สภาการศึกษา G2K : ผ่าทางตันการศึกษาชาติ แยกการศึกษาออกจากการเมือง?


แต่สำหรับประเด็นวันนี้ ผมอยากจะมานำเสนอทางออกหนึ่งของการศึกษาไทยนะครับ ในการผ่าทางตันการศึกษาชาติ โดยการ แยกการศึกษาออกจากการเมือง?

สวัสดีครับทุกท่าน

        เล่นเรื่องการศึกษามาหลายบทความ จากประเด็นดังต่อไปนี้ครับ

  1. รวมพลัง G2K เพื่อ...การศึกษา....ปัญหาและแนวทางแก้ไข (ยกแรกร่วมระบาย ลปรร.)

  2. สภาการศึกษา G2K : สวนสมรม โต๊ะกลมการศึกษา (ร่วม(เปิด-->บ่ม)ประเด็นครับ)

  3. สภาการศึกษา G2K : การศึกษา กับ "คนจนเล่นหวย คนรวยเล่นหุ้น คนธรรมดาเล่นอะไร"

  4. การศึกษากับการเมืองควรรวมหรือแยกกันบริหาร คุณคิดอย่างไร

  5. เด็กสองแสน (200,000) คนหายไปไหน ใครตอบได้ช่วยบอกทีครับ (การศึกษา)

  6. โต๊ะกลมบูรณาการ : จากเมฆบนฟ้า สู่การพัฒนาชาติ

  7. การศึกษา..เป็น..การลงทุน ด้วยเงิน หรือด้วยใจ (ธุรกิจหรือของฟรี)

  8. รวมพลัง G2K เพื่อการศึกษา...ตัวอย่างดีๆที่เกิดขึ้นตลอดเส้นทางการศึกษาของเรา

  9. จุดชนวนการเรียนรู้ ด้วยคำว่า "ทำไม" (ทำไมจินตนาการถึงหดหาย)

  10. การศึกษา พัฒนาสมอง ต้องไร้เพดานกั้น

  11. ทำไมผมเลือกพายเรือลำนี้ ในคลองการศึกษา

  12. และอื่นๆ เชิญท่านไปดูในบทความวางแผงได้นะครับ มิสเตอร์ช่วยวางแผงแล้ว+++

แต่สำหรับประเด็นวันนี้ ผมอยากจะมานำเสนอทางออกหนึ่งของการศึกษาไทยนะครับ ในการผ่าทางตันการศึกษาชาติ โดยการ แยกการศึกษาออกจากการเมือง?

จะเห็นว่าผมใส่เครื่องไม้คำถามเอาไว้ ด้วยครับนะครับ

ดังนั้น ผมขอใช้สิ่งที่ผมเข้าไปตอบในบทความ เรื่อง อาจารย์ไม่มีคุณภาพ ในบล็อก นานาสาระกับอุดมศึกษาไทย ของพี่ กมลวัลย์

โดยผมคัดลอกมาเพียงส่วนหนึ่ง ท่านสามารถไปอ่านบทความต้นขั้วได้จากบทความที่กล่าวมานะครับ

ผมมีข้อเสนอการผ่าทางตันที่ว่า ดังนี้นะครับ

  1. ตอนนี้การปกครองของประเทศเรา จะมีการเมืองดูแลอยู่ในทุกๆ ด้าน และดูแลการศึกษาด้วย นั่นคือการบริหารคนแล้วก็บริหารการศึกษาไปด้วย โดยการเมืองอยู่เหนือการศึกษานั่นเอง

  2. การบริหารแบบนี้จะเห็นว่า เมื่อใดก็ตามที่การเมืองมีปัญหา การศึกษาจะหยุดชะงักทุกครั้งไป จริงๆ ก็ด้านอื่นด้วยครับ

  3. ที่ผมคิดคือ การเมืองมีวาระมีล้มได้ ยกเลิกได้ พังได้ แต่การศึกษาซึ่งเป็นสมองของชาติจะต้องดำเนินต่อไปได้ แม้ว่าการเมืองจะมีปัญหาก็ตาม ดังนั้น การศึกษาจะต้องอยู่ได้โดยไม่กระทบทางการเมือง มีแต่เพียงให้การเมืองสนับสนุนการศึกษา

  4. ทางออกที่ผมจะนำเสนอคือ เปลี่ยนระบบใหม่ คือ ให้การศึกษาอยู่ในระดับเดียวกับการเมือง นั่นคือ แยกการศึกษาออกมาให้บริหารกันในส่วนการศึกษาด้วยนักการศึกษาที่มีคุณภาพในประเทศ 

  5. ดังนั้น การศึกษาไทย เมืองแยกออกมาจากการเมืองแล้ว แทนที่การเมืองจะปกครองประเทศ ก็จะเป็นการศึกษาปกครองประเทศ ปกครองในที่นี้ ไม่ใช่นักการศึกษาปกครองนักการเมืองนะครับ แต่เป็นการมองในภาพว่าการศึกษามีความสำคัญต่อประเทศมากๆ ต้องให้คำว่าการศึกษาอยู่เหนือคำว่าการเมือง

  6. จะมีใครกล้าแยกออกมาไหมครับ ที่จะแยกมาบริหารกันแยกส่วน โดยเอาเงินงบประมาณแผ่นดิน 10-20% มาใส่ในด้านการศึกษาไปเลย หรือมากน้อยแล้วแต่เป้าหมายในการพัฒนา โดยที่ไม่มีการเมืองมาเกี่ยวข้องในส่วนนี้เลย การศึกษาจะได้คิดและพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง เพราะการเมืองขึ้นกับพรรคการเมือง แล้วมีวาระ แต่การศึกษาต้องห้ามล้มเหลว การเมืองล้มเหลวได้ ก็ล้มไป แต่การศึกษาต้องยังอยู่ เด็กต้องมีชีวิตกันต่อไป

  7. ต่อไปเมื่อแยกการศึกษาออกมาแล้วนะครับ ก็จัดการล้างส่วนที่มีปัญหา ในการศึกษาออกให้สะอาด ตรงไหนมีปัญหาก็ซ่อมเสีย แล้วสร้างครูให้เป็นอาชีพที่คนอยากเป็นให้ได้ มีการให้แรงจูงใจที่ดีในการเป็นครู การขาดสิ่งต่างๆ ไม่ว่าเทคนิคการสอน จิตวิทยาการเป็นครู เรื่องเหล่านี้ ใครๆ ก็สามารถจะเรียนรู้ได้ หากได้คนที่มีจิตใจอยากสอน อยากให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ สรุปคือครูมีทั้งความรู้และจิตวิญญาณนั่นเอง

  8. ต่อมา เมื่อการศึกษามีมาแล้ว การจะจัดการเรื่องการพัฒนาครูให้มีคุณภาพทำได้ไม่ยากครับ เพราะงบประมาณก็มี บริหารได้เต็มที่ อาจจะมีการสร้างชุดคณะกรรมการประเมินผลด้วย การจะสร้างการศึกษาให้บริการชุมชนจริง การศึกษาต้องเกิดจากความต้องการของชุมชนด้วย ตามรากเหง้าของแต่ละภาค เพราะแต่ละภาคจะต่างๆ กัน ดังนั้น การเรียนการสอน แล้วแต่สาขา ศึกษากันให้ดี หลักสูตรไม่เน้นรับต่างชาติมามากเกินไป จนเราเป็นง่อย

  9. เมื่อคัดครูได้ แล้วครูที่ไม่ผ่านเกณฑ์ในระบบคุณจะทำอย่างไร ทำได้ง่ายๆ อาจจะมีการให้โอกาสครูปรับปรุงตัวเอง ให้แนวทางในการเรียนการสอน ให้ปรับความรู้เพิ่ม อาจจะมีการสอบคัดคุณภาพครูทุกๆ สามปี(หรือตามความเหมาะสม) เปิดสอบเนื้อหา และเปิดสอบการสอน โดยที่คณะกรรมการการสอน อันนี้แบ่งงานกับทำตามภาคส่วนได้ เพื่อปรับปรุงและคัดออก (มันดูเหมือนจะโหดไปหน่อยครับ สำหรับครู แต่นี่หล่ะ ที่มาของคำว่าคุณภาพการศึกษา)

  10. คราวนี้ ทีมบริหารการศึกษาก็มีคณะกรรมการประเมินผลการบริหาร ครูก็มีคณะกรรมการประเมินผลครู โดยชุมชนมีส่วนร่วมด้วยครับ แล้วเด็กหล่ะครับ ใครประเมิน ก็สถาบันนี่หล่ะครับประเมินในการสอบเข้า หรือว่าไม่มีการสอบเข้าก็ได้ ตามรูปแบบที่วางไว้ อันนี้คิดกันได้ หากเล่นกันตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถม ดีขึ้นมาเรื่อยๆ ระดับอุดมศึกษา ก่อนสอนง่ายขึ้นครับ

  11. ต่อมาถึงระดับของการสร้างคนดี มีคุณธรรม และปัญญา ส่งออกไปในองค์กรต่างๆ ในประเทศ เช่นการเมือง การศึกษา ภาครัฐ เอกชน ชุมชน และส่วนอื่นๆ ในประเทศ

  12. คนที่มีปัญหาก็จะเริ่มจางลง ไปเองครับ แรงต้านก็จะหายไปครับ ระบบเจ้าพ่อ ระบบอะไรก็จะหดไปมากขึ้น เพราะเรามีการศึกษาให้กับชุมชนออกแบบการศึกษาให้กับตัวเองด้วย โดยทีมการศึกษาจะต้องทำงานกับภาคชุมชน การวิจัยก็ต้องเกิดการทำร่วมกัน

  13. เมื่องานวิจัยก็มี การสอนก็ได้คุณภาพ ประเทศตะวันตกเค้าก็มาดูงานเมืองไทยเองหล่ะ ว่าเราจัดการบริหารกันอย่างไร

  14. เราส่งคนมาดูงานในยุโรป ตะวันตกกันแล้วกลับไปก็ทำอะไรกันได้บ้างครับ นอกจากเขียนรายงานว่าได้อะไรบ้าง เราจะจัดการอย่างไร จัดการไม่ได้ใช่ไหมครับ เพราะมันโยงใยกันทั้งหมด นี่คือหนทางที่ผมแนะนำให้แยกออกมา

  15. ซึ่งผมก็เขียนไว้ในบทความแยกกันบริหารจะได้ไหม เรื่องการศึกษาและการเมือง ลองเข้าไปเยี่ยมได้ที่นี่ ครับ การศึกษากับการเมืองควรรวมหรือแยกกันบริหาร คุณคิดอย่างไร

  16. เมื่อการศึกษาไปได้ดีแล้ว ปัญหาอื่นๆ ก็ไม่ต้องมีอะไรมากครับ คือ ไม่ต้องเขียนกฏหมายให้ยุ่งยาก ซับซ้อน เพราะคนมีคุณธรรม ไม่ต้องส่งคนมาเรียนกฏหมายต่างประเทศมากมาย เพราะไม่จำเป็น ส่งไปฝึกงานหรือร่วมงานประชุมก็พอ ไม่ต้องมีคุกเยอะๆ นักโทษล้นคุกก็ไม่มี เพราะคนมีคุณธรรม คนดีมากขึ้น

  17. ไม่ต้องแก้ปัญหาการว่างงาน เพราะคนถูกวางแผนให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน

  18. และปัญหาอื่นๆ ไม่ต้องวุ่นวายกันต่อไป อย่างน้อยก็ลดลง ที่แน่ๆ คือในระบบการศึกษาจะมีการแทรกแซงทางการเมืองลดลง มีอิสระในการพัฒนามากขึ้น

  19. การแยกการศึกษาออกมาจากการเมืองนั้น มีข้อแม้ว่าห้ามนักการเมืองมาบริหารนะครับ เราจะไม่รับคนทำงานการเมืองมาทำงานทางด้านการศึกษาเพราะมันคนละเรื่องกัน ตอนนี้ต้องเข้าใจว่าการเมืองแทรกไปในวงการศึกษาทั่วทุกแห่ง เมื่อแยกออกมาจะลำบากในช่วงแรก แต่ผมเชื่อว่าไปได้ อันนี้ต้องขอความเห็นใจจากคนทำงานการเมือง หากเห็นอยากจะให้การศึกษาโตจริงๆ ดังนั้น การศึกษาต้องบริหารด้วย นักการศึกษา

  20. แต่.....หากคนเล่นการเมืองให้ความสำคัญกับการศึกษาจริงๆ ไม่จำเป็นต้องแยกเลยครับ ที่พูดมาทั้งหมดนี้ เพราะหากเห็นความสำคัญและจริงใจในการแก้ไขปัญหาจริง รวมหรือแยกก็ไม่ใช่ประเด็น แต่นั่นหมายถึงว่าคนทำงานการเมืองจะต้องมีคุณภาพจริงๆ ที่เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นกิจที่หนึ่ง ส่วนตนมาเป็นอันดับสอง

  21. ทีมงานบริหาร จากนักการศึกษา ไม่มีการได้มาจากพรรคการศึกษานะครับ ต้องมีการจัดสรรด้วยวิธีการอื่น ที่ไม่ใช่พรรคหรือแบ่งกลุ่มขึ้นมา ไม่งั้นจะเข้าสู่วงเวียนเดิมเหมือนกับการเมือง

  22. ขอบคุณมากนะครับ นี่คือความอัดอั้นในใจผมที่อยากจะบอกนะครับ

  23. .........

  24. คุณคิดเห็นเป็นอย่างไร รบกวนนำเสนอไว้นะครับ ขอบคุณมากๆ นะครับ เพราะคุณคือผลผลิตทางการศึกษาคนหนึ่งเช่นกันครับ

ขอบคุณมากๆ นะครับ

เม้ง สมพร ช่วยอารีย์

หมายเลขบันทึก: 96424เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2007 18:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (85)

สวัสดีค่ะคุณเม้ง

  • ครูอ้อยอ่านแล้วแบบอิ่มจุใจ   และได้สาระประโยชน์อย่างมหาศาลกับการศึกษาไทย   ได้ข้อคิดนานาที่จะนำมาขบคิด  แต่คิดไปคิดมา  เอ..จะช่วยไขปัญหานี้ได้อย่างไรนะ  ในเมื่อครูอ้อยเป็นแค่เพียง......   หิ่งห้อยที่มีแสงน้อยด้อยค่าเท่านั้นค่ะ....แต่หิ่งห้อยตัวนี้ยินดีที่จะมารวมกันหลายๆตัวเพื่อแสงส่วางแห่งการศึกษาของไทยค่ะ...คุณเม้ง

ขอบคุณค่ะ...แล้วคิดออกจะมาบอกอีกนะคะ

P

สวัสดีครับคุณครูอ้อยที่น่ารัก

  • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ
  • ผมก็หิ่งห้อยนะครับ สองหิ่งห้อย ก็บินไปได้ไม่เหงาแล้วใช่ไหมครับ
  • แต่ผมเชื่อว่า ยังมีหิ่งห้อยท่านอื่นๆ จะมาร่วมบินด้วยนะครับ ยังไง ก็รบกวนกระพริบไฟเลี้ยวไฟเบรคไว้ที่นี่ด้วยนะครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ
นี่แหละคือผู้ที่จะกู้วิกฤตการศึกษาของชาติ กลับมาเร็วๆนะครับ รออยู่
  • นั่นนะสิคะ...หิ่งห้อยด้อยค่ามาบินอยู่ใกล้ๆกัน   จะได้มีแสงสว่างแห่งการศึกษา  กระพริบได้ดีมีค่าขึ้นมาอีกมากมายนะคะ
  • กลับมาเร็วๆนะคะ..ยินดีที่จะกระพริบ  ถึงแม้ว่าจะเหนื่อยสูญเปล่า
คุณเม้งค่ะ เห็นที่คุณเม้งเขียน บอกได้เลย ว่างานนี้ยาวแน่ ที่ราณีจดไว้ในเศษกระดาษกับที่คุณเม้งเขียนต่างกันอีกเยอะค่ะ  ของอย่างนี้มันฝังรากลึกมาก เคยคิดจะเขียนหลายครั้งแล้วค่ะ  กลัวเหมือนที่ครูอ้อยบอกเราเป็นแค่ลูก.........อยู่แล้วในที่ทำงาน 
P

สวัสดีครับพี่ครูเสือ

  • ห้าๆๆ ผมไม่ใช่คือคนกู้นะครับ หากเห็นด้วยวิธีการนี้ ก็ต้องพูดคุยกันกับท่านอื่นๆ ด้วยนะครับ
  • หากจะทำต้องทำเป็นทีม และให้นักการเมืองใจกว้าง ยอดนักการเมืองเห็นด้วยนะครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ แล้วจะรีบกลับไปครับ
P

สวัสดีครับคุณครู

  • เราต้องมีพลังในการกระพริบนะครับ กระพริบให้ตรงจุด แล้วเราจะกระพริบได้นานครับ หิ่งห้อยก็กระพริบได้นานเสมอครับ
  • กระพริบเพื่อสังคม ด้วยเจตนาดีนะครับ อย่างน้อยเราก็กระพริบตามหน้าที่อยู่แล้วครับ
  • พลังในถ่านไฟฉาย ก็มีหลายๆ เซลล์ประกอบกันครับ รวมๆ กันก็เป็นพลังหิ่งห้อย ใช่ไหมครับคุณครู
  • ขอบคุณมากนะครับ
P

สวัสดีครับคุณราณี

  • ทำดีที่สุดนะครับ ผมเชื่อว่าทำได้ ที่ว่าทำได้นี่คือไม่ใช่แยกการศึกษาออกมานะครับ แต่ทำการศึกษาให้มันมีคุณค่าพอที่คนทั้งประเทศพร้อมจะพัฒนาไปร่วมกัน
  • เพราะแยกหรือรวมก็ไร้ค่า หากคนไม่ให้ความสำคัญ ว่าไหมครับ แต่ที่นำเสนอ คือทางออกหนึ่งเพื่อให้ต้นกล้าทางการศึกษามันเจริญเติบโตได้โดยไม่โดนพายุซัดในยามบางฤดูกาลเท่านั้นครับ
  • ยังมีส่วนไหนที่ต่าง คุณราณีเขียนบทความขยายรถไฟได้เลยครับผม แล้วผมจะทำลิงก์ไปหานะครับ 
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ ขอเป็นกำลังใจให้เสมอครับ ผมเชื่อว่าเจตนาดีต่อการศึกษาจะทำให้ผลผลิตได้ผลที่ดี
  • ครูอ้อยไม่เคยเหนื่อยที่จะกระพริบค่ะ...อยากกระพริบตลอดเวลา  และเอยากชวนให้เพื่อนๆได้กระพริบไปพร้อมๆกันด้วยค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ..คุยกับคุณเม้งเรื่องของการศึกษาแล้ว...รู้สึกว่าแสงของหิ่งห้อยจะเริ่มสว่างเท่าๆกับความสว่างของแสงจันทร์แล้วค่ะ..อิอิ
P

สวัสดีครับคุณครูที่น่ารัก

  • ดีมากๆ เลยครับ ผมเห็นศักยภาพของคุณครูอ้อยมานานแล้วครับ เห็นกระพริบอยู่เสมอ และคุณครูกระพริบถี่มากๆ จนสายตาผมเห็นแสงของคุณครูนิ่งแล้วนะครับ กลายเป็นแหล่งพลังงานที่ให้แสงสว่างตลอดเวลา
  • เมื่อเราเริ่มกระพริบ คนอื่นช่วยกันกระพริบ แสงหิ่งห้อยก็ทั่วประเทศเลยครับ สว่างทั้งภายนอกและภายใน คราวนี้หล่ะครับ รอยยิ้มก็เกิด แสงธรรมก็เกิด
  • เอาแสงที่เกิดไปใช้กับการศึกษาบนเส้นทางของเรา ท้ายที่สุดแล้ว ผลผลิตทางการศึกษาก็อยู่นานยาวยิ่งกว่าดอกกล้วยไม้ครับ แต่จะบานตลอดไป ครูก็อิ่มใจเพราะผลคือเกิดเมล็ดพันธุ์ทางการศึกษาที่ดีต่อไป กระจายอยู่ทั่วสังคมไทย หรือสังคมโลกก็เป็นได้ใช่ไหมครับ
  • ขอให้แสงนี้เจิดจ้าอยู่ทั้งภายในและภายนอกครับ ผมเชื่อว่าเราทำได้ ร่วมพัฒนาแสง พัฒนาตัว พัฒนาคน เพราะเราคือคนที่พร้อมจะพัฒนา
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ
  • อิ่มใจค่ะ...ที่ได้พัฒนาตนเอง  พัฒนานักเรียน  พัฒนาเพื่อนๆ  และสุดท้าย  องค์กรทั้งหน่วยเล็กสุด  หน่วยสูงขึ้นไป  จนไปถึงประเทศชาติก็พัฒนาไปด้วย..ใช่ไหมคะ
  • ถึงมันจะช้า  จนกว่าชีวิตของครูอ้อยจะหาไม่  ก็ไม่ทันได้เห็นผล  แต่ถ้าหากไม่ได้เริ่มเสียแต่วันนี้  ครูอ้อยคงจะนอนตายแบบตาไม่หลับแน่ค่ะ

เรามาช่วยๆกันกระพริบถี่ๆๆๆนะคะ

ฮุยเลฮุย

P

สวัสดีครับคุณครู

  • ยอดมากๆ เลยครับ ใช่แล้วครับ พัฒนาขึ้นๆ ไปเมื่อเรามีพลัง แล้วทำออกไปดี คนอื่นเห็นดี เค้าก็ช่วยกันขับเคลื่อนอย่างมีพลังนะครับ
  • คุณครูก็มีใบรับรองที่คนเห็นความดีเยอะมากมายนะครับ แม้ว่าตรงนั้นไม่ใช่เป้าหมายของคุณครูก็ตาม แต่เป้าหมายที่แท้จริงคือการพัฒนาสมองของชาติ เพื่อออกไปรับใช้สังคมใช่ไหมครับ
  • การศึกษาได้ผลช้าครับ แต่ผลมันอยู่ยาวนานยิ่ง ดังนั้นจงภูมิใจไว้นะครับ การพัฒนาการศึกษาหรือสมอง ไม่สามารถทำได้เร็วเหมือนสร้างตึก แต่การสร้างตึกนั้น ก็ต้องสร้างสมองและพัฒนาสมองมาก่อน ที่จะใส่ไว้ในตึกแต่ละที่ในประเทศไทย ใช่ไหมครับ
  • ดังนั้น การได้มีตึกสร้างตึก จงอย่าได้ภูมิใจ ดั่งได้มีสมองของชาติกระจายอยู่ทั่วไป ช่างน่าประทับใจมากกว่าครับ
  • มาร่วมกันพัฒนาแต่วันนี้ เพราะเราเกิดมาแค่ชีวิตเดียว หากมีชาติหน้าจริง เราจะได้เกิดมาเป็นคนหรือเปล่า ดังนั้น เราร่วมกันทำวันนี้ให้ดีวางแผนเพื่อวันพรุ่งนี้ แล้วมองไปไกลๆ ยาวๆ ก่อนเราจะหมดลมหายใจ แรงเหล่านี้ เราจะสืบทอดให้คนอื่นเห็นแล้วทำร่วมกัน ลมหายใจเราจะมีพลัง ดั่งแสงหิ่งห้อย ดวงน้อยๆ ตั้งแต่เริ่มต้นนะครับ
  • ขอบคุณมากครับ

โอ้โห !!!!!!!!!

  • ขอยกมือท่วมหัวให้เลยครับ
  • พลัง G2K  กำลังเปล่งพลัง
  • แสงสว่างการศึกษากำลังทอแสง
  • ปัญหาการศึกษามีทางออก
  • แสงเริ่มกระพริบมารวมกัน จะเป็นลำแสงอันสว่างสดใส ยิ่งใหญ่
  • หนุ่มไฟแรง เริ่มเผยความหาญกล้า  ออกมาชี้ทางออก
  • น้ำชาเริ่มมีรสหอมหวาน
  • มา มา ครับ มาร่วมกันแก้ปัญหาการศึกษาของชาติ
P

สวัสดีครับพี่เหลียง

  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ
  • ผมทำอะไรคนเดียวไม่ได้หรอกครับ หากจะร่วมพลังต้องร่วมกันวิจารณ์แนวทาง ที่นำเสนอมาด้วยนะครับ อาจจะมีส่วนที่ต้องปรับ ต้องเพิ่ม ต้องช่วยกันถกปัญหา มีหลายๆ อย่างที่ต้องคิดแล้วให้อยู่ในรูปที่เขียนโปรแกรมได้ ทำออกมาได้นะครับ
  • ผมก็อยากให้ท่านอื่นๆ เข้ามาแลกเปลี่ยนความเห็นร่วมด้วยเช่นกัน ว่า ดีไม่ดี ก็โจมตีกันได้เลยนะครับ ตรงนี้เปิดกว้างอยู่แล้วนะครับ
  • อิๆ ว่าแล้วคอแห้ง จิบชาก่อนครับ อยากจิบชาอู่หลง ของคุณเบิร์ดจังครับ ที่ชงวันก่อนหมดแล้วครับ ตอนนี้จิบชาตะไคร้ไปก่อนครับ
  • ขอบคุณมากครับ
  • เพิ่งจะรู้ว่าท่านสิทธิรักษ์มีอีกชื่อหนึ่งว่า...พี่เหลียง

อิอิ...คารวะด้วยน้ำชาหลายๆจอกค่ะ

สวัสดีครับท่าน
P
ผ่าน ท่าน อ้อยที่นับถือสูงสูง
P

ผมได้อ่านความเห็น ครูอ้อย เข้าลึกถึงความรู้สึกของครูอ้อย บุคคลที่ซ่อนความเป็นอัจฉริยะอยู่ภายใน ไม่ยอมเปล่งประกายของความยิ่งใหญ่ออกมาให้ผู้คนได้เห็น  ตัวจริงของครูอ้อยได้เรียนรู้จากการที่ได้แลกเปลี่ยนพูดคุยกัน  ความจริงที่หวังและต้องการ รอวันเวลาที่จะแสดงออก  ไม่ผิดหรอกครับ สู้เพื่อการศึกษาไม่มีวันตายจาก   

  • ขอบคุณมากๆครับ คุณครูอ้อย

สวัสดีอีกครั้งครับ

P

ทำให้ผมนึกถึง บรรยากาศโต๊ะกลมจังเลย  จึงลองยกมาดูเล่น

ว้าวท่านเหลียง..

  • ครูอ้อยมิอาจเอื้อมเป็นอย่างที่ท่านบรรยายเลย
  • ครูอ้อยเป็นเพียงครูประถมศึกษาคนหนึ่งที่ด้อยค่าแต่อ้วนท้วม
  • แต่ครูอ้อยมีแรงที่จะกระพริบแสงแห่งความรู้อยู่ตลอดเวลาค่ะ
  • มีอะไรให้รับใช้..ได้เลย  พร้อมเสมอที่จะช่วยเหลือ...เหมือน....คนคอเดียวกัน...ออกงานวัดได้...อิอิ
  • ขอตัวไปพักผ่อนก่อนค่ะ...พรุ่งนี้นักเรียนจะ come back to school แล้วค่ะ
  • น่ารักกันทุกคนจริง ๆนะครับ
  • ชวนพี่น้องคนอื่นมาร่วมวงกันด้วยนะครับผม
  • อยากเห็นความหลากหลาย มากกว่าเห็นด้วยนะครับ ร่วมกันหาแนวทางนะครับ
  • ขอบคุณทุกๆ ท่านนะครับ
  • ครูอ้อยขอเปลี่ยนนั่งใหม่ได้ไหมคะ..อิอิ..ล้อเล่นน่ะค่ะ
  • เป็นโต๊ะที่มีคุณค่ามากๆเลยค่ะ
P

สวัสดีครับคุณครู

  • อยากนั่งตรงไหนครับผม บอกมาได้เลยนะครับ
  • แต่ไม่ว่านั่งตรงไหน คุณครูก็อยู่ในดวงใจของพวกเราทุกคนเสมอครับ
  • ที่นั่งตรงนั้นที่เดิม เขินหรือครับ ยังไม่มีใครแซวคุณครูเลยครับ
  • ยิ้มๆ ขอบคุณมากครับ
  • ได้รับคำถามเพิ่มนะครับเช่น
  • อย่างแรกเลยคือ เราจะดึงการศึกษาออกจากการเมืองได้อย่างไร

  • อย่างที่สองที่ตามมาคือเรื่องของงบประมาณครับ

    เพราะอย่างไรเสีย องค์กรการศึกษาก็ต้องใช้งบประมาณจากรัฐบาล

  • คุณคิดว่าคุณจะตอบสองคำถามนี้ว่าอย่างไรครับ

อย่างแรกเลยคือ เราจะดึงการศึกษาออกจากการเมืองได้อย่างไร

  • เนื่องจากเรื่องนี้ การจะดึงการศึกษาออกจากการเมืองได้ อันนี้คือต้องการนักการเมืองใจกว้างที่เห็นความสำคัญของการศึกษา และอยากให้การศึกษาเป็นอิสระทางการเมือง และคิดว่า การศึกษาควรจะปกครองประเทศ และการศึกษาจะเวียนว่ายตายเกิดไม่ได้
  • ดังนั้น ตรงนี้ต้องการคนที่มีความเข้าใจในการพัฒนาตรงนี้ และให้นักการศึกษาเป็นผู้บริหารการเมือง ส่วนการได้มาของนักการศึกษานั้น ก็ไม่ควรจะมาจากการเมือง และได้มาจากระบบที่ไม่ใช่เลือกตั้งแบบพรรคการเมือง หรือพรรคการศึกษานะครับ
  • ท่านหล่ะครับ คิดว่าอย่างไรครับ

สวัสดีครับคุณสมพร P

ไฟแรงมากครับ เป็นบทความที่มีพลัง จนต้องขอคิดลึกๆ และสะท้อนมุมหลากหลายเข้าไปเพิ่ม momentum

เริ่มจากคำ "การเมือง" ถ้าหมายุถึง "การเมืองไทยแบบที่แล้วๆมาจวบปัจจุบัน" ก็คงจะเห็นด้วยหลายส่วน (ไม่ทั้งหมด) แต่จริงๆ ที่เรา "เล่น" กันอยู่นี้ไม่ใช่การเมืองเสียทีเดียว ในแง่การเมืองที่มีไว้เพื่อสังคมมนุษย์กลุ่มใหญ่ๆ เพราะ เช่นอย่างในที่สุดแล้ว การบริหารการศึกษา อย่างน้อยก็อาจจะมีสภาการศึกษา มี hierachy ของการบริหาร การเมืองก็จะเข้ามาเกี่ยว แต่ตัวที่มีการเมืองมาเกี่ยว ไม่จำเป็นต้อง evil เสมอไป (รึเปล่า?)

มันจะเกิดสภาวะ contradiction หน่อยๆ ก็คือ การบริหารจัดการทีดี สมบูรณ์ของสภาการศึกษาที่เป็น independent จาก การบริหารประเทศน้นเป็นเช่นไร การมี investment ในด้านต่างๆ จำเป็นต้องมีการจัดสรรทรัพยากรที่มี (จำกัด) ให้ทรงประสิทธิภาพที่สุด การแยกการศึกษาออกมาจากภาคอืนๆนั้น จะมีผลกระทบอย่างไรกับ ความเป็นองค์รวม

เคยเสนอโครงการขึ้นไป บรรทัดแรกๆบอกว่าเกี่ยวข้องกับ หมอ ครู พระ ฉะนั้นขอการสนทนาร่วมระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษา และกระทรวงวัฒนธรรม ปรากฏว่าทำไม่ได้ซะแล้ว มันขาด jurisdiction ของระหว่างกระทรวง เพียงแต่ว่า "ชีวิต" ของมนุษย์นั้น เจ็บป่วย เรียนรู้ จิตวิญญาณ มันอยู่ในร่างเดียวกัน รวมทั้งร่างที่ทำมาค้าขาย ประกอบอาชีพต่างๆด้วย

New Sciences กำลังหาวิธี approach แบบ holistic เช่น การทำ dialogue ของ David Bohm เพื่อหา collective thought ของคนในสังคม เรา "ต้อง" สนทนากันมากขึ้น (รึเปล่า) หรือเราควรจะ "แยก" กันออกไปจากกันมากขึ้น?

 เป้นแค่ปัญหาทางปรัชญา เป็นกระษัยเริ่มต้นครับ ยอมรับว่าเป็น think off the box ที่ ท้าทาย ในหนังสือ World Cafe' ของ David Isaac กล่าวว่า ถ้ามีการเปลี่ยน If only ไปเป็น What if ไปเป็น Why not ไปเป็น Why not now เราก็จะได้ human evolution ใหม่ขึ้นมาได้ ตอนนี้เลยขอโยน What ifs เข้าไปให้สมการมีตัวแปรเยอะๆหน่อยครับ

P

สวัสดีครับคุณหมอ

  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ สำหรับความเห็นที่ดีมากๆ เลยครับ ในการมาร่วมถกกันครับ
  • ที่ผมมองนะครับในเรื่องนี้ตอนนี้ คือ การแยกการศึกษาออกมาให้นักการศึกษามาบริหารจัดการเอง โดยไม่ใช่บริหารแบบการเมือง คือให้มีอิสระในการจัดแผนการศึกษาที่ชัดเจนแล้วดำเนินการไปเลย โดยมีงบประมาณที่มีการแบ่งจัดสรรไว้ตามความสำคัญของประเทศ
  • ดังนั้น เป็นการแยกที่แนะนำไว้คือ ให้คนที่เป็นนักการศึกษามาบริหารจัดการ มาแบบดีๆ ที่จะบริหารจัดการได้ แต่ไม่ใช่มาแบบพรรคการเมืองนะครับ ต้องคิดวิธีการได้มาซึ่งที่มานะครับ โดยมีงบประมาณที่วางไว้แล้ว
  • แม้ในระบบการศึกษาจะมีโครงสร้าง ก็ไม่ได้เสียงหายอะไร เพียงแต่จัดการโครงสร้างให้เป็นระบบที่ดี โดยให้การเป็นการเมืองมีน้อยในการเป็นอุปสรรคในการบริหาร เน้นผลประโยชน์ของชาติ หัวสมองของชาติเป็นที่ตั้งนะครับ
  • ความเป็นองค์รวม จริงๆ แล้วที่แยกนี่ ไม่ใช่อะไรหรอกครับ ก็ยังทำงานเพื่อชาติเหมือนเดิมครับ การเมืองก็จัดการเรื่องอื่นๆ ไปนะครับ แต่การศึกษาก็ต้องจัดการเป็นระบบและต่อเนื่องดังที่ว่า
  • การศึกษาล้มไม่ได้ แม้การเมืองจะมีปัญหา ตรงนี้คุณหมอคิดว่าอย่างไรครับ เราจะฝ่าด่านตรงนี้อย่างไรครับ คุณหมอมีทางออกให้ไหมครับ
  • ส่วนการทำงานนั้น การศึกษาทำหน้าที่สร้างคนออกมาให้มีคุณภาพทั้ง กาย สมอง และจิตใจ เพื่อให้คนเหล่านี้ไปรับใช้สังคมองค์กรอื่นได้ครับอย่างมีคุณภาพครับ
  • ส่วนสังคมหรือชุมชน องค์กรทางการศึกษาต้องมีส่วนเข้าไปให้ความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดทั่วถึงทั้งประเทศ โดยการเมืองอาจจะต้องไปดูและเรื่องปัจจัยพื้นฐานของสังคม ความต้องการพื้นฐานให้พร้อม เมื่อครอบครัวพร้อม คนจะพร้อมต่อการเรียนมากขึ้นครับ การศึกษาก็รับช่วงต่อ แต่การศึกษาก็ต้องส่งเสริมกันตั้งแต่ครอบครัวครับ เรื่องตรงนี้ทำได้ในทางปฏิบัติครับ
  • อย่างที่บอกนะครับ หากทุกอย่างทำงานกันได้แล้ว ต่อเนื่อง ผมเชื่อว่าแยกหรือไม่แยกไม่สำคัญใดๆ เลยครับ แต่หากรับได้อยู่อย่างนี้ ผมก็คิดว่า ก็ต้องเป็นอย่างนี้นะครับ
  • เอาเป็นว่า ผมถามกลับคุณหมอ ว่า คุณหมอคิดว่าการศึกษาของไทยเรา มีปัญหาไหมครับ
  • ทำไมนายกอังกฤษถึงบอกว่า การศึกษาของเค้ามีปัญหา ต้องพัฒนาการศึกษา ทำไมเค้าคิดอย่างนี้
  • หากการศึกษาของไทยไม่มีปัญหา การส่งคนไปเรียนที่อังกฤษอาจจะไม่น่าจะใช่เป้าหมายหรือเปล่าครับ (อิๆ แต่ในแง่ของความหลากหลาย อาจจะเป็นทางออกของคำตอบได้ครับ)
  • ส่วนเรื่องอื่นๆ ผมต้องขออ่านเพิ่มเติมและทำความเข้าใจเพิ่มเติมนะครับ เพราะว่า ความรู้ผมยังไม่ถึงนะครับ เรื่องที่คุณหมอบอกดังต่อไปนี้
  • New Sciences กำลังหาวิธี approach แบบ holistic เช่น การทำ dialogue ของ David Bohm เพื่อหา collective thought ของคนในสังคม เรา "ต้อง" สนทนากันมากขึ้น (รึเปล่า) หรือเราควรจะ "แยก" กันออกไปจากกันมากขึ้น?

     เป้นแค่ปัญหาทางปรัชญา เป็นกระษัยเริ่มต้นครับ ยอมรับว่าเป็น think off the box ที่ ท้าทาย ในหนังสือ World Cafe' ของ David Isaac กล่าวว่า ถ้ามีการเปลี่ยน If only ไปเป็น What if ไปเป็น Why not ไปเป็น Why not now เราก็จะได้ human evolution ใหม่ขึ้นมาได้ ตอนนี้เลยขอโยน What ifs เข้าไปให้สมการมีตัวแปรเยอะๆหน่อยครับ

  • กราบขอบพระคุณมากๆ เลยครับ ผมดีใจครับ ที่ได้ความเห็นของคุณหมอเพิ่มครับ ผมอยากให้ท่านอื่นๆ ช่วยวิจารณ์ด้วยครับ

  • สำหรับเรื่องนี้ผมยังเด็กมากๆ นะครับ แต่คิดไว้ เพราะผมก็เอาโจทย์นี้ใส่ในหัวมาสิบปีแล้วครับ ตั้งแต่สมัยปริญญาตรีนะครับ เรื่องการศึกษาของเด็กทุกระดับชั้นนะครับ ประกอบกับผลกระทบบางอย่างจากการเมือง

  • การเมืองเป็นสิ่งที่ดีนะครับ หากทำให้เกิดผลที่ดีอย่างจริงจัง ผมมองว่าการเป็นเป็นการจัดสรรเรื่องผลประโยชน์ ในการบริหารประเทศ (ตรงนี้ผมอาจจะมองผิดนะครับ รบกวนชี้แนะด้วยครับ) แล้วผลประโยชน์จากการบริหารประเทศควรจะตกที่ไหนครับ แผ่นดิน ประชาชน หรือใครครับ

  • แต่การศึกษาผมมองว่าเป็นการให้โดยไม่หวังผลตอบแทน เป็นการลงทุนของรัฐเพื่อสมองของประเทศ การศึกษารัฐจะต้องลงทุนให้กับประเทศ ไม่ผลักภาระส่วนใหญ่ให้อยู่กับประชาชนมากเกินไป พูดง่ายๆ คือ การศึกษาไม่ควรเป็นธุรกิจ แต่เป็นการลงทุนของรัฐนะครับ โดยที่คนทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกันในการเรียน ทุกระดับชั้น จนจบ ม.ปลาย หรือ ปวช. หรือมากกว่านั้นครับ ระดับ ม.3 ที่เราวางไว้ 9 ปีนั้น จริงๆ น้อยเกินไป แต่ในทางปฏิบัติเราไปไม่ถึงครับ ค่าเฉลี่ยตอนนี้ เกิน ม. 3 หรือไม่ครับ ถามว่า เพราะเหตุใดครับ

  • เชิญอาจารย์ตอบคำถามต่อที่นี่ นะครับ เรื่อง เด็กสองแสนคนที่หายไปนะครับ เด็กสองแสนคนหายไปไหน ใครตอบได้ช่วยบอกทีครับ (การศึกษา)

  • มาเถอะครับ มาหาทางออกร่วมกันนะครับ เพื่อให้ลูกหลานของเราได้พัฒนาประเทศร่วมกันครับ แล้วออกไปทำงานเพื่อสังคมจริงๆ ด้วยใจบริสุทธิ์ กระจายอยู่ทั่วไป ทั่วประเทศครับ 

  • ขอบคุณมากๆ นะครับ

สวัสดียามเช้าค่ะน้องเม้ง...

  • น้องเม้งได้เปิดประเด็นให้ครูอ้อยได้คิด..ดีมากนะนี่  ครูอ้อยไม่เป็นอัลม์ไซเมอร์แน่เลยค่ะ   
  • การหาทางออกจากทางตันในเรื่องของการศึกษา   ที่มี่ประเด็นในเรื่องดึงการศึกษาออกจากการเมือง....ครูอ้อยคงไม่มีปัญญาไปแก้ไขได้นะคะ...
  • แต่จะพูดถึงเรื่องที่เกิดขึ้นว่า....การเมืองเข้ามาแทรกและพยายามใช้พวกเราชาวครูให้เกิดประโยชน์ทางตรงคือ...ชาติบ้านเมือง..หากไม่ทางอ้อม  หลายๆทางก็จะดีนะคะ...ครูอ้อยมองเห็นทางอ้อมค่ะ  
  • เห็นด้วยกับน้องเม้ง..เพราะทุกวันนี้   ครูทุกท่านก็ทำหน้าที่ด้วยความเต็มใจ  เต็มความรู้  เต็มความสามารถ  และเต็มภาคภูมิแล้วค่ะ
  • เรามาคุย  ปรึกษา  และหาทางกันต่อไปนะคะ...
P

สวัสดีครับคุณครูอ้อยที่น่ารัก

  • ดีใจมากนะครับ ที่คุณครูเข้ามาให้กำลังใจและอยู่เป็นเพื่อนกันนะครับ
  • ถกกันให้เกิดแนวทางสว่างที่เราพอจะมีทางนำพาหรือช่วยสนับสนุนการศึกษาให้อยู่ได้ และสมองของชาติที่จะเป็นไป ตลอดจนอนาคตต่อไปหลังจากที่เราไม่อยู่กันแล้วด้วยครับ
  • อย่างน้อยก็เกิดผลอะไรบางอย่างในการร่วมพัฒนาตัวเรา และเพื่อนครูในการหาทางแก้ไขร่วมกัน เพื่อประโยชน์ให้ตกกับเด็กและชุมชนที่แท้จริงครับ
  • ผมเชื่อว่า หากพูดคุยกันไปเรื่อยๆ แล้วให้ความสนใจกับเรื่องนี้ ทางคนการเมืองก็ต้องให้ความสำคัญด้วยครับ การศึกษามันต้องสำคัญ และสำคัญมากๆ ด้วยต่อการพัฒนาชาติครับ
  • ขอบคุณคุณครูอ้อยมากๆ เลยนะครับ ผมขอเรียกคุณครูนะครับ เพราะผมชอบคำว่าคุณครูมากๆ เลยครับ แต่คุณครูอ้อยเรียกผมว่าน้องเม้งนั่นหล่ะครับ ดีที่สุดแล้วครับ
  • เวลาผมเรียกคุณครู ผมจะนึกถึงตอนผมอยู่ ประถม มัธยมครับ และแม้ว่า มหาวิทยาลัย มีคุณครูหลายๆ ท่านแทนตัวเองว่าครู ซึ่งจะมีความสุขมากๆ ครับ อบอุ่นเหมือนเป็นแม่คนที่สองจริงนะครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ

อย่าไปคิดดึงการศึกษาออกจากการเมือง มันเหนื่อยและยาก

  • ควรมองว่าทำอย่างไรให้การเมืองตระหนักและทำเรื่องการศึกษาอย่างเป็นระบบและจริงจัง
  • ถ้ามันทำไม่จริง พวกเราก็โห่ไล่เข้าป่าไปได้อยู่แล้ว
  • เข้าชื่อฟ้องศาลปกครอง ฟ้องไปที่รัฐบาล ในฐานะที่คัดเลือกคนโง่มาเป็นรัฐมนตรี
  • โง่อย่างไรก็เขียนลงไปในคำฟ้อง
  • ใครฟ้องก็ลงบัญชีหางว่าว ตั้งตัวแทนฟ้อง
  • มันจะลากเรื่องเข้าสู่เวทีสาธารณะ สื่อสารต่างๆก็จะช่วยกระพือ วิธีนี้เท่านั้นที่จะทำให้การเมืองหันมาทำเรื่องการศึกษาอย่างจริงจัง 

ถ้าระบบศาลช้า ไม่เอาด้วย

เห็นป้ายริมถนนไหมครับ

เขียนและปักเข้าไป

เขียนในระบบไอที

เขียนป้ายผ้าแขวนหน้าบ้าน หน้าหมูบ้าน ข้อความรึครับ

"เราไม่ต้องการนาย.....เพราะมันโง่ ไม่จริงใจทำหน้าที่.." อย่างลงชื่อละเดี๋ยวมันเต๊ะเอา หรือเอาลูกน้องมาแกล้งเรา เว้นแต่จะทำกันมากๆจนไม่รู้จะแก้อย่างไร "

เรื่องนอกกติกา นอกระบบ ต้องใช้วิธีนอกระบบ

เขียนลงในนสพ. ยิ่งอาจารย์มหาวิทยาลัยเขียนยิ่งดี เพียงแต่ตอนนี้เขียนน้อยนับตัวได้ ลองช่วยกันขย่มสิครับ ตกเก้าอี้ไปนานแล้ว บ้านเมืองไม่ย่ำแย่อย่างนี้หรอก

P

กราบสวัสดีท่านครูเคารพ

  • อย่าไปคิดดึงการศึกษาออกจากการเมือง มันเหนื่อยและยาก
  • ประโยคแรก ก็ทราบได้เลยครับ ว่าหนทางนี้ยาวไกลมากๆ ครับ เพราะมีทั้งเหนื่อยและยาก ครับ
  • การทำให้นักการเมืองตระหนักเรื่องการศึกษา อันนี้น่าสนใจครับ แต่.....ในความเป็นจริงและประวัติศาสตร์แล้ว.....เราเอาจริงกับเรื่องเหล่านี้ขนาดไหนครับ ผมถึงเขียนไว้ครับ ว่า แยกหรือไม่แยกไม่ใช่สำคัญหากมีการเมืองดีๆ และเห็นความสำคัญของการศึกษาของชาติ ว่าสำคัญจริงๆ แล้วทำสนับสนุนอย่างจริงใจ และทำจริง
  • จริงประเด็นการทำให้นักการเมืองหันมาสนใจ การศึกษา หรือว่า ทำให้มวลชนขับเคลื่อนให้การเมืองเอาจริงเรื่องการศึกษา นี่ก็น่าสนใจครับ หากมวลชนแน่นและเห็นความสำคัญจริงๆ โดยเริ่มจากนักการศึกษา นักวิชาการ ที่มีส่วนพัฒนาประเทศ
  • หากไม่ทำไปตามนโยบายที่แถลงไว้แล้ว มีอันต้องขับไล่ แบบนี้น่าสนใจครับ ป่าเถื่อนไปไหมครับ อิๆ แบบว่าไม่เอาแล้วคนนี้ อย่ามาลงสมัคร อิๆ จะทำอย่างไรให้ชาวบ้านหรือชุมชนมีภูมิและรู้เท่าทัน หรือให้คุณค่ากับตัวเองมากกว่าการขายเสียง เวลาเลือกตั้ง ไม่ต้องอะไรมากครับ แค่ระดับ อบต. นี่ก็ซื้อกันแล้วครับ ไม่ต้องวิ่งไปถึงสุดๆ ด้านบนนะครับ
  • ทำไมชุมชนเราอ่อนแอหล่ะครับ เพราะการศึกษาหรือเปล่าครับ แล้วชุมชนต้องการการศึกษาไหมครับ หรือว่าต้องการเงิน หรือว่าต้องการอยู่แบบเพียงพอ พอมีพอกิน ชุมชนต้องการอะไรกันแน่ครับ
  • หากชุมชนไม่ต้องการการศึกษา แต่เรายัดเยียดการศึกษาให้ มันจะเป็นอย่างไรหนอ....ครับ
  • หากพลังมวลชนมีพลังอย่างที่ท่านครูแนะนำ ผมว่า ก็ทำได้ครับ ในเรื่องการใช้มวลชนขับเคลื่อนระบบให้ระบบมันทำงาน แต่หากวันใดมวลชนอ่อนแอ ก็จะกลับไปสู่ระบบเดิมหรือเปล่า อันนี้ก็ต้องรักษา หากคนทำงานการเมือง เกรงกลัว และละอายใจต่อการทำบาป ทุกอย่างก็จบครับ
  • ผมเคยเห็นในเยอรมันครับ หากหมอประท้วงหยุดไม่รับคนไข้เนี่ย โดยหยุดพร้อมกันทั้งประเทศ เพื่อต่อต้านนโยบายที่ไม่ได้เรื่องของรัฐในบางอย่าง กระทบต่อประเทศมากๆ เลยครับ
  • แม้แต่ไม่ต้องถึงระดับหมอครับ แค่คนทำงานเก็บขยะ หรือทำความสะอาดเมือง ประท้วงพร้อมกันทั่วเยอรมันนะครับ แค่นี้ ขยะก็ล้นเมืองแล้วครับ แล้วเมืองไทยหล่ะครับ จะเอาแบบนี้ไหมครับ หากมีแบบนี้จะเป็นอย่างไรบ้าง
  • เช่น ชาวนาเกิดไม่ขายข้าวขึ้นมา ทั่วประเทศ เป็นเวลาหนึ่งเดือน เพื่อกำหนดราคาข้าวเอง ประเทศจะเป็นอย่างไรหนอ
  • ครูหยุดสอนทั่วประเทศพร้อมกัน จะเป็นอย่างไร
  • นักเรียนหยุดไปโรงเรียนพร้อมกันทั่วประเทศประท้วง จะเป็นอย่างไร ดีหรือเปล่าครับ
  • แล้วอะไรคือความถูกต้อง อะไรคือยุติธรรม อะไรคือคุณธรรม อะไรคือแนวทางของการศึกษาที่แท้จริง แล้วสังคมโดยรวมเกิดผลกระทบอย่างไรบ้างครับ
  • เดี๋ยวผมจะมาต่อใหม่เรื่อยๆ นะครับ ลองคิดๆ กันดูนะครับ ท่านอื่นๆ ด้วยนะครับ
  • ขอบพระคุณท่านครูมากๆ ด้วยนะครับ

 

สวัสดีค่ะ น้องเม้ง

ครูบาเขียนข้อคิดเห็นไว้ในบันทึก "อาจารย์ไม่มีคุณภาพ" ไว้ตรงประเด็นและโดนใจมากเลยค่ะ อยากให้น้องเม้งลองเอามารวบรวมในส่วนของภาพรวมดูค่ะ เผื่อจะต่อ jigzaw ไปได้เรื่อยๆ : )

สู้ๆ ต่อไปค่ะ

 

ชีวิตคน ถ้าจะขอ oversimplify แป๊บนึง อาจจะแบ่งเป็น 3 ฐาน ได้แก่ ฐานกาย ฐานใจ ฐานความคิด

ฐานกาย คือ ความสมบูรณ์ของร่างกาย ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย เวลามีอะไรมาคุกคาม ก็จะเกิดกลไกปกป้องตนเอง มีความกลัว เกิดขึ้น เป็นฐานเบื้องต้น

ฐานใจ สูงขึ้นมานิดนึง เมื่อร่างกายปลอดภัย ไม่ถูกคุกคาม ก็จะสามารถ "รัก" คนอื่นๆได้ เผื่อแผ่คนอื่นได้ เรียนรู้ได้ ถ้าฐานใจถูกคุกคาม ก็จะเกิดความหวาดระแวง ความเห็นแก่ตัว อยากเอาตัวรอด

เมื่อฐานกายและฐานใจดี เราก็จะมีฐานความคิดที่สร้างสรรค์ มี new idea มีการมองค้นหาตนเอง ค้นหาชีวิตที่มีความหมายอย่างแท้จริง

ในสังคมของเรา ทั้งสามฐานถูกสิ่งแวดล้อมเข้ามากระตุ้นทั้งทางบวกและทางลบตลอดเวลาครับ เราอยากจะสร้างสรรค์ แต่ถ้าค่าเช่าบ้านยังหาไม่ได้ (ฐานกาย--- จะไปอยู่ที่ไหน ถูกคุกคาม) หรือ พร่งนี้จะสอบ สมัครงาน (ฐานใจ-- อารมณ์กังวล) โอกาสที่จะมีความคิดสร้างสรรค์ตรงนั้นคงจะยาก

การศึกษา สำคัญจริงครับ เป็นเครื่องมือหนึ่งที่เราจะนำไปใช้ แต่ที่จริง "ชีวิตทุกชีวิตก็คือการศึกษาอยู่แล้ว ใช่หรือไม่?" เราไม่ได้พูดถึงการศึกษาในระบบอย่างเดียว ใช่ไหมครับ เพราะการศึกษาไม่จำเป็นต้องเป็น system แต่เราเรียนรู้ตั้งแต่เกิด จน โต

ประเด็นคือ "ความล้มเหลวของการศึกษา" นี่ เราพอจะ "ชี้นิ้ว" ได้หรือไม่ว่าเป็น ของ "ใคร"

ที่การเมืองเป็นอย่างนี้ เป็นความล้มเหลวทางการศึกษาอย่างนึง แต่ก็เป็นการศึกษา "ภาคสังคม" คือการเรียนรู้จากทุกสิ่งทุกอย่างรอบๆตัวเรานี่แหละครับ การเรียนรู้ที่ทำงาน การเรียนรู้ที่บ้าน การเรียนรู้ที่โรงเรียน ที่วัด ฯลฯ ทุกๆที่ที่มี stimulation เซลล์ของเราเกิดการเรียนรู้ตลอดเวลา

ดังนั้น องค์รวมจึงสำคัญ เราจึง doom to fail ถ้าเราไม่ได้ address ปัญหาที่มี อิทัปปัจจยตา เพราะเราไม่เห็นความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องของปัจจัยต่างๆ แต่พยายามจะแยกส่วน

ใน dependent origination หรือ ปฏิจจสมุปบาท นั้น แสดงให้เห็นสมการความเชื่อมโยงเหล่านี้ และแสดงเหตุและผลของความล้มเหลวด้วย ในอวิชชา4 นั้น ข้อหนึ่งก็คือการไม่ตระหนักถึง เหตุปัจจัยที่เชื่อมโยงกันและกัน

บางที ที่คุณสมพรได้เริ่มเผยแพร่ความสำคัญเรื่องนี้ สัมฤทธิผลอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นตอนที่เราจะมี หรือไม่มี หรือจะสร้าง separated education council ขึ้นมาในประเทศไทย แต่เป็นการรณรงค์ให้ผู้คนหันมาสนทนาเรื่องที่ matter ต่อชีวิต ต่อสังคมมากขึ้น ก็เป็นได้ครับ

สวัสดีน้องเม้ง

สวัสดีครับ ครูบา สุทธินัน  ที่เคารพ

  • ได้เข้ามาดูบ่อยๆ และเห็นครูบาฯ ออกมาให้ความเห็น ทำให้เกิดความคิดขึ้นมาต่างๆนาๆ
  • การแก้ปัญหาการศึกษา ไม่ใช่ไม่มีการเคลื่อนไหวมาก่อน
  • ตลอดเวลาที่ผ่านมา บุคคลต่างๆ ครู อาจารย์ ชาวบ้าน นักศึกษา นักเรียนและบุคคลทั่วไป ล้วนแต่เคลื่อนไหว ไม่ว่าในวงกว้างหรือวงแคบ
  • ปัจจุบันเทคโนโลยี่ก้าวหน้ามาก ความคิดของผู้คนเริ่มหลั่งไหลสู่สาธารณะได้เร็วขึ้นและมากขึ้น  แม้แต่คิด ก็ยังสามารถคิดได้ดังๆ
  • ปัญหาการศึกษา เป็นปัญหาที่ฝังลึกอย่างที่ท่านครูบาฯ ได้พูดถึง  ปัญหาตั้งแต่บนยอด ลงมาที่ฐานล่าง  แทรกซึมเข้าในทุกอณูของสังคมของประเทศ
  • ปัญหาทางสังคม
  • ปัญหาทางครอบครัว
  • ปัญหาทางนักเรียน นักศึกษา
  • ปัญหาทางครูบาอาจารย์
  • ปัญหาทางเครื่องไม้เครื่องการเรียนการศึกษา
  • ปัญหาสถานที่เรียน
  • และอีกมากมาย
  • ปัญหาต่างๆมากมายจริงๆ   การแก้ปัญหาเฉพาะส่วนที่ ครูบาฯ ได้บันทึกไว้ ไม่ใช่ไม่ดี แต่ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้รอบด้านหรือไม่
  • ปัจจุบัน เราฝากอนาคตการแก้ปัญหาไว้ที่อำนาจรัฐ โดยผ่านทางนักการเมือง ในทุกๆเรื่องของปัญหาการศึกษา
  • ใช่ทีเดียว ปัญหาการศึกษาเป็นปัญหาระดับชาติ  สังคมที่มีความสมดุลย์ การศึกษาต้องแข็งแกร่ง  บุคคลที่สร้างความแข็งแกร่งได้ คือนักการศึกษา บุคคลากรในการศึกษา  และผู้ที่จะมาแก้ปัญหาก็คือ นักการศึกษา
  • ผลประโยชน์  ความเจริญ ความก้าวหน้า  ในแวดวงการศึกษา เป็นไปไม่ได้ที่คนวงการอื่นมาแก้ได้
  • กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆส่งผ่านอำนาจผ่านทางนักการเมือง เข้ายึดอำนาจรัฐ กลไกรัฐ  เข้ายึดอำนาจการบริหารจัดการ    กลุ่มผลประโยชน์มีมากมาย แยกออกไปในสาขาต่างๆ   ฯลฯ
  • แต่กลุ่มผลประโยชน์การศึกษา  ซึ่งได้แก่ ครูบาฯอาจารย์ นักเรียน นักศึกษา  ไม่มีโครสนใจ
  • เพราะอะไร
  • เพราะอะไร
  • เพราะอะไร
  • ในเวลานี้ ครูบาฯอาจารย์เริ่มมีการเคลื่อนไหว กำลังหาแนวทางที่ถูกต้อง  ในนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง อย่างบูรณาการ  เปลี่ยนแปลงด้วยการเปลี่ยนแปลง
  • ทิศทางแก้ปัญหาของ คุณ เม้ง  ผมคิดว่าถูกต้องแล้ว ทางเดียวเท่านั้นที่จะแก้ปัญหาได้อย่างรอบด้าน แก้แม้กระทั่งปัญหาพื้นฐานจนถึงปัญหาสูงสุด
  • พวกเราลองมาช่วยกันแลกเปลี่ยนกัน จะได้หลากหลาย  การแก้ปัญหาจะได้เดินหน้าลุล่วงไปสู่ความสำเร็จ
  • ขอบคุณมากๆครับ

 

  • ขอเพิ่มทักษะชีวิต และรักษ์สิ่งแวดล้อม สำนึกจิตสาธารณะด้วยนะ
P

สวัสดีครับพี่กมลวัลย์

  • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ
  • แล้วผมจะเอาไปรวมไว้ในหน้ารวม สวนสมรม ด้วยนะครับ
  • ร่วมกันคิด ร่วมกันวินิจฉัยครับ โยนหินลงน้ำคนละก้อนสองก้อน น้ำก็กระเพื่อมเองครับ
  • เพราะผมมองว่า การศึกษาเท่านั้นที่จะแก้ปัญหาทุกสิ่งทุกอย่างให้ลดลงได้ ทำถามคือ การศึกษาแบบไหนอย่างไร ที่เหมาะกับเมืองไทยเรา
  • ขอบคุณมากครับ
P

สวัสดีครับคุณหมอ

  • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ ที่อาจารย์หมอ เข้ามาช่วยต่อเติมเพิ่มเข้าไปมากขึ้นนะครับ
  • ชอบในส่วนการ มองคนเป็นสามส่วนนั้นมากๆ นะครับ 3 ฐาน ได้แก่ ฐานกาย ฐานใจ ฐานความคิด
  • และผมว่าตรงกับที่ผมทำไว้ใน บอร์ดบนโต๊ะกลมเลยครับ เลื่อนขึ้นไปดูภาพด้านบนนะครับ ว่าด้วย  กาย สมอง และใจ ซึ่งผมแปลงต่อไปให้เป็น คน รู้ และคุณธรรม
  • โดยหลักแล้วผมว่า น่าจะทำนองเดียวกันเลยครับ สามส่วนที่สำคัญที่ต้องมีในแต่ละร่าง
  • การศึกษา สำคัญจริงครับ เป็นเครื่องมือหนึ่งที่เราจะนำไปใช้ แต่ที่จริง "ชีวิตทุกชีวิตก็คือการศึกษาอยู่แล้ว ใช่หรือไม่?" เราไม่ได้พูดถึงการศึกษาในระบบอย่างเดียว ใช่ไหมครับ เพราะการศึกษาไม่จำเป็นต้องเป็น system แต่เราเรียนรู้ตั้งแต่เกิด จน โต

    ใช่แล้วครับ การศึกษาก็มีอยู่ในทุกชีวิตอยู่แล้วครับ เรียนรู้มาตั้งแต่เกิดจากพระอรหันต์ของแต่ละคน จากครอบครัวใช่ไหมครับ

  • การศึกษาที่พูดถึงนี้ คือทุกอย่างนะครับ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ผมเลยยกเอามาตาม กฏหมายที่บัญญัติเอาไว้นะครับ ว่ามีการศึกษาในระบบ นอกระบบ และอัธยาศัย  นั่นคือ การศึกษาแบบอัธยาศัยจะเป็นพื้นฐานในตัวคนอยู่แล้วตั้งแต่เกิด และต่อมาจะเข้าสู่ระบบได้หรือไม่ แล้วจะยังอยู่ในระบบหรือนอกระบบ ในช่วงเวลาถัดไป โดยจะแฝงแบบอัธยาศัยอยู่ตลอดเวลาครับ

  • ประเด็นคือ "ความล้มเหลวของการศึกษา" นี่ เราพอจะ "ชี้นิ้ว" ได้หรือไม่ว่าเป็น ของ "ใคร"

  • การศึกษาและความล้มเหลว หากจะชี้นิ้ว ก็คงชี้เข้าหาตัวเองก่อนเป็นอันดับแรกนะครับ เพราะนิ้วชี้ที่ชี้ออกไป ยังมีอีกสามนิ้วที่ชี้เข้าหาตัวเรา ดังนั้น หากจะชี้ตรงนี้ ก็ต้องโทษตัวเองก่อนครับ นั่นคือ ความล้มเหลวของการศึกษา อยู่ที่การศึกษาเองก่อนเป็นสำคัญ ต่อมา ก็จะมีสิ่งแวดล้อมรอบข้างที่มีผลต่อการศึกษาครับ แล้วอาจารย์คิดว่า มีอะไรบ้างครับ หากเราจะมองในทิศทางนี้

  • ใน dependent origination หรือ ปฏิจจสมุปบาท นั้น แสดงให้เห็นสมการความเชื่อมโยงเหล่านี้ และแสดงเหตุและผลของความล้มเหลวด้วย ในอวิชชา4 นั้น ข้อหนึ่งก็คือการไม่ตระหนักถึง เหตุปัจจัยที่เชื่อมโยงกันและกัน

     เห็นด้วยนะครับ ในการมองทั้งระบบ ดูการเชื่อมโยงกัน จริงๆ แล้วมันแยกออกจากกันไม่ได้ในเรื่องระบบครับ เพราะทุกสิ่งล้วนสัมพันธ์กัน แต่หากเราทราบว่าเราคันตรงไหน แล้วตรงไหนเป็นปัญญหา เราอาจจะต้องเกาให้ตรงที่คัน ซึ่งผมไม่แน่ใจว่า ทำแบบนี้มันยังใช้ได้อยู่หรือเปล่านะครับ เหมือนเราจะแก้ตาข่ายเอางูที่ติดอยู่ในข่ายดักปลา เราจะเริ่มกันที่งู หรือว่าที่ตาข่ายดีครับ เพราะมันเป็นระบบที่ร่วมกันและต่อเนื่องกันโยงในเข้าหากัน

  • บางที ที่คุณสมพรได้เริ่มเผยแพร่ความสำคัญเรื่องนี้ สัมฤทธิผลอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นตอนที่เราจะมี หรือไม่มี หรือจะสร้าง separated education council ขึ้นมาในประเทศไทย แต่เป็นการรณรงค์ให้ผู้คนหันมาสนทนาเรื่องที่ matter ต่อชีวิต ต่อสังคมมากขึ้น ก็เป็นได้ครับ

  • ใช่แล้วครับ เป้าหมายแรกคือหากคนเราจะต้องการเรื่องการศึกษา หรือต้องการเรื่องใด เราต้องให้ความสนใจกับเรื่องนั้นก่อนครับ เพราะโดยหลักเหมือนที่ อาจารย์ว่า นะครับ หากกายไม่พร้อม ใจไม่พร้อม จะไปบำรุงสมองคงยาก

  • ปัญหาเด็กสองแสนที่หายไป ก็เพราะส่วนใหญ่ติดอยู่ที่ ปัญหาของกาย นะครับ คือปัญหาปากท้อง ยังติดชะงักอยู่นะครับ เลยก้าวมาถึงการศึกษาไม่ได้

  • เด็กเค้าไม่สนใจหรอกครับ ว่าเค้าจะได้ทุนไปเรียนหรือไม่ แต่เค้าทราบว่าเค้าต้องออกไปทำงานจ้างเพื่อเอาข้าวมาเลี้ยงคนในครอบครัวมื้อเย็นนี้  เจอแบบเข้ากับตัวผม ผมก็คงตื้อไปเลยเรื่องจะไปคิดถึงเรื่องการศึกษา ซึ่งเรื่องเหล่านี้ รัฐต้องลงมาดูแลจริงๆ ครับ แล้วเด็กสองแสนคนจะลดลงครับ

  • เข้ามาร่วมถกประเด็นกันต่อนะครับ คุณหมอ ผมเชื่อว่าแนวทางที่ดีจะเกิดครับ ผมยังด้อยประสบการณ์นักครับ และพร้อมจะรับฟังทุกประเด็นนะครับ สิ่งที่ผมรู้ตอนนี้น้อยยิ่งนัก คงจะต้องใช้เวลาอีกนานมากที่จะเข้าใจอะไรมากขึ้นดังนั้นผู้มีประสบการณ์ทุกท่าน เชิญเข้ามาให้ความเห็นกันนะครับ

  • วิจารณ์ได้ทุกอย่างนะครับ ด้วยความยินดี เชิญทุกท่านตีด้วยความปรารถนา จะเป็นพระคุณยิ่งครับ

P

สวัสดีครับพี่เหลียง

  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ ที่เข้ามาร่วมพูดคุยด้วยกันเสมอมาครับ จิบชาก่อนครับ น้อรก...ก
  • ผมดีใจครับ ที่มองทุกๆ อย่างเป็นปัญหา เพราะว่า การมองเห็นปัญหา เป็นรากฐานของการพัฒนาครับ ตราบใดที่เราไม่เห็นปัญหาการพัฒนาก็จะเป็นแค่การคงอยู่กับที่ นั่นคือไม่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ไม่นับรวมการถอยหลังนะครับ
  • หากทุกองค์กรตรวจเครื่องยนต์ตัวเองเราจะพบปัญหาอยู่บ่อยๆ ทั้งปัญหาภายในและภายนอก ว่าแล้วก็โยงไปถึงการชี้นิ้ว ที่คุณหมอ Phoenix กล่าวมานะครับ
  • โดยส่วนตัวแล้ว การบริหารการศึกษาผมว่าก็ต้องใช้นักการศึกษานั่นหล่ะครับ มาแก้และบริหารเพราะจะรู้ตัวเองและเข้าใจการศึกษามากที่สุด (จริงหรือเปล่า ก็ไม่แน่นะครับ) เมื่อก่อนเคยมีการถกเถียงกันว่า จะไปจ้างบริษัทมาบริหารมหาวิทยาลัยดีไหม มันน่าคิดจริงๆ เลยครับ เรื่องนี้ แต่ก็ถามต่อว่า ใครที่เข้าใจปัญหาของตัวเองมากกว่าตัวเอง แต่พอพูดถึงการศึกษามันไม่ใช่แค่มหาวิทยาลัย แต่มันคือทุกอย่าง มันคือชีวิตครับ
  • เป้าหมายตอนนี้ เราควรจะมีการพูดคุยกันในเรื่องนี้ มองต่างมุมกันก็ยิ่งดีครับ จะได้เห็นลูกบอลหรือดวงไฟที่ห้อยอยู่ว่ามันเป็นรูปทรงอะไรกันแน่ จากมุมมองต่างๆ โดยนำสิ่งที่เห็นและวิเคราะห์มาบูรณาการเข้าหากันให้กลายเป็น องค์รวมของลูกบอลหรือดวงไฟ ดวงนั้นครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ
P

สวัสดีครับพี่อัมพร

ขอเพิ่มทักษะชีวิต และรักษ์สิ่งแวดล้อม สำนึกจิตสาธารณะด้วยนะ
  • พี่สบายดีนะครับ
  • เพิ่มได้เลยครับ ทักษะชีวิต รักษ์สิ่งแวดล้อม สำนึกจิตสาธารณะ  อันนี้สำคัญหมดเลยครับ
  • แล้วก็แยกไม่ได้ด้วยครับ ต้องมี ไม่งั้น คนจะไม่เป็นคนเลยครับ
  • ขอบคุณพี่มากๆ นะครับ

ต่อนะครับ

ในทุกๆมิติของสังคม แนวระนาบ แนวดิ่ง การเรียนรู้เกิดขึ้นตลอดเวลา (ถ้าเรามองหามัน บางครั้งโอกาสรียนรู้กวิ่งผ่านใต้จมูกเราเองทุกวี่วัน แต่ไม่ได้เรียน ดังภาษิต "แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน")

การแก้ปัญหาองค์รวม เราอาจจะเริ่มจากก้าวถอยห่างจาก "ปม" นิดหน่อย จะได้ทราบว่าจริงๆแล้ว มันต่อเนื่องเชื่อมโยงกับอะไรบ้าง งูติดหลังแหนั้น เราอาจจะต้องถอยมาดูว่าแหนี้ อยู่ตรงนี้เพราะอะไร มีวัตถุประสงค์อะไร ทางแก้ อาจจะแค่ทิ้งไว้สักพัก ไปทำอะไรที่อืน งูก็อาจจะเลื้อยไปเอง หรือทางแก้อาจจะต้องเป็นเลิกใช้แห เพราะถอยมาดู ปรากฏว่าทุกๆแหมีงูติดทั้งนั้นเลย บางทีเวลาเราหมกมุ่นกับปัญหาปมนึง เราจะพลอยไม่เห็นปมที่เชือมกันอยู่ เหมือนกับเราทำงานใน unit ของเรา อาจจะเป็นแค่เสมือนชิ้นโมเสอิกชิ้นนึง จนกระทั่งถอยออกมาดูบนยอดตึก เราจึงพบว่าชิ้นของเราที่ทำอยู่คือปลายหนวดของรูปขนาดใหญ่ก็เป็นได้

ในความเห็นส่วนตัวของผม IMHO เรื่องนี้ไม่ใข่เรื่องของนักการศึกษาฝ่ายเดียว ไม่ใช่เรื่องของนักการเมือง แพทย์ พระ ผู้นำศาสนา ครู พ่อค้า ประชาชน แต่เป็นเรื่องของทุกคนครับ เพราะถ้าเราแยกเมื่อไร ชั้นทำของชั้นเฉพาะตรงนี้ เราจะไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมคนอื่นไม่มาช่วย เพราะคนอื่นจะทำงานในส่วนของเขาเหมือนกัน (และอาจจะคิดแบบเดียวกับเรา "ต่อเรา" ก็เป็นได้)

ดังนั้น "เวทีของการศึกษา" ไม่ใช่เวทีเฉพาะกิจกระมัง ถ้าไม่มีการศึกษาที่ที่ทำงาน ไม่มีการศึกษาในหน่วยงานศาสนา ไม่มีการศึกษาในระบบสาธารณสุข ไม่มีการศึกษาในระบบพานิชย์ ไม่มีการศึกษาในระบบการต่างประเทศ ไม่มีการศึกษาในวัฒนธรรมประเพณี ไม่มีการศึกษาในการทหาร ไม่มีการศึกษาในการคลัง การเงินของประเทศ ก็คงจะไม่ได้

สุดท้ายเราจะ "แยกการศึกษา" ออกจากอะไร? ในเมื่อ ทุกๆที่ที่มีคน ที่นั้นต้องมีการศึกษา และการศึกษาที่ดีที่สุด ควรจะออกมาจากตนเอง ไม่ใช่จากคนอื่น จากกฏหมาย หรือจาก "ผู้รู้"

ในการแก้ปัญหา แทนที่จะ "ดึงแยกออก" ถ้าเราทำกลับกันล่ะครับ เรา "จับแทรกเข้า" แทน เอาการศึกษาไปใส่ให้การเมือง ให้การแพทย์ การสาธารณสุข การปกครอง การศาล การพานิชย์ การฑูต ใส่มันลงไปในทุกๆที่ที่มี "คน" อยู่ จะเป็นอย่างไร?

ใส่เหมือนๆกันหมดได้ไหม?

ไม่น่าจะได้มั้ง เพราะ "บริบท" ที่ต่างกัน เครื่องมือ เครื่องใช้ คุณค่าก็คงจะต่างกัน

เราพูดถึง "ภูมคุ้มกัน" กันบ่อยระยะหลัง โดยเฉพาะในเศรษฐกิจพอเพียง ที่ว่าเราต้องเพาะสร้าง "ภูมิคุ้มกัน" แต่ภูมิคุ้มกันนี้จะสร้างแค่บางที่ บางตอนได้หรือไม่ ในทางการแพทย์นั้น เมื่อไรก็ตามที่ภูมิคุ้มกันล้มเหลว เราจะตายทั้งตัว การติดเชื้อเริ่มขึ้นที่ปลายนิ้วเท้า ก็ทำใหสมองตายได้ ถ้าเราทอดทิ้งการเมือง เอาการศึกษาออกจากการเมือง การเมืองก็จะแคระแกร็น ไม่เติบไต เราก็จะได้รับผลกระทบจากความแคระแกร็นนั้นแน่ๆในที่สุด เพราะ ความต่อเนื่องเชื่อมโยง เพราะอิทัปปัจจยตา นั้น จริงแท้แน่นอน

P

สวัสดีครับคุณหมอ

  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ ที่มาช่วยต่อกันอีกครับ มาช่วยกันมองนะครับ
  • เห็นด้วยนะครับ ว่าการศึกษา การเรียนรู้อยู่กับคนเราตลอดและทุกที่ อยู่ที่เราจะมองเห็นมันหรือไม่
  • ผมเองก็พยายามมอง ปม ในเรื่องปัญหาของการศึกษาเหมือนกันครับ คุณหมออาจจะมองได้ลึกกว่าผมเยอะมากๆ ทั้งด้วยประสบการณ์และความรู้ครับ
  • ผมเคยเขียนเปรียบการศึกษากับขบวนรถไฟของคุณสิทธิ์รักเอาไว้ในบันทึก รถไฟในฝัน ของคุณสิทธิรักษ์
    P
  • ว่าการศึกษาควรจะฝังอยู่ในทุกอณูของรถไฟนะครับ
  • จากท่อนหนึ่งของคุณหมอที่ว่า

    ดังนั้น "เวทีของการศึกษา" ไม่ใช่เวทีเฉพาะกิจกระมัง ถ้าไม่มีการศึกษาที่ที่ทำงาน ไม่มีการศึกษาในหน่วยงานศาสนา ไม่มีการศึกษาในระบบสาธารณสุข ไม่มีการศึกษาในระบบพานิชย์ ไม่มีการศึกษาในระบบการต่างประเทศ ไม่มีการศึกษาในวัฒนธรรมประเพณี ไม่มีการศึกษาในการทหาร ไม่มีการศึกษาในการคลัง การเงินของประเทศ ก็คงจะไม่ได้
  • คนที่เกิดมาทุกคนผมเชื่อว่าเป็นผลผลิตทางการศึกษาทั้งสิ้นนะครับ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น ในระบบ นอกระบบ หรืออัธยาศัยครับ
  • สุดท้ายเราจะ "แยกการศึกษา" ออกจากอะไร? ในเมื่อ ทุกๆที่ที่มีคน ที่นั้นต้องมีการศึกษา และการศึกษาที่ดีที่สุด ควรจะออกมาจากตนเอง ไม่ใช่จากคนอื่น จากกฏหมาย หรือจาก "ผู้รู้"

    ในการแก้ปัญหา แทนที่จะ "ดึงแยกออก" ถ้าเราทำกลับกันล่ะครับ เรา "จับแทรกเข้า" แทน เอาการศึกษาไปใส่ให้การเมือง ให้การแพทย์ การสาธารณสุข การปกครอง การศาล การพานิชย์ การฑูต ใส่มันลงไปในทุกๆที่ที่มี "คน" อยู่ จะเป็นอย่างไร?

  • สิ่งที่ผมเสนอในเรื่องการแยกนี้ ไม่ใช่ แยกการศึกษาออกจากคนนะครับ แต่ผมเน้นเรื่องการบริหารนะครับ รอบกวนคุณหมอตอบข้อสงสัยของผมกันต่อนะครับ ก่อนจะตอบในประเด็นคุณหมอครับ

  • ประเด็นแรกคือ ผมคิดว่า การศึกษานั้นสำคัญที่สุดในการพัฒนาชาติ นั่นคือพัฒนา กาย จิตใจ และสมอง และตอนนี้การศึกษาเรามีปัญหาไหมครับ หากมี ต่อด้วยประเด็นที่สองนะครับ

  • ประเด็นที่สอง ผมคิดว่า การเมืองนั้นไม่มีความแน่นอน หรือเสถียรจากการเป็นวาระ ในวาระสี่ปี หรือบางครั้งมีการยุบสภา หรือหยุดชะงักในบางช่วง ซึ่งผมคิดว่า การศึกษาเรานั้นต้องมีผลกระทบไปด้วย ตรงนี้คุณหมอมีทางออกให้ผมไหมครับ ว่าผมจะทำอย่างไร ให้มีคนจัดการทางการศึกษาไปได้โดยไม่หยุดชะงักเมื่อการเมืองมีปัญหา หากแก้ไขไม่ได้เชิญคุณหมอต่อประเทศที่สามครับ

  • ประเด็นที่สามคือ ผมมองเห็นว่า จริงๆ แล้วตอนนี้ การเมืองที่ต้องหยุดชะงักและมีผลกระทบต่อการบริหารการศึกษานั้น และการเมืองก็ได้เข้าไปแทรกอยู่ในการศึกษาทุกๆ ส่วน ทุกๆ ระดับ ด้วยความจำเป็นว่าการบริหารการศึกษานั้น ต้องมีความเป็นอิสระในการบริหาร และต้องมีความต่อเนื่องมากกว่าการมีวาระดังเช่นพรรคการเมือง และการศึกษาต้องไม่ใช่การแสวงหาผลประโยชน์อย่างพรรคการเมือง (จริงหรือเปล่าในความจริงคืออะไรครับ) การศึกษาต้องให้โดยไม่เอาคืนโดยเน้นประโยชน์ของชาติเป็นหลักสำคัญ

    ตรงนี้คุณหมอมีทางออกให้ผมจะเสนอไหมครับ ว่าทางออกที่ดีควรจะเป็นอย่างไรดีครับ

    เชิญประเด็นถัดไปต่อนะครับ

  • ประเด็นที่สี่ หากแก้ไม่ได้และต้องเป็นอย่างนี้ ผมถึงนำเสนอการผ่าทางตันว่า ในเมื่อการศึกษาต้องสร้างคนให้มีคุณภาพ นักการเมืองมีคุณภาพหรือไม่ก็ต้องโทษการศึกษาเพราะการศึกษาสร้างคนในชาติ แต่นั่นคือ การศึกษาก็ต้องผ่านการบริหารจากนักการเมือง แล้วการศึกษาใครควรจะมาบริหารครับ

    ที่เสนอให้แยกคือการแยกกันบริหารแบบอิสระ จะว่าแยกเหมือนศาลก็ได้ครับ คือ ห้ามการเมืองมายุ่งกับการศึกษาในลักษณะการแทรกแซง แต่ต้องส่งเสริมให้กับการศึกษา การศึกษาจะได้ทำหน้าที่สร้างคน และพัฒนาคนในการศึกษาแล้วส่งคนที่มีคุณภาพส่งไปให้กับองค์กรต่างๆ และงบประมาณมาจากงบที่รัฐบาลต้องจัดสรรให้ตามอัตราส่วนที่จำเป็นในระดับที่เพียงพอ เพราะการเมืองต้องเน้นการสนับสนุนในการสร้างคนด้วย

    ตรงนี้หล่ะครับ จุดที่ผมเน้นคือ จะสร้างคนให้มีคุณภาพ แล้วส่งคนไปบริการชุมชน สังคม อย่างมีอิสระ

  • สำหรับเรื่อง งูติดแห นั้น คือ หากมันพันกันหนักครับ หากไม่แก้หรือแยกงูออกมาใส่ยา หรือแยกแหออกไป ท้ายที่สุด ก็ปล่อยไป ก็เน่าทั้งแห ทั้งงูครับ งูก็ตาย แหก็ทิ้งให้ผุ

  • แต่หากเราแยกแหหรืองูออกมาได้ เราจะมีโอกาสทำให้งูรอดชีวิต หรือซ่อมแซมแห ได้เช่นกันครับ  แล้วคุณหมอคิดว่า จะทำอย่างไรดีครับ

  • สำหรับภูมิคุ้มกัน การศึกษาคือภูมิคุ้มกันให้กับคนตั้งแต่จีบๆ กัน ก่อนจะเป็นพ่อแม่คนใช่ไหมครับ นี่คือภูมิคุ้มกัน เด็กคลอดออกมา ก็ต้องให้ภูมิคุ้มกันตัวเขา ให้โตมาแล้วเข้าใจมองปัญหาออก

  • ผมถามว่า หากที่หนึ่งมีนายทุนจะไปตั้งบ่อนวัวชนในหมู่บ้าน และได้รับการอนุญาตจากจังหวัดนะครับ ถามว่าคุณหมอจะยอมให้เค้าสร้างไหมครับ เค้าอยากจะไปเช่าที่ที่บ้านคุณหมอ...
    หากคุณหมอตอบว่า ไม่ยอมให้สร้าง...(คุณหมอมีภูมิคุ้มกันใช่ไหมครับ)
    แล้วหากเค้ามาหาคุณหมอแล้วคุณหมอไม่ให้สร้างในพื้นที่คุณหมอ แล้วหากเค้าไปขอเช่าคนอื่น คนอื่นให้เช่า...คนอื่นมีภูมิคุ้มกันไหมครับ....ถามต่อว่า คนอื่นคนนั้นกับคุณหมอต่างกันไหม.....ทำอย่างไรที่จะแก้ไขความแตกต่างตรงนี้ และให้มีภูมิคุ้มกันในชุมชนครับ

  • คำตอบของผมก็คือ  การศึกษา....

  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ ได้ถกกับคุณหมอ สนุกที่สุดครับผม ผมต้องขออภัยด้วยนะครับ หากถกหรือตอบตรงไปเพี้ยนไปจากประเด็นที่คุณหมอได้วางเอาไว้นะครับ

  • มาถกไว้อีกนะครับผม ขอบคุณมากๆ เชิญท่านอื่นๆ ด้วยนะครับ

สิ่งหนึ่งที่ผมมีความเชื่อ และคิดว่าเกี่ยวพันกับประเด็นนี้ก็คือ เราไม่สามารถจะ "แยก" อะไรออกจากกันได้จริงๆ ไม่ใช่เพราะ "ระบบ" ที่เราใช้ แต่เป็นเพราะเรื่องราวมันเกี่ยวเนื่องกัน

ถ้า การเมืองเกี่ยวกับเศรษฐกิจ เกี่ยวกับปากท้อง เกี่ยวกับความปลอดภัยบนท้องถนน เกี่ยวกับ well-being เกี่ยวกับงบประมาณสาธารณสุข มันจะเกี่ยวกันหมดทุกสิ่งทุกอย่าง รวมทั้งสถาบันอะไรก็ตามที่เราอยากจะตั้งมาแบบ independent ด้วย

สถาบันการศึกษา หรือผู้บริหารในสภาการศึกษา (หรือจะเรียกองค์กรนี้ว่าอย่างไรก็ดี) คนในสถาบันนี้อยู่ใน สังคม อยู่ดี แปลว่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ต่อความมั่นคงของบ้านเมือง ต่อความยุติธรรม social welfare พรบ.สุขภาพ ก็จะเป็นภาระต่อ "คน" ในองค์กรนี้ เพราะไม่ว่าเราจะตั้งองค์กรแบบไหนขึ้นมา องค์กรนั้นมี "คน" อยู่ในนั้น และคนนี่เองที่เป็นตัวเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับสิ่งอื่นๆ แม้ว่าองค์กรจะดูเหมือน isolated แล้วก็ตาม

ถามว่า "เรา isolated การเมืองออกจากอะไรได้บ้าง?"

ถ้าการเมืองหมายถึงรัฐบาล ลองพิจารณากระทรวงที่นอกจากกระทรวงศึกษาที่เหลือ

  • มหาดไทย ความเป็นอยู่ ความปลอดภัยของประชาชน
  • กลาโหม ความมั่นคงประเทศ
  • สาธารณสุข การสุขภาพของประชาชน
  • ยุติธรรม social justice
  • คลัง งบประมาณประเทศ ภาษี
  • พานิชย์ ที่มาของงบประมาณภายใน ภายนอก เศรษฐกิจ
  • ต่างประเทศ ความสัมพันธ์กับโลกภายนอก การเป็นประชากรของโลก นอกเหนือจากของประเทศ
  • คมนาคม การสื่อสาร การเดินทาง

เราอยากจะ isolated การเมืองออกจากอะไรสักอย่างหนึ่ง เราทำได้อยางไร?

กระทรวงที่เหลืออยู่ (สมมติเราตั้งองค์กรการศึกษาแยกออกมา) ที่ยกตัวอย่างมา มีผลกระทบต่อ "การศึกษา" อย่างไรหรือไม่?

ไม่ว่าระบบการศึกษาดีอย่างไร แต่ถ้าความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตไม่ได้สอดประสาน งานที่รองรับบัณฑิตไม่ได้ orgqanized ตามความจำเป็นเร่งด่วนของบ้านเมือง เศรษฐกิจ การคลัง การต่างประเทศ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นองค์กรที่มีชีวิต และคนที่การศึกษาจะมอบให้ ก็คือคนที่มีชีวิต ที่ยังอยู่ในสังคม และถูกกระทบจาก การเมือง และทุกสิ่งทุกอย่างเช่นเดิม

ผมคิดว่าเราเห็นด้วยว่า การศึกษาสำคัญ เห็นด้วยว่าควรจะ improve แต่ประเด็นที่อยู่บนโต๊ะ คงจะเป็นเรื่อง การแยก หรือ การรวม หรือ "วิธี" การแก้ปัญหา มากกว่า

ผมรู้สึกว่า เราอาจจะกำลังใช้คำ "การเมือง" ที่มีความหมายไม่ตรงกันเสียทีเดียว และเป็นการทำให้การมา cross ตัดกันของประเด็นเกิดยาก

การที่การเมืองไทยไม่ mature ไม่ได้หมายความว่าเราจะสามารถตัดหางปล่อยวัดการเมืองไปได้เฉยๆ และหันไปดูแลอย่างอื่นได้ ถ้า การเมือง หมายถึงการบริหารบ้านเมืองนะครับ

ที่เราต้องการ ก็คล้ายๆกับที่ท่านครูบาสุทธินันท์พูด ก็คือ การเลือกเอาคนที่บริหารบ้านเมืองดีๆเข้าไป เอาคนที่ รู้และเข้าใจการเมืองที่ถูกต้องแท้จริง เข้าไปทำงาน

เพราะที่สุดแล้ว ประเทศ ต้องมีผู้บริหาร และเราไม่สามารถจะบำรุงแต่การศึกษา โดยปล่อยให้ "ใครก็ได้" บริหาร หรือ เล่นการเมืองของประเทศ

และจะว่าไป ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว "ถ้ามีเวลาสอนใครน้อยๆ ก็ให้สอน ครู ก่อน" มาเป็น "ถ้าการหาคนบริหารดีๆได้แค่ไม่กี่คน ก็หามา บริหารประเทศก่อน" บริหารอย่างอื่นก็จะตามมาเอง

 

ข้อเสนอ

ผมยังไม่ได้เสนออะไรมาวางคู่ขนานกับโจทย์ เพียงแค่วิเคราะหฺ สังเคราะห์ เฉยๆ เลยจะขอร่างอะไรออกมาสักนิดนึง เท่าที่มีตอนนี้ คงไม่ค่อยละเอียด ครอบคลุม แต่น่าจะต่อเนื่องกับที่พูดไปแล้วพอสมควร

ผมคิดว่า การวางแผนบริหารที่น่าจะ work (ไม่กล้าบอกว่าอุดมคติ เพราะมันจะเว่อร์ไป) ผม "อยากเห็น" แผนที่บูรณาการสิ่งต่างๆเข้าด้วยกัน มากกว่าแบ่งอยกออกให้ละเอียด เพื่อควบคุมมากขึ้น

กลับไปที่ ฐานกาย ฐานใจ และฐานความคิดใหม่

การเมือง หรือ การบริหารบ้านเมือง จะต้องทำให้ฐานทั้งสามพัฒนา และมี "รากที่ลึก" เริ่มจาก ฐานกาย นั่นคือ ความเป็นอยู่ ความปลอดภัย ความรู้สึกมั่นคงในชีวิต ถ้าจะมีผู้บริหารประเทศ ที่วางนฌยบายโดยคำนึงถึงประเด็นเหล่านี้ได้ ในระบอบประชาธิปไตยนั้น เราก็ต้องทำให้ "สังคม" คิดว่าเรื่องเหล่านี้แหละ ที่มีคุณค่า และใครขาย idea หรือสัญญาว่าจะบริหารให้ได้ วางอยู่บนหลักการทั้งสามประการ ก็เลือกเข้าไปทำ

ในสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขาของอาจารย์ประเวศ วะสี เริ่มจาก "ความรู้" ความรู้ที่ว่านี้ไม่ใช่ความรู้เชิงทฤษฎี แต่เป็นความรู้ เป็นปัญญาเชิงปฏิบัติ

สังคมยูโธเปียที่ "อยู่อย่างพอเพียง" มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงภายนอก และมีฐานภายในที่ยืดหยุ่น

เราจะต้องมี "การเมืองประชาธิปไตย" และต้องมีประชาธิปไตยที่ดูแล เอาใจใส่คนทุกคน ไม่ใช่เฉพาะคนส่วนใหญ่ คุณค่าทางสังคมแบบนี้จึงจะเป็นรากที่หยั่งลึกลงไปในสังคม

เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ที่สำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้ชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย

จิตอาสาที่จะเกิดขึ้นนั้น มาจากไหน?

มาจากหน่วยที่เล็กที่สุดของสังคมก่อนหรือไม่? เช่น ฐานครอบครัว ชุมชน หมู่บ้าน พวกเรามีสังคมที่รักใคร่กลมเกลียว ที่มีการพบปะพูดคุยกันสักกี่มากน้อย และจะทำอย่างไรให้ดีขึ้น เช่น เริ่มจากการสนทนา พูดจากันมากขึ้น และ รับฟังซึ่งกันและกันมากขึ้น

Collective Minds หรือ Collective perception ที่จะดึงสังคมเข้าสอดประสานกัน เราพยายามสร้างสังคมอยู เพราะฉะนั้นมันจะต้องไม่ใช่การแยกกันทำงาน แยกกันอยู่ ถ้าเราใช้หลักอิทัปปัจจตา สำนึกในปฏิจสมุปบาท สังคมที่เราอยู่ องคาพยพต่างๆต้องสอดประสานกัน เมื่อเท้าเหยียบตะปู เท้ากระตุก สะโพกงอ อีกเท้ากระโดดโหยงออกไป เอว หลัง ไหล่ เลี้ยงตัว ตามองหาตะปู หาพื้นที่ปลอดภัย ปากร้องเตือน มือกุมปกป้องเท้า

ประเทศก็เหมือนสิ่งมีชีวิตแหละครับ เมื่อมีอะไรจุดหนึ่งล้ม ถ้าอวัยวะที่เหลือไม่ช่วยกันดูแล คิดว่าจะต่างคนต่างอยกกันทำงาน แยกกันอยู่ ส่วนที่ตายนั้นจะลุกลามไปทั่วร่างกายจนได้ เพราะชีวิตนั้นมีปัจจัยที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันทุกอย่าง ตลอดเวลา

ฟังดูอาจจะไม่ใช่แผนที่ solidอะไรนัก แต่คิดว่าอาจจะพอเป็น draft ของแผนอะไรขึ้นมาพอได้

มั้ง

P

สวัสดีครับคุณหมอ

  • ขอบพระคุณคุณหมอ มากๆ เลยครับ ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ จริงๆ ผมคงได้แนวทาง ในความคิดต่อๆ ไปนะครับ จะมีความสุขมากๆ เลยครับ
  • แนวทางที่คุณหมอ ถามมาและเสนอแนวทางมานั้น ผมก็เห็นด้วยในเรื่องการบูรณาการนะครับ เพราะเชื่อว่านั่นหล่ะคือความเป็นคนและชีวิต และสังคม ทุกอย่างโยงใยนะครับ
  • เหมือนอาจจะเข้าใจในคำว่าแยกที่ผมเขียนไปไม่ตรงตามเป้าประสงค์ที่ผมคิดไว้นะครับ คือการที่แยกนี้ ไม่ใช่จะแยกออกมาเป็น ความรู้เรื่อง เซท ทางคณิตศาสตร์ที่ว่า  A intersection กับ B ได้เท่ากับเซทว่างนะครับ
  • เป็นการแยกเพื่อสำหรับการบริหารอย่างอิสระ ในทีมบริหาร พูดง่ายๆ คือ คนที่มาบริหารในกระทรวงศึกษาควรจะเป็นนักการศึกษาที่ไม่ถูกการแทรกแซงจากพรรคการเมืองนะครับ แล้วมีงบประมาณที่ชัดเจนในการจะจัดสรรให้กับการศึกษาที่ชัดเจน ส่วนเป้าหมายคือ การพัฒนาชาติร่วมกัน
  • คือการเมืองก็มีเป้าหมายบริหารบ้านเมือง
  • การศึกษาก็มีเป้าหมายบริหารการศึกษาสมอง จิตใจ
  • แต่ท้ายที่สุดแล้วก็คือ การบริหารพัฒนาร่วมกัน เป็นการพัฒนาชาติ ประเทศร่วมกันนะครับ
  • ผมอยากให้คุณหมอ ดูตัวอักษร ตัว Y  นี้นะครับ แนวคิดที่ผมจะนำเสนอคือ


    Y

    ที่ยอดของตัว Y เช่น กิ่งซ้ายบน เป็นการศึกษาบริหารโดยนักการศึกษา

    กิ่งขวาบน เป็น การเมืองบริหารบ้านเมืองโดยนักการเมือง

    แล้วรากด้านล่างของตัว Y คือรากเหง้าในการพัฒนาประเทศชาติร่วมกัน

    ดังนั้นที่แยกนี่คือการแยกเพื่อการบริหารให้คล่องตัว เพื่อให้การศึกษาไม่ตกอยู่ในความไม่แน่นอนทางการเมือง เพราะว่าพรรคการเมืองที่เข้ามานั้น มีวาระเพียงสี่ปี และไม่รู้ว่าต่อไป ใครจะมาบริหาร แล้วทำต่อเนื่องได้หรือไม่ นี่หล่ะครับ ที่ผมมอง ผมอยากให้หลุดพ้นตรงนี้
  • แม้ว่า นักการเมืองจะมาหาเสียงโดยใช้การศึกษาเป็นเป้าหมายในการหาเสียงก็จริง แต่ถามว่าทำไมพรรคการเมืองมีหลายพรรค เพราะอะไร เพราะคนละแนวคิดหรือเปล่า เพราะว่าผลประโยชน์ต่างกันหรือเปล่า หรือเพราะอะไร ทำไมนักการเมืองต้องย้าย ไปนั่นมานี่ (ไม่อยากพูดมากนะครับในส่วนนี้ ผมรู้ว่า คุณหมอทราบอยู่ดีแล้วในเรื่องนี้)
  • เราจะหลุดจากวงจรนี้ได้อย่างไรครับ รบกวนตอบตรงนี้นะครับ
  • ผมเน้นการนำไปใช้ได้จริงนะครับ ผมเห็นด้วยกับแนวทางในอุดมคติที่คุณหมอเสนอนะครับ แต่ในเรื่องทางการปฏิบัตินั้น จะทำอย่างไรให้การศึกษามีแนวทางชัดเจน
  • เคยสังเกตไหมครับ เช่น เปลี่ยนชุดบริหารหนึ่งครั้งในรัฐบาล ทำให้แบบฟอร์มในการศึกษาเปลี่ยน ผมว่าหยุดได้แล้วครับ ออกแบบให้ใช้ได้ตลอดเวลา ไปถึงอนาคตไปเลยครับ แบบฟอร์มเหล่านี้ ไม่ว่าเรื่องใดๆ ในการศึกษาต้องขึ้นกับรัฐบาลหมด นี่คือการศึกษาอยู่ภายใต้การบริหารของการเมืองครับ
  • ผมเคยมีโอกาสทำโครงการและวิเคราะห์ฐานข้อมูลพวกนี้ในเรื่องแบบฟอร์มต่างๆ นะครับ พบว่าแบบฟอร์มขึ้นกับนโยบายรัฐ ดังนั้นการจะทำฐานข้อมูลนั้น ยากมากๆ เพราะต้องออกแบบกันใหม่หมดเมื่อเปลี่ยนรัฐบาลหรือแนวนโยบาย ทั้งๆ ที่มันคือการพัฒนาชาติเหมือนกัน ทำไมเราไม่คิดฟอร์มพวกนี้ให้มันคงที่และเปิดกว้างไว้สำหรับ สิบปี ยี่สิบปีไปเลยครับ
  • คือเปลี่ยนได้นะครับ แต่มันต้องมีเหตุผลมากพอ ไม่งั้นเราจะต่อยอดการพัฒนากันได้อย่างไร
  • ไม่ใช่มาใหม่แล้วเริ่มใหม่อยู่อย่างนี้นะครับ
  • ผมพยายามจะเชื่อมให้ทุกอย่าง ในเรื่องความจริง และการปฏิบัติเข้าหากันแบบกระบวนการที่โยงใยกันนะครับ
  • ไว้ผมจะนำเสนอแผนที่คิดไว้อีกอันนะครับ เป็นแผนพัฒนาประเทศไทย (แต่ไม่อยากจะเสนอตอนนี้ก่อนครับ จริงๆ โพสต์ความคิดไปแล้วแต่ไม่ได้ออกให้อ่านกันครับ) พูดง่ายๆ คือ ผมอยากมีแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ที่มีแนวทางชัดเจน ว่าจะให้การศึกษาไทยเดินไปทางไหน วางไปเลยเช่น
  • แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 1 มีอะไรบ้าง สภาพัฒน์ ก็คิดกัน แล้วในสภาพัฒน์ก็จะมี สภาย่อย อาจจะเรียกว่า สภาพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ทำหน้าที่ในการวางแผนชัดเจนในเรื่องการศึกษา ให้ชัดเจน
  • ลองคิดกันเล่นๆ (แต่เอาจริง) กันต่อไปนะครับ ผมเชื่อว่า มีหลายๆ อย่างที่ทำร่วมกันได้
  • การทำงานเชิงบูรณาการ ใช่ว่าจะแยกกันบริหารแล้วทำงานร่วมกันไม่ได้นะครับ เพื่อให้การทำงานสะดวกมากขึ้นนะครับ
  • เหมือนการประชุมกลุ่มใหญ่แล้วมีกลุ่มย่อยนะครับ ถกกันในกลุ่มใหญ่เพื่อให้ได้แนวทางประเด็นหลักๆ แล้วกลุ่มย่อย ก็ไปแยกระดมแล้วมาถกกันในที่ใหญ่ เพื่อได้ทั้งภาพรวมและรายละเอียดนะครับ
  • เป้าหมายผมไม่ได้อยู่ที่ แยกหรือรวมครับ เป้าหมายคือ จะทำอย่างไรให้ความสำคัญของการศึกษานั้นเกิดผลและนำไปใช้ได้จริง แล้วสร้างคนมีคุณภาพจริงๆ และการศึกษาจะล้มไม่ได้ นั่นคือแนวทางพื้นฐานทางความคิด
  • ที่คิดแบบนี้ เพราะอยากจะให้การศึกษาไทย ไม่โดนโจมตีจากที่มีคนพูดกันว่า อีกไม่นาน เวียดนามจะแซงเรา มาเลย์แซงเรา ผมไม่ได้อยากจะชนะเพื่อนบ้านหรอกครับ แต่ผมไม่อยากให้การศึกษาเราวนเวียน (ตอนนี้คุณหมอเชื่อไหมว่า การศึกษาไทยมีปัญหา) ผมได้รับคำพูดจากเพื่อนว่า ตอนนี้เค้าสอนให้เด็กจำเป็นคำๆ โดยไม่ได้ให้ผัน ไม่ได้สอนการผัน
  • เช่น เด็ก ป.สี่ เขียนคำว่า ฉิม  เป็น ชิม
  • เขียนคำว่า รถไฟ ได้ แต่เขียนคำว่า รถมอร์เตอร์ไซต์ไม่ได้
  • แล้วสิ่งเล็กๆ ตรงนี้ จะถูกโยนไปเรื่อยๆ จนถึงระดับอุดมศึกษา โดยนโยบายไม่ซ้ำชั้น (ผมไม่รู้ว่าโทษหรือประโยชน์) น่าจะมีนโยบายสร้างแรงจูงใจในการเรียนด้วยนะครับ
  • การศึกษา เน้นอะไรดีครับ ระหว่างปริมาณ กับคุณภาพ หรือว่าเน้นปริมาณที่มีคุณภาพ ครับ
  • ผมเขียนไปเรื่อยๆ นะครับ ไม่ได้ตอบคำถามของคุณหมอทั้งหมดครับ แต่เป็นการระบายในความรู้สึกให้คุณหมอฟังเท่านั้นครับ
  • ลองมาระบายกันดูนะครับ เผื่อแนวทางในการพูดถึงเรื่องการศึกษาในสังคมนี้ จะกลั่นตัวเป็นไอ จนตกลงมาเป็นน้ำฝนห่าใหม่ทางการศึกษา
  • จะได้ตกไปทั่วประเทศไทย สร้างชีวิตใหม่ทางการศึกษาที่ดีกว่าเดิม เด็กสองแสนคนที่หายไปก็จะลดลงครับ
  • ทำให้วันหนึ่ง ชาวบ้านเค้าต้องการความรู้จากองค์กรการศึกษา ทำให้นักการเมืองต้องพัฒนาตัวเองแบบทรงคุณค่า นักการศึกษาก็ต้องพัฒนาความรู้มากกว่าการเร่งทำ อาจารย์สาม ปรับระดับซี ของตัวเอง
  • คุณหมอคิดว่า การประเมินคุณภาพทางการศึกษาของไทยมีปัญหาไหมครับ
  • การแจ้งโรงเรียนแล้วบอกว่า วันนั้นวันนี้จะไปประเมินผลโรงเรียน ภารโรงตัดหญ้ากันจ้าละหวั่น ปลูกต้นไม้กันใหญ่ เด็กต้องทำความสะอาดกันยกใหญ่ เพื่อให้การประเมินผลผ่าน แบบนี้ดีไหมครับ ทำแบบนี้สะท้อนอะไรครับ
  • ทำไมไม่ลองทำแบบที่ ไปประเมินตัวเด็กไปเลย มาถึงสอบแล้วติดตามตัวเด็กไปที่บ้าน โดยการสุ่ม ตามหลักการที่ว่าไว้ สุ่มไปถึงตัวครู สอบตัวครูกันเลย สอบในการสอนและทางทฤษฏี โดยการสุ่มในโรงเรียน ลองทำแบบนี้ ผมว่าครูต้องตื่นตัว เด็กก็ต้องตื่นตัว ในการเรียนการสอนมากขึ้น เพราะทุกคนต้องคิดว่า ฉันสอนเด็กไปแล้ว ต้องได้มาตรฐานนะครับ ไม่งั้นจะโดนส่งผลมาถึงผู้สอนรายวิชานี้นะ อาจจะทำให้ครูวิชานี้ ต้องโดนสอบสัมภาษณ์ก็ได้ ทำให้ระบบมันจะจัดการมากขึ้น หากทำแบบนี้ ผักชีโรยหน้าจะไม่เจอครับ
  • บ่นมายาวนานครับ อิๆ  คุณหมอคงไม่ว่ากันนะครับ ต้องขอโทษด้วยครับ ผมไม่ได้เขียนและใส่ตัวเน้นไว้ในคำพูดของผมเท่าไหร่ แต่เนื้อหาอยู่ในความเห็นนี้นะครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ กลับไป ผมคงได้เจอและพูดคุยกันอีกต่อไปครับ
  • รบกวนเขียนไว้ต่อนะครับ ผมอยากเห็นความเห็นท่านอื่นๆ มาร่วมกันพูดคุยด้วยนะครับ ผมคุยกับคุณหมอสองคน เฉาตายเลยครับ ใช่ไหมครับคุณหมอ
  • ขอบคุณมากนะครับ มีความสุขในการทำงานนะครับ
  • ขอเพิ่มความมีวินัยต่อตนเองและผู้อื่นด้วยค่ะ  อันนี้สำคัญมากเหมือนกันนะคะ
  • พี่มีเรื่องเล่านะ พี่ต้องดูแลนักศึกษาที่พักในหอพักหลายพันคน มีเหตุการณ์ลักทรัพย์สินในหอพัก ต้องสืบสวนและสอบสวน ทั้งที่เป็นงานที่อยากทำค่ะ เชิญอ่าน
P

สวัสดีครับพี่อัมพร

  • ขอบคุณมากๆ เลยครับพี่ ผมจะต้องเอาไว้เตือนตัวผมด้วยครับ เรื่องความมีวินัยเนี่ยครับ อิๆ
  • เดี๋ยวจะเข้าตามไปนะครับผม ขอบคุณมากๆ เลยครับ สำหรับเรื่อง นศ. นะครับ
  • โชคดีในการทำงานนะครับ
P

สวัสดีครับคุณหมอที่เคารพ

  • คุณหมอสบายดีนะครับ
  • ในส่วนของข้อเสนอ ของคุณหมอ ผมจะเอาไปทำเป็นการบ้านต่อไปนะครับ มีหลายๆ อย่างในนั้นที่เราอาจจะลองหาแนวทางร่วมกันเพื่อไปให้ถึงจุดนั้นได้ครับ
  • ผมกลับไปผมก็คงต้องปฏิบัติในระดับที่ผมทำได้ด้วยก่อนนะครับ เพื่อยืนยันว่าเราสร้างสิ่งดีให้เกิดได้ในระดับที่เราดูแลอยู่นะครับ
  • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ มาช่วยกันเขียนได้อีกนะครับ กลับไปไว้จะไปเยี่ยมนะครับ

สวัสดึครับ รมต.ช่วย

P
  • แวะมาดื่มน้ำชาครับ
  • ปัญหาการศึกษา มีมากมาย ทุกๆท่านก็คงทราบ
  • อะไรคือปัญหา ?
  • ทุกๆคนได้ช่วยกัน เพื่อ แก้ปัญหา
  • สาระสำคัญ  ในการนี้ คือแก้ไขปัญหาการศึกษา
  • พื้นฐานความรู้ประชากรในประเทศตกต่ำ
  • เส้นทางการศึกษาได้ถูกแทรกแทรงตลอดเวลา
  • ตลอดเวลาการแก้ไขการศึกษา ก็ไม่มีทิศทางที่แน่นอน มีการถกเถียงในหมู่ นักวิชาการต่างๆ แต่ถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีหนทางในการแก้ที่แน่นอน ได้ผล
  • ถ้าเราวิเคราะห์กันลึกๆ ทำไมการศึกษาจึงถูกแทรกแซงตลอดเวลา 
  • ภายในการศึกษาแฝงไปด้วยผลประโยชน์มากมาย  เราคงคาดคะเนได้ว่าใครเข้ามาช่วงชิงผลประโยชน์อันนี้
  • หนทางของ เม้ง ได้แสดงความชัดเจน  ความเป็นไปได้ของการแก้ปัญหา
  • การศึกษา พวกเราปฏิเสธไม่ได้ว่ามันสัมพันธ์ไปหมด  การศึกษา เป็นห่วงโซ่เรียงร้อย ทุกสิ่งทุกอย่างเข้าด้วยกัน
  • ห่วงโซ่ห่วงใดห่วงหนึ่งเปื่อยเปราะ ทุกสิ่งทุกอย่างก็ไปด้วยกันไม่ได้
  • ยกตัวอย่างขบวนรถไฟ ถ้าห่วงใดห่วงหนึ่งขาด คงจะต้องทิ้งโบกี้ใดโบกี้หนึ่งทิ้ง และที่ต้องเป็นตัวเลือกที่หนึ่งคงเป็นโบกี้คนจน
  • แล้วเราจะต้องทำถึงขนาดนี้หรือ
  • ถึงเวลาต้องแยกการศึกษาออกจากอิทธิพลอำนาจ ของกลุ่มอำนาจที่ไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษา กลุ่มอำนาจมีแต่ปกป้องผลประโยชน์ของตัวเอง
  • ถึงเวลาจะต้องใช้กลุ่มนักการศึกษา เข้ามาปกป้องผลประโยชน์ของการศึกษา
  • เราอย่าใช้ นามธรรม ในการเข้าถึงปัญหาการศึกษา
  • เราควรใช้วิธีมองอย่างเป็น รูปธรรม เข้าถึงปัญหา และแก้ปัญหา
  • พลังต่างๆก็อย่างอยู่นิ่งดูดาย ช่วยกันแสดงความคิดเห็นให้กำลังใจถึงหนทางแก้ปัญหา
  • ผมยังมีความเห็นอีก จะเข้ามาใหม่อีกครั้ง
  • ขอจิบน้ำชา ท่าน เม้ง ก่อน
  • ขอบคุณมากๆครับ

 

P

สวัสดีครับพี่เหลียง

  • รมต. (รักแม่ตลอด) ใช่ไหมครับ
  • เดี๋ยวมาคุยด้วยครับ อย่าเพิ่งนอนนะครับ อิๆ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ
  • ท่านใดยังอยู่ร่วมถกด้วยนะครับ มีขนมมาแจก อิๆ
  • ขอบคุณมากครับ
  • การเมืองคืออะไร ครับ
  • การศึกษาคืออะไร ครับ
  • การเมืองมีปัญหาไหมครับ
  • การศึกษามีปัญหาไหมครับ
  • รวมกันแล้วเป็นอย่างไรครับ
  • แยกกันแล้วเป็นอย่างไรครับ
  • ขอบคุณมากครับ

คำถามคุณเม้งน่าสนใจครับ

อะไรคือคุณภาพชีวิต วัดอย่างไร

อะไรคือคุณภาพคน วัดอย่างไร

อะไรคือสวยงาม อะไรคือความดี อะไรคือเมตตา อะไรคือปัญญา เรียน "จริยศาสตร์" จะวัดสัมฤทธิผลอย่างไร? ปรัชญามหิดล อตฺนานํ อุปมํ กเร บัณฑิตพึงเอาใจเขามาใส่ใจเรา วัดสัมฤทธิผลอย่างไร?

ของบางอย่าง ผมคิดว่ามองหารูปธรรมอย่างเดียว แล้วเมื่อไรคนถึงจะมีจิตวิญญาณที่เติบโต?

  • ถามกันต่อนะครับ ชักสนุกครับผมทีนี้
  • คนคืออะไร
  • กายคน คืออะไร มีอะไรบ้าง
  • จิตคน คืออะไร มีอะไรบ้าง เข้าถึงจิตใจคนได้อย่างไร แก่นของจิตใจคนคืออะไร
  • สมองคน คืออะไร มีไว้ทำไม เอาไว้ใส่อะไรบ้าง
  • กาย จิต สมอง รวมกันเป็นอะไร รวมกันเป็นคนหรือไหม คนอยู่โดดเดียวได้ไหม รวมกันเป็นอะไร แล้วอะไรทำให้คนอยู่ได้
  • คนต้องการอะไร ต้องการการศึกษาหรือไม่ ต้องการการเมือง ต้องการสิ่งแวดล้อม ต้องการสิ่งสนองต้องการ และต้องการอะไรอีก
  • การพัฒนาคนคืออะไร ทำไมต้องพัฒนา คนมีปัญหาติดตัวมาแล้วหรือไม่ มีแล้วแก้อย่างไร การศึกษาช่วยได้ไหม
  • การพัฒนาจิตใจคน ทำอย่างไร ใช้อะไรพัฒนา พัฒนาอย่างไร
  • การพัฒนาสมองคน ทำอย่างไร ใส่อะไรในสมอง เกิดความรู้ในสมอง ทำอย่างไร
  • ธรรมชาติคืออะไร อะไรคือธรรม ธรรมชาติอยู่อย่างไร คนอยู่อย่างไร คนกับธรรมชาติ สัมพันธ์กันอย่างไร แบบใด ใครสร้างใคร
  • การเมืองคืออะไร ทำไมต้องมีการเมือง ทำไมต้องมีการศึกษา ทำไมการศึกษากับการเมืองต้องเกี่ยวกัน ทำไมการเมืองต้องมีนักการเมือง แล้วการศึกษาต้องมีนักการศึกษา ใครควรบริหารใคร อะไรคือหัวใจ
  • ประเทศชาติคืออะไร อะไรคือชาติ อะไรคือศาสนา แล้วการศึกษาอยู่ตรงไหน การเมืองอยู่ตรงไหน ศาสนากับการเมือง ใครควรจะครองใคร การเมืองคุมศาสนาถูกไหม การเมืองคุมการศึกษาควรไหม การศึกษาและศาสนาควรเกี่ยวกันอย่างไร การศึกษากับจิตใจ สร้างคนอย่างไร
  • ท้ายสุดแล้ว คนคืออะไร เกิดมาเพื่ออะไร เรียนรู้เพื่ออะไร เรียนรู้ได้อะไร เรียนรู้ไปทำไม แล้วเรียนรู้เพื่อใคร เรียนรู้แล้วให้อะไร ให้ใคร ให้ประเทศชาติหรือไม่ อย่างไรดีครับ
  • ถามแค่นี้ก่อนนะครับ ไม่งั้น คงต้องดื่มชา รสเครื่องหมายคำถามเป็นแน่ครับ
  • ขอบคุณมากครับ

P
สวัสดีครับคุณหมอ
  • สบายดีนะครับผม
  • อิๆ พอดีผมมาถามไว้ต่อครับ คำถาม สนุกๆ ดีครับ หลายๆ คำถามครับ
  • สงสัยบทความนี้จะเครียดกันครับ มีใครคิ้วผูกโบว์แล้วบ้างครับ รีบนวดหน้าด่วนนะครับ
  • มีอะไรเพิ่มกันไว้ต่อนะครับ 

มีบทความมาฝากเพิ่มเติมครับ ของท่าน ศ.ดร. จีระ นะครับ วาระแห่งชาติ น่าสนใจมากทีเดียวครับ

 ขอบคุณมากๆ นะครับ

  • มีคำถามมาต่อกันอีกครับ
  • ระหว่าง

    เศรษฐกิจ การเมือง สังคม และ การศึกษา

    หากให้จัดลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย คุณจะจัดเรียงอย่างไรครับ ลองเรียงกันดูนะครับ รบกวนท่านใส่เหตุผลไว้ด้วยนะครับ ว่าเหตุผลอะไรนะครับ
  • ขอบคุณมากนะครับ

วันนี้ขออนุญาตินำถ้อยคำบางตอนของ อาจารย์ ธเนศ ขำเกิด มาลงไว้เป็นแง่คิด

“…ถ้าเราอยากบรรลุความสำเร็จในสิ่งที่ไม่เคยสำเร็จมาก่อน  ต้องอย่าทำเหมือนสิ่งที่เคยพยายามทำมาแล้ว  เพราะฉะนั้นต้องคิดและทำใหม่  ในความคิดใหม่  ในรูปแบบใหม่  จึงจะมีโอกาสบรรลุความสำเร็จในสิ่งซึ่งไม่เคยสำเร็จมาก่อนได้…”

การคิดเชิงกลยุทธ์เป็นการคิดที่ช่วยเพิ่มโอกาสแห่งความสำเร็จ เพราะเป็นการคิดที่มีเป้าหมายตามความต้องการที่กำหนดไว้ล่วงหน้าอย่างชัดเจน

ผมเฝ้าดูอยู่ครับ มีความคิดอยู่ จะเข้ามาร่วมด้วย

ต่อเรื่อง model กันหน่อยนะครับ

model แบบองค์รวม ถ้าจะเปรียบเทียบกับ model รูปตัว Y ของคุณเม้งก็คือ ขาหนึ่งของ "การเมือง" นั้นไม่มี เป็นอะไรที่ต้องมีการดูแล หล่อเลี้ยง ด้วยเช่นเดียวกัน

รูปร่างคงจะเป็น "เกลียวพลวัต" ที่ยอดนั้นมองมาจากที่ที่ มองเห็นได้ทั่วถึง ดูแลได้ทั่วถึง เห็นความเชื่อมโยงทั้งหมด ค่อยๆลาดลงเป็นนโยบายหลัก นโยบายจำเพาะ projects ลงมาเป็นฐานกว้างของกิจกรรมทุกๆมิติ

การที่จำเป็นต้องมีคนมองเห็น ภาพรวม ไม่ใช่ภาพแยกส่วน นั้นเป็นเรื่องสำคัญ มิฉะนั้นบางทีเดินเหยียบตาปู เดี้ยงไปข้างหนึ่งแล้ว ส่วนที่เหลือยังพยายามกระโดดต่อ ความไม่สมดุลที่ฝืนกระทำ ก็จะทำความบาดเจ็บเล็ก กลายเป็นบาดเจ็บใหญ่ เหมือนเวลาเราเป็นหวัด แต่ขายังดีอยู่ ให้ขาทำงานต่อไป พาไปโน่นไปนี่ ไม่ได้พักผ่อน อีกหน่อยระบบอื่นๆที่ต้องทำงานเพิ่มมากขึ้นก็จะเจ็บตามจนขาที่ดีนั้นพิการไปด้วยในที่สุด

Newtonian sciences นั้น ไม่ค่อยเข้าใจความหมายของคำ เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยง หรือ อิทัปปัจจยตา เท่าไหร่ ซึ่งจะอิงทฤษฎี chaos ของ quantum physics มากกว่า บริบทเป็นเรื่องที่สำคัญมาก วิธีอย่างหนึ่งในบริบทอย่างหนึ่ง เราจะไปสรุปว่ามัน work หรือ ไม่ work ในคนละบริบทไม่ได้ วิธีอย่างหนึ่งที่ไม่ work ในบริบทแบบหนึ่ง ก็ไม่สามารถสรุปได้ว่าจะไม่ work ในคนละบริบท

เพราะเรื่องราวต่างๆไม่ใช่ linear equation

คุณสมพรกำลังศึกษา Ph.D. อยู่พอดี สาเหตุหนึ่งที่เราต้อง review original paper ก็เพื่อศึกษา รากความคิด รากปัญญา ไม่ได้มาศึกษาที่กิจกรรมปลาย การทดลองสุดท้าย หรือผลสรุป ซึ่งเป็นปลายเหตุสุดๆ แต่กลไกและที่มาของความรู้นั่นต่างหากที่จะเป็นแหจับปลา ที่จะเป็น Giant's shoulder ที่เราจะยืน ขอยืมมายืนข้างบน จะได้ต่อยอดได้

ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทุกคนทำอยู่ในทุกวันนี้ เพื่อสองประการเท่านั้นเองครับคือ

  1. เพื่อชีวิต
  2. เพื่อสังคม

คุณค่าของชีวิต และคุณค่าของสังคม ทั้งสองอย่างสอดประสาน และไม่แยกจากกัน ถ้าเมื่อไรก็ตาม เราไม่เข้าใจในคุณค่า ความหมายที่แท้จริงของงานของเรา เราจะขาดเครื่องยึดเหนี่ยว แต่จะไป attach กับอะไรที่ไม่เพียงพอ ไม่แน่นอน หวังว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะ "แน่นอน" เหมือนสมการ แต่สิ่งเดียวที่แน่นอนก็คือ "ทุกชีวิตต้องตาย ทุกสังคมต้องถึงวาระเปลี่ยนแปลง" เพราะอนิจฺจํ นั้น แน่นอน

มนุษย์เป็นสัตว์ภาษา ซึ่งภาษามีข้อจำกัดเยอะ เผอิญ "คุณค่า" ของสิ่งที่เราคิดว่าดีนั้น หลายๆอย่างไม่สามารถใช้ภาษา หรือ เครื่องมือที่มีอยู่มาอธิบายได้เพียงพอ ต้องใช้ประสาทการรับรู้อื่นๆมาช่วยด้วย

อร่อย ที่เราพูดๆกันนั้น ก็ไม่ตรงกันเสียแล้ว สวย ที่เราเห็นๆกันก็ไม่เหมือนกัน ดี ยิ่งแล้วกันไปใหญ่ว่าอะไรคือดี เป็น controversial issue ระดับอภปรัชญา (ไม่ใช่ measurement แน่นอน)

ดังนั้นประสบการณ์ การรับรู้ที่เป็นองค์รวมจึงเป็นอะไรที่พอจะ represent ความเป็นมนุษย์ได้ใกล้เคียง เราไม่สามารถจะ "แยกแยะองค์กร ออกจากสิ่งมีชีวิต" ได้ เพราะถ้าเม่อไรเราทำลงไป มันจะไม่มีพฤติกรรมอย่างการผสมสี ผสมปูน สิ่งมีชีวิตมีพฤติกรรมที่ซับซ้อนไปกว่านั้น

เวลาที่ร่างกายเป็นปกติดี ความสุข/ทุกข์ของสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนไปตลอดเวลาเพราะ สิ่งแวดล้อม เราไม่สามารถจะหลอกตนเองว่าเราไม่เปลี่ยนตามสิ่งแวดล้อม เพราะเราอยู่ใน ecology นั้นๆ อยู่ในระบบนิเวศน์เดียวกัน

ในยุคสมัย newtonian science คนชอบการ "ฟันธง" การฟันธงนั้น มาจากการแข่งขันกีฬาประเภทลู่ ที่เส้นชัยมีคนถือธง เมื่อคู่แข่งขันมีใครวิ่งผ่านเส้นนี้ ก็จะฟันธงตัดสินให้ชนะ การฟันธงก็คือการตัดสินอะไรโดยใช้ parameter น้อยที่สุด อาจจะเพียงหนึ่งอย่าง สองอย่าง เท่านั้น ก็พร้อมที่จะตัดสินคุณค่าไปได้แล้ว เป็นระบบความคิดแบบ judgemental attitude ตัดสินคน ตัดสินเรื่องราวแบบรวบรัด

ในโลกนี้มีสักกี่อย่างที่มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงแค่ 1-2 parameter นอกเหนือจาก controlled environment แบบนั้น?

โดยเฉพาะถ้าเราทำงานกับคน ประเมินคน ประเมินประเทศ ประเมินสังคม?

การเมือง นั้นตัดหางปล่อยวัดได้หรือไม่? ลองพิจารณาดูเถิดครับ อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าการเมืองถูกisolated และจะ isolated อย่างไร? จะ independent กับเรื่องอื่นๆอย่างไร ถ้าการเมืองหมายถึงการบริกหารประเทศส่วนที่เหลือทั้งหมด จะแยกจากการศึกษานั้น หมายความว่าอย่างไร? การศึกษา ที่โดดเดี่ยว stand-alone จะเป็นเช่นไร? ตรงนี้คุณสมพร คนคิด model คงจะต้องแปลเป็นอะไรที่มากไปกว่า independent เราจึงจะช่วยกันวิเคราะห์ สังเคราะห์ได้ว่า สมบูรณ์แบบ เป็นอุดมคติ หรือมีอุปสรรค มีข้อควรคำนึงอย่างไร อะไรบ้าง

จะเอาใจช่วยครับ

P

สวัสดีครับพี่เหลียง

  • ขอบคุณพี่มากๆ เลยนะครับ คมดีนะครับผม ไม่คมธรรมดาครับ เพราะผมรู้สึกว่านั่นคือ แนวทางการวิจัยของผมด้วยครับ โดยมีการนำสิ่งที่ผ่านมาเป็นประสบการณ์ของเรา ผมเชื่อว่าประสบการณ์สั่งสมและถ่ายทอดให้กันได้ เป็นภูมิปัญญาประสบการณ์ ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นได้ด้วย แต่เมื่อเต็มที่ในส่วนประสบการณ์นั้น เราจะเกิดกระบวนการคิดแบบเสาะแสวงหา หรือหาทางออก จนอาจจะเกิดทางใหม่ที่เป็นไปได้ แต่ทางใหม่นั้น ต้องฝ่าด่านหลายอย่างครับ เพราะความคิดที่ฝั่งแน่นในแบบเดิมมีพลังอยู่นะครับ จึงต้องเกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้หลากหลายมากที่สุด
  • ผมตามไปอ่านบันทึกของท่าน อ.ธเนศ ก็ทำให้ผมสะอึกเหมือนกันนะครับ เพราะมองๆ ดูแล้วผมเองก็ไม่ได้สั่งสมประสบการณ์อะไรมากนัก หรือยังมีประสบการณ์น้อย จะมาเขียนเปลี่ยนแปลงอะไรทำนองนี้หรือ แต่ผมเชื่อว่าหลายท่านคงเดาได้ว่าเป้าหมายผมคืออะไร และผมเองก็ไม่ต้องการจะเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง แต่ผมเชื่อว่าหากจะมีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีพลังจากกลุ่มคน กลุ่มนักคิดและนักปฏิบัติ ทำร่วมกันครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ แต่ตอนนี้ที่เราทำกันอยู่ คือการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การเข้าถึงปัญหาร่วมกัน เข้าถึงแนวทางร่วมกัน
  • ผมเลยอยากเห็นการถกเถียงตรงนี้ เกิดเป็นประโยชน์บ้างนะครับ ไม่ใช่เพียงแค่เป็นบทความที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไปนะครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ
ไม่มีรูป
ไม่แสดงตน

สวัสดีครับ

  • เชิญร่วมแสดงความเห็นได้เลยนะครับ ด้วยความยินดียิ่งนะครับ
  • คิดเห็นเป็นอย่างไร พิมพ์ลงมาได้เลยนะครับ ร่วมด้วยช่วยกัน แลกเปลี่ยนแนวทางแล้วผสานร่วมกันครับ อาจจะได้เกิดการมองจากมุมต่างๆ ที่ให้ความเป็นไปได้มีค่ามากขึ้นครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ รอด้วยความหวังจากทุกท่านนะครับ
P

สวัสดีครับ คุณหมอ

  • นี่ผมชักจะหลงรักคุณหมอเข้าแล้วซิครับ จีบกันอยู่หลายวันเลย อิๆ เดี๋ยววันไหนคุณหมอไม่เข้ามา ผมทรมานนะครับ ยิ้มๆ
  • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ เป็นการชี้ทางสว่างผมด้วยนะครับ หลายๆ อย่างผมก็เห็นด้วยนะครับ
  • ตัว Y model ที่ว่านั้น ผมมองว่า คล้ายๆ ต้นไม้นะครับ ที่โตนี้มาแล้วมีรากติดอยู่กับพื้นดิน แล้วแตกขึ้นมามีสองกิ่ง กิ่งหนึ่งคือ กิ่งการเมือง อีกกิ่งคือกิ่งการศึกษา (เอาสองกิ่งก่อนแล้วกันนะครับ)
  • จะเห็นว่า แต่ละกิ่งนั้น ก็ทำงาน สังเคราะห์แสงของตัวเอง สร้างยอดของมันเองนะครับ แล้วก็ส่งผลสารอาหารไปลำเลียงลำต้นและส่วนอื่นๆ ส่งไปที่รากเพื่อบำรุงรากฐานของต้นให้เข้มแข็ง และรากนั้นจะส่งผลถึงยอด การศึกษาและยอดการเมืองเช่นกันครับ
  • ที่แยกยอดนั้น เพราะจะสร้างให้ต้นไม้ที่ชื่อต้นประเทศไทยนี้มันเจริญงอกงามขึ้นหรือเปล่าครับ การมีใบมาก ก็อาจจะดีกว่ามีใบน้อย หากใบมีหน้าที่สร้างอาหาร แต่หากมีมากเกินไป ดีหรือเปล่า อันนี้ต้องคิดครับ นั่นคือความสมดุลในระบบ
  • ตรงส่วนที่เป็นลำต้นนั่นคือเกลียวควั่น ที่ผสานและอุ้มชูยอดทั้งสองให้อยู่ร่วมกัน แม้จะแยกกันสร้างผลของแต่ละกิ่ง แต่อยู่ร่วมกันได้ครับ
  • หากมองในระบบสิ่งมีชีวิตเอาง่ายๆ ก่อนเลยครับ คือ คนเรานี่หล่ะครับ ทุกส่วนทำงานร่วมกัน หากทุกอย่างสอดรับสอดคล้องกัน ระบบจะดีไม่มีปัญหาครับ หากวันหนึ่ง ระบบปวดท้องรุนแรง พบว่าเป็นไส้ติ่ง จำเป็นต้องผ่าตัด
  • แสดงว่าระบบมีปัญหาแล้วใช่ไหมครับ เวลาคุณหมอจะผ่าตัดหรือจัดการกับเจ้าไส้ติ่งนั้น คุณหมอต้องทำอย่างไรบ้างครับ ผมสงสัยว่า ทำไมต้องให้ผู้ป่วยอดอาหาร หากกินเข้าไปปกติ จะสามารถผ่าตัดได้ไหมครับ
  • เวลาตอนผมเคยเจอเหตุสุดวิสัย ดื่มน้ำกรดเข้าไป ทำไมคุณหมอต้องให้ผมงดอาหาร 12 ชั่วโมงด้วยครับ ดื่มน้ำได้นิดหน่อย ก่อนจะส่องท้องดูระบบผมในท้องว่าพังหรือเปล่า นะครับ
  • คำตอบเหล่านี้ คือความหมายของการแยกการศึกษาออกจากการเมืองของผมนะครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ ผมต้องทำความเข้าใจในสิ่งที่ อ.หมอ เข้ามาให้ความรู้แลกเปลี่ยนตรงนี้อีกเยอะเลยครับ เหมือนตัวผมเอง มึนๆ ยังไงไม่รู้ครับ แล้วจะทบทวนอ่านแล้วคิดตาม ค้นหากันต่อไปครับผม
  • อาจารย์หมอ เข้ามาต่อประเด็นกันได้ต่อนะครับ ขอบพระคุณล่วงหน้าเลยครับ อยากให้ท่านอื่นๆ มาร่วมคุยกันด้วยนะครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ

สวัสดีครับคุณสมพร P

ดีใจที่สนุกครับ ผมชอบ good quality conversation มากเหมือนกัน :)

ไส้ติ่งเป็นหนึ่งในอวัยวะที่คงจะ "หลงเหลือ" มาในวิวัฒนาการ ตอนนี้ทางการแพทย์ยังไม่พบว่าคนที่ไม่มีไส้ติ่ง (เพราะถูกตัด) จะเสีย function อะไรไปบ้าง เพราะตอนคนอายุมากขึ้น มันก็จะค่อยๆฝ่อไปเองอยู่ดีถึงไม่โดนตัดก็ตาม

ร่างกายมนุษย์นั้นซับซ้อนมากครับ คุณเม้ง ตอนผมเรียนศัลยศาสตร์นั้น เราพบว่าเราต้องเรียนเรื่อง ทำอย่างไรจึงไม่ต้องผ่า พอๆกับ หรือยิ่งมากไปกว่าจะผ่าตอนไหนเสียอีก เพราะทันทีที่กรีดมีดลงไป เราจะเริ่ม compromize ความสมบูรณ์ที่ออกแบบมาแต่แรกทันที ผิวหนังที่หายจากมีดกรีด ก็จะไม่นุ่ม ไม่ยืดหยุ่น ไม่เหมือนเดิม

ปรากฏว่าอวัยวะต่างๆของคนนั้น ไม่เหมือนกิ่งไม้แขนงหนึ่งของต้นไม้ ตรงที่ differentiation หรือการพัฒนาให้มีหน้าที่จำเพาะนั่นเอง ถ้าจะเปรียบ สมมติว่าแขนสองข้างมีเหลือเฟือ ทศกัณฐ์ที่มียี่สิบแขนก็พอจะเป็นต้นไม้อย่างที่คุณเม้งว่าได้ ตัดไปสัก 18 แขนก็ยังไม่เดือดร้อนมาก

แต่อวัยวะของคนคงไม่ใช่แบบนั้น เราสูญเสีย function ไปหลายเปอร์เซนต์ทีเดียวเวลาสูญเสียอวัยวะ ตบอดสองข้างนี่ ทางกฏหมายให้เป็น 50% loss หรือ disable เลยทีเดียว เป็นต้น

ผมคิดว่าการเมืองที่ไม่ได้กำกับด้วยการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม จะกลายเป็นการเมืองที่ไม่ได้ serve ชีวิตและสังคมครับ

เพราะการเรียนรู้นั้น เป็นการเชิดชูชีวิต เป็นการเสริมสร้างสังคม การเมืองที่ไม่มีการเรียนรู้ จะกลายเป็นสถาบันไม่มีชีวิต หมายถึงเป็น materialistic organization สุดท้ายก็จะเป็นกิ่งกาฝาก ดูดทรัพยากรจากลำต้นหลัก และในที่สุดกิ่งการศึกษาก็จะขาดน้ำ ขาดอาหาร ถ้าปล่อยให้ cancer อย่างกิ่งมะเร็งการเมืองเติบโต

ในปัจจุบัน การใช้เคมีบำบัดรักษามะเร็งก็เหมือนการดื่มยาพิษแก้กระหาย เพราะยาเคมีบำบัดนั้น เป็นการประลงอว่า หากกินยาพิษนี้เข้าไป ระหว่างเซลล์มะเร็ง กับร่างกาย ใครจะเป็น last man standing ไม่ใช่วิธีที่ผมคิดว่าสวยงามนัก

และน่าจะมีวิธีอื่น

ถ้ามีเวลา เดี๋ยวจะเล่าเรื่องทำไมเซลล์ๆหนึ่งของเรา จึงต้องทำงาน "ร่วมกับเซลล์อื่นๆจึงจะอยู่รอด" เดี๋ยวไปทานข้าวก่อนนะครับ

P

สวัสดีครับคุณหมอสกล

  • ผมชักสนุกแล้วซิครับทีนี้ วิ่งเข้ามาที่ผมจะได้ความรู้เพิ่ม และเดินมาทางปรัชญาเรื่องการเมืองและการศึกษา ได้ด้วย เพราะผมเชื่อว่า สิ่งเหล่านี้ล้วนสัมพันธ์กันเสมอครับ ดังร่างกายคนเหมือนที่คุณหมอว่านะครับ แต่เราก็จำเป็นต้องมีวิธีการคือการผ่าตัด
  • หากผมเปลี่ยนไส้ติ่ง มาเป็นหัวใจหล่ะครับ แล้วจำเป็นต้องผ่าตัดขึ้นมา ไม่รู้จะเทียบตัวไหนเป็นการศึกษาหรือการเมืองดีนะครับคราวนี้
  • ผมเห็นด้วยว่า การศึกษาทำอย่างไรถึงจะไม่ต้องผ่าตัดให้มีความสำคัญเพราะว่า หากมีทางอื่นในการคงอนุรักษ์สิ่งที่ดีงามให้อยู่ได้ ก็คงดีมากๆ หากมองว่าอวัยวะเดิมที่ได้มาคือสิ่งที่ดีนะครับ
  • ใช่ครับ เซลล์ ทางพืชกับสัตว์ ในการงอกคงต่างกันเลยครับ เพราะคนงอกได้บ้างไม่ได้บ้าง เอพืชเองก็คงมีโครงสร้างเฉพาะตัวของเค้า เราคงเทียบให้ชัดๆ ลงไปยาก เว้นแต่ว่าจะกำหนดขอบเขตการมองใช่ไหมครับ
  • ผมชอบประโยคนี้นะครับ ที่คุณหมอบอกมา
  • ผมคิดว่าการเมืองที่ไม่ได้กำกับด้วยการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม จะกลายเป็นการเมืองที่ไม่ได้ serve ชีวิตและสังคมครับ

    อันนี้เห็นด้วยล้าน % เลยครับ

    เป้าหมายของบทความนี้ ลึกๆ คือตรงนี้เลยครับ

    แล้วคำถามต่อมา แนวทางที่เราจะจัดการตรงนี้ เราจะทำอย่างไรดีครับ

    ผมไม่รู้ว่าจะเทียบอะไรกับเซลล์มะเร็งนะครับ ในระบบใหญ่ของประเทศเรา แต่หากเรามีมะเร็งนี้ เราจะทำอย่างไรครับ เราจะดื่มยาพิษแล้วดูว่าใครจะอยู่จะไป หรือเราจะอยู่ร่วมกันแบบไหนครับ ให้เซลล์ทุกเซลล์ยังทำงานร่วมกันได้ แล้วร่างกายยังอยู่ได้ โดยไม่ล้มไปทั้งยืนไปพร้อมกันทุกๆ ระบบย่อยภายในครับ

    ตรงนี้น่าจะเป็นทางออกครับ

    ผมรอที่จะอ่านบทความเซลล์ต่อนะครับ ที่มีผลต่อ "ร่วมกับเซลล์อื่นๆจึงจะอยู่รอด" นะครับ

    ขอบคุณมากนะครับ

     

สวัสดีค่ะน้องเม้ง....

  • ครูอ้อยกำลังจะหาข้อมูลเรื่อง....คนชื่อ...มี....พรอยู่ด้วย...มักจะเป็นคนเก่ง

น้องเม้งเห็นด้วยไหมคะ

ขออภัยตอบไม่ตรงประเด็นค่ะ...อิอิ

P

สวัสดีครับพี่อ้อย

  • อิๆๆ ว่าแล้วชมกันเองอีกแล้วคนเรา (เอ ผมแอบคิดไปเองนะครับ อิๆๆๆ ยิ้มๆ ครับ)
  • จริงๆ แล้วขอแค่มีพรสวรรค์ หรือพรแสวงในตัว ก็พอแล้วครับ ไม่ต้องปรากฏที่ชื่อก็ได้นะครับ
  • ต้องขอบคุณคุณครูที่มาทำให้บรรยากาศสนุกไปด้วยสลับเนื้อหาวิชาการครับ แล้วเข้ามาอีกนะครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ

ชีวิตคือองค์รวม

ขออนุญาตใช้ reference จาก field ของผมเป็นหลักก็แล้วกันนะครับ เพราะผมจะแปลหลัก ประชญา อะไรต่างๆ based on ประสบการณ์ตรงทางด้านนั้น

เซลล์ของเรามี 2 modes คือ mode ปกติ และ mode ปกป้อง

ใน mode ปกติ เซลล์เราทำหน้าที่ 4 อย่างคือ เจริญเติบโต ซ่อมแซม สื่อสาร และเรียนรู้ เมื่อไหร่ก็ตามที่ shift ไปอยู่ใน mode ปกป้อง หน้าที่ตามปกติก็จะหยุดทำงาน

mode ปกป้องเกิดขึ้นในภาวะอันตราย ภาวะเครียด หรือที่ที่มี situation คุกคามในลักษณะต่างๆ ยิ่งมีความรุนแรง เข้มข้น หน้าที่ตาม mode ปกติของเซลล์ก็จะลดลงไปด้วย

เซลล์มะเร็งก็คือเซลล์ที่แยกตัวเองจากสิ่งแวดล้อม (ในด้านของการรับรู้) เซลล์มะเร็งไม่สนใจความเป็นอยู่ของสิ่งแวงดล้อม ดังนั้นมันขยายตัว แย่งกิน ซ่อมตัวเอง เบียดเบียนคนอื่น ไม่พูดจากับผู้อื่น ไม่เรียนรู้ ปกติแล้วเซลล์ธรรมดาๆมีการเติบโต พอไป "ชนขอบ" (นึกถึงแผล) ก็จะรู้ว่ "พอแล้ว" จึงหยุดเจริญเติบโต หยุดเบียดเบียน

การคิดว่าเซลล์จะอยู่รอด ถ้าเราแยกตัวออกมาจากระบบอื่นๆ นั่นก็คือการคิดแบบเซลล์มะเร็งนั่นเอง

การเมืองที่ประสบความสำเร็จนั้น คือการเมืองที่คิดเผื่อทุกๆอวัยวะ ทุกๆองคาพยพ เพราะการบริหารประเทศนั้นจะต้องวางแผนจัดหาทรัพยากรที่จำเป็น เราควรจะมีบัณฑิตปริญญตรีกี่คน ปริญญาโทกี่คน บัณฑิตสายวิชาชีพ สายงานฝีมือกี่คน ตลาดค้าขายในสัดส่วนเท่าไหร่ ตลาดพานิชย์ในและนอกประเทศเท่าไหร่ จัดหาคนดูแลเรื่องสวัสดิภาพ ความปลอดภัย ความยุติธรรมในสังคม และยังคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณี รากฐานที่มาของคนไว้อย่างไร

ของพวกนี้มันต้องไปด้วยกันตลอดครับ

ยิ่งถ้าเราหมายถึงคำ การเมือง คำเดียวกัน คือการระดมกำลังส่วนใหญ่ของชุมชนว่าเราควรไปในทิศทางไหน เพื่ออะไร ใช้ทรัพยากรอย่างไร ผมไม่คิดว่าการตัดหางปล่อยวัดการเมือง โดยไม่ดูแลอย่างใกล้ชิดแล้ว เราจะสามารถมีประเทศที่มั่นคงได้อย่างไร องค์กร "อิสระ" จากการ "บริหาร" เป็นอย่างไร ตอนนี้ผมก็ยังนึกไม่ออกจริงๆครับ อาจจะเป็นเพราะมีความรู้ทางเศราฐศาสตร์ การบริหารประเทศ และข้อมูลที่จำเป็นน้อยเกินไปหน่อย แต่พอได้ยินคำ การแยกกันทำงาน เมื่อไหร่  logic ของผมมันรวนเรไปหลายองศา ตรงนี้อาจจะเป็นเพราะการรับรู้ของตัวผมเองก็เป็นได้

P
กราบสวัสดีคุณหมอสกล
  • กราบขอบพระคุณมากๆ เลยนะครับ ที่ทำให้ผมได้ความรู้เพิ่มเรื่องเซลล์ วันหน้าอาจจะได้ลองทดสอบจำลองแบบเซลล์ที่คุณหมอว่าบ้างนะครับ เพราะงานวิจัยด้านนี้ ดังมากๆ เลยครับตอนนี้ในเยอรมัน ศึกษาการพูดคุยกันระหว่างเซลล์ และการรับส่งข้อมูลกันระหว่างเซลล์
  • เพื่อนำไปสู่การทำความเข้าใจพวกเซลล์มะเร็งที่ว่านี้นะครับ
  • การคิดว่าเซลล์จะอยู่รอด ถ้าเราแยกตัวออกมาจากระบบอื่นๆ นั่นก็คือการคิดแบบเซลล์มะเร็งนั่นเอง

    การเมืองที่ประสบความสำเร็จนั้น คือการเมืองที่คิดเผื่อทุกๆอวัยวะ ทุกๆองคาพยพ เพราะการบริหารประเทศนั้นจะต้องวางแผนจัดหาทรัพยากรที่จำเป็น เราควรจะมีบัณฑิตปริญญตรีกี่คน ปริญญาโทกี่คน บัณฑิตสายวิชาชีพ สายงานฝีมือกี่คน ตลาดค้าขายในสัดส่วนเท่าไหร่ ตลาดพานิชย์ในและนอกประเทศเท่าไหร่ จัดหาคนดูแลเรื่องสวัสดิภาพ ความปลอดภัย ความยุติธรรมในสังคม และยังคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณี รากฐานที่มาของคนไว้อย่างไร

  • คมมากครับผม สำหรับแนวทางนี้ครับ

  • ระบบตัว Y model หรือสิ่งที่ผมคิดอยู่ก็คือว่าปัญหาดังต่อไปนี้นะครับ ผมจะเอาถึงการทำท่าทางไปด้วยกันก็ได้นะครับ ทดลองทำดูกันไปพร้อมๆ กันตามลำดับต่อไปนี้ก็ได้นะครับ คือ

  • ผมสมมุติว่า มือเราซ้ายขวา เป็นระบบการศึกษาและการเมือง โดยให้มือซ้ายเป็นการเมืองนะครับ แล้วมือขวาเป็นการศึกษานะครับ

  • ต่อมาคือ ให้เอามือซ้ายและขวาประสานกันนะครับ โดยใช้นิ้วสลับกันในการประสานกันนะครับ นั่นคือยึดกันแน่นมากๆ นะครับ

  • แล้วระบบที่เป็นอยู่ตอนนี้คือ คือ หัวแม่โป้งซ้ายกดหัวแม่โป้งขวาอยู่นะครับ นั่นคือ การศึกษาถูกกดอยู่ด้วยการเมือง นั่นคือนักการเมืองคุมการศึกษาอยู่ครับ

  • ทางแก้ที่ผมนำเสนอ ที่สมมุติขึ้นมาด้วยการแยกคือว่า ให้ดึงหรือยกหัวแม่โป้งซ้ายออกมาให้ชี้ขี้น แล้วให้หัวแม่โป้งขวา ชี้ขึ้นเช่นกันครับ โดยที่นิ้วอื่นๆ ทั้งแปดยังประสานกันอยู่อย่างแน่นแฟ้นเช่นเดิม

  • นั่นคือ การเมืองก็ให้อิสระทางการศึกษา และการศึกษาก็มีอิสระในการบริหาร แต่การศึกษาก็ผลิตคนดีในสังคม ออกมาเมื่อส่งผ่านไปให้การเมือง โดยผ่านการส่งด้วยนิ้วทั้งสี่ทางซ้ายขวาเป็นตัวเชื่อมโยง

  • และการเมืองก็จะสนับสนุนการศึกษาเช่นกันโดยส่งผ่านการช่วยเหลือผ่านทางนิ้วทั้งสี่เช่นกัน เป็นการส่งผ่านความช่วยเหลือถึงกันนั่นเอง

  • ซึ่งจะเป็นเหมือนกับ แนวคิดของ Y model เช่นกันคือ จะมีการเชื่อมกันที่แกนลำต้น โดยพันและเชื่อมกันก่อนจะแยกปลายให้เป็นอิสระ มองตัว Y สร้างมาจาก เชือกสองเส้น ที่พันกันแล้วปลายแยกอิสระ ในการบริหาร นะครับ

  • ผมพยายามอธิบายเพื่อให้เห็นภาพแนวคิดที่ผมมองนะครับ ระหว่างการศึกษาและการเมืองนะครับ ไม่ได้แยกออกจากกัน แบบมือซ้ายอยู่แต่มือซ้าย และมือขวาอยู่แต่มือขวานะครับ จับมือกัน แต่ให้ปลายหัวบริหารมีโอกาสเป็นอิสระ

  • เสมือนที่ว่า การเมืองไม่เสถียรที่เกิดจากต้องมีวาระไงครับ ทุกๆ สี่ปี แต่การศึกษาต้องทำอย่างไรให้เดินต่อไป การศึกษาแยกจากอะไรไม่ได้เพราะต้องปกครองประเทศ การศึกษาต้องซึมอยู่ทั่วๆ ไป

  • พูดง่ายๆ คือ การเมืองก็มาจากการศึกษา นักการเมืองก็ควรจะเป็นผลผลิตของการศึกษา ในการทำให้นักการเมืองมีคุณภาพ (ตอนนี้ก็มีคุณภาพนะครับ) แต่อยากให้มีมากๆ ยิ่งขึ้น แล้วการศึกษาต้องสร้างคนส่งไปให้กับทุกๆ องค์กรในประเทศ จนถึงชุมชน หรือครอบครัว และระดับปัจเจกครับ

  • นี่คือเป้าหมายของผมทั้งหมดนี้

  • ในอีกนัยหนึ่งคือ หากการเมืองยังมีปัญหาเพราะนักการเมือง การศึกษาจะอยู่ไม่ได้ เพราะจะพังทันที นี่เป็นสาเหตุที่อยากให้ นิ้วโป้งซ้ายให้โอกาสนิ้วโป้งขวา มีโอกาสชี้ขึ้นมาได้นะครับ

  • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ

  • ผมยังอยากได้ความเห็นของคุณหมอตลอดไปนะครับ สนใจเรื่องเซลล์มะเร็งต่อด้วยนะครับ เพราะผมอยากจะเห็นว่า คุณหมอจะเทียบเซลล์มะเร็งในระบบการศึกษาและการเมืองของเราอย่างไรครับ

  • ขอบพระคุณมากๆ เลยครับ

เรากำลังมอง model หรือ ปรัชญาครับ?

ขอคิด model ในทางปฏิบัตินิดนึงก็แล้วกัน

อะไรที่จะเป็นตัว empower การบริหารการศึกษาแบบอิสระ?

กฏหมาย รัฐธรรมนูญ?

แต่นั่นก็อยู่ใน jurisdiction ของการบริหารบ้านเมืองอยู่ดี.... หรือไม่ครับ?

การศึกษาที่อ่อนแอนั้น เป็นเพราะ การเมือง "จงใจกด" หรือเพราะว่า "คน" ในภาคการเมืองสายตาไม่ถึง ฝีมือไม่พอ หรือบริหารไม่ดี กันแน่?

effectiveness ของการบริหารนั้น ก็ไปได้ "ไกลสุด" เท่าที่คนบริหารมีกึ๋นเท่านั้น ถ้าเรามีนักการเมืองที่ใจกว้างพอจะ spared education section ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น นักการเมืองแบบนี้ก็จะ harmless ต่อการศึกษาอยู่แล้ว แต่ถ้านักการเมืองที่ ต้องการจะ harmful ต่อการศึกษา อะไรจะห้ามไม่ให้มาควบคุม? กฏหมายสูงสุดของประเทศก็มาจากสภา และ ถูกเขียนใหม่ ถูกฉีกใหม่ ได้ตลอดเวลา ยังไงๆเราก็ไม่สามารถเขียนกฏหมายที่บอกว่าตัวกฏหมายฉบับนี้ห้ามเปลี่ยนแปลงแก้ไข นั่นจะเป็นการเล่นเกมไก่กับไข่ ไม่มีกฏหมายฉบับไหนสามารถมอบอำนาจไม่จำกัดแกตัวกฏหมายเองได้

เราจะสามารถออกกฏหมายอะไรที่สามารถการันตีว่าไม่มีมนุษย์หน้าไหนจะมาปรับเปลี่ยนได้จริงหรือ? ตรงนี้เป็น contradiction in term หรือไม่?

ย้อนกลับไปที่ ผู้ให้อำนาจ ที่จะปกป้ององ๕กรการศึกษาที่ว่านี้ จะต้องเป็นผู้ที่การันตีกฏหมายที่บริสุทธิ์ อมตะ และ untouchable ไม่ว่านักการเมือง corrupted แค่ไหน ก็ไม่สามารถจะแจะต้องกฏหมายฉบับนี้ได้ คนๆนี้คือใคร? เป็นใครก็ตามจะต้องเป็น timeless and immortal ระบบนี้จึงจะยั่งยืนต่อไป

ในทางปฏิบัติแล้ว ผมว่าเรา educate คนที่จะมาเสริม มาสร้าง มาดูแลซึ่งกันและกัน จะเป็นระบบ ที่ fail-safe มากกว่าการหวังว่าเราจะมีกฏหมายที่ไม่มีทางถูกฉีกได้ หรือไม่?

ผมเป็นนักวิทยาศาสตร์สายชีวภาพ ผมจำเป็นต้องมี ความหวัง ว่าชีวิตนั้นมีหนทาง คนเป็นคนดีได้ การเมืองต้องสามารถเติบโต mature และงอกงามได้ ตรงนี้เป็น ความหวัง โดยที่เราจะได้ไม่ต้องพึ่งอะไรที่ฝืนกฏ impermanence เช่น กฏหมายเหนือกฏหมายทั้งมวล เหนือบุคคล เหนือกาลเวลา

ดังนั้น model ตัว Y นั้นเกิดขึ้นได้จริงครับ เมื่อ จิตใจของคนที่ใช้กฏหมายสูงพอ แต่ในบริบทนั้น จะแยกหรือไม่แยก ก็ไมแปลกอะไร

ถ้าจิตใจไม่สูงพอ ขาตัว Y อีกข้าง ก็ไม่มีอะไรจะบอกว่ามันจะเป็นอิสระไปได้เลย

P
กราบสวัสดีคุณหมอครับ
  • สุดยอดจริงๆ ครับคุณหมอ แอคทีฟ มากๆ เลยครับ แบบนี้มีพลังจะได้ร่วมกันทำอะไรได้อีกเยอะแยะเลยครับผม นับถือๆ ครับ คุยกันมานาน ยังไม่ได้ทักกันเลยว่าจะรับชาอะไรกันดีครับ มัวเพลินกับการถกกันอยู่ครับ
  • โทษทีครับ พอดีผมหันไปเคลียร์ ตัวโมเดลที่พูดๆ ไป เกรงว่าคุณหมอจะไม่เข้าใจความหมายที่ผมพูดนะครับ เลยเอาให้ชัดอีกรอบนะครับ
  • ส่วนเนื้อเป้าหมายจริงๆ ผมเข้าใจคุณหมอนะครับ ซึ่งดีมากๆ เลยในการที่จะทำให้ระบบเสถียรและยั่งยืนนะครับ เพราะว่า เขียน ข้อบัญญัติดีแค่ไหน รัฐธรรมนูญดีแค่ไหน ตัวกฏหมายดีแค่ไหน แต่คนยังไร้ศีลธรรม จริยธรรม แล้วความรู้ ก็มีปัญหาอยู่ดีครับ
  • การเมืองเองหากจะพูดกันตรงๆ ก็มีปัญหา ครับ
  • การศึกษาเองหากจะพูดให้ตรงๆ กันไปอีก ก็มีปัญหามาก เหมือนกันครับ
  • อยู่ที่ว่าเราจะแก้กันอย่างไร ในรูปแบบรวม หรือรูปแบบแยกครับ
  • ในระบบใหญ่จะมีระบบย่อยอยู่เสมอครับ และระบบย่อยๆ นั้นจะเกี่ยวข้องกันไม่มากก็น้อยระหว่างกัน แต่จะเชื่อมโยงกับระบบใหญ่ด้วยไม่มากก็น้อยตามกระบวนการความสำคัญ
  • ผมจะยกตัวอย่างระบบย่อย ที่แยกไปทำแล้วผมรูปสึกว่า เค้าทำได้ประสบความสำเร็จ คือ ระบบโรงเรียน สัตยาสัยนะครับ คุณหมอคงเคยได้ยินนะครับ อันนี้เป็นระบบย่อยในระบบใหญ่ที่มีความอิสระในการทำงาน ในการบริหาร แล้วจัดการตัวเองให้อยู่ได้ในระบบ
  • อ่านได้จากที่นี่นะครับ โรงเรียนในฝัน” ที่เป็นความจริง และทำมาแล้ว 15 ปี - ไพบูลย์ วัฒน ...
  • ปัญหาใหญ่ๆ คือเรามีปัญหาเรื่อง คนใช่หรือไม่ครับ
  • คราวนี้ เป้าหมายคือการพัฒนาคน ทำอย่างไรให้หล่ะครับ ที่จะเข้าถึงจุดนั้นครับ
  • หากใช่ แล้วคนมีปัญหาในเรื่องใดครับ ระบบการทำงาน ระบบคิด ระบบบริหาร ระบบปฏิบัติ ระบบการรับรู้ หรืออะไรครับ
  • คุณหมอคิดว่าจะเริ่มกันอย่างไรครับ ในการจะสร้างระบบ การ fail-safe ที่ว่านะครับ
  • จะมีแผนอย่างไร ที่จะให้ ความหวัง ของคุณหมอ หวังของผม และหวังของคนส่วนใหญ่ เป็นหวังที่เป็นจริงครับ โดยที่หวังนั้นคือหวังเดียวกันครับ
  • จะเริ่มอย่างไรดีหล่ะครับ.....ที่คุณหมอคิดไว้นะครับ แล้วจะได้เอามาลองวางกันดูนะครับ เพื่อนำไปสู่ความหวังที่เป็นจริง....และยั่งยืน ถาวร
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ
P
ครูอ้อยทำให้ผมคิดถึงเพลง "รักน้องพร"  จังเลย
กลับมาอีกทีอย่างเร็ว
P
P

ลืมไปจริงๆที่ไม่สำรวจให้ดี  เล่นยอกันเองสองคน คุณอ้อยก็มี พร ด้วย  แฮะ ว่าจะร้องเพลงให้ฟังเสียแล้ว

ขอโทษอย่างแรงครับไม่ตั้งใจครับ

P
สวัสดีครับพี่เหลียง

ขอบคุณมากครับ มีแบบว่ามาช่วยคลายเครียดกันด้วยหรือครับ อิๆ ขอบคุณมากครับผม

มาจิบชา แล้วถกกันต่อนะครับ....

วันนี้ผมจะไปร่วมฟังการบรรยาและพบปะพูดคุยที่นี่ด้วยนะครับ

------------------------------
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน, สถานกงศุลใหญ่ ณ นครแฟรงเฟิร์ต และสถานกงศุลกิตติมศักดิ์ ณ เมืองชตุทการ์ท ขอเชิญพี่น้องชาวไทยในสหพันธ์ เข้าร่วมพบปะกับผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ, นายสุรสีห์ ดกศลนาวิน, นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์, ศ. ดร. จรัส สุวรรณมาลา, นายสุรักษ์ โหราชัยกุล และ ผศ. ดร. พิรงรอง รามสูต เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์การเมือง และกระบวนการประชาธิปไตยในประเทศไทย ณ วัดพุทธวิหาร กรุงเบอร์ลิน ในวันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม 2550 เวลา 15.30 – 18.30 น.

วันเสาร์จัดที่ เมืองชตุทการ์ท
วันอาทิตย์จัดที่ เมืองเบอร์ลิน

------------------------------

 

คงได้พูดคุยอะไรบ้างนะครับ แล้วจะค่อยเอาประเด็นมาเล่าให้ฟังกันบ้างนะครับ

ถกกันต่อได้เลยนะครับผม จะได้มีความต่อเนื่องนะครับ ผมจะกลับมาพูดคุยกันตอนเย็นๆ ค่ำๆ อีกทีนะครับ

ขอบคุณมากๆ นะครับ

 

ถึงตรงนี้จำเป็นต้องขอ สมมติ แล้ว เพราะไม่มีข้อมูลดิบที่ valid จริงๆในมือ ฉะนั้น มีสิทธิ์เป็นเพียงฝัน

สมมติว่า "ระบบ" ในอนาคตของประเทศไทยยังเป็นประชาธปไตย

อำนาจมาจากประชาชน เราก็ต้องเริ่มที่ประชาชนก่อน พฤติกรรมมนุษย์นั้น เป็นไปตาม "กระบวนทัศน์" (paradigm) หมายความว่าเราคิดยังไง เราก็ทำอย่างนั้น ฉะนั้นเรื่องเจตนคติสำคัญและเป็นทุกสิ่งทุกอย่างก็ว่าได้ของพฤติกรรม กระแสความเคลื่อนไหวที่ตามมา

ถ้า

  • คุณค่าเป็น material เราก็จะมีสังคม materialism
  • คุณค่าเป็นฐานะ
  • คุณค่าเป็นการอยู่รอด
  • คุณค่าเป็นการอยู่ร่วม
  • คุณค่าเป็นการอยู่อย่างมีความหมาย
  • ฯลฯ

เราอาจจะสังเกต คุณค่า ที่ชี้นำ (รู้ตัว /ไม่รู้ตัว) สังคมอยู่ในปัจจุบันนี้ได้ไม่ยาก มองไปรอบๆตัว อ่านหนังสือพิมพ์ เร็วๆนี้ มีรายงานเกี่ยวกับยอดการลงทุนใน advertisement หรือการสื่อโฆษณา ซึ่งพอจะเป็น index ได้ว่า อะไรกำลัง HOT อยู่ปรากฏว่าปีนี้ แชมป์เก่าคือ เครื่องสำอางค์ ถูกแซงโดยม้ามือน้องใหม่ คือ เครื่องลางมงคลของขลัง นับเป็นมูลค่า (โฆษณาอย่างเดียว) 22,000 ล้านบาท มากกว่างบประมาณการศึกษาทั้งประเทศ

นี่คือสถานกาณ์คร่าวๆของปัจจุบัน

และรับประกันได้ว่า แรงผลักในกิจกรรมนี้ ไม่ได้มาจากคนไม่มีการศึกษา หรือจากคนที่ไม่มีฐานะแน่นอน แต่มาจากประชาชนจำนวนมีนัยสำคัญที่อยู่ในตลาด demand นี้

ผมคิดว่าเรามี ปัญหาที่ระบบการคิด ระบบการใคร่ครวญ ระบบการไตร่ตรอง ครับ

สถาบันที่เกี่ยวข้อง?

เริ่มจากหน่วยเล็กสุดของสังคมเป็นไงครับ? ครอบครัว เพื่อนบ้าน ชุมชน แหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจของคนอยู่ที่ไหน? (ถ้าจากข้อเสนอของ รมต. ที่เกี่ยวข้อง ที่ว่าควรจะจัดธรรมเทศนา ให้พระไปอยู่ที่ศูนย์การค้า ก็พอจะบอกได้หรือไม่ ว่า คน "ไปอยู่ที่ไหนกัน" หรือเขาคิดว่าคนไปอยู่ทีไหนกัน

จกว่าเราจะเริ่มมี "เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจใหม่" โดยที่ไม่จำเป็นต้องกราบไหว้บูชาอะไรเพื่อ "โคตรรวย รวยไม่รู้เรื่อง รวยไม่มีเหตุผล ฯลฯ อีกหลายร้อยรุ่น" นักการเมืองที่จะถูกเลือกเข้าไปบริหารประเทศ ก็คงจะเป็นพวกที่ตอบสนองต่อ demand แบบนี้ได้ ถ้าเป็นเช้นนั้น การศึกษา จะแยก หรือจะรวม มันก็ doomed พอกัน

อะไรจึงเรียกว่า ชีวิตที่ดี ชีวิตที่ประสบความสำเร็จ ชีวิตที่มีความหมาย

ถึงตอนนี้ ผมคิดว่าเราต้องมองย้อนกลับไปที่อะไรที่เป็น นามธรรม บ้างแล้ว (มั้ง?)

ถ้าชีวิตของเรานั้นเร่งรีบ ต้องฟันธง ต้องด่วนตัดสิน เราก็จะอดไม่ได้ที่จะพยายามตัดสินอะไรเพียงฉาบฉวย โดยอะไรที่มองเห็น แต่ไม่ใช่อะไรที่ต้องใช้ "ความรู้สึก ความใคร่ครวญไตร่ตรอง" เพราะเรา "ไม่มีเวลา" จะทำอย่างนั้น

แทนที่เมื่อเรามีเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ รถ เครื่องบิน ทีวี มือถือ internet เราจะได้ใช้ "เวลาที่ว่างมากขึ้น" กลับไปหาตัวตนที่แท้จริง จิตวิญญาณของมนุษย์ เรากลับดูเหมือนมีเวลาน้อยลง ต้องรีบมากขึ้น ต้องแก่งอย่งแข่งขันกันมากขึ้น แม้แต่โรงเรียน โรงพยาบาล ก็ต้องมีการจัด ranking

มือกระดิกคลิ้กโดยไม่ตั้งใจ

และเราก็จะเลือกคนที่สัญญาว่าจะให้ life style แบบนั้นแหละแก่เรา

คำตอบไม่ง่ายนัก มีสั้นๆก็คือ คนที่สนใจในวิถีใหม่ การดำเนินชีวิตแบบใหมท่ คงต้อง voice ออกมามากขึ้น สนทนากันบ่อยมากขึ้น รับฟังมากขึ้น ฟังให้เยอะๆ จะได้เข้าใจในปัญหาต่างๆได้ดียิ่งขึ้น

quick fix คงจะเหมาะสำหรับอะไรที่เปฯระยะสั้น แต่การสร้าง "วัฒนธรรม ความเชื่อ กระบวนทัศน์" ต้องใช้อะไรที่ subtle แต่มีพลังยืนยาว และเป็นปฏิรูป ไม่ใช่ปฏิวัติ

P

กราบสวัสดีครับคุณหมอ

  • พอดีเพิ่งกลับมาถึงเมื่อคืนดึกแล้ว มาถึงเจอข้อความทั้งหลาย ก็ได้อ่านแล้ว หลับเลยครับ อิๆ
  • ไปงานที่บอกไว้ด้านบนนะครับ ก็ได้นำเสนอประเด็นการศึกษาเข้าไปเต็มๆ ในส่วนของ การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชุมชน
  • ภูมิคุ้มกันของชุมชน บุคคล องค์กร หรือสังคม นั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ จะทำให้คนหรือชุมชน คิดได้ ว่าอะไรคือ ผิดชอบชั่วดี มากกว่าการมองไปยังวัตถุเป็นที่ตั้ง
  • การศึกษาเป็นตัวหลักสำคัญในการจะเสริมข้อบกพร่องในส่วนที่มีปัญหาเหล่านี้
  • ผมเห็นด้วยว่า เราจะทำอย่างไรให้มี กระบวนการคิด ระบบคิด ที่คนสามารถคิดได้ว่าหากมีสิ่งแปลกปลอมที่จะทำให้สังคมหรือชุมชนเค้าพังได้ เค้าจะไม่ยินดีและรับใช้สิ่งนั้น
  • ปัญหาต่างๆ ที่คุณหมอเล่ามา ไม่ว่าจะเรื่องโฆษณาทั้งหลาย ตั้งแต่เครื่องสำอางจนมาถึงเครื่องราง (ดูอีกทีเหมือนคนจะหันเข้ามาหาสิ่งยึดเหนี่ยวของจิตใจ หากเค้าเข้าใจแก่นของสิ่งนั้นว่าคืออะไร) ปัญหาเหล่านี้คือ การขาดภูมิคุ้มกัน หรือภูมิคุ้มกันบกพร่องทั้งนั้น แต่บกพร่องทางใจ และกระบวนการคิดในสมอง ทางออกคือการศึกษา การให้ความรู้ การฉีดวัคซีน
  • การฉีดวัคซีนให้โดยผ่านการศึกษาในระบบ นอกระบบ และอัธยาศัย โดยที่คนในชุมชนอาจจะไม่รู้ตัวว่าตัวเองมีการให้วัคซีนก็ได้ แต่เป้าหมายหลักคือ ทำอย่างไรให้คนคิดได้แยกแยะได้ ถึงความรักผิดชอบที่มีต่อสังคม จิตสำนึกชุมชน จิตสำนึกสาธารณะ ที่จะป้องกันไม่ได้สิ่งชั่วร้ายเข้ามาล่มสลายรากที่ดีๆ อยู่ได้ (ไม้ว่าไม่มีอะไรจะยั่งยืนถาวร แต่ตัวความดีผมเชื่อว่าน่าจะยั่งยืนได้ที่สุด)
  • การมีวัตถุเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในเบื้องต้น เช่นเครื่องราง ทั้งหลาย คงเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หากเราต่อยอดไปได้ให้เข้าถึงแก่นของสิ่งนั้น จนสิ่งที่ยึดเหนี่ยวกลายเป็น ส่วนภายในตัว ได้แล้ว ผมเชื่อว่า ต่อไปสิ่งยึดเหนี่ยวที่อยู่ในแกนกลางจะอยู่ยั่งยืน เพียงแต่เราจะเปิดปัญหาตรงนั้นอย่างไร ในการเข้าถึง
  • ปัญหาหลักที่เราพบเจอในบ้านเราที่ทำให้สังคมหรือชุมชนอ่อนแอ คือ ปัญหาพื้นฐานเรื่องปากท้องยังมีปัญหาครับ ทำให้คนหลงไปในทางอื่นได้ง่าย เพื่อจะตอบสนองปัญหาที่เจออยู่ครับ หากปัญหานี้ไม่ได้รับการแก้ไข ปัญหาการศึกษาก็ยังไม่ได้เป็นสิ่งที่สำคัญในสายตาของสังคม.....
  • จริงๆ แล้ว ความรู้สึกรับผิดชอบต่อสังคม มันควรจะติดตัวมาตั้งแต่เกิดแล้วด้วยซ้ำไป นั่นคือ คนที่ไม่ได้เรียนหนังสือก็ใช่ว่า จะไม่มีความรู้สึกรับผิดชอบต่อสังคม เพียงแต่การศึกษาจะทำให้คนรู้ทันสิ่งชั่วร้ายมากขึ้น รู้ทันความคิดของตัวเอง รู้ทันความคิดของคนอื่นที่ไม่หวังดี รู้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกของวัตถุ
  • เราจะทำอย่างไรดีหล่ะครับ ที่จะฉีดวัคซีนเข็มใหญ่นี้ลงไปให้หัวใจคนให้ยั่งยืน และยาวนานจะกลายเป็นภูมิคุ้มกันของสังคมที่แท้จริง
  • จนวันหนึ่ง ผู้บริหารบ้านเมือง จะต้องปรับตัวเองตามความต้องการของชุมชนไปในทางที่ดีขึ้น แบบ ล่างสู่บน   แล้วจะมีสิ่งดีๆ จากบนสู่ล่าง แล้วเกิดจุดสมดุลในระหว่างกลาง
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ คุณหมอ ดีใจที่ได้รับเกียรติให้ถกด้วยเสมอนะครับ เขียนต่อกันไว้นะครับ ผมเชื่อว่าแนวทางร่วมเป็นแนวทางที่นำไปสู่ทางออกที่ดี แต่ต้องทำร่วมกันเป็นกระบวนการคิด ทำเป็นระบบ จะเกิดพลังครับ
  • ขอบคุณมากครับ
  • สวัสดีครับทุกท่าน
  • ผมได้นำเสนอ ถึงการให้การศึกษามีอิสระในการบริหาร หรือให้การศึกษามีเส้นทางในการเดินอย่างมีเป้าหมาย ไม่ว่าการเมืองจะมีปัญหา หรือหยุดชะงักในภาวะที่การเมืองมีปัญหาก็ตาม
  • และได้คำตอบมาจากวิทยากร ว่า... ในรัฐธรรมนูญใหม่ จะมีการกำหนดว่า รัฐบาลจะต้องทำและพัฒนาการศึกษา เพราะที่ผ่านมาไม่ได้มีการให้ความสำคัญในเรื่องการศึกษาเท่าที่ควร
  • ผมเอง...เน้นเรื่องการนำแนวทางไปประยุกต์ใช้มากกว่าการบัญญัติ แต่หากบัญญัติแล้วบังคับว่าต้องทำ มีภารกิจอะไรบ้าง ก็ดีครับ หากไม่ทำ ประชาชนก็ต้องรู้ว่าตัวเองเสียสิทธิ์ในเรื่องใดบ้างครับ โดยชุมชนจะต้องมีภูมิคุ้มกันที่ดี
  • ขอบคุณมากๆ ครับ

เจริญพร

เป็นความคิดรวบยอดได้ดีมากเลย....ทำตามแล้วเห็นภาพอย่างนี้เรารูปแล้วเราควรช่วยกันเปลี่ยนแปลกระบบ ถ้าสามารถทำได้จะดีมาก

สวัสดีค่ะ  คุณเม้ง

เพิ่งมีโอกาสแวะเวียนมาเยี่ยมค่ะ  สำหรับอ๋อมีความเห็นว่า ผู้มีอำนาจในการปกครอง น้อยนักที่จะตระหนักในความสำคัญของการพัฒนาการศึกษาของผู้อยู่ใต้ปกครอง  ตราบใดที่สังคมเรายังไม่มีผู้ปกครองที่มีธรรมาภิบาล  ขอบคุณมากค่ะ

กราบนมัสการพระคุณเจ้า เหยี่ยวอินเดีย

    กราบขอบพระคุณมากครับ ใช่ครับ เราต้องเริ่มกันที่ตัวเราแล้วทำร่วมกันเป็นเครือข่ายแล้วเดินไปด้วยกัน ผลักดันสิ่งเหล่านี้ให้เป็นภารกิจสำคัญของชาติครับ การศึกษาเท่านั้นผมว่าที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาที่เราประสบกันอยู่ตอนนี้

กราบขอบพระคุณมากครัีบ

สวัสดีครัีบคุณ อ๋อทิงนองนอย

    ขอบคุณมากๆนะครัีบ ที่แวะมาเียี่ยมเยียนนะครัีบ สำหรัีบการศึกษานั้น ผู้ที่เห็นความสำคัญของการศึกษาเท่านั้นครับ ที่จะสนับสนุนและเปิดโอกาสให้คนอื่นๆ ได้ศึกษาและพัฒนาการศึกษา จิตใจ และร่างกาย มิฉะนั้นเราก็พัฒนากันแต่เพียงด้านวัตถุ รื้อแล้วสร้างแล้วถมแล้วถอนแล้วสร้าง วนเวียนอยู่นี่หล่ะครัีบ

    เราทุกคนมีส่วนสร้างการศึกษาของชาติด้วยกันครัีบ เริ่มที่ระบบคิดของพวกเรานี่หล่ะครัีบ แล้วพลังจะเกิดครับ หากผู้หาเสียงไปหาชาวบ้าน ชาวบ้านบอกว่า สิ่งที่เราต้องการคือ การศึกษาภาคชุมชน การศึกษาอิสระในชุมชน การศึกษาของลูกหลาน  เมื่อนั้นหล่ะครับ ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองจะต้องคิดหนัก...

ขอบคุณมากครับ

ใครๆก็ว่าความรู้เป็นสิ่งสำคัญ แต่...ไม่เห็นมีใครให้ความสำคัญกับคนให้ความรู้ (อย่างจริงจัง )ว่ามะ อ่ะ อ่ะ อ่ะ

สวัสดีครับคุณ yay tom

    ขอบคุณมากๆ เลยครัีบ ก็เป็นอย่างที่ว่าครับ เราลืมไปเรื่อง

  • พัฒนาคนถ่ายทอดความรู้ ครู พ่อแม่ ชุมชน โรงเรียน ฯลฯ
  • ลืมคิดไปว่าต้นกำเนิดของความรู้คือธรรมชาติ ซึ่งเป็นรากของความรู้
  • คนได้เป็นผู้นำ คิดอย่าง  คนอยู่ใต้อำนาจคิดอย่างครัีบ มันเลยหาทางไม่เจอสักทีครัีบ ปัญหาจึงดำเนินต่อและเปลี่ยนสภาพไปทุกๆ วันครัีบ
  • ขอบคุณมากๆ นะครัีบ เราต้องจำไว้ว่า จงทำวันนี้กับคนที่ทำงานร่วมกันได้ให้เต็มที่ แล้วค่อยๆ ขยับขยายครับ และวันหนึ่งได้มีโอกาสให้ผู้อื่นด้วยปัจจัยต่างๆ อย่ากลายพันธุ์เสียก่อนครัีบ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ

ขอให้โลกนี้จงสงบเถิดครัีบ หันมายิ้ม มาจรรโลงธรรมชาติ ให้ใจกันครัีบ

สวัสดีครับ พอดีตามลิ้งค์มาจากของน้อง nth ในบอร์ด บาวูคลับ ครับ เห็นมีคนจริงใจกับการศึกษาได้ขนาดนี้ก็น่าดีใจเลยหละครับ เสียดายที่ไม่ได้มีโอกาสรู้จักพี่เม้งจริง ๆ จัง ๆ ตอนนี้เห็นว่าพี่กลับเมืองไทยไปแล้ว ขอให้เต็มที่กับการพัฒนาการศึกษาไทยครับ ไอเดียที่จะแยกการเมืองออกจากการศึกษานี่ผมคิดว่าคงเป็นไปไม่ได้ครับ การเมืองการปกครองมันซ่อนอยู่ในองค์กรทุกระดับ ถึงแม้ว่าเราจะมีกลุ่มคนที่เล็กขนาดไหน การแก้ปัญหาในลักษณะนี้ผมว่าจะเป็นการหนีเสือปะจรเข้ซะมากกว่า แค่คิดว่าเราจะต้องเอางบประมาณมา มันก็ต้องผ่านสภา ซึ่งมันก็ต้องเป็นการเมืองในตัวอยู่แล้ว ผลที่ได้ถ้าเราต้องการตัดขาดจริง ๆ จากการเมืองเราก็อาจจะต้องแยกส่วนงบประมาณของส่วนการศึกษาออกมาจากการเมืองด้วย นั่นอาจหมายถึงเราจะต้องให้ส่วนการศึกษายืนได้ด้วยตัวเอง คือมีเงินหมุนเวียนได้ด้วยตัวเอง อันนี้ลำบากมากขึ้นไปอีกครับเพราะค่าใช้จ่ายต่อคนต่อปีที่รัฐช่วยแบกรับ (อ้างอิง : http://www.prachatai.com/05web/th/home/15535)

ผมว่าปัญหาอย่างหนึ่งของการศึกษาไทยคือ ความเข้าใจเรื่องการศึกษาครับ การศึกษาไม่ใช่จุดเริ่มต้น การศึกษาไม่ใช่แค่ปรัชญา เราจะแยกการศึกษาออกมาโดด ๆ มันแปลก ๆ 

อย่างการพัฒนาการศึกษาของเยอรมันเอง ที่ส่วนวิจัยของมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรมค่อนข้างเกื้อซึ่งกันและกัน ถ้าเราขาดการเมืองเป็นเครื่องมือหนุนหรือผลักดันความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมตรงนี้คงจะยาก ถ้าเราแยกการศึกษาออกมาโดด ๆ

สำหรับของอเมริกาเอง ส่วนที่เป็นการศึกษาระดับสูง ส่วนนี้ได้รับการส่งเสริมโดยตรงจากรัฐบาลจากกองทัพ การพัฒนามันต้องใช้เงิน แหล่งเงินก็มาจากฝ่ายทหารซะส่วนใหญ่ รัฐบาลของอเมริกาจะเป็นผู้ใช้คนแรก ๆ ของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ก็เพราะต้องจ่ายเงินเข้าไปซื้อเพื่อให้ศุนย์วิจัยมีเงินไปพัฒนาต่อเนื่อง

ถ้าเราตัดการศึกษาออกจากการเมือง การพัฒนาอย่างเป็นระบบของการศึกษาผมว่ามันคงขาดช่วงไป

สำหรับผมปัญหาเรื่องการเมืองกับการศึกษามันคงเป็นเพราะนักการเมืองไม่ได้ให้ความจริงใจกับการศึกษาอย่างที่พี่เม้งว่าไว้ในตอนข้อท้าย ๆ แต่การแยกการศึกษาออกมาจากการเมืองผมว่าไม่ใช่คำตอบ

ถ้าการบริหารแบบ ท็อปดาวน์ บ้านเรามีปัญหา ก็ต้องใช้แบบ บอททอมอัป หละครับ หิ่งห้อยตัวเดียวมันคงทำอะไรไม่ได้มากอย่างว่า แต่ถ้าหลาย ๆ ตัวถ้าเอามารวมกันใส่ขวด มันก็คงพอเป็นแสงส่องนำทางได้ แต่ถ้าคิดในอีกทางนึง ถ้าหิ่งห้อยในขวดบินกระจายทั่วต้นไม้ ต้นไม้ทั้งต้นก็สว่างได้เลยนะครับ บางทีการทำให้สว่างได้ก็ไม่ต้องเอามารวมกันเสมอไป ถ้ามีวิธีการสร้างหิ่งห้อยเยอะ ๆ แล้วปล่อยไปให้ทั่วต้นไม้ วันนั้นคงจะได้เห็นต้นไม้สว่างสดใส ในคืนที่มืดมิดครับ

สู้ ๆ ครับพี่เม้ง มาร่วมกันพัฒนาการศึกษาไทยกัน... :)

สวัสดีครับ พอดีตามลิ้งค์มาจากของน้อง nth ในบอร์ด บาวูคลับ ครับ เห็นมีคนจริงใจกับการศึกษาได้ขนาดนี้ก็น่าดีใจเลยหละครับ เสียดายที่ไม่ได้มีโอกาสรู้จักพี่เม้งจริง ๆ จัง ๆ ตอนนี้เห็นว่าพี่กลับเมืองไทยไปแล้ว ขอให้เต็มที่กับการพัฒนาการศึกษาไทยครับ ไอเดียที่จะแยกการเมืองออกจากการศึกษานี่ผมคิดว่าคงเป็นไปไม่ได้ครับ การเมืองการปกครองมันซ่อนอยู่ในองค์กรทุกระดับ ถึงแม้ว่าเราจะมีกลุ่มคนที่เล็กขนาดไหน การแก้ปัญหาในลักษณะนี้ผมว่าจะเป็นการหนีเสือปะจรเข้ซะมากกว่า แค่คิดว่าเราจะต้องเอางบประมาณมา มันก็ต้องผ่านสภา ซึ่งมันก็ต้องเป็นการเมืองในตัวอยู่แล้ว ผลที่ได้ถ้าเราต้องการตัดขาดจริง ๆ จากการเมืองเราก็อาจจะต้องแยกส่วนงบประมาณของส่วนการศึกษาออกมาจากการเมืองด้วย นั่นอาจหมายถึงเราจะต้องให้ส่วนการศึกษายืนได้ด้วยตัวเอง คือมีเงินหมุนเวียนได้ด้วยตัวเอง อันนี้ลำบากมากขึ้นไปอีกครับเพราะค่าใช้จ่ายต่อคนต่อปีที่รัฐช่วยแบกรับ (อ้างอิง : http://www.prachatai.com/05web/th/home/15535)

ผมว่าปัญหาอย่างหนึ่งของการศึกษาไทยคือ ความเข้าใจเรื่องการศึกษาครับ การศึกษาไม่ใช่จุดเริ่มต้น การศึกษาไม่ใช่แค่ปรัชญา เราจะแยกการศึกษาออกมาโดด ๆ มันแปลก ๆ 

อย่างการพัฒนาการศึกษาของเยอรมันเอง ที่ส่วนวิจัยของมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรมค่อนข้างเกื้อซึ่งกันและกัน ถ้าเราขาดการเมืองเป็นเครื่องมือหนุนหรือผลักดันความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมตรงนี้คงจะยาก ถ้าเราแยกการศึกษาออกมาโดด ๆ

สำหรับของอเมริกาเอง ส่วนที่เป็นการศึกษาระดับสูง ส่วนนี้ได้รับการส่งเสริมโดยตรงจากรัฐบาลจากกองทัพ การพัฒนามันต้องใช้เงิน แหล่งเงินก็มาจากฝ่ายทหารซะส่วนใหญ่ รัฐบาลของอเมริกาจะเป็นผู้ใช้คนแรก ๆ ของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ก็เพราะต้องจ่ายเงินเข้าไปซื้อเพื่อให้ศุนย์วิจัยมีเงินไปพัฒนาต่อเนื่อง

ถ้าเราตัดการศึกษาออกจากการเมือง การพัฒนาอย่างเป็นระบบของการศึกษาผมว่ามันคงขาดช่วงไป

สำหรับผมปัญหาเรื่องการเมืองกับการศึกษามันคงเป็นเพราะนักการเมืองไม่ได้ให้ความจริงใจกับการศึกษาอย่างที่พี่เม้งว่าไว้ในตอนข้อท้าย ๆ แต่การแยกการศึกษาออกมาจากการเมืองผมว่าไม่ใช่คำตอบ

ถ้าการบริหารแบบ ท็อปดาวน์ บ้านเรามีปัญหา ก็ต้องใช้แบบ บอททอมอัป หละครับ หิ่งห้อยตัวเดียวมันคงทำอะไรไม่ได้มากอย่างว่า แต่ถ้าหลาย ๆ ตัวถ้าเอามารวมกันใส่ขวด มันก็คงพอเป็นแสงส่องนำทางได้ แต่ถ้าคิดในอีกทางนึง ถ้าหิ่งห้อยในขวดบินกระจายทั่วต้นไม้ ต้นไม้ทั้งต้นก็สว่างได้เลยนะครับ บางทีการทำให้สว่างได้ก็ไม่ต้องเอามารวมกันเสมอไป ถ้ามีวิธีการสร้างหิ่งห้อยเยอะ ๆ แล้วปล่อยไปให้ทั่วต้นไม้ วันนั้นคงจะได้เห็นต้นไม้สว่างสดใส ในคืนที่มืดมิดครับ

สู้ ๆ ครับพี่เม้ง มาร่วมกันพัฒนาการศึกษาไทยกัน... :)

สวัสดีครับน้อง Ekktha

   ขอบคุณมากๆ และยินดีที่ได้รู้จักนะครับ จริงๆ ในบันทึกนี้ต้องการอยากให้แยกเพื่อจะแก้ปัญหาเบื้องต้นเพื่อให้คนทำงานบริหารชาติมีความรับผิดชอบต่อชาติให้มากขึ้นและรักชาติรักคนไทยด้วยกันในทุกๆระดับชั้น จะว่าไปไม่มีอะไรแยกออกจากอะไรได้นะครับ เพียงแต่ว่าเราอาจจะต้องแก้ไขปัญหาเบื้องต้นครับ

   น้องมีหลานๆ เรียนอยู่ระดับประถมบ้างไหมครับ ตอนนี้การศึกษาในการสอนเปลี่ยนระบบการสอนการสะกดภาษาไทยไปแล้วนะครับ ไม่ได้ใช้การสะกดตามอักขระวิธีอย่างเดิมครับ

   เป็นเรื่องที่หลายๆ ที่น่าคิด

อย่างเช่นคำว่าโรงเรียน  เราอาจจะสอนแบบใหม่ให้สะกดเป็น

รอ โอ งอ โรง   แต่เด็กอาจจะคิดและเขียนแบบภาษาอังกฤษ เช่น

รอ โอ งอ รโง  เพราะแนวทางการสะกดเลียนแบบ CAT แคท

อันนี้เป็นตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ ครับ นศ.ในระดับมหาลัยก็มีหลายๆ เรื่องให้น่าสนใจมากกว่าการเรียนรู้ เป้นเรื่องที่อาจารย์ผู้สอนต้องปรับการะบวนการสอนเช่นกันครับ

จริงๆ แล้วหากคนมีคุณภาพนะครับ จะทำอะไรก็เจริญแน่นอนครับ ปัญหาคือจะทำอย่างไรให้คนบ้านเรามีความสุขในการใช้ชีวิตครับ

แล้วจะมาร่วมถกกันต่อนะครับ

 

พี่เห็นด้วยกับความเห็นน้องๆในทุกๆ อย่างนะครับ พี่จะไปเยอรมันอีกรอบ เดือนสองเดือนอาจจะมีโอกาสได้เจอบ้างครับ

มีความสุขในการเรียนนะครับ

www.somporn.net มาเยี่ยมได้ครับ

 

ด้วยมิตรภาพ

พี่เม้ง

ถ้ามาอย่าลืมบอกนะครับ อยากนัดพี่เม้งดื่มกาแฟ คุยกันแบบสบาย ๆ เกี่ยวกับเรื่องพัฒนาการศึกษา และ พัฒนาประเทศของเราซักครั้งครับ :)

สวัสดีครับน้อง

     ด้วยความยินดีครับ แล้วจะแจ้งข่าวไปนะครับผม คิดว่าเมษานี้อยู่ที่นั่นนะครับผม ขอให้สนุกกับการเรียนนะครับ

โชคดีนะครับผม

พี่เม้ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท