โต๊ะกลมบูรณาการ : จากเมฆบนฟ้า สู่การพัฒนาชาติ


ประเทศไทยเองก็มีกระทรวง ทบวง กรม กอง ต่างๆ ในชาติที่พร้อมสมบูรณ์อยู่แล้ว แต่ละองค์กร ก็จะเกี่ยวอยู่ในระบบที่ผมยกตัวอย่างมา ไม่มากก็น้อย ดังนั้น เพียงแต่เราจะจัดการบริหารให้องค์กรที่เรามีทำงานประสานกันให้เกิดการบูรณาการร่วมกัน โดยเอาคนที่มีความสามารถแต่ละส่วนมาทำงานร่วมกัน

สวัสดีครับทุกท่าน

         เมื่อวันก่อนได้เปิดโต๊ะกลมทางการศึกษาไปแล้ว สภาการศึกษา G2K : สวนสมรม โต๊ะกลมการศึกษา (ร่วม(เปิด-->บ่ม)ประเด็นครับ) วันนี้ มาคุยกันต่อ ในส่วนของโต๊ะกลมบูรณาการ เมื่อวานและวันนี้ ก็มีพายุเข้าที่พม่าและบังคลาเทศ คงได้รับผลกระทบกันตามๆ กันนะครับ ยังไงผลกระทบเองก็คงส่งผลมาสู่การทำให้ฝนตกในเมืองไทยเหมือนกันนะครับ

         วันนี้ผมเลยอยากจะเปิดโต๊ะกลมบูรณาการตรงนี้ โดยเริ่มกันที่น้ำบนฟ้านะครับ นั่นคือเริ่มกันที่เมฆบนฟ้าเลยครับ เมฆบนฟ้าก็คือน้ำฟ้านั่นเองครับ

เริ่มกันที่เมฆนะครับ ท่านๆ ก็คงทราบกันแล้วนะครับ ว่าเมฆบนฟ้าเกิดขึ้นได้อย่างไร หากยังสงสัย ก็ตามไปอ่านได้ที่บทความนี้นะครับ เกิดพายุอยู่ที่ไหน คุณก็รู้ได้ ด้วยข้อมูลเหล่านี้ครับ (ดูภาพตอนนี้ อนาคต)

จากที่เราทราบว่า เมฆเกิดจากการรวมตัวของไอน้ำที่เกิดจากพื้นผิวโลก ไม่ว่าจะเป็นน้ำจากแหล่งต่างๆที่ได้รับพลังงานความร้อนลงไปทำให้น้ำระเหยและกลายเป็นไอ จนลอยตัวสูงขึ้นไปรวมกลุ่มกันเป็นเมฆในชั้นบรรยากาศ นอกจากจะเกิดมาจากพลังงานความร้อนแล้ว ยังมีต้นไม้และป่าไม้อีกด้วยนะครับ ที่มีการดูดน้ำจากดินขึ้นสู่ลำต้น แล้วก็คายน้ำออกสู่ชั้นบรรยากาศผ่านทางปากใบ การที่ต้นไม้ต้องดูดน้ำผ่านลำต้นน้ำ ก็มีผลดีหลายๆ อย่างเช่น ต้องการจะลดอุณหภูมิในร่างกายของต้นไม้เองด้วย และต้องการใช้น้ำในการสังเคราะห์แสงเช่นกัน ดังนั้น ไอน้ำในบรรยากาศ ก็เกิดจากการคายน้ำของป่าด้วยใช่ไหมครับ จะเห็นว่าตรงไหนมีป่าไม้ มีสีเขียวเมฆจะลอยต่ำๆ นั่นคือ เมฆเหล่านั้นได้รับไอน้ำจากผืนป่านั่นเองครับ

ต่อมามองที่ตัวเมฆกันบ้างครับ กว่าไอน้ำหลายๆ ไอจะมารวมกันเป็นกลุ่มเมฆนั้น ก็ต้องผ่านกระบวนการในการรวมกันตามธรรมชาติ กว่าจะได้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมนั้นก็ขึ้นกับสภาพในแต่ละพื้นที่ด้วย ดังที่เราจะเห็นการทำฝนเทียมนะครับ ต้องศึกษาคุณสมบัติของเมฆด้วยก่อนที่จะฉีดสารเคมีลงไปในก้อนเมฆ เพื่อจะให้เกิดเป็นการรวมตัวสร้างสภาพแวดล้อมให้เกิดเป็นเมฆฝนได้อย่างไร ลักษณะเมฆแบบไหนที่จะทำให้เกิดฝนได้ จะต้องบินอย่างไร ฉีดสารอย่างไรให้เหมาะสม ปริมาณเท่าไหร่ ใช้เวลานานแค่ไหน

นั่นคือตัวอย่างงานวิจัย ดังนั้นเรามามองกันต่อไปนะครับ

จากเมฆที่ลอยๆ อยู่บนอากาศเหล่านั้น หากจะทำฝนเทียมจะต้องทำอย่างไร ดังที่ได้เกริ่นไว้แล้ว หากจะปล่อยให้เป็นตามธรรมชาติ มันจะเกิดกระบวนการอย่างไร เราจะทราบได้หรือไม่ว่าในก้อนเมฆต่างๆ เหล่านั้นเกิดกระบวนการอะไรอยู่บ้าง หากเราทำให้กลายเป็นเมฆฝนแล้ว จะเกิดฝนปริมาณเท่าไหร่ ฝนจะตกบริเวณไหน ทิศทางลมเป็นอย่างไร สภาพอากาศเป็นอย่างไร ความกดอากาศเป็นอย่างไร มีสภาพที่เหมาะสมไหม จนได้คำตอบว่าจะเกิดฝนอย่างไร แค่ไหน

จากนั้นเมื่อเกิดปริมาณน้ำฝนลงมา ฝนจะตกด้วยปริมาณขนาดไหน ตกลงสู่พื้นที่ใดบ้าง แต่ละพื้นที่มีสภาพภูมิประเทศเป็นอย่างไร ความสูงต่ำของพื้นที่เป็นอย่างไร น้ำจะท่วมไหม มีโครงสร้างดินเป็นอย่างไร น้ำจะซึมผ่านชั้นดินอย่างไร น้ำในดินอิ่มตัวแล้วแค่ไหน น้ำจะไหลไปอย่างไร มีหมู่บ้านรองรับมากไหม จะเกิดอุทกภัยหรือไม่ ปริมาณน้ำตกลงไปในพื้นที่แบบใด เกษตรกรรม หรือว่าตัวเมือง จะจัดการบริหารจัดการน้ำเหล่านั้นอย่างไร

มาถึงส่วนการบริหารจัดการน้ำ น้ำเหล่านั้น จะมีปริมาณแค่ไหน ตกลงไปแล้วประชาชนจะเอาน้ำเหล่านั้นไปทำอะไรได้บ้าง จะบริหารเก็บกักน้ำไว้ได้ไหม เพียงพอต่อการประกอบอาชีพหรือไหม หรือจะบริหารให้น้ำไหลผ่านบริเวณพื้นที่ต่างๆ ได้อย่างไร เพื่อให้เกิดการใช้น้ำให้คุ้มค่ามากที่สุด จะปลูกต้นไม้ หรือวางแผนการปลูกป่าอย่างไร หรือว่าพืชเศรษฐกิจอย่างไร ในชุมชนของชาวบ้าน

เมื่อทราบว่าน้ำตกลงมามากแค่ไหน น้ำไหลไปทางไหนอย่างไร การวางแผนต่อไปคือ ในพื้นที่ต่างๆ เหล่านั้น จะปลูกอะไรดีสำหรับเกษตรกร ประกอบกับพื้นที่ที่มีโครงสร้างดินแบบนี้ เหมาะจะปลูกพื้นอะไร โดยมีการวางแผนถึงระดับการจัดการเรื่องการเจริญเติบโตของพืชผัก ผลไม้ ต้นไม้ ป่าไม้ และนำไปสู่การแบ่งปันแจกจ่ายให้คนในภูมิภาคต่างๆ มีกิน แบ่งปันกันทั่วถึงได้อย่างไร ทำให้คนชายทะเล มีสะตอ ผักกาดขาว ได้มีกินด้วย คนชายเขา ที่ราบสูงก็มีปลาทู กุ้งให้กินได้เช่นกัน จะมีการวางแผนการแจกจ่ายอย่างไร ให้มีกินทั่วประเทศ หากเหลือก็แบ่งปันให้ต่างชาติได้ลองชิมผลผลผลิตของไทยเช่นกัน

ทางเศรษฐกิจ ทางการค้า การวางแผนจะทำอย่างไร จะให้เกิดสหกรณ์ของชุมชน การวางแผนในระดับชุมชนในการสร้างสัมคมชุมชนเข้มแข็งได้อย่างไร ให้เกิดความเข้มแข็งตั้งแต่ระดับพื้นฐาน ไปจนสู่ทั่วทุกภูมิภาค

ส่วนทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ก็คิดหาทางในการบริหารจัดการน้ำอย่างไร ก่อนจะนำไปใช้ ให้เกิดเป็นพลังงานที่เป็นประโยชน์หลายๆ ทาง ก่อนจะส่งถ่ายไปยังชุมชนที่วางอยู่ในบริเวณต่างๆ

ต่อไปส่วนการที่น้ำไหลลงมาในดินน้ำ ผ่านชั้นดินต่างๆ น้ำจะไหลลงสู่ชั้นล่างก่อนตามรูปแบบของดินจากนั้นดินจะเกิดการอิ่มตัวแล้วน้ำจะไหลไปในแนวระนาบ จะมีการวางแผนการปลูกต้นไม้และป่าไม้ อย่างไร ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว โดยศึกษาทั่วทุกบริเวณทั่วประเทศ จะทำให้ทราบที่มาที่ไปของโครงสร้างและดินแต่ละที่มีการรับน้ำฟ้าได้อย่างไรบ้าง

ต่อมาเมื่อมีความหลากหลายเกิดขึ้นแล้ว ก็สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ไว้ เป็นฐานข้อมูลชุมชน ฐานข้อมูลภาค ฐานข้อมูลชีวิต ฐานข้อมูลทางการเกษตร ดินฟ้าอากาศ พืชพันธุ์ ประมง ทรัพยากรต่างๆ น้ำ ป่าไม้ รวมเข้าเป็นฐานข้อมูลชาติเดียวกันแล้ว ซึ่งเชื่อมโยงถึงกันเป็นฐานข้อมูลเดียว ก็จะสามารถใช้กระบวนการทางคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ สถิติ และศาสตร์ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มาบูรณาการเข้าหากัน จนกลายเป็นการทำเหมืองแร่ข้อมูล ให้เกิดขึ้น ก็จะกลายเป็นฐานความรู้ใหม่ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการชุมชน ภาคส่วน และชาติ ได้

การเชื่อมโยงภาพ การแสดงผลตั้งแต่การเกิดเมฆมาสู่การเป็นฝน แล้วตกลงมา สู่พื้นดิน แสดงไปถึงการเกษตรในการโตและคลังข้อมูลต่างๆ ที่มี นำมาแสดงรวมกันให้เห็นเป็นภาพรวมของประเทศ เห็นกระบวนการเกิดเป็นวงจร จะนำไปสู่การอธิบายให้เด็กๆ ในชาติ เข้าใจถึงกระบวนการเกิดและวนเวียนในระบบได้อย่างเข้าใจเป็นอย่างดีมากขึ้น จะนำไปสู่ความยั่งยืนในการดำรงชีวิตแบบพอเพียงและเข้าใจธรรมชาติได้มากขึ้น

จากที่ผมกล่าวมาทั้งหมด เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งจากการเริ่มต้นมาจาก น้ำบนฟ้า หรือจากเมฆนั่นเอง คุณจะเห็นว่า กระบวนการต่างๆ จะมีที่มาที่ไป แล้วเกี่ยวข้องกันตลอด กระทบกันทุกที่ จะเห็นว่าไม่มีการแบ่งแยก เพราะระบบจะเชื่อมโยงกันเองอย่างธรรมชาติ ประเทศไทยเองก็มีกระทรวง ทบวง กรม กอง ต่างๆ ในชาติที่พร้อมสมบูรณ์อยู่แล้ว แต่ละองค์กร ก็จะเกี่ยวอยู่ในระบบที่ผมยกตัวอย่างมา ไม่มากก็น้อย ดังนั้น เพียงแต่เราจะจัดการบริหารให้องค์กรที่เรามีทำงานประสานกันให้เกิดการบูรณาการร่วมกัน โดยเอาคนที่มีความสามารถแต่ละส่วนมาทำงานร่วมกัน โดยเน้นการพัฒนาชาติร่วมกัน ตามพลังที่แต่ละฝ่ายภาคส่วนมีพลังแล้วรวมพลังเข้าหากัน จะเกิดการบูรณาการที่ยิ่งใหญ่ครับ

เชิญท่านบรรเลงในส่วนอื่น หรือจะเติมเต็มก็ได้นะครับ (บังเอิญบทความนี้ ผมได้พิมพ์มาหนึ่งรอบแล้วแต่หายหมดเกลียงในพริบตาแบบไม่สามารถใช้เทคนิคการป้องกันการจุกเสียดได้เพราะมันปิดหน้าต่างผมไปเลย อิๆ แต่ผมก็พิมพ์มาใหม่ เพราะมันอยู่ในกระบวนการและระบบคิดอยู่แล้ว แม้ว่าอาจจะสลับที่การเรียงเนื้อหากันไปบ้าง ก็หวังว่าท่านจะสามารถจินตนาการตามไปด้วยระหว่างการอ่านได้นะครับ)

ขอบคุณมากๆ นะครับ

เม้ง สมพร ช่วยอารีย์

หมายเลขบันทึก: 96405เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2007 16:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 20:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • สวัสดีค่ะอาจารย์เม้ง เปลี่ยนรูปใหม่ เท่ห์จังเลย  จำไม่ได้เลยค่ะ
  • วันนี้ได้รับความรู้เรื่องเมฆ ฟ้า ฝนอย่างล้นหลามเลยค่ะ 
  •  เห็นด้วยกับประโยคนี้ของอาจารย์ค่ะ การพัฒนาชาติร่วมกัน ตามพลังที่แต่ละฝ่ายภาคส่วนมีพลังแล้วรวมพลังเข้าหากัน จะเกิดการบูรณาการที่ยิ่งใหญ่ครับ
P

สวัสดีครับคุณอ้อ

  • ขอบคุณมากครับ แหม นานๆ คนชมทีครับ
  • โชคดีในการทำงานนะครับ
  • อิๆ แล้วได้น้ำฝนไปด้วยไหมครับ ในเมืองไทยนะครับ
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ

แวะมาเก็บเกี่ยวความรู้เกี่ยวกับเมฆ ฟ้า ฝน ค่ะมีอะไรให้เราศึกษามากมายจริงๆ

ขอบคุณมากค่ะ

P

สวัสดีครับคุณนุ้ย

  • สบายดีไหมครับ
  • ใช่แล้วครับ น้ำคือชีวิต มีน้ำ มีชีวิต
  • มีน้ำดี มีชีวิตที่ดี ตามมาครับ
  • มันเกี่ยวข้องโยงใยกัน เหมือนสายน้ำใช่หรือเปล่าครับ
  • คนเราก็เช่นกันครับ เกี่ยวโยงกันเป็นเครือข่าย และต้องใช้น้ำ
  • ขอให้คุณนุ้ยทำงานอย่างมีความสุขครับ
P

ห้าๆๆๆๆ กราบสวัสดีครับท่านครู

  • แก้อะไรเอ่ยครับ..... ระวังเป็นหวัดนะครับ
  • เดี๋ยวปอดบวมได้ครับผม
  • ชาวเกษตรกร ตื่นมาปลูกพืชกันได้นะครับ ฝนตกทั่วไทยแล้ว ยังไงก็อย่าปล่อยโอกาสนี้ ให้เมล็ดพันธุ์ดีๆ ต้องค้างปีนะครับ
  • วางแผนให้ดี เพื่อมีต้นไม้ใหญ่เอาไว้กันพายุรอบบ้านครับ ผมจะวางแผนให้ที่บ้านปลูกกันเหมือนกันครับ
  • ขอบคุณมากครับ
  • "ประเทศไทยเองก็มีกระทรวง ทบวง กรม กอง ต่างๆ ในชาติที่พร้อมสมบูรณ์อยู่แล้ว แต่ละองค์กร ก็จะเกี่ยวอยู่ในระบบที่ผมยกตัวอย่างมา ไม่มากก็น้อย ดังนั้น เพียงแต่เราจะจัดการบริหารให้องค์กรที่เรามีทำงานประสานกันให้เกิดการบูรณาการร่วมกัน โดยเอาคนที่มีความสามารถแต่ละส่วนมาทำงานร่วมกัน โดยเน้นการพัฒนาชาติร่วมกัน ตามพลังที่แต่ละฝ่ายภาคส่วนมีพลังแล้วรวมพลังเข้าหากัน จะเกิดการบูรณาการที่ยิ่งใหญ่ครับ"   พบว่าต่างคนต่างทำมากกว่ามังคะ
  • น้องสังเกตมั้ยว่ากีฬาไทยถ้าแข่งขันคนเดียว เช่น มวย เราเป็นโลดนะ แต่ถ้ากีฬาเป็นทีมคิดหนักนะ (แฮะ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ  ขอโทษด้วยหากพูดความจริ๊ง .....จริง) 
P

สวัสดีครับพี่อัมพร

  • ขอบคุณมากนะครับ พี่ชอบพูดความจริงอยู่เรื่อยๆ เลยครับ
  • หากเราเข้าใจเรื่อง ขา และหน้า ได้เป็นอย่างดี ผมเชื่อว่าบ้านเราจะต้องพัฒนาไปไกลอย่างแน่นอนครับ เพราะเรามีองค์กรเหล่านั้นเพียบแล้วจริงๆ นะครับ
  • สำหรับกีฬาประเภทเดี่ยว ใช่แล้วครับ เราเป็นหนึ่งเสมอ
  • ผมดีใจนะคับ เมื่อสองสามปีก่อน ที่เด็กไทย ทำงานทางด้านบูรณาการเกี่ยวกับ การจำลองการเดินของกิ้งกือนะครับ เป็นการบูรณาการที่เป็นแบบอย่างของประเทศเลยครับ น่าจะเอามาเป็นแบบอย่างนะครับ ได้รางวัลด้วยนะครับ
  • ขอบคุณมากครับ

เมื่อวานพี่ขึ้นเครื่องบินเขากรุงเทพฯไปนำเสนอโครงการผู้สูงอายุ...สังคมอนาคต...กับกระบวนการปรับเปลี่ยนกรอบวิธีคิด ...ขณะอยู่บนเครื่องบิน...ประมาณ 08.00 น....พี่มองลอดหน้าต่างออกไป...แล้วสังเกตุต่อจากคำถามของพี่ในเกิดพายุอยู่ที่ไหน คุณก็รู้ได้ ด้วยข้อมูลเหล่านี้ครับ (ดูภาพตอนนี้ อนาคต) ...และคำอธิบายของน้องเม้งรวมทั้งน้อง...

 

พี่สังเกตุเห็นเมฆแบ่งเป็นชั้นๆ...นับดูได้ตั้ง 4 ชั้น(อาจมีมากกว่านั้นนะ...ที่พี่อาจมองไม่เห็นเพราะเครื่องบินไม่บินสูงขึ้นไปอีก)..

 

พี่เลยตั้งข้อสงสัยว่า ทำไมมันจึงแบ่งเป็นชั้น(ระยะห่างแต่ละชั้นกว้างพอควรทีเดียว)...แล้วอยู่ ๆ เมื่อพระอาทิตย์ส่องแสงแรงกล้าจนบางชั้นค่อย ๆ สลาย...ราวกับว่าจะระเหยลอยขึ้นไปรวมกับชั้นบนได้อีกประมาณนั้น...แล้วตกลงมันไปได้สูงสุดแค่ไหน...

 

...คล้ายกับว่าธรรมชาติยังแบ่งชั้นวรรณะ...และก็มีเพดานสูงสุด...

 

หรือว่าเป็นเราที่ไม่เข้าใจธรรมชาติ...ไม่อยากให้มีการแบ่งชั้นวรรณะกัน...55555

 

P

สวัสดีครับพี่สอน

  • ใช่แล้วครับพี่สอน เมฆนั้นแบ่งชั้นจริงๆ นะครับ
  • คือมีเมฆชั้นต่ำ ชั้นกลาง และชั้นสูงครับ
  • ในภาพดาวเทียมที่พี่ดูนะครับ พี่จะเห็นว่า มันคือการรวมของเมฆชั้นสูงและเมฆชั้นกลางเข้าด้วยกันครับ
  • ส่วนเมฆชั้นต่ำ นั้น คือมองไม่ค่อยเห็นนะครับ หากมีก็ไม่หนามาก ทำให้ความเข้มของสีขาวในภาพดาวเทียมไม่ขาวเท่าที่ควรเป็นแค่ฝ้าๆ ครับ
  • จำได้ที่เค้าว่า ยิ่งสูงยิ่งหนาว ใช่ไหมครับ แต่ละชั้นก็หนาวต่างๆ กันครับ เหมือนแบ่งสวรรค์ นรกไงครับ ที่เค้าแบ่ง 16 ชั้นฟ้า 15 ชั้นดิน และมีชั้นที่เรายืนอยู่ด้วยอีกหนึ่งชั้น  คนสมัยก่อน รุ่นปู่ย่าตายาย เค้าก็มันพูดถึงสิ่งเหล่านี้ กับความดีความชั่วนะครับ ให้คนรู้สึกว่า ควรเดินทางไหนครับ
  • เมฆแต่ละชั้นก็เป็นการรวมกันของไอน้ำนะครับ สิ่งเหล่านี้มันก็เกิดแล้วสลายได้ตลอดเวลา อยู่ที่อุณหภูมินะครับ จะเกิดฝนหรือไม่ก็อยู่ที่เหตุปัจจัยที่ประกอบกัน
  • อย่างบางที่ยอดภูเขาน้ำตก เราจะเห็นเมฆอยู่แค่เอื้อมและฝนตกลงมาตลอดเวลา ผมเคยขึ้นไปที่น้ำตาบาโจ ที่นราธิวาสครับ ชั้นสูงสุด หูอื้อเลยครับพี่ แต่ว่าเห็นน้ำหยุดไหลต่อเนื่องจากรากไม้ ฝนตกที่ด้านบน มีบ่อโคลนรองรับน้ำ ก่อนจะตกลงมาด้านล่าง
  • ธรรมชาติมีกระบวนการของมันอยู่ครับ ในดินก็มีชั้นดินของมันอยู่ครับ จนไปถึงแกนโลกนะครับ เค้าว่ากันว่า ที่ใจกลางโลกคือสิ่งที่แข็งที่สุด ห้อมล้อมด้วย ของเหลว ที่มีแรงดันที่จะไปโผล่เป็นภูเขาไฟในบางที่ตามปัจจัย แล้วห่อหุ้มด้วยเปลือกแข็งหลายๆ ชั้นอีกทีหนึ่งครับ
  • จริงๆ แล้ว จะแบ่งชนชั้นหรือไม่ไม่ใช่สำคัญครับ สำคัญที่ว่า เราจะอยู่ร่วมกันได้อย่างความผาสุกได้อย่างไรมากกว่า
  • เพราะคนเรามันต่างกันเสมอ ไม่มีใครเหมือนกับใคร เพียงแต่การรับส่งความดีต่อกัน มันต้องจูนเครื่องให้ตรงกันก่อน ถึงจะพูดกันได้ใช่ไหมครับ เหมือนเอาหัวใจเบอร์เดียวกัน มาอยู่รวมกันก็คงอยู่ด้วยกันได้ใช่ไหมครับ
  • หากหัวใจคนละเบอร์เลือดก็คงไหลด้วยอัตราที่ไม่เท่ากัน อาจจะมีปัญหาได้ หรือเปล่าหนอครับพี่
  • เรื่องเมฆมันจะไปสูงสุดที่ไหน คือมันไม่สามารถหลุดไปจากชั้นบรรยากาศได้นะครับ มากสุดคืออยู่ในระดับเมฆชั้นสูงเท่านั้น แล้วชั้นนี้หล่ะครับ ที่จะมีผลให้ต้องเกิดฝนตกลงมาเสมอครับ ดังนั้น ไอน้ำไม่มีทางหลุดออกจากโลกนี้ไปครับ นี่หากเรามองให้โลกเป็นระบบปิด มันก็ปิดนะครับ แล้วประกอบกับโลกต้องหมุนรอบตัวเองด้วยครับ มันจะเป็นการดึงมวลอากาศเข้าสู่ศูนย์กลางด้วย นั่นคือทำให้สภาพอากาศที่ห้อมล้อมโลกต้องปรับตัวไป เกิดเป็นการหมุนแบบไดนามิกส์ ที่เราเจอ ว่ามีพายุบ้าง อะไรบ้าง แล้วแต่ครับ ตามสภาพปัจจัยครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ พี่คือนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งเลยนะครับเนี่ย นับว่าพี่ได้บูรณาการหลายๆ อย่างในชีวิตเข้าด้วยกัน ได้อย่างดีครับ จึงประมวลผลออกเป็นคำถามเหล่านี้ออกมาครับ หากเด็กไทยรุ่นใหม่ช่างสงสัยอะไรทำนองนี้ ผมเชื่อว่า แนวทางใหม่ของเมืองไทยก็ย่อมอยู่ไม่ไกล แนวทางใหม่คือ แนวทางแห่งการเข้าใจธรรมชาตินะครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท