มนต์เสน่ห์แห่งแม่น้ำสองสี..ตำบลจอมทอง เมืองสองแคว


แนะนำชุมชนหมู่ที่ 1-9

                    บันทึกความทรงจำจากการลงชุมชนตำบลจอมทอง    อ.เมือง  จ.พิษณุโลก    เมื่อวันที่ 30  พ.ค. 51   

 ชุมชนนี้มีแม่น้ำสองสีคือมี แม่น้ำแควน้อยและ แม่น้ำน่าน ไหลมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำสองสี

                  ชุมชนจอมทองมีทั้งหมด 9 หมู่บ้านด้วยกัน  ทางคณาจารย์คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จ.พิษณุโลก ได้ลงชุมชนไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนในชุมชน   ตัวแทนแต่ละหมู่บ้านได้มาเล่าเรื่องราวในชุมชนตนเอง     หลายท่านพูดจาคล่องแคล่วฉะฉานทราบมาว่ากำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏของเรานั่นเอง

                  หมู่ที่ 1  บ้านท่าตะเคียน  มีประเพณีทำขวัญพระแม่โพสฬ  การแข่งขันเรือพาย เพื่อเชื่อมความสามัคคีระหว่างหมู่บ้าน  ซึ่งตอนนี้ได้ประยุกต์ 12 ฝีพาย เป็นอีกสนามหนึ่งในพิษณุโลกด้วย

                  มีกลุ่มแม่บ้าน OTOP สามดาว  คือกลุ่มจักสานหมวก  ในสมัยก่อนเป็นไม้ไผ่แต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นปอพลาสติก

                 สถานที่อยู่ของหลวงปู่ฤทธิ์  พระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่แจง 

                  มีการรวบรวมของเก่าเพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์   ในปี 2549 ทางมหาวิทยาลัยนเรศวรได้ลงมาช่วยดูแล    ที่วัดท่าตะเคียนเป็นการรวมตัวกันของสามหมู่บ้านคือ หมู่ที่ 1,2 และ3   มีตู้พระธรรมจากช่างหลวงสมัยรัชกาลที่ 5 มีตำรายาใบข่อย  ทางชุมชนอยากให้มีผู้มาช่วยแปลใบข่อย  ใบลาน เพราะเสียดายความรู้ในนั้น  เนื่องจากทางมน.ได้มาดูแลและนำผ้าห่อไว้   แต่ชุมชนอยากจะให้ใส่ในกล่องแก้วเพื่อให้ประชาชนสามารถมาชมได้  ซึ่งทางศูนย์วัฒนธรรมก็ได้มาดู  แต่ยังไม่มีงบประมาณ        

              หมู่ที่ 2 เป็นหมู่บ้านขนาดเล็ก   เน้นการรักษาสิ่งแวดล้อม  มีแม่น้ำน่าน  ได้ร่วมมือกับค่ายทหาร ปลูกหญ้าแฝกบริเวณริมแม่น้ำน่านเพื่อป้องกันดิน

               ประชากรส่วนใหญ่ทำการเกษตร  มีการทำปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด  เพราะปุ๋ยเคมีปัจจุบันราคาสูงมาก  ทำให้ต้นทุนสูง   แต่วัสดุในการทำปุ๋ยก็ต้องสั่งจากอ.บางกระทุ่ม และจากจ.เชียงใหม่   ไม่สามารถทำเองได้       

               หมู่ที่ 3  วัดท่าตะเคียนอยู่หมู่นี้   อาชีพของประชาชนมีการเลี้ยงปลาในกระชังคือปลาทับทิม  โดยมีบริษัทซีพีมารับซื้อ      แต่ก็แบ่งขายด้วย   ตอนนี้อาหารปลาก็แพง  กำไรจึงลดน้อยลง 

                   ส่วนการทำนาไม่ค่อยมี ไร่นามีน้อย   มีสวนยางใหญ่ แต่เป็นของภาคเอกชนมาซื้อไว้

                   ปัญหาของชุมชนคือ การเลี้ยงปลา   ตอนนี้น้ำเริ่มลด  ออกซิเจนน้อย  น้ำร้อน  น้ำขุ่น  ปลาแออัด  ทำให้ปลาตายอยากให้มีการเคลื่อนย้ายที่เลี้ยงปลาไปบริเวณน้ำลึก  ที่น้ำเย็น มีออกซิเจนเยอะ    

                      

                  หมู่ที่ 4   มีวัดเกาะแก้ว   มีการสร้างแพเป็นสถานที่ท่องเที่ยว  มีตลาดน้ำ นำภาพเรือนแพตั้งอยู่ท่ามกลางแม่น้ำสองสี คือ แม่น้ำแควน้อยกับแม่น้ำน่านไหลมาบรรจบกัน เป็นมุมมองจากการถ่ายจากดาวเทียม....(ที่เห็นเป็นแผงเล็กๆริมแม่น้ำนั่นคือเรือนแพค่ะ) เป็นจุดชมวิวแม่น้ำสองสีที่ดีที่สุดเลย

                 มีพระพุทธรูปปางต่างๆ    ขณะนี้กำลังจะเริ่มทำปุ๋ยอินทรีย์  อยากได้ผู้แนะนำสูตรการทำปุ๋ยอินทรีย์

                  มีสวนโบราณที่ทางกลุ่ม NGO มาให้การสนับสนุน  มีต้นไม้โบราณ  ต้นจัน  ต้นหมาก มะขวิด  มะพลับ

                  ชมรมดนตรีพื้นบ้านมังคละ   ซึ่งได้ไปสอนเผยแพร่ให้กับเยาวชนในจังหวัดพิษณุโลกตามโรงเรียน  มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และมหาวิทยาลัยนเรศวร          

                  ปัญหาของชุมชน        

                  อยากของบสนับสนุนการทำมณฑปให้แน่นหนา   ไว้เก็บของโบราณ

                  ปัญหาจากการทำเรือนแพ   ต้องมีงบดูแลเดือนละเป็นหลักหมื่น  แพเริ่มทรุดโทรม    จุดเริ่มต้นของการทำเรือนแพคือ  มีการทำประชาคม 9 หมู่บ้าน   ทุกฝ่ายเห็นด้วย เพราะอยากจะมีรายได้   ในช่วงแรกมีการประชาสัมพันธ์   ในแต่ละหมู่บ้านจะดูแลแพคนละหลัง   ในช่วงแรกๆกิจการก็พอจะไปได้    แต่ขณะนี้คนมาท่องเที่ยวน้อยลง  แพก็เริ่มทรุดโทรม    จึงอยากจะให้คนที่เป็นมืออาชีพเข้ามาช่วยดูแล

                  จากการไปดูสถานที่จริง เริ่มเปลี่ยนแปลงไปพอสมควรจากการบอกเล่าของหลายๆคนที่เคยไป     

           ท่าเรือนี้เคยมีเรือล่องชมพระ 9  วัด แต่ตอนนี้ได้ย้ายเรือไปไว้ที่บริเวณวัดใหญ่แล้ว  ทำให้บริเวณนี้ค่อนข้างเงียบเหงา   แต่ธรรมชาติและมนต์เสน่ห์ความงามของแม่น้ำสองสี  ไม่ได้ลดลงเลย    ตำบลจอมทองอยู่อ.เมือง แต่เหมือนกับว่าเราเข้ามาอยู่อีกโลกหนึ่ง  ซึ่งแตกต่างจากความวุ่นวายในเมือง  

                      

             ผู้มาเยือนสามารถมาให้อาหารปลาได้   มีปลาตะเพียนอยู่มากมาย สงสัยว่าคงไม่ค่อยมีคนมาให้อาหาร   เพราะปลาแย่งกันใหญ่  จนตัวเล็กๆเข้าไม่ถึง

                

                ขอแนะนำหมู่ที่ 5   ต่อนะคะ  สำหรับหมู่นี้ มีโบสถ์เก่าแก่  แต่มีการเล่าเล่นๆว่าสาเหตุที่โบสถ์เก่าก็เป็นเพราะว่าวัดเหล่านี้ย้ายหนีน้ำอยู่บ่อยครั้งเลยทำให้โบสถ์เก่า  คงต้องไปสำรวจว่าเป็นจริงหรือเปล่า

                 หมู่ที่ 6

               หมู่นี้มีการทำนา  ปลูกพืชพวกมันแกว และมีการรวมตัวกันของผู้สูงอายุทำขนมกล้วย ขนมตาล  ขนมแตง  แต่ที่เป็นสินค้า OTOP คือ ขนมเปียกปูน ระดับ 2 ดาว 

               สาเหตุที่ได้สองดาว เพราะว่าชาวบ้านไม่มีพื้นที่ก่อสร้างโรงเรือน แต่ใช้ที่บ้านทำ   ต้องมีความสะอาดเรียบร้อยและที่สำคัญต้องโอนที่ให้อบต.ด้วย   และเนื่องจากเป็นขนมสด   พอไปคัดสรรเรื่องคุณภาพ  กว่าจะเดินทางไปก็ไม่ผ่านเชื้อจุลินทรีย์

              นอกจากนี้ยังมีการรณรงค์ให้ปลูกพืชผักสวนครัว  เลี้ยงปลา

              สำหรับขนมเปียกปูน  จากสูตรที่เขาเคยทำกันจะใช้กะลามะพร้าวมาเผา   แต่ที่นี่ใช้ใบตาลสดแทน  ซึ่งจะทำให้ขนมเปียกปูนเป็นเงากว่า   เริ่มต้นก็มีการลองทำกินในงานบวช งานแต่งก่อน  จึงพัฒนาขึ้นมาเป็นสินค้า OTOP 

              ผู้ทำจะเป็นแต่ผู้สูงอายุ แต่เด็กๆวัยรุ่นไม่ชอบ  เพราะใช้นานในการทำ ซึ่งเด็กจะไม่อดทน  ต้องใช้เวลาทำในกระทะประมาณสี่ถึงห้าชั่วโมง 

              ส่วนด้านการตลาดปกติจะไปติดต่อขายเองตามอำเภอ และจังหวัดเวลามีการประชุม

               หมู่ 7  ดินแดนแม่น้ำสองสายมาบรรจบกัน

               มีแม่น้ำธรรมชาติโอบล้อม   มีป่าไผ่   อยากให้มีการอนุรักษ์  เพราะกำลังจะถูกทำลาย  เนื่องจากมองว่าไม่สามารถสร้างประโยชน์ได้

               คนต่างถิ่น ไม่ค่อยรู้คุณค่าของป่าไผ่  เข้ามาซื้อที่  เดี่ยวนี้ป่าไผ่กำลังถูกเปลี่ยนเป็นเกษตรสมัยใหม่

               ตอนแรกจะทำเฟอร์นิเจอร์ผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ แต่ไม่คุ้มทุน  

               ที่นี่น้ำท่วมทุกปี  มีแหล่งอาหาร คลอง  หนองน้ำ   ตอนนี้มีเกษตรสมัยใหม่มาทำลายระบบนิเวศน์  มีการใช้สารเคมี    มีการทำปุ๋ยอินทรีย์แทน

               พยายามทำให้คนในชุมชนสำนึกรักบ้านเกิด      มีการปลูกต้นไม้สลับฟันปลาไว้ เพื่อกันน้ำ      สำหรับพืชผัก  ผลไม้ ในตลาดในเมืองจะมาจากหมู่นี้เยอะ

                หมู่ที่ 8 

               บ้านท่าโค(ได้ยินแบบนี้นะคะใช่หรือเปล่า)  สาเหตุที่ชื่อนี้ก็เพราะว่า  แถวไผ่ขอดอนมีการเลี้ยงวัว ควาย  แต่ไม่มีที่สำหรับให้วัว  ควายเล่นน้ำ  จึงต้องมาเล่นที่หมู่บ้านนี้ เลยได้ชื่อว่า "บ้านท่าโค"

                สำหรับหมู่บ้านนี้มีการเลี้ยงปลาในกระชัง  การทำขวัญแม่โพสฬ  การแห่กลองมังคละ        กลุ่มขนมไทย  จักสาน  มีปราชญ์ชาวบ้าน     มีช่างทำบายศรีสู่ขวัญ  งานบวช งานแต่ง

                จะมีเจ้าพิธีรับเหมา  คือจะรับจัดงานพิธีต่างๆ เช่น งานแต่งงาน   ทำศาลพระภูมิ  การทำบายศรี แต่...ต้องนำใบกล้วยตานีมาจากอ.สวรรคโลก จ.สุโขทัยค่ะ

                 หมู่ 9 

                วิถีชีวิตมีการทำไร่  ทำนา  ทำสวน  อยู่ติดริมแม่น้ำ  แต่ย้ายออกไปทำกินกันด้านนอก     การปลูกผลไม้พื้นบ้าน  ไม่ค่อยได้ผลแล้ว    มีการนำเกษตรทฤษฎีใหม่มาใช้

                มีการปลูกไม้ชนิดใหม่เช่น ส้มโอ  กระท้อน  ไผ่หวาน มะพร้าว  ส่วนผลไม้พื้นบ้านไม่เป็นที่ต้องการก็ตกลงมาเน่าเสีย  ทำให้เกิดแมลงวันทองมากมาย

               หมอดินอาสาได้เข้ามา มีโครงการ เผ่าถ่านไล่พวกนี้.... มีการทำน้ำสัมควันไม้ 

ได้ความรู้อย่างหนึ่งว่าดอกลำโพงที่ขึ้นอยู่ริมน้ำมากมาย  สามารถมาทำน้ำส้มควันไม้ได้

              บันทึกนี้เป็นการสรุปคร่าวๆจากที่ได้ไปลงชุมชนมา     กำลังรอความคิดเห็นจากเพื่อนๆอาจารย์ที่ไปในวันนั้นด้วยนะคะ   เพราะหลายประเด็นก็อาจจะตกหล่นไปได้ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 186044เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2008 00:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (35)

สวัสดีครับ

  • น้องลูกหว้าโผล่มาดึกทุกที
  • อ้าว ต้องติดตามต่อพรุ่งนี้เหรอครับ อิๆ
  • *ทโมน ทยอย ทแยง ทลาย

เอารูปดอกไม้ในมุมที่มองไม่ออกมาฝาก อิอิ ดอกอะไรเอ่ย น้องลูกหว้าครับ

 

  • สวัสดียามเช้าจ้า อาจารย์ลูกหว้า ขอนำภาพนี้มาแจม พี่นิดลงพื้นที่จอมทองเมื่อปีที่แล้ว นำลูกสาวไปด้วยในภาพร้อนมากเลยพาสาวน้อยไปที่แพชมสินค้าชาวบ้านจอมทอง ทานไอศครีม ได้ภาพแม่น้ำสองสีมา แต่ไม่ชัดเจนเท่าของ น้องลูกหว้า ที่พี่ไปเดือนเมษา น้ำน้อย ใส จึงเห็นความแตกต่างของน้ำสองสายยากพอสมควร อิอิ ต้องลองไปใหม่บ้างละจ้ะ

วันสิ่งแวดล้อมโลก : 5 มิถุนายน ของทุกปี

3331

สวัสดีค่ะ อ.ลูกหว้า

  • เวลาป้าแดง เจอแม่น้ำ สองสายไหลมาบรรจบกันจะชอบมาก โดยเฉพาะที่เป็น แม่น้ำสองสี แต่หาโอกาสเห็นยากจังแถวบ้าน
  • คงต้องตามพี่นิด คนสวยไปดู อิอิอิ
  • แม่น้ำ 2 สี
  • ผมก็เริ่ม 2 สี ฮิ ฮิ(ของผมเองละ)

ผมเป็นคนหลงรักภูเขาและสายน้ำเป็นชีวิตจิตใจ ... สามารถดั่งดูสายน้ำได้ค่อนครึ่งวัน

ที่อุบลราชธานีก็มีแม่น้ำสองสี , ....

ความเป็นมนุษยชาติล้วนผูกพันกับสายน้ำอย่างสนิทแน่น  ผมชอบชุมชนที่มีลำธาร หรือสายน้ำไหลผ่าน  อยากมีหลังบ้านที่แว่วยินเสียงธารน้ำไหลรินอยู่อย่างไม่ขาดสาย

....

ลุ่มน้ำสงครามที่สกลนคร, นครพนม  ก็เป็นแหล่งน้ำอันยิ่งใหญ่และเป็นประวัติศาสตร์ของอู่ข้าวอู่น้ำ หรือ "ไหปลาแดก" ของคนอีสาน  ซึ่งผมเคยได้ไปสัมผัสฝังตัวอยู่ร่วมเดือน  จึงยิ่งหลงรักสายน้ำอย่างเท่าทวีคูณ

.....

มหาสารคาม มีน้ำชีไหลผ่าน  ชาวบ้านได้อาบได้กิน  แม่น้ำชีไม่มีวันสูญสิ้น  ได้อาบได้กิน เพราะเป็นถิ่นพัฒนา ......

นี่เป็นท่อนหนึ่งของเพลงที่เคยร้องในสมัยที่เข้าประชุมเชียร์เมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ...

ทุกวันนี้แม่น้ำชีก็ยังคงไม่ละวางจากการทำหน้าที่หล่อเลี้ยงคนเมืองมหาสารคาม  หรือแม้แต่คนอีสานทั่วไป  ซึ่งแม่น้ำชีมีต้นกำเนิดมาจากจังหวัดชัยภูมิ  ถึงแม้จะไม่ใช่สายน้ำใหญ่  แต่ก็เป็นสายน้ำที่ยาวที่สุดในภาคอีสานเลยทีเดียว ครับ,

...

คิดฮอดอยู่ตลอดเวลา เด้อ..เอื้อย เด้อ

ธรรมชาติยังสวยงามจริงๆเลยครับ

ยังไม่เคยไปเลย วันหลังไปอีก ชวนผมด้วยนะ

สวัสดีครับ อ.ลูกหว้า

  • แวะมาทักทาย ครับ
  • แวะมาเที่ยว เมืองสองแคว
  • น่าเที่ยวมากครับ
  • ยังไม่เคยไป
  • ถ้าไป สงสัย คงจะต้องให้ อาจารย์
  • เป็นไกด์ นำเที่ยวซะแล้ว
  • ขอบคุณครับ

 

ขอบพระคุณทุกท่านนะคะที่แวะมาทักทาย แล้วจะมาเพิ่มรายละเอียดค่ะ

  • P พี่เองก็ชอบโผล่มากลางดึกเหมือนกันน๊า...
  • ทำไมเปลี่ยนรูปหล่ะคะ
  • P  พี่บูทคะ
  • พี่ถ่ายจากเกสรหรือเปล่า
  • ดูยังไงก็ไม่คุ้นเลยค่ะ ขอทายว่าเป็นเกสรดอกไม้ แต่ดอกอะไร อิอิ  ขอยอมแพ้ละกันจ้า 

มาเยี่ยม มหาวิทยาลัยที่ทำงานใกล้ชิดกับ ชุมชน จะทำให้ สิ่งที่สอนนักศึกา เป็นทฤษฎีที่อยู่บ้านพื้นฐานปรากฏการณ์จริงของสังคม และนำไปใช้ได้ และ ผู้นำในการประยุกต์ใช้ ควรต้องเป็นครู ...

  • P  พี่บูทคะ
  • พี่ถ่ายจากเกสรหรือเปล่า
  • ดูยังไงก็ไม่คุ้นเลยค่ะ ขอทายว่าเป็นเกสรดอกไม้ แต่ดอกอะไร อิอิ  ขอยอมแพ้ละกันจ้า 
  • P  พ่อค่ะ...ได้แค่ไปพูดคุยกันค่ะ
  • P  พี่นิดคะ...
  • มาช่วงนี้น้ำกำลังเยอะค่ะ  แต่แพทรุดโทรมลงไปมากค่ะ
  • ขอแนะนำหมู่ที่ 5   ต่อนะคะ  สำหรับหมู่นี้ มีโบสถ์เก่าแก่  แต่มีการเล่าเล่นๆว่าสาเหตุที่โบสถ์เก่าก็เป็นเพราะว่าวัดเหล่านี้ย้ายหนีน้ำอยู่บ่อยครั้งเลยทำให้โบสถ์เก่า  คงต้องไปสำรวจว่าเป็นจริงหรือเปล่า
  • P  สวัสดีค่ะอ.ประจักษ์ 
  • วันนี้วันสิ่งแวดล้อมโลกพอดีค่ะ
  • เมื่อวานทางคณะก็ได้มีโครงการปลูกต้นไม้กัน ทั้งนักศึกษาและอาจารย์ค่ะ
  • P  ป้าแดงคะ
  • ตอนนี้น้ำกำลังเยอะค่ะ 
  • เห็นแม่น้ำสองสีแล้วกำลังสวยทีเดียวค่ะ
  • หว้าขอแนะนำ หมู่ที่ 6 ต่อนะคะ
  • หมู่นี้มีการทำนา  ปลูกพืชพวกมันแกว
  • และมีการรวมตัวกันของผู้สูงอายุทำขนมกล้วย ขนมตาล  ขนมแตง  แต่ที่เป็นสินค้า OTOP คือ ขนมเปียกปูน ระดับ 2 ดาว 
  • สาเหตุที่ได้สองดาว เพราะว่าชาวบ้านไม่มีพื้นที่ก่อสร้างโรงเรือน แต่ใช้ที่บ้านทำ   ต้องมีความสะอาดเรียบร้อยและที่สำคัญต้องโอนที่ให้อบต.ด้วย   และเนื่องจากเป็นขนมสด   พอไปคัดสรรเรื่องคุณภาพ  กว่าจะเดินทางไปก็ไม่ผ่านเชื้อจุลินทรีย์
  • นอกจากนี้ยังมีการรณรงค์ให้ปลูกพืชผักสวนครัว  เลี้ยงปลา
  • สำหรับขนมเปียกปูน  จากสูตรที่เขาเคยทำกันจะใช้กะลามะพร้าวมาเผา   แต่ที่นี่ใช้ใบตาลสดแทน  ซึ่งจะทำให้ขนมเปียกปูนเป็นเงามกว่า   เริ่มต้นก็มีการลองทำกินในงานบวช งานแต่งก่อน  จึงพัฒนาขึ้นมาเป็นสินค้า OTOP 
  • ผู้ทำจะเป็นแต่ผู้สูงอายุ แต่เด็กๆวัยรุ่นไม่ชอบ  เพราะใช้นานในการทำ ซึ่งเด็กจะไม่อดทน  ต้องใช้เวลาทำในกระทะประมาณสี่ถึงห้าชั่วโมง 
  • ปกติจะไปติดต่อขายเองตามอำเภอ และจังหวัดเวลามีการประชุม

ดีจังเลยน้องลูกหว้า ได้ลงชุมชนด้วย แต่พี่กลัว แพล่ม อิอิๆๆ

  • P  คุณ เกษตรอยู่จังหวัด
  • ผมเริ่มสองสีแล้วหรือคะ...ไม่น่าเชื่อเลย
  • ขอแนะนำหมู่ 7 นะคะ ดินแดนแม่น้ำสองสายมาบรรจบกัน
  • มีแม่น้ำธรรมชาติโอบล้อม   มีป่าไผ่
  • อยากให้มีการอนุรักษ์  เพราะกำลังจะถูกทำลาย  เนื่องจากมองว่าไม่สามารถสร้างประโยชน์ได้
  • คนต่างถิ่น ไม่ค่อยรู้คุณค่าของป่าไผ่  เดี่ยวนี้ป่าไผ่กำลังถูกเปลี่ยนเป็นเกษตรสมัยใหม่
  • ตอนแรกมองเฟอร์นิเจอร์ผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ ไม่คุ้มทุน  
  • ที่นี่น้ำท่วมทุกปี  มีแหล่งอาหาร คลอง  หนองน้ำ
  • ตอนนี้มีเกษตรสมัยใหม่มาทำลายระบบนิเวศน์  มีการใช้สารเคมี  
  • มีการทำปุ๋ยอินทรีย์แทน
  • พยายามทำให้คนในชุมชนสำนึกรักบ้านเกิด
  • มีการปลูกต้นไม้สลับฟันปลาไว้ เพื่อกันน้ำ
  • สำหรับพืชผัก  ผลไม้ ในตลาดในเมืองจะมาจากหมู่นี้เยอะ
  • P  สวัสดีค่ะน้องพนัส
  • เปิดเทอมแล้วที่มมส.คงจะค่อนข้างยุ่งนะคะ
  • ที่แถวริมน้ำแบบนี้พี่ค่อนข้างคุ้นค่ะ
  • สมัยเด็กๆ ตอนน้ำลด เราสามารถมาเล่นน้ำที่แม่น้ำได้เลยค่ะ
  • แถมญาติยังมีบ้านริมน้ำอีกด้วย ลงมาแช่เท้าเล่นได้เลย
  • นี่ด้านหลังบ้านริมน้ำของญาตินะคะ เห็นบรรยากาศแม่น้ำน่าน สดชื่นมากเลยหล่ะ
  •  
  • สวัสดีค่ะอ.ตาหยูP  กะอ.ภูคา P
  • สนใจมาเที่ยวได้ค่ะ จะพาไปชมธรรมชาติไม่ไกลเมือง 
  • ขอแนะนำ หมู่ที่ 8 นะคะ 
  • บ้านท่าโค(ได้ยินแบบนี้นะคะใช่หรือเปล่า)  สาเหตุที่ชื่อนี้ก็เพราะว่า  แถวไผ่ขอดอนมีการเลี้ยงวัว ควาย  แต่ไม่มีที่สำหรับให้วัว  ควายเล่นน้ำ  จึงต้องมาเล่นที่หมู่บ้านนี้ เลยได้ชื่อว่า "บ้านท่าโค"
  • สำหรับหมู่บ้านนี้มีการเลี้ยงปลาในกระชัง  การทำขวัญแม่โพสฬ  การแห่กลองมังคละ
  • กลุ่มขนมไทย  จักสาน  มีปราชญ์ชาวบ้าน
  • มีช่างทำบายศรีสู่ขวัญ  งานบวช งานแต่ง
  • จะมีเจ้าพิธีรับเหมา  คือจะรับจัดงานพิธีต่างๆ เช่น งานแต่งงาน   ทำศาลพระภูมิ  การทำบายศรี แต่...ต้องนำใบกล้วยตานีมาจากจังหวัดสวรรคโลก
  • P  ครูโย่งและ คุณเอกราชคะ P
  • มาเที่ยวพิษณุโลกเมื่อไหร่  ยินดีเป็นไกด์ให้ค่ะ
  • เห็นด้วยกับคุณเอกราชนะคะ  การที่อาจารย์ได้มีโอกาสลงชุมชน  ทำให้เราได้เรียนรู้และทราบถึงปัญหาในชุมชน
  • ขอแนะนำหมู่สุดท้ายค่ะ หมู่ 9 
  • วิถีชีวิตมีการทำไร่  ทำนา  ทำสวน  อยู่ติดริมแม่น้ำ  แต่ย้ายออกไปทำกินกันด้านนอก
  • การปลูกผลไม้พื้นบ้าน  ไม่ค่อยได้ผลแล้ว
  • มีการนำเกษตรทฤษฎีใหม่มาใช้
  • มีการปลูกไม้ชนิดใหม่เช่น ส้มโอ  กระท้อน  ไผ่หวาน มะพร้าว 
  • ส่วนผลไม้พื้นบ้านไม่เป็นที่ต้องการก็ตกลงมาเน่าเสีย  ทำให้เกิดแมลงวันทองมากมาย
  • หมอดินอาสาได้เข้ามา มีโครงการ เผ่าถ่านไล่พวกนี้....
  • มีการทำน้ำสัมควันไม้ 
  • ได้ความรู้อย่างหนึ่งว่าดอกลำโพงที่ขึ้นอยู่ริมน้ำมากมาย  สามารถมาทำน้ำส้มควันไม้ได้
  • P  พี่ขจิตคะ..
  • แพล่มคืออะไรคะ งงๆๆ
  • เข้ามาดูแต่ละทีมีอับเกรดตลอดเลยนะครับ
  • ชอบนะครับหมู่ 7 ที่แนะนำ
  • เป็นครัวของเมือง
  • แต่คงต้องดูความยั่งยืนต่อไป
  • ช่วยกันทุกภาคส่วนนะครับ

แวะมาเยี่ยมครับ ไปคราวหน้าคงมีบันทึกมาฝากอีกนะครับ

ระวังตกน้ำด้วย

  • P  คุณเกษตรอยู่จังหวัด
  • หว้าค่อนข้างผูกพันกับแม่น้ำพอสมควรค่ะ เพราะตอนเด็กๆเคยมาเล่นน้ำแถวนี้ตอนน้ำลดค่ะ
  • มีความทรงจำดีๆค่ะ  ก็รู้ว่าวันเวลาเปลี่ยนก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลง แต่ทำอย่างไรจะเป็นชุมชนแบบยั่งยืนได้ เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันค่ะ
  • คุณคณิน...
  • ตามอ่านนะคะ   งานค่อนข้างยุ่งมากค่ะ  แต่ก็จะพยายามเข้ามาบันทึกไว้ค่ะ
  • ขอบคุณสำหรับข้อมูลน้องลูกหว้ามาก นะคะ
  • ขอแก้ไข นิดเดียวจ้ะ นะคะ นำใบกล้วยตานีมาจากอ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย จ้า
  • บ้านเกิดพี่อยู่อ.สวรรคโลก ที่อำเภอนี้มีอาชีพ ปลูกกล้วยตานี ขายใบตองมากค่ะ
  • P  พี่นิด..
  • ขอบพระคุณมากค่ะพี่ อิอิ  รีบพิมพ์ไปหน่อย
  • เท่าที่คุยกับชาวบ้านเป็นข้อมูลล่าสุดค่ะ ว่าตอนนี้เขาคิดอะไรกันบ้าง  แต่ก็ไม่ได้ใส่ไปทุกเรื่อง  บางเรื่องเขาก็ว่าไม่อยากให้คนภายนอกรู้
  • เป็นการสรุปคร่าวๆในเวลาอันจำกัดค่ะ
  • แต่ที่นั่นเปลี่ยนไปมากจริงๆค่ะพี่  เห็นมีคนมีเงินมาซื้อที่กันค่อนข้างเยอะ  ทั้งมาสร้างบ้าน แล้วทำเกษตรสมัยใหม่  เป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วงค่ะพี่ ว่าต่อไปภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนในหมู่บ้านนี้จะค่อยๆสูญหายไป  ทุกฝ่ายต้องช่วยกันนะคะ
  • ว่างๆไปกันมั้ยคะ

 

ขอขอบคุณอาจารย์ลูกหว้า เป็นอย่างสูง ผมหวังว่าหนังสือ "ทางรอดในภาวะเศรษฐกิจถดถอย : โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" คงมีประโยชน์สำหรับอาจารย์และผู้อ่านทุก ๆ ท่าน ถ้าหากอาจารย์ลูกหว้ามีขอแนะนำและข้อเสนอแนะเพื่อสร้างองค์ความรู้ให้กับผม ผมยินดีและขอขอบคุณอาจารย์อีกครั้งครับ

ด้วยจิตมุ่งมั่นและเข้มแข็ง

  • P คุณ ภูมิปัญญาตกกระแส
  • ตื่นเต้นจังค่ะที่คุณเข้ามาตอบที่นี่..
  • ปกติสนใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยู่แล้วค่ะ  เวลาสอนก็สอดแทรกอยู่ในทุกรายวิชา...ทำมานานแล้ว ไม่ได้ตามกระแสเช่นปัจจุบัน เพราะจะมีรุ่นพี่ทำงานตามเสด็จในหลวงและพระเทพ   ทำให้ได้ทราบเรื่องราวน่าประทับใจต่างๆมากมาย...
  • ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ พี่ๆหลายคน  แต่สำหรับคนที่คุยแล้ว "ใช่" มีไม่มากนักค่ะ  
  • ยังไงก็ขออ่านหนังสือให้จบก่อนนะคะแล้วจะไปแลกเปลี่ยนด้วยค่ะ
เด็กราชภัช (วิทยาการจัดการ)

ขอบคุณนะคะ ^^ สำหรับข้อมูล จะได้เอาไปทำรายงานอ.กุลแก้ว หุหุ

ยินดีค่ะ เด็ก ท่องเที่ยวเหรอ อยากได้ข้อมูลอะไรอีกก็บอกได้ค่ะ

จะเอาไปทำรายงานเหมือนกัน แต่เคยไปมาแล้ว เก็บรายละเอียดไม่ได้เลยขอบคุณนะค่ะ

อ้อ..บันทึกนี้ไม่ค่อยละเอียดหรอกค่ะ เพราะใช้จดแบบเร็วๆเหมือนกันเลย แต่ชุดที่ละเอียดนั้นทำส่งที่คณะไปแล้วค่ะ แต่อันนี้ก็พอจะบอกเรื่องราวได้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท