การศึกษา..เป็น..การลงทุน ด้วยเงิน หรือด้วยใจ (ธุรกิจหรือของฟรี)


เด็กเกิดมาแล้ว เด็กขาดอะไร ครูให้อะไร สังคมได้อะไร.....พอการศึกษาต้องลงทุน ต้องทำงานหาเงินเพื่อไปแลกกับความรู้ ที่แน่ๆ จ่ายเงินไปแล้วแต่ความรู้ได้หรือไม่นี่ซิครับ จะเอาความตั้งใจและความอยากเป็นคนดีช่วยเหลือสังคม ไปแลกกับการศึกษาในระบบได้ไหมครับ

สวัสดีครับทุกท่าน

            สบายดีกันทุกคนใช่ไหมครับ ช่วงนี้ฝนอาจจะตกบ่อยครับ ยังไงก็รักษาสุขภาพกายด้วยนะครับ ส่วนสุขภาพใจเข้าใจเบิกและฝากกันได้ที่ธนาคาร G2K แห่งนี้ครับ

            เมื่อคืนนอนตอนตีสี่แล้วครับ แต่เปิดทีวีช่องเก้า (เปิดแต่เสียง) ของเมืองไทยทิ้งไว้ ได้ข้อมูลและอาหารสมองก่อนนอน เป็นข้อมูลที่น่าสนใจมากเลยทีเดียวครับ เกี่ยวกับการศึกษา

เสียงสาวท่านนั้นในทีวีกำลังพูดคุยกันกับพิธีกร นะครับ

แล้วเธอก็พูดคุยเกี่ยวกับการศึกษา และเรื่องงบประมาณเฉลี่ยต่อปีที่ต้องใช้ หรืองบประมาณแรกเข้า อะไรทำนองนี้นะครับ

  • ระดับอนุบาล ใช้งบประมาณเฉลี่ย ประมาณ 12,000 บาท ต่อคนต่อปี

  • ระดับประถมศึกษา ใช้งบเฉลี่ย ประมาณ 10,000 บาท ต่อคนต่อปี

  • มัธยมศึกษาใช้งบประมาณเฉลี่ย ประมาณ 15,000 บาท ต่อคนต่อปี

  • ปวช. ปวส. ใช้เฉลี่ยประมาณ 20,000 บาท ต่อคนต่อปี

  • ระดับอุดมศึกษา ใช้เฉลี่ยประมาณ 40,000 บาท ต่อคนต่อปี

ตอนนี้ ผมชักสับสนแล้วครับ ว่างบที่กล่าวมาด้านบน นั้น ต่อเทอม หรือ ต่อ ปี กันแน่ครับ ท่านอื่นได้ฟังไหมครับ รบกวนยืนยันอะไรหน่อยนะครับ น่าจะช่วงเวลาประมาณ 9-10 โมงเช้าของวันนี้ (9 พ.ค. 2550) นะครับ

เรื่องหนักใจของผม ไม่ใช่อยู่ที่ ไม่รู้ว่าค่าใช้จ่ายเหล่านั้น เป็นต่อเทอม หรือต่อ ปีหรอกครับ แต่ผมคิดถึง การศึกษา กับการลงทุน ว่าที่แท้จริงแล้ว การศึกษา มันควรจะลงทุนด้วยเงิน หรือ ด้วยใจกันแน่ หรือว่าต้องมีอะไรเพิ่มเติม

ทำให้คำตอบส่วนหนึ่งของผมชัดขึ้นมากจากคำถามที่วางไว้ ที่ เด็กสองแสน(200,000) คนหายไปไหน ใครตอบได้ช่วยบอกทีครับ (การศึกษา)

การศึกษาจะให้ฟรีได้ไหม โดยรัฐบาลลงทุน

การให้การศึกษา ----> การได้รับการศึกษา -----> การถ่ายทอดการศึกษาสู่สังคม ----> การประเมินผลการศึกษา -----> การให้การศึกษา.....(วนเวียน)

จากแรกเกิด

         เด็กเกิดมาแล้ว เด็กขาดอะไร ครูให้อะไร สังคมได้อะไร.....พอการศึกษาต้องลงทุน ต้องทำงานหาเงินเพื่อไปแลกกับความรู้ ที่แน่ๆ จ่ายเงินไปแล้วแต่ความรู้ได้หรือไม่นี่ซิครับ  จะเอาความตั้งใจและความอยากเป็นคนดีช่วยเหลือสังคม ไปแลกกับการศึกษาในระบบได้ไหมครับ

คุณคิดอย่างไรครับ ความสมดุลควรจะอยู่ตรงไหนครับ ระหว่างทุนกับใจและสิ่งอื่น

เชิญท่านบรรเลงนะครับ

ขอบคุณมากครับ

เม้ง สมพร ช่วยอารีย์

หมายเลขบันทึก: 95223เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2007 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)
  • น้องบ่าว
  • พี่มองประเด็นแบบนี้ครับ
  • อยากให้ทุกคนได้เรียนและรัฐบาลควรทุ่มงบประมาณทางการศึกษามากกว่านี้
  • ไม่ใช่ทุ่มแต่การซื้ออาวุธมันหมดสมัยแล้ว
  • ขอบคุณครับผม
ตามมาลงทะเบียนก่อนค่ะคุณเม้ง จะมาเข้าเรียนวันหลัง กลัวหมดสิทธิ์ อิ อิ เราควรจะทุ่มงบประมาณในการติดอาวุธทางความคิดอย่างไงให้กับเด็กดีค่ะคุณพี่ขจิต
P

สวัสดีครับพี่บ่าว

  • พี่สบายดีไหมครับ
  • ผมก็อยากให้ทุกคนได้เรียนครับ เป้าหมายของการศึกษาคือควรจะเปิดโอกาสให้ทุกคนได้เรียน เพราะอยากเรียน ตั้งใจเรียน ค้นหาและต่อยอดทางการศึกษาให้ชัดเพราะมีศรัทธาต่อการเรียนรู้ของตนเป็นหลัก
  • หากการเรียนผูกอยู่กับปัญหาปากท้องก็หนักอยู่มากพอแล้ว ยังต้องไปดิ้นรนเพื่อเอาเงินไปแลกความรู้กัน กว่าจะได้ความรู้มา
  • เมื่อลงทุนไปเยอะก็ต้องถอนทุนคืนกันครับ.... หรือว่าเป้าหมายการศึกษาเราอยู่ที่ไหนครับพี่บ่าว
  • ยังมีที่ไหนในโลกบ้างที่เป็นการศึกษาแบบให้ฟรี....
  • ขอบคุณมากครับ
P

สวัสดีครับพี่สิทธิรักษ์

  • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ ค้นหาอยู่เหมือนกันครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ โชคดีในการทำงานนะครับ

พี่บ่าวครับ เอารูปเข้าในข้อความทำยังไงครับ

อันนี้มีหลายทางเลือกครับ...

คุณภาพเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณครับ...

ขอบคุณครับ...

P

สวัสดีครับคุณราณี

  • รออ่านคำตอบของคุณราณีอยู่ครับ อิๆ
  • สบายดีไหมครับ โชคดีในการทำงานนะครับ
P

สวัสดีครับน้องบาว

  • วิธีการคือ ระบายด้วยเม้าส์แล้ว Copy and Paste ครับ
  • ทดสอบได้เลย ไม่ว่าจะเป็นภาพที่ไหน ขอให้อยู่ในเนท เอามาวางได้หมดเลยครับ
  • ระบบจะเชื่อมโยงโดยไปเอาภาพนั้นมาแสดงได้เลยครับ
  • ยกตัวอย่างเช่นพี่ไปคัดลอง รูปสวัสดี ที่ด้านฝั่งขวาในบล็อกพี่มา แล้ววางตรงนี้ครับ
    ก็จะเห็นไอคอนนี้ใช่ไหมครับ
  • โชคดีนะครับ
P

สวัสดีครับคุณเพื่อน

  • สบายดีไหมครับ
  • คุณภาพเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณครับ...ทำให้ผมสงสัยต่อครับว่า คุณภาพกับปริมาณแปรผันตรงกันเสมอไปไหมครับ
  • มีความสุขในการทำงานนะครับ
  • ผมว่าการศึกษาบ้านเราจะจะมีวางแผงไว้เหมือนโรงทานในวัด  ใครใคร่ทดลอง  ใคร่ชิม  ใคร่ทดสอบ  ใคร่เลือกไปลิ้มรสก็ได้ตามสะบาย   ใครลองแล้วไม่พอใจก็เลือกอันใหม่
  • เมื่อกินอิ่มหน่ำสำราญแล้ว  ค่อยไปทำบุญ (จ่ายคืน) 
  • ฟุ้งซ่านไปหน่อยครับ...สบายดีนะพี่

 

 

P

สวัสดีครับ อ.ย่ามแดง

  • ผมสบายดีครับ อ.หล่ะครับ เป็นอย่างไรบ้างครับ
  • ใช่ครับ การศึกษา แบบอิสระ เลือกทางเดินได้ครับ แต่ก่อนที่จะเลือกหยิบ หรือ เดินไปชิมได้ เค้าต้องมีต้นทุนส่วนหนึ่งก่อน พอเค้ามีต้นทุนทางปัญญา ที่สามารถตัดสินใจได้แล้วนั้น ไม่มีอะไรน่ากลัวแล้วหล่ะครับ เค้าจะเดินได้สบายครับ
  • ผมจะเทียบเหมือนกับ ที่ อ.ปลูกต้นไม้จากเมล็ดนะครับ แล้วเมล็ดก็งอกงามขึ้นมา มีใบเลี้ยง ที่เป็นแหล่งสะสมของอาหาร ยอดและใบแท้คู่แรกจะใช้อาหารที่สะสมเอาไว้ ตรงนั้นคือต้นทุนทางปัญญา
  • แล้วใบแท้คู่แรกก็ใช่ว่าจะสังเคราะห์แสงเองได้เลยครับ ต้องการพลังทุนทางปัญญาจากใบเลี้ยงและส่วนอื่นๆ มาช่วย พอใบแท้คู่แรก โตพอที่จะสังเคราะห์แสงเองได้แล้ว ก็จะผลิตอาหารต่อ แล้วส่งต่อไปให้ใบแท้คู่ใหม่อีก ทำไปเรื่อยๆ จนกว่าต้นไม้จะได้ผลทางปัญญาออกมา ให้เป็นผลที่สุกหอมหวานเพื่อสังคมต่อไป
  • สิ่งที่ อ.มองไม่ได้เพ้อหรอกครับ ทำได้และเราต้องเริ่มทำที่ตัวเราครับ และ อ. ก็ทำอยู่แล้วครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ

การศึกาษาบางอย่างก็ใช้เงิน ( จำเป็นมาก ) แต่การศึกษานอกระบบใช้เงินเท่าที่จะศึกษาอยากรู้เรื่องอะไรบ้าง ไม่รู้เขาใจผิดหรือถูกค่ะน้องขอคำชีแนะด้วยค่ะ

ไม่มีรูป
พัทยา เพียพยัคฆ์
เมื่อ พฤ. 10 พฤษภาคม 2550 @ 01:17 [255312]
คนนี้เมื่อไหร่จะสมัครสมาชิกสักทีน๊า...อยากอ่าน blog น้องกิ่งมั่งจัง

สวัสดีค่ะคุณเม้ง

ปัญหานี้ขอถอนหายใจยาวๆ ก่อนตอบได้มั้ยคะ..

คงต้องเริ่มที่ความเป็นจริงว่าการจัดการศึกษาต้องใช้เงิน..และเงินที่เพียงพอต่อการจัดการศึกษาที่ดีนั้นเป็นจำนวนเงินสูงกว่าที่รัฐจัดสรรให้หลายเท่านัก ( นี่อาจเป็นอีกคำตอบว่าทำไม..การศึกษาไทยถึงขยับยากนัก )..ซึ่งในการจัดสรรงบประมาณ ก.ศึกษามักจะเป็น กระทรวงท้ายๆที่ได้รับพิจารณา ( นักการเมืองจัดให้กระทรวงนี้เป็นกระทรวงที่ไม่มีความหมายเท่าไหร่ ) เหตุผลน่าจะเป็นเพราะไม่ค่อยมีอภิมหาโปรเจคท์ให้ต่อมอยากทำงาน..แถมผลงานก็วัดยาก เพราะการศึกษาเป็นกระบวนการไม่ใช่ผลลัพธ์ที่จะวัดได้ว่าเกิดกี่คน ตายกี่คน..เมื่อเป็นกระบวนการจึงต้องใช้มาตรฐานเข้าจับเข้าวัด เมื่อใช้มาตรฐานก็ไม่มีอภิมหาโปรเจคท์ให้ตื่นเต้น..ศึกษาจึงเป็นกระทรวงนอกสายตาเสมอ

มีความพยายามที่จะให้สถานศึกษาไปขึ้นกับองค์กรส่วนท้องถิ่นเพื่อใช้งบท้องถิ่นมาช่วยสนับสนุนการศึกษาเพิ่มจากงบที่กระทรวงจัดสรรให้แต่สถานศึกษาส่วนใหญ่ไม่มั่นใจในอนาคตของตนเอง ( ซึ่งก็น่าเห็นใจนะคะ เพราะบางที่แย่จริงๆ )..นโยบายนี้เลยไม่เดินหน้าเท่าที่ควร..

คำถามที่ว่าการศึกษา มันควรจะลงทุนด้วยเงิน หรือ ด้วยใจกันแน่ หรือว่าต้องมีอะไรเพิ่มเติม..จึงเป็นคำถามที่ตอบยากมากค่ะเพราะความเป็นจริงถ้าเราต้องการให้การศึกษาดีเพียงพอ..เราต้องใช้เงินมากกว่าที่ให้อยู่ในตอนนี้หลายเท่านัก แต่ปัญหาอยู่ที่ไม่มีเงินจะให้..ถึงแม้บางยุคบางสมัยจะมีใจให้กับการศึกษา แต่งบประมาณมันไม่มี..ก็บ่จี๊ตามเคย..นอกจากว่าการศึกษาสามารถจัดหางบได้เองหรือให้ความสำคัญกับการศึกษามากกว่านี้ ( อย่างน้อยก็มากกว่าการซื้ออาวุธ )..คำถามนี้ถึงจะตอบได้ว่าเป็นการลงทุนด้วยใจที่คิดจะให้อย่างแท้จริง ( ตอนนี้นักการเมืองปากว่าตาขยิบค่ะ เลยหวังยาก )...

เฮ้อ ! ถึงตอบจบแล้วก็ยังรู้สึกหนักๆในใจอยู่ดี..

สวัสดีคะพี่เม้ง

        การศีกษาไทยควรเน้นตั้งแต่ระดับอนุบาลให้เด็กรู้จักคิดไม่ใช่ท่องจำตามกันมา เหมือนสมัยก่อน ควรเน้นให้ฝึกกระบวนการความคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ มีเหตุและผล รู้จักสงสัยและซักถาม และที่แน่นอน คือก็ต้องอาศัยเงินมาช่วยพัฒนาสนับสนุน ซึ่งโดยสรุปการศึกษา อาศัยทั้งเงินและใจ (คือใจผู้สอน ผู้เรียนรู้ที่เอาใจใส่ และใส่ใจต่อกระบวนการศึกษา) ควบคู่กันไป

 ขอบคุณมากคะสำหรับบทความดีๆ

ไม่มีรูป
พัทยา เพียพยัคฆ์

สวัสดีครับน้องกิ่ง

  • การศึกาษาบางอย่างก็ใช้เงิน ( จำเป็นมาก ) แต่การศึกษานอกระบบใช้เงินเท่าที่จะศึกษาอยากรู้เรื่องอะไรบ้าง ไม่รู้เขาใจผิดหรือถูกค่ะน้องขอคำชี้แนะด้วยค่ะ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ การศึกษาหลักๆ รัฐควรจะออกเงิน หรือลงทุนเพื่อส่วนรวมใช่หรือเปล่าครับ หากเราเน้นจะพัฒนาคน เป็นสำคัญ เพราะหากจะพัฒนาประเทศต้องพัฒนาคน หากจะพัฒนาคน ต้องพัฒนาระบบการศึกษา
  • การลงทุนทางการศึกษา โดยเฉพาะพื้นฐาน 9-12 ปี รัฐควรจะทำการดูแล และลงทุนจริงจัง
  • หรือใจปั้มจริงๆ อยากให้คนหันมาทำงานให้กับสังคมมากๆ ก็ต้องให้ลงทุนไปถึง ระดับปริญญา ตรี โท เอก กันไปเลยครับ
  • ตลอดจนทุ่มไปการศึกษานอกโรงเรียน นอกระบบ หรือการศึกษาแบบอัธยาศัยด้วยครับ
  • แล้วน้องกิ่งคิดว่ามาตรฐานคนเรา ควรจะเรียนชั้นพื้นฐาน อย่างน้อยกี่ปีดีครับ....
  • ขอบคุณมากครับ
P

สวัสดีครับพี่หนิง

  • เห็นด้วยครับ ว่าให้น้องกิ่งสมัครสมาชิก ด้วยครับ อิๆ
  • น้องกิ่งอยู่ไหนตอนนี้ สมัครสมาชิกด่วนครับ เปิดเมื่อไหร่บอกมานะครับ จะรวมพลังไปเจิมบล็อกให้ครับผม อย่าช้านะครับ เพราะพี่เหลือปูนศักสิทธิ์ เหลืออยู่น้อย เพราะเจิมมาหลายที่ครับ อิๆๆ ยิ้มๆ
  • ขอบคุณมากนะครับ
P

สวัสดีครับคุณเบิร์ด

  • ดีใจจังครับ ที่มีคนช่วยมาช่วยหาร ในการถอนหายใจ อิๆ ขอบคุณมากครับ
  • จะเป็นไปได้ไหมครับคุณเบิร์ดที่จะให้รัฐลงทุนการศึกษาพื้นฐาน ส่วนจะถึงระดับไหนก็ว่ากันไป แต่อย่างน้อย ทำ 9 ปีพื้นฐานให้แน่นจริงๆ หรือหากถึงได้ 12 ปี ก็จะยอดมากๆ และหากรัฐดูและจนถึงเค้ามีงานทำ จะสุดยอดสุดๆ เพราะผมหวังไว้อย่างนั้น อยากจะเห็นก่อนผมจะตาย
  • ประมาณว่า ให้สุขแก่ท่าน สุขนั้นท่วมทั่วสังคม สุขที่ว่านั้นคือสุขใจทางการศึกษา
  • เมื่อรัฐลงทุนแล้ว ให้คนหรือผู้เรียนลงทุนทางใจ โดยเดินไปทางที่เค้าถนัดกันตามแนวทาง โดยมีครอบครัวช่วยสนับสนุนทางข้อมูลด้วย กำลังใจ
  • ทำอย่างไรดีครับ ที่จะให้ท่านผู้ใหญ่เห็นความสำคัญของการศึกษา หมายถึงท่านที่มีอำนาจต่อบ้านเมือง ต่อการพัฒนาชาตินะครับ
  • เรื่องการศึกษาไปขึ้นกับองค์กรท้องถิ่นนี้ ก็ว่าก็ว่าเป็นเหมือนดาบสองคมครับ อาจจะทำในเชิงให้มีทางเลือกก็ได้ครับ หากที่ทำการท้องถิ่นนั้นพร้อมจริงๆ เพราะหากไม่พร้อมนี่ก็น่าลำบากใจเหมือนกันครับ
  • ว่าก็ว่า งบทางการศึกษาก็ส่วนหนึ่งอาจจะเยอะพอสมควรเหมือนกัน ที่แต่ละโรงเรียนจะได้รับ แต่การพัฒนาก็ติดที่ คุณภาพและความพร้อมของคนดูแลอีกหรือเปล่าครับ
  • แต่หากองค์กรท้องถิ่น โรงเรียน เกษตรอำเภอ จังหวัด เทศบาล และหลายๆ ฝ่ายในพื้นที่ ร่วมมือกัน ก็ช่วยส่งเสริมกัน ไม่ว่าจะอยู่ภายใต้การดูแลของใครดูแล ประสิทธิภาพก็เกิดขึ้นได้ครับ
  • คือจากการปลูกต้นไม้ ตั้งแต่คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ ไปจนถึงการดูแลอย่างดีในตอนต้น ผมว่าจำเป็นมากๆ หากจะให้ผมเน้น ผมก็จะเน้นในช่วงแรกนี่หล่ะครับ แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นไปให้เค้าเดินไปไกลได้ที่สุด บนเส้นทางความถนัดของเค้า
  • อิๆ ว่าแล้ว ถกกันไป ปัญหาสังคมก็จบกันที่คนถกกันครับ.....แต่เราทำได้ในส่วนที่เราดูแลได้ใช่ไหมครับ.....สู้ต่อไปครับ
  • ธรรมชาติสร้างสมองมาให้เรากันแล้ว ครับ ใช้มันให้เต็มที่ใช่ไหมครับคุณเบิร์ด ดีกว่าปล่อยให้สึกหรอ.....
  • ขอบคุณมากครั้บ

พี่เม้งครับ ผมเคยอ่านเจอว่า ในการสมัครเป็นนายกฯของอังกฤษครั้งแรกของโทนี่ แบลร์ นโยบายที่สำคัญของเขาคือเรื่องการศึกษา เลือกครั้งที่สองเขาก็เอาเรืองการศึกษามาเป็นนโยบายหลักอีก ครั้งที่สามเขาก็บอกว่าการศึกษามีปัญหาต้องแก้ไขเป็นอันดับแรก เป็นนโยบายแรกที่ต้องทำ มองจากคนนอกอย่างผมที่ไม่เคยไปอังกฤษ แต่ก็พอจะรู้ว่า โรงเรียน มหาวิทยาลัยของเขาก็ระดับโลกทั้งนั้น แต่เขายังบอกว่ามีปัญหา ไม่มีคุณภาพ ผมก็เลยงงเลยคราวนี้  

P

สวัสดีครับน้องกมลนารี

  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ นั่งจิบชากันก่อนครับ
  •  การศีกษาไทยควรเน้นตั้งแต่ระดับอนุบาลให้เด็กรู้จักคิดไม่ใช่ท่องจำตามกันมา เหมือนสมัยก่อน ควรเน้นให้ฝึกกระบวนการความคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ มีเหตุและผล รู้จักสงสัยและซักถาม และที่แน่นอน คือก็ต้องอาศัยเงินมาช่วยพัฒนาสนับสนุน ซึ่งโดยสรุปการศึกษา อาศัยทั้งเงินและใจ (คือใจผู้สอน ผู้เรียนรู้ที่เอาใจใส่ และใส่ใจต่อกระบวนการศึกษา) ควบคู่กันไป 
  • น้องพูดทำให้นึกถึงการสอนให้คิดแบบวิทย์ มีเหตุผล รู้จักสังเกต เกิดความสงสัย เป็นที่มาของพลังจินตนาการครับ พลังแห่งการค้นคว้า หากคำตอบ อย่างมีเหตุมีผล
  • อาศัยทั้งเงินและใจ คือใจผู้สอน ผู้เรียนรู้ที่เอาใจใส่ และใส่ใจต่อกระบวนการศึกษา
  • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ
P

สวัสดีครับน้องเลี่ยม

  • ขอบคุณมากๆ นะครับ พี่เองก็ยังไม่เคยไปอังกฤษครับ
  • การศึกษาเค้ามีปัญหา หน่ะถูกแล้วครับ เพราะหากไม่มีปัญหา ก็อาจจะไม่ได้พัฒนาไงครับ
  • ดังนั้น การพัฒนาได้ ก็เพราะมีปัญหามาก่อนครับ
  • อีกอย่างคนเค้ามีความรู้ การจะพูดคุยเรื่องนโยบายดีๆ ได้มันต้องเอาการศึกษามาเล่นครับ
  • แต่บ้านเรา ผมจะสร้างสะพาน ถนน บ้านเรือนสองสามชั้น สร้างนั่นสร้างนี้ เหมือนกับว่าเรายังสร้างกันไม่พอซักทีครับ
  • ทั้งๆที่ การจะสร้างตึกซักตึกนั้น เราต้องสร้างสมอง ไปใส่เอาไว้ในตึกอาคารนั้นก่อน ไม่ใช่มีแค่เครื่องมือบรรจุอยู่เต็ม แต่ไม่มีสมองที่พร้อมจะไปใช้เครื่องมือ ใช่ไหมครับ อันนี้ ตรงไปไหมน้องบ่าว
  • ที่มหาวิทยาลัยพี่ ที่เยอรมันเพิ่งเปิดสถาบัน BIOQUANT ไปครับ ใช้งบ มากกว่า สองร้อยล้านยูโรครับ ตึกเพิ่งเสร็จครับ แต่หัวสมองเค้าสร้างมาเมื่อ มากกว่าสิบปีแล้วครับ เพื่อจะเอามาใส่ในตึกนี้นะครับ
  • ดังนั้น หากจะหาเสียงในบ้านเมืองที่คนมีการศึกษาเฉลี่ยสูง เค้าต้องเอานโยบายการศึกษามาตั้งครับ เพราะเน้นว่า คนมีสมอง มีความรู้ ยังไงก็สร้างตึกรามบ้านช่องได้ครับ
  • อิๆๆๆๆๆ ดังนั้น การศึกษาต้องลงทุนครับ หากเค้ากระตุ้นให้นักวิจัยลงทุนด้านสมองได้ เทคโนโลยีก็เกิดครับ พอเกิดแล้วก็เอาไปขายกันที่บ้านเราไงครับ
  • พอการศึกษาเค้าไปได้ไกล คนก็อยากไปเรียนไงครับ เค้าก็ได้เงินเข้าประเทศได้อีกครับ ส่วนจะเป็นธุรกิจการศึกษาหรือเปล่า ก็ต้องพิจารณากันดูครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ

ปรัจจุบันรัฐก็ออกเงินให้นะค่ะหนูเห็นแถวบ้าน แต่เด็กไม่อยากไปเรียน เช่นวันนี้ไปประชุมกับปราชญ์ชาวบ้านฟังแล้วน่ากลัวขนาดผู้ใหญ่ยังไม่มีจุดยืนเลยค่ะ ส่วนตัวคิดว่าที่พูดนะถอยหลังไปอีก 10 ปีได้ทั้งที่คนจัดประชุมมีความรู้มาก ส่วน 9-12 ปีหนูว่าก็เสมือนฟรีอยู่แล้วนะ  ตอนนี้ปริญญาตรีเต็มประเทศไทยเลยค่ะไม่รู้มาตรฐานคืออะไร ในความคิดของหนูถ้าคนยอมที่จะศึกษาและยอมเรียนจนสิ้นลมหายใจก็ไม่มีปัญหาค่ะพี่จา   ( เป็นความคิดแบบเด็กมองผู้ใหญ่นะค่ะคงไม่ว่าอะไรนะค่ะ )

P
  • ขอบคุณครับพี่เม้ง เข้าใจแล้วครับ 
  •  ผมเลยนึกถึงแบงค์ร้อยที่มี ร.5 ประทับนั่ง พระราชดำรัสที่บันทึกไว้ในแบงค์ร้อย ถ้าใครไมเคยอ่านลองอ่านดูนะครับ ร.๕ ได้พระราชทานไว้ว่า " การเล่าเรียนในบ้านเมืองเรานี้จะเป็นข้อสำคัญที่หนึ่ง ซึ่งฉันจะจะอุตส่าห์จัดขึ้นให้เจริญจงได้"
  • ผมเลยนึกภาพที่ท่านส่งบุตรหลานข้าราชการไปเรียนต่างประเทศเลยคราวนี้
  • ร้อยกว่าปีมาแล้วพระราชดำรัสนี้ น่าคิดไหมครับพี่เม้ง.....
ไม่มีรูป
พัทยา เพียพยัคฆ์

สวัสดีครับน้องกิ่ง

  • ขอบคุณมากเลยครับ ยอดจริงๆครับ
  • ตอนนี้เค้ามีแบบทุนกู้ยืมหรือเปล่าครับ หรือว่าให้เรียนได้เลยตลอด คือไม่เก็บค่าเล่าเรียนใช่ไหมครับ
  • ส่วนค่าอย่างอื่น นักเรียนต้องหามาเอง ต้องลงทุนในเรื่องเสื้อผ้า เครื่องเรียน เครื่องเขียนต่างๆเอง
  •  พี่เคยไปสอนติวลองไปอ่านได้ที่บทความนี้ครับ
    เมื่อทีมติวสมัครเล่น บุกสตูล (ทำไมต้องสตูล) ตอนที่ 1    
    เมื่อทีมติวสมัครเล่น บุกสตูล (ทำไมต้อง 2 ปีต่อเนื่อง) ตอนที่ 2 (อวสาน)
  • ลองอ่านเล่นๆ นะครับ
  • สำหรับเรื่องมาตรฐานนั้น อันนี้ต้องช่วยกันคิดว่า เราจะวางคนให้เค้าเรียนแล้ววิ่งไปทางไหนกัน จะได้กำหนดได้ว่ามาตรฐานควรเป็นอย่างไร คือความรู้กับปริญญาควรจะไปด้วยกัน
  • ควรจะเรียนรู้เพื่อความรู้ เพื่อรู้จักคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น ส่วนใบปริญญาน่าจะแค่ของแถม
  • พี่ว่าหากเราศึกษากันให้ชัด เราจะวิ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ไม่ว่าจะเรียนในระดับใดครับ จุดรวมก็จะตกกระทบที่จุดโฟกัสนั่นหล่ะครับ
  • ในชุมชน หรือปราชญ์ก็จะมีจุดโฟกัสของท่านอยู่ ซึ่งก็ไม่ต่างกับระดับอื่นๆ ด้วย
  • รบกวนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ อยากทราบรายละเอียดกระบวนการแลกเปลี่ยนผ่านปราชญ์ชาวบ้านด้วยครับ พี่ไม่เคยสัมผัสครับ
  • ขอบคุณมากครับ
P

สวัสดีครับน้องเลี่ยม

  • ต้องขอบคุณน้องมากๆ ที่ยกประเด็นนี้
  • ว่าด้วยการศึกษาไทย ตั้งแต่สมัย ร. 5 ที่ส่งคนไปเรียนกัน มา  ก็เกิดพร้อมๆ กับรถไฟนั่นหล่ะครับ
  • มาตอนนี้เราก็ยังมี การศึกษา และรถไฟ อยู่ รถไฟก็มีรางเดียวจากเมื่อก่อน ตอนนี้ทางสายไกลเราก็ยังมีรางเดียวกันอยู่ครับ
  • การศึกษาของประเทศเรา ยังมีอายุน้อยๆ มากๆ ครับ หากจะเทียบกับทางยุโรป นะครับ แม้ว่าจะเดินกันเหมือนกันบ้างต่างกันบ้างก็จริง แต่ตัวประสบการณ์ แตกต่างกัน โดยเฉพาะเวลาอย่างน้อย หกเท่าที่เราตามหลังอยู่ครับ
  • การที่จะเริ่มด้วยการศึกษา เราก็นั่นคือ มาถูกทางแล้วครับ เพียงแต่ว่าจะกำหนดเส้นทางเดินอย่างไร ให้ไปได้ตามรางรถไฟครับ
  • คุณสิทธิรักษ์ เขียนไว้ที่นี่ครับ http://gotoknow.org/blog/dol3377/95397 เข้าไปอ่านดูครับ การศึกษากับรถไฟไทย อิๆๆๆ
  • การรถไฟก็ร้อยกว่าปีมาแล้ว.... การศึกษาเราก็เช่นกันครับ... หากนับการเป็นมหาวิทยาลัยทางการของไทย ก็คือ จุฬาฯ นั่นเอง ก็ยังไม่ถึงร้อยปีครับ ยุโรปอาจจะหกร้อยกว่าปี
  • บางทีประเด็นนี้ทำให้เราตามยุโรปกัน ตามตะวันตกกัน แต่เราจะลืมรากเหง้าของเราหรือเปล่า เราควรจะหันมาเดินแนวทางเรา โดยเอากระบวนการคิด การทำ การแก้ปัญหาให้อยู่บนบ้านเรา แบบสไตล์ไทยๆ จะได้ไหมครับ
  • ขอบคุณมากครับ

มีกู้ยืมแบบดอกเบี้ยต่ำค่ะเดียวกลับมานะค่ะขอทำงานก่อนค่ะพี่จา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท