ความหมายของ ธนาคารสหกรณ์ (cooperative bank)


ความหมายของ ธนาคารสหกรณ์ (cooperative bank)

ได้มีโอกาสเข้าร่วมสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากชุมนุมสหกรณ์ระดับชาติ ที่ปรึกษา สสท. เกี่ยวกับแนวทางการจัดตั้งธนาคารสหกรณ์ กับพี่น้องขบวนการสหกรณ์ไทย ในฐานะ สมาชิกสหกรณ์ประเภทออมทรัพย์ ทำให้ได้ทราบว่า มีผู้ไม่เข้าใจ ความหมายของธนาคารสหกรณ์อีกมากมาย

จากการอ่านค้นคว้าจากห้องสมุดกรมส่งเสริมสหกรณ์ ทั้งจากหนังสือใหม่ หนังสือเก่า และจาก Google พบว่า

ธนาคารสหกรณ์ นั้น ก็คือ สหกรณ์หรือชุมนุมสหกรณ์ที่ทำหน้าที่ศูนย์กลางทางการเงินให้กับสหกรณ์ทุกประเภท โดยมีกฏหมายรองรับ ให้ดำเนินการเยื่ยงนั้นได้ ที่สะดวกคือ การมีมาตรา เรื่อง ธนาคารสหกรณ์ใน พระราชบัญญัติสหกรณ์ที่จะแก้ไขใหม่ ก็จะสะดวก สงบ และเรียบร้อย

อันว่าธนาคารสหกรณ์ (co-operative bank)นั้น สหกรณ์สมาชิกเป็นเจ้าของ และผู้ใช้บริการ บริการรับฝาก เงินจากสหกรณ์ และให้กู้แก่สหกรณ์สมาชิกเท่านั้น ไม่บริการคนนอก ดอกเบี้ยเงินกู้เงินฝาก ส่วนต่าง กำหนดกันเองโดยธรรม จากการตกลงร่วมของ สหกรณ์สมาชิกที่เป็นเจ้าของ

ดังนั้นจึงไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ commercial bank for cooperative อย่างที่เข้าใจกัน และก็ไม่ใช่ ธนาคารของรัฐ public bank for cooperative อย่างเมื่อสมัยปี 2490 ดังที่เข้าใจกัน

แต่เป็น ธนาคารเอกชน private bank ที่สหกรณ์เป็นเจ้าของร่วมกัน ให้บริการกันเอง ภายในขบวนการสหกรณ์

ซึ่งมาตรฐานการให้บริการ และการป้องกันการสูญเสีย ก็ต้องปรึกษา BOT , กระทรวงการคลัง , สมาคมธนาคารไทย ฯลฯ เพื่อให้มาตรฐานเข้มข้นขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อความมั่นคงของสหกรณ์สมาชิก ที่เป็นเจ้าของ และผู้ใช้บริการ ซึ่งจะมาแบ่งปันกัน ช่วยเหลือกัน ผ่านธนาคารสหกรณ์นี้

ในปัจจุบัน ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด ชุมนุมสหกรณ์ธนกิจไทย จำกัด ก็ทำหน้าที่เสมือนอยู่แต่ให้บริการ สหกรณ์สมาชิกที่เป็นสหกรณ์ประเภทออมทรัพย์ เป็นส่วนใหญ่ แตก็มีชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย นำเงินไปฝากที่ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์ ก็มีให้เห็นมีอยู่

จึงไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่ประเทศไทยจะมีธนาคารสหกรณ์ ในยุคนี้ ยุคที่ จะเป็น T้hailand 4.0 และการที่รัฐบาลกำลังจะใช้ National e-payment ขึ้นในเดือนกันยายน 2559 ก็ช่วยเสริมให้ธนาคารสหกรณ์ไทย เกิดเร็วขึ้นอีกด้วย

พีระพงศ์ วาระเสน

23 มิถุนายน 2559

Differences between Co-operative Banks and Commercial Banks in India
We may distinguish between co-operative banks and commercial banks on the following counts:
1. Commercial banks are joint-stock banks. Co-operatives banks, on the other hand, are co-operative organisations.
2. Commercial banks are governed by the Banking Regulation Act. Co-operative banks are governed by the Co-operative Societies Act of 1904.
3. Commercial banks are subject to the control of the Reserve Bank of India directly.
Co-operative banks are subject to the rules laid down by the Registrar of Co-operative Societies.
4. Co-operative banks have lesser scope in offering a variety of banking services than commercial banks.
5. Commercial banks in India are on a larger scale. They have adopted the system of branch banking, so they have countrywide operations.
Co-operative banks are relatively on a much smaller scale. Many co-operative banks follow only unit-bank system, though there are co­operative banks with a number of branches but their coverage is not countrywide.
6. Commercial banks in India are of two types: (i) public sector banks and (ii) private sector banks.
Co-operative banks are private sector banks.
7. Commercial banks mostly provide short-term finance to industry, trade and commerce, including priority sectors like exports, etc.
Co-operative banks usually cater to the credit needs of agriculturists.
8. Co-operative banks offer a slightly higher rate of interest to their depositors than commercial banks.
9. In co-operative banks, borrowers are member shareholders, so they have some influence on the lending policy of the banks, on account of their voting power.
Borrowers of commercial banks are only account- holders and have no voting power as such, so they cannot have any influence on the lending policy of these banks.
10. Co-operative banks have not much scope of flexibility on account of the rigidities of the bye-laws of the Co-operative Societies. Commercial banks, on the other hand, are free from such rigidities.

ที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/606320http://www.yourarticlelibrary.com/banking/differences-between-co-operative-banks-and-commercial-banks-in-india/26345/….. อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/606320


คำสำคัญ (Tags): #ธนาคารสหกรณ์
หมายเลขบันทึก: 609008เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2016 10:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กรกฎาคม 2016 09:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นชอบที่มีธนาคารสหกรณ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท