสนับสนุนใน TSU

          การเชื่อมโยงไปยังมหาวิทยาลัยและเชื่อมต่อไปในภายนอกจะทำอย่างไร ได้มองจากทฤษฎี 3 วงกลมเป็นแนวทาง เริ่มจากความรักและผูกพันองค์กรพิจารณาข้อดีอย่างไรบ้าง

          1. การจัดองค์กรมีความสะดวก คล่องตัวอย่างไร มีการพัฒนาอย่างไร มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารและปฏิบัติงานได้ดีพอสมควร และเน้นการพัฒนามากขึ้น

          2. Competency มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญในทุกระดับของคนที่เป็นผู้บริหารอยู่แล้วและจะเป็นผู้บริหารในอนาคต ยิ่งวันนี้มหาวิทยาลัยจะให้ความสำคัญต่อการอบรมและพัฒนามหาวิทยาลัย ทุ่มเทองค์กร มีทุนให้ศึกษาต่อในการพัฒนาวิชาชีพ มีตำแหน่งที่สูงขึ้น มีการพัฒนาคนในอนาคต

          3. การสร้างแรงจูงใจให้กับบุคลากรมีการให้รางวัลในด้านต่าง ๆ ด้านการเรียนการสนอการวิจัย  เรื่องความภาคภูมิใจในเกียรติภูมิ ถ้าไม่ภูมิใจในตนเองให้ภูมิใจในสายสนับสนุนก่อน แล้วเขาจะเห็นความสำคัญเอง การให้เกียรติซึ่งกันและกัน มีกลุ่มเก่าและกลุ่มใหม่ และกลุ่มกลาง ๆ จะทำอย่างไรให้สายนี้มีความรัก ผูกพันและทำงานอย่างมีความสุข แนะนำช่วยเหลือแชร์กัน แบ่งปันกันได้

          4. การสร้างความสมดุลในชีวิตการทำงานและการใช้ชีวิต เราต้องสามารถบริหารจัดการได้ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน

          แนวทางการพัฒนาใช้ทฤษฎี 2R’s เป็นหลัก อะไรเป็นปัญหาให้ดูว่าอะไรสำคัญ อะไรต้องแก้ไข

          ที่มีอยู่ในปัจจุบันอยากให้สะท้อนความสัมพันธ์ในองค์กร แทนที่จะเป็นกีฬาหรือคณะต่าง ๆ มีการปะทะกัน ให้มีการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกัน เรามีพันธกิจ 4 อย่าง แต่เราอาจลืมแทรกการเรียนการสอนในการสร้างความผูกพันตรงนี้หรือไม่ เช่นการทำกิจกรรมต่าง ๆ งานวิจัย นักศึกษา ให้ครอบครัว มีความผูกพันและรัก ม.ทักษิณเช่นเดียวกับที่เรารัก ทำอย่างไร

          สุดท้าย ต้องเริ่มจากการปรับ Mindset ก่อน และสร้างวัฒนธรรมองค์กรเป็นสิ่งสำคัญ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เสริมว่า เราอาจทำเรื่องนักศึกษา แล้วเสร็จแล้วก็จะมีแผนอื่น ๆ เช่น Stakeholder ข้างนอก เช่นธุรกิจ ชุมชน แล้วให้แผนทั้ง 4 แผนเดินข้างหน้า ให้ซอยออกมาเป็น 5 ปี ใช้หลักว่า

          1. Where are we? สถานการณ์เป็นอย่างไร

          2. Where do we want to go? เราจะไปไหน

          3. How to do it? Strategy เป็นอย่างไร

          4. How to do successfully?

          เราต้องเก็บเกี่ยว Harvesting ว่าจะเก็บเกี่ยวอย่างไรให้เป็นประโยชน์


วิชาที่ 18 ระบบพี่เลี้ยงและการสอนงาน (Mentoring System & Coaching)

โดย ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

 

Coaching & Mentoring

Coaching หรือ Mentoring อยู่ในการพัฒนาคน และถ้าจะสร้างให้เกิดเป็นวัฒนธรรมของการมีพี่เลี้ยงกับการโค้ชจะช่วยให้การพัฒนาคนดีขึ้น

Training เน้นเรื่องการพัฒนาทักษะ เป็นการเรียนรู้แบบ Outside In คือจากภายนอกในการฝึกอบรม

Coaching เน้นการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและการปรับปรุงสมรรถนะ เป็นการพัฒนา Performance  and Development ปรับปรุงผลการปฏิบัติงาน โดยระยะเวลาที่จะโค้ชบุคลากรจะใช้เวลาไม่นาน โดยการโค้ชครั้งหนึ่งจะใช้ประมาณ 1-2 เรื่อง เป็นการโค้ชที่มีการสนทนาและ Feedback ซึ่งกันและกัน เป็นแบบ Dynamic

การโค้ชดั้งเดิม หัวหน้าโดยตรงจะเป็นคนโค้ช

          Mentoring เป็นการโค้ชความก้าวหน้าในอาชีพและองค์กร การมี Mentor ในองค์กรเน้นการสร้างความมั่นใจ เป็นวิถีการทำงานแบบใดให้คนเข้าใจแบบนั้น มีการสร้าง Career ความก้าวหน้า และต้องทำอย่างต่อเนื่อง เน้นการทำความเข้าใจองค์กรมากขึ้น

          พี่เลี้ยง ดำเนินงานโดยผู้อาวุโสกว่าหรือพนักงาน การเลือกคนเป็นพี่เลี้ยงในหน่วยงานเราควรมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง อาทิ มีความรู้ มีประสบการณ์ในการทำงาน มีการถ่ายทอดความคิดคือเป็นคนคิดดี แต่ถ่ายทอดไม่ดี ควรเลือกคนที่มีทัศนคติดีทั้งการพูดและการคิด รู้วัฒนธรรมและค่านิยมหลักของ ม.ทักษิณคืออะไร

          Counseling การให้คำปรึกษา ต้องมีทักษะในการเรียนรู้ เป็นการลดปัญหาส่วนบุคคล ดังนั้นการเรียนรู้แบบ Inside out ต้องดึงออกมาข้างนอก

          สรุปคือ ผู้บริหารหรือหัวหน้างานต้องเป็นทั้ง Coaching & Mentoring

ทำไมต้องมีระบบพี่เลี้ยง และการโค้ชบุคลากรใน TSU

1. พนักงานใหม่

2. พนักงานกลุ่มที่เป็น Talent หรือ Successor

          พี่เลี้ยง 1 คนจะดูแลพนักงานใหม่ได้ไม่เกิน 3 คน เริ่มตั้งแต่วันแรก

          Day 1 -  On boarding ตั้งแต่วันแรกที่พนักงานคนนี้เข้ามาทำงานต้องมีอุปกรณ์และเอกสารที่จำเป็นเรียบร้อย หรือถ้าเป็น Software สิ่งที่พนักงานใหม่คือต้อง Upload เอกสารเข้าไปใน System และฝั่ง Training Development ต่อ

          การ Orientation ต้องเปลี่ยนรูปแบบ เราต้องปรับเปลี่ยน สิ่งแรกที่ให้พนักงานรู้คือ TSU มีจุดเด่นอะไร เน้นค่านิยมในหน่วยงาน และทุกครั้งที่พนักงานเข้ามา CEO ต้องเข้ามาต้อนรับทุกครั้ง และจะเป็นคนพูดเรื่อง ค่านิยมองค์กรเอง  ค่านิยิมที่ไหนก็ตามเป็นการสร้างแบรนด์ สามารถใช้ได้กับทุก Stakeholder เป็น Brand Promise สร้างให้เด็กมี Self Awareness คือให้ทุกคนตระหนักรู้ และรู้ว่าจะทำอะไร ให้มีการ Networking กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และยืนยันว่าการเข้ามาในวันนี้ Career มี ดังนั้น โอกาสมีให้ ให้เรารีบฉวยไว้ โอกาสก้าวหน้ามีอยู่ที่ทางเลือก หลังจากนั้นมีกระบวนการที่เรียกว่า Mentoring เป็นการเดินแบบคู่ขนาน พี่เลี้ยง และหัวหน้าจะไม่ก้าวก่ายกัน  หัวหน้างานต้องทำอะไร พี่เลี้ยงต้องทำอะไร

          เด็ก Talent คนที่เป็นพี่เลี้ยงต้องเป็นผู้บริหารเท่านั้น ดังนั้นผู้บริหารที่เลือกเข้ามาต้องมีทักษะ ดังนั้น เด็ก Talent จะ First come First serve เด็กจะเลือกพี่เลี้ยงเอง พี่เลี้ยง 1 คนจะดูแลเด็ก Talent ไม่เกิน 2 คน พี่เลี้ยงจะดูแลในการเสริม Performance ทัศนคติ กำลังใจ ให้ภาพที่ชัดเจน บางครั้งเรื่องที่จำเป็นพี่เลี้ยงต้องเข้าใจ สิ่งสำคัญคือ พี่เลี้ยงต้องไม่ไปทำหน้าที่ก้าวก่ายกับโค้ช

          แต่ปัจจุบันมีการเกี่ยวเนื่องกันคือ หัวหน้าจะทำหน้าที่ Coaching & Mentoring

ทำไมถึงต้องมีกระบวนการ Coach และให้ Feedback

          - ทุกปีจะมีการตั้งเป้าหมายในการทำงาน ส่วนสำคัญใน Performance

          - ระบบการ Coach and Mentor อยู่กับเราทุกวัน อยู่ในชีวิตประจำวัน

          - การ Coach กับ Mentor ใช้ทักษะที่เหมือนกัน หน้าที่คือการมาคุยกัน หาสาเหตุว่าคืออะไร ต้องทำให้คนที่อยู่ตรงหน้ารู้ตัวเองว่าจะปรับตัวอะไร เราต้องคุยกันให้เห็นถึงผลกระทบ

รูปแบบการโค้ช

1. นายโค้ชลูกน้อง

2. เพื่อนโค้ชเพื่อน

3. ลูกน้องโค้ชนาย

ทำไมต้องโค้ช

เพราะต้องเสริมกำลังใจ ให้เขาทำงานดีขึ้น พัฒนาองค์กร

1. โค้ชเพื่อผลงาน

2. เพื่อ Learning & Development และ

3. ผลกระทบแห่งพฤติกรรม

          สรุป พฤติกรรมการโค้ชคือการสนทนาที่เป็น Dynamic Conversation ต้องเป็น Two Way และ Open Communication ต้องมีการฟังถาม และให้ Feedback คนที่ทำหน้าที่โค้ชต้องสามารถออกแบบสอนการโฆษณาได้ ต้องเป็น Conversation Designer คนที่จะโค้ชลูกน้องต้องออกแบบการสนทนาให้เหมาะสมกับลูกน้องที่แตกต่างกันเนื่องจากมีคนมีความแตกต่างกัน

          Diversity มีเยอะมาก มากกว่า Generation แต่ทำให้มาทำงานร่วมกันได้อย่างไร

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. โค้ชและพี่เลี้ยงแม้เป็น Positive  ใส่สิ่งที่เป็น Positive แต่ถ้าไปเจอคนใกล้ชิดใส่สิ่งที่เป็นลบตลอดจะทำอย่างไร

          ตอบ ใครที่เป็น Bad Mouth ต้องจัดการก่อน หน้าที่ของหัวหน้าจริง ๆ ต้องพัฒนาเขา หรือลดสิ่งนี้ลง

          ถ้าเห็นสิ่งผิดปกติกับลูกน้องต้องมีความกล้าในการเผชิญ เช่นเห็นพฤติกรรมอย่างนี้จะมีผลกระทบต่อคนอื่น เพื่อนร่วมงาน เราต้องกำจัดอำนาจมืดเหล่านี้

ทักษะการโค้ช

          ต้องมีการผสมผสานกันคือ ฟัง ถาม Feedback  

1. ฟังแล้วต้องสรุปด้วยหัวใจ ต้องฟังแบบได้ยิน

2. ถามให้เป็น ทุกคำถามมี Purpose ทั้งนั้น

การถาม

          เช่นอยากรู้ว่ามีวิสัยทัศน์ในการทำงานหรือไม่จะตั้งคำถามอย่างไร ใช้ 5W1H คือ  Who What Where When Why How อาทิ คุณกำลังทำอะไรเพื่อให้ผลสำเร็จตามเป้าหมาย ?  จะสามารถดึงตัวเด็กมาได้ หรือ ถามว่าทำไมเรื่องนี้มันสำคัญกับตัวคุณเองมากนัก ?  โค้ชที่ดีจะถามว่าทำไมเรื่องนี้สำคัญ จะทำให้ทราบมุมมองเรื่องการเรียงลำดับความสำคัญ หรือถามว่ามีแผนอะไรบ้าง ? วัตถุประสงค์ที่ถามคือเพื่อมีความคิดสร้างสรรค์ เป็นการประเมินว่าเด็กมีความคิดสร้างสรรค์หรือไม่

การฟัง

          1. ทุกวันนี้อะไรเป็นอุปสรรคในการฟัง  การไม่ฟังอาจเกิดจากทัศนคติกับคนที่พูด หรือวิตกกังวล

          2. คนที่เป็นหัวหน้าส่วนใหญ่จะตั้งธงไว้แล้ว ถามแล้วแต่มีธงในใจว่าจะเอาอะไรแม้บอกว่าเป็นคน Open มาก ถ้าฟังอย่างจริงจะเปิดจริง

          3. ตัดบท บางครั้งพูดไม่จบ แต่บอกว่ารู้แล้วไม่พูดต่อ อย่างคนที่คิดเร็ว ตัดสินใจเร็ว จะไม่ชอบฟังอะไรที่พูดช้า ๆ

          4. ต้องสังเกตเหมือนมีวิจัยเล็ก ๆ บางคนมีความรู้เต็มหัวสมอง แต่ปะติดปะต่อไม่ได้ คนนี้จะมีปัญหาเรื่องอธิบาย และเรื่องการเขียน มีกระบวนการคิดเป็นระบบไม่ได้ ดังนั้นคนที่เป็นพี่เลี้ยงและโค้ช ต้องมีศาสตร์และศิลป์ให้ตัวเอง เช่นถ้าให้เขาพัฒนาจะมีเครื่องมืออะไรให้เขาได้บ้าง

เทคนิคการฟัง

1. Summarizing Listening คือทบทวนการฟังว่าเข้าใจถูกหรือไม่

2. Reflective Listening คือที่ฟังมานี้ถูกหรือไม่

          ดังนั้นการเป็นโค้ชหรือ Mentor ให้เขาทำ Summarizing คือสรุปว่าอย่างไร เข้าใจสิ่งที่เราพูดถูกหรือไม่

          เราต้องมั่นใจว่าก่อนที่แยกย้ายภารกิจ เราและเขานั้นเข้าใจตรงกันหรือไม่

3. Empathetic Listening คือฟังแบบเห็นอกเห็นใจ เช่นเข้าใจความรู้สึกตรงนี้ เพราะถ้าเกิดขึ้นกับพี่คงรู้สึกไม่ต่างกับคุณ การใช้ Empathetic Listening ในธุรกิจบริการใช้เรื่องนี้มากกับคนที่โมโห

          ดังนั้นสิ่งที่ปลูกฝังในองค์กรโดยเฉพาะด้านการบริการ ไม่ว่าเจอลูกค้าประเภทใดต้องใช้ Empathetic Listening มีห้องรับรองในการคุยกับลูกค้า

Feedback

          ทุกคนได้รู้ว่า Feedback มีกี่แบบคือ

1. Appreciative Feedback คือการชื่นชม เช่นทุกกลุ่มนำเสนอดีมาก พวกเรารู้สึกภูมิใจ และขอบคุณที่นำทฤษฎีอาจารย์จีระมาปรับใช้และนำเสนอในสิ่งที่เป็นประโยชน์ได้ สิ่งที่ทำต้องให้ความภาคภูมิใจกับเขา

2. Constructive Feedback คือการให้ Feedback และสร้างขวัญกำลังใจด้วย เช่น นำเสนอได้ดี อาจจะมีเล็กน้อยที่ต้องพัฒนา เราสามารถเติมอนาคตได้ด้วย

          วิธีการคือชมก่อน และถามเพิ่มว่าจะปรับอะไรได้บ้าง อย่างสิ่งที่พี่สังเกตเห็นและอยากจะบอก เช่นในการนำเสนอไม่ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด หรือเข้าใจว่ารู้สึกอย่างไรในการนำเสนอ ใช้คำว่าเราในการรับผิดชอบเช่น เรามาดูว่ามี 2 ประเด็นที่ผู้บริหารท้วงติงมาว่ามีอะไรบ้าง แล้วมาคุยกัน

          ทำอย่างไรให้เขาสามารถ Feed Forward เอง คือก่อนไปนำเสนอแล้วให้นำมาดูก่อน

          ในบทสนทนาแบบการโค้ชเขาจะหลีกเลี่ยงคำว่าแต่ หรือต้อง

          สรุปคือ ไม่ว่าชื่นชมหรือแก้ไขให้เน้นเรื่องการสร้างขวัญและกำลังใจที่ดี

แบบทดสอบประเมินบุคลิกภาพ LPI

           ใช้ในเรื่องวัดความแตกต่างตามสไตล์ของคน

1. ให้คะแนนคำที่ตรงกับบุคลิกภาพที่สุดคือ 5  น้อยที่สุดคือ 1 (ใน 1 แถวจะมีคำที่ไม่ซ้ำกัน)

D        R        N        A        O

กิจกรรม

1. แบ่งกลุ่มตามคะแนนที่มากที่สุด D R N A O คุยระยะเวลา 5 นาทีว่าจุดแข็ง จุดอ่อนอยู่ตรงไหน

คนไทยจะเป็นตัว N ค่อนข้างเยอะ แต่ขึ้นกับองค์ประกอบ

การแสดงความคิดเห็นจากการแบ่งกลุ่ม

ตัว N

จุดแข็ง คือ อดทนในการทำงานต่อลูกน้องที่ไม่ค่อยฉลาด เป็นคนง่าย ๆ เห็นใจคนอื่น จุดอ่อนคือ มีความเห็นใจ เลยไม่ค่อยเด็ดขาด ไม่ฟันธง ไม่มีจินตนาการ

ตัว D

จุดแข็งคือ มีความเป็นผู้นำสูง คิดเร็ว รวดเร็วในการทำงาน หงุดหงิดง่ายมากเวลาไม่ได้ดั่งใจ

ตัว R

จุดแข็งคือการสร้างบรรยากาศในการทำงาน มองเป็นพี่เป็นน้องกัน เปิดเผยจริงใจ มองว่าไม่ชัดเจน ดูเหมือนเล่น

ตัว A

จุดแข็งคือทุ่มเทกับการทำงาน ละเอียดรอบคอบ มีความจริงจัง ตรงไปตรงมา จุดอ่อนคือจู้จี้ จุกจิก ทำให้คนรำคาญ ทำงานซีเรียส ไม่ผ่อนคลาย ขี้กลัว ขึ้ระแวง

ตัว O

จุดแข็งคือคิดสร้างสรรค์ คิดอะไรไม่เหมือนชาวบ้าน คิดเพิ่มเติมจากที่ได้มา ไม่ชอบสุงสิงกับใคร แต่ชอบพัฒนาไปเรื่อย ๆ

สรุป ในทุกตัวอักษรมีทั้งจุดอ่อนและจุดแข็ง ทุกคนมี IQ ที่ดี แต่เรื่อง EQ ที่ดีคือต้องเป็นคนที่รู้จักตัวเอง และรู้จักคนอื่นด้วยจึงทำงานด้วยอย่างมีความสุข

 

ตัว A ย่อมาจาก Analytical Thinking เป็นคนที่ระมัดระวัง ถูกต้องแม่นยำ ชอบความถูกต้องอะไรที่เป๊ะ ๆ ข้อที่ต้องปรับปรุงคือวิตกกังวล และไม่ค่อยแสดงความรู้สึก และถ้าวิตกกังวลมาก ๆ จะกลายเป็นคนขี้บ่น เพราะไม่ได้อย่างใจ

ตัว D ย่อมาจาก Decisive Decision เป็นคนตัดสินใจ เร็ว ชอบความเป็นผู้นำ จุดอ่อนคือไม่อดทน และรู้สึกว่าคนอื่นช้าไปหมด

          ดังนั้นคนที่มี A กับ D จะเป็น Task Oriented คือ เน้นเรื่องงานไม่เน้นเรื่องคน ดังนั้นคนตัว D ต้องมองคนอื่นด้วยว่าจะพัฒนาตนเองอย่างไร

ตัว O ย่อมาจาก Creative Imagination ชอบทำงาน หรือ Leave Alone ตัวนี้จะอยู่กับใครก็ได้ เป็นคนอยู่กลาง ๆ

ตัว N ย่อมาจาก Neutral Expert เป็นคนสงบ เยือกเย็น เป็นนักฟังที่ดี  ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง อย่าทำให้ตกใจ ไม่เช่นนั้นจะมีพฤติกรรมแปลก ๆ ตัว N จะไม่ชอบยุ่งเรื่องคนเท่าไหร่ คนกลุ่มนี้เป็นประเภททะเลาะกันให้เสร็จก่อน เดี๋ยวมา คนกลุ่มนี้จะเสริมความมั่นใจ

ตัว R ย่อมาจาก Relator จะเป็นคนที่พูดเยอะ พูดมาก และกำลังจะจบการประชุมแล้วจะไม่จบ สามารถสร้าง Relationship ได้ตลอดเวลา แต่จะพูดเรื่องเดิม

สรุปคือ ถ้ารู้สไตล์เราแล้วรู้สไตล์คนอื่นจะทำงานได้ดีมาก และมีความสุขจะรู้ผ่อนหนักผ่อนเบา แล้วรู้ว่าเป็นตรงไหน

A กับ D เป็น Task Oriented

N กับ R เป็น People Oriented

O อยู่ตรงกลาง เป็นอิสระทางความคิด

A กับ N เป็นพวก Introvert

D กับ R เป็นพวก Extrovert อยู่จนงานเลี้ยงเลิก

          ปัญหาคือการทำงานบางครั้งจะเกิด Conflict คือสองสิงห์ไม่กินกัน ความขัดแย้งอาจเกิดจาก

1. Placing Conflict คือ เร็วหรือช้า เกิดความขัดแย้งในความรู้สึก จึงนำไปสู่ความไม่พึงพอใจ

          2. การจัดระบบความสำคัญ อย่างตัว R หรือ N ทำงานไม่มีระบบ ไม่วางแผน พอมาเจอตัว D กับ A คือ Priority Complex

ถาม : จากแบบทดสอบนี้จะนำไปปรับใช้อะไรในการทำงานได้บ้าง

ตอบ : 1. ลดความขัดแย้งในการทำงาน ในการบริหารคน แบบฟอร์มนี้สามารถเข้าใจความขัดแย้งได้

          สรุปคือ เมื่อรู้แล้วทุกคนจะเริ่มวิเคราะห์ตัวเองแล้ว กลับไปทำ IDP ตัวเอง เพราะการปรับพฤติกรรมไม่มีใครวิเคราะห์เราได้นอกจากเราพัฒนาตนเอง  เรามีอะไรที่ต้องปรับปรุง และจะปรับปรุงอย่างไร และเมื่อไหร่ก็ตามที่มองเรื่องการโค้ชเป็นเรื่องการสนทนา ให้เอาคำว่าสอนออกไป

          Peer Coaching เวลาเข้าห้องประชุม เราจะนั่งกันคนละฝั่งโต๊ะ แนะนำให้มี Peer เพราะจะมี Feedback จากเพื่อนคอยสะท้อนให้เรา


วิชาพิเศษ Learn-Share and Care

: นำเสนอบทเรียนจากการอ่านหนังสือ HBR’s Must Read on Managing Yourself

โดย ตัวแทนกลุ่ม 1-5

ร่วมวิเคราะห์โดย ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ และอาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

 

อ่านหนังสือ Harvard Business Review HBR'S 10 MUST READS  On Management Yourself

 

กลุ่มที่ 1 How will Measure Your Life? น. 1-12

 

Clayton M. Christensen ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการและนวัตกรรมก่อกวน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

“แทนที่จะบอกเขาว่าจะต้องคิด อะไร

แต่ผมสอนเขาว่า ต้องคิด อย่างไร

แล้วเขาก็จะตอบคำถามของเขาได้ด้วยตัวเอง”

Clayton M. Christensen

ในงานวิจัยชิ้นแรกได้รับโทรศัพท์จากบริษัท Intel คุณ Anny Glove บอกว่า ให้เวลา 10 นาทีให้  Clayton บอกว่างานวิจัยจะมีผลกระทบอะไรต่อ Intel   เขาบอกไม่สามารถบอกได้แค่ 10 นาทีเนื่องจากยังไม่เข้าใจ Intel จึงขอบอกแนวทางทฤษฎี 30 นาที หลังจากนั้นได้ยกตัวอย่างบริษัทเหล็กแห่งหนึ่งที่ได้เอาชนะคู่แข่งโดยใช้กลยุทธ์ โจมตีข้างนอกก่อนที่จะเข้าสู่การแข่งขันใหญ่ จากนั้น คุณ Anny Glove จึงเข้าใจ

          คำถาม 3 ข้อ

          คำถามที่ 1 ฉันจะมั่นใจได้อย่างไรว่าจะมีความสุขในอาชีพการงาน?

          ทฤษฎีที่ 1 คือทฤษฎีแรงจูงใจ

จาก Frederick Herzberg กล่าวว่า “แรงจูงใจที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตคนเราไม่ใช่เงิน หากเป็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้ เติบโตด้วยความรับผิดชอบ ช่วยเหลือผู้อื่น และได้รับการยอมรับยามบรรลุผลสำเร็จ”

ซึ่งเขาบอกว่าการบริหารจัดการนั้นเป็นอาชีพที่ดีที่สุดถ้าคุณทำมันได้ดี ไม่มีอาชีพใดแล้วที่มอบวิธีการในการช่วยให้คนอื่นได้เรียนรู้และเติบโต แบกรับความรับผิดชอบ ได้รับการยอมรับเมื่อบรรลุผลสำเร็จ และเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จของทีม  ดร.จีระ เสริมว่า เวลาอ่านให้นึกถึงตัวเองอย่างเช่นเป็น เจ้าหน้าที่ Support ได้ Contribute อะไรให้กับองค์กรได้บ้าง

          คำถามที่ 2 ฉันจะมั่นใจได้อย่างไรว่าความสัมพันธ์กับครอบครัวของฉันทำให้ฉันมีความสุขอย่างยั่งยืน?

          1. สร้างกลยุทธ์เพื่อชีวิตของคุณ

ทฤษฎี คือ การคิดถึงเป้าหมายการใช้ชีวิตของเขา มีการค้นพบว่าสิ่งที่เขาคิดถูกต้อง ใช้ความรู้ทางเศรษฐมิติไม่กี่ครั้งต่อปี แต่ใช้ความรู้ทางเป้าหมายทั้งชีวิต

การมีเป้าหมายในชีวิตเป็นสิ่งจำเป็น Professor Clayton Christensen เล่าว่า ตอนที่เขากำลังเรียนเขาตัดสินใจว่าจะใช้เวลาหนึ่งชั่วโมงทุกคืนไปกับการอ่าน คิด และสวดภาวนาถามว่า ทำไมพระผู้เป็นเจ้าส่งเขามาอยู่บนโลกนี้แลกกับชั่วโมงที่ต้องอ่านตำราเศรษฐมิติประยุกต์ เขารู้สึกขัดแย้งในตัวเอง แต่ก็กัดฟันทำ และในที่สุดก็ค้นพบเป้าหมายในชีวิตว่า ถ้าเขาใช้เวลาหนึ่งชั่วโมงทุกวันไปกับการเรียนรู้เทคนิคทางสถิติใหม่ๆ เขาคงจะพลาดอะไรบางอย่างในชีวิต เพราะเขาใช้ความรู้ทางเศรษฐมิติไม่กี่ครั้งต่อปี แต่เขาประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับเป้าหมายของชีวิตตัวเองทุกวัน มันเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ที่สุดที่เขาเคยเรียนรู้มา

2. การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ในตัวคุณ

การลงทุนกับอาชีพการงานจะเห็นผลลัพธ์ที่เร็วกว่าการลงทุนเรื่องความสัมพันธ์กับครอบครัว เช่น ได้ขึ้นเงินเดือน ได้เลื่อนขั้น ในทางกลับกัน การลงทุนกับครอบครัว โดยปกติไม่ได้ทำให้รู้สึกทันทีว่าทำอะไรสำเร็จ เราต้องรอ 20 ปีกว่าจะรู้ว่า ฉันเลี้ยงลูกได้ดีหรือเกเรแค่ไหน เราละเลยความสัมพันธ์กับคู่ครองได้ทุกวัน และแต่ละวันเราจะไม่รู้สึกว่าสถานการณ์กำลังเลวร้ายลง ถ้าเราศึกษาสาเหตุของหายนะทางธุรกิจทั้งหลาย จะพบว่าโน้มเอียงไปหากิจกรรมที่สร้างความพึงพอใจในทันที ไม่ต่างจากมุมมองชีวิตส่วนตัวของเราในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าตกใจที่

ผู้คนจัดสรรทรัพยากรน้อยลงเรื่อยๆ ให้กับสิ่งที่พวกเขาเคยพูดว่าสำคัญที่สุด

ดังนั้น จึงต้องมีการสื่อสารที่ดี มีเวลา กำลังกาย สร้างความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและครอบครัว จัดสรรให้มีการจัดสรรทรัพยากรที่ดี

          ดร.จีระ เสริมว่า ฝ่ายสนับสนุนต้องมีการ Apply เราจะ Coach ได้หรือไม่

3. การสร้างวัฒนธรรมองค์กร

- มุมมองขององค์กร

เป็นทักษะสำคัญของผู้บริหารในการร่วมแรงร่วมใจพนักงาน เพื่อผลักดันไปตาม Roadmap ของเราเอง อาจมีบทลงโทษบ้าง

ทักษะที่สำคัญของผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์มองอนาคตขององค์กรอย่างเฉียบคมและวางแผนที่ทางเดิน (Road Map) ขององค์กร ใช้เครื่องมือเพื่อให้พนักงานให้ความร่วมมือเพื่อไปในทิศทางที่ต้องการ กลไกการสร้างวัฒนธรรมในองค์กรจึงเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการบริหารจัดการ แต่หากความร่วมมือของพนักงานน้อยมาก ผู้บริหารจำเป็นต้องใช้ “เครื่องมือแห่งอำนาจ” เช่น การบังคับ คำขู่ การลงโทษ ฯลฯ

- มุมมองครอบครัว

ส่วนวัฒนธรรมของครอบครัวต้องออกแบบในการดึงความร่วมมือของลูก โดยทำตั้งแต่เด็ก ๆ เพราะจะเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนเมื่อลูกโต

ถ้าคุณอยากให้ลูกๆ มีความภูมิใจในตัวเองที่เข้มแข็ง และมั่นใจในตัวเองว่าพวกเขาสามารถแก้ปัญหายากๆ ได้ คุณสมบัติเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นได้ด้วยตัวเอง คุณจะต้องออกแบบให้มันอยู่ในวัฒนธรรมของครอบครัว และจะต้องคิดถึงเรื่องนี้ตั้งแต่เนิ่นๆ เด็กๆ นั้นเหมือนกับพนักงานตรงที่พวกเขาสร้างความภูมิใจในตัวเองด้วยการทำในสิ่งที่ยาก และเรียนรู้ว่าอะไรที่จะนำไปปฏิบัติได้

 

คำถามที่ 3 ฉันจะมั่นใจได้อย่างไรว่าจะดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้อง?

1. การหลีกเลี่ยงความผิดพลาดจาก “ต้นทุนส่วนเพิ่ม”

การหลีกเลี่ยงความผิดพลาด (Focus & Honesty) ถ้าเรายอมผิดพลาดหนึ่งครั้ง ครั้งต่อไปก็จะเกิดอีก ต้องมีปณิธานที่แน่วแน่

2. จดจำความสำคัญของความถ่อมตน

มีความกระตือรือร้นอย่างถ่อมตน ที่จะเรียนรู้ คนที่ถ่อมตนได้เมื่อรู้สึกดีกับตัวเองจริง ๆ และพร้อมที่จะเรียนรู้กับทุกคน

ความถ่อมตนไม่ได้นิยามจากพฤติกรรมหรือทัศนคติที่ติเตียนตัวเอง แต่มาจากความนับถือที่คุณมอบให้กับคนอื่น เช่น คุณจะไม่มีวันขโมยของของใคร เพราะคุณนับถือเขาคนนั้นมากเกินไป และคุณก็จะไม่โกหกใครเหมือนกัน ถ้าทัศนคติของคุณคือ มีแต่คนที่ฉลาดกว่าคุณเท่านั้นที่สอนคุณได้ โอกาสในการเรียนรู้ของคุณก็จะจำกัดมาก

3. เลือกเครื่องมือวัดที่ถูกต้อง

จงคิดถึงเครื่องมือวัดที่จะตัดสินชีวิตของคุณ และตั้งปณิธานว่า จะใช้ชีวิตทุกวันในทางนั้น แล้วในบั้นปลายชีวิตของคุณจะได้รับการตัดสินว่า คุณประสบความสำเร็จ

คุณเครตันบอกว่าจากการทำงานวิจัยเขาสามารถสร้างรายได้มหาศาลให้บริษัทของเขา มาตรวัดชีวิตคือการช่วยเหลือจากคนที่ดีให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม และตั้งปณิธานที่จะยึดมาตรวัดนั้นแล้วจะประสบความสำเร็จ

สรุปสิ่งที่นำไปประยุกต์ใช้ได้

1. คนอื่นบอกเราว่าคิดอะไร แต่เราต้องคิดเอง จะทำให้ได้คำตอบที่ลึกซึ้งมากกว่า

2. ใช้ชีวิตที่มีความสุข และแรงจูงใจคนไม่ใช่เงินเสมอไป

3. กลยุทธ์ที่มีความสุขที่ยั่งยืน คือการสร้างกลยุทธ์ในชีวิตตนเอง และจัดสรรทรัพยากรจำกัด ใช้งานเท่าไหร่ ชีวิตเท่าไหร่ และสร้างวัฒนธรรมในครอบครัว สร้างความพึงพอใจที่เข้มแข็ง แก้ปัญหาให้ลุล่วง หลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่ไปถึงเป้าหมาย

4. มีความถ่อมตน

5. เลือกตัวชี้วัดที่ถูกต้องตรงตามความต้องการ

สรุปคือ อยากให้ช่วยเหลือผู้คนที่เป็นคนดี และเราจะมีชีวิตที่สมดุลทั้งงานและครอบครัว

 

กลุ่ม 2  Managing Onself     น.13-32

 

การจัดการตัวเอง

ภาพรวมของการจัดการตัวเอง

การประสบความสำเร็จของบุคคลที่มีชื่อเสียงต่าง ๆ มาจากการเรียนรู้ที่จะจัดการกับตัวเอง ต้องเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเอง ต้องหาโอกาสที่จะทำให้เราสามารถถ่ายทอดผลงานออกมาให้เป็นที่ประจักษ์

1. การค้นหาจุดแข็งของตัวเอง (เพื่อพัฒนาตนเอง)

- พัฒนาจากจุดแข็งของตัวเอง

- ปรับปรุงจากข้อเสียของตัวเอง

เราต้องค้นพบตัวเอง เราต้องหาตัวเองให้เจอก่อน และเมื่อหาตัวเองเจอแล้ว เราต้องพัฒนาตัวเองจากจุดแข็ง เราค้นพบว่าตัวเองมีจุดแข็งด้านไหน ต้องเชื่อว่าตัวเองมีจุดแข็งด้านนั้นจริง ๆ แล้วออกแบบเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ ครั้งนี้ไม่ได้ผล ต้องเปลี่ยนวิธีใหม่ อย่างไรก็ตามต้องมองถึงจุดด้อยด้วย

2. วิเคราะห์ตัวเอง

          การวิเคราะห์ตัวเอง ต้องนำข้อมูลจริงเข้ามาสู่กระบวนการวิเคราะห์ ต้องเปิดใจยอมรับก่อนว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นจริง ถ้าเราไม่ยอมรับตัวเองเราจะเจ็บปวด ถ้ายอมรับแสดงว่ามาถูกทางแล้วและทำให้ดีที่สุด

          การปรับจุดแข็ง เริ่มจากการปรับกระบวนการคิด Mindset ก่อน

          เราต้องไม่เหมือนน้ำเต็มแก้ว เพราะเมื่อไหร่ที่เราคิดว่าเก่งแล้วเราจะไม่เก่งเลย ทุกคนสามารถเก็บเกี่ยวคำพูดได้หมดเลย แม้บางครั้งคำพูดไม่กี่คำก็จะไปสู่การใช่ความคิด

ผลลัพธ์ที่ได้รับคือ “ความจริง”  ***ยอมรับความจริง

1.ให้ความสำคัญกับจุดแข็ง

2.ปรับจุดแข็ง เพิ่มทักษะใหม่

3. “ค้นพบว่าความเย่อหยิ่งทางปัญญาก่อให้เกิดการปิดกั้นการเรียนรู้” จะเอาชนะได้อย่างไร

3. ความคิดรวบยอด

‐ความคิดที่เป็นมโนภาพ

‐การขับเคลื่อนความสามารถ และความคิดอย่างชาญฉลาด

‐เพื่อทำให้ทุกอย่างถูกพัฒนาไปในทางที่ดี

*จุดแข็งที่มีค่า และจุดอ่อนที่อันตราย

          การทำให้เกิดความคิดรวบยอด เสมือนเป็นมโนภาพ เหมือนบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป จะเสมือนการแตกยอด ไปปรุงต่อ จะนำไปผัด ต้ม ยำ ขึ้นอยู่กับว่าใครชอบแบบไหน แต่ความอร่อยขึ้นกับแต่ละคน การขับเคลื่อนความสามารถและความคิดอย่างชาญฉลาด

          อุปสรรคความคิด เป็นความคิดที่คิดบวก คิดดี

กระบวนการสนับสนุนจัดการตัวเอง

  • ค้นหาวิธีการเรียนรู้ อ่าน เขียน ทำ พูด ฟัง
  • รับผิดชอบต่อความสัมพันธ์ เข้าใจกันและกัน ไว้วางใจ
    • ตัวเองเป็นทั้งปัจจัย และอุปสรรค
    • เปิดใจให้ยอมรับความจริง ใจกว้าง
    • ค้นพบแรงบันดาลใจจะไปสู่เป้าหมาย สู่ความสำเร็จ

2.       ค้นหาค่านิยม (คุณธรรมและจริยธรรมเป็นพื้นฐาน) ตั้งเป้าหมาย

3.       ค้นหาสถานที่ที่เหมาะสม

4.       ค้นหาในสิ่งที่สามารถช่วยองค์กรได้ (จิตอาสา)

5.       ค้นหาสิ่งที่มีส่วนสนับสนุน

          แต่ละคนมีความถนัดในการเรียนรู้ไม่เหมือนกัน อ่าน เขียน ทำ พูด ฟัง บางคนอาจเรียนรู้ได้ดีตอนอ่านหนังสือตอนเช้า ร้านกาแฟ หรือกดดัน หรือชอบอ่าน ฟังซีดี เราต้องรู้ว่าแต่ละคนมีการเรียนรู้ไม่เหมือนกัน การเรียนรู้เสมือนอาหารสมอง การได้ผลลัพธ์ วิธีการ สู่การปฏิบัติ นำไปใช้ได้จริง

          การค้นหาค่านิยม ต้องหากระบวนการไปสู่เป้าหมาย

          การมีจิตอาสาเพื่อทำให้ช่วยองค์กรได้ ต้องมีความรู้สึกช่วยจริง ๆ และอยากทำงานจริง ๆ เป็นงานที่เราอยากทำแต่แรกหรือไม่          

          การรับผิดชอบความสัมพันธ์ ต้องมีความเข้าใจกัน และไว้เนื้อเชื่อใจกัน

ชีวิตที่เหลือ เพื่ออะไร....

          - นำไปสู่อาชีพที่สอง พัฒนาอาชีพคู่ขนาน

- เริ่มต้นหนึ่งใหม่ (ย้ายไปยังองค์กรอื่น)

- ผู้ประกอบการทางสังคม (กิจกรรมไม่แสวงหาผลกำไร)

แต่ โดยส่วนใหญ่มักจะอยู่จนเกษียณอายุ (retire on the Job)

ถ้าเราค้นหาตัวเองเจอ และรู้ว่าเราเป็นแบบไหน จะนำสู่อาชีพที่สองที่ทำควบคู่กับเราได้ หรือค้นพบว่าเราไม่เหมาะกับองค์กรนี้ เหมาะกับอีกองค์กรหนึ่ง หรือไปอยู่ในองค์กรสังคมสงเคราะห์ที่ไม่แสวงหากำไรและช่วยเหลือสังคม

ประโยชน์ที่ได้จากการอ่านบทความ

1. ค้นพบตัวเอง (จากการวิเคราะห์)

การค้นหาพลังอำนาจในตนเองชนิดหนึ่ง ที่ใช้ในการขับเคลื่อนการคิดและ การกระทำใด ๆ ที่พึงประสงค์ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้ตามต้องการ

2. ทราบถึงแนวทางในการพัฒนาจุดแข็ง และนำไปสู่ความสำเร็จ

3. การคิดและการทำงานร่วมกับผู้อื่น  การปะทะทางปัญญา Networking

การจัดการตัวเองสู่ปรับใช้กับตัวเอง

1. เริ่มต้นด้วยการค้นหาตัวเอง

ทบทวนพฤติกรรมตัวเองจากที่ผ่านมา (ข้อมูลจริง) หาคนที่ Feedback

2. มีกระบวนการจัดการตัวเอง (แผนพัฒนาตัวเอง)

- ตั้งเป้าหมาย

- จัดสรรเวลา จัดตารางอย่างเป็นระบบ (มีวินัย) สร้างแรงจูงใจ ลงมือทำทันที

- ประเมิน เทียบระหว่างเป้าหมายกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง

- ควบคุมตนเอง ตอบสนองผลสะท้อน

เราต้องไม่เป็นคนผัดวันประกันพรุ่ง จัดสรรเวลาชัดเจนและลงมือทำทันที เพราะบางอย่างไม่ได้เหมาะเจาะตลอด และเมื่อทำไว้แล้วระยะจะมีการประเมิน

          ถ้าได้ถึงเป้าให้ทำจากเล็ก ๆ และไปใหญ่เรื่อย ๆ มีการฟังเสียงสะท้อน

3. สร้างเครือข่าย ปรึกษา สอบถาม และแลกเปลี่ยน

การจัดการตัวเองสู่ปรับใช้กับหน่วยงาน

1. นำข้อมูลจากแบบสอบถามการให้บริการของหน่วยงานมาวิเคราะห์หน่วยงาน

2. เลือกจุดเด่นออกแบบนวัตกรรม โดยการคำนึงถึงจุดด้อยด้วย

3. การขอความคิดเห็น ข้อเสนอแนะของเพื่อนร่วมงาน สร้างนวัตกรรมร่วมกัน

การจัดการตัวเองสู่ปรับใช้กับมหาวิทยาลัย

1. ออกแบบและเลือกเครื่องมือเพื่อค้นหาข้อมูลจริงเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย

เครื่องมืออาจมีแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ ประชุมตัวแทน (นิสิต ผู้ปกครอง อาจารย์ บุคลากร ฯลฯ)

2. นำข้อมูลมาวิเคราะห์กำหนดแนวทางพัฒนามหาวิทยาลัย

3. ประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้องในประเด็นที่ต้องการพัฒนา โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมตั้งแต่การคิด สู่การปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ถ้าเรามีเป้าหมาย มี Deadline มุ่งมั่นก็จะประสบความสำเร็จ มีวินัยที่เรียกว่าเป็น Mental Discipline ของตัวเอง

 

กลุ่ม 3 :  Manage Your Energy, Not Your Time     น.61-77

 

จัดการการใช้พลังงานในการทำงานของคุณ ไม่ใช่จัดการเรื่องเวลา

ทำไมต้องจัดการพลังงานแทนที่เวลา

          ต้องการให้คนทำงานมีประสิทธิภาพสูง แต่ลืมว่าเวลาทุกคนมีเท่ากัน

องค์กรต้องการให้พนักงานแสดงศักยภาพสูงในการทำงานวิธีการปกติที่พนักงานใช้ คือ ใช้เวลาทำงานให้มากขึ้น ไม่มีผล เหนื่อยล้า ลาออก เจ็บป่วย หางานใหม่

          - เราใช้เวลามากขึ้นแต่อาจเหนื่อยล้า เจ็บป่วย ทุกคนมีเวลาเท่ากันคือ 24 ชั่วโมง แต่สิ่งที่คนมีไม่เท่ากันคือพลังงาน

ทุก ๆ คนมีเวลาจำกัดเท่าๆ กันที่ 24 ชม/วัน แต่พลังงานของเราแตกต่างกันออกไป เพราะว่าเราสามารถ "เติม" ให้เต็มใหม่ได้ด้วยสิ่งที่เราเลือกที่จะทำ และไม่ใช่แค่การเติมให้เต็ม แต่เราสามารถขยายถังพลังงานของเราได้

          - แต่ละคนมีวิธีการเติมพลังงานไม่เหมือนกัน พลังงานสามารถใช้ขยายพลังงานด้วย

แม้ว่าเราจะมีเวลามากแค่ไหน ถ้าพลังงานเราหมด ก็เปล่าประโยชน์แต่หากเรามีพลังงานมาก ถึงแม้ว่าเวลาจะน้อยเราก็สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พลังงานของเรามาจาก 4 ด้าน ได้แก่ พลังงานกาย พลังอารมณ์ พลังสมาธิ และพลังจิตวิญญาณ

1. พลังกาย Body : Physical Energy

พื้นฐานของพลังงานของคนเรา

- ถ้าเราแข็งแรง สุขภาพดี เราก็จะมีพลังในการทำงาน

- เป้าหมายของการจัดการพลังงานในร่างกาย คือ การพยายามให้เรามีพลังงานอย่างค่อนข้างคงที่ทั้งวัน หากรู้สึกว่าพลังงานตกลงไป ต้องพัก break บ้างลุกจากโต๊ะ เพื่อเติมพลังงานให้เต็มถัง

ดังนั้น พลังกายจึงเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุด ถ้าสุขภาพดีจะมีพลังในการทำงาน ถ้าเราเจ็บป่วย เราจะรู้สึกว่าเป็นภาระองค์กร จึงต้องดูแลสุขภาพให้ดี

          ทำอย่างไรให้พลังงานคงที่ตลอดวัน เมื่อไหร่รู้สึกว่าพลังงานตกก็ Break บ้าง แทนที่จะนั่งโต๊ะก็เดินออกไปข้างนอกบ้าง เป็นการเติมพลังงานด้วย

วิธีการ

          - เพิ่มการนอนหลับ เข้านอนแต่หัวค่ำ พบว่าการนอนหลับเป็นการเติมพลังงานที่ดีมาก ๆ

          - ลดความเครียดโดยการออกกำลังกายให้หัวใจและหลอดเลือดได้ทำงาน

- ลดการดื่มแอลกอฮอล์

- ทานอาหารมื้อเล็ก ๆ และของว่าง ระหว่างวัน ทุก 3 ชั่วโมง ช่วงทำงานแต่ละวันอาจมีขนมขบเคี้ยวมาทานที่โต๊ะบ้าง และอาจแบ่งปันบ้าง

          - การพักสั้น ๆ แต่เป็นประจำในที่ทำงานเป็นประโยชน์ ห่างจากโต๊ะทำงานบ้างทุก 2 ชั่วโมง

          - สังเกตสัญญาณที่แสดงว่าเมื่อไหร่ที่พลังงานลดลง เช่น วิตกกังวล  หาว หิว ความจดจ่อลดลง

          สรุป สิ่งที่ทำให้พลังกายดีคือ กิน หลับ ขยับ

2. พลังอารมณ์ Emotion : Quality Energy

- ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อความสามารถในการทำงานและทำทุกกิจกรรม

- การบริหารอารมณ์ เป็นเรื่องที่สำคัญ

- ถ้ารู้สึกว่ามีอารมณ์ทางลบ เช่น โกรธ เกลียด หงุดหงิด ใจร้อนเราต้องสามารถบริหารจัดการปลดฉนวนอารมณ์ทางลบของเรา เช่นฝึกการหายใจเข้าออกลึกๆ หรือนั่งสมาธิ

-รู้จักวิธีการทะนุถนอม บำรุงอารมณ์ทางบวก เช่น ฝึกให้รู้สึกขอบคุณ ชื่นชม และฝึกการแสดงออกอารมณ์ด้านบวกของเรา

          ดังนั้น พลังอารมณ์จึงเป็นพลังสำคัญในการทำทุก ๆ กิจกรรม การบริหารอารมณ์เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเรามีอารมณ์ทางลบให้ฝึกบริหารเช่น ถ้าอารมณ์โกรธให้หายใจลึก ๆ หรือนั่งสมาธิจะช่วยทำให้อารมณ์เย็นลง และทะนุถนอมอารมณ์เรา เราขอบคุณทุกครั้งที่คนทำสิ่งดี ๆ ให้เรา ขอบคุณตัวเอง และฝึกแสดงอารมณ์ด้านบวกออกมาให้เห็น

วิธีการ

          - ฝึกให้แยกแยะสิ่งที่เกิดขึ้นกับสิ่งที่เรารู้สึกให้ออกจากกันให้รู้ว่ามันไม่ใช่สิ่งเดียวกัน

การแยกแยะทำให้อารมณ์ดี และมีอารมณ์บวกตลอดเวลา

- มองมองสถานการณ์ที่ทำให้อารมณ์เสีย ผ่านเลนส์ใหม่ มองสถานการณ์เป็น 3 เลนส์

* ฝึกคิดถึงเรื่องนั้นๆ จากมุมมองของคนอื่น(reverse lens)

* มองว่าในอนาคตข้างหน้า เราจะมีมุมมองต่อเรื่องนี้ยังไง(long lens)

* มองว่าเราสามารถเรียนรู้และเติบโตจากสถานการณ์นั้น(wide lens)

          เช่นเขาเอาเราไปพูดในทางที่เสื่อมเสีย ให้มองเขาจะมุมมองคนอื่นด้วย และในอนาคตข้างหน้าอาจมองว่าปัญหานี้อาจเล็กมาก ประสบการณ์นี้สอนให้เข้มแข็งขึ้น สิ่งที่เกิดในวันนี้สอนอะไรเราให้เราเรียนรู้อย่างไร

3. พลังจิต Mind : Focus Energy) พลังสมาธิ

- บางคนคิดว่าการทำอะไรทีละอย่าง จะเสียเวลา จึงทำหลายๆ อย่างพร้อมกัน จริงๆ แล้ว สมองคนเราทำได้แค่ทีละเรื่อง ยิ่งพยายามสลับไปสลับมา จะยิ่งทำให้หมดพลัง และเสียเวลาไปกับการ Switching Time

- การ focus เป็นการเพิ่มพลังสมาธิ สิ่งที่เราจะทำ จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

- การเติมเต็มพลังสมาธิให้กับตัวเอง ต้องพยายาม ลด จำกัดสิ่งที่รบกวนงานของเรา เช่น จัดการทีเดียววันละ ครั้ง/ 2 ครั้ง

ดังนั้น พลังสมาธิช่วยให้โฟกัสอยู่กับสิ่งที่เราทำ ทำให้งานเรานั้นออกมาดีกว่า เช่นใช้แว่นขยายส่องจากดวงอาทิตย์ทำให้กระดาษไหม้ได้

          การเติมเต็มสมาธิ บางครั้งต้องลดบางอย่างลงบ้าง เช่น ลดไลน์ เมลล์ อาจตั้งเงื่อนไขว่า 2 ชั่วโมงเปิดทีหนึ่ง หรือจัดการเมลวันละ 2 ครั้งเพื่อให้มีสมาธิกับการทำงานเรา

วิธีการ

- ทุกคืนก่อนนอน ให้พยายามนึกล่วงหน้าว่า ถ้าวันรุ่งขึ้น จะต้อง focusเรื่องอะไรซักเรื่อง จะเลือกอะไรมาทำ และให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกที่มาทำงานในตอนเช้า

- ถ้าจะให้ใช้และเติมพลังสมาธิให้ตัวเองได้เต็มที่ เวลาทำอะไรก็ต้องพยายามมีสมาธิอยู่กับแค่ทีละอย่างเท่านั้น

One Thing at a Time : กินข้าวทีละคำ ทำทีละอย่าง

4. พลังจิตวิญญาณ Spiritual Energy

          - เราจะทำมันได้ดี ถ้าเราทำในสิ่งที่สำคัญสำหรับเรา (sweet point) ทำได้ผลดี ทำได้ง่าย ทำได้คล่อง พลังจะมา มอบงานที่ตัวเองไม่ถนัดให้คนที่ทำได้ดีทำแทนบ้าง

- จัดสรรเวลาและพลังงาน ให้กับสิ่งที่คิดว่าสำคัญที่สุด เช่น ใช้เวลา 20 นาทีในช่วงเย็นเพื่อผ่อนคลาย เชื่อมความสัมพันธ์กับครอบครัว

- การเติมพลังใจ คือ หาสิ่งที่เราให้ความสำคัญจริงๆ ทำ และอย่าทำอะไรที่ขัดแย้งกับสิ่งที่เราเชื่อว่าเป็นเรื่องสำคัญ เช่น ถ้าเชื่อว่าการตรงต่อเวลาเป็นเรื่องสำคัญ แต่เรายังทำตัวเป็นพวกสายเสมอ มันจะคอยบั่นทอนพลังงานทางใจของเราไปเรื่อยๆ ทุกครั้งที่เราทำตัวขัดแย้งกับความเชื่อหลักของเรา

ดังนั้นพลังจิตวิญญาณ หมายถึงค่านิยมที่เรามี เป็นการหาสิ่งที่เราสำคัญ และอย่าทำอะไรที่ขัดแย้งกับความสำคัญกับเรา เช่นเราเชื่อว่าการตรงเวลาเป็นสิ่งที่ดี เราต้องไม่มาสาย

          การค้นพบความเชื่อหลัก (Core Value) ของเราไม่ใช่เรื่องง่าย คือถ้ามีสิ่งที่คนอื่นทำ แล้วเรารับไม่ได้ เราต่อต้าน สิ่งนั้นเป็นการยึดติดกับจิตวิญญาณเรา เป็นความเชื่อหลักสำหรับเรา

การยึดติด คิดลบ และคาดหวังมากไป ทำให้ใจหมดพลัง

วิธีการ

          องค์กรจะเสริมสร้างพลังตรงนี้ได้อย่างไร

- สร้างห้องเติมพลัง (Renewal) เพื่อให้บุคลากรได้พักและเติมพลัง

- สนับสนุนค่าสมาชิกออกกำลังกาย หรือสถานออกกำลังกายให้บุคลากร

- กิจกรรมพบผู้บริหารกับพนักงานตอนเที่ยง

- เพื่อเกิดสมาธิในการทำงาน ในระหว่างประชุมขอร้องอย่าเปิดเมลล์

          สรุป การจัดการพลังงานของตัวเองเป็นเรื่องของแต่ละคน ในสิ่งที่ทำให้เกิดการกระทบและเลือกทำ เรามีความ Active มากสุดตอนไหน หรือเรามีสมาธิกับสิ่งไหน ให้สังเกตว่าเราชอบหรือไม่ชอบอะไร ที่สำคัญหา Meaning and Purpose

          สำหรับองค์กรองค์กรที่ต้องการประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้นในทุกวัน จากทุกคน จึงต้องมีแนวทางการเพิ่มพลัง 4 ด้าน

กาย – เสริมสร้างสุขภาพที่แข็งแรง ลดความตึงเครียด สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ม.ทักษิณ ทุกวันพุธมีกิจกรรมเต้นแอโรบิค เล่นโยคะ

อารมณ์ - ชื่นชมยินดีเมื่อมีโอกาส การให้ของขวัญ ให้รางวัล

สมาธิ- ถ้ามีการประชุมกำหนดนโยบายขอร้องอย่าเปิดเมล เปิดไลน์

          จิตวิญญาณ  - สร้างขวัญ กำลังใจในการทำงาน ให้โอกาสเรียนรู้ การเติบโต สร้างการยอมรับ สร้างองค์กรศรัทธาให้น่าอยู่

          องค์กรเป็นนามธรรม คนที่สร้างได้คือพวกเรา ดังนั้นฝากองค์กรไว้กับมือพวกเรา

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กล่าวว่า ก่อนทำอะไรต้องมีการวิเคราะห์ วิเคราะห์ วิเคราะห์

         

 

กลุ่ม 4 :  Moments of Greatness : Entering the Fundamental State of Leadership    น.127-145

การเข้าสู่พื้นฐานของภาวะผู้นำ

การเป็นผู้นำที่ดีได้ต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสม การก้าวสู่การเป็นผู้นำที่ดีได้มีพื้นฐานอะไรบ้าง

          ในสภาวะปกติที่อยู่ เราอยู่ในเหตุการณ์ปกติธรรมดา Comfort Zone เราจะทำตัวสบาย ๆ ไม่มีอะไรมากระทบ ให้ปัจจัยภายนอกเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม/การตัดสินใจ

4 มิติของการก้าวสู่พื้นฐานของภาวะผู้นำ

มิติที่ 1 ผู้นำควรเปลี่ยนจาก Comfort Centered เป็น Results Centered

          คือเราจะทำแบบเดิมไม่ได้ เปลี่ยนจากปลอดภัยสบาย ที่ทำให้หมดพลังไร้ความหมาย สู่การเริ่มต้นใหม่ ถามตัวเองว่ามีเหตุผลอะไรบ้างไหมที่ทำให้อยากจะสร้างอะไรใหม่ ๆ ขึ้นมาบ้าง

ดร.จีระ เสริมว่า พยายามให้คุณมีการพัฒนาให้สอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นการก้าวออกจาก Comfort Center ไปสู่ผลลัพธ์องค์กร ก้าวข้ามแบบเดิมไปสู่ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น

มิติที่ 2 ผู้นำควรเปลี่ยนจาก Externality Directed เป็น Internality Directed

          เป็นการมองจาก Core Value เป็นหลักและเป็นการโน้มน้าวคนอื่นทำร่วมกับเราได้

          เข้าใจค่านิยมหลัก สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียว สร้างความมั่นใจและถูกต้อง และสร้างการเปลี่ยนแปลงสู่ความแตกต่าง (อย่าทำตามความคาดหวังของคนอื่น และไม่ปรับตามกระแส)

มิติที่ 3 ผู้นำควรเปลี่ยนจาก Self Focused เป็น Focus on Others

          เปิดโอกาสให้คนอื่นแสดงความคิดเห็น สร้างโอกาสให้องค์กรเจริญเติบโตและได้รับความเชื่อถือด้วย

          Focused on others คือ ดูที่จุดมุ่งหมายขององค์กร สร้าง Purpose Meaning and Passion ดูเพื่อนร่วมงาน

มิติที่ 4 ผู้นำควรเปลี่ยนจาก Internally Closed เป็น Externally Closed

          ผู้นำควรเปลี่ยนใจ เปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลง ยอมรับการฟัง Feedback จากผู้อื่น นำ Feedback มาพัฒนาองค์กรไปสู่สิ่งที่ดีกว่า

          เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ และตระหนักถึงความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลง ปรับ Mindset ปรับการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน ใช้ทฤษฎี 8K’s และ 5K’s

การก้าวสู่พื้นฐานภาวะผู้นำ

1. Result Centered การกำหนดผลลัพธ์ มี Purpose ทำตามเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และตามมาตรฐาน

2. Internally Directed การกำหนด Passion สร้างแรงขับเคลื่อน ปรับ Mindset เพื่อนร่วมงานและมีการสื่อสาร360 องศา

3. Other focused การกำหนด Meaning มุ่งสู่เป้าหมายขององค์กร สนับสนุนและเชื่อถือผู้อื่น

4. Externally Open การมุ่งไปข้างหน้า ยอมรับการเปลี่ยนแปลง มองหาโอกาสใหม่ ๆ

          การเปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลงจะทำให้เกิดการพัฒนาและรองรับการเปลี่ยนแปลง

การเตรียมตัว

1. ตระหนักว่าเรากำลังก้าวเข้าสู่สภาพพื้นฐานของภาวะผู้นำ

เราต้องเตรียมใจว่าจะก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงแล้ว เราพร้อมที่จะก้าวสู่สภาวะผู้นำได้อย่างไร

2. วิเคราะห์สภาพปัจจุบันของตัวเอง

          ในบทความนี้ Robert ได้ยกพื้นฐาน 4 ข้อที่ก้าวสู่พื้นฐานภาวะผู้นำ ก่อนอื่นต้องถามว่า

1. เรามุ่งผลลัพธ์ เราใช้วิธีการแบบเดิม เปลี่ยนสู่การทำงานเชิงรุกหรือไม่

          2. เราทำตามความคาดหวังคนอื่น หรือมอง Core Value

          3. เราสนใจตัวเองหรือไม่ มอง Core Value หรือไม่

          4. สนใจสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ยอมรับการเปลี่ยนแปลงหรือไม่

          ทั้ง 4 คำถามช่วยทำให้เราทำงานดีขึ้น และดึงผู้ร่วมงานมาพัฒนาองค์กรอย่างไร

คำถามที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลง 4 ข้อ

1. สอดคล้องและสัมพันธ์กับคุณสมบัติพื้นฐานภาวะผู้นำ

2. นำไปสู่การปฏิบัติจริง

3. นำไปสู่ผลของการมีพฤติกรรมที่ดี

4. นำไปสู่วัฒนธรรมองค์กรที่ดีในที่สุด

ผลจากการก้าวสู่การมีพื้นฐานภาวะผู้นำ

1. คิดต่าง คิดนอกกรอบ มีพฤติกรรมใหม่ อยากทำงานให้ดีขึ้น

2. รู้จักและได้เรียนรู้จากผู้คนต่าง ๆ รู้จักตนเอง ลูกน้อง

3. สร้าง Passion ไห้คนอื่นมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น

4.สามารถร่วมใจเป็นหนึ่งเดียว เกิด Teamwork ดี

5. มีวิสัยทัศน์

6. เปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลง

7. นำสู่ความสำเร็จในอนาคต

การนำมาพัฒนาตนเอง และมหาวิทยาลัย

1. Results Centered ได้การพัฒนา สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นในการทำงาน สู่การพัฒนาทุนมนุษย์

2. Internally Directed เมื่อเราได้วิเคราะห์ตนเองว่ามี Core Value ตรงไหนชื่อเสียงตรงไหน สามารถสร้างแบรนด์จากตรงจุดนี้ใช้ต่อยอดได้

3. Other Focused ผู้นำที่เห็นใจคนอื่นจะทำให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่ดีในการทำงาน เชื่อใจ เห็นใจ สนับสนุน เคารพการตัดสินใจผู้อื่น ลดความขัดแย้งในการทำงาน

4. Externally Open การเปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้ตัวเอง เปิดคณะใหม่ที่ตอบสนองตลาดแรงงาน เป็นการต่อยอดให้มหาวิทยาลัยให้เราเดินได้อย่างมั่นคง

การนำมาปรับใช้ในการพัฒนางานของมหาวิทยาลัยในอนาคต

1. สร้างผู้นำที่มีคุณสมบัติพื้นฐาน

2. ถ่ายทอดความรู้สู่ผู้นำแต่ละระดับ

3. พัฒนางานเพื่อบรรลุความท้าทายขององค์กร

4. บุคลากรเกิดพฤติกรรมที่ดี

5. Purpose Meaning Passion เพื่อดึงศักยภาพบุคลากร ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ดีต่อไป

          สรุปคือผู้นำสร้างได้ โดยการวิเคราะห์ข้างต้น วิเคราะห์ว่าเราอยู่ตรงไหน ก้าวจาก comfort zone ร่วมแรงร่วมใจในการพัฒนาองค์กร

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เสริมว่า เราชอบงานที่ทำอยู่หรือไม่ หลงใหลหรือไม่ มีความหมายหรือไม่ เราไม่ใช่ Average ของสังคมไทย

 

กลุ่ม 5 :  Management Time : Who's Got the Monkey?    น.33-45

การบริหารเวลา เพื่อจัดการลิงบนหลัง

 

การบริหารเวลาระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา

          เวลาเราทำงาน มี 3 ส่วนด้วยกัน

1. หัวหน้ามอบหมายให้เรา – เป็นเวลาสำคัญหรือไม่ หลีกเลี่ยงไม่ได้

2. เวลาที่ระบบกำหนดให้เรา – มหาวิทยาลัยมีการประเมินตัวเรา บางครั้งไม่ทำไม่ได้ มีผลกระทบในการลงโทษวินัยต่าง ๆ มีการต้องดำเนินให้เสร็จ

3. เวลาที่เรากำหนดเอง- เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่อยู่ร่วมกับเพื่อนร่วมงาน ทีมงาน ขึ้นอยู่กับเราบริหารตัวเอง และหลายครั้งอยู่ที่หัวหน้างานต้องดูแลลูกน้องด้วย

          ส่วนที่ 1 ต้องตัดสินใจเวลางานต่าง ๆ ส่วนที่ 2 ต้องให้เวลากับลูกน้อง และประสานงานต้องลดมาหน่อย

เวลาสำหรับตัวเอง ก็ยังแบ่งออกเป็น เวลาสำหรับผู้ใต้บังคับบัญชา (subordinate-impose time) และเวลาส่วนตัวที่ใช้ในการปฏิบัติงานของตัวเองหรือเพื่อการตัดสินใจ (Discretionary time)

ปัญหาของงาน

ปัญหาการทำงาน เราก็จะเจอปัญหาเยอะแยะ ที่ต้องปรึกษาผู้บังคับบัญชาซึ่งจากลิงที่วิ่งเข้ามาที่ผู้บังคับบัญชา ที่หน้าที่ที่จะ

- การรับปากว่าจะช่วยเหลือเขา แล้วกลายเป็นเอาลิงมาไว้ที่ตัวเอง หรือ

- การมอบหมายงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ดำเนินการแก้ไข

ลิงเสมือนเป็นปัญหาที่ย้ายไปอยู่รอบข้างได้ และเมื่อหัวหน้ารับลิงก็จะเกิดการเปลี่ยนหน้าที่ระหว่างหัวหน้าและลูกน้อง และพบว่าแต่ละคนมีลิงหลายตัว และยิ่งเรามีลิงเยอะมากเท่าไหร่ปัญหาที่ตามมาคือ

1. ทำงานไม่ทัน

2. ไม่มีเวลาเที่ยวกับครอบครัว

เมื่อลูกน้องมีปัญหาและเดินมาหาเรา จะดูว่างานชิ้นนี้คืออะไร เป็นการทำจากการสร้างโครงสร้างอยู่แล้ว

          ปัญหาเปรียบเสมือนลิง สภาพแวดล้อมในการทำงาน เปรียบเสมือนลิงที่อยู่รอบตัวเต็มไปหมด ปัญหาเหล่านี้จะไว้ที่ใคร เราจะจัดการปัญหาเหล่านี้อย่างไร เช่น ออกแบบยังไม่ได้ ก็มีลิงเป็นปัญหา

          การจัดการปัญหา

          1. รับทำเอง

          2. มอบหมายงานชิ้นนี้ให้คนอื่นทำ

          3. ช่วยเขาทำ

ในการแก้ไขปัญหาเราจะคืนปัญหา(ลิง) ให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างไรที่ถูกต้อง

  • โอนปัญหากลับไปที่จุดเริ่มต้นหรือเจ้าของปัญหา
  • ระบุเจ้าของ
  • ช่วยให้ผู้ใต้บังคับบัญชาจัดการปัญหา หรือให้อาหารลิงด้วยตัวเขาเอง

ผู้จัดการ/ผู้บังคับบัญชาต้องย้ำหรือสอนให้ผู้ใต้บังคับบัญชา วิเคราะห์และแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยทำหน้าที่ให้คำแนะนำ เปรียบเสมือนการให้คำแนะนำ

ระดับการจัดการปัญหา

1. รอจนกว่าจะบอกว่าจะทำอย่างไร - เราควบคุมไม่ได้ว่างานเสร็จตรงไหน

2. ถามว่าจะทำอย่างไร เช่น อยากได้จุลสาร เราจะได้งานชิ้นนี้เมื่อไหร่

3. แนะนำดำเนินการตามข้อเสนอแนะ - มีการติดตามผลงานมีการนำทฤษฎีการเรียนรู้จาก Chiraway มาใช้

4. ดำเนินการอย่างคิดอิสระแต่อาจให้คำแนะนำ Guideให้นิดหน่อย

5. ดำเนินการอย่างอิสระ และปรับปรังการทำงานจนเป็นขั้นตอนการทำงานปกติ

ให้เขาคิดเองโดยอิสระแล้วให้มารายงาน แต่เราต้องยอมรับความผิดพลาดและไว้วางใจได้ด้วย ถ้าเราทำได้จะทำให้ลิงที่อยู่บนหลังออกไปทีละตัว

กฎในการจัดการลิงหรือปัญหา 5 ข้อ

กฎข้อที่ 1 : เลี้ยงลิง หรือฆ่าลิงให้ตาย

เราจะฆ่าลิงหรือไม่ แบ่งเวลาให้สมดุล       

ลิงควรจะเลี้ยงหรือยิง มิฉะนั้นพวกเขาจะอดตายและผู้จัดการจะเสียเวลาที่มีคุณค่าใน postmortems หรือ resurrections พยายาม

กฎข้อที่ 2 : กำหนดว่าลิงเข้าหาเราได้กี่ตัว

รับลิงมีจำกัดจำนวน อย่ามีจำนวนมากเกินไปแทนที่จะใช้เวลาอยู่กับครอบครัว

กฎข้อที่ 3 : นัดหมายเวลาในการแก้ปัญหา

นัด ให้มีเวลาชัดเจนไม่ใช่รับไปเรื่อย เพราะมีประเด็นในการซักถาม

กฎข้อที่ 4 : การสื่อสารระหว่างเราและเพื่อนร่วมงาน

          การให้คำแนะนำแบบต่อหน้า  face to face หรือโทรศัพท์ เพราะเป็นการสื่อสารแบบสองทาง จะได้มีการพูดคุยซักถามปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมให้คำแนะนำได้ทันที

ลิงควรจะเลี้ยงใบหน้าเพื่อใบหน้าหรือทางโทรศัพท์ แต่ไม่เคยโดยทางไปรษณีย์ (อย่าลืม-กับอีเมลที่ย้ายไปจะเป็นผู้จัดการ.) เอกสารอาจเพิ่มขั้นตอนการให้อาหาร แต่มันไม่สามารถใช้สถานที่ของการให้อาหาร

          สื่อสารสองทาง ทางโทรศัพท์และพูดคุยกัน

กฎข้อที่ 5 : จำกัดเวลาการให้อาหารลิง

การให้อาหารลิงมีจำกัด การให้เวลาในการแก้ปัญหาในแต่ละเรื่องมีจำกัด ลิงทุกคนควรมีกำหนดเวลาการให้อาหารต่อไปและระดับของความคิดริเริ่ม เหล่านี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาโดยความยินยอมร่วมกัน แต่ไม่เคยได้รับอนุญาตให้กลายเป็นคลุมเครือหรือไม่แน่นอน มิฉะนั้นลิงอาจจะอดตายหรือลมขึ้นบนหลังของผู้จัดการ

คำแนะนำที่เหมาะสมสำหรับการจัดการเวลา

1. ขยายเวลาการตัดสินใจของตนเองโดยการกำจัดเวลาที่ผู้ใต้บังคับบัญชาออก

2. ใช้เวลาในการตัดสินใจครั้งใหม่นี้เพื่อดูว่าผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาแต่ละคนมีความคิดริเริ่มและใช้จริงหรือไม่

3.ใช้เวลาในการตัดสินใจที่เพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่งเพื่อให้ได้และควบคุมเวลาและเนื้อหาของเวลาที่เจ้านายกำหนดและเวลาที่ระบบกำหนด

ขั้นตอนทั้งหมดนี้จะช่วยเพิ่มการใช้ประโยชน์จากผู้จัดการและทำให้ค่าของแต่ละชั่วโมงที่ใช้ในการจัดการเวลาในการจัดการจะเพิ่มขึ้นโดยไม่ จำกัด ทฤษฎี

การนำมาปรับใช้กับ ม.ทักษิณ

การจัดการปัญหาหรือลิง

  • การบันทึกหรือรวบรวมปัญหา
  • จัดลำดับความสำคัญของปัญหา
  • พิจารณาวิธีการแก้ปัญหา ตามกฎ 5 ข้อ
  • การเป็นพี่เลี้ยงและการสอนงานลูกน้อง เพื่อลดปัญหา (ลิง)

 เอาเวลาไปทำเรื่องอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรจะดีกว่า จัดลำดับความสำคัญ ลิงตัวใหญ่ เราต้องจัดการก่อน เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด ใช้เทคนิคการแก้ปัญหากฎ 5 ข้อ การพัฒนาหรือ Training ให้พัฒนาศักยภาพในงานที่ทำได้เต็มที่ ให้มีความ Happy ในการทำงาน มีความสมดุลในชีวิตครอบครัว ได้ทีมที่เกิดการพัฒนาและมีความสมดุล

 

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

          Managing Onself คือการตระหนักรู้ในตัวตนเรา เราจะแก้ไขตัวเอง พัฒนาตัวเอง และส่งพลังงานให้คนรอบข้าง ถ้าเราบริหารตัวเองได้ เราจะบริหารคนรอบข้างได้ และจะคุยกับคนรอบข้างได้รู้เรื่อง

          การบริหารเวลา อย่าแบกลิงบนบ่าแล้วพาไปไหน ถ้าเรา Prioritize บางส่วน การบริหารจัดการตนเองเพื่ออะไร

ความสุขตัวเรา ทีม และองค์กร และความสุขทำให้เราทำทุกอย่างด้วยเหตุและผล และมองทุกอย่างในเชิง Positive มองทุกอย่างในการเปลี่ยนแปลงได้ ในที่สุดจะได้ตัวเรา ครอบครัวและองค์กรจะมีความสุข

หนังสือเล่มนี้สะท้อนภาพได้ดีมาก เป็นการสะท้อนจากตัวหนังสือแล้วถ่ายทอดความคิดได้นำไปปรับใช้ได้จริง ถ้าเราทำได้ ทีมสนับสนุนจะแข็งแรงและแผ่ไปทีมอื่น ๆ

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ในห้องนี้มีคนเก่งหลายคน และฉายแสงมาก ถ้ามีคนนำไปทำ Map ของตัวเองว่าใน 5 ปีข้างหน้าจากนี้ไปจะทำอะไร มี Deadline เกี่ยวกับตัวเอง เพราะถ้ามีแค่ตระหนักตัวเอง นวัตกรรมจะไม่เกิดขึ้น วินัยคนไทยทำให้สำเร็จยาก เวลาเหมือนมากแต่ไม่มาก ถ้าเรามีความมุ่งมั่น การมีชั่วโมงเดียวก็ใช้ได้มาก ต้องมี Deadline ที่ Effective

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

1.ค้นหาตัวเอง คนเราต้องการความสุข 3 อย่าง คือการทำงาน ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว และการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง หาตัวเองให้เจอ บางครั้งรอจุดแข็งอย่างเดียวไม่ได้ ต้องสร้างจุดเด่นด้วย

2. การค้นพบอาชีพคู่ขนาน เราอาจค้นพบอะไรบางอย่างที่เราช่วยตัวเอง และช่วยคนอื่นได้ อาจทำพร้อมกับอาชีพที่ทำอยู่

3. ใช้ R ตัวที่ 1 คือการค้นพบความจริง และนำมาสู่การค้นพบกระบวนการคือไปให้สู่เป้าหมายได้เร็วและแหลมคม 1.ตั้งคำถามเพื่อค้นพบตัวเอง 2. ตั้งเป้าหมายที่ดีจะตั้งเป็นระยะๆ มีสั้นไปยาว

4. กระบวนการตรง เลือกความคิดที่ชาญฉลาดต้องเลือก ความคิดที่ชาญฉลาดเกิดขึ้นจากการวิเคราะห์และปะทะกันทางปัญญา อาจมีความคิดตรงนั้น เลือกวิธีการและเลือกเครื่องมือ

5. การจัดสรรทรัพยากรจะจัดสรรอย่างไร Manage your Energy, Not your Time บริหารจัดการตนเองได้

7. เป็น Stage of Leadership เป็น Moment ของความยิ่งใหญ่คือรับผิดชอบมากขึ้น Core Value ขององค์กร คือพันธกิจและวิสัยทัศน์จะเดินแบบไหน

8. การเตรียมตัวในการมองความจริงให้วิเคราะห์เพื่อค้นพบตัวเองอีกระดับ เราต้องเตรียมพร้อมตลอดเวลา

          - ต้องมองความจริง วิเคราะห์เพื่อค้นพบตัวเองอีกระดับ มีการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม หมายถึงทุกสิ่งคือ Stakeholder ส่วนหนึ่งอยู่สงขลา พัทลุง ต้องดูในภาพรวมด้วย

9. หาตัวช่วย เป็นกลยุทธ์

          สรุปฝากเรื่องความยั่งยืน

 

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อติดตามข่าวโครงการ


สื่อสิ่งพิมพ์

http://www.naewna.com/politic/columnist/30450

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม 2560 หน้า 5

http://www.naewna.com/politic/columnist/31107

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม 2560 หน้า 5

 

รายการวิทยุ

http://www.thinkingradio.net/view/5974a70ce3f8e40ad163b41f

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 23 กรกฎาคม 2560 เวลา 6.00-6.30 น. ทาง FM 96.5 MHz.

http://www.thinkingradio.net/view/59a29880e3f8e44d74616d5a

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม 2560 เวลา 6.00-6.30 น. ทาง FM 96.5 MHz.

http://www.thinkingradio.net/view/59ad528ae3f8e466be9b110b

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน 2560 เวลา 6.00-6.30 น. ทาง FM 96.5 MHz.

 

รายการโทรทัศน์

https://youtu.be/G_tV-Gr1G6g

ที่มา: รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ “ดร.จีระ”.ตอน : การสร้างมูลค่าเพิ่มแบบ 3V : กรณีศึกษาโครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยทักษิณ ออกอากาศ : วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน 2560ทางช่อง TGN ระหว่างเวลา 21.00-21.30 น.


สื่อออนไลน์

http://www.gotoknow.org/posts/631673

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 25 กรกฎาคม – 8 สิงหาคม 2560

 

#โครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยทักษิณ

#TSUsupportingleaders2017

 

หมายเลขบันทึก: 635089เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2017 11:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กันยายน 2017 12:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)
นางจันทิมา คงคาลัย

นางจันทิมา คงคาลัย กลุ่มที่ 4

วันที่ 30 สิงหาคม 2560

การคิดเชิงกลยุทธ์ กับการบริหารสมัยใหม่

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

          การบริหารสมัยใหม่ อยู่บนพื้นฐานของการแข่งขัน ความสำเร็จของธุรกิจ ต้องมีการแข่งขันกับตัวเอง 

กลยุทธ์ในการแข่งขัน

  • 1. แข่งขันด้านราคา (cost leadership strategies) เช่น หลักสูตรที่ทันสมัย เป็นที่คาดหวังของผู้เรียน ในสถาบันที่มีชื่อเสียง สามารถแข่งขันด้านราคาได้
  • 2.แข่งขันที่ความแตกต่าง (differentiation strategies) เช่น Iphone ผลิตให้มีรูปลักษณ์ ให้มีสมรรถนะแตกต่าง
  • 3.แข่งขันด้านนวัตกรรม  (innovation strategies) ให้นึกถึง ค่ายโทรศัพท์ อย่าง sony หรือ iphone คือ มีนวัตกรรมเปลี่ยนภาพลักษณ์ไม่ใช่แค่การสื่อสาร แต่มีฟังก์ชั่นในเรื่องของถ่ายภาพ ฟังเพลง การนำทาง ทำธุรกรรมผ่านAPPS
  • 4.แข่งขันด้านกลยุทธ์ในการโต (Growth strategies) เช่น CP นับการโตจากยอดขาย การไม่ขยายสาขาแต่เพิ่มสินค้าเข้าในร้านเป็นการสร้างกลยุทธ์ในการโต TSU เพิ่มและใช้พื้นที่เดิมให้เกิดประโยชน์ก่อให้เกิดรายได้
  • 5.แข่งขันกลยุทธ์ด้านพันธมิตร (alliance strategies) เป็นการสร้างพันธมิตรในการร่วมทำงานวิจัยเพื่อขอรับจัดสรรงบประมาณร่วมกัน
นางจรรยา ชูทับ กลุ่มที่ 1

การคิดเชิงกลยุทธ์กับการบริหารสมัยใหม่

ความสามารถในการแข่งขัน คือ การบริหารจัดการสินทรัพย์xกระบวนการทำงาน

การบริหารสินทรัพย์Asset Management

1.      Infrastructure พื้นที่ อาคาร บริหารจัดการให้เกิดรายได้

2.       Capitalเงินสดการลงทุนให้เกิดผลกำไร

3.       Technology นวัตกรรม สินทรัพย์ทางปัญญา

4.       HumanResource  บุคลากร

กระบวนการทำงาน Business Process

1.   Quality คุณภาพ

2.   Cycle Time ระยะเวลาสั้นลง

3.    Responsiveness ความสามรถในการตอบสนอง

4.     Service level การบริการดีขึ้น

5.      Productivity ผลิตภัณฑ์

6.      Efficiency ประสิทธิภาพ

ความสามารถในการแข่งขัน Competitiveness

1.        Market Share ส่วนแบ่งทางการตลาด

2.        Profit Margin กำไรหรือรายได้เราลดลงหรือไม่

3.        Growth การเติบโต

4.        Asset Value มูลค่าสินทรัพย์เพิ่มขึ้น

5.        Value Creation  แบรนด์

Competitive Strategiesกลยุทธ์การแข่งขัน

1.        Cost Leadership Strategies แข่งที่ราคา

2.        Differentiation Strategies แข่งขันที่ความแตกต่าง

3.        Innovation Strategies แข่งขันด้านนวัตกรรม

4.        Growth Strategies กลยุทธ์การเติบโต

5.        Alliance Strategies การจับมือพันธมิตร

 

การประเมินนโยบายแผนงาน และโครงการ

         สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ

1.ประเมินผลการดำเนินงาน

2. ศึกษาสถานการณ์บริบทการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ

การประเมินแผนใช้หลักคิดPDCA คือ Plan-Do-Check-Act และดู Input – Process- Output – Outcome

ข้อสังเกตเรื่องการบริหารคนของบุคลากรสายสนับสนุน ของ TSU

1. Non - HR ต้องเข้าใจบทบาทของตนเอง

2. บทบาทของตัวเอง

ตามแนว Chira Way – เรื่องคนมี 3เรื่อง ประกอบด้วย

1. ปลูก - - 8K’s+5K’s คิดเป็นวิเคราะห์เป็นสู่นวัตกรรม

2. เก็บเกี่ยว - - ทฤษฎี 3 วงกลม + HRDS คือการสร้างแรงจูงใจเมื่อมอบอำนาจแล้วให้ทำให้ดีที่สุด มีเรื่อง HRDS คือ Happiness, Respect , Dignity และ Sustainability   ศึกษาว่าแต่ละคนต้องการอะไร

3. สุดท้าย คือ ทำให้สำเร็จ คือ Execution การก้าวข้มอุปสรรค

3. บทบาทของตัวเอง (Non HR+ CEO + HR)

HR –Non HR- Stakeholder ต้องทำร่วมกันปล่อยให้ผู้บริหารทำคนเดียวก็ไม่รอด ต้องมีฝ่ายสนับสนุนด้วยจึงทำให้สำเร็จ บทบาทของทุกคนจึงจะต้องเสริมงานของผู้นำเรียกว่า CEO และบทบาทของอาจารย์สายสนับสนุนที่ดูแลเรื่อง HR โดยตรง

นายชัยยุทธ มณีฉาย กลุ่มที่ 1

นายชัยยุทธมณีฉาย กลุ่มที่ 1

วิชาที่15  การคิดเชิงกลยุทธ์กับการบริหารสมัยใหม่ : วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและการมองเป้าหมายร่วมกัน

          การคิดเชิงกลยุทธ์เนื่องจาก

          1. การแข่งขัน

          2. การแย่งชิงทรัพยากร หรือ ทรัพยากรมีจำกัด

          ความสามรถในการแข่งขัน

          1. ทรัพยากร Capital,Technology, Human Resource

          2. กระบวนการทำงาน

          3. Competitiveness Market Share, ProfitMargin, Growth, Asset Value, Value Creative

          Competitiveness Strategies

          1. Cost Leadership Strategies

          2. Differentiation S Strategies

          3. Innovation Strategies

          4. Growth Strategies

          5. Alliance Strategies

 

การนำไปปรับใช้ การคิดเชิงกลยุทธ์และการบริหารสมัยใหม่สามารถนำไปวิเคราะห์ส่วนที่เป็นสิ่งที่ควรจะเป็นและมองเป้าหมายร่วมกันจัดทำเป็นกลยุทธ์ขององค์กร

 

วิชาที่16 LearningForum & Work Shop หัวข้อ การประเมินนโยบาย แผนงาน และโครงการ

          การประเมินนโยบายแผนงาน และโครงการ สิ่งที่ต้องพิจารณา

         1. การประเมินผลการดำเนินงาน

         2. ศึกษาบริบทใหม่ที่มีผลกระทบ

        3. การทำแบรนด์ ยุทธศาสตร์และคน

          ขั้นตอนการดำเนินงาน

          1. รวบรวมแผนที่เกี่ยวข้อง

          2. จัดทำยุทธศาสตร์

          3. ประชุมกลุ่ม

          4. จัดทำข้อเสนอแนะ ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับต่าง ๆ

 

การนำไปปรับใช้ นำไปประยุกต์ใช้กับการประเมินนโยบายแผน และโครงการของหน่วยงาน

 

วิชาที่17 การบริหารคนของบุคลากรสายสนับสนุน

          เรื่องคนในประเด็น3 เรื่องใหม่

          1. การปลูกคือการพัฒนา

          2. การเก็บเกี่ยวคือการทำงาน

          3. การเอาชนะอุปสรรค เจออุปสรรคอย่ายอมแพ้

Model           70: เรียนรู้เรื่องาน

                    20 : เรียนรู้จากคนอื่น

                    10 : เรียนรู้ในห้องเรียน

          การพัฒนาตนเองเพื่อเอาชนะอุปสรรค

          1. Accept Change

          2. Become a Continuous Learner

          3. Take Change

          เป็นต้น

          Mild set ความคิด – การกระทำ– ผลลัพธ์

          Growth Mild set เน้นการเปลี่ยนแปลงเป็นโอกาส

          Fix Mild set ความล้มเหลวทำได้แค่นี้

 

การนำไปปรับใช้ นำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานและบริหารลูกน้อง

 

วิชาที่18 LearningForum : ระบบพี่เลี้ยงและการสอนงาน

          - Coaching หรือ Mentoring อยู่ในการพัฒนาคนและถ้าจะสร้างให้เกิดเป็นวัฒนธรรมของการมีพี่เลี้ยงกับการโคชจะช่วยให้การพัฒนาคนได้ดีขึ้น

          -ผู้บริหารหรือหัวหน้างานต้องเป็นทั้ง Coaching และMentoring ให้กับพนักงานใหม่ พนักงานกลุ่ม Talent หรือ Successor ซึ่งต้องเป็นกระบวนการ Coach และการให้ Feedback

          รูปแบบการโคช

          1. นายโคชลูกน้อง

          2. เพื่อนโคชเพื่อน

          3. ลูกน้องโคชนาย

          พฤติกรรมการโคชคือการสนทนาที่เป็นDynamic Conversation ต้องเป็น Two way และ Open Communication ต้องมีการฟัง ถาม และการให้ Feedback

 

การนำไปปรับใช้ นำไปปรับใช้ในการเป็นพี่เลี้ยงและ Coachingให้กับพนักงานในหน่วยงาน

 

วิชาที่19 การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ3V

          นวัตกรรมที่แต่ละกลุ่มได้คิดค้นและนำเสนอเป็นประโยชน์สำหรับมหาวิทยาลัยซึ่งบางเรื่องเป็นเรื่องที่เจาะจง บางเรื่องเป็นแบบกว้าง ๆซึ่งทุกเรื่องต้องนำไปปรับ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของมหาวิทยาลัย และเพื่อให้สามารถใช้งานได้จริง

 

การนำไปปรับใช้ นำไปปรับ/ประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับมหาวิทยาลัย/หน่วยงานต่อไป


วิชาที่20 ทฤษฎีกระเด้งจากความรู้สู่การปรับใช้สู่ก้าวอนาคตแบบ 3 V’s

          บทสรุปภาพรวมของกิจกรรมการเรียนรู้ในโครงการสู่การปรับใช้เพื่อการทำงานสร้างความเป็นเลิศให้แก่มหาวิทยาลัย

 

          1. สายสนับสนุนมีความสามารถแต่ต้องพัฒนาตลอดเวลาโดยเฉพาะโครงการนี้ทำให้เกิด Team Work, มี Passion, นำเทคโนโลยีมาใช้ และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

          2. โครงการให้การพัฒนาบุคลากรเพื่อทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย มีความเชื่อมั่นมากขึ้นและต้องหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา รวมถึงการคิดค้นนวัตกรรม มีโอกาสปะทะทางปัญญา

          3. มี Passionในการทำงานอื่น ๆ ให้กับหน่วยงาน มหาวิทยาลัย Learning Shareand Care ต่อกัน

          4.นำไปประยุกต์ใช้กับงานอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่องมีการพัฒนาปรับปรุงตลอดเวลา มองความจริง และตรงประเด็น

          5. การปรับ Mildset ของบุคลากรจะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการจะทำให้มหาวิทยาลัยประสบความสำเร็จบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

          6. ปรับ Mildset ของตัวเองไปสู่ความเป็นเลิศ กระเด้งในพฤติกรรมและกิจกรรมใหม่จะทำให้ประสบความสำเร็จได้

          7. Learninghow to learn

 

นางสาวธิดา จิตต์ล้ำเลิศกุล กลุ่มที่ 3

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน ช่วงที่ 5 (30 สิงหาคม – 1 กันยายน 2560)

วิชา 15 การคิดเชิงกลยุทธ์และการบริหารจัดการสมัยใหม่ : วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและการมองเป้าหมายร่วมกัน

                ในปัจจุบันมีการแข่งขันกันตลอดเวลาเพื่อแย่งชิงทรัพยากร มหาวิทยาลัยต้องมีการคิดเชิงกลยุทธ์เพื่อให้ได้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยมีการบริหารสินทรัพย์ (Asset Management) ที่มีอยู่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีกระบวนการทำงานที่ดี (Business Processes) อันจะส่งผลต่อการแข่งขัน (Competitiveness) ซึ่งต้องสร้างแบรนด์ของมหาวิทยาลัยให้ได้

 

วิชา 16 การประเมินนโยบาย แผนงานและโครงการ

                สิ่งที่ต้องพิจารณาคือการประเมินผลการดำเนินงานไม่ใช่การมองเพียง output แต่ต้องมองถึง outcome ที่เกิดขึ้น มหาวิทยาลัยควรมีการศึกษาแผนของมหาวิทยาลัยอื่นๆ ด้วยเพื่อการมองภาพในองค์รวม และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

 

วิชาพิเศษ นำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงานสู่การปรับใช้กับการทำงานและมุมมองเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัย

        การศึกษาดูงานทั้งมหาวิทยาลัยเอกชนและในส่วนของบริษัทเอกชนทำให้ได้มุมมองใหม่ๆ การพัฒนาในเชิงธุรกิจและการบริหารจัดการสมัยใหม่ ที่ต่างจากระบบราชการ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยจะยึดการบริหารในแบบเดิมตามระบบราชการไม่ได้แล้ว ต้องมีการตื่นตัวและปรับการทำงานให้สอดคล้องกับโลกในยุคปัจจุบัน

 

วิชา 17 การบริหาร “คน” ของบุคลากรสายสนับสนุน

                ต้องเน้นทฤษฎี 2R’s คือความจริงและตรงประเด็น ต้องรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเองและเสริมงานของผู้บริหารมหาวิทยาลัย ที่สำคัญต้องมีการสร้างเครือข่ายเพื่อขยายความร่วมมือ เพราะงานหากทำคนเดียวไม่อาจประสบความสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือกัน ต้องมีการปลูก คือการพัฒนาคน ในองค์กรด้วยการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ การเก็บเกี่ยวนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ตามทฤษฎี HRDs และต้องมีการทำให้เกิดผลสำเร็จ

วิชา 18 ระบบพี่เลี้ยงและการสอนงาน

                รูปแบบของการพัฒนาคน แบ่งเป็น การฝึกอบรม (training) การโค้ช (coaching) การเป็นพี่เลี้ยง( mentoring) และ การให้คำปรึกษา (counseling) แต่ละรูปแบบจะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน การนำมาปรับใช้นั้น ต้องพิจารณาว่าจะใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใด ซึ่งหากนำมาใช้กับพนักงานใหม่ควรเลือกพี่เลี้ยงที่มีทัศนคติในเชิงบวกต่อองค์กร และรู้วัฒนธรรมค่านิยมหลักของมหาวิทยาลัย

วิชาพิเศษ นำเสนอบทเรียนจากการอ่านหนังสือ HBR’s Must Read on Managing Yourself

                หนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องที่กล่าวถึงการบริหารจัดการตนเองในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกาย อารมณ์ ใจและจิตวิญญาณ การวิเคราะห์ตนเอง การเข้าสู่ภาวะผู้นำ และการบริหารเวลา ซึ่งให้แง่คิดในการจัดการตนเอง อันจะส่งผลต่อครอบครัว ทีมงาน และองค์กร โดยหนังสือเล่มนี้สะท้อนถึงเรื่องจริงที่เกิดขึ้นและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง  

วิชา 19 การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 V

                โครงการที่แต่ละกลุ่มได้นำเสนอล้วนมาจากแนวคิดที่ต้องการพัฒนามหาวิทยาลัย และเป็นโครงการที่น่าสนใจ แต่การที่ก่อให้เกิดประโยชน์นั้น ต้องมีการผลักดันสู่การปฏิบัติและทำงานร่วมกัน

วิชา 20 ทฤษฎีกระเด้ง..จากความรู้สู่การปรับใช้สู่ก้าวอนาคตแบบ 3 V’s .. บทสรุปภาพรวมของกิจกรรมการเรียนรู้ในโครงการฯ สู่การปรับใช้เพื่อการทำงานสร้างความเป็นเลิศให้แก่มหาวิทยาลัย

                โครงการนี้ มีเนื้อหาวิชาที่น่าสนใจและบางวิชาได้สะท้อนมุมมองใหม่ๆ ในหลายด้าน ซึ่งสิ่งสำคัญในการนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยได้นั้น เราต้องปรับ Mindset ของตนเองก่อนและขยายสู่คนรอบข้าง เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรร่วมกัน ต้องมีการต่อยอดความรู้และการทำอย่างต่อเนื่อง

 

นางสาวสุชาดา ถาวรานุรักษ์ กลุ่มที่ 2

วิชาที่ 15 การคิดเชิงกลยุทธ์กับการบริหารสมัยใหม่

            : วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและการมองเป้าหมายร่วมกัน

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

            การบอกว่าเราไม่ได้แข่งขันกับใคร เราแข่งขันกับตัวเอง น่าจะไม่จริงเพราะในโลกปัจจุบันนั้นมีการแข่งขันตลอดเวลา ดังนั้น การคิดเชิงกลยุทธ์ ไม่สามารถอยู่ได้ถ้าไม่ได้แข่งขันกับใคร เนื่องจากต้องมีการแย่งชิงทรัพยากร

การคิดเชิงกลยุทธ์เพราะอะไร

  • การแข่งขัน
  • การแย่งชิงทรัพยากร

ความสามรถในการแข่งขัน

1. ทรัพยากร Capital,Technology, Human Resource

2. กระบวนการทำงาน

3. Competitiveness Market Share, ProfitMargin, Growth, Asset Value, Value Creative

Competitiveness Strategies

          1. Cost Leadership Strategies

          2. Differentiation S Strategies

          3. Innovation Strategies

          4. Growth Strategies

          5. Alliance Strategies

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

การคิดเชิงกลยุทธ์และการบริหารสมัยใหม่เราควรวิเคราะห์จุดแข็งตนเองและองค์กร สิ่งที่เป็นในปัจจุบันไม่ใช่ในอดีต หาความแตกต่าง ต้องเป้าหมายเดียวกันและมองในระระยะยาวเพื่อการแข่งขันตลอดเวลา

วิชาที่ 16 Learning Forum & Work Shop

           หัวข้อ การประเมินนโยบาย แผนงาน และโครงการ

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

การประเมินนโยบาย แผนงาน และโครงการสิ่งที่ต้องพิจารณาคือ

1. ประเมินผลการดำเนินงาน

2. ศึกษาบริบทใหม่ที่มีผลกระทบและอุตสาหรรม Higher Education ในอนาคต

3. ต้องทำแบรนด์ ยุทธศาสตร์ และคน และมองใน 5-10 ปีข้างหน้า

ขั้นตอนการดำเนินงาน

1. รวบรวมแผนที่เกี่ยวข้อง

2. จัดทำยุทธศาสตร์

3. ประชุมกลุ่ม

4. จัดทำข้อเสนอแนะ ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับต่าง ๆ

 สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

การนำการประเมินนโยบาย แผนงาน ขั้นตอนการดำเนินงานมาไปปรับใช้โครงการและองค์กร

วิชาที่ 17 การบริหาร “คน” ของบุคลากรสายสนับสนุน

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

ข้อสังเกตในการบริหารคน

1. Non – HR ต้องแน่ใจในบทบาทของตัวเอง

2. บทบาทของตัวเอง

เรื่องคนมี 3 เรื่อง ประกอบด้วย

1. ปลูก 8K’s+5K’s ปลูกในทุกขณะที่หาความรู้ เพื่อให้ทันเหตุการณ์ เพื่อให้มีศักยภาพ ใน 8K’s , 5K’s จะเหมือน Prerequisite  8K’s 5K’s มีพื้นฐานจาก Gary Becker คือต้องลงทุน แต่ไม่ใช่การลงทุนด้านปริมาณอย่างเดียว

2. เก็บเกี่ยว ทฤษฎี 3 วงกลม + HRDS ทำอย่างไรให้คนทำงานตามศักยภาพของเขา คือการสร้างแรงจูงใจ ต้องดูแต่ละคนให้ดีว่าเขาต้องการอะไร บางคนต้องการครอบครัว ต้องการอิสรภาพ ไม่ได้เห็นเงินสำคัญที่สุด เมื่อมอบอำนาจแล้วให้ทำให้ดีที่สุด มีเรื่อง HRDS คือ Happiness,Respect,Dignity และ Sustainability  

3. สุดท้าย คือ ทำให้สำเร็จ คือ Execution

3. บทบาทของตัวเอง (Non HR+ CEO + HR) HR –Non HR- Stakeholder ต้องทำร่วมกัน ปล่อยให้ผู้บริหารทำคนเดียวก็ไม่รอด ต้องมีฝ่ายสนับสนุนด้วยจึงทำให้สำเร็จ

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

          การแน่ใจในบทบาทของตัวเองและการบริหารคนโดยใช้ 8K’s+5K’s ทฤษฎี 3 วงกลม + HRDS และเน้นการทำงานเป็นทีมเพื่อความสำเร็จขององค์กร

วิชาที่ 18 Learning Forum : ระบบพี่เลี้ยงและการสอนงาน

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

           Coaching หรือ Mentoring อยู่ในการพัฒนาคน และถ้าจะสร้างให้เกิดเป็นวัฒนธรรมของการมีพี่เลี้ยงกับการโค้ชจะช่วยให้การพัฒนาคนดีขึ้น 

รูปแบบการโค้ช

1. นายโค้ชลูกน้อง

2. เพื่อนโค้ชเพื่อน

3. ลูกน้องโค้ชนาย

          พฤติกรรมการโค้ชคือการสนทนาที่เป็น Dynamic Conversation ต้องเป็น Two Way และ Open Communication ต้องมีการฟังถาม และให้ Feedback คนที่ทำหน้าที่โค้ชต้องสามารถออกแบบสอนการโฆษณาได้ ต้องเป็น Conversation Designer คนที่จะโค้ชลูกน้องต้องออกแบบการสนทนาให้เหมาะสมกับลูกน้องที่แตกต่างกันเนื่องจากมีคนมีความแตกต่างกัน

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

การนำระบบพี่เลี้ยงและCoachingมาใช้กับองค์กร

วิชาพิเศษ Learn-Share and Care

: นำเสนอบทเรียนจากการอ่านหนังสือ HBR’s Must Read on Managing Yourself

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

จากการฟังการแปลหนังสือ HBR’s Must Read on Managing Yourself

1. ค้นหาตัวเอง คนเราต้องการความสุข 3 อย่าง คือการทำงาน ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว และการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง

2. การค้นพบอาชีพคู่ขนาน

3. ใช้ R ตัวที่ 1 คือการค้นพบความจริง 2. ตั้งเป้าหมายที่ดีจะตั้งเป็นระยะๆ มีสั้นไปยาว

4. กระบวนการตรง

5. การจัดสรรทรัพยากรจะจัดสรรอย่างไร Manage your Energy, Not your Time บริหารจัดการตนเองได้

7. เป็น Stage of Leadership เป็น Moment ของความยิ่งใหญ่คือรับผิดชอบมากขึ้น Core Value

8. การเตรียมตัวในการมองความจริงให้วิเคราะห์เพื่อค้นพบตัวเองอีกระดับ เราต้องเตรียมพร้อมตลอดเวลา

9. หาตัวช่วย เป็นกลยุทธ์

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

          จากการฟังการแปลหนังสือ HBR’s Must Read on Managing Yourself วิเคราะห์ สรุปประโยชน์ที่นำไปใช้กับมหาวิทยาลัยของแต่ละกลุ่ม เป็นหนังสือที่ดีมากสอดแทรกแง่คิดในการดำเนินงาน       การดำเนินชีวิตมากมายที่สามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานของตนเองและองค์กรได้

วิชาที่ 19 การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3V

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

          นวัตกรรมที่แต่ละกลุ่มได้ร่วมกันคิดค้น วิเคราะห์ มองปัญหาที่มีอยู่ การปรับกระบวนงานและออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าและนำเสนอเป็นประโยชน์สำหรับมหาวิทยาลัยและบุคลากรสายสนับสนุน ซึ่งบางโครงการมีโจทย์ที่ดีแต่เนื้อหากว้างมาก บางเรื่องเป็นเรื่องที่เจาะจง บางเรื่องเป็นเรื่องที่คล้ายคลึงกันและควรที่จะนำมาออกแบบโครงการร่วมกัน ซึ่งทุกกลุ่มได้รับข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นจากคณะกรรมการเพื่อให้ปรับโครงการเชิงนวัตกรรมให้สอดคล้องกับเป้าหมาย วัตถุประสงค์ บริบทและการดำเนินการที่เป็นไปได้เพื่อให้โครงการเหล่านี้สามารถต่อยอดและนำไปใช้ได้จริง

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

การนำโครงการดังกล่าวปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการเพื่อให้สามรถใช้ได้จริงและนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเอง หน่วยงานและมหาวิทยาลัยต่อไป

วิชาที่ 20 Learning Forum : ทฤษฎีกระเด้งจากความรู้สู่การปรับใช้สู่ก้าวอนาคตแบบ 3 V’s

          การเรียนรู้ในโครงการสู่การปรับใช้เพื่อการทำงานสร้างความเป็นเลิศให้แก่มหาวิทยาลัย

          1. การปรับ Mildset เพื่อให้มองเป้าหมายเดียวกันและบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

          2. มี Passion ในการทำงานอื่น ๆ Learning Shareand Care ต่อกัน

          3. การเรียนรู้ตลอดเวลา การปรับตัว เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในให้เกิดประโยชน์สูงสุด

          4. การปะทะทางปัญญา

          5. การนำทฤษฎีต่างๆ ที่เรียนรู้มาปรับใช้กับตนเองและองค์กร เช่น 8K’s+5K’s ทฤษฎี 3 วงกลม           

          6. บทบาทของตัวเอง (Non HR+ CEO + HR) HR –Non HR- Stakeholder และต้องทำร่วมกัน

นางสาวขวัญใจ นิ่มดวง กลุ่มที่ 1

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

วิชาที่ 15 การคิดเชิงกลยุทธ์กับการบริหารสมัยใหม่ : วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและการมองเป้าหมายร่วมกัน

          1.ถึงแม้ว่าสถานการณ์ปัจจุบันฟังแล้วไม่ดีก็อย่าท้อใจ ให้คิดเชิงกลยุทธ์จะช่วยแก้วิกฤติได้

2.การบริหารสมัยใหม่มีคนรุ่นใหม่ๆ เสี่ยงทำให้องค์กรล่มสลายเพราะผู้ปฏิบัติมี Eco สูง เบื่อหน่ายกับขั้นตอนโบราณ คนเหล่านี้จะอยู่กับองค์กรได้ไม่นาน ผู้บริหารต้องมี talent management           3.ปัจจุบันนั้นมีการแข่งขันตลอดเวลา ดังนั้น การคิดเชิงกลยุทธ์ ไม่สามารถอยู่ได้ถ้าไม่ได้แข่งขันกับใคร เนื่องจากต้องมีการแย่งชิงทรัพยากร

 

วิชาที่ 16 Learning Forum & Work Shop หัวข้อ การประเมินนโยบาย แผนงาน และโครงการ

   การประเมินนโยบายแผนงาน และโครงการ สิ่งที่ต้องพิจารณา

         1. การประเมินผลการดำเนินงาน

         2. ศึกษาบริบทใหม่ที่มีผลกระทบ

         3. การทำแบรนด์ ยุทธศาสตร์และคนขั้นตอนการดำเนินงาน

ขั้นตอนการดำเนินงาน

1. รวบรวมแผนที่เกี่ยวข้อง

2. จัดทำยุทธศาสตร์

4. ประชุมกลุ่ม

5. จัดทำข้อเสนอแนะ ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับต่าง ๆ

 

วิชาที่ 17 การบริหาร “คน” ของบุคลากรสายสนับสนุน

1. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ

          1.1 การปลูก (การพัฒนา) Human development สำหรับคนมี 2 ช่วง คือ ช่วงก่อน 25 ปี เป็นช่วงปลูกปัญญา ช่วงระหว่าง 25-60 ปี เป็นช่วงที่ต้องปลูกอย่างบ้าคลั่ง (เทคนิคการปลูก ให้ความรู้แบบสนุกๆ share และเสริมด้วย discussion)

          1.2 การเก็บเกี่ยว (บริหารจัดการ) ต้องทำทันที (แต่ละคนมีความรู้ไม่เท่ากัน เก็บเกี่ยวในรูปแบบไม่เหมือนกัน)

          1.3 Execution (ทำให้สำเร็จ)

 

วิชาที่ 18 Learning Forum : ระบบพี่เลี้ยงและการสอนงาน

          1. เห็นการเปลี่ยนแปลงเป็นโอกาส เห็นความผิดพลาดเป็นการเติบโต

2. Coaching เช่น อ่อนฟิสิกส์ก็สอนฟิสิกส์เพิ่ม

3. Mentoring ดูแลตลอดเวลา ช่วยให้การพัฒนาดีขึ้น เหมือน family 

4. รูปแบบการ Coaching

4.1 นายโค้ชลูกน้อง

4.2 เพื่อนโค้ชเพื่อน

4.3 ลูกน้องโค้ชนาย

วิชาพิเศษ Learn-Share and Care

1. แทนที่จะบอกคนอื่นว่าควรคิด อะไร ให้สอนให้เค้าคิด อย่างไร แล้วเขาจะเข้าใจด้วยตนเอง

2. การเลือกเครื่องมือวัดชีวิตของตนเองสำคัญ เราต้องเลือกมาตรวัดด้วยตนเอง ตั้งเป้าหมาย การเดินตามเป้าหมาย 100% ง่ายกว่าการทำแค่ 98% แล้วจะประสบความสำเร็จ

3. ต้องรู้จักการอ่อนน้อมถ่อมตน

 

วิชาที่ 19 การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3V

         นวัตกรรมที่แต่ละกลุ่มได้คิดค้นและนำเสนอเป็นประโยชน์สำหรับมหาวิทยาลัยซึ่งบางเรื่องเป็นเรื่องที่เจาะจง บางเรื่องเป็นแบบกว้าง ๆซึ่งทุกเรื่องต้องนำไปปรับ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของมหาวิทยาลัย และเพื่อให้สามารถใช้งานได้จริง

 

วิชาที่ 20 Learning Forum : ทฤษฎีกระเด้งจากความรู้สู่การปรับใช้สู่ก้าวอนาคตแบบ 3 V’s

          1. สายสนับสนุนมีความสามารถแต่ต้องพัฒนาตลอดเวลาโดยเฉพาะโครงการนี้ทำให้เกิด Team Work, มี Passion, นำเทคโนโลยีมาใช้ และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

                   2. โครงการให้การพัฒนาบุคลากรเพื่อทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย มีความเชื่อมั่นมากขึ้นและต้องหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา รวมถึงการคิดค้นนวัตกรรม มีโอกาสปะทะทางปัญญา

          3. มี Passionในการทำงานอื่น ๆ ให้กับหน่วยงาน มหาวิทยาลัย Learning Shareand Care ต่อกัน

          4.นำไปประยุกต์ใช้กับงานอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่องมีการพัฒนาปรับปรุงตลอดเวลา มองความจริง และตรงประเด็น

          5. การปรับ Mildset ของบุคลากรจะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการจะทำให้มหาวิทยาลัยประสบความสำเร็จบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

นางสาวอรวรรณ ธนูศร

วิชาที่ 15 การคิดเชิงกลยุทธ์กับการบริหารสมัยใหม่  : วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและการมองเป้าหมายร่วมกัน

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

โลกปัจจุบันนั้นมีการแข่งขันตลอดเวลา ดังนั้น การคิดเชิงกลยุทธ์ ไม่สามารถอยู่ได้ถ้าไม่ได้แข่งขันกับใคร เนื่องจากต้องมีการแย่งชิงทรัพยากร การแข่งขันและการแย่งชิงทรัพยากร เป็นการคิดเชิงกลยุทธ์ โดยบริหาร โดยมีการบริหารสินทรัพย์ (Asset Management) ที่มีอยู่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีกระบวนการทำงานที่ดี (Business Processes) อันจะส่งผลต่อการแข่งขัน (Competitiveness) ในด้าน

          1. Cost Leadership Strategies

          2. Differentiation S Strategies

          3. Innovation Strategies

          4. Growth Strategies

          5. Alliance Strategies

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

การคิดเชิงกลยุทธ์และการบริหารสมัยใหม่เราควรวิเคราะห์จุดแข็งตนเองและองค์กร สิ่งที่เป็นในปัจจุบันไม่ใช่ในอดีต หาความแตกต่าง ต้องเป้าหมายเดียวกันและมองในระระยะยาวเพื่อการแข่งขันตลอดเวลา

วิชาที่ 16 การประเมินนโยบาย แผนงานและโครงการ (Learning Forum & Work Shop)

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

การประเมินนโยบาย แผนงาน และโครงการสิ่งที่ต้องพิจารณา คือ ประเมินผลการดำเนินงาน ศึกษาบริบทใหม่ที่มีผลกระทบและอุตสาหรรม Higher Education ในอนาคต ต้องทำแบรนด์ ยุทธศาสตร์ และคน และมองใน 5-10 ปีข้างหน้า

 ขั้นตอนการดำเนินงาน รวบรวมแผนที่เกี่ยวข้อง จัดทำยุทธศาสตร์ ประชุมกลุ่ม จัดทำข้อเสนอแนะ ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับต่าง ๆ

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

การนำการประเมินนโยบาย แผนงาน ขั้นตอนการดำเนินงานมาไปปรับใช้โครงการและองค์กร

 

วิชาที่ 17 การบริหาร “คน” ของบุคลากรสายสนับสนุน

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

ต้องเน้นทฤษฎี 2R’s คือความจริงและตรงประเด็น ต้องรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเองและเสริมงานของผู้บริหารมหาวิทยาลัย ที่สำคัญต้องมีการสร้างเครือข่ายเพื่อขยายความร่วมมือ เพราะงานหากทำคนเดียวไม่อาจประสบความสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือกัน ต้องมีการปลูก คือการพัฒนาคน ในองค์กรด้วยการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ การเก็บเกี่ยวนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ตามทฤษฎี HRDs และต้องมีการทำให้เกิดผลสำเร็จ

การบริหารคนมี 3 เรื่อง ประกอบด้วย

1. ปลูก 8K’s+5K’s ปลูกในทุกขณะที่หาความรู้ เพื่อให้ทันเหตุการณ์ เพื่อให้มีศักยภาพ ใน 8K’s , 5K’s จะเหมือน Prerequisite  8K’s 5K’s มีพื้นฐานจาก Gary Becker คือต้องลงทุน แต่ไม่ใช่การลงทุนด้านปริมาณอย่างเดียว

2. เก็บเกี่ยว ทฤษฎี 3 วงกลม + HRDS ทำอย่างไรให้คนทำงานตามศักยภาพของเขา คือการสร้างแรงจูงใจ ต้องดูแต่ละคนให้ดีว่าเขาต้องการอะไร บางคนต้องการครอบครัว ต้องการอิสรภาพ ไม่ได้เห็นเงินสำคัญที่สุด เมื่อมอบอำนาจแล้วให้ทำให้ดีที่สุด มีเรื่อง HRDS คือ Happiness, Respect, Dignity และ Sustainability  

3.  ทำให้สำเร็จ คือ Execution

4. บทบาทของตัวเอง (Non HR+ CEO + HR) HR –Non HR- Stakeholder ต้องทำงานร่วมกัน ปล่อยให้ผู้บริหารทำคนเดียวก็ไม่รอด ต้องมีฝ่ายสนับสนุนด้วยจึงทำให้สำเร็จ

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

          การแน่ใจในบทบาทของตัวเองและการบริหารคนโดยใช้ 8K’s+5K’s ทฤษฎี 3 วงกลม + HRDS และเน้นการทำงานเป็นทีมเพื่อความสำเร็จขององค์กร

วิชาที่ 18 ระบบพี่เลี้ยงและการสอนงาน (Learning Forum)

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

รูปแบบของการพัฒนาคน แบ่งเป็น การฝึกอบรม (training) การโค้ช (coaching) การเป็นพี่เลี้ยง( mentoring) และ การให้คำปรึกษา (counseling) แต่ละรูปแบบจะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน การนำมาปรับใช้นั้น ต้องพิจารณาว่าจะใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใด ซึ่งหากนำมาใช้กับพนักงานใหม่ควรเลือกพี่เลี้ยงที่มีทัศนคติในเชิงบวกต่อองค์กร และรู้วัฒนธรรมค่านิยมหลักของมหาวิทยาลัย

 สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

การนำระบบพี่เลี้ยง และCoaching มาใช้กับองค์กร

วิชาพิเศษ Learn-Share and Care: นำเสนอบทเรียนจากการอ่านหนังสือ HBR’s Must Read on Managing Yourself

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

จากการฟังการแปลหนังสือ HBR’s Must Read on Managing Yourself

หนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องที่กล่าวถึงการบริหารจัดการตนเองในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกาย อารมณ์ ใจและจิตวิญญาณ การวิเคราะห์ตนเอง การเข้าสู่ภาวะผู้นำ และการบริหารเวลา ซึ่งให้แง่คิดในการจัดการตนเอง อันจะส่งผลต่อครอบครัว ทีมงาน และองค์กร โดยหนังสือเล่มนี้สะท้อนถึงเรื่องจริงที่เกิดขึ้นและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง

 สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

          จากการฟังการแปลหนังสือ HBR’s Must Read on Managing Yourself วิเคราะห์ สรุปประโยชน์ที่นำไปใช้  เป็นหนังสือที่ดีมากสอดแทรกแง่คิดในการดำเนินงานและการดำเนินชีวิตมากมายที่สามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานของตนเองและองค์กรได้

วิชาที่ 19 การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3V

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

          นวัตกรรมที่แต่ละกลุ่มได้ร่วมกันคิดค้น วิเคราะห์ มองปัญหาที่มีอยู่ การปรับกระบวนงานและออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าและนำเสนอเป็นประโยชน์สำหรับมหาวิทยาลัยและบุคลากรสายสนับสนุน ซึ่งบางโครงการมีโจทย์ที่ดีแต่เนื้อหากว้างมาก บางเรื่องเป็นเรื่องที่เจาะจง บางเรื่องเป็นเรื่องที่คล้ายคลึงกันและควรที่จะนำมาออกแบบโครงการร่วมกัน

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

การนำโครงการดังกล่าวปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการเพื่อให้สามรถใช้ได้จริงและนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเอง หน่วยงานและมหาวิทยาลัยต่อไป

วิชาที่ 20 Learning Forum : ทฤษฎีกระเด้งจากความรู้สู่การปรับใช้สู่ก้าวอนาคตแบบ 3 V’s การเรียนรู้ในโครงการสู่การปรับใช้เพื่อการทำงานสร้างความเป็นเลิศให้แก่มหาวิทยาลัย

          1. การปรับ Mildset เพื่อให้มองเป้าหมายเดียวกันและบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

          2. มี Passion ในการทำงานอื่น ๆ Learning Shareand Care ต่อกัน

          3. การเรียนรู้ตลอดเวลา การปรับตัว เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในให้เกิดประโยชน์สูงสุด

          4. การปะทะทางปัญญา

          5. การนำทฤษฎีต่างๆ ที่เรียนรู้มาปรับใช้กับตนเองและองค์กร เช่น 8K’s+5K’s ทฤษฎี 3 วงกลม           

          6. บทบาทของตัวเอง (Non HR+ CEO + HR) HR –Non HR- Stakeholder และต้องทำร่วมกัน

 

นางสาวดุสิดา แก้วสมบูรณ์ (กลุ่มที่ 1)

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงานทุกรายวิชา

วันพุธที่  30 สิงหาคม 2560

รายวิชาที่ 15 :  การคิดเชิงกลยุทธ์กับการบริหารสมัยใหม่ : วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและ

                       การมองเป้าหมายร่วมกัน

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

          ในโลกปัจจุบันที่มีการแข่งขัน (Competitiveness) อยู่ตลอดเวลา การคิดเชิงกลยุทธ์ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากๆ เพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน

ความสามารถในการแข่งขัน ประกอบด้วย

          1. Asset (ทรัพยากร) เช่น Infrastructure Capital (เงินสด) Technology (เทคโนโลยี) และHuman Resource (บุคลากร) ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดความสามารถในการแข่งขันที่ได้เปรียบกว่าที่อื่น

          2. Business Process (กระบวนการทำงาน) จะต้องมีการปรับปรุงกระบวนการทำงานอยู่ตลอดเวลา เพื่อพัฒนาคุณภาพ (Quality) ต้องมีการกำหนดระยะเวลา (Cycle Time) มีการตอบสนองตามที่คาดหวัง (Responsiveness) มีการบริการที่ดี (Service) และเป็นผลิตภัณฑ์ที่คุณภาพ (Productivity) มีประสิทธิภาพ(Efficiency) ยกตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี มี CIO ทำหน้าที่คิดกระบวนการในการนำSoftware ไปใช้ มีการประเมินผลเป็นอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด และให้บุคลากรไปกรอกข้อมูล โดยมีหัวหน้าไปประเมินเป็นขั้นตอน และมีการส่ง e-mail เข้าไปเตือนว่าขณะนี้คนต้องทำอย่างไรต่อไป

          3. Competitiveness โดยการวัดความสามารถในการแข่งขันเราวัดที่ Market Share แล้วดูว่าในภาพรวมมีนัยยะสำคัญเท่าไหร่ มีการเจริญเติบโต มีรายได้เพิ่มขึ้นหรือไม่ รวมไปถึงการสร้างแบรนด์ของสินค้า (Value Creation) ก็ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ลูกค้าสามารถจดจำสินค้านั้นๆ ได้

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน  คือ มหาวิทยาลัยจะมีการพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดได้ ถ้าหากมหาวิทยาลัยมีผู้บริหารที่มีระบบบริหารจัดการคนเก่ง (talent management) เพื่อรักษาคนเก่งให้อยู่กับองค์กร อีกทั้งต้องมีการคิดเชิงกลยุทธ์และการบริหารสมัยใหม่ เพื่อนำไปวิเคราะห์ในสิ่งที่ควรจะเป็นและมองเป้าหมายร่วมกันในการจัดทำเป็นกลยุทธ์ขององค์กร

 

รายวิชาที่ 16 : Learning Forum & Work Shop หัวข้อ การประเมินนโยบาย แผนงาน และโครงการ

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

           ในการประเมินนโยบายแผนงาน และโครงการ สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณา คือ

          1. ประเมินผลการดำเนินงาน

          2. การศึกษาบริบทใหม่ที่มีผลกระทบ

          3. การสร้างแบรนด์ ยุทธศาสตร์ และการบริหารจัดการคน

          ขอบเขตของการศึกษา จะต้องมีการเปรียบเทียบกับที่อื่นด้วยว่ามีการจัดทำแผนอย่างไร โดยมีการประชุมกลุ่มย่อยให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่และตกผลึก

          ขั้นตอนการดำเนินงาน

          1. รวบรวมแผนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบ

          2. การจัดทำยุทธศาสตร์

          3. การประชุมกลุ่มย่อย เพื่อให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่และตกผลึก

          4. จัดทำข้อเสนอแนะ ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับต่าง ๆ ประกอบด้วยวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) เป้าหมาย (Goal) กลยุทธ์สำคัญ (Important Strategy) , Winning Project, KPI, Action Plan

 สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน  การประเมินนโยบาย แผนงาน และโครงการ โดยใช้หลักคิด PDCA คือ Plan-Do-Check-Act และดู Input – Process- Output – Outcome โดยสิ่งที่ต้องพิจารณาคือ การประเมินผลการดำเนินงานไม่ใช่การมองเพียง output แต่ต้องมองถึง outcome ที่เกิดขึ้น มหาวิทยาลัยควรมีการศึกษาแผนของมหาวิทยาลัยอื่นๆ ด้วยเพื่อการมองภาพในองค์รวม และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

 

วันพฤหัสบดีที่  31 สิงหาคม  2560

รายวิชาที่ 17 : การบริหาร “คน” ของบุคลากรสายสนับสนุน

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

          การบริหาร “คน” ของบุคลากรสายสนับสนุน จะเน้นทฤษฎี 2 R’s คือ ความจริงและตรงประเด็น เป็นการปะทะกันทางปัญญา ต้องมีความคิดต่าง และต้องเอาชนะอุปสรรค

         การพัฒนาตนเอง

          1. Mindset การปรับทัศนคติในตนเอง การมี Mindset อะไรแล้วจะออกมาที่การกระทำ แล้วการกระทำจะออกมาที่ผลลัพธ์ Growth Mindset จะเป็นคนที่เห็นการเปลี่ยนแปลงเป็นโอกาส เห็นช่องทางในการเจริญเติบโต เห็นการเรียนรู้ใหม่ๆ ความล้มเหลวเป็นการผลักดันให้เราทำอะไรดีขึ้น ส่วน Fix Mindset เป็นเรื่องตรงข้าม

          2. Value ค่านิยม ความเชื่อในตัวเอง ต้องเข้าใจในพฤติกรรมของคนในที่ทำงาน เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีความสุข ต้องเข้าใจคนอื่น และคนอื่นเข้าใจเรา ทำอะไรทุกอย่างด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจสูงมาก

          3. Manage Team ต้องสามารถพัฒนาทีมอย่างให้มี Accountability

         ข้อสังเกตเรื่องการบริหาร “คน” ของบุคลากรสายสนับสนุน ของ TSU

          1. Non – HR ทุกคนในห้องนี้เป็นฝ่ายสนับสนุนที่เรียกว่า “Non – HR” คือ ทำงานเรื่องอื่น ๆ แต่ก็มีลูกน้อง มีเจ้านาย มีฝ่าย HR ของมหาวิทยาลัย ดังนั้น งานที่ทำต้องแน่ใจในบทบาทของตัวเอง

          2. บทบาทของตัวเอง บทบาทของตัวเอง หากพิจารณาตามแนว Chira Way เรื่องคนมี 3 เรื่อง ประกอบด้วย

              2.1 ปลูก (8K’s+5K’s) เสมือนการปลูกต้นไม้ คือ การพัฒนาคนต้องมีการปลูก เป็นเสมือนการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างหนึ่ง การปะทะกันทางปัญญาเป็นหนึ่งในกระบวนการหรือ Process หนึ่งเป็นการปลูกในทุกขณะ ต้องมีการไขว่คว้าหาความรู้อยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ทันเหตุการณ์ เพื่อให้มีศักยภาพ โดยใน 8K’s และ5K’s จะเหมือน Prerequisite มีพื้นฐานจาก Gary Becker คือต้องลงทุน แต่ไม่ใช่การลงทุนด้านปริมาณอย่างเดียว

              2.2 เก็บเกี่ยว (ทฤษฎี 3 วงกลม + HRDS)  ทำได้ 2 แบบคือ 1. ทำทันที 2. ทำทีหลัง โดยดูความพร้อมของคนว่าคนพร้อมหรือยัง ซึ่งต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้คนทำงานตามศักยภาพของตนเอง มีการการสร้างแรงจูงใจ โดยต้องดูว่าต้องการอะไร บางคนต้องการครอบครัว ต้องการอิสรภาพ ไม่ได้เห็นเงินสำคัญที่สุด เมื่อมอบอำนาจแล้วให้ทำให้ดีที่สุด สำหรับเรื่อง HRDS ประกอบด้วย Happiness, Respect, Dignity และ Sustainability  อีกทั้งยังเป็นเรื่องของ Learning & Development ทุกคนต้องเป็นคนที่อยากเรียนรู้ด้วยตนเอง การเก็บเกี่ยวความรู้ และการพัฒนา

              2.3 ทำให้สำเร็จ (Execution) คือ ความสำเร็จที่เกิดจากการเอาชนะอุปสรรคที่เกิดขึ้น ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเอาชนะอย่างไร อุปสรรคอย่างหนึ่งแก้ด้วยฝ่ายสนับสนุน อย่างไรฝ่ายสนับสนุนต้องแก้เรื่องคนให้เป็น เราต้องหาตัวอย่างหรือเหตุผลว่าบางจุดเราได้ทำสำเร็จมาแล้ว บางจุดเราทำล้มเหลว

          4. ช่วยเป็น Mentor และ Coach ให้กับลูกน้อง Mentor คือ การช่วยดูแล และต้องมีการ Coach ไปด้วยกัน ควรจะมีส่วนช่วยในการดูแลลูกน้องว่าเขาทำงานอย่างไร ขาดเหลืออะไรที่ควรจะทำ คือ ทำตัวเป็นพี่เลี้ยง Mentor และ Coach ไปด้วย ขณะเดียวกันก็ช่วยท่านคณบดีในการดูแลเรื่องคน

          5. ค้นหาตัวเอง /ลูกน้อง – ปลูก + เก็บเกี่ยว – ทำงานข้าม Silo หลักๆ ก็คือ ค้นหาตัวเองว่าเรื่องคนอยู่ตรงไหน จะมีบทบาทอย่างไรเพิ่มขึ้น และสุดท้ายก็เน้นคุณภาพชีวิตที่ดี และทำงานข้าม Silo มากขึ้น

          6. ค้นหาตัวเอง ทำงานร่วมกับคนอื่น อย่าทำงานคนเดียว เมื่อค้นหาตัวเองว่าจุดแข็งเรื่องคนคืออะไร ก็ทำงานร่วมกับคนอื่นๆได้ เรียกว่า “ทำงานเป็นทีม อย่าทำงานคนเดียว”

          7. Cross Functional Team เน้นการทำงานแบบ Cross Functional Team เพราะในอนาคต มหาวิทยาลัยจะทำงานแบบ Silo ไม่ได้ ต้องข้าม Silo ต้องเน้นการทำงานเชิง Diversity เอาความหลากหลายมาเป็นพลัง

          8. ทฤษฎี 3 วงกลม เรื่องการบริหารคน ควรใช้แนวคิดเรื่อง 3 วงกลม

 สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน  ต้องมีการปรับ Mindset ที่สอดคล้องกับค่านิยมหลักของบุคลากรในการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ตอบโจทย์ค่านิยมหลักอย่างแท้จริงเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ และสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน และต้องมีการมอบหมายงานให้ตรงความรู้ความสามารถ กระตุ้น เสริมแรง สร้างสิ่งที่สอดคล้องกับตัวตน มีการปรับการกำหนด TOR ที่คำนึงถึงความแตกต่างของคน

 

รายวิชาที่ 18 : ระบบพี่เลี้ยงและการสอนงาน (Mentoring System & Coaching)

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

          การสร้างให้เกิดวัฒนธรรมของการมีพี่เลี้ยงกับการโค้ช (Coaching หรือ Mentoring) จะช่วยให้การองค์กรสามารถพัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถ และมีศักยภาพในการทำงานที่ดีขึ้น

          - Coaching จะเน้นเรื่องของการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและการปรับปรุงสมรรถนะ เป็นการพัฒนา Performance  and Development ปรับปรุงผลการปฏิบัติงาน โดยระยะเวลาที่จะโค้ชบุคลากรจะใช้เวลา ไม่นาน

          - Mentoring เป็นการโค้ชความก้าวหน้าในอาชีพและองค์กร การมี Mentor ในองค์กรเน้นการสร้างความมั่นใจ ถ้าต้องการวิธีการทำงานให้คนเข้าใจต้องมีการสร้างความก้าวหน้าในสายงาน และต้องทำอย่างต่อเนื่อง เน้นการทำความเข้าใจองค์กรมากขึ้น

          - Training เน้นเรื่องการพัฒนาทักษะ เป็นการเรียนรู้แบบ Outside In คือจากภายนอกในการฝึก อบรบ

          - Counseling เป็นการให้คำปรึกษา ต้องมีทักษะในการเรียนรู้ เป็นการลดปัญหาส่วนบุคคล ดังนั้นการเรียนรู้แบบ Inside out ต้องดึงออกมาข้างนอก

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน  คือ มหาวิทยาลัยทักษิณควรนำระบบระบบพี่เลี้ยง และการโค้ชบุคลากรมาใช้กับพนักงานใหม่ตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาทำงาน เพื่อให้คำแนะนำต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการทำงานในมหาวิทยาลัย โดยการ Orientation ต้องเปลี่ยนรูปแบบ ทุกครั้งที่พนักงานเข้ามาใหม่ CEO ต้องเข้ามาต้อนรับทุกครั้ง และจะเป็นคนพูดเรื่องค่านิยมขององค์กรเอง ซึ่งถือเป็นการสร้างแบรนด์ และเป็นการสร้างให้พนักงานมีความตระหนักรู้ในหน้าที่ของตนเองว่าจะทำอะไร อย่างไร

 

วันศุกร์ที่  1 กันยายน  2560

รายวิชาที่ 19 : การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3V

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

          โครงการนวัตกรรมที่แต่ละกลุ่มที่ได้นำเสนอไปนั้น ถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ทั้งที่คิดค้นขึ้นมาใหม่ และที่มีการปรับปรุงและพัฒนาเพื่อทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งบางโครงการสามารถนำไปต่อยอดและใช้ประโยชน์ได้จริง และในอีกบางโครงการถ้าได้มีการปรับปรุงให้มีความชัดเจนและเจาะลึกมากขึ้นก็จะทำให้นวัตกรรมนั้นมีประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย

 สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน  คือ หากมีการปรับปรุงโครงการนวัตกรรมตามข้อเสนอแนะที่คณะกรรมการแนะนำไป ก็สามารถนำไปใช้ได้จริง อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ในพัฒนาการทำงานต่อไป

 

รายวิชาที่ 20 : ทฤษฎีกระเด้งจากความรู้สู่การปรับใช้สู่ก้าวอนาคตแบบ 3 V’s

          บทสรุปภาพรวมของกิจกรรมการเรียนรู้ในโครงการสู่การปรับใช้เพื่อการทำงานสร้างความเป็นเลิศให้แก่มหาวิทยาลัย  โดยใช้ทฤษฎีกระเด้งจากความรู้สู่การปรับใช้สู่ก้าวอนาคตแบบ 3 V’ สามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานเพื่อให้เป็นองค์กรแห่งความเป็นเลิศ สิ่งที่ต้องทำคือ การปรับ mindset ของบุคลากรเพื่อให้มองเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกันและบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ อีกทั้งมีการฝึกให้เกิดการเรียนรู้แบบ Learning forum workshop ที่ได้ฝึกให้ทุกคนได้มีการปะทะทางปัญญาร่วมกัน โดยใช้ทฤษฎีต่างๆ เช่น 8K’s+5K’s ทฤษฎี 3 วงกลม มาปรับใช้กับตนเองและองค์กร  

ดารีนา รังสิโยกฤษฏ์ กลุ่ม 1

การคิดเชิงกลยุทธ์กับการบริหารสมัยใหม่ 

1.       การคิดเชิงกลยุทธ์ก็เนื่องจาก มีการแข่งขัน ต้องแย่งชิงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด

2.       การบริหารสินทรัพย์ที่มีอยู่ และลดกระบวนการทำงาน ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการแข่งขัน

3.       สินค้าและบริการแต่ละตัวมีวงจรของตนเอง คือ เกิด แก่ เจ็บตาย เป็น S Curve  การคิดเชิงกลยุทธ์ ต้องสร้าง S Curve ใหม่ อยู่ตลอดเวลาเพื่อมาแทน ตัวเก่าที่ตายไปตามวงจรของมัน

4.       การคิดเชิงกลยุทธ์ เพื่อการแข่งขัน ต้องคิดเสมอว่า

-          อะไรเป็นตัวขับเคลื่อนการแข่งขันในปัจจุบันและในอนาคต

-          ใครเป็นคู่แข่งของเรา ทั้งปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้รู้เขารู้เรา

-          มองไปในอนาคตไกลๆ ว่าทำอย่างไร จึงจะอยู่รอดต่อไปได้นานๆ

5.       ต้องยอมรับความจริง เพื่อปรับตัวให้อยู่รอดได้

 

การนำไปปรับใช้ 

มองความจริงของมหาวิทยาลัยที่เป็นอยู่ และยอมรับความจริง จากการทำ workshop จะเห็นได้ชัดเจนว่าสิ่งที่มหาวิทยาลัยต้องนำไปปรับปรุง ได้แก่

1.       ปรับเปลี่ยน Mindset ของผู้บริหาร เพื่อปรับยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของมหาวิทยาลัยที่เป็นอยู่ และต้องปรับตัว

2.       หาทางหารายได้เพิ่มจากทางอื่นๆ นอกจากรายได้จากค่าลงทะเบียนของนิสิต

3.       การทำ Branding  Corporate Communication  การสร้างภาพลักษณ์องค์กร

4.       สร้างคุณค่าเพิ่มในด้านต่างๆ ให้กับผู้มีส่วนได้เสีย ไม่ว่าจะเป็น นิสิต ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า บุคลากร

5.       สร้างความแตกต่างเพื่อดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาเรียน หรือใช้บริการอื่นๆ ของมหาวิทยาลัย

 

การประเมินนโยบาย แผนงาน และโครงการ

          การประเมินนโยบายแผนงาน และโครงการ สิ่งที่ต้องพิจารณา

         1. การประเมินผลการดำเนินงาน

         2. ระหว่างการประเมิน ศึกษาบริบทใหม่ที่มีผลกระทบ ในอนาคต

         3.  มองในระยะ 5-10 ปีข้างหน้าในเรื่องแผนของเงิน แต่ไม่ใช่แผนยุทธศาสตร์

          ขั้นตอนการดำเนินงาน

          1. ทำ PDCA เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ยกร่างทำให้เกิดแผนใหม่ๆ

          2. ทำอะไรได้ดีปรับเพิ่ม อะไรไม่ดี ควรลด

          3. ประเมินผลการดำเนินงานด้วย KPI ที่วัด หรือประเมินจาก Input Process Output Outcome

          4. รวบรวมบริบทใหม่ๆ เพราะบางเรื่องทำแล้วต้องซ่อม เสริม สร้างใหม่         

 

การนำไปปรับใช้ นำไปประยุกต์ใช้กับการประเมินนโยบายแผน และโครงการของหน่วยงาน

อุทัย ศิริคุณ กลุ่ม 3

วันที่ 30 สิงหาคม 2560

การคิดเชิงกลยุทธ์ กับการบริหารสมัยใหม่

: วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและการมองเป้าหมายร่วมกัน

stage of the Industry Life Cycle

ทุก ๆ สิ่งในโลกเรามีช่วงชีวิต มีวัฏจักรของมัน  อย่างอุตสาหกรรมมีช่วง เกิด โต แก่ เจ็บ ตาย

S-Curve ตัวเก่าต้องตายไป ต้องสร้าง S-Curve ตัวใหม่ เช่น I-Phone ที่ต้องสร้าง S-Curve ตัวใหม่ตลอดเวลา อย่าง ม.ทักษิณ ปัจจุบันอยู่ในวัฏจักรอะไร  ดูที่ตัวมหาวิทยาลัยก่อน แล้วค่อยมาดูที่คณะต่าง ๆ เราต้องยอมรับความจริงว่า S-Curve ในปัจจุบันต้องเปลี่ยน ต้องกลับมาถามว่าในแต่ละหลักสูตร ในแต่ละภาควิชาในแต่ละภาคของมหาวิทยาลัยอยู่ตรงไหนของมันต้องดูว่าอะไรที่เราปล่อยเขาไป และอะไรที่ขึ้นอยู่ข้างบน 

          ในการปฏิบัติงานต้องพิจารณาว่างานใดทำแล้วผลการดำเนินตอบโจทย์เราควรมุ่งทำสิ่งนั้นให้ดีให้เด่น หากกิจกรรมใดทำแล้วไม่ตอบโจทย์ให้ยกเลิกหรือปรับ เราไม่ควรทุ่มงบประมาณกับสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์กับองค์กร และในการทำปกติเราต้องพิจารณาว่ากระบวนงานใดไม่ทำให้ผลเหมือนเดิมก็ควรตัด

 

การประเมินนโยบาย แผนงาน และโครงการ

สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ

1. ประเมินผลการดำเนินงาน

2. ศึกษาบริบทใหม่ที่มีผลกระทบ เช่นอะไรที่จะมากระทบ ม.ทักษิณ และอุตสาหกรรม Higher Education ในอนาคต

3. ต้องทำแบรนด์ ยุทธศาสตร์ และคน และมองใน 5-10 ปีข้างหน้า

          เราต้องมีการประเมินแผน 2 แล้วไปทำแผน 3 ใช้หลักคิด กฎเกณฑ์เหล่านั้นทำให้คนเก่งกลายเป็นคนกลาง ๆ เช่นบางหลักสูตรควรมี ดร. 6-9 คน เราต้องหาวิธีการทำให้เก่งกว่าคนอื่น คิดแล้ววางแผนแล้วจะปรับอะไร อะไรทำน้อยไป อะไรทำได้มากขึ้น

การปรับใช้ในการปฏิบัติงาน

          การดำเนินงานทุกระบบ ควรมีการประเมิน ติดตาม เพื่อให้ทราบปัญหาและหาทางแก้ไขได้ทัน ควรมีการศึกษาความเป็นไปได้ก่อนเริ่มโครงการ มีการดำเนินงานตามกระบวนการ PDCA คือ Plan-Do-Check-Act และให้ กระบวนนี้หมุนไป เพื่อการพัฒนา

วันที่ 31 สิงหาคม 2560

การบริหาร “คน” ของบุคลากรสายสนับสนุน

การพัฒนาตนเอง

1. Mindset

2. Value ค่านิยมในตัวเอง

3. Manage Team เราดูทีมเราว่ามี Generation อะไรบ้าง เช่น BabyBoom Gen X GexY GenZ เราต้องสามารถพัฒนาทีมอย่างให้มี Accountability

         การมี Mindset อะไรแล้วจะออกมาที่การกระทำ แล้วการกระทำจะออกมาที่ผลลัพธ์ เช่นถ้านายต้องการแต่งาน แล้วจะสนใจแต่งาน ไม่สนใจว่าลำบากลำบนแค่ไหน จะต้องการแต่งาน ผลลัพธ์ที่ได้มาคือความเครียด และไม่รักกัน เพราะว่าถ้านายมาซ้าย เราจะไปขวา เราจะคอยตั้งป้อมว่าเราจะโดนอะไรอีก

           การปฏิบัติงานเราต้องปรับทัศนคติของเราต่องาน ต่อเพื่อนร่วมงาน ทำงานเป็นทีม รักในงานที่ทำ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับงานของเรา

 

ระบบพี่เลี้ยงและการสอนงาน (Mentoring System & Coaching)

รูปแบบการโค้ช

1. นายโค้ชลูกน้อง

2. เพื่อนโค้ชเพื่อน

3. ลูกน้องโค้ชนาย

ทำไมต้องโค้ช

เพราะต้องเสริมกำลังใจ ให้เขาทำงานดีขึ้น พัฒนาองค์กร

1. โค้ชเพื่อผลงาน

2. เพื่อ Learning & Development และ

3. ผลกระทบแห่งพฤติกรรม

การปฏิบัติงานเราต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการสอนงานกัน เพื่อให้การปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย

 

การนำเสนอบทเรียนจากการอ่านหนังสือ HBR’s Must Read on Managing Yourself

ภาพรวมของการจัดการตัวเอง

การประสบความสำเร็จของบุคคลที่มีชื่อเสียงต่าง ๆ มาจากการเรียนรู้ที่จะจัดการกับตัวเอง ต้องเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเอง ต้องหาโอกาสที่จะทำให้เราสามารถถ่ายทอดผลงานออกมาให้เป็นที่ประจักษ์

1. การค้นหาจุดแข็งของตัวเอง (เพื่อพัฒนาตนเอง)

- พัฒนาจากจุดแข็งของตัวเอง

- ปรับปรุงจากข้อเสียของตัวเอง

เราต้องค้นพบตัวเอง เราต้องหาตัวเองให้เจอก่อน และเมื่อหาตัวเองเจอแล้ว เราต้องพัฒนาตัวเองจากจุดแข็ง เราค้นพบว่าตัวเองมีจุดแข็งด้านไหน ต้องเชื่อว่าตัวเองมีจุดแข็งด้านนั้นจริง ๆ แล้วออกแบบเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ ครั้งนี้ไม่ได้ผล ต้องเปลี่ยนวิธีใหม่ อย่างไรก็ตามต้องมองถึงจุดด้อยด้วย

การปรับใช้ในการปฏิบัติงาน

          เราต้องพิจารณาตนเองจากจุดแข็งและเสริมจุดแข็งของตนเองเพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายและเมื่อเรารู้ว่ามีข้อเสียในการปฏิบัติงานใดเราควรศึกษาเพิ่มเติม หรือ ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้า

 

นางสาวเพ็ญนภา ไพยศาล กลุ่มที่ 2

สรุปวิชาที่ 15 การคิดเชิงกลยุทธ์ และการบริหารจัดการสมัยใหม่:วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและการมองเป้าหมายร่วมกัน (30 สิงหาคม 2560)

            การบริหารสมัยใหม่ ต้องมีกลยุทธในการแข่งขันกับคู่แข่ง ซึ่งมีการแย่งชิงทรัพยากร เช่น แย่งชิงนักศึกษา แย่งชิงอาจารย์และบุคลากรเก่ง ๆ แย่งชิงงบประมาณ เช่น จากรัฐบาล จากค่าเทอม จากรายได้บริการวิชาการและการวิจัย

            ความสามารถในการแข่งขันต้องมี

  1. Asset ทรัพยากร 2. Business Process กระบวนการทำงาน 3. Competitiveness การจัดความสามารถในการแข่งขัน

    การนำทฤษฎีของ Michael E.Porter

  1. Primary Strategies
  • กลยุทธ์ทางด้านราคา
  • กลยุทธ์ความแตกต่าง
  • </ul>
  1. Supporting Strategies
  • กลยุทธ์ด้านนวัตกรรม
  • กลยุทธ์ในการเติบโต
  • กลยุทธ์ด้านพันธมิตร
  • </ul>

    ดังนั้น TSU ต้องคำนึงถึงการวางกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับภาวะปัจจุบัน ทั้งนี้ ทุกๆสิ่งในโลกจะมีวัฏจักร เกิด โต เจ็บ ตาย ต้องมองว่าขณะนี้ TSU เราอยู่ช่วงไหน ต้องมีกลยุทธ์อย่างไรจึงจะสามารถอยู่ได้ต่อไป

      สรุปวิชาที่ 16 การประเมินนโยบาย แผนงานและโครงการ (30 สิงหาคม 2560)

    การประเมินนโยบายแผนงานและโครงการ ต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ 1. ประเมินผลการดำเนินงาน 2. ศึกษาผลกระทบในอนาคต คิดแล้ววางแผนแล้วจะปรับอะไร อะไรทำน้อยไป อะไรทำได้มากขึ้น

              ดูที่ Input – Process- Output – Outcome    Output คือ มีการทำ Survey มีการ Check แล้วดูตาม KPI ที่กำหนดไว้ หากไม่เป็นไปตาม KPI ที่วัด อาจจะผิดต้องมีการคิดใหม่ คิดซ่อม และต้องสร้างใหม่มีตัวชี้วัดทำเป็น Decision Tree ผลได้ตามเป้าหรือไม่ ได้ตามเป้าหรือไม่ได้ตามเป้าเพราะอะไร ทำแล้วได้อะไร เป็นผลจากโครงการฯ หรือเป็นผลจากเราจริงหรือไม่         

    ขั้นตอนการดำเนินการ  รวบรวมแผนที่เกี่ยวข้อง ทำยุทธศาสตร์ ทำประเมิน ประชุมกลุ่ม จัดทำข้อเสนอแนะประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับต่าวๆ ประกอบด้วยวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) เป้าหมาย(Goal) กลยุทธ์สำคัญ (Important Strategy) , Winning Project, KPI, Action Plan

     

    วิชาพิเศษ Learn-Share-Care : นำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงานสู่การปรับใช้กับการทำงานและมุมมองเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัย

    นำมาปรับใช้กับมหาวิทยาลัย อันดับแรกต้องปรับใช้จากความจริง ซึ่งจะตอบสนองต่อการขับเคลื่อน TSU ได้ และปรับ mindset ที่คนในองค์กรเมื่อปรับแล้วก็จะเกิด สายสนับสนุนที่ดีเลิศ มีความสุขกับการทำงาน มองเห็นอนาคต แล้วจะปรับตัวเองได้เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัย ก้าวออกจาก Comfort Zone และเกิดการสร้างงานใหม่ นั่นคือ นวัตกรรม และจะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ องค์กรก็จะเติบโตและมั่นคง        

     

    สรุปวิชาที่ 17 การบริหารคน ของบุคลากรสายสนับสนุน (31 สิงหาคม 2560)

    สิ่งที่เรียนรู้ของคนต้องมี Learn   -   relearn  -   Unlearn

    Learn  คือ เรียนรู้   Relearn คือ เรียนเพิ่ม    Unlearn คือ เรียนรู้ใหม่

    การพัฒนาตนเอง สามารถทำได้โดยการ เปลี่ยนแปลงตัวเอง เรียนรู้ตัวเองตลอดเวลา รับผิดชอบตนเอง หาจุดแข็ง จุดอ่อน หาเป้าหมายที่ชัดเจน purpose เป้าหมายอยู่ตรงไหน เก่งตรงไหนต้องยอมรับมัน การสะท้อนความคิด การมีค่านิยมการทำงานเป็นทีม เช่น อยากให้คนอื่นรู้จักเราในฐานะแบบไหน และสิ่งสำคัญต้องมองที่ความจริงให้ได้

    สายสนับสนุนเรา จะเป็น Non-HR เพราะหน้าที่หลักเราไม่ได้ทำ HR แต่เราต้องทำงานให้เกิดประโยชน์โดยเราต้องทำงานร่วมกับ CEO ในมหาวิทยาลัย ดังนั้นบทบาทหน้าที่ของสายสนับสนุนคือ ต้องเสริมผู้นำระดับอธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี หรือเรียกว่า CEO และบทบาทของอาจารย์ สายสนับสนุนที่ดูแบเรื่อง HR โดยตรง ซึ่งคนเป็นยุทธศาสตร์ที่ทำให้องค์กรอยู่รอด

    ค้นหาตัวเอง มีการปลูก คือ หาความรู้ตลอด เพื่อให้ทันเหตุการณ์ เก็บเกี่ยว คือ ทำอย่างไรให้คนทำให้ได้ตามศักยภาพของเค้า และสุดท้ายต้องชนะอุปสรรค Execution กระตุ้นคนให้เก่ง

     

    สรุปวิชาที่ 18 ระบบพี่เลี้ยงและการสอนงาน (31 สิงหาคม 2560)

    การเลือกพี่เลี้ยง ต้องดูว่าใครบ้างที่ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงได้ คือ มีประสบการณ์ การถ่ายทอด ต้องมีทัศนคติที่ดี เพราะมีผลต่อคนที่ฟัง มีทักษะการให้ความรู้ ระบบพี่เลี้ยงจะใช้กับ พนักงานใหม่ และคนที่จะเข้าสู่ตำแหน่งใหม่

    ผู้บริหารหรือหัวหน้างานต้องเป็นทั้ง Coaching & Mentoring Coaching หรือ Mentoring อยู่ในการพัฒนาคน และถ้าจะสร้างให้เกิดเป็นวัฒนธรรมของการมีพี่เลี้ยงกับการโค้ชจะช่วยให้การพัฒนาคนดีขึ้น

                รูปแบบของการ coach

  1. การ coach คือการสนทนา ต้องมีระบบ 2-way ใช้ทักษะฟัง ถาม ได้
  2. คนที่ทำหน้าที่ coach ต้องมีหน้าที่ conversation designer ให้เหมาะกับลูกน้องที่มีความแตกต่างกัน
  3. การเป็น  coach ที่ดี ต้องเป็นนักฟังที่ดีจากลูกน้อง ถามให้เป็น เพื่อให้รู้ทัศนคดีที่ดี สามารถดึงคำตอบออกมาได้ ให้รู้จักการสังเกต
  4. Feedback ไม่ใช่การวิพากษ์วิจารณ์ คือ การใช้หลักในการพูดไปในทางที่ดีที่เป็นลักษณะการให้กำลังใจ

     

  5. </ol>

    วิชาพิเศษ Learn-Share and Care (31 สิงหาคม 2560)

    1.ค้นหาตัวเอง ต้องมีสุข 3 อย่าง คือ จากงาน จากครอบครัว และค้นหาตัวเองให้เจอ หาจุดเด่นอย่ารอแต่จุดแข็งอย่างเดียว

    2.การค้นพบความจริง และนำมาสู่การค้นพบกระบวนการคือไปให้สู่เป้าหมายได้เร็ว

    3.ก่อนจะทำอะไรต้องมีการวิเคราะห์ตลอดเวลา      

             

    วิชาที่ 19 การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 v (1 กันยายน 2560)

                การออกแบบเชิงนวัตกรรม ของแต่ละกลุ่มที่สร้างมาล้วนแล้วทำเพื่อมหาวิทยาลัยทั้งสิ้น ทั้งนี้ต้องค่อยๆ ปรับใช้ หรือทดลองใช้ เพราะการที่จะให้บุคลากรทั้งองค์กรมาปรับใช้ในทันทีนั้นคงเป็นไปไม่ได้ ซึ่งต้องปรับ mindset ของคนในองค์กรก่อน เพื่อให้ทุกคนยอมรับกับการเปลี่ยนแปลง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในองค์กร ก็จะมีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น และมองที่ความจริงว่าสามารถทำได้ เจาะให้ตรงประเด็น ซึ่งก็จะก่อให้เกิดมูลค่าที่หลากหลายเกิดขึ้น ทำให้องค์กรได้พัฒนา ซึ่งหากคนมีการพัฒนา องค์กรก็จะอยู่รอด และก็ทำให้ทุกคนในองค์กรอยู่รอดเช่นเดียวกัน

     

    วิชาที่ 20 ทฤษฎีกระเด้ง จากความรู้สู่การปรับใช้สู่ก้าวอนาคตแบบ 3V’s บทสรุปภาพรวมของกิจกรรมการเรียนรู้ในโครงการฯ สู่การปรับใช้เพือการทานสร้างความเป็นเลิศให้แก่มหาวิทยาลัย (1 กันยายน 2560)

                การกระเด้งที่เปรียบเสมือนลูกบอลที่อยู่ในที่ราบสูง ไม่ใช่อยู่ในที่ลุ่ม ซึ่งก็คือความคิดของเราที่เกิดจากการปะทะทางปัญญาตลอดระยะเวลา ทำให้เกิดความคิดหรือหลักคิดเกิดขึ้น ทำให้การเรียนรู้กระเด้งหลากหลายจุดประกายความคิด ต้องมองและถามตัวเองว่าตอนนี้เราอยู่จุดไหน ซึ่งการปะทะทางปัญญาเรื่องหนึ่งอาจไปจุดประกายอีกเรื่องหนึ่งก็ได้ ดังนั้น ค้นหาตัวเองให้เจอ และปรับ mindset หาประโยชน์จากความคิดนั้นให้ได้ แล้วสร้างมูลค่าขึ้นมา ทั้งนี้ สิ่งทีสำคัญก็เกิดจากการปลูก คือปลูกความคิด ปรับ mindset มั่นฝึกฝน และใช้ความคิดนั่นเพื่อพัฒนาตนเองและองค์กร เก็บเกี่ยว คือการ management มาเพื่อเพิ่มคุณค่าของตัวเองและองค์กร ด้วยการสสร้างจุดเด่นและจุดแข็ง การทำให้สำเร็จ คือ การก้าวข้ามอุปสรรคต้องเอาสิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งหมดไปปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและองค์ให้มากที่สุด

     

สุวารี คลองโคน กลุ่ม 1

วิชาที่ 15 : หัวข้อ การคิดเชิงกลยุทธ์และการบริหารจัดการสมัยใหม่

               : วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและการมองเป้าหมายร่วมกัน

                (โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล)

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

การบริหารจัดการสมัยใหม่จะต้องคิดแบบแข่งขันคิดเชิงกลยุทธ์ที่มีการแข่งขันในโลกปัจจุบันเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเนื่องจากองค์กรต้องมีการแย่งชิงทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด เช่น ต้องการให้นักเรียนเข้ามาเรียนที่มหาวิทยาลัยทักษิณตามแผนที่กำหนด ต้องการนักเรียนเก่งเข้ามาเรียน การคิดเชิงกลยุทธ์เราต้องวิเคราะห์ส่วนแบ่งทางการตลาดมหาวิทยาลัยของเรามี Market share เท่าใดเพื่อกำหนดกลยุทธ์ที่แยบยลและท้าทายเอาชนะคู่แข่งขัน  ความสามารถในการแข่งขันต้องสำรวจ  Asset Management ในด้านต่างๆได้แก่ สินทรัพย์ที่จะก่อให้เกิดรายได้  เงินสด การลงทุน เทคโนโลยี บุคลากร ทุนมนุษย์ ทรัพย์สินทางปัญญา คิดให้รอบเพื่อกำหนดกลยุทธ์เชิงการแข่งขัน นอกจากนี้ต้องดูกระบวนการทำงานให้มีคุณภาพ ระยะเวลาเหมาะสม มีการตอบสนองจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีหลักสูตรที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพตอบสนองความต้องการของสังคม

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

ในยุคการแข่งขันองค์กรต้องมีการกำหนดกลยุทธ์เชิงท้าทายและต่อสู้กับการแข่งขันเพื่อแย่งชิงทรัพยากรเราต้องวิเคราะห์รอบด้านด้วยความจริงและเพื่อให้เหนือกว่าคู่แข่งขันควรพิจารณาดูว่าเรามีอะไรที่โดดเด่นไม่เหมือนใครโดยเฉพาะสิ่งที่เราดีและแตกต่างจากคู่แข่ง เช่น จุดแข็งเรื่องผลิตภัณฑ์เด่น(หลักสูตร) แบรนด์สินค้า ความโดดเด่นด้านบริการวิชาการ หรือ ภูมิปัญญา เป็นต้น เราต้องค้นหาให้เจอว่าเรามีอะไรที่โดดเด่นที่จะแข่งขันกับสถาบันการศึกษาอื่นได้และผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรมนำออกสู่ตลาดเพื่อเป็นตัวเลือกของผู้รับบริการ

 

วิชาที่ 16 : หัวข้อ การประเมินนโยบาย แผนงานและโครงการ

               : วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและการมองเป้าหมายร่วมกัน

                (โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล)

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

สิ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนนโยบายในการบริหารและดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายคือแผนงานและโครงการที่ดำเนินการผลักดันซึ่งเราต้องกำหนดให้สอดคล้องกับสิ่งที่เราต้องการบรรลุโดยมองให้กว้างและไกลถึงอนาคตที่จะต้องอยู่รอดและกิจกรรมที่ดำเนินการจะต้องมองถึงระยะยาวเช่น หากต้องการเป็นหนึ่งในภาคใต้และเมื่อวิเคราะห์แล้วยังไม่เป็นตามที่หวังแสดงว่ากิจกรรมที่ทำนั้นยังไม่มากพอหรือน้อยไปหรือไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นการประเมินนโยบายแผนงานและโครงการจะต้องมีวิธีประเมินให้เห็นถึงความจริงและผลงานที่ปรากฏได้เพียงใดตอบสนองผู้รับบริการหรือไม่มากน้อยเพียงใด ได้แก่ ประเมินผลการดำเนินงาน ประเมินสถานการณ์สิ่งที่มากระทบต่อการดำเนินงาน การแข่งขัน การใช้หลัก PDCA ต้องมีประสิทธิภาพและต้องมีการสื่อสารผลการประเมินให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบเพื่อหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงผลการดำเนินงานให้ดีขึ้น

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

การจัดทำแผนจะต้องมีการสำรวจและประเมินศักยภาพขององค์กรและศึกษาคู่แข่งขันทั้งที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงหรือสถาบันที่อยู่นอกเหนือพื้นที่และกำหนดกลยุทธ์ที่แยบยลช่วยกันคิดให้รอบคอบและตกผลึกอย่างแท้จริงไม่ควรทำแผนเพียงเพื่อเป็นพิธีกรรมเท่านั้นและการประเมินตามความเป็นจริงโดยไม่เข้าข้างตัวเอง ประเมิน Input Process Output และOutcome และKPI ที่กำหนดตามผลการดำเนินงานที่ต้องการ   ดังนั้นการวัดต้องชัดเจนประเมินได้อย่างเป็นรูปธรรมจึงจะเห็นผลงานที่แท้จริงว่าองค์กรของเราสามารถเทียบกับคู่แข่งขันได้เพียงใดต้องปรับปรุงอะไรบ้าง ผลงานที่เกิดขึ้นทำได้จริงหรือไม่ ปรับปรุงพัฒนาให้รวดเร็ว

 

วิชาพิเศษ  : หัวข้อ นำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงานสู่การปรับใช้กับการทำงานและมุมมอง

                เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัย โดยตัวแทน 1-5

                (ร่วมวิเคราะห์โดย อาจารย์พิชญ์ภูรี  จันทรกมล)

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

ศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยรังสิต

การบริหารงานบุคคลเน้นการสร้างผลงานของบุคลากร โดย HRD เป็นผู้รับผิดชอบดูแลพัฒนา เป็นมหาวิทยาลัยที่พัฒนาบุคลากรให้มีแนวคิดด้านนวัตกรรมที่จะนำมาพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์ชั้นนำและเป็นเลิศโดยผู้บริหารสนับสนุนทุกรูปแบบให้บุคลากรทั้งสายสอนและสายสนับสนุนพัฒนางานโดยเน้นด้านนวัตกรรมเป็นหลักและการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดขั้นตอนและเพิ่มประสิทธิภาพในงาน เช่น งานการเรียนการสอน งานวิจัย งานบริการต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดผลงานเป็นที่ประจักษ์ บุคลากรเกษียณอายุได้ 65 ปีซึ่งต่างจากมหาวิทยาลัยทักษิณที่บุคลากรเกษียณอายุ 60 ปี

ศึกษาดูงานที่ บริษัท Uniliver กรุงเทพมหานคร

จุดแข็งของ Uniliver คือ ผู้นำมีนโยบายชัดเจนในขับเคลื่อนองค์กรและสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งโดยมองลูกค้าเป็นหลัก ทำในสิ่งที่เป็นอนาคตรองรับไว้ล่วงหน้าและท้าทาย มีวิสัยทัศน์ที่มุ่งมั่นก้าวไกลโดยสร้างแบรนด์ให้คนรู้จักไปทั่วโลกผ่านสื่อต่างๆที่ทันสมัยและรวดเร็วเข้าถึงง่าย ทำให้เกิดผลสำเร็จอย่างรวดเร็ว

ศึกษาดูงานที่ ธนาคารกสิกรไทย

จุดแข็งของ ธนาคารกสิกรไทย คือ การค้นหาและพัฒนาสิ่งใหม่ๆ เพื่อตอบสนองพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยก้าวล้ำมาพัฒนาและคำนึงถึงผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นหลัก เน้นให้บุคลากรแสดงออกถึงศึกยภาพและความสามารถในการทำงานผ่านเวทีประชุมและเวทีกลางที่มีผู้ร่วมงานมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ทำให้พนักงานมีพลังขับเคลื่อนในสิ่งที่ท้าทายได้อย่างภาคภูมิ

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

เราต้องเรียนรู้กับสิ่งใหม่ๆผ่านการศึกษาดูงาน ณ สถาบันการศึกษาอื่นทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน และศึกษาดูงาน ณ บริษัทเอกชน เพื่อให้เห็นมุมมองใหม่ๆในการพัฒนางาน สิ่งที่จะนำไปปรับใช้คือ เราต้องปรับ Mindset ใหม่เพื่อให้มหาวิทยาลัยอยู่รอดโดยการเรียนรู้ต้องปรึกษาหารือกันและยอมรับฟังความคิดดีๆจากเพื่อนร่วมงานและนำมาใช้ประโยชน์ นอกจากนี้ยังต้องปรับตัวโดยใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยให้มากให้เกิดระบบที่ความคล่องตัวและได้ผลลัพท์ที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพทันสมัยและตอบสนองผู้บริโภคให้รวดเร็วตรงตามความต้องการในทุกรูปแบบ

 

วิชาที่ 17 : หัวข้อ การบริหาร “คน”ของบุคลากรสายสนับสนุน

               โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                      ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

                      อาจารย์พิชญ์ภูรี  จันทรกมล

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

การบริหารคนของสายสนับสนุนจะเน้นทฤษฏี 2 R’s คือ ความจริงและตรงประเด็น พัฒนาศักยภาพบุคคลโดยการปลูกตลอดเวลาและต้องให้นำความรู้ออกมาพัฒนาองค์กรผ่านการปลูกและเก็บเกี่ยวผลงาน การปลูกมีทั้งปลูกปัญญาและความดี และ Execution คือความสำเร็จที่เกิดจากการเอาชนะอุปสรรคและก้าวผ่านปัญหาที่เกิดขึ้น การปลูกเป็นการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างหนึ่งที่เป็นกระบวนการทำให้เกิดการพัฒนาและสำเร็จผ่านจิตวิญญาณที่เน้นความสำเร็จขององค์กรเป็นหลัก

 

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

พัฒนาตนเองโดยปรับ Mindset ในการทำงานปรับทัศนคติและความคิดรวมถึงพฤติกรรมการทำงานก่อนโดยมองตัวเอง มองสถานการณ์เป็นอย่างไร แล้วเราจะไปไหน เราจะเป็นอย่างไรและเราจะทำอะไรดังนั้นเราต้องปรับ Mindset ที่มององค์รวมและทำงานให้ได้ผลลัพธ์โดยการเอาความรู้ใหม่ๆไปใช้ให้เกิดประโยชน์ตอบโจทย์องค์กรให้ตรงประเด็น. เราต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงและยุคการแข่งขันในปัจจุบันเพื่อความอยู่รอดขององค์กร และองค์กรต้องมองหาจุดแข็งของแต่ละคนนำออกมาใช้และพัฒนา ผู้นำต้องพัฒนาคนอื่นตลอดเวลาเพื่อเป้าหมายสูงสุดที่จะเกิดขึ้นได้ในเวลาที่สอดคล้องกับความต้องการขององค์กร

 

วิชาที่ 18 : หัวข้อ ระบบพี่เลี้ยงและการสอนงาน (Mentoring System & Coaching)

                (โดย ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์)

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

ผู้นำหรือผู้บริหารที่มีลูกน้องหรือทีมงานต้องให้ความช่วยเหลือดูแลและเป็นพี่เลี้ยงให้กับทีมงาน ต้องช่วยให้คำปรึกษาและแนะนำดูแลว่าลูกน้องต้องการอะไรบ้างในการทำงานยังขาดสิ่งใดที่จะต้องใช้ต้องเรียนรู้ เราต้องทำตัวเป็นทั้ง Mentor และ Coach ไปด้วยกัน รวมถึงต้องค้นหาตัวเองและคนทำงานที่จะมาพัฒนาร่วมกันให้เกิดผลลัพธ์นำไปสู่การพัฒนาองค์กรผ่านการเรียนรู้ระหว่างกันและการสอนงานเป็นพี่เลี้ยงที่สร้างพลังให้กับลูกน้องและทีมงาน สร้างแรงบันดาลใจและแรงจูงใจให้คนทำงานได้ทำงานอย่างเต็มศักยภาพเพื่อองค์กรแห่งความสำเร็จและเป็นเลิศ

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

การที่จะพัฒนาและเป็นพี่เลี้ยงให้กับลูกน้องได้เราต้องมีการพัฒนาตัวเองก่อนเพราะในอนาคตเราต้องทำงานเชิงการเอาความหลากหลายเป็นพลัง เราต้องดู Context ในองค์กรว่าเอื้ออำนวยหรือไม่ ดูระบบและนำ IT มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดลดต้นทุนลดเวลาลดทรัพยากร และดู Process ของงานเพื่อปรับปรุงให้เกิดการสร้างมูลค่าและเน้นความคล่องตัว สิ่งเหล่านี้นำไปเป็นสิ่งเกื้อหนุนให้ลูกน้องทำงานได้อย่างคล่องตัวสามารถสร้างผลงานเป็นรูปธรรมได้ นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญอีกประการคือการมีส่วนร่วม เราต้องทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมและสร้างค่านิยมที่ดีและมีความเป็นเจ้าของกิจการทำงานเป็นทีมเห็นความสำเร็จในทิศทางเดียวกัน

 

วิชาพิเศษ : นำเสนอบทเรียนจากการอ่านหนังสือ HBR’s Must Read on Managing Yourself

                (โดย ตัวแทนกลุ่ม 1-5)

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

-แรงจูงใจเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตที่เราจะต้องมีและต้องสร้างเพื่อเป็นโอกาสในการเรียนรู้และช่วยเหลือผู้คนและยอมรับการบรรลุผลสำเร็จ

-การสร้างกลยุทธ์เพื่อชีวิตคือการคิดถึงเป้าหมายซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นจึงต้องคิดว่าเราจะใช้ชีวิตอย่างไรและต้องเรียนรู้อะไรในแต่ละวันและได้สิ่งใดกลับมาตามที่ต้องการ

-การลงทุนกับอาชีพการงานจะเห็นผลลัพธ์ที่เร็วกว่าการลงทุนเรื่องความสัมพันธ์กับครอบครัว เช่น การได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้น ได้เลื่อนขั้น แต่การลงทุนกับครอบครัวโดยปกติไม่ได้รู้สึกทันทีว่าสำเร็จ เราต้องผ่านเวลามาก่อนถึงจะทราบว่ามีความสำเร็จหรือไม่ ดังนั้นอาจเกิดความล้มเหลวหากไม่ทำทุกอย่างให้สมดุล

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

-เราเป็นบุคลากรสายสนับสนุนเราจะต้องมีวัฒนธรรมการทำงานที่เข้มแข็ง สร้างค่านิยมให้เกิดขึ้นกับตัวเองและองค์กร

-เราต้องตั้งเป้าหมายว่าเราจะเรียนรู้อะไรและจะทำอะไรในแต่ละวันเพื่อให้ตอบโจทย์ที่ตั้งไว้และบรรลุตามเป้าหมายที่ต้องการ และเราก็จัดการและทำตามที่วางไว้

-เราต้องมีเวลาจัดสรรให้ลงตัวและปฏิบัติให้ได้ระหว่างการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว การออกกำลังกาย การใช้ชีวิตประจำวันที่เกิดสิ่งที่ดีๆสร้างสรรค์ การบริหารเวลา สร้างความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและการดูแลครอบครัว

 

วิชาที่ 19 : หัวข้อ การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3V

                        (Value added – Value Creation – Value Diversity)

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3V เป็นการศึกษานวัตกรรมที่อยู่ในงานที่เราทำงานเป็นประจำ ซึ่งเราเป็นบุคลากรสายสนับสนุนจะทำงานกับระบบเกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงาน KPI การสร้างผลลัพธ์ที่ต้องการให้สำเร็จและตอบสนองความต้องการขององค์กรและมหาวิทยาลัย การออกแบบโครงการเน้นการพัฒนาที่สร้างมูลค่าและคุณค่าเพิ่มเช่น การใช้ทฤษฏีต่าง ๆ เข้าช่วยในการออแบบและสร้างโครงการนวัตกรรม ได้แก่ ทฤษฏี KAIZEN นั่นหมายถึง เลิก ลด และเปลี่ยน และทฤษฏีการลดต้นทุน การลดความเสีย ทฤษฏี 2R’s คือ Reality มองความจริงว่าเราอยู่ตรงไหน เราเป็นอย่างไร อะไรที่เราต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและพัฒนาโดยนำความจริงมาพิจารณาและคำนึง Relevance ตรงประเด็น คือการทำในสิ่งที่ตรงจุดแก้ปัญหาและสร้างสิ่งใหม่ที่ตรงประเด็นสามารถตอบสนององค์กร การสร้างโครงการนวัตกรรมจึงเป็นการสร้างคุณค่าและมูลค่าของงานให้มีประสิทธิภาพและเกิดผลสำเร็จที่คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร

 

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

การสร้างโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3V ให้คิดจากการทำงานตามกระบวนการที่เป็นอยู่ก่อนแล้วคิดต่อว่าเราจะปรับปรุงกระบวนการการทำงานนั้นได้อย่างไรบ้างควรปรับกระบวนการใดที่ส่งผลกระทบเชิงบวกเกิดประโยชน์สูงสุดขององค์กรเป็นหลัก คิดจากจุดเล็กๆแล้วขยายไปจุดใหญ่ให้ครอบคลุมโดยเน้นนวัตกรรมกระบวนการทำงานที่ช่วยให้ประสิทธิภาพสูงขึ้นและลดต้นทุนลดเวลาและลดทรัพยากร พิจารณา Process Improvement ใช้ทฤษฏีคิดนอกกรอบว่าการทำซ้ำๆแบบเดิมๆแต่จะหวังผลลัพธ์ที่แตกต่างย่อมเป็นไปไม่ได้ ต้องคิดหาวิธีการใหม่ๆเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างในทางที่ดีขึ้น และทำการปรับปรุงกระบวนงานภายใต้ความเป็นจริงและตรงประเด็นเราจะได้ผลงานที่สำเร็จอย่างแท้จริง

 

 

วิชาที่ 20 : หัวข้อ ทฤษฏีกระเด้ง...จากความรู้สู่การปรับใช้สู่ก้าวอนาคตแบบ 3V’s

               บทสรุปภาพรวมของกิจกรรมการเรียนรู้ในโครงการฯสู่การปรับใช้เพื่อการทำงานสร้างความ

               เป็นเลิศให้แก่มหาวิทยาลัย

                        (Value added – Value Creation – Value Diversity)

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

การทำงานจะต้องมีการเรียนรู้เพิ่มพูนอยู่ตลอดเวลา อย่าเป็นน้ำเต็มแก้วที่ไม่สามารถพัฒนาอะไรได้อีกแล้ว ต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆนำมาปรับใช้และต้องปรับตัวและยอมรับต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบันซึ่งมีการแข่งขันสูง ทำให้สิ่งที่ให้องค์กรอยู่รอดและมองผลประโยชน์โดยรวมขององค์กรเป็นหลัก ได้เรียนรู้และศึกษาทฤษฏีต่างๆในโครงการอบรมครั้งนี้ซึ่งเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ในการบริหารและการทำงานโดยเฉพาะการเป็นผู้นำที่ต้องกำหนดนโยบายและทำตามแผน การกำหนดกลยุทธ์เชิงท้าทายเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศ การสร้างทีม Wrok ที่เข้มแข็ง การนำITและระบบเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ การเข้าถึงลูกค้าและการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคเพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวางแผน     กลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพเกิดผลงานและการสร้างนวัตกรรมการพัฒนาให้เกิดขึ้นในองค์กรนำไปสู่การพัฒนาคณะและมหาวิทยาลัยที่ยั่งยืนได้ต่อไป

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

ปรับ Mindset เปลี่ยนมุมมองและทัศนคิตในการทำงานในยุคปัจจุบัน มองตัวเอง มองแนวทางพัฒนา มององค์กร เป็นหลัก ทำงานเชิงรุกและใฝ่รู้เพื่อการพัฒนาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องนำไปพัฒนามหาวิทยาลัย สร้างนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อปรับปรุงและพัฒนางานที่สร้างคุณค่าและคุณประโยชน์ การใช้ทฤษฏี 2R’s การมองความจริงและตรงประเด็นจะช่วยให้เราพัฒนาได้ตรงจุดและตอบโจทย์ของมหาวิทยาลัยมากขึ้น

การสร้างทีมสำคัญที่สุดรวมถึงการพัฒนาทีมให้ควบคู่กับการสร้างแรงจูงใจสร้างพลังให้คนทำงานอย่างมีความสุขพร้อมที่จะทำงานเกิดผลงานให้กับองค์กร

นำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดต่อและพัฒนาผลักดันอย่างต่อเนื่องในองค์กรให้เป็น Continuous Improvement

การสร้างนวัตกรรมเน้นปรับลดกระบวนการ ใช้ทฤษฏี KAIZEN นั่นหมายถึง เลิก ลด และเปลี่ยน และทฤษฏีการลดต้นทุน การลดความสูญเสีย เพิ่มมูลค่าให้กับองค์กร

ดารีนา รังสิโยกฤษฏ์ กลุ่ม 1

วิชาพิเศษ  : หัวข้อ นำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงานสู่การปรับใช้กับการทำงานและมุมมอง

                เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัย โดยตัวแทน 1-5

                (ร่วมวิเคราะห์โดย อาจารย์พิชญ์ภูรี  จันทรกมล)

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

ศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยรังสิต

     มหาวิทยาลัยรังสิต เน้นการทำงานเป็นทีม Wrok ที่เข้มแข็งและให้ความสำคัญกับคนทำงานโดยผู้บริหารมีสมรรถนะเรื่องการจัดการเชิงกลยุทธ์  ภาวะผู้นำ การมีวิสัยทัศน์ การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ  ยอมรับและการจัดการความเปลี่ยนแปลงที่ก้าวล้ำทันเหตุการณ์และบริหารงานบุคคล โดยมี HRD เป็นผู้รับผิดหลัก เป็นมหาวิทยาลัยที่พัฒนาบุคลากรให้มีความสุขโดยจัดโครงการให้บุคลากรเข้าถึงธรรมะในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ทุกการทำงานมีความสุขและสามารถขับเคลื่อนองค์กรไปข้างหน้าได้อย่างต่อเนื่อง

    เป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมพัฒนาองค์กรให้เป็นเลิศโดยผู้บริหารสนับสนุนทุกรูปแบบให้บุคลากรทั้งสายสอนและสายสนับสนุนพัฒนางานโดยเน้นด้านนวัตกรรมเป็นหลักและการนำเทคโนโลยีมาใช้โดยเฉพาะในงานการเรียนการสอนเพื่อประสิทธิภาพให้อาจารย์สอนในงานและแนะนำช่วยเหลือความต้องการของอาจารย์และตอบสนองความต้องการของผู้เรียนในยุคการแข่งขันด้านเทคโนโลยีที่ต้องตามให้ทันและนำมาใช้ปรับการทำงานในทุกภารกิจตามเป้าหมาย

ศึกษาดูงานที่ บริษัท Uniliver กรุงเทพมหานคร

ผู้นำมีนโยบายชัดเจนในการนำระบบออนไลน์ทุกประเภทเข้ามาใช้ในองค์กรเน้นเครือข่าย Net workขับเคลื่อนองค์กรและสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งโดยมองลูกค้าเป็นหลัก มองอนาคตอย่างมีวิสัยทัศน์ก้าวไกลต่อยอดแบรนด์ให้คนรู้จักไปทั่วโลกผ่านสื่อต่างๆที่ทันสมัยและรวดเร็ว ทำให้มีลูกค้าและผู้บริโภครับบริการและให้ความไว้วางใจเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์เป็นวงกว้างและต่อยอดความต้องการไปแบบไม่หยุดยั้ง ทีมงานตั้งใจขยันอดทนและมองอนาคตความสำเร็จขององค์กรเป็นหลัก

ศึกษาดูงานที่ ธนาคารกสิกรไทย

ธนาคารกสิกรไทย เน้นการพัฒนาที่ก้าวล้ำไม่ซ้ำแบบพัฒนาสิ่งใหม่ๆ สำรวจความต้องการและจัดทำเพื่อตอบสนองพฤติกรรมของผู้บริโภคปัจจุบันโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ทุกประเภทโดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่ด้อยโอกาสให้ได้เข้าข้อมูลและบริการ เช่น กลุ่มคนพิการทางสายตา ทุกคนทำงานคำนึงถึงผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นหลัก

 

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

เราต้องปรับ Mindset และมุมมองใหม่เพื่อร่วมกันพัฒนามหาวิทยาลัยให้ก้าวหน้าและอยู่รอดโดยการเรียนรู้ปรึกษาหารือกันยอมรับฟังความคิดเห็นจากเพื่อนร่วมงานและนำมาปรับปรุงการทำงานและใช้ประโยชน์ นอกจากนี้ยังต้องปรับตัวโดยใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยให้มากให้เกิดระบบที่ความคล่องตัวและได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพทันสมัยและตอบสนองผู้บริโภคให้รวดเร็วตรงตามความต้องการในทุกรูปแบบ

ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรและเอาใจใส่ดูแลบุคลากรซึ่งเป็นทุนมนุษย์ที่สำคัญที่สุดให้คนทำงานมีความสุขและสนับสนุนความสำเร็จเชิดชูเกียรติตามสมควรและสร้างค่านิยมที่ดี รวมถึงต้องมีการสื่อสารข้อมูลข่าวสารไปยังผู้เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็วทุกคนรับรู้และเข้าใจความหมายและเป้าหมายเดียวกัน         

วิชาที่ 17 : หัวข้อ การบริหาร “คน”ของบุคลากรสายสนับสนุน

               โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

                      ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

                      อาจารย์พิชญ์ภูรี  จันทรกมล

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

การปลูกคือการพัฒนาคน การเก็บเกี่ยวคือการเก็บผลงานที่ทำผ่านความรักในงานที่ทำ และควรใส่ปุ๋ยดูแลเอาใจใส่คนทำงานอย่างต่อเนื่อง  Execution คือ ความสำเร็จที่เกิดจากการเอาชนะอุปสรรคและปัญหาที่เกิดขึ้น เราสายสนับสนุนต้องหาจุดมุ่งหมายให้ได้ว่าเรื่องใดทำสำเร็จเรื่องใดทำไม่สำเร็จแล้วหาหนทางปรับปรุงแก้ไขพัฒนาและต้องทำงานด้วยใจรักงานจึงจะสำเร็จ สายสนับสนุน ต้องมี Passion and purpose with meaning จึงจะทำงานได้สำเร็จ รวมถึงทุกคนต้อง Learning & Development ด้วยตัวเองด้วย

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

เราต้องเป็นคนที่อยากเรียนรู้ด้วยตนเอง การเก็บเกี่ยวความรู้ และการพัฒนา และมี Passion Purpose และ Meaning เน้นการทำให้ดีที่สุด การยึดติดกับการเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นราชการมายาวนานจึงต้องปรับตัวให้ทันกับเหตุการณ์และยุคแข่งขันนี้ให้ได้ ปรับพฤติกรรมและเรียนรู้กับคนเก่ง ปลูกฝังและนำกลับไปใช้เน้นการทำงานร่วมกันและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน Alignment  และเน้นผลประโยชน์ของมหาวิทยาลัยเป็นหลัก

เราต้องปรับกระบวนการทำงานปรับทัศนคติและความคิดรวมถึงพฤติกรรมการโดยมองตัวเอง มององค์รวมและทำงานให้ได้ผลลัพธ์โดยการเอาความรู้ใหม่ๆไปใช้ให้เกิดประโยชน์ตอบโจทย์องค์กรให้ตรง มองหาจุดแข็งจุดอ่อนของแต่ละคนนำออกมาใช้และพัฒนา เพื่อเป้าหมายสูงสุดที่จะเกิดขึ้นได้ในเวลาที่สอดคล้องกับความต้องการขององค์กร

 

วิชาที่ 18 : หัวข้อ ระบบพี่เลี้ยงและการสอนงาน (Mentoring System & Coaching)

                (โดย ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์)

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

              ระบบพี่เลี้ยงและการสอนงานถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งซึ่งเป็นการต่อยอดผลิตผลให้บรรลุความสำเร็จของงาน ผู้บริหารต้องให้ความช่วยเหลือและเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาให้คำปรึกษาและแนะนำในสิ่งที่ดีๆความไว้เนื้อเชื่อใจต้องมีตลอดเวลา

รูปแบบการโค้ช

1. นายโค้ชลูกน้อง

2. เพื่อนโค้ชเพื่อน

3. ลูกน้องโค้ชนาย

ทำไมต้องโค้ช

1. โค้ชเพื่อผลงาน

2. เพื่อ Learning & Development และ

3. ผลกระทบแห่งพฤติกรรม

ผู้นำต้องเป็นทั้ง Mentor และ Coach และจะต้องเรียนรู้แลกเปลี่ยนให้มากพอที่จะทำให้งานสำเร็จและต่อยอดความรู้ปสู่การพัฒนาองค์กร การสอนงานเป็นการสร้างพลังให้กับลูกน้องและทีมงาน สร้างแรงบันดาลใจและแรงจูงใจให้คนทำงานได้ทำงานอย่างเต็มศักยภาพ

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

สรุปคือ ผู้บริหารหรือหัวหน้างานต้องเป็นทั้ง Coaching & Mentoring  คอยสอนงานและสนับสนุนส่งเสริมและช่วยเหลือเกื้อกูลในทุกเรื่องที่พึงทำได้ และจัดปัจจัยเกื้อหนุนระบบและนำ IT มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดลดต้นทุนลดเวลาลดทรัพยากร และดู Process ของงานเพื่อปรับปรุงให้เกิดการสร้างมูลค่าและเน้นความคล่องตัว รวมถึงการสร้างทีมให้คนทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมและสร้างค่านิยมที่ดีและร่วมกันสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีสัมพันธ์สอดคล้องกับการเป็นองค์กรที่เป็นเลิศ

 

วิชาพิเศษ : นำเสนอบทเรียนจากการอ่านหนังสือ HBR’s Must Read on Managing Yourself

                (โดย ตัวแทนกลุ่ม 1-5)

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

ความสัมพันธ์ของงานและครอบครัวเป็นสิ่งที่ขาดจากกันไม่ได้ จะต้องไปด้วยกันอย่างลงตัว เมื่อมีการลงทุนกับอาชีพการงานจะเห็นผลลัพธ์ที่เร็วกว่าการลงทุนเรื่องความสัมพันธ์กับครอบครัว การได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้น ได้เลื่อนขั้น แต่การลงทุนกับครอบครัวยังไม่ทราบได้ว่าทำดีแล้วยังผลสำเร็จอยู่ตรงไหน ต้องทำอีกเท่าใดจึงจะเรียกว่าสำเร็จ

การกระทำต่างๆต้องคิดถึงเป้าหมายในการสร้างก่อนแล้วจึงทำตามแผนการและมุ่งสู่เป้าหมายนั้นๆ หากไม่มีเป้าหมายในชีวิตการทำงานก็อาจไม่เกิดประโยชน์

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

เราต้องบริหารจัดการเรื่องงานกับเรื่องครอบครัวให้มีความสมดุล ลงตัว มีความสุข ไม่ทุ่มเวลาไปที่อย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินพอดีและต้องมีเวลาจัดสรรการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว การออกกำลังกาย การบริหารเวลา สร้างความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและการดูแลครอบครัว  นอกจากเราต้องทำงานแบบมีเป้าหมาย สร้างค่านิยมและวัฒนธรรมที่ดีให้เกิดขึ้นในองค์กรและช่วยกันผลักดันสนับสนุนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง องค์กรจึงจะบรรลุเป้าหมาย

 

วิชาที่ 19 : หัวข้อ การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3V

                        (Value added – Value Creation – Value Diversity)

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

การเริ่มจากจุดเล็กๆในงานของตัวเองก่อน สำรวจกระบวนงานอย่างง่ายที่จะสามารถลดกระบวนการได้และส่งผลให้เกิดประโยชน์ในภาพรวมและนำมากำหนดกรอบการออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3V ซึ่งเราเป็นบุคลากรสายสนับสนุนจะทำงานกับระบบเกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงาน  การสร้างผลลัพธ์ที่ต้องการให้สำเร็จและตอบสนองความต้องการขององค์กรและมหาวิทยาลัย สร้างมูลค่าและคุณค่าเพิ่มให้แก่องค์กร 

 ใช้ใช้ทฤษฏีต่าง ๆ เข้าช่วยในการออแบบและสร้างโครงการนวัตกรรม ได้แก่ ลด เลิก เปลี่ยน ทฤษฏี KAIZEN  ทฤษฏี 2R’s คือ Reality มองความจริงว่าเราอยู่ตรงไหนเราต้องทำอย่างไรจึงจะเกิดการพัฒนาที่ดีกว่า ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและพัฒนาโดยนำความจริงมาพิจารณาแก้ให้ประเด็น

สร้างนวัตกรรมกระบวนการเป็นสิ่งที่สามารถสร้างคุณค่าและมูลค่าของงานให้มีประสิทธิภาพและเกิดผลสามารลดต้นทุนได้และช่วยการทำงานสั้นลงโดยไม่สูญเสียและสิ้นเปลืองทรัพยากรเกิดประโยชน์กับองค์กร

 

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

เราเป็นบุคลากรสายสนับสนุนที่สามารถช่วยเหลือมหาวิทยาลัยได้ในงานที่เราทำโดยมความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ศึกษานำนวัตกรรมมาเสริมสร้างและปรับปรุงการทำงานให้มีมูลค่าเพิ่มได้เกิดรายได้และลดต้นทุน ดังนั้นในการสร้างโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3V จึงเริ่มจากจุดเล็กๆก่อนคิดให้ครอบคลุมโดยเน้นนวัตกรรมกระบวนการทำงานที่ช่วยให้ประสิทธิภาพสูงขึ้นและลดต้นทุนลดเวลาและลดทรัพยากร พิจารณา Process Improvement

ใช้ทฤษฏีคิดนอกกรอบว่าการทำซ้ำๆแบบเดิมๆแต่จะหวังผลลัพธ์ที่แตกต่างย่อมเป็นไปไม่ได้ ต้องคิดหาวิธีการใหม่ๆเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างในทางที่ดีขึ้น และทำการปรับปรุงกระบวนงานภายใต้ความเป็นจริงและตรงประเด็นเราจะได้ผลงานที่สำเร็จอย่างแท้จริง นอกจากนี้ต้องมีวิธีการที่จะ Imprement ได้ด้วย รวมถึงกำหนดเครื่องมือและตัววัดให้ชัดเจนในเก็บข้อมูลและประเมินผลการดำเนินโครงการ

 

 

วิชาที่ 20 : หัวข้อ ทฤษฏีกระเด้ง...จากความรู้สู่การปรับใช้สู่ก้าวอนาคตแบบ 3V’s

               บทสรุปภาพรวมของกิจกรรมการเรียนรู้ในโครงการฯสู่การปรับใช้เพื่อการทำงานสร้างความ

               เป็นเลิศให้แก่มหาวิทยาลัย

                        (Value added – Value Creation – Value Diversity)

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

ในการทำงานต้องมี Passion เราต้องมี purpose ที่ชัดเจนและทำตามให้ได้ และต้องรู้ meaning จึงจะทำงานได้สำเร็จตามเป้าหมายที่คาดหวัง การใช้ทฤษฏี Value Added  สร้างมูลค่าเพิ่ม Value Creation  สร้างคุณค่าใหม่ และสร้าง Value Diversity  สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย จะทำให้องค์กรเกิดการพัฒนาสู่การเป็นองค์กรความเป็นเลิศ และต้องการทำงานเป็นทีม เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ในการทำงานระหว่างกันเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และการนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดต่อและพัฒนาผลักดันอย่างต่อเนื่องในองค์กรอย่างต่อเนื่อง

 

 

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

ในการทำงานต้องมี Passion ก่อนเมื่อมีใจรักในงานแล้วสิ่งอื่นที่จะตามมาก็จะเป็นผลดีทำงานอย่างมีความสุข เมื่อทำงานที่รักแล้ว เราต้องมี purpose ที่ชัดเจนและทำตามให้ได้ และต้องรู้ meaning จึงจะทำงานได้สำเร็จตามเป้าหมายที่คาดหวัง และปรับ Mindset เปลี่ยนมุมมองและทัศนคิตในการทำงานในยุคปัจจุบัน มองตัวเอง มองแนวทางพัฒนา มององค์กร เป็นหลัก ทำงานเชิงรุกและใฝ่รู้เพื่อการพัฒนาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สร้างนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อปรับปรุงและพัฒนางานที่สร้างคุณค่าและคุณประโยชน์

- สร้างงานใหม่ ๆ คือนวัตกรรม ใช้ทฤษฏี 2R’s การมองความจริงและตรงประเด็นจะช่วยให้เราพัฒนาได้ตรงจุดและตอบโจทย์ของมหาวิทยาลัยมากขึ้น

การทำงานต้องเน้นความสมดุลระหว่างงานกับครอบครัวต้องมีความสุขควบคู่กันไป ต้องจัดการบริหารเวลาให้ได้ แบ่งเวลาออกกำลังกาย สร้างกิจกรรมผ่อนคลาย นอกจากนี้เราจะสร้างจุดแข็งอย่างเดียวไม่ได้ เราต้องสร้างจุดเด่นด้วย เพื่อให้การทำงานเป็นแบบก้าวหน้าและมี Core Value ขององค์กร คือ พันธกิจและวิสัยทัศน์ซึ่งจะสำเร็จอยู่ที่ความมุ่งมั่นและความร่วมมือของบุคลากรทุกคน        

 

นางสุกัญญา กุตเสนา กลุ่มที่ 4

วิชาที่15  การคิดเชิงกลยุทธ์กับการบริหารสมัยใหม่ : วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและการมองเป้าหมายร่วมกัน

          การคิดเชิงกลยุทธ์เนื่องจาก

          1. การแข่งขัน

          2. การแย่งชิงทรัพยากร หรือ ทรัพยากรมีจำกัด

          ความสามรถในการแข่งขัน

Asset Management

-          Infrastructure

-          Capital

-          Technology

-          Human Resource

Business Processes

-          Quiddity

-          Cycle time

-          Responsiveness

-          Service Level

-          Productivity

-          Efficiency

Competitiveness

-          Market share

-          Profit Margin

-          Growth

-          Asser Value

-          Value Creation

 

การนำไปปรับใช้    ทุก ๆ สิ่งในโลกเรามีช่วงชีวิต มีวัฎจักรของมัน  อย่างอุตสาหกรรมมีช่วง เกิด โต แก่ เจ็บ ตาย  ดังนั้น มหาวิทยาลัยต้องศึกษาวางยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับภาวะปัจจุบันว่ามหาวิทยาลัยเราอยู่ในช่วงไหน เพื่อนำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน

 

วิชาที่ 16  Learning Forum & Work Shop หัวข้อ การประเมินนโยบาย แผนงาน และโครงการ

การประเมินนโยบายแผนงาน และโครงการ สิ่งที่ต้องพิจารณา

1. ประเมินผลการดำเนินงาน

2. ศึกษาบริบทใหม่ที่มีผลกระทบ เช่นอะไรที่จะมากระทบ ม.ทักษิณ และอุตสาหรรม Higher Education ในอนาคต

3. ต้องทำแบรนด์ ยุทธศาสตร์ และคน และมองใน 5-10 ปีข้างหน้า

การประเมินแผนต้องมีแผน 2 และ 3 โดยการใช้หลักคิด PDCA คือ Plan-Do-Check-Act กฎเกณฑ์

ขั้นตอนการดำเนินการ

·         รวบรวมแผนที่เกี่ยวข้อง

·         ทำยุทธศาสตร์

·         ประเมิน ได้มีการเชิญคนภายนอกอย่างชุมชน หรือนักศึกษามาประเมินเราหรือไม่อย่างไร

·         ประชุมกลุ่ม

·         จัดทำข้อเสนอแนะประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับต่าง ๆ ประกอบด้วยวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) เป้าหมาย(Goal) กลยุทธ์สำคัญ (Important Strategy) , Winning Project, KPI, Action Plan

 

การนำไปปรับใช้   นำไปประยุกต์ใช้กับการประเมินผลการปฏิบัติงานของหัวหน้าส่วนงานวิชาการและส่วนงานอื่น  และโครงการของหน่วยงาน

 

วิชาที่17 การบริหารคนของบุคลากรสายสนับสนุน

          การบริหารคนมี 3 ประเด็น

1.        การปลูกเสมือนการปลูกต้นไม้ คือการพัฒนาคนต้องมีการปลูก เป็นเสมือนการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างหนึ่ง การปะทะกันทางปัญญาเป็นหนึ่งในกระบวนการหรือ Process หนึ่ง

2.        การเก็บเกี่ยวทำได้ 2 แบบคือ 1. ทำทันที 2.ทำทีหลัง โดยดูความพร้อมของคนว่าคนพร้อมหรือยัง

          Execution คือการทำให้สำเร็จเน้นการทำให้สำเร็จ

3.       การเก็บเกี่ยว เป็นเรื่องของ Learning & Development ทุกคนต้องเป็นคนที่อยากเรียนรู้ด้วยตนเอง การเก็บเกี่ยวความรู้ และการพัฒนา

          โมเดล 70:20:10

          10 %   เรียนรู้จากห้องเรียน

          20%    เรียนรู้จากคนอื่น

          70%    เรียนรู้จากการทำงาน

          การพัฒนาตนเองเพื่อเอาชนะอุปสรรค

          1. Accept Change

          2. Become a Continuous Learner

          3. Take Change

          เป็นต้น

          Mild set ความคิด – การกระทำ– ผลลัพธ์

          Growth Mild set เน้นการเปลี่ยนแปลงเป็นโอกาส

          Fix Mild set ความล้มเหลวทำได้แค่นี้

 การนำไปปรับใช้ นำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนการทำงานที่ตนได้รับผิดชอบ และถ่ายทอดสู่เพื่อนร่วมงาน

 

วิชาที่18 LearningForum : ระบบพี่เลี้ยงและการสอนงาน

Coaching & Mentoring คือการสอนและการให้คำปรึกษา เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนให้เกิดวัฒนธรรมของการมีพี่เลี้ยงกับโค้ช

ผู้บริหาร หรือหัวหน้างานต้องเป็นทั้ง Coaching และMentoring ให้กับพนักงานใหม่ พนักงานกลุ่ม Talent หรือ Successor ซึ่งต้องเป็นกระบวนการ Coach และการให้ Feedback

          รูปแบบการโค้ช

          1. นายโค้ชลูกน้อง

          2. เพื่อนโค้ชเพื่อน

          3. ลูกน้องโค้ชนาย

พฤติกรรมการโค้ชคือการสนทนาที่เป็น Dynamic Conversation ต้องเป็น Two Way และ Open Communication ต้องมีการฟังถาม และให้ Feedback

การนำไปปรับใช้  นำไปปรับใช้ในการทำงานกับเพื่อนร่วมงานในหน่วยงาน และพนักงานใหม่ที่จะเข้ามาในหน่วยงานให้ทำงานร่วมกันในหน่วยงานอย่างมีความสุข

 

วิชาที่19 การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ3V

          นวัตกรรมที่แต่ละกลุ่มได้คิดค้นและนำเสนอเป็นประโยชน์สำหรับมหาวิทยาลัยซึ่งบางเรื่องเป็นเรื่องที่เจาะจง บางเรื่องเป็นแบบกว้างๆ ซึ่งทุกเรื่องต้องนำไปปรับ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของมหาวิทยาลัย และเพื่อให้สามารถใช้งานได้จริง และเป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย

 

การนำไปปรับใช้  นำไปปรับ/ประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับมหาวิทยาลัย/หน่วยงานต่อไป

 

วิชาที่20 ทฤษฎีกระเด้งจากความรู้สู่การปรับใช้สู่ก้าวอนาคตแบบ 3 V’s

          บทสรุปภาพรวมของกิจกรรมการเรียนรู้ในโครงการสู่การปรับใช้เพื่อการทำงานสร้างความเป็นเลิศให้แก่มหาวิทยาลัย

          การเรียนรู้ในโครงการสู่การปรับใช้เพื่อการทำงานสร้างความเป็นเลิศให้แก่มหาวิทยาลัย

          1. การปรับ Mildset เพื่อให้มองเป้าหมายเดียวกันและบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

          2. มี Passion ในการทำงานอื่น ๆ Learning Shareand Care ต่อกัน

          3. การเรียนรู้ตลอดเวลา การปรับตัว เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในให้เกิดประโยชน์สูงสุด

          4. การปะทะทางปัญญา

          5. การนำทฤษฎีต่างๆ ที่เรียนรู้มาปรับใช้กับตนเองและองค์กร เช่น 8K’s+5K’s ทฤษฎี 3 วงกลม           

          6. บทบาทของตัวเอง (Non HR+ CEO + HR) HR –Non HR- Stakeholder และต้องทำร่วมกัน

 

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

ปรับ Mindset เปลี่ยนมุมมองและปรับทัศนคิตในการทำงานในยุคปัจจุบัน สร้างทีมงานที่เข็มแข็ง สร้างนวัตกรรมใหม่ๆปรับลดกระบวนการ ใช้ทฤษฏี KAIZEN เพิ่มมูลค่าให้กับองค์กร

 

นางสาวอารยา ดำเรือง กลุ่มที่ 5

วิชาที่ 15 การคิดเชิงกลยุทธ์ กับการบริหารสมัยใหม่ : วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและการมองเป้าหมายร่วมกัน

การบริหารจัดการสมัยใหม่และการคิดเชิงกลยุทธ์อยู่ที่การแข่งขัน เพื่อแย่งชิงทรัพยากร ซึ่งต้องดูว่ามหาวิทยาลัยมีความสามารถในการแข่งขันเรื่องอะไร

1. ทรัพยากร (1.1 Infrastructure 1.2 Capital เงินสด 1.3 Technology 1.4 Human Resource) 

2. กระบวนการทำงาน (2.1 Quality คุณภาพ, 2.2 Cycle Time ระยะเวลา, 2.3 Responsiveness การตอบสนอง, 2.4 Service level การบริการ, 2.5 Productivity ผลิตภัณฑ์, 2.6 Efficiency ประสิทธิภาพ

3. การแข่งขัน (3.1 Market Share 3.2 Profit Margin 3.3 Growth 3.4  Asset Value 3.5  Value Creation (ต้องมีการสร้างแบรนด์))

สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน 

           ต้องเรียนรู้และเข้าใจ และวิเคราะห์ข้อมูลในงานที่รับผิดชอบ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมผลักดันมหาวิทยาลัยให้มีความสามารถในการแข่งขันกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในภาคใต้ เพื่อจะทำให้มีนิสิตเพิ่มขึ้น ทั้งนี้บนพื้นฐานทรัพยากรที่มีอยู่

วิชาที่ 16 การประเมินนโยบาย แผนงาน และโครงการ

          ประเมินผลการดำเนินงาน และศึกษาบริบทใหม่ที่มีผลกระทบอย่างไรในอนาคต สร้างแบรนด์ในอนาคต ต้องใช้หลักคิด PDCA คือ Plan-Do-Check-Act และพิจารณา Input – Process- Output – Outcome มีการกำหนดขอบเขตการศึกษาที่ชัดเจน โดยดูจากทั้งบริบทภายในและภายนอก มีขั้นตอนการดำเนินการเพื่อให้ได้แผนงาน โครงการ ที่ชัดเจน สามารถวัดและนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน          

                   มีการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติในการประเมินนโยบาย แผนงาน และโครงการ เพื่อจะได้มีข้อมูลเพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาแผนงาน/โครงการ ทำในสิ่งที่เราทำได้ในงานที่รับผิดชอบ และสะท้อนข้อมูลที่ได้ให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยรับทราบเพื่อให้มีการนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์ไปใช้ประกอบการจัดทำนโยบายและแผนงานของมหาวิทยาลัยต่อไป

วิชาพิเศษ Learn-Share-Care : นำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงานสู่การปรับใช้กับการทำงานและมุมมองเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัย

          - มหาวิทยาลัยรังสิตมีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของสังคม โดยมีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ มีแผนพัฒนาบุคลากร มีการพัฒนาบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน

          - บริษัทยูนิลิเวอร์ เป็นบริษัทที่พัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง มุ่งพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า มีการพัฒนาการขายโดยผ่านระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่

          - ธนาคารกสิกรไทย มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านการเงินเพื่อให้บริการที่ประทับใจแก่ลูกค้า และมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรองรับผู้ด้อยโอกาสทางสังคม รวมถึงการช่วยเหลือและพัฒนาสังคมผ่านระบบทางการเงินและบริการของธนาคาร

 สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน

                เป็นการเปิดโลกทัศน์และมุมมองใหม่ในการเรียนรู้โลกและเทคโนโลยีว่ามีการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับ Thailand 4.0 ซึ่งต้องมีการปรับตัวและนำแนวคิดที่ได้จากการเรียนรู้มาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนร่วมงานและนำปรับใช้ในการทำงาน

วิชาที่ 17 การบริหาร “คน” ของบุคลากรสายสนับสนุน

          เน้นทฤษฎี 2 R’s คือความจริงและตรงประเด็น การปลูกทุกคนต้องปลูกตลอดเวลา

          การปลูกมีทั้งการปลูกปัญญาและปลูกความดี

         Execution คือ การทำให้สำเร็จ เน้นที่การทำให้สำเร็จ

การปลูกเสมือนการปลูกต้นไม้ คือการพัฒนาคนต้องมีการปลูก เป็นเสมือนการพัฒนาทุนมนุษย์ ส่วนการปะทะทางปัญญาเป็นกระบวนการหรือ Process ในการพัฒนาคน

          สิ่งที่ทำให้คน ๆ หนึ่งสำเร็จมากกว่าคนหนึ่ง อยู่ที่การเลือก เลือกสิ่งที่เราถนัดและเก่ง และสามารถเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ได้

           การทำงานต้องมี Passion Purpose และ Meaning  

สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน

           ในฐานะหัวหน้างานต้องมีการปลูกและเก็บเกี่ยวกับลูกน้อง และมีการปะทะกันทางความคิดเพื่อสร้างสรรค์และพัฒนางานที่ทำให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

วิชาที่ 18 ระบบพี่เลี้ยงและการสอนงาน

Mentor คือการช่วยดูแล และต้องมีการ Coach ไปด้วยกัน ผู้บริหารควรจะมีส่วนช่วยในการดูแลลูกน้องในการทำงาน คอยช่วยเหลือในสิ่งที่เขาขาด ทำตัวเป็นพี่เลี้ยง Mentor และ Coach ไปพร้อมกัน

สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน

ในฐานะหัวหน้าต้องสอนงานและเป็นพี่เลี้ยงให้ลูกน้อง ทั้งในส่วนของทักษะเฉพาะวิชาชีพ วิธีการทำงาน และการให้กำลังใจในการทำงานด้วย ต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้สไตล์การทำงานของลูกน้อง เพื่อจะได้ช่วยดึงและเสริมศักยภาพที่แต่ละคนมีอยู่ได้อย่างถูกต้อง

วิชาพิเศษ : นำเสนอบทเรียนจากการอ่านหนังสือ HBR’s Must Read on Managing Yourself

          ค้นหาตัวเองให้เจอ จุดเข็ง/จุดเด่นของตัวเองให้เจอ การบริหารเวลา การบริหารจัดการตนเองเพื่อความสุขตัวเรา ทีม และองค์กร และความสุขทำให้เราทำทุกอย่างด้วยเหตุและผล และมองทุกอย่างในเชิง Positive มองทุกอย่างในการเปลี่ยนแปลงได้ ในที่สุดจะได้กับตัวเรา ครอบครัวของเรา และองค์กรจะมีความสุข

สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน

          จะนำแนวคิดมาปรับใช้เพื่อบริหารจัดการตัวเอง เรื่องงาน และครอบครัว ให้พบจุดที่พอดี และมีความสุข

 วิชาที่ 19 การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 V

          การออกแบบนวัตกรรมของทั้ง 5 กลุ่ม ได้แก่ การพัฒนาและปรับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและระบบการเบิกจ่ายทางการเงิน, การพัฒนา TSU เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ฯ, การพัฒนาระบบคำร้องออนไลน์เพื่อการบริการการศึกษา, E-University และ TSU Connect เป็นการพัฒนาทั้งกระบวนการที่ช่วยในการทำงานและการสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และการสื่อสารองค์กร

สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน

เป็นโครงการที่สามารถนำไปพัฒนาและปรับใช้ได้จริงในการทำงานของมหาวิทยาลัย เพื่อทำให้การบริการมีประสิทธิภาพและมุ่งเน้นความเป็นเลิศในการบริการลูกค้า

 วิชาที่ 20 ทฤษฎีกระเด้ง...จากความรู้สู่การปรับใช้สู่ก้าวอนาคตแบบ 3 V’s

          มีการกำหนดเป้าหมายแล้วมีการกระเด้งไปสู่จุดหมายจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่ง บนหลักแนวคิด/ความรู้ต่าง ๆ เพื่อค้นหาตัวเองและปรับ Mindset หาจุดแข็งของตัวเองให้เจอ ปรับพฤติกรรรมไปสู่ความเป็นเลิศ

 สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน

          เมื่อปรับ Mindset และปรับพฤติกรรมของตัวเองอย่างมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน การทำงานก็จะมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กรอย่างแน่นอน

วิชาที่ 15   การคิดเชิงกลยุทธ์และการบริหารจัดการสมัยใหม่  วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและการมองเป้าหมายร่วมกัน  (โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล)

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้   การบริหารจัดการสมัยใหม่จะต้องคิดแบบแข่งขันคิดเชิงกลยุทธ์ที่มีการแข่งขันในโลกปัจจุบันเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเนื่องจากองค์กรต้องมีการแย่งชิงทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด การคิดเชิงกลยุทธ์ ความสามารถในการแข่งขัน  กระบวนการทำงานให้มีคุณภาพ ระยะเวลาเหมาะสม มีการตอบสนองจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีหลักสูตรที่มีคุณภาพตอบสนองความต้องการของสังคม

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน  องค์กรต้องมีการกำหนดกลยุทธ์เพื่อต่อสู้กับการแข่งขันแย่งชิงทรัพยากรในด้านต่างๆ ต้องวิเคราะห์รอบด้านเพื่อให้เหนือกว่าคู่แข่งขัน  และเป็นตัวเลือกของผู้รับบริการ

วิชาที่ 16   การประเมินนโยบาย แผนงานและโครงการ วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและการมองเป้าหมายร่วมกัน  (โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล)

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้  แผนงานและโครงการที่ดำเนินการผลักดันซึ่งเราต้องกำหนดให้สอดคล้องกับสิ่งที่เราต้องการให้บรรลุ  โดยมองให้กว้างและไกลถึงอนาคตที่จะต้องอยู่รอดและกิจกรรมที่ดำเนินการจะต้องมองถึงระยะยาว  ดังนั้นการประเมินนโยบายแผนงานและโครงการจะต้องมีวิธีประเมินให้เห็นถึงความจริงและผลงานที่ปรากฏได้เพียงใดตอบสนองผู้รับบริการหรือไม่  เช่น ประเมินสถานการณ์สิ่งที่มากระทบต่อการดำเนินงานประเมินผลการดำเนินงาน  การใช้หลัก PDCA ต้องมีประสิทธิภาพ  การแข่งขัน การสื่อสารผลการประเมินให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน  การจัดทำแผนจะต้องมีการสำรวจและประเมินศักยภาพขององค์กรและศึกษาคู่แข่งขันทั้งที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงหรือสถาบันที่อยู่นอกเหนือพื้นที่และกำหนดกลยุทธ์ที่แยบยลช่วยกันคิดให้รอบคอบและตกผลึกอย่างแท้จริงไม่ควรทำแผนเพียงเพื่อเป็นพิธีกรรมเท่านั้นและการประเมินตามความเป็นจริงโดยไม่เข้าข้างตัวเอง  ดังนั้นการวัดต้องชัดเจนประเมินได้อย่างเป็นรูปธรรมจึงจะเห็นผลงานที่แท้จริงว่าองค์กรของเราสามารถเทียบกับคู่แข่งขันได้เพียงใดต้องปรับปรุงอะไรบ้าง 

วิชาที่ 17  หัวข้อ การบริหาร คนของบุคลากรสายสนับสนุน  (โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์  และอาจารย์พิชญ์ภูรี  จันทรกมล)

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้  การบริหารคนของสายสนับสนุนจะเน้นทฤษฏี 2 R’s คือ ความจริงและตรงประเด็น พัฒนาศักยภาพบุคคลโดยการปลูกตลอดเวลาและต้องให้นำความรู้ออกมาพัฒนาองค์กรผ่านการปลูกและเก็บเกี่ยวผลงาน การปลูกมีทั้งปลูกปัญญาและความดี และ Execution คือความสำเร็จที่เกิดจากการเอาชนะอุปสรรคและก้าวผ่านปัญหาที่เกิดขึ้น การปลูกเป็นการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างหนึ่งที่เป็นกระบวนการทำให้เกิดการพัฒนาและสำเร็จผ่านจิตวิญญาณที่เน้นความสำเร็จขององค์กรเป็นหลัก

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน  พัฒนาตนเองโดยปรับ Mindset ในการทำงานปรับทัศนคติและความคิดรวมถึงพฤติกรรมการทำงานก่อนโดยมองตัวเอง มองสถานการณ์เป็นอย่างไร แล้วเราจะไปไหน เราจะเป็นอย่างไรและเราจะทำอะไรดังนั้นเราต้องปรับ Mindset ที่มององค์รวมและทำงานให้ได้ผลลัพธ์โดยการเอาความรู้ใหม่ๆไปใช้ให้เกิดประโยชน์ตอบโจทย์องค์กรให้ตรงประเด็น  เราต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงและยุคการแข่งขันในปัจจุบันเพื่อความอยู่รอดขององค์กร และองค์กรต้องมองหาจุดแข็งของแต่ละคนนำออกมาใช้และพัฒนา ผู้นำต้องพัฒนาคนอื่นตลอดเวลาเพื่อเป้าหมายสูงสุดที่จะเกิดขึ้นได้ในเวลาที่สอดคล้องกับความต้องการขององค์กร

  วิชาที่ 18  หัวข้อ ระบบพี่เลี้ยงและการสอนงาน (Mentoring System & Coaching)  (โดย ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์)

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้  ผู้นำหรือผู้บริหารที่มีลูกน้องหรือทีมงานต้องให้ความช่วยเหลือดูแลและเป็นพี่เลี้ยงให้กับทีมงาน ต้องช่วยให้คำปรึกษาและแนะนำดูแลว่าลูกน้องต้องการอะไรบ้างในการทำงานยังขาดสิ่งใดที่จะต้องใช้ต้องเรียนรู้ เราต้องทำตัวเป็นทั้ง Mentor และ Coach ไปด้วยกัน รวมถึงต้องค้นหาตัวเองและคนทำงานที่จะมาพัฒนาร่วมกันให้เกิดผลลัพธ์นำไปสู่การพัฒนาองค์กรผ่านการเรียนรู้ระหว่างกันและการสอนงานเป็นพี่เลี้ยงที่สร้างพลังให้กับลูกน้องและทีมงาน สร้างแรงบันดาลใจและแรงจูงใจให้คนทำงานได้ทำงานอย่างเต็มศักยภาพเพื่อองค์กรแห่งความสำเร็จและเป็นเลิศ

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน  การที่จะพัฒนาและเป็นพี่เลี้ยงให้กับลูกน้องได้เราต้องมีการพัฒนาตัวเองก่อนเพราะในอนาคตเราต้องทำงานเชิงการเอาความหลากหลายเป็นพลัง เราต้องดู Context ในองค์กรว่าเอื้ออำนวยหรือไม่ ดูระบบและนำ IT มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดลดต้นทุนลดเวลาลดทรัพยากร และดู Process ของงานเพื่อปรับปรุงให้เกิดการสร้างมูลค่าและเน้นความคล่องตัว สิ่งเหล่านี้นำไปเป็นสิ่งเกื้อหนุนให้ลูกน้องทำงานได้อย่างคล่องตัวสามารถสร้างผลงานเป็นรูปธรรมได้ นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญอีกประการคือการมีส่วนร่วม เราต้องทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมและสร้างค่านิยมที่ดีและมีความเป็นเจ้าของกิจการทำงานเป็นทีมเห็นความสำเร็จในทิศทางเดียวกัน

 

วิชาที่ 19  หัวข้อ การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3V   (Value added – Value Creation – Value Diversity)

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้  การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3V เป็นการศึกษานวัตกรรมที่อยู่ในงานที่เราทำงานเป็นประจำ ซึ่งเราเป็นบุคลากรสายสนับสนุนจะทำงานกับระบบเกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงาน KPI การสร้างผลลัพธ์ที่ต้องการให้สำเร็จและตอบสนองความต้องการขององค์กรและมหาวิทยาลัย การออกแบบโครงการเน้นการพัฒนาที่สร้างมูลค่าและคุณค่าเพิ่มเช่น การใช้ทฤษฏีต่าง ๆ เข้าช่วยในการออแบบและสร้างโครงการนวัตกรรม ได้แก่ ทฤษฏี KAIZEN นั่นหมายถึง เลิก ลด และเปลี่ยน และทฤษฏีการลดต้นทุน การลดความเสีย ทฤษฏี 2R’s คือ Reality มองความจริงว่าเราอยู่ตรงไหน เราเป็นอย่างไร อะไรที่เราต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและพัฒนาโดยนำความจริงมาพิจารณาและคำนึง Relevance ตรงประเด็น คือการทำในสิ่งที่ตรงจุดแก้ปัญหาและสร้างสิ่งใหม่ที่ตรงประเด็นสามารถตอบสนององค์กร การสร้างโครงการนวัตกรรมจึงเป็นการสร้างคุณค่าและมูลค่าของงานให้มีประสิทธิภาพและเกิดผลสำเร็จที่คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน  ให้คิดจากการทำงานตามกระบวนการที่เป็นอยู่ก่อนแล้วคิดต่อว่าเราจะปรับปรุงกระบวนการการทำงานนั้นได้อย่างไรบ้าง  ควรปรับกระบวนการใดที่ส่งผลกระทบเชิงบวก  เกิดประโยชน์สูงสุดขององค์กรเป็นหลัก คิดจากจุดเล็กๆแล้วขยายไปจุดใหญ่ให้ครอบคลุมโดยเน้นนวัตกรรมกระบวนการทำงานที่ช่วยให้ประสิทธิภาพสูงขึ้นและลดต้นทุนลดเวลาและลดทรัพยากร พิจารณา Process Improvement ใช้ทฤษฏีคิดนอกกรอบว่าการทำซ้ำๆแบบเดิมๆแต่จะหวังผลลัพธ์ที่แตกต่างย่อมเป็นไปไม่ได้ ต้องคิดหาวิธีการใหม่ๆเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างในทางที่ดีขึ้น และทำการปรับปรุงกระบวนงานภายใต้ความเป็นจริงและตรงประเด็นเราจะได้ผลงานที่สำเร็จอย่างแท้จริง

วิชาที่ 20  หัวข้อ ทฤษฏีกระเด้ง...จากความรู้สู่การปรับใช้สู่ก้าวอนาคตแบบ 3V’s  บทสรุปภาพรวมของกิจกรรมการเรียนรู้ในโครงการฯสู่การปรับใช้เพื่อการทำงานสร้างความเป็นเลิศให้แก่มหาวิทยาลัย  (Value added – Value Creation – Value Diversity)

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้  อย่าเป็นน้ำเต็มแก้วที่ไม่สามารถพัฒนาอะไรได้อีกแล้ว ต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆนำมาปรับใช้และต้องปรับตัว  และยอมรับต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบันซึ่งมีการแข่งขันสูง ทำให้สิ่งที่ให้องค์กรอยู่รอดและมองผลประโยชน์โดยรวมขององค์กรเป็นหลัก ได้เรียนรู้และศึกษาทฤษฏีต่างๆในโครงการอบรมครั้งนี้ซึ่งเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ในการบริหารและการทำงานโดยเฉพาะการเป็นผู้นำที่ต้องกำหนดนโยบายและทำตามแผน การกำหนดกลยุทธ์เชิงท้าทายเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศ การสร้างทีมที่เข้มแข็ง การนำระบบเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการเข้าถึงลูกค้าและการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคเพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวางแผนกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพเกิดผลงานและการสร้างนวัตกรรมการพัฒนาให้เกิดขึ้นในองค์กรนำไปสู่การพัฒนาคณะและมหาวิทยาลัยที่ยั่งยืนได้ต่อไป

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน  เปลี่ยนมุมมองและทัศนคติในการทำงานในยุคปัจจุบัน มองตัวเอง มองแนวทางพัฒนา มององค์กร เป็นหลัก ทำงานเชิงรุกและใฝ่รู้เพื่อการพัฒนาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องนำไปพัฒนามหาวิทยาลัย สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ  เพื่อปรับปรุงและพัฒนางานที่สร้างคุณค่าและคุณประโยชน์

นางสาวอรกมล ไกรวงศ์ กลุ่มที่ 5

วิชาที่ 12 การคิดเชิงกลยุทธ์ และการบริหารจัดการสมัยใหม่

ในยุคที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีภาวะแห่งการแข่งขัน เราจึงมีความจำเป็นต้องมีการปรับตัว จะคิดแบบเดิมๆไม่ได้ ต้องเลิกคิดว่าเราจะไม่แข่งกับใครเราจะแข่งกับตัวเอง เพราะถ้าคิดอย่างนั้นจะเป็นคนที่น้ำเต็มแก้ว เราจึงต้องมีการคิดเชิงกลยุทธ์ เพื่อการแข่งขัน หรือการแย่งชิงทรัพยากรทั้งนักศึกษา อาจารย์ บุคลากร เก่งๆ  การแย่งชิงงบประมาณ  ถ้าอยากได้เงินจากรัฐบาลก็ต้องมีโครงการที่มีคุณภาพ ค่าเทอมนักศึกษา รายได้จากบริการวิชาการและวิจัย

ความสามารถในการแข่งขัน ต้องพิจารณาใน 2 ส่วน

Asset Management  X  Business Process = Competitiveness

1. Asset (สินทรัพย์)ที่มี ได้แก่ Infrastructure 2. Capital เงินสดควรมีการนำไปลงทุนทางด้านไหนอย่างไร 3. Technology 4. Human Resource บุคลากรเป็นสินทรัพย์ของที่มีค่ามหาวิทยาลัย โดยเฉพาะคนที่เป็น Talent ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่มีความสามารถ Ego สูง และรำคาญกับระบบราชการ จะอยู่กับองค์กรที่ไม่เป็น Competitive ไม่ได้ ต้องมี Talent Program และให้อิสระกับเขา

2. Business Process (กระบวนการทำงาน) ต้องตั้งคณะกรรมการปรับปรุงการทำงาน เป็นการบริหารสมัยใหม่ 1. Quality คุณภาพ 2. Cycle Time ระยะเวลา 3. Responsiveness การตอบสนอง 4. Service level การบริการ 5. Productivity ผลิตภัณฑ์6. Efficiency ประสิทธิภาพ

3. Competitivenes 1. Market Share การวัดความสามารถในการแข่งขัน      2. Profit Margin กำไรหรือรายได้เราลดลงหรือไม่ 3. Growth 4.  Asset Value 5.  Value Creation  แบรนด์ คนซื้อเราเพราะแบรนด์ ดังนั้น ม.ทักษิณต้องทำการ Rebranding ในการสะท้อนสิ่งที่เป็น

Competitive Strategies

Primary Strategies

  • Cost Leadership Strategies แข่งที่ราคา
  • Differentiation Strategies แข่งที่ความแตกต่าง เข้ามาเรียนที่นี่มีอะไรแตกต่างจากที่อื่น จบแล้วได้อะไรที่แตกต่าง จบแล้วได้งานทำมากกว่าที่อื่น บัณฑิตที่จบมหาวิทยาลัยทักษิณมีอะไรแตกต่างจากที่อื่น ผู้ปกครองจะได้อะไร

Supporting  Strategies

  • Innovation Strategies กลยุทธ์ทางด้านนวัตกรรม โครงสร้างขององค์กรไม่มีหน่วยงานเฉพาะที่จะสร้างนวัตกรรม  Center of Excellence เลย
  • Growth Strategies กลยุทธ์ในการโต เราจะโตแบบไหนที่มีคุณภาพ

วิชาที่ 13  การประเมินนโยบาย แผนงานและโครงการ

 

สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ การประเมินผลการดำเนินงาน ศึกษาบริบทใหม่ที่มีผลกระทบ เช่น อะไรที่จะมากระทบ ม.ทักษิณ และอุตสาหรรม Higher Education ในอนาคต และต้องทำแบรนด์ ยุทธศาสตร์ และคน และมองใน 5-10 ปีข้างหน้า

แนวคิดในการประเมินโครงการ

  • ใช้ P-D-C-A  Continuous Improvement ประเมินเพื่อดูความก้าวหน้าในการทำแผนถัดไป

และดู input  ใส่ทรัพยากรอะไรลงไป-process มีกิจกรรม โครงการอะไรบ้าง -output-outcome  ดู KPI ประจำยุทธศาสตร์ เรื่องอะไรที่ยังทำไม่เสร็จ สร้าง ซ่อมใหม่

ประเด็นที่พิจารณาในการประเมิน

ผลที่ได้ ตามเป้า ทำอะไรแล้วได้ตามเป้า เป็นผลที่ได้จากโครงการ สิ่งที่เราทำจริงเหรอ

ถ้าไม่ได้ตามเป้าทำอย่างไรจึงจะได้ตามเป้า เป็นความสามารถเราหรือฟลุ๊ค

การวางยุทธศาสตร์

1. รวบรวมแผน ยุทธศาสตร์ ทั้่งหมดที่เกี่ยวข้อง  แผนอุดมศึกษา แผนสภาพัฒน์ แผน 20 ปี แผนของมหาวิทยาลัยอื่น

2. ทำการประเมิน

3. ประชุมกลุ่ม เชิญภาคเอกชน คนนอกมหาวิทยาลัย ผู้ปกครอง นักศึกษา ชุมชน คิดอะไรกับเรา

ประชุมกลุ่มย่อยแยอะๆ แล้วสรุปประเด็น

4.จัดทำข้อเสนอแนะประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับต่าง ๆ ประกอบด้วยวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) เป้าหมาย(Goal) กลยุทธ์สำคัญ (Important Strategy) , Winning Project, KPI, Action Plan

 

วิชาที่ 17 การบริหาร “คน” ของบุคลากรสายสนับสนุน

      เน้นทฤษฎี 2 R’s คือความจริงและตรงประเด็น การปะทะกันทางปัญญา ต้องคิดต่าง และสรุปให้ได้ถึงจะอยู่รอด ต้องเอาชนะอุปสรรค การพัฒนาตนเอง คือ ต้องปรับ Mindseะ ต้องมี Value ค่านิยมในตัวเอง และ Manage Team เราดูทีมเราว่ามี Generation อะไรบ้าง เช่น BabyBoom Gen X GexY GenZ เราต้องสามารถพัฒนาทีมอย่างให้มี Accountability

บทบาทของตัวเอง.. หากพิจารณาตามแนว Chira Way – เรื่องคนมี 3 เรื่อง ประกอบด้วย

1. ปลูก - - 8K’s+5K’s

ปลูกในทุกขณะที่หาความรู้ เพื่อให้ทันเหตุการณ์ เพื่อให้มีศักยภาพ ใน 8K’s , 5K’s จะเหมือน Prerequisite  8K’s 5K’s มีพื้นฐานจาก Gary Becker คือต้องลงทุน แต่ไม่ใช่การลงทุนด้านปริมาณอย่างเดียว

2. เก็บเกี่ยว - - ทฤษฎี 3 วงกลม + HRDS

ทำอย่างไรให้คนทำงานตามศักยภาพของเขา คือการสร้างแรงจูงใจ ต้องดูแต่ละคนให้ดีว่าเขาต้องการอะไร บางคนต้องการครอบครัว ต้องการอิสรภาพ ไม่ได้เห็นเงินสำคัญที่สุด เมื่อมอบอำนาจแล้วให้ทำให้ดีที่สุด มีเรื่อง HRDS คือ Happiness , Respect , Dignity และ Sustainability  

3. สุดท้าย คือ ทำให้สำเร็จ คือ Execution การเอาชนะอุปสรรค

 

วิชาที่ 18 ระบบพี่เลี้ยงและการสอนงาน (mentoring System & Coaching)

เรียนรู้ระบบพี่เลี้ยงและการสอนงานซึ่งสนับสนุนซึ่งกันและกัน การ Coaching หรือ Mentoring อยู่ในการพัฒนาคน และถ้าจะสร้างให้เกิดเป็นวัฒนธรรมของการมีพี่เลี้ยงกับการโค้ชจะช่วยให้การพัฒนาคนดีขึ้น Coaching เน้นการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและการปรับปรุงสมรรถนะ เป็นการพัฒนา Performance  and Development ปรับปรุงผลการปฏิบัติงาน ส่วน Mentoring เป็นการโค้ชความก้าวหน้าในอาชีพและองค์กร การมี Mentor ในองค์กรเน้นการสร้างความมั่นใจ เป็นวิถีการทำงานแบบใดให้คนเข้าใจแบบนั้น และต้องทำอย่างต่อเนื่อง  และได้เรียนรู้เทคนิคการฟังและการ Feedback ที่จะนำไปใช้ในการปฏิบัติงานในองค์กร

เทคนิคการฟัง

1. Summarizing Listening คือทบทวนการฟังว่าเข้าใจถูกหรือไม่

2. Reflective Listening คือที่ฟังมานี้ถูกหรือไม่ ดังนั้นการเป็นโค้ชหรือ Mentor ให้เขาสรุปว่าอย่างไร เข้าใจสิ่งที่เราพูดถูกหรือไม่

3. Empathetic Listening คือฟังแบบเห็นอกเห็นใจ เช่นเข้าใจความรู้สึกตรงนี้ เพราะถ้าเกิดขึ้นกับพี่คงรู้สึกไม่ต่างกับคุณ

Feedback ใน 2 ลักษณะ  คือ 1. Appreciative Feedback คือการชื่นชม และ 2. Constructive Feedback คือการให้ Feedback และสร้างขวัญกำลังใจ ซึ่งจะต้องมีการปรับปรุงเพื่อการพัฒนาต่อไป

     

วิชาที่ 19  การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ3V

         เรียนรู้โครงการนวัตกรรมที่ทั้ง 5 กลุ่ม ซึ่งคิดค้นและนำเสนอเป็นประโยชน์สำหรับมหาวิทยาลัยสอดคล้องกับการสร้างมูลค่าแบบ 3 V แต่ซึ่งบางเรื่องเป็นเรื่องที่เจาะจง บางเรื่องเป็นแบบกว้าง ๆ ซึ่งสามารถพัฒนาต่อไปก็จะช่วยการพัมนางานของมหาวิทยาลัย โดยการพัมนานวัตกรรมต้องคำนึงเทคโนโลยีที่นำมาใช้ กระบวนการที่ใช้ในการพัฒนาและความต้องการของลูกค้าด้วย


วิชาที่ 20 ทฤษฎีกระเด้งจากความรู้สู่การปรับใช้สู่ก้าวอนาคตแบบ 3 V’s

         เป้าหมายหลักของทฤษฎีกระเด้งจากความรู้สู่การปรับใช้สู่ก้าวอนาคตแบบ 3 V’s คือ การปะทะทางปัญญา กิจกรรมการเรียนรู้ในโครงการสู่การปรับใช้เพื่อการทำงานสร้างความเป็นเลิศให้แก่มหาวิทยาลัย คือ การปรับ Minset เพื่อมุ่งไปสู่จุดแข็งของตัวเอง การเปลี่ยนวิธีคิด นำไปสู่การปรับพฤติกรรม สายสนับสนุนมีความสามารถแต่ต้องพัฒนาตลอดเวลาโดยเฉพาะโครงการนี้ทำให้เกิด Team Work, มี Passion, นำเทคโนโลยีมาใช้ และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Learning how to learn เพื่อใช้ในการบริหารจัดการเพื่อทำงานให้สำเร็จ

ภูริพัฒน์ พฤกษาพิทักษ์

วิชาที่ 15   การคิดเชิงกลยุทธ์และการบริหารจัดการสมัยใหม่  วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและการมองเป้าหมายร่วมกัน 

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้   การบริหารจัดการสมัยใหม่ต้องอาศัยการคิดเชิงกลยุทธ์เข้ามาใช้เพื่อให้องค์กรสามารถแข่งขันกับองค์กรอื่นได้ เนื่องจากทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด แนวคิดของคนในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป สิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ในการคิดเชิงกลยุทธ์ต้องอยู่บนพื้นฐาน 2R คือ ความจริงและตรงประเด็น นำจุดเด่น จุดด้อยที่แท้จริง มาวางแผนกลยุทธ์ โดยอิงบนข้อมูลปัจจุบันเป็นสำคัญ 

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน  องค์กรต้องอยู่บนพื้นฐาน 2R เป็นสำคัญและคิดเชิงกลยุทธ์ที่เป็นทำได้จริงบนทรัพยากรที่มีอยู่จริงและต้องสอดคล้องกับสภาพจริงที่มีอยู่


วิชาที่ 16   การประเมินนโยบาย แผนงานและโครงการ วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและการมองเป้าหมายร่วมกัน 

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้  แผนงานและโครงการที่ดำเนินการนั้น เราต้องกำหนดให้มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่แท้จริง โดยมองให้รอบด้านและวางแผนในระยะยาวไปถึงอนาคต กิจกรรมที่ดำเนินการจะต้องมองถึงการดำเนินการในระยะยาว  ในการประเมินนโยบายแผนงานและโครงการจะต้องมีวิธีประเมินให้เห็นถึงความจริงและผลงานที่ได้และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างไร มีการประเมินสถานการณ์สิ่งที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน การประเมินผลการดำเนินงานต้องอาศัยหลัก PDCA หรือวิธีการใด ๆ นั้นต้องมีประสิทธิภาพ การสื่อสารผลการประเมินให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน  การจัดทำแผนนั้นประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ 1) การสำรวจและประเมินศักยภาพขององค์กร 2) การศึกษาคู่แข่งขันทั้งที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงหรือสถาบันที่อยู่นอกเหนือพื้นที่ 3) การกำหนดกลยุทธ์ 4) อย่าให้การทำแผนเพื่อเป็นพิธีกรรมเท่านั้น 5)การประเมินตามความเป็นจริงโดยไม่เข้าข้างตัวเอง 

วิชาที่ 17  หัวข้อ การบริหาร คนของบุคลากรสายสนับสนุน 

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้  การบริหารคนของสายสนับสนุนจะเน้นทฤษฏี 2 R’s คือ ความจริงและตรงประเด็น พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อนำไปสู่การพัฒนานั้นจะประกอบด้วย การปลูกที่ประกอบด้วยการปลูกปัญญาและความดี  การเก็บเกี่ยวและการนำไปปฏิบัติหรือดำเนินการซึ่งเป้าหมายคือความสำเร็จที่เกิดจากการเอาชนะอุปสรรคและก้าวผ่านปัญหาที่เกิดขึ้น 

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน  การพัฒนาตนเองเริ่มต้นการปรับ Mindset ของตนเอง การปรับทัศนคติและความคิดรวมถึงพฤติกรรมการทำงานก่อนโดยมองตัวเอง มองสถานการณ์ ทิศทางการทำงาน เป้าหมายการทำงาน และสิ่งที่จะต้องทำ ดังนั้นการมององค์รวมและทำงานให้ได้ผลลัพธ์โดยการเอาความรู้ใหม่ๆไปใช้ การดำเนินการที่ตอบสนองความต้องการขององค์กรให้ตรงประเด็น  การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงและยุคการแข่งขันในปัจจุบันเพื่อความอยู่รอดขององค์กร การมองหาจุดแข็งของแต่ละคนนำออกมาใช้และพัฒนา ผู้นำต้องพัฒนาคนอื่นตลอดเวลาเพื่อเป้าหมายสูงสุดที่จะเกิดขึ้นได้ในเวลาที่สอดคล้องกับความต้องการขององค์กร

  วิชาที่ 18  หัวข้อ ระบบพี่เลี้ยงและการสอนงาน (Mentoring System & Coaching)

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้  ผู้นำหรือผู้บริหารที่มีลูกน้องหรือทีมงานนั้นมีสิ่งสำคัฐที่ต้องปฏิบัติเพื่อให้การดำเนินงานไปได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นประกอบด้วย 1)การให้ความช่วยเหลือดูแลและเป็นพี่เลี้ยงให้กับทีมงาน 2) การให้คำปรึกษาและแนะนำดูแล 3)การเรียนรู้ถึงความต้องการในทำงานยังขาดสิ่งใด 4) การทำตัวเป็นทั้ง Mentor และ Coach 5) การค้นหาตัวเองและคนทำงานที่จะมาพัฒนาร่วมกันให้เกิดผลลัพธ์นำไปสู่การพัฒนาองค์กรผ่านการเรียนรู้ระหว่างกันและการสอนงานเป็นพี่เลี้ยงที่สร้างพลังให้กับลูกน้องและทีมงาน สร้างแรงบันดาลใจและแรงจูงใจให้คนทำงานได้ทำงานอย่างเต็มศักยภาพเพื่อองค์กรแห่งความสำเร็จและเป็นเลิศ

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน  การที่จะพัฒนาและเป็นพี่เลี้ยงให้กับลูกน้องได้นั้นเรามีความจำเป็นจะต้อง 1) พัฒนาตัวเองก่อน 2)เราต้องดูบริบทในองค์กรว่าเอื้ออำนวยหรือไม่ 3) ดูระบบการทำงานและนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดลดต้นทุนลดเวลาลดทรัพยากร 4) การศึกษาขั้นตอนการทำงานเพื่อปรับปรุงให้เกิดการสร้างมูลค่าและมีความคล่องตัว 5) การสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมมีค่านิยมที่ดี ทำงานเป็นทีม 6) มีเป้าหมายในทิศทางเดียวกัน

 

วิชาที่ 19  หัวข้อ การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3V  

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้  การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3V เป็นการศึกษานวัตกรรมที่อยู่ในงานที่เราทำงานเป็นประจำ และตอบสนองความต้องการของมหาวิทยาลัย การออกแบบโครงการเน้นการพัฒนาที่สร้างมูลค่าและคุณค่าเพิ่มเช่น การใช้ทฤษฏีต่าง ๆ เข้าช่วยในการออแบบและสร้างโครงการนวัตกรรม ได้แก่ ทฤษฏี KAIZEN นั่นหมายถึง เลิก ลด และเปลี่ยน และทฤษฏีการลดต้นทุน การลดความเสีย ทฤษฏี 2R’s คือ Reality มองความจริงว่าเราอยู่ตรงไหน เราเป็นอย่างไร อะไรที่เราต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและพัฒนาโดยนำความจริงมาพิจารณาและคำนึง Relevance ตรงประเด็น คือการทำในสิ่งที่ตรงจุดแก้ปัญหาและสร้างสิ่งใหม่ที่ตรงประเด็นสามารถตอบสนององค์กร การสร้างโครงการนวัตกรรมจึงเป็นการสร้างคุณค่าและมูลค่าของงานให้มีประสิทธิภาพและเกิดผลสำเร็จที่คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน  ให้คิดจากการทำงานตามกระบวนการที่เป็นอยู่ก่อนแล้วคิดต่อว่าเราจะปรับปรุงกระบวนการทำงานนั้นได้อย่างไรบ้าง  ควรปรับกระบวนการใดที่ส่งผลกระทบเชิงบวก  เกิดประโยชน์สูงสุดขององค์กรเป็นหลัก คิดจากจุดเล็กๆแล้วขยายไปจุดใหญ่ให้ครอบคลุมโดยเน้นนวัตกรรมกระบวนการทำงานที่ช่วยให้ประสิทธิภาพสูงขึ้นและลดต้นทุนลดเวลาและลดทรัพยากร พิจารณา Process Improvement ใช้ทฤษฏีคิดนอกกรอบว่าการทำซ้ำๆแบบเดิมๆแต่จะหวังผลลัพธ์ที่แตกต่างย่อมเป็นไปไม่ได้ ต้องคิดหาวิธีการใหม่ๆเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างในทางที่ดีขึ้น และทำการปรับปรุงกระบวนงานภายใต้ความเป็นจริงและตรงประเด็นเราจะได้ผลงานที่สำเร็จอย่างแท้จริง

วิชาที่ 20  หัวข้อ ทฤษฏีกระเด้ง...จากความรู้สู่การปรับใช้สู่ก้าวอนาคตแบบ 3V’s  บทสรุปภาพรวมของกิจกรรมการเรียนรู้ในโครงการฯสู่การปรับใช้เพื่อการทำงานสร้างความเป็นเลิศให้แก่มหาวิทยาลัย

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้  การเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆนำมาปรับใช้และต้องปรับตัว  และยอมรับต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบันซึ่งมีการแข่งขันสูง ทำให้สิ่งที่ให้องค์กรอยู่รอดและมองผลประโยชน์โดยรวมขององค์กรเป็นหลัก สิ่งสำคัญนอกเหนือจากการเรียนรู้ในห้องเรียนแล้วคือการนำไปปฏิบัติจริงอย่างต่อเนื่องและมีเป้าหมายท้ายสุดคือนำไปสู่ความสำเร็จ

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน  การปรับทัศนคติในการทำงานในยุคปัจจุบัน การเรียนรู้ตัวเอง การมีความคิดในการพัฒนา การเห็นความสำคัญขององค์กร การทำงานเชิงรุกและใฝ่รู้เพื่อการพัฒนาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาตนเอง พัฒนางานและพัฒนาองค์กร อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน


นางสาวปีติฉัตร วั่นเส้ง (กลุ่มที่5)

สิ่งที่ได้เรียนรู้ ช่วงที่ 5 วันที่ 30 ส.ค. – 1 ก.ย. 60

วิชา 15 การคิดเชิงกลยุทธ์และการบริหารจัดการสมัยใหม่ : วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและการมองเป้าหมายร่วมกัน

                ปัจจุบันการบริหารจัดการเพื่อให้ได้มาซึ่งลูกค้าต้องมีการคิดเชิงกลยุทธ์และการบริหารจัดการสมัยใหม่อันเป็นความสามารถในการแข่งขัน ประกอบด้วย

Asset Management  X  Business Process = Competitiveness

1. Asset Management ได้แก่ การจัดการสินทรัพย์ที่มีอยู่เพื่อให้เปลี่ยนเป็นรายได้  การจัดการเงินสดในการลงทุน    การใช้เทคโนโลยีที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการบริหารจัดการบุคลากรซึ่งเป็นทุนมนุษย์ที่สำคัญขององค์กร

2. Business Process ได้แก่ กระบวนการดำเนินงานอย่างมีคุณภาพ การใช้ระยะเวลาที่เหมาะสมในการดำเนินงาน การตอบสนองความต้องการจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย การให้บริการในระดับที่ดีขึ้น ความสามารถในการผลิตและมีประสิทธิภาพในการผลิต

3. Competitiveness ได้แก่ การมีส่วนแบ่งทางการตลาด การมีกำไรหรือรายได้ ความเติบโตและความมีคุณค่าของสินทรัพย์ รวมถึงการสร้างคุณค่าทางการตลาดหรือแบรนด์

วิชาที่ 16 การประเมินนโยบาย แผนงาน และโครงการ

  การดำเนินงานต้องมีขั้นตอน ดังนี้

1. ประเมินผลการดำเนินงาน

2. การศึกษาบริบทใหม่ที่มีผลกระทบ

3. การจัดทำข้อเสนอประเด็นนโยบาย/ยุทธศาสตร์ และมองระยะใน 5 – 10 ปีข้างหน้า

        โดยใช้แนวคิดกระบวนการในการดำเนินงาน คือ PDCA เพื่อเป็นการกำหนดแผน การดำเนินงาน การตรวจสอบการดำเนินงาน และการนำข้อเสนอแนะไปปรับใช้เพื่อการการวางแผนในการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพต่อไป ซึ่งการดำเนินงานอาจจะมีกระบวนการที่จะเกิดขึ้นได้แก่ การซ่อม – การเสริม – การสร้าง ทั้งนี้ เพื่อการปรับเปลี่ยนในการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และการประเมินการดำเนินงาน ใช้กระบวนการ  Input + Process  => Output

วิชาที่ 17 การบริหาร “คน” ของบุคลากรสายสนับสนุน

             การบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรนั้น สิ่งสำคัญ คือ การใช้หลัก  2R’s หมายถึง ความจริงและตรงประเด็น โดยการเรียนรู้จาก 1. Learn Share and care – เรียนรู้ร่วมกัน 2. Life long learning – เรียนรู้ตลอดเวลา     ไม่หยุดการเรียนรู้ 3. Comumity  - เรียนรู้ร่วมกันในองค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งนำกระบวนการ “ปลูก” ตามหลัก 8’ks และ 5’ks “การเก็บเกี่ยว” ซึ่งเป็นการนำ HRDS มาเป็นแนวปฏิบัติในการบริหารงานบุคคล และ “Execution” คือ ความสำเร็จที่เกิดจากการเอาชนะอุปสรรคที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จ ตามหลัก 3V

วิชาที่ 18 ระบบพี่เลี้ยงและการสอนงาน (mentoring System & Coaching)

 การพัฒนาบุคลากรในองค์กรสามารถใช้รูปแบบ ดังนี้

1. การฝึกอบรม –Training

2. การโค้ช – Coaching

3. การเป็นพี่เลี้ยง – Mentoring

4. การให้คำปรึกษา – Counselling

        ทั้งนี้ผู้บริหารต้องมีทักษะในด้าน Coaching & Mentoring โดยการสนทนาที่ประกอบด้วย ฟัง – ถาม – ทำความเข้าใจ และต้องผ่านกระบวนการ Feedback ที่เป็นรูปแบบของการเสริมกำลังใจ การสร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นความสนใจ และปรับพฤติกรรม เพื่อการพัฒนาคนที่เป็นทรัพยากรสำคัญและนำไปสู่ความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพขององค์กร

วิชาที่ 19  การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3V

                นวัตกรรมที่แต่ละกลุ่มนำเสนอผ่านกระบวนการศึกษา วิเคราะห์ และออกแบบการดำเนินงาน จากกระบวนการเรียนรู้ตามหลักของ 3 V ซึ่งจะสามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานเพื่อให้เกิดการพัฒนาและสอดคล้องกับการดำเนินงาน ทำให้หน่วยงานและองค์กรก้าวสู่การพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนี้ การพัฒนาขององค์กรต้องมีผู้บริหารระดับสูงและบุคลากรที่ร่วมสอดรับและเปิดใจ ปรับเปลี่ยนทัศนคติในการดำเนินงานใหม่ ๆ เพื่อให้เข้าสู่การเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน และสามารถแสดงศักยภาพที่มีอยู่ในองค์กรเพื่อก้าวสู่คู่แข่งทางการตลาดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน

วิชาที่ 20 ทฤษฎีกระเด้ง จากความรู้สู่การปรับใช้สู่ก้าวอนาคตแบบ 3V’s

                การกระเด้งทางความคิดและการดำเนินงาน สามารถเปรียบได้กับลูกบอลที่สามารถกระเด้งไปได้ในทุกทิศทางตามที่ต้องการให้เกิดการกระทบทิศทางการพัฒนา เช่น ผู้บริหารระดับสูง ผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร เป็นต้น ทั้งนี้ การเกิดการกระเด้งต้องผ่านกระบวนการปรับเปลี่ยนทัศนคติ (Mindset) การปลูก การเก็บเกี่ยว และการก้าวข้ามอุปสรรคเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ เพื่อผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพตามหลัก 3 V และนำพาองค์กรสู่ความเป็นเลิศทางด้านการศึกษาอย่างมั่นคงและยั่งยืน

ปาจรีย์ เรืองคล้าย กลุ่มที่ 4

วิชาที่ 15 การคิดเชิงกลยุทธ์ กับการบริหารสมัยใหม่ : วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและการมองเป้าหมายร่วมกัน

สิ่งที่ได้เรียนรู้

          เนื่องจากในโลกปัจจุบันเราอยู่ในสังคมของการแข่งขัน ดังนั้น การคิดเชิงกลยุทธ์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการ เพื่อให้ได้ทรัพยากรที่มีคุณค่า โดยเริ่มต้นเรารู้จักตัวเองและมองด้วยความเป็นจริง สำหรับความสามารถในการแข่งขันต้องดูจาก Asset (Infrastructure, Capital, Technology, Human Resource), Business Process (Quality, Cycle time, Responsiveness, Service level, Productivity, Efficiency) และ Competitiveness (Market Share, Profit Margin, Growth, Asset Value และ Value Creation)

          สำหรับ Competitive Strategies ของ Michael E.Porter ประกอบด้วย

Primary Strategies

1. Cost Leadership Strategies แข่งที่ราคา

2. Differentiation Strategies

Supporting Strategies

3. Innovation Strategies

4. Growth Strategies

5. Alliance Strategies

ในส่วนของ Stage of the Industry Life Cycle คือ ทุก ๆ สิ่งในโลกเรามีช่วงชีวิต มีวัฎจักรของมัน  อย่างอุตสาหกรรมมีช่วง เกิด โต แก่ เจ็บ ตาย มีลักษณะเป็น S-Curve โดยในช่วงเวลาหนึ่งตัวเก่าต้องตายไป และจะมี S-Curve ตัวใหม่ มาแทน

 

วิชาที่ 16 LearningForum & Work Shop หัวข้อ การประเมินนโยบาย แผนงาน และโครงการ

          สิ่งที่ได้เรียนรู้

          Competitive Model Focus

1.      What is driving competition in the current or future industry?

2.      What are current or future competitors likely to do and how can a company respond?

3.      How can a company best posture itself to achieve and sustain a competitive advantage?

การประเมินนโยบาย แผนงาน และโครงการสิ่งที่ต้องพิจารณาคือ

1. ประเมินผลการดำเนินงาน

2. ศึกษาบริบทใหม่ที่มีผลกระทบ เช่นอะไรที่จะมากระทบ ม.ทักษิณ และอุตสาหรรม Higher Education ในอนาคต

3. ต้องทำแบรนด์ ยุทธศาสตร์ และคน และมองใน 5-10 ปีข้างหน้า

ขั้นตอนการดำเนินการ

-          รวบรวมแผนที่เกี่ยวข้อง เช่นแผนอุดมศึกษา แผนป.ย.ป. แผนการปฏิรูป สภาพัฒน์ เขตเศรษฐกิจพิเศษ แล้วค่อยตกผลึกรวมกับคำถามตอนเช้าว่าสิ่งใดที่เราทำได้ดี และดีไม่เพียงพอ

-          ทำยุทธศาสตร์

-          ประเมิน ได้มีการเชิญคนภายนอกอย่างชุมชน หรือนักศึกษามาประเมินเราหรือไม่อย่างไร

-          ประชุมกลุ่ม

-          จัดทำข้อเสนอแนะประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับต่าง ๆ ประกอบด้วยวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) เป้าหมาย(Goal) กลยุทธ์สำคัญ (Important Strategy) , Winning Project, KPI, Action Plan

 

วิชาที่ 17 การบริหารคนของบุคลากรสายสนับสนุน

          สิ่งที่ได้เรียนรู้    

          การบริหารคนเปรียบเสมือนการเก็บเกี่ยว เป็นเรื่องของ Learning & Development ทุกคนต้องเป็นคนที่อยากเรียนรู้ด้วยตนเอง การเก็บเกี่ยวความรู้ และการพัฒนา โดยใช้ โมเดล 70:20:10 คือ เรียนรู้จากการทำงาน : จากคนอื่น: จากห้องเรียน  ทั้งนี้ก่อนที่จะพัฒนาคนอื่นต้องเริ่มต้นจากการพัฒนาตนเองก่อน โดยการปรับ mindset ให้เป็น Growth mindset, สร้างค่านิยมในตนเอง และ Manage Team

          การบริหารคนของสายสนับสนุน

-          Non HR

-          บทบาทของตัวเอง (ปลูก, เก็บเกี่ยว, ทำให้สำเร็จ) โดย HR –Non HR- Stakeholder ต้องทำร่วมกัน ช่วยเป็น Mentor และ Coach ให้กับลูกน้อง กระตุ้นให้ อาจารย์เป็นเลิศ นักศึกษาเป็นเลิศ ผู้ร่วมงานเป็นเลิศ

 

วิชาที่ 18 Learning Forum : ระบบพี่เลี้ยงและการสอนงาน

          สิ่งที่ได้เรียนรู้

          ผู้บริหารหรือหัวหน้างานต้องเป็นทั้ง Coaching & Mentoring โดย พี่เลี้ยง 1 คนจะดูแลพนักงานใหม่ได้ไม่เกิน 3 คน เริ่มตั้งแต่วันแรก รูปแบบการโค้ช มี 3 แบบ คือ 1. นายโค้ชลูกน้อง 2. เพื่อนโค้ชเพื่อน 3. ลูกน้องโค้ชนาย ซึ่งสาเหตุที่ต้องโค้ช เพราะต้องเสริมกำลังใจ ให้เขาทำงานดีขึ้น พัฒนาองค์กร หรือ โค้ชเพื่อผลงาน หรือ เพื่อ Learning & Development และ ผลกระทบแห่งพฤติกรรม โดยใช้ทักษะการโค้ช คือการผสมผสานกันระหว่างการฟัง ถาม และ Feedback 

 

วิชาที่19 การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3V

          สิ่งที่ได้เรียนรู้

          นวัตกรรมที่คิดขึ้นล้วนเป็นประโยชน์กับมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ นวัตกรรมที่คิดขึ้นควรจะมุ่งเน้นเพื่อการแก้ปัญหาการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริง และสามารถทำได้ด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนโครงการสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยบางโครงการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันอาจนำมาผนวกกันเป็นโครงการใหญ่ เพื่อให้สามารถพัฒนามหาวิทยาลัยได้ในทุกระบบ เกิดความสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น

 

วิชาที่20 ทฤษฎีกระเด้งจากความรู้สู่การปรับใช้สู่ก้าวอนาคตแบบ 3 V’s

          สิ่งที่ได้เรียนรู้

-          ปรับ Mindset คิดบวก

-          สร้าง passion purpose และ meaning

-          ทำงานเป็นทีม

-          พัฒนาตนเองอยู่เสมอและขยายผลสู่การพัฒนาเพื่อนร่วมงาน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท