โครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ (ช่วงที่ 1: ระหว่างวันที่ 4-5 กรกฎาคม 2560)


สวัสดีครับ


ขอต้อนรับเข้าสู่โครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ (ช่วงที่ 1: ระหว่างวันที่ 4-5 กรกฎาคม 2560)

ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณรุ่นที่ 1 เมื่อปีที่แล้ว


ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับความไว้วางใจจากมหาวิทยาลัยทักษิณจัดโครงการให้อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งครั้งนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 51 คน จากทั้งวิทยาเขตสงขลาและพัทลุง


และขอใช้ Blog นี้เป็นคลังความรู้ที่เราจะเรียนร่วมกันสำหรับช่วงที่ 1 ครับ


จีระ หงส์ลดารมภ์


#โครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยทักษิณ

#TSUsupportingleaders2017



โครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน

.. สร้างพลังในการขับเคลื่อนความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัย

สรุปการบรรยาย

วันที่ 4 กรกฎาคม 2560

ณ ห้องประชุมอาคารห้องสมุด ชั้น 2 มหาวิทยาลัยทักษิณ


(สรุปการบรรยายโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)

 

พิธีเปิด

กล่าวต้อนรับและรายงานความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของโครงการ

โดย    อาจารย์สายพิณ วิไลรัตน์

         รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยทักษิณ

 

         ตามที่ ม.ทักษิณทำแผนบริหารทรัพยากรบุคคลของมหาวิทยาลัยตามแผนยุทธศาสตร์ 10 ปี

1. การวางแผนกำลังคน สรรหา คัดเลือก สร้างและปลูกฝังค่านิยมองค์กร มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และทัศนคติที่ดีของมหาวิทยาลัย เพื่อการขับเคลื่อนความเป็นผู้นำ ม.ทักษิณ ได้อย่างมีคุณภาพในระดับสากล

โครงการนี้เป็นโครงการที่ 2 โครงการแรกจัดเมื่อต้นปี 2559

         การพัฒนาการศึกษาในวันนี้เริ่มจากการศึกษาบริบทของปัจจุบัน บทบาทต้องเป็นการดำเนืนงานตามภารกิจของมหาวิทยาลัยทั้งสายวิชาการและบริหาร ซึ่งการจัดหลักสูตรในครั้งนี้ ได้มีการเริ่มเช่นเดียวกับหลักสูตรแรก คือการยกร่างหลักสูตร และร่วมหารือกับหัวหน้าฝ่าย ในนามผู้รับผิดชอบโครงการฯ ผู้บริหารสายสนับสนุน ขอขอบคุณผู้เข้าร่วมโครงการฯ ทุกท่าน และอธิการบดีที่ให้ดำเนินกจัดการโครงการ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถ และพัฒนาผู้บริหารสายสนับสนุนให้มีวิสัยทัศน์ ความรู้ ทักษะการบริหาร      และการสร้างเครือข่ายในการบริหารงาน ภาวะผู้นำ การทำงานเชิงรุก การสร้างแรงบันดาลใจและทัศนคติที่ดีเพื่อการพัฒนาตนเอง งาน และองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

2. เพื่อถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้ (Process of Learning) ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ แก้ปัญหา และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นการปลูกฝังวัฒนธรรมในการเรียนรู้และนำไปสู่การเป็นองค์การและสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งจะทำให้มหาวิทยาลัยพัฒนาให้ไปสู่ความก้าวหน้าอย่างยั่งยืน

3. เพื่อเปิดโลกทัศน์และมุมมองของผู้เข้าร่วมโครงการฯ ให้ได้รับความรู้ แนวคิด และกรณีศึกษาที่ทันสมัยและเป็นประโยชน์จากผู้ทรงคุณวุฒิผู้มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ ที่เป็นที่ยอมรับในสังคมไทยซึ่งจะสามารถให้คำแนะนำแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยในอนาคตได้

4. เพื่อจุดประกาย สร้างแรงบันดาลใจ สร้างพลังในการพัฒนาและขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

         หลักสูตรในวันนี้เป็นหลักสูตร 60 ชั่วโมงรวมระยะเวลา 10 วัน สัปดาห์ละ 2 วัน มีการศึกษาดูงาน และการมอบหมายงานการศึกษาเพิ่มเติม

         มีการประเมินผล 2 ส่วนคือ การประเมินจากการเข้าชั้นเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 และการจัดทำกิจกรรมตามหลักสูตรร้อยละ 70 ซึ่งการเรียนจะมีการบ้านไปทำต่อให้ได้รับความรู้ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น วันนี้จึงเป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ มีผู้เข้าร่วม 51 คน ประกอบด้วย 3 กลุ่ม

         1. ผู้บริหาร

         2. หัวหน้างาน เตรียมเป็น Successor ในอนาคต

         3. ผู้ที่สนใจเรียนรู้เรื่องการบริหาร

         หลักสูตรนี้จึงเป็นหลักสูตรเพื่อสายสนับสนุนโดยเฉพาะ

 

กล่าวเปิดหลักสูตรและให้ข้อคิดเพื่อการเรียนรู้

โดย    รศ.ดร.วิชัย ชำนิ

         อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ

 

         เรื่องการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ดร.วิชัยได้ให้ความสำคัญอันดับต้น ๆ ตั้งแต่เข้ารับตำแหน่ง จริง ๆ แล้วตั้งแต่ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดี จากการเข้าร่วมหลักสูตรทำให้รู้ว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ได้ผลนั้นไม่ใช่การบรรยาย ไม่ใช่การเสริมความรู้ การเสริมทักษะ ความรู้ ทักษะหาได้ แต่คือการเสริมทัศนคติ กระบวนการคิด โลกทัศน์ จึงคิดว่าจะทำอย่างไรที่เสริมทัศนคติคนให้เอื้อต่อการเป็นบุคลากรที่มีคุณค่าขององค์กร

         ในช่วงแรกมีการดูในเรื่องระบบ และคน ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้วทั้ง 2 ส่วนนี้มีความสำคัญพอกัน ทั้งสองส่วนต้องไปด้วยกัน คือต้องคนดี และระบบดี จึงได้ตั้ง 2 เรื่องไว้ที่รองอธิการบดีท่านเดียวกันคือรองพัฒนาทรัพยากรฝ่ายบุคคลและดูเรื่องระบบด้วย

         มีการนำระบบ EdPEx เพื่อให้องค์กรพัฒนาศักยภาพองค์กรของตนเอง โดยทุกองค์กรต้องตอบว่าจะทำอะไร ความสำเร็จอยู่ตรงไหน ดังนั้น การทำงานครั้งนี้จึงมุ่งไปที่ EdPEx ซึ่งมาจากการพัฒนา TQA ของสหรัฐอเมริกา

         เราต้องไม่ทำอย่างสะเปะสะปะไปเรื่อย เราต้องพัฒนาองค์กรในประเทศ และยึดในแบบองค์กรที่เป็นแบบอย่าง เชื่อว่าการอิงตามระบบนี้จะพัฒนาองค์กรได้ ในขณะเดียวกัน การพัฒนาองค์กร ก็ต้องพัฒนาคนในองค์กรไปด้วย

         ได้ทำการศึกษาข้อมูลพบว่า ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ทำทางด้านนี้ จึงเรียนเชิญท่านเข้ามาจัดหลักสูตรในครั้งที่ 1

         

         ยกตัวอย่าง เรื่องการบริหารสายสนับสนุนที่ประเทศอังกฤษ กล่าวว่า การที่องค์กรจะดีหรือไม่ดี ส่วนหนึ่งอยู่ที่สายสนับสนุนด้วย ในระบบอังกฤษจะมีการแยกชัดเจนในเรื่อง Executive กับ Administration ถ้าบริหารผิดพลาดสายสนับสนุนรับเต็ม ๆ แต่ถ้านโยบายผิดพลาด สายผู้บริหารระดับสูงที่วางนโยบาย Executive ต้องรับผิดชอบเต็ม ๆ ในระบบอังกฤษถือว่าสายสนับสนุนจะเป็นนักบริหารมืออาชีพ และสามารถเลื่อนสู่ตำแหน่งสูง ได้มีการแย่งตัวและถูกซื้อในราคาแพง

         สายสนับสนุนคือนักบริหาร นโยบายคือ Executive แต่ประเทศไทยแยกไม่ออกว่าเป็นงาน Executive หรือ Administration ที่เล่าให้ฟังคือ ถ้าจะใช้ระบบในประเทศที่ทำเรื่องนี้มานาน สายสนับสนุนสำคัญมาก สายวิชาการที่มาบริหารระดับสูงแค่กำหนดนโยบาย และการนำนโยบายสู่การปฏิบัติเป็นเรื่องของสายสนับสนุน ซึ่งสามารถทำเป็นอาชีพได้ มีการซื้อตัวได้ เป็นต้น

         สิ่งที่พูดมาทั้งหมด ไม่ห่วงเรื่องความรู้ เรื่องทักษะ แต่จะสำเร็จด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้ ต้องเปลี่ยนทัศนคติ วิธีคิดในการพัฒนาองค์กร การมององค์กรและต้องคิดต่อเพื่อจะพัฒนาองค์กรให้ดียิ่งขึ้น ต้องการพัฒนาบุคลากรทุกคนเป็นบุคลากรที่มีคุณค่าขององค์กร การเสริมความรู้ ทักษะ เป็นสิ่งจำเป็น แต่ไม่ใช่เรื่องยาก แต่การพัฒนาวิสัยทัศน์ ทัศนคติ วิธีการบริหาร เป็นเรื่องที่ยาก ต้องมีเหตุการณ์ที่ทำให้เราเปลี่ยนได้ มีความเชื่อมั่นว่า ศ.ดร.จีระ จะมีอะไรที่มาสร้างการกระทบให้พวกเราคิดและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้


กล่าวขอบคุณมหาวิทยาลัยทักษิณที่ให้เกียรติและไว้วางใจให้ Chira Academy เป็นผู้จัดการวิชาการของโครงการฯ 

โดย    ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

         เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และประธาน Chira Academy

 

       งานนี้เป็นงานต่อเนื่องจากโครงการในชุดที่แล้วที่ท่านอธิการบดี และรองอธิการบดีเป็นผู้ริเริ่ม ซึ่งโดยทั่วไปปกตินั้นการมีไอเดียบางครั้งไม่กล้าตัดสินใจ สิ่งที่ควรทำคือเราต้องกล้าตัดสินใจมากขึ้น

       โอกาสที่ ม.ทักษิณ จะทำเรื่องคนมีโอกาสเปิดกว้าง และในวันนี้นับเป็นวันที่ท้าทายมาก

       สายสนับสนุนนับว่าเป็นกลไกสำคัญมากสำหรับมหาวิทยาลัย และดีที่ท่านอธิการบดี ดร.วิชัย และรองอธิการบดีสายพิณ ตัดสินใจทำหลักสูตรนี้

       โดยส่วนตัว ดร.จีระ ถือว่าโชคดีที่มีสายสนับสนุนช่วยทำงานในการแบ่งเบาภาระบางอย่าง เพื่อที่จะทำงานในหลาย ๆ เรื่องได้ดียิ่งขึ้น

       การสร้าง Demand ในโลกมีมากมาย ใครอยู่ในโลกนี้ก็มาเรียนได้ หลักสูตรนี้สิ่งที่ซ่อนไว้คือการเปิดโลกทัศน์ หลักสูตรนี้เรียนน้อยกว่ารุ่นที่แล้ว แต่น้อยไม่เป็นไร เพราะเราะต้องเพิ่ม Productivity คือการใส่ Input เท่าเดิม แต่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

       สิ่งที่อธิการบดีมองคือ การมองแบบ Realistic และ Relevance วันแรกเป็นวันที่สำคัญที่สุด

ทุกสิ่งไม่ได้อยู่ที่สาระเท่านั้น แต่อยู่ที่ Content ที่ทุกคนต้องพร้อมที่จะเปิดกว้าง ให้โอกาสทุกคนได้มีการปะทะกันทางปัญญา

       จากรายชื่อสายสนับสนุนเป็นคนรุ่นใหม่ มีหลายท่านที่มาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ และมีความหลากหลาย ประเด็นอยู่ที่ทุกคนพร้อมหรือไม่ที่จะกระโดดออกจากกล่อง ให้ทุกคนเรียนร่วมกัน จับมือกัน

       สิ่งที่ควรทำคือ ต้องมองว่าฉันจะให้อะไรแก่ TSU ไม่ใช่ว่าฉันจะได้อะไรจาก TSU ขอให้ทุกท่านมาร่วมกัน


วิชาที่ 1 ปฐมนิเทศ แนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้ และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

โดย    รศ.ดร.วิชัย ชำนิ อธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ

       อาจารย์สายพิณ วิไลรัตน์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยทักษิณ

         ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

         อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

         อาจารย์อัมพา อาภรณ์ทิพย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

อาจารย์วราพร ชูภักดี

 

Workshop

หลังจากจบหลักสูตรนี้..

1.      ท่านคาดหวังอะไรกับการมาอบรมครั้งนี้ 5 เรื่อง และเหตุผลคืออะไร? หลักสูตรนี้ยังขาดหัวข้อใดที่อยากเรียนเพิ่มเติม

2.      ปัญหาในงานของสายสนับสนุนที่ยังไม่สามารถแก้ได้ด้วยตัวเองมีอะไรบ้าง 3 เรื่อง อธิบาย

3.      ท่านตั้งเป้าหมายเส้นทางความก้าวหน้าในตำแหน่งของท่านไว้อย่างไร อธิบาย

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

         เคยถามตัวเองว่าประสบความสำเร็จเพราะอะไร เพราะมีคนสายสนับสนุนช่วย มีผลการวิจัยจากต่างประเทศในแคลิฟอร์เนียพบว่า ความประสบความสำเร็จเกิดจากสายสนับสนุน

         1. ต้องทำหน้าที่ในการประสานงานกับมหาวิทยาลัยที่ทำงานด้านวิชาการ

         2. ต้องบริหารลูกน้องให้ได้ เพราะถ้าลูกน้องไม่มีความสุข อาจารย์จะมีความสุขได้อย่างไร

         บทบาทสำคัญที่สุดคือช่วยทั้งด้านบริหาร และด้านวิชาการ แต่ปัญหาที่สำคัญอีกอย่างคือวัฒนธรรมองค์กร ฝ่ายสนับสนุนเป็นฝ่ายที่มีบทบาทสำคัญมากที่สุดสำหรับมหาวิทยาลัยในอนาคต 

         หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรแรกที่ทำสายสนับสนุน สิ่งนี้คือ Opportunity ที่ยิ่งใหญ่

สิ่งที่ฝากไว้

1. อย่ากลัวว่าทำงานไม่สำเร็จ เพราะว่าต้องทำงานร่วมกัน ต้องจับมือกันไว้

2. อย่ามี Gap ว่า ศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์สูงกว่าเรา ต้องทำตัวแบบ Complimentary เช่นอาจารย์ทำตัวเป็นไข่ดาว เราต้องทำตัวเป็นขนมปัง และอย่าขาดความมั่นใจตนเองเด็ดขาด ต้องทำตัวให้เสมอภาค ถ้ามี Gap ตรงไหน ก็เติม

อะไรที่เป็นแก่นของความคิด ให้คิดอะไรที่เป็นแก่นของตัวเอง คือเป็น Original ไม่ต้องลอก แม้เป็น Support System ก็มีอะไรให้คิดในมุมของตัวเอง สิ่งที่อยากฝากไว้คือ Original คนสายสนับสนุนส่วนใหญ่จะรู้หมด แต่อาจขาดความมั่นใจ และต่อไปอาจจะต้องก้าวหน้ามากขึ้น

 

อาจารย์อัมพา อาภรณ์ทิพย์

         เป็นสายสนับสนุนมาที่คณะแพทย์ศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ มีหน้าที่เป็นผู้ประสานจัดอบรม เป็นผู้สังเกตการณ์ และเป็นนักเรียนหลังห้อง เพื่อติดตามประเมินผล

         กรณีของคณะแพทยศาสตร์ เริ่มเข้าสู่วัยกลางคน คนวัยบุกเบิกเริ่มทยอยเกษียณ ทุกสิ่งทุกอย่างคณะแพทยศาสตร์ ได้มีการประกันคุณภาพมาอีก มีคุณภาพการศึกษาการบริหารจัดการ องค์กร และเครื่องมือต่าง ๆ ที่เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เช่น 5 ส. TQM LEAN จึงเสมือนเป็นการเตรียมบุคลากรเข้ามาในอนาคต

         คนกลุ่ม Gen Y เป็นคนที่มีความคิดเป็นของตัวเอง ต้องถามตัวเองว่า เราให้อะไรกับ TSU ไม่ใช่ TSU ให้อะไรกับเรา

         การเตรียมผู้บริหารคือ 3 High คือ High Performance, High Original และ High Pay ต้องดูว่ามีวัตถุประสงค์อะไร และผลที่ได้เป็นตามวัตถุประสงค์มากน้อยแค่ไหน เราต้องย้อนกลับดูอีกว่าเพราะอะไร เราตั้งเป้าหมายสูงเกินไปหรือไม่ และเมื่อจบหลักสูตรต้องการให้ผู้เข้ารับการอบรมทำงานร่วมกันเป็นทีม

         จากที่เคยเข้ารับการอบรมในหลักสูตร ได้โครงการนวัตกรรม 5 เรื่องต่อรุ่น และรุ่นที่ 3 มีการเพิ่มโครงการเดี่ยวเพื่อพัฒนางาน เพื่อให้ผู้เรียนรู้วิธีการไปสู่การปฏิบัติงานให้ถูกต้อง

         การตอบโจทย์ว่าทำไมต้องเลือกทีม ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ โดยการเริ่มจากการทำ Pre-Planning ร่วมกันว่าให้คณะแพทยศาสตร์ทำอะไร ทำให้บุคลากรออกจาก Comfort Zone ตอนมาใหม่ ๆ ไม่ค่อยอยากมา เพราะไม่รู้ว่ามาแล้วได้อะไร แต่หลังจากมาแล้วได้ออกจาก Comfort Zone ได้รู้กว้างมากกว่ารู้ลึกอย่างเดียว เข้าใจคนอื่นมากขึ้น ได้มีการอ่าน Text Book มีการวิเคราะห์หนังสือ การจัดกิจกรรม มีบรรยากาศการพัฒนาบุคลิกภาพ มีการวิเคราะห์ร่วมกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน

         ประโยชน์ที่ได้ ต้องมีความยืดหยุ่นก่อน อย่าเครียด ต้องเปิดใจ ทำตัวเป็นน้ำพร่องแก้วก่อน ถ้ามีมงกุฎก็ถอดมงกุฎก่อน ให้เรียนรู้เข้าใจร่วมกัน เพื่อปฏิบัติงานร่วมกันในอนาคต ยอมรับสิ่งใหม่ ปรับเปลี่ยนวิธีคิด ไตร่ตรอง ไปประยุกต์ใช้ ทัศนคติ ถ้าสิ่งเหล่านี้นำสู่การปฏิบัติที่ดีขึ้น ทัศนคติก็เปลี่ยนเมื่อเริ่มเปลี่ยนจะนำไปสู่พฤติกรรมที่ถูกที่ใช่

         การเปลี่ยนจะทำให้เรียนรู้และคิดถึงคนอื่นเพื่อที่จะทำในสิ่งที่ต่อยอดต่อไป

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

         หลักสูตรนี้เป็นแบบของท่านผู้จัดการวิชาการ ท่านได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์มากว่า 40 ปี ได้เก็บเกี่ยวกรณีศึกษาเพื่อไม่ต้องให้แต่ละท่านมาเริ่มนับหนึ่งใหม่

         สายวิชาการเหมือนไข่ดาว สายสนับสนุนเหมือนขนมปัง สมัยก่อนไข่ดาวคือวิชาการ ทำของตัวเองไป ในยุค 4.0 ไม่ใช่การเชื่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่ต้องยกสายสนับสนุนเพื่อทำให้เห็นว่าจะพัฒนาไปอย่างไร เพราะสายสนับสนุนเป็นเสมือนผู้เก็บข้อมูล และสามารถสะท้อนกลับในสายวิชาการได้ ขณะเดียวกันสายสนับสนุนจะต้องเป็นผู้ลำเลียงสิ่งต่าง ๆ ในการบริหารจัดการให้เกิดประสบความสำเร็จได้ คือ ระบบกับคนต้องไปด้วยกัน

         งานสรรหาต้องบริหารจัดการและต้องพัฒนาให้คนในระบบพัฒนามหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ ในเรื่องของคน ต้องมีการพัฒนา เรื่องที่หนึ่งคือต้องปลูก คือการพัฒนาคน การปลูกคือสิ่งที่เมื่อเราอยู่นาน ๆ ดินจะแข็ง

         การปลูกวันนี้คือการพรวนดินท่าน ให้ดินมี Fresh Air มีอากาศใส่ลงไป เหมือนปุ๋ย แล้วการที่เป็นเชิงลึกจะเกิดเป็นฉลาดกว้าง

         นอกจากปลูกแล้วต้องเก็บเกี่ยวให้เกิดเป็น Productivity คือไม่ให้คิดคนเดียว ทำคนเดียว

         ในมหาวิทยาลัย ต้องศึกษาบริบทก่อนที่เข้ามานั่ง

 

อาจารย์สายพิณ วิไลรัตน์ 

         ขอขอบคุณทุกท่าน ทีมที่มาวันนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารหลายท่านแล้ว เป็นมืออาชีพแล้ว และมีรุ่นน้องที่น่าจะเป็นกำลังสำคัญของมหาวิทยาลัย

         การสรรหา เอาคนมาในระบบไม่ยาก แต่การเข้ามาในระบบ การบ่มเพาะคนในองค์กรให้เป็นคนของ TSU ทำเพื่อองค์กร รักองค์กร วัฒนธรรมองค์กร ค่านิยมองค์กรถือเป็นเรื่องใหญ่ ปัญหาที่สำคัญในมหาวิทยาลัยทักษิณ สิ่งที่เห็นตลอดคือการเตรียม Successor ในอนาคต สายสนับสนุนก็เหมือนกัน การสรรหาคนไม่ได้เตรียมคนมาก่อนว่าจะต้องผ่านอะไรมาบ้าง ดังนั้นวิชาการที่รู้ลึกและโง่กว้างเป็นสิ่งสำคัญมาก ดังนั้นโครงการที่ทำขึ้นมา และโครงการเตรียมผู้บริหารขึ้นมา มีบ้างที่คนเตรียมไว้ในกล่องแต่ไม่ถูกเลือกมาก็เป็นไปได้ จึงเน้นที่การสร้างระบบ กระบวนการพัฒนา เพื่อให้องค์กรยั่งยืน รวมทั้งสายสนับสนุนด้วย เนื่องจากความรู้ที่เข้ามาเรียนนี้ ไม่สามารถหาอ่านได้ในหนังสือ การเตรียมรุ่นน้องเพื่อเตรียมพร้อมเวลารอรุ่นพี่เกษียณ

         สิ่งที่อยากจะฝากในเรื่องระบบของม.ทักษิณ ความก้าวหน้าในสายบริหาร มีวาระ มีความก้าวหน้าทางวิชาชีพ อยู่เป็นแค่สายบริหารไม่ได้แล้ว แต่ผู้บริหารมีจำนวนจำกัด ดังนั้นจึงอย่าคิดว่าจะก้าวขึ้นเป็นผู้บริหารอย่างเดียว แต่สามารถก้าวสู่สายอาชีพ สายวิชาการได้ มีการทำระบบค่างานกลางที่คนสามารถขึ้นไปได้ อยากเห็นสายสนับสนุนเรียนรู้เพิ่มเติมว่าทำอย่างไรที่สายสนับสนุนจะขึ้นมาเป็นผู้บริหารได้ ต้องมีความเป็นมืออาชีพ เพราะความเป็นมืออาชีพจะช่วยในฝ่ายบริหาร อยากให้รุ่นน้องที่เข้ามาเรียนรู้ สามารถเรียนรู้จากรุ่นพี่ได้ และอยากให้รุ่นพี่ทำตัวเป็นน้ำไม่เต็มแก้วเพื่อเติมเต็มไปเรื่อย ๆ

         ฝากเรื่องความเป็นมืออาชีพ และการเตรียมคนเป็น Successor ในอนาคตได้ นั้น ดังนั้น หน้าที่คือต้องเตรียมสอนงานและโค้ชงานรุ่นน้อง พัฒนาคนรุ่นต่อไปให้เตรียมพร้อม ไม่เช่นนั้นจะขาดช่วงในการรับงานต่อ

         ประเทศไทย 4.0 ต้องมาดูว่างานที่เราทำอยู่เป็นอย่างไร ควรเลิกอะไร และทำอะไร อยากให้พวกเราเป็นส่วนหนึ่งของ TSU เป็นครอบครัวเดียวกัน เป็นสมาชิกที่ร่วมทำให้ครอบครัวอบอุ่น และก้าวข้ามความท้าทายให้บ้านหลังนี้น่าอยู่ให้ได้ ทำอย่างไรให้สิ่งที่อยู่ในบ้านหลังนี้ ผลิตภัณฑ์ในบ้านหลังนี้ตอบสนองต่อผู้ใช้บริการ หรือผู้เรียนได้ด้วย สิ่งที่ควรคำนึงคือต้องดูว่าลูกค้าต้องการอะไร สิ่งทีคือ Key Customer , Key Stakeholder เป็นอย่างไร อย่าเอาตัวเราเป็นตัวตั้ง แต่ให้เอาตัวเขาเป็นตัวตั้ง ทุกคนต้องช่วยกันในมหาวิทยาลัย

         ความเป็นนานาชาติเป็นจุดอ่อนอย่างหนึ่งของมหาวิทยาลัย แต่เราไม่มีไม่ได้ เพราะเกณฑ์ของ สกอ.ปี 2558 ให้ดูคะแนนภาษาอังกฤษด้วย ดังนั้นคนใหม่ที่จะเข้ามาที่มหาวิทยาลัยต้องผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษด้วย ส่วนคนเก่าก็ให้พัฒนาภาษาอังกฤษด้วย ให้มองที่เจตนาเพื่อการพัฒนา ดังนั้นความคิดเชิงบวกเป็นเรื่องสำคัญ ในฐานะหัวหน้า การสื่อสาร การสร้างความเข้าใจให้คนเข้าใจองค์กร เป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่สำคัญ แต่สายสนับสนุนอาจไม่ต้องถึงขั้นชี้นำองค์กร เพียงแค่สนับสนุนให้ประสบความสำเร็จ

         การสื่อสารทำความเข้าใจ ต้องให้ผู้บริหารสื่อสารทำความเข้าใจให้ถูกต้อง ให้สายสนับสนุนช่วยกำกับติดตามในบางเรื่องและต้องช่วยในการพัฒนาต่อไป

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

         1 หลักสูตรนี้ทำเป็น Flow คือกระบวนการแนวนอนที่มีการวางแผนกับท่านอธิการบดีและรองอธิการบดีไว้ และในวันนี้ได้มา Execute 10 วัน

         2. หลังจากจบหลักสูตรนี้แล้วเราต้องเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ หลักสูตรนี้มีอะไรแตกต่างจากหลักสูตรอื่น อยากให้คิดร่วมกันว่าการลงทุนครั้งนี้จะประสบความสำเร็จอย่างไร และพร้อมที่จะเปลี่ยนแต่ละคนไม่มากก็น้อย

         3. ต้องเตรียมตัวและวางแผนให้ดี และถ้าไม่เข้าใจอย่าเก็บไว้ ให้ถามเพื่อน เพราะถ้าเราไม่เข้าใจ เราจะไม่สนุกกับมัน เมื่อไหร่ก็ตามที่ตั้งใจเรียน ให้ถามเพื่อน และถามคนที่มาด้วย

         4. สภาพแวดล้อม เรื่องสังคม เรื่องผู้สูงอายุ เรื่องดิจิตอล ท้ายสุดแต่ละท่านต้องมองเรื่อง Macro ด้วยต้องรู้ว่าเราขับเคลื่อนด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป จุดแข็งที่นี่คือศิลปวัฒนธรรม แม้ TSU ไม่ใช่อันดับหนึ่งของภาคใต้ แต่พร้อมที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีออกไป



        สิ่งที่จะฝากไว้ในหัวข้อการเรียนรู้

         เราต้องแยกระหว่าง Happy at Work กับ Happy Workplace ให้ได้ คือฝ่ายสนับสนุนต้องทำงานโดยมี Passion มี Purpose และมี Meaning เพราะในเมืองนอกนั้นมองเรื่อง Happy Workplace เป็นหลัก

         ในหัวข้อดิจิตอลอยากให้แต่ละท่านไปดู Stakeholder ดูชุมชน ดูนักเรียนว่ามีการเชื่อมโยงกับเราหรือไม่ สมาร์ทโฟนเราต้องฝึกก่อน แล้วเราต้องมองไปข้างนอก ในลักษณะ Blue Ocean ให้เราร่วมมือกัน และมีฝ่ายสนับสนุนร่วมด้วย เพราะยังมีตลาดอีกมากรวมถึงต่างประเทศด้วย เพราะโลกของเราไร้พรมแดน ให้มีการถกเถียงกัน

         การสื่อสารภายในและการสื่อสารข้างนอก ทั้งในองค์กรและข้างนอก ซึ่งหมายถึงการสร้างแบรนด์ TSU ในอนาคตด้วย


สรุป

1. การเรียนครั้งนี้ประกอบด้วย Chira Way คือ Learning how to learn คือคิดร่วมกัน ประกอบด้วยคิดตามความเป็นจริง ตอนนี้อยู่ตรงไหน จะไปไหน จะทำให้ประสบความสำเร็จอย่างไร

2. ค้นหาตัวเองว่าคุณค่าของแต่ละท่านที่อยู่ที่ TSU เพื่ออะไร คือเราจะมีส่วนร่วมในการทำให้มหาวิทยาลัยทักษิณเป็นเลิศได้อย่างไร 

         - โอกาสคืออะไร

         - อุปสรรคคืออะไร

         - เราจะใช้จุดแข็งของเราอย่างไร และให้ผลักดันออกมา 

         - อย่าทำงานคนเดียว

3. Chira Way คือ Process ที่กระตุ้นให้คิดร่วมกันภายใต้ทฤษฎี 2 R’s คือ Reality และ Relevance ประเด็นหลักคืออะไรที่เราต้องแก้ปัญหาให้เราหลุดพ้นไปได้

 

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. ในหลักสูตรที่เราจะมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์มีเรื่องเทคนิควิธีการต่าง ๆ แต่ในเรื่องที่เราประสบอยู่คือสภาพแวดล้อมในพื้นที่ มีเรื่องกระบวนการในที่อื่นอาจไม่ใช่ที่นี่

         ตอบ สิ่งที่พูดจะพูดในบริบทภาคใต้ ให้คนที่นี่พูดจากผู้ที่ประสบปัญหาและเกี่ยวข้องอย่างแท้จริง

 

2. เชื่อว่าหลักสูตรนี้เป็นสิ่งที่ดีเหมาะกับพวกเรา ในเรื่องภาวะผู้นำในห้องนี้เชื่อว่ามี แต่การใช้จริงในระบบราชการ เราได้แนวคิดที่ดี แต่เราเป็นผู้บริหารระดับต้น คือต้นอยู่ในระดับโคน การนำไปใช้ได้จริงจะใช้อย่างไรในเมื่อผู้บริหารระดับบนไม่ได้มีมุมมองแบบเดียวกัน

         ตอบ วิชานี้ไม่ได้สอนผู้นำในตำแหน่งบังคับบัญชา อย่างคนในห้องนี้ถึงไม่มีตำแหน่งก็มีคุณค่าได้ หมายถึง มีความสามารถในการศรัทธาให้คนอื่นเชื่อหรือไม่ แต่สงครามนี้เป็นสงครามยืดเยื้อ ไม่ใช่จบไปแล้วไปใช้ทันที ต้องค่อย ๆ ซึมเรื่อย ๆ ปรับพฤติกรรมเรื่อย ๆ และนำไปปรับใช้ อะไรที่ยิงไปในสมองจะสามารถนำไปใช้ได้ ผู้นำไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่ง แต่ต้องมีประสบการณ์ในการนำไปใช้ได้


Workshop

หลังจากจบหลักสูตรนี้..

1. ท่านคาดหวังอะไรกับการมาอบรมครั้งนี้ 5 เรื่อง และเหตุผลคืออะไร? หลักสูตรนี้ยังขาดหัวข้อใดที่อยากเรียนเพิ่มเติม

2. ปัญหาในงานของสายสนับสนุนที่ยังไม่สามารถแก้ได้ด้วยตัวเองมีอะไรบ้าง 3 เรื่อง อธิบาย

3. ท่านตั้งเป้าหมายเส้นทางความก้าวหน้าในตำแหน่งของท่านไว้อย่างไร อธิบาย

 

กลุ่มที่ 5

หลังจากจบหลักสูตรนี้..

1.      ท่านคาดหวังอะไรกับการมาอบรมครั้งนี้ 5 เรื่อง และเหตุผลคืออะไร? หลักสูตรนี้ยังขาดหัวข้อใดที่อยากเรียนเพิ่มเติม

         1. เอาองค์ความรู้ที่ได้ไปเป็นผู้นำที่ดีตัวอย่างที่ดีขององค์กร ได้รับการยอมรับ 360 องศา

         2. การบริหารการทำงานเป็นทีม เพราะว่าทีมงานเป็นตัวที่เป็นฟันเฟืองนำไปสู่การเอาชนะอุปสรรคเพื่อไปสู่เป้าหมายได้

         3. การลดความขัดแย้ง และจะใช้วิธีอะไรเพื่ออุดช่องโหว่เหล่านั้น ดังนั้นการทำงานเวลาเป็นสายทีม ผู้นำต้องใช้กลยุทธ์วิธีการแก้ปัญหาช่องโหว่ตรงนั้น

         4. การสร้างพลังเชิงบวกในการทำงาน สร้างพลังให้กับตนเอง ให้หน่วยงานขึ้นสู่จุดหมายปลายทางสู่ความเป็นเลิศ

         5. การบริหารงานมุ่งสู่ผลลัพธ์ จะมีกลยุทธ์อย่างไรในการนำวิธีการต่าง ๆ เพื่อเข้าสู่เป้าหมายที่วางไว้

หัวข้อที่อยากเรียนเพิ่มเติม

         การบริหารอบรม บริหารเจ้านาย อยากให้มีการสื่อสารเข้าใจตรงกันทั้งในระดับบนและระดับล่าง เพราะการถ่ายทอดเป็นสิ่งสำคัญ

 

2. ปัญหาในงานของสายสนับสนุนที่ยังไม่สามารถแก้ได้ด้วยตัวเองมีอะไรบ้าง 3 เรื่อง อธิบาย

1.   เจตคติ และทัศนคติที่สายวิชาการมีต่อสายสนับสนุน ยังมี Gap อยู่

2.   ความขัดแย้งบุคลากรในองค์กร

3.   กฎระเบียบที่ยุ่งยาก

 

3. ท่านตั้งเป้าหมายเส้นทางความก้าวหน้าในตำแหน่งของท่านไว้อย่างไร อธิบาย

การตั้งเป้าหมายความก้าวหน้าไว้อย่างไร ทุกคนฝันคล้ายกัน แต่ระยะเวลาที่จะไปต่างกัน เราต้องเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ต้องเป็นที่ยอมรับทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานถึงจะประสบความสำเร็จตามที่ฝันไว้

 

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

         มีหนังสือเรื่องการบริหาร Boss มาก จะบริหารคนในองค์กรอย่างไร เพราะมีคนที่เป็นคนไม่สมประกอบอยู่บ้างที่เป็นพิษในองค์กร

 

 

กลุ่มที่ 4

หลังจากจบหลักสูตรนี้..

1. ท่านคาดหวังอะไรกับการมาอบรมครั้งนี้ 5 เรื่อง และเหตุผลคืออะไร? หลักสูตรนี้ยังขาดหัวข้อใดที่อยากเรียนเพิ่มเติม

   1. อยากนำเนื้อหาในหลักสูตรไปใช้ในการทำงาน

   2. ปรับบุคลิกภาพผู้นำ

   3. การปรับทัศนคติทางกระบวนการความคิด เมื่อได้รับมอบหมายงานแล้ว งาน 1 ชิ้นจะต่อยอดอย่างไร

   4. สร้างแรงบันดาลใจตัวเองให้เป็นผู้มีวิสัยทัศน์

   5. เป็นที่รักและเป็นที่ปรึกษาให้เพื่อนร่วมงาน

   6. สามารถนำพาหน่วยงานก้าวข้ามความท้าทายได้

หัวข้อที่อยากเรียนเพิ่มเติม

   การพัฒนาบุคลิกภาพ เทคนิคในการสร้างแรงจูงใจในการทำงานกับเพื่อนร่วมงาน อยากรู้เทคนิคว่าทำอย่างไรเพื่อน ๆ อยากให้มาช่วยงาน

 

2. ปัญหาในงานของสายสนับสนุนที่ยังไม่สามารถแก้ได้ด้วยตัวเองมีอะไรบ้าง 3 เรื่อง อธิบาย

   1. การสื่อสารในองค์กร ไม่ครบตลอดเส้นทาง จากบนลงล่าง และล่างไม่ถึงบน

   2. ข้อมูลไปไม่ครบ

   3. การกำหนดกลยุทธ์และวิธีการเพื่อความก้าวหน้าและความท้าทายของหน่วยงาน ความรับผิดชอบงานในหน้าที่ที่ลักษณะงานไม่สอดคล้องกับบุคลิกภาพ ความรู้ หรือตำแหน่งเรา ทำให้งานมีปัญหาไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ ไม่มีความถนัดโดยเฉพาะ

   4. ไม่สามารถผลิตนวัตกรรมการทำงานที่เป็นที่ยอมรับได้ในการแก้ปัญหา เช่นการลดงาน ลดเงื่อนไขที่ทำให้งานคล่องตัวมากขึ้น แต่ในทางปฏิบัติติดระเบียบ และกฎคล้ายราชการ

 

3. ท่านตั้งเป้าหมายเส้นทางความก้าวหน้าในตำแหน่งของท่านไว้อย่างไร อธิบาย

   1. อยากเป็นรองอธิการบดี อยากบริหารแบบนี้

   2. อยากพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมที่มหาวิทยาลัยเกิดประโยชน์และนำไปใช้จริง

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

         เราอาจไปลดลงในส่วนที่เป็นSoft Skill เสริมเรื่องเทคนิคในการสร้างแรงจูงใจ คือ Moment บางอย่างที่กระโดดข้ามในบางสิ่งที่จัดไป ในอนาคตอาจมีคนมาพูดเรื่อง Passion คือความหลงใหลในงานที่ทำ Passion ประกอบด้วย 3 เรื่องคือ 1.ทำด้วยความตื่นเต้น 2.งานมีเป้าหมาย 3. งานมีความหมาย 

         สิ่งที่เราทำคือการสร้างให้เกิดความมั่นคงในอนาคตและเน้นเรื่องการสร้างความยั่งยืนในระยะยาว

 

กลุ่มที่ 3

หลังจากจบหลักสูตรนี้..

1. ท่านคาดหวังอะไรกับการมาอบรมครั้งนี้ 5 เรื่อง และเหตุผลคืออะไร? หลักสูตรนี้ยังขาดหัวข้อใดที่อยากเรียนเพิ่มเติม

   1. น่าจะเป็นดินที่แข็งมาระยะหนึ่งแล้ว และในช่วง 10วันนี้ ดร.จีระสามารถขุดดินที่แข็งให้ร่วนขึ้นเพื่อได้ปลูกพืช รดน้ำให้ออกดอกออกผล

   2. สร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งในการทำงาน สร้างให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็งมากขึ้น

   3. ได้มุมมองคิดนอกกรอบในการทำงาน โดยส่วนตัวสนใจโครงการนวัตกรรม

   4. พัฒนาตนเองให้รองรับกับการทำงานกับบุคลากรทุกระดับ

   5. ได้แนวคิด เทคนิคใหม่ในการทำงาน

หัวข้อที่อยากเรียนเพิ่มเติม

   อยากให้บุคลากรมี Service Mind มากขึ้นแบบรูปแบบการทำงานเอกชนที่พนักงานรู้สึกรักองค์กรและมี Service Mind อีกเรื่องคือจิตวิทยาการสื่อสารให้ทุกคนเห็นเป้าหมายร่วมกัน

 

2. ปัญหาในงานของสายสนับสนุนที่ยังไม่สามารถแก้ได้ด้วยตัวเองมีอะไรบ้าง 3 เรื่อง อธิบาย

   1. ทัศนคติในการทำงานในสายวิชาการและสายสนับสนุน หลายมหาวิทยาลัยยังมีช่องว่างและ Gap อยู่

   2. วัฒนธรรมองค์กรที่ทำให้คนทำงานได้เต็มศักยภาพ น่าจะเรียนรู้การทำงานแบบเอกชน

   3. ความหลากหลายของคนหลายรุ่นในองค์กรที่จะจูนการทำงานร่วมกันได้ คนเป็นผู้บริหารสายสนับสนุนที่อายุน้อยกว่าจะบริหารงานได้อย่างไร

 

3. ท่านตั้งเป้าหมายเส้นทางความก้าวหน้าในตำแหน่งของท่านไว้อย่างไร อธิบาย

   ตำแหน่งวิชาชีพและตำแหน่งทางบริหาร ขึ้นเป็นชำนาญการ หรือชำนาญการพิเศษ หรือเป็นอยู่แล้วก็จะเป็นพี่เลี้ยง หรือคนที่เป็นผู้บริหาร ก็จะเป็นโค้ชช่วยประคับประคองคนให้ขึ้นตำแหน่ง และเมื่อมีศักยภาพจะต้องพัฒนาคณะและมหาวิทยาลัยได้เต็มศักยภาพ

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

   ระบบ California System จะมีสายสนับสนุนขึ้นเป็นผู้บริหารได้ ศักดิ์ศรีต้องไม่ต่ำกว่าอาจารย์ด้วย


กลุ่มที่ 2

หลังจากจบหลักสูตรนี้..

1. ท่านคาดหวังอะไรกับการมาอบรมครั้งนี้ 5 เรื่อง และเหตุผลคืออะไร? หลักสูตรนี้ยังขาดหัวข้อใดที่อยากเรียนเพิ่มเติม

1. เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย และหวังว่าจะปรับทัศนคติของตนเองให้มีความพร้อมที่จะทำงานให้กับมหาวิทยาลัย และจะส่งต่อพลังให้สายสนับสนุน มีวัฒนธรรมที่คิดทำอะไรเพื่อมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น

2. โอกาสในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน เสริมาจุดแข็ง ลดจุดอ่อน เปลี่ยนวัฒนธรรมในการมองมหาวิทยาลัยในภาพรวมมากขึ้น มีจุดแข็ง จุดอ่อน จะเสริมกัน มุ่งสู่ความเป็นเลิศ รวมพลัง สร้างทีม สร้างสายสนับสนุนเป็นมืออาชีพ มีความสุขในการทำงาน และสร้างความผูกพันในองค์กร

3. สร้างเครื่องมือและนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ นำแนวคิดมาปรับใช้ให้เข้าสู่ E-Office 

4. ผู้เข้าร่วมเห็นความสำคัญ และริเริ่มโครงการสมรรถนะสากลเพื่อเข้าสู่ความเป็นนานาชาติมากขึ้น ต้องปรับตัวเองให้มีสมรรถนะที่เทียบเคียงคู่แข่งได้ โดยสายสนับสนุนต้องพัฒนาขึ้นมา และขอบคุณในการพัฒนาภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาศักยภาพตรงนี้

หัวข้อที่อยากเรียนเพิ่มเติม

   เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ การพัฒนาบุคลิกภาพผู้นำ การสร้างภาพลักษณ์องค์กร

 

2. ปัญหาในงานของสายสนับสนุนที่ยังไม่สามารถแก้ได้ด้วยตัวเองมีอะไรบ้าง 3 เรื่อง อธิบาย

   1. การมอบหมายคนไม่ตรงกับ งานอาจต้องมีการวิเคราะห์หน่วยงานย่อย หน่วยงานใหญ่ มีการRotate งาน ให้คนได้ทำงานอย่างเหมาะสม

   2. พัฒนาสมรรถนะหลักของบุคลากร

   3. ขาดแรงจูงใจในการพัฒนาบุคลากร ต้องมีการสร้างแรงจูงใจในการสนับสนุนมากขึ้น

 

3. ท่านตั้งเป้าหมายเส้นทางความก้าวหน้าในตำแหน่งของท่านไว้อย่างไร อธิบาย

   เป็นผู้บริหารงานในสายสนับสนุนอย่างมืออาชีพ มีความเป็นผู้ชำนาญอย่างมืออาชีพ คือมีความสามารถในงานและการบริหาร

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

   ขอให้สายสนับสนุนขยายไปที่ Stakeholder ข้างนอก ท่าที่ของมหาวิทยาลัยจะรอจากอาจารย์อย่างเดียวไม่ได้ ต้องคำนึงถึงท่าที่ในการไปร่วมงานกับคนอื่น ว่าจะมีลักษณะอย่างไร การตัดสินใจให้มีการอบรมในสายสนับสนุนโดยอธิการบดี และรองอธิการบดี ถือเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ และดีมากในการดึงสายสนับสนุนเข้ามาเรียน

   

 

กลุ่มที่ 1

หลังจากจบหลักสูตรนี้..

1. ท่านคาดหวังอะไรกับการมาอบรมครั้งนี้ 5 เรื่อง และเหตุผลคืออะไร? หลักสูตรนี้ยังขาดหัวข้อใดที่อยากเรียนเพิ่มเติม

   ทำงานมา 23 ปี รู้สึกตื้นตันที่มีการจัดโครงการฯ นี้เป็นครั้งแรก และคาดว่าจะมี รุ่นที่ 2,3,4 เพิ่มขึ้น จำเป็นต้องมี

   1. ดินไม่ค่อยแข็ง แต่เป็นดินร่วนแต่แรก วันนี้จะมาเติมปุ๋ย ดร.จีระให้เติบโตมากขึ้น ความคาดหวัง มีประสบการณ์ ความรู้ระดับหนึ่ง อยากเพิ่มแนวคิดในการบริหารจัดการที่ทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

   2. ได้เรียนรู้จากต้นแบบและประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จด้วย ที่จะพาไปดูเพื่อนำมาปรับใช้ในการทำงาน

   3. การเรียนรู้เรื่องการปรับทัศนคติ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือทัศนคติ การปรับทัศนคตินิดหนึ่งจะส่งผลต่อการทำงานในการทำงานของเราด้วย

   4. การทำงานให้เกิดสังคมการเรียนรู้ และเครือข่ายที่ยั่งยืน เรียนรู้ตลอดชีวิต ให้เรียนรู้อย่างไรให้ยั่งยืน เรียนรู้ให้เนียนกับเนื้องาน เรียนรู้ในหน่วยงานและองค์กรของเรา

   5. ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานทุกระดับ

หัวข้อที่อยากเรียนเพิ่มเติม

   การบริหารต้นทุนเพื่อเพิ่มผลิตภาพ มีต้นทุนจำนวนมากในมหาวิทยาลัย ต้นทุนทีสำคัญทีสุดคือต้นทุนเรื่องคน เมื่อเราเห็นความสำคัญเรื่องคน คนพัฒนาแล้วจะนำไปสู่การพัฒนาองค์กร เพื่อการพัฒนาองค์กรที่ยั่งยืนมากขึ้น

   การบริหารเป้าหมาย จะทำอย่างไรให้เป้าหมายที่เราตั้งประสบความสำเร็จตามที่คาดหวัง มีการบริหาร ติดตาม ประเมินผลสู่เป้าหมายตรงนั้น

   การสร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นในการทำงาน ให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการทำงาน ทำอย่างไรให้ปรับเปลี่ยนความคิดไปสู่การทำงานในอนาคตเพื่อให้เป็นประโยชน์กับเรามากขึ้นในอนาคต

 

2. ปัญหาในงานของสายสนับสนุนที่ยังไม่สามารถแก้ได้ด้วยตัวเองมีอะไรบ้าง 3 เรื่อง อธิบาย

   1. ม.ทักษิณ ตั้งใจเป็น E-University แต่ละส่วนมาจากมิติมุมตัวเอง แม้อยากใช้ข้อมูลร่วมกันแต่ใช้ร่วมกันไม่ได้ จะทำอย่างไรให้ระบบดำเนินการให้ทุกอย่างอยู่ในระบบเดียวกัน

   2. ความคาดหวังคุณภาพไม่สอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด ทำอย่างไรให้ไปด้วยกันและใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากสุด

   3. โลกเปลี่ยนไป การวางแผนและการเตรียมการปรับแผนใหม่ กระทบกับเราโดยตรง ดังนั้นทำอย่างไรถึงจะยอมรับการเปลี่ยนแปลง และการปรับตัวเพื่อพัฒนา

 

3. ท่านตั้งเป้าหมายเส้นทางความก้าวหน้าในตำแหน่งของท่านไว้อย่างไร อธิบาย

   การขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น สิ่งเหล่านี้ต้องเตรียมตัวความพร้อมทั้งตัวเอง และมหาวิทยาลัยที่ต้องเตรียมความพร้อมรับความก้าวหน้าด้วย

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

   ต้นทุนไม่ใช่แค่ค่าสอน ค่ากาแฟ แต่เป็นต้นทุนค่าเสียโอกาส เช่น ต้นทุนที่แต่ละท่านไม่ได้ทำงาน ซึ่งถ้าได้ผลประโยชน์มากกว่าที่เสียไปก็จะคุ้ม ทุกอย่างอยู่ที่ว่า Benefit มากกว่า Cost หรือไม่ ไม่ได้เกี่ยวว่าถูกหรือแพง คือมองว่า Benefit ว่าตัวคุณได้ประโยชน์ก็จบ ครูแบบเราต้องมีประสบการณ์มหาศาล ซึ่งถ้าทุกคนเห็นคุณค่าอย่างนี้จะมีประโยชน์มาก อย่างในอนาคตอาจมีการเสริมเรื่องการเงิน หรือหาความรู้ด้วยตนเองมากขึ้น

 

อาจารย์อัมพา อาภรณ์ทิพย์

         ที่พูดมาถูกต้องทั้งหมด มีบางส่วนที่เราต้องแก้เอง บางส่วนต้องเป็นผู้บริหารแก้

         1. การเป็นผู้นำที่ดี ต้องเป็นผู้นำแบบ 360 องศา คือเราจะเป็นผู้นำในการบริหารเมื่ออยู่กับใครอย่างไรก็ได้

         2. การบริหารแบบมุ่งผลลัพธ์ เราต้องดูว่าเราตอบสนองได้ระดับไหน เราต้องทำงานเป็นทีม ไม่ใช่คนทีม แต่การตั้งเป้าหมายของเราต้องเป็นการตั้งเป้าหมายที่ทำได้แบบเขย่ง ๆ คือทำได้แบบท้าทายแต่อย่าสูงเกินไป

         3. สายสนับสนุนในปัจจุบันมีการพัฒนามากขึ้น จะเหมือนในอดีตไม่ได้ อย่างในอดีตผู้บริหารขี่จรวด แต่สายสนับสนุนนั่งเกวียนไม่ได้ ต้องมีการพัฒนาด้วยกัน ไม่สามารถทำสายวิชาการ หรือสายสนับสนุนอย่างเดียวได้สำเร็จ ต้องทำงานควบคู่กัน เช่นเดียวกับหมอและพยาบาลต้องทำงานควบคู่กัน ในปัจจุบันสายวิชาการเข้าใจสายสนับสนุนมากขึ้น

         4. การปรับปรุงบุคลิกภาพ ต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาตนเอง ต้องวิเคราะห์ว่าตัวเองมีจุดเด่น จุดด้อยอะไร และต้องมีกัลยาณมิตรคอยชี้แนะ แล้วเราต้องปรับปรุงตนเอง หรือองค์กรก็สามารถช่วยได้

         5. ทีม การทำงานเป็นทีม หัวหน้าทีมต้องเลือกดรีมทีมของตัวเอง คนที่เป็นหัวหน้าทีมต้องเลือกดรีมทีมที่คุยกันรู้เรื่อง แต่ไม่ใช่เห็นพ้องตามเราทุกอย่าง ต้องมีคนเห็นต่างด้วย และทุกความเห็นหล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียว

         6. การสื่อสาร ต้องมีการคุยรู้เทคนิคในการสื่อสารอย่างไร เวลาสถานที่ช่องส่งต้องเชื่อมโยงกัน

         7. การทำงานต้อง Put the right man on the right job ต้องดู Competency ดู Job Description บางคนที่เก่งแล้วอาจมีการมอบหมายเป็น Job Assignment

         8. การสร้างผลงานนวัตกรรม ในอดีตมองเห็นว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แต่ในวันนี้นวัตกรรมเป็นกระบวนการหรือ Input ได้ ยกตัวอย่าง Kaizen คือเปลี่ยนแล้วดี เปลี่ยนจากเดิม ทำแบบใหม่ แล้วลดขั้นตอน และ Flow ของงาน งานบางงานอาจทำควบคู่กันได้ไม่ต้องเรียงกัน อย่างไรก็ตามต้องเข้าใจว่าเป็นนวัตกรรมกระบวนการ ผลลัพธ์ หรือปัจจัยนำเข้า และนวัตกรรมจะยั่งยืนได้ก็ต้องผ่านวงจรคุณภาพ 2 รอบ

         9. เป็นดินที่แข็งระยะหนึ่งแล้ว ถ้าผ่านการใส่ปุ๋ยจะเป็นดินร่วน หวังเป็นเช่นนั้น เช่นเดียวกับคณะแพทย์

         10 เป้าหมายเป็นได้ทั้งวิชาการ และบริหาร อย่างไรก็ตาม องค์กรต้องมีการวางแผนด้วย ต้องมีการเลือกเอาระหว่าง Career Path ระหว่างฝ่ายวิชาการและบริหาร อย่างฝ่ายวิชาการสามารถติดตัวได้ตลอด

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

         ทั้ง 5 กลุ่มทำออกมาแล้วตรงกันสรุปได้ว่าสิ่งที่คาดหวังไปเกิดการพัฒนา

         1. ต้องการสร้างภาวะผู้นำให้เกิดขึ้นกับตัวเอง ซึ่งตรงนี้เป็นหัวใจที่ท่าน อธิการบดี รองอธิการบดี ดร.จีระ และฝ่ายวิชาการคิดร่วมกัน หลายคนที่เป็นคนเก่งสื่อสารไม่ได้ ไม่กล้าสื่อสาร ดังนั้นการสร้างภาวะผู้นำ กระบวนการ ดร.จีระ สร้างได้แน่นอน ภาวะผู้นำไม่สามารถสร้างได้ 1 วัน แต่เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้ที่สะสมเป็นเวลานาน กระบวนการจะดึงจุดเด่นขึ้นมา

         เราจะเป็นผู้นำไม่ได้ถ้าไม่กล้าหาญ และจะกล้าหาญไม่ได้ถ้าไม่มีความมั่นใจ

         ผู้นำบางคนอาจเป็นภาวะผู้นำตามธรรมชาติ ซึ่งเกิดขึ้นจากความกดดันในการผลักดันขึ้นมา กระบวนการ ดร.จีระ จึงเป็นกระบวนการเรียนรู้แบบนิเวศวิทยา คือสอนเรื่องคนและสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งแวดล้อมของ TSU ของภาคใต้ที่มากระทบกับแต่ละท่าน

         ระบบนิเวศวิทยาในกระบวนการนี้ คือสิ่งที่มองไม่เห็นในหลักสูตรนี้จะทำให้เห็นการสังเกต มากขึ้น เป็นระบบที่เสริมให้ตัวเราดีขึ้นเก่งขึ้น มีความรู้มากขึ้น

         2. มีกระบวนการวิธีการในการพัฒนางานตนเอง มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน หลายกลุ่มพูดเรื่อง Change ไม่ได้มองที่สายสนับสนุนอย่างเดียว ด้วยความตั้งใจที่อยากจะก้าวหน้า จะมองเห็นลู่ทางใหม่ ๆ และแม้ไม่อยู่ในสถาบันนี้จะเป็นกำลังสำคัญของสถาบัน ถ้าเป็นสายสนับสนุนจะต้องหาอะไรที่โดดเด่นอย่างหนึ่งที่ทำให้สายวิชาการมอง

         3. มีความรู้สดใหม่แบบ 360 องศา คือทฤษฎีแนวนอน เป็นความรู้ที่บางครั้งไม่ต้องหาเอง แต่เป็นความรู้ที่ฝ่ายวิชาการหาให้ได้อยู่แล้ว

         4 . ยกระดับการทำงานให้เป็นมาตรฐานสากล Benchmark แสดงถึงว่ารู้ว่าตัวเองมีจุดแข็ง จุดอ่อนอย่างไร เรารู้จักความหลากหลายอะไรบ้าง

         5. E- University อย่างไรก็ต้องไป

         6. การบริหารจัดการทีม และการสร้างเครือข่าย มีวิธีการในการปรับบทบาทหน้าที่ให้แต่ละฝ่ายสนับสนุน ซึ่งถ้าหลายครั้งมองว่าไม่ดี แต่คนส่วนมากดี หน้าที่ของเราที่อยู่ในทีมคือทำให้เด่นขึ้นมา

         7. สร้างแรงบันดาลใจ สร้างพลังในการทำงานต่อเนื่อง มีความสุข มี Productivity Happy workplace กับ Happy at work ไปด้วยกัน

         8. การบริหารจัดการ เข้าใจเรื่องการใช้ทรัพยากรได้คุ้มค่า ใช้คนได้อย่างบรรลุเป้าหมาย

         9. Innovation การคิดอะไรใหม่ๆ ต้องสังเกตสิ่งเก่าก่อน เช่นบางครั้งเป็นเรื่องเก่า แล้วมาต่อยอด ในเชิงนวัตกรรมสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ

         10. High Bridge การสร้างลูกผสมให้เกิดวิธีการใหม่ ๆ วันนี้เป็นเพียงการยืนยืนที่ชัดเจน

 

อาจารย์สายพิณ วิไลรัตน์

         หลักสูตรนี้ทำด้วยความตั้งใจ จากการที่นั่งฟัง 5 กลุ่มไม่ผิดหวัง ดู HR ได้ Training Need โดยไม่ได้ตั้งใจ น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างแรงบันดาลใจร่วมทำงานให้มหาวิทยาลัยต่อไป บางกลุ่มดินด้าน บางกลุ่มร่วนซุย ก็ขอให้ทำงานร่วมกันอยู่ เพื่อสร้างอนาคตให้กับมหาวิทยาลัย




วิชาที่ 2

Learning Forum& Workshop

หัวข้อ  ภาวะผู้นำทัศนคติ (Mindset) และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

โดย    ศ.ดร .จีระ หงส์ลดารมภ์

         อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

 

Workshop

1.     วิเคราะห์ความแตกต่างของผู้นำ กับ ผู้จัดการ บุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยทักษิณ ควรจะมีคุณลักษณะใดบ้างเพื่อขับเคลื่อนผลงานที่เป็นเลิศของมหาวิทยาลัย (กลุ่ม 2)

2.     วิเคราะห์คุณลักษณะของภาวะผู้นำที่พึงปรารถนาของบุคลากรสายสนับสนุนของ TSU และวิเคราะห์ตัวท่านเองว่ายังขาดและจะต้องพัฒนาในเรื่องใด? (กลุ่ม 3)

3.     ยกกรณีตัวอย่างการทำงานจริงที่ประสบความสำเร็จ 3 เรื่อง และวิเคราะห์ อะไรเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ และถอดรหัส Mindset ของความสำเร็จนั้น (กลุ่ม 4)

4.     ยกกรณีตัวอย่างการทำงานจริงที่ประสบความล้มเหลว 3 เรื่อง และถ้าจะปรับ Mindset ให้ทำงานดีขึ้นจะต้องทำอย่างไร (กลุ่ม 1)

5.     เครื่องมือในการบริหาร (Management Tools)ที่คิดว่าสำคัญต่อการทำงานในอนาคต คือออะไร 5 เรื่อง อธิบาย จะใช้ตรงจุดใด (ตามความเป็นจริง) (กลุ่ม 5)

 

หัวข้อ  ภาวะผู้นำทัศนคติ (Mindset) และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

Quotations

“Managing is doing things right ,

Leadership is doing the right things.”

Peter Drucker

ผู้นำมีทางเลือก คือต้องคุ้มค่าด้วย ส่วนผู้บริหารทำสิ่งที่ถูกกฎหมาย และถูกกฎระเบียบ

 

“Don’t tell people how to do, tell them what to do and let them surprise with results.”

George S. Patton

 

“Leadership is an art of getting someone else to do something you want because he wants to do it.”        

Dwight D. Eisenhower

34th President of the United States

ถ้าสิ่งที่ผู้นำ ลูกน้องเห็นว่าดี เห็นว่ามีคุณค่า เขาก็อยากทำ

 

“Leadership is a dealer of hope”

                            Napoleon

 

“ผู้นำส่วนหนึ่งมาจากพรสวรรค์ แต่สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้ และสามารถฝึกฝนได้”

                            จีระ หงส์ลดารมภ์

 

“The key to successful leadership is influence not authority”

                            K. Blanchard.

ผู้นำมาจากอิทธิพลในทางดีคือ Influence

ประเด็นท้าทายของมหาวิทยาลัยทักษิณในกระแสของการเปลี่ยนแปลง

1.        คุณภาพของทุนมนุษย์ – คุณภาพของการศึกษาของประเทศ

2.        ความคาดหวังและการสร้างคุณค่าให้แก่สังคม

3.        การจัดการกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

4.        ซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่แน่นอน และคาดเดาไม่ได้

5.        การพัฒนา TSU เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

6.        การพัฒนา TSU เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม

7.        การพัฒนา TSU เป็นองค์กรแห่งความสุข

8.        การจัดการกับปัญหาการทำงานร่วมกันของคนต่าง GEN

9.        การจัดการกับสิ่งที่มองไม่เห็น (Intangibles)

10.    การจัดการกับความแตกต่าง หลากหลาย (Diversity)

11.    การพัฒนาจาก Good to Great

12.    ฯลฯ

 

สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง

1.      เทคโนโลยี

2.      ความต้องการของลูกค้า

3.      พฤติกรรมของคน

4.      พฤติกรรมของสังคม

5.      Lifestyle

6.      วิธีการเรียนรู้

7.      วิธีการทำงาน

8.      นโยบายการเมือง นโยบายประชานิยม

9.      การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และ AEC

10.  โครงสร้างประชากร

11.  ฯลฯ

 

 

 

คน

ปัจเจกบุคคล

ภาวะผู้นำ

ความหลากหลายของคน (Diversity)

ทุนมนุษย์

ทักษะ ทัศนคติ ความรู้

ความสุขและความพอใจ (Passion) ในการทำงาน

เป้าหมายในการทำงาน

8K+5K มีหรือยัง

ฯลฯ

 

องค์กร

นโยบายของรัฐ

Vision ขององค์กร

สร้าง Competency เพิ่ม

กฎ ระเบียบ

วัฒนธรรมองค์กร (Learning Culture)

องค์กรต้อง Lean & Mean

แรงจูงใจ

คุณธรรม จริยธรรม

Core Value

การทำงานร่วมกัน (Teamwork)

รางวัลที่ได้รับ

ฯลฯ

 

ผลประกอบการ/ความเป็นเลิศ

ความสุขของพนักงาน

ความพอใจของลูกค้า

ROI ต่อทรัพย์สิน

Productivity ที่เพิ่ม

คุณภาพที่ดี

ยั่งยืน/สมดุล

ความสมดุลของชีวิตงาน/ครอบครัว

CSR

จิตสาธารณะ

ฯลฯ

 

  สิ่งที่ต้องคิดคือ เราและองค์กรต้องไปด้วยกันหรือไม่

 

ผู้นำกับผู้จัดการ

         ถ้าเราจะทำให้ TSU เป็นเลิศ เราต้องทำให้เป็นผู้จัดการที่ดี และเป็นผู้นำที่ดี

 

 

ผู้นำและผู้จัดการแตกต่างกันอย่างไร?

ผู้นำ

เน้นที่คน

Trust

ระยะยาว

What , Why

มองอนาคต ขอบฟ้า/ภาพลักษณ์

เน้นนวัตกรรม

Change

ผู้บริหาร

เน้นระบบ

ควบคุม

ระยะสั้น

When , How

กำไร/ขาดทุน ทุก 3 เดือน

จัดการให้สำเร็จ มีประสิทธิภาพ

Static

ผู้นำและผู้จัดการ

- คนที่เป็นผู้นำที่ดี ต้องเริ่มต้น จาก What? How? และจบที่ Why?

- แต่คนเป็นผู้จัดการที่ดี เริ่มต้นจาก What? How? แต่ไม่จบที่ Why?

 

ฝ่ายสนับสนุน

- ฝ่ายสนับสนุนจะทำอะไรให้มองที่ Demand Side ให้ดี ให้ดูคุณค่าของคุณว่าใช้ได้หรือไม่?

- ฝ่ายสนับสนุนจะอยู่ได้ ต้องมีคุณค่าทางสังคมให้เรา

- หลักสูตรนี้คือสร้างโอกาสให้เรามาพบกัน และเมื่อได้โอกาสแล้ว อย่าปล่อยโอกาสให้ผ่านไป โอกาสมาอยู่ตลอดเวลา ความสำคัญอยู่ที่ได้ฉกฉวยโอกาสได้หรือไม่ เมื่อมีโอกาสต้องเอาชนะให้ได้ ต้องแบ่งคนเป็นชนชั้น และถ้าเมื่อไหร่ติดอาวุธทางปัญญา จะเป็นประโยชน์มาก ให้แต่ละคน Self Motivation ตนเอง ทำโอกาสให้มีศักยภาพมากขึ้น

 

ชนิดของผู้นำ

-          Trust / Authority Leadership แม้ว่าไม่มีตำแหน่งใหญ่ก็เป็นผู้นำได้ถ้าได้รับศรัทธาจากสังคม

-          Charisma Leadership

-          Situational Leadership

-          Quiet Leader Leadership

-          Transformational Leadership เปลียนกระบวนการทั้งหมด

-          Transactional Leadership ทำสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดีกว่าเดิม

-          Authenticity Leadership ผู้นำต้องเป็นตัวตนของตนเอง

 

  ดร.จีระได้วิเคราะห์ตัวอย่างผู้นำที่โลกกำลังให้ความสนใจในยุคปัจจุบัน และผู้นำที่สำคัญของไทยไว้ดังต่อไปนี้

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พระมหากษัตริย์ผู้ครองหัวใจคนไทยและคนทั้งโลก

ตัวอย่างหลักการทรงงานของพระองค์ท่าน..สะท้อนบทเรียนเรื่อง “ภาวะผู้นำ” อย่างไร?

-          ภูมิสังคม

-          รู้จริง (เป็นระบบ)

-          เริ่มจากจุดเล็ก ๆ

-          เรียบง่าย (ประโยชน์สูงสุด)

-          ไม่ติดตำรา

-          ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ

-          อธรรมปราบอธรรม

-          ขาดทุนคือกำไร

-          ปลูกป่าในใจคน

-          ยึดความถูกต้อง

-          ประโยชน์ส่วนใหญ่

-          องค์รวม

-          บริการที่จุดเดียว

-          มีส่วนร่วม

-          รับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง

-          เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

-          รู้ รัก สามัคคี

-          ระเบิดจากข้างใน

-          พึ่งพาตนเอง

-          ตั้งใจ (ความเพียร)

-          ซี่อสัตย์

-          อ่อนน้อมถ่อมตน

-          พออยู่ พอเพียง (เศรษฐกิจพอเพียง)

คุณสมบัติของผู้นำตามแนวทางของ Mandela

1. กล้าหาญ

2. ต้องรุกได้ แต่ต้องตั้งรับ และไม่ประมาท

3. การนำอยู่ข้างหลัง จะต้องแน่ใจว่า คนที่เรายกย่องให้มีบทบาทอยู่ข้างหน้า ต้องให้เขามีความรู้สึกว่า เขาได้นำอย่างน่าภูมิใจ และสมศักดิ์ศรี

4. ถ้าจะจัดการบริหารศัตรู ต้องรู้จักศัตรูให้ดี

5. การจะอยู่อย่างผู้นำควรใกล้ชิดกับเพื่อน แต่กับคู่แข่ง หรือคนที่เราไม่ชอบ ต้องใกล้ชิดมากกว่า

6. มีภาพลักษณ์ที่ดี ต้องปรากฏตัวตามที่ต่าง ๆ อย่างมีเกียรติและสง่างามเสมอ

7. ไม่เน้น ถูกหรือผิด แบบ 100% หรือ ขาวหรือดำ 100% มีการประนีประนอมที่เหมาะสม แต่รักษาหลักการไว้ และหาทางตกลงกันได้แบบ Win – Win

8. รู้ว่าจังหวะไหน จะ "พอ" หรือ จะ "ถอย"

8 Rules of Leadership (Obama)

1.      สร้างศรัทธาและความมั่นใจ Trust และ Confidence แก่ผู้ร่วมงานและแนวร่วม

2.      เป็นผู้นำต้องรู้ว่า จะพาประเทศไปทางไหนโดยสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ (Communicate your Vision Effectively)

3.      สร้างให้คนส่วนใหญ่ เข้าถึงประวัติ ความสำเร็จ ความสามารถที่สะสมมาในอดีต สร้างชื่อเสียง (Build Strong Reputation)

4.      สร้าง Networks ในทุกๆ แห่ง โดยเฉพาะในจุดที่ตัวเองอาจจะไม่มีโอกาสได้สัมพันธ์มาก่อน (Make Friends in Unusual Places)

5.      ทุกคนที่เกี่ยวข้อง จะต้องมีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ใช่มีแค่ High performance ของความสำเร็จของบางกลุ่ม แต่ต้อง All hands คือการให้ทุกๆ คนมีส่วนได้ส่วนเสีย ก็คือการสร้างทีมงานที่ทุกคนทำงานร่วมกัน

6.      สร้างความหลากหลายให้เป็นมูลค่าเพิ่ม (Diversity to value added)

7.      ใช้ Technology ให้เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน เช่นการสร้าง Social Network ก็ให้คน 2 ล้านคน ช่วยสนับสนุนการเงินในช่วงหาเสียง

8.      สร้างขวัญกำลังใจให้แก่เพื่อนร่วมงานทุกคน (Motivation and inspiration)

คุณสมบัติของผู้นำของฮิลลารี คลินตัน

1.      เรียนรู้ตลอดชีวิต

2.      อย่าพอใจกับปริญญาเท่านั้น

3.      อย่าพอใจกับการเรียนในห้อง (Formal Learning)

4.      สนุกกับการคิดนอกกรอบ

5.      สนุกกับการคิดข้ามศาสตร์

6.      ถึงจะเก่งอย่างไร? ก็ต้องรับฟังคนอื่น

6 of the Dalai Lama's Leadership Principles

1. อย่าสั่งการ ต้องเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน

2. ถ้าต้องการเรียนรู้อะไรบางอย่าง ต้องฟัง และค้นคว้าหาข้อมูล

3. อย่าคิดว่าตัวเราคิดถูกทุกเรื่อง หากมีคนที่คิดไม่เหมือนเราซึ่งคุณคิดว่าไม่ถูกต้อง..ต้องควบคุมอารมณ์ให้ได้

4. มีอารมณ์ขัน อย่าโกรธง่าย รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

5. สอนให้คนรู้จักคิด หาคำตอบได้ด้วยตัวเอง อย่าบอกคำตอบหรือหาทางออกให้ทุกเรื่องทุกเรื่อง

6. มีความรับผิดชอบ

4 E’s Leadership ( Jack Welch )

1. Energy มีพลัง

2. Energize สามารถกระตุ้นให้คนอื่นมีพลัง

3. Edge เด็ดขาด กล้าตัดสินใจ

4. Execution  ลงมือทำให้เกิดความสำเร็จ

4 Roles of Leadership (Stephen Covey)

1. Path finding  การค้นหาเส้นทางความก้าวหน้า/การพัฒนา

2. Aligning  กำหนดทิศทางไปในแนวทางเดียวกัน

3. Empowering  การมอบอำนาจ

4. Role Model การเป็นแบบอย่างที่ดี

ทฤษฎีล่าสุดของ Jack Welch

Leader / Teacher

Leadership Roles (Chira Hongladarom’s style)

1. Crisis management การจัดการภาวะวิกฤต

2. Anticipate change  คาดการณ์ความเปลี่ยนแปลงได้

3. Motivate others to be excellent การกระตุ้นผู้คนสู่ความยอดเยี่ยม

4. Conflict resolution การแก้ไขความขัดแย้ง

5. Explore opportunities การสร้างโอกาสแก่ผู้อื่น

6. Rhythm & Speed รู้จักใช้จังหวะและความรวดเร็ว

7. Edge ( Decisiveness ) กล้าตัดสินใจ

8. Teamwork  ทำงานเป็นทีม

9. Uncertainty Management  การบริหารความไม่แน่นอน

ภาวะผู้นำของ Peter Drucker

1. Ask what needs to be done ถามตัวเองว่าเราต้องทำอะไรให้สำเร็จ

2. Ask what’s right for enterprise ถามว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกต้องที่ต้องลงมือทำ

3. Develop action plans พัฒนาแผนปฏิบัติการ

4. Take responsibility for decision รับผิดชอบต่อการตัดสินใจ

5. Take responsibility for communicating รับผิดชอบต่อการสื่อสาร

6. Focus on opportunities not problems มุ่งที่โอกาสไม่ใช่ปัญหา

7. Run productive meetings จัดให้มีการประชุมที่สร้างให้เกิดผลผลิต

8. Think and say We not I คิดและพูดด้วยคำว่า “เรา” ไม่ใช่ “ฉัน”

8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Human Capital          ทุนมนุษย์

Intellectual Capital     ทุนทางปัญญา

Ethical Capital           ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital       ทุนแห่งความสุข

Social Capital            ทุนทางสังคม

Sustainability Capital   ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital            ทุนทาง IT

Talented Capital        ทุนทางความรู้ ทักษะและทัศนคติ

5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

Creativity Capital          ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital         ทุนทางความรู้

Innovation Capital          ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital          ทุนทางอารมณ์

Cultural Capital           ทุนทางวัฒนธรรม

 

John Kotter ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Leading Change พูดถึง กลยุทธ์ในการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลง 8 ขั้นตอน โดยถือเป็นภาระของผู้นำที่จะต้องกระตุ้นองค์การให้เปลี่ยนแปลง ดังนี้

1.      สร้างความรู้สึกถึงตระหนักถึงความจำเป็น สร้างความรู้สึกกระตือรือร้น และเร่งด่วนที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร (Establishing a sense of urgency)

2.      การรวมกลุ่มที่มีพลังมากพอที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง (Forming a powerful guiding coalition)

3.      สร้างวิสัยทัศน์ (Creating a vision)

4.      การสื่อสารและถ่ายทอดวิสัยทัศน์ (Communicating the vision)

5.      การให้อำนาจ และทำให้คนในองค์กรดำเนินการตามวิสัยทัศน์ (Empowering others to act on the vision)

6.      การวางแผนเพื่อให้เกิดความสำเร็จในระยะสั้น (Planning for and creating short-term wins)

7.      ประมวลการปรับปรุงเหล่านี้ให้ครบถ้วน (Consolidating Improvements and Producing Still More Change)

8.      ปลูกฝังวิธีใหม่ในองค์การให้คงอยู่ (Institutionalizing new approaches)

กฎเกณฑ์ 7 Change

1. Complexity

2. Clarity

3. Confidence

4. Creativity

5. Commitment

6. Consolidation

7. Change

Principle 5 ข้อของ Leaders กับ Change

1.      แต่ละคนมีความรู้สึกเรื่อง Change แตกต่างกัน

2.      ต้องศึกษาความต้องการของแต่ละคนเกี่ยวกับ Change

3.      Change กับ Loss ไปด้วยกัน ศึกษาให้ดีว่าจะต้องจัดการกับ loss อย่างไร

4.      การคาดหวัง Expectation ต้องบริหารให้ดี

5.      ต้องบริหาร Fear หรือความกลัวให้ได้

กฎ 9 ข้อ Chira - Change Theory

1. Confidence มั่นใจ   

2. Understanding Future มีความเข้าใจอนาคต

3. Learning Culture มีวัฒนธรรมในการเรียนรู้ 

4. Creativity มีความคิดสร้างสรรค์

5. Networking มีเครือข่าย        

6. Win step by step ชนะเล็กๆ

7. Keep doing and continuous improving ทำต่อเนื่อง 3 ต.      

8. Share benefits ผลประโยชน์ต้องกระจายทุกกลุ่ม

9. Teamwork in diversity สร้างทีมเวิร์คที่มีความหลากหลาย

หลักที่สำคัญ 4 ข้อ เพื่อทำให้เกิด Growth Mindset กับทีม

1.      Emotional Intelligence Mindset

2.      Connection Mindset

3.      Growth Mindset       

4.      Performance Mindset

หลักที่สำคัญ 4 ข้อ เพื่อทำให้เกิด Growth Mindset กับทีม

Emotional Intelligence Mindset

  มีความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง พฤติกรรมที่ทำให้ทีมมีความเชื่อมั่นในตัวผู้นำ แล้วจะนำไป    สู่ความเชื่อมั่นในระดับองค์กร และนำไปสู่การแสดงความสามารถในการทำงานของพนักงาน ถ้าผู้นำมี Emotional Intelligence Mindset จะนำไปสู่ Performance โดยเฉพาะเรื่องของ Loyalty และความเชื่อมั่นในองค์กร

Connection Mindset

  หมายความว่า ผู้นำต้องสามารถถ่ายทอดประสบการณ์และสิ่งที่องค์กรคาดหวังไปสู่พนักงานเพื่อให้เข้าใจตรงกัน เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้าใจเป้าหมายและทำให้เกิด Connection ไม่ใช่ Communication  คำว่า Connect มีความลึกซึ้งมากกว่าการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร แต่รวมถึง Emotion ผู้นำต้องสร้างความรู้สึกพร้อมถ่ายทอดเป้าหมายต่างๆ

Growth Mindset

  ผู้นำควรมี Growth Mindset และต้องทำหน้าที่เป็น Mentor เป็นโค้ชเพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกันกับทีม ตอนหลังองค์กรเน้น Self-coaching เป็นการสร้าง Growth Mindset ตรงไปยังตัวพนักงาน

Performance Mindset

  สร้าง Performance ให้กับเพื่อนร่วมทีม ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร

คำถามทั้ง 12 ข้อน่าจะเป็นแนวทางคิดและกำหนดวัดการทำงานอย่างต่อเนื่องจะมีคุณภาพคล้าย 3V’s เช่น

1.รู้ว่าทำงานถูกคาดหวังอย่างไรและอะไร ?

2.งานที่ทำมีปัจจัยการผลิตหรือทรัพยากรที่เพียงพอ

  หรือไม่ ?

3.ที่ทำงานท่านมีโอกาสทำจุดที่ดีที่สุดหรือไม่ ?

4.ใน 7 วันที่ผ่านมา ได้รับคำชมหรือการยอมรับอย่างไร

  จากองค์กร

5.ผู้บังคับบัญชาเห็นคุณค่าของเราหรือเปล่า

6.มีเพื่อนร่วมงานให้กำลังใจหรือไม่

7.ความคิดเห็นของเราได้รับการยอมรับหรือไม่

8.องค์กรมีเป้าหมาย Purpose หรือภารกิจ (Mission)

  ที่ชัดเจนหรือไม่

9.มีเพื่อนร่วมงานมีความมุ่งมั่นต่อองค์กรหรือไม่

10.มีเพื่อนร่วมงานที่ดี ที่เป็นที่พึ่งหรือไม่

11.ใน 6 เดือน มีคนพูดถึงความก้าวหน้าของคุณหรือเปล่า

12.ใน 12 เดือน ทำงานแล้วได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆบ้าง


อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

       ภาวะผู้นำกับผู้บริหารจัดการบางอย่างทับกันอยู่ แต่บางอย่างแตกต่างกันซึ่งเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ด้วย การเป็นผู้จัดการที่จะยกระดับไปเป็นผู้นำ กว่าจะเป็นผู้นำที่ดีได้ ต้องเป็นนักบริหารจัดการมาก่อน

แต่นักบริหารจัดการต้องทำตามสิ่งที่ได้รับมอบหมายคือ Do the thing right คือทำให้สำเร็จ และเมื่อบริหารให้สำเร็จ เราจะสามารถใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ได้ งาน 100 อย่าง เมื่อเริ่มเรียนรู้เป็น แบ่งเวลาเป็น ก็มองในเรื่องอนาคตมากขึ้น ก็ขึ้นมาเป็นผู้นำ Do the right things เราต้องมีสติในการก้าวเริ่มต้นคือจากการดูสิ่งที่เราจะต้องทำก่อนว่าเกี่ยวข้องอย่างไร

       เมื่อเริ่มเป็นผู้บริหาร จะต้องเริ่มมีสติปัญญา ในการเรียนรู้มากขึ้น เริ่มมองอนาคตของหน่วยงานว่าถ้า TSU จะเดินไปข้างหน้าจะเป็นแบบไหน และเมื่อทดลองก็จะเริ่มทำ Do the right things

       ได้ยกตัวอย่างหนังสือเล่มหนึ่งบอกว่าทำ 20 % ได้ 80% และเมื่ออนาคตมากขึ้น ถ้าคิดแบบผู้จัดการเราจะสนับสนุนสายวิชาการให้มีนักศึกษามาเรียนปริญญาตรีให้มากขึ้นได้อย่างไร และไม่จำเป็นที่ต้องเรียกคนมาในมหาวิทยาลัยก็ได้

       พอเราเป็นผู้นำ เราเลือกสิ่งที่คาดคะเนอนาคตได้ แต่ถ้าเป็นผู้บริหารจัดการให้มองที่ระยะสั้น ๆ ก่อนคือ Do the thing right คืออะไรอยู่ในมือให้ทำสำเร็จก่อน ระยะสั้นหมายถึงพันธกิจมาก่อน พอเริ่มเป็นผู้บริหารจะเริ่มนำพันธกิจมาผูกกับ Vision แล้วส่งไม้ต่อให้คนต่อไปมาช่วยเรา เราจึงได้ขึ้นมาบริหารจัดการได้มากขึ้น

       เราต้องรู้จักบทบาทของตัวเอง รู้หน้าที่ของเรา ต้องคาดคะเนได้ว่าจะเดินไปทางไหน เพื่อที่เราจะเดินไปได้ทัน จึงทำให้เราเดินไปในทฤษฎีมากขึ้น เราต้องมีผู้บริหารที่เก่ง ผู้นำที่เก่งต้องมีนักบริหารจัดการที่ดียืนอยู่เคียงข้างเสมอ ยกตัวอย่าง กฟผ. ภารกิจคือสร้างโรงไฟฟ้า คนที่เป็นผู้จัดการ ก็ต้องทำตามสั่งคือต้องสร้างโรงไฟฟ้า คนเป็นผู้จัดการอาจดูว่าต้องผลิตไฟฟ้าอยู่ แต่ถ้ามองในมุมผู้นำก็คือต้องมองเรื่องพลังไฟฟ้าทางเลือก และลดการใช้ไฟฟ้าเป็นต้น และเมื่อใช้ไฟฟ้าพันธกิจหลักจะลดลงไปด้วย ไปดูในวิธีการอื่น ๆ ได้มากขึ้น

       สิ่งที่ควรทำ คือต้องเรียนรู้จากมองรอบด้านว่ามีการเปลี่ยนแปลงในแบบไหน

การเป็นผู้นำต้องใช้ Rhythm & Speed เป็นคือต้องฝึกตัวเองตลอดเวลา และเมื่อเป็นผู้นำเขาจะเลือกที่จะ Speed เป็นว่าจะเลือกระดับไหนได้

       ทฤษฎี 3 วงกลม

       เราต้องรู้ว่าองค์กรเป็นแบบไหน เราต้องดูบริบทองค์กรด้วย และถ้าคนศักยภาพไม่พอก็พัฒนาศักยภาพคนให้มากขึ้น องค์กรจะประสบความสำเร็จหรือไม่องค์กรต้องมีศักยภาพของคน แต่ยังมีอีกวงกลมที่สำคัญคือ Motivation เป็นแรงขับเคลื่อน แรงจูงใจให้ทำงานประสบความสำเร็จ ถ้าเราหาตัวชี้วัดและเคลื่อนวงกลมได้มากเท่าไหร่ ความสำเร็จจะมีมาก มีเรื่องคน เรื่ององค์กร และสิ่งที่ประสบความสำเร็จได้

       Mindset คือตัวที่แปรความเชื่อ และความคิดที่ทำซ้ำ ๆ จนกลายเป็นพฤติกรรมได้ เราต้องเชื่อตัวเองก่อน ต้องสร้างกำลังใจขึ้นมา ผู้นำต้องเรียนรู้ให้สร้างตัวเองขึ้นมา สร้างให้เกิด Growth เราต้องมีความเชื่อขึ้นมาก่อน แล้วในที่สุดเราจะสามารถชนะได้จริง



ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

       เสริมว่าอยากให้โอกาสที่เรามาเจอครั้งนี้เป็นประเด็นหนึ่งที่เราต้องหาวิธีการจัดการได้ เราต้องจัดการแบบภาวะผู้นำคือ เปลี่ยนจาก Do the thing right มาเป็น Do the right things คือเสนอทางเลือกใหม่ ๆ ซึ่งแทนที่จะสำรวจ What? หรือ How? จะนำไปสู่ความเป็นเลิศได้อย่างไร ทำอย่างไรไปเสริมฝ่ายวิชาการ และให้มหาวิทยาลัยเห็นถึงการเปิดโอกาสให้เราได้แสดง

       นอกจากวิเคราะห์ดีแล้ว ต้องทำให้ดี ให้สำเร็จ และเกิด Impact ด้วย


Workshop

1. วิเคราะห์ความแตกต่างของผู้นำ กับ ผู้จัดการ บุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยทักษิณ ควรจะมีคุณลักษณะใดบ้างเพื่อขับเคลื่อนผลงานที่เป็นเลิศของมหาวิทยาลัย (กลุ่ม 2)

2. วิเคราะห์คุณลักษณะของภาวะผู้นำที่พึงปรารถนาของบุคลากรสายสนับสนุนของ TSU และวิเคราะห์ตัวท่านเองว่ายังขาดและจะต้องพัฒนาในเรื่องใด? (กลุ่ม 3)

3. ยกกรณีตัวอย่างการทำงานจริงที่ประสบความสำเร็จ 3 เรื่อง และวิเคราะห์ อะไรเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ และถอดรหัส Mindset ของความสำเร็จนั้น (กลุ่ม 4)

4. ยกกรณีตัวอย่างการทำงานจริงที่ประสบความล้มเหลว 3 เรื่อง และถ้าจะปรับ Mindset ให้ทำงานดีขึ้นจะต้องทำอย่างไร (กลุ่ม 1)

5. เครื่องมือในการบริหาร (Management Tools)ที่คิดว่าสำคัญต่อการทำงานในอนาคต คืออะไร 5 เรื่อง อธิบาย จะใช้ตรงจุดใด (ตามความเป็นจริง) (กลุ่ม 5)

 

 

Workshop

1. วิเคราะห์ความแตกต่างของผู้นำ กับ ผู้จัดการ บุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยทักษิณ ควรจะมีคุณลักษณะใดบ้างเพื่อขับเคลื่อนผลงานที่เป็นเลิศของมหาวิทยาลัย (กลุ่ม 2)

       ผู้นำจะเป็นผู้ที่กำหนดนโยบาย ทิศทาง เป้าหมาย เก่งเรื่องคน สื่อสาร บริหารเปลี่ยนแปลง

         ผู้จัดการเมื่อรู้นโยบายจะนำแนวทางไปปฏิบัติ นำแนวทางบริหารให้มีประสิทธิภาพ เก่งเรื่องงาน ถ่ายทอดสอนงาน บริหารตามกฎระเบียบที่วางไว้

คุณลักษณะใดบ้างเพื่อขับเคลื่อนผลงานที่เป็นเลิศของมหาวิทยาลัย

         ผู้นำที่ดีจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีความกล้าหาญ กล้าตัดสินใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลง มีทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ ใช้คนเหมาะสม เปิดใจกว้าง มีการตัดสินใจที่ตรงประเด็นและความจริง เป็นแบบอย่างที่ดี ให้โอกาสทีมงานในการสร้างคน สร้างทีม

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

         ทฤษฎีของ ดร.จีระ จะมี Concept ของตนเอง การ List สิ่งต่าง ๆ ขึ้นกับบริบทแต่ละแห่ง จะมีอะไรก็ตามที่ฝังอยู่ในตัวเอง ซึ่งถ้าเลือกผู้นำที่มี 2 R’s คือดูบริบทของความจริง และนำประเด็นที่แหลมคม

         ในห้องนี้อย่ารู้มาก ไม่เช่นนั้นจะเป็น Garbage in Garbage out แต่ให้เลือกประเด็นที่เหมาะสมก่อนแล้วค่อยนำมาใช้

         การเป็นผู้นำและผู้บริหารที่ดีต้องมีส่วนที่อยู่ในตัวเดียวกันส่วนหนึ่ง เพราะการเป็นผู้นำที่ดีต้องเป็นผู้บริหารที่ดีด้วย อย่างก่อนจะออกนอกกล่องต้อง Survey และรู้ศักยภาพในกล่องให้ครบถ้วน ก่อนกระโดดออกนอกกล่อง เราจำเป็นต้องมีกฎระเบียบ เพราะยังเป็นหน่วยงานราชการอยู่ มีระบบตรวจสอบมาก ยิ่งนานไปจะถูกตรวจสอบมากขึ้น งบประมาณแผ่นดินจะถูกใช้ให้คุ้มค่ามากขึ้น ยุคหลังมี KPI ค่อนข้างมาก ซึ่งความจริง KPI ของ ม.ทักษิณ ไม่จำเป็นต้องเหมือน ม.ราชภัฏ อย่างไรก็ตามกลุ่มนี้ดีที่มี Concept ในเรื่อง Chira way และอยากให้ตอนจบ แต่ละกลุ่มมี Chira Way 2-3 เรื่องที่ดีต่อเราที่สามารถนำไป Apply กับความจริงให้มากขึ้น

 

2. วิเคราะห์คุณลักษณะของภาวะผู้นำที่พึงปรารถนาของบุคลากรสายสนับสนุนของ TSU และวิเคราะห์ตัวท่านเองว่ายังขาดและจะต้องพัฒนาในเรื่องใด? (กลุ่ม 3)

         1. ภาวะผู้นำต้องมีความกล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ และเปลี่ยนแปลง ความเปลี่ยนแปลงของเราทั้งหมดต้องเปลี่ยนไปในทิศทางที่พัฒนาขึ้นได้

         2. การมีมนุษย์สัมพันธ์ต้องสามารถจูงใจคนอื่นได้ ทุกคนต้องสามารถเข้าพบได้ง่าย

         3. มีความรับผิดชอบสูง

         4. มีความยืดหยุ่น และเด็ดขาด ในบางเรื่องราว

         5. มีความรอบรู้ในสังคม พร้อมนำสิ่งใหม่มาพัฒนาองค์กรของเรา

         6. เป็นผู้ประสานที่ดี เพราะจะทำให้ทีมงานและสมาชิกปรองดองได้ตลอดเวลา เพราะการถ่ายทอดอาจมีการประสานกับหน่วยงานรอบนอก

         7. ก้าวทันเทคโนโลยีด้วยสังคมที่เปลี่ยนแปลง

         8. ทำงานคู่ขนานกับเราได้

         9. มีบุคลิกที่ดีมีความน่านับถือ

         10. รับฟังความเห็นทุกเรื่อง

         11. พร้อมเรียนรู้ข้อผิดพลาดสู่การแก้ปัญหา

         12. ครองตน ครองคน และครองงาน

ยกตัวอย่างผู้นำ

  1. คุณวิกรม กรมดิษฐ์ มองรอบด้าน ตั้งความฝันไว้จริง แม้เป็นความฝันที่สูงแต่ไม่ทิ้งความฝัน

  2. คุณธนินทร์ เจียระวนนท์ มองการณ์ไกล ล้ำลึก มององค์รวมทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ มองเรื่องการค้า การพัฒนาคน และการวางแผนการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพสูง

  3. คุณอองซาน ซูจี มีความเสียสละ รักประเทศสูง อดทน ยิ้มสู้ ไม่ย่อท้อ มีความเป็นประชาธิปไตยสูง

การวิเคราะห์ตนเอง

  1. ก้าวทันเทคโนโลยี เช่นมีกลุ่มคนที่ตามไม่ทันเทคโนโลยี ไม่เรียนรู้ทั้งระบบ ยังขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

  2. ทักษะการบริหารคน ยังขาดการมองภาพกว้างมากขึ้น

  3. การสร้างทีมงานที่มีศักยภาพ การสร้างกลุ่มองค์กรใหญ่ ทำอย่างไรให้มีเครือข่ายมากขึ้น ยกตัวอย่างในวิยาเขตพัทลุงในอดีตรู้จักกันหมด แต่ปัจจุบันรู้จักแค่แต่ละคณะ ดังนั้นสิ่งที่ต้องการคือการสร้างทีมงานทั้งภายในและภายนอก

  4. ทักษะการจูงใจ ที่การสร้างแรงจูงใจหรือแรงเสริมให้ทำงานได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

         สิ่งที่อยากแนะนำ มีปัจจัย 2 อันที่อยากเสริมไปคือเรื่องทุนทางจริยธรรม ที่มหาวิทยาลัยควรเน้นคนดี คนเก่ง และคนที่ทำงานอย่างมีความสุข ซึ่งผู้นำที่ดีในยุคต่อไปต้องเป็นผู้นำที่มองอนาคตให้ออกว่าอนาคตของเราจะเป็นอย่างไร เป็นการนำเสนอที่มีคุณค่าและนำไปปฏิบัติได้

 

3. ยกกรณีตัวอย่างการทำงานจริงที่ประสบความสำเร็จ 3 เรื่อง และวิเคราะห์ อะไรเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ และถอดรหัส Mindset ของความสำเร็จนั้น (กลุ่ม 4)

         1. หน่วยงานวิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน และสถาบันปฏิบัติการชุมชน ความร่วมมือร่วมกับการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัย

       ปัจจัยความสำเร็จเป็นการทำงานที่บริหารจัดการร่วมกันอย่างสมดุล มีเรื่องการให้เกียรติ เห็นคุณค่า มองเพื่อนร่วมรุ่นอย่างเท่าเทียมกัน

       2. ฝ่ายตรวจสอบภายใน ได้รับรางวัลด้านการบริหารจัดการการเงินการคลัง มี 5 มิติ

       ปัจจัยความสำเร็จ คือมีผู้นำที่ดี ทำงานเป็นทีม มหาวิทยาลัยสนับสนุน บุคลากรมีความรู้ความสามารถ เที่ยงธรรม รอบรู้งานตรวจสอบ และเป็นอิสระ

       3. การจัดการสถาบันทักษิณไทยคดีศึกษา ได้รับรางวัลเผยแพร่เกียรติคุณของชาติ 2548

       เรื่องการควบคุมรักษาข้อมูลความรู้ มิติวิถีชีวิต มีลูกศิษย์เครือข่าย วัฒนธรรมภาคใต้ ผู้นำมีความเป็นผู้นำ กล้าตัดสินใจ ทุกคนเชื่อว่าวัฒนธรรมเป็นตัวควบคุมพฤติกรรม และสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

       ขอชื่นชม ม.ทักษิณ ซึ่งทั้งรื้อฟื้นสถาบันนี้ขึ้นมาแล้วให้เป็นเรือธงที่เสริมขึ้นมาจะเป็นการขยายตัวที่ดี มีการใช้ทรัพยากรที่มาก มีคณะวิศวะเกิดขึ้น ครั้งหนึ่งเราโดดเด่น เรื่องบัญชี นิติศาสตร์ ศิลปะศาสตร์ กลุ่มนี้ต้องเอาจุดเด่นของ ม.ทักษิณให้ชัดเจน ยึดสิ่งที่เราเก่งมากกว่าสิ่งที่เราใหญ่ มองที่ Quality มากกว่ามองที่ Quantity อยากให้ระมัดระวังแบรนด์เหล่านี้

 

4. ยกกรณีตัวอย่างการทำงานจริงที่ประสบความล้มเหลว 3 เรื่อง และถ้าจะปรับ Mindset ให้ทำงานดีขึ้นจะต้องทำอย่างไร (กลุ่ม 1)

         1. การจัดหารายได้ที่ไม่เป็นไปตามเป้า มีการกำหนดหน่วยงานว่าเท่าไหร่ ส่วนใหญ่พึ่งพาจากค่าลงทะเบียนนิสิตส่วนใหญ่ การหารายได้เพิ่มขึ้นต้องสร้างกลยุทธ์เข้มแข็งคือ PDCA กำหนดจุดแข็งจุดอ่อน เพื่อปรับวิธีคิด มองวิกฤติเป็นโอกาส มีการลดค่าใช้จ่าย มีการนำระบบ LEAN มาใช้ ลดขั้นตอนในการลดค่าใช้จ่ายลงไปได้

       2. จำนวนนิสิตทั้งประเทศลดลงอย่างต่อเนื่องสวนทางกับการพัฒนามหาวิทยาลัยอย่างสมบูรณ์แบบ ดังนั้นในเรื่อง Mindset ต้องมีการปรับวิธีคิดในการทำงานเชิงรุก หาช่องทางต่าง ๆ ทำอย่างไรให้ได้นิสิตเพิ่มขึ้น

         3. การประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร บางครั้งลงไปไม่ถึง ขึ้นไปไม่ถึง ทำอย่างไรให้สื่อสารทั่วถึง มีเครื่องมือ เพิ่มช่องทางการสื่อสารมากขึ้น มีช่องทางที่หลากหลาย

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  เรื่องการหารายได้เพิ่มขึ้น ขอสนับสนุนให้พวกเรามี Mindset เพิ่มขึ้น หายุทธวิธีที่เหมาะสมกับบริบทของทักษิณ ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยมีคล้ายกัน โอกาสที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมากกว่าหลายแห่ง เพียงแค่สาขาวิชาเราไม่ได้ง่ายเนื่องจากเป็นศิลปวัฒนธรรม สิ่งที่เป็นประโยชน์มากคือการท่องเที่ยว การเข้าชุมชน การใช้ศิลปวัฒนธรรมช่วยธุรกิจ Start up มองเรื่องลูกค้าต่างประเทศ และเรื่องลูกค้าผู้สูงอายุ ไม่ใช่เฉพาะวัยเรียนอย่างเดียว สิ่งนี้จะช่วยให้มหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น อยากให้ Empower คนฝ่ายสนับสนุมากขึ้น เพราะเมื่อเกิดไอเดียเพิ่มขึ้นต้องทำให้เกิดความต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

 

5. เครื่องมือในการบริหาร (Management Tools)ที่คิดว่าสำคัญต่อการทำงานในอนาคต คืออะไร 5 เรื่อง อธิบาย จะใช้ตรงจุดใด (ตามความเป็นจริง) (กลุ่ม 5)

       เครื่องมือในการมองบริหารมีเรื่องการบริหารคนและบริหารงาน มีเรื่องการบริหารคน อันแรกคือ

       1. Employee Engagement Survey จะมีการนำคนมาพัฒนาได้อย่างไร สร้างคนให้มีความรักและผูกพันกับองค์กรจะทำให้คนในองค์กรทุ่มเททำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

       2. Happy Workplace เป็นเครื่องมือที่ทำอยู่ แต่ประเด็นคือคนมีความสุขหรือยัง สร้างให้คนมีความพร้อมทั้งกายและใจ ให้งานเป็นผลและคนเป็นสุข จะทำให้งานที่ออกมามีประสิทธิภาพ

       3. วงจร PDCA ใช้ในการวางแผนติดตามกำกับการปฏิบัติงาน มีการติดตามวางแผนกลยุทธ์ ใช้การทำงานอย่างต่อเนื่องแต่ต้องดูว่ามีการหมุนแบบไหนอย่างต่อเนื่องและให้สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ พบว่าเป็นเครื่องมือใช้อยู่ปัจจุบัน แต่จะไปในอนาคตไม่มากนัก ทำอย่างไร PDCA สูงขึ้น

       การปฏิบัติและนวัตกรรมจะทำอย่างไร ตัวอย่าง EdPEx เกิดจาก PDCA หมุนไปเรื่อย ๆ แล้ว EdPEx จะสำเร็จผล

       4. ระบบสารสนเทศ ใช้ในการประกอบการตัดสินใจในการบริหารแต่มีการเชื่อมโยงอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการตัดสินใจดีแล้วหรือไม่

       5. LEAN คือการลดรอบการปฏิบัติงาน เมื่อ 4 ปีที่แล้วเคยลดรอบการปฏิบัติงานของ กพร. ลดความสูญเสียเวลาการปฏิบัติงาน ลดกระบวนการ แต่งานจะมีประสิทธิภาพและอาจมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม เช่นเกษียนหนังสือ

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

       ในกลุ่มนี้เรื่อง Management tool เมื่อมีอุปสรรคเราต้องใช้ความสามารถในการเอาชนะอุปสรรคให้ได้ เพราะงานที่นี่มีอุปสรรคมาก และเมื่อมีอุปสรรคแล้วจะต้องเอาชนะอุปสรรคมัน ต้องเริ่มเสาะแสวงหา Talent Management ในมหาวิทยาลัยมากขึ้น และถ้าอบรมสไตล์ Chira Way มากขึ้นจะค้นพบ Talent หรือดาวเด่นในองค์กรได้ ที่จะช่วยสนับสนุนทั้งในระดับสนับสนุนและอาจารย์มหาวิทยาลัย

       อยากทำ Survey เรื่อง Happy at work กับ Happy workplace แยกกันระหว่างงานที่ทำอยู่กับสภาพแวดล้อมในการทำงาน และทำอย่างไรให้คนในองค์กรมี Happy at work ซึ่งเป็นส่วนประกอบของ Happy Workplace

       Happy at work มีตัวประกอบ 3 ตัวคือ มี Passion Purpose และ Meaning ซึ่งการมี Passion จะเกิด Excitement ถ้าชอบงานที่ทำอยู่จะอยากทำทุกวัน และมีคุณค่าที่เราได้ทำด้วย

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

       2 เรื่องใหญ่คือภาวะผู้นำ อีกเรื่องเป็นตัวย่อยในตัวใหญ่คือ Mindset ซึ่งแม้ไม่เป็นผู้บริหาร หรือผู้จัดการ ถ้าได้ปรับ Mindset ก็ทำให้มีความสุขได้ ถ้าเป็น Fixed Mindset จะเป็นลักษณะความเก่งที่นิ่งไม่ก้าวมากไปกว่านั้น แต่ถ้าฝึกการ Fixed เป็น Growth ได้จะทำให้เราก้าวมากขึ้น

       คนที่เป็น Fixed Mindset จะหลีกเลี่ยงความท้าทาย ทำไปเรื่อย ๆ หรือถ้าปรับเป็น Growth Mindset ต้องให้โอกาสผู้ใต้บังคับบัญชา และเชื่อว่าเขาสามารถ Growth ได้มากกว่านั้น หรือบางทีเราไม่ได้ค้นพบตัวเราเองว่าเก่งอะไร แต่ปรากฏว่าเขาทำบางอย่างให้เก่งมาก ให้หาบางอย่างที่ตัวเองเก่งแล้วพยายามที่ท้าทาย

       คนที่เป็น Fixed Mindset จะยอมแพ้อะไรง่าย ๆ แต่ถ้าเราฝึกให้เป็น Growth ให้ชนะเล็ก ๆ และเมื่อมีอุปสรรคใหญ่ ๆ ให้ปล่อยมัน

       สิ่งสำคัญเรื่อง Growth Mindset คือคิดวิธีที่เอาชนะอุปสรรคได้ เราสามารถฝึกให้ Growth ได้ แต่ละคนจะมี Peak Performance ไม่เหมือนกันให้เราหาจุดที่เป็น Peak Performance ให้เจอ ซึ่งหาเจอ จะพบว่าเราทำได้ แล้วเราจะยิ่งมีความพยายามมากขึ้นเรื่อย ๆ

       การขยันเท่าไหร่ ถ้า Mindset ไม่ดีจะไปไม่ถึง พวกที่เป็น Fixed Mindset จะท้อ พวก Growth Mindset จะหาทางในการทำสิ่งต่าง ๆ ของเราขึ้นมา

 

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

       Mindset คือจิตที่ฝังอยู่ข้างใน ถ้าเราปรับ Mindset ได้เราจะเกิดทัศนคติที่มีความมั่นใจตัวเองมากขึ้น อ่านหนังสือมากขึ้น มีความเชื่อว่าเราทำได้ ๆ ๆ และเกิดเป็นอุปนิสัย เกิดเป็น Habit ซึ่งถ้า Habit ดีจะทำให้เรามีประสิทธิภาพสูงขึ้น อย่างไปที่ทำงานให้ถามว่าอะไรมีความสำคัญที่สุดถึงทำอันนั้น

       เกิดจากการปรับทัศนคติ ความเชื่อ นิสัย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เรียกว่าการปรับ Behavior

       ความสำเร็จมีความสำเร็จมากมาย ไม่ใช่แค่ความสำเร็จเดียว และที่น่าเป็นห่วงคือคนที่สำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย

       การได้มาปะทะกันจริงจะทำให้คนมีความสามารถ มีความมั่นใจ มีทัศนคติที่ดีขึ้น คำถามคือสิ่งเหล่านี้เป็นการปรับพฤติกรรมที่อยู่แค่ในช่วงเรียนหรือไม่ ดังนั้นหลักสูตรนี้ได้เปรียบตรงที่ก่อนวางแผน และดำเนินการวันแรก และตอนที่ประเมินผล 6 เดือนหรือ 1 ปี หลังจากที่จบไปแล้ว แต่ความสำเร็จนี้เป็นความสำเร็จขั้นต้นคือการขึ้นบันได จึงอยากผลักดันให้ทุกคนปรับ Mindset เพื่อไปสู่ความเป็นเลิศในบันไดขั้นที่ 3 , 4, 5,…

       อะไรที่ฝังในตัวเราและยึดกับเรา และยึดว่าเป็นนิสัยที่ ไม่ยอมล้มเหลว เราต้องมี Mindset ที่เป็น Quality Mindset ที่บางครั้งอาจไม่จำเป็นต้องมีเครื่องมือด้วยซ้ำ ความเป็นผู้นำของ TSU จึงขึ้นอยู่กับทุกคนร่วมมือกัน ผู้นำที่ดีต้องรู้เรื่องการจัดการที่ดีด้วย ไม่เช่นนั้นผู้นำจะล้มเหลว

      การเป็นผู้นำ ถ้านำข้างหน้าต้องมองข้างหลังได้ด้วย ต้องพยายามเปลี่ยนศัตรูเป็นเพื่อนให้ได้



วิชาที่ 3

การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 V (Value added – Value Creation – Value Diversity) (1/2)

-      งานส่วนบุคคล

-      งานกลุ่ม

โดย   อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

         อาจารย์วราพร ชูภักดี

 

อาจารย์วราพร ชูภักดี

งานใหญ่2ชิ้นนำเสนอวันปิดโครงการ

งานที่1)

อ่านหนังสือ เรื่อง Harvard Business Review -HBR'S HBR'S 10 MUST READS On Management

วิเคราะห์และสรุปประเด็นสำคัญของ Chapter ที่ได้รับมอบหมาย เทียบเคียงกับสถานการณ์ของ TSU และการนำมาใช้พัฒนางาน/มหาวิทยาลัย

ทุกกลุ่มกรุณานำเสนอเป็น Power Point และโปรดบันทึกไฟล์งานใส่ handy drive มาลงในเครื่อง notebook กลาง เพื่อนำเสนอ วันที่ 29 ส.ค. 60 (กลุ่มละประมาณ 7 นาที)

กลุ่ม 1 : How Will You Measure Your Life? น. 1-12

กลุ่ม 2 : Managing Oneself น.13-32

กลุ่ม 3 : Manage Your Energy, Not Your Time น.61-77

กลุ่ม 4 : Moments of Greatness : Entering the Fundamental State of Leadership น.127-145

กลุ่ม 5 : Management Time : Who's Got the Monkey? น.33-45

 

งานที่ 2) งานการออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานและวิธีการนำเสนองานออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานของมหาวิทยาลัยทักษิณ(งานกลุ่ม)

ผลงานที่ต้องส่ง คือ

1.โปสเตอร์/รายงานในกระดาษ A3 1 แผ่น

2.Power Point นำเสนอแนวคิดต่าง ๆ ของโครงการ

3.การนำเสนอในวันปิดหลักสูตร กลุ่มละ 8 นาที

 

ทฤษฎี 3 V

1. Value Added สร้างมูลค่าเพิ่ม

2. Value Creation สร้างคุณค่าใหม่

3. Value Diversity สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

 

ตัวอย่างกระบวนการคิดเพื่อการออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรม

1) ประเด็นท้าทาย

2) วิสัยทัศน์

3) พันธกิจ

4) ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย

5) บทบาทของคณะ / หน่วยงานของเรา

6) ปัญหา / โอกาส --เพื่อหาทางสร้างคุณค่าแบบ 3 V

7) หาไอเดียใหม่ ๆ ในการทางานเพื่อประสิทธิภาพ / คุณภาพที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะนวัตกรรมด้านกระบวนการทางานที่ช่วยให้ประสิทธิภาพสูงขึ้น / ลด ต้นทุน (Process Improvement)

8) จาก ideas ideas สู่กลยุทธ์/แผนปฎิบัติการโดยสังเขป

9) วัดผลอย่างไร

 

 

แนวทางของการออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานของมหาวิทยาลัย

1.ชื่อโครงการ

2.หลักการและเหตุผล (ความสำคัญและความจาเป็นของโครงการฯ)(นาเสนอข้อมูลที่ได้ศึกษาเพื่อหาความจาเป็นและความสำคัญของโครงการนี้)

3.วัตถุประสงค์ / เป้าหมาย

4.กรอบแนวคิดของโครงการและยุทธศาสตร์(ทฤษฎีสำคัญที่เกี่ยวข้อง/นาเสนอข้อมูลที่ได้ศึกษาเพื่อหายุทธศาสตร์หรือแนวทางในการทาโครงการนี้)

5.ขั้นตอน/วิธีการดำเนินงาน/ Time frame

6.แหล่งเงินทุนและงบประมาณ (เน้นการบริหารจัดการจากทรัพยากรที่มีอยู่)

7.วิธีการประเมินผล

8.ผลที่คาดว่าจะได้รับ และการค่าแบบ 3 V

9.ปัจจัยที่เป็นอุปสรรค และปัจจัยแห่งความสำเร็จของโครงการฯ

10.บทสัมภาษณ์ทัศนะของผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการนี้เป็นอย่างไร เห็นด้วยหรือไม่ มองปัจจัยที่เป็นอุปสรรค และปัจจัยที่จะทาให้โครงการนี้สำเร็จอย่างไร

 

นาเสนอผลงานด้วย Poster

กระดาษ ขนาด A31แผ่น

นำเสนอข้อมูลที่สำคัญของโครงการและการออกแบบดีไซน์ที่น่าสนใจ อาจเป็น info graphic

#ชื่อโครงการ

#หลักการและเหตุผล

#วิธีดำเนินการ/กลยุทธ์

#ผลที่คาดว่าจะได้

#อื่นๆที่เป็นจุดขายของโครงการ

 

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

         การคิดโครงการฯ ให้คิดจาก 2 R’s คิดได้หลายรูปแบบ อาทิ

1. การคิดจากนำของเก่าแล้วเล่าใหม่ก็ได้

2. มองที่ตัวปัญหาว่าอยากแก้อะไร หรือคิดเรื่องกระบวนการในการจัดการโครงการ

         3. การใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ

 

WORKSHOP (1)

       1. แต่ละกลุ่มนำเสนอ idea / หัวข้อพร้อมหลักการ เหตุผลและความจำเป็น



สรุปการบรรยาย

วันที่ 5 กรกฎาคม 2560

ณ ชั้น 2 สำนักห้องสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ

 

วิชาที่ 4 Learning Forum

หัวข้อ  การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

โดย    อาจารย์รณกฤต สิทธิพรหม

 

Mindset

         กลุ่มความคิด หรือชุดความรู้ที่ต้องใช้เวลาในการสะสม จนเป็น Mindset

ก่อนสร้างทีมต้องทำให้ทุกคนเรียนรู้ทักษะเรื่องการที่ทำให้เขาเชื่อตัวเราก่อน

 

การสร้างทีม

         - ต้องรู้จักตัวเองก่อน (อาทิ ตัวเองรู้สึกอย่างไร คนอื่นมีความรู้สึกอย่างนั้นเช่นกัน)

 

DANCE Teamwork

1. Dream มีเป้าหมายเดียวกัน

2. Action ลงมือทำตามเป้าหมายและแผน

3. Network สร้างสายสัมพันธ์อันยอดเยี่ยม

         - สายสัมพันธ์เริ่มต้นที่การบริหารในเชิงจิตวิทยาทั้งนั้น ถ้าบริหารดีจะสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีด้วย

4. Communicate การสื่อสารที่ทรงพลัง

         - สื่อสารจากข้างในแล้วไปข้างนอก

5. Enjoy ทำให้ชีวิตสนุก

ที่มาของวิธีคิด

         ทุกกระบวนการมีต้นเหตุทั้งหมดที่มาจาก Mindset ได้แก่

ประสบการณ์ที่ผ่านมา

1. ครอบครัว

ยกตัวอย่าง คนที่อยู่กับสิ่งไหนมาก ๆ จะเป็นอย่างนั้น

2. การศึกษา

         ยกตัวอย่าง รู้สึกไม่ชอบอ่านหนังสือเพราะอะไร เช่นใกล้สอบจะเครียด แล้วต้องอ่านหนังสือ การอ่านหนังสือไปเชื่อมโยงกับความเครียด เลยไม่ชอบอ่านหนังสือ

3. สิ่งแวดล้อม

ทุก ๆ อย่างจะบอกจากกระบวนการเชื่อมโยงทั้งหมด ถ้าเชื่อมโยงได้จะหาสาเหตุเจอ เราไม่ควรที่จะไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นลบ

4. วัฒนธรรม

5. กรรมเก่า

         สรุป เริ่มต้นจากความคิด และถ้าทำบ่อย ๆ จะเกิดตัวคุณขึ้นมา

การป้อนข้อมูลผ่านสัมผัสทั้ง 6

         หู ตา จมูก ปาก สัมผัส ใจ ผ่านจิตสำนึก สู่เบต้า

         เริ่มต้น ให้สร้างความรู้สึกดีกับตนเองก่อน แล้วรู้สึกดีกับตัวเองอย่างไร ถึงเริ่มทำแบบนั้นกับคนอื่น

         และเมื่อสิ่งใดก็ตามที่ทำบ่อย ๆ ผ่านจิตสำนึกจะส่งไปสู่ที่นิสัยและจะลงลึกไปที่จิตสำนึก เกิดการปฏิบัติที่ทำโดยอัตโนมัติ

การมองคนอย่างเข้าใจ  (ก่อนเริ่มมองใคร ให้มองที่ตัวเองก่อน) อาทิ

คนขี้เกียจ เกิดจากอะไร เช่น อาจโดนเลี้ยงมาอย่างสปอย หรืออาจโดนใช้งานมามาก

         คนขี้โกรธ เช่น สภาพแวดล้อมกดดันที่ทำให้เป็นแบบนั้น ทะเลาะกับที่บ้าน ฯลฯ

         โลกนี้มีสองชั้นอยู่เสมอ ก่อนที่จะมองคนอื่นให้มองตัวเองมากขึ้น ให้เรียนรู้ในการเข้าใจตนเอง แล้วจะสามารถจัดการตนเองได้

         - รู้สาเหตุเพื่อตระหนัก (รู้กับดัก หาสาเหตุ ดูผลลัพธ์ เปลี่ยนอย่างไร)

         - โฟกัสเรื่องที่คุณต้องการจะเป็น ต้องการจะรู้ อยู่ที่โฟกัสสมองหรือจิตในการให้ความสนใจ แล้วเราจะสนใจตามนั้น อยู่ที่เราจะออกแบบให้จิตใจเราเป็นเช่นไร เพราะทุกครั้งที่คุณคุย หรือพูด หมายถึงคุณป้อนให้ตัวเองเป็นอย่างนั้น

         - เกลียดแบบไหน จะดึงคนแบบนั้นเข้ามามาก หรือเป็นคนแบบนั้นไปเลย

ตัวอย่าง

1. กับดัก อีโก้ 

  สาเหตุ 1. ประสบความสำเร็จ 2. ปกปิดความไม่รู้ 

  ผลลัพธ์ 1. เหนื่อยคนเดียว 2. เครียดไม่รู้ตัว 3. ล้าหลัง

  เปลี่ยนอย่างไร เมตตา ลดอัตตา

2. กับดัก เห็นแก่ตัว

  สาเหตุ 1.ทำตามหน้าที่ 2. โดนครอบงำด้วยสมมุติ

  ผลลัพธ์ 1.มองไม่เห็นปัญหาที่จะเกิดขึ้น 2.ทำอะไรไม่สำเร็จระยะยาว

  เปลี่ยนอย่างไร เมตตา ลดอัตตา

3. กับดัก อารมณ์เหวี่ยง

  สาเหตุ 1. ไม่เคยทำจิตใจให้สงบ  2. ชอบเสพสื่อแบไม่เกิดปัญญา

  ผลลัพธ์ 1. เครียดง่าย 2. เป็นโรคเรื้อรัง 3. เหนื่อย

  เปลี่ยนอย่างไร ฝึกสมาธิ หมั่นเห็นอารมณ์

4. กับดัก เกลียดคนแบบ...

  สาเหตุ 1. เคยโดนคนลักษณะนั้นแกล้งหรือทำให้ไม่พอใจ

  ผลลัพธ์ 1. ดึงดูดคนแบบนั้นเข้ามาในชีวิต 2. เป็นซะเอง

 เปลี่ยนอย่างไร เมตตา ให้อภัย รักผู้คนให้มากพอ

5. กับดัก วัตถุนิยม

 สาเหตุ 1. วัฒนธรรมและโฆษณา 2. ความทะยานอยาก

 ผลลัพธ์ 1. มีแต่ของที่ไม่จำเป็น 2. เป็นหนี้ 3. สุกนอกทุกข์ใน

 เปลี่ยนอย่างไร 1.ใช้ชีวิตให้เรียบง่าย 2. อย่าเอาชีวิตของเราไปแขวนไว้กับคนอื่น

6. กับดัก ไม่จัดการการเงิน

  สาเหตุ 1. เกลียดวิชาเลข 2. มองว่าวุ่นวาย

 ผลลัพธ์ 1. มีปัญหาเรื่องการเงิน 2. มีปัญหาชีวิต

เปลี่ยนอย่างไร 1.เรียนการจัดการการเงินตอนนี้ 2. หาทีมร่วมทำงาน

7.กับดัก ฉันทำงานเพื่อตัวฉัน

สาเหตุ 1. ถูกสอน 2. ใช้สมองคิดมากไป

ผลลัพธ์ 1. ไม่เจริญเติบโต 2.เห็นแก่ตัว

เปลี่ยนอย่างไร 1. เราเกิดมาทำประโยชน์ให้ผู้อื่น

8. กับดัก เบื่อทำงานกับผู้คน

สาเหตุ 1.เคยทำงานกับคนเยอะแล้วเรื่องเยอะ 2.เราเป็นคนดึงดูดเข้ามาด้วยความเกลียด

ผลลัพธ์ 1.เจริญเติบโตช้า 2.มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์

เปลี่ยนอย่างไร 1. เปลี่ยนมุมมองคนใหม่ 2.สนใจลักษณะคนที่อยากร่วมงาน

รู้จัก จิตสำนึก และจิตใต้สำนึกหรือยัง ?

จิตสำนึก

- ทำงานตอนรู้ตัว (มีสติ)

- รับข้อมูล

- เหตุผล (ตัวเอง)

         สรุป ตรงส่วนที่เป็นจิตสำนึกจะรู้แค่เห็น แค่ฟัง ประสบการณ์เหมือนเดิมมีทั้งดีและไม่ดี มีทั้งสิ่งที่จริงและสิ่งที่หลอก

         - อย่าเพิ่งตัดสินตั้งแต่เริ่มต้น

         - ทุกอย่างมี 2 ชั้นเสมอ

         - ตัดสินได้เมื่อเข้าใจคนก่อน

 

จิตใต้สำนึก

- เก็บข้อมูล

- ประมวลผล

- อัตโนมัติ (ทำซ้ำบ่อย ๆ)

- ขับเคลื่อนชีวิต

 

จิตสำนึกและจิตใต้สำนึกทำงานร่วมกันอย่างไร ?

จิตสำนึกและจิตใต้สำนึกทำงานร่วมกันเสมอ

         - ป้อน

         - ประมวลผล

         - ผลลัพธ์

         - ผลที่ตามมา

         สรุป ก่อนที่จะพูดอะไรออกไป ให้ดูอารมณ์ในช่วงนั้นก่อนว่าดีหรือไม่ ถ้าไม่ดีให้หยุดก่อน แล้วค่อยพูดออกไป ถ้ามองเห็นผลที่ตามมา จะกำหนดได้ว่าจะทำอะไรต่อไป

การทำงานร่วมกัน

         - ฉัน / เธอ / คนอื่น คือไม่ว่าทำอะไร มีผลต่อทุกคน

         เช่น การป้อนเรื่องไม่ดีก็เป็นการที่เราสิ่งไม่ดีไปกับเขา การป้อนสิ่งที่ดีก็เป็นการใส่สิ่งที่ดีไปกับเขา การพูดถึงคนอื่นไม่ดีก็เสมือนการหลั่งสารอดรินาลีนให้ตัวเอง แรก ๆ สนุกแต่จริง ๆ จะทุกข์เอง ถ้าเราเข้าใจจะทำให้อารมณ์น้อยลงเลย สิ่งที่ทำคือต้องรู้จักผ่อน และทำความเข้าใจมากขึ้น การใส่รากหรือความคิดบวกลงไปต้องใช้เวลา อย่าให้อาหารในเรื่องที่ไม่ดี เช่นโกรธ ให้เปลี่ยนไปทำเรื่องอื่นแทน ให้หายใจลึก ๆ ให้เข้าใจทุก ๆ กระบวนการ

         - เรื่องจริง หรือเหตุการณ์ = จินตนาการ (เชื่อมากพอ บ่อยมากพอ)

         สังเกตได้ว่าคนสำเร็จส่วนใหญ่จะจินตนาการตอนเช้าและก่อนนอน อยากสำเร็จต้องเชื่อมากพอ คิดอย่างนั้น คิดอย่างไรได้อย่างนั้น

         - อดีต – ปัจจุบัน – อนาคต

         ให้สนใจเรื่องที่ต้องการจะเป็นแล้วจะมีสิ่งมาเกื้อหนุนคุณ

         เรื่องในอดีตมีทั้งลบ และบวก

         เรื่องในอนาคตมีทั้งลบ และบวก

         - คิด – พูด – ทำ

         ไม่ว่า คิด พูด ทำ ทุกสิ่งลงไปที่จิตใต้สำนึกหมดเลย

         ถ้าเราไม่สามารถ Control คนอื่นได้ ให้เรา Control ตนเองให้ได้ก่อน

การบริหารจัดการอารมณ์

         อารมณ์เปรียบเสมือนน้ำมันที่ทำให้รถไปต่อได้ และมีผลกระทบกับทุกคน

ดีอย่างไร ?

1. อยู่ได้ในทุกสถานการณ์

2. ลดอัตราเสี่ยงการเป็นโรคเรื้อรัง และติดเชื้อ

3. มีผลกระทบที่ยอดเยี่ยมกับคนรอบข้าง

คิดบวก

- คิดแบบเข้าใจไม่โลกสวยเกินไป

- การคิดบวกที่เกินพอดีคือการเพ้อ

- การคิดบวกเปรียบเสมือนการเติมพลังงานให้ตัวเอง เป็นการสร้างความสมดุลให้ร่างกาย

จัดการอารมณ์เชิงลบ

วิธีการเลือกจัดการอารมณ์เชิงลบ อาทิ

1. ระบุ

2. ต้องทำอะไร (สร้างสรรค์)

3. เปลี่ยนที่สนใจ

4. ฉันได้เรียนรู้อะไร

5. ทำอย่างไรให้ดีขึ้น

6. ทำอะไรได้ตอนนี้


โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อติดตามข่าวโครงการ

http://www.naewna.com/politic/columnist/30450

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม 2560 หน้า 5



 

หมายเลขบันทึก: 630618เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2017 10:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กรกฎาคม 2017 13:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (102)
อมรรัตน์ วรรณวิไล

ความประทับใจที่ได้จากการอบรม

  1. หลักสูตรช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาตนเองให้ก้าวไปสู่การเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มองรอบด้านให้กว้างขึ้น และส่งมอบแนวคิด/ความรู้ให้กับเพื่อนร่วมงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนภารกิจที่รับผิดชอบ ก่อให้เกิดการพัฒนาหน่วยงานและสถาบัน
  2. Managing is doing things right , Leadership is doing right things.
  3. Mindset สร้างได้ Mindset ที่ดีจะต้องเป็น Growth Mindset (ปรับทัศนคติ ปรับความเชื่อ ปรับอุปนิสัย)

เป็นหลักสูตรที่สร้างแรงบันดาลใจในการทำงาน กระตุ้นต่อมเรียนรู้ ทำให้เราฉุกคิดและกลับไปทบทวนเพื่อการพัฒนาตนเองและองค์กร ทีมวิทยากรได้ถ่ายทอดความสำเร็จแบบพร้อมใช้มาเสิร์ฟถึงที่ ถือเป็นโอกาสและประสบการณ์ที่ดีมากๆ

โครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้บุคลากรสายสนับสนุนได้พัฒนาตนเอง เปิดมุมมองใหม่ๆ จากทีมงานมากความสามารถของ Chira Acadamy มีการสรุปและถอดบทเรียน ในแต่ละวิชา มีเนื้อหาที่มีความครบถ้วนและจะเป็นแหล่งข้อมูลที่มีประโยชน์ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ รวมถึงยังสามารถนำไปเผยแพร่ต่อให้กับบุคลากรของมหาวิทยาลัยทักษิณ


ในวันแรก (4ก.ค.60) ได้เรียนรู้หลักการที่สำคัญและประทับใจคือ

1. หลักทฤษฎี 2 R คือ Reality และ Relevance

Learning how to learn สอนให้มีกระบวนการคิดร่วมกัน บนบริบทของแนวคิดตามความเป็นจริง (Reality) และแก้ปัญหาให้ตรงประเด็น (Relevance)

2. สอนให้มีหลักคิดในการค้นหาคุณค่าในตัวตนของแต่ละคนที่เป็นหน่วยsupportของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความเป็นเลิศ

         - โอกาสคืออะไร

         - อุปสรรคคืออะไร

         - เราจะใช้จุดแข็งของเราอย่างไร และให้ผลักดันออกมา 

         - อย่าทำงานคนเดียว

3.ได้เรียนรู้แบบอย่างของผู้นำ ตามตัวอย่าง role model ซึ่งแต่ละท่านจะมีภาวะผู้นำที่โดดเด่น คุณลักษณะเฉพาะตัวที่มีความแตกต่างกัน ที่จะนำมาปรับปรุงในการแก้ไขปัญหารวมถึงพัฒนาองค์กรในด้านต่างๆต่อไป

น.ส.อมรรัตน์ วรรณวิไล (กลุ่ม 4)

สรุปประเด็นสำคัญโดนใจเนื้อหา “การสร้างทีมและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ และการจัดการความขัดแย้ง”

1. สร้างความรู้สึกดี ๆ ให้กับตัวเองก่อน แล้วเราจะทำความรู้สึกดี ๆ แบบนั้นให้กับคนอื่น พฤติกรรมทุกอย่างมีสาเหตุ ให้มองที่ตัวเราเองก่อน แล้วจึงค่อยมองคนอื่น

2. หากอยากจะให้คนอื่นทำอะไร เราต้องทำซ้ำ พูดบ่อย ๆ จะทำให้เกิดเงื่อนไขกับคนที่เราต้องการให้เขาทำ ก่อให้เกิดการกระทำที่เป็นอัตโนมัติได้ในที่สุด

3. การทำงานร่วมกัน “ฉัน เธอ คนอื่น” ไม่ว่าเราจะทำอะไร สิ่งที่เราทำจะมีผลกับทุกคน

4. จงระวังสิ่งที่คิดในสมอง เราคิดอะไรก็จะได้อย่างนั้น หากอยากสำเร็จ เราต้องเชื่อให้มากพอ และทำให้มากพอ

5. ไม่มีประโยชน์ที่จะคิดถึงเรื่องล้มเหลวในอดีต ไม่ว่าเราจะรู้สึกในอดีตหรืออนาคต แต่ความรู้สึกนั้นเรารู้สึกในปัจจุบัน “จงสนใจในเรื่องที่เราต้องการจะเป็น และเดินหน้าเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย”

น.ส.อมรรัตน์ วรรณวิไล (กลุ่ม 4)

บทความ Coach Jimmy เชิญ Marshall GoldSmith มาเมืองไทย

ประโยชน์ที่ได้ต่อตัวเอง

1. ต้องพัฒนาตนเองให้เป็นคนที่ชอบเรียนรู้หาความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ รวมถึงต้องสร้างโอกาสให้กับตัวเองในการสัมผัสกับคนเก่ง ๆ เพื่อเปิดโลกทัศน์ให้กับตัวเอง สร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเองและเห็นมุมมองที่หลากหลาย

2. ให้ใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง ความสำเร็จในปัจจุบันอาจนำไปสู่ความล้มเหลวในอนาคตได้ หากเราหลงตัวเอง คิดว่าตัวเองเก่งไม่มีใครสู้ได้ และไม่พยายามที่จะพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง

3. ในการเป็นหัวหน้า ยิ่งมีตำแหน่งที่สูงขึ้นก็ต้องยิ่งถ่อมตัว ต้องทิ้งนิสัยที่ไม่ดีออกไป ต้องไม่คิดว่าตัวเองสำคัญที่สุด ไม่มองคนอื่นว่าด้อยกว่า ต้องรู้จักการควบคุมอารมณ์ มองโลกในแง่ดี ผลักดันและสนับสนุนให้คนรอบข้างสามารถประสบความสำเร็จได้ด้วยตัวเอง

4. ได้เรียนรู้ว่า การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน รู้ว่าตัวเองต้องทำอะไร แล้วค่อย ๆ ทำไปเรื่อย ๆ ฝึกไปเรื่อย ๆ สั่งสมประสบการณ์ เรียนรู้ทั้งจากความสำเร็จและความผิดพลาด พัฒนาและปรับปรุงในที่สุดก็จะสามารถบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ได้

ประโยชน์ที่ได้ต่อองค์กร (ควรจะนำแนวคิดมาปรับใช้อย่างไร)

1. นำแนวคิดไปใช้ในการวิเคราะห์งานในหน่วยงานว่างานที่ทำอยู่นั้นงานใดบ้างที่ยังไม่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และงานเหล่านั้นก่อให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริงกับองค์กรหรือไม่

2. ความสำเร็จของมหาวิทยาลัยทักษิณในปัจจุบัน เราต้องรักษาให้คงอยู่ และสร้างจุดแข็งให้ยังคงความเข้มแข็งต่อไปเรื่อย ๆ ต้องตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เพราะสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ก็สามารถพัฒนาและสร้างจุดแข็งเพื่อมาเทียบเคียงและแข่งขันกับเราได้เสมอ

นางอัจฉราภรณ์ กวมทรัพย์

การจัดการความขัดแย้ง : การแก้ปัญหา ความขัดแย้งมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และบุคลิกของผู้ร่วมงานว่าเป็นอย่างไร เราต้องเลือก้วิธีการแก้ปัญหาให้ถูกวิธีและพยายามทำให้ทุกคนเป็นผู้ชนะ   องค์กรจึงจะประสบความสำเร็จ 


รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง

นางอัจฉราภรณ์ กวมทรัพย์

 การสร้างและบริหารทีม : ทีมจะเข้มแข็ง และสามารถทำงานได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยก็ต่อเมื่อคนทำงานทุกคนคิดเหมือนกัน หรืออย่างน้อยคิดให้คล้ายคลึงกันมากที่สุด ทีมก็จะแข็งแกร่งขึ้น และทำงานได้ตรงจุดประสงค์ขึ้น โดยทีมต้อง

- กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน สามารถเข้าถึงและจับต้องได้ อีกทั้งสามารถปฏิบัติได้จริง 

- เพื่อนร่วมงานของเราต้องเข้าใจอย่างแท้จริง เราต้องสามารถอธิบายได้ว่างานแต่ละชิ้นมีวิธีการทำอย่างไร เมื่อเข้าใจตรงกันแล้ว งานที่ทีมช่วยกันทำก็จะสำเร็จผลได้ง่ายขึ้น และการต้องเผชิญกับอุปสรรคก็จะน้อยลง 

ดังนั้น การที่จะมีทีมทำงานที่แข็งแกร่งได้นั้น เป้าหมายและบทบาทของสมาชิกต้องชัดเจน

นางอัจฉราภรณ์ กวมทรัพย์

ความประทับใจ

หลักสูตรช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาตนเอง เสริมสร้างขีดความสามารถ และพัฒนาผู้บริหารสายสนับสนุนให้มีวิสัยทัศน์ ความรู้ ทักษะการบริหาร และการมีเครือข่ายในการบริหารงาน ภาวะผู้นำ การทำงานเชิงรุก การสร้างแรงบันดาลใจและทัศนคติที่ดี เพื่อการพัฒนาตนเอง งาน และองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

- ในด้านวิทยากรที่เชิญมาให้ความรู้มีความหลากหลายในการ Presentation กับผู้เข้าอบรม   ได้รับความรู้ที่คาดหวังตั้งแต่เริ่มอบรม  และมองภาพได้กว้างขึ้น พร้อมนำไปประยุกต์ใช้งานในองค์กรได้เป็นอย่างดี

- ในด้านผู้เข้าร่วมสัมมนาด้วยความอบอุ่น เป็นกันอง มีความสนิทสนม กลมเกลียว ทั้งในด้านส่วนตัวและความร่วมมือในการทำงาน

ปาจรีย์ เรืองคล้าย

วันที่ 4 กรกฎาคม 2560

วิชาที่ 1 ปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

สิ่งที่ได้เรียนรู้

          โครงนี้เป็นโครงการที่ดี ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสายสนับสนุนให้เกิดความมั่นใจในการทำงาน กล้าแสดงออก กล้าคิด กล้าทำ เกิดภาวะผู้นำ มีความสุขจากการทำงาน รักองค์กร โดยใช้กระบวนการจัดการและบ่มเพาะแบบนิเวศวิทยา และกระบวนการอื่นๆ ที่เหมาะสม เนื่องจากสายสนับสนุนถือเป็นเฟืองหรือกลไกสำคัญอีกส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนงานหรือระบบขององค์กรให้ประสบความสำเร็จสู่ความเป็นองค์กรชั้นนำได้ นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวถือเป็นการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ของบุคลากรภายในองค์กรให้เข้มแข็ง และมีมิตรภาพที่ดีต่อกัน เกิดความร่วมมือในการพัฒนามหาวิทยาลัยทักษิณในทุกส่วนงาน

 

วิชาที่ 2 ภาวะผู้นำ ทัศนคติ และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

สิ่งที่ได้เรียนรู้

          ความรู้ที่ได้รับจากวิชาที่ 2 คือ ความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างผู้นำและผู้บริหารจัดการ ทำให้สามารถวิเคราะห์ตนเองได้ว่าปัจจุบันตนเองเป็นผู้บริหารจัดการที่ดีหรือไม่ และควรพัฒนาตนเองไปสู่ผู้นำที่ดีและมีศักยภาพได้อย่างไร เนื่องจากการจะเป็นผู้นำที่ดีได้ต้องเริ่มจากการเป็นผู้บริหารจัดการที่ดีก่อน สำหรับการพัฒนาสู่การเป็นผู้นำที่ดีควรศึกษาหรือเรียนรู้จากประสบการณ์ของคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต เรียนรู้จากทัศนคติของคนเหล่านั้นและนำมาปรับใช้ หรือพัฒนาทัศนคติ เพื่อสร้างต้นแบบของตนเอง พัฒนาสู่การเป็นผู้นำขององค์กรที่มีคุณค่า

 

วิชาที่ 3 การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3V

สิ่งที่ได้เรียนรู้

          ความรู้ที่ได้รับจากวิชาที่ 3 คือ รูปแบบของการจัดทำโครงการเชิงนวัตกรรม และแนวทางการจัดทำโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3V ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ในการจัดทำโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานหรือแก้ปัญหาการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยทักษิณได้

 

วิชาที่ 4 การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

สิ่งที่ได้เรียนรู้

          ความรู้ที่ได้รับจากรายวิชาที่ 4 คือ การเริ่มสร้างทีมที่เข้มแข็งต้องเริ่มจากการรู้จักตนเองก่อน ต้องเข้าใจว่าเราสนใจในเรื่องใด และต้อง Focus ในเรื่องนั้น จากนั้นหาผู้เข้าร่วมทีมที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ที่สามารถร่วมกันทำให้สิ่งที่สนใจบรรลุตามแผนที่วางไว้ได้ โดยการมอบหมายงานให้เหมาะสม ในส่วนของการอยู่ร่วมกันภายในทีมต้องใช้เหตุและผลในการตัดสินใจ มากกว่าใช้จิตสำนึกของตนเองเป็นตัวตั้ง คำนึงถึงผลที่จะตามมาจากการกระทำว่าจะส่งผลดีหรือผลเสียต่อทีม มีการแบ่งปัน และแลกเปลี่ยนความคิดกันภายในทีมเพื่อหาแนวทางการดำเนินงานที่ที่ดีขึ้น เรียนรู้จากประสบการณ์และความผิดพลาด พร้อมพัฒนาข้อผิดพลาดให้ดีขึ้น

 

วิชาที่ 5 การบริหารความขัดแย้งและการบริหารจัดการอารมณ์

สิ่งที่ได้เรียนรู้

          ความรู้ที่ได้รับจากรายวิชาที่ 5 คือ ไม่ควรใช้อารมณ์ในการตัดสินความขัดแย้ง ควรมองปัญหาความขัดแย้งและสาเหตุที่เกิดขึ้นด้วยเหตุและผล และหาแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกันทั้งสองฝ่ายโดยใช้การประนีประนอม หรือการเปิดใจ หรือการทำข้อตกลงร่วมในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อความก้าวหน้าขององค์กร

 

บทความเรื่อง Coach Jimmy เชิญ Marshall GoldSmith มาเมืองไทย

ประโยชน์ต่อตัวเอง คือ

1) หากต้องการประสบความสำเร็จในงานที่รับผิดชอบต้องรู้จักเรียนรู้ ฝึกฝน และเสริมสร้างศักยภาพของตนเองอยู่ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง

2) ควรเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้ที่สำเร็จมาก่อนเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและนำองค์ความรู้ อีกทั้งทัศนคติในการทำงานมาปรับใช้ในการพัฒนาตนเองสู่ความสำเร็จในอนาคต

3) ผู้นำที่ดีและประสบความสำเร็จนอกจากจะเก่ง แล้วต้องเป็นคนดี มีจริยธรรม และฉลาดทางอารมณ์ด้วย

ประโยชน์ต่อองค์กร คือ

1) หากองค์กรมีบุคลากรที่มีความสามารถก็จะสามารถนำพาองค์กรสู่ความสำเร็จเป็นองค์ชั้นนำที่น่าเชื่อถือได้

นางสาวสุชาดา ถาวรานุรักษ์ กลุ่มที่ 2

วิชาที่ 1 ปฐมนิเทศ แนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้ และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

                    หลักสูตรนี้ช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาตนเอง เปิดใจ เปิดโลกทัศน์ เปลี่ยนมุมมองในการคิดสร้างภาวะผู้นำ ค้นหาแก่นของตัวเอง สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับตนเองและพัฒนาองค์กรให้เป็นหน่วยงานแห่งการเรียนรู้ตลอดเวลา พร้อมรับสิ่งใหม่และการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

วิชาที่ 2 ภาวะผู้นำ ทัศนคติ และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

                   การพัฒนาตนเองให้เป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์มองรอบด้าน ดูบริบทของความจริง ตรงประเด็น ปรับทัศนคติ ปรับความเชื่อ ปรับอุปนิสัยและผู้นำที่ดีต้องมีองค์ประกอบ 8 K’s+5 K’s เรียนรู้แบบอย่างของผู้นำที่ดีแต่ละท่านเพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาตนเองและองค์กรด้านต่างๆ และใช้ทฤษฎี 3 วงกลมเพื่อบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ

                   “Managing is doing things right, Leadership is doing the right things.”

วิชาที่ 3 การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 V

                   ควรหานวัตกรรมใหม่ ความคิดริเริ่มใหม่ ในการทำงาน ลดต้นต้น ลดกระบวนการทำงาน นำมาประยุกต์ในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาและสร้างประสิทธิภาพให้กับองค์กรและตัวเอง

วิชาที่ 4 การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

                    การสร้างทีมที่เข้มแข็งต้องรู้จักตัวเองก่อนและสร้างความรู้สึกดีๆๆ เริ่มต้นที่ตัวเองก่อนแล้วทำแบบนั้นกับคนอื่นๆ จนเป็นนิสัย สร้างทีมให้มีเป้าหมายเดียวกัน มีแผนการดำเนินงานและลงมือทำตามเป้าหมายและแผนที่วางไว้ เชื่อใจกันให้มากพอและเข้าใจความแตกต่างของแต่ละคน มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ อย่าใช้จิตสำนึกตัวเองเป็นที่ตั้งในการตัดสิน เรียนรู้จากประสบการณ์และข้อผิดพลาดเพื่อพัฒนาให้มีการทำงานเป็นทีมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  

วิชาที่ 5 การบริหารความขัดแย้งและการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

                   ไม่ควรใช้อารมณ์ในความขัดแย้ง ควรบริหารจัดการอารมณ์เริ่มต้นที่ตังเองก่อน หาจุดร่วม คุยกันอย่างเปิดใจ เข้าใจความแตกต่างและปัญหาของแต่ละคน จงอย่าตัดสินใจในสิ่งที่คุณเห็นทุกอย่างมักมีมากกว่า 2 ชั้นเสมอเพื่อลดความขัดแย้งภายในองค์กร

บทความ Coach Jimmy เชิญ Marshall GoldSmith มาเมืองไทย

ประโยชน์ต่อตัวเอง

                   1. ต้องพัฒนาตนเองให้เป็นคนชอบเรียนรู้หาความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ รวมทั้งสร้างโอกาสให้กับตัวเองได้สัมผัสคนเก่งๆ เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กับตัวเราและสร้างแรงบันดาลใจ มุมมองใหม่ที่หลากหลาย

                   2. กระตุ้นตัวเองให้เกิดพลังการอ่านหรือการปะทำปัญญาเพื่อให้อยากทำให้สำเร็จในสิ่งที่สูงขึ้น

                   3. อย่าประมาทกับความสำเร็จเพราะความสำเร็จในปัจจุบันอาจนำไปสู่ความล้มเหลวได้ในอนาคตหากเราคิดว่าตัวเองเก่งไม่อยากพยายามจะพัฒนาตนเอง

                   4. ในการมีตำแหน่งที่สูงขึ้นต้องถ่อมตัว ต้องทิ้งนิสัยที่ไม่ดีออกไป ไม่ใช่คิดว่าแน่คนเดียว

ประโยชน์ต่อองค์กร

                   1. การคิดวิเคราะห์งานที่ทำอยู่ในทุกๆ วันในองค์กรนั้นมีประโยชน์ต่อองค์กรหรือลูกค้าหรือไม่

                   2. ในการดำเนินงานภายในองค์กรต้องมั่นเรียนรู้เสมอ ปรึกษาผู้รู้ในงานนั้นหากไม่รู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร

 

สรุปผลจากการเรียนรู้

วิชาที่  1 แนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้ และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

ต้องเข้าใจกระบวนการทำงาน โดยแบ่งออก 2 ส่วนคือระบบและคน ซึ่งต้องไปด้วยกัน ในส่วนของคนถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย โดยนำทฤษฎี 3 วงกลม เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ 1.รู้จักและจัดการองค์กร 2. รู้ศักยภาพของคนในองค์กร การพัฒนาสมรรถนะ การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ 3. สร้างแรงจูงใจในการนำความสามารถและศักยภาพออกมาใช้งานอย่างเต็มที่เต็มความสามารถ การทำงานร่วมกันเป็นทีม พร้อมทั้งมีทัศนคติ มีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเพิ่มคุณค่าและเพิ่มผลผลิตที่ดีให้กับองค์กร

วิชาที่  2 ภาวะผู้นำทัศนคติ (Mindset) และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

          ผู้นำที่ประสบความสำเร็จต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการและมีความสามารถในการปรับกระบวนการทางความคิด (Mindset) เห็นคุณค่าที่มีอยู่ในตัวทุกคน ตามคุณสมบัติผู้นำของ Dalai Lama คือ อย่าสั่งการ ต้องเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน ต้องสอนให้คนรู้จักคิด หาคำตอบได้ด้วยตัวเอง อย่าบอกคำตอบหรือหาทางออกให้ทุกเรื่อง และให้เชื่อมั่นในศักยภาพของคนสามารถเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ได้ (Growth Mindset)

วิชาที่  3 การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 V

          การนำทฤษฎี 3 V มาใช้ในการออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรม คือ

 1. Value Added สร้างมูลค่าเพิ่ม

2. Value Creation สร้างคุณค่าใหม่

3. Value Diversity สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

โดยการนำปัญหา จุดอ่อนและโอกาส เพื่อหาทางสร้างคุณค่าแบบ 3 V

วิชาที่  4 การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

          การสร้างทีมต้องมีเป้าหมายเดียวกัน โดยเกิดจากทุกคนมีส่วนร่วม ลงมือทำงานด้วยกันได้ดี มีการสื่อสารจากภายในและภายนอก รู้สึกสนุกในการทำงานและมีผลงานที่มีคุณภาพ

          การบริหารทีมต้องมองคนอย่างเข้าใจ ทุกคนมีความหลากหลาย ทั้งด้านครอบครัว การศึกษา สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและกรรมเก่า (การกระทำ ที่ทำบ่อย ๆ ) ฉะนั้นก่อนตัดสินใจใครต้องคิดอย่างรอบคอบและรอบด้าน เพื่อหาเหตุผลในการกระทำของเขา (รู้กับดัก หาสาเหตุ ดูผลลัพธ์ และเปลี่ยนอย่างไร) แล้วจงตระหนักว่า ถ้าเราป้อนสิ่งดี ๆ ลงไปบ่อย ๆ  จิตสำนึกและจิตใต้สำนึกจะประมวลผลออกแต่เรื่อง ดี ๆ และได้ผลลัพธ์ที่ดี และผลที่ตามมาจะทำให้เรามีพลังสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ให้กับตัวเองและทีมงาน เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกันและนำไปสู่การประสบความสำเร็จ

วิชาที่  5 การบริหารความขัดแย้งและพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์           

ต้องรู้จักวิธีการจัดการความขัดแย้ง

1. หลีกเลี่ยง การเผชิญหน้าจะทำลายความสัมพันธ์ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการทำงาน

2. ผ่อนปรน เข้าใจผู้ร่วมงานมองอย่างเมตตา

3. การร่วมมือ ทำงานร่วมกันสร้างข้อตกลงร่วมกัน และสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันที่ดี

4. การเผชิญหน้า ต้องมีจุดยืนตรงไปตรงมาอย่างอ่อนน้อม คุยอย่างเปิดใจพร้อมคำพูด ชื่นชม ขอบคุณ ขอโทษ

 

บทความ Coach Jimmy เชิญ Marshall GoldSmith มาเมืองไทย

1. ประโยชน์ต่อตัวเอง

การพัฒนาตนเองเป็นการเตรียมพร้อมในด้านต่าง ๆ เพื่อรับกับสถานการณ์และโอกาสดี ๆ ที่เข้ามา Coach Jimmy เป็นคนชอบเรียนรู้หาความรู้ใหม่ๆ จนทำให้เจอโอกาสและเห็นคุณค่าของโอกาสนั้น และพัฒนางานนั้นอย่างต่อเนื่อง เช่น การลงเรียนหลักสูตรนานาชาติ  สอดคล้องกับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่กล่าวว่า “การได้สัมผัส คนเก่ง ๆ ในโลก เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้คนไทยมากขึ้นและได้สะสมประสบการณ์ด้วย” ซึ่งตรงกับทฤษฎี 4 L’s คือ เพื่อการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 

2. ประโยชน์ต่อองค์กร (ควรจะนำแนวคิดมาปรับใช้อย่างไร?)

การรู้จักบริบทขององค์กร ตามทฤษฎี 2 R’s เพื่อการมองและเข้าใจสถานการณ์จริง วิเคราะห์ปัญหา และการเรียนรู้ ซึ่งสอดคล้องกับ Michael Hammer เจ้าพ่อ Reengineering ซึ่งบอกไว้ว่า “งานที่เราทำอยู่ทุกๆ วัน บางครั้งทำในสิ่งที่ไม่สำคัญ คือ ไม่ใช่ Real Work บางครั้งไม่ได้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรจริงทำให้ไม่เกิดประโยชน์แก่ลูกค้า” ฉะนั้น ต้องทำความเข้าใจถึงสถานการณ์จริงขององค์กร (Reality) ที่เป็นอยู่และวิเคราะห์ให้ตรงประเด็น (Relevance) 

นนทพัทธ์ นวลนิ่ม กลุ่มที่ 4

สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้ในช่วงที่ 1

วิชา

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้

ปฐมนิเทศ แนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้

         บทบาทหน้าที่ของตัวบุคคลในการปฏิบัติงานที่ผ่านมาเป็นแบบการทำงานตามหน้าที่ ที่ตนเองรับผิดชอบโดยมุ่งมั่นการทำงานให้สำเร็จ แต่ก็ยังไม่ได้เติมเต็มเพื่อพัฒนางาน การนำหลักสูตรการพัฒนาบุคลากรเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างเครื่องมือเพื่อบูรณาการในหน้าที่ ที่รับผิดชอบเป็นส่วนดีที่บุคลากรได้นำไปปรับใช้ ในการบริหารงานในเชิงรุก รวมถึงสร้างเครือข่ายการทำงานเพิ่มแนวคิดการแก้ปัญหา และพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ

     ประโยชน์ที่ได้รับจากหลักแนวคิดทฤษฏี ที่มีประสิทธิภาพทำให้สร้างความได้เปรียบในการทำงานเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทั้งตัวเองและองค์กร ภายใต้แนวคิดที่หลากหลายส่งผลให้เกิดการสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้กับภาระงานที่รับผิดชอบ

ภาวะผู้นำทัศนคติ (Mindset) และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลง

      การสร้างแนวความคิดภายใต้ทัศนคติที่ดี ส่งผลให้เกิดการสื่อสารระหว่างหน่วยงานและบุคคล จนสามารถสร้างทีมงาน และนำความเปลี่ยนแปลงเข้าสู่องค์กรในเชิงพัฒนา ผ่านกระบวนการทักษะภาวะผู้นำ

   ภาวะผู้นำเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีในองค์กร เพื่อให้องค์กรมีประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการจนนำไปสู่เป้าหมายขององค์กร

การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

     ทีมเป็นสิ่งสำคัญในองค์กร การทำงานเชิงเดี่ยวให้สำเร็จนั้นอาจทำได้ แต่ประสิทธิภาพที่ได้นั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงหากเทียบกับความสำเร็จจาก Team work

   การนำเอาหลักในบริหารจัดการทีมให้มีประสิทธิภาพ ต้องอาศัย ปัจจัยทางการสร้างความคิดเชิงบวกให้บุคลากร เพื่อขจัดความขัดแย้งในองค์กร จะส่งผลดีทั้งบุคคลและองค์กร

บทความ Coach Jimmy เชิญ Marshall GoldSmith มาเมืองไทย.

             ประโยชน์ต่อตัวเอง

              จากบทความสื่อให้ทราบถึงการทำงานที่สามารถสะสมประสบการณ์เรียนรู้ที่จะดึงเอาประโยชน์จากงานและเพื่อนร่วมงานมาปรับใช้ให้การทำงานลุล่วงและมี  ประสิทธิภาพสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลสัมฤทธิ์ของงานที่ตัวเองปฏิบัติ         

             ประโยชน์ต่อองค์กร

              องค์กรจะประสบผลสำเร็จได้ก็ต้องอาศัยบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ การมีภาวะผู้นำแนวคิดและทัศนะคติที่ดีจะนำพาองค์กรสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จ


นายอนุกูล ศรีวรรณ กลุ่มที่ 2

สรุปประเด็นสำคัญและการนำไปปรับใช้ต่อการทำงาน

1. เราควรทำตัวเป็นน้ำพร่องแก้ว เพื่อจะได้เรียนรู้และรับสิ่งใหม่ๆ เข้ามาในชีวิตอยู่เสมอ
2. การเป็นผู้นำกับผู้บริหารมีความแตกต่างกัน ดังนั้น ในการทำงานเราต้องมีบทบาทที่ชัดเจนและเลือกที่จะเป็นผู้นำหรือเป็นผู้บริหาร
3. ในการทำงานเป็นทีม เราต้องรู้จักตนเองก่อน เมื่อเราเข้าใจตนเองแล้วจะทำให้เข้าใจคนอื่นได้ง่ายขึ้น และสามารถทำงานร่วมกันกับผู้อื่นได้ง่าย

นายอนุกูล ศรีวรรณ กลุ่มที่ 2

วิเคราะห์บทความ

1. ประโยชน์ต่อตนเอง เมื่อเราเป็นผู้นำและต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต เราต้องปรับตัวโดยการละทิ้งอุปนิสัยที่ไม่ดีออกไป
2. ประโยชน์ต่อองค์กร หากผู้นำสามารถละทิ้งอุปนิสัยที่ไม่ดีออกไปได้ ก็จะทำให้องค์กรสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ลดความขัดแย้งในองค์กร

นางสุกัญญา กุตเสนา กลุ่มที่ 4

วิชาที่ 1 ปฐมนิเทศ แนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้ และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

          การที่จะพัฒนามหาวิทยาลัย เราทุกคนมีหน้าที่เท่าเทียมกันหมดในการพัฒนา เราทุกฝ่ายทุกคนต้องเตรียมตัวให้พร้อมในการพัฒนาตนเองเพื่อนำพามหาวิทยาลัย ประเทศชาติให้พ้นจากวิกฤตนี้ไปให้ได้        จากทฤษฎีที่ได้เรียนรู้ ชอบทฤษฎี 2R’s  หากเรามองความจริงให้ตรงประเด็นแล้ว ปัญหา หรือการสร้างแรงบันดาลใจก็เกิดโดยง่าย

วิชาที่ 2 ภาวะผู้นำทัศนคติ (Mindset) และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

รู้จักคน ใช้คนเป็น พัฒนาคนเก่ง

วิชาที่ 3 การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 v (Value added – Value Creation – Value Diversity)

          โครงการเชิงนวัตกรรม และแนวทางการจัดทำโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3V         ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานประจำได้

วิชาที่ 4  และวิชาที่ 5

การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพและการจัดการความขัดแย้ง

เริ่มต้นที่ตัวเองก่อน โดยมองทุกอย่าง ทุกเหตุการณ์ให้มากกว่า 2 ด้านเสมอ บริหารจัดการความเครียดโดยการ มองทุกอย่างให้เป็นเรื่องธรรมชาติ  สร้างแรงบันดาลใจให้กับตนเองและทีม ตั้งเป้าหมาย รายละเอียดของงาน พูดคุยกันตรงไปตรงมา แบบไม่มีอคติ มอบหมายงานตรงตามความสามารถ แก้ปัญหา และสร้างงานใหม่ เพื่อความก้าวหน้าขององค์กร

นางสาวธิดา จิตต์ล้ำเลิศกุล กลุ่มที่ 3

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน  

วิชาที่ 1 ปฐมนิเทศ แนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

            วิธีการเรียนรู้ตามแนวทางของศ.ดร.จีระ ซึ่งมีหลายทฤษฎีที่น่าสนใจ ในการนำมาใช้จุดประกายความคิดในการเรียนรู้และร่วมแบ่งปันประสบการณ์ การมองงานและคนตามความจริงและตรงประเด็นตามหลัก 2R’s             การปรับเปลี่ยนแนวคิดในการทำงาน การคิดร่วมกัน ค้นหาตัวเอง และพัฒนางาน และนำเทคนิคต่างๆ ไปปรับวัฒนธรรมองค์กร  

วิชาที่ 2 ภาวะผู้นำทัศนคติ (Mindset) และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน 

           ความแตกต่างระหว่างผู้นำกับผู้จัดการ ได้เรียนรู้วิธีคิดของผู้นำที่หลากหลาย เช่น Nelson Mandela ไม่เน้นถูกหรือผิด 100% แต่มีการประนีประนอมที่เหมาะสม และรักษาหลักการไว้ หาทางตกลงกันได้แบบ Win-Win ซึ่งคนในองค์กรมีหลายแบบการประนีประนอมและหาจุดร่วมเป็นสิ่งสำคัญในการนำพาองค์กรสู่เป้าหมายได้ ทำให้เห็นว่าผู้นำที่ดีต้องรู้จักฟังและค้นคว้าหาข้อมูล

            การนำแบบอย่างของผู้นำในแบบต่าง ๆ ไปปรับใช้ให้เหมาะสมในบริบทที่แตกต่างกันและการปรับทัศนคติของตัวเอง เพื่อให้เข้าใจและสามารถจัดการกับปัญหาในการทำงานระหว่างคนหลากหลายช่วงอายุ              

วิชาที่ 3 การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 V

                การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม องค์กรแห่งความสุข เป็นประเด็นท้าทายต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบันในการคิดว่าจะต้องทำอย่างไรเพื่อสร้างสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยทักษิณ การพัฒนามหาวิทยาลัยทักษิณ โดยเน้นการเรียนรู้บนพื้นฐานองค์กรแห่งการเรียนรู้ การรู้จักสร้างนวัตกรรมในการพัฒนางาน เพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 V นอกจากจะต้องสร้างมูลค่าเพิ่มแล้วต้องสร้างคุณค่าใหม่และสร้างคุณค่าจากความหลากหลายด้วย 

วิชาที่ 4 การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

                การเปลี่ยนทัศนคติแล้วตั้งเป้าหมายเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ การเข้าใจคนรอบข้าง มองภาพองค์รวม อย่าตัดสินผู้อื่นจากภายนอกที่เห็น แต่ควรคิดตริตรองถึงเบื้องหลังของการแสดงออก ในการทำงานร่วมกันไม่ว่าจะทำสิ่งใดจะมีผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่นเสมอ ดังนั้นการจะกระทำอะไรควรคิดก่อนพูด ก่อนทำ และรู้จักสร้างความรู้สึกในเชิงบวกเพื่อกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจในการทำงานแก่ทีมงาน และรู้จักปรับเปลี่ยนมุมมองใหม่เพื่อให้เกิดการกระทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้                      

วิชาที่ 5 การบริหารความขัดแย้งและการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

                เมื่อเกิดความขัดแย้งต้องฟังรอบด้าน สร้างหนทางแก้ปัญหาร่วมกัน การเข้าใจและเปิดใจ และต้องหาทางประนีประนอมหรือยุติข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้น ซึ่งการทำงานกับคนหลากหลายย่อมมีความขัดแย้งขึ้นอยู่กับว่าเราจะจัดการความขัดแย้งนั้นอย่างไร

บทความ Coach Jimmy เชิญ Marshall GoldSmith มาเมืองไทย

ประโยชน์ต่อตัวเอง

  • การเรียนรู้ที่จะหาความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ และเมื่อไม่รู้นอกจากจะหาความรู้ตามตำราแล้ว สิ่งที่เหนือกว่าตำราคือประสบการณ์จริงของคนรอบตัวเรา
  • นอกจากทำงานที่รับผิดชอบ การแสวงหาความรู้โดยการเปิดโลกทัศน์ทำสิ่งใหม่ ๆ การไปฝึกอบรม ก็เป็นการสะสมประสบการณ์และเรียนรู้ทัศนคติจากคนที่หลากหลาย
  • การไม่หลงตนเองและประมาทว่าประสบความสำเร็จแล้ว เพราะอาจจะล้มเหลวในภายหลังโดยไม่รู้ตัว
  • เรียนรู้ถึงการเป็นผู้นำที่ดีและการทิ้งอุปนิสัยที่ไม่ดี 

ประโยชน์ต่อองค์กร

  • การสร้างแรงจูงใจในการอ่านและการปะทะทางปัญญาแก่คนในองค์กร เพื่อให้เกิดความกระตือรือร้นอยากจะประสบผลสำเร็จส่งผลให้องค์กรเกิดการพัฒนา
  • การหันกลับมามองงานในองค์กรว่าเป็น Real Work และเกิดประโยชน์ต่อองค์กรจริงหรือไม่
  • การสร้าง creativity ให้กับคนในองค์กรทำให้ได้แนวคิดและสร้างมุมมองใหม่ในการทำงาน

 

นางสาวปิ่นปินัทธ์ ดำนุ้ย กลุ่มที่ 5

วิชาที่ 1 ปฐมนิเทศ แนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้ และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

          โครงการครั้งนี้ เป็นโครงการที่ดีที่มหาวิทยาลัยเห็นความสำคัญของบุคลากรสายสนับสนุน ที่จะพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสายสนับสนุน ให้มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ ทักษะการบริหาร รวมถึงการสร้างเครือข่ายในการบริหารงาน การส่งเสริมให้บุคลากรมีความกล้าคิด กล้าแสดงออก เพื่อเพิ่มทักษะความเป็นภาวะผู้นำ และการสร้างแรงบันดาลใจและทัศนคติที่ดีเพื่อการพัฒนาตนเอง พัฒนางาน และร่วมขับเคลื่อนพัฒนามหาวิทยาลัยทักษิณ ให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผล และเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน

          ทั้งนี้ จากรายละเอียดของโครงการพบว่า ผู้เข้าอบรมจะได้รับโอกาสที่ดีที่จะได้เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ จากผู้ที่มีความรู้ ผู้ที่ประสบการณ์ และผู้มีประสบความสำเร็จ ที่มีความหลากหลาย นับการเรียนรู้แบบก้าวกระโดด สามารถนำแบบอย่างที่ดีไปพัฒนาตนเอง งานและองค์กรได้อย่างรวดเร็ว

          การนำไปปรับใช้ ทราบข้อมูลและวิชาที่จะฝึกอบรมและคาดหวังว่าหลังการเข้าร่วมโครงการจะนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาตนเอง พัฒนางาน และร่วมขับเคลื่อนพัฒนามหาวิทยาลัยทักษิณ

วิชาที่ 2 ภาวะผู้นำทัศนคติ (Mindset) และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

          เข้าใจความแตกต่างของผู้นำและผู้จัดการ และผู้นำที่ดีต้องเป็นทั้งผู้จัดการที่ดีและเป็นผู้นำที่ดีด้วย และต้องบริหารทั้งผลงานและเวลาให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีคุณภาพ การสร้างความศรัทธาหรือความเชื่อมั่นในตัวเองเพื่อการเป็นที่ยอมรับและสร้างคุณค่าต่อองค์กรและสังคม  นอกจากนี้ ต้องเรียนรู้ลักษณะของผู้นำที่ดีจากตัวอย่างผู้นำที่ประสบความสำเร็จทั้งในระดับประเทศไทยและระดับโลก จากตัวอย่างผู้นำที่ประทับใจ คือ Dalai Lama ในประเด็นของการ เป็นผู้นำที่ไม่สั่งการแต่ต้องเป็นผู้ส่งเสริมและสนับสนุน การเรียนรู้อะไรบางอย่างต้องฟังและค้นคว้าหาข้อมูล และการรู้จักสอนให้รู้จักคิด หาคำตอบได้ด้วยตัวเอง อย่าบอกคำตอบหรือหาทางออกให้ทุกเรื่อง

          การนำไปปรับใช้ การนำแบบอย่างของตัวอย่างผู้นำมาปรับใช้ในการบริหารงาน

วิชาที่ 3 การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 V (Value added – Value Creation – Value Diversity)

          การมอบหมายงานกลุ่ม เพื่อร่วมกันออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานและวิธีการนำเสนองานออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานของมหาวิทยาลัยทักษิณ โดยผลงานนั้นจะต้องมูลค่า 3 V ดังนี้

          1. Value Added สร้างมูลค่าเพิ่ม

          2. Value Creation สร้างคุณค่าใหม่

          3. Value Diversity สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

          การคิดโครงการควรเป็นไปตามทฤษฏี 2 R’s คือ มองความจริง (Reality)  และตรงประเด็น (Relevance) โดยเป็นประเด็นที่มีความท้าทาย โดยอาจจะมาจากทิศทางของมหาวิทยาลัย  ปัญหาขององค์กร โอกาสในการพัฒนา การเพิ่มประสิทธิภาพหรือคุณภาพขององค์กร นวัตกรรมด้านกระบวนการทางานที่ช่วยให้ประสิทธิภาพในการทำงาน

วิชาที่ 4 การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

          การทำงานเป็นทีม คือ การมองเป้าหมายเดียวกัน ลงมือทำตามเป้าหมายและแผนงานที่กำหนด การสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีต่อกันของผู้ร่วมทีม การสื่อสารอย่างเข้าใจ และสนุกกับงานที่ทำงาน ทั้งนี้ บุคคลที่มาร่วมงานในทีมนั้น เป็นคนที่มีความแตกต่างกันทั้งในด้านของครอบครัว การศึกษา สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม หรือกรรมเก่า ดังนั้น เราต้องศึกษาและเข้าใจความแตกต่างของเพื่อนร่วมทีม แต่ก่อนที่จะศึกษาเพื่อนร่วมทีมเราต้องรู้จักตัวเองก่อน วิเคราะห์ตัวเอง รวมถึงแนวทางปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม เช่น ต้องการให้ทีมเป็นแบบไหนเราก็ปฏิบัติแบบนั้นและปฏิบัติอย่างซ้ำๆ จนกลายเป็นนิสัย

          การนำไปปรับใช้ การวิเคราะห์ตัวเองและเพื่อนร่วมทีม เข้าใจซึ่งกันและกัน เพื่อเป้าหมายการทำงานเดียวกัน ทำงานอย่างมีความสุขและมุ่งบรรลุเป้าหมาย

วิชาที่ 5 การบริหารความขัดแย้งและการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

          การรู้วิธีการบริหารและจัดการอารมณ์ของตนเอง การมีสติในการทำงานและการสร้างพลังเชิงบวก เพื่อลดอารมณ์เชิงลบและขจัดความขัดแย้ง เราสามารถสร้างพลังเชิงบวกจาก การพูด ภาษากายที่แสดงออก การปรับเปลี่ยนมุมมองความคิด และการมองว่าทุกอย่างเป็นไปได้ แล้วงานจะบรรลุผลตามเป้าหมาย

          การนำไปปรับใช้ การใช้สติในการทำงานและการคิดบวกเพื่อลดความขัดแย้ง

วิเคราะห์บทความ Coach Jimmy เชิญ Marshall Goldsmith มาเมืองไทย

          จากการอ่านบทความ ประโยชน์ที่ได้รับ ดังนี้

          1) ต่อตัวเอง การพัฒนาตนเองและเรียนรู้ตลอดเวลา ซึ่งการเรียนรู้มาได้จากหลายๆ วิธี เช่น การอ่านหนังสือ การเรียนรู้จากผู้รู้หรือผู้ที่ประสบความสำเร็จ  เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเอง เกิดความเข้าใจตัวเอง เป็นคนที่มีมุมมองที่หลากลาย และเกิดการสร้างคุณค่าให้กับตัวเอง จากผลที่ได้นำมาใช้ในการตัวเองคือ การต้องพัฒนาและเรียนรู้ตลอดเวลาและอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะสำเร็จแล้วก็อย่าหยุดเรียนรู้

          2) ต่อองค์กร ผลการพัฒนาตัวเองและการเรียนรู้นำมาใช้ในการพัฒนางานในองค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เกิดประโยชน์สูงสุดกับนิสิตหรือผู้รับบริการ 

เกษร อินทนะนก กลุ่มที่ 2

กลุ่มที่  2
นางเกษร  อินทนะนก 
เจ้าหน้าที่บริหารงาน
คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา ม.ทักษิณ พัทลุง

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงานทุกรายวิชาในช่วงที่  1
รายวิชาที่  1  ปฐมนิเทศ แนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้  และข้อคิดเพื่อการพัฒนา
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
1. การออกแบบการเรียนรู้ที่ดี    ประกอบด้วยข้อมูลจริงในทุกด้าน  +  แนวความคิดของผู้มีประสบการณ์
2. การบริหารจัดการในการเตรียมความพร้อมเพื่อการเรียนรู้   เป็นตัวช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์แบบ  (การจัดสิ่งแวดล้อม ช่วยในการเรียนรู้)
3. ผู้เข้าร่วม  และ ทีมวิทยากร  ได้เรียนรู้ร่วมกัน  ( win-win)

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน
1. การค้นคว้าและศึกษาข้อมูลในการทำงาน  ทำให้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง
2. การออกแบบขั้นตอนการปฏิบัติงาน   ช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น
3. การเรียนรู้ปัญหา หรือ อุปสรรคในการทำงานจากผู้ใช้บริการ  มีความจำเป็นในการพัฒนางาน
รายวิชาที่  2  ภาวะผู้นำทัศนคติ (Mindset)  และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
1. Things right./ Right things.
1.1 Things right.   :  สำหรับการทำงานในช่วงแรกที่ยังไม่มีประสบการณ์  
1.2   Right things.   :  ใช้ประสบการณ์ในการทำงานเพื่อทำงานออกมาให้ดีที่สุด
2. Fixed /Growth
2.1 Fixed    ความรู้ที่อยู่กับที่ และเหมือนเดิม ไม่กล้าเปลี่ยนแปลง
2.2   Growth    ปัญญาสามารถพัฒนาได้ , มีการเจริญเติบโต  กล้าทำให้สิ่งที่ท้าทาย
3. Growth Mindset    การพัฒนาความคิด  โดยมีความคิดเป็นของตัวเอง มีการรับข้อมูลใหม่ ๆ รวมกับประสบการณ์ที่ผ่านมา  เป็นความรู้ใหม่  ที่สรุปได้อย่างเห็นภาพ

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน
1. การทำงานที่ใช้ทรัพยากรน้อยลง  แต่ได้ผลเท่าเดิม  หรือ ใช้ทรัพยากรเท่าเดิม  แต่ผลได้มากกว่าเดิม  (การบริหารจัดการ  ทรัพยากร และเวลา)
2. การเปลี่ยนความคิด  จะทำให้ชีวิตเปลี่ยน  มองงานที่ทำว่าต้องพัฒนาไปในรูปแบบใดอยู่เสมอ ไม่ทำงานแบบเดิมๆตลอดชีวิต 
3. เป็นนักวิจัยในงาน   คือ มีแนวความคิดเป็นของตัวเอง กล้าทดลองใช้วิธีการ หรือ กระบวนการใหม่ ๆในการทำงาน (ลองผิดลองถูก และหาวิธีการที่ดีที่สุด)
รายวิชาที่  3  การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3V  
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
1. การเพิ่มมูลค่า    การนำสิ่งที่ดีอยู่แล้วเพิ่มมูลค่าให้มีค่ายิ่งขึ้น
2. การเห็นคุณค่าอีกอย่างที่ยังไม่มีใครเห็น  หรือ แตกต่างจากเดิม
3. การนำจุดเด่นของแต่ละอย่างมารวมกัน

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน
1. การออกแบบการทำงานที่เพิ่มเติมจากเดิม  เป็นการบริการเสริม  เพื่อเพิ่มความประทับใจ
2. การคิดค้นการทำงานที่ทำเพียง   ขั้นตอนเดียว  แต่ได้ผลลัพธ์ทุกอย่าง

รายวิชาที่  4   Learning  Forum    การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
1. ทุกอย่างเริ่มต้นที่ตัวเราเอง คือ การเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี แล้วจะสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวเราจะเปลี่ยนแปลงตาม
2.  การให้กำลังใจตัวเอง และการนับถือตัวเอง  ทำให้เรามีความมั่นใจ 
3.  การที่กลัว หรือ กังวล กับอะไรบางอย่าง มักจะทำให้เราต้องประสบ กับสิ่งนั้นอยู่เสมอ  สิ่งที่ดีที่สุดคือ  เราต้องไม่กลัว ทำจิตใจให้ว่าง  เตรียมพร้อมในการเจอสถานการณ์ทุกอย่าง และเราจะมีสติในการบริหารจัดการทุกสถานการณ์ผ่านไปด้วยดี

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน
1.  การฝึกตัวเองในการพูด การสนทนา กับเพื่อนร่วมงาน ในการชื่นชม และให้กำลังใจกันมากขึ้น
2.  ความเชื่อมันในตนเองในการทำงานต่าง ๆ ทำให้เรา กล้าคิด  กล้าตัดสินใจ กล้าแสดงความคิดเห็น  และรวมถึงความใจกว้างที่จะยอมรับความคิดเห็นผู้อื่น 
3.  การทำงานต้องทำด้วยความสุข จะทำให้ทำงานได้อย่างสนุกและมีความคิดสร้างสรรค์ 

รายวิชาที่  5   Learning  Forum  & Workshop
สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
1.  การบริหารจัดการอารมณ์   คือ การรู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเอง และสามารถเปลี่ยนแปลงอารมณ์ได้  โดยใช้ความคิด  สติปัญญา  ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถแก้ไขสถานการณ์ทุกอย่างให้ดีขึ้น
2.  การเข้าใจคนอื่น  ในแต่ละคนมีศักยภาพไม่เท่ากัน แต่มีค่าของความเป็นคนเท่ากัน 
3.  ต้องใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน
1.  การระงับอารมณ์ เมื่อเกิดความรู้สึกที่ไม่พอใจ  และ การให้อภัยซึ่งกันและกัน
2.  การสร้างความสำพันธ์ที่ดีในที่ทำงาน  มีการเอาใจใส่ และ สังเกต เพื่อนร่วมงาน
3.  การทำงานร่วมกัน  ต้องเอางานเป็นที่ตั้ง  และไม่เอาเรื่องส่วนตัวมาเกี่ยวข้องกับเรื่องงาน

เกษร อินทนะนก กลุ่มที่ 2

วิเคราะห์บทความ

            ได้ประโยชน์ต่อ “ตัวเอง”  คือ

1.  ได้รับข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ ในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน

2.  ทราบถึงแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็น  หนังสือ  เป็นบุคคล

3.  รู้วิธีการการระดมความคิด  และการรวบรวมข้อมูล

            ได้ประโยชน์  ต่อ  “องค์กร” คือ

                        1.    องค์กรมีระบบในการทำงานที่ดี

                        2.  องค์กรมีการพัฒนา ขับเคลื่อนโดยบุคลากรที่มีศักยภาพ

                        3.  องค์กรมีนวัตกรรมต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย

                        4.  องค์กรมีชื่อเสียง  และมีความมั่นคง

            นำแนวคิดมาปรับใช้ ดังต่อไปนี้

                        1.  การเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ   การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด

                        2.  การเสาะแสวงหาความรู้ทั้งในและต่างประเทศ

                        3.  การทำงานร่วมกัน และเป็นทีม

                        4.  การฝึกเขียนและบันทึก ความรู้  ประสบการณ์  สะสมไว้

อุทัย ศิริคุณ กลุ่ม 3

รายวิชาที่ 1 ปฐมนิเทศ แนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้ และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

                   การเรียนในรายวิชานี้ไม่ได้สอนผู้นำในตำแหน่งบังคับบัญชา ไม่มีตำแหน่งก็มีคุณค่าได้ โดยอาจจะสร้างศรัทธาให้คนอื่นเชื่อและปฏิบัติตามในสิ่งที่ดี ผู้นำไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่ง แต่ต้องมีประสบการณ์ในการนำไปใช้ได้ และสามารถสอนงานและแลกเปลี่ยนกับเพื่อนร่วมงานได้

          บุคลากรแต่ละคนมีศักยภาพไม่เท่ากัน ต้องดึงความสามารถของแต่ละคนออกมา ซึ่งผู้บริหารต้องใช้รู้จักใช้คนให้เหมาะสมกับงาน สร้าง Teamwork และที่สำคัญต้องสร้างแรงจูงในในการปฏิบัติงาน  

          การปรับใช้/ใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน : จากการเรียนรู้ดังกล่าวทำให้มีความมั่นใจในตนเอง  สามารถที่จะเป็นผู้นำได้ในบางเรื่อง แม้ไม่ได้เป็นผู้นำ สามารถนำความรู้ไปปรับใช้กับเพื่อนร่วมงาน การอยู่ร่วมกันในองค์กร เรียนรู้และเข้าใจศักยภาพของแต่ละคน

รายวิชาที่ ภาวะผู้นำทัศนคติ (Mindset) และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

          “ผู้นำ” บางครั้งผู้นำไม่จำเป็นต้องสั่งการ เป็นเพียงผู้ส่งเสริม สนับสนุน และอย่าคิดว่าทำถูก คิดถูก  ทุกเรื่อง ให้ฟังข้อเสนอแนะจากผู้ใต้บังคับบัญชา หาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดของเรา หากไม่ตรงกับความคิดของเราก็ต้องควบคุมอารมณ์ให้ได้   

“ผู้นำ” มีทักษะการสื่อสารที่ดีระหว่างบุคคลและองค์กร เป็นผู้ฝึก เป็นพี่เลี้ยงและพัฒนาผู้อื่น สร้างแรงจูงใจให้ผู้อื่น รู้จักแก้ปัญหา กล้าตัดสินใจ สร้าง Teamwork รู้จักบริหารความขัดแย้ง มีการวางแผนและจัดระเบียบองค์กรตามบริบท

           การปรับใช้/ใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน : การรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน และการสื่อสารในองค์กร เป็นสิ่งสำคัญช่วยลดความขัดแย้งในองค์กร

 

รายวิชาที่ 3 การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 V (Value added – Value

               Creation –Value Diversity)

              เราต้องรู้จักบทบาทของตัวเอง รู้หน้าที่ ต้องรู้ว่าองค์กรเป็นแบบไหน เราต้องดูบริบทองค์กรดและ    ถ้าบุคลากรแต่ละคนมีศักยภาพไม่เพียงพอต่อการพัฒนาองค์กรต้องพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มากขึ้น เพื่อรองรับเป้าหมายและวิสัยทัศน์ขององค์กร

               การปรับใช้/ใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน : ถ้าเรารู้จักบทบาทของตัวเองว่าเรามีหน้าที่อะไร และต้องทำงานประสานสัมพันธ์กับใครบ้าง เราต้องทำความเข้าใจในแต่ละส่วน ร่วมมือกันสร้าง Teamwork ให้เกิดขึ้น และร่วมกันทำงานให้บรรลุเป้าหมายของงานและองค์กร

รายวิชาที่ 4 การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

          ต้องเริ่มที่ตัวเองก่อน วิธีคิดของแต่ละคน ประกอบจากหลายส่วน ได้แก่ ครอบครัว การศึกษา สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม เป็นต้น เพราะเฉพาะนั้นเมื่อเราเข้าใจตัวเอง รู้จักตัวเอง เราสามารถที่จะเข้าใจผู้อื่นได้ไม่ยาก เช่น “เราไม่ชอบฟังคำพูดจากผู้อื่นเช่นไร เราก็ไม่ควรพูดกับผู้อื่นเช่นนั้น”

          การทำงานต้องมีเป้าหมาย โฟกัสในสิ่งที่เราจะเป็น ลงมือทำตามเป้าหมายหรือแผนที่เราวางไว้ ต้องรู้จักทำงานร่วมกับผู้อื่น มีการสื่อสารที่ดีกันภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม มีความสุขกับการทำงาน

          การปรับใช้/ใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน : กลับมาทบทวนตัวเอง งานที่ได้รับมอบหมาย ว่าสิ่งใดเราทำดีอยู่แล้ว สิ่งใดเรายังบกพร่อง และต้องเริ่มแก้จากจุดใดก่อน ใครที่เกี่ยวข้องกับระบบการทำงานของเราบ้าง เพราะการทำงานต้องมีการประสานเชื่อมโยงกัน ต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาการปฏิบัติงาน

รายวิชาที่ 5 การบริหารความขัดแย้งและการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

          1.อย่าตัดสินคนอื่นเพียงแค่แรกเห็น

          2.รู้จักตัวเอง เข้าใจผู้อื่น (การกระทำของเราจะส่งผลกระทบต่อตัวเราและผู้อื่นเสมอ)

          3.คิดดี พูดดี ทำดี แล้วชีวิตจะดี

          4.โฟกัสในเรื่องที่เราจะเป็นแล้วทำให้สำเร็จ โดยมองหาโอกาสและสร้างแรงบันดาลใจให้ตัวเอง ปรับเปลี่ยนมุมมองในการทำงาน

          5.คิดบวก ทุกอย่างเป็นไปได้

         การปรับใช้/ใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน : ทำให้รู้สึกว่าตัวเองเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น ลดอารมณ์ความขัดแย้งในจิตใจ รู้สึกว่าคำพูด มีผลต่อชีวิตตัวเองและผู้อื่น การพูดดี พูดในสิ่งที่สร้างสรรค์ จะทำให้เรามีความสุขและมีความหวังอยู่เสมอ และรู้จักสร้างแรงบันดาลใจให้ตนเอง

นางสาวเพ็ญนภา ไพยศาล

นางสาวเพ็ญนภา ไพยศาล กลุ่ม 2

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

วิชาที่ 1 ปฐมนิเทศ แนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้ และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

ได้หลักคิดในการทำงานต้องทำงานร่วมกัน ทำงานเป็นทีม ไม่ทำงานคนเดียว และอย่ากลัวที่จะทำงานไม่สำเร็จให้ยึดหลัก 2 R’S คือมองความจริง และตรงประเด็น ให้มีความคิดที่เกิดจากความคิดของตนเอง ไม่ลอกเลียนแบบใคร ทำงานแบบไม่มีช่องว่าระหว่างสายวิชาการและสายสนับสนุน หาโอกาสต่างๆ เพื่อนำมาพัฒนา TSU ร่วมกัน ขจัดอุปสรรคและหาจุดแข็งขององค์กร เพื่อนำมาพัฒนา TSU ต่อไป

วิชาที่ 2 ภาวะผู้นำทัศนคติ (Mindset) และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

การที่จะเป็นผู้นำเพื่อจะช่วยพลักดันและพัฒนามหาวิทยาลัยได้นั้น เราต้องก้าวตามทันกับการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นทางด้านเทคโนโลยี ความต้องการของลูกค้าหรือวิธีการทำงาน ผู้นำต้องเรียนรู้ไม่หยุดนิ่งเติมเต็มความรู้ตลอดเวลา มีการประทะทางปัญญาคือการได้แลกเปลี่ยนพูดคุยกับบุคคลที่มีประสบการณ์หรือผู้รู้ในเรื่องต่างๆ มหาวิทยาลัยจะเติบโตและเจริญก้าวหน้าไปไม่ได้หากขาดผู้นำและการร่วมคิดทำงานเป็นทึม เพื่อให้สามารถก้าวไปพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงของโลก

วิชาที่ 3 การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 V

วิธีการที่จะพัฒนามหาวิทยาลัยให้มีความต่างจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ เพื่อรองรับการแข่งขันในปัจจุบันนั้น สิ่งที่จะสามารถก้าวไปข้างหน้าก่อนคนอื่น คือการรู้จักนำนวัตกรรมเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการ โดยผลงานที่นำมาพัฒนานั้นให้ยึดหลัก 3 V คือ การสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างคุณค่าใหม่ และการสร้างคุณค่าจากความหลากหลาย เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพหรือคุณภาพในกระบนการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

วิชาที่ 4 การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

หลักการทำงานนั้น ผู้นำจะทำงานคนเดียวไม่ได้ หรือทีมก็ขาดผู้นำไม่ได้ ต้องก้าวไปพร้อมกันต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม แต่การจะทำงานร่วมกันได้นั้น ต้องมีหลักคือผู้นำต้องเข้าใจตนเองก่อน มองตนเองก่อน โดยมองอย่างเข้าใจอย่าตัดสินคนตั้งแต่เริ่มต้นทุกอย่างมี 2 ชั้นเสมอ ตัดสินได้เมื่อเข้าใจคนอื่นก่อน รู้จักชื่นชมและให้กำลังใจคนเมื่อมีสายสัมพันธ์ที่ดีต่อกันทุกอย่างในการทำงานก็จะเป็นไปตามเป้าหมายและแผนที่วางไว้

วิชาที่ 5 การบริหารความขัดแย้งและการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

ในการทำงานหากทุกคนใช้อารมณ์ใส่กันก็จะทำให้บรรยากาศในการทำงานแย่ลง ดังนั้นหากจะให้งานสำเร็จหรือออกมาดี จะต้องเข้าใจปัญหา รู้จักระงับอารมณ์ของตนเองโดยการคิดบวกและมีวิธีการจัดการกับอารมณ์ในเชิงลบ ไม่ใส่ใจกับคำพุดที่มากระทบ เมื่อมีปัญหาความขัดแย้งผุ้นำต้องเป็นจุดยืนของการแก้ไขปัญหานั้นๆ หาจุดร่วมในการประนีประนอมให้ได้ และหาวิธีการการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ 

 

วิเคราะห์จากบทความ

ได้ประโยชน์ต่อตัวเอง

การเรียนรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง การที่เราจะเป็นคนที่มองโลกกว้างหรือมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลนั้นเราต้องมีการแลกเปลี่ยนพูดคุยกับบุคคลที่มีความรู้ความสามารถหรือการปะทะทางปัญหากับคนเก่งซึ่งทำให้ได้มุมมองหลายๆ ด้าน มีการหาความรู้ใหม่ๆ เข้ามาใส่สมองตลอดเวลา และเมื่อเรามีความรู้มากขึ้นหรือมีประสบการณ์มากขึ้นอย่าคิดว่าตัวเองเก่งกว่าคนอื่น อย่าหลงตัวเอง ให้รู้จักระมัดระวังการใช้คำพูด อย่าประมาทถึงแม้จะประสบความสำเร็จแล้วก็ตาม

ได้ประโยชน์ต่อองค์กร

การเปิดโลกทัศน์รับสิ่งใหม่ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การสร้างบุคลากรในองค์กรเป็นสิ่งสำคัญ ต้องมีความรู้ มองความจริงและตรงประเด็น และจุดประกายสร้างแรงบันดาลใจมีการเรียนรู้ตลอดเวลาเป็นการสร้างคนทีมีคุณภาพ สามารถนำมาพัฒนาองค์ให้เจริญก้าวหน้าต่อไป สามารถนำมาปรับใช้ในการสร้างทีมบุคลากรในการทำงานให้กับองค์กรได้ และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆให้กับองค์กร

นางสาวขวัญใจ นิ่มดวง กลุ่มที่ 1

งานชิ้นที่ 1 สรุปบทเรียนรายวิชาที่ 1-5 (นางสาวขวัญใจ นิ่มดวง กลุ่มที่ 1)

รายวิชาที่ 1 ปฐมนิเทศ แนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้ และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  • ได้เรียนรู้และสร้างแรงกระตุ้นแก่ตนเองในการร่วมกันทำงานเพื่อองค์กร โดยตัวอย่างประโยคที่สร้างแรงผลักที่สำคัญ เช่น ต้องถามว่าเราให้อะไรกับ TSU ได้บ้าง ไม่ใช่ได้อะไรจาก TSU บ้าง และจงจำตนเป็นน้ำพร่องแก้ว
  • ได้เรียนรู้ทฤษฎีที่สำคัญต่างๆ ในการบริหารจัดการองค์กร ตัวอย่างเช่น องค์กรจะประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน ซึ่งมีความสำคัญเท่าๆ กัน ได้แก่ ระบบ (อย่าทำสะเปะสะปะต้องมีหลักคิด ไม่ชอบ ไม่ถูกทางก็เปลี่ยนได้) และ ทรัพยากรมนุษย์ (ต้องพัฒนา ดูแล และให้ความก้าวหน้า การร้างทัศนคติที่ดีต่อองค์เป็นเรื่องที่ยากแต่จำเป็นต้องพัฒนา)
  • ได้เรียนรู้แนวคิดของผู้อื่น

แนวทางการนำไปใช้

นำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาพัฒนาตนเอง พัฒนางาน เพื่อองค์กร (ให้บ้านเราอยู่ได้ เราถึงจะอยู่ได้)


รายวิชาที่ 2 ภาวะผู้นำทัศนคติ (Mindset) และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  • Managing is doing things right. (When, How, ทำในสิ่งที่ถูกต้อง) and Leadership is doing right things. (What, How, Why, ระมัดระวังให้เกิดประโยชน์สูงสุด)
  • ได้เรียนรู้ทฤษฎีและหลักที่สำคัญต่างๆ เช่น 1) คุณสมบัติของผู้นำที่ดี เช่น จะต้องกล้าหาญ มีพลังและสามารถกระตุ้นให้คนอื่นมีพลังได้ เด็ดขาดกล้าตัดสินใจ เรียนรู้ตลอดเวลา และต้องลงมือทำให้สำเร็จ 2) ทฤษฎีเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (8K’ s + 5K’ s) 3) กฎการ Change 4) Fixed and Growth mindset. 5) 3 V เป็นต้น

แนวทางการนำไปใช้

ปรับ Mindset ในการทำงานของตนเอง เพื่อทำให้เกิด Growth mindset แก่ตนเองและทีมเพื่อให้ทำงานได้ดีขึ้น


รายวิชาที่ 3 การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 V

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  • เรียนรู้ตัวอย่างกระบวนการคิดเพื่อการออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรม และรูปแบบแนวทางของการออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานของมหาวิทยาลัย

แนวทางการนำไปใช้

สามารถนำรูปแบบแนวทางการจัดทำโครงการเชิงนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้

 

รายวิชาที่ 4 การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  • เพิ่มทักษะกระบวนการคิดเรื่องการเรียนรู้ตนเองและการเรียนรู้ผู้อื่น กล่าวคือ 1) Mindset ของแต่ละคนไม่เหมือนกันเนื่องมาจากปัจจัยหลายด้าน เช่น ครอบครัว สิ่งแวดล้อม ประสบการณ์ ต้องเข้าใจและบริหารจัดการเหตุการณ์ที่ตัวเราเอง ไม่ใช่ผู้อื่น 2) สนใจปัญหาก็จะเจอปัญหา สนใจโอกาสก็จะเจอโอกาส แม้ในปัญหาก็จะเจอโอกาสเสมอ เพราะฉะนั้น จง Focus เรื่องที่ต้องการ 3) อย่าเพิ่งตัดสินจากสิ่งที่เห็น 4) ประสบการณ์หลอกคุณได้
  • ได้เรียนรู้การทำงานร่วมกัน จะต้องไม่คำนึงถึงแค่ผลลัพธ์ แต่ต้องคำนึงถึงผลที่ตามมาเสมอ และจงเรียนรู้อดีตเพื่อทำปัจจุบันและส่งผลให้อนาคต

แนวทางการนำไปใช้

ฝึกตนเองให้เข้าใจและปรับวิธีคิดตามความรู้ที่ได้รับ เพื่อสร้างประโยชน์ต่อตนเอง ต่อองค์กร และสร้างทีมให้มีประสิทธิภาพ

 

รายวิชาที่ 5 การบริหารความขัดแย้งและการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  • เรียนรู้การจัดการอารมณ์เชิงลบ (เปลี่ยนสิ่งที่สนใจ, ฉันได้เรียนรู้อะไรจากสิ่งนี้, ฉันต้องทำยังไงเพื่อให้ดีขึ้นและตอนนี้ฉันต้องทำอะไรลำดับแรก) การสร้างความรู้สึกเชิงบวก (คำพูด, ภาษากาน) และวิธีคิดเพื่อเข้าใจคน
  • ได้เรียนรู้วิธีการจัดการความขัดแย้ง

แนวทางการนำไปใช้

ฝึกการบริหารและจัดการอารมณ์ของตนเอง และนำไปปรับใช้ในการทำงานเพื่อลดความขัดแย้งและพัฒนางานให้ประสบความสำเร็จ

นางสาวขวัญใจ นิ่มดวง กลุ่มที่ 1

งานชิ้นที่ 2

วิเคราะห์บทความ Coach Jimmy เชิญ Marshall Goldsmith มาเมืองไทย

1.      ประโยชน์ต่อตนเอง

         ได้เรียนรู้ว่าการจะเป็นผู้นำ หรือผู้ประสบความสำเร็จได้นั้นต้องรู้จักหาความรู้ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา รู้จักแบ่งปันประสบการณ์ สร้างพลังในการเรียนทั้งการอ่านหรือการปะทะทางปัญญา ฝึกฝนตัวเองอยู่เสมอ อย่าหลงตัวเอง คึกคะนองว่าฉันแน่ อย่าประมาทว่าสำเร็จ ยิ่งสูง ยิ่งต้องถ่อมตัว รู้จักปรับความคิดตัวเองไม่คิดว่าตัวเองสำคัญที่สุด รู้จักมองโลกแบบสมดุลและมองโลกในแง่ดี

 

2.      ประโยชน์ต่อองค์กร

         2.1 ผลต่อการพัฒนาตนเองจะช่วยพัฒนาองค์กรให้ก้าวไปอย่างมีประสิทธิภาพ

         2.2 การสร้าง Creativity จะช่วยทำให้หาลูกค้าใหม่ๆ ได้

 

3.      แนวคิดที่จะนำไปปรับใช้

         ฝึกฝนและพัฒนาการเรียนรู้ตนเองอยู่เสมอ และปรับความคิดของตนเองให้มีวิสัยทัศน์มากขึ้น

อารยา ดำเรือง กลุ่มที่ 5

วิชาที่ 1 ปฐมนิเทศ แนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

ได้เรียนรู้กระบวนการที่จะกระตุ้นให้คิดร่วมกันภายใต้ความจริงและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน ซึ่งสายสนับสนุนเป็นกลไกที่สำคัญหนึ่งที่จะสนับสนุน ประสานงาน ทำงานร่วมกันเพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จ โดยเราต้องมีความเชื่อมั่นในตนเอง  เข้าใจคนอื่น ยอมรับสิ่งใหม่ ๆ ปรับเปลี่ยนวิธีคิด และนำไปสู่การปฏิบัติในการทำงานเป็นทีม เพื่อให้มหาวิทยาลัยทักษิณเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  “ยอมรับ ปรับเปลี่ยนวิธีคิด ร่วมกันพินิจ ชีวิตก็เปลี่ยน” (ทั้งการทำงานและองค์กร) สามารถนำมาปรับใช้ในการปรับทัศนคติและพัฒนาบุคลิกภาพของตัวเอง

วิชาที่ 2 ภาวะผู้นำทัศนคติ (Mindset) และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

ได้เรียนรู้ความหมายและตัวอย่างผู้นำที่มีชื่อเสียงระดับโลก ซึ่งเราต้องเรียนรู้และนำมาปรับใช้โดยการหาวิธีการจัดการ เราต้องเรียนรู้ที่จะเป็นผู้นำแบบ Do the right things โดยเราและองค์กรต้องไปด้วยกัน ซึ่งการเป็นผู้นำที่ดีต้องมีสติปัญญาในการเรียนรู้ มองอนาคต รู้จักบทบาทและหน้าที่ของตัวเอง และมองการเปลี่ยนแปลงอย่างรอบด้าน วิเคราะห์ทฤษฎี 8 K’s และ 5 K’s มาปรับใช้ เพื่อจะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ประสบความสำเร็จ และเกิดผลกระทบในวงกว้างต่อมหาวิทยาลัยและสังคมโดยรวม “ผู้นำ เน้นคน เชื่อใจ มองไกล กล้าเปลี่ยนแปลง” สามารถนำมาปรับใช้ในการปรับทัศนคติและพัฒนาบุคลิกภาพของตัวเอง

วิชาที่ 3 การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแบบ 3 V

เป็นการมอบหมายงานกลุ่มโดยการออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแบบ 3 V ได้แก่ การสร้างมูลค่าเพิ่ม, การสร้างคุณค่าใหม่ และการสร้างคุณค่าจากความหลากหลาย โดยคำนึงถึงวิสัยทัศน์ ความท้าทาย ยุทธศาสตร์ขององค์กร/หน่วยงาน ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ คุณค่า เพิ่มมูลค่าในการทำงาน “นวัตกรรมใหม่ เพื่อมหาวิทยาลัยพัฒนา นำคุณค่าสู่องค์กร/สังคม”

วิชาที่ 4 การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

  • ก่อนการสร้างทีมต้องเริ่มมองที่ตัวเองก่อน ต้องรู้จักตัวเองก่อน
  • ต้องเข้าใจคนอื่นเพราะทุกคนย่อมมีที่มาที่แตกต่างกัน
  • การทำงานร่วมกันมีผลกระทบกับทุกคน
  • ต้องบริหารจัดการอารมณ์โดยการคิดและสร้างความรู้สึกเชิงบวก คิดแบบเข้าใจ สร้างสมดุล จัดการอารมณ์เชิงลบ
  • มีการบริหารทีมงานอย่างมีประสิทธิภาพ

สามารถนำมาปรับใช้ในการทำงาน “รู้เขา รู้เรา ทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างมีเป้าหมาย งานจะประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ”

 

วิชาที่ 5 การบริหารความขัดแย้งและการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

  • อย่าเพิ่งตัดสินอะไรทันที ต้องรับฟังรอบด้าน มีการพูดคุย ให้มองมากกว่า 2 ชั้น
  • เข้าใจเพื่อนร่วมงาน
  • สร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันที่ดี อยู่กันอย่างสร้างสรรค์
  • มีความประนีประนอม
  • มีความตรงไปตรงมา เปิดใจ รู้จักขอโทษเมื่อทำผิด และชื่นชม ขอบคุณทุกครั้งเมื่อพอใจหรืองานสำเร็จ

สามารถนำมาปรับใช้ในการทำงาน “การใช้เหตุผลมากกว่าใช้อารมณ์ เข้าใจผู้อื่น มีน้ำใจและให้อภัย เป็นการสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน ทำให้มีความรักสามัคคีในทีมงาน ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จในการทำงานเพื่อองค์กร”

สิ่งที่ได้จากการอ่านบทความ

การที่มีโอกาสได้พบปะ พูดคุย เรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้รู้และผู้มีประสบการณ์โดยตรง ถือเป็นโอกาสที่ดี เพราะผู้รู้และผู้มีประสบการณ์จะเป็นครูผู้ซึ่งให้ความรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์ที่ท่านประสบความสำเร็จในชีวิตการทำงาน เป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจให้เรานำมาเป็นแบบอย่าง เป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ และเป็นแรงผลักดันในการทำงาน

  • สิ่งที่ได้กับตัวเอง  ได้เข้าใจถึงความหลากหลายของสาขาวิชาชีพและบุคคลที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นแรงกระตุ้นและแรงบันดาลใจให้มีความมุ่งมั่น ทุ่มเท ในการทำงาน
  • สิ่งที่ได้กับองค์กร  เมื่อบุคลากรมีพลังในการคิด การทำงานร่วมกัน ย่อมทำให้องค์กรได้ประโยชน์และมีแนวโน้มในการพัฒนาไปในทิศทางบวก

นางสาวมาณี แก้วชนิด กลุ่มที่ 2

วิชาที่ 1 ทฤษฏีเพื่อการเรียนรู้และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

สิ่งที่ได้เรียนรู้

1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ : คน   ความรู้ทักษะหาได้ แต่การพัฒนาคนต้องเริ่มจากการเปลี่ยน"ทัศนคติ" ของคนก่อน

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

โดยการเริ่มต้นที่ตัวเรา มองตน ปรับทัศนคติ และการทำงานต้องรู้จักยืดหยุ่น อย่าเครียด  ทำตัวเป็นน้ำพร่องแก้ว ปรับแนวคิดตัวเอง อย่าเพิ่งเชื่อในสิ่งที่เห็น หรือได้ยินมา ทั้งหมด

วิชาที่ 2 

ภาวะผู้นำทัศนคติ (Mindset) และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลง

สิ่งที่ได้เรียนรู้

"ผู้นำที่ประสบความสำเร็จจะต้องมีนักบริหารจัดการที่ดีเคียงข้างอยู่เสมอ"

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

การนำเอาแก่นแท้ของตนเองมาเป็นฐาน (มองจากความจริง)และเลือกเสริม เพื่อพัฒนาการเป็นผู้นำและผู้จัดการที่ดี รู้จักการให้โอกาสแก่ตัวเองและผู้อื่นได้ทำงานความความสามารถที่มี และการเน้นการทำงานเป็นทีมเพื่อให้เกิดการสื่อสารที่ชัดเจนและรวดเร็ว

วิชาที่ 3

การออกแบบโครงสร้างเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแบบ 3V

สิ่งที่ได้เรียนรู้ 

V 1 การเพิ่มมูลค่าให้กับสิ่งที่มีอยู่ (ทุนมนุษย์) ทำอะไรแล้วได้มูลค่าเพิ่ม

V2 การสร้างคุณค่าใหม่

V3 ความหลากหลายในด้านวัฒนธรรม และความหลากหลายในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

1. การเสริมทักษะด้าน IT ให้มากขึ้น รวมถึงทักษะด้านการจัดการ

2. เมื่อมีทักษะที่ดีแล้วเพิ่มคุณค่าใหม่ด้วยการสร้าง Network กับกลุ่มอื่นให้มากขึ้น โดยใช้ Creativity + Innovation มาใช้ในการทำงานให้มากขึ้น ความรู้ในภาษาต้องหลากหลาย

3. การจัดทำแผน ต้องรู้ว่าเราอยู่ที่ไหนจะไปไหน ทำอย่างไรเพื่อให้งานสำเร็จ และสามารถเอาชนะอุปสรรคให้ได้

วิชาที่ 4 

การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

สิ่งที่ได้เรียนรู้

"เอาเรื่องจริงที่ผ่านประสบการณ์มามองให้เข้าใจคนก่อน โดยการสร้างความรู้สึกดีๆให้กับตัวเองก่อน แล้วจะมีพลังทำสิ่งดีๆให้กับคนอื่น และการใช้คนให้ถูกกับงาน (put right man on the right job)

การนำไปปรับใช้กับการทำงาน

เริ่มต้นเรียนรู้ที่จะจัดการกับตัวเราเองก่อน ต้องรู้ว่าอะไรคือกับดักก่อน ก่อนที่เราจะไปจัดการคนอื่น จะทำให้เรารู้ที่จะเข้าใจคนอื่นว่าสิ่งที่เขาแสดงออกมาน่าจะมาจากสาเหตุอะไร

วิชาที่ 5

การบริหารความขัดแย้งและการพัฒนาความฉลาดทางอารมย์

สิ่งที่ได้เรียนรู้

"คำพูดมีผลต่อชีวิตของผู้คน"

การนำไปปรับใช้กับการทำงาน

1. การคิดและพูดในสิ่งที่เป็นบวก และสร้างความสัมพันธ์ต่อด้วยการสร้าง/ใช้คำพูดที่เป็นพลังเสริม

2. การฝึกใช้ภาษากายประกอบการพูดหรือชื่นชมผู้อื่น

3. การปรับเปลี่ยนมุมมอง โดยคิดว่าทุกอย่างเป็นไปได้ ต้องคิดว่าเราทำได้แล้ววิธีการจะมาเอง

ประโยชน์ที่ได้จากบทความ (ต่อตนเองและแนวคิดการนำไปใช้)

คนที่ประสบความสำเร็จจะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

1. ชอบเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

2. มีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อมีโอกาสที่จะช่วยได้

3. การเปิดโอกาสให้ตนเองได้พบปะ เรียนรู้จากคนที่หลากหลายอาชีพ หรือคนที่ประสบความสำเร็จ เพื่อเปิดรับมุมมองสิ่งใหม่ๆเป็นการพัฒนาตนเองอย่างหนึ่ง เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะนำเราไปสู้ความสำเร็จ

3. รู้จักระวังในการพูด การควบคุมอารมย์ตนเอง

4. รู้จักถ่อมตัว ไม่หลงตัวเอง ไม่คิดว่าตัวเองสำคัญ ฉลาดหรือเก่งที่สุด

5. มองโลกในแง่ดี รู้จักให้กำลังใจคนอื่น

6. ในการทำงานมีเรื่องให้ต้องคิด ต้องทำมากมาก จำเป็นต้องตัดสิ่งที่สำคัญออกไปบ้าง

7. ในแต่ละวันควรทบทวนว่าทำอะไรไปบ้าง อะไรต้องแก้ไข ปรับปรุงเพื่อการพัฒนา

ประโยชน์ต่อองค์กร

หากองค์กรให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรอยู่เสมอ จะทำให้องค์นั้นมีความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันต่อไป

ปานกมล อินทรกนิฎฐ์ กลุ่มที่ 4

สิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

วิชาที่ 1 ปฐมนิเทศ แนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้

1 อย่ากลัวที่จะทำงานไม่สำเร็จเพราะว่าเราต้องทำร่วมกันต้องจับมือกันไว้

2 อย่าขาดความความมั่งใจในตัวเองเด็ดขาด

3 ทำตัวเป็นน้ำพร่องแก้วก่อน

วิชาที่ 2 ภาวะผู้นำทัศนคติและการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

1 การที่เราจะเป็นผู้นำที่ดีได้เราต้องเป็นนักบริหารจัดการมาก่อน นักบริหารจัดการต้องทำตามสิ่งที่ได้รับมอบหมาย(Do the thing right) คือ ทำให้เสร็จ เมื่อบริหารงานให้สำเร็จเมื่อนั้นก็เริ่มเรียนรู้เป็น แบ่งเวลาเป็น พอแบ่งเวลาเป็นก็จะมองในเรื่องอนาคตมากขึ้น เมื่อมองในเรื่องอนาคตมากขึ้นก็จะเป็นผู้นำได้(Do the right thing) คือ การดูสิ่งที่เราจะต้องทำก่อนว่าเกี่ยวข้องอยา่งไร

2 เราต้องรู้จักบทบาทของตัวเอง รู้หน้าที่ของเรา ว่าเราต้องทำอะไร ทำอย่างไร และทำทำไม

3 ต้องเชื่อตัวเองก่อนว่าเราทำได้ ต้องสร้างกำลังใจขึ้นมา สร้างให้เกิด Growth และในที่สุดเราจะสามารถชนะได้จริง

วิชาที่ 3 การออกแบบโครงสร้างนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 v

    Valve Added สร้างมูลค่าเพิ่ม

     Valve Creation สร้างคุณค่าใหม่

     Valve Diversity สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

รู้จักรูปแบบของการจัดโครงการเชิงนวัตกรรมและแนวทางการจัดโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3V ซึ้งสามารถนำมาประยุกต์ในการจัดทำโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาหรือแก้ปัญหาการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยทักษิณได้

วิชาที่ 4 การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

1 เริ่มที่ตัวเองก่อนไม่มีประโยชน์ที่จะคิดในเรื่องไม่ดีในอดีตเพราะมันจะทำให้เราทุกข์ใจในปัจจุบันแต่จงถามตัวเองว่า "ฉันได้เรียนรู้อะไร"

2 คิดถึงสิ่งดีในตอนเช้าและก่อนนอน

3 ทุกครั้งที่เราคิดลบเราจะทำร้ายตัวเองเสมอ

วิชาที่ 5 การบริหารความขัดแย้งและการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

1 ต้องสร้างความรู้สึกเชิงบวก ทั้งคำพูด ภาษากาย ปรับเปลี่ยนมุมมอง ทุกอย่างเป็นไปได้

2 อย่างเพิ่งตัดสินว่าอะไรถูกหรือผิดตลอดเวลามันจะมีเรื่องราวสองชั้นอยู่เสมอ

3 ต้องร่วมมือร่วมใจ ว่าจะทำงานกันอย่างไร ใช้หลักการประณีประนอม และเมื่อมีปัญหาเราต้องมีจุดยืนคุยกันอย่างเปิดใจ

สิ่งที่ได้จากการอ่านบทความ

          การที่มีโอกาสได้พบปะ พูดคุย เรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้รู้และผู้มีประสบการณ์โดยตรง ถือเป็นโอกาสที่ดี เพราะผู้รู้และผู้มีประสบการณ์จะเป็นครูผู้ซึ่งให้ความรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์ที่ท่านประสบความสำเร็จในชีวิตการทำงาน เป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจให้เรานำมาเป็นแบบอย่าง เป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ และเป็นแรงผลักดันในการทำงาน

          ต่อตนเองเรียนรู้ความสำเร็จจากคนอื่นๆ บางครั้งความสำเร็จก็ไม่ได้มาโดยง่าย กรณีเราไม่เก่งเราต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมให้มากๆ  

         ต่อองค์กรผลการพัฒนาตัวเองและการเรียนรู้นำมาใช้ในการพัฒนางานในองค์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เกิดประโยชน์สูงสุดกับตนเองและผู้อื่น


นายศักดิ์ชาย เรืองฤทธิ์ คณะวิทยาศาสตร์ (กลุ่ม 3)

โครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ (ช่วงที่ 1: ระหว่างวันที่ 4-5 กรกฎาคม 2560)

วิชาที่ 1 ปฐมนิเทศ แนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้ และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

การจัดกิจกรรมครั้งนี้ ทำให้เห็นว่าบุคลากรสายวิชาการหรือสายสนับสนุน ต่างก็มีความสำคัญของการดำเนินงาน ผลักดันให้องค์กรเป็นไปตามเป้าหมาย หรือพันธกิจได้  อย่าให้ช่องว่างระหว่างตำแหน่ง หรือตำแหน่งทางวิชาการมาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลห่างขึ้น ทั้งนี้อาจส่งผลต่อการดำเนินการขององค์กรล้มเหลวได้  ในการทำงานของบุคลากรก็จำเป็นต้องมีเป้าหมายที่สูงไว้เพื่อให้ดำเนินไปตามเป้าหมายนั้นให้ได้ พร้อมกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ให้เป็นเหมือนน้ำที่ยังไม่เต็มแก้ว พร้อมจะรับสิ่งใหม่ๆ มาเสมอ และพร้อมจะพัฒนาตนเองให้เป็นมืออาชีพในสายงานของตนเองได้

 

วิชาที่ 2 กาวะผู้นำ ทัศนคติ และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

                ผู้นำเป็นบุคคลที่จะนำพาองค์กรให้ก้าวสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรได้ ทั้งนี้การจะนำพาองค์กรไปได้ การมีภาวะผู้นำที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมีเพราะการที่องค์กรจะไปถึงเป้าหมายได้ตามกำหนด บุคลากรในองค์กรต้องให้ความร่วมมือ และการที่บุคลากรจะดำเนินงานอย่างเต็มศักยภาพย่อมมาจากผู้นำที่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มสมาชิก มีคุณลักษณะการเป็นผู้นำที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีทั้งพระเดช และพระคุณ เป็นคนดี คนเก่ง และคนมีความสุข มีทักษะการสื่อสารที่ดี และที่สำคัญการเป็นผู้นำที่ดีต้องส่งเสริมบุคลากรให้มีความก้าวหน้าไปพร้อมกับการพัฒนาองค์กรให้เป็นไปตามเป้าหมาย ทั้งนี้การเป็นผู้นำที่ดี อาจไม่มีข้อกำหนด หรือแนวปฏิบัติที่เป็นตามมาตรฐานงานที่กำหนด จำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจและระยะเวลาในการปฏิบัติให้เกิดการยอมรับ

                แนวทางการนำไปปฏิบัติ : นำแนวคิดต่างๆ ไปปรับใช้ให้เข้ากับตัวเอง เพื่อให้พร้อมสำหรับการเป็นผู้นำในการทำงาน เรียนรู้ที่จะเข้าใจ รับฟัง และใช้การสื่อสารให้เกิดประโยชน์ ลดความขัดแย้งของกลุ่มเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ขององค์กรที่ดี

 

วิชาที่ 3 การออกแบบโครงการเชิงนวัติกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแบบ 3V

                การทำวิจัย หรือนวัติกรรมไม่ใช่เรื่องยาก สิ่งที่ได้เรียนรู้และได้พบคือ ไม่จำเป็นว่าต้องเรียนจบระดับสูงๆ หรือจบจากด้านการวิจัยโดยเฉพาะ แต่หากมีใจรักที่จะทำก็เริ่มที่จะทำได้อย่างง่ายๆ แค่เพียงเปิดใจยอมรับและมีความคิดสร้างสรร ความคิดต้องการแก้ปัญหา

                แนวทางการนำไปปฏิบัติ : สร้างแรงบันดาลใจให้ตัวเองในการทำงานวิจัย โดยอาศัยสภาพปัญหาใกล้ตัวมาเป็นโจทย์วิจัยเพื่อลดต้นทุนให้องค์กร เพิ่มมูลค่างานหรือองค์กร และสร้างความหลากหลายได้

 

วิชาที่ 4 การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

                สร้าง Mindset ให้มีศักยภาพ สร้างทีมงานให้ไปในทิศทางเดียวกัน เข้าใจเรื่องเดียวกัน และมองเห็นในสิ่งเดียวกัน  การทำงานเป็นทีมจำเป็นต้องเจอคนมากมาย ให้ทำความเข้าใจตนเองให้ดีก่อน และมองคนอื่นอย่างเข้าใจ ไม่ใช่มองอย่างปัญหา เรียนรู้ที่จะใช้จิตสำนึก และจิตใต้สำนึกให้เหมาะสม ให้มองแต่ในแง่บวกเพื่อให้สามารถอยู่ในทีมได้ อีกทั้งยังเป็นการลดอัตราเสี่ยงการเป็นโรคเรื้อรังได้

                แนวทางการนำไปปฏิบัติ : เข้าใจตนเองให้ถ่องแท้ และมองโลกในมุมบวกเพื่อสร้างทีมงานที่เข้มแข็งและเพื่อสุขภาพของตนเองและคนรอบข้าง พยายามควบคุมอารมณ์ของตนเองให้ลีกหนีภาวะเครียดหรือปัญหาได้อย่างเหมาะสม

 

บทความ Coach Jimmy เชิญ Marshall GoldSmith มาเมืองไทย

ประโยชน์ที่ได้ต่อตัวเอง

1.        อย่าหยุดที่จะเรียนรู้เพิ่มเติม  อย่าอายที่จะเรียนรู้จากผู้อื่น อย่าคิดว่าเราเก่งและรอบรู้ (ฉลากลึก โง่กว้าง)

2.        ต้องรู้จักเปลี่ยนแปลงตนเอง ให้พร้อมจะเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ ไม่ยึดติดกับตัวเองทำให้เกิดปัญหากับรอบข้าง

ประโยชน์ที่ได้ต่อองค์กร 

เป็นแรงกระตุ้นให้ตนเอง และบุคลากรพร้อมที่จะเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดยั้ง พัฒนาตนเองและบริการให้เป็นที่ประทับใจต่อผู้รับบริการ

 

พรทิพย์ บุญจุน กุลุ่มที่ 2

บทความ Coach Jimmy เชิญ MarshallGoldSmith มาเมืองไทย

ประโยชน์ที่ได้ต่อตัวเอง

1. การพัฒนาตนเองเป็นการเตรียมพร้อมในด้านต่างๆ เพื่อรองรับสถานการณ์และโอกาสดี ๆ ที่เข้ามา ต้องเป็นคนที่ชอบเรียนรู้หาความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอรวมถึงต้องสร้างโอกาสให้กับตัวเองในการสัมผัสกับคนเก่ง ๆเพื่อเปิดโลกทัศน์ให้กับตัวเอง  ได้เห็นมุมมองที่หลากหลาย   อีกทั้งได้สะสมประสบการณ์  และเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเอง   อีกทั้งจะต้องพัฒนาและเรียนรู้ตลอดเวลาและต่อเนื่องแม้ว่าจะสำเร็จแล้วก็อย่าหยุดเรียนรู้

2.  ใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังความสำเร็จในปัจจุบันอาจนำไปสู่ความล้มเหลวในอนาคตได้ หากเราหลงตัวเองคิดว่าตัวเองเก่ง  และไม่พยายามที่จะพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง

3. ในการเป็นผู้นำ ยิ่งมีตำแหน่งที่สูงขึ้นก็ต้องยิ่งถ่อมตัวต้องทิ้งนิสัยที่ไม่ดีออกไป ต้องไม่คิดว่าตัวเองสำคัญที่สุดไม่มองคนอื่นว่าด้อยกว่า ต้องรู้จักการควบคุมอารมณ์ มองโลกในแง่ดีผลักดันและสนับสนุนให้คนรอบข้างสามารถประสบความสำเร็จได้ด้วยตัวเอง 

ประโยชน์ที่ได้ต่อองค์กร

1. สามารถนำแนวคิดไปใช้ในการวิเคราะห์งานในหน่วยงานว่างานที่ทำอยู่นั้นงานใดบ้างที่ยังไม่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าและงานเหล่านั้นก่อให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริงกับองค์กรหรือไม่

2. สามารถนำแนวคิดและมุมมองใหม่   ไปถ่ายทอดทีมงาน สามารถสร้างแรงจูงใจให้คนในองค์กรมีแนวคิดและมุมมองใหม่  เพื่อให้เกิดความกระตือรือร้นอยากจะประสบผลสำเร็จส่งผลให้องค์กรเกิดการพัฒนา

นางโสภิน วัฒนเมธาวี (กลุ่ม 3)

สิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน ช่วงที่ 1

วิชาที่ 1 ปฐมนิเทศ แนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้ และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

           วิชาที่ 1 เป็นกิจกรรมที่ทำให้บุคลากรสายสนับสนุนตระหนักถึงความสำคัญของตนเอง เห็นคุณค่าของตนเอง ยอมรับสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงไป และเติมเต็มเพื่อการพัฒนาตนเอง และพัฒนาองค์กรต่อไป เพราะสายสนับสนุนเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้ไปสู่เป้าหมายที่สุดยอด ดังนั้นเมื่อสายสนับสนุนได้เรียนรู้ทฤษฎีที่เป็นตัวเสริมแรง เป็นพลังงานที่แอบแฝงเข้าสู่ร่างกายและปัญญาแล้ว สายสนับสนุนจะเป็นฟันเฟืองที่สำคัญช่วยนำพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จได้ 

 วิชาที่ 2 ภาวะผู้นำทัศนคติและการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

           วิชาที่ 2 ทำให้ทราบทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำอย่างหลากหลาย ซึ่งทำให้เห็นว่าการเป็นผู้นำที่ดีนั้นมีหลากหลายองค์ประกอบ โดยต้องอาศัยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มีจิตใจกว้างขวางน่าเชื่อถือและศรัทธา มีความสามารถในการแก้ปัญหาและการทำงานอย่างฉลาดหลักแหลม ทันสมัย ดังนั้นในยุคที่โลกเปลี่ยน ผู้นำจึงถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะนำองค์กรให้พัฒนาและก้าวไปถึงเป้าหมายได้

           ดังนั้นจากทฤษฎีภาวะผู้นำที่ได้รับการเรียนรู้ สามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานได้โดยเราต้องตั้งเป้าหมายให้กับตนเอง โดยแบ่งระยะแบบเขย่ง พัฒนาตนเองเสมอ ทำงานเป็นทีม เลือกเพื่อนร่วมทีมที่มีเป้าหมายเดียวกัน เน้นการสื่อสารอย่างชาญฉลาดเพื่อประโยชน์ในการทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีความสุข

วิชาที่ 3 การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 V

           จากทฤษฎี 3 V ทำให้ทราบว่า นวัตกรรม คือ สิ่งที่ท้าทาย ที่จะช่วยให้การทำงานของเรามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพราะงานที่ทำจะสามารถแก้ปัญหาให้กับองค์กรได้ และสามารถนำมาสะท้อนให้เห็นถึงการแก้ปัญหาที่ตรงจุด

           แนวทางการนำไปปรับใช้ในการทำงาน  การทำงานทุกอย่างเมื่อเกิดปัญหา ให้เรามองปัญหาให้ทะลุ และตั้งเป้าหมายที่จะแก้ไขปัญหานั้นๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสดโดยใช้นวัตกรรมมาเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา

 วิชาที่  4  การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

           จากการเรียนรู้ในวิชาที่ 4 ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับที่มา กระบวนการของความคิด และความแตกต่างระหว่างบุคคล  ทฤษฎีสอนให้เราต้องหยั่งรู้ และหยั่งคิดในสิ่งที่ควรกระทำ ทั้งด้านความคิด การพูด และการกระทำ  ซึ่งเหล่านี้บ่อเกิดให้การทำงานในองค์กรประสิทธิภาพและมีความสุขหรือไม่

           แนวทางในการนำไปปรับใช้ในการทำงาน คือ การทำงานในแต่ละวัน เราต้องพบปะ ประสานงาน พูดคุย กับผู้บริหาร ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และลูกน้อง ดังนั้นในพฤติกรรมของมนุษย์ทั่วไป ย่อมมีความหลากหลายในปัจเจกบุคคล มีความคิดที่แตกต่าง มีอารมณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงหรือแตกต่างกันในแต่ละวัน ดังนั้นเราจึงต้องมีความเข้าใจในเหตุการณ์ต่างๆ นั้น โดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลและมีวิจารณญาณ เข้าใจที่มาของสิ่งที่กระตุ้นให้มนุษย์มีพฤติกรรมแตกต่างกัน มีเมตตา เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในเหตุการณ์นั้น ๆ และรักษาสัมพันธภาพที่ดีตลอดไป

 วิชาที่ 5  การบริหารความขัดแย้งและการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

           จากการเรียนรู้ในวิชาที่ 5 ทำให้ได้รับความรู้ว่าความคิดสัมพันธ์กับพฤติกรรม และนิสัย การรับฟังแบบเปิดจะช่วยให้เราสามารถบริหารความขัดแย้งได้ ดังนั้นจึงควรฝึกตนเองให้มีความคิดเชิงบวก และแสดงออกมาซึ่งคำพูดเชิงบวก เพื่อเป็นการเสริมแรงในการทำงาน สอดแทรกด้วยภาษากายที่จริงใจและให้กำลังใจในการทำงาน มองเป้าหมายว่าทุกอย่างเราต้องทำได้

           แนวทางในการนำไปปรับใช้ในการทำงาน  ฝึกฝนตนเองให้เป็นคนคิดบวก และให้แรงเสริมกับเพื่อนร่วมองค์กรเดียวกัน เมื่อทุกคนตระหนักเห็นคุณค่าของตนเองแล้ว พลังทางบวกจะประสานและผลักดันให้คนในองค์กรสร้างสัมพันธ์และปรับมุมมองในการทำงานเพื่อผลักดันให้องค์กรประสบความสำเร็จและก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป

 บทความ  Coach Jimmy เชิญ Marshall GoldSmith มาเมืองไทย

            ข้อคิดที่ได้จากบทความนี้ คือ การจะเป็นผู้ประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องที่ยากหรือง่าย อยู่ที่การกระทำของเรา การฝึกฝน และประสบการณ์  ซึ่งคนที่จะประสบความสำเร็จเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้นจะต้องปรับปรุงตัวเองตลอดเวลา  รับฟัง เรียนรู้ และหาสั่งสมประสบการณ์ที่หลากหลายมาในเวลาที่พอสมควร และเมื่อเริ่มก้าวเข้าสู่หนทางที่จะประสบความสำเร็จแล้ว จะต้องยิ่งขจัดอุปนิสัยที่ไม่ดีออกไปที่อาจจะทำให้ชีวิตล้มเหลวได้

             แนวทางในการนำไปปรับใช้ในการทำงาน หมั่นเรียนรู้ตลอดเวลาทั้งในเรื่องอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ฟังให้มาก คิดให้เยอะ และไตร่ตรองสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ  ทบทวนตนเองทุกวัน เพื่อให้เข้าใจและสะท้อนที่มีของปัญหาในการทำงานเพื่อนำไปปรับปรุงตนเองเสมอ และแบ่งปันสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้เพื่อนร่วมองค์กรได้ตระหนักในสิ่งที่เป็นคุณและโทษอย่างกัลยาณมิตร

พรทิพย์ บุญจุน กุลุ่มที่ 2

สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปปรับใช้ในการทำงาน

วิชาที่ 1 ปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้ และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

          โครงการนี้เป็นโครงการ ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสายสนับสนุนให้เกิดความมั่นใจในการทำงาน กล้าคิด กล้าทำ เกิดภาวะผู้นำ   โดยใช้กระบวนการจัดการและบ่มเพาะแบบนิเวศวิทยาและกระบวนการอื่นๆ ที่เหมาะสม เนื่องจากสายสนับสนุนเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนงานหรือระบบขององค์กรให้ประสบความสำเร็จนอกจากนี้โครงการดังกล่าวถือเป็นการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ของบุคลากรภายในองค์กรให้เข้มแข็งและมีมิตรภาพที่ดีต่อกัน เกิดความร่วมมือในการพัฒนามหาวิทยาลัยทักษิณในทุกส่วนงาน  หลักสูตรนี้ช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาตนเองเปิดใจ เปิดโลกทัศน์ เปลี่ยนมุมมองในการคิดสร้างภาวะผู้นำ ค้นหาแก่นของตัวเองสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับตนเองและพัฒนาองค์กรให้เป็นหน่วยงานแห่งการเรียนรู้ตลอดเวลาพร้อมรับสิ่งใหม่และการเปลี่ยนแปลงและร่วมขับเคลื่อนพัฒนามหาวิทยาลัยทักษิณให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผล และเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน

          ทั้งนี้จากรายละเอียดของโครงการพบว่าผู้เข้าอบรมจะได้รับโอกาสที่ดีที่จะได้เรียนรู้เรื่องต่าง ๆ จากผู้ที่มีความรู้ผู้ที่ประสบการณ์ และผู้มีประสบความสำเร็จ ที่มีความหลากหลายนับการเรียนรู้แบบก้าวกระโดด สามารถนำแบบอย่างที่ดีไปพัฒนาตนเองงานและองค์กรได้อย่างรวดเร็ว

วิชาที่ 2ภาวะผู้นำทัศนคติ (Mindset) และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน 

          เข้าใจความแตกต่างของผู้นำและผู้จัดการและผู้นำที่ดีต้องเป็นทั้งผู้จัดการที่ดีและเป็นผู้นำที่ดีด้วยในเวลาเดียวกัน  และต้องบริหารทั้งผลงานและเวลาให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีคุณภาพการสร้างความศรัทธาหรือความเชื่อมั่นในตัวเองเพื่อการเป็นที่ยอมรับและสร้างคุณค่าต่อองค์กรและสังคม นอกจากนี้ต้องเรียนรู้ลักษณะของผู้นำที่ดีจากตัวอย่างผู้นำที่ประสบความสำเร็จทั้งในระดับประเทศไทยและระดับโลกจากตัวอย่างผู้นำที่ประทับใจ  สามารถวิเคราะห์ตนเองได้ว่าปัจจุบันตนเองเป็นผู้บริหารจัดการที่ดีหรือไม่และควรพัฒนาตนเองไปสู่ผู้นำที่ดีและมีศักยภาพได้อย่างไรเนื่องจากการจะเป็นผู้นำที่ดีได้ต้องเริ่มจากการเป็นผู้บริหารจัดการที่ดีก่อนสำหรับการพัฒนาสู่การเป็นผู้นำที่ดีควรศึกษาหรือเรียนรู้จากประสบการณ์ของคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตเรียนรู้จากทัศนคติของคนเหล่านั้นและนำมาปรับใช้ หรือพัฒนาทัศนคติเพื่อสร้างต้นแบบของตนเอง พัฒนาสู่การเป็นผู้นำขององค์กรที่มีคุณค่า  อีกทั้งการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์คือต้องมองรอบด้าน ดูบริบทของความจริง ตรงประเด็น ปรับทัศนคติ ปรับความเชื่อปรับอุปนิสัยและผู้นำที่ดีต้องมีองค์ประกอบ 8 K’s+5 K’s และใช้ทฤษฎี 3วงกลมเพื่อบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่ง ผู้นำที่ประสบความสำเร็จต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการและมีความสามารถในการปรับกระบวนการทางความคิด(Mindset)

 

วิชาที่ 3การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 V

       การพัฒนาองค์กรด้วยนวัตกรรม เป็นประเด็นท้าทายต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบันการรู้จักสร้างนวัตกรรมในการพัฒนางาน เพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 V นอกจากจะต้องสร้างมูลค่าเพิ่มแล้วต้องสร้างคุณค่าใหม่และสร้างคุณค่าจากความหลากหลายด้าน

         การนำทฤษฎี 3 V มาใช้ในการออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมคือ

          1. ValueAdded สร้างมูลค่าเพิ่ม

2. Value Creation สร้างคุณค่าใหม่

3. Value Diversity สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

 

วิชาที่ 4การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

การเริ่มสร้างทีมที่เข้มแข็งต้องเริ่มจากการรู้จักตนเองก่อน จากนั้นหาผู้เข้าร่วมทีมที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันที่สามารถร่วมกันทำให้สิ่งที่สนใจบรรลุตามแผนที่วางไว้ได้โดยการมอบหมายงานให้เหมาะสมในส่วนของการอยู่ร่วมกันภายในทีมต้องใช้เหตุและผลในการตัดสินใจมากกว่าใช้จิตสำนึกของตนเองเป็นตัวตั้งคำนึงถึงผลที่จะตามมาจากการกระทำว่าจะส่งผลดีหรือผลเสียต่อทีม มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความคิดกันภายในทีมเพื่อหาแนวทางการดำเนินงานที่ที่ดีขึ้นเรียนรู้จากประสบการณ์และความผิดพลาด พร้อมพัฒนาข้อผิดพลาดให้ดีขึ้น

         การทำงานเป็นทีม คือ การมองเป้าหมายเดียวกันลงมือทำตามเป้าหมายและแผนงานที่กำหนด การสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีต่อกันของผู้ร่วมทีมการสื่อสารอย่างเข้าใจ และสนุกกับงานที่ทำงาน  การบริหารทีมต้องมองคนอย่างเข้าใจทุกคนมีความหลากหลาย ทั้งด้านครอบครัว การศึกษา สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและกรรมเก่า   แล้วจงตระหนักว่า ถ้าเราป้อนสิ่งดี ๆ ลงไปบ่อย ๆ จิตสำนึกและจิตใต้สำนึกจะประมวลผลออกแต่เรื่อง ดี ๆและได้ผลลัพธ์ที่ดี และผลที่ตามมาจะทำให้เรามีพลังสร้างสรรค์สิ่งดี ๆให้กับตัวเองและทีมงาน เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกันและนำไปสู่การประสบความสำเร็จ

วิชาที่ 5 การบริหารความขัดแย้งและพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

          การบริหารจัดการอารมณ์เริ่มต้น จะต้องเริ่มที่ตนเองก่อน  การรู้วิธีการบริหารและจัดการอารมณ์ของตนเองการมีสติในการทำงานและการสร้างพลังเชิงบวก เพื่อลดอารมณ์เชิงลบและขจัดความขัดแย้งเราสามารถสร้างพลังเชิงบวก  เข้าใจความแตกต่างและปัญหาของแต่ละคนไม่ตัดสินใจในสิ่งที่คุณเห็น  หาแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกันทั้งสองฝ่ายโดยใช้การประนีประนอมหรือการเปิดอกคุย   การปรับเปลี่ยนมุมมองความคิดและการมองว่าทุกอย่างเป็นไปได้ แล้วงานจะบรรลุผลตามเป้าหมาย

วิธีการจัดการความขัดแย้ง

1.       หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า ซึ่งอาจทำลายความสัมพันธ์ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการทำงาน

2.       ผ่อนปรนเข้าใจผู้ร่วมงานมองอย่างเมตตา

3.   การร่วมมือทำงานร่วมกัน และสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันที่ดี

4.   คุยอย่างเปิดใจพร้อมคำพูดและกิริยาที่อ่อนน้อย  รู้จักการชื่นชม ขอบคุณ ขอโทษ

นางสาวอรกมล ไกรวงศ์ (กลุ่มที่ 5)

สรุปประเด็นสำคัญโดนใจในเนื้อหาวิชาและการนำไปปรับใช้/ใช้ประโยชน์ต่อการทำงาน

(ช่วงที่ 1: ระหว่างวันที่ 4-5 กรกฎาคม 2560)

วิชาที่ 1 ปฐมนิเทศ แนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้ และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

บทบาทผู้บริหารสายสนับสนุนต้องทำหน้าที่ในการประสานงานกับมหาวิทยาลัยที่ทำงานด้านวิชาการและการบริหารลูกน้องให้ได้ อย่ากลัวว่าทำงานไม่สำเร็จ เพราะต้องจับมือกันไว้และต้องมีเครือข่าย เราต้องมีความมั่นใจในตัวเอง อย่าคิดถึง Gap ระหว่างสายวิชาการที่คิดว่าสูงกว่าเรา ต้องทำตัวแบบ Complimentary ซึ่งแนวทางการบริหารจัดการจะต้องมี High Performance, High Original และ High Pay และสิ่งที่ควรคำนึงคือต้องดูว่าลูกค้าต้องการอะไร สิ่งทีคือ Key Customer , Key Stakeholder เป็นอย่างไร อย่าเอาตัวเราเป็นตัวตั้ง และเราต้องทำหน้าที่ในการสื่อสาร สร้างความเข้าใจ นโยบายทิศทางของมหาวิทยาลัยไปยังลูกน้องของเราด้วย และมีแนวคิดว่า เราจะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนามหาวิทยาลัยทักษิณสู่ความเป็นเลิศ

วิชาที่ 2 กาวะผู้นำ ทัศนคติ และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

เรียนรู้เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างผู้นำและผู้จัดการ “Managing is doing things right , Leadership is doing the right things.” ผู้นำมีทางเลือก คือต้องคุ้มค่า มีประโยชน์สูงสุด ส่วนผู้บริหารทำสิ่งที่ถูกกฎหมาย และถูกกฎระเบียบ และผู้นำต้องมี 2R คือ Reality -การมองความจริง Relevance-ตรงประเด็น และเรื่องสำคัญของภาวะผู้นำ คือการปรับ Mindset คือจิตที่ฝังอยู่ข้าง เกิดจากการปรับทัศนคติ ความเชื่อ นิสัย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เรียกว่าการปรับ Behavior และเราต้อง Growth Mindset คือคิดวิธีที่เอาชนะอุปสรรคไม่ใช่การ Fixed Mindset ที่จะทำให้เราหลีกเลี่ยงความท้าทาย

วิชาที่ 3 การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแบบ 3V

ได้เรียนรู้การออกแบบโครงการเชิงนวัติกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ทฤษฎี 3 V ได้แก่  1. Value Added สร้างมูลค่าเพิ่ม 2. Value Creation สร้างคุณค่าใหม่ 3. Value Diversity สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย เพื่อนำไปใช้ในการคิดนวัตกรรมในการทำงานต่อไป

 

วิชาที่ 4 การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

เรียนรู้การบริหารทีม (DANCE Teamwork) คือ Dreams-การมองเป้าหมายเดียวกัน Action-ลงมือทำตามเป้าหมายและแผน Network-การสร้างสายสัมพันธ์อันยอดเยี่ยม Communication-การสื่อสารที่ทรงพลัง และEnjoy-สนุกกับงานที่ทำงาน การมองคนอย่างเข้าใจว่าคนเรามีพฤติกรรมที่แสดงออกมาแตกต่างกัน อย่าตัดสินคนในครั้งแรกที่เห็น ทุกกระบวนการมีต้นเหตุทั้งหมดที่มาจาก Mindset ได้แก่ ประสบการณ์ที่ผ่านมา ครอบครัว การศึกษา สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม กรรมเก่า ดังนั้น เราต้องมองที่ตัวเองก่อน ให้คิดดี พูดดี จะทำให้รู้สึกดี และจง focus ในสิ่งที่เราต้องการ การกระทำในสิ่งใดให้คิดถึงสิ่งที่จะตามมาด้วย

 

วิชาที่ 5 การบริหารความขัดแย้งและการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

ได้เรียนรู้และนำสิ่งที่ได้มาใช้ในการบริหารตัวเองและทีมงาน คือ การบริหารจัดการอารมณ์เชิงลบและการสร้างความรู้สึกเชิงบวก ทั้ด้านคำพูด ภาษากาย การเปรับเปลี่ยนมุมมอง และให้คิดว่าทุกอย่างเป็นไปได้ รวมทั้งการบริหารความขัดแย้ง 4 วิธีการ คือ การหลีกเลี่ยง อย่าพึ่งตัดสินตั้งแต่แรกเจอ เพราะมีอะไรมากกว่า 2 ชั้นเสมอ    ทุกคน มีปัญหาให้มองอย่างเมตตา การสร้างกิจกรรมทำงานร่วมกันสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันที่ดี   การเจรจาไกล่เกลี่ยอาจจะต้องหาคนกลางที่เหนือกว่า และคุยกันอย่างเปิดใจ

 

วิเคราะห์บทความ Coach Jimmy เชิญ Marshall Goldsmith มาเมืองไทย

          จากการอ่านบทความ มีแนวคิดที่นำมาปรับใช้ ได้แก่

1)      ต่อตัวเอง

-          เกิดพลังในการเรียนรู้ และได้แง่คิดว่าความสำเร็จอาจนำไปสู่ความล้มเหลวได้ในอนาคต ดังนั้น เราจึงไม่ควรหลงตัวเองคิดว่าตัวเองสำคัญที่สุด มีการควบคุมอารมณ์ ระวังคำพูดในช่วงที่โกรธ และควรสนับสนุนหากใครมีความคิดดีๆ

-          งานที่เราทำในทุกๆวัน ควรเป็น Real Work คือต้องเกิดประโยชน์ต่อองค์กรและลูกค้า

-          การฝึกอุปนิสัยในการมองอนาคตและมองโลกแบบสมดุล

2)      ต่อองค์กร

-          การได้สัมผัสคนเก่งๆ เป็นการเปิดโลกทัศน์ ดังนั้น ในการพัฒนามหาวิทยาลัยเราจึงควรเรียนรู้จากองค์กร/บุคคลที่ประสบความสำเร็จ

-          ได้แนวคิดในการพัฒนาองค์กร คือ การดึงองค์ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลมาจัดทำเป็นหนังสือเพื่อเผยแพร่

-          การนำแนวคิดการสร้าง Creativity จะช่วยทำให้หาลูกค้าใหม่ๆ มาพัฒนางานวิจัยของมหาวิทยาลัย

นางสาววรรณา เหมทานนท์

กลุ่มที่ 5

วิชาที่ 1 ทฤษฎีเพื่อการเรียนรู้และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

สิ่งที่ได้เรียนรู้  ได้รู้ถึงทฤษฎีที่สำคัญในการบริหารงาน เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุน ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์  การทำงานเชิงรุก การสร้างเครือข่ายในการบริหาร คุณลักษณะของผู้บริหารต้องส่งเสริมบุคลากรให้กล้าแสดงออก  กล้าคิด สร้างทักษะความเป็นผู้นำ สร้างแรงบันดาลใจ และทัศนคติที่ดี เพื่อพัฒนาตนเอง และพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพ

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้ในการทำงาน  นำแนวคิดจากทฤษฎีที่เรียนรู้มาฝึกทักษะการบริหาร พัฒนาตนเอง พัฒนางานในหน้าที่ และพัฒนาองค์กร รวมถึงการปรับทัศนคติในการบริหารงาน

วิชาที่ 2 ภาวะผู้นำ ทัศนคติและการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน 

สิ่งที่ได้เรียนรู้    ความแตกต่างระหว่างผู้นำและผู้จัดการ ผู้นำเน้นการทำงานที่ตัวบุคคล มองผลในระยะยาว เน้นนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง ส่วนผู้จัดการ เน้นการทำงานเชิงระบบ การควบคุม การมองผลกำไรขาดทุน ไม่ชอบความเปลี่ยนแปลง   ลักษณะผู้นำที่ดีสามารถคาดการณ์ความเปลี่ยนแปลงได้ แก้ไขความขัดแย้ง สร้างโอกาสแก่ผู้อื่น กล้าตัดสินใจ มีความรับผิดชอบ เข้าใจพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการใช้ทฤษฎีทุนในยุคโลกาวัฒน์

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้ในการทำงาน    สร้างเครือข่าย และขยายเครือข่ายในการปฏิบัติงาน มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน สร้างทีมที่มีความสามารถหลากหลาย  นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการตัดสินใจ 

วิชาที่ 3 การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 V

สิ่งที่ได้เรียนรู้    ร่วมกันออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางาน โดยผลงานจะต้องเกิดมูลค่าเพิ่ม สร้างคุณค่าใหม่ สร้างคุณค่าจากความหลากหลายในการออกแบบโครงการควรคำนึงถึงทฤษฎี 2R  คือ มองความจริง และมองตรงประเด็น  ประเด็นที่นำเสนอควรมีความท้าทายหรือสอดคล้องกับยุทธศาสตรของมหาวิทยาลัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหรือคุณภาพของงานหรือบุคลากร

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้ในการทำงาน   นำหลักการออกแบบโครงการไปพัฒนากระบวนการทำงาน เน้นมองความจริงและมองตรงประเด็น  โดยมองถึงปัญหาที่ต้องการที่จะแก้ และเน้นมองที่ต้นเหตุของปัญหา

วิชาที่ 4 การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

สิ่งที่ได้เรียนรู้   การทำงานเป็นทีม การมองเป้าหมาย การลงมือทำตามเป้าหมาย สร้างสายสัมพันธ์ การสื่อสารอย่างเข้าใจ และสนุกกับงานที่ทำงาน ในทีมงานจะมีความแตกต่าง ทั้งทางด้านครอบครัว การศึกษา สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม  และกรรมเก่า ผู้บริหารควรทำความเข้าใจความแตกต่างของทีมในด้านต่าง ๆ  รู้จักการวิเคราะห์ตนเอง  รู้จักการวิเคราะห์ทีม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงาน

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้ในการทำงาน   สามารถวิเคราห์ตนเองได้  วิเคราะห์บุคคลอื่นได้ เข้าใจที่มาของความคิด การเปลี่ยนทัศนคติและการปรับเปลี่ยนอัตตา 

วิชาที่ 5 การบริหารความขัดแย้งและการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

สิ่งที่ได้เรียนรู้    การบริหารความขัดแย้งมี วิธี  คือ

1. การฟังรอบด้าน  ไม่รีบตัดสินถูกผิด ไม่ฟังเสียงทางลบหรือผู้เสียประโยชน์
2. หาแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน  เข้าใจผู้ร่วมงาน
3. การประนีประนอมข้อขัดแย้ง เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ โดยไม่มีผู้ใดเสียผลประโยชน์ (Win Win)  เป็นการสร้างวัฒนธรรมการทำงาน
4. การไกล่เกลี่ยเจรจา ควรมีจุดร่วมของทั้งสองฝ่าย ใช้การเจรจาต่อรองโดยมีคนกลางที่เหนือกว่า
5. คุยกันอย่างเปิดใจ สร้างพลังเชิงบวก ปรับเปลี่ยนมุมมองความคิด ลดอารมณ์เชิงลบ

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้ในการทำงาน   รับฟังเพื่อนร่วมงาน  เข้าใจผู้ร่วมงาน  เน้นการเจรจาต่อรองเพื่อให้มีจุดร่วมกัน  รวมทั้งการเปิดใจ สร้างพลังเชิงบวกและลดอารมณ์เชิงลบของตนเอง

สรุุุปบทเรียนช่วงที่ 1-5 วันที่ 4-5 กรกฎาคม 2560 โดย นางชาโลมา  กองสวัสดิ์ (กลุ่ม 2)

วันอังคารที่ 4 กรกฎาคม 2560

สรุปประเด็น วิชาที่ 1 : ปฐมนิเทศ แนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้ และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

          การจัดโครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ ในครั้งนี้ทำให้เห็นถึงความตั้งใจ และการให้ความสำคัญของท่านอธิการบดี รศ.ดร.วิชัย ชำนิ และ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาองค์กรและทรัพยากรบุคคล อาจารย์สายพิณ  วิไลรัตน์ ในการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารสายสนับสนุน ซึ่งมีบทบาทเป็นทั้งผู้บริหารและผู้นำ ที่ร่วมขับเคลื่อนองค์กรให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหลักสูตรมี 60 ชั่วโมง รวมระยะเวลา 10 วัน สัปดาห์ละ 2 วัน มีการศึกษาดูงาน และการมอบหมายงานการศึกษาเพิ่มเติม ผู้เข้าร่วมโครงการ มี 3 ประเภท คือ (1) ผู้บริหาร (2) หัวหน้างาน เตรียมเป็น Successor ในอนาคต และ       (3) ผู้ที่สนใจเรียนรู้เรื่องการบริหาร โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดโครงการ ดังนี้ (1) เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถ และพัฒนาผู้บริหารสายสนับสนุนให้มีวิสัยทัศน์ ความรู้ ทักษะการบริหาร และการสร้างเครือข่ายในการบริหารงาน ภาวะผู้นำ การทำงานเชิงรุก การสร้างแรงบันดาลใจและทัศนคติที่ดีเพื่อการพัฒนาตนเอง งาน และองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (2) เพื่อถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้ (Process of Learning) ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ แก้ปัญหา และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นการปลูกฝังวัฒนธรรมในการเรียนรู้และนำไปสู่การเป็นองค์การและสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งจะทำให้มหาวิทยาลัยพัฒนาให้ไปสู่ความก้าวหน้าอย่างยั่งยืน (3) เพื่อเปิดโลกทัศน์และมุมมองของผู้เข้าร่วมโครงการฯ ให้ได้รับความรู้ แนวคิด และกรณีศึกษาที่ทันสมัยและเป็นประโยชน์จากผู้ทรงคุณวุฒิผู้มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ ที่เป็นที่ยอมรับในสังคมไทยซึ่งจะสามารถให้คำแนะนำแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยในอนาคตได้ (4) เพื่อจุดประกาย สร้างแรงบันดาลใจ สร้างพลังในการพัฒนาและขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

การนำไปปรับใช้กับตัวเอง

          เก็บเกี่ยวประสบการณ์จากทีมวิทยากร โดย Chira Academy นำแนวคิด ความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต จุดประกายความคิด พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และปรับตัวให้ทันบริบทที่เปลี่ยนไป เพื่อพัฒนาเป็น              นักบริหาร และผู้นำที่สมภาคภูมิ “เรียนรู้ตลอดชีวิต”  “เรียนจากผู้รู้ เรียนลัด ปรับใช้ให้เหมาะสม”

การนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน

          นำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการ เพื่อพัฒนาทักษะในการบริหาร นำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารทีมงานให้มีทัศนคติ “เราจะทำอะไรให้กับมหาวิทยาลัยทักษิณ” อีกทั้งมีเครือข่ายในการบริหารงาน ร่วมแรงร่วมใจ ร่วมสร้างสรรค์ เพื่อร่วมพัฒนามหาวิทยาลัยทักษิณ

 

สรุปประเด็น วิชาที่ 2 : ภาวะผู้นำ (Leadership) ทัศนคติ (Mindset) และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

          การจะเป็นผู้นำที่ดีนั้นต้องเป็นผู้บริหารที่ดีด้วย มีผู้ให้คำนิยามของผู้นำไว้มากมาย โดยพอสรุปลักษณะของผู้นำที่ดี ดังนี้ ต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ (Vision)  มองอย่างรอบด้าน มองความจริง (Reality) และตรงประเด็น (Relevance)  มีทางเลือก ถูกกฎหมาย และคุ้มค่า “ Leadership is doing the right things” สร้างแรงจูงใจให้คนอยากทำงาน (Motivation)  พัฒนาให้บุคลากรมีความรู้ ทักษะ สมรรถนะในด้านต่างๆ เป็นคนเก่ง และคนดีขององค์กร (Competencies) ก้าวทันบริบททั้งภายนอกและภายใน (Context) ได้แก่             การเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ เศรษฐกิจ การเมือง กฎหมาย การนำระบบ IT มาใช้ ขั้นตอนการทำงาน หรือ Process วิธีการบริหารจัดการ ฯลฯ ผู้นำจะตั้งคำถามโดยเริ่มจาก What How Why

การนำไปปรับใช้กับตัวเอง

          มีตัวอย่างผู้นำในประเทศ และต่างประเทศ ทั้งที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว สามารถนำมาเป็นบทเรียนปรับใช้ให้เหมาะสม จะเป็นผู้นำที่ดีนั้นต้องเป็นผู้น้ำที่ผู้ตามอยากตาม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีผู้ที่อยู่เคียงข้างคอยเป็นกระจกสะท้อน ต้องเปิดใจให้กว้างยอมรับฟัง และพร้อมปรับเปลี่ยน มีความถ่อมใจ เห็นว่าคนอื่นดีกว่าตน เป็นแก้วน้ำที่พร้อมจะรับสิ่งใหม่ๆ นำอย่างมีสติ อย่าลืมตัวเหลิงอำนาจ สุดท้ายการเป็นผู้นำที่ดีก็ต้องเป็นผู้ตามที่ดีด้วย คนเราไม่ได้เก่งทุกเรื่องสลับกันเป็นผู้นำ และผู้ตาม ในแต่ละสถานการณ์ ที่สำคัญต้องปรับทัศนคติ (Mindset) ให้มีพลังบวกโดยเริ่มจากตัวเองก่อน และสร้างบรรยากาศในองค์กรให้เกิด Growth Mindset กับทีม คือ (1) Emotional Intelligence Mindset)  (2) Connection Mindset (3) Growth Mindset (4) Performance mindset  และนำหลัก 3V’s  ได้แก่ (1) Value Added สร้างมูลค่า (2) Value Creation สร้างคุณค่าใหม่ (3) Value Diversity สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

การนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน

          มองประเด็นความท้าทายของมหาวิทยาลัย (1) คุณภาพของทุนมนุษย์ – คุณภาพของการศึกษาของประเทศ (2) ความคาดหวังและการสร้างคุณค่าให้แก่สังคม (3) การจัดการกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่แน่นอน และคาดเดาไม่ได้ (5) การพัฒนา TSU เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้                       (6) การพัฒนา TSU เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม (7) การพัฒนา TSU เป็นองค์กรแห่งความสุข (8) การจัดการกับปัญหาการทำงานร่วมกันของคนต่าง GEN (9) การจัดการกับสิ่งที่มองไม่เห็น (Intangibles) (10) การจัดการกับความแตกต่าง หลากหลาย (Diversity) (11) การพัฒนาจาก Good to Great ต้องร่วมกันคิดกับทีมงานว่า “เราจะมีส่วนช่วยในการก้าวผ่านความท้าทายของมหาวิทยาลัยสำเร็จได้อย่างไร” โดยต้องสร้างบรรยากาศในองค์กรให้เกิด Growth Mindset กับทีมงาน ร่วมสร้างวัฒนธรรมองค์กรเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ โดยเริ่มจากตัวผู้นำในองค์กรก่อนที่เป็นแบบอย่าง และเป็นผู้จุดประกายให้กับทีมงาน ใช้การมีส่วนร่วมของบุคลากร และผู้มีส่วนได้เสียเพื่อรวมขับเคลื่อนองค์กรไปในทิศทางเดียวกันอย่างเป็นเอกภาพ

สรุปประเด็น วิชาที่ 3 : การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3V’s

การทำงานในยุคโลกไร้พรมแดน มีการสื่อสารที่รวดเร็ว เทคโนโลยีก้าวทันสมัย มีการแข่งขันสูง การก้าวเข้าสู่ AEC จำเป็นจะต้องปรับการบริหารโดยใช้ HR+3V’s  คือ(1) Value Added สร้างมูลค่า (2) Value Creation สร้างคุณค่าใหม่ เช่น การหาลูกค่า หาเครือข่ายใหม่ๆ  (3) Value Diversity สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย โดยการเน้นความหลากหลายเอามาเป็นพลัง ไม่ใช่เป็นความขัดแย้ง

การนำไปปรับใช้กับตัวเอง

          ปรับโลกทัศน์ ให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงโดยใช้ 3V’s ในการบริหารจัดการ มองภาพอนาคต และคิดทำสิ่งใหม่อย่างสร้างสรรค์ และคิดนอกกรอบ หรือคร่อมกรอบให้มากขึ้น

การนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน

ร่วมกับทีมงานในการร่วมคิดโครงการสร้างนวัตกรรม โดยใช้ 3V’s เพื่อสร้างคุณค่าให้กับบุคลากรสายสนับสนุน ให้เป็นหน่วยสนับสนุนที่พร้อมเสริมพันธกิจของมหาวิทยาลัย

วันพุธที่ 5 กรกฎาคม 2560

สรุปประเด็น วิชาที่ 4 : การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

ในการสร้างทีมงานนั้นต้องเริ่มจากการปรับระบบความคิดของตัวเองก่อน (Mindset) โดยผู้นำต้องให้ทุกคนในทีมเรียนรู้ทักษะเรื่องการที่ทำให้เขาเชื่อตัวเราก่อน โดยอาจนำแนวคิด DANCE Teamwork                  มาประยุกต์ใช้ ดังนี้ (1)  Dream มีเป้าหมายเดียวกัน (2) Action ลงมือทำตามเป้าหมายและแผน (3) Network สร้างสายสัมพันธ์อันยอดเยี่ยม (4) Communicate การสื่อสารที่ทรงพลัง (5) Enjoy ทำให้ชีวิตสนุก ในการสร้างทีม และบริหารทีอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ผู้น้ำจะต้องเข้าใจเรื่องต้นเหตุของ mindset ของแต่ละคน ซึ่งมาจากภูมิหลังที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น ครอบครัว การศึกษา สภาพแวดล้อม วัฒนธรรม หรือกรรมเก่า การเข้าใจคนจะทำให้สามารถลดปัญหาความขัดแย้งได้ด้วย ในการสร้าง mindset นั้นมีการป้อนข้อมูลผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 6 คือ หู ตา จมูก ปาก สัมผัส ใจ ผ่านจิตสำนึก สู่เบต้า เมื่อเราทำสิ่งใดบ่อยจะกลายเป็นนิสัย และเมื่อทำอย่างต่อเนื่องสมองจะประมวลผล และฝังเป็นจิตสำนึกเกิดการปฏิบัติที่ทำโดยอัตโนมัติ                 จะสังเกตว่าเมื่อคนเราเกลียดคนแบบไหนก็มักจะจะดึงคนแบบนั้นเข้ามามาก หรือเป็นคนแบบนั้นไปเลย เพราะในสมองของเราจะมีคลื่นไฟฟ้า มันจะดึงดูดคนที่คิดลบเหมือนกันเข้ามา มีสิ่งหนึ่งที่ต้องรู้ คือ หว่านสิ่งใดก็เก็บเกี่ยวสิ่งนั้น คนมากมายตกหลุมพราง ในการคิดลบ และผลลัพธ์ที่ตามมาคือ สุขภาพที่ย่ำแย่ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต ดังนั้นวิธีการคือ จะต้องคิดบวก และฝึกทำจนเป็นจิตสำนึกให้มีการตอบสนองในทางที่บวกเพื่อให้ร่างกายหลั่งสารแห่งความสุขซึ่งจะมีผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี อันส่งผลต่อคนที่อยู่ใกล้มีความสุขในการทำงานร่วมกัน ทำให้ทีมงานมีผลการปฏิบัติงานทีมีประสิทธิภาพ มีผลลัพธ์ที่ดี Happy at Work and Happy Workplace

การนำไปปรับใช้กับตัวเอง

          ปรับ Mindset ให้คิดบวก เข้าใจตน เข้าใจคน เข้าใจงาน ที่สำคัญต้องไวในการฟัง ช้าในการพูด ช้าในการโกรธ ใช้สติในการดำเนินชีวิต ฝึกจิตสำนึก เราต้องเป็นนายจิตสำนึกอย่างให้จิตสำนึกเป็นนายเรา ซึ่งต้องฝึกตลอดชีวิต เพราะชีวิตเราต้องมีการทดลอง และการทดสอบตลอดเวลา ฝึกที่จะยิ้มรับกับทุกสถานการณ์ การบริหารอารมณ์เป็นสิ่งสำคัญ ต้องสุขได้ในทุกสถานการณ์ เมื่อใจสุขกายก็สุข และผู้คนรอบข้างก็สุข

การนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน

นำกิจกรรมไปใช้กับทีมงาน เพื่อให้มีการปรับ Mindset ให้ทุกคนในองค์กรเห็นคุณค่าของกันและกัน เข้าอกเข้าใจกัน ผ่อนหนักผ่อนเบาซึ่งกันและกัน สร้างบรรยากาศให้ที่ทำงานเป็นบ้านหลังที่สอง สร้างวัฒนธรรมคิดบวก พร้อมชมเชย พร้อมให้อภัย ทำงานร่วมกันด้วยความรัก โดยเริ่มจากผู้นำเป็นต้นแบบที่ดี

สรุปประเด็น วิชาที่ 5 : การบริหารความขัดแย้งและการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

การทำงานในองค์กร มี  3 คนที่ต้องเกี่ยวข้อง คือ ฉัน / เธอ / คนอื่น นั่นหมายความว่าไม่ว่าทำอะไร มีผลต่อตัวเราเองเสมอ ความขัดแย้งในองค์กรส่วนใหญ่เกิดจากการใช้จินตนาการ หรือประสบการณ์ของตัวเองตัดสินคนอื่น และตัดสินตัวเอง บ้างก็เอาเรื่องอดีตมาผูกติดกับปัจจุบัน หรือคิดเลยเถิดไปถึงอนาคต ใช้ความขมขื่นในอดีต บวกจิตนาการ คิดลบ หรือ บวก หากเราไม่ควบคุมความคิดจะเป็นอันตรายเพราะคิดซ้ำๆ ทำบ่อยๆ จะกลายเป็นจิตสำนึก กลไกสมองของมนุษย์มีความฉลาดล้ำ เราสามารถพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ได้ โดยการฝึกคิดบวก ให้เราสามารถอยู่ได้ในทุกสถานการณ์ ลดอัตราเสี่ยงการเป็นโรคเรื้อรัง และติดเชื้อ และเป็นคนที่มีเสน่ห์มีผลกระทบที่ยอดเยี่ยมกับคนรอบข้าง การคิดบวกคือ คิดแบบเข้าใจไม่โลกสวยเกินไป (การคิดบวกที่เกินพอดีคือการเพ้อ) การคิดเป็นเติมพลังงานให้ตัวเองสร้างความสมดุลให้ร่างกาย (จิตใจร่าเริงเป็นอย่าอย่างดี แต่คนที่จิตให้ห่อเหี่ยวก็ทำให้กระดูกแห้ง) จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องจัดการกับอารมณ์เชิงลบ อย่างรู้ทัน และทำอะไรที่สร้างสรรค์แทนการคิดลบ โดยมีชั้นตอนดังนี้ (1) ระบุ (2) ต้องทำอะไร (สร้างสรรค์) (3) เปลี่ยนที่สนใจ (4) ฉันได้เรียนรู้อะไร (5) ทำอย่างไรให้ดีขึ้น (6)  ทำอะไรได้ตอนนี้

การนำไปปรับใช้กับตัวเอง

          ฝึกตัวเองให้มีความฉลาดทางอารมณ์ รู้เท่าทัน คิดถึงผลที่ตามมา ใช้การคิดบวกนำชีวิตในทุกสถานการณ์ โดยปรับทัศนคติกับเรื่องต่างๆ ที่เข้ามาว่า “ฉันได้เรียนรู้อะไร จะทำอย่างไรให้ดีขึ้น” และลงมือทำสิ่งดีๆ เพื่อบริหารความขัดแย้งและสร้างทีม



การนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน

นำกิจกรรมไปใช้กับทีมงาน เพื่อให้มีการปรับ Mindset ให้ทุกคนในองค์กรเห็นคุณค่าของกันและกัน เข้าอกเข้าใจกัน ผ่อนหนักผ่อนเบาซึ่งกันและกัน สร้างบรรยากาศให้ที่ทำงานเป็นบ้านหลังที่สอง สร้างวัฒนธรรมคิดบวก พร้อมชมเชย พร้อมให้อภัย ทำงานร่วมกันด้วยความรัก ในกรณีมีความขัดแย้งจะทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยให้ Win Win กับทุกฝ่าย โดยเริ่มจากผู้นำเป็นต้นแบบที่ดี

บทความ Coach Jimmy เชิญ Marshall GoldSmith มาเมืองไทย.

สรุปประเด็น

          Coach Jimmy เป็นแบบอย่างของการเป็น Coach ที่ดี ท่านเป็นคนที่ชอบเรียนรู้หาความรู้ใหม่ๆ ทั้งขอคำปรึกษาจากผู้รู้ และศึกษาต่อในหลักสูตรนานาชาติ หลายหลักสูตรท่านไม่หยุดที่จะเรียนรู้ การได้สัมผัสคนเก่งๆ ในโลกเป็นการเปิดโลกทัศน์ และได้ประสบการณ์ “การปะทะความจริง” ซึ่งตรงประเด็น กับ 2R’s ของ ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ หนังสือ เรื่อง Majo ของ Marshall Goldsmith ได้พูดถึงจังหวะที่มีความรู้สึกทำให้เกิดแรงบันดาลใจ ทำให้เกิด Perception (ความเข้าใจ) และ Perspective (มุมมองที่หลากหลาย) ทั้งการอ่านและการปะทะทางปัญญาทำให้อยากทำให้เสร็จในสิ่งที่สูงขึ้น และหนังสือ ชื่อ What Got You Here Won’t Get You There สอนว่าถ้าเรามีความรู้สึกหลงตัวเอง คึกคะนองว่าฉันแน่ คนอื่นรู้ไม่ได้ อย่าประมาทว่าสำเร็จ สอดคล้องกับ James Collin เขียนเรื่องผู้นำระดับ 5 ไว้ว่า ยิ่งสูงยิ่งต้องถ่อมตัว ไม่ใช่คิดว่าฉันแน่คนเดียว ผู้นำที่สำเร็จควรปรับตัวเอง และทิ้งนิสัยที่ไม่ดีออกไป เช่น คิดว่าตัวเองสำคัญที่สุด คนอื่นด้อยกว่า มักจะแสดงความสำคัญตนมากกว่าคนอื่นๆ อยู่ในในหมู่คนหลายๆ คนมักจะคิดว่าฉันสำคัญหรือฉลาดที่สุด การพูดไม่ระวัวช่วงที่โกรธ หรือถูกกระตุ้นให้แสดงออกโดยไม่ควบคุมอารมณ์คล้าย 5K’s ของศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ มองโลกในแงไม่ดี ใครมีความคิดดีๆ แทนที่จะสนับสนุนก็บอกว่า “ไม่สำเร็จหรอก” Michael Hammer          เจ้าพ่อ Reengineering กล่าวว่า “งานที่เราทำอยู่ทุกๆ วัน บางครั้งทำในสิ่งที่ไม่สำคัญ ไม่ใช่ Real Work บางครั้งไม่ได้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรจริง ทำให้ไม่เกิดประโยชน์แก่ลูกค้า”  Alvin Toffler เจ้าพ่อ Third Ware กล่าวว่า “มองอนาคตฝึกง่ายๆ ดูว่าพรุ่งนี้ฉันจะทำอะไร ค่อยๆ ทำและฝึกอุปนิสัยในการมองอนาคต” ส่วน Tony Buzan เจ้าพ่อ Mind map กล่าวว่า “ถ้าเรียนปริญญาตรีไป 6 ใบ เป็นวิทยาศาสตร์ 3 ใบ เป็นสังคมศาสตร์ อีก 3 ใบ ทำให้มองโลกแบบสมดุล” และ W.Chan Kim Blue Ocean กล่าวว่า “การสร้าง Creativity จะช่วยทำให้หาลูกค้าใหม่ๆ ได้”

การนำไปปรับใช้กับตัวเอง

          การจะประสบความสำเร็จนั้น จะต้องใฝ่รู้ มีการปะทะปัญญากับผู้รู้ เปิดโลกทัศน์ทั้งฟัง อ่าน ปะทะความจริง กับผู้รู้ทั้งภายในและภายนอกประเทศ บทเรียนจากผู้ที่ผ่านประสบการณ์ด้านการบริหารเป็นเป็นสิ่งที่เราจะเรียนลัดและนำมาปรับใช้อย่างเหมาะสม อย่าคิดว่าตัวเองมั่นคงดีแล้ว แต่ให้มองคนอื่นดีกว่าตน               ฝึกความถ่อมใจนำหน้าเกียรติเสมอ ปริญญาชีวิตหาเรียนได้จากผู้มีประสบการณ์ ไม่ใช่ในห้องเรียน ที่สำคัญคือต้องฝึกนิสัยการมองอนาคตอย่างชาญฉลาด

การนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน

นำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทองค์กร ในบทบาทของ Coach นั้นเราต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต รับมาเพื่อถ่ายทอดต่อรุ่นสู่รุ่น สร้างคนรุ่นใหม่ขึ้นมาสืบทอดต่อไป และการสร้าง Creativity เพื่อให้ได้ลูกค้าใหม่ๆ ของหน่วยงาน ซึ่งต่อไปเราต้องมองหาลูกค้าที่ไม่ใช่แค่นักเรียนมัธยมอีกต่อไป แต่เป็นทุกวัย

 

นายธีระ จันทิปะ กลุ่ม ๔สรุปสาระจากการเรียนรู้ และสิ่งที่จะนำไปใช้ (วิชาที่ ๑-๕)

วิชาที่ ๑ ทฤษฎีเพื่อการเรียนรู้และข้อคิดเพื่อการพัฒนาผู้บริหารควรเรียนรู้ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร วิสัยทัศน์ในการพัฒนาองค์กร การใช้ความรู้และทักษะบริหารงาน และการทำงานเชิงรุก เพื่อนำมาพัฒนาตนเอง พัฒนางานที่รับผิดชอบและพัฒนาองค์กร. พื้นฐานในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลจะประกอบไปด้วยทุนด้านต่างๆ อาทิ ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ. นอกจากนั้นยังต้องมีพื้นฐานที่สอดรับกับยุคโลกใหม่ อย่างเช่น ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม.การค้นหาและวิเคราะห์ปัญหาต้องมองความจริงตรงประเด็น. ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพนั้นองค์กรต้องมีความคล่องตัว ทันสมัย พัฒนาสมรรถนะของบุคลากรและสร้างแรงจูงใจในการทำงาน. การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ส่วนการสร้างพลังในการทำงานต้องสร้างจากแรงบันดาลใจและจินตนาการ.

สิ่งที่จะนำไปใช้ นำความรู้พื้นฐานในการบริหารทรัพยากรบุคคลด้านต่างๆ ไปประยุกต์ให้สอดคล้องกับลักษณะงาน. การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้. การใช้ประโยชน์จากทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ.

วิชาที่ ๒ ภาวะผู้นำ ทัศนคติและการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยนการบริการจัดการที่ดี ผู้นำมีความสำคัญ. เพราะสังคมยังต้องการผู้นำนักบริหารด้วย. ผู้นำจะทำงานได้เร็วขึ้น มีตัวช่วย และรู้จักบริหารคนที่เก่งเฉพาะทาง.  มอบหมายงานให้ถูกกับคน เรียนรู้และเข้าในความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเพื่อมองหาทางเลือกที่เป็นไปได้ เตรียมข้อมูลให้พร้อมใช้เมื่อถึงเวลาและโอกาสที่เหมาะ.ลักษณะผู้นำมีหลายแบบจึงต้องประยุกต์ใช้ตามสถานการณ์และเงื่อนไขที่แวดล้อม. สิ่งที่ผู้นำควรมีทักษะคือ การจัดการภาวะวิกฤตวิเคราะห์สถานการณ์ได้ แก้ไขความขัดแย้ง สร้างโอกาส กล้าตัดสินใจ ทำงานเป็นทีม และสามารถบริหารความไม่แน่นอนได้.สิ่งที่สำคัญอีกประการคือต้องเข้าใจกลยุทธ์และกระตุ้นองค์กรให้เปลี่ยนแปลง. ส่วนการสร้างทัศนคติให้กับทีม โดยให้ความสำคัญกับความฉลาดทางอารมณ์ การแสดงความสามารถในการทำงาน การถ่ายทอดข้อมูลและความรู้สึก.

สิ่งที่จะนำไปใช้ การจัดการภาวะวิกฤต การวิเคราะห์สถานการณ์ การแก้ไขความขัดแย้ง การสร้างโอกาส กล้าตัดสินใจ การทำงานเป็นทีม และการบริหารความไม่แน่นอ

วิชาที่ ๓ การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 Vการออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมด้วยทฤษฎี 3 V เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ลดต้นทุนการดำเนินการ หรือเพิ่มคุณค่าหรือเพิ่มประสิทธภาพงาน. หลักสำคัญของการออกแบบโครงการควรเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสิ่งที่มีอยู่ ทำอย่างไรให้เกิดมูลค่าเพิ่ม การสร้างคุณค่าใหม่ มองสิ่งที่คนอื่นมองไม่เห็น สร้างสรรค์รูปแบบ/วิธี/กระบวนการใหม่ๆ การสร้างคุณค่าจากความหลากหลาย อาจจะด้านทรัพยากร/ความชำนาญเฉพาะทาง/วัฒนธรรม และสามารถทำงานร่วมกันได้ในการออกแบบควรคำนึงถึงวิสัยทัศน์ ความท้าทาย ยุทธศาสตร์หน่วยงาน รวมถึงปัจจัยสนับสนุน โครงการที่ได้รับการออกแบบจะนำมาสู่นวัตกรรมใหม่ในองค์กรไม่จำเป็นต้องได้มาซึ่งวัตถุสิ่งของใหม่ๆ อาจเป็นกระบวนการใหม่ๆ ก็ได้.

สิ่งที่จะนำไปใช้ การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่า/คุณค่า กระบวนการที่เกี่ยวข้อง

วิชาที่ ๔ การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพการสร้างทีมให้มีประสิทธิภาพ มีหลักอยู่ที่การมองเป้าหมายเดียวกัน การทำตามเป้าหมายและแผนงานที่กำหนด สร้างความสัมพันธ์ภายในองค์กรและสร้างเครือข่ายภายนอก ใช้การสื่อสารให้มีประสิทธิภาพและหลากหลายช่องทาง ทีมงานต้องทำงานสนุกมีความสุขในการทำงาน. วิธีคิดของทีมมาจากปัจจัยที่แตกต่างกันเช่น ครอบครัว การศึกษา สิ่งแวดล้อม. แต่มักจะมีอัตตาเป็นกับดักให้เรามองผู้อื่นผิดพลาด. การแก้ปัญหาอัตตาของนเอง ให้มองหาสาเหตุหรือปัจจัย พิจารณาผลลัพธ์ที่ปรากฏ เมื่อเห็นสิ่งเหล่านี้สามารถคิดไปถึงการแก้ไขเปลี่ยนแปลง. การทำงานร่วมกันอาศัยปัจจัยจากการป้อน/รับข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ประมวลข้อมูลอย่างรอบด้าน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการและคำนึงถึงผลที่ตามมาทั้งในเชิงบวกและลบ. นอกจากนั้นยังต้องเข้าใจความสัมพันธ์ของตนเองกับเพื่อนร่วมงานและคนอื่นๆ.  การทำงานร่วมกันอาจต้องคิดในแง่ดี  รู้การจัดการคามคิดในแง่ลบ และหาวิธีสร้างความรู้สึกเชิงบวก. ส่วนการบริหารทีมต้องมีแรงบันดาลใจ มองเป้าหมายงานและควบคุมเวลา มีการมอบหมายงานชัดเจน เป็นผู้ฟังที่ดี รับฟังทุกเรื่องราว แบ่งปัน/แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และทำงานท่ามกลางความขัดแย้ง.

สิ่งที่จะนำไปใช้ การสร้างเครือข่ายภายในและภายนอกองค์กร การใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย การทำงานเป็นทีม และการบริหารทีมม

วิชาที่ ๕ การบริหารความขัดแย้งและการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ความคิดขัดแย้งเกิดขึ้นเสมอในการทำงานทุกระดับ. ดังนั้นจึงต้องมีขั้นตอนหรือวิธีการในการแก้ปัญหาเพื่อให้งานสามารถดำเนินไปได้จนสำเร็จ. สิ่งแรกคือการรับฟังโดยไม่รีบตัดสิน ไม่มีอคติ ฟังรอบด้านรวมถึงบุคคลรวมถึงผู้มีส่วนได้เสีย. ประเด็นต่อมาคือเข้าใจผู้อื่น เข้าใจในพื้นฐานบุคคล สิ่งแวดล้อมและสถานการณ์. งานต้องบรรลุอย่างสร้างสรรค์ด้วยการทำงานร่วมกัน มีกิจกรรมร่วมกัน ทำให้เกิดวัฒนธรรมในองค์กร. ประเด็นต่อมาคือการหาจุดร่วมที่จะให้งานดำเนินต่อไปได้ ไม่จำเป็นต้องครึ่งทาง ใช้การเจรจาต่อรองที่ยอมรับกันและกัน สร้างข้อตกลงร่วมกัน. ในสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งผู้นำทีมต้องมีจุดยืน ทำให้แต่ละคนบรรลุเป้าหมายแบบชนะทั้งสองฝ่าย อาจจะต้องเปิดใจคุยกันและใช้คำพูดที่แสดงให้เห็นว่าได้ชื่นชม ขอบคุณ หรือการกล้าที่จะขอโทษ.

สิ่งที่จะนำไปใช้ ค้นหาสาเหตุของความขัดแย้ง และใช้วิธีการจัดการความขัดแย้งที่เหมาะสม สร้างข้อตกลงร่วมกัน

สรุปผลจากการเรียนรู้

วิชาที่  1 แนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้ และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

ทำให้เข้าใจกระบวนการทำงาน ระหว่างระบบและคน เนื่องจากถือเป็นเครื่องจักรสำคัญในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย โดยนำทฤษฎี 3 วงกลม เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ 1.รู้จักและจัดการองค์กร 2. รู้ศักยภาพของคนในองค์กร การพัฒนาสมรรถนะ การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ 3. สร้างแรงจูงใจในการนำความสามารถและศักยภาพออกมาใช้งานอย่างเต็มที่เต็มความสามารถ ซึึ่งจะนำแนวคิดจากทฤษฎีที่เรียนรู้มาฝึกทักษะการบริหาร พัฒนาตนเอง พัฒนางานในหน้าที่ และพัฒนาองค์กร รวมถึงการปรับทัศนคติในการบริหารงาน  การทำงานร่วมกันเป็นทีม พร้อมทั้งมีทัศนคติ มีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเพิ่มคุณค่าและเพิ่มผลผลิตที่ดีให้กับองค์กร

วิชาที่  2 ภาวะผู้นำทัศนคติ (Mindset) และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

          ผู้นำที่ประสบความสำเร็จต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการและมีความสามารถในการปรับกระบวนการทางความคิด (Mindset) เห็นคุณค่าที่มีอยู่ในตัวทุกคน ความแตกต่างระหว่างผู้นำและผู้จัดการ ผู้นำเน้นการทำงานที่ตัวบุคคล มองผลในระยะยาว เน้นนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลง ส่วนผู้จัดการ เน้นการทำงานเชิงระบบ การควบคุม การมองผลกำไรขาดทุน ไม่ชอบความเปลี่ยนแปลง   ลักษณะผู้นำที่ดีสามารถคาดการณ์ความเปลี่ยนแปลงได้ แก้ไขความขัดแย้ง สร้างโอกาสแก่ผู้อื่น กล้าตัดสินใจ มีความรับผิดชอบ ซึ่งจะนำแนวคิดความเข้าใจพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการใช้ทฤษฎีทุนในยุคโลกาวัฒน์    สร้างเครือข่าย และขยายเครือข่ายในการปฏิบัติงาน มีความคิดสร้างสรรค์มาปรับใช้ในการทำงาน สร้างทีมที่มีความสามารถหลากหลาย  นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการตัดสินใจเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน ต้องสอนให้คนรู้จักคิด หาคำตอบได้ด้วยตัวเอง  (Growth Mindset)

วิชาที่  3 การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 V

  ร่วมกันออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางาน โดยผลงานจะต้องเกิดมูลค่าเพิ่ม สร้างคุณค่าใหม่ สร้างคุณค่าจากความหลากหลายในการออกแบบโครงการควรคำนึงถึงทฤษฎี 2R  คือ มองความจริง และมองตรงประเด็น  ประเด็นที่นำเสนอควรมีความท้าทายหรือสอดคล้องกับยุทธศาสตรของมหาวิทยาลัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหรือคุณภาพของงานหรือบุคลากร

 การนำทฤษฎี 3 V มาใช้ในการออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรม คือ

 1. Value Added สร้างมูลค่าเพิ่ม

2. Value Creation สร้างคุณค่าใหม่

3. Value Diversity สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

โดยการนำปัญหา จุดอ่อนและโอกาส เพื่อหาทางสร้างคุณค่าแบบ 3 V

ซึ่งจะนำแนวคิด  นำหลักการออกแบบโครงการไปพัฒนากระบวนการทำงาน เน้นมองความจริงและมองตรงประเด็น  โดยมองถึงปัญหาที่ต้องการที่จะแก้ และเน้นมองที่ต้นเหตุของปัญห

วิชาที่  4 การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

          การสร้างทีมต้องมีเป้าหมายเดียวกัน โดยเกิดจากทุกคนมีส่วนร่วม ลงมือทำงานด้วยกันได้ดี มีการสื่อสารจากภายในและภายนอก รู้สึกสนุกในการทำงานและมีผลงานที่มีคุณภาพ สร้าง Mindset ให้มีศักยภาพ สร้างทีมงานให้ไปในทิศทางเดียวกัน เข้าใจเรื่องเดียวกัน และมองเห็นในสิ่งเดียวกัน  การทำงานเป็นทีมจำเป็นต้องเจอคนมากมาย ให้ทำความเข้าใจตนเองให้ดีก่อน และมองคนอื่นอย่างเข้าใจ ไม่ใช่มองอย่างปัญหา เรียนรู้ที่จะใช้จิตสำนึก และจิตใต้สำนึกให้เหมาะสม ให้มองแต่ในแง่บวกเพื่อให้สามารถอยู่ในทีมได้ การบริหารทีมต้องมองคนอย่างเข้าใจ ทุกคนมีความหลากหลาย ทั้งด้านครอบครัว การศึกษา สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและกรรมเก่า (การกระทำ ที่ทำบ่อย ๆ ) ฉะนั้นก่อนตัดสินใจใครต้องคิดอย่างรอบคอบและรอบด้าน เพื่อหาเหตุผลในการกระทำของเขา (รู้ทำกับดัก หาสาเหตุ ดูผลลัพธ์ และเปลี่ยนอย่างไร) แล้วจงตระหนักว่า ถ้าเราป้อนสิ่งดี ๆ ลงไปบ่อย ๆ  จิตสำนึกและจิตใต้สำนึกจะประมวลผลออกแต่เรื่อง ดี ๆ และได้ผลลัพธ์ที่ดี และผลที่ตามมาจะทำให้เรามีพลังสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ให้กับตัวเองและทีมงาน เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกันและนำไปสู่การประสบความสำเร็จ ซึ่งจะนำแนวคิด        มาทำความเข้าใจตนเองให้ถ่องแท้ และมองโลกในมุมบวกเพื่อสร้างทีมงานที่เข้มแข็งและเพื่อสุขภาพของตนเองและคนรอบข้าง พยายามควบคุมอารมณ์ของตนเองให้ลีกหนีภาวะเครียดหรือปัญหาได้อย่างเหมาะสม
วิชาที่  5 การบริหารความขัดแย้งและพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์           

   แนวทางในการนำไปปรับใช้ในการทำงาน  ฝึกฝนตนเองให้เป็นคนคิดบวก และให้แรงเสริมกับเพื่อนร่วมองค์กรเดียวกัน เมื่อทุกคนตระหนักเห็นคุณค่าของตนเองแล้ว พลังทางบวกจะประสานและผลักดันให้คนในองค์กรสร้างสัมพันธ์และปรับมุมมองในการทำงานเพื่อผลักดันให้องค์กรประสบความสำเร็จและก้าวหน้า การบริหารความขัดแย้งมี วิธี  คือ1. การฟังรอบด้าน  ไม่รีบตัดสินถูกผิด ไม่ฟังเสียงทางลบหรือผู้เสียประโยชน์2. หาแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน  เข้าใจผู้ร่วมงาน3. การประนีประนอมข้อขัดแย้ง เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ โดยไม่มีผู้ใดเสียผลประโยชน์ (Win Win)  เป็นการสร้างวัฒนธรรมการทำงาน4. การไกล่เกลี่ยเจรจา ควรมีจุดร่วมของทั้งสองฝ่าย ใช้การเจรจาต่อรองโดยมีคนกลางที่เหนือกว่า5. คุยกันอย่างเปิดใจ สร้างพลังเชิงบวก ปรับเปลี่ยนมุมมองความคิด ลดอารมณ์เชิงลบ  ซึ่งจะนำแนวคิด   การรับฟังเพื่อนร่วมงาน  เข้าใจผู้ร่วมงาน  เน้นการเจรจาต่อรองเพื่อให้มีจุดร่วมกัน  รวมทั้งการเปิดใจ สร้างพลังเชิงบวกและลดอารมณ์เชิงลบของตนเอง

วิเคราะห์บทความ Coach Jimmy เชิญ Marshall Goldsmith มาเมืองไทย

  ข้อคิดที่ได้จากบทความนี้  เกิดพลังในการเรียนรู้ และได้แง่คิดว่าความสำเร็จอาจนำไปสู่ความล้มเหลวได้ในอนาคต ดังนั้น เราจึงไม่ควรหลงตัวเองคิดว่าตัวเองสำคัญที่สุด มีการควบคุมอารมณ์ ระวังคำพูดในช่วงที่โกรธ และควรสนับสนุนหากใครมีความคิดดีๆ งานที่เราทำในทุกๆวัน ควรเป็น Real Work การจะเป็นผู้ประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องที่ยากหรือง่าย อยู่ที่การกระทำของเรา การฝึกฝน และประสบการณ์  ซึ่งคนที่จะประสบความสำเร็จเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้นจะต้องปรับปรุงตัวเองตลอดเวลา  รับฟัง เรียนรู้ และหาสั่งสมประสบการณ์ที่หลากหลายมาในเวลาที่พอสมควร และเมื่อเริ่มก้าวเข้าสู่หนทางที่จะประสบความสำเร็จแล้ว จะต้องยิ่งขจัดอุปนิสัยที่ไม่ดีออกไปที่อาจจะทำให้ชีวิตล้มเหลวได้ การได้สัมผัสคนเก่งๆ เป็นการเปิดโลกทัศน์ ดังนั้น ในการพัฒนามหาวิทยาลัยเราจึงควรเรียนรู้จากองค์กร/บุคคลที่ประสบความสำเร็จได้แนวคิดในการพัฒนาองค์กร คือ การดึงองค์ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลมาจัดทำเป็นหนังสือเพื่อเผยแพร่แนวทางในการนำไปปรับใช้ในการทำงาน หมั่นเรียนรู้ตลอดเวลาทั้งในเรื่องอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ฟังให้มาก คิดให้เยอะ และไตร่ตรองสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ  ทบทวนตนเองทุกวัน เพื่อให้เข้าใจและสะท้อนที่มีของปัญหาในการทำงานเพื่อนำไปปรับปรุงตนเองเสมอ และแบ่งปันสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้เพื่อนร่วมองค์กรได้ตระหนักในสิ่งที่เป็นคุณและโทษอย่างกัลยาณมิตร



นายภูริพัฒน์ พฤกษาพิทักษ์ กลุ่ม 2

การบ้านช่วงที่ 1 วันที่ 4 - 5 กรกฎาคม 2560

วิชาที่ 1 ปฐมนิเทศ แนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้ และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้

การนำทฤษฎีมาใช้ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ความสำคัญ 3 ส่วนด้วยกันคือ องค์กร คน และ แรงจูงใจ โดยทั้ง 3 ส่วนมีความสัมพันธ์กัน หากเราสามารถบริหารจัดการให้ทั้ง 3 ส่วนมีความซ้อนทับกันมากย่อมทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ นอกจากนั้นในการบริหารนั้นเราควรจะใช้ทฤษฎี 2 R’s คือ Reality การมองความจริง คือ มองทุกอย่างตามความเป็นจริงและ Relevance การทำให้ตรงประเด็น คือ การทำทุกอย่างให้ตรงประเด็น เราจึงจะบริหารจัดการงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิชาที่ 2 ภาวะผู้นำทัศนคติและการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้

การเป็นผู้นำในยุคปัจจุบันนั้นจะต้องเข้าใจและเรียนรู้ในการเปลี่ยนแปลงรวมทั้งต้องเสาะแสวงหาวิธีการในการจัดการการเปลี่ยนแปลง นอกจากนั้นในการเป็นผู้นำที่ดีนั้นควรเป็นผู้นำแบบไม่ให้ความช่วยเหลือ แนะนำวิธีการให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา รวมทั้งการสร้างความรู้สึกให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานเพราะอยากทำ  รู้จักกระตุ้นทีมงาน การบริหารจัดการความขัดแย้ง รู้จักการใช้จังหวะในการบริหารจัดการ การ

กล้าตัดสินใจ นอกจากนั้นผู้จำต้องสามารถกระตุ้นให้ทีมงานเกิดทัศนคติเชิงบวกในการทำงาน ได้แก่ ความฉลาดทางอารมณ์ การถ่ายทอดประสบการณ์และความคาดหวังขององค์กรไปสู่ทีมงาน การเป็นผู้สร้างการเรียนรู้ร่วมกันกับทีม สามารถสร้างสมรรถนะให้กับเพื่อนรวมทีมเพื่อนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ

วิชาที่ 3 การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อการสร้างมูลค่าแบบ 3V

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้

การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนาองค์กรนั้น เราจะต้องพิจารณา 3 ส่วนประกอบสำคัญคือ

  1. โครงการ ที่นำทรัพยากรที่องค์กรมีอยู่มาใช้เป็นหลักสำคัญ ต้องเป็นโครงการที่อยู่ในความสนใจ สามารถนำมาปฏิบัติ และเป็นมาตรการหรือมาตราฐาน
  2. เป็นนวัตกรรม ที่สร้างมูลค่า 3 ด้านคือ Value  Added การสร้างคุณค่าในงานValue Creation การสร้างแนวคิดใหม่ Value Diversity สร้างคุณค่าในความหลากหลาย
  3. องค์กร จะต้องใช้มีวิสัยทัศน์ที่อยู่บน ทฤษฎี 2R’s คือ Reality ความเป็นจริงขององค์การ และ Revelance ความชัดเจน

เมื่อทั้ง 3 ส่วนร่วมกันจะทำให้เราสามารถสร้างโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อการสร้างมูลค่าแบบ 3V ได้สำเร็จ

วิชาที่ 4 การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้

การสร้างและบริหารทีม หัวใจสำคัญคือเราจะต้องเข้าใจในตนเองเสียก่อน รู้ว่าสิ่งใดเราชอบ สิ่งใดเราไม่ชอบ รู้เหตุรู้ผลที่เกิดขึ้นกับเรา เราจึงจะสามารถเข้าใจผู้อื่น การกระทำใด ๆ ของเราไม่ว่าจะทางกาย วาจา ใจ ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อ ตนเองและผูู้อื่นทั้งสิ้น ซึ่งล้วนแต่มีผลกระทบต่อการสร้างทีมในการทำงาน การเรียนรู้เหตุที่มาของความแตกต่างของตัวบุคคล ทำให้เราสามารถหาวิธีการในการบริหารจัดการคนได้อย่างเหมาะสม

วิชาที่ 5 การบริหารความขัดแย้งและการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้

วิธีในการจัดการอารมณ์นั้น เมื่อเราต้องเผชิญหน้ากับอารมณ์ลบ เราจะต้อง ระบุให้ได้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร เราจะต้องทำอย่างไรด้วยความสร้างสรรค์ ให้เราเปลียนความสนใจไปเรื่องอื่น และพยายามวิเคราะห์ให้ได้ว่าเราได้เรียนรู้อะไรบ้างและ เราควรทำอะไรดี และในเวลานั้นเราควรจะทำอย่างไร เราจึงสามารถผ่านพ้นจากอารมณ์ด้านลบไปได้ นอกจากนั้นเราสามารถสร้างอารมณ์เชิงบวกได้ ด้วยการพูดในสิ่งที่ดี การแสดงออกทางกายที่ดี การปรับเปลี่ยนมุมมองในสิ่งต่าง ๆ ให้มองในด้านดี และมองว่าทุกอย่างสามารถเป็นไปได้บนพื้นฐานของความจริง

ข้อสรุปที่ได้จากบทความ

สิ่งที่ได้กับตนเอง

การได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนเก่งทำให้เรามีโลกทัศน์ที่กว้างขึ้นและได้ประสบการณ์ ซึ่งในการทำงานของตนเอง เราควรมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา หรือ ผู้อื่น เพื่อให้ได้แนวคิดที่หลากหลายจะได้นำมาใช้ในการพัฒนาตนเองและองค์กร อย่าประมาทกับความสำเร็จที่เคยเกิดขึ้น หากเรามีความคึกคะนองว่าตัวเองแน่มันอาจจะล้มเหลวในวันข้างหน้าได้ เป็นการทำให้เราต้องระมัดระวังในการทำงาน ลดอัตตาในตัวเองลง มีความรัดกุมในการทำงานให้มากขึ้น พลังในการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จจะต้อง มีจังหวะ มีความรู้สึก มีแรงบันดาลใจ มีความเข้าใจและมุมมองที่หลากหลาย  ผู้นำจะต้อง ยิ่งอยู่สูงยิ่งต้องถ่อมตัว ต้องลดอุปนิสัยไม่ดีออกไป เช่น คิดว่าตัวเองสำคัญที่สุด คนอื่น ด้อยกว่า คิดว่าความสำคัญตนมากกว่าคนอื่นๆ คิดว่าตัวเองสำคัญหรือฉลาดที่สุด การพูดต้องระมัดระวังในคำพูดไม่ใช้อารมณ์ในการพูด มองโลกในแง่ไม่ดี ใครมีความคิดดีๆ แทนที่จะสนับสนุน ก็บอกว่า “ไม่สำเร็จหรอก” เป็นการทำให้เราเมื่อต้องอยู่ในภาวะผู้นำนั้นจะต้องลดอัตตาในตนเองลงไป เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับทีมงาน

สิ่งที่ได้กับองค์กร

การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันของคนในองค์กรทำให้เกิดการองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่จะนำไปพัฒนาองค์กร การลดอัตตาหรือความเชื่อมั่นในตัวเองที่สูงเกินไปของคนในองค์กรลงจะช่วยให้การทำงานในองค์กรจะมีประสิทธิภาพมากชึ้น การดำเนินการใด ๆ จะต้องไม่ยึดติดกับความสำเร็จที่ผ่านมา ต้องสร้างพลังแห่งการทำงานร่วมกันในองค์กร ก่อให้เกิด องค์กรแห่งการเรียนรู้ สร้างแรงบรรดาลใจในการทำงานให้กับคนในองค์กร

นางสาวอรวรรณ ธนูศร กลุ่มที่ 1

วิชาที่ 1  : ปฐมนิเทศ แนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้ และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

  • รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง ความสำคัญของตนเอง ความสามารถของตนเองเพื่อนำไปพัฒนามหาวิทยาลัย
  • ตระหนักถึงความสำคัญขององค์กร และตระหนักถึงการพัฒนาองค์กรเป็นหลัก

3.   ลงมือทำ

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

  • ปรับการทำงานของตนเอง เอาความสามารถของตนเองมาพัฒนาองค์กรให้มากที่สุด
  • ปรับทัศนคติโดยให้ความสำคัญขององค์กรเป็นที่ตั้ง
  • เริ่มที่ตัวเราก่อนลงมือทำ

 

วิชาที่ 2 :  Learning Forum & Workshop

             ภาวะผู้นำ (Leadership) ทัศนคติ (Mindset) และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลง

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

Things right / Right things

  • Things right : เป็นการทำงานในแบบผู้จัดการ (สายสนับสนุน) สร้างเสริมประสบการณ์การ ในการทำงานเพื่อเป็นผู้นำในอนาคต
  • Right things : เป็นการทำงานของผู้นำองค์กร ใช้ประสบการณ์ในการทำงานเพื่อองค์กร

Fixed/Growth

  • Fixed : อยู่กับที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่กล้าเปลี่ยนแปลง
  • Growth : เจริญเติบโต มีปัญญา มีการพัฒนา สามารถพัฒนาได้ ความคิดกว้าง กล้าที่จะคิด และลงมือทำ

Growth Mindset : การพัมนาความคิด โดยมีความคิดเป็นของตัวเอง มีการเปิดรับข้อมูลใหม่ๆ นำประสบการณ์มาพัมนาเกิดความรู้ใหม่ๆ

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

  • ปรับกระบวนทำงานจาก Things right เป็น Right things จะทำให้เราพัฒนาและมองเป็นเศรษฐศาสตร์มากยิ่ง
  • เปลี่ยนแปลงความคิด คิดเปลี่ยน ชีวิตเปลี่ยน มองว่างานที่ทำทุกวันควรพัฒนาไปในรูปแบบใดเพื่อองค์กรให้มากที่สุด
  • กล้าที่จะลอง ไม่ว่าถูก หรือ ผิด ล้วนเป็นประสบการณ์

 

วิชาที่ 3 การออกแบบโครงกาเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 V (Value added-Value Creation-Value Diversity)

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

  • การเพิ่มคุณค่า นำทรัพยากรที่มีอยู่ไปเพิ่มมูลค่า
  • มองต่าง เห็นต่าง โอกาสอยู่ข้างหน้า
  • นำจุดเด่นของแต่ละอย่างมารวมกันเพื่อเพิ่มมูลค่า

 

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

  • ตระหนักในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่และใช้ให้คุ้มค่า
  • มองต่าง คิดต่างและทำให้มีมูลค่าเพื่อองค์กร
  • พัฒนางานเพื่อให้เกิดมูลค่าแก่องค์กรและส่วนรวม

 

วิชาที่ 4  : Learning Forum

             การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

  • ทุกสิ่งเริ่มที่ตัวเรา
  • ให้กำลังใจ ให้โอกาส เกิดความมั่นใจ
  • ความกลัว จะทำให้เราหยุด ความกล้าจะทำให้เราก้าวต่อไป
  • มองโลกสวย

 

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

  • เริ่มที่ตัวเราก่อน สุขที่ตัวเราก่อน เราถึงจะมอบสุขให้กับผู้คนได้
  • ให้กำลังใจ ให้โอกาสเราก่อนแล้วความมั่นใจจะตามมาทำให้เรางานประสบความสำเร็จในการทำงานพัฒนาองค์กรให้สุขได้
  • ขจัดความกล้า เอาความกล้าเข้ามา
  • เปลี่ยนทัศนคติในการมอง มองโลกสวยเพื่อให้โอกาสเข้ามาหาเรา สนใจโอกาสเราก็จะเจอแต่โอกาส

วิชาที่ 5 : Learning Forum

            การบริหารความขัดแย้งและการพัฒนางานของมหาวิทยาลัย

  สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

  • การรู้จักบริหารจัดการอารมณ์
  • การเข้าใจคนอื่น
  • ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการ

  • บริหารจัดการอารมณ์ต่อเองก่อน อย่าใช้อารมณ์ของตนเองเป็นที่ตั้ง หรือตัดใจใคร
  • หัดรับฟังและเข้าใจคนรอบข้าง เพราะทุกคนมีเหตุ และผล
  • ฝึกการทำงานร่วมกับคนอื่นเพราะเป็นการปล่อยให้โอกาสเข้ามาให้เราได้อะไรใหม่ๆ เข้ามาในการทำงานและพัฒนาองค์กรต่อไป
นางสาวอรวรรณ ธนูศร กลุ่มที่ 1

นางสาวอรวรรณ ธนูศร กลุ่มที่ 1

งานชิ้นที่ 2

บทความ Coach Jimmy เชิญ Marshall GoldSmith มาเมืองไทย

ประโยชน์ต่อตนเอง

  • ต้องพัฒนาตนเองให้เป็นเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เรียนรู้เรื่องใหม่ ให้โอกาสและเปิดโอกาส สร้างแรงบันดาลใจ
  • อย่าเป็นคนน้ำเต็มแก้ว หัดเรียนรู้ตลอดเวลา อย่าประมาณ
  • รู้จักปรับความคิด รู้จักมองโลกแบบสมดุลและมองโลกในแง่ดี

ประโยชน์ต่อองค์กร

  • มององค์กรเป็นที่ตั้ง การพัฒนาตนเองเป็นการพัฒนาองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แนวคิดที่จะนำไปปรับใช้

  • ฝึกฝนและพัฒนาการเรียนรู้ตนเองอยู่เสมอ ปรับความคิดให้มีวิสัยทัศน์ที่กว้างและพัฒนาองค์กร
คำรบ คชภักดี กลุ่ม 2

สิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน ช่วงที่ 1

วิชาที่ 1 ปฐมนิเทศ แนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้ และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้       

1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญ  คือ การเสริมทัศนคติ กระบวนการคิด โลกทัศน์

2. ได้เรียนรู้ทฤษฏีและเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการบริหารงาน

3. การบริหารที่ดี จะต้องมีสองส่วนที่สำคัญ คือ คนดีและระบบดี

4. การเรียนรู้แบบการปะทะทางปัญญา ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้ในการทำงาน  นำแนวคิดจากทฤษฎีและทักษะการบริหาร พัฒนาตนเอง พัฒนาระบบงาน  และพัฒนาองค์กร รวมถึงการปรับทัศนคติในการทำงานของตนเองและทีมงาน

 วิชาที่ 2 ภาวะผู้นำทัศนคติและการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้       

1. การเป็นผู้นำที่ดี ต้องเป็นผู้นำแบบ 360 องศา

2. ความแตกระหว่างผู้นำและผู้จัดการ

3. การเป็นผู้นำต้องฝึกฝนตนเองตลอดเวลา

4. การทำงานในยุคของการเปลี่ยนแปลงต้องคิดแบบ Growth Mindset

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้ในการทำงาน  สามารถวิเคราะห์ตนเองได้และปรับปรุงการเป็นผู้นำ อีกทั้ง การนำแนวคิดแบบเอาชนะอุปสรรค Growth Mindset เพื่อเป็นแรงขับในการพัฒนาตนเองต่อไป

วิชาที่ 3 การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 V

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้       

1. การออกแบบนวัตกรรมแบบ 3 V

2. การออกแบบนวัตกรรม โดยใช้ทฤษฏี 2 R

 สิ่งที่จะนำไปปรับใช้ในการทำงาน  นำหลักการออกแบบโครงการไปพัฒนากระบวนการทำงาน เน้นมองความจริงและมองตรงประเด็น  สามารถแก้ปัญหาขององค์กรได้ 

 วิชาที่  4  การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้

  • รู้จักตนเองและเพื่อนร่วมงานมากขึ้น
  • การทำงานโดยใช้แนวคิด  DANCE Teamwork
  • การบริหารจัดการอารมณ์แบบลงตัวกับทุกสถานการณ์

 สิ่งที่จะนำไปปรับใช้ในการทำงาน      สามารถนำเอาเทคนิคและวิธีคิด ไปใช้ในการทำงานร่วมกับผู้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงาน เพื่อให้การดำเนินงานและบริหารทีมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 วิชาที่ 5  การบริหารความขัดแย้งและการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้

1. เทคนิควิธีการการบริหารจัดการอารมณ์ทั้งเชิงลบและเชิงบวกของตนเองและทีม

2. แนวคิดในการบริหารทีม

3. การลดความขัดแย้งในองค์กร

 สิ่งที่จะนำไปปรับใช้ในการทำงาน      สามารถวิเคราะห์ตัวเองได้ รู้ตนเองมากขึ้น บริหารจัดการอารมณ์ของตนเองได้ และเสริมแรงให้เพื่อนร่วมงาน ตลอดจนบริหารความขัดแย้งในองค์กรได้

 บทความ  Coach Jimmy เชิญ Marshall GoldSmith มาเมืองไทย

 ประโยชน์ที่ได้จากบทความ ดังนี้

1. ต่อตนเอง คือ การสร้างชุดความคิดในการเรื่องของการพัฒนาตนเอง เพราะการพัฒนาตนเองต้องทำอย่างต่อเนื่องและหลากหลายวิธี ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลก

2. ต่อองค์กร เป็นผลจากการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ทำให้การทำงานองค์กรมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายขององค์กร ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมงาน ทำให้เกิดบรรยากาศในหารเรียนรู้ขององค์กร            

นางสาวปีติฉัตร วั่นเส้ง กลุ่มที่ 5

การสรุปบทเรียนวันที่ 4-5 กรกฎาคม 2560
วิชาที่1 สิ่งที่ได้เรียนรู้ : การสร้างภาวะผู้นำขององค์กรซึ่งสายสนับสนุนย่อมมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าสายวิชาการ แต่ต้องมีการพัฒนาตนเองโดยเริ่มจากการเปิดใจรับในกระบวนการเรียนรู้ มีความเชื่อมั่น  กล้าคิดกล้าแสดงออกและกล้าเปลี่ยนแปลง อันจะทำให้เกิดการเรียนรู้ตนเองและผู้อื่นเพื่อเกิดการพัฒนาองค์กรต่อไป

โดยยึดหลัก 2R's ในการเรียนรู้และแก้ปัญหา และตระหนักคิดว่า "เราจะทำอะไรให้องค์กร ไม่ใช่แค่คิดว่า เราจะได้อะไรจากองค์กร" 
สิ่งที่จะนำไปใช้ คือ การพัฒนาตนเองโดยสร้างความเชื่อมั่น การกล้าแสดงออกเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นผู้นำองค์กรอย่างมีคุณภาพ

วิชาที่ 2 สิ่งที่ได้เรียนรู้ : ภาวะผู้นำกับผู้บริหารจัดการแตกต่างกันที่บทบาทและหน้าที่ ซึ่งผู้บริหารจะทำในสิ่งที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จในเวลาที่กำหนดอย่างรวดเร็ว แต่ผู้นำจะเน้นที่ศักยภาพ การมองอนาคตว่าจะประสบความสำเร็จได้อย่างไรกับทรัพยากรที่มีอยู่ ซึ่งองค์กรที่จะพัฒนาได้ดีต้องมีทั้งผู้นำและผู้บริหารที่ดีควบคู่กันไป โดยมองโอกาสการพัฒนาด้วยความมั่นใจ เข้าใจอนาคต มีวัฒนธรรมในการเรียนรู้ มีความคิดสร้างสรรค์ มีเครือข่าย เอาชนะความสำเร็จไปทีละขั้น พัฒนาอย่างต่อเนื่อง กระจายผลประโยชน์ทุกกลุ่ม และสร้างทีมเวิร์คที่มีความหลากหลาย โดยนำทฤษฎี 3 วงกลม 8K's และ5K's เป็นเครื่องมือในการพัฒนาศักยภาพ การบริหารจัดการคนและองค์กรให้ก้าวสู่ความเป็นเลิศ

วิชาที่ 3 สิ่งที่ได้เรียนรู้ : การพัฒนาเชิงนวัตกรรมสามารถใช้แนวคิดจากสิ่งที่มีอยู่เดิมให้เป็นสิ่งใหม่ๆ ,การนำปัญหามาพัฒนากระบวนการให้เกิดเป็นสิ่งใหม่ๆเพื่อแก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่ หรือการนำเทคโนโลยีใหม่ๆที่มีอยู่มาประยุคใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนำหลัก 3V มาใช้เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ มีคุณค่าที่หลากหลาย และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สิ่งนั้น

วิชาที่ 4 สิ่งที่ได้เรียนรู้ : หลักการทำงานต้องเริ่มจากการรู้จักและเข้าใจตนเองว่าต้องการอะไรเป็นสิ่งสำคัญ และเมื่อต้องการสร้างและการบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพโดยมีองค์ประกอบ คือ มีเป้าหมายร่วมกัน ร่วมกันลงมือทำ สร้างสายสัมพันธ์อันดี มีการสื่อสารที่ดี และทำให้สนุกกับการทำงาน ทั้งนี้ การทำงานร่วมกันอย่าเพิ่งตัดสินใจในสิ่งที่เห็นต้องใช้จิตสำนึกด้วยเหตุผลในการตัดสินใจ และใช้หลักคิดเชิงบวก

เพื่อสร้างแรงเสริมในการทำงานเป็นทีมให้ประสบความสำเร็จ

วิชาที่ 5 สิ่งที่ได้เรียนรู้ : การบริหารความขัดแย้ง ต้องยึดหลัก
-การหลีกเลี่ยงอย่าตัดสินเพียงครั้งแรกที่เห็น

-การร่วมมือร่วมใจและเข้าใจผู้ร่วมงาน
-การประสานงานสร้างวัฒนธรรมข้อตกลงร่วมกันในการทำงาน
-การประนีประนอม โดยหาจุดร่วม
-การเผชิญหน้า พูดคุยเปิดใจ จริงใจให้กันและกัน

การวิเคราะห์สิ่งที่ได้จากบทความ
ต่อตนเอง : การเรียนรู้และการพัฒนาสิ่งใหม่ๆให้ยึดหลักความจริงและตรงประเด็น โดยการแลกเปลี่ยนจากผู้ที่ประสบความสำเร็จที่หลากหลายทำให้เกิดการปะทะทางปัญญาอันจะทำให้เกิดการฝึกมองอนาคตโดยค่อยๆฝึกค่อยๆทำ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดแรงบันดาลใจและความเข้าใจ เกิดมุมมองที่หลากหลาย ทำให้เกิดความสำเร็จของงานที่สูงขึ้น

ต่อองค์กร : การนำความรู้และการแลกเปลี่ยนจากผู้มีประสบการณ์ที่่หลากหลาย ทำให้การนำมาประยุคใช้ในการพัฒนาองค์กรเกิดความต่อเนื่อง มองอนาคตอย่างกว้างไกล ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรเป็นสิ่งสำคัญ


นางสาววรรณา เหมทานนท์  กลุ่มที่ 5

การวิเคราะห์บทความ Coach Jimmy เชิญ Marshall GoldSmith มาเมืองไทย

ได้ประโยชน์ต่อตนเอง
พัฒนาตนเองให้ใฝ่เรียนรู้ สร้างโอกาสให้กับตัวเอง โดยการเปิดโลกทัศน์ รู้จักแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ให้ผู้อื่น หมั่นฝึกทักษะด้านต่างๆ ไม่ประมาทในความสำเร็จ ปรับความคิดมองเชิงบวก สร้างแรงบันดาลใจให้มุ่งมั่นในการทำงาน
ได้ประโยชน์ต่อองค์กร
นำความรู้ไปพัฒนาหรือปรับใช้ในองค์กร มีการรวมพลังความคิดภายในองค์กรเพื่อสร้างสรรค์งาน ทำงานร่วมกันโดยใช้ความสามารถบุคคลที่หลากหลาย นำมาใช้ในการวิเคราะห์องค์กร สร้างแรงจูงใจให้กับบุคลากร

นายธีระ จันทิปะ
กลุ่ม ๔

บทวิเคราะห์
การฟังถือว่าเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้ตนเองและได้เพิ่มประสบการณ์. การได้รับฟังข้อคิดจากนักคิด นักวิชาการหรือผู้มีประสบการณ์ในด้านการฝึกอบรม/การให้คำปรึกษาจึงเสมือนการได้เรียนรู้ และได้ทบทวนทัศนะของตนเอง. ผู้ฟังจะได้มุมมองใหม่และคิดเชิงสร้างสรรค์. Marshall GoldSmith ก็ได้บอกวิธีการที่ได้มาจากประสบการณ์การเป็นโค้ช แล้วเขียนหนังสือเพื่อแบ่งปันประสบการณ์.

หนังสือเล่มแรก “Mojo” ที่เขียนขึ้นโดย Marshall GoldSmith กล่าวถึงจังหวะที่มีความรู้สึกนั้นทำให้เกิดแรงบันดาลใจ. เกิดความเข้าใจ และเพิ่มมุมมองที่หลากหลาย. สิ่งเหล่านี้จะกระตุ้นให้เกิดพลังในการเรียนรู้ ทั้งจากการอ่าน การเสวนาปะทะทางความคิดอยู่เสมอ. ทำให้ตนเองอยากมีความสำเร็จในขั้นสูง.

หนังสือเล่มที่สอง “What Got You Here Won’t Get You There” เป็นหนังสือที่เน้นถึงความสำเร็จ และการมีอุปนิสัยที่ไม่เหมาะสมหรืออาจนำไปสู่ความล้มเหลวภายหน้าได้หากหลงตัวเองเกินไป. ดังนั้นผู้บริหารควรจะระมัดระวัง อย่าประมาทว่าสำเร็จ. มีอีกหลายประเด็นที่ Goldsmith ชี้แนวทางให้ผู้นำสำเร็จพึงระวังและไม่ควรกระทำ. อาทิ การคิดว่าตนเองสำคัญที่สุด คนอื่นด้อยกว่า มักจะแสดงออกให้ตนเองมีสำคัญมากกว่าคนอื่น หรือคิดว่าตนเองฉลาดที่สุด หรือจะเป็นการพูดในเวลาที่ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเอง หรือการมองในด้านลบ.

นอกจากนั้นยังมีข้อคิดจากนักคิด นักวิชาการที่น่าสนใจ อาทิ James Collin ชี้แนวทางให้ผู้นำให้ปฏิบัติตัวอย่างอ่อนน้อมถ่อมตัว เมื่ออยู่ในตำแหน่งระดับสูง, Michael Hammer แสดงให้เห็นว่างานที่เราทำบางครั้งอาจไม่สำคัญ ไม่เกิดประโยชน์ต่อองค์กร, Alvin Toffler สอนให้เรามองอนาคต ฝึกคิดถึงวันพรุ่งนี้ว่าจะทำอะไร จนเป็นอุปนิสัยการมองอนาคต, Tony Buzan แนะนำให้เรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์เท่าๆกัน เพื่อมองโลกแบบสมดุล.

สิ่งที่นำไปใช้กับตนเอง การให้เราดำเนินชีวิตโดยยอมรับความเป็นจริง. และมองสิ่งสำคัญในชีวิต เช่น สุขภาพ ความสุข หรือคุณค่าตนเอง. ดังนั้นผู้นำควรพัฒนาตนเองตลอดเวลา. มองทุกอย่างจากความเป็นจริง เริ่มแก้ปัญหาจากการฟังรอบด้าน และเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมมาแก้ปัญหา. แล้วจึงจัดการสิ่งนั้นให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม. รู้จักที่จะสร้างโอกาสให้กับตนเอง แบ่งปันความรู้และประสบการณ์. ไม่ประมาทในความสำเร็จ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับตนเอง. สิ่งที่พึงระวังคือคำพูดและการแสดงออก ฝึกที่จะควบคุมอารมณ์และความคิดตนเอง ที่ต้องไม่หลงไปกับสิ่งที่มีหรือสิ่งที่ได้รับ ดำรงตนด้วยความไม่ประมาท.

สิ่งที่นำไปใช้ในองค์กร นำความรู้/ประสบการณ์ไปพัฒนาองค์กร. โดยมีการรวมพลังความคิดภายในองค์กรเพื่อสร้างสรรค์งาน. ทำงานร่วมกันโดยใช้ความสามารถบุคคลที่หลากหลาย. สภาพปัญหาขององค์กรเป็นอย่างไรก็ควรยอมรับความจริง เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างตรงจุดตรงประเด็น. เพื่อตอบคำถามบทบาทและหน้าที่ขององค์กรต่อสังคมภายนอก. การทำงานให้ได้มาซึ่งดัชนีชี้วัดสูงนั้น บางครั้งไม่สามารถทำให้องค์กรก้าวข้ามปัญหาภายในองค์กร บุคลากรไม่มีความสุขในการทำงาน ไม่อาจสร้างแรงจูงใจให้กับบุคลากร เกิดผลเสียในระยะยาว. ดังนั้นเมื่อใช้การวิเคราะห์งาน วิเคราะห์องค์กรจากความเป็นจริง และเห็นแนวทางแก้ไขที่คาดการณ์ว่าได้ผล จะเกิดนวัตกรรมการบริหารองค์กร.

นางสาวดุสิดา แก้วสมบูรณ์ กลุ่มที่ 1

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงานทุกรายวิชา

วันอังคารที่ 4 กรกฎาคม 2560

รายวิชาที่ 1  ปฐมนิเทศ แนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้  และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

  •  การเรียนรู้เพื่อให้ประสบผลสำเร็จนั้น จะต้องเปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ๆ  ปรับเปลี่ยนวิธีคิด ทัศนคติให้เป็นเชิงบวก มีความยืดหยุ่น ทำตัวเป็นน้ำไม่เต็มแก้ว ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจ สิ่งต่างๆ ที่จะทำร่วมกันกับผู้อื่น
  • การบริหารจัดการที่ดี ระบบกับคนจะต้องไปด้วยกัน จะต้องพัฒนาให้คนมีประสิทธิภาพ บ่มเพาะคนให้เกิดความรักองค์กร ทำเพื่อองค์กร สร้างวัฒนธรรมองค์กรและค่านิยมองค์กร ให้เกิดขึ้น  ในส่วนของระบบ ต้องมีการสร้างกระบวนการพัฒนาเพื่อให้องค์กรยั่งยืน

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

          ในการทำงานจะต้องเริ่มจากความชอบ (passion)  ในสิ่งที่กำลังจะทำ เห็นคุณค่าในตัวเอง ก็จะทำให้เรามีความสุขและสามารถทำสิ่งนั้นออกมาได้ดี  มีการตั้งเป้าหมายความสำเร็จเอาไว้ (purpose) และต้องเดินไปถึงจุดหมายที่ตั้งไว้ให้ได้ โดยอาศัย Learning how to learn ตามแนวทาง Chira Way คือ การร่วมกันคิดร่วมกันทำโดยใช้จุดแข็งที่มีอยู่ในตัวเองมาช่วยในการพัฒนามหาวิทยาลัยทักษิณให้มีความเป็นเลิศ

รายวิชาที่ 2  ภาวะผู้นำทัศนคติ (Mindset)  และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

          ผู้นำไม่จำเป็นต้องพูดเก่ง แต่คิดให้เก่ง และจะต้องกระตุ้นให้คนอื่นเป็นเลิศ อย่ารู้คนเดียว ต้องรับผิดชอบต่อการสื่อสาร อีกทั้งต้องสามารถถ่ายทอดประสบการณ์และสิ่งที่องค์กรคาดหวังไปสู่พนักงาน เพื่อให้ไปสู่เป้าหมายและความเข้าใจตรงกัน เกิดความรู้สึกสัมพันธ์ร่วมกัน (Connection) อีกทั้งผู้นำควรมี Growth Mindset เป็นการพัฒนาความคิดโดยมีความคิดเป็นของตัวเอง มีการรับข้อมูลใหม่ๆ รวมกับประสบการณ์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นความรู้ใหม่ที่สรุปได้อย่างเห็นภาพ เพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

          การรู้จักบทบาทและหน้าที่ของตนเอง ต้องสร้างกำลังใจให้เกิดขึ้น และต้องเรียนรู้การมองสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบด้านว่ามีการเปลี่ยนแปลงแบบไหน อย่างไร โดยอาศัยทฤษฎี 3 วงกลม ได้แก่ ต้องรู้บริบทขององค์กร และมีการพัฒนาศักยภาพของตนเอง โดยอาศัยแรงจูงใจ (motivation) เป็นตัวขับเคลื่อนให้การทำงานประสบความสำเร็จได้   

รายวิชาที่  3  การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

          กระบวนการคิดเพื่อใช้ในการออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรม อาศัยทฤษฎี 3V เพื่อพัฒนางาน ซึ่งประกอบด้วย การสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) การสร้างคุณค่าใหม่ (Value Creation) การสร้างคุณค่าจากความหลากหลาย (Value Diversity) อีกทั้งต้องดูประเด็นความท้าทาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และบทบาทของคณะ

 สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

การออกแบบการทำงานต้องดูปัญหา อุปสรรค และโอกาส เพื่อหาทางสร้างคุณค่าในการทำงาน อีกทั้งหาไอเดียใหม่ๆ ในการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ/คุณภาพให้สูงขึ้น โดยเฉพาะนวัตกรรมใหม่ๆด้านการพัฒนากระบวนการทำงานที่ช่วยลดต้นทุน (Process Improvement)

วันพุธที่ 5 กรกฎาคม 2560

รายวิชาที่ 4 Learning  Forum การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

 สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

          การเริ่มต้นทำสิ่งใดๆ ก็ตามต้องสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับตนเองก่อน ถึงจะเริ่มทำกับคนอื่น และมองคนอื่นอย่างเข้าใจ โดยเริ่มจากการการสื่อสารจากภายในใจสู่ภายนอกเพื่อสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีร่วมกัน และนำไปสู่การมีเป้าหมายเดียวกัน 

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

          ต้องการสร้างความมั่นใจในตนเองเพื่อให้เรา กล้าคิด  กล้าตัดสินใจ กล้าแสดงความคิดเห็น  และรวมถึงการเปิดใจยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น

รายวิชาที่ 5 Learning  Forum  & Workshop การบริหารความขัดแย้งและการพัฒนาความฉลาดทาง

                  อารมณ์

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

          การบริหารจัดการอารมณ์  โดยใช้ความคิดและสติปัญญา รู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเอง ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ และอาศัยจิตสำนึกและจิตใต้สำนึกซึ่งต้องทำงานร่วมกันในการเก็บข้อมูล ประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมา ซึ่งผลที่ออกมาจะช่วยให้เราสามารถแก้ไขสถานการณ์ทุกอย่างให้ดีขึ้นได้ นอกจากนี้การเข้าใจคนอื่นว่าแต่ละคนมีศักยภาพไม่เท่ากัน แต่มีค่าของความเป็นคนเท่ากัน

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

          เนื่องจากเราไม่สามารถควบคุมอารมณ์คนอื่นได้ ดังนั้นให้เรารู้จักควบคุมอารมณ์ตนเองก่อน การรู้จักจัดการกับอารมณ์ของตนเอง และคิดบวกอยู่เสมอก็เปรียบเสมือนเป็นการเติมพลังงานให้ตัวเราเองให้มีกำลังใจในการทำงาน


บทความเรื่อง  Coach  Jimmy เชิญ Marshall GoldSmith มาเมืองไทย  

ประโยชน์ที่ได้ต่อตัวเอง คือ

  • อย่าประมาทและหลงตัวเองอยู่กับความสำเร็จที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเท่านั้น  และคิดว่าตัวเองเก่ง ตัวเองแน่กว่าคนอื่น  เพราะความคิดเช่นนี้อาจจะนำไปสู่ความล้มเหลวในอนาคตได้ 
  • เราจะต้องมีการพัฒนาตนเองให้มีความพร้อมในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ รวมถึงเปิดโอกาสให้ตัวเองได้สัมผัสกับคนเก่งๆ เพื่อเปิดโลกทัศน์ทางความคิดของตนเอง
  • การทำให้ตัวเราเกิดความรู้สึกว่ามีคุณค่า  และมีส่วนร่วมในความสำเร็จ  อีกทั้งสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดขึ้นในตนเอง โดยใช้จุดแข็งที่เรามีอยู่ผลักดันให้ทำงานประสบความสำเร็จตามทฤษฎี 2 R’s ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ (Chira Way)

ประโยชน์ที่ได้ต่อองค์กร คือ การที่องค์กรจะประสบความสำเร็จได้นั้น ผู้นำองค์กรถือบุคคลสำคัญในการนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ร่วมกันได้  หากผู้นำมีวิสัยทัศน์กว้างไกล  มองเห็นถึงจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กร และสามารถวิเคราะห์สังเคราะห์สิ่งที่องค์กรมีมาปรับใช้ในการพัฒนาองค์กรให้ประสบผลสำเร็จ

 

นางปุญญาภา นิธิพิเชฐ (กลุ่มที่ 1)

สรุปผลบทเรียนช่วงที่ 1 (วิชาที่ 1-5) วันที่ 4-5 กรกฎาคม 2560

โดย นางปุญญาภา   นิธิพิเชฐ (กลุ่มที่ 1)

 

วันที่ 4 กรกฎาคม 2560

สรุปประเด็น วิชาที่ 1 : ปฐมนิเทศ แนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้ และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

          การจัดโครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเห็นความสำคัญ ในการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารสายสนับสนุน โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดโครงการ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถ และพัฒนาผู้บริหารสายสนับสนุนให้มีวิสัยทัศน์ ความรู้ ทักษะการบริหาร เพื่อถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้ (Process of Learning) เพื่อเปิดโลกทัศน์และมุมมองและเพื่อจุดประกาย สร้างแรงบันดาลใจ สร้างพลังในการพัฒนาและขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

การนำไปปรับใช้กับตัวเอง

         นำแนวคิด องค์ความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ให้ทันบริบทที่เปลี่ยนไปในการพัฒนาตนเอง

การนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน

          นำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการ เพื่อพัฒนาทักษะในการบริหาร การทำงาน  ปรับทัศนคติที่ดีนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน  ต่อเพื่อนร่วมงานทุกคนในองค์กร 

 

สรุปประเด็น วิชาที่ 2 : ภาวะผู้นำ (Leadership) ทัศนคติ (Mindset) และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

          การจะเป็นผู้นำที่ดีนั้นต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ (Vision)  มองอย่างรอบด้าน มองความจริง (Reality) และตรงประเด็น (Relevance)  มีทางเลือก ถูกกฎหมาย และคุ้มค่า “ Leadership is doing the right things” สร้างแรงจูงใจให้คนอยากทำงาน (Motivation)  พัฒนาให้บุคลากรมีความรู้ ทักษะ สมรรถนะในด้านต่างๆ เป็นคนเก่ง และคนดีขององค์กร (Competencies)

การนำไปปรับใช้กับตัวเอง

          การเป็นผู้นำที่ดีนั้นต้องเปิดใจให้กว้างยอมรับฟัง และพร้อมปรับเปลี่ยน นำอย่างมีสติ ที่สำคัญต้องปรับทัศนคติ (Mindset) ให้มีพลังบวกโดยเริ่มจากตัวเองก่อน และสร้างบรรยากาศในองค์กรให้เกิด Growth Mindset กับทีม

การนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน

          การมีส่วนช่วยในการก้าวผ่านความท้าทายของมหาวิทยาลัยสำเร็จได้อย่างไร” โดยต้องสร้างบรรยากาศในองค์กรให้เกิด Growth Mindset กับทีมงาน โดยเริ่มจากตัวผู้นำในองค์กรก่อนที่เป็นแบบอย่าง และเป็นผู้จุดประกายให้กับทีมงาน ใช้การมีส่วนร่วมของบุคลากร และผู้มีส่วนได้เสียเพื่อรวมขับเคลื่อนองค์กรไปในทิศทางเดียวกันอย่างเป็นเอกภาพ

 

สรุปประเด็น วิชาที่ 3 : การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3V’s

การทำงานในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลง จะต้องมีการสื่อสารที่รวดเร็ว เทคโนโลยีก้าวทันสมัย และจะต้องปรับการบริหารโดยใช้ HR+3V’s  คือ(1) Value Added สร้างมูลค่า (2) Value Creation สร้างคุณค่าใหม่ เช่น การหาลูกค่า หาเครือข่ายใหม่ๆ  (3) Value Diversity สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

 การนำไปปรับใช้กับตัวเอง

          ปรับตนเองให้ก้าวทันต่อโลกทัศน์ ความเปลี่ยนแปลง  โดยใช้ 3V’s ในการบริหารจัดการ มองภาพอนาคต คิดสร้างสรรค์ และคิดนอกกรอบ เพื่อการปฏิบัติงาน  ปฏิบัติตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน

ร่วมกับทีมงานในการร่วมคิดโครงการสร้างนวัตกรรม โดยใช้ 3V’s เพื่อสร้างคุณค่าให้กับองค์กร

 

วันที่ 5 กรกฎาคม 2560

สรุปประเด็น วิชาที่ 4 : การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

การสร้างทีมงานนั้นต้องเริ่มจากการปรับระบบความคิดของตัวเองก่อน ผู้นำต้องเข้าใจเรื่องต้นเหตุของ mindset ของแต่ละคน ซึ่งมาจากภูมิหลังที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น ครอบครัว การศึกษา สภาพแวดล้อม วัฒนธรรม หรือกรรมเก่า การเข้าใจคนจะทำให้สามารถลดปัญหาความขัดแย้ง และเกิดการเรียนรู้ที่ดีในการ ปกิบัติงานร่วมกัน

การนำไปปรับใช้กับตัวเอง

          ปรับ Mindset ให้คิดบวก เข้าใจตน เข้าใจคน เข้าใจงาน ยิ้มรับกับทุกสถานการณ์ การบริหารอารมณ์อย่างคุ้มค่า ตลอดเวลา

การนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน

ปรับ Mindset ให้ทุกคนในองค์กรเห็นคุณค่าของกันและกัน สร้างบรรยากาศที่ดีต้อที่ทำงาน สร้างวัฒนธรรมคิดบวก พร้อมชมเชย พร้อมให้อภัย ทำงานร่วมกันด้วยความรัก

 

สรุปประเด็น วิชาที่ 5 : การบริหารความขัดแย้งและการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ได้ โดยการฝึกคิดบวก ให้เราสามารถปฏิบัติตนที่ดีได้ในทุกสถานการณ์  การคิดบวกคือ คิดแบบเข้าใจไม่โลกสวยเกินไป เติมพลังงานให้ตัวเองสร้างความสมดุลให้ร่างกาย และจะต้องจัดการกับอารมณ์เชิงลบ อย่างรู้ทัน และรวดเร็ว

การนำไปปรับใช้กับตัวเอง

          ฝึกตัวเองให้มีความฉลาดทางอารมณ์  คิดบวก  โดยปรับทัศนคติในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น

การนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน

เน้นการปรับ Mindset ให้ทุกคนในองค์กรเห็นคุณค่าของกันและกัน สร้างบรรยากาศให้ที่ทำงาน สร้างวัฒนธรรมคิดบวก ทำงานร่วมกันด้วยความรัก 

นางสาวชนาธิป แก้วทอง กลุ่มที่ 4


บทเรียน ช่วงที่ 1 (4-5 กรกฎาคม 2560)

สรุปผลการเรียนรู้  

วิชาที่ 1 ปฐมนิเทศ แนะนำทฤษฎีสำคัญเพื่อการเรียนรู้ และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

โครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุนถูกจัดขึ้นเนื่องจากผู้บริหารระดับสูงเห็นความสำคัญในการพัฒนาผู้บริหารและบุคลากรสายสนับสนุน ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาให้มีทักษะภาวะผู้นำ ทักษะในการบริหารงาน การทำงานเป็นทีม และอื่นๆที่จำเป็น เพื่อการประสานงานด้านวิชาการของมหาวิทยาลัย โดยสายสนับสนุนทำงานสอดคล้องกับสายวิชาการอย่างลงตัว มีทัศนคติเชิงบวก มีแรงใจและความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับองค์กร ที่เป็นส่วนสำคัญในการร่วมแรงร่วมใจพัฒนามหาวิทยาลัย ทั้งนี้จำเป็นจะต้องเรียนรู้ทฤษฎีพื้นฐานในการบริหารจัดการองค์กรเพื่อการพัฒนา  

การนำไปปรับใช้

ตระหนักว่าเราต้องมีเป้าหมายในการทำงาน มีทัศนคติเชิงบวกต่อองค์กร รู้จักตนเอง เข้าใจและรับฟังผู้อื่น เรียนรู้ต่อการเปลี่ยนแปลง การทำงานเป็นทีมร่วมกันทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย

 

วิชาที่ 2 ภาวะผู้นำทัศนคติ (Mindset) และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

เรียนรู้ความหมายของภาวะผู้นำ  ความแตกต่างระหว่างผู้นำและผู้จัดการ ผู้นำที่ประสบความสำเร็จจะต้องมีผู้จัดการที่ดีเคียงข้างเสมอ ผู้นำมีหลายประเภท การเลือกใช้วิธีการในการจัดการของผู้นำจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เพื่อให้เหมาะกับบริบทหรือสถานการณ์ในขณะนั้น  “Managing is doing things right, Leadership is doing the right things” ผู้นำควรฝึก Growth Mindset เพื่อนำไปสู่การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ  

การนำไปปรับใช้

นำคุณสมบัติที่ดีของผู้นำและผู้จัดการมาปรับใช้ในการทำงาน ค้นหา Talent Management และ Peak Performance ของตนเองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

 

วิชาที่ 3 การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 V (Value added – Value Creation – Value Diversity)

เรียนรู้ทฤษฎี 3 V และแนวทางในการจัดทำโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม  

การนำไปปรับใช้

นำความรู้เรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่มไปสร้างนวัตกรรมในการทำงาน ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพของงานที่ดียิ่งขึ้น  เพื่อพัฒนางานของมหาวิทยาลัยในองค์รวม

 

วิชาที่ 4 การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

ก่อนจะสร้างทีม ต้องรู้จักตนเองให้ดีก่อน ถึงค่อยทำความรู้จักผู้อื่น  การรู้ถึงที่มาของวิธีคิด โดยวิเคราะห์ได้จากพื้นฐานครอบครัว การศึกษา สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม จะทำให้เราเข้าใจวิธีคิดของผู้อื่นซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมหรือคำพูดของผู้นั้น

สำหรับการทำงานเป็นทีม การตั้งเป้าหมายไปที่จุดเดียวกันเป็นสิ่งสำคัญ หากแต่การจะทำงานไปด้วยกันนั้น  การมีเครือข่ายและมีการสื่อสารอย่างเข้าใจกันในทีม จะเป็นปัจจัยที่ทำให้ทีมงานรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีความสุขในการทำงาน และทำให้งานลุล่วงไปได้ด้วยดี          

การนำไปปรับใช้

สามารถวิเคราะห์วิธีคิดจากพฤติกรรม คำพูด หรือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับผู้นั้น เข้าใจเพื่อนร่วมงานมากขึ้น และนำไปใช้ในการทำงานเป็นทีมได้

 

วิชาที่ 5 การบริหารความขัดแย้งและการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

การมีสติในการกระทำทุกๆอย่างเป็นจุดเริ่มต้นที่ส่งผลต่อพฤติกรรมที่ดี การคิดบวกเป็นการเติมพลังงานให้กับตัวเอง การสร้างความรู้สึกเชิงบวกไม่ว่าจะเป็นจากคำพูด ภาษากาย การปรับเปลี่ยนมุมมอง และความคิด รวมถึงการควบคุมอารมณ์เชิงลบ เพื่อลดความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงาน นำพางานไปสู่เป้าหมายอย่างราบรื่น   

การนำไปปรับใช้

ฝึกการคิดบวกให้เป็นนิสัย เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและสร้างความสุขในการทำงาน นำวิธีการควบคุมอารมณ์ไปใช้เพื่อลดความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงาน มองปัญหาและผู้อื่นอย่างมีเมตตา เข้าใจและรับฟังผู้อื่น

 

วิเคราะห์จากการอ่านบทความ

บทความเรื่อง Coach Jimmy เชิญ Marshall GoldSmith มาเมืองไทย

ประโยชน์ที่ได้ต่อตนเอง

  • การอ่านหนังสือหรือการพูดคุยกับผู้ที่มีประสบการณ์และประสบความสำเร็จ เป็นการเปิดโลกทัศน์และมุมมองใหม่ๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเอง และผลักดันให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จได้
  • การเป็นผู้นำที่ดี ควรมีสติและตระหนักเสมอว่า ไม่ควรทะนงตนว่าเก่งที่สุด ให้รู้จักตนเองว่าควรปรับปรุงสิ่งใดบ้าง และการควบคุมอารมณ์เป็นสิ่งสำคัญ
  • การเรียนรู้ไม่มีจุดสิ้นสุด คนเราสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาและทุกสถานการณ์

ประโยชน์ที่ได้ต่อองค์กร

  • การเรียนรู้บทเรียนและประสบการณ์จากผู้ที่ประสบความสำเร็จ เป็นการถอดบทเรียนที่สามารถนำมาพัฒนามหาวิทยาลัยได้ โดยเรียนรู้สิ่งที่ดีและไม่ดีหรือบริบทที่ใกล้เคียงกับองค์กรของเรา นำมาปรับใช้ในการพัฒนา
  • บุคลิกของผู้นำส่งผลกับการพัฒนาองค์กร การที่องค์กรมีผู้นำที่ดีจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาอย่างแท้จริง

การนำแนวคิดมาปรับใช้

การพัฒนาตนเองเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะนำไปสู่การพัฒนาองค์กรให้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปิดโลกทัศน์ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดกับผู้มีความรู้และประสบความสำเร็จ การมีสติ หรือการควบคุมอารมณ์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อบุคลากรมีความพร้อมและที่สำคัญมีความมั่นใจในตัวของผู้นำ ทำให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน อันจะส่งผลในการพัฒนาองค์กรในภาพรวมต่อไป

 

อุทัย ศิริคุณ กลุ่ม 3

สรุปบทความ

ประโยชน์ต่อตัวเอง

          1.รู้จักหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ เพื่อเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น และรู้ทันการเปลี่ยนแปลง

          2.การเรียนรู้ไม่มีสิ้นสุด เราสามารถแสวงหาความรู้ได้จากหลายๆแหล่ง เช่น ถามผู้รู้ อ่านจากหนังสือ หรือสื่อต่างๆ

          3.จงอย่าใช้ชีวิตประมาท ไม่ว่าจะดำรงตำแหน่งหรือหน้าที่การงานใด ยิ่งเป็นผู้บริหารต้องรู้จักถ่อมตน เอาใจเขามาใส่ใจเรา

          4.ต้องรู้จักให้กำลังใจตนเองและผู้อื่น เมื่อใครมีความคิดดีดี เราควรส่งเสริม

ประโยชน์ต่อองค์กร

          1.เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

          2.รู้จักตัวเอง รู้จักผู้อื่น สู่การทำงานเป็นทีม

          3.การเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาของบุคลากรทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ในการพัฒนาองค์กร

          4.บุคลากรในองค์กรมีแรงบันดาลใจในการทำงาน ทำให้การทำงานมุ่งสู่เป้าหมายขององค์กรและประสบผลสำเร็จได้

 

การนำแนวคิดมาปรับใช้

          1.ต้องพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ

          2.เปิดใจรับสิ่งใหม่ เปิดโลกทัศน์ให้กว้าง ยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลง

          3.รู้จักให้กำลังใจตัวเองและผู้อื่น

          4.การทำงาน แบบ Teamwork

          5.แม้ว่าตัวเองจะประสบความสำเร็จแล้ว ต้องรู้จักช่วยเหลือแบ่งปันผู้อื่น และสร้างประโยชน์ให้กับองค์กร

นายมัฆวัต วิไลลักษณ์ กลุ่มที่ 5

วิชาที่ 1 ปฐมนิเทศ แนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้ และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

          สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

          1. กระบวนการและการออกแบบการเรียนรู้ที่ดี ซึ่งประกอบด้วยทั้งแนวคิดและทฤษฏี รวมถึงข้อมูลความเป็นจริงในทุกๆด้าน

          2. กระบวนการสร้างการทำงานเป็นทีมและการบริหารจัดการในการเตรียมความพร้อมเพื่อเรียนรู้ของผู้เข้าร่วม

          3. แนวทางการจุดประกายสร้างแรงบันดาลใจ

          สิ่งที่จะนำไปปรับใช้ในการทำงาน

          การนำกระบวนการและการออกแบบการเรียนรู้ไม่ว่าทฤษฏีหรือแนวความคิด ไปปรับปรุงการทำงานในองค์กรที่มีบริบทของบุคลากรที่มีความแตกต่างกัน ให้เกิดประสิทธิภาพไม่ว่าการทำงานเป็นทีม ความพร้อมในการทำงาน การสร้างแรงบันดาลใจเพื่อให้ทุกคนมีจิตมุ่งมั่นทำงานในทิศทางเดียวกันและเป้าหมายที่ตั้งไว้

 วิชาที่ 2 ภาวะผู้นำทัศนคติและการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

          สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

          1. ภาวะผู้นำมีหลายรูปแบบของการเกิดคำว่าภาวะผู้นำของบุคคลใดบุคคลหนึ่งในองค์กรหรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

          2. ทัศนคติของการเป็นผู้นำที่ดีในการจัดการบริหารองค์กร

          3. แนวคิดกับทฤษฏี 8K’s ทฤษฏีทุน 8 ประการพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และ 5K’s (ใหม่) ทฤษฏีทุนใหม่ 5 ประการ เพื่อพัฒนาทัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัฒน์

          สิ่งที่จะนำไปปรับใช้ในการทำงาน

          กรณีเป็นผู้จัดการหรือผู้นำองค์กร เราสามารถนำสิ่งที่ได้รับไปปรับใช้ในการทำงานของบุคลากรในองค์กร เพื่อให้บุคลากรในองค์กรเกิดทัศนคติที่ดีต่อผู้นำขององค์กรและความเชื่อมั่นในการบริหารขององค์กรให้ไปถึงเป้าหมายขององค์กรที่ตั้งไว้ในการพัฒนา

วิชาที่ 3 การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 V

          สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

          1. แนวคิดและทิศทางการเพิ่มมูลค่าของงานและสิ่งหนึ่งสิ่งใดในองค์กร นำสิ่งที่ดีอยู่แล้วมาเพิ่มมูลค่าให้มีมูลค่ามากขึ้นกว่าเดิมหรือดียิ่งขึ้น

          2. มุมมองของการเห็นคุณค่าอีกอย่างที่ยังไม่มีใครเห็นหรือมีความแตกต่างจากเดิม

          3. แนวคิดการนำจุดเด่นของแต่ละอย่างมารวมกันเพื่อให้เป็นนวัตกรรม

           สิ่งที่จะนำไปปรับใช้ในการทำงาน

          การนำแนวคิด ทฤษฏี และข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงขององค์กรเพื่อเป็นการออกแบบการทำงานที่เพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของงานจากเดิมให้เกิดมูลค่ามากขึ้นและเกิดการพัฒนาขององค์กรได้อย่างมืออาชีพ

 วิชาที่ 4 การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

          สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

          1. การเรียนรู้ตัวเองและการวิเคราะห์ตัวเอง ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม ในทิศทางที่ดีและไม่ดี ต้องรู้ตัวเราก่อน

          2. วิธีและกรอบการวิเคราะห์กับสิ่งที่เกิดขึ้นกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ของการทำงาน โดยใช้กระบวนการต่าง ๆ จากการคิดที่ตัวเราและสิ่งที่เกิดขึ้นจริง

          3. การสร้างกำลังใจกับตัวเองและผู้อื่น

          สิ่งที่จะนำไปปรับใช้ในการทำงาน

          การฝึกตัวเองในการพูดการสนทนากับเพื่อนร่วมงาน ในการชื่นชม และให้กำลังใจเพื่อนร่วมงาน และเป็นการเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตนเองในการทำงานต่าง ๆ และเปิดใจกว้างในการยอมรับความคิดเป็นของเพื่อนร่วมงาน เพื่อให้งานเกิดการพัฒนา

 วิชาที่ 5 การบริหารความขัดแย้งและการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

          สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

          การคิดบวกและการบริหารจัดการอารมณ์ทางลบ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการทีมงานของบุคลากรในองค์กรและลดการความขัดแย้งในองค์กร

           สิ่งที่จะนำไปปรับใช้ในการทำงาน

          การฝึกตนเองในการจัดการอารมณ์ทางลบ และสร้างอารมณ์และความคิดเชิงบวก เพื่อการทำงานร่วมกันของบุคลากรในองค์กร

 การวิเคราะห์บทความ Coach Jimmy เชิญ Marshall GoldSmith มาเมืองไทย

          ประโยชน์ต่อตนเอง

          การพัฒนาตนเองในการเรียนรู้ตลอดเวลา การเปิดโลกทัศน์รับสิ่งใหม่ๆ รวมถึงการปรับทัศนคติในการคิดเชิงบวกและสร้างแรงบันดาลใจให้กับตนเองและการทำงานในองค์กร

          ประโยชน์ต่อองค์กร

          นำความรู้ที่ได้จากการพัฒนาตนเองและการเรียนรู้ต่าง ๆ มาปรับใช้ในองค์กรตามความเหมาะสมตามบริบทขององค์กร เพื่อให้ทุกคนมีจิตมุ่งมั่นทำงานไปในทิศทางเดียวกัน

นายชัยยุทธมณีฉาย กลุ่ม 1

วิชาที่1ปฐมนิเทศ แนะนำทฤษฎีที่สำคัญ เพื่อการเรียนรู้ และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

          ควรต้องค้นหาตัวเองว่าคุณค่าของเราอยู่ที่ไหนจะมีส่วนร่วมให้องค์กรเดินไปสู่เป้าหมายได้อย่างไร คิดตามความเป็นจริงจะทำให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร โดยใช้วิธีคิดร่วมกัน คือ Learning howto learn การทำงานเป็นทีมเป็นเรื่องที่สำคัญ

 

วิชาที่2ภาวะผู้นำทัศนคติ (Mindset)และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

          Managing is doing things right, Leadershipis doing the right things ภาวะผู้นำกับผู้บริหารจัดการบางอย่างทับกันอยู่แต่บางอย่างแตกต่างกัน ซึ่งเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่การเป็นผู้จัดการที่จะยกระดับไปเป็นผู้นำกว่าจะเป็นผู้นำที่ดีได้ต้องเป็นนักบริหารจัดการก่อน

 

วิชาที่3การออกแบบโครงการเขียนนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 V

          เป็นการสร้างกระบวนการคิดเพื่อการออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานที่จะต้องสร้างมูลค่าเพิ่ม(Value Added) สร้างคุณค่าเพิ่ม (Value Creation) และสร้างคุณค่าจากความหลากหลาย (Value Diversity)

 

วิชาที่4การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

          1. การทำงานเป็นทีมต้องเข้าใจเพื่อนร่วมทีมถึงความแตกต่างของแต่ละคนการแสดงออกของแต่ละคนจะมีสาเหตุเสมอ

          2. การกระทำของเราจะมีผลกระทบกับทีมและมีผลสะท้อนกลับมาเสมอ

          3. มองปัจจุบันด้วยความเป็นจริง ต้องวิเคราะห์เพราะบางสิ่งที่เห็นก็อาจจะไม่ใช่เรื่องจริงก็ได้

 

วิชาที่5การบริหารความขัดแย้งและการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

          การจัดการความขัดแย้งควรพิจารณาประเด็นAvoiding, Accommodating, Collaboration, Compromise และ Confrontation การแก้ปัญหาความขัดแย้งจะต้องเข้าใจถึงรายละเอียดของปัญหาให้ลึกซึ้งเสียก่อนจึงจะหาแนวทางในการบริหารความขัดแย้งได้

 

สัมภาษณ์MichaelMartin Hammer กูรูเรื่อง Re-engineering

ประโยชน์ที่ได้ต่อตัวเอง

1.การประสบความสำเร็จในวันนี้ไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันว่าจะประสบความสำเร็จตลอดไปในอนาคต

2. ผู้ที่เก่ง ประสบความสำเร็จ ควรต้องถ่อมตัวไม่ควรคิดว่าแน่หรือเก่งอยู่คนเดียว

3. ต้องมองโลกในแง่ดี

ประโยชน์ต่อองค์กร

          ควรวิเคราะห์งานขององค์กรที่เป็น Real Work จริง ๆ เพื่อการทำงานจะได้เกิดประโยชน์แก่องค์กรและลูกค้าอย่างแท้จริง

นางสาวปวีณา จันทร์ประดิษฐ์ กลุ่มที่ 2

สรุปสิ่งทีได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับงานที่ทำทุกรายวิชาในช่วงที่ 1

วันที่ 4 กรกฎาคม 2560

วิชาที่ 1 ปฐมนิเทศ แนะนำทฤษฎีสำคัญเพื่อการเรียนรู้และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

สิ่งที่ได้เรียนรู้

                        การดำเนินการโครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา สายสนับสนุน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุน ให้สามารถพัฒนาทักษะเพื่อนำไปสู่การเป็นผู้บริหาร หรือผู้นำมืออาชีพโดยผ่านหลักสูตรที่ออกแบบให้เหมาะสมและตรงความต้องการของผู้เข้าร่วมโครงการมากที่สุด อีกทั้งการเรียนรู้แนวคิด ทฤษฎีและเครื่องมือที่จะนำไปใช้ในการบริหารจัดการที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและพัฒนาองค์กร และการเรียนรู้การทำงานเป็นทีม    การทำงานต้องมีการวางเป้าหมายที่ชัดเจน การมองเป้าหมายเดียวกัน การรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาโดยมุ่งผลลัทธ์หรือเป้าหมายเดียวกัน

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับงาน

                        การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการบริหารทุนมนุษย์และทฤษฎีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องให้มีความเหมาะสมกับบริบทของหน่วยงาน การทำงานเป็นทีมต้องมีทัศนคติเชิงบวก มีความศรัทธาทั้งต่อ เจ้านาย เพื่อนร่วมงานและต่อองค์กร การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและให้ทีมตระหนักถึงความหมายของการทำงาน อีกทั้งต้องทำความเข้าใจ รับฟัง ปัญหา ความต้องการและข้อเสนอแนะของทีมเพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ หรือเป้าหมายเพื่อการพัฒนาองค์กร

 

วิชาที่ 2 ภาวะผู้นำทัศนคติ (Mind set) และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

สิ่งที่ได้เรียนรู้

                   ทราบและสามารถวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างผู้นำและผู้จัดการ การสร้างภาวะผู้นำและแนวทางการพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นผู้นำหรือผู้จัดการที่ดีอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างทัศนคติเชิงบวก การสร้างความมั่นใจและความเชื่อ อีกทั้งได้เรียนรู้แนวคิดของผู้นำที่ประสบความสำเร็จเพื่อเป็นแนวทางในการนำมาปรับใช้ให้มีความเหมาะสมกับบริบทและสถานการณ์ 

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับงาน             

                   สามารถวิเคราะห์ตัวเอง ว่าตนเองเป็นผู้นำหรือผู้จัดการที่ดี นำแนวคิดจากผู้นำมาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นผู้นำที่ดี และมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของหน่วยงาน ปรับเปลี่ยนแนวคิดทัศนคติและมีความเชื่อมั่น

วิชาที่ 3 การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 V (Value added /Value Creation / Value Diversity)

สิ่งที่ได้เรียนรู้

                   การเกิดนวัตกรรมในองค์กร ต้องอาศัยความมีวิสัยทัศน์ มีความต้องการความเปลี่ยนแปลง กล้าคิด กล้าทำ โดยมีผลลัพธ์เพื่อการพัฒนาองค์กร ภายใต้ทฤษฎี 3 V ดังนี้ 1) สร้างมูลค่าเพิ่ม Value added 2) สร้างคุณค่าใหม่ Value Creation และ 3) สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย Value Diversity                

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับงาน 

                   นำความรู้จากทฤษฎี 3 V มาเป็นแนวทางในการสร้างนวัตกรรมที่มีความทันสมัย เพิ่มประสิทธิภาพและสร้างคุณค่าในงาน ที่มีความสอดคล้องกับบริบทของมหาวิทยาลัยทักษิณและนำไปสู่การพัฒนา

 

วันที่ 5 กรกฎาคม 2560

วิชาที่ 4 การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

สิ่งที่ได้เรียนรู้

                   การสร้างทีมที่ดี ผู้นำต้องรู้จักตนเอง วิเคราะห์ตนเองว่าเป็นอย่างไร เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตนเองและปรับเปลี่ยนมุมมอง มีทัศนคติเชิงบวกมองเพื่อนร่วมงานและทีมอย่างเข้าใจและมองบนพื้นฐานที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละบุคคล การเปิดใจรับฟังปัญหา ข้อเสนอแนะ และความต้องการของทีมเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและตรงประเด็น การทำงานเป็นทีมต้องอาศัยความเข้าใจที่ตรงกัน มีแผนที่ชัดเจน มีการสื่อสารและการถ่ายทอดที่ดี Focus ต่อสิ่งที่ทำ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับงาน 

                   รู้จักตนเอง สามารถวิเคราะห์ตนเอง และนำไปปรับใช้ในการปรับปรุงตนเอง ปรับเปลี่ยนมุมมองและทัศนคติ สามารถนำไปประยุกต์ใช้และบริหารจัดการกับอารมณ์ของตัวเอง กระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล และมีความเข้าใจเพื่อนร่วมงานและทีมมากขึ้น 

วิชาที่ 5 การบริหารความขัดแย้งและการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

สิ่งที่ได้เรียนรู้

                   การสร้างอารมณ์เชิงบวก คำพูด ภาษากาย ปรับเปลี่ยนมุมอง และทุกอย่างเป็นไปได้ ทุกอย่างล้วนมีความสอดคล้อง การมีทัศนคติเชิงบวกสามารถสร้างพลัง และดึงดูดสิ่งที่ดีเข้ามาหาตัว การบริหารจัดการอารมณ์เชิงลบ และการบริหารจัดการความขัดแย้ง ด้วยวิธี โดยไม่ตัดสินคนอื่นในทันที มองทุกอย่างด้วยความเข้าใจ มีสร้างวัฒนธรรมหรือข้อตกลงเพื่อเป็นตัวกำหนดของการทำงาน ทำงานร่วมกันด้วยความประนีประนอม และมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน คุยอย่างเปิดใจ และกล่าวขอบคุณและขอโทษให้เป็นนิสัย

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับงาน 

                   ฝึกการสร้างอารมณ์เชิงบวกให้เป็นนิสัย ลดอคติ ปรับเปลี่ยนมุมมอง เปิดใจรับฟัง และทำความเข้าใจกับปัญหาที่เกิดขึ้น

 

วิเคราะห์จากการอ่านบทความ Coach Jimmy เชิญ Marshall GoldSmith มาเมืองไทย

สิ่งที่ได้เรียนรู้

                   1. การพูดคุยพบปะกับคนเก่ง มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ จะเป็นการเปิดโลกโลกทัศน์และสร้างวิสัยทัศน์ให้กับตนเอง

                   2. ทุกจังหวะที่เข้ามา ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจ ทำให้เกิดความเข้าใจและมุมมองที่หลากหลาย เป็นการสร้างพลังในการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์แห่งความสำเร็จ

                   3. ความสำเร็จหากตั้งอยู่พื้นฐานของความประมาทและความทะนงตัว อีกทั้งไม่สามารถบริหารจัดการอารมณ์ มองโลกด้วยอคติ ก็สามารถนำไปสู่ความล้มเหลวได้ในที่สุด

                   4. อย่าเสียเวลาไปกับงานที่ไม่สามารถสร้างมูลค่าและไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร

                   5. วางแผนในการทำงานและฝึกให้เป็นนิสัย

                   6. การเรียนรู้ทำให้สามารถมองโลกอย่างเข้าใจ

                   7. ความคิดสร้างสรรค์ จะเป็นช่องทางสำคัญในการสร้างเครือข่ายที่หลากหลายขึ้น 

ประโยชน์ที่ได้ต่อองค์กร

                   1. กระบวนการพัฒนาบุคลากร

                   2. การสร้างนวัตกรรม

                   3. การบริหารความขัดแย้งของบุคลากรภายในองค์กร

                   4. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับองค์กร 

ประโยชน์ที่ได้ต่อตนเองและการนำแนวคิดมาปรับใช้

                   1. แนวทางการพัฒนาตนเอง

                   2. การวางแผนการทำงาน

                   3. การบริหารจัดการอารมณ์ และการสร้างทัศนคติเชิงบวก

                   4. มีแรงบันดาลในใจการทำงาน

                   5. มีแรงขับในการเรียนรู้สิ่งใหม่        

นางจันทิมา คงคาลัย

นางจันทิมา คงคาลัย กลุ่มที่ 4

วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2560

1. Minset ทุกการกระทำล้วนมีสาเหตุ ให้ใช้สติพิจารณาถึงสาเหตุของพฤติกรรมทั้งของตนเอง และคนอื่น โดยใช้การมอบคนอย่างเข้าใจ การป้อนสิ่งไม่ดีเท่ากับการเติมสารอดรีนาลีนให้กับตัวเอง การป้อนสิ่งที่ดีเท่ากับการเติมสารเอ็นโดรฟินให้กับตัวเอง

2. การฝึกการคิดเชิงบวกให้ใช้ความพยายามฝึกสมองและเชื่อมั่นว่าทุกสิ่งสามารถทำได้ ใช้วิธีการทำซ้ำ ทำบ่อยๆ สั่งสมองภายใต้จิตสำนึก หยั่งลึกสู่จิตสำนึก จนเกิดขึ้นแบบอัตโนมัติ

3. การทำงานร่วมกัน ตั้งเป้าหมายเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จและเชื่อมั่นว่าทุกสิ่งเป็นไปได้ มององค์กรเป็นหลัก การทำงานร่วมกันต้องรู้จักสร้างความคิดเชิงบวกเพื่อกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจสู่การทำงานเป็นทีม


บทความ Coach Jimmy เชิญ Marshall GoldSmith มาเมืองไทย

ประโยชน์ที่ได้ต่อตัวเอง

1. การสร้างคุณค่าของตนเอง ด้วยการให้โอกาสตนเองในการค้นคว้าหาความรู้อยู่ตลอดเวลา

2. การได้พบและสัมผัสคนเก่งๆ เป็นการเปิดโลกทัศน์และสั่งสมประสบการณ์ กระตุ้นในเกิดพลังในการเรียน การอ่าน หรือการปะทะทางปัญญา เพื่อทำให้เกิดความสำเร็จในสิ่งที่สูงขึ้น

3. ผู้นำที่ดี ต้องถ่อมตัว ปรับตัวเอง ทิ้งอุปนิสัยที่ไม่ดีออก ให้รู้จักควบคุมอารมณ์ มองโลกในแง่ดี หาความรู้รอบตัวตลอดเวลา

ประโยชน์ที่ได้ต่อองค์กร (ควรจะนำแนวคิดมาปรับใช้อย่างไร)

1. นำแนวคิดไปปรับใช้ในงานบางอย่างที่ไม่สำคัญ ปรับขั้นตอนที่ไม่จำเป็น และไม่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรและลูกค้า

2. นำทฤษฎี 2 R’s วิเคราะห์ปัญหาของมหาวิทยาลัยบนสถานการณ์ และข้อมูลจริง ซึ่งสอดคล้องกับ Michael Hammer เจ้าพ่อ Reengineering ซึ่งบอกไว้ว่า “งานที่เราทำอยู่ทุกๆ วัน บางครั้งทำในสิ่งที่ไม่สำคัญ คือ ไม่ใช่ Real Work บางครั้งไม่ได้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรจริงทำให้ไม่เกิดประโยชน์แก่ลูกค้า” 

สรุปบทความ

ถึงแม้จะเป็นบุคลากรสายสนับสนุนแต่มหาวิทยาลัยทักษิณก็ให้ความสำคัญเช่นเดียวกัน จึงมีโครงการเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเตรียวตัวเป็นผู้บริหารสายสนับสนุน ถือเป็นโครงการที่ดี ทำให้รู้สึกภาคภูมิใจในความเป็นบุคลากรสายสนับสนุน

ประโยชน์ต่อตนเอ

มีแรงบันดาลใจในการพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพและสร้างภาวะผู้นำที่ดีให้เกิดขึ้นแก่ต่นเองด้วยการปรับกระบวนการทางความคิด เพื่อชี้นำพฤติกรรม ไปสู่การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพและขีดความสามารถองตนเอง หลักการต่างๆ ของ Chira Way สามารถนำมาประยุกต์ใช้ต่อการทำงานได้อย่างแน่นอน

ประโยชน์ต่อองค์กร

หากองค์กรสนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรเข้าร่วมโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง จะสามารถพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมในการเป็นผู้นำที่ดี เพื่อร่วมด้วยช่วยกันขับเคลื่อนองค์กรให้ประสบผลสำเร็จและบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

กลุ่ม 2

WORKSHOP (1) การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรม

1.ชื่อโครงการ : โครงการพัฒนา TSU เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ

2.หลักการและเหตุผล (ความสำคัญและความจำเป็นของโครงการฯ)(นำเสนอข้อมูลที่ได้ศึกษาเพื่อหาความจำเป็นและความสำคัญของโครงการนี้)

มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้จัดทำ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยทักษิณ พ.ศ. 2561 - 2570 โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยทักษิณ ปี 2558-2559 และการวิเคราะห์บริบทที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมทั้งนโยบายและแผนฯ ต่าง ๆ ที่มีผลต่อแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย เพื่อปรับปรุงแผนฯ ให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงและเพื่อให้การพัฒนามหาวิทยาลัยมุ่งไปสู่ความเป็นเลิศ จึงให้มีการกำหนดความท้าทาย ไว้ 5 ประเด็น คือ (1) ความเป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิตที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน (2) ความเข้มแข็งด้านการวิจัย (3) ความเป็นนานาชาติ (4) การบริหารจัดการเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ และ (5) ความมั่นคงทางการเงิน โดยมีพันธกิจหลัก คือ (1) จัดการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตและพัฒนากำลังคนคุณภาพรองรับความต้องการ (2) สร้างสรรค์ผลงานการวิจัยและพัฒนาเพื่อการรับใช้หรือชี้นำการพัฒนาให้กับสังคม เพื่อพัฒนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยรับใช้สังคม (3) บริการวิชาการ ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สังคม ร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่เข้มแข็ง (4) ส่งเสริม สนับสนุน การทำนุบำรุง รักษา และพัฒนา ด้านศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญา และสิ่งแวดล้อมของภาคใต้ตอนล่างให้เกิดคุณค่า มูลค่าเพิ่มแก่การพัฒนาท้องถิ่น ประเทศ และอาเซียน และ (5) พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยที่ใช้ชุมชนเป็นฐานที่เป็นที่รู้จักในระดับอาเซียน

หน่วยงานทั้งระดับคณะ/สถาบัน/สำนัก มีบทบาทสำคัญในการแปลงยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ โดยในปีการศึกษา 2560 มหาวิทยาลัยทักษิณได้นำเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศมา (EdPEx) ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการให้มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด และกำหนดให้ทุกหน่วยงานนำเกณฑ์ดังกล่าวไปใช้ภายในปีการศึกษา 2561 ซึ่งเป็นความท้าทายของทุกหน่วยงานในมหาวิทยาลัยที่จะมีการบริหารจัดการเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ โดยเครื่องมือที่สำคัญที่ต้องใช้ควบคู่กันไปคือการจัดการความรู้ ในเกณฑ์ EdPEx หมวด 4 การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ ถามว่า “สถาบันเลือก รวบรวม วิเคราะห์ จัดการ และปรับปรุงข้อมูลสารสนเทศ และสินทรัพย์ทางความรู้อย่างไร มีการเรียนรู้ และบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไร หมวดนี้ยังถามว่าสถาบันได้นำผลการทบทวนดังกล่าวมาใช้ปรับปรุงผลการดำเนินงานอย่างไร” ข้อ 4.2 “การจัดการความรู้ สารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ: สถาบันมีวิธีการอย่างไรในการจัดการทรัพย์ทางความรู้ของสถาบัน รวมทั้งสารสนเทศ และโครงสร้างของเทคโนโลยีสารสนเทศ (กระบวนการ)” โดยให้อธิบายการจัดการและเพิ่มพูนสินทรัพย์ทางความรู้และวิธีการเรียนรู้ของสถาบัน รวมทั้งวิธีการที่ทำให้มั่นใจว่าคุณภาพและความพร้อมของข้อมูลสารสนเทศ ซอฟร์แวร์และฮาร์ดแวร์ และโครงสร้างของเทคโนโลยีสารสนเทศตอบสนองต่อความต้อการในการใช้งานของบุคลากร ผู้ส่งมอบ คู่ความร่วมมืออย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ผู้เรียน และลูกค้ากลุ่มอื่น (ก) ความรู้ของสถาบัน (1) การจัดการความรู้ “สถาบันมีวิธีการอย่างไรในการจัดการความรู้ของสถาบัน” โดยถามว่าสถาบันมีวิธีการอย่างไรในการ 1) รวบรวมข้อมูล 2) ผสมผสานและหาความสัมพันธ์ของข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ 3) ถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ ระหว่างสถาบันกับผู้เรียน ลูกค้ากลุ่มอื่น ผู้ส่งมอบ คู่ความร่วมมือทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ 4) รวบรวมความรู้และถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ไปใช้ในการสร้างนวัตกรรมและกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (2) การเรียนรู้ระดับสถาบัน “สถาบันใช้ความรู้และทรัพยากรอย่างไร เพื่อให้การเรียนรู้ฝังลึกเข้าไปในวิธีการปฏิบัติงานของสถาบัน” จะเห็นว่าการพัฒนาองค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินงานที่เป็นเลิศ เพราะใช้เกณฑ์ EdPEx นั้นมีค่านิยมที่สำคัญ คือ การจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง การจัดการเพื่อนวัตกรรม ผู้เข้าร่วมโครงการซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายผู้บริหารและบุคลากรสายสนับสนุน ร่วมกันในการขับเคลื่อนโครงการพัฒนา TSU เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ โดยใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันหน่วยงานในมหาวิทยาลัยต่างคนต่างทำ จึงทำให้ไม่ได้ใช้ทรัพยากรร่วมกัน อีกทั้งการ Value added ซึ่งนำสิ่งที่หน่วยงานทำอยู่แล้ว เน้นเพิ่มความรู้ ทักษะ IT มากขึ้น ทักษะทางด้านการจัดการมากขึ้น นอกจากนี้มีโอกาสในการสร้างคูณค่าใหม่ Value Creation โดยใช้ทุนมนุษย์ที่มีทักษะที่ดีอยู่แล้วมีการสร้าง Network กับกลุ่มอื่น ๆ มากขึ้น มีการใช้ Creativity กับ Innovation ในการทำงานมากขึ้น และเน้นความหลากหลาย Value Diversity ได้แก่ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (AEC) เน้นความหลากหลายในการทำงานร่วมกับคนอื่น ๆ ที่อยู่นอกองค์กรมากขึ้น ในอนาคต

 

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงานทุกรายวิชาในช่วงที่ 1

วิชาที่ 1 – ปฐมนิเทศ

สิ่งที่ได้เรียนรู้     

  • ได้รับทราบวัตถุประสงค์และความคาดหวังของการจัดโครงการในครั้งนี้
  • ได้เปิดโลกทัศน์และมุมมองใหม่ๆ ต่อการพัฒนาและการให้ความสำคัญต่อบุคลากรของสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัย
  • การปรับตัวเองให้มีศักยภาพ        

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

  • จะนำความรู้ไปปรับใช้ในงานที่ทำเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่โครงการกำหนดไว้
  • สร้างแรงบันดาลใจและสามารถสร้างพลังในการพัฒนาและขับเคลื่อนงานของตนเองให้มีประสิทธิภาพ
  • ค้นหาจุดแข็งและความสามารถของตัวเอง และทำงานตามหลักการต่างๆ ของ Chira Way

วิชาที่ 2 – ภาวะผู้นำ

สิ่งที่ได้เรียนรู้     

  • ความแตกต่างระหว่างผู้นำและผู้บริหาร
  • ผู้นำที่ดีควรมี Growth Mindset
  • เมื่อได้โอกาสแล้ว อย่าปล่อยโอกาสให้ผ่านไป         

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

  • พยายามปรับปรุงและพัฒนาตนเองเพื่อเป็นผู้นำที่ดี โดยถึงแม้ในอนาคตจะไม่ได้เป็นผู้บังคับบัญชา แต่จะเป็นผู้นำในการทำงานหรือผู้นำของเพื่อนร่วมงาน
  • ปรับตัวเองไปสู่ Growth Mindset ด้วยการสร้างความเชื่อบนความท้าทาย เพื่อก่อให้เกิดการชี้นำเชิงพฤติกรรม และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่เพื่อนร่วมงาน
  • ติดอาวุธทางปัญญา โดยพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพให้มากขึ้น

วิชาที่ 3 – การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 V

สิ่งที่ได้เรียนรู้     

  • การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมโดยใช้หลัก 3V  โดยต้องสร้งมูลค่าเพิ่ม สร้างคุณค่าใหม่ และสร้างคุณค่าทางความหลากหลาย       
  • นำมาออกแบบเพื่อให้เกิดนวัตกรรมในการทำงาน เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้น หรือลดขั้นตอนและเวลาในการปฏิบัติงาน

วิชาที่ 4 - การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  • ต้องสำรวจเพื่อรู้จักและเข้าใจตัวเองก่อน หากตัวเองรู้สึกอย่างไร ผู้อื่นก็มีความรู้สึกเช่นเดียวกัน  
  • ควร Focus แต่ Postive Thinking
  • ให้รู้สึกรักในสิ่งที่ทำตัวเอง

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

  • ปรับกระบวนการคิดด้วยการเข้าใจและมองผู้อื่นด้วยความเข้าใจ เพราะทุกอย่างย่อมมีเหตุและผล
  • อย่ามองเห็นแต่ปัญหาหรือข้อจำกัดในการทำงาน แต่ควรคิดว่า ในปัญหายังมีโอกาส ควรคิดแต่เรื่องดีๆ หรือเรื่องที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น
  • มองเห็นและทำประโยชน์ต่อผู้อื่นและองค์กร รวมทั้งสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา

วิชาที่ 5 – การบริหารความขัดแย้งและการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

สิ่งที่ได้เรียนรู้     

  • การบริหารจัดการอารมณ์เพื่อลดผลกระทบทั้งต่อตนเองและผู้อื่น      
  • การคิดบวกแต่พอดี
  • การกำหนดเป้าหมายของทีมชัดเจน

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

  • เมื่อสามารถกำหนดได้ว่าขณะใดที่เรามีอารมณ์เชิงลบ เราจะสามารบริหารจัดการอารมณ์ของตนเองได้ เพื่อลดความขัดแย้งกับผู้อื่น
  • ควรมองโลกในแง่ดี และกล่าวชื่นชมยินดีเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น จะนำไปสู่การทำงานร่วมกันได้อย่างดี วางแผนการทำงานด้วยการกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน และสื่อสารให้ตรงกัน เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนไปสู่ผลสำเร็จได้
นางสาวศิริพร เพ็ชรมณี กลุ่มที่ 1

วิชาที่ 1  ปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

สรุปประเด็นสำคัญ

          การร่วมกันพัฒนามหาวิทยาลัยทักษิณจะต้องเกิดจากความร่วมมือของบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนที่คิดร่วมกัน คือ Learning how to learn คือการคิดตามความจริงในปัจจุบัน วางเป้าหมายร่วมกัน ร่วมกันสร้างคุณค่า ทำให้มหาวิทยาลัยทักษิณมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก โดยการกระตุ้นเกิดการคิดร่วมกันภายใต้ทฤษฎี 2 R’s คือ Reality และ Relevance

 

การนำไปปรับใช้ในการทำงาน

          นำแนวคิดการทำงานร่วมกันเป็นทีมมาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้งานที่ได้รับมอบหมายเกิดประสิทฺธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น และเกิดเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เกิดงานที่มีคุณค่าต่อมหาวิทยาลัยทักษิณ

 

วิชาที่ 2  Learning Forum & Workshop  หัวข้อ ภาวะผู้นำทัศนคติ (Mindset) และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

สรุปประเด็นสำคัญ

          การเป็นผู้นำและการเป็นผู้จัดการ  “Managing is doing thinks right, Leadership is doing the right things”  ซึ่งการเป็นผู้นำมุ่งเน้นสร้างคุณค่าเกิดความคุ้มค่า  (มองถึงอนาคตของหน่วยงาน) ส่วนผู้จัดการเน้นการปฏิบัติตามหน้าที่ตามระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ (ทำให้สำเร็จ)   ในภาวะผู้นำและผู้จัดการบางครั้งอาจทับกันอยู่ในบางบทบาทหน้าที่ การเป็นผู้นำที่ดีจะต้องเป็นผู้จัดการ(นักบริหารจัดการที่ดีมาก่อน) 

          ทฤษฎี3วงกลม จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จหากวงกลมทั้ง 3 สามารถซ้อนทับกันได้คือ Motivation  Competencies  และ Happy Workplace  ซึ่งเป็นการพัฒนาศักยภาพคนโดยใช้แรงจูงใจและทำให้เกิดความรู้ในการทำงาน

          Mindset เป็นตัวแปรทางความคิดของคนแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ Fixed mindset และ Growth mindset  ซึ่งหากมี Mindset เป็นแบบ Fixed จะมีการพัฒนาที่นิ่งไม่โตเนื่องจากไม่ชอบความท้าทาย   ส่วน Mindset แบบ  Growth  จะมีการพัฒนาที่ดีเนื่องจากมีความเชื่อว่าทำได้ลองทำสิ่งที่ท้าทาย ซึ่งหากปรับ mindset ของคนในองค์กรโดยการปรับพฤติกรรม ทัศนคติ ได้ จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ

การนำไปใช้ในการทำงาน

          นำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานโดยการกระตุ้นให้คนในองค์กรเกิด Mindsetแบบ Growth ให้มากขึ้น เนื่องจากหากทุกคนสามารทำงานเชิงรุกได้มากขึ้นจะส่งผลให้ผลการดำเนินงานขององค์กรดีขึ้น

 

วิชาที่ 3   การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3V (Value added- Value Creation – Value Diversity)

สรุปประเด็นสำคัญ

          การสร้างนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าโดยใช้ทฤษฎี 3 V ได้แก่  Value added (สร้างมูลค่าเพิ่ม)   Value Creation (สร้างคุณค่าใหม่)  Value Diversity (สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย)   ซึ่งการสร้างนวัตกรรมนั้นจะต้องดูวิสัยทัศน์  และยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยประกอบด้วยเพื่อให้นวัตกรรมชิ้นนั้นสามารถสร้างคุณค่าและเกิดประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยทักษิณ

การนำไปใช้ในการทำงาน

           นำแนวคิด 3 V มาใช้ในการพัฒนางานที่ได้รับมอบหมายโดยการสร้างคุณค่าจากงานประจำที่ได้รับมอบหมายให้เกิดคุณค่าที่ตอบสนองตามวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยทักษิณ

 

วิชาที่ 4   Learning  Forum  หัวข้อ “การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ”

สรุปประเด็นสำคัญ

          การสร้างทีมที่ดี ควรเริ่มจากการมีเป้าหมายเดียวกัน ลงมือทำร่วมกันตามเป้าหมายและแผนที่กำหนดโดยการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและมีการทำงานด้วยกันอย่างมีความสุข ตามทฤษฎี DANCE TEAMWORK  โดยผู้นำจะต้องรู้ที่มาของพฤติกรรมที่แสดงออกของแต่ละบุคคลเพื่อจะได้สามารถปรับพฤติกรรมหรือวิธีการเพื่อให้บุคคลเหล่านั้นสามารถปฎิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การนำไปใช้ในการทำงาน

           นำหลักการทำงานเป็นทีม DANCE TEAMWORK มาใช้ในการทำงานร่วมกันกับบุคลากรภายในองค์กรโดยการสร้างแรงจูงใจในการทำงานโดยการทำงานร่วมก้นเป็นทีมโดยไม่ยึดติดกับอดีตและอนาคต  และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในองค์กรให้สามารถทำงานร่วมกันได้

 

วิชาที่ 5   Learning Forum & Workshop  หัวข้อ “การบริหารความขัดแย้งและการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์”

สรุปประเด็นสำคัญ

          การบริหารความขัดแย้งและพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้วยการสร้างความรู้สึกเชิงบวกทั้งทางคำพูด ภาษากาย การปรับเปลี่ยนมุมมอง การเชื่อว่าทุกอย่างต้องเป็นไปได้ทำได้  การบริหารทีมโดยใช้การทำงานร่วมกัน สร้างเป้าหมายเดียวกัน มีการแบ่งงานกันทำ  การคิดร่วมกัน การทำงานโดยการมองข้ามความขัดแย้ง

          การจัดการความขัดแย้ง คือ การหลีกเลี่ยงการกระทำหรือสิ่งที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง   สร้างความร่วมมือกันระหว่างเพื่อนร่วมงาน  การสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกัน  การหาจุดร่วมในการทำงาน  โดยการทำงานโดยการคุยกัน เปิดใจกัน ชื่นชมกันในทุกโอกาส

การนำไปปรับใช้ในการทำงาน

         การนำหลักการบริหารความขัดแย้งมาใช้ในการทำงานร่วมกันภายในองค์กรเพื่อให้งานขององค์กรประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ร่วมกัน

 

 

การวิเคราะห์บทความ “Coach Jimmy เชิญ Marshall GoldSmith มาเมืองไทย”

ประโยชน์ที่ได้รับต่อตัวเอง

1.   การที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องอาศัยการศึกษาเรียนรู้ตลอดเวลา คอยเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ เพื่อนำมาพัฒนาแนวคิดการทำงาน

2.  การเป็นผู้ประสบความสำเร็จหากหลงตัวเองอาจจะล้มเหลวอีกก็ได้

3.  หากต้องการเป็นผู้นำที่ดีควรปรับอุปนิสิตตัวเองโดยเอาอุปนิสัยทีไม่ดีออกไปเช่น การคิดว่าตัวเองสำคัญที่สุด  คิดว่าฉลาดที่สุด เก่งที่สุด การแสดงออกทางอารมณ์ (คล้ายทฤษฎี 5K’s)  เป็นต้น

 

ประโยชน์ที่ได้รับต่อองค์กร

        นำข้อคิดจากบทความมาใช้ในการปรับปรุงการพัฒนางานโดยการไม่หยุดที่จะเรียนรู้ ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในสิ่งใหม่ ๆ ตลอดเวลาเพื่อให้สามารถก้าวทันโลกและเทคโนโลยี เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้มาพัฒนางานและองค์กรต่อไป  และนำแนวคิดการเป็นผู้นำที่ดีมาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดการทำงานเป็นทีมทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการทำงาน Happy Workplace

 

  

         

 

 

            

นางสาวดารีนา รังสิโยกฤษฏ์ กลุ่มที่ 1

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงานทุกรายวิชาในช่วงที่  1

รายวิชาที่  1  ปฐมนิเทศ แนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้  และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

          สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

  • การปรับทัศนคติ และการเปิดใจกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับผลักดันตนเอง หน่วยงาน และมหาวิทยาลัยของเรา
  • กระบวนการและวิธีการเรียนรู้ แบบ Jira Ways
  • การทำงานเป็นทีม เป็นสิ่งที่สำคัญมาก  เราไม่สามารถทำทุกอย่างเองได้เพียงคนเดียวแล้วจะทำให้งานประสบความสำเร็จได้
  • การพัฒนาทุนมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ไม่ว่าจะอยู่ในบทบาทหน้าที่ใด ล้วนถือเป็นทรัพยากรและเป็นฟันเฟืองที่สำคัญขององค์กรที่จะพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้าและยั่งยืนต่อไป

 

          สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

  • ปรับทัศนคติของตนเอง ไม่เพียงรู้ลึกแต่ในงานหลักของตนเอง แต่ให้มองงานแบบภาพกว้าง มีความรู้ในภาพกว้างที่จะมาประกอบหรือใช้ในงานหลักของเราได้ด้วย
  • นำกระบวนการและวิธีการเรียนรู้ แบบ Jira Ways มาปรับใช้กับการทำงาน แล้วเปลี่ยนแนวความคิดสู่การลงมือทำจริง  เมื่อได้ทำจริงก็จะพัฒนาสู่ความสำเร็จ สร้างนวัตกรรมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
  • สร้างภาวะผู้นำให้เกิดขึ้นกับตนเอง สร้างแรงจูงใจในหน่วยงานให้ร่วมกันทำงานเป็นทีม เพื่อผลสำเร็จที่ดีของงานในภาพรวมขององค์กร 

 

รายวิชาที่  2  ภาวะผู้นำ  ทัศนคติ (Mindset)  และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

          สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

  • ความแตกต่างระหว่างนักบริหารจัดการกับผู้นำ นักบริหารจัดการต้องทำตามสิ่งที่ได้รับมอบหมายคือ Do the thing right คือทำให้สำเร็จ ส่วนผู้นำจะต้อง Do the right things ใช้ประสบการณ์ในการทำงานเพื่อทำงานออกมาให้ดีที่สุด และได้รู้ว่าภาวะผู้นำกับการบริหารจัดการมีบางส่วนทับซ้อนกันอยู่  การจะเป็นผู้นำที่ดีได้ ก็ต้องเป็นนักบริหารจัดการที่ดีด้วย
  • Growth Mindset  เป็นการปรับทัศนคติ คิดและเชื่อเสมอว่าเราทำได้ ซึ่งเมื่อเราคิด เชื่อ และทำซ้ำๆ ก็จะกลายเป็นพฤติกรรมของการคิดบวกอยู่เสมอ เป็นการสร้างแรกผลักดันให้ตนเองรวมไปถึงทีมงาน ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ

 

          สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

  • ทำให้เข้าใจบทบาทของผู้บริหารมากขึ้นว่าคิดอย่างไร และพยายามทำหน้าที่ของตนเองให้เป็นประโยชน์กับการบริหารงาน เพื่อผลลัพธ์ที่ดีในภาพรวมขององค์กร
  • สร้าง Growth Mindset ให้ตนเอง รวมถึงบอกต่อถึงเพื่อนร่วมงานให้ปรับทัศนคติของตนเอง ซึ่งจะช่วยปรับพฤติกรรมในภาพรวม และสร้างทีมงานที่ประสบความสำเร็จได้

 

รายวิชาที่  3  การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3

          สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

1. Value Added สร้างมูลค่าเพิ่ม

2. Value Creation สร้างคุณค่าใหม่

3. Value Diversity สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

       โดยสามารถนำหลักการนี้ไปออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงจากประเด็นความท้าทรายของมหาวิทยาลัยทักษิณในกระแสของการเปลี่ยนแปลง โดยให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์ในอนาคตของมหาวิทยาลัย เพื่อใช้ในการพัฒนามหาวิทยาลัยได้

 

          สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

มองปัญหาในการทำงานในปัจจุบันแล้วนำหลัก 3V มาปรับใช้ โดยหาทางเพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะนวัตกรรมด้านกระบวนการ ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น  ลดต้นทุน  รวมถึงใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 รายวิชาที่  4  และ 5  การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ  การบริหารความขัดแย้งและการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

          สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

            การสร้างทีมที่เข้มแข็งต้องเริ่มที่ตัวเองก่อน รู้จักคิดบวก และส่งต่อความรู้สึกที่ดีต่อสมาชิกในทีม เข้าใจว่าแต่ละคนมีพื้นฐานความคิด ที่มาที่แตกต่างกัน  พยายามจัดการกับอารมณ์เชิงลบ แต่สร้างความรู้สึกเชิงบวกแทน ผ่านทาง คำพูด ภาษากาย การปรับเปลี่ยนมุมมอง ที่สำคัญสร้างความคิดว่าทุกอย่างเป็นไปได้สร้างทีมให้มีเป้าหมายเดียวกัน มีแผนการดำเนินงานและลงมือทำตามเป้าหมายและแผนที่วางไว้ ให้โอกาสคนในทีมแสดงความคิดเห็น สร้างแรงบันดาลใจ เรียนรู้จากประสบการณ์และข้อผิดพลาดเพื่อพัฒนาให้มีการทำงานเป็นทีมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  

          สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

                   1.  เริ่มที่ตนเองก่อน โดยฝึกการคิดบวก จนเป็นนิสัย

                   2.  ยอมรับความคิดเห็นผู้อื่น รู้จักเป็นผู้ฟังอย่างรอบด้าน รู้จักควบคุมอารมณ์ตนเอง

                   3.  หลีกเลี่ยงประเด็นที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้ง มีความร่วมมือร่วมใจ รู้จักประณีประนอม เผชิญหน้ากับข้อขัดแย้งด้วยการคุยกันอย่างเปิดใจ รู้จักชื่นชม ขอบคุณ ขอโทษ อย่างตรงไปตรงมา

 

วิเคราะห์บทความ Coach Jimmy เชิญ Marshall Goldsmith มาเมืองไทย

         

1.      ประโยชน์ต่อตนเอง

ถึงแม้จะเป็นคนดังระดับโลก แต่เป็นคนชอบเรียนรู้หาความรู้ใหม่ๆ หาความรู้อยู่ตลอดเวลา

เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้คนไทยมากขึ้นและได้สะสมประสบการณ์ด้วย ซึ่งเป็นตัวอย่างให้ตนเองได้มีพลังในการเรียนรู้ตลอดเวลาเช่นกัน จึงจะประสบความสำเร็จได้  ผู้นำที่สำเร็จว่าไม่ควรจะทำ คือให้ปรับตัวเอง โดยทิ้งอุปนิสัยที่ไม่ดีออกไป เช่น

·       คิดว่าตัวเองสำคัญที่สุด คนอื่น ด้อยกว่า มักจะแสดงความสำคัญตนมากกว่าคนอื่นๆ

·       อยู่ในหมู่คนหลายๆ คน มักจะคิดว่าฉันสำคัญหรือฉลาดที่สุด

·       การพูดจะไม่ระวังช่วงที่โกรธ หรือถูกกระตุ้นให้แสดงออกโดยไม่ควบคุมอารมณ์คล้ายๆ 5K’s ของผม

·       มองโลกในแง่ไม่ดี ใครมีความคิดดีๆ แทนที่จะสนับสนุน ก็บอกว่า “ไม่สำเร็จหรอก”

 

 

2.      ประโยชน์ต่อองค์กร                    ปรับเอาหลักคิดดีๆ ที่สามารถนำมาปรับใช้ในการพัฒนาหน่วยงานและมหาวิทยาลัยได้

นางปุญญาภา นิธิพิเชฐ

สรุปบทความ Coach Jimmy เชิญ Marshall GoldSmith มาเมืองไทย.

 การนำไปปรับใช้ต่อตัวเอง

          1. การประสบความสำเร็จนั้น จะต้องใฝ่รู้ แสวงหาความรู้ ตลอดเวลา เปิดโลกทัศน์ทั้งฟัง อ่าน และเรียนรู้ตลอดเวลา

          2. ต้องพัฒนาตนเอง เปิดโอกาสพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และฝึกนิสัยการมองอนาคตอย่างรอบด้าน หลายมิติอย่างชาญฉลาด

           3. สำรวจตนเอง พัฒนาและปรับแก้ อย่างหลงตัวเอง อย่าประมาทใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง ความสำเร็จในปัจจุบันอาจนำไปสู่ความล้มเหลวในอนาคตได้

 การนำไปปรับใช้ประโยชน์ต่อองค์กร

            1. การปฏิบัติงานมองการพัฒนาองค์กรเป็นที่ตั้ง แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมงาน สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานและมุ่งการพัฒนาตนเองเพื่อความสำเร็จต่อองค์กร

            2. พัฒนางานโดยการการศึกษาเรียนรู้ตลอดเวลา ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในสิ่งใหม่ ๆ เพื่อให้สามารถก้าวทันโลกและเทคโนโลยี  การทำงานเป็นทีมทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีต่อองค์กรและสามารถนำความรู้ที่ได้มาพัฒนางานต่อไป  

นางสาวจงกล ปาลานุพันธ์ (กลุ่ม4)

สรุปบทเรียนช่วงที่ 1 (วิชาที่1-5) 

   ผู้นำที่ดีต้องมีการบริหารแบบ 360 องศาคือต้องมีการบริหารคนรอบๆ ตัวเราโดยเริ่มจากตัวเราเองก่อน ไม่ว่าจะเป็นด้านความรู้ ด้านบริหารจัดการอารมณ์ และต่อไปคคือต้องมีการบริหารทีมได้โดยใช้พลังงานเชิงบวก ใช้หลักการในการบริหารความขัดแย้งเพื่อเส้นทางสู่ความเป็นเลิศหรือสู่เป้าหมายจามกลยุทธ์ของหน่วยงาน

บทที่ 1 ปฐมนิเทศ แนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้  และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

          สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

          ผู้บริหารสายสนับสนุนต้องมีวืิสัยทัศน์ ความรู้ ทักษะการบริหาร มีเครือข่าย และมีทัศนคติที่ดีเพื่อพัฒนาตนเอง งาน และองค์กร โดยการถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้และเปิดโลกทัศน์เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยต่อไป

          สามารถนำไปใช้

           สามารถนำไปพัฒนางานและพัฒนาตนเองและองค์กรจากระบวนการเรียนรู้ต่าง ๆ

รายวิชาที่  2  ภาวะผู้นำ  ทัศนคติ (Mindset)  และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

          สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

         การปรับพฤติกรรมโดยใช้ Mindset และการเรียนรู้องค์กรและบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพโดยเข้าใจความเปลี่ยนแปลงของบริบทภายนอกเพื่อให้สามารถชนะอุปสรรคได้

       สามารถนำไปใช้

        สามารถนำ Mindset มาใช้ในการดำเนินงานเราต้องรู้บทบาทและหน้าที่ของเรา โดยต้องรู้ว่าองค์กร เป็นแบบไหน จะพัฒนายังงัย

รายวิชาที่  3  การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3

          สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

       การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแบบ 3 V คือ

1. Value Added สร้างมูลค่าเพิ่ม

2. Value Creation สร้างคุณค่าใหม่

3. Value Diversity สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

สามารถนำไปใช้

นำไปใช้ในการเขียนโครงการซึ่งโครงการต้องประกอบด้วย 3 V และมีกระบวนการคิดเชิงนวัตกรรม

รายวิชาที่  4  และ 5  การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ  การบริหารความขัดแย้งและการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

  สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

   การสร้างบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องเริ่มจากตนเองก่อนเพราะไม่ว่าเราจะทำอย่างไรจะมีผลต่อทุกคนฉนั้นในการคิด การพูดการทำต้องสัมพันธ์กันให้คิดว่าทุกอย่างเป็นไปได้  และสามารถทำให้เข้าใจคน มีความแตกต่างกัน อย่าเพิ่งตัดสินคนจากภายนอกโดยใช้วิธีการจัดการความขัดแย้ง 5 วิธี คือ

1. Avoiding

2.Accommodating

3.Collaborationing

4.Compromise

5. Cofrontation

สามารถนำไปใช้

   ทำให้เข้าใจธรรมชาติของคนสามารถนำไปบริหารจัดการเพื่อนร่วมงานของเราได้ว่าเราต้องจัดกรกับเพื่อนร่วมงานอย่างไร เรามีวิธีพูดอย่างไรให้เค้าให้ความร่วมมือชักจูงใจให้เขาปฏิบัติตามเราหรือคล้อยตามเราได้ และในการปฏิบัติตัวหากเราต้องการให้ผู้อื่นดีปฏิบัติดีกับเราเราต้องปฏิบัติดีต่อเค้าด้วย 

สรุปบทความ Coach Jimmy เชิญ Marshall GoldSmith มาเมืองไทย.

 การนำไปปรับใช้ต่อตัวเอง

 ทำให้เรารู้ว่าอย่าหลงตนเองการหลงตนเองอาจนำพาเราสู่ความล้มเหลว ฉนั้นอย่าประมาทว่าเราสำเร็จแล้วให้คิดว่าเรายิ่งสำเร็จ ยิ่งอยู่ที่สูงยิ่งต้องถ่อมตัวอย่าคิดว่าตนเองแน่ การทำอะไรต้องมีสติ ไม่ใช้อารมณ์มองโลกในแง่ดี

สามารถนำไปปรับใช้ต่อองค์กร

การปฏิบัติงานให้มองการพัฒนาองค์กรเป็นหลัก ให้ปฏิบัติตัวแบบน้ำพร่องแก้ว สามารถนำความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมงาน ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ให้เกียติผู้อื่นในการแสดงความคิดเห็น เพื่อเป็นสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานและมุ่งพัฒนาตนเอง พัฒนางานเพื่อความสำเร็จต่อองค์กร


สรุปบทความ "Coach Jimmy เชิญ MaShall GoldSmith มาเมืองไทย"

การนำไปปรับใช้ต่อตนเอง

  • การมีโอกาสได้ศึกษาหรือแลกเปลี่ยนกับผู้มีความรู้ความสามารถถือเป็นสิ่งที่ดี ควรคว้าโอกาสนั้นไว้
  • การทำงานใดๆ ก็ตาม อย่าประมาทเพราะคิดแค่ว่าตนเองดีแล้ว เก่งแล้ว เพราะอาจจะนำไปสู่ความล้มเหลวได้ ควรทำงานด้วยความระมัดระวังและมีสติ 

สามารถนำไปปรับใช้ต่อองค์กร

องค์กรที่ดีควรมีการศึกษาหรือเรียนรู้การทำงานจากแนวทางของผู้รู้หรือผู้มีความสามารถเฉพาะทาง ก็จะสามารถนำไปพัฒนาองค์กรให้ประสบความสำเร็จได้

นางอัจฉราภรณ์ กวมทรัพย์

การวิเคราะห์บทความ “Coach Jimmy เชิญ Marshall GoldSmith มาเมืองไทย”

 ประโยชน์ที่ได้รับต่อตัวเอง

การเป็นผู้นำที่ดี  ควรปรับทัศนคติในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น  เช่น การคิดว่าตัวเองสำคัญที่สุด  การใช้สติ  การมองโลกในแง่ดี  การแสดงออกทางอารมณ์   เป็นต้น และการจะเป็นผู้นำวันพรุ่งนี้ ต้องเรียนรู้ตั้งแต่วันนี้ ไม่หลงตนเอง  

การปรับใช้ต่อองค์กร

ต้องปรับปรุงตนเอง และเรียนรู้ทุกครั้งที่มีโอกาส  ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในสิ่งใหม่ ๆ ตลอดเวลาเพื่อให้สามารถก้าวทันโลกและเทคโนโลยี   รวมถึงการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เพื่อให้ทีมงานได้มีโอกาสในการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเสมอ ก่อให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการทำงาน

อาภรณ์ แก้วสลับศรี - กลุ่มที่ 3

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้

วิชาที่ 1  ปฐมนิเทศ แนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้ และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

          โครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้บุคลากรสายสนับสนุนได้พัฒนาตนเอง ซึ่งควรจะมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในโอกาสต่อ ๆ ไป ทั้งนี้ ได้เรียนรู้ถึงทฤษฎีและกระบวนการพัฒนาผู้บริหารตามแนวทางของ Chira way ไม่ว่าจะเป็น ทฤษฎี 3 วงกลม ทฤษฎี 4 L’s ทฤษฎี 2 R’s ทฤษฎี 3 V ทฤษฎี 3 L’s เป็นต้น ซึ่งจะช่วยพัฒนา เสริมสร้าง และ      เติมเต็มให้บุคลากรสามารถมองและพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างให้รอบด้าน

 

วิชาที่ 2 ภาวะผู้นำทัศนคติ (Mindset) และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

          ได้เรียนรู้เกี่ยวกับผู้นำและผู้บริหารจัดการมีความแตกต่างกัน คือ “ผู้นำ” จะเน้นการบริหารคน แต่จะไม่ได้พิจารณาในรายละเอียดในงาน ไว้วางใจในความสามารถของผู้ปฏิบัติ มองความสำเร็จในระยะยาว สร้างนวัตกรรมที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดี และองค์กรมีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ส่วน “ผู้บริหารจัดการ” จะเน้นระบบการทำงาน มีการติดตามควบคุมเป็นระยะ ๆ ให้งานแล้วเสร็จตามเป้าหมาย นอกจากนี้ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับตัวอย่างของผู้นำทั่วโลก และหลักการสำคัญที่ทำให้เกิด Growth Mindset ให้แก่บุคลากรในองค์กร ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาองค์กรให้เจริญก้าวหน้าและบรรลุเป้าหมายได้

 

วิชาที่ 3 การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 V (Value added – Value Creation – Value Diversity)

          การออกแบบโครงการจะต้องคำนึงถึงหลัก 3 V คือ การสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างคุณค่าใหม่ และการสร้างคุณค่าที่มีความหลากหลาย เพื่อให้เกิดนวัตกรรมในการทำงาน เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้น หรือการลดขั้นตอนและระยะเวลาในการปฏิบัติงาน

 

วิชาที่ 4 การสร้างและการบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

          ในการสร้างทีมจะต้องเริ่มจากการรู้จักตนเองก่อน และเรียนรู้ธรรมชาติของแต่ละคน การแสดงออกของคนย่อมมีที่มาเสมอ ที่มาของวิธีคิด มาจาก ครอบครัว การศึกษา สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม กรรมเก่า และในพฤติกรรมที่แต่ละคนแสดงออกจะมีผลกระทบต่อคนอื่น ๆ เสมอ ให้รักในสิ่งที่ทำจะทำให้งานออกมาดี

 

วิชาที่ 5 การบริหารความขัดแย้งและการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

          คนมีหลายประเภท ต้องเรียนรู้ที่จะเข้าใจ และต้องจัดการให้คนเหมาะสมกับงานตามลักษณะของแต่ละคน ได้เรียนรู้วิธีการจัดการอารมณ์เชิงลบ และการสร้างความรู้สึกเชิงบวก และการบริหารจัดการความขัดแย้ง โดยใช้หลักการ 5 หลักการ คือ หลักการหลีกเลี่ยง หลักการเข้าใจ หลักความร่วมมือ หลักการประนีประนอม และหลักการเผชิญหน้าเพื่อการแก้ปัญหา

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้

-          ได้เปิดโลกทัศน์และมุมมองใหม่ ๆ

-          พัฒนาและปรับปรุงตนเองเพื่อให้เป็นผู้นำที่ดี

-          สร้างและพัฒนาทีมให้ทุกคนมี Growth Mindset ทั้งในเชิงพฤติกรรมและการสร้างความเชื่อมั่น

-          ปรับกระบวนการคิดเชิงบวก ด้วยการเข้าใจธรรมชาติของคนและพิจารณาผู้อื่นด้วยความเข้าใจจากพฤติกรรมที่แสดงออก ทุกอย่างย่อมมีที่มาเสมอ

-          สามารถบริหารจัดการอารมณ์เชิงลบ เพื่อลดการปะทะและลดความขัดแย้ง

-          แสดงความชื่นชมยินดีเมื่อคนอื่นทำดี เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงาน

-          วางแผนการทำงานและกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน รวมทั้งสื่อสารให้เข้าตรงกัน เพื่อให้การขับเคลื่อนไปสู่จุดหมายเดียวกัน

 

สรุปบทความ “Coach Jimmy เชิญ Mashall GoldSmith มาเมืองไทย”

การนำไปปรับใช้กับตนเอง

-          การได้ศึกษาเรียนรู้กับผู้มีความรู้และผู้มีประสบการณ์เป็นสิ่งที่ดี ต้องรีบคว้าโอกาสนั้น ทำให้ได้พัฒนาความคิดความรู้เพิ่มขึ้น และนำความรู้เหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้

-          ไม่ควรเป็นแก้วที่คว่ำอยู่กลางสายฝน เพราะคิดว่าตัวเองดีแล้ว เก่งแล้ว ฉลาดแล้ว โดยไม่รับสิ่งใหม่ ๆ เข้ามา อาจจะนำไปสู่ความล้มเหลวได้ เพราะสิ่งแวดล้อมรอบตัวเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา

 

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้

วิชาที่ 1  ปฐมนิเทศ แนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้ และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

         สายสนับสนุนมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนระบบบริหารและสนับสนุนงานวิชาการ สิ่งที่บุคลากรสายสนับสนุนจะต้องระลึกไว้เสมอ คือ 1) อย่ากลัวว่าทำงานไม่สำเร็จ เพราะว่าต้องทำงานร่วมกัน ต้องจับมือกันไว้ 2) อย่ามี Gap อย่าขาดความมั่นใจในตนเอง ต้องทำตัวแบบ Complimentary เช่น อาจารย์ทำตัวเป็นไข่ดาว เราต้องทำตัวเป็นขนมปัง และอย่าขาดความมั่นใจตนเองเด็ดขาด ต้องทำตัวให้เสมอภาค ถ้ามี Gap ตรงไหน ก็เติมตรงนั้น

วิชาที่ 2 ภาวะผู้นำทัศนคติ (Mindset) และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

           เราต้องรู้จักบทบาทหน้าที่ของตัวเอง ต้องคาดคะเนได้ว่าจะเดินไปทางไหน เพื่อที่เราจะเดินไปได้ทัน และควรพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นผุ้นำที่ดี และผู้นำที่เก่งต้องมีนักบริหารจัดการที่ดียืนอยู่เคียงข้างเสมอ 

 วิชาที่ 3 การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 V (Value added – Value Creation – Value Diversity)

          การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรม จะต้องคำนึงถึงหลัก 3 V คือ การสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างคุณค่าใหม่ และการสร้างคุณค่าที่มีความหลากหลาย เพื่อพัฒนางานหรือแก้ปัญหาการดำเนินงาน 

วิชาที่ 4 การสร้างและการบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

          การรู้จักตัวเองและสร้างความรู้สึกดีๆ ที่ตัวเอง จะเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างความรู้สึกดีๆ นี้กับคนอื่น การเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคลจะทำให้เข้าใจปัญหาและจัดการได้อย่างถุูกต้อง  

วิชาที่ 5 การบริหารความขัดแย้งและการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ 

          การคิดบวกเปรียบเสมือนการเติมพลังงานให้ตัวเอง และเป็นการสร้างความสมดุลให้ร่างกาย 

สรุปบทความ “Coach Jimmy เชิญ Mashall GoldSmith มาเมืองไทย”

การนำไปปรับใช้กับตนเอง

           สิ่งที่ผู้นำที่สำเร็จแล้วไม่ควรทำ คือ คิดว่าตนเองสำคัญที่สุด คนอื่นด้อยกว่า พูดจาไม่ระวังในช่วงที่โกรธ มองโลกในแง่ไม่ดี และไม่สนับสนุนความคิดดีๆ ของคนอื่น 

           ความสำเร็จบางครั้งทำให้มีอุปนิสัยไม่เหมาะสม ความสำเร็จอาจนำไปสู่ความล้มเหลวในอนาคตได้ ถ้าเรามีความรู้สึกว่าหลงตัวเอง คึกคะนอง จึงควรระมัดระวัง อย่าประมาทว่าสำเร็จ  

การปรับใช้ต่อองค์กร

           หน่วยงานควรให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้มีความรู้และผู้มีประสบการณ์เพื่อนำความรู้เหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้

วิภาวี ปังธิกุล (กลุ่ม4)

สรุปผลจากการเรียนรู้

 วิชาที่  1  แนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้ และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

ได้เรียนรู้ทฤษฎีทางการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ เช่น  ทฤษฎี 3 วงกลม ทฤษฎี HRDS ทฤษฎี 3V และอื่นๆ  เป็นการอธิบายเชิงระบบ และแรงขับเคลื่อนภายในคนที่มีผลต่อองค์กร ซึ่งสามารถนำมาใช้เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับตนเองและเพื่อนร่วมงาน  

 วิชาที่  2 ภาวะผู้นำทัศนคติ (Mindset) และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

          เป็นวิชาที่ให้รู้จักความแตกต่างระหว่างผู้นำ และผู้จัดการ ซึ่งผู้นำที่ดีควรมีทักษะในการเป็นผู้จัดการได้ด้วย  และสิ่งที่สำคัญที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง คือ Mindset  ของผู้นำ  ซึ่งสามารถนำไปทบทวนตนเองว่ามีสิ่งใดที่ยังขาด และต้องพัฒนาเพิ่มเติม  

 วิชาที่  3 การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 V

            เป็นแนวคิดเพื่อใช้ในการออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรม ประกอบด้วย  Value Added สร้างมูลค่าเพิ่ม  Value Creation สร้างคุณค่าใหม่ และ  Value Diversity สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย เพื่อนำหลักการนี้ไปวิเคราะห์ปัญหา ความต้องการ รวมทั้งกระบวนงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหา

 วิชาที่  4 การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

          การสร้าง DANCE TEAMWORK จะทำให้เราทำงานอย่างมีความสุขและมุ่งสู่ผลลัพธ์  การเรียนรู้ในหัวข้อนี้เป็นการเตือนตัวเองว่าทุกพฤติกรรมมีที่มาที่ไป มีความหมายซ่อนอยู่ แต่อาจไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด สิ่งที่เราจะทำได้คือใช้ความพยายามในการเข้าใจ เห็นใจ และจัดการอารมณ์เชิงลบ และสร้างอารมณ์เชิงบวก นอกจากนี้ยังสามารถนำเครื่องมือในการบริหารทีมงานไปใช้ในการทำงานจริง  

 วิชาที่  5 การบริหารความขัดแย้งและพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์           

        ได้เรียนรู้ 4 วิธีจัดการความขัดแย้ง ซึ่งนำไปใช้ได้จริง ได้แก่ Avoiding Accommodation Collaboration Compromise และ Confrontation ซึ่งจะนำไปใช้เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน และจัดการกับความคิดความต้องการที่แตกต่างกันของทีม

 วิเคราะห์บทความ Coach Jimmy เชิญ Marshall Goldsmith มาเมืองไทย

ประโยชน์ที่ได้ต่อตัวเอง คือ อย่ายึดติดและหลงอยู่กับความสำเร็จ  เพราะในอนาคตเราล้มเหลวก็ได้  และเราควรทบทวนตนเองอยู่เสมอ ว่าได้ฝึกฝน เพิ่มเติมความรู้ เรียนรู้จากความสำเร็จและความล้มเหลวของผู้อื่น  ควบคู่กับการลดและระมัดวังพฤติกรรมและอุปนิสัยที่อาจนำไปสู่ความล้มเหลว

 ประโยชน์ที่ได้ต่อองค์กร คือ  หากองค์กรให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้นำ ให้เป้นผู้นำที่เก่ง เข้มแข็ง เป็นคนดี รวมทั้งส่งเสริมบรรยากาศการแบ่งปัน และการเรียนรู้ ก็จะทำให้องค์กรน่าอยู่ นำพาความสำเร็จมาสู่องค์กรได้ 

วุฒินันท์ หริรักษ์ กลุ่ม 3

วิชาที่ 1 ปฐมนิเทศ และทฤษีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้ และข้อคิดเพื่อการพัฒนา
เพื่อเกิดการเรียนรู้ว่าตนเองคาดหวังอะไร ทำอะไรให้องค์กร 
ทฤษฏี 3 วงกลม เพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ คืออะไร
2 R’s  หมายถึงอะไร ทฤษฏี 3 v หมายถึงอะไร
จากความหมายทำให้เรามองตัวตนมองความจริง มองถึงประเด็นที่จะนำไปใช้ในการบริหารตนเอง นำไปใช้ในการบริหารทีมในเบื้องต้น

วิชาที่ 2 ภาวะผู้นำ (Leadership) ทัศนคติ (Mindset) และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน
ทำให้เข้าใจถึงเครื่องมือในการเป็นผู้นำ  การปฏิบัติหรือการหลีกเลี่ยง หรือการสร้างความเชื่อเพื่อให้เกิดโอกาส ความแตกต่างระหว่างผู้นำกับผู้จัดการ เข้าใจถึงชนิดของผู้นำ และการนำไปใช้กับทีม

วิชาที่ 3 การออกแบบโครงการเขียนนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 V
โครงการที่ออกแบบมีการสร้างมูลค่าเพิ่มจากสิ่งที่เป็นอยู่เดิม หรือการพัฒนางานให้เกิดการสร้างคุณค่าใหม่ๆ รวมถึงการออกแบบโครงการที่มีคุณค่าหลากหลายจากที่แบบเดิม อาจจะเกิดจากการไม่ทำแบบเดิมๆ หรือสร้างโครงการใหม่ๆ มารองรับ

วิชาที่ 4 การสร้างและการบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ
ทำให้เข้าใจถึงสาเหตุถึงการกระทำที่แตกต่าง ทำให้เรามีมุมมองที่เป็นบวก ทำให้เกิดการบริหารจัดการอารมณ์ สร้างความรู้สึกเชิงบวก ลดอารมณ์เชิงลบ สามารถนำมาใช้กับทีมเพื่อให้เกิดความเข้าใจ สร้างแรงบันดาลใจให้ทีมงานบนพื้นฐานความเป็นไปได้

วิชาที่ 5 การจัดการความขัดแย้ง
มีการบริหารจัดการความขัดแย้งด้วยวิธีการต่างๆ เช่น หลีกเลี่ยง เข้าใจ สร้างกิจกรรมร่วมกัน เกิดการเจรจา และมีจุดยืนร่วมกัน รู้จักขอโทษ รู้จักชื่นชม รู้จักให้อภัย



สุพงค์ แซ่อิ้ว กลุ่ม 5

          โครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นโครงการที่ดี ทำให้บุคลากรสายสนับสนุนมีทัศนะ คติต่อองค์กร ทำให้บุคลากรสายสนับสนุนได้พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ สร้างแรงจูงใจในการทำงาน และเกิดความร่วมมือในการพัฒนาองค์กรได้มากยิ่งขึ้น


วิเคราะห์บทความ Coach Jimmy เชิญ Marshall GoldSmith มาเมืองไทย

ประโยชน์ต่อตัวเอง

การได้สัมผัสคนเก่ง  การอ่านหรือการประทะทางปัญญาจากผู้รู้และมีประสบการณ์โดยตรง จะทำให้เราได้เรียนรู้และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ

ประโยชน์ต่อองค์กร  

   
การเรียนรู้ซึ่งกันและกันของคนในองค์กร จะทำให้เกิดความรู้ใหม่ ๆ เกิดแรงผลักดันในการทำงานของคนในองค์กร และช่วยให้การทำงานในองค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ควรจะนำแนวคิดมาปรับใช้อย่างไร

เราต้องทำตัวเป็นน้ำพร่องแก้วเพื่อจะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา

 

นายทรงธรรม ธีระกุล

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้ในการทำงานทุกรายวิชาในช่วงที่ 1

 รายวิชาที่ 1 ปฐมนิเทศ แนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้ และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

          การพัฒนาองค์กรต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนควบคู่กันไปกับการพัฒนาระบบ ในมหาวิทยาลัยมีบุคลากรที่สำคัญอยู่สองกลุ่ม คือ สายคณาจารย์ และสายสนับสนุน ซึ่งผู้บริหารจะมาจากบุคลากรทั้งสองกลุ่มตามบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละระดับ ดังนั้น การจะพัฒนามหาวิทยาลัยและขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนทั้งสองกลุ่มควบคู่ไปด้วยกัน ทั้งผู้ที่ทำหน้าที่ผู้บริหารอยู่แล้วและบุคลากรผู้ที่จะเป็นผู้บริหารในอนาคตซึ่งถือเป็น Successor ที่สำคัญของมหาวิทยาลัย การจัดโครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยทักษิณ “สร้างพลังในการขับเคลื่อนความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัย” ในครั้งนี้มีทั้งการบรรยายในหัวข้อต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน การทำกิจกรรมกลุ่ม การทำงานส่วนบุคคลและกลุ่ม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และการศึกษาดูงานวิเคราะห์เปรียบเทียบจากองค์กรที่ประสบความสำเร็จ ฯลฯ จึงมีความสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาบุคลากร และส่งผลต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่องต่อไป

 

รายวิชาที่ 2 Learning Forum & Workshop ภาวะผู้นำทัศนคติ (Mindset) และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

          การทำหน้าที่บริหารไม่ว่าระดับใดเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องทั้งศาสตร์และศิลป์ โดยมีความแตกต่างกันระหว่างผู้นำและผู้บริหาร ซึ่งผู้นำในโลกนี้ตามทฤษฎีและคุณลักษณะผู้นำแล้วมีหลายชนิดหลายประเภทที่ล้วนมีข้อดีและข้อด้อยที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการนำมาใช้ให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์ อย่างไรก็ตามในการอบรมครั้งนี้ได้มีโอกาสเรียนรู้ทฤษฎีการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ “ภาวะผู้นำกับ 8K’s + 5K’s” ทำให้เข้าใจถึงความสำคัญของทุนต่าง ๆ ที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่สามารถนำมาปรับใช้ในการพัฒนาภาวะผู้นำในการทำหน้าที่บริหารหรือแม้แต่ผู้ที่ได้เป็นผู้บริหารก็สามารถนำไปใช้ในการทำงานในองค์กรได้ การใช้ทฤษฎี 4L’s ในการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ (มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี สร้าง/เกิดโอกาสการเรียนรู้ที่ดี และสร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ดี) บนพื้นฐาน 2R’s ที่มองความจริงและตรงประเด็น รวมทั้งทฤษฎีและหลักการที่สำคัญอื่น ๆ อีกมากมายตามแนวทาง Chira Way ที่สำคัญคือการรับรู้และเข้าใจสาเหตุว่าโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก นอกจากการตามให้ทันการเปลี่ยนแปลงแล้วการปรับตัวถือเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าโดยเฉพาะการปรับทัศนคติ (Mindset) ของตนเองในฐานะผู้นำที่มีความสำคัญกับองค์กรและทำให้เกิด Growth Mindset ทั้งกับตนเองและกับทีม ตลอดจนต้องทำหน้าที่เป็น Mentor เพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกันด้วยเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

 

รายวิชาที่ 3 การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 V (Value added – Value Creation – Value Diversity)

นอกการพัฒนาองค์กรที่จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องแล้ว การให้ความสำคัญกับการพัฒนาเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าจะส่งผลต่อการพัฒนาองค์กรทั้งในเชิงระบบ การบริหารจัดการ การปฏิบัติงาน และการบริหาร ตามบทบาทและหน้าที่ตามพันธกิจ การได้เรียนรู้ทฤษฎี 3V (Value added สร้างมูลค่าเพิ่ม Value Creation สร้างคุณค่าใหม่ และ Value Diversity สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย รวมทั้งแนวคิดในการออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าโดยใช้แนวทางตามทฤษฎีดังกล่าว จะช่วยพัฒนาสมรรถนะและศักยภาพขององค์กรที่มีอยู่แล้วให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะและศักยภาพของบุคลากรในองค์กรควบคู่กันไปด้วย

 

รายวิชาที่ 4 Learning Forum การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

การทำงานเป็นทีมโดยความร่วมมือร่วมใจกันของบุคลากรทุกคนจะช่วยสร้างพลังในการทำงานร่วมกันและการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดร่วมกัน (Focus on What You want) สิ่งสำคัญก่อนที่จะไปนำผู้อื่นหรือจะสร้างและบริหารทีมให้มีประสิทธิภาพได้นั้นผู้ที่ทำหน้าที่ผู้นำจะต้องเริ่มที่ตนเองก่อนทั้งกระบวนการคิด พูด และทำ โดยใช้จิตสำนึกและจิตใต้สำนึก และนำไปสู่การสร้างแรงบันดาลใจ การสร้างแรงจูงใจ สร้างทีมและบริหารทีมให้ทำงานร่วมกันทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข การบริหารตนเองและบริหารทีมจึงมีความสำคัญที่จะต้องดำเนินการควบคู่ไปด้วยกัน

 

รายวิชาที่ 5 Learning Forum & Workshop การบริหารความขัดแย้งและการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

          การทำงานในองค์กรร่วมกับผู้อื่นย่อมมีความรักสมัครสมานสามัคคีและอาจจะเกิดความขัดแย้งขึ้นได้ในขณะเดียวกัน การรับรู้และเข้าใจถึงสาเหตุและวิธีการในการบริหารและจัดการความขัดแย้งซึ่งมีมากมายหลายวิธี โดยนำมาใช้ให้เหมาะสมกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นและสอดคล้องกับบริบทของหน่วยงานจึงมีความสำคัญที่จะทำให้การทำงานร่วมกันในองค์กรเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ  สิ่งสำคัญที่สุดคือตนเองที่จะต้องเข้าใจตนเอง ควบคุมอารมณ์ และสามารถบริหารจัดการอารมณ์ของตนเองให้ได้ทั้งการจัดการอารมณ์เชิงลบและสร้างความรู้สึกเชิงบวก   ซึ่งมีผลดีต่อการปรับตัวให้สามารถอยู่และเข้าได้กับทุกสถานการณ์ ส่งผลกระทบและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในการทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่น อีกทั้งลดอัตราความเสี่ยงในการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ (มีความสุขทั้งกายและใจ)

 

บทความ Coach Jimmy เชิญ Marshall Gold Smith มาเมืองไทย

การศึกษาเรียนรู้กับคนเก่งและมีประสบการณ์จะช่วยเปิดโลกทัศน์และสร้างสมประสบการณ์ให้แก่ตนเอง การกระตุ้นให้เกิดพลังในการเรียนรู้จริงเป็นสิ่งสำคัญมาก การรับรู้และความเข้าใจในมุมมองที่หลากหลายบนพื้นฐานความเป็นจริงและชัดเจนตรงประเด็นในเรื่องที่สนใจและต้องการสร้างความเชี่ยวชาญจะเป็นตัวสร้างแรงบันดาลใจและเป็นพลังให้เกิดความสำเร็จมากขึ้น สิ่งสำคัญที่สุดคือการพัฒนาตนเองโดยการปรับตัวและทัศนคติท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง การทิ้งอุปนิสัยที่ไม่ดีของตนเองออกไปเพื่อรับสิ่งใหม่ที่ดี ๆ เข้ามาแทนที่จะเป็นปัจจัยสำคัญให้มีการพัฒนาเจริญก้าวหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดนิ่ง 

นางสาวจินตนา นาคจินดา

  • สรุปวิชาที่ 1  ปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้และข้อคิดเพื่อการพัฒนา
  • สรุปวิชาที่  2  ภาวะผู้นำทัศนคติ (Mindset) และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน
  • สรุปวิชาที่  3  การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 V
  •  สรุปวิชาที่  4  การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ
  • สรุปวิชาที่  5  การบริหารความขัดแย้งและการบริหารจัดการอารมณ์
  • บทความ Coach Jimmy เชิญ Marshall GoldSmith มาเมืองไทย 


สรุปวิชาที่ 1  ปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้และข้อคิดเพื่อการพัฒนา..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/630618

ดิฉันขอกราบขอบพระคุณท่านผู้บริหารของมหาวิทยาลัยทักษิณ ที่ได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนงบประมาณให้กับโครงการดีๆ เช่นนี้ ก่อนหน้านี้มองไม่ออกเลยว่า TSU Network ของเราจะเกิดขึ้นได้อย่างไรในเมื่อมีโอกาสน้อยมากที่หัวหน้าสำนักงานส่วนงานวิชาการและส่วนงานอื่น หัวหน้าฝ่าย หัวหน้างานและผู้ปฏิบัติงานสายสนับสนุนที่มีประสบการณ์ในการทำงานจะได้มาพบกันและทำกิจกรรมร่วมกัน ครั้งนี้จึงเป็นโอกาสดีอย่างยิ่งที่เราจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  และขอกราบขอบพระคุณท่าน ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ท่านได้จัดหลักสูตรดีๆ แบบนี้เพื่อพัฒนาคน  และขอกราบขอบพระคุณวิทยากรทุกท่านที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่พวกเรา

สิ่งที่ได้เรียนรู้ :   ได้เรียนรู้หลักคิดที่จะสร้างแรงผลักดันในการทำงาน โดยเริ่มต้นที่การมองตนเองรู้จักตนเอง การเข้าใจตนเอง การปรับเปลี่ยนวิธีคิดของตนเองให้ทันกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน  ตลอดจนวิธีการสร้างความเชื่อมั่นในศักยภาพตนเองของทีมงาน

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน :  นำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาตนเอง พัฒนารูปแบบการทำงานเป็นทีมอย่างไรให้เปี่ยมสุข อันนำไปสู่การเป็นองค์กรสนับสนุนการดำเนินงานของสภามหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่มีคุณภาพและมาตรฐานการทำงานเป็นที่เชื่อถือของสภามหาวิทยาลัยและผู้ใช้บริการ

 สรุปวิชาที่  2  ภาวะผู้นำทัศนคติ (Mindset) และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/630618

สิ่งที่ได้เรียนรู้ : ได้เรียนรู้ความแตกต่างระหว่างผู้นำ กับ ผู้จัดการ  การเป็นผู้นำถึงแม้จะต้องแสดงถึงตัวตนที่เต็มไปด้วยพลังในการคิดริเริ่ม การพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ แต่การเป็นผู้นำที่ขาดการบริหารที่ดีบางครั้งยิ่งแย่กว่าการเป็นผู้บริหารที่อ่อนเรื่องการเป็นผู้นำเสียอีก ดังนั้นการจะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จและส่งเสริมกันให้ดำเนินการต่าง ๆ เป็นไปด้วยความเข้มแข็ง ผู้จัดการจึงควรมีบุคลิกของผู้นำ และผู้นำควรมีการบริหารจัดการที่ดีด้วยจึงสามารถนำพาองค์กรสู่ความสำเร็จได้ในที่สุด

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน :  พัฒนาตนเองเพื่อเป็นผู้นำและผู้จัดการที่ดี โดยให้ความสำคัญกับสิ่งต่าง ๆ ได้แก่ การริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ การพัฒนา การสร้างความน่าเชื่อถือ การสร้างขวัญและกำลังใจ การสร้างความเชื่อมั่นในศักยภาพตนเองของทีมงาน การแสวงหาความจริงในความผิดพลาดเพื่อสู่การพัฒนาไม่ใช่เพื่อหาผู้กระทำผิด การสร้างแบบอย่างที่ดี การมองการณ์ไกล การมองสิ่งต่าง ๆ ทุกแง่มุมอย่างบริสุทธิ์  การถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ในการทำงานทั้งที่ประสบความสำเร็จและที่ล้มเหลวให้แก่ทีมงานเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และวิธีการแก้ไขปัญหา  และสิ่งสำคัญที่สุดคือวิธีการขจัดความขัดแย้งในองค์กรอันจะนำไปสู่เพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้เกิดประสบความสำเร็จ

สรุปวิชาที่  3  การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 V..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/630618

สิ่งที่ได้เรียนรู้ : ได้เรียนรู้การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมโดยใช้หลักทฤษฎี 3 V โดยการสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างคุณค่าใหม่ และการสร้างคุณค่าทางความหลากหลาย เพื่อนำมาสร้างนวัตกรรมในการทำงาน  โดยเน้นการเพิ่มคุณภาพในการทำงานและลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน : นำความรู้จากทฤษฎี 3 V เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาความต้องการ และกระบวนงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมสำหรับใช้ในการแก้ไขปัญหา

 

 สรุปวิชาที่  4  การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/630618

สิ่งที่ได้เรียนรู้ : เรียนรู้หลักการบริหารทีม (DANCE Teamwork)ให้มีประสิทธิภาพโดยการมองเป้าหมายเดียวกัน การลงมือทำตามเป้าหมาย การรู้จักวิเคราะห์ตนเอง การรู้จักวิเคราะห์ทีม

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน : วิเคราะห์ศักยภาพของตนเอง วิเคราะห์ศักยภาพของทีมเพื่อบริหารทีมงานให้มีทิศทางในการทำงานเดียวกันโดยให้มีการคิด การมอง การเข้าใจ การเห็นในสิ่งเดียวกันช่วยกันผลักดันและดำเนินงานไปสู่เป้าหมายในทิศทางเดียวกันอย่างมีความสุขและสนุกกับการทำงาน

 

สรุปวิชาที่  5  การบริหารความขัดแย้งและการบริหารจัดการอารมณ์..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/630618

สิ่งที่ได้เรียนรู้ :  การบริหารจัดการอารมณ์ของตนเอง การแสดงความรู้สึกในเชิงบวก การใช้สติปัญญาเพื่อแก้ไขปัญหาทุกสถานการณ์  การเข้าใจในศักยภาพและคุณค่าของผู้อื่น  การสใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน :  ไม่ใช้อารมณ์ในการบริหารความขัดแย้ง  ระงับอารมณ์ของตนเองโดยไม่สนใจกับสิ่งเร้าที่มากระทบ สร้างสัมพันธภาพที่ดีให้เกิดขึ้นภายในองค์กร  และหากพบปัญหาความขัดแย้งภายในองค์กรต้องใช้วิธีประนีประนอมไม่ใช้การหาผู้กระทำผิดเพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกันให้เกิดขึ้นในองค์กร

 

บทความ Coach Jimmy เชิญ Marshall GoldSmith มาเมืองไท..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/630618

ประโยชน์ต่อตัวเองมีแรงบันดาลใจในการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ใฝ่รู้อยู่ตลอดเวลาและแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ เปิดรับโลกทัศน์ใหม่ ๆ เพื่อพัฒนางาน การปรับทัศนคติของตนเองให้มองโลกในแง่ดี (คิดบวก)  และการสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานให้แก่ตนเองและทีมงาน

ประโยชน์ต่อองค์กร :  การนำความรู้ที่ได้รับมาส่งเสริมและสนับสนุนให้ทีมงานตะหนักถึงการพัฒนาโดยการเรียนรู้ การเปิดรับโลกทัศน์ใหม่ ๆ ด้วยตนเองเพื่อเพิ่มศักยภาพให้แก่ตนเอง  

นำแนวคิดปรับใช้ :  นำแนวคิดไปปรับใช้ในการวางแผนในการทำงาน  การพัฒนาตนเอง       การบริหารจัดการอารมณ์ การสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน และการสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานให้แก่ตนเองและทีมงาน

..................................

 

 

 

 

วิภาวรรณ อ่อนประเสริฐ


วิชาที่ 1 ปฐมนิเทศ แนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้ และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  • การพัฒนาทรัพยากรบุคคล บุคลากรทุกหน้าที่มีความสำคัญ แต่ต่างคนก็ต่างบทบาท 
  • การทำงานต้องเน้นการทำงานเป็นทีม
  • การเสริมสร้างความมั่นใจในการทำงาน กล้าคิด กล้าเปลี่ยน กล้าแตกต่าง อย่างถูกต้อง
  • พยายามตักตวงความรู้อยู่อย่างสม่ำเสมอ เพราะการเรียนรู้ ไม่มีที่สิ้นสุด

การนำไปปรับใช้

  • การทำงานเป็นทีมต้องเชื่อใจกันและกัน
  • อย่าเชื่อในสิ่งที่ได้ยิน สิ่งที่เห็น เพราะอาจมีอะไรมากกว่านั้นก็เป็นได้  ให้ใช้สติ ทบทวนก่อนการตัดสินใจ

 

วิชาที่ 2  ภาวะผู้นำทัศนคติและการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

สิ่งที่ได้เรียนรู้

1.   ได้เรียนรู้คุณสมบัติของผู้นำที่ได้

2.    เข้าใจความแตกต่างของการเป็นผู้นำและผู้จัดการ   

      - คนที่เป็นผู้นำที่ดี ต้องเริ่มต้นจาก What?  How? และจบที่ Why?

      - คนเป็นผู้จัดการที่ดี เริ่มต้นจาก What?  How? และแต่ไม่จบที่ Why?

การนำไปปรับใช้

      สามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานในการปรับปรุงตนเอง และการสร้างทีมงานที่มีความสามารถหลากหลาย ตลอดจนการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์

 

วิชาที่ 3 การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 V

สิ่งที่ได้เรียนรู้

       กระบวนการคิดเพื่อการออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรม  โดยต้องมุ่งหาไอเดียใหม่ๆ พัฒนาเป็นนวัตกรรมในการทำงานเพื่อประสิทธิภาพสูงขึ้น คุณภาพที่เพิ่มขึ้น   ลดต้นทุน และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย

การนำไปใช้

      นำหลักการที่ได้ไปคิดต่อยอดพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ ที่จะเอื้อในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ ลดต้นทุน ลดเวลา

 

วิชาที่ 4 การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  • การทำงานเป็นทีม การทำให้ทีมทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน และร่วมกันทำงานให้ไปสู่เป้าหมาย  โดยให้คนมีความสุข และสนุกกับงานที่ทำ
  • การบริหารอารมณ์
  • การคิดบวก

การนำไปใช้

  • พัฒนาตนเอง การสร้างความคิดเชิงบวก
  • การบริหารอารมณ์ตนเอง ให้สามารถจัดการกับอารมณ์เชิงลบได้
  • การบริหารมีงานอย่างมีประสิทธิภาพ

 

วิชาที่ 5  การบริหารความขัดแย้งและการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  • การรับฟังรอบด้าน
  • การหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน การประนีประนอม และเข้าใจผู้ร่วมงาน
  • การคุยกันอย่างเปิดใจ การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

สิ่งที่นำไปใช้

 นำไปปรับใช้ในการปฏิบัติตน การรับฟังความคิดเห็นจากรอบด้าน  ไม่รีบตัดสินถูกผิด การหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน  การประนีประนอมข้อขัดแย้งให้เป็นไปอย่างสร้างสรรค์  ตลอดจนการไกล่เกลี่ยเจรจา และการคุยกันอย่างเปิดใจ

 

บทความ Coach Jimmy เชิญ Marshall Gold Smith มาเมืองไทย

ประโยชน์ต่อตนเอง

การเรียนรู้กับผู้รู้และผู้มีประสบการณ์ ทำให้เราได้เปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจเพื่อให้เกิดการพัฒนาตนเอง  ซึ่งการเป็นผู้นำที่ดีต้องนั่งอยู่ในใจคน อย่าหลงตน ผู้นำที่ดีต้องรู้จักถ่อมตัว และต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ มองโลกในแง่ดี ตลอดจนหาความรู้รอบตัวอยู่ตลอดเวลา

ประโยชน์ต่อองค์กร     

นำหลักการต่างๆ มาปรับใช้ในการพัฒนาทีมงาน พัฒนาคณะฯ และมหาวิทยาลัยได้ 

ชื่อ นางสาวสุวารี คลองโคน กลุ่มที่ 1

ชื่อ นางสาวสุวารี  คลองโคน  กลุ่มที่ 1

งานเดี่ยว :  สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

               (ทุกรายวิชาในช่วงที่ 1)

 

วิชาที่ 1 : ปฐมนิเทศ แนะนำทฤษฏีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

ข้อคิดเพื่อการพัฒนาในเรื่อง การทำงานร่วมกันของบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนที่มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกัน  การปรับเปลี่ยนทัศนคติเชิงบวกในการทำงานและการยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาองค์กร

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

1.พัฒนาศักยภาพตนเองให้เข้มแข็งและการทำงานอย่างมืออาชีพในสายงานสนับสนุนเพื่อพัฒนาและสนับสนุนงานวิชาการของคณะมุ่งสู่เป้าหมาย โดยยึดหลักการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขและเป็นที่พึ่งพิงของบุคลากรสายวิชาการได้เนื่องจากเป็นการทำงานที่มีความเชื่อมโยงระหว่างกันในทุกมิติ

2.ปรับเปลี่ยนทัศนคติให้เป็นเชิงบวกในทุกการทำงาน  ยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงในแต่ละเรื่องที่มีเข้ามาและดำเนินการปฏิบัติตามโดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์เพื่อการพัฒนาองค์กรที่ยั่งยืน

3.มีความมุ่งมั่นและอดทนจะเป็นบันไดและหนทางแห่งความสำเร็จในการทำงาน โดยยึดหลักประโยชน์ขององค์กรเป็นสำคัญ

 

วิชาที่ 2 : ภาวะผู้นำทัศนคติ (Mindset)และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

ผู้นำสามารถเกิดจากการเรียนรู้และฝึกฝนได้  ผู้นำที่ดีลูกน้องต้องเห็นคุณค่า ผู้นำจะต้องเป็นผู้ที่มองการณ์ไกลและเข้าใจสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบันและสามารถจัดการนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายได้ภายใต้บริบทและสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ได้แก่ เรื่อง เทคโนโลยี ความต้องการของลูกค้า พฤติกรรมสังคม คน วิธีการเรียนรู้ นโยบายการเมือง การเข้าสู่ประชาคมอาเซีนและAEC เป็นต้น

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

การเป็นผู้นำต้องมีคุณค่าซึ่งมาจากปัญญาของคน จะนำไปปรับใช้ในการทำงานโดยเป็นแบบอย่างผู้นำที่ดีและปฏิบัติความเป็นผู้นำในงานที่รับผิดชอบ วิเคราะห์และพัฒนาองค์กรภายใต้การเปลี่ยนแปลงรอบด้าน เน้นการทำงานเป็นทีมที่เข้มแข็ง และนำสิ่งที่ยังไม่ประสบความสำเร็จมาปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง

 

วิชาที่ 3 : การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3V (Value added-Value Creation-Value Diversity

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

การสร้างมูลค่าเพิ่ม   การสร้างคุณค่าใหม่  การสร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

กลับไปวิเคราะห์ระบบงาน กระบวนงานและภารกิจที่สำคัญ เพื่อจัดทำเป็นโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ การจัดซื้อจัดจ้าง การจัดการความรู้ KM การบริหารความเสี่ยง กระบวนการจัดการเรียนการสอนแนวใหม่ เป็นต้น

 

วิชาที่ 4 : การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

องค์ประกอบของการบริหารทีมได้แก่ 

Inspire team 

Goal setting

Jop description

Share Ideas

Put the right man on the right position

Work through conflict

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

เข้าใจที่มาของบุคลากรที่ทำงานร่วมกันได้แก่ด้านครอบครัว การศึกษา สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และกรรมเก่า โดยผสานความคิดและจิตใต้สำนึก จิตสำนึกโดยทำงานตอนรับรู้และมีเหตุผลรองรับในทุกการทำงานเพื่อให้มีการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขบนพื้นฐานความเป็นจริงนำไปสู่ความสำเร็จที่เป็นจริง โดยจะรักษาคำพูดที่บอกว่าทำในสิ่งที่พูด และคิดก่อนพูด เข้าใจผู้อื่นและควบคุมอารมณ์ที่ดีในการทำงานร่วมกัน

 

วิชาที่ 5 : การบริหารความขัดแย้งและการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

การจัดการอารมณ์เชิงลบ ได้แก่

          1.ระบุ  2.ต้องทำอะไร(สร้างสรรค์) 3.เปลี่ยนที่สนใจ 4.ฉันได้เรียนรู้อะไร

5.ทำอย่างไรให้ดีขึ้น 6.ทำอะไรได้ในตอนนี้

                   วิธีการจัดการความขัดแย้ง ได้แก่

                   1.อย่าตัดสินทันทีว่าถูกหรือผิด ต้องฟังรอบด้าน 2.เข้าใจปัญหาของแต่ละคน 3.เจรจาต่อรอง

4.ทำอย่างไรให้จบอย่างสร้างสรรค์ สร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันที่ดี 5.ต้องมีจุดยืน คุยกันเปิดใจ ชื่นชม ขอบคุณ ขอโทษ

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

เมื่อเกิดเรื่องความขัดแย้งขึ้นในองค์กร เราจะต้องใช้ความคิดพิจารณาวิเคราะห์โดยไม่ตัดสินทันทีว่าถูกหรือผิด จะต้องหาข้อมูลฟังเสียงรอบข้างและคุยแบบเปิดใจเพื่อจบความขัดแย้งอย่างดีและสร้างสรรค์เพื่อให้การทำงานต่อไปได้อย่างมีความรู้สึกดีและมีความสุขร่วมกัน

นางสาวบุศริน จันทะแจ่ม กลุ่มที่ 5

วิชาที่ 1 : ปฐมนิเทศ แนะนำทฤษฏีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน   การจัดโครงการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน  เพื่อให้บุคลากรสายสนับสนุนตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ความสำคัญในการผลักดันให้การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยก้าวสู่ความสำเร็จในทุกมิติ  ดังนั้น การบรรลุเป้าหมายของมหาวิทยาลัยเกิดจากการทำงานเชื่อมโยงกันทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน บทบาทผู้นำองค์กร จึงต้องมีทัศนคติเชิงบวก ทำงานเป็นทีม  และพร้อมปรับตัวพัฒนางานให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง นำไปสู่มหาวิทยาลัยคุณภาพ

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

1.เกิดความรักภักดีต่อมหาวิทยาลัย มุ่งมั่นทุ่มเท พัฒนาศักยภาพตนเองอย่างต่อเนื่อง ทำงานอย่างมืออาชีพ เป็นที่พึ่งให้กับทีมงาน และมหาวิทยาลัย  พร้อมเป็นส่วนหนึ่งเป็นกำลังในการผลักดันงานของมหาวิทยาลัยให้บรรลุเป้าหมาย รวมทั้งการบริหารทีมงานให้มีความสุขในงาน  พัฒนางานและทีมงานให้เข้มแข็ง  

2. มีความเข้าใจผู้อื่น มีทัศนคติให้เป็นเชิงบวกต่อองค์กร ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ทำงานร่วมกันด้วยความรักความเมตตา  พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงทุกมิติ และมุ่งมั่นให้เกิดผลสำเร็จในงาน  

3.เรามีส่วนสำคัญในการพัฒนาองค์กร   ดังนั้น เราจะอยู่ได้ องค์กรต้องอยู่ได้ก่อน

 

วิชาที่ 2 : ภาวะผู้นำทัศนคติ (Mindset)และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

ได้เรียนรู้หลักการเป็นผู้นำที่ดี ตัวอย่างผู้นำที่เป็นบุคคลสำคัญ ๆ ผู้นำและผู้จัดการมีความแตกต่างกัน   ผู้นำเน้นการทำงานและมององค์กรระยะยาว  ผู้นำต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ ผู้นำที่ดีต้องดึงศักยภาพทีมงานออกมาเพื่อร่วมกันสร้างผลงานให้สำเร็จ ผู้นำต้องกล้าตัดสินใจ ต้องเรียนรู้และมีมุมมองกว้าง  เรียนรู้สถานการณ์โลก  มองแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เช่น สังคม การเมือง เทคโนโลยี นวัตกรรมความต้องการของลูกค้า เป็นต้น ผู้นำต้องมีความสามารถในการจูงใจ มีการสื่อสารที่ชัดเจน วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงที่จะมีผลกระทบกับองค์กร และสามารถมองเห็นโอกาสในการเปลี่ยนแปลงนำสู่การพัฒนาองค์กรให้มีความก้าวทันและแข่งขันมหาวิทยาลัยอื่นได้  

 สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

นำแนวคิดหลักการเป็นผู้นำที่ดี  เพื่อปฏิบัติตน วางตนให้เป็นผู้นำที่ดี สร้างพลังดึงศักยภาพทีมงาน เป็นที่พึ่งพา และเชื่อมั่นต่อเพื่อนร่วมงาน เพื่อร่วมกันนำองค์กรสู่ความสำเร็จ 

วิชาที่ 3 : การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3V (Value added-Value Creation-Value Diversity

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

การนำทฤษฎี 3 V มาใช้ในการออกแบบเชิงนวัตกรรม  ประกอบด้วย  1.Value Added สร้างมูลค่าเพิ่ม   2. Value Creation สร้างคุณค่าใหม่  3. Value Diversity สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

ทบทวนระบบงาน กระบวนงานที่สำคัญ เพื่อจัดทำเป็นโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในงาน เช่น การออกรายงานผลการตรวจสอบที่มีข้อเสนอแนะนำสู่การแก้ไขและสร้างมูลค่าเพิ่ม การให้คำปรึกษาเพื่อลดความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน เป็นต้น   

วิชาที่ 4 : การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

องค์ประกอบของการบริหารทีม ได้แก่ Inspire team  Goal setting  Jop  description   Share Ideas

Put the right man on the right  position  Work through conflict การบริหารทีมทุกคนต้องมีเป้าหมายเดียวกัน  มีส่วนร่วม ลงมือทำงานร่วมกัน มีการสื่อสารจากภายในและภายนอก รู้สึกรักและสนุกในการทำงานและสร้างผลงานที่ยอดเยี่ยม   ในการบริหารทีมต้องมองคนอย่างเข้าใจ เอาใจเขามาใส่ใจเรา ยอมรับความหลากหลาย ความแตกต่าง  ทั้งด้านครอบครัว การศึกษา สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและกรรมเก่า ฉะนั้นก่อนตัดสินใจใครต้องคิดอย่างรอบคอบและรอบด้าน เพื่อหาเหตุผลในการกระทำของเขา แล้วจงตระหนักว่า ถ้าเราป้อนสิ่งดี ๆ ลงไปบ่อย ๆ  จิตสำนึกและจิตใต้สำนึกจะประมวลผลออกแต่เรื่อง ดี ๆ และได้ผลลัพธ์ที่ดี และผลที่ตามมาจะทำให้เรามีพลังสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ให้กับตัวเองและทีมงาน เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกันและนำไปสู่การประสบความสำเร็จ

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

1.คิดดี ทำดี นำสู่การพูดดี กับเพื่อนร่วมงาน ในการชื่นชม และให้กำลังใจกันมากขึ้น

2.เราไม่สามารถปรับหรือเปลี่ยนแปลงคนอื่นไม่ได้ แต่ปรับที่ตัวเราเองให้มีความสุข และมองคนอื่นอย่างเข้าใจ และชื่นชม ยอมรับความแตกต่างจากพื้นฐานครอบครัว สังคม การศึกษา วิถีชีวิตอย่างเข้าใจ

3.การทำงานด้วยความรัก ความชอบ ผลลัพธ์ที่ได้คือผลงานที่ยอดเยี่ยม มีความสุขที่ได้ทำ ได้ชื่นชมผลงานที่ยอดเยี่ยม

วิชาที่ 5 : การบริหารความขัดแย้งและการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

วิธีการจัดการอารมณ์เชิงลบ ได้แก่  1.ระบุ  2.ต้องทำอะไร(สร้างสรรค์) 3.เปลี่ยนที่สนใจ 4.ฉันได้เรียนรู้อะไร

5.ทำอย่างไรให้ดีขึ้น 6.ทำอะไรได้ในตอนนี้

วิธีบริหารความขัดแย้ง ได้แก่  1.อย่าตัดสินทันทีว่าถูกหรือผิด ต้องฟังรอบด้าน ต้องวางตนเป็นผู้ไกล่เกลี่ย     2.เข้าใจปัญหาของแต่ละคน   3.เจรจาต่อรอง  4.ทำอย่างไรให้จบอย่างสร้างสรรค์ สร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข   5.ต้องมีจุดยืน คุยกันเปิดใจ ชื่นชม ขอบคุณ ขอโทษ

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

เมื่อเกิดเรื่องความขัดแย้งขึ้นในองค์กร เราจะต้องใช้ความคิดพิจารณาวิเคราะห์โดยไม่ตัดสินทันทีว่าถูกหรือผิด จะต้องหาข้อมูลฟังเสียงรอบข้างและคุยแบบเปิดใจ ไกล่เกลี่ยให้เกิดความเป็นธรรมทุกฝ่าย เคลียร์หัวใจ เพื่อจบความขัดแย้งด้วยดีและสร้างสรรค์  เพื่อให้การทำงานร่วมกันต่อไปได้อย่างมีความรู้สึกดีและมีความสุข

 

วิเคราะห์บทความ Coach Jimmy เชิญ Marshall GoldSmith มาเมืองไทย

1. ประโยชน์ต่อตัวเอง

การได้เรียนรู้ ได้สัมผัส ได้เจอกับคนเก่งๆ ในโลก และเปลี่ยนแนวคิด  เป็นโอกาสดีที่เราได้เรียนรู้ประสบการณ์จากคนอื่น  ทำให้เราเปิดโลกทัศน์ เป็นต้นแบบแห่งความสำเร็จ  เราต้องมีการพัฒนาตนเอง ทำให้เราเตรียมพร้อมในด้านต่าง ๆ เพื่อรับกับสถานการณ์และเพื่อเปิดรับโอกาสดี ๆ ที่กำลังเข้ามาและเป็นแรงผลักดันในการทำงานให้สำเร็จ

2. ประโยชน์ต่อองค์กร

การพัฒนาตนเอง และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จะนำสู่การพัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพ มีผลงานยอดเยี่ยม 

นางเกษร อินทนะนก กลุ่มที่ 2

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงานทุกรายวิชาในช่วงที่  2

รายวิชาที่  การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

          สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

  • ความแตกต่างระหว่าง         Happy  at  workและHappy Workplace
  • การแบ่งลักษณะ Happy  Workplace

Happy  at  work

Happy Workplace

นามธรรม

รูปธรรม

สร้างได้ด้วยตัวเอง

ยอมรับตามนโยบายผู้บริหาร

ส่วนบุคคล

องค์กร

 

 

2.1  ทฤษฎีความสุขแบบ++

2.2  ทฤษฎีความสุขแบบ+ -

2.3 ทฤษฎีความสุขแบบ  -+

2.4 ทฤษฎีความสุขแบบ - -

                         3.  ทฤษฎี  การปลูก และการเก็บเกี่ยว

Happy  at  work

Happy Workplace

การปลูก

การเก็บเกี่ยว

                    

Happy  at  work

      Process

Happy Workplace

ปลูก

ใส่ปุ๋ย, ดูแลรักษา

เก็บเกี่ยว

มีความสุขขั้นพื้นฐาน

การยึดหลักธรรมะ

การสร้างสรรค์งานให้กับองค์กร

 

 

          สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

  • การค้นพบความสุขของตัวเอง และการสร้างความสุขให้กับตัวเอง เพื่อให้เกิดความชอบในการทำงานและ คิดสร้างสรรค์งานให้กับองค์กร
  • การคิดบวก  เพื่อยอมรับนโยบายของผู้บริหาร ในการดำเนินงานให้บรรลุกเป้าหมาย
  • การทำงานที่ต้องใช้จิต วิญญาณ ในการทำงาน   คือ การทำงานด้วยความชอบงาน  เข้าใจงาน แก้ปัญหางาน   ด้วยประสบการณ์  เพื่อให้งานออกมาดีที่สุด

(ระดับของความสุข    = ระดับความสำเร็จของงาน )

รายวิชาที่  7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา 

          สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

  • การศึกษาข้อมูลบนความจริง  หรือ การคำนวณจุดคุ้มทุนในการนำระบบสารสนเทศ เป็นสิ่งที่จำเป็นในยุคปัจจุบัน
  • ระบบสารสนเทศ เป็นการทำงานที่เชื่อมโยงระหว่างลูกค้า กับ Back office
  • การปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อให้ทันกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เหมาะกับงานที่ทำ

          สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

  • การเพิ่มช่องทางในการสื่อสาร  และการประชาสัมพันธ์
  • การคิดค้นนวัตกรรมในการนำสารสนเทศมาช่วยในการทำงาน
  • การระมัดระวังในการใช้ข้อมูลสาธารณะ

รายวิชาที่  การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรมและกรณีศึกษาของการพัฒนานวัตกรรมของงานสายสนับสนุน

        สิ่งที่ได้เรียนรู้

  •  Value + New + Implementation
  • การคิดค้นนวัตกรรม  เป็นการออกแบบงานชนิดหนึ่งที่ช่วยให้ง่ายทั้งผู้ใช้และผู้รับผิดชอบงาน
  • นวัตกรรม  เป็นสิ่งที่ทุก ๆ คนทำได้  และทำได้ทุกอย่างถ้าคิดจะทำ

นวัตกรรม  คือ การเห็นคุณค่าของงาน ทำให้มีการคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ   และสิ่งนั้นเป็นไปได้จริง 

 

 

        สิ่งที่นำไปปรับใช้กับการทำงาน

  •  การออกแบบกระบวนการทำงาน เพื่อช่วยในการลดขั้นตอน และทำให้งานเร็วขึ้น ง่ายขึ้น
  • การคิดค้นโปรแกรมที่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • การออกแบบวิธีการร่วมกับเพื่อนร่วมงาน  และช่วยเหลือกันผลักดันให้ นวัตกรรม ใช้ได้จริง

 

รายวิชาที่  9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม  จริยธรรม  และธรรมาภิบาล

        สิ่งที่ได้เรียนรู้

  •  ความกล้าหาญในการทำสิ่งดี ๆ  ควรเป็นคุณสมบัติที่ทุกคนควรตระหนัก
  • การเปิดมุมมองให้รอบด้าน และควรที่จะใส่ใจกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่ ครอบครัว  องค์กร  เศรษฐกิจ  การเมือง  เพื่อช่วยให้เรารับมือกับทุกอย่างได้
  • การเป็นคนเสียสละ  สามารถทำทุกอย่างเท่าที่จะสามารถทำได้  ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อย แต่มันก็เป็นการช่วยเหลือองค์กรได้มากมาย

        สิ่งที่นำไปปรับใช้กับการทำงาน

  •  เป็นการสร้างแรงบันดาลใจในการทำงาน และมีความมานะบากบั่นมากยิ่งขึ้น
  • การทำงานต้องทำด้วยใจรัก  ทำอย่างเต็มที่ และไม่ต้องหวังใดๆ
  • การทำงานเพื่อผู้อื่น ทำให้เรามีความสุข ส่งผลให้ร่างกายแข็งแรง หน้าตาสดใส
นางเกษร อินทนะนก กลุ่มที่ 2

วิเคราะห์บทความ ครั้งที่  2

แนวหน้า  ทุนในโลก  ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุ หรือเทคโนโลยี

            ได้ประโยชน์ต่อ “ตัวเอง”  คือ

1.  ได้สำรวจตัวเอง   ค้นพบ และมีเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้น

2.  การกล้าเข้าไปหาคนที่มีประสบการณ์  คนเก่ง  เพื่อ สอบถาม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้

3.  ทำให้ตื่นตัวในการเรียนรู้  อยากฟัง  อยากเขียน และอยากอ่านมากยิ่งขึ้น

4.  ทำให้สนใจสิ่งรอบข้างมากยิ่งขึ้น  สังคม  เศรษฐกิจ และการเมือง เพราะทุกอย่างเกี่ยวข้องกับเรา

          ได้ประโยชน์  ต่อ  “องค์กร” คือ

                    1.    การเตรียมความพร้อมก่อน หรือการวางแผนที่ดี จะช่วยให้องค์กรรับมือกับอนาคตได้

                   2.  การมีจิตอาสาที่จะเข้าไปช่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย และส่งผลให้งานนั้นสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

                   3.  จะนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ให้เพื่อนร่วมงานรับทราบ และร่วมกันพัฒนามหาวิทยาลัยต่อไป

          นำแนวคิดมาปรับใช้ ดังต่อไปนี้

                   1.    การสร้างเครือข่าย  เพื่อให้การทำงานง่ายขึ้น สะดวกขึ้น และสำเร็จเร็วยิ่งขึ้น

                   2.  การทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงาน  การดูแลใส่ใจมากขึ้น  เพื่อเป้าหมายและความสำเร็จขององค์กรร่วมกัน

                   3.  การบริหารงานที่ได้รับมอบหมาย ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  เร็วขึ้น 

มานี แก้วชนิด กลุ่ม 2

วิชาที่ 6 การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปปรับใช้คือ กฏในการสร้างทุนแห่งความสุข 
1. " การปลูก" : Happiness capital เราต้องเตรียมสุขภาพดาย สุขภาพใจของตัวเองก่อน
2. งานสำเร็จมาจากการที่เราใส่ใจในงาน เกิดขึ้นเพราะมี passion ในการทำงาน มี purpose และรู้ meaning ของงาน

วิชาที่ 7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปปนับใช้
- ต้องรู้ work flow ก่อน แล้วเอาระบบมาช่วย
- อย่ายึดติดกับอดีต เพราะมีเทคโนโลยีเข้ามาทำให้เราต้องเปลี่ยนวิธีการคิด และการดำเนินชีวิต

วิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม

สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปปรับใช้
หลักการ kai zen (ความคิดสร้างสรรค์) 3 ข้อ
1. เลิก : เรื่องไม่จำเป็น เรื่องที่ไม่ทำก็ได้ เรื่องที่ทำหรือไม่ทำก็ได้
2. ลด : การลงมือทำซ้ำ การแก้ไข การทำใหม่
3. เปลี่ยน : เปลี่ยนขั้นตอน เปลี่ยนตำแหน่งการวาง เปลี่ยนวิธีเตรียมงาน เปลี่ยนขนาด เปลี่ยนวัตถุดิบ

วิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปปรับใช้
- การสร้างคณค่าให้ตนเอง ค้นหาเสียงภายในตัวเอง และเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นหาเสียงของตน คือ purpose  passion & meaning ทำให้เราเป็นสุข

- คุณธรรม จริยธรรม 4.0 ได้แก่ 
1.พอเพียง
2. มีวินัย
3. สุจริต
4. จิตอาสา

- การเรียนรู้ 4 ประการ
1. การเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย  เน้นการใช้ความรู้ สร้างนวัตกรรม
2. เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ เน้นการใช้ความคิด กระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
3. การเรียนรู้เพื่อส่วนรวม เน้นการปลูกจิตสาธารณะ และความรับผิดชอบต่อสังคม
4. การเรียนรู้เพื่อนำไปปฏิบัติ เน้นการทำโครงงานร่วมกัน

นางสาวอารยา ดำเรือง กลุ่มที่ 5

วิชาที่ 6 การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

          ทุนทางความสุข เน้นที่ตัวเราให้ทำงานที่มีประสิทธิภาพอย่างมีความสุข และความสุขของครอบครัว สังคม และประเทศชาติ ก็จะเกิดขึ้นตามมาเอง โดยมองบนหลักแนวคิด 2 R’S มองความจริงและตรงประเด็น ทุนทางความสุขต้องมียุทธศาสตร์และมีข้อมูลเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ ทุนแห่งความสุขเป็นส่วนหนึ่งของทุนมนุษย์ โดยทุนมนุษย์และทุนแห่งความสุขเป็นทุนที่สำคัญสำหรับทุกคน โดยการสร้าง Happy Workplace ผู้บริหารและ HR ต้องสร้างบรรยากาศให้คนในองค์กรทำงานให้มีความสุข ส่วนทุนแห่งความสุขเป็นเรื่องส่วนบุคคล เกิดขึ้นเพราะชอบงานและมีความสุขที่ได้ทำงาน ซึ่งการที่มีทั้งบรรยากาศการทำงานที่ดี และคนทำงานก็มีความสุข จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อองค์กร

          สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน 

          อยากจะทำงานวิจัยเพื่อการพัฒนาองค์กร โดยเน้นการศึกษาการพัฒนาทุนแห่งความสุขของบุคลากรในองค์กร โดยศึกษาจากตัวแปรอิสระในเรื่องทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) เพื่อจะวัดผลลัพธ์ขององค์กร เน้นการวัดจากการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) การสร้างคุณค่าใหม่ (Value Creation) และการสร้างคุณค่าจากความหลากหลาย (Value Diversity) ทั้งนี้เพื่อจะทำให้บุคลากรในองค์กรมีความสุขในการทำงานเพื่อร่วมกันพัฒนาองค์กรไปสู่เป้าหมาย

วิชาที่ 7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

          ได้รับความรู้เกี่ยวกับข้อมูลและสารสนเทศ องค์ประกอบ ประเภทของระบบสารสนเทศ สารสนเทศ  ที่ดี การปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการปรับกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อให้องค์กรอยู่ได้ โดยผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบการจัดการข้อมูลต้องเข้าใจถึงสารสนเทศที่หน่วยงานต้องการ จะพัฒนาอย่างไร โดยต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายที่ใช้สารสนเทศนั้น มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษาที่น่าสนใจและนำมาปรับใช้ในการทำงาน เช่น ระบบบริหารงานทั่วไป ระบบงบประมาณ ระบบทะเบียน เป็นต้น นอกจากนี้ในเรื่องเทคโนโลยีมีผลต่อวิถีชีวิตและการทำงาน การปรับเปลี่ยนรูปแบบ/วิธีคิด เพื่อให้การสื่อสารภายในองค์กรดีขึ้น การใช้เทคโนโลยีพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น การพัฒนากระบวนการทำงานที่เหมาะสม และใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน 

ฝ่ายบริหารวิทยาเขตพัทลุงรับผิดชอบงานด้านแผนงานและงบประมาณ อาคารสถานที่ ยานพาหนะ งานทะเบียนและสถิตินิสิต เป็นต้น ซึ่งสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประมวลและนำเสนอผู้บริหาร/ผู้เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาและปรับปรุงระบบสารสนเทศที่มีอยู่ ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการให้บริการแก่นิสิตและบุคลากรต่อไป

วิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรมและกรณีศึกษาของการพัฒนานวัตกรรมของงานสนับสนุน

          มองถึงคุณค่าที่ทำคืออะไร (Value) มีอะไรใหม่หรือไม่ (New) การทำสิ่งที่มีคุณค่า เป็นสิ่งใหม่และนำมาใช้จริง (Implementation) ปัจจุบันแนวโน้มของโลกเปลี่ยนไป คนมีความหลากหลายมากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการนวัตกรรม (Innovation Management) โดยการปรับวิธีคิด/รูปแบบ การปรับกระบวนการภายใน การบริหารจัดการนวัตกรรมเป็นเรื่องของคนทุกคนในองค์กร ทุกงาน ทุกหน้าที่ ทั้งงานวิชาการและงานสนับสนุนสามารถทำนวัตกรรมได้ โดยผู้นำองค์กรต้องผลักดัน มีความจริงจัง เปิดใจรับสิ่งใหม่ และถ่ายทอดให้ทุกคนในองค์กรได้มุ่งสู่องค์กรนวัตกรรม ซึ่งเน้นการสร้าง Value เพื่อให้ผู้รับบริการพึงพอใจและมีความสุขในการใช้บริการ  

 สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน 

          ในฐานะเป็นบุคลากรในองค์กร ต้องหันกลับมาวิเคราะห์งานที่ทำว่าสามารถนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่หรือปรับกระบวนการบริหารจัดการได้หรือไม่ อย่างไร เพื่อลดปัญหา/แก้ปัญหาและเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

วิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

          การมีแรงกระตุ้น/แรงปรารถนาอันแรงกล้าในการทำงาน (Passion) และการกำหนดเป้าหมาย (Purpose) รวมถึงการให้ความหมายกับตัวเองและคนรอบข้าง (Meaning) มีความสำคัญในการสร้างทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม โดยต้องมีผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ  ผู้นำที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรม และผู้นำที่มีความเสียสละ เพื่อนำองค์กรไปสู่เป้าหมาย และนำเรื่องคุณธรรม 4.0 (พอเพียง มีวินัย สุจริต และมีจิตสาธารณะ) มาเป็นหลักยึดในการทำงาน ผ่านการเรียนรู้ทางกาย จิต และความคิด ตลอดจนใช้หลัก 9 MODULES ในการทำงาน ประกอบด้วย 1) ค้นหาต้นทุนความดีขององค์กร 2) ค้นหาความจริงขององค์กร 3) ตั้งเป้าหมาย 4) ร่วมกันกำหนดวิธีการ 5) ลงมือปฏิบัติ 6) จัดกระบวนการเรียนรู้ 7) ชื่นชมยกย่อง 8) สร้างระบบประเมิน และ 9) สร้างเครือข่ายคุณธรรม

สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน 

นำมาปรับใช้ในการทำงานโดยการเรียนรู้จาก 9 MODULES ขององค์กร และนำไปวิเคราะห์และแก้ไขปรับปรุง ซึ่งอาจจะจัดทำโครงการพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม เพื่อปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกให้บุคลากรมีคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล อันจะนำไปสู่การทำงานที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งความสุข

สิ่งที่ได้จากการอ่านบทความ เรื่อง “บทความจากความจริง 4 ทุนในโลก”

          ทุนในโลก 4 ทุน ได้แก่ ทุนทางการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี  และทุนมนุษย์ โดยทุนที่ต้องให้ความสำคัญอันดับแรก คือ ทุนมนุษย์ เพราะเป็นจุดเกิดของทั้งปัญหาและการพัฒนา ที่ต้องให้ความสำคัญลำดับต่อมา คือ ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ที่ต้องช่วยกันดูแลและให้ความสำคัญเพราะเป็นทั้งแหล่งอาหารและสิ่งที่จะส่งผลต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของมนุษย์ ต่อมาทุนทางการเงิน เป็นเรื่องที่ต้องตั้งอยู่บนฐานการยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เป็นทุนที่ยั่งยืน และสุดท้ายทุนทางเทคโนโลยี ต้องเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ในการใช้ชีวิตและการทำงาน

          สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน 

          ในการทำงานต้องให้ความสำคัญกับทุนมนุษย์ โดยยึดหลักแนวคิด 2 R’S มองความจริงและตรงประเด็น เพื่อจะได้เข้าใจถึงข้อมูลทรัพยากรบุคคลขององค์กรที่มีอยู่ ทำให้สามารถร่วมกันวางแผนในการส่งเสริมและพัฒนา รวมทั้งช่วยกันผลักดันและดึงศักยภาพของบุคลากรที่มีอยู่ให้ร่วมกันทำงานเพื่อพัฒนาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่กำหนด

          

นายชัยยุทธ มณีฉาย กลุ่มที่ 1

วิชาที่ 6 การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

          ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) เน้นการนำไปปฏิบัติจริง เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพหรือเกิดขึ้นเพราะความชอบงาน มีความสุขที่ได้ทำงาน การทำงานต้องมี หรือกำหนด passion purpose และ meaning ของงาน

          การนำไปปรับใช้ สร้าง passion purpose หรือ meaning ให้กับงานที่รับผิดชอบ

 

วิชาที่ 7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร และการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

          การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะในยุคการศึกษา 4.0

          การนำไปปรับใช้ วิเคราะห์ระบบสารสนเทศที่มีอยู่ เพื่อพัฒนาระบบใหม่ ๆ ที่ทันสมัย และเหมาะกับสิ่งที่ต้องการใช้

 

วิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรมและกรณีศึกษาของการพัฒนานวัตกรรมงานสายสนับสนุน

          นวัตกรรมไม่ใช่เรื่องของการวิจัยและการพัฒนาเท่านั้น แต่ในทุกๆ งานก็สามารถสร้างเป็นนวัตกรรมได้ โดยเริ่มจากผู้นำผลักดันให้เกิดแล้วนำไปสู่ความเข้มแข็ง

          การนำไปปรับใช้ วิเคราะห์งานที่รับผิดชอบ พิจารณาว่ากระบวนงานอะไรบ้างที่สามารถลด เลิก เปลี่ยนได้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่มากขึ้น

 

วิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

          การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล เป็นเรื่องของการปฏิบัติ การสร้างแรงบันดานใจเพื่อการทำที่ดีที่สุด โดย ต้องมี passion purpose และ meaning นำไปสู่ ความพอเพียง การมีวินัย ความสุจริต และมีจิตสาธารณะ

          การนำไปปรับใช้ การปฏิบัติตามแผนคุณธรรมแห่งชาติ 4 ประการ คือ ความพอเพียง การมีวินัย ความสุจริต และมีจิตสาธารณะ

 

วิเคราะห์บทความ ครั้งที่ 2 เรื่อง 4 ทุนในโลก ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุ หรือเทคโนโลยี ทุนมนุษย์

4 ทุน คือ 1) ทุนการเงิน 2) ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ 3) ทุนทางวัตถุ หรือเทคโนโลยี และ 4) ทุนมนุษย์         โดยทุนมนุษย์จะมีความสำคัญสุด จึงควรให้ความสำคัญกับพัฒนาบุคคล เพราะต้นเหตุของปัญหาต่าง ๆ น่าจะมาจากมนุษย์เป็นหลัก

การนำไปปรับใช้ พัฒนาตนเองในสิ่งที่จำเป็นอยู่เสมอ รวมถึงการใช้ชีวิตแบบพอเพียง

 

นางสาวอรวรรณ ธนูศร กลุ่มที่ 1 ส่งงานครั้งที่ 2 วิชาที่ 6-9

วิชาที่ 6 การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานอย่างมีความสุข

สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้

  • ความแตกต่างระหว่าง Happy at work และ Happy workplace
  • ทฤษฎีการปลูกและการเก็บเกี่ยว

Happy at work  = นามธรรม สร้างได้ด้วยตัวเรา

Happy workplace =รูปธรรม ยอมรับตามนโยบายของผู้บริหาร องค์กร

Happy at work = การปลูก  สร้างสุขในตัวเรา ให้ความสุขเป็นพื้นฐานของทุกอย่าง (ปลูกสุข)

 (Process คือ การดูแลเอาใจใส่ ตัวเราให้สุข)   Happy workplace = การเก็บเกี่ยว

          ระดับความสุข = ระดับความสำเร็จของงานในองค์กร (เราสุขกับการทำงาน องค์กรก็สุขไปด้วย)

สิ่งที่จะนำไปในการทำงาน

  • สร้างคิดบวกในใจ
  • ค้นหาความสุขให้กับตัวเอง สร้างสุขที่ตัวเรา และนำสุขไปพัฒนางานและองค์กร
  • ทำงานด้วยจิต ใส่วิญญานลงไปในงาน ใส่ใจ

วิชาที่ 7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาและจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้

  • การศึกษาข้อมูลบนความจริง หรือการคำนวนจุดคุ้มทุนในการนำระบบสารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นยุดของการเปลี่ยนแปลี่ยนระบบสารสนเทศ
  • ระบบสารสนเทศเป็นการทำงานที่เชื่อมโยงระหว่างลูกค้า กับ Back office
  • การปรับเปลี่ยนตัวเองพื่อให้ทันกับสถาณการณ์ในปัจจุบันและการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เหมาะกับงานที่ทำ

สิ่งที่จะนำไปในการทำงาน

  • ศึกษาช่องทางการในสื่อสารและประชาพันธ์
  • การคิดค้นนวัตกรรมในการนำสารสนเทศมาช่วยในการทำงาน
  • การระมัดระวั่งในการใช้ข้อมูลสาธารณะ

 

วิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรมและกรณีศึกษาของการพัมนานวัตกรรมของงานสายสนับสนุน

  • สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้
  • Value + New+ Implementation
  • การคิดค้นนวัตกรรมเป็นการออกแบบงานชนิดหนึ่งที่ช่วยให้ง่ายทั้งผู้ใช้และผู้รับผิดชอบงาน
  • นวัตกรรมเป็นสิ่งที่ทุกๆคนทำได้และทำได้ทุกอย่างถ้าคิดจะทำ

นวัตกรรม คือ การเห็นคุณค่าของงานทำให้มีการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ และสิ่งนั้นเป็นไปได้จริง

สิ่งที่จะนำไปใช้ในการทำงาน

  • ออกแบบกระบวนการทำงานเพื่อช่วยในการลดขั้นตอนและทำให้งานเร็วขึ้น ง่ายขึ้น
  • การนำโปรแกรมที่มีอยู่มาใช้ในการทำงานให้มีเต็มประสิทธิภาพ
  • ร่วมคิดร่วมทำ ทำงานเป็นทีม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ออกแบบระบบงานเพื่อร่วมกันพัฒนาองค์กร

วิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรมจริยธรรมและธรรมาภิบาล

สิ่งที่ได้เรียนรู้

  • ความกล้าหาญในการทำสิ่งที่ดี ให้ตระหนักไว้ในใจ ทำดี ทำแต่สิ่งที่ดี ก่อเกิดประโยชน์มากมาย
  • ใสใจและมองให้รอบด้าน เริ่มแต่ตัวเรา ครอบครัว องค์กร เศรษฐกิจบ้านเมือง เพื่อช่วยให้เรากับมือกับทุกอย่างที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

สิ่งที่จะนำไปใช้ในการทำงาน

  • สร้างแรงบันดาลใจในการทำงาน มองให้กว้างและรอบ รู้สึก รู้กว้างและฉลาดที่จะเรียนรู้
  • ทำงานด้วยใจรัก  จะส่งผลต่อองค์กรณ์
  • การทำงานอย่างมีความสุข ใจรัก และจะทำให้เกิดประสิทธิภาพกับงานและตัวเรา

 

สรุปบทความ : บทเรียนจากความจริง (หนังสือพิมพ์แนวหน้า) รศ.ดร.จีระ 

9 ก.ค.60

4 ทุนในโลก, ทุนการเงิน, ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ, ทุนทางวัตถุ หรือเทคโนโลยี แต่สำคัญสุด ทุนมนุษย์

มนุษย์มีส่วนทำให้ทุนธรรมชาติหายไป ลดสง ขาดสมดุลย์ สูญเสีย จากภัยคุ้มคามของมนุษย์

  • การขยายความเจริญ
  • การขาดวิชาการรักษาสมดุลย์ธรรมชาติ
  • การขาดความรู้ทางวิชาการ รักษาดิน รักษาธรรมชาติ
  • การขาดความรับผิดชอบต่อธรรมชาติ

“ธรรมชาติไม่พึ่งมนุษย์ แต่มนุษย์พึ่งธรรมชาติ”

มนุษย์ขาดทุนทางการเงิน

  • มีความโลภ อยากรวยเร็ว ชอบกู้ เกิดวิกฤตการณ์เป็นหนี้ต่างชาติ
  • ไม่ได้นำศาสตร์พระราชา

มนุษย์กับทุนทางเทคโนโลยี

  • มนุษย์สามารถสร้างทุนทางปัญญาเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี
  • มนุษย์สามารถสร้างทุนทางความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาเทคโนโลยีและทุนทางนวัตกรรม
  • มนุษย์สามารถสร้างโอกาสจากทุนทางเครือข่าย Network สามารถทำธุรกิจสำเร็จได้โดยใช้เครือข่าย Network คิดนอกกรอบ การเรียนรู้ที่ดี คือ เรียนจาก 2R’s ความจริงและเรื่องตรงประเด็น ใช้เครือข่ายมาบริหารจัดการธุรกิจและสร้างโอกาสได้

ประโยชน์ต่อองค์กร 

  • การพัฒนากำลังคน
  • ทุน/สินทรัพย์ที่มีอยู่ มองให้เห็นคุณค่า และนำมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด โดยมีหลักคุณธรรม จริยธรรม ความรู้และความสามารถ ทักษะ ความชำนาญเป็นการเสริมสร้างทุนที่มีอยู่เพื่อพัฒนาสังคมและองค์กรต่อไป

วิชาที่ 6 การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

          ทุนทางความสุข เน้นที่ตัวเราให้ทำงานที่มีประสิทธิภาพอย่างมีความสุข และความสุขของครอบครัว สังคม และประเทศชาติ ก็จะเกิดขึ้นตามมาเอง โดยมองบนหลักแนวคิด 2 R’S มองความจริงและตรงประเด็น ทุนทางความสุขต้องมียุทธศาสตร์และมีข้อมูลเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ ทุนแห่งความสุขเป็นส่วนหนึ่งของทุนมนุษย์ โดยทุนมนุษย์และทุนแห่งความสุขเป็นทุนที่สำคัญสำหรับทุกคน โดยการสร้าง Happy Workplace ผู้บริหารและ HR ต้องสร้างบรรยากาศให้คนในองค์กรทำงานให้มีความสุข ส่วนทุนแห่งความสุขเป็นเรื่องส่วนบุคคล เกิดขึ้นเพราะชอบงานและมีความสุขที่ได้ทำงาน ซึ่งการที่มีทั้งบรรยากาศการทำงานที่ดี และคนทำงานก็มีความสุข จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อองค์กร

          สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน 

         นำหลักการดังกล่าวมาพัฒนาตัวเรา และสะท้อนไปยังผู้อื่นเพื่อทำให้บรรยากาศภายในองค์กรน่าอยู่

วิชาที่ 7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

          ได้รับความรู้เกี่ยวกับข้อมูลและสารสนเทศ องค์ประกอบ ประเภทของระบบสารสนเทศ สารสนเทศ  ที่ดี การปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการปรับกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อให้องค์กรอยู่ได้ โดยผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบการจัดการข้อมูลต้องเข้าใจถึงสารสนเทศที่หน่วยงานต้องการ  ซึ่งหน่วยงานจำเป็นต้องนะระบบสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือเพื่อเข้าสู่ Thailand 4.0

สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน             พัฒนาระบบสารสนเทศให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ เพื่อนำมหาวิทยาลัยสู่ e-University

วิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรมและกรณีศึกษาของการพัฒนานวัตกรรมของงานสนับสนุน

          มองถึงคุณค่าที่ทำคืออะไร (Value) มีอะไรใหม่หรือไม่ (New) การทำสิ่งที่มีคุณค่า เป็นสิ่งใหม่และนำมาใช้จริง (Implementation) ปัจจุบันแนวโน้มของโลกเปลี่ยนไป คนมีความหลากหลายมากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการนวัตกรรม (Innovation Management) โดยการปรับวิธีคิด/รูปแบบ การปรับกระบวนการภายใน การบริหารจัดการนวัตกรรมเป็นเรื่องของคนทุกคนในองค์กร ทุกงาน ทุกหน้าที่ ทั้งงานวิชาการและงานสนับสนุนสามารถทำนวัตกรรมได้ โดยผู้นำองค์กรต้องผลักดัน มีความจริงจัง เปิดใจรับสิ่งใหม่ และถ่ายทอดให้ทุกคนในองค์กรได้มุ่งสู่องค์กรนวัตกรรม ซึ่งเน้นการสร้าง Value เพื่อให้ผู้รับบริการพึงพอใจและมีความสุขในการใช้บริการ  

 สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน 

          นำปัญหาที่เกิดขึ้นมาสร้างนวัตกรรมใหม่หรือปรับกระบวนการบริหารจัดการ  วิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

          การมีแรงกระตุ้น/แรงปรารถนาอันแรงกล้าในการทำงาน (Passion) และการกำหนดเป้าหมาย (Purpose) รวมถึงการให้ความหมายกับตัวเองและคนรอบข้าง (Meaning) มีความสำคัญในการสร้างทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม โดยต้องมีผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ  ผู้นำที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรม และผู้นำที่มีความเสียสละ เพื่อนำองค์กรไปสู่เป้าหมาย และนำเรื่องคุณธรรม 4.0 (พอเพียง มีวินัย สุจริต และมีจิตสาธารณะ) มาเป็นหลักยึดในการทำงาน ผ่านการเรียนรู้ทางกาย จิต และความคิด ตลอดจนใช้หลัก 9 MODULES ในการทำงาน ประกอบด้วย 1) ค้นหาต้นทุนความดีขององค์กร 2) ค้นหาความจริงขององค์กร 3) ตั้งเป้าหมาย 4) ร่วมกันกำหนดวิธีการ 5) ลงมือปฏิบัติ 6) จัดกระบวนการเรียนรู้ 7) ชื่นชมยกย่อง 8) สร้างระบบประเมิน และ 9) สร้างเครือข่ายคุณธรรม

สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน 

นำ 9 MODULES มาปรับใช้  เพื่อปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกให้บุคลากรมีคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล อันจะนำไปสู่การทำงานที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งความสุข

สิ่งที่ได้จากการอ่านบทความ เรื่อง บทความจากความจริง 4 ทุนในโลก

         ทุนทางการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี  และทุนมนุษย์ โดยทุนที่ต้องให้ความสำคัญอันดับแรก คือ ทุนมนุษย์ เพราะเป็นจุดเกิดของทั้งปัญหาและการพัฒนา ที่ต้องให้ความสำคัญลำดับต่อมา คือ ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ที่ต้องช่วยกันดูแลและให้ความสำคัญเพราะเป็นทั้งแหล่งอาหารและสิ่งที่จะส่งผลต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของมนุษย์ ต่อมาทุนทางการเงิน เป็นเรื่องที่ต้องตั้งอยู่บนฐานการยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เป็นทุนที่ยั่งยืน และสุดท้ายทุนทางเทคโนโลยี ต้องเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ในการใช้ชีวิตและการทำงาน

          สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน 

          เข้าใจถึงข้อมูลทรัพยากรบุคคลขององค์กรที่มีอยู่ร่วมกันเพื่อวางแผนในการส่งเสริมและพัฒนา รวมทั้งช่วยกันผลักดันและดึงศักยภาพของบุคลากรที่มีอยู่ให้ร่วมกันทำงานเพื่อพัฒนาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ได้ตั้งเอาไว้

นางสาวมาณี แก้วชนิด

มาณี แก้วชนิด กลุ่ม 2 
วิชาที่ 6 การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปปรับใช้คือ กฏในการสร้างทุนแห่งความสุข 
1. " การปลูก" : Happiness capital เราต้องเตรียมสุขภาพดาย สุขภาพใจของตัวเองก่อน
2. งานสำเร็จมาจากการที่เราใส่ใจในงาน เกิดขึ้นเพราะมี passion ในการทำงาน มี purpose และรู้ meaning ของงาน

วิชาที่ 7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปปนับใช้
- ต้องรู้ work flow ก่อน แล้วเอาระบบมาช่วย
- อย่ายึดติดกับอดีต เพราะมีเทคโนโลยีเข้ามาทำให้เราต้องเปลี่ยนวิธีการคิด และการดำเนินชีวิต

วิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม

สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปปรับใช้
หลักการ kai zen (ความคิดสร้างสรรค์) 3 ข้อ
1. เลิก : เรื่องไม่จำเป็น เรื่องที่ไม่ทำก็ได้ เรื่องที่ทำหรือไม่ทำก็ได้
2. ลด : การลงมือทำซ้ำ การแก้ไข การทำใหม่
3. เปลี่ยน : เปลี่ยนขั้นตอน เปลี่ยนตำแหน่งการวาง เปลี่ยนวิธีเตรียมงาน เปลี่ยนขนาด เปลี่ยนวัตถุดิบ

วิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปปรับใช้
- การสร้างคณค่าให้ตนเอง ค้นหาเสียงภายในตัวเอง และเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นหาเสียงของตน คือ purpose  passion & meaning ทำให้เราเป็นสุข

- คุณธรรม จริยธรรม 4.0 ได้แก่ 
1.พอเพียง
2. มีวินัย
3. สุจริต
4. จิตอาสา

- การเรียนรู้ 4 ประการ
1. การเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย  เน้นการใช้ความรู้ สร้างนวัตกรรม
2. เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ เน้นการใช้ความคิด กระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
3. การเรียนรู้เพื่อส่วนรวม เน้นการปลูกจิตสาธารณะ และความรับผิดชอบต่อสังคม
4. การเรียนรู้เพื่อนำไปปฏิบัติ เน้นการทำโครงงานร่วมกัน

มาณี แก้วชนิด กลุ่ม 2

บทความ 4 ทุนในโลก : ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุหรือทางเทคโนโลยี แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ทุนมนุษย์

สิ่งที่ได้
(.)ทุนมนุษย์มีความสำคัญเพราะ 4 ทุนในโลกจะขาดทุนมนุษย์ไม่ได้
(.)ทุนมนุษย์กับทุนทางธรรมชาติ : การพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีจริยธรรมและปัญญา อนาคตจะได้มีทรัพยากรธรรมชาติให้เราได้ใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน 
(.)การดำรงชีวิตอย่างเศรษฐกิจพอเพียงตามศาสตร์พระราชา จะช่วยบริหารความเสี่ยงให้เราอยู่รอดได้
(.)ทุนทางเทคโนโลยี เช่นทุนทางปัญญา ทุนทางความคิดสร้างสรรค์  ทุนทางวัตนกรรมและทุนทางเครือข่ายจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องพึ่งพาทุนมนุษย์เช่นกัน

ประโยชน์ต่อตนเอง

1.การดำรงชีวิตเป็นอยู่อย่างพอเพียง
2. การเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ และเลือกเรื่องที่ตรงประเด็นมาสร้างสรรค์ ทำงานเป็นทีม ปรึกษาผู้ที่มีประสบการณ์
3. ความอดทน ทุมเทเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

ประโยชน์ต่อองค์กร
- ประโยชน์ในด้านการวางแผนพัฒนากำลังคน   ให้มองคนเป็นสินทรัพย์เพื่อจะได้เพิ่มมูลค่าในด้าน คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ความสามารถ ทักษะ ควาชำนาญ เป็นการเสริมสร้างทุนมนุษย์ เพื่อการพัฒนาสังคม องค์กร และประเทศชาติอย่างยั่งยืน

นนทพัทธ์  นวลนิ่ม กลุ่ม 4  

วิชาที่ 6 การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

         การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ ต้องอาศัยแรงขับจากภายในที่มีความความในทุกๆ ด้าน เพื่อเป็นฐาน    ในการเป็นเกราะให้กับตัวเอง Happiness capital ในการพร้อมรับในทุกสถานการณ์ภายนอก  หากสภาพจิตใจมีความสุข สุขภาพกายสมบูรณ์ ก็จะเป็นแรงขับที่ดีในการทำงาน การรักในงานที่ทำ passion ก็มักจะเกิดการต่อยอดและพัฒนางานที่ทำอยู่เสมอ โดยอาศัยทฤษฏี  2 R’S มองความจริงและตรงประเด็น  

วิชาที่ 7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

          การนำระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ให้ทันสมัยและรองรับการใช้งานเพื่อสะดวกต่อการบริหารจัดการทรัพยากร

วิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม

การสร้างนวัตกรรมให้องค์กร เป็นการพัฒนารูปแบบและแนวคิดในการทำงานในเชิงสร้างสรรค์ เพื่อสร้างคุณค่าให้กับงาน โดยการมีเป้าหมายที่ชัดเจน และส่งผลดีต่อองค์กรและผู้รับบริการ ภายใต้ หลักการ kai zen  เลิก  ลด  เปลี่ยน  

วิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

           การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลโดยยึดหลัก คุณธรรม 4 ประการ พอเพียง มีวินัย สุจริต จิตอาสา เข้ามาปรับใช้ในการทำงาน ผ่านการเรียนรู้ที่ดี  4 ประการ 1. การเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย   2. เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ 3. การเรียนรู้เพื่อส่วนรวม 4. การเรียนรู้เพื่อนำไปปฏิบัติ 

พรทิพย์ บุญจุน กลุุ่มที่ 2

บทความ 4 ทุนในโลก : ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุหรือทางเทคโนโลยี

          ทุนทั้ง 4  ประกอบด้วย ทุนการเงิน ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุหรือทางเทคโนโลยี และทุนมนุษย์จะต้องทำงานสัมพันธ์กัน   โดยหากขาดทุนมนุษย์ ความสำเร็จจะไม่เกิดขึ้น

          1. ทุนมนุษย์กับทุนทางการเงิน หากมนุษย์ดำรงชีวิตอย่างเศรษฐกิจพอเพียงตามศาสตร์พระราชา จะช่วยให้เราอยู่รอดได้

          2. ทุนมนุษย์กับทุนทางธรรมชาติ :  มนุษย์มีส่วนทำให้ทุนธรรมชาติหายไป ลดลง สูญเสีย ขาดความสมดุลหากมนุษย์ขาดจริยธรรมและปัญญา  จะส่งผลให้ทุนทางธรรมชาติมีปัญหา  และในอนาคตอาจจะไม่มีทรัพยากรธรรมชาติให้เราได้ใช้ประโยชน์

          3.  ทุนมนุษย์กับทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี เช่น ทุนทางปัญญา ทุนทางความคิดสร้างสรรค์  ทุนทาง นวัตกรรม และทุนทางเครือข่ายจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องพึ่งพาทุนมนุษย์เช่นกัน

ประโยชน์ต่อตนเอง

          1. การดำรงชีวิตเป็นอยู่อย่างพอเพียง 

          2. การเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ  การทำงานเป็นทีม ปรึกษาผู้ที่มีประสบการณ์ 

          3. การทุมเทเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

ประโยชน์ต่อองค์กร 

          1. ประโยชน์ในด้านการวางแผนพัฒนากำลังคน   ให้มองคนเป็นสินทรัพย์เพื่อจะได้เพิ่มมูลค่าในด้าน คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ความสามารถ ทักษะการพัฒนากำลังคน

          2. มองให้เห็นคุณค่าของทุน/สินทรัพย์ที่มีอยู่  และนำมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด โดยมีหลักคุณธรรม จริยธรรม ความรู้และความสามารถ ทักษะ ความชำนาญเป็นการเสริมสร้างทุนที่มีอยู่เพื่อพัฒนาสังคมและองค์กรต่อไป 

          3.  ความชำนาญ เป็นการเสริมสร้างทุนมนุษย์ เพื่อการพัฒนาสังคม องค์กร และประเทศชาติอย่างยั่งยืน

นางปุญญาภา นิธิพิเชฐ (กลุ่มที่ 1)

สรุปประเด็น วิชาที่ 6 : การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

          การสร้างทุนความสุข  การทำงานอย่างมีความสุขต้องมีสติ (ควบคุมสติได้ดีตอนมีปัญหา) และอย่าใช้ความเครียดแก้ปัญหา เน้นที่ตัวเราให้ทำงานที่มีประสิทธิภาพอย่างมีความสุข รู้เป้าหมายการทำงานของตนเอง  รู้ความหมายของงาน  มีความสามารถที่ทำให้สำเร็จ  และที่สำคัญก็ต้องให้เกียรติแก่องค์กร  ตนเองและเพื่อร่วมงาน

          สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน 

          ปฏิบัติงานอย่างมีเป้าหมาย  และการสร้าง  passion -  purpose - meaning ให้กับงานที่รับผิดชอบ

 

สรุปประเด็นวิชาที่ 7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

         การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงาน  ผู้ปฏิบัติจะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบ/วิธีคิด เพื่อให้การสื่อสารภายในองค์กรดีขึ้น การพัฒนากระบวนการทำงาน  ขั้นตอนการทำงาน  (Work Process)  ควรมีการวิเคราะห์ให้ครบทุกขั้นตอน และพิจารณาว่าขั้นตอนไหนที่ควรนำระบบสารสนเทศมาใช้เพื่อการปฏิบัติงานที่เหมาะสม และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน 

การนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงานตามขั้นตอนการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล

 

สรุปประเด็นวิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรมและกรณีศึกษาของการพัฒนานวัตกรรมของงานสนับสนุน

         การบริหารจัดการนวัตกรรม (Innovation Management) โดยการปรับวิธีคิด  รูปแบบ การปรับกระบวนการภายใน การบริหารจัดการนวัตกรรมเป็นเรื่องของคนทุกคน  ทุกงาน  ทุกระดับในองค์กร  นวัตกรรมไม่ใช้ Product  นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการในองค์กร  จะต้องเน้นการบริหารงานอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ   

 สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน 

          การปรับลดกระบวนการทำงาน ให้กระชับ รวดเร็ว ทันทีและถูกต้อง  การปรับกระบวนการบริหารจัดการที่เพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

 

สรุปประเด็นวิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

          การใช้หลัก 9 MODULES ในการทำงาน ประกอบด้วย 1) ค้นหาต้นทุนความดีขององค์กร 2) ค้นหาความจริงขององค์กร 3) ตั้งเป้าหมายการกำหนดคุณธรรมเป้าหมาย 4) ร่วมกันกำหนดออกแบบ วิธีการดำเนินงาน 5) ลงมือปฏิบัติ หัวใจสำคัญอยู่ที่การลงมือทำ 6) จัดกระบวนการเรียนรู้ 7) ชื่นชมยกย่อง 8) สร้างระบบประเมินผล และ 9) สร้างเครือข่ายคุณธรรม

 

สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน 

การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ การใช้ความคิด กระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ  การเรียนรู้เพื่อส่วนรวม เน้นการปลูกจิตสาธารณะ ความรับผิดชอบต่อสังคม  การเรียนรู้เพื่อนำไปปฏิบัติ และการมีเป้าหมายในการทำงานส่งผลให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งความสุข  

กลุ่มที่  2

นางเกษร  อินทนะนก

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงานทุกรายวิชาในช่วงที่  3

รายวิชาที่  10  การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยการการคิดนอกและคร่อมกรอบ

          สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

                   1.  การพัฒนาความคิด  คือ การเปลี่ยนความคิด ทำให้ชีวิตเปลี่ยนแปลง  เมื่อมีการคิดค้นวิธีการใหม่ ๆ ผลลัพธ์ที่ได้ก็ย่อมแตกต่างไปจากเดิม  การคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ เป็นการฝึกให้เราเป็นนักคิด  กล้าคิด  กล้าลงมือทำ และก็จะส่งผลให้ชีวิตเราประสบความสำเร็จ

                   2.  กระบวนการคิดวิธีการใหม่

                             2.1 การคิดค้นวิธีการใหม่ ๆ   จะได้ผลลัพธ์แตกต่างไปจากเดิม

                             2.2  การคิดใหม่ ต้องลองลงมือทำไปเรื่อย ๆ  จนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

                             2.3  การบันทึกวิธีการที่ทดสอบแล้ว ได้ผลลัพธ์ดีที่สุด

                             2.4  การซ่อมแซมความคิด  ,เปลี่ยนแปลงวิธีการ ปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาอยู่เป็นระยะ

                   สรุป คือ  กระบวนการคิด  ลักษณะ เป็นแบบ  PDCA

                   3.  ขั้นตอนของการคิดให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี

                             3.1  การตั้งเป้าหมายไว้

                             3.2  คิดและเขียน ออกมาให้เยอะที่สุด

                             3.3  เลือกข้อดี และตั้งใจหาข้อดีของความคิด สิ่งที่จะได้ผลดีทั้งในปัจจุบันและอนาคต

                             3.4  การคาดการณ์เกี่ยวกับอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น 

                             3.5  การหาทางป้องกันไม่ให้อุปสรรคเกิดขึ้น 

 

          สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

                             1.  การแก้ไขปัญหา  โดยใช้สติปัญญา  เป็นการนำปัญหามาเป็นฐานในการแก้ไข หรือ นำปัญหา มาเรียนรู้  (Problem Bascd)   เป็นการใช้ความคิดในขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อหาวิธีการแก้ไขปัญหา และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                             2.  การฝึกให้เป็นคนชอบคิด   กล้าคิด และ หาวิธีการใหม่ๆ  ลักษณะ เหมือนการทำวิจัย  ซึ่ง เป็นการหาคำตอบอย่างมีเหตุผล และเป็นที่ยอมรับ

                             3.  การเป็นคนคิดบวก  ทำให้เราค้นพบความคิดดี ๆ อยู่เสมอ

 

รายวิชาที่  11  กลยุทธ์การบริหารลูกค้าของสายสนับสนุน

          สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

                             1.  การได้ใช้วิธีการบทบาทสมมุติในการเรียนรู้  ซึ่งเป็นวิธีการเรียนรู้อย่างหนึ่ง  ที่ทำให้เราเข้าใจบทบาทของหน้าที่แต่ละหน้าที่แตกต่างกันไป  และเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น

                             2.  เทคนิคการนำเสนอผู้บริหาร

                                      2.1  ทำให้ผู้บริหารรู้สึกว่าเป็นคนสั่งการให้เราทำ

                                      2.2  เมื่อต้องเสนอความคิดใหม่ ๆ ให้เสนอแบบถ่อมตน

                                      2.3  ในขณะที่นำเสนอความคิดใหม่ๆ ให้ถามความคิดเห็นของผู้บริหารถึงข้อดีที่จะเกิดขึ้น

                                      2.4  ขอคำแนะนำจากผู้บริหาร และให้หัวหน้าให้ข้อมูลเพิ่มเติม

                                      2.5  นำเสนอข้อมูลให้ครบถ้วนในสิ่งที่ผู้บริหารแนะนำและสั่งสอนทั้งหมด

                             3.  เทคนิคการสื่อสารวิธี 3 ช

                                      3.1 ชื่นชม

                                      3.2  เชิงบวก

                                      3.3  ชวนคิดต่อ

                  

          สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

                             1.  เข้าใจบทบาทการทำงานของแต่ละตำแหน่งและเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น

                             2.  ใช้เทคนิคในการนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้บริหาร

                             3.  ใช้เทคนิคในการสื่อสาร และประสานงานกับผู้อื่น

นางพรทิพย์ บุญจุน กลุ่มที่ 2

รายวิชาที่  10  การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยการการคิดนอกและคร่อมกรอบ

1. ทำและคิดโดยไม่มีข้อแม้

2. เมื่อมีโอกาสให้คว้าไว้ โดยไม่มีเงื่อนไข

3. มีแต่คนบ้าเท่านั้น ที่จะทำสิ่งเดิมซ้ำ ๆ  แต่กลับหวังผลลัพธ์ที่แตกต่าง

การคิดคร่อมกรอบ

1. คิดหาผลลัพธ์ที่ต่างจากเดิม

2. คิดให้ออก

     2.5 หยุดความคิดเขิงลบ

3. คิดหาข้อดีในแนวคิด

    3.5 คิดหาข้อดีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

4. คิดหาอุปสรรค ความกังวลที่มีต่อแนวคิด

5. คิดเลี่ยงข้อ 4 โดยการเปลี่ยนความคิดเดิม

ประโยชน์สำหรับตนเองและองค์กร

1. มีกรอบแนวคิดในการคิดนวัตกรรมใหม่ ๆ  ในการปรับปรุงงาน

2. การทำทุกอย่างโดยไม่มีข้อแม้


รายวิชาที่  11  กลยุทธ์การบริหารลูกค้าของสายสนับสนุน

1. การได้ใช้วิธีการบทบาทสมมุติในการเรียนรู้  ซึ่งเป็นวิธีการเรียนรู้อย่างหนึ่ง  ที่ทำให้เราเข้าใจบทบาทของหน้าที่แต่ละหน้าที่แตกต่างกันไป  และเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น

2.  เทคนิคการนำเสนอแนวคิดต่อผู้บริหาร

      2.1   ทำให้หัวหน้าสั่งให้คิด

      2.2   เสนอความคิดตามที่หัวหน้าสั่ง (ถ่อมตน)

      2.3   “ถาม” หัวหน้าถึงข้อดี

      2.4   ขอให้หัวหน้า “สอน” เพิ่มเติม

     2.5   เสนอแนวคิดเพ่ิ่ม ตามท่ี่หัวหน้าสั่ง/สอน

3. การแสดงออกถึงการไม่เห็นด้วยกับแนวคิดที่มีคนมานำเสนอ

    3.1 ชื่นชมที่เขามีความกล้าในการเสนอแนวคิด

    3.2 พูดชี้แจงในเชิงบวก

    3.3 ชวนให้ผู้นำเสนอแนวคิดเพิ่มเติม  ว่าควรจะทำอย่างไรจึงจะดี ไม่มีปัญหา

 

ประโยชน์สำหรับตนเองและองค์กร

1. สามารถใช้เทคนิคในการนำเสนอแนวคิดในการทำงานต่อผู้บริหาร

2. มีเทคนิคในการชี้แจงกับคนที่มีแนวคิดแตกต่าง

นางพรทิพย์ บุญจุน กลุ่มที่ 2

รายวิชาที่  6  การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

       ทุนทางความสุข เน้นที่ตัวเราให้ทำงานที่มีประสิทธิภาพอย่างมีความสุข และความสุขของครอบครัว สังคม และประเทศชาติ ก็จะเกิดขึ้นตามมาเอง โดยมองบนหลักแนวคิด 2 R’S มองความจริงและตรงประเด็น ทุนทางความสุขต้องมียุทธศาสตร์และมีข้อมูลเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ ทุนแห่งความสุขเป็นส่วนหนึ่งของทุนมนุษย์ โดยทุนมนุษย์และทุนแห่งความสุขเป็นทุนที่สำคัญสำหรับทุกคน โดยการสร้าง Happy Workplace ผู้บริหารและ HR ต้องสร้างบรรยากาศให้คนในองค์กรทำงานให้มีความสุข ส่วนทุนแห่งความสุขเป็นเรื่องส่วนบุคคล เกิดขึ้นเพราะชอบงานและมีความสุขที่ได้ทำงาน ซึ่งการที่มีทั้งบรรยากาศการทำงานที่ดี และคนทำงานก็มีความสุข จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อองค์กร

ทฤษฎีความสุข

1. ทฤษฎีความสุขแบบ++

2. ทฤษฎีความสุขแบบ+ -

3. ทฤษฎีความสุขแบบ  -+

4. ทฤษฎีความสุขแบบ - -

สิ่งที่มีประโยชน์ต่อตนเองและองค์กร

  • การมีความสุขขั้นพื้นฐาน การยึดหลักธรรมะ สามารถสร้างสรรค์ผลงานให้กับองค์กรได้
  • การคิดบวก  เพื่อยอมรับนโยบายของผู้บริหาร ในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย
  • การทำงานที่ต้องใช้จิต วิญญาณ ในการทำงาน   คือ การทำงานด้วยความชอบงาน  เข้าใจงาน แก้ปัญหางาน   ด้วยประสบการณ์  เพื่อให้งานออกมาดีที่สุด
  • " การปลูก" : Happiness capital เราต้องเตรียมสุขภาพกาย สุขภาพใจของตัวเองก่อน
  • งานสำเร็จมาจากการที่เราใส่ใจในงาน เกิดขึ้นเพราะมี passion ในการทำงาน มี purpose และรู้ meaning ของงาน

 

รายวิชาที่ 7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

  • ต้องรู้ work flow ก่อน แล้วเอาระบบมาช่วย
  • การปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการคิด ทำให้การสื่อสารภายในองค์ดกรดีขึ้น
  • อย่ายึดติดกับอดีต เพราะมีเทคโนโลยีเข้ามาทำให้เราต้องเปลี่ยนวิธีการคิด และการดำเนินชีวิต
  • เทคโนโลยีมีผลต่อวิถีชีวิตและการทำงาน

สิ่งที่มีประโยชน์ต่อตนเองและองค์กร

  • การใช้เทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการทำงาน  จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
  • การคิดค้นนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

 

รายวิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม

  • หลักการ kai zen (ความคิดสร้างสรรค์) 3 ข้อ  

      1. เลิก : เรื่องไม่จำเป็น เรื่องที่ไม่ทำก็ได้ เรื่องที่ทำหรือไม่ทำก็ได้ 

      2. ลด : การลงมือทำซ้ำ การแก้ไข การทำใหม่ 

      3. เปลี่ยน : เปลี่ยนขั้นตอน เปลี่ยนตำแหน่งการวาง เปลี่ยนวิธีเตรียมงาน เปลี่ยนขนาด เปลี่ยนวัตถุดิบ

สิ่งที่มีประโยชน์ต่อตนเองและองค์กร

    การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

 

รายวิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

           การมีแรงกระตุ้น/แรงปรารถนาอันแรงกล้าในการทำงาน (Passion) และการกำหนดเป้าหมาย (Purpose) รวมถึงการให้ความหมายกับตัวเองและคนรอบข้าง (Meaning) มีความสำคัญในการสร้างทุนทางคุณธรรมและจริยธรรม โดยต้องมีผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ  ผู้นำที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรม และผู้นำที่มีความเสียสละ เพื่อนำองค์กรไปสู่เป้าหมาย และนำเรื่องคุณธรรม 4.0 (พอเพียง มีวินัย สุจริต และมีจิตสาธารณะ) มาเป็นหลักยึดในการทำงาน ผ่านการเรียนรู้ทางกาย จิต และความคิด ตลอดจนใช้หลัก 9 MODULES ในการทำงาน ประกอบด้วย 1) ค้นหาต้นทุนความดีขององค์กร 2) ค้นหาความจริงขององค์กร 3) ตั้งเป้าหมาย 4) ร่วมกันกำหนดวิธีการ 5) ลงมือปฏิบัติ 6) จัดกระบวนการเรียนรู้ 7) ชื่นชมยกย่อง 8) สร้างระบบประเมิน และ 9) สร้างเครือข่ายคุณธรรม  การสร้างคุณค่าให้ตนเอง ค้นหาเสียงภายในตัวเอง และเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นหาเสียงของตน คือ purpose  passion & meaning ทำให้เราเป็นสุข

 

คุณธรรม จริยธรรม 4.0 ได้แก่     - พอเพียง    - มีวินัย    - สุจริต    - จิตอาสา

การเรียนรู้ 4 ประการ 1. การเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย  เน้นการใช้ความรู้ สร้างนวัตกรรม 2. เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ เน้นการใช้ความคิด กระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ 3. การเรียนรู้เพื่อส่วนรวม เน้นการปลูกจิตสาธารณะ และความรับผิดชอบต่อสังคม 4. การเรียนรู้เพื่อนำไปปฏิบัติ เน้นการทำโครงงานร่วมกัน

สิ่งที่มีประโยชน์ต่อตนเองและองค์กร

            นำมาปรับใช้ในการทำงานโดยการเรียนรู้จาก 9 MODULES ขององค์กร และนำไปวิเคราะห์และแก้ไขปรับปรุง ซึ่งอาจจะจัดทำโครงการพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม เพื่อปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกให้บุคลากรมีคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล อันจะนำไปสู่การทำงานที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งความสุข

วิชาที่ 10 การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยการคิดนอกและคร่อมกรอบ

          ได้เรียนรู้ถึง การคิดและทำอะไรโดยไม่มีข้อแม้ ทำให้เรากล้าที่คิดอะไรใหม่ ๆ  การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดใหม่และคิดไปเรื่อย ๆ นำความคิดใหม่ไปลงมือทำหากมีปัญหา ให้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ปรับความคิด  การคิดใหม่เมื่อนำไปปฏิบัติมีความตื่นเต้น ไม่น่าเบื่อ ทำให้เป็นแรงเสริมในการทำงาน รวมทั้งได้เรียนรู้ถึงเทคนิคและวิธีการนำเสนอความคิดใหม่ต่อหัวหน้างาน เพื่อให้ได้ผลที่ดี

          สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน 

          สามารถนำเทคนิคและวิธีการนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ใหม่ต่อหัวหน้างานไปปรับใช้ เพื่อให้เรามีรูปแบบ เทคนิค รวมถึงวิธีการในการนำเสนอความคิดใหม่ ๆ มีความรู้สึกว่า การคิดสร้างสรรค์หรือการคิดอะไรใหม่ ๆ ไม่จำเป็นต้องอยู่ในกรอบเดิม ๆ เพียงแต่เรากล้าคิดและนำเสนอความคิดนั้นต่อผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจจะสามารถนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานได้ในอนาคต

วิชาที่ 11 กลยุทธ์การบริหารลูกค้าของสายสนับสนุนและการสื่อสารที่ทรงประสิทธิภาพแบบ 360 องศา

          ได้เรียนรู้ถึง วิธีการสื่อสารแบบ 360 องศา แบบ 3 ช. คือ 1) ชื่นชมตัวบุคคลที่นำเสนอความคิด 2) เชิงบวก (ความคิด) 3) ชวนคิดต่อ กลยุทธ์การบริหารลูกค้าสายสนับสนุน โดยพิจารณาช่องว่างว่าอยู่ตรงไหน ใน 4 ประเด็น 1) ผู้บริหาร 2) นโยบาย 3) การนำนโยบายไปปฏิบัติ และ 4) การสื่อสารกับลูกค้า และแก้ปัญหาจุดที่เป็นช่องว่างนั้น เช่น ถ้าวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าผิดเพี้ยนไป การผลิตสินค้าและบริการก็จะไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ทำให้ลูกค้าลดน้อยลงหรือลูกค้าไม่ใช้บริการ ต้องคิดกำหนดนโยบายใหม่และนำไปปรับปรุงสินค้าและบริการ ซึ่งจะทำให้ลูกค้าพึงพอใจและใช้บริการเพิ่มขึ้น  

สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน 

สามารถนำความรู้ที่ได้ไปวิเคราะห์กระบวนการทำงานว่ามีปัญหาอยู่ที่ตรงไหนเพื่อนำไปพัฒนางานที่ทำอยู่ เช่น งานการแก้ไขปัญหาที่ดิน ซึ่งการดำเนินงานมีความล่าช้าเพราะหลายสาเหตุและปัจจัย ต้องมีการวิเคราะห์ใหม่ ว่า ผู้บริหารต้องทำอย่างไร นโยบายเหมาะสมหรือไม่ และราษฎรที่ได้รับผลกระทบทำอย่างไร เขาจึงให้ความร่วมมือ เป็นต้น นอกจากนี้ต้องมีการสื่อสารแบบ 360 องศา จะช่วยให้การทำงานราบรื่นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 

นางสาวอรวรรณ ธนูศร

กลุ่มที่ 1 : นางสาวอรวรรณ  ธนูศร 

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่นำมาปรับใช้ในการทำงาน ช่วงที่ 3 วิชาที่ 10—11

รายวิชาที่ 10 การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยการคิดนอกกรอบและคร่อมกรอบ

          สิ่งที่ได้จากการเรียน

  • คิดหรือทำโดยไม่มีข้อแม้  เกิดแรงกระตุ้นให้กล้าคิด เกิดความคิดใหม่
  • ลงมือทำซ้ำ เกิดปัญหา นำปัญหามีปรับใช้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ปรับเปลี่ยน เกิดการทำซ้ำ เกิดการเปลี่ยนแปลง
  • เกิดการเสริมแรง ปรับเปลี่ยนวิธีคิด

สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน

  • สามารถนำเทคนิคและวิธีการนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ใหม่ต่อหัวหน้างาน
  • มีรูปแบบ เทคนิค รวมถึงวิธีการในการนำเสนอความคิดใหม่ ๆ
  • การคิดสร้างสรรค์หรือการคิดอะไรใหม่ ๆ ไม่จำเป็นต้องอยู่ในกรอบเดิม ๆ เพียงแต่เรากล้าคิดและนำเสนอความคิดนั้นต่อผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจจะสามารถนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานได้ในอนาคต

 รายวิชาที่ 11 กลยุทธ์การบริหารลูกค้าของสายสนับสนุนและการสื่อสารที่ทรงประสิทธิภาพแบบ 360 องศา

          สิ่งที่ได้จากการเรียน

          วิธีการสื่อสารแบบ 360 องศา แบบ 3 ช. คือ

1) ชื่นชมตัวบุคคลที่นำเสนอความคิด

2) เชิงบวก (ความคิด)

3) ชวนคิดต่อ กลยุทธ์การบริหารลูกค้าสายสนับสนุน โดยพิจารณาช่องว่างว่าอยู่ตรงไหน

1) ผู้บริหาร

2) นโยบาย

3) การนำนโยบายไปปฏิบัติ

4) การสื่อสารกับลูกค้า  

 

สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน

สามารถนำความรู้ที่ได้ไปวิเคราะห์กระบวนการทำงานว่ามีปัญหาอยู่ที่ตรงไหนเพื่อนำไปพัฒนางานที่ทำอยู่ ต้องมีการสื่อสารแบบ 360 องศา จะช่วยให้การทำงานราบรื่นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 

อัจฉราภรณ์ กวมทรัพย์

รายวิชาที่  6  การพัฒนาการทำงานอย่างมีความสุขเพื่อการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ

การทำงานในองค์กรอย่างมีความสุขแล้ว จะทำให้ Productivity เพิ่มขึ้นร้อยละ 20

ปัจจัยทางลบของฝ่ายสนับสนุนถ้าเกิดขึ้น เกิดขึ้นเพราะอะไร ให้แยกระหว่างบุคคลและองค์กรให้ดี และมีข้อแนะนำลดปัจจัยทางลบได้อย่างไร

- การพูดเรื่องทุนแห่งความสุขต้องเน้น การนำไปปฏิบัติไม่ใช่นามธรรม   

- ทุนแห่งความสุขต้อง Authentic คือเป็นของแท้ไม่ใช่จอมปลอม และอยู่อย่างยั่งยืน

  • Happiness Capital ไม่ใช่แนวคิดแบบก้อน ๆ จะต้องเน้นเปรียบเทียบจาก Happy มาเป็น Happier หรือ เปรียบเทียบกับกลุ่มอื่น ๆ Relative Happiness Capital

สิ่งที่มีประโยชน์ต่อตนเองและองค์กร

  • การทำงานอย่างมีความสุข คือ ต้อง Calling แปลว่า เราทำเพราะหัวใจเราแสวงหา 
  • แล้วเราจะทำสุดฝีมือ แต่แค่เป็น Job หรืออาชีพเราก็จะไม่ประสบความสำเร็จ      
  • ทุนแห่งความสุข คือ สิ่งที่มนุษย์แต่ละคนควรจะมี ถ้ายังไม่มีก็จะไม่มีทุน ซึ่งต้องสร้างขึ้นมา 
  • งานสำเร็จมาจากการที่เราใส่ใจในงาน เกิดขึ้นเพราะมี passion ในการทำงาน มี purpose และรู้ meaning ของงาน

 

รายวิชาที่ 7 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูลของสถาบันอุดมศึกษา

  • เทคโนโลยีสารสนเทศ มีผลต่อการใช้ชีวิตและการทำงานเป็นอย่างมาก
  • ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานมีบทบาทสำคัญมากในการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการข้อมูล เช่น
  •  - กำหนดสารสนเทศที่ต้องการ โดยพิจารณาจากลักษณะงานหรือหน้าที่ของหน่วยงาน
  •  - พิจารณาเวลาที่ต้องใช้สารสนเทศนั้น เพื่อที่จะกำหนดเวลาในการรวบรวมประมวล และจัดทารายงานให้สอดคล้องกับเวลาที่ต้องการ
  •  - ทราบว่าจะหาสารสนเทศได้ที่ไหน (Where) จะเป็นแหล่งข้อมูลจากภายในหน่วยงานหรือ ภายนอก
  •  - เข้าใจว่าทำไม (Why) จึงต้องมีสารสนเทศนั้น การเก็บข้อมูลโดยไม่ทราบถึงเหตุผลและความจาเป็นอาจนาไปสู่การเก็บข้อมูลผิดประเภท หรือการมีข้อมูลมากเกินไปและไม่ได้นามาใช้
  •  - ทราบว่าผู้ใช้ (For whom) สารสนเทศคือใคร เพื่อจะได้จัดทารูปแบบในการนาเสนอให้เหมาะสม
  •  - จะใช้เครื่องมืออะไร (How) ในการเก็บรวบรวม ประมวล รักษาสารสนเทศ  สามารถเข้าใจความหมายของสารสนเทศที่หามาได้
  • สิ่งที่มีประโยชน์ต่อตนเองและองค์กร
  • การใช้เทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการทำงาน ตลอดจนการค้นหานวัตกรรม จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน บุคลากรจำเป็นต้อง
  • ต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงว่าจะมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามา  ปรับทัศนคติ เริ่มเรียนรู้
  • ผู้บริหารมีส่วนสำคัญในการเรียนรู้สู่ภาคปฏิบัติ ต้องมีสิ่งที่สนับสนุนตรงนี้
  • รายวิชาที่ 8 การพัฒนาองค์กรแห่งนวัตกรรม และกรณีศึกษาของการพัฒนานวัตกรรมของงานสายสนับสนุน
  • Innovation + Management  = Value + New + Implementation

     หลักการคือ เลิก ลด เปลี่ยน

          1. เลิก สิ่งที่ไม่จำเป็น ที่คนไม่ต้องการอีกแล้ว

          2. ลด อะไรที่ทำซ้ำ ให้ลดให้หมด ตรวจสอบซ้ำให้ลด  การลอกข้อความเดิมหรือเขียนใหม่หลายครั้ง

          3. เปลี่ยน เปลี่ยนขั้นตอนการทำงานให้สั้นลง เปลี่ยนให้คนมองเห็นมากขึ้น เปลี่ยนวิธีการเตรียมงานให้เร็วขึ้น เปลี่ยนขนาด เปลี่ยนวัตถุดิบ วัสดุที่ดีขึ้น

   สิ่งที่มีประโยชน์ต่อตนเองและองค์กร

    การค้นหานวัตกรรมใหม่ ๆ มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและการให้บริการผู้ใช้

 

รายวิชาที่ 9 การพัฒนาทุนทางคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล

         การทำงานอย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จมีความเหมือนกัน ให้เริ่มต้นด้วย Start with the end in mind ให้เริ่มด้วยจุดจบว่าต้องการเห็นอะไร จะไปไหน สิ่งที่เราจะหยิบยื่นให้สังคมเป็นอย่างไร สุดท้ายต้องการอะไร ต้องมี Purpose Passion and Meaning

          ทุกคนพ้นทุกข์ได้ด้วยความเพียร    

         มี Idol แล้วต้องมี I do

          คุณธรรม จริยธรรม 4.0 ได้แก่     - พอเพียง    - มีวินัย    - สุจริต    - จิตอาสา

          การเรียนรู้ 4 ประการ 1. การเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย  เน้นการใช้ความรู้ สร้างนวัตกรรม 2. เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ เน้นการใช้ความคิด กระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ 3. การเรียนรู้เพื่อส่วนรวม เน้นการปลูกจิตสาธารณะ และความรับผิดชอบต่อสังคม 4. การเรียนรู้เพื่อนำไปปฏิบัติ เน้นการทำโครงงานร่วมกัน

          สิ่งที่มีประโยชน์ต่อตนเองและองค์กร

        การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ การใช้ความคิด ความขยันหมั่นเพียร กระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ  การเรียนรู้เพื่อส่วนรวม เน้นการปลูกจิตสาธารณะ ความซื่อสัตย์สุจริต ความรับผิดชอบต่อสังคม  การเรียนรู้เพื่อนำไปปฏิบัติ  การมีสติสัมปชัญญะ  การมีความรับผิดชอบ  มีความสามัคคี และการมีเป้าหมายในการทำงานส่งผลให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งความสุข 

อัจฉราภรณ์ กวมทรัพย์

รายวิชาที่ 10 การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยการคิดนอกและคร่อมกรอบ

 การทำสิ่งเดิมแล้วคาดหวังว่าผลจะแตกต่างไปจากเดิม  คือ  ความบ้า 

ดังนั้น ถ้าอยากมีผลลัพธ์การทำงานที่แตกต่างจากเดิม มีผลลัพธ์ที่แตกต่างไปจากเดิมคือเราฟั่นเฟือน ดังนั้นเพื่อไม่ให้ฟั่นเฟือน เราต้องคิดต่อว่าทำอย่างไรเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ต่างไปจากเดิม

สิ่งที่มีประโยชน์ต่อตนเองและองค์กร

1. ผลลัพธ์ต่างไปจากเดิมคือจุดกำเนิดของการคิดสร้างสรรค์

2. การเห็นผลลัพธ์ที่ต่างจากเดิม คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้คิดต่างไปจากเดิม เช่น จับกลุ่มแนะนำตัวตาม วัน เดือน วันที่  พ.ศ. และให้มีการแนะนำทำความรู้จักกันมากขึ้น สามารถรู้ว่าใครอาวุโสกว่าใคร มีอะไรที่เหมือนกัน

3. ความคิดแตกต่างเหล่านี้มาได้อย่างไร .... มาจากการตั้งคำถาม แล้วนำไปทำ

4. การคิดใหม่คือคิดไปเรื่อย ๆ คิดและให้ออกมาดี และทุกครั้งที่ได้นำสิ่งใหม่ไปทำจะเกิดความตื่นเต้น การนำความคิดใหม่ไปลงมือทำ เป็นของเป็น

รายวิชาที่ 11 กลยุทธ์การบริหารลูกค้าของสายสนับสนุนและการสื่อสารที่ทรงประสิทธิภาพแบบ 360 องศา

การสื่อสารจากข้างล่างมาหาเรา ให้เราสื่อสารกลับไปด้วย วิธี 3 ช.

1. ชื่นชมที่เสนอความคิด

- ชื่นชมที่กล้า ให้มองไปที่ยาว ๆ ว่าอยากให้เสนอไอเดียใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง อย่ามองเฉพาะครั้งนี้ครั้งเดียว

- ชื่นชมที่ตัวบุคคล เช่น ชื่นชมที่กล้าเสนอความคิด

2. เชิงบวก

- ชื่นชมที่ความคิด เช่น ไอเดียนี้ก็ดีนะ ถ้าทำได้จะทำให้เดินทางไกลไม่ลำบากเกินไปนัก

3. ชวนคิดต่อ ให้สามารถเอาชนะในสิ่งที่ไม่เห็นด้วยได้ ซึ่งไอเดียไปต่อได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าเราไปฆ่าความคิดเขาหรือไม่ เขาอาจถอนความคิดเองโดยเราไม่ต้องไปฆ่าความคิดเขา ให้เขาคิดเอง เช่น ทำอย่างไรถึงอยู่ในงบประมาณได้ สามารถจัดการกับอาคารที่ไม่เอื้อได้

สิ่งที่มีประโยชน์ต่อตนเองและองค์กร

 การนำเสนอให้นำไอเดียที่สุกแล้วมานำเสนอ ไม่ใช่เอาไอเดียดิบ ๆ มาเสนอ เพราะไอเดียดิบจะเสมือนเป็นกระบวนการคิด แล้วอาจทำให้ปฏิเสธเมื่อเห็นไอเดียดิบ ๆ


ปุญญาภา นิธิพิเชฐ (กลุ่มที่ 1)

วิเคราะห์บทความครั้งที่  2

แนวหน้า ทุนในโลก  ทุนการเงินทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางวัตถุ หรือเทคโนโลยีได้

ประโยชน์ต่อ “ตัวเอง” คือ

1.  การสำรวจตัวเอง   ค้นพบ มีเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้น

2.  กล้าเข้าไปหาคนที่มีประสบการณ์ คนเก่ง  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้

3.  ทำให้ตื่นตัวในการเรียนรู้  ฟัง  เขียน และอ่านมากยิ่งขึ้น

4.  ทำให้สนใจสิ่งรอบข้างมากยิ่งขึ้น สังคม  เศรษฐกิจ และ

          ได้ประโยชน์ ต่อ  “องค์กร” คือ

         1. การเตรียมความพร้อมก่อน หรือการวางแผนที่ดีจะช่วยให้องค์กรรับมือกับอนาคตได้

          2. การมีจิตอาสาที่จะเข้าไปช่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยและส่งผลให้งานนั้นสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

          3. จะนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ให้เพื่อนร่วมงานรับทราบและร่วมกันพัฒนามหาวิทยาลัยต่อไป

ปุญญาภา นิธิพิเชฐ (กลุ่มที่ 1)

วิชาที่ 10การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยการคิดนอกและคร่อมกรอบ

การพัฒนาความคิด คือ การเปลี่ยนความคิด ทำให้ชีวิตเปลี่ยนแปลง  เมื่อมีการคิดค้นวิธีการใหม่ ๆ ผลลัพธ์ที่ได้ก็ย่อมแตกต่างไปจากเดิม การคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ เป็นการฝึกให้เราเป็นนักคิด กล้าคิด  กล้าลงมือทำและก็จะส่งผลให้ชีวิตเราประสบความสำเร็จ 

การคิดและทำอะไรโดยไม่มีข้อแม้ทำให้เรากล้าที่คิดอะไรใหม่ ๆ  การคิดริเริ่มสร้างสรรค์คิดใหม่และคิดไปเรื่อย ๆ นำความคิดใหม่ไปลงมือทำหากมีปัญหา ให้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงปรับความคิด 

กระบวนการคิดวิธีการใหม่  จะได้ผลลัพธ์แตกต่างไปจากเดิม ต้องลองลงมือทำไปเรื่อยๆ  จนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

          สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน 

         การนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ใหม่ต่อหัวหน้างานไปปรับใช้เพื่อให้เรามีรูปแบบ เทคนิค กล้าคิดและนำเสนอความคิดนั้นต่อผู้เกี่ยวข้องที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานได้ในอนาคต

 

รายวิชาที่  11  กลยุทธ์การบริหารลูกค้าของสายสนับสนุน

 

         การสื่อสารแบบ 360 องศา แบบ 3 ช.คือ

1) ชื่นชมตัวบุคคลที่นำเสนอความคิด

2) เชิงบวก (ความคิด)

3) ชวนคิดต่อ กลยุทธ์การบริหารลูกค้าสายสนับสนุน

         เทคนิคการนำเสนอผู้บริหาร

                   1) ทำให้ผู้บริหารรู้สึกว่าเป็นคนสั่งการให้เราทำ

                     2)  เมื่อต้องเสนอความคิดใหม่ ๆให้เสนอแบบถ่อมตน

                     3)  ในขณะที่นำเสนอความคิดใหม่ๆให้ถามความคิดเห็นของผู้บริหารถึงข้อดีที่จะเกิดขึ้น

                     4)  ขอคำแนะนำจากผู้บริหารและให้หัวหน้าให้ข้อมูลเพิ่มเติม

                     5)  นำเสนอข้อมูลให้ครบถ้วนในสิ่งที่ผู้บริหารแนะนำและสั่งสอนทั้งหมด

สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน 

การวิเคราะห์กระบวนการทำงานว่ามีปัญหาอยู่ที่ตรงไหนเพื่อนำไปพัฒนางานที่ทำอยู่  และการสื่อสารแบบ 360องศา จะช่วยให้การทำงานราบรื่นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 

อุทัย ศิริคุณ กลุ่ม 3

สรุปบทความ

4 ทุนในโลก, ทุนการเงิน, ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ, ทุนทางวัตถุ หรือเทคโนโลยี แต่สำคัญสุด ทุนมนุษย์

ประโยชน์ต่อตัวเอง

          1.รู้จักหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ เพื่อเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น และรู้ทันการเปลี่ยนแปลง

          2.การเรียนรู้ไม่มีสิ้นสุด เราสามารถแสวงหาความรู้ได้จากหลายๆแหล่ง เช่น ถามผู้รู้ อ่านจากหนังสือ หรือสื่อต่างๆ

          3.จงอย่าใช้ชีวิตประมาท ไม่ว่าจะดำรงตำแหน่งหรือหน้าที่การงานใด ยิ่งเป็นผู้บริหารต้องรู้จักถ่อมตน เอาใจเขามาใส่ใจเรา

          4.ต้องรู้จักให้กำลังใจตนเองและผู้อื่น เมื่อใครมีความคิดดีดี เราควรส่งเสริม

ประโยชน์ต่อองค์กร

          1.เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

          2.รู้จักตัวเอง รู้จักผู้อื่น สู่การทำงานเป็นทีม

          3.การเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาของบุคลากรทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ในการพัฒนาองค์กร

          4.บุคลากรในองค์กรมีแรงบันดาลใจในการทำงาน ทำให้การทำงานมุ่งสู่เป้าหมายขององค์กรและประสบผลสำเร็จได้

 

การนำแนวคิดมาปรับใช้

          1.ต้องพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ

          2.เปิดใจรับสิ่งใหม่ เปิดโลกทัศน์ให้กว้าง ยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลง

          3.รู้จักให้กำลังใจตัวเองและผู้อื่น

          4.การทำงาน แบบ Teamwork

          5.แม้ว่าตัวเองจะประสบความสำเร็จแล้ว ต้องรู้จักช่วยเหลือแบ่งปันผู้อื่น และสร้างประโยชน์ให้กับองค์กร

               

อุทัย ศิริคุณ กลุ่ม 3

บทความ Coach Jimmy เชิญ Marshall Gold Smith มาเมืองไทย

       การเป็นผู้นำที่ดีต้องนั่งอยู่ในใจคน อย่าหลงตน ผู้นำที่ดีต้องรู้จักถ่อมตัว และต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ มองโลกในแง่ดี และการที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องอาศัยการศึกษาเรียนรู้ตลอดเวลา คอยเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ เพื่อนำมาพัฒนาแนวคิดการทำงาน

การประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน

        การจุดประกายและสร้างแรงบันดาลใจมีการเรียนรู้ตลอดเวลา  สามารถนำมาพัฒนาองค์ให้เจริญก้าวหน้าต่อไป สามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานเป็นทีม และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆให้กับนำหลักการต่างๆ มาปรับใช้ในการพัฒนาทีมงาน พัฒนาคณะฯ และมหาวิทยาลัยได้ 

 

อุทัย ศิริคุณ กลุ่ม 3

บทความ Coach Jimmy เชิญ Marshall Gold Smith มาเมืองไทย

       การเป็นผู้นำที่ดีต้องนั่งอยู่ในใจคน อย่าหลงตน ผู้นำที่ดีต้องรู้จักถ่อมตัว และต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ มองโลกในแง่ดี และการที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องอาศัยการศึกษาเรียนรู้ตลอดเวลา คอยเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ เพื่อนำมาพัฒนาแนวคิดการทำงาน

การประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน

        การจุดประกายและสร้างแรงบันดาลใจมีการเรียนรู้ตลอดเวลา  สามารถนำมาพัฒนาองค์ให้เจริญก้าวหน้าต่อไป สามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานเป็นทีม และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆให้กับนำหลักการต่างๆ มาปรับใช้ในการพัฒนาทีมงาน พัฒนาคณะฯ และมหาวิทยาลัยได้ 

 

สุกัญญา กุตเสนา กลุ่มที่ 4

บทความ  CoachJimmy เชิญ Marshall GoldSmith มาเมืองไทย

 ประโยชน์ที่ได้จากบทความดังนี้

1.     ต่อตนเอง คือ การสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะประสบความเสร็จแล้วก็ตามก็อย่าประมาท

2.      ต่อองค์กร คือการทำงานเราต้องสร้างแรงบันดาลใจให้กับตนเองและเพื่อนงานในการพัฒนางานให้สนุกกับงานที่ทำต่อให้เจองานยากแค่ไหนมันจะกลายเป็นความท้าทายและเดินไปสู่เป้าหมายด้วยกันโดยการอย่าหลงตัวเอง

สุวารี คลองโคน กลุ่ม 1

วิเคราะห์บทความ Coach Jimmy เชิญ Marshall GoldSmith มาเมืองไทย

การได้เรียนรู้และศึกษาจากคนเก่งๆ ในโลก ซึ่งเป็นต้นแบบแห่งความสำเร็จ  เป็นโอกาสที่เราได้จะได้เรียนรู้ซึมซับและศึกษาประสบการณ์จากสิ่งที่ดีๆจากคนที่ประสบความสำเร็จ  ส่งผลให้ตัวเราเกิดการพัฒนาด้านความคิดเปิดมุมมองใหม่ เปิดโลกทัศน์และปรับตัวปรับพฤติกรรมด้านความคิดที่มาจากข้างใน เราต้องมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและเตรียมพร้อมในด้านต่าง ๆ ไม่ปิดกั้นโอกาสรับสิ่งที่ดีใหม่ๆเข้าทำเพื่อรับกับสถานการณ์ที่เป็นปัจจุบันและสอดคล้องกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป การเปิดรับโอกาสดี ๆ เข้ามาจะเป็นแรงผลักดันในการทำงานให้ประความสำเร็จเกิดการเรียนรู้เกิดพัฒนาการที่ก้าวหน้าส่งผลให้องค์กรมีการพัฒนาด้วยและเป็นไปอย่างยั่งยืน

นางเกษร อินทนะนก กลุ่มที่ 2 สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงานวันที่ 22 -23 ส.ค. 2560

กลุ่มที่  2

นางเกษร  อินทนะนก

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงาน  วันที่ 22 – 23  สิงหาคม  2560

 ณ  มหาวิทยาลัยรังสิต

            สิ่งที่ได้เรียนรู้ในการศึกษาดูงาน

  • ผู้นำมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล  ส่งผลให้องค์กรสามารถรับมือกับทุกสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที  และเป็นการวางแผนอนาคตได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
  • การนำระบบดิจิตอลที่ล้ำสมัยมาใช้ในการบริหารจัดการทั้งด้านการเรียนการสอนและการทำงาน เป็นสิ่งจำเป็นในยุคปัจจุบัน
  • การแบ่งภาระงาน โดยดูจากลักษณะของงาน และคำนึงถึงผู้ใช้บริการเป็นหลัก
  • การดูแลพนักงาน รวมถึงการให้ขวัญและกำลังใจในการทำงาน เป็นสิ่งสำคัญในองค์กร เพราะทุนมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด มนุษย์สร้างสรรค์ทุกอย่างได้ และการสร้างสรรค์สิ่งมหัศจรรย์ต่าง ๆ บนโลกใบนี้ มักมาจากมนุษย์ที่รู้สึกศรัทธาองค์กร  เชื่อมั่นในองค์กร

สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน

  • การเตรียมความพร้อมอยู่ตลอดเวลา  เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง  และพร้อมในการบริหารจัดการเพื่อให้กระบวนการทำงานเกิดขึ้นได้ทันที
  •  การสร้างสรรค์งาน และออกแบบงาน เป็นความคิดที่เกิดจากคนคิดบวก สิ่งสำคัญคือ การได้มีส่วนช่วยเหลือสังคมอย่างจริงใจ 
  • การสรรหาข้อมูลในการทำงาน เป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งที่ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ เนื่องจากการได้มาซึ่งข้อมูล  ขึ้นอยู่กับความสามารถ และการเลือกใช้กระบวนการที่

 

ณ  บริษัท ยูนิลิเวอร์ จำกัด (มหาชน)

            สิ่งที่ได้เรียนรู้ในการศึกษาดูงาน

                        1.การอบรมความรู้ต่างๆ ที่องค์กรปลูกฝังให้กับพนักงาน  เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าอย่างยิ่ง เพราะความรู้ที่พนักงานได้สังเคราะห์ออกมา ส่งผลให้องค์กรมีการพัฒนาและมีความเจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง

                        2.  การใช้เทคโนโลยีในการสร้างเครือข่าย ถือเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของบุคคลและองค์กรไปพร้อม ๆ กัน

                        3.  การศึกษาข้อมูลของลูกค้า  เป็นสิ่งสำคัญยิ่งเพื่อการพัฒนาสินค้าและบริการ ที่ตอบสนองและตรงกับความต้องการของผู้ใช้สินค้า  และบ่อยครั้งที่มักจะเจอกับอุปสรรค เพราะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ก็มักจะมีผลกระทบเสมอ  สิ่งสำคัญคือ ต้องต่อสู้กับปัญหาต่าง ๆ รวมถึงมีกระบวนการในการนำเสนอ  ใช้ระยะเวลาที่เหมาะสม  และมีสติปัญญาในการให้ทุกคนเห็นข้อดีในการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น

 

สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน

  •  การให้ความสำคัญกับโครงการอบรมต่าง ๆ ที่องค์กรจัดให้ และมีการหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความรู้อย่างสมบูรณ์ และนำไปปฏิบัติได้จริงในการทำงาน
  • การเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ ในการทำงาน การลองใช้เครื่องมือ หรือนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยให้การทำงานสำเร็จเร็วยิ่งขึ้น 
  • การใส่ใจในการทำงาน ยึดหลักผู้ใช้บริการ  เพื่อนำไปสู่กระบวนการคิดค้นนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยในการทำงานและช่วยให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกสบายทั้ง 2 ฝ่าย  เป็นการพัฒนาองค์กรอย่างหนึ่ง

  

ณ  ธนาคารกสิกรไทย สำนักงาเมืองทองธานี

            สิ่งที่ได้เรียนรู้ในการศึกษาดูงาน

  •  ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาในการสื่อสารที่เข้าใจและได้ใจความที่สุดในยุคปัจจุบัน
  • การจัดบรรยากาศในการทำงาน  ที่เอื้อและอำนวยความสะดวกทุกอย่างในการทำงาน ส่งให้พนักงานมีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน และมีผลงานที่น่าชื่นชมให้กับองค์กร
  • การใส่ใจรายละเอียดของลูกค้า  เป็นที่มาของการเกิดนวัตกรรมต่าง ๆ ที่องค์กรพยายามให้สิ่งที่ดีที่สุด  ที่สะดวกที่สุด กับลูกค้า   (ลูกค้า สำคัญที่สุด)
  • การมองเห็นในสิ่งที่คนอื่นคิดไม่ถึง  เป็นสิ่งที่ทำให้องค์กรการก้าวหน้า และพัฒนา อยู่เสมอ

 

สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน

  • การศึกษาภาษาอังกฤษด้วยตนเองอย่างจริงจัง ในการอ่าน  สื่อสาร และการเขียน เพื่อใช้ในการทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • การคำนึงถึงการให้บริการ บุคลากร  นิสิต และอาจารย์  เพื่อนำมาวิเคราะห์ในการคิดค้นนวัตกรรม หรือ กระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกยิ่งขึ้น
  • การจัดโต๊ะ และ มุมมองใหม่ ๆ ในการทำงาน  เพื่อให้มีสมาธิในการทำงาน
  • การวางแผนการทำงานล่วงหน้า   คาดการณ์ในสิ่งที่เกิดขึ้น และ มีกระบวนการในการรับมือกับสถานการณ์ไว้ให้พร้อม 
พรทิพย์ บุญจุน กลุ่มที่ 2

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงาน  วันที่ 22 – 23  สิงหาคม  2560

ณ  มหาวิทยาลัยรังสิต

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในการศึกษาดูงาน

·       การทำงานร่วมกันเพื่อช่วยเหลือสังคม

·       การให้ความรู้แก้ไขปัญหาของชุมชน

·       การพัฒนารายวิชาใหม่ ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง

·       การพัฒนานวัตกรรมเพื่อพัฒนางาน

·       ผู้นำมีวิสัยทัศน์กว้างไกล  ส่งผลให้องค์กรสามารถรับมือกับทุกสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที  และเป็นการวางแผนอนาคตได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

·       การนำระบบดิจิตอลที่ล้ำสมัยมาใช้ในการบริหารจัดการทั้งด้านการเรียนการสอนและการทำงาน เป็นสิ่งจำเป็นในยุคปัจจุบัน

·       การสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานแก่บุคลากร เป็นสิ่งสำคัญในองค์กร เพราะทุนมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด การสร้างสรรค์สิ่งมหัศจรรย์ต่าง ๆ บนโลกใบนี้ มักมาจากมนุษย์ที่รู้สึกศรัทธาองค์กร  เชื่อมั่นในองค์กร

สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน

·         การฝึกความพร้อม  เพื่อรองรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง  และพร้อมในการบริหารจัดการ

·         การพัฒนานวัตกรรมเพื่อพัฒนา 

  บริษัท ยูนิลิเวอร์ จำกัด (มหาชน)

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในการศึกษาดูงาน

·       การให้ความรู้แก่บุคลากร  เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ส่งผลให้องค์กรมีการพัฒนาและมีความเจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง

·       การสร้างเครือข่าย เป็นความสำเร็จของบุคคลและองค์กรไปพร้อม ๆ กัน

·       การรับรู้ข้อมูลของลูกค้า  เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยพัฒนาสินค้าและบริการ ให้สามารถตอบสนองและตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด 

·       เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ก็มักจะมีผลกระทบเสมอ  สิ่งสำคัญคือต้องห้ทุกคนเห็นข้อดีในการเปลี่ยนแปลง 

สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน

·          การหาความรู้เพิ่มเติม และนำไปปฏิบัติได้จริงในการทำงาน

·          การลองใช้เครื่องมือ หรือนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

·          การทำงานโดยยึดหลักความต้องการของผู้รับบริการ   

 

ธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเมืองทองธานี

        สิ่งที่ได้เรียนรู้ในการศึกษาดูงาน

·         การจัดบรรยากาศในการทำงาน  ที่เอื้อและอำนวยความสะดวกทุกอย่างในการทำงาน ส่งให้พนักงานมีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน และมีผลงานที่น่าชื่นชมให้กับองค์กร

·         การใส่ใจรายละเอียดของลูกค้า  เป็นที่มาของการเกิดนวัตกรรมต่าง ๆ

 

สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน

·         การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ

·         การคิดค้นนวัตกรรม หรือ กระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกยิ่งขึ้น

 

นางสาวอรวรรณ ธนูศร

กลุ่มที่ 1  นางสาวอรวรรณ  ธนูศร

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงาน ณ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 22-23 สิงหาคม 2560

  • มหาวิทยาลัยรังสิต

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในการศึกษาดูงาน

  • ผู้นำองค์กรต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล  กล้าที่จะคิด กล้าที่จะทำ กล้าที่จะลงทุน กล้าที่จะคิดนอกกรอบ เพื่อนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ ตามพันธกิจและวิสัยทัศน์ขององค์กร
  • ผู้นำองค์กรต้องเป็นผู้ที่รู้จักให้ โดยให้ความสำคัญกับบุคลากรในองค์กรในทุกๆ เรื่อง ให้ความเชื่อถือ ให้โอกาส ให้ความเป็นอิสระ ให้กำลังใจ ให้การสนับสนุน เพื่อพัฒนาองค์กรไปพร้อมๆ กัน เพราะทุนมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

3)       สร้างและปลูกฝังให้บุคลากรมีการพัฒนานวัตกรรมเพื่อพัฒนางาน และนำมาใช้ในการเรียนการสอน และพัฒนาองค์กรไปพร้อมกัน

4)       สร้าง/พัฒนาหลักสูตร/ออกแบบรายวิชาใหม่ ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะสายวิชาชีพ     

สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน

1)      สร้างแนวคิด /แรงจูงใจในการวางแผนพัฒนาองค์กร

2)      เกิดแรงจูงใจในการพัฒนางานเดิม ๆ ที่ทำอยู่ให้เกิดเป็นนวัตกรรม

3)      เตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองตลอดเวลา

4)      มีความคิดเชิงบวก มององค์กรเป็นที่ตั้ง พัฒนาไปพร้อมๆกัน

 

2)      บริษัท ยูนิลิเวอร์ จำกัด (มหาชน)

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในการศึกษาดูงาน    

  • การใช้เทคโนโลยีในการสร้างเครือข่าย เพื่อพัฒนาองค์กร

2)      การให้ความรู้แก่บุคลากร ปลูกฝั่งให้รัก เข้าใจองค์กร สร้างและเป็นส่วนร่วมกับองค์กร เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ส่งผลให้องค์กรมีการพัฒนาและมีความเจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง

3)      การสร้างเครือข่าย เป็นความสำเร็จของบุคคลและองค์กรไปพร้อม ๆ กัน

4)      ทุกคนในองค์กรต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงและพร้อมจะปรับเปลี่ยนตัวเองตลอดเวลาเพื่อพาองค์กรไปพร้อมๆกัน

สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน

1)     ปรับตัวเอง และเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาพัฒนาตนเองและองค์กรไปพร้อมๆ กัน

2)  คิดเชิงลุก อย่าแต่รอโอกาส ให้เดินไปหาโอกาสที่เปิดรอเราอยู่

3)        ใช้เครื่องมือ หรือนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยให้การทำงานสำเร็จเร็วยิ่งขึ้น 

4)    ปรับกระบวนการแนวคิดเพื่อพัฒนางานตนเองให้ดีเลิศ

 

3) ธนาคารกสิกรไทย สำนักงานเมืองทองธานี

      สิ่งที่ได้เรียนรู้ในการศึกษาดูงาน

  • ให้อิสระในการทำงาน
  • ให้โอกาส ให้สร้างและคิดงานเชิงนวัตกรรม เพื่อพัฒนาองค์

3)      การสร้างทีมงาน

4)      การเอื้อและอำนวยสถานที่ ทุกอย่างพร้อมสำหรับการทำงานของบุคลากร ให้ความสำคัญ ส่งให้พนักงานมีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน และมีผลงานที่น่าชื่นชมให้กับองค์กร

5)      การใส่ใจรายละเอียดของลูกค้า  เป็นที่มาของการเกิดนวัตกรรมต่าง ๆ ที่องค์กรพยายามให้สิ่งที่ดีที่สุด  ที่สะดวกที่สุด กับลูกค้า   (ลูกค้า สำคัญที่สุด)

6)      คิดนอกกรอบ เห็นในสิ่งที่คนอื่นไม่เห็น นำมาพัฒนางานเป็นให้เป็นนวัตกรรม ทำให้องค์กรก้าวหน้า และพัฒนา อยู่เสมอ

สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน

1)      คำนึงถึงการให้บริการ บุคลากร  นิสิต และอาจารย์  เป็นหลัก

2)      พัฒนานาเอง ปรับกระบวนการคิดให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

3)      ปรับกระบวนการทำงานเดิม ๆ ให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ในงาน เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกยิ่งขึ้น

 

กรรณิการ์ แซ่หยี (กลุ่มที่ 3)

วิชาที่ 1  ปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีที่สำคัญเพื่อการเรียนรู้และข้อคิดเพื่อการพัฒนา

สรุปประเด็นสำคัญ  การร่วมกันพัฒนามหาวิทยาลัยทักษิณจะต้องเกิดจากความร่วมมือของบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนที่คิดร่วมกัน คือ Learning how to learn คือการคิดตามความจริงในปัจจุบัน วางเป้าหมายร่วมกัน ร่วมกันสร้างคุณค่า ทำให้มหาวิทยาลัยทักษิณมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก โดยการกระตุ้นเกิดการคิดร่วมกันภายใต้ทฤษฎี Reality และ Relevance  2 R’s

การนำไปปรับใช้ในการทำงาน นำแนวคิดการทำงานร่วมกันเป็นทีมมาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้งานที่ได้รับมอบหมายเกิดประสิทฺธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น และเกิดเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้

 

วิชาที่ 2  Learning Forum & Workshop  หัวข้อ ภาวะผู้นำทัศนคติ (Mindset) และการทำงานในยุคที่โลกเปลี่ยน

สรุปประเด็นสำคัญ  การเป็นผู้นำและการเป็นผู้จัดการ  “Managing is doing thinks right, Leadership is doing the right things”  ซึ่งการเป็นผู้นำมุ่งเน้นสร้างคุณค่าเกิดความคุ้มค่า  (มองถึงอนาคตของหน่วยงาน) ส่วนผู้จัดการเน้นการปฏิบัติตามหน้าที่ตามระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ในภาวะผู้นำและผู้จัดการบางครั้งอาจทับกันอยู่ในบางบทบาทหน้าที่ การเป็นผู้นำที่ดีจะต้องเป็นผู้จัดการ(นักบริหารจัดการที่ดีมาก่อน)  ทฤษฎี3วงกลม จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จหากวงกลมทั้ง 3 สามารถซ้อนทับกันได้คือ Motivation  Competencies  และ Happy Workplace  ซึ่งเป็นการพัฒนาศักยภาพคนโดยใช้แรงจูงใจและทำให้เกิดความรู้ในการทำงาน Mindset เป็นตัวแปรทางความคิดของคนแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ Fixed mindset และ Growth mindset  ซึ่งหากมี Mindset เป็นแบบ Fixed จะมีการพัฒนาที่นิ่งไม่โตเนื่องจากไม่ชอบความท้าทาย   ส่วน Mindset แบบ  Growth  จะมีการพัฒนาที่ดีเนื่องจากมีความเชื่อว่าทำได้ลองทำสิ่งที่ท้าทาย ซึ่งหากปรับ mindset ของคนในองค์กรโดยการปรับพฤติกรรม ทัศนคติ ได้ จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ

การนำไปใช้ในการทำงาน นำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานโดยการกระตุ้นให้คนในองค์กรเกิด Mindsetแบบ Growth ให้มากขึ้น

 

วิชาที่ 3   การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3V (Value added- Value Creation – Value Diversity)

สรุปประเด็นสำคัญ  การสร้างนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าโดยใช้ทฤษฎี 3 V ได้แก่  Value added (สร้างมูลค่าเพิ่ม)   Value Creation (สร้างคุณค่าใหม่)  Value Diversity (สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย)   ซึ่งการสร้างนวัตกรรมนั้นจะต้องดูวิสัยทัศน์  และยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยประกอบด้วยเพื่อให้นวัตกรรมชิ้นนั้นสามารถสร้างคุณค่าและเกิดประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยทักษิณ

การนำไปใช้ในการทำงาน  นำแนวคิด 3 V มาใช้ในการพัฒนางานที่ได้รับมอบหมายโดยการสร้างคุณค่าจากงานประจำที่ได้รับมอบหมายให้เกิดคุณค่าที่ตอบสนองตามวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยทักษิณ

 

วิชาที่ 4   Learning  Forum  หัวข้อ “การสร้างและบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ”

สรุปประเด็นสำคัญ  การสร้างทีมที่ดี ควรเริ่มจากการมีเป้าหมายเดียวกัน ลงมือทำร่วมกันตามเป้าหมายและแผนที่กำหนดโดยการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและมีการทำงานด้วยกันอย่างมีความสุข ตามทฤษฎี DANCE TEAMWORK  โดยผู้นำจะต้องรู้ที่มาของพฤติกรรมที่แสดงออกของแต่ละบุคคลเพื่อจะได้สามารถปรับพฤติกรรมหรือวิธีการเพื่อให้บุคคลเหล่านั้นสามารถปฎิบัติงานดีและมีประสิทธิภาพ

การนำไปใช้ในการทำงาน  นำหลักการทำงานเป็นทีม DANCE TEAMWORK มาใช้ในการทำงานร่วมกันกับบุคลากรภายในองค์กรโดยการสร้างแรงจูงใจในการทำงานโดยการทำงานร่วมก้นเป็นทีมโดยไม่ยึดติดกับอดีตและอนาคต  และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในองค์กรให้ทำงานร่วมกันได้

 

วิชาที่ 5   Learning Forum & Workshop  หัวข้อ “การบริหารความขัดแย้งและการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์”

สรุปประเด็นสำคัญ  การบริหารความขัดแย้งและพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้วยการสร้างความรู้สึกเชิงบวกทั้งทางคำพูด ภาษากาย การปรับเปลี่ยนมุมมอง การเชื่อว่าทุกอย่างต้องเป็นไปได้ทำได้  การบริหารทีมโดยใช้การทำงานร่วมกัน สร้างเป้าหมายเดียวกัน มีการแบ่งงานกันทำ  การคิดร่วมกัน การทำงานโดยการมองข้ามความขัดแย้ง  การจัดการความขัดแย้ง คือ การหลีกเลี่ยงการกระทำหรือสิ่งที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง   สร้างความร่วมมือกันระหว่างเพื่อนร่วมงาน  การสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกัน  การหาจุดร่วมในการทำงาน  โดยการทำงานโดยการคุยกัน

การนำไปปรับใช้ในการทำงาน  การนำหลักการบริหารความขัดแย้งมาใช้ในการทำงานร่วมกันภายในองค์กรเพื่อให้งานขององค์กรประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ร่วมกัน  และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

 

การวิเคราะห์บทความ “Coach Jimmy เชิญ Marshall GoldSmith มาเมืองไทย”

ประโยชน์ที่ได้รับต่อตัวเอง

1.   การที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องอาศัยการศึกษาเรียนรู้ตลอดเวลา คอยเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ เพื่อนำมาพัฒนาแนวคิดการทำงาน

2.  การเป็นผู้ประสบความสำเร็จหากหลงตัวเองอาจจะล้มเหลวอีกก็ได้

3.  หากต้องการเป็นผู้นำที่ดีควรปรับอุปนิสิตตัวเองโดยเอาอุปนิสัยทีไม่ดีออกไปเช่น การคิดว่าตัวเองสำคัญที่สุด  คิดว่าฉลาดที่สุด เก่งที่สุด การแสดงออกทางอารมณ์

ประโยชน์ที่ได้รับต่อองค์กร  นำข้อคิดจากบทความมาใช้ในการปรับปรุงการพัฒนางานโดยการไม่หยุดที่จะเรียนรู้ ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในสิ่งใหม่ ๆ ตลอดเวลาเพื่อให้สามารถก้าวทันโลกและเทคโนโลยี เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้มาพัฒนางานและองค์กรต่อไป  และนำแนวคิดการเป็นผู้นำที่ดีมาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดการทำงานเป็นทีมทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการทำงาน

 

อัจฉราภรณ์ กวมทรัพย์ (กลุ่ม4)

สิ่งที่ได้จากการอ่านบทความ เรื่อง “บทความจากความจริง 4 ทุนในโลก”

          ทุนในโลก 4 ทุน ได้แก่ 

          1) ทุนทางการเงิน 

          2) ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ 

          3) ทุนทางวัตถุหรือเทคโนโลยี  

          4) ทุนมนุษย์ โดยทุนที่ต้องให้ความสำคัญอันดับแรก คือ ทุนมนุษย์ เพราะเป็นจุดเกิดของทั้งปัญหาและการพัฒนา ที่ต้องให้ความสำคัญลำดับต่อมา คือ ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ที่ต้องช่วยกันดูแลและให้ความสำคัญเพราะเป็นทั้งแหล่งอาหารและสิ่งที่จะส่งผลต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของมนุษย์ ต่อมาทุนทางการเงิน เป็นเรื่องที่ต้องตั้งอยู่บนฐานการยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เป็นทุนที่ยั่งยืน และสุดท้ายทุนทางเทคโนโลยี ต้องเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ในการใช้ชีวิตและการทำงาน

          สิ่งที่นำไปปรับใช้ในการทำงาน 

          - ให้ความสำคัญกับทุนมนุษย์ โดยยึดหลักแนวคิด 2 R’S มองความจริงและตรงประเด็น เพื่อจะได้เข้าใจถึงข้อมูลทรัพยากรบุคคลขององค์กรที่มีอยู่ ทำให้สามารถร่วมกันวางแผนในการส่งเสริมและพัฒนา 

          - ช่วยกันผลักดันและดึงศักยภาพของบุคลากรที่มีอยู่ให้ร่วมกันทำงานเพื่อพัฒนาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่กำหนด

นายชัยยุทธ มณีฉาย กลุ่มที่ 1

บทความเรื่อง Coach Jimmy เชิญ MarShall GoldSmith มาเมืองไทย

สรุป

1. การเรียนรู้ ฝึกฝน และพัฒนาศักยภาพที่ตนมีอยู่เพื่อต่อยอดตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิต

2. ประสบการณ์ผู้อื่นสามารถนำมาใช้เป็นฐานในการเรียนรู้ เพื่อต่อยอดความสำเร็จของตนเองได้

3. การสร้างโอกาสและเห็นคุณค่าของโอกาสต้องเตรียมความพร้อมของตนเองไว้รองรับด้วย

การนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์

1. พัฒนาตนเองโดยการหาโอกาสและเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพตลอดเวลาและต่อเนื่อง 

2. สามารถนำไปพัฒนาตนเองเพื่อรองรับความรับผิดชอบในงานขององค์กร จะช่วยส่งผลให้องค์กรบรรลุเป้าหมายและผลลัพธ์ที่ตั้งไว้ได้

นางเกษร อินทนะนก กลุ่มที่ 2 สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้รายวิชาที่ 15 - 20

กลุ่มที่  2

นางเกษร  อินทนะนก

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงานทุกรายวิชาในช่วงที่  5

  รายวิชาที่ 15 – 20  

รายวิชาที่  15  การคิดเชิงกลยุทธ์ และการบริหารจัดการสมัยใหม่

                   : วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและการมองเป้าหมายร่วมกัน

          สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

                   1.  ด้านความเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว  และมีการแข่งขันมากขึ้น ส่งผลให้ต้องมีการวางแผนและการคิดเชิงกลยุทธ์ เพื่อให้ทันเหตุการณ์ และรองรับอนาคต    โดยคำนึงสิ่งที่เรามีอยู่ แต่ต้องเพิ่มกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้ผลลัพธ์เป็นไปตามที่วางไว้

  2. การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหาร   จะต้องมอง ให้รอบด้าน   ตั้งแต่ การเพิ่มจำนวน

  เพิ่มประสิทธิภาพ  การลดต้นทุน  การเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการ  ซึ่งการเปลี่ยนแปลง มักมีผลกระทบ หรือมีอุปสรรค จะต้องศึกษาข้อมูลด้วยความจริง และ ยอมรับความจริง

3.  กลไกของธรรมชาติ  ลักษณะ การเกิด การแก่ การเจ็บ และการตาย  เป็นลักษณะของความเป็นไปขององค์กร  ถ้าหากทรัพยากรบุคคลไม่มีการพัฒนา   หรือไม่วางแผนอนาคตล่วงหน้า

 

          สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

                             1.  ต้องหาข้อมูลที่ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อประยุกต์ใช้กับการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และไม่ผิดพลาด

                             2.  การเพิ่มความรอบคอบในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น เพื่อ คำนึงถึงผู้ให้บริการ  ผู้เกี่ยวข้อง และ รวมถึงการป้องกันความเสี่ยงให้กับผู้บริหาร

                             3.  การใช้เวลาให้มีประโยชน์สูงสุด ในการพัฒนาตนเอง  พัฒนาองค์กรไปพร้อม ๆ กัน เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

รายวิชาที่  16   การประเมินนโยบาย  แผนงานและโครงการ

          สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

                             1.  การประเมิน สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การยอมรับความจริง   และการดำเนินการตามความจริงที่มี   ผลการประเมินที่ได้จะสามารถนำไปปรับปรุงได้จริง กระบวนการ PDCA   ใช้ประเมินเป็นระยะ หรือช่วง ๆ ของการดำเนินงาน

                             2.  วิธีการได้มาซึ่งความจริง  จะต้องมีกระบวนการหลาย ๆ อย่างร่วมด้วยกัน หากใช้แค่แบบสอบถาม อาจจะได้ข้อมูลไม่ครอบคลุม

                             3.   องค์ประกอบของการประเมินเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

- Vision                                       -  Winning  Project

- Mission                                     -  KPI

-  Goals                                      -  Action  Plan

-  Important   Strategy

          สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

                             1.  การประเมินการทำงานเป็นระยะ   เพื่อการพัฒนางานเป็นระยะ 

                             2.  ยอมรับความจริงจากผลประเมินที่ได้รับ  และหาวิธีการพัฒนางานต่อไป

                             3.  การออกแบบกระบวนการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย

รายวิชาที่  17   การบริหาร “คน” ของบุคลากรสายสนับสนุน

          สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

                             1.  เริ่มต้นจากการพัฒนาตัวเอง   และพัฒนาให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา รวมถึงการดึงศักยภาพออกมาให้เต็มประสิทธิภาพ

                             2.  การบริหารคน ต้องมีการจูงใจ  ซึ่งจะต้องเรียนรู้และใส่ใจในสิ่งที่คนส่วนใหญ่ชอบ  เพื่อให้แสดงศักยภาพออกมา  ทั้งนี้จะได้รับความพึงพอใจทั้ง 2 ฝ่าย

                             3.  การบริหารควรบริหารแบบได้ใจผู้ใต้บังคับบัญชา  เริ่มต้นจากความจริงใจ  การเอาใจใส่  และการให้คำปรึกษาในการทำงาน  รวมถึงการช่วยเหลือ และเอี้อประโยชน์ในการทำงาน

          สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

                             1.  การพัฒนางานที่ใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่อย่างเต็มที่  โดยใส่ใจรายละเอียดทุกขั้นตอน

                             2.  การวางแผนการทำงาน เพื่อให้มีเวลาในการทำผลงานทางวิชาการ ซึ่งให้ประโยชน์กับตัวเอง และ มีกับประโยชน์กับองค์กร ร่วมกัน

                             3.  การช่วยเหลือในการทำงาน  และใส่ใจความรู้สึก  เป็นห่วงเป็นใยในการทำงานร่วมกัน ทำให้เพื่อนร่วมงานรู้สึกดี และทำงานได้อย่างมีความสุข

        รายวิชาที่  18   ระบบพี่เลี้ยงและการสอนงาน

          สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

                             1.  ผู้นำควรเป็นทั้ง Mentoring   และ Coaching ต้องทำงานคู่ขนานกัน

                             2.  ผู้นำควรค้นหาตัวเองให้พบ และ เมื่อพบแล้ว ก็ค้นหาผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย

                             3.  การค้นหาตัวเอง สำหรับการทำงานร่วมกับผู้อื่น   การมีเครือข่ายในการทำงาน และการทำงานเป็นทีม จะร่นระยะเวลาในการทำงานให้เร็วยิ่งขึ้น

          สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

                             1 .  การทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงาน  เป็นสามารถให้คำปรึกษาเพื่อนได้  แม้นว่าเราอาจจะไม่มีประสบการณ์  ซึ่งคนที่ไม่อยู่ในเหตุการณ์ อาจจะมีมุมมองที่กว้างกว่า และคลอบคลุมกว่า รวมถึงการ ดูแลช่วยเหลือในสิ่งที่เราทำได้

                             2.  การค้นพบความเป็นตัวเอง  และการเข้าใจผู้อื่น  ซึ่งบางครั้งเราอาจจะไม่เข้าใจวิธีการของผู้บริหาร  แต่ให้คิดว่าผู้บริหารจะมีเหตุผลที่ดีที่สุดที่จะให้คนส่วนใหญ่พอใจ

                             3.  การทำงานร่วมกับผู้อื่น เราต้องทราบข้อมูลถึงความสามารถของแต่ละคนว่าใครมีความสามารถด้านไหน ชอบทำงานด้านไหน   เพื่อให้การวางแผนในการทำงาน และแบ่งงาน เพื่อให้ให้องค์กรได้ผลลัพธ์ดีที่สุด

รายวิชาที่  19   การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าแบบ 3 V

                   (  Value added – Value Creation – Value  Diversity)

          สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

                             1.  การเพิ่มมูลค่าทุกสิ่งอย่าง  อาศัยการระดมความคิด เพื่อให้สิ่งที่เลือกสมบูรณ์มากที่สุด

                             2.  การสร้างนวัตกรรมที่มีระบบของงานที่ชัดเจน  ทำให้นวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปสู่ความเป็นจริงมากที่สุด

                             3.  การคิดนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีล้ำสมัย  ควรศึกษาเกี่ยวกับลูกค้าให้มาก และคำนึงถึงการสื่อสารแบบ 2 ทางร่วมด้วย

          สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

                             1 .  การหาแนวทาง ในการให้มีผู้ใช้นวัตกรรมที่เราสร้างขึ้น  เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก และทำให้นวัตกรรมที่คิดค้นขึ้นมามีคุณค่ามากยิ่งขึ้น

                             2.  การคิดค้นนวัตกรรมที่คำนึงถึงทุก ๆ ขั้นตอน การวางแผนที่ชัดเจน และครอบคลุม รวมถึง การวางแผนรองรับกรณีที่เหตุการณ์ไม่เป็นปกติ  เพื่อให้ นวัตกรรมใช้ได้ทุกขณะฯ

                             3.  การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ ต้องหาข้อมูลจากผู้ใช้บริการ  และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้นวัตกรรมนั้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

รายวิชาที่  20   ทฤษฎีกระเด้ง  จากความรู้สู่การปรับใช้สู่ก้าวอนาคตแบบ 3 V บทสรุปภาพรวมของกิจกรรมการเรียนรู้ในโครงการฯ สู่การปรับใช้เพื่อการทำงานสร้างความเป็นเลิศให้แก่มหาวิทยาลัย

           

          สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

                             1.  การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา  ขึ้นอยู่กับพื้นฐานความรู้และหลักการของแต่ละคน และขึ้นอยู่กับพฤติกรรมในการชอบคิด  ซึ่งความคิดที่ออกมาแต่ละครั้งจะสามารถนำไปปรับใช้ หรือใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย

                             2.  ความคิดที่เกิดขึ้นเหมือนเป็นบันไดไปสู่เป้าหมาย  และการคิดที่สมบูรณ์ที่สุดคือการคิดที่ “คิดร่วมกันกับผู้อื่น”  ทำให้ความคิดมีการกระเด้งกลับไป กลับมา  ไม่มีที่สุดสุด

                             3.  ความรู้  ความคิด  ปัญญา  ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เราพบเจอ และนำไปใช้ ซึ่งเรียกว่า  “ทุนมนุษย์”

          สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

                             1 .  ฝึกให้มีพฤติกรรมในการใฝ่หาความรู้  และนำมาปรับใช้ในการทำงาน

                             2.  การพูดคุยกับบุคคลที่เราพบเจอ ควรเป็นเรื่องราวที่มีสาระ ได้ความรู้ และมีการเสนอความคิดเห็น  เพื่อให้ได้มีความรู้มากยิ่ง ๆ ขึ้นๆไป

                             3.  การนำความรู้ที่มีอยู่ ไปประยุกต์ใช้กับงานที่เราได้รับมอบหมายใหม่ ๆ หรือการเสนอตัวขอรับงานไปทำ จะทำให้เราได้ใช้ประโยชน์จากความรู้ และฝึกการทำงาน  เพื่อให้เกิดกำไรงอกงามในองค์กร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท