วิธีการสหกรณ์ optimize surplus เพื่อ maximize utility ของสมาชิกโดยรวม


สหกรณ์ optimize surplus เพื่อให้เกิด maximize utility ที่สมาชิก เนื่องเพราะสมาชิกเป็นทั้งเจ้าของ และผู้ใช้บริการ (co - owner co - customer) เพื่อประโยชน์สุข (benefit) ที่เกิดขึ้นแก่สมาชิก(เจ้าของ) และชุมชน

สหกรณ์ไม่ทำ maximize profit เพราะสหกรณ์ไม่มี profit มีแต่เพียงส่วนเกิน surplus ที่เกิดจาก economies of scale จากการร่วมมือ ร่วมใจ กันของสมาชิกตามปรัชญาสหกรณ์ ช่วยตน ช่วยกัน self help mutual help

นิยามสหกรณ์
สหกรณ์เป็นองค์การอิสระของบุคคลซึ่งรวมกันด้วยความสมัครใจเพื่อสนองความต้องการอันจำเป็น และความมุ่งหมายร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยการดำเนินวิสาหกิจที่เป็นเจ้าของร่วมกัน และควบคุม ตามแนวทางประชาธิปไตย

Definition
A co-operative is an autonomous association of persons united voluntarily to meet their common economic, social, and cultural needs and aspirations through a jointly-owned and democratically-controlled enterprise.

หลักการสหกรณ์ที่ 3 : การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิก

สมาชิกสหกรณ์ พึงมีความเที่ยงธรรมในการให้ และควบคุมการใช้เงินทุนในสหกรณ์ตามแนวทางประชาธิปไตย ทุนของสหกรณ์อย่างน้อยส่วนหนึ่งต้องเป็นทรัพย์สินส่วนร่วมของสหกรณ์ สมาชิกจะได้รับผลตอบแทนสำหรับเงินทุนตามเงื่อนไขแห่งสมาชิกภาพในอัตราที่จำกัด (ถ้ามี) มวลสมาชิกเป็นผู้จัดสรรผลประโยชน์ส่วนเกินเพื่อจุดมุ่งหมายประการใด ประการหนึ่งหรือทั้งหมด จากดังต่อไปนี้ คือ เพื่อการพัฒนาสหกรณ์ของตนโดยจัดให้เป็นทุนของสหกรณ์ ซึ่งส่วนหนึ่งของทุนนี้ต้องนำมาแบ่งปันกัน เพื่อเป็นผลประโยชน์แก่สมาชิกตามส่วนของปริมาณธุรกิจที่ทำกับสหกรณ์ และเพื่อสนับสนุนกิจกรรมอื่นใดที่มวลสมาชิกเห็นชอบ

3rd Principle: Member Economic Participation

Members contribute equitably to, and democratically control, the capital of their co-operative. At least part of that capital is usually the common property of the co-operative. Members usually receive limited compensation, if any, on capital subscribed as a condition of membership. Members allocate surpluses for any or all of the following purposes: developing their co-operative, possibly by setting up reserves, part of which at least would be indivisible; benefiting members in proportion to their transactions with the co-operative; and supporting other activities approved by the membership.

....Members allocate surpluses ... จะเห็นได้ว่า สหกรณ์นั้น มีแต่เพียง surplus สมาชิกผู้เป็นเจ้าของสหกรณ์จะจัดสรรประโยชน์สุขส่วนเกิน ที่ได้มาจากการร่วมมือ ร่วมใจของสมาชิก ไม่ได้มี profit ผลกำไรแต่อย่างใด


หลายท่านอาจยังไม่เข้าใจ คำ surplus กะ deficit บทความด้านล่าง นี้จะช่วยอธิบายได้ แล้วจะสามารถมองทะลุได้อย่างง่ายดายว่าองค์การใดเป็นสหกรณ์แท้จริง

การสหกรณ์อย่างเข้าใจง่าย

อธิบายการสหกรณ์อย่างง่าย

ผู้ใหญ่ 3 คน รวมเงินกันเพื่อจะไปเที่ยวปีใหม่ ที่ชายทะเล หรือภูเขา หรือน้ำตก ก็ได้ เก็บเงินคนละ 1000 บาท ด้วยความสมัครใจ แล้วทั้งสามคน ก็ ไปเที่ยวชายทะเล ภูเขา หรือน้ำตก ตามที่ต้องการ ไปเที่ยวแล้วได้ความสุข จ่ายค่ารถ ค่าอาหาร ค่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ กลับมาแล้วพบว่า จะเกิดเหตุการณ์สหกรณ์ 3 กรณี

1. กรณีพอดี กรณีค่าใช้จ่าย ค่ารถ ค่าอาหาร ค่าที่พักและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ พอดีกับเงินที่เก็บไป ทุกคนที่ไปเที่ยวร่วมกัน ได้ความสุข การสหกรณ์ครั้งนี้ก็จบลง

2.กรณีมีส่วนเกิน (surplus) ศัพท์คำนี้มีในหลักการสหกรณ์สากลที่ 3 จ่ายค่ารถ ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ แล้วเงินที่เก็บยังเหลืออยู่ใช้ไม่หมด สมมุติว่าเหลืออยู่ 300 บาท ทุกคนที่ไปได้รับความสุขจากการไปเที่ยวครั้งนี้ ก็นำเงินที่เก็บมาเกินเฉลี่ยคืนคนละ 100 บาท การสหกรณ์ครั้งนี้ก็จบลง

3.กรณีมีส่วนขาด (deficit) จ่ายค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าใช้จ่ายอื่น แล้ว ปรากฏว่า เงินที่เก็บมาไม่พอขาดไป 900 บาท ทุกคนได้รับความสุขจากการมาเที่ยวครั้งนี้ และลงมติว่า จะเก็บเงินเพิ่มอีกคนละ 300 บาท เพื่อจ่ายเป็นค่าใช้จ่าย เนื่องจากประมาณการค่าใช้จ่ายผิด การสหกรณ์ครั้งนี้ก็จบลง

จะเห็นได้ว่า ทั้งสามกรณี ผู้ที่มาร่วมทุน ร่วมแรง ร่วมใจกัน (สมาชิก) ได้รับความสุข จากการบริการของการมาร่วมกัน (การสหกรณ์) อย่างง่าย ๆ

หากมีคนใจร้าย มาบอกว่า เงิน 300 บาท สำหรับกรณีที่เป็นส่วนเกิน (Surplus) เป็น กำไร (Profit) ซึ่งต้องมุ่งให้เกิดกำไรสูง ๆ จนถึงสูงสุดก็เกิดปัญหา ไม่ได้รับความสุขจากการแบ่งปัน เท่าที่ควร อาจเกิดการขัดแย้ง

หากมีคนใจร้าย บอกว่า เงิน 900 บาท สำหรับกรณีส่วนขาด (deficit) เป็นขาดทุน (Loss) โดยมุ่งจะไม่ให้เกิดขาดทุน ก็จะไม่ได้รับความสุขจากการร่วมมือกัน เช่นเดียวกัน

ที่แท้จริงแล้วคือเงินที่เก็บมาจากความสมัครใจ เพื่อต้องการบริการคือความสุขจากการรวมกัน ไปเที่ยว สหกรณ์นั้น สมาชิกเป็นเจ้าของและผู้ใช้บริการ เป็นคน ๆ เดียวกัน ไม่มีกำไร ไม่มีขาดทุน มีส่วนเกิน (Surplus) เฉลี่ยคืน (patronage refund) และนำไปเอื้ออาทรต่อสังคม(concern for community) ตามหลักการสหกรณ์ที่ 7

มีส่วนขาด (deficit) ก็เก็บเพิ่ม เพื่อความสุขจากการร่วมมือกัน แบ่งปันกัน ที่จะดำเนินการต่อไป และจะมีการประหยัดเนื่องจากระดับขนาดจากการรวมกัน (Economies of scale) เช่น ใช้รถคันเดียว แทนที่จะ ต้องใช้ 3 คัน อยู่ในกิจกรรมที่เกิดขึ้นด้วย


สหกรณ์จึง มุ่งที่จะบริการสมาชิก (member service) ให้เกิดความสุขร่วมกันจากการรวมกัน ด้วยน้ำใจไมตรี

ไม่มุ่งหวังกำไรสูงสุดจากการใช้วิธีการสหกรณ์ (maximize profit) แต่มุ่งที่จะให้มีส่วนเกินที่พอเพียง พอดี (optimize surplus) ทั้งนี้เพื่อให้สมาชิก(เจ้าของ) สหกรณ์โดยรวมได้รับความพึงพอใจสูงสุด (maximize utility) จากบริการของสหกรณ์ที่ตนเองเป็นทั้งเจ้าของและผู้ใช้บริการ (co - owner,co - customer)

เพิ่มเติม
วันนี้ 28 กันยายน 2558

กราบขอบพระคุณ ท่านอธิบดีพีรรัตน์ อังกุรรัต อดีตอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ปัจจุบันท่านเป็นที่ปรึกษาสำนักงานโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯที่ได้รับถ่ายทอดวิชาให้กระผม จึงขอนำมาเผยแพร่

ได้นำเรียนท่านเรื่อง การสหกรณ์เป็นการทำ optimize surplus ไม่ใช่ maximize profit ท่านสอนว่า เป็น maximize satisfaction ด้วย


พีระพงศ์ วาระเสน

(ฺ"Bobbie" & "สุดท้ายตายทุกคน")
11 กันยายน 2558

หมายเลขบันทึก: 594642เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2015 10:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2020 20:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท