Ko
นาย เกียรติศักดิ์ แย้มกลีบบัว

พื้นฐานการจัดองค์ประกอบภาพถ่ายและเทคนิค ตอนที่ 1


บทนำ

บทความนี้ผมได้รวบรวมจากเว็บไซต์และหนังสือที่ผมอ่านจากหลายที่  ใช้เวลาเรียบเรียงและหาภาพประกอบนานอยู่หลายเดือน  และได้รับคำแนะนำปรึกษาด้านเนื้อหาจากช่างภาพอาชีพท่านนึงซึ่งมีประสบการณ์และอยู่ในวงการถ่ายภาพนานนับสิบปี  ภาพประกอบบางภาพได้รับความช่วยเหลือจากพี่ๆ และเพื่อนๆ  ที่ถ่ายภาพด้วยกัน

ผมคิดว่าบทความนี้น่าจะเป็นประโยชน์กับชาว GotoKnow และผู้ที่สนใจในการถ่ายภาพทุกท่าน  


เกียรติศักดิ์ แย้มกลีบบัว



พื้นฐานการจัดองค์ประกอบภาพถ่ายและเทคนิค
The Basics of position & technic ตอนที่ 1       

Basics of Composition


<ul style="margin-top: 0px; margin-bottom: 0px">

  • Pythagoras
  • THE GOLDEN MEAN
  • Golden Spiral
  • Golden Triangle
  • RULE OF THE THIRDS

  • </ul><div id="msg_32128" class="post">

    ปีทาโกรัส : Pythagoras


    ปีทาโกรัส เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะของนักคณิตศาสตร์ผู้คิดค้นสูตรคูณ หรือตารางปีทาโกเรียน (Pythagorean Table)และทฤษฎีบทในเรขาคณิตที่ว่า “ในรูปสามเหลี่ยมมุมฉากใด ๆ กำลังสองของความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก เท่ากับผลบวกของกำลังสองของความยาวของด้านประกอบมุมฉาก” และนักคณิตศาสตร์ชาวกรีกได้ประยุกต์เอาทฤษฎีของปีทาโกรัสมาประยุกต์ใช้ทางด้านสถาปัตยกรรมและทางด้านศิลปะ เป็นสูตรสำเร็จแห่งความสวยงามและลงตัวในทฤษฎีที่เรียกว่า  Golden mean ซึ่งทฤษฎีเหล่านี้เป็นที่ยอมรับ และใช้กันมาจนปัจจุบันนี้ </div>




    <p> </p> <div id="msg_32129" class="post"> THE GOLDEN MEAN

     ลังเล   เวลาถ่ายภาพสิ่งหนึ่งที่เราภาพพยายามทำก็คือ  การทำให้ภาพนั้นมีความน่าสนใจและเทคนิคง่ายๆ   ในหัวข้อแรกที่เราควรรู้ก็คือ “การจัดองค์ประกอบ”  เรามาดูทฤษฎีแรกกัน..


    การจัดองค์ประกอบแบบ golden mean

    golden mean   คือสัดส่วน (ratio) 1:1.6180339..  ซึ่งดูเหมือนกับอัตราส่วนของระบบฟิลม์ 35 มม.

    (24x36มม. = 5:7.5)    สูตรเรขาคณิตนี้  ถูกคิดให้สอดคล้องกับ golden mean  โดยเป็นหลักแนวทางสำหรับศิลปินมากมาย และเป็นแนวทางสำหรับช่างภาพสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี
    </div>

     



    Golden Spiral
      แบ่งภาพทีละ 1:1.618  ของด้านยาว แล้วลากจุดตัด เป็นเส้นโค้ง

     


    Golden Triangle     แบ่งเป็นสามเหลี่ยม 3 อัน  (แบ่งโดยใช้อัตราส่วน 1:1.618   )







    RULE OF THE THIRDS  (กฏสามส่วน)

    การถ่ายภาพโดยวางวัตถุอยู่ตรงกึ่งกลางภาพจะทำให้ภาพดูน่าเบื่อ    ดังนั้นเราจึงนำแนวคิดของกฏสามส่วนมาใช้จัดวางองค์ประกอบภาพ  เพื่อทำให้ภาพถ่ายดูน่าสนใจมากขึ้น  ซึ่งกฏสามส่วน ก็ถูกนำเอามาจาก golden mean ซึ่งเป็นทฤษฎีพื้นฐานดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น






    ตัวอย่างการใช้กฏสามส่วน แบ่งสัดส่วนพื้นที่ 1:3 และ 2:3  ของขนาดภาพ









    ตัวอย่างการใช้ กฏสามส่วน  โดยนำจุดสนใจของภาพไปวางบริเวณจุดตัด


    ภาพนี้จุดสนใจของภาพคือบริเวณดวงตาและใบหน้า
    ดังนั้นจะถือว่าเป็นจุดสนใจของภาพ
        







    ตัวอย่าง Golden Triangle









    ตัวอย่าง Golden Spiral






    ถ่ายภาพครั้งหน้าลองนำทฤษฎีด้านบนไปลองใช้ดูนะครับ



    ลังเล  ตามไปอ่านบทความตอนที่  2 - 3  จาก Link ด้านล่างเลยครับ

    พื้นฐานการจัดองค์ประกอบภาพถ่ายและเทคนิค
    The Basics of position & technic ตอนที่ 1
         

    พื้นฐานการจัดองค์ประกอบภาพถ่ายและเทคนิค
    TECHNIC:LAYERS FRAMING etc. ตอนที่ 2

    พื้นฐานการจัดองค์ประกอบภาพถ่ายและเทคนิค
    LINE(เส้น)  ตอนที่ 3 (จบ)

    หมายเลขบันทึก: 96419เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2007 17:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (27)

    ดีจังเลยค่ะ อธิบายพร้อมรูปประกอบ เห็นชัดมาก แล้วจะลองไปทำดูนะคะ

    ขอบคุณมากค่ะ

    ติดตามเป็นนักเรียนของอาจารย์โก้ ส่งการบ้านเลยนะครับ

     

    ขอบคุณมากค่ะ สำหรับการจัดองค์ประกอบและเทคนิคในการถ่ายภาพสวยค่ะ...

    มาตอบ คนชอบวิ่ง  ขอบคุณมากครับที่ติดตามบทความของผม

    ข้อแรก  อย่าเรียกผมว่าอาจารย์ เลยครับ  เพราะผมยังไม่เก่งถึงขนาดนั้น...  (เรียกซะผมเขินเลย)

    เรื่องภาพ
    นกวางอยู่ในตำแหน่งที่ค่อยข้างดี  แต่ยังดูอึดอัดเพราะพื้นที่ว่างด้านหน้าของตัวนก  มันน้อยไปเมื่อเทียบกับด้านหลัง  ปกติ ส่วนมากช่างภาพทั่วไปจะปล่อยพื้นที่ว่างด้านหน้าไว้ให้กว้างกว่าด้านหลังครับ  

    เสริมอีกนิด  *ถ้านกสองตัวนี้เป็นคนนั่ง.  ก่อนที่เราจะถ่ายเราต้องสั่งให้คนสองคนมองไปในทิศทางเดียวกัน    ภาพที่จะออกมาดูดีกว่ามองคนละทิศละทาง
    ครับ

    ขอบคุณ  คุณ paew  และ กมลวัลย์  ครับ ที่ติดตามชมบทความผม  

    ขอบคุณสมาชิกที่เข้ามาอ่านด้วยครับ 

    ตามมาชื่นชมด้วยคน ชอบเรื่องถ่ายภาพอยู่เหมือนกัน แต่หลายปีหลัง ๆ มานี้ทิ้งห่างเรื่องนี้จนเหมือนคนถ่ายภาพไม่เป็นเลย จะตามอ่าน ไว้จะเอาผลงานมาให้ชมมั่ง

     

    • วิทยาทาน ได้กุศล พี่โก้
    แจ่มมาเลยเพื่อน...................................อธิบายดีมากๆๆสมแล้วที่เป็น โปร....
    • เยี่ยมเลยครับคุณโก้
    • ขอบคุณมากที่ได้รวบรวมทฤษฎี พื้นฐานการถ่ายรูป
    • ครั้งหน้าน่าจะเป็นวิธีการถ่ายรูปในสถานการณ์ต่างๆนะครับ
    • แล้วจะมารออ่านนะครับ
    • ผมใช้ fuji s6500fd นะครับ
    องค์ประกอบภาพนี่ ช่วยทำให้ภาพที่ถ่ายออกมาดูสวยจริงๆค่ะ ค่อยๆฝึกถ่ายบ่อยๆ หลายๆแนวน่าจะทำได้ ขอบคุณความรู้ที่มอบให้ค่ะ รายละเอียดครบจริงๆ ;p

    เราจะทำไงดีค่ะ ถ้าต้องรูปที่เป็นก็อกซิ้งค์ เคยสังเกตไหมค่ะว่าพอเวลาถ่ายแล้ว ตัวก็อกมันจะดูดทุกสิ่งที่ใกล้ตัวมาหมด ทำไงให้ถ่ายภาพสวยไม่มีสีอื่นปน

    แวะมาตอบ "คุณ เหน่ง"

    ก๊อกน้ำโลหะ
    คุณสมบัติมันจะสะท้อนเหมือนกระจก  ซึ่งคุณสมบัตินี้เอง ซึ่งเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งในการสร้างสรรค์ภาพให้น่าสนใจมากขึ้น   ในบทความพื้นฐานในบทที่ 2  ก็มีเขียนเทคนิคนี้ลงไว้ "REFLECTIONS/MIRRORS (ภาพเงาสะท้อน/ภาพกระจกสะท้อน)"
        

    ภาพสะท้อนเงาของรอบตัวหรือให้เห็นมือบ้าง เห็นคนบ้างภาพจะออกแนวสื่อความหมาย  แบบว่าส่วนที่เหลือให้คนดูคิดต่อเอาเอง ซึ่งก็สามารถเดาได้ไม่ยากจากมุมมองที่เราคุ้นเคยกันในชีวิตประจำวัน


    ส่วนเรื่องถ่ายยังไงไม่ให้มีสีอื่นมาปน.. 

    สองดูภาพในโบชัวผลิตภัณฑ์ในห้องน้ำดูนะครับ  มุมแบบนั้นเลย     ถ้าถอดมันออกมาถ่ายไม่ได้  ก็เอากระดาษขาวเหลือผ้าดำ  ไปคลุมไว้ไม่ให้เห็นฉากเลยก็ได้ครับ   จากนั้นใช้แสงช่วยให้เป็นรูปทรงอันสวยงามของก๊อก  ...    ผมว่านะจะพอไหวนะครับ

    เทคนิคในการใช้แสง แนะนำให้ใช้แบบนี้>  "มาโครหลังดำ"  เพื่อที่จะตัดฉากหลังออกไปตามต้องการ

    มีการบ้านส่งเเล้ว

    เรื่องภาพ

    นกวางอยู่ในตำแหน่งที่ค่อยข้างดี แต่ยังดูอึดอัดเพราะพื้นที่ว่างด้านหน้าของตัวนก มันน้อยไปเมื่อเทียบกับด้านหลัง ปกติ ส่วนมากช่างภาพทั่วไปจะปล่อยพื้นที่ว่างด้านหน้าไว้ให้กว้างกว่าด้านหลังครับ

    พื้นที่ข้างหน้า กับพื้นที่ข้างหลัง คืออะไรหรอคะ

    คือถ่ายให้เห็นมีพื้นที่จากตัวนกมาด้านหน้า ก็คือขยับให้นกไปอยู่ที่เส้น 2/3ของภาพหรือเปล่าคะ เพิ่งศึกษา เลยยังไม่ค่อยเข้าใจ ขอคำชี้แนะด้วยคะ

    เทคนิคดีมากๆเรยค่ะ

     

    เป็นประโยชน์และได้ความรู้มากๆๆ

     

    (กำลังจะทำรายงานพอดี ขอยืมความรู้เป็นวิทยาทานหน่อยนะคะ))

     

    กวางชอบถ่ายรูปเหมือนกัน(แต่ส่วนมากชอบให้คนื่นถ่ายกวางมากกว่า  แหะๆ)

     

    ดูภาพถ่ายได้นะคะ>>http://bameejung.hi5.com<<

     

    ขอบคุณมากๆนะคะ  สำหรับเทคนิคดีๆค่ะ

     

     

    เทคนิคดีมากๆเรยค่ะ

    เป็นประโยชน์และได้ความรู้มากๆๆ

    (กำลังจะทำรายงานพอดี ขอยืมความรู้เป็นวิทยาทานหน่อยนะคะ))

    กวางชอบถ่ายรูปเหมือนกัน(แต่ส่วนมากชอบให้คนอื่นถ่ายกวางมากกว่า แหะๆ)

    ขอบคุณค่ะ

    สำหรับเทคนิคดีๆอย่างงี้

    เพราะพุ่งนี้ต้องไปสอบตรงที่ มทรก.สาขาการถ่ายภาพและภาพยนต์

    ทั้งที่ไม่ค่อยจะรู้เรื่องอารายเกี่ยวกะเรื่องการถ่ายภาพ(โง่นั่นเอง)

    เพราะเรียนพหุศิลป์สาขาAnimationมันจะเกี่ยวกะกราฟฟิกมากกว่า

    ยังไงก้อขอกำลังจัยด้วยนะคะ

    ถ้าสอบผ่านยังไงก้อจามาเม้นกลับอีกที

    ตามมาเรียนด้วยคนค่ะ

    ขอบคุณมากค่ะ ^___^

    ขอบคูณสำหรับเทคนิคดีดีนะคะ

    ขออนุญาติ นำไปเผยแพร่ต่อนะครับ....เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นในวงกว้างมากขึ้น

    http://www.pdamobiz.com/forum/forum_posts.asp?TID=276390&PN=1&TPN=1

    ขอชื่นชมฝีมือการภ่ายภาพ และการเขียนที่เข้าใจง่าย น่าอ่าน

    Yo

    ขออนุญาตินำไปเก็บในเวบไซต์ส่วนตัว เพื่ออ่านเอง และให้เพื่อน ๆ เข้ามาอ่านนะครับ

    http://www.hutpaza.com

    มีประโยชน์สำหรับมือใหม่อย่างผมครับ หามาเขียนใว้เยอะๆนะครับ จะได้ตามมาอ่าน ขอบคุณครับท่าน

    ขอบคุณครับ ..

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท