อาสาสมัคร GotoKnow ?!?!


ผมเลือกเขียนเรื่องนี้ ในบล๊อก "ตามใจฉัน" เพราะว่าบล๊อกนี้ มีสมาชิกรับเข้าแพล็นเน็ตไม่มากเมื่อเทียบกับบล๊อกอื่น แต่มีนักคิดตามอ่านอยู่มาก โดยดูจากคุณภาพของความคิดเห็นที่ปรากฏ 

เรื่องเป็นอย่างนี้ครับ

  1. GotoKnow มีบันทึกใหม่ระหว่าง 200-300 บันทึกทุกวัน มีความคิดเห็นอีก 800-1100 ความคิดเห็นต่อวันเช่นกัน ปริมาณความคิดที่หลั่งไหลออกมาจากบล๊อกเกอร์ ทั้งในบันทึกและในความคิดเห็น ดูจะมากเกินกว่าที่จะมีใครย่อยได้หมด จนมีสมาชิกใหม่บ่นหลายท่าน
  2. สมาชิกเก่าซึ่งคุ้นเคยกับแหล่งข้อมูลที่ตนชอบ ประสบปัญหาอีกรูปแบบหนึ่งแม้วันนี้จะยังไม่มีท่านใดบ่นถึง แต่ด้วยปริมาณข้อมูลและความคิดมหาศาลแบบนี้ เป็นการจำกัดวงของการ ลปรร.โดยปริยาย
  3. ช่วงเวลาที่บล๊อกเกอร์เข้ามาใช้ GotoKnow ก็เป็นองค์ประกอบอีกอันหนึ่ง ซึ่งมีส่วนที่จะบอกว่าบล๊อกเกอร์ ลปรร.กับใคร ในช่วง peak ที่มีบันทึกและความคิดเห็นหลั่งไหลเข้า GotoKnow อาจมีความคิดหรือประเด็นดีๆ ที่มีประโยชน์ หลุดรอดไป

ถ้าเราจะทำให้ GotoKnow เป็นเครื่องมือสำหรับ Learn :: Care :: Share :: Shine แต่ปริมาณข้อความมีมากมายจนย่อยไม่ทัน มีทั้งความรู้ในทางลึกและในทางกว้าง ของดีๆ หลุดจอเรดาร์ไปหมดเพราะเราอ่านหมดไม่ไหว

จะดีกว่าไหมครับที่สมาชิกที่มีมุทิตาจิต ที่อ่านบันทึก+ความคิดเห็นอย่างหลากหลาย จะช่วยสมาชิกอื่น สกัดคัดกรองข้อความโดยการเลือกบันทึกและความคิดเห็นที่ดี (ตามความเห็นของตน) แล้วตีพิมพ์บทคัดย่อ/เรื่องย่อตามอัธยาศัยให้ท่านอื่นๆ อ่าน ไม่เน้นปริมาณ ไม่ต้องเยอะ ไม่ต้องถี่ แต่เอาคุณภาพครับ ให้เด็ดจริงๆ

บทคัดย่อไม่ใช่บทคัดย่อตามบทความทางวิชาการครับ แต่เป็นแนวคิดสำคัญ เป็นประเด็นสำคัญ เป็นเนื้อหาสำคัญ ตัดตอนจากบันทึกหรือเขียนสรุปเองก็ได้ พร้อมทั้งลิงก์กลับไปยังข้อความต้นทาง

เขียนในลักษณะเล่าเรื่องก็ดีนะครับ ถ้าเป็นการเล่าเรื่อง สามารถค้นย้อนกลับไปในบันทึกเก่าๆ แล้วดึงประเด็นที่ดีออกมาได้ ใน GotoKnow Monitor มีเครื่องมือ "ค้นหา"  ที่ทำอย่างนี้ได้ดีครับ -- "Custom Search" ของ GotoKnow ในปัจจุบัน ค้นได้ทุกบันทึก ทุกความคิดเห็น ทุกเว็บที่อยู่ในเครือข่าย GotoKnow ครับ

ตัวอย่างที่เห็นชัดคือชุดบันทึก "รวมตะกอนเด็ด วาทะเด่น ผลึกผล ทางการศึกษาไทย ใน G2K" ทุกๆ ตอนจากบล๊อกมิสเตอร์ช่วย ของ อาจารย์เม้ง สมพร ช่วยอารีย์Pซึ่งคุณสิทธิรักษ์P และอีกหลายๆ ท่าน ช่วยกันรวบรวมแนวคิด/ความคิดเด็ดๆ เอาไว้ในที่เดียวกัน ถ้าเจออย่างนี้เข้า ก็จะสะดวกสำหรับผู้ที่แสวงหานวัตกรรมหรือความคิดใหม่ๆ ทางการศึกษา ที่จะได้เรียนรู้จากสิ่งที่สมาชิกได้แลกเปลี่ยนกันครับ

การใช้คำหลัก ไม่สามารถแยะแยะประเด็นที่ดีได้ แล้วก็ไม่ได้สื่อถึงความคิดเห็น บางทีคำหลักก็ไม่สื่อประเด็นของบันทึก การเลือกใช้คำหลักก็ไม่มีกฏเกณฑ์ -- แต่มีคำหลักใช้ดีกว่าไม่มีครับ

ทักษะ ประสบการณ์ ความสนใจ และความลึกซึ้งของสมาชิก GotoKnow มีไม่เท่ากัน เรื่องนี้ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร -- ถ้าหากไม่เป็นภาระจนเกินไปและท่านผู้อ่านคิดว่าไม่ได้เสียอะไรที่จะแลกเปลี่ยนใจความสำคัญที่ท่านเรียนรู้จาก GotoKnow (หรือเว็บไซต์อื่นๆ) และท่านมีกำลัง+เวลาพอ ผมอยากเชิญชวนมาทดลองทำแบบนี้กันครับ

เรื่องนี้มีอานิสงส์คือ

  1. เหมือนเป็นการจดข้อความเด็ดสำหรับตัวเอง เพียงแต่ว่าทำแล้ว ไม่ได้เก็บไว้ดูคนเดียว หากแต่แบ่งปันให้ท่านอื่นได้ใช้ด้วย
  2. หากข้อความนั้นมาจากบันทึกที่ไม่ค่อยมีผู้อ่าน ก็จะช่วยเพิ่ม hit rate และจำนวนความคิดเห็นให้กับเจ้าของบันทึก เป็นการสร้างกำลังใจให้กับบล๊อกเกอร์ พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายให้กับเจ้าของบันทึกด้วย
  3. บางที การช่วยกลั่น/สรุปประเด็นให้ จะช่วยพัฒนาฝีมือการเขียนบันทึกและความคิดเห็น ให้มี precision ที่สูงขึ้น
  4. การทำอย่างนี้ ไม่ได้เป็นความพยายามที่จะทำลายปฏิสัมพันธ์ระหว่างบล๊อกเกอร์ที่มีอยู่แล้ว หากแต่เป็นความพยายามที่จะเชื่อมโยงออกไปนอกวงความสัมพันธ์เดิมครับ ช่วยให้เรียนรู้-ได้เห็นแง่คิดมุมมองใหม่ๆ

วิธีการ/มาตรฐานในการทำ คงต้องปรึกษาหารือกันก่อนครับ จะดีที่สุดหากทำได้ใน GotoKnow เลย แต่ก็ไม่อยากรบกวนทีมพัฒนามากเกินไป ตอนนี้งานหนักมากครับ หนักมานานแล้ว

ถ้าสนใจ ติดต่อทางอีเมลครับ อย่างลืมบอกมาด้วยว่าเป็นท่านใด ใช้ชื่อบัญชีอะไรใน GotoKnow เพื่อที่ว่าผมจะได้ติดต่อกลับไปได้ครับ

หมายเลขบันทึก: 126966เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2007 00:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
เป็นความพยายามที่สมควรสนับสนุนมากครับ ขอบคุณครับ

ผมคิดถึงเรื่องนี้ เหมือนบันทึกที่มี "บรรณาธิการ" หลายๆ คนช่วยกันกรองครับ (หรือจะทำคนเดียวก็ได้) แต่ถ้าช่วยกัน คงจะกรองประเด็นได้ดีขึ้น แถมด้วยลักษณะ peer review โดยอัตโนมัติ

การมีบรรณาธิการหลายคน  ทำให้การคัดกรองประเด็น มี collective skill set ที่กว้างขึ้น ช่วยกันคัดสรร ช่วยกันกรอง ช่วยกันอ่าน ตัวบรรณาธิการเองก็ได้ สมาชิกอื่นก็ได้ด้วย

สวัสดีครับพี่

  • ผมชอบแนวคิดการเขียนประมวลสรุปบทความ ไว้ในบทสรุปของบทความมากเลยครับ เหมือนกับว่า peer review อย่างที่พี่บอกนะครับ โดยใครๆ สามารถจะรีวิวทั้งหมดได้ ในแต่ละบทความ เจ้าของบทความอาจจะรีวิวไว้ด้วยก็จะเป็นประโยชน์มากครับ
  • และควรจะมีการร่วมกันสรุปก็ได้ครับ อาจจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านอื่นๆ ได้ด้วยครับ เพราะในสรุปจะได้แนวคิดดีๆ จะเกิดประโยชน์มากขึ้น
  • ทำให้ึนึกไปถึง แนวทางของการประมวลผล Data  Mining เลยครับผม การทำเหมืองแร่ข้อมูล
  • ขอบคุณมากๆ ครับผม 

ในหลายกรณี คุณภาพของความคิดเห็นกลับดีกว่าคุณภาพของบันทึกเสียอีกครับ -- น่าเสียดายที่จะปล่อยให้ประเด็นเหล่านี้ ถูกกลบไปด้วยปริมาณข้อความมหาศาลของ GotoKnow และเว็บอื่นๆ

เอาประเด็นเป็นตัวตั้ง เอาบันทึกหรือความคิดเห็นเป็นข้อมูล ถ้าอยากอ่านฉบับเต็ม ก็มีลิงก์กลับไปยังต้นทางให้ ไม่มีการขโมยซีน/ขโมยเครดิตของเจ้าของข้อความ

คุณ Bluebonnet ณ TX (ซึ่งตอนนี้อยู่ในอีกหน้าต่างหนึ่ง) บอกว่าถ้าทำอันนี้ได้ ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับสมาชิกใหม่ด้วยครับ

ถ้า GotoKnow จะระดมทุนในอนาคต แทนที่จะ IPO เราพิมพ์ประเด็นสรุปขายเลยก็ได้ครับ (ถ้าเจ้าของข้อความยินยอม)

นอกจากหาทุนได้แล้ว เรายังสามารถเผยแพร่ GotoKnow ออกไปนอก Cyberspace ได้อีกด้วย -- มีคนอีกตั้งมากมายที่ไม่ได้ใช้อินเทอร์เน็ต ถึงใช้ก็อาจไม่เคยมาที่นี่ ถึงเคยมาก็อาจจะงงกับความหลายหลายจนไม่รู้จะเริ่มอย่างไร หรือว่าไม่อดทนพอจนจับหลักได้ครับ

ตัวอย่างของวิธีการ 1.1 ตามบันทึกนี้ ที่นำเรื่องราวจากบันทึกเก่า 6 บันทึก มาผสมกับข้อมูลใหม่เพื่อสังเคราะห์เป็นเรื่องอีกเรื่องหนึ่ง และแสดงออกมาในลักษณะการเล่าเรื่องครับ

บันทึก reblog หนึ่งเรื่อง เชื่อมโยงกลับไปสู่บันทึกเก่า 6 บันทึก ใน 4 บล๊อก ซึ่งเขียนโดยบล๊อกเกอร์ 3 ท่านครับ

  • ประเด็น: เครื่องแม่ข่าย GotoKnow
  • ข้อมูลประกอบ: ความเป็นมา+สถานการณ์ อ้างอิงบันทึกต้นทาง สามารถย้อนกลับไปตรวจสอบได้
  • คำหลัก: แตกต่างจากบันทึกต้นทางทั้งหก
  • เรื่องราว: แตกต่างจากบันทึกต้นทางทั้งหก

ของแปลกที่ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อนอย่างแน่นอน!!!

Reblog ยังไม่เปิดให้ใช้หรือคะ ดูได้แต่ตัวอย่าง

โธ่ ยังสรุปไม่ได้เลยครับ ว่าจะใช้วิธีไหน หาทางออกอย่างไร

http://gotoknow.org/blog/tutorial4u/127121#381752 

อืมม์ ค่ะ อยากช่วยเหมือนกันแต่กลัวทำได้ไม่สม่ำเสมอ อ่านหมดทั้งสี่เรื่องที่คุณ Conductor เขียนมาแล้ว ถ้าพอช่วยได้ก็อยากจะสมัครด้วยคนค่ะ ^ ^
เรื่องที่เคยเขียนในบันทึกชุดนี้พอจะเป็นแบบที่ใช้ได้ไหมคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท