การใช้วิธีการสหกรณ์ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ (how to apply cooperative methods in social network)


การใช้วิธีการสหกรณ์ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ (how to apply cooperative methods in social network)


ก่อนอื่นต้องนึกถึงปรัชญาสหกรณ์ ช่วยตนช่วยกัน (self help ; mutual help) และ นิยามสหกรณ์ ว่า สหกรณ์เป็นองค์การอิสระของบุคคลซึ่งรวมกันด้วยความสมัครใจเพื่อสนองความต้องการอันจำเป็น และความมุ่งหมายร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยการดำเนินวิสาหกิจที่เป็นเจ้าของร่วมกัน และควบคุม ตามแนวทางประชาธิปไตย (A co-operative is an autonomous association of persons united voluntarily to meet their common economic, social, and cultural needs and aspirations through a jointly-owned and democratically-controlled enterprise.) มาตั้งต้นไว้ก่อน เพื่อมิให้หลงทาง


เริ่มจากการตั้งกลุ่ม ขึ้นในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ที่สื่อสารติดต่อกันได้ขึ้นมา เริ่มจาก 1 กลุ่ม ค่อย ๆ ช่วยกันตามหาผู้ที่มีความเข้าใจในปรัชญาสหกรณ์ ช่วยตน ช่วยกัน ให้เข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มด้วยความสมัครใจ และผู้ที่สมัครใจเข้ามาร่วมกันนั้น ต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อน ว่า กลุ่มที่ตั้งขึ้นมานี้เพื่อตอบสนองความต้องการอันจำเป็น (need) ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มิใช่มุ่งตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว อาจมีการร่วมกันคิด ร่วมกันทำ เพื่อพัฒนาสังคม ร่วมกันคิดร่วมกันธรรมเพื่อให้เกิดวัฒนธรรมสร้างสรรค์ และรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีงามของมวลมนุษย์ชาติ จาก การรวมกลุ่มในครั้งนี้ด้วย ซึ่งก็คือวิธีการสหกรณ์ตามนิยามสหกรณ์นั่นเอง การรับสมาชิกไม่จำกัด ทำได้ทั่วโลก แต่ทำจากเล็กไปหาใหญ่ ค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไป หากสมาชิกท่านใดเห็นว่าการเข้ารวมกลุ่มอึดอัดและทนทำตามปรัชญา และนิยามสหกรณ์ไม่ได้ ก็ลงมติ เชิญออกไปจากกลุ่ม

การเลือกตั้ง ผู้กำหนดนโยบาย ก็ใช้แบบเปิดเผยตามหลักการสหกรณ์ (one member one vote) เลือกกัน ทาง เครือข่ายสังคมออนไลน์นั่นเอง จะโปร่งใส การประชุมก็ประชุมได้ตลอดเวลา นัดกันลงมติ หลังจากอภิปรายด้วย เครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยมีผู้สรุปมติหลังจากได้มีการลงมติ


ในการตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจ อาจต้องมีการบันทึกบัญชี ใช้ app บัญชี ออนไลน์ ลงไว้บน Cloud ให้ พาลเวิร์ดผู้เป็นสมาชิกเครือข่ายเข้าตรวจสอบได้ทุกเวลา แต่พาสเวิร์ดสำหรับแก้ไขได้ให้ไว้กับผู้ทำบัญชี บัญชีนี้ทำไว้ดูกันเองไม่ต้องมากมาย สิ่งนี้จะเป็นหลักฐานเพื่อการแบ่งปันกัน กระจายความสุขโดยทั่วกัน


เมื่อมีผู้เข้าเป็นสมาชิก มีผู้ดำเนินการ มีบัญชีแล้ว ก็สร้างกิจกรรม แบบสหกรณ์จริงขึ้น ประกอบไปด้วย
กิจกรรมรวมกันซื้อ กิจกรรมรวมกันขาย กิจกรรมแบ่งปันเงินทุนระหว่างกัน กิจกรรมแบ่งปันให้คำปรึกษาทางเศรษฐกิจ
กิจกรรมให้คำปรึกษาทางสังคม กิจกรรมให้คำปรึกษาทางวัฒนธรรม กิจกรรมทางการศึกษา กิจกรรมเชื่อมโยงร่วมมือ กิจกรรมสร้างสรรค์แบ่งปันในการรักษาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ แล้วแต่จะคิดและทำเพื่อประโยชนสุขตามอัธยาศัย


การกระทำลักษณะนี้ไม่ต้องกังวลเรื่อง พระราชบัญญัติสหกรณ์ ขอให้ยึดหลักการสหกรณ์สากล 7 ข้อไว้ให้มั่นเป็นใช้ได้ ไม่ต้องจดทะเบียนเป็นสหกรณ์เพียงแต่ใช้วิธีการสหกรณ์ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ส่วนเกิน(surplus) ที่ได้จากกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ได้เป็นตัวเงิน มอบคืนแก่สมาชิกกลุ่มไปให้พอเพียง และที่เหลือคืนสู่สังคมไปตามหลักการสหกรณ์ที่ 7 เอื้ออาทรต่อชุมชน (concern for community) เหลือไว้แต่ความสุข จากการได้มาร่วมมือ ร่วมใจกัน พัฒนาโลกนี้ เพราะเครือข่ายสังคมออนไลน์ สามารถรับสมาชิกได้ทั่วโลก





พีระพงศ์ วาระเสน (Bobbie)
9 สิงหาคม 2558

หมายเลขบันทึก: 593266เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2015 09:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ตุลาคม 2017 20:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท