สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย จำกัดสินใช้


 

 

ในปีนี้ในปีพ.ศ. 2511 ได้มีการจัดตั้งสันนิบาติสหกรณ์ จำกัดสินใช้ ขึ้น เป็นสหกรณ์ประเภทชุมนุมสหกรณ์เป็นองค์การสูงสุดของขบวนการสหกรณ์(APEX) โดยความร่วมมือร่วมใจของสหกรณ์ต่างๆในขบวนการสหกรณ์ไทยจดทะเบียนเป็นสหกรณ์ประเทศชุมนุมสหกรณ์(ประเภทที่ 16 ตามกฏกระทรวงการสหกรณ์ ในสมัยนั้น) ในชื่อว่าสันนิบาตสหกรณ์ จำกัดสินใช้ จดทะเบียนตามพ.ร.บ.สหกรณ์พ.ศ. 2471 เมื่อวันที่26 กุมภาพันธ์ 2511 นับเป็นองค์การสูงสุดของขบวนการสหกรณ์ไทยในการเชื่อมโยงสหกรณ์ทุกประเภทเข้าด้วยกัน 

ผลจากดำริของบรรพชนสหกรณ์ไทย ในปี พ.ศ. 2492 ที่จะเก็บค่าธรรมเนียมการตรวจบัญชีสหกรณ์สะสมไว้เพื่อตั้งสหภาพสหกรณ์แห่งประเทศไทยจำกัด(เป็นสหกรณ์สูงสุด) เพื่อเป็นศูนย์กลางของขบวนการสหกรณ์ไทยในการเชื่อมโยงทั้งด้านการให้บริการสมาชิกของสหกรณ์ต่างๆและการให้บริการระหว่างสหกรณ์ในขบวนการสหกรณ์ไทยด้วยกัน ให้การศึกษาอบรมข้อมูลข่าวสาร ในเรื่องคุณสมบัติ และคุณประโยชน์ของการสหกรณ์ กระจายไปในสหกรณ์ต่างๆทั่วประเทศไทย 

แต่ในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2511 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 ขี้น เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสหกรณ์ ฉบับปี พ.ศ. 2511 คือ กิจการของสหกรณ์ ได้ขยายตัวขึ้นเป็นลำดับ แต่กฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นกฎหมายที่ใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471 และแก้ไขครั้งสุดท้าย เมื่อ พ.ศ. 2471 จึงสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ขึ้นใหม่ให้เหมาะแก่กาลสมัยเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานของสหกรณ์ให้ดีขึ้น (จาก บทเฉพาะกาล ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มาตราที่ 119 (7) ให้สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย จำกัดสินใช้ ที่ได้จดทะเบียนอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ตามพระราชบัญญัตินี้ )
 

สันนิบาตสหกรณ์ จำกัดสินใช้ ซึ่งตั้งขึ้นโดยความร่วมมือร่วมใจ ก่อนหน้านั้น ประมาณสามเดือน จึงหายไป กลายเป็นสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ตามส่วนที่ 6 ของพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มาตรา 104 ให้มีสถาบันขึ้นสถาบันหนึ่ง ซึ่งเรียนกว่า "สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ประกอบด้วย สมาชิกซึ่งเป็นสหกรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเจริญก้าวหน้า แก่กิจการสหกรณ์ทุกประเภททั่วราชอาณาจักรอันมิใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้แบ่งปัน หากดูหน้าที่ของสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 แล้ว เป็น หน้าที่ตามหลักการสหกรณ์ที่ 5 หลักการสหกรณ์ที่ 6 ได้เปลี่ยนเป็นสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ตามส่วนที่ 6 พรบ.สหกรณ์ พ.ศ. 2511 มาตรา 104 เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511  

ลำดับเหตุการณ์มาถึงนี้สันนิบาตสหกรณ์ จำกัดสินใช้ ที่เป็น สหกรณ์และเป็นองค์การสูงสุด ของขบวนการสหกรณ์จึงหายไป องค์การสูงสุด APEX ของสหกรณ์เป็นไปตาม พระราชบัญญัติสหกรณ์ ซึ่งตอนนี้คือ พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 

4th Principle: Autonomy and Independence

Co-operatives are autonomous, self-help organisations controlled by their members. If they enter to agreements with other organisations, including governments, or raise capital from external sources, they do so on terms that ensure democratic control by their members and maintain their co-operative autonomy.

หลักการที่ 4 :การปกครองตนเองและความเป็นอิสระ

สหกรณ์เป็นองค์การที่พึ่งพาและปกครองตนเอง โดยการควบคุมของสมาชิก ในกรณีที่สหกรณ์จำต้องมีจ้อตกลงหรือผูกพันกับองค์การอื่นๆ รวมถึง องค์การของรัฐ หรือต้องแสวงหาทุนจากแหล่งภายนอก สหกรณ์ต้องกระทำภายใต้เงื่อนไขอันเป็นที่มั่นใจว่า มวลสมาชิกจะยังคงไว้ซึ่งอำนาจในการควบคุมตามแนวทางประชาธิปไตย และยังคงดำรงความเป็นอิสระของสหกรณ์

และการบังคับเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์โดยกฏหมายของสหกรณ์ต่าง ๆ มิได้โดยความสมัครใจ
ขัดกับหลักการสหกรณ์สากลที่ 1  ทำให้ความเป็นสหกรณ์ของสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ลดลง

1st Principle: Voluntary and Open Membership

Co-operatives are voluntary organisations, open to all persons able to use their services and willing to accept the responsibilities of membership, without gender, social, racial, political or religious discrimination.

หลักการที่ 1 : เปิดรับสมาชิกโดยสมัครใจและเปิดกว้าง

สหกรณ์เป็นองค์การแห่งความสมัครใจที่เปิดรับบุคคลทั้งหลายที่สามารถใช้บริการของสหกรณ์ และเต็มใจรับผิดชอบในฐานะสมาชิกเข้าเป็นสมาชิก โดยปราศจากการกีดกันทางเพศ สังคม เชื่อชาติ การเมือง หรือศาสนา

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง
สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย เกิดจาก แนวความคิดในการที่จะจัดตั้งสหภาพสหกรณ์ขึ้นในประเทศไทย
https://www.gotoknow.org/posts/592057
 

พีระพงศ์ วาระเสน
 

หมายเลขบันทึก: 582257เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2014 06:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 สิงหาคม 2022 08:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณ อาจารย์ ที่นำเรียนรู้ประวัติสหกรณ์

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท