นำเสนอในการเสวนาเรื่อง ธนาคารกลางของสหกรณ์ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2557


เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2557 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปิติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ได้มาเปิดเสวนา เรื่อง ธนาคารกลางของสหกรณ์ และท่านรัฐมนตรีว่าการ ได้กรุณาอยู่ในที่เสวนารับฟังท่าน ศ.ดร. อาบ นคะจัด กล่าวเสวนาในช่วงแรกด้วย ปีนี้ท่าน ศ.ดร.อาบ นคะจัด อายุ 92 ปี แต่ยังแข็งแรงและ สามารถถ่ายทอดประสบการณ์และวิชาการสหกรณ์ให้ฟังได้เป็นอย่างดี ในงานนี้ก็มีท่านอดีตอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เชิญ บำรุงวงศ์ มารับฟังการเสวนาด้วย ปีนี้ท่านอายุ 88 ปี

ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมฟังเสวนาด้วย และได้นำเสนอต่อที่เสวนา

แสดงความคิดเห็นผ่าน สื่อสังคมออนไลน์ facebook ไปก่อน ตามสมัยนิยม และได้เข้าไปนำเสนอในการเสวนา ดังนี้

1. ธ.ก.ส. เป็นตัวย่อของ "ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ " มาตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2490 แล้ว

2. ธ.ก.ส. มาเป็นตัวย่อความหมายในปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 2509

3. ธนาคาร สำหรับกิจการ สหกรณ์ มี 2 แบบ คือ Bank for Cooperative (ธนาคารเพื่อการสหกรณ์) และ Cooperative Bank (ธนาคารสหกรณ์)

4. ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ (ฺBank for cooperative) รัฐบาลถือหุ้นใหญ่ เพื่อพัฒนากิจการสหกรณ์

5. ธนาคารสหกรณ์ (Cooperative Bank) ขบวนการสหกรณ์ ถือหุ้น 100 % เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลกัน พัฒนาขบวนการสหกรณ์ด้วยกันเอง ตามปรัชญาสหกรณ์ (Self help ; Mutual help)

6. ผู้เขียน คาดว่า เมื่อสหกรณ์ครบรอบ 150 ปี (ปี พ.ศ. 2610) ในประเทศไทยจะมีแต่ ธนาคารสหกรณ์ (Cooperative Bank) เท่านั้น ล่ะครับ

7. มีการกำหนดประเภทสหกรณ์ครั้งที่ 1 โดยกฎกระทรวง ระหว่างปี 2495-2511 ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 มีสหกรณ์ 22 ประเภทคือ ประเภทที่ 15 คือ ธนาคารสหกรณ์จังหวัด ขึ้นกับกรมสหกรณ์ธนกิจ กระทรวงการสหกรณ์ (ข้อนี้มิได้นำเสนอไปในวงเสวนา แต่ได้กลับมาค้นคว้า เพิ่มเติมและขอนำเสนอ ไว้รวมในบันทึกนี้ )

พีระพงศ์ วาระเสน
อนุกรรมการวิชาการ สมาคมเศรษฐศาสตร์สหกรณ์
12 ธค. 2557

หมายเลขบันทึก: 582256เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2014 06:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ธันวาคม 2014 06:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท