ความ “รู้” เกิดใน “ระบบคิด” (ไม่เกิดในเอกสาร)


ทั้งๆที่ทำงานด้านการจัดการความรู้ แต่ก็ไปสาละวนอยู่กับเอกสาร เสียเป็นส่วนใหญ่
 

ในการให้คำปรึกษานักศึกษาในระยะที่ผ่านมากว่า ๑ ปี ได้พบความสับสนของผู้เรียนที่เข้าใจปนกัน ระหว่างตัวหนังสือ (script)  เอกสาร (document)  ข้อมูล (information) ความรู้ (knowledge) และปัญญา (wisdom) ทำให้การทำงานสับสนและล่าช้า ไม่ก้าวหน้าตามแผนที่วางไว้

  

ทั้งๆที่ทำงานด้านการจัดการความรู้ แต่ก็ไปสาละวนอยู่กับเอกสาร เสียเป็นส่วนใหญ่ ดังที่ผมเคยอธิบายไว้แล้วว่า เป็นคนละเรื่อง แต่เกี่ยวเนื่องกันอยู่ จึงขอนำมาอธิบายขยายความอีกเล็กน้อยถึงความเชื่อมโยง และหน้าที่ของแต่ละส่วน

  

 ตัวหนังสือ (script) เป็นสัญลักษณ์ของการสื่อสาร ที่ต้องนำมาผสมกันให้เกิดคำที่มีความหมาย แล้วนำไปบันทึกไว้ในเอกสารแบบต่างๆ ทั้ง สิ่งที่เห็นด้วยตาเปล่า และในระบบดิจิตอล มีนักศึกษาบางท่านมีระดับการเรียนอยู่ในระดับนี้ โดยอาศัยเทคนิคของระบบคอมพิวเตอร์ copy & paste โดยไม่ได้อ่าน หรือพยายามทำความเข้าใจแต่อย่างใด จึงน่าจะถือว่าเขาเรียนระดับตัวหนังสือเท่านั้น

  

เอกสาร (document)  เป็นการนำตัวหนังสือมาเรียบเรียงให้เป็นเรื่องราว เพื่อการสื่อสาร เป็นภาษาต่างๆมากมาย มีบางคนสามารถอ่านได้ หรืออ่านไม่ได้ก็ได้ แล้วแต่ความสามารถในการอ่าน เมื่ออ่านได้และเข้าใจก็จะเป็นข้อมูล แต่อ่านแล้วไม่เข้าใจก็เป็นแค่ระดับเอกสาร ไม่สามารถใช้เป็นข้อมูลได้

  

ข้อมูล (information) เป็นความเข้าใจในระบบการสื่อสารกันโดยวิธีต่างๆ ทั้งในรูปเอกสาร และที่ไม่ใช่เอกสาร ที่เป็นการตีความจากประสาทสัมผัสต่างๆของเรา เมื่อเข้าใจแล้วก็สามารถนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคิด ให้เกิดเป็น ความรู้ ต่างๆขึ้นมาได้

  

ความรู้ (knowledge)  คือผลจากระบบคิดที่มีข้อมูลต่างๆเข้ามาเป็นวัตถุดิบ ผ่านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ที่เรียกว่า การจัดการความรู้ จนตกผลึกเป็นความรู้ในระดับต่างๆ ตั้งแต่ความรู้ขั้นต้น ที่แทบจะคล้ายกับข้อมูล จนถึงความรู้ขั้นสูง ที่สามารถนำไปใช้งานต่างๆได้จริง ทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม ในสถานการณ์ต่างๆที่มีอยู่

  

ปัญญา (wisdom) คือความสามารถที่ตกผลึก และเกิดจาก ผลการใช้ความรู้ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม

  

ดังนั้น การจัดการตัวหนังสือ การจัดการเอกสาร การจัดการข้อมูล การจัดการความรู้ และการพัฒนาปัญญาจึงเป็นคนละเรื่องกัน แต่เกี่ยวเนื่องกันครับ

  

หวังว่าคงพอจะเป็นแนวทางในการทำงานและลดความสับสน เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานวิจัยด้านการวิจัยที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการความรู้ (KM research)

  นี่เป็นการถอดความจากความเข้าใจของผมเอง และผมใช้เป็นแนวทางในการทำงานจัดการความรู้มาหลายปี ถ้าใครเห็นต่างไป หรือจะต่อเติมส่วนไหนก็เชิญนะครับ
หมายเลขบันทึก: 83604เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2007 02:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2012 16:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

ต่อตรงที่อยากจะอ่านเพิ่มเติมอีก

ในประเด็นวิธีขยับความรู้ กระแซะความรู้ ให้ออกจากสุ่ม

สวัสดีค่ะท่าน..ดร.แสวง

เข้าใจแล้วค่ะ..ขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณมากครับอาจารย์

จะต้องทำความเข้า เข้าใจ และนำไปใช้ในการทำงานให้มากขึ้น

จะตระหนักเสมอว่าตนเองกำลังคิดอะไร ทำอะไร และมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร

และต่อไปจะทำอะไรให้บังเกิดผลในการเรียน หรือการทำงานจะต้องทำบนพื้นฐานความเข้าใจ และทำงานอย่างมีเป้าหมายครับ

  • ขอบพระคุณค่ะอาจารย์ 
  • หนิงขออนุญาตสำเนาไปแจกเด็กๆอาสาสมัคร นะคะ

 

  • ขอบคุณท่าน อ.แสวง มากครับ
  • ในกระบวนการทางคอมพิวเตอร์ อาจจะมีเช่น

    Data --> Processing --->Information แต่ตัว Knowledge คงต้องสุกในสมองหรือผ่านกระบวนการเช่น

    Information ---> Artificial Intelligent, Machine Learning ---> Knowledge

    ในกลุ่มกลางเหล่านี้ หากเทียบได้กับความรู้ที่ผ่านการคิดในหัวคนแล้วออกมาเป็นความรู้ใหม่ครับ
  • ขอบคุณมากนะครับ

ขอบคุณครับพันธมิตรที่เข้ามาต่อยอด ให้ได้ประเด็นที่จะไปขยายผล และต่อยอดครับ

ผมชอบบันทึกนี้มากครับ

นศ. ควรตีประเด็นในบันทึกนี้ให้แตก

วิจารณ์

ท่านอาจารย์หมอครับ

เป็นพระคุณที่เข้ามาเยี่ยมครับ

ขอบคุณครับ

ขอบคุณอาจารย์ครับ...สำหรับบันทึกดีๆ

  • เพื่อว่าจะได้ใช้ประโยชน์ในการทำงาน
  • ขออนุญาตนำเข้าแพลนเน็ตครับ

--เข้ามาทักทายครับ--

เพื่อว่าจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนกัน.........

ขอบคุณครับ คงได้เป็นพันธมิตรกันนะครับ

ผมแขวน link บันทึกนี้ไว้ที่หน้า web kmi ด้วยครับ

คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มนักศึกษา และอาจารย์ที่กำลังเรียนรู้ในเรื่องนี้ครับ

 

ขออนุญาตเข้าถึงความหมาย

เมื่อได้อ่านบันทึกนี้  ทำให้ตัวเองรู้สึกว่า  ที่ผ่านมานุชไม่ได้ใช้ความรู้จากตัวหนังสือ  เอกสาร ข้อมูล ฯดังที่อาจารย์กล่าว

คือ  นุชก็ไม่รู้ตัวเหมือนกันว่าจะจัดการความรู้ในหัวสมองได้หรือเปล่า

นุชอ่านแล้วสับสนตัวเองมากๆเลยคะ

ทำให้นุชคิดว่าไม่สามารถเข้าถึงความหมาย  อาทิ ที่อาจารย์บอกว่า  copy & paste โดยไม่ได้อ่าน หรือพยายามทำความเข้าใจแต่อย่างใด จึงน่าจะถือว่าเขาเรียนระดับตัวหนังสือเท่านั้น

ขอคำแนะนำได้ไหมคะ

สวัสดีตอนเที่ยงครับอาจารย์ ผมขอต่อยอด( ต่อติดหรือเปล่าไม่รู้ ) ดังนี้

ในส่วนความรู้ หรือการจัดการความรู้ นั้นนะจะเป็นรูปธรรม จากการประยุกต์  หรือนามธรรม จากการจัดเก็บและวิธีเข้าถึงก็ตาม (ได้ทั้งสองกรณี )

หลังจากความรู้ในส่วนที่เจริญไปสู่"ปัญญา "ไม่น่าเป็นรูปธรรมแล้ว  ไม่น่าจะอธิบายได้ด้วยสมการ แผนภูมิ โฮโลแกรม  หรือภาษาบัญญัติผ่านประสาททั้งห้าแล้วครับ  เพราะถ้ายังอยู่ในกรอบของภาษาบัญญัติ หรือประสาททั้งห้า ยังไปได้เพียงแค่ความรู้หรือการจัดการความรู้  ไปไม่ถึงปัญญาครับ

 

ทำไมยังไปไม่ถึงปัญญา? การเข้าถึงปัญญาน่าจะเป็นนามธรรม เหนือบัญญัติ ยกตัวอย่างเช่นความรักที่แม่มีต่อลูกอย่างนี้คือปัญญา อธิบายด้วยภาษาใดใดยังไงก็ไม่ได้ และไม่ใช่รูปธรรม ,น้ำใจนักกีฬาอย่างนี้จะเขียนอธิบาย ยกตัวอย่าง เพียงรู้แพ้รู้ชนะรู้อภัยก็ไปไม่ถึงปัญญา(ไปได้เพียงการจัดการความรู้ )แต่ถ้าไปถึงปัญญา นักกีฬาท่านนั้นเข้าสู่"สภาวะน้ำใจนักกีฬาโดนแท้ และรู้เองในผู้นั้นว่าใช่หรือไม่ใช่ "

 

คือปัญญาน่าจะเป็นปัจจัตตังนะครับ

ตัวปัญญานั้นเป็นนามธรรมแน่นอน แน่ผลของปัญญาเป็นทั้งนามธรรมและรูปธรรมครับ

การทำงานจัดการความรู้เป็นกระบวนการต่อเนื่องกันอย่างที่บอกครับ

ลองทำดูจะไม่สับสน ตอนแรกๆก็ธรรมดาแหละครับ

ขออนุญาตนำคำอธิบายทั้งหมดไปใช้อธิบายให้นักศึกษาฟังต่อด้วยค่ะ
  • เรียนท่าน ดร.แสวง รวยสูงเนิน
  • ผมชอบคำอธิบายดังกล่าวข้างต้นของอาจารย์มากเลยครับ
  • และขออนุญาตนำเข้าแพลนเน็ตครับ

อะแฮ่ม .. แบบว่าแอบเอาเข้าแพลนเน็ตไปแล้วโดยไม่ได้รับอนุญาติ อ. คงไม่ว่านะคะ ชอบมากเลยประโยคที่ว่า "อ่านเข้าใจก็เป็นข้อมูล อ่านไม่เข้าใจก็เป็นแค่เอกสาร" ทึ่งในความคิด อ. จริงๆค่ะ

เห็นผลงานและความคิดของอาจารย์ แล้วเป็นสิ่งที่น่าจะสนับสนุนมากครับ  เกี่ยวกับการจัดการความรู้  และผมคนหนึ่งที่ทำงานในลักษณะเดียวกับอาจารย์เหมือนกัน คือเดิมทีผมเป็นวิศวกรและได้ทำงานกับเอกชนมามากพอควร จึงเห็นว่าเราเองยังไม่ได้ให้คุณค่ากับสังคมมากเท่าที่ควร จึงได้คิดค้นหาสิ่งที่สังคมขาดแคลนและจำเป็นสำหรับการพัฒนาความรู้แก่สังคมจึงได้คิดค้นโปรแกรมชุดหนึงเรียกว่า EIMS ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการความรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงหมายความว่าเป็นโปรแกรมที่จะต้องมีการบันทึกข้อมูล มีการประมวลของมูลได้ และสรุปผลข้อมูลได้ และให้การชี้แนะ หรือแนะนำจากเจ้าของวิชาได้ด้วย นี่คือการบริหารจัดการความรู้ที่ได้พยายามจัดทำขึ้นมา  อย่างไรก็ขอเรียนเชิญอาจารย์แวะเข้าไปชม ที่ www.changhub.com ด้วยน่ะครับ

หนังสือ (script)  เอกสาร (document)  ข้อมูล (information) ความรู้ (knowledge) และปัญญา (wisdom) ทำให้การทำงานสับสนและล่าช้า ไม่ก้าวหน้าตามแผนที่วางไว้ ผมชอบมากคำอธิบายแบบนี้ อาจารย์ช่วยเขียนให้เยอะ ๆ นะครับ พอดีผมเพิ่มเข้ามาใหม่ จะพยายามแวะมาบ่อย ๆ ครับ

-ขอเรียนรู้ทำความเข้าใจนะคะ

-และอยากเรียนถามท่านอ.ว่า ชาวบ้านบางคนไม่เคยเรียนรู้ หรือมีความรู้เรื่องการจัดการองค์กร การจัดการความรู้เลย แต่ทำไมเขาทำได้ดีส่งผลให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และสามารถบริหารจัดการกิจการให้ประสบความสำเร็จ สามารถช่วยเหลือสังคมได้อย่างดีทีเดียว

-ขอบคุณค่ะ

ทุกความรู้ต้องเรียน

กรูณากลับไปดูงานเขียนเก่าๆ ผมแจงไว้แล้วครับ ตั้งแต่

โมเลกุล

สมอง

จิตวิญญาณ

แต่โรงเรียน มีอยู่ทุกแห่งหน

ในธรรมชาติ

ในคน

ในสถาบัน

ในเอกสาร

ในระบบข้อมูล

เขาอาจจะเรียนจากไหนก็ได้

แต่ถ้าไม่เรียน ไม่รู้แน่นอน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท