สวัสดีค่ะคุณ 53. ซวง ณ ชุมแสง
ขอบคุณที่เข้ามาอ่านและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันค่ะ
ระบบการกรองน้ำปัจจุบันนี้ อ้างอิงจาก...ที่นี่... The US Environmental Protection Agency
ระบบกรองน้ำ เพื่อจะใช้ดื่ม ที่ใช้กันในปัจจุบัน น่าจะมีอยู่ 5 แบบด้วยกัน
1. ระบบ Activated granular carbon filters ระบบนี้ จะกรองเอาสาร พวก Atrazine, benzene, mercury, trichloroethylene, trihalomethanes, และ radon ออกได้ แต่นอกจากจะมี คาร์บอนแล้ว ก็อาจยังมีตัวกรอง ตัวอื่นอีกด้วย เพื่อจะกรองเอา สารตะกั่วออก
2.ระบบ Solid block carbon filters ระบบนี้ จะกรองเอาพวก Asbestos, atrazine, benzene, lead, mercury, trichloroethylene, trihalomethanes ออกได้
3 ระบบ Reverse osmosis systems ซึ่งจะกรอง Arsenic, asbestos, atrazine, lead, mercury, nitrate, radium, Cryptosporidium, และ fluoride ออกได้
Reverse Osmosis (RO)
RO systems are compact, simple to operate, and
require minimal labor, making them suitable for
small systems. They are also suitable for systems
where there is a high degree of seasonal fluctuation
in water demand.
RO can effectively remove nearly all inorganic
contaminants from water. RO can also effectively
remove radium, natural organic substances,
pesticides, cysts, bacteria, and viruses. (See
Figure 2 and Table 1.) RO is particularly effective
when used in series. Water passing through
multiple units can achieve near zero effluent
contaminant concentrations. Disinfection is also
recommended to ensure the safety of water.
Some of the advantages of RO are:
• Removes nearly all contaminant ions and
most dissolved non-ions.
4.ระบบ Distillers ซึ่งจะกรอง Arsenic, asbestos, lead, mercury, nitrate, trichloroethylene, trihalomethanes, radium, coliform bacteria, Cryptosporidium, และ fluoride
5. ระบบ Ion exchange systems (aka water softeners) จะกรอง Calcium และ magnesiumออกได้ คือ สาร 2 ตัวนี้ จะเป็นตัวไปกัดกร่อน อุปกรณ์ประปา หรือ อุปกรณ์อื่นๆที่ใช้ในการทำความสะอาด ทำ ให้เกิดตะกรัน และมีอายุใช้งานที่สั้นลง และยังจะทำให้การล้างคราบสบู่ คราบน้ำยา ทำความสะอาด ให้ออกยากขึ้นด้วย
ระบบที่1-4 ติดตั้งได้ง่ายๆ ใต้ซิงค์น้ำ หรือในที่เหมาะสม แต่ระบบสุดท้าย จะเสียค่าใช้จ่ายสูงหน่อย และมักต้องใช้กับระบบน้ำทั้งบ้านเลย
ระบบ Reverse osmosis systems นี้ การประปาส่วนภูมิภาคก็ใช้อยู่
มีข่าวจาก อย. ....น.พ.ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา พร้อมด้วย ศ.น.พ. เกรียง ตั้งสง่า นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับน้ำอาร์โอ ขอชี้แจงให้ทราบว่าโครงการผลิตตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่ผ่านกระบวนการรีเวิร์ส ออสโมซิส หรือน้ำอาร์โอ จะรับผิดชอบโดยการประปาส่วนภูมิภาค ไม่อยู่ในข่ายต้องขออนุญาตจาก อย.
ข่าวจาก กทม....เมื่อวันที่ 5 ก.พ. 52 สำนักงานเขตพระนคร พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าฯ กทม. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผู้ประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญในพื้นที่เขตพระนคร ซึ่งกรุงเทพมหานครมีนโยบายในการควบคุมสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภทตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข ให้สะอาด ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ ปราศจากการปนเปื้อนในกระบวนการผลิต เพื่อป้องกันมิให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหารกับประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร...พบการปนเปื้อนของเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย จำนวน 215 ตัวอย่าง จากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ จำนวน 997 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 21.56%
ศ.น.พ. เกรียง ตั้งสง่า อดีต นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า น้ำดื่มอาร์โอ ดื่มได้ ปัจจุบันมีการใช้น้ำอาร์โอในห้องไตเทียมกว่า 80%
กล่าวต่อไปว่า ความกังวลที่ว่าน้ำดื่มในลักษณะนี้จะทำให้เป็นโรคกระดูกผุ โรคไทรอยด์ หรือกระทั่งโรคหัวใจ นั้น ยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่ยืนยันได้
ส่วนแร่แคลเซียม แมกนีเซียม ไอโอดีน และสารอาหารอื่นๆ ก็มีอยู่พอเพียงในอาหารที่ประชาชนบริโภคประจำวัน สิ่งที่ควรระมัดระวังเพิ่มเติม คือ ภาชนะที่มารองรับน้ำ จะต้องสะอาดไม่มีเชื้อโรคปนเปื้อน จึงจะได้รับน้ำที่ปลอดภัยในการบริโภค
คุณหมอเกรียงบอกว่า ใช้น้ำบริสุทธิ์ลักษณะนี้กับผู้ป่วยมาหลายสิบปี โดยโรงพยาบาลจุฬาฯ เป็นแห่งแรกของประเทศที่ใช้ระบบน้ำอาร์โอ และปัจจุบันมีการใช้น้ำอาร์โอในลักษณะตู้หยอดเหรียญ
"หลักการกรองน้ำบริสุทธิ์เพื่อผู้ป่วย ไม่ต่างจากน้ำในอุตสาหกรรม น้ำดื่ม น้ำกลั่นผสมยา น้ำที่นำมาใช้แต่ละระดับมีความบริสุทธิ์ต่างกัน" นิยามของคุณภาพน้ำบริสุทธิ์มี 3 ลักษณะคือ ด้านกายภาพ อาทิ ไม่มี สี กลิ่น รส (อาจมีรสความเป็นน้ำ แต่ไม่ใช่น้ำที่มีสนิมเหล็ก) ด้านเคมี พวกสารปนเปื้อนในน้ำ และด้านชีวภาพ การปนเปื้อนทางเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย จุลินทรีย์
แบคทีเรียในร่างกายและน้ำจะต่างกัน ในเลือดมนุษย์มีทั้งโปรตีนและกลูโคส จะเป็นเชื้อคนละอย่างกับน้ำ หากน้ำไม่สะอาด พวกน้ำครำจะมีเชื้อแบคทีเรีย ส่วนน้ำกลั่นบริสุทธิ์มีความละเอียดอ่อน ไม่มีอะไรเลย นอกจากอณูของไฮโดรเจนกับอะตอมออกซิเจน
เอาล่ะค่ะ ข้อมูลมากพอควรแล้ว คงพอมีประโยชน์บ้างนะคะ
ความเห็นส่วนตัวคือ...ถ้าถามว่า จำเป็นต้องดื่มน้ำอาร์โอหรือไม่ คิดว่า ไม่ค่ะ ใครจะเลือกดื่มน้ำต้ม น้ำประปากรองแบบหยาบๆ ผ่านการฆ่าเชื้อโรคก็ได้
และน้ำแร่จริงๆแล้ว ดิฉันว่า ก็ไม่จำเป็นต่อร่างกายเท่าไร แต่ถ้าจะดื่มก็ได้ ไม่เป็นไร
แต่ดิฉันชอบดื่ม น้ำบริสุทธิ์ตามมาตรฐานคณะกรรมการอาหารและยา และองค์การอนามัยโลกมากที่สุด สมัยก่อน สังคมไทยในอดีตดื่มน้ำฝน ในยุคนั้นน้ำฝนไม่มีสารปนเปื้อน ไม่มีมลภาวะ ถ้าเรากินอาหารที่เป็นประโยชน์ ร่างกายจะมีกระบวนการเก็บสารมีประโยชน์ไว้ สารไม่มีประโยชน์ก็จะกรองทิ้ง คิดว่า แต่ละวันเราน่าจะได้สารอาหารและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ เช่น แคลเซียมกว่า 1,000 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 300 มิลลิกรัม จากอาหารที่มีประโยชน์อยู่แล้ว
บันทึกนี้ อ่านแล้ว ก็แล้วแต่คุณ ซวง ณ ชุมแสง จะพิจารณาตามที่เห็นควรเองนะคะ
