ศาสตร์และศิลป์ของการสอน : ๒๘. ดำรงอัตราเร็วของการสอนที่มีชีวิตชีวา


บันทึกชุด ศาสตร์และศิลป์ว่าด้วยการสอน นี้ตีความจากหนังสือ The New Art and Science of Teaching เขียนโดย Robert J. Marzano   ซึ่งเพิ่งออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ นี้เอง

ตอนที่ ๒๘ ดำรงอัตราเร็วของการสอนที่มีชีวิตชีวา  ตีความจาก Element 26 : Maintaining a Lively Pace  

ยุทธศาสตร์นี้เน้นที่การเพิ่มระดับพลัง (energy level) ของนักเรียนต่อการเรียนรู้    ไม่เน้นการพูดหรือคำถามของครู   แต่เน้นสิ่งที่ครูทำ

คำถามเชิงยุทธศาสตร์ของครู ในการดำรงอัตราเร็วของการสอนที่มีชีวิตชีวา   คือ    “ครูจะสอนด้วยอัตราเร็วที่เหมาะสมและมีชีวิตชีวาได้อย่างไร”


ยุทธศาสตร์และวิธีการที่ครูใช้ดำรงอัตราเร็วของการสอนที่มีชีวิตชีวา  มีดังต่อไปนี้






จะเห็นว่า เพื่อให้ชั้นเรียนดำเนินไปอย่างน่าสนใจ ดึงดูดความสนใจของนักเรียน ครูต้องเตรียมทำการบ้านวางแผน การสอนมาอย่างดี   รวมทั้งต้องรู้จังหวะว่าจะสอนช้าเร็วตามลักษณะการสนองตอบของนักเรียนอย่างไร

สำหรับป้าย “จอดก่อน” มักจะใช้ตอนใกล้จบคาบเรียน   ครูตั้งคำถามให้นักเรียนแสดงความเห็นถกเถียงกัน แล้วยกป้าย เพื่อกระตุ้นให้ต่างฝ่ายต่างก็ไปหาข้อมูลมาสู้กันในวันต่อไป   เป็นตัวกระตุ้นความสนใจของนักเรียน ได้เป็นอย่างดี 

เมื่อยุทธศาสตร์นี้ได้ผล   จะสังเกตเห็นพฤติกรรมของนักเรียนดังต่อไปนี้ 



  • ·       นักเรียนปรับตัวเข้าร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน และกลับมาจดจ่อกับสาระความรู้ได้เป็นอย่างดี
  • ·       นักเรียนบอกว่าอัตราเร็วของการสอนกำลังพอดี




วิจารณ์ พานิช

๙ เม.ย. ๖๐

หมายเลขบันทึก: 630610เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2017 22:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กรกฎาคม 2017 22:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท