มองไปในอนาคต อีก 20 ปี พระราชบัญญัติการสหกรณ์ไทย จะเป็นเช่นไร บันทึกเมื่อ 28 มิถุนายน 2559


มองไปในอนาคต อีก 20 ปี พระราชบัญญัติการสหกรณ์ไทย จะเป็นเช่นไร บันทึกเมื่อ 28 มิถุนายน 2559
พิจารณาตามหลักการสหกรณ์สากล เป็นข้อ ๆ และเพิ่มเติมจากสถานการณ์ในปัจจุบัน


หลักการที่ 1 : เปิดรับสมาชิกโดยสมัครใจและเปิดกว้าง

สหกรณ์เป็นองค์การแห่งความสมัครใจที่เปิดรับบุคคลทั้งหลายที่สามารถใช้บริการของสหกรณ์ และเต็มใจรับผิดชอบในฐานะสมาชิกเข้าเป็นสมาชิก โดยปราศจากการกีดกันทางเพศ สังคม เชื่อชาติ การเมือง หรือศาสนา

1st Principle: Voluntary and Open Membership

Co-operatives are voluntary organisations, open to all persons able to use their services and willing to accept the responsibilities of membership, without gender, social, racial, political or religious discrimination.

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/520514



1. คาดว่า พรบ.สหกรณ์จะเปิดให้มีการรับสมาชิกสหกรณ์ได้อย่างกว้างขวาง เพราะอีก 20 ปี จะเป็นยุค Internet of things ประเทศไทย เป็น Thailand 4.0 เรื่อง แดนดำเนินงานของสหกรณ์จะเปิดกว้างขึ้น อย่างมาก กว้างมาก


หลักการที่ 2 : การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย

สหกรณ์เป็นองค์การประชาธิปไตยที่ควบคุมโดยมวลสมาชิก ผู้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการกำหนดนโยบายและการตัดสินใจ บุรุษและสตรีผู้ที่ได้รับการเลือกเป็นผู้แทนสมาชิกต้องรับผิดชอบต่อมวลสมาชิก ในสหกรณ์ขั้นปฐมสมาชิกมีสิทธิในการออกเสียงเท่าเทียมกัน (สมาชิกหนึ่งคนหนึ่งเสียง) สำหรับสหกรณ์ในระดับอื่นให้ดำเนินไปตามแนวทางประชาธิปไตยด้วยเช่นกัน


2nd Principle: Democratic Member Control
Co-operatives are democratic organisations controlled by their members, who actively participate in setting their policies and making decisions. Men and women serving as elected representatives are accountable to the membership. In primary co-operatives members have equal voting rights (one member, one vote) and co-operatives at other levels are also organised in a democratic manner.


2. สหกรณ์ขั้นปฐมที่มีสมาชิก เป็นคน จะเลือกตั้งโดยเสียงเท่าเทียมกัน คือ สมาชิกหนึ่งคน หนี่งเสียง สหกรณ์ที่เป็นระดับอื่นก็จะดำเนินการเป็นไปตามแนวทางประชาธิปไตย แต่ไม่ใช่ หนึ่งสหกรณ์ หนึ่งเสียง เพราะ แต่ละสหกรณ์มีคนไม่เท่ากัน สหกรณ์ยึดคน (สมาชิก) เป็นสำคัญ


3. มาตรา 50 จะไม่มีปรากฏในพระราชบัญญัติสหกรณ์ แต่จะไปปรากฏในข้อบังคับของสหกรณ์ ตัดสินใจโดยสมาชิกสหกรณ์ เป็นไปตามหลักการสหกรณ์ที่ 2 โดยมีการพัฒนาไปด้วยใจที่เป็นธรรมของสมาชิกที่ดีส่วนใหญ่

การเลือกตั้ง 3 แบบในกิจการสหกรณ์..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/595951


หลักการที่ 3 : การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิก

สมาชิกสหกรณ์ พึงมีความเที่ยงธรรมในการให้ และควบคุมการใช้เงินทุนในสหกรณ์ตามแนวทางประชาธิปไตย ทุนของสหกรณ์อย่างน้อยส่วนหนึ่งต้องเป็นทรัพย์สินส่วนร่วมของสหกรณ์ สมาชิกจะได้รับผลตอบแทนสำหรับเงินทุนตามเงื่อนไขแห่งสมาชิกภาพในอัตราที่จำกัด (ถ้ามี) มวลสมาชิกเป็นผู้จัดสรรผลประโยชน์ส่วนเกินเพื่อจุดมุ่งหมายประการใด ประการหนึ่งหรือทั้งหมด จากดังต่อไปนี้ คือ เพื่อการพัฒนาสหกรณ์ของตนโดยจัดให้เป็นทุนของสหกรณ์ ซึ่งส่วนหนึ่งของทุนนี้ต้องนำมาแบ่งปันกัน เพื่อเป็นผลประโยชน์แก่สมาชิกตามส่วนของปริมาณธุรกิจที่ทำกับสหกรณ์ และเพื่อสนับสนุนกิจกรรมอื่นใดที่มวลสมาชิกเห็นชอบ

3rd Principle: Member Economic Participation

Members contribute equitably to, and democratically control, the capital of their co-operative. At least part of that capital is usually the common property of the co-operative. Members usually receive limited compensation, if any, on capital subscribed as a condition of membership. Members allocate surpluses for any or all of the following purposes: developing their co-operative, possibly by setting up reserves, part of which at least would be indivisible; benefiting members in proportion to their transactions with the co-operative; and supporting other activities approved by the membership.



4. อีก 20 ปี จะก้าวข้าม การแข่งขันแย่งชิง ไปสู่การแบ่งปัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน คนไทยเข้าใจวิธีการสหกรณ์อย่างลึกซึ้ง ข้อความในพระราชบัญญัติสหกรณ์เปลี่ยน คำว่า กำไร เป็น คำว่า ส่วนเกิน (surplus) ตามหลักการสหกรณ์ที่ 3 และเปลี่ยนคำว่า ขาดทุน เป็น คำว่า ส่วนขาด (deficit) เพราะเข้าใจเรื่องการสหกรณ์เป็นอย่างดี

สหกรณ์ optimize surplus เพื่อให้เกิด maximize utility ที่สมาชิก เนื่องเพราะสมาชิกเป็นทั้งเจ้าของ และผู้ใช้บริการ (co - owner co - customer) เพื่อประโยชน์สุข (benefit) ที่เกิดขึ้นแก่สมาชิก(เจ้าของ) และชุมชน สหกรณ์ไม่ทำ maximize profit เพราะสหกรณ์ไม่มี profit มีแต่เพียงส่วนเกิน surplus ที่เกิดจาก economies of scale จากการร่วมมือ ร่วมใจ กันของสมาชิกตามปรัชญาของการสหกรณ์ ช่วยตน ช่วยกัน self help mutual help..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/594642



หลักการที่ 4 :การปกครองตนเองและความเป็นอิสระ

สหกรณ์เป็นองค์การที่พึ่งพาและปกครองตนเอง โดยการควบคุมของสมาชิก ในกรณีที่สหกรณ์จำต้องมีจ้อตกลงหรือผูกพันกับองค์การอื่นๆ รวมถึง องค์การของรัฐ หรือต้องแสวงหาทุนจากแหล่งภายนอก สหกรณ์ต้องกระทำภายใต้เงื่อนไขอันเป็นที่มั่นใจว่า มวลสมาชิกจะยังคงไว้ซึ่งอำนาจในการควบคุมตามแนวทางประชาธิปไตย และยังคงดำรงความเป็นอิสระของสหกรณ์

4th Principle: Autonomy and Independence

Co-operatives are autonomous, self-help organisations controlled by their members. If they enter to agreements with other organisations, including governments, or raise capital from external sources, they do so on terms that ensure democratic control by their members and maintain their co-operative autonomy.




5. ข้อนี้ในอีก 20 ปีข้างหน้า สหกรณ์จะเป็นอิสระ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย จะกลับเป็นสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย จำกัด ให้บริการขบวนการสหกรณ์ ตามหลักการสหกรณ์ ที่ 5 ให้การศึกษาอบรม ข้อมูล และข่าวสารแก่ขบวนการสหกรณ์ และ หลักการสหกรณ์ที่ 6 ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสหกรณ์ในทุกระดับ ตามที่บรรพชนสหกรณ์ต้องการเมื่อแรกตั้ง

ในปีนี้ในปีพ.ศ. 2511 ได้มีการจัดตั้งสันนิบาติสหกรณ์ จำกัดสินใช้ ขึ้น เป็นสหกรณ์ประเภทชุมนุมสหกรณ์เป็นองค์การสูงสุดของขบวนการสหกรณ์(APEX) โดยความร่วมมือร่วมใจของสหกรณ์ต่างๆในขบวนการสหกรณ์ไทยจดทะเบียนเป็นสหกรณ์ประเทศชุมนุมสหกรณ์(ประเภทที่ 16 ตามกฏกระทรวงการสหกรณ์ ในสมัยนั้น) ในชื่อว่าสันนิบาตสหกรณ์ จำกัดสินใช้..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/582257




หลักการที่ 5 :การศึกษา การฝึกอบรม และข่าวสาร

สหกรณ์พึงให้การศึกษา การฝึกอบรม และข่าวสาร แก่มวลสมาชิกผู้แทนจากการเลือกตั้ง ผู้จัดการ พนักงาน เพื่อบุคคลเหล่านั้น สามารถมีส่วนช่วยพัฒนาสหกรณ์ของตนได้อย่างมีประสิทธิผล และสามารถให้ข่าวสารแก่สาธารณชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่เยาวชนและบรรดาผู้นำทางความคิด ในเรื่องคุณลักษณะและคุณประโยชน์ของสหกรณ์ได้

5th Principle: Education, Training and Information

Co-operatives provide education and training for their members, elected representatives, managers, and employees so they can contribute effectively to the development of their co-operatives. They inform the general public - particularly young people and opinion leaders - about the nature and benefits of co-operation.



6. มาตราว่าด้วย การประชุมคณะกรรมการดำเนินการ การประชุมใหญ่สมาชิก จะใช้การประชุมทางอินเตอร์เน็ต หรือ วิดีโอคอนเฟอเรนซ์
การเผยแพร่กระจายความรู้ แลกเปลี่ยนระหว่างสหกรณ์ด้วยกัน ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ และการสื่อสารแบบอื่น ๆ ที่จะมีขึ้นในอนาคต

หลักการที่ 6 :การร่วมมือระหว่างสหกรณ์

สหกรณ์สามารถให้บริการแก่สมาชิกได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุดและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ขบวนการสหกรณ์ได้ โดยการประสานความร่วมมือกันในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ

6th Principle: Co-operation among Co-operatives

Co-operatives serve their members most effectively and strengthen the co-operative movement by working together through local, national, regional and international structures.



7. ราชการลดขนาดลง การพึ่งพาตนเองของขบวนการสหกรณ์จะพัฒนาขบวนการสหกรณ์ได้อย่างรวดเร็วด้วยการประสานความร่วมมือกัน ระหว่างสหกรณ์ทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับนานาชาติ

มองไปในอนาคต ราชการไทย อีก 20 ปี ข้างหน้า..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/601607



หลักการที่ 7 :ความเอื้ออาทรต่อชุมชน

สหกรณ์พึงดำเนินกิจกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชน ตามนโยบายที่มวลสมาชิกให้ความเห็นชอบ “

7th Principle: Concern for Community

Co-operatives work for the sustainable development of their communities through policies approved by their members.



8. ใน 20 ปีข้างหน้า โลกจะเข้าสู่ยุค แบ่งปันอีกครั้ง การแบ่งปันจะจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้จริง แทนการแข่งขัน แย่งชิง ในปัจจุบัน ระบบสหกรณ์จะใช้ได้ดีใน 20 ปีข้างหน้า ซึ่งการแบ่งปันไม่จำเป็นต้องเขียนในข้อกฏหมาย แต่เป็นการแบ่งปันด้วยหัวใจและมนุษยธรรม จากคนในขบวนการสหกรณ์ที่มีจิตใจเอื้อเฟื้อ


มาตราที่จะต้องมีเสริมเพิ่มเติม


9. มาตราว่าด้วย ธนาคารสหกรณ์
ความหมายของ ธนาคารสหกรณ์ (cooperative bank)..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/609008
เรื่องธนาคารสหกรณ์ ........อีกครั้ง (เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2559)..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/606320


10. มาตราว่าด้วย สหกรณ์ประกันชีวิต

นำเสนอสภาขับเคลื่อนการปฏฺิรูปประเทศ เรื่อง ขอให้ สหกรณ์สามารถให้บริการประกันชีวิตแก่สมาชิกสหกรณ์ได้ด้วยวิธีการสหกรณ์..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/600432


11. มาตราว่าด้วย สหกรณ์ประกันภัยและ มาตราว่าด้วย สหกรณ์ประกันภัยพืชผลทางการเกษตร แทนการจ่ายเงินชดเชย ไร่ละ .... ระยะแรกอาจเป็นราชการช่วยจ่ายค่าเบี้ยประกัน จนในที่สุดสมาชิกสหกรณ์จ่ายเอง 100 %
ใน 20 ปีข้างหน้าการสหกรณ์จะเปิดกว้างขึ้น เป็นอิสระมากขึ้น ผู้คนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการสหกรณ์มากยิ่งขึ้น การเข้ามาฉกฉวยหาผลประโยชน์เฉพาะหน้าผ่านระบบสหกรณ์จะลดลงจนเหลือน้อยมาก สมาชิกสหกรณ์ที่ดีจะควบคุมสหกรณ์ได้เป็นอย่างดี สมาชิกสหกรณ์ที่เกเรจะลดลงจนแทบไม่มีเหลือ


12. มีบทบัญญัติ เกี่ยวกับ Digital cooperative ด้วย
เหตุผล เพราะในอนาคต เศรษฐกิจของประเทศจะไปทาง Digital economy จะเกิด Digital cooperative ขึ้น National E-payment จะทำให้การใช้วิธีการสหกรณ์ในเครือข่ายดิจิตัลอย่างกว้างขวาง
จึงต้องเตรียมรองรับอนาคตไว้ด้วย การใช้วิธีการสหกรณ์ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ (how to apply cooperative methods in social network).....
อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/593266

D-Coop เกิดขึ้น แน่ไม่ใช่แค่ฝัน.....
อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/575879..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/603662

National e-Payment พลิกโฉมระบบการชำระเงินของไทย http://www.mof.go.th/home/eco/220459.pdf




บันทึกนี้เขียนเพิ่มเติมจากบันทึกเดิม ขอร่วมแสดงความคิดเห็นในการปฏิรูปกฎหมายสหกรณ์ ด้วยคน ( 21 ตุลาคม 2557 )..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/579072


พีระพงศ์ วาระเสน (Bobbie)
29 มิถุนายน 2559















หมายเลขบันทึก: 609342เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2016 20:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มิถุนายน 2016 05:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท