Reblog, Rethink, Reprocess : สาระที่ GotoKnow ควรจะมี


สวัสดีครับทุกท่าน

        สวัสดีปีใหม่นะครับทุกท่าน สบายกันดีนะครับ หวังว่าทุกท่านจะทราบผลการเลือกตั้งกันแล้ว ทุกอย่างจะพอใจ ไม่พอใจ หรือเฉยๆ ก็ต้องคิดกันต่อไปครับ ดังนั้น เราถึงเวลาที่จะต้องทบทวนกันนะครับ

        วันนี้สืบเนื่องจากบทความของคุณเบิร์ด จากบันทึกนี้  อยากให้ G2K เป็นอย่างไร ? น่าสนใจมากครับ ที่ชวนคนใน โกทูโนว์คิดกันนะครับ ผมเลยเอาภาพสไลด์สองภาพมาฝากทุกท่าน ร่วมคิดขยายต่อกันนะครับ เรามามองจากภาพรวมหรือสิ่งที่ผมอยากจะเห็นในโกทูโนว์ว่าอยากเห็นอย่างไร โดยผสมกับแนวคิดที่พี่ Conductor ได้นำเสนอไว้แล้วหลายๆ บทความดังนี้ครับ

       ผมจะขอชวนท่านไปยังระบบโกทูโนว์ที่ผมอยากเห็นก่อนนะครับ เริ่มจากที่เราเขียนๆ บทความกันแต่ละวัน แต่ละครั้งนั้นซึ่ง GotoKnow มีบทความมากมายในแต่ละวันและมีคนเข้ามาอ่านเยอะพอสมควร ตอนนี้บทความทั้งหมดอยู่ในระดับแสน วันหนึ่งก็จะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ จนอยู่ในระดับล้านบทความ ข้อมูลมหาศาลเหล่านี้ จะเป็นข้อมูลอะไร มีสาระ มีสาระระดับใด เป็นบทความแบบไหน เกิดประโยชน์กันอย่างไรต่อไป

http://gotoknow.org/file/mrschuai/data-knowledge2.jpg

          จากภาพด้านบนเริ่มจากที่เรามีแนวคิด มีประเด็น ที่อยากจะร่วมนำเสนอในการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.) กันระหว่างบล็อกเกอร์ในระบบและนอกระบบนะครับ ปกติข้อมูลที่เรานำเสนอนั้นอาจจะอยู่ในรูปแบบของ ข้อมูล(Data) ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลดิบหรือว่าข้อมูลสุก หรือในรูปแบบของ สารสนเทศ (Information) ดังนั้นเมื่อเรานำระบบคิดภายในของเราแล้วถ่ายทอดลงสู่ Blog หรือ Weblog นั้นสิ่งที่ถูกถ่ายทอดจะถูกแปลงเป็นข้อมูลหรือสารสนเทศทันที แม้ว่าสิ่งที่เราได้จากการ ลปรร. จะเป็น สิ่งที่เกิดในระดับ ความรู้ (Knowledge) หรือว่า ปัญญา (Wisdom) ก็ตาม และข้อมูลเหล่านั้นก็จะผ่านกระบวนการคิดใหม่อีกรอบเมื่อผ่านการอ่าน การ ลปรร. ในรอบใหม่ๆ ต่อไป

           เมื่อข้อมูลหรือสารสนเทศ ถูกจัดเก็บในรูปแบบ บทความในบล็อกนั้น ก็จะผ่านการแลกเปลี่ยนในระบบบล็อกหรือภายนอกบล็อกก็ตาม สิ่งที่น่าคิดต่อ คือ เราจะเข้าถึงข้อมูลบทความเหล่านี้ได้อย่างไรในโอกาสต่อไป โดยไม่จำเป็นต้องอ่านใหม่ Reread กันใหม่อีกรอบ เราจะสามารถยกระดับการสะกัดตะกอนที่ได้จากแต่ละบทความผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Reblog / Editor เพื่อจัดเก็บในรูปแบบใหม่ที่เข้าถึงได้ง่าย แล้วนำไปสู่การค้นหาอย่างมีประสิทธิภาพในโอกาสต่อไป อาจจะมีระบบการค้นหาของ GotoKnow เอง อาจจะไม่พึ่งพาระบบค้นหาของกูเกิล ก็ได้ครับ  เมื่อเราเข้ามาอ่านบทความแต่ละบทความ เราอาจจะได้ตะกอนความคิดในการร่วมถกประเด็นบทความแล้วนำไปสู่การเพิ่มตะกอนของบทความนี้ แล้วบล็อกเกอร์ก็สามารถเข้าไปเพิ่มตะกอนได้ในตะกอนโกทูโนว์ได้ โดยจะจัดเก็บให้เหมาะสม ในระดับที่สอง ที่เป็นการจัดเก็บในระดับของ สารสนเทศ Information ที่ไม่ใช่เป็นเพียง Data ทำให้เกิดระบบที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

           สิ่งที่จะนำไปสู่การคิด การรวมตะกอนนั้น ทำได้ โดยให้ผู้ร่วม ลปรร. ร่วมเพิ่มหรือเจ้าของบทความ หรือจะมีบรรณาธิการอาสา ร่วมทำก็ได้ อย่างที่คุณ Conductor นำเสนอไ้ว้นะครับ 

            คราวนี้เรามาดูในระดับส่วนบุคคลนะครับ ว่าควรจะมีระบบคิดอย่างไรบ้างครับ ปกติคนเราจะมีการนำเข้าข้อมูลเข้าสู่ระบบคิดในสมองไ้ด้จากอวัยวะต่างๆ ที่เรารับได้และถ่ายทอดออกมาได้ แล้วรับกลับเข้าไป ผมจะขอยกตัวอย่างการแปลงข้อมูลเหล่านี้นะครับ ตั้งแต่

        Data --> Information --> Knowledge --> Wisdom 

กระบวนการนี้ จะมีระบบจินตนาการ Imagination ฝังอยู่ในแต่ละระดับในการส่งผ่านผลลัพธ์ ระหว่างการแปลงแต่ละค่านั้นจะมี กระบวนการคิดแบบ 

        Input --> Processing --> Output  ฝังอยู่ด้วยเสมอ

กระบวนการนี้ทำใหผมนึกถึงบทความ จินตนาการ ที่ว่า จินตนาการ..สำคัญกว่าความรู้จริงหรือ ?  ของ คุณเบิร์ด นะครับ ซึ่งเคยถกกันไปแล้วหลายรอบมากครับ จะมีวงรอบของการ Rethink, Reprocess ด้วยครับ

http://gotoknow.org/file/mrschuai/data-knowledge.jpg

       หากเราพิจารณากันอย่างถี่ถ้วนแล้วเราจะพบว่า ความรู้ (Knowledg) และปัญญา (Wisdom) นั้นจะเกิดขึ้นในระบบคิด หรือเกิดภายในสมอง ดั่งที่ ท่าน อ.แสวง เคยเขียนไว้ในบทความนี้ ความ “รู้” เกิดใน “ระบบคิด” (ไม่เกิดในเอกสาร)  ซึ่งผมคิดว่าใช่เลยทีเดียว และที่น่าทึ่งกว่านั้นคือ เมื่อเราได้ความรู้ K หรือปัญญา W นั้นแล้วเราต้องถ่ายทอดต่อ ระดับที่บอกต่อหรือถ่ายทอดออกไป ก็เป็นเพียงแค่ ระดับข้อมูลหรือสารสนเทศเท่านั้น โดยอาจจะเป็นการยกระดับของความมีคุณค่าของ ข้อมูล D และกลายเป็นสารสนเทศ I ที่สะอาดหรือพัฒนาขึ้นในวงรอบถัดไปแค่นั้นเอง หากจะให้เกิดเป็นความรู้ K หรือปัญญา W จะต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ภายในกันเอง โดยจะมีการ Reprocess ให้เกิดขึ้นในระบบสมอง ระบบคิดของแต่ละท่านเอง ซึ่งนั้นคือ จะเกิด ความรู้ K หรือ ปัญญา W ในรอบใหม่หรือไม่ก็ได้ แต่หากไม่เกิดแล้วมีการถ่ายทอดส่งผ่านต่อไป ก็เป็นเพียงแค่การถ่ายทอด ข้อมูล D และ สารสนเทศ I แค่นั้นเอง โดยอาจจะผ่านระบบการคิด Rethink, Reprocess ในวงรอบต่อๆ ไป จนจะเกิดเป็นปัญญาในที่สุด 

        ในแนวคิดนี้ ผมนำเสนอว่า ปัญญา W หรือความรู้ K ที่เกิดก็กลับไปสู่ข้อมูล D ได้ในวงรอบต่อไปได้เช่นกัน โดยอาจจะผสมกับข้อมูลนำเข้า Input ภายนอกได้เช่นกัน เพื่อปัญญา W ในรอบใหม่ครับ

 


 

       หากมีการจัดการข้อมูลที่เป็นระบบ วันหนึ่งผมว่าระบบสารสนเทศใน GotoKnow อาจจะถูกพัฒนาไปถึงระบบฐานข้อมูลตะกอนชีวิต ก็ว่าได้ครับ ส่วนนี้ ผมขอวางแยกไว้นะครับ โดยมีแนวคิดเบื้องต้นมาจากพื้นฐานที่่ว่า ปกติคนเราเกิดมา แล้ว เติบโต มีกระบวนการเรียนรู้ มีกระบวนการจัดเก็บประสบการณ์ มีกระบวนการจัดเก็บระบบคิด แนวคิด ประสบการณ์ ความฝัน หรือระดับอุดมการณ์ หรือจิตวิญญาณ ฝังอยู่ในแต่ละคน แต่สัตว์โลกย่อมตายทุกคน หนีไม่พ้นวงจรนี้

        ก็เลยเกิดคำถามที่ว่า เราจะจัดเก็บตะกอนชีวิตเอาไว้ในระบบฐานข้อมูลได้อย่างไรให้ง่ายในการเข้าถึง และอาจจะส่งผลให้มีการพัฒนาต่อยอดทางความคิดต่อได้ เช่น กายของปราชญ์ตายไปแล้ว แต่ความฝันของปราชญ์ยังคงอยู่ ใครจะสานต่อได้ จะสานต่ออย่างไร มีการคิดทำและทดลองในบริบทนั้นมาแล้วอย่างไร อะไรควรทำต่ออะไรควรเก็บไว้เป็นข้อคิดต่อไป คล้ายๆ กับระบบชีวะประวัติในการทำงาน แต่จะเน้นระบบคิด ระบบดีๆ ที่ทรงคุณค่าในคนคนนั้น แทนที่จะจากลาโลกนี้ไปแค่นั้น


ก่อนจาก ขอฝาก พระบรมราโชวาท บทนี้เอาไว้กับความเป็นอยู่ของ GotoKnow ด้วยครับ ผมเชื่อว่าเอาไปประยุกต์ใช้ได้ดีเลยทีเดียว
<h2 align="center">ความพอดี</h2><h4 align="center"> ... ความพอเหมาะพอดี  ไม่ทำเกินฐานะและกำลัง </h4><h4 align="center">หรือทำด้วยความเร่งรีบ. เืมื่อมีพื้นฐานแน่นหนารองรับพร้อมแล้ว</h4><h4 align="center">จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญก้าวหน้าในระดับที่สูงขึ้น</h4><h4 align="center">ตามต่อกันไปเป็นลำดับ. ผลที่เกิดขึ้นจึงจะแน่นอน...</h4><h4> </h4><h4 align="center">พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น</h4><h4 align="center">ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันพฤหัสบดี ที่ 18 ธันวาคม 2540</h4><p align="center">คำสอนพ่อ …. ความพอดี …. ของขวัญปีใหม่ให้กับทุกท่าน </p><hr width="100%" size="2">

<h4>        คุณมีความเห็นอย่างไรเชิญร่วมบรรเลง นะครับ สำหรับตะกอนโกทูโนว์ ที่ควรจะเป็นนั้น และเหมาะในการเข้าถึงของข้อมูลรวดเร็วทันใจ เพื่อยกระดับข้อมูลหรือสารสนเทศให้เป็นสารสนเทศที่ทรงคุณค่าต่อระบบฐานข้อมูลทางปัญญาของสังคมไทยต่อไปได้อย่างไร เชิญร่วมคิดกันต่อนะครับ</h4><h4>ขอแสดงความนับถือ และสวัสดีปีใหม่ครับ</h4><h4>เม้งครับ </h4>

หมายเลขบันทึก: 155595เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2007 03:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)
  • อ่านแล้วมันยังดูรวมๆกันเป็นก้อน
  • ต้องมีคนเอามาแยกย่อย
  • น่าจะมีสต๊าฟทำ แต่นักวิชาการเชิงรุกเข้าบล็อกน้อยมาก ไปชวนก็ถอยหลังกรูดๆ  อยากจะทำเรื่อง่ายๆ แบเบาะ
  • ที่จริงพวกเรียน ป.โท เอก เขาก็ต้องการทำตรงนี้
  • จะลองติดต่อเขาเข้ามาดู มาคุยกับเม้ง นะ
  • น่าเขียนในรูปเสนอโครงการ ไปที่ สถาบันแห่งชาติว่าด้วยครูภูมิปัญญาไทย ในสังกัดสภาการศึกษาแห่งชาติ
  • แต่เม้งอาจจะต้องมาเป็นหัวหน้าลุยเอง
  • งานด้านระบบสารสนเทศสถาบันแห่งชาติว่าด้วยครูภูมิฯ ยังไม่ครอบคลุมและแยกย่อยลงลึกอย่างที่เม้งเขียน
  • ลองให้ขจิตประสานให้ก็ได้

ผมคิดว่า โมเดลน่าจะคล้ายๆกับการเก็บพันธุ์ข้าว

  • รวมรวม จำแนก แยกแยะ
  • ทำความสะอาด ดูแลรักษา
  • ทดสอบ ตรวจสอบสมำเสมอ
  • ขยายพันธุ์ ทั้งเพื่อรักษา และนำไปใช้
  • ทำงานเชื่อมโยงกับสังคมจริง ไม่ใช่ทำแบบพิพิธภัณฑ์ ที่มีแต่จะสูญหาย

น่าจะดีนะครับ

ผมอ่านสองรอบ และแต่ละรอบทำความเข้าใจอย่างละเอียด

-------------------------------------

ผมขอให้ความเห็นดังนี้ครับ

  • ผมดีใจที่เห็นพัฒนาการนำความรู้ไปเพื่อการพัฒนาสังคมได้ หากดูจากโมเดล
  • อาจใช้กระบวนการProcessing เยอะและใช้ทรัพยากรมากในขั้นตอนนี้ (สอดคล้องกับความเห็นพ่อครู) คงต้องคุยในรายละเอียดมากเพื่อการจัดการความรู้ได้ W ที่มีพลัง

ปัญหาที่มีอยู่

  • รูปแบบการเขียนบันทึกหลากหลาย  ปริมาณเยอะ และ จำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัย Editor or reblog ตรงนี้ทำได้แต่ต้องใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพ- - -เราต้องสร้างทีมที่เข้มแข็งนี้
  • นักวิชาการที่ได้ทำงาน มีฐานความรู้ ฐานประสบการณ์ ส่วนใหญ่ไม่ได้เข้ามาเขียนโดยตรง แต่มีการนำความรู้ ผลึกปัญญาของท่านมาเขียนผ่านอีกบุคคลหนึ่ง - - -อาจไม่ครบถ้วน

ทางออก หรือ ทางเลือก

  • Blogger ให้ความละเอียดในการคัดกรองบันทึกเพื่อการนำเสนอ (ข้อเสนอนี้อาจจะยากบ้าง แต่สามารถทำได้อย่างมีความสุข) อยู่ที่การตกลงกฏเกณฑ์ร่วมกันในสังคมเสมือน
  • ส่วนหนึ่งผลักให้เป็นงานศึกษา วิจัย ของ นักศึกษาในแต่ละระดับ โดยมีการออกแบบการศึกษาร่วมกัน และนำไปสู่การต่อยอดเพื่อพัฒนา เป็นงานพัฒนาเชิง Action กับประชาคม Gotoknow ไปด้วย ค่อนข้างยากเพราะเป็ยงานเชิงสังคม บวกกับการนำเสนอองค์ความรู้ใหม่ผ่านสื่อเทคโนโลยี
  • พัฒนาโมเดลนี้ แต่ในระดับเล็กๆ แล้วขยายผล
  • พัฒนาโดยใช้ งบประมาณศึกษาวิจัยของประเทศ เพื่อพัฒนาฐานความรู้ผลึกผลทางปัญญาเพื่อพัฒนาประเทศ โดยคณะนักวิจัย  ในเนื้อหาการวิจัย จะมีทั้ง B2B,F2F และ Human mapping นำกระบวนการมาบูรณาการกัน
  • .......
  • .......

ขอคิดต่อครับ

 

สวัสดีครับ

เรื่องแรก ขอแยกการอ่านเป็นสองแบบครับ

แบบหนึ่งอ่านเพลิน สนุกดี อย่างผมอ่านเรื่องของท่านอัยการชาวเกาะ ก็ได้ความรู้เรื่องกฎหมาย มีตัวอย่างจากละครโทรทัศน์ แถมมีเล่าเรื่องสนุกอื่นๆ อีก

แบบที่สอง อ่านเพื่อค้นหาเอาความรู้ ผมอยากค้นเรื่องสีย้อมผ้า เจอเรื่องตะโกนาของคุณออต เจอเรื่องผ้าย้อมครามของพี่อุบล และคุณนายดอกเตอร์ ก็ได้ข้อมูลนำไปใช้งานต่อ

เมื่อลองสืบค้นจากช่องค้นที่มีอยู่ จะพบว่าได้ข้อมูลล้น แบบเดียวกับการค้นหาทั่วไป ซึ่งดีเกินไป

เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญคือระบบหมวดหมู่ ทำให้ค้นหาง่าย เพิ่มฟังก์ชันการค้น เช่น ค้นหาภาพ ค้นหาผู้เขียน ค้นตามหมวดหมู่ ฯลฯ ค้นหาเรื่องแมว แต่ดันมีคนชื่อแมว ก็ติดมาด้วย  ค้นคำว่า "วัด" เจอ "ตัวชี้วัด" ด้วย

อันนี้เป็นงานบรรณารักษ์และสารสนเทศเลยครับ ตอนนี้หมวดหมู่มีอยู่ 12-13 หมวด กว้างๆ บางทีก็ใส่หมวดหมู่ลำบาก เช่น ระหว่างภาษากับวรรณกรรม, ระหว่างศิลปะ กับวัฒนธรรม อาจต้องมีหมวดหมู่ย่อย หรือใช้ระบบห้องสมุดไปเลย ก็แล้วแต่ว่าจะย่อยลงไปขนาดไหน

เรื่องที่สอง

ลองทำดู, สิ้นเดือนนี้ ใครสักคน ที่ถนัดเรื่องอะไรๆ ลองทำรวมบทความเรื่อง... ในรอบเดือน เป็นดัชนี เหมือนดัชนีวารสารในรอบปี เผื่อจะได้ไอเดีย ว่าต้องทำอะไรบ้าง ผมจะลองรวบรวมเรื่องผ้าไทย ทั้งปีนี้ ดูว่าจะได้สักเท่าไหร่ และออกมาเป็นยังไง

ถ้าออกมาดูดี เราอาจมีดัชนีบทความประจำปี ตามหมวดหมู่ ซึ่งค้นหาง่าย

แค่นี้ก่อนครับ

สวัสดีค่ะ ครูเม้งและทุกๆท่านค่ะ

  • ป้าแดงเห็นว่าบันทึกนี้เป็นเรื่องดีทีเดียว แต่ป้าแดงยังไม่สามารถวิเคราะห์สังเคราะห์ได้ ณ เวลานี้
  • ---------
  • ที่ป้าแดงเข้ามาอ่าน ก็จะเลือกเฉพาะเรื่องที่สนใจและเรื่องงานของตัวเอง อย่างเช่นเรื่องผ้า เรื่องกฎหมาย เรื่องประเทศเพื่อนบ้าน ก็จะตามอ่านทุกบันทึก
  • หากมีการรวบรวมให้เป็นระบบระเบียบมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันก็อาจจะง่ายขึ้นในการค้นหาค่ะ
  • ยัง งง งง อยู่ ขอคิดต่ออีกนิดค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ  

 ผมว่าน่าจะทำโปรแกรมและทำแบบฟอร์ม  จะได้ง่ายต่อการบันทึกและจัดเก็บ   และง่ายสำหรับคนบางคนเช่นผมด้วยครับ

สวัสดีค่ะคุณเม้ง

ได้ทดลองเก็บบันทึกในเรื่องเดียวกัน ไว้เป็นชุดความรู้สั้นๆ คือพรวนบันทึกเฉพาะเรื่อง...มะเร็งเต้านม...การสะกัดความรู้แบบนำร่อง ก็พบว่าไม่ยาก เพราะไม่ได้ทำถึงระดับ systematic review อาศัยการอ่านและมีกรอบอยู่บ้างสำหรับจัดหมวดกลุ่มของบันทึกเข้าชุดกัน...แต่ว่าต้องใช้เวลาและยังไม่ได้ลงรายละเอียดมากนัก...ผลที่ได้ที่เห็นชัดกว่าคือทำให้รู้ว่าเรื่องนั้นๆ ยังมีช่องว่างของความรู้ที่เผยแพร่กันใน G2K มากหรือน้อยเพียงใด..และพอจะเห็นน้ำหนักของเรื่องด้านใดชัดบ้างแล้ว...

การสะกัดความรู้จะนำมาเพื่อ re-blog re-think re-examine etc. อะไรก็แล้วแต่...ก็เป็นวิธีที่น่าลองทำได้เองในเรื่องที่เราเองถนัดอยู่บ้าง.......จะมีก็คือขอทางผู้ดูแลช่วยเปิดอีกหมวดเป็นหมวดสะกัดความรู้ขึ้นมา ก็อาจจะช่วยให้เกิดอีกระดับของข้อมูลความรู้เฉพาะเรื่องนะคะ....ตัวเองคิดว่าเป็นการจัดการด้านวิชาการที่สนุกไปอีกแบบค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ ญาติมิตรทุกท่าน

        ตื่นมารับกับความเห็นดีๆ อิ่มๆ ครับผม

สวัสดีปีใหม่นะครับ  

กราบสวัสดีครับท่านครูบาฯ

  • กราบขอบพระคุณครับผม
  • งานศรัทธาทำ ไม่มีงบประมาณให้ ใช้แรงใจและแรงกายเป็นตัวตั้ง คงต้องหาคนที่อยากทำจริงๆ มาทำครับ หรือว่าไม่ต้องหาคนมาทำ แต่ให้เค้ามาทำเพราะเค้าอยากทำ ทำด้วยใจ น่าจะดีครับ
  •  ผมสนใจนะครับ เรื่องครูภูมิปัญญาไทย เพียงแต่จะออกมาในรูปแบบไหนที่เรียกว่าภูมิปัญญาไทย แบบไหนไม่ใช่ไทย หรือจะขยายเป็นคนภูมิปัญญาโลกไปเลยดีไหมครับ จะได้เข้าใจเข้าถึงพัฒนาได้ ไม่ว่าจะไปอยู่ในถิ่นฐานใดๆบนผิวโลกนี้
  • สำหรับเรื่องสารสนเทศเป็นเรื่องที่ดีครับ หากทำไว้ดี จะได้เสพและเข้าถึงได้ง่ายและสะดวกเช่นกันครับ
  • ส่วนปัญญาหรือความรู้นั้น คงต้องทำกันซ้ำๆ กว่าจะเกิดหลายๆ วงรอบ ผมหวังว่าหากได้เริ่มทำก็คงจะก้าวหน้าไปเรื่อยๆ ครับ ตอนนี้ผมเองก็มีแต่ราคาคุยมากไปหน่อยครับ ราคาทำยังไ่ม่ได้เรื่องครับ เลยต้องอีกสักพักครับ
  • อื่นๆ ท่านครูฯวางแผนไว้ได้นะครับ อยากจะขอให้ช่วยมอบ ตะกอนชีวิตให้กับพวกเราไว้เรื่อยๆ นะครับ
  • กราบขอบพระคุณมากครับ
  • วันนี้ โปรเฟสเซอร์ที่สถาบันผมก็เสียไปหนึ่งคนอีกแล้วครับ ไม่แน่ใจว่าได้มีคนเก็บตะกอนชีวิตของท่านไว้ครบถ้วนก่อนเสียชีิวิตหรือเปล่าครับ
  • ขอบคุณมากครับ

กราบท่านครูฯ  2. ครูบา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ อีกครั้งครับ

เรื่องโครงการนั้น น่าสนใจครับ แต่ผมเองมีประสบการณ์ยังน้อยนิดครับ คงต้องศึกษาทำความเข้าใจไปก่อนครับ อีกอย่างหากไ่ม่มีทีมทำจริงๆ ดีๆเป็นทีมงานจริงๆ ก็ยากครับ  ยังไงก็ต้องศึกษาและขอคำแนะนำกันอีกเยอะครับ ตอนนี้ยังโง่ตะละลุ่มบุ๋มบุ้ม โอ้แม่เนื้อนุ่มบัวบ้าน อยู่เลยครับ

กราบสวัสดีปีใหม่ปีเก่า อดีต ปัจจุบัน อนาคต ครับ 

ตอนนี้ผมกำลังนั่งรวบรวมวาทกรรมแห่งชีวิตของตนเอง  และผู้ที่เข้ามาทักทายในบล็อกของตนเองเพื่อทำเป็นหนังสือทำมือแจกจ่ายให้นิสิตได้อ่าน...  เพราะนั่นคือผลึกความคิด..ตะกอนความรู้ที่อยากให้น้องนิสิตได้สัมผัส...

......

แต่ล่าสุดที่  จันทรรัตน์ นำเสนอไว้ก็น่าสนใจมาก... คือ   พรวนบันทึกเฉพาะเรื่อง...มะเร็งเต้านม...การสะกัดความรู้แบบนำร่อง

กราบสวัสดีครับ ท่าน อ. ดร. แสวง รวยสูงเนิน

  • ดีใจจังครับ ที่มาช่วยมองในแบบเกษตร โมเดลพันธุ์ข้าว หรือการคัดเลือกพันธุ์
  • เหมือน โกทูโนว์ เป็นพื้นที่เกษตรในการเตรียมพร้อมเพื่อรอให้เกษตรกรหว่านเมล็ดพันธ์ ตัวเมล็ดพันธุ์จะงอกของมันตามปัจจัยที่ควรจะเป็น
  • มีคนผ่านเข้ามาช่วยพัฒนา ต่อยอด เีสียบยอด ตกแต่ง ตัดกิ่ง พรวนดินใส่ปุ๋ย จนบทความนั้นยกระดับขึ้นไป  คล้ายการปรับปรุงพันธุ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมไปในตัว
  • ทำให้ต้นกล้านั้น พัฒนาไปอีกขั้นหนึ่ง แล้วขยายพันธุ์ออกลูกออกหลายเป็นเมล็ดพันธุ์ต้นกล้าอีกต่อไป (อยู่ในชั้นที่ 2 เก็บแบบ Information)
  • เชื่อมโยงกันได้สองระบบอย่างแนบแน่นเลยครับ
  • กราบขอบพระคุณมากครับ 

สวัสดีครับคุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

  • ขอบคุณมากๆ นะครับ ที่มาช่วยเติมเต็มความเห็น ปัญหาที่มี และทางออก ทางเลือกครับ
  • จากโมเดลด้านบนนั้น แค่ตุ๊กตาเฉยๆ ครับ ไ่ม่จำเป็นว่าจะต้องทำตามนั้น เป็นแค่แนวทางหนึ่งนะครับ และคิดว่ามีอีกหลายๆ ทางที่จะทำได้ แต่อยู่ที่ว่าเรากำหนดแนวทางของโกทูโนว์อย่างไร เมื่อมีเส้นทางก็จะทราบว่าต้องศึกษาอะไรบ้าง แล้วจะได้ศึกษาการก้าวย่างแต่ละขั้นตอน
  • การเกิดปัญญาร่วมกันนั้น เป็นการนำมวลชนก้าวไปสู่ระดับของการคิดให้เป็นระบบในแต่ละเรื่อง เพราะผมคิดว่ากว่าจะถึงระดับปัญญานั้น คงต้องปฏิบัิิิติซ้ำๆ หลายๆ รอบทีเดียว หากจะเปรียบเหมือนกับการนั่งสมาธิ
  • การนั่งสมาธิ นั้น เราสามารถรับการถ่ายทอดหรืออ่านเอาตามเอกสารที่มีถูกบ้างผิดบ้าง กระบวนการมากมาย ก็ศึกษาไปจากข้อมูลก็คงได้เป็นสารสนเทศ แล้วก็ต้องฝึกปฏิบัติ จนกว่าจะเข้าถึงระดับ ความรู้ หรือการรู้แจ้งในระบบคิด ระบบภายใน ซึ่งเมื่ออยู่ภายในนั้นคงโอนย้ายให้กันในรูปปัญญาคงยาก แต่ก็ให้ได้แค่ระดับสาระที่ผ่านการกรองแล้ว ส่วนจะไปถึงหรือไ่ม่นั้น คงขึ้นกับหลายๆ ปัจจัย
  • สำหรับปริมาณบทความที่มีเยอะนั้น ผมว่าเป็นสิ่งที่ดี และหลากหลาย ผู้เขียนในทุกๆ บทความก็มีสาระทั้งนั้นครับเพียงแต่ว่าจะมีสาระเน้นไปในด้านใด แต่ละบทความก็เลยโดนใจเราแตกต่างกัน อยู่ที่ตัวรับของเรานะครับ แต่ไม่ใช่่ว่าบทความไหนไม่โดนใจเรา จะไม่มีสาระครับ บางครั้งสาระขึ้นกับเวลาด้วยใช่ไหมครับ
  • ส่วนในเรื่องของการ Reblog , Editor นั้น ทำได้โดยบุคคลที่เป็นเจ้าของบทความสามารถรวบรวมได้ครับ อันนี้คงลงไปถึงระดับของการออกแบบการจัดเก็บให้เหมาะสมด้วยเพื่อให้สอดคล้องกันในระดับการระเหย หรือกลั่นตัวของบทความที่มีอยู่ให้กลายเป็นไอน้ำ ลอยไปอยู่ในระดับเมฆหรือว่าเหนือเมฆ
  • สำหรับการเขียนผ่านอีกบุคคลหนึ่งนั้น ก็ทำได้หลายๆ ทาง มีไม่ครบก็ดีกว่าไม่มีครับ เมื่อมีแล้วก็ค่อยๆ เพิ่มเติมไป มีคนมาสานต่อความคิด ต่อยอดกันไปได้ครับ
  • คงต้องร่วมๆ กันคิดครับ ทุกๆ ระบบคงเร่งให้เกิดในเร็ววันไม่ได้ แต่ควรจะให้เกิดและเจริญไปตามธรรมชาติอย่างเข้าใจ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ 

สวัสดีครับคุณ  ธ.วั ช ชั ย

  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ สำหรับความเห็นดีๆ เกี่ยวกับการอ่าน
  • และการจัดหมวดหมู่ ให้ค้นง่าย เข้าถึงได้ง่าย ซึ่งตอนนี้ เป็นการนำไปสู่บทความนั้น ด้วยการค้นหาคำหลักแล้วจะเข้าถึงได้เร็วที่สุดครับ โดยผู้เขียนจะต้องตั้งคำหลักที่สื่อ คำสำคัญนะครับเช่นหากผมจะเข้าถึงบทความผม ผมจะใช้การค้นหาโดยนึกถึงชื่อบทความและใส่รหัสชื่อบัญชีผู้ใช้ลงไปร่วมด้วย
  • สำหรับการจัดหมวดหมู่บางทีก็ลำบากใจเหมือนกันครับ เพราะมันเกี่ยวกับหลายๆ เรื่อง แต่ก็จัดไปเถอะครับ ในส่วนที่คิดว่าใช่ที่สุด จะค่อยมาแก้ก็ได้หากไม่แน่ใจ
  • สำหรับเรื่องการรวมรวมเป็นเรื่องๆ นั้นน่าสนใจมากๆ เลยครับ เราอาจจะได้ดัชนีคำหลัก ประมาณว่า คำ Tag ที่สำคัญในรายปี อาจจะเกิดเป็นสารสนเทศ ที่คนค้นหามากที่สุดในระบบฐานข้อมูลโกทูโนว์ เอามาวิเคราะห์อะไรได้อีกหลายๆ อย่าง แล้วอยู่ในใต้การทำกระบวนการประมวลผลที่ต่อยอดจากข้อมูลบทความที่มีครับ
  • หากต่อยอดไปอีกวันหนึ่งอาจจะเป็นการสกัดแบบที่นำเสนอ หรือว่าสกัดผ่านการทำงานของตัวโปรแกรมแบบเล็กๆ วิ่งเข้าไปค้นหาข้อมูลในยามที่เครื่องว่างในช่วงยามดึกๆ ก็ได้ครับ ยังคิดกันต่อยอดได้อีกเพียบเลยครับ
  • ยิ่งเรามีกัลยาณมิตรที่มีพลังศรัทธาทางใจและปัญญาเพียบพร้อม สิ่งดีๆ ก็จะเกิดกับสังคมไทยได้นะครับ
  • ขอบพระุคุณมากๆ นะครับ
เป็นแนวคิดที่ดีมากค่ะ คุณเม้ง พี่โอ๋เห็นด้วยกับคุณสร้อย- อ.จันทรรัตน์ด้วยว่า เราแต่ละคนน่าจะช่วยได้ในลักษณะนั้น และควรจะมีหมวดหมู่เพิ่มเพื่อการสกัดเป็นลำดับขั้นอีกด้วย อยากทำหลายเรื่องมาก แต่หาเวลาต่อเนื่องยากจังค่ะ ยังไงๆก็คอยติดตามความคืบหน้าเรื่องนี้เสมอค่ะ แม้จะยังไม่มีเวลาลงมือทำ

สวัสดีครับ ป้าแดง pa_daeng

  • สบายดีนะครับ มีความสุขและสวัสดีปีใหม่ด้วยนะครับ
  • ตอนนี้ในระบบผมว่าก็กำลังพัฒนาไปเรื่อยๆ วันหนึ่งข้างหน้าก็จะก้าวไปสู่ระบบที่ดีขึ้นได้ครับ
  • ตอนนี้ผมก็ทำได้ ช่วยได้ในส่วนของความคิดและแนวทางที่นำเสนอได้เช่นกันครับ แต่ก็เชื่อว่าเราสามารถแปลงแนวคิดในระดับๆ ต่างๆ จนลงไปถึงระดับการลงสู่การ Implementation การทำจริงได้ครับ
  • เพราะลักษณะข้อมูลถูกเก็บในระบบฐานข้อมูลอยู่แล้ว เพียงแต่เราอาจจะช่วยกันจินตนาการวิธีการได้มาถึงสารสนเทศต่างๆ ที่อยู่เหนือระบบฐานข้อมูลที่สกัดออกมาแล้วจะเกิดประโยชน์ร่วมกันและนำไปต่อยอดได้ง่ายขึ้นครับ
  • มีความสุขและร่วมกันคิดต่อๆ ไปนะครับ 

สวัสดีครับพี่เหลียง สิทธิรักษ์

  • สบายดีไหมครับ ไม่ได้เจอหลายวันครับผม
  • สำหรับเรื่องระบบ คิดว่าทางทีมงานคงพัฒนาไปเรื่อยๆ และจะออกสิ่งดีๆ ออกมาให้ยลโฉมกันต่อไปเรื่อยๆ ครับ
  • เป็นข้อแนะนำที่ดีนะครับผม เพราะโกทูโนว์ มีผู้ใช้หลากหลายดีครับ เป็นชุมชนจริงๆ ด้วยครับ
  • บางทีผมว่าเสมือนหรือจริง ก็แยกกันไม่ออกครับ เพราะภายในนั้นก็คือสื่อสารกันด้วยใจ จริงใจ เส้นทางไหนก็เหมือนๆ กัน ครับ
  • ขอบคุณพี่มากๆ นะครับ อากาศเชียงรายเป็นไงบ้างครับ ที่นี่หิมะตกทั้งวันครับวันนี้ 

สวัสดีครับพี่สร้อย จันทรรัตน์

  • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับผม เข้าไปอ่านแล้วดีมากๆ นะครับ
  • พรวนกันแบบนี้ จะเกิดการเหนียวแน่นของบทความในเรื่องนั้นๆ คล้ายๆ การนวดแป้งทำขนมเลยครับ ยิ่งนวดยิ่งดีเข้ากัน เนื้อเดียวกัน อาจจะส่งผลให้เกิดปัญญาเร็วขึ้นก็ได้ครับ เพราะเห็นระบบเร็วขึ้น
  • การสกัดความรู้จริงๆ พี่คอนดักเตอร์ ได้นำเสนอไว้ตอนแรกเหมือนกันครับ แต่ยังไม่ได้ทดสอบกันจริงๆ ผมว่าอาจจะลองทำไปดูหากใครพร้อมไปถึงระดับเริ่มได้ ก็ค่อยๆ ลองทำอาจจะจดหรือพิมพ์ลงบันทึกตัวเองก่อนก็ได้ครับ
  • ช่วยๆ กันคิด ช่วยๆ กันทำ ทางที่ดีก็ออกมาเอง ครับ เพราะทำแล้วเกิดผลดีกับสังคมร่วมกัน อุ่นใจร่วมกันครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ ทำกันต่อไปนะครับผม 

Pเม้ง สมพร ช่วยอารีย์

 

เข้ามาชมว่า ชุดนี้เท่ห์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหูกระต่ายสวยงามมาก...

เจริญพร 

ผมดูรูปหัวแล้วนึกถึงหัว Darth Vader ครับ

FACT IS FACT is present !!!!

But it seems to me something behide G2K [someting in the wind].

สวัสดีครับพี่แผ่นดิน

  • สวัสดีปีใหม่นะครับ มีความสุขตลอดไปครับ
  • ดีัจังครับ ที่มีการจัดรวบรวมตะกอนวาทกรรม จะได้นำเป็นบทสรุปตามช่วงของเวลา และได้เอาไว้อ่านทำความเข้าใจ ต่อยอดกันต่อๆ ไปครับ
  • ช่วยกันพรวนในเรื่องที่พรวนได้ครับ จะเกิดเป็นสารสนเทศในระดับที่เพียงพอเหมาะสมได้ครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ 

สวัสดีปีใหม่ครับพี่ โอ๋-อโณ

  • สบายดีนะครับผม ช่วยๆ กันตามที่ช่วยได้และไ่ม่ทำให้เดือดร้อน ร่วมกันคิดกันสาน กันต่อ เคลื่อนที่ได้ช้าก็ไม่เป็นไรครับ แต่ขอให้ขยับครับ
  • ก้าวเร็วก็ดีแต่ต้องมีพื้นฐานที่แน่น เพื่อยอดจะได้แน่นด้วยครับ
  • สู้ๆ นะครับผม ขอบคุณพี่สาวมากๆ นะครับ 

กราบนมัสการหลวงพี่ BM.chaiwut และสวัสดีปีใหม่ครับ

  • ชุดนี้ยามเหนื่อยตลอดมาทั้งวันครับ เลยตั้งกล้องกดแช็กๆ เองครับ
  • หูกระต่ายนั้น มักเป็นแบบนั้นครับ ต้องให้ข้างด้านในยาวกว่าด้านนอกครับ เป็นเอกลักษณ์ครับ
  • ที่หนีบเนคไท ก็เป็นมิคกี้เม้าส์ครับ อาจจะไม่เข้ากัน แต่ก็คือกันครับ
  • กราบขอบพระคุณมากครับ และมีความสุขตลอดไปครับ 

สวัสดีปีใหม่ครับพี่ Conductor

  • ขอบพระคุณมากๆ ครับ สำหรับ ภาพ ให้ผมจินตนาการต่อครับ แต่ผมไม่ค่อยเข้าใจในหนังเรื่องนี้เท่าไหร่ครับ และไ่่ม่ได้ดูจริงๆ จังๆ เลยครับ อาจจะเป็นเพราะดูตอนจิตไม่พร้อมครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ 

สวัสดีครับคุณ ไม่แสดงตน


เมื่อ พฤ. 27 ธ.ค. 2550 @ 10:42
501896 [ลบ]

FACT IS FACT is present !!!!

But it seems to me something behide G2K [someting in the wind].

 ------------------------------------------------------------

ความจริงเป็นความจริงเป็นเดี๋ยวนี้ตอนนี้

ข้อเท็จจริง ก็เป็นข้อเท็จจริงครับ ถูกต้องอย่างที่คุณว่านะครับ ที่น่าคิดคือ ความจริง หรือ ข้อเท็จจริงที่เป็นจริงจะส่งผลเองในอนาคต หากไ่ม่ได้เป็นไปตามที่ควรจะเป็น

สำหรับ ประเด็น  But it seems to me something behide G2K [someting in the wind]. นั้นไม่มีความเห็นครับ ตอนนี้ให้ได้ในสิ่งที่รู้สึกว่าดีที่ทำให้ได้ และให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ

มีอะไรเพิ่มเติมก็มาเพิ่มเติมได้ครับผม ช่วยกันนำไปสู่การช่วยกันนำมาซึ่ง สิ่งดีๆ ในชุมชนครับ http://www.schuai.net/hpny2008/

ขอบพระคุณและสวัสดีปีใหม่นะครับ  

โธ่ เราไปดูหนังเพื่อตัวเราเองครับ ต่างคนต่างคิดกันคนละแบบ ได้อะไรกันไปคนละแบบ

ส่วนผู้สร้างก็คิดต่างออกไป นับจนถึงปีื้แล้ว จอร์จ ลูกัส ผู้สร้าง ได้เงินจากการฉายหนังเกือบพันสองร้อยล้านเหรียญ และได้อีกสองหมื่นสองพันล้านเหรียญจากสินค้าลิขสิทธิ์

ส่งรูปมาให้ดูเพราะคิดว่ามันคล้ายกันเท่านั้นครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท