รวมพลัง G2K เพื่อ...การศึกษา....ปัญหาและแนวทางแก้ไข (ยกแรกร่วมระบาย ลปรร.)


เชิญทุกท่านทุกคน ทั้งที่เคยรู้จักผมแล้ว และยังไม่เคยรู้จักนะครับ คุณมีความรู้สึกอย่างไร ในเรื่องการศึกษา ปัญหา บรรเลงกันได้เลยครับ หากคุณเคยคิดหาแนวทางแก้ไขเอาไว้แล้ว ก็ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ ผมเชื่อว่าสิ่งตรงนี้คงได้เป็นประเด็นที่จะนำไปใช้ต่อไปได้ไม่มากก็น้อย....... ด้วยตัวผมแล้ว ก็ขอทิ้งชีวิตนี้ไว้ที่การศึกษาเป็นหลักครับ
สวัสดีครับทุกท่าน
              เมื่อวานได้เขียนบทความเปิดแผงขายของเก่า....มิสเตอร์ช่วยไว้ที่ เปิดท้ายของเก่า .... ตลาดนัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้....มิสเตอร์ช่วย แต่ยังมีประเด็นหนึ่งที่อยากจะทิ้งท้ายไว้ ที่ผมไม่อาจจะทิ้งขว้างได้ คือ การศึกษา ดังนั้นผมขอเขียนบทความนี้เอาไว้ เพื่อให้พี่น้องทั้งในและนอก G2K เข้ามาร่วมแสดงความเห็นถึง การศึกษาถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขนะครับ
             เมืองไทยมีหลายภาค ตั้งอยู่บนตำแหน่งที่ต่างกันทั้งสภาพแวดล้อมภูมิอากาศ และทำเลที่ต่างๆ กัน รวมๆ เป็นรูปขวานทองที่ว่านะครับ เป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ หากเฉลี่ยกันทั่วประเทศ การศึกษาบ้านเราก็เกิดมาไม่นานมากนักหากจะเทียบกับทางยุโรป ยกตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ของเยอรมันมีอายุ ประมาณ 620 กว่าปี และมหาวิทยาลัยในเมืองไทย ก็มีอายุเก่าแก่สุด ก็ยังไม่ถึง 100 ปี ดังนั้นเรื่องการศึกษาของเรา ยังต้องค้นหา เพื่อหาแนวทางการศึกษาของตัวเองให้เจอ เรารับและยกมาจากต่างประเทศหลายๆ ด้าน บ้างก็เป็นความรู้ใหม่ บ้างก็ยังไม่ได้ศึกษากัน บ้างก็ทำไปแล้วเยอะ มันถึงเวลาที่เราจะบูรณาการหรือสร้างการศึกษาให้อยู่บนพื้นฐานรากเหง้าของการศึกษาไทยแล้วหรือยังครับ
           ดังนั้นผมอยากจะเปิดประเด็นนี้ให้ทุกท่านร่วมแสดงความเห็นกันเต็มที่นะครับ
            โดยแบ่งแยกประเด็นตามที่คุณเจอและพบปัญหา และลองเสนอแนวทางแก้ไขดูนะครับ เพราะเนื่องจากต่างที่ตั้งทำเล เราคงได้เจอปัญหาเรื่องเหล่านี้ต่างๆ กันแน่นอนครับ เพราะแต่ละพื้นที่ก็จะมีบรรยากาศในเรื่องนี้แตกต่างๆกัน โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่า หากการศึกษาเข้าถึงคนทุกระดับกลุ่มอาชีพในสังคมแล้ว ปัญหาจะลดลงแน่นอนครับ การศึกษาที่ว่านี้ รวมไปถึงการคิดในการวางแผนจัดการ บริหาร ปัญหาปากท้องในการประกอบอาชีพ เพราะล้วนเกี่ยวกับการศึกษาทั้งสิ้น ตลอดจนแนวทางในการดำเนินการเรียนการสอนตามหลักสูตร หรือแนวนโยบายที่วางไว้นะครับ และอื่นๆ
ผมขอค้างคำถามไว้ดูนะครับ อาจจะผิดบ้างถูกบ้าง ตรงบ้างไม่ตรงบ้างนะครับ
  1. ประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาการศึกษาไหม หากไม่พัฒนา จะปล่อยให้อยู่แบบนี้ จะได้ไหม หรืออย่างไร
  2. การเตรียมเด็กเข้าอนุบาล ให้เรียนจากพ่อแม่หรือครอบครัว เราบกพร่องไหม หรือเพราะอะไร ครอบครัวพร้อมแค่ไหน (การศึกษาว่าแล้วก็เริ่มกันตั้งแต่แรกเกิดเลยครับ ข้อนี้มองถึงการศึกษาจากพระอรหันต์ที่บ้าน ก่อนส่งมอบเด็กให้กับการศึกษาในระดับอนุบาลครับ แต่การศึกษาจากพระอรหันต์ต้องทำต่อเนื่องตลอด)
  3. การเรียนในระดับอนุบาล ใครควรจะสอน สอนอย่างไรเพื่อให้สอดรับกับการเรียนใน ชั้นประถมศึกษา เตรียมเด็กอย่างไรให้เด็กเรียนได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะต้องย้ายสถานที่เรียน
  4. การเรียนในชั้นประถมศึกษาหกปีนั้น ใครควรจะสอน สร้างแรงจูงใจ ชุมชนรอบนอกมีส่วนสร้างเด็กไหม มีช่องว่างอย่างไรบ้างระหว่างผู้เรียน ผู้สอน ผู้แนะนำ บรรยากาศในการเรียนรู้ รับรู้จากชุมชนแบบไร้รั้วกั้น การส่งมอบเด็กจากชั้น ป.1 ถึง ป.2 มีการเตรียมพร้อม ความพร้อมระดับใด ที่จะส่งต่อให้เรียนรู้จนกว่าจะจบ ป. 6
  5. การเตรียมพร้อม ความพร้อมของเด็กก่อนจะส่งมอบ ให้เด็กเปลี่ยนสถานที่เรียน หนทางการแนะแนว ตั้งแต่ระดับ ป.5,6 ก่อนก้าวไปสู่ระดับ มัธยมศึกษา มีความพร้อมและเตรียมการอย่างไร แล้วมีแผนอย่างไรจากนโยบายรัฐ
  6. การเตรียมการสร้างครู ในระดับมัธยม เพื่อต้อนรับเด็กผู้เรียนที่มาจากที่ต่างๆ กันในการร่วมเรียนด้วยความหลากหลายจาก เด็ก ป.6 มีความพร้อมอย่างไร แนวทางการปรับพื้นฐาน กรณีพื้นฐานต่างกัน อย่างไร ก่อนจะเข้าสู่หลักสูตรมัธยมในระดับที่สูงกว่าได้ ทำอย่างไร ให้เกิดมาตรฐานร่วมกัน กับโรงเรียนที่อื่น ไม่ว่าจะต่างหรือในตัวอำเภอจังหวัด
  7. การส่งมอบเด็กในระดับมัธยมต้นไปยัง สายอาชีพและสามัญ ควรวางแผนอย่างไรให้ต่อเนื่อง และไม่ขาดตอน ตลอดจนช่องว่างทางพื้นฐาน ก่อนจะไปต่อยอดในระดับ ปวช. ม.ปลาย กศน. หรือชุมชนกรณีจะไปประกอบอาชีพเอง ตามพื้นฐานของครอบครัว
  8. การเตรียมความพร้อมในการสร้างเด็กเพื่อส่งมอบให้กับสถาบันอุดมศึกษา เอกชน ปวส. ชุมชน และอื่นๆ หรือการศึกษานอกโรงเรียนทั้งหลาย สถาบันต่างๆ แล้วใครจะมาเป็นผู้สอน แนะนำ สร้างบรรยากาศในการเรียนได้ ชุมชนมีส่วนอย่างไร
  9. การเตรียมความพร้อมในการรับเด็กจากการวัดการสอบเข้า และการบริหารจัดการเด็กที่อยากเรียนและต้องการเรียน แม้ว่าผลการเรียนจะต่ำ ให้ทุกคนมีโอกาสเรียนตามที่หวัง ตลอดจนการเตรียมตัวรองรับเด็กที่ต้องการทำงานในระดับนี้ ควรมีการวางแผนอย่างไร เพื่อให้การเรียนการสอน ในมหาวิทยาลัยเกิดเพื่อสังคมจริงๆ การปรับพื้นฐานต่างๆ เพื่อออกไปเป็นมาตรฐานที่จะไปรับใช้สังคมได้ทุกองค์กร ตลอดจนชุมชนรากเหง้าของตัวเอง
  10. และอื่นๆ ในระดับชั้นสูงๆ ขึ้นไป..........
  11. การศึกษาในระดับชุมชน....แบบคนสอนคน ตัวแทนสอนคน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน การถ่ายทอดเทคนิคต่างๆ ในชุมชน การเยี่ยมดูชุมชนตัวอย่าง การสร้างหมู่บ้านตัวอย่างในชุมชน เช่นหมู่บ้านปลอดสารพิษ..... อะไรทำนองนี้ อันนี้เป็นการศึกษาภาคชีวิตจริงภายในหมู่บ้าน องค์กรชาวบ้าน จนได้เป็นปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งจะมีโอกาสสอนและถ่ายทอดกับระดับการเรียนในระบบด้วย
  12. อื่นๆ คุณบรรเลงต่อได้เลยครับ.............
            เชิญทุกท่านทุกคน ทั้งที่เคยรู้จักผมแล้ว และยังไม่เคยรู้จักนะครับ คุณมีความรู้สึกอย่างไร ในเรื่องการศึกษา ปัญหา บรรเลงกันได้เลยครับ หากคุณเคยคิดหาแนวทางแก้ไขเอาไว้แล้ว ก็ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ ผมเชื่อว่าสิ่งตรงนี้คงได้เป็นประเด็นที่จะนำไปใช้ต่อไปได้ไม่มากก็น้อย....... ด้วยตัวผมแล้ว ก็ขอทิ้งชีวิตนี้ไว้ที่การศึกษาเป็นหลักครับ
กราบขอบพระคุณทุกท่านมากนะครับ
ด้วยมิตรภาพ
สมพร ช่วยอารีย์
สำหรับประเด็นอื่นๆ ก็ไปอ่านกันได้ที่แผงลอย เปิดท้ายของเก่า .... ตลาดนัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้....มิสเตอร์ช่วย ครับ
หมายเลขบันทึก: 93644เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2007 13:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 23:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (123)

เข้ามาช่วย "กวนหมวน"  แต่ไม่รู่ว่าจะได้ผลหม้ายนะครับ!

ใครมีเรื่องเล่าในประเด็นนี้บ้างครับ   โดยเฉพาะเรื่องเล่าความประทับใจในประเด็นเหล่านี้ครับ

Education  ที่มี learning อยู่ข้างในดีๆ อยู่ที่ไหนบ้าง?    สถานศึกษา  เป็นที่ที่เราคาดหวังว่าจะเป็นกลไกของสังคมที่สร้างคนให้มี   "learning sense"  เยอะๆ   แต่กระแสทั่วโลกมันมีแต่  education  ที่สภาพ learning ร่องแร่ง เป็นส่วนใหญ่

 

P

สวัสดีครับพี่ธวัช

  • สบายดีนะครับ ขอบคุณมากเลยครับ ที่เข้ามาช่วยกวนหมวน ให้เกิดในสังคมการศึกษาครับ
  • เพราะหากปล่อยไว้น้ำนิ่ง หมวนนอนก้น (ได้ตะกอน ไม่ใช่เชิงตะกอนนะครับ อิๆ)
  • เชิญทุกท่านร่วมกวนหมวนครับ (กวนหมวน คือคำใต้ เป็นการคนน้ำให้มีตะกอนขึ้นมาเริงระบำครับ)
  • การกวนหมวนทางความคิด เป็นการทำให้ได้ อะไร ได้เห็นหมวน (ตะกอน) ที่ชัดเจน ก่อนจะได้บทสรุป ที่เชิงตะกอน (เอ เอาเชิงตะกอนมาผสมซะแล้วครับ)
  • เชิญท่านบรรเลงครับ
  • สวัสดีครับทุกท่าน
  • ท่านใดทีเจอประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับการศึกษาใน G2K ก็ฝากไว้ได้นะครับ ผมจะได้ตามไปอ่านด้วยครับ ตอนนี้กำลังค้นหาอยู่เหมือนกันครับ ผ่าน Google จะเน้นการทยอยอ่านให้เยอะๆครับ แล้วจะเอามาฝากกันครับ
  • ท่านผู้ใหญ่รู้จักนักการศึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ ด้วยก็เชิญเข้ามาด้วยนะครับ
  • จริงๆ แล้วอยากให้ทุกคนมอง หรือประเมินตัวเองก็ได้ครับ แล้วเขียนลงมาว่ามีอะไรบ้างที่อยากได้ อยากเห็น อยากเป็น อยากให้เกิดกับรุ่นต่อไป ลูกหลาน ก็ยังดีนะครับ
  • อย่างน้อยมันจะเกิดผลบ้างก่อนเรา ลาไปจบที่เชิงตะกอน ในภาคที่สุดของชีวิตครับ ขอบคุณมากครับ

เป็นประเด็น ที่ต้องมอง จาก ฟ้า ลงมาบนดินเลย และต้องพยายามมองด้วย

มองจากฟ้า ก่อนนะครับ ณ วันนี้ หน่วยงานที่รับผิดชอบการศึกษา ประถม มัธยม อาชีว มหา'ลัย ไม่รู้คุยกันเรื่องการส่งต่อ หรือความต่อเนื่องอย่างไร

อะไรคือความต่อเนื่อง เช่น แนวการวัดผลตอนจบของสถานศึกษาหนึ่ง และแนวข้อสอบตอนสอบเข้าของอีกสถานศึกษาหนึ่ง ลองถามได้เลย ว่าเคยคุยกันป่ะ

การเรียนมีหลายแบบ หลายแนว แต่ก็ควรจะมีเกณฑ์ ในการเทียบระดับหรือประเมินกันได้

หลายสถานศึกษา หลายหน่วยงาน สอนแต่วิชาการ  แล้ววิชาชีวิต ไปเรียนกันที่ไหนหรือ คงต้องเรียนในทุกที่

กล่าวมา ยังไปไม่ถึงดินเลยครับ ขอให้มาต่อให้ลงดิน(ชีวิตจริงของคนเรา)กันต่อนะครับ

P

สวัสดีครับคุณตาหยู

  • ขอบคุณมากๆครับ ประเด็นคุณน่าสนใดมากครับ
  • จากฟ้ามาสู่ดิน  ทำให้ผมนึกถึง ฟ้าฝ่า ประจุที่วิ่งอยู่บนฟ้าก็หาที่ลงดินเหมือนกันนะครับ จะมีการแตกแขนงออกไป ลงสู่ดิน เพื่อให้ครบวงจร
  • เอแล้วการศึกษาบ้านเราครบวงจรไหมครับ หากไม่ได้ลงถึงดิน ติดดิน แสดงว่าเมนบอร์ดทางการศึกษาเราชักจะเพี้ยนๆ แล้ว
  • เราควรจะยกเครื่องพวก ชิพ วงจรทางการศึกษาอย่างไรบ้างครับ ประเด็นเรื่องการส่งต่อ ความต่อเนื่องก็ด้วยเลยครับ เพราะส่งรับไม้กันไม่ได้
  • การวิ่งผลัดทางการศึกษา โดยเด็กเป็นไม้ผลัด คนส่งคือครูหรือสถาบันการศึกษา
  • หากรับส่งลูกกันไม่ได้ ไม้ก็เลยตกๆ หลุ่นๆ อยู่กลางเลนเหมือนที่ผมเขียนไว้ในบทความ 200000 คนที่หายไปครับ
  • วิชาการ + วิชาชีวิต = วิชาการครองชีวิต
  • มีตัวใดตัวหนึ่ง ก็จะขาดหุ้นส่วนไป ไม่ครบไม่เต็มลำลูกสูบใช่ไหมครับ
  • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ
  • ศึกษาเพิ่มเติมในเนื้อหาได้ที่นี่ ครับ http://www.moe.go.th/main2/plan/p-r-b42-01.htm สำหรับเรื่องบทบัญญัติทางการศึกษานะครับ
  • หากมีข้อมูลส่วนอื่น หรือมีพื้นที่ใดได้ผ่านการพูดคุยในการระดมความคิดเห็นก็เชิญเอามารวบรวมกันได้นะครับ หรือรบกวนแจ้งให้ทราบด้วยนะครับ จะตามไปอ่านครับ
  • ขอบคุณมากครับ
  • เข้าไปเจอลิงก์ดีๆ เกี่ยวกับ การศึกษาปฐมวัย ในบล็อก การศึกษา ของคุณ Mr.Natthakorn   นับว่าเป็นก้าวย่างที่สำคัญครับของชีวิตการศึกษาของเด็กครับ
  • ขอบคุณมากครับ
ปัญหาการศึกษาพูดแล้วปวดหัว...แก้ไปแก้มาจะเหมือนลิงแก้แหไปทุกวันครับ
P

สวัสดีครับ อ.ย่ามแดง

  • ขอบคุณมากครับ อ.ย่ามแดง
  • คำพูดของอาจารย์ ทำให้ผมคิดถึงตอนเด็กๆ ที่ตาข่ายไปดักปลา (ทางใต้เรียกว่า กัดดักปลา) แล้วแบบว่าติดปลา เต็มไปหมดเลยครับ งูก็มีครับ แล้วต้องเอามาแก้กัน หากแก้ไม่ดี ตาข่ายหัวนั้นก็พังแล้วขาดครับ ต้องซื้อใหม่เลยครับ แต่หากเราแก้อย่างมีสติ เราก็จะมีตาข่ายหัวนั้นให้ใช้ต่อไปครับ แม้ว่าจะมีทั้งงูพิษและปลาที่มีประโยชน์ในตาข่ายนั้นก็ตามครับ
  • คงต้องเอาสิ่งที่เขียนไว้ในบัญญัติ แล้วมาดูการปฏิบัติครับ ว่ามันสอดคล้องกันไหม หากไม่สอดคล้อง ก็ต้องหาบันไดเชื่อมครับ ผมพูดเหมือนดูง่าย แต่ทำยากใช่ไหมครับ
  • ดังนั้น ผมว่าเราต้องทำจริงจังครับ ลงไปทั้งนโยบาย และ เริ่มตั้งแต่ระดับชุมชนครับ
  • การศึกษาเอาลิงมาแก้แหเล่นๆ คงไม่ได้ครับ เบื่อแล้วไปปืนมะพร้าวก็เอาแหขึ้นไปปืนมะพร้าวด้วย ท้ายที่สุดก็ดิ่งตัวลงมาพร้อมแห...
  • งานนี้ ต้องรวมสมองกันครับ อ.ย่ามแดงก็เจอมาหลายๆ ด่านครับ ทั้งในระดับผู้เรียนและผู้สอนนะครับ คงมองอะไรได้กว้างด้วยครับ
  • มาร่วมมือกันนะครับ อย่างน้อยเราก็เอาไปปฏิบัติกันในองค์กรเราหากไปไม่ถึงดวงดาวครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ

มนุษย์จำเป็นต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต
เพราะไม่ได้เกิดมามีชีวิตแค่ในโรงเรียน....

P

สวัสดีครับพี่แอมป์

  • ขอบคุณพี่มากๆ เลยครับ สำหรับลิงก์ที่น่าสนใจเนื้อๆ ครับ ได้ประเด็นเพิ่มครับ มาช่วยตีมีดเล่มนี้ให้เฉียบคนกันเถิดครับ มีดทางการศึกษา (ไม่ใช่เอาไว้เสียบกันนะครับ แต่เอาไว้หั่นปัญหาด้วยปัญญาครับ)
  • ผมจะตามไปอ่านด้วยนะครับ
  • อ้าวว จิบชาหนึ่งจอกครับ โพรสท์... น้อรก...
  • ขอบคุณมากครับ
P

สวัสดีครับน้องนัท

  • ขอบคุณมากครับ
  • ใช่แล้วครับ คนเราต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต ไม่ใช่แค่ห้องเรียน หรือห้องสี่เหลี่ยมครับ เพราะสังคมนี้แบ่งแยกไม่ได้ เพราะทุกอย่างไหลไปเจอกันพบกัน ตามวาระและโอกาสครับ
  • แต่เราต้องมีทิศทางในการเดิน เพื่อจะพัฒนาให้เป็นกระบวน และจะทำให้มีพลังด้วยหน้าที่ของแต่ละสาขาอาชีพครับ
  • เข้ามาร่มถกกันนะครับ จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ทั้งการศึกษาตลอดอายุขัย ครับ
  • ขอบคุณมากครับ
  • น้องเม้งคะ พี่ว่ามี error อะไรสักอย่างค่ะ  (หรือไม่พี่ก็ error  เอง)    ลิงก์ไปซ้อนกัน ค่ะ  เลยได้ไม่ครบ  อาจเป็นเพราะไม่ได้เว้นบรรทัดมังคะ....เดี๋ยวพรุ่งนี้ค่อยมาทำลิงก์ให้ใหม่ค่ะ   ขอบคุณสำหรับชามะนาวนะคะ  อิอิ  :)
P

ขอบคุณมากครับพี่แอมป์

  • ให้พี่หลับฝันดีนะครับ ผมเข้าไปเจอของดีๆ เลยครับ เป็นบุญสมองผมแท้ๆ ครับ ที่ตามไปเก็บเกี่ยวครับ
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดึตอนเช้าค่ะน้องเม้ง

เข้ามาทำลิงก์ของเว็บไซต์ วิชาการด็อตคอม ต่อจากเมื่อวาน สำหรับกระทู้ที่ลิงก์ไม่ได้ค่ะ  สำหรับท่านที่เพิ่งแวะมาและสนใจกระทู้เดิม รบกวนเลื่อนขึ้นไปดูของเดิมข้างบนนิดนะคะ  (ขึ้นไป 7 ความเห็นค่ะ)  ขอบคุณมากค่ะ  :)

ครูมัวทำอาจารย์ 3

ชีวิตครูอัตราจ้าง

ข้อสอบปรนัย

เรียนเพื่ออะไร

P

สวัสดีครับพี่แอมป์

  • ขอบคุณพี่อีกครั้งครับ น่ารักจริงๆครับ
  • กำลังทยอยอ่านเก็บเกี่ยวความเห็นดีๆ นะครับ น่าสนใจมากๆ นะครับ
  • โชคดีในการทำงานครับ ว่างๆ ก็เข้ามาปั่นประเด็นอื่นๆ กันต่อนะครับ

กลับมามองฟ้าต่อครับ

ผมจำได้ว่า เมื่อปีที่แล้วไปประชุม ที่  กระทรวงศึกษาธิการ ศธ. เรื่องการส่ง GPA ให้กับ ศธ.

ผมหนึ่งในที่ประชุม เป็นผู้แทนนอกสังกัด ศธ. ได้นั่งข้าง ผู้บริหาร สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สช.

ซึ่ง ผู้บริหาร สช. กล่าวว่า "เวลา สกอ.(สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา) ต้องการ GPA นักเรียนทั้งประเทศ ก็ ทุกโรงเรียนส่งข้อมูล ให้ สป.ศธ. แล้ว สป.ศธ. ส่งต่อให้ สกอ.

แต่ยาม ทุกโรงเรียน อยากรู้ว่านักเรียนตัวเองสอบติดไปเรียน มหา'ลัยอะไร ไม่คืนส่งเรื่องบอกกลับเลย

การส่งข้อมูลกลับให้โรงเรียนทราบ ทำให้เค้าได้รู้ว่า นักเรียนของเค้าสามารถสอบติดที่ได้ ทำให้เกิดการวางแผนปรับปรุงการเรียนการสอน หรือการแนะนำได้ชัดเจนถูกต้องขึ้น

ซึ่งเวลา ขอผ่าน สกอ. ที่ไรไม่ได้ ต้องทำหนังสือถามมหา'ลัยเอาเอง"

จากเรื่องนี้ยังเห็นได้ว่า การรับส่งข้อมูลเพื่อไปบริหารจัดการ ยังทำได้ยากเลยครับ

แล้วการจะไปวางแผนว่า ช่วงไหนใครสอน สอนอะไร ใครจะทำอะไร ก็ยากไปอีกเลยครับ

เรียกได้ว่า แก้ปัญหาเฉพาะหน้าตักใครหน้าตักมันกันแล้วครับ

และแล้ว ก็ยังมองมาดินไม่ได้อีกแล้วครับ อิอิ

ตามเข้ามาดูค่ะ ขอเวลาทำความเข้าใจกับโจทย์ที่ให้ก่อนค่ะ รู้สึกว่าข้อ 1 และข้อ 2 ยังงงอยู่ค่ะ ช่วยอธิบายนิดค่ะ ไว้กลางคืนจะมาตอบ รอหน่อย

P

สวัสดีครับคุณตาหยู

  • ขอบคุณมากๆเลยครับ ผมก็รอให้คุณเข้ามาต่อยอดครับ มามองฟ้ากันต่อครับ เหมือนกับว่า คนนั่งเครื่องก็มองไม่เห็นดินเพราะบินสูง คนติดดินก็เงยหน้าไม่เห็นฟ้า ไม่เห็นเมฆ
  • ทางแก้คือ ต้องสร้างความชุ่มชื้นให้เกิดระหว่างดินกับฟ้า จะทำให้เมฆต่ำลงครับ ความเย็นจะทำให้ช่องว่างระหว่างฟ้ากับดินน้อยลงครับ
  • นั่นคือต้องมาร่วมกันสร้างชั้นสีเขียว หากทางโลกคือป่าไม้ แต่ทางการศึกษาคือ กลุ่มคนสีเขียวที่จะช่วยทำหน้าที่ประสานระหว่างฟ้ากับดินให้อยู่ชิดกันมากขึ้น คุยกันได้รู้เรื่อง บินบนเครื่องแล้วก็เห็นคนเดินอยู่ คนที่เดินอยู่ก็จะเห็นท้องฐานเมฆชัดขึ้นครับ
  • ผมถึงเชื่อเสมอว่า ระบบคนสร้าง ทำไมจะแก้ไม่ได้ อยู่ที่จะทำหรือไม่มากกว่าครับ เพราะนี่คือเราคุยภาษาเดียวกันนะครับ ใช่ไหมครับ ดังนั้นเรามาร่วมกันเป็นกลุ่มคนสีเขียวครับ เพื่อลดช่องว่างครับ ทำหัวใจให้เป็นสีเขียวร่วมกันครับ
  • เข้ามาช่วยมองประเด็นต่างๆ กันนะครับ
P

สวัสดีครับคุณราณี

  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้นะครับ
  • ในสองข้อด้านบน ผมแก้ไขให้แล้วนะครับ ขอโทษด้วยครับ เพราะผมเขียนแบบปล่อยน้ำไหลจากก๊อกน้ำครับ
  • เพราะว่าการศึกษานั้น เราแบ่งได้เป็น การศึกษา ในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย นั่นคือ การศึกษาครอบจักรวาลแล้วครับ
  • ดังนั้น ก่อนการส่งเด็กเข้าชั้นอนุบาล ก็จะมีการศึกษาที่แฝงอยู่ครับ นั่นคือ ตั้งแต่ไข่กับอสุจิผสมกันเลยครับ พ่อแม่ก็ต้องศึกษาแล้วครับ ว่าเด็กเป็นอย่างไร นี่คือการทำวิจัยอย่างดีเลยครับ นี่ก็คือการศึกษา การเลี้ยงลูกก็เช่นเดียวกันครับ ดังนั้นการศึกษาที่ว่านี้มันกว้างรวมทุกอย่าง นั่นคือการสร้างสมองที่สมบูรณ์ได้นั่น ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิตครับ
  • ที่ผมถามคือ เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนส่งเด็กเข้ารับการศึกษาในระบบนะครับ แต่ก่อนหน้านั้นคือการศึกษานอกระบบหรือในระดับครอบครัวครับ
  • ลองมองๆ ดูนะครับผม เชิญชวนท่านอื่นๆ ด้วยนะครับผม
  • การศึกษาเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนมองได้ และให้ความเห็นได้ครับ เว้นแต่ว่าเราจะเบื่อเสียก่อนหรือเปล่าครับ อย่าเพิ่งเบื่อนะครับ (นายเม้งขอร้องงงงง อิๆ)
  • ขอบคุณมากครับ
  • กำลังใช้สมองว่าจะส่งความคิดนี้ไปให้ใครดีน๊า?
  • พี่ว่าปัญหาการศึกษาเหมือนกับปัญหารถติดในกรุงเทพ
  • ปัญหารถติดในกรุงเทพเหมือนกับปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
  • 2 วันที่ผ่านมา รุ่นน้องที่ม.อ ตานีถูกระเบิดเสียชีวิตอีก 1คนเป็นนักศึกษาที่มาจากภาคเหนือค่ะ
P

สวัสดีครับพี่อัมพร

  • อิๆ ขอบคุณมากครับ ตอนนี้ไม่ต้องส่งให้ใครครับ แต่หาคนมาถกกันก่อนครับ
  • ปัญหาทุกปัญหาที่พี่ว่ามานั้น คือ มาจากปัญหาการศึกษาทั้งสิ้นครับ มาจากรากเดียวกัน
  • ปัญหาขาดความเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ก็เป็นปัญหามาจากปัญหาการศึกษาครับ
  • ปัญหารถติด ต้องแก้ที่หัวของปัญหาครับ ปัญหารถติดเป็นเพียงปัญหาปลายน้ำ (ในความคิดของผมนะครับ) หากต้องการจะแก้ปัญหารถติดใน กทม. ต้อง กระจาย การศึกษา งานทำ ความเจริญ(ที่ว่าเจริญ) คน ในที่สุดแล้วปัญหารถติดก็ไม่เหลือให้แก้ครับ 
  • ทราบข่าวเหมือนกันครับ ขอบคุณมากครับ
  • เข้ามาขอยกมือสนับสนุนว่า   เราก็ควรพัฒนาการศึกษาของเราแน่นอน  แต่ในเมื่อต่างทำเลที่ตั้ง  ต่างพื้นที่  ลักษณะประชากรก็แตกต่างกัน  แล้วเราจะรับเอานโยบายต่างประเทศมาทั้งหมดโดยไม่ได้ศึกษาก่อนอย่างนั้นหรือคะ  ถ้าเราวางรากฐานให้ดีก่อนแล้วค่อยต่อยอดนำสิ่งที่ดีและเหมาะกับของเรามาต่อยอดน่าจะดีกว่าไหมคะ  นี่เล่นอิงกับ รมต.และคณะทำงานที่มาจากการเมือง  กลายเป็นว่าท่านจบจากประเทศไหนมา  ท่านก็ให้แนวทางการศึกษาในยุคท่านตามอย่างที่ท่านเรียนมา  เห็นปัญหาต่อมาไหมคะ  ผู้ปฏิบัติค่ะทราบเพราะเราคลุกอยู่กับฝุ่น  แต่เบื้องบนคงไม่ทราบอย่างที่เราทราบ
  • มีนโยบายการกระจายอำนาจ  ให้สร้างหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับโรงเรียนเอง โดยให้เอื้อกับชุมชนและท้องถิ่น  แต่ละโรงก็สร้างกันของใครของมัน  (อิงแกนกลางกันตามแต่ใครจะอิงได้ขนาดไน ) เอาเข้าจริง.....พอเราถูกกำหนดสร้างหลักสูตรท้องถิ่นของชุมชนเราเอง  เช่นให้มีหลักสูตรท้องถิ่นสอนวิชาทำไก่ทอด(ของดีท้องถิ่น)  ชื่นชมกันจัง  ไปๆ มาๆ เอา National Test มาวัด  แล้วถามว่าไอ้ที่เสียเวลากันไปในหลักสูตรชีวิตในท้องถิ่นนี่เด็กกลับเอาไปสอบในข้อสอบระดับประเทศไม่ได้เลย  หนำซ้ำ  ม.ปลายก็มีสอบวัดทั้ง A-Net , O-Net  แต่ให้สร้างหลักสูตรโรงเรียนใครโรงเรียนมัน  เลยทำให้มาตรฐานแต่ละโรงเรียนไม่เท่ากันไงล่ะคะ  มันคือช่องว่างอีกช่องหนึ่งให้มองเห็นปัญหากันบ้างไหมเอ่ย
P

สวัสดีครับคุณครูแอน

  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ
  • เป็นประโยชน์มากๆ เลยครับ
  • เดี๋ยวผมจะมาเพิ่มประเด็นด้วยอีกรอบครับ
  • ท่านอื่นๆ ว่ากันอย่างไร ร่วมแลกเปลี่ยนกันได้เลยนะครับ
  • ขอบคุณมากครับ

ไม่มีอะไรจะแลกเปลี่ยนอ่ะค่ะ  เพราะพี่หนิงไม่ใช่ครู  ไม่ได้สอนใครด้วยค่ะ

ไหนๆก็เห็นว่ากันเรื่องการศึกษาแล้ว  แวะมาฝากเรื่องการจัดการศึกษาสำหรับผู้พิการด้วยนะคะ  ตลอดจนการพัฒนาตามศักยภาพของผู้พิการ  ไม่ใช่แค่เห็นเป็นเรื่องบุญหรือ เอื้ออาทร ให้โอกาสได้เรียนอย่างเดียว  เมื่อเขาเรียนแล้วมีประสิทธิภาพ  มีความสามารถ  ให้การยอมรับ ดูความสามารถเขาหน่อยนะคะ   ให้โอกาสเขาทำงานในตำแหน่งที่เหมาะสมด้วย  คนพิการไม่ไร้ค่าหรอกนะคะ  และไม่ได้อยากเป็นภาระพึ่งพิงใครหรอกค่ะ

  • พี่เม้งคะ...
  • เจอราณีเขาไปบ่นๆให้ฟัง   เลยต้องเข้ามาแจม
  • ขอออกตัวก่อนนะคะ  ว่าไม่ค่อยถนัดที่จะแนะนำเรื่องนี้ค่ะ  แต่มีโอกาสพูดคุยกับอาจารย์ท่านอื่น   ทำให้พอจะสรุปประเด็นในการแก้ไขปัญหาการศึกษาของไทยได้ดังนี้ค่ะ
  • ประเด็นที่หนึ่ง
  • ควรมีการสอดแทรกคุณธรรมควบคู่กับการเรียนการสอน  เพื่อคอยกำกับความเฉลียวฉลาดของคนไว้    ไม่ให้นำความรู้ไปใช้ในทางที่มิชอบเมื่อสำเร็จการศึกษา     และจะทำให้เขาเป็นผู้มีภูมิปัญญาและเพียบพร้อมไปด้วยธรรมในใจ    เมื่อใดที่เป็นผู้นำมีอำนาจหน้าที่ก็จะไม่ใช่อำนาจหน้าที่ไปในทางที่เอื้อประโยชน์ต่อตนเองและพวกพ้อง
  • ส่วนพวกที่ทำงานในตำแหน่งหน้าที่อื่น  ก็ให้พึงพอใจในฐานะที่ตนเป็นอยู่   ไม่ฟุ้งเฟ้อจนเกินไป
P

สวัสดีครับพี่หนิง

  • การศึกษาไม่ใช่เป็นเรื่องแค่ของครู อย่างเดียวนะครับ พี่เองก็มีส่วนทั้งนั้นนะครับ ทุกคนมีส่วน ร่วมครับ
  • ดีมากครับ ที่นำเสนอในส่วนคนพิการด้วย เพราะการศึกษาต้องไม่มีรั้วกั้นครับ ต้องมีทางและกระบวนการให้กับคนทุกคนครับ
  • ดีใจที่พี่ทำงานทางด้านนี้เพื่อคนพิการนะครับ สู้ต้องไปครับ การศึกษาต้องให้ฟรีกับทุกคน โดยเฉพาะการศึกษาระดับพื้นฐานนะครับ
  • ขอบคุณมากครับ
  • ประเด็นที่สอง
  • มีอาจารย์ท่านหนึ่งเสนอแนะว่ารัฐบาลควรจะปรับปรุงวิธีการสอน   โดยแบ่งแยกผู้เรียนออกเป็นสองกลุ่มอย่างชัดเจนอคือ..
  • กลุ่มคนฉลาดควรสอนแบบการสื่อสารสองทาง  เพื่อให้ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กันโดยการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน   ทั้งนี้เพราะว่า เด็กที่ฉลาดสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วด้วยตนเอง   เพียงแค่อาจารย์ผู้สอนชี้แนะเพียงเล็กน้อยก็สามารถเข้าใจได้
  • ส่วนกลุ่มคนที่ไม่ค่อยฉลาด  จะไม่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง   ตรงนี้จึงต้องมีการเรียน   การชี้แนะค่อนข้างมาก  ใช้เวลายาวนาน    เพื่อที่จะสร้างแนวความคิดในเบื้องต้นขึ้นมาก่อน    จากนั้นจึงจะสามารถสอนนักศึกษาในส่วนที่ลึกซึ้งได้    แต่ทั้งนี้ต้องได้ผู้สอนที่มีความรัก  ความเอาใจใส่เด็ก และมีความอดทน   มีจิตวิญญาณของความเป็นครูอย่างแท้จริง
  • สำหรับหว้าเองตลอดเวลามักจะถูกโยนเด็กในกลุ่มที่สองมาให้เป็นประจำ  แล้วท่านอื่นก็จะเลือกแต่เด็กในกลุ่มแรก    เพราะสอนง่ายกว่า
  • ความจริงสิ่งที่จะต้องแก้ไข น่าจะเป็นครูผู้สอนนี่แหล่ะ  ที่จะต้องเปลี่ยนแปลงความคิดซะใหม่ 
  • ความจริงสิ่งที่จะต้องแก้ไข น่าจะเป็นครูผู้สอนนี่แหล่ะ  ที่จะต้องเปลี่ยนแปลงความคิดซะใหม่ 
  • พี่หนิงไม่กล้านะเนี่ย...แต่เห็นด้วยค่ะ  อิอิ ^__*

    ตอบ : เป็นคำถามที่หลายข้อแต่ขอตอบเชิงถามว่า

     ก็ต้องกลับมาถามตัวเราเองก่อนว่าเราให้การศึกษากับประชากรเราไปเพื่อให้เขาเป็นอะไร.........แล้วก็ถามลึกลงไปอีกทีว่าเราจะหันหัวเรือประเทศเราไปทางไหนทุนนิยมที่เป็นอยู่ตอนนี้ใช่หรือไม่ หากเป็นทุนนิยม คำถามข้างบนนั้นก็เป็นคำตอบอยู่แล้ว

         ฉะนั้นคำตอบของคำถามก็คือต้องกลับมาถามตัวเองกันก่อนว่าประเทศเราจะไปทางไหนกันแน่ จากนั้นเราจะกำหนดเป้าหมายได้....... (เริ่มสับสันเองแล้ว 555+)

    ปล.พี่เม้งกลับบ้านมีภาพมาฝากตามนี้นะครับ

    http://gotoknow.org/blog/dream-farm/93754

    • ดีมากเลยครับ ช่วยกันโต้เลยครับผม
    • จินตนาการเลยครับ ว่าเรานั่งล้อมรอบโต๊ะวงกลมครับ แล้วกำลังถกด้วยกัน จิบน้ำชาไป คุยกันไปครับ จะดีมากๆ เลยครับ
    • อยากให้เกิดประเด็นแบบนี้ครับ ต่อเลยครับ ท่านอื่นๆ ก็เชิญเลยครับผม ท่านมีความเห็นที่เก็บไว้อย่าได้ซ่อนไว้นะครับ ร้านอาเฮียเม้ง มีชาทุกรส ท่านอยากได้รสไหนบอกมาเลยครับ
    • ผมชงชาให้ครับผม บอกมาเลยครับ แล้วถกกันต่อครับ อ้าวชนถ้วยชา โพรสท์
    • ขอบคุณครับ
    บัวสี่เหล่าครับ ปัญาต่างกัน ต้องรู้ว่า แต่ละคนต้องสอนอย่างไร จึงจะเกิดผลครับ
    หากเราตั้งเป้าหมายประเทศเราแบบนี้ละ... เราจะแสวงหาหนทางของเราเอง หนทางที่นำความผาสุก มาให้แก่ชีวิต โดยมีเศรษฐกิจที่ไม่คุกคามสิ่งแวดล้อม และไม่เบียดบังคนส่วนใหญ่.... แล้วเราจะจัดการศึกษาอย่างไร....
    จัดตามความสามารถและถนัดสิครับ ตามแนวทางของพ่อหลวงของเราไง ตีความหมายออกมาให้ถูกอย่าหลงทาง การศึกษาเราไปโลดแน่นอน จริงหรือเปล่าครับ
    • ต่อกันเลยครับ
    • หากมีเด็กหนึ่งคน หรือคนหนึ่งคน คุณจะใส่อะไรลงไปให้เด็กบ้าง
    • บำรุงร่างกาย
    • บำรุงสมอง
    • บำรุงจิตใจ
    • สามอย่างพอไหมครับ ต่อเติมกันนะครับ

    สวัสดีค่ะท่านรมต.เม้ง(อนาคตนะค่ะ อิ อิ)

    • มาแก้ตัว เอ๊ยไม่ใช่ มาแก้คำของอาจารย์ลูกหว้า ไม่ได้มาบ่นให้ฟัง แต่พูดให้ฟังค่ะ แหม ! ถึงว่า ไอ แค๊ก ๆ เลย มีคนเม้าส์นั่นเอง ฮ่าๆๆๆๆ
    • ตอบข้อหนึ่งค่ะ จำเป็นต้องพัฒนาการศึกษา พัฒนาทั้งวิธีคิด และวิธีการสอน
    • เพราะทุกวันนี้การสอนเป็นการสอนให้ใช้แต่วิธีท่องจำ ไม่ค่อยได้มีการคิดเท่าไรค่ะ ต้องคอยป้อนตลอด คิดเองไม่เป็น ให้คิดก็บ่นว่าสอนอะไรเรื่องมากไม่ค่อยเหมือนคนอื่น จะทำอย่างไรดีค่ะเนี่ย ว้าเหว่จริง ๆ ต่างประเทศเขาสอนให้เด็กคิดเป็น หรือจินตนาการตามความรู้สึกนึกคิดตั้งแต่เด็ก ๆ แต่อย่างว่าแหละค่ะ ไม่มีถูกไม่มีผิด มองได้สองมุมมองอีกนั่นแหละค่ะ
    • ส่วนข้อ 2  การเตรียมเรียนก่อนเข้าอนุบาล พ่อแม่มักฝากความหวังไว้ที่โรงเรียนเตรียมอนุบาลหรือเรียกอีกอย่างว่าปฐมวัยค่ะ พ่อแม่ไม่มีเวลาดูแลหรือสั่งสอนได้ หรือไม่มีคนดูแล ก็เลยนำเด็กไปฝากเลี้ยงก่อนวัย  สำหรับราณีว่าเราบกพร่องนะค่ะ เพราะครูคนแรกที่จะสอนสั่งเราคือพ่อแม่ ค่ะ ซึ่งเป็นการเลี้ยงดูและมีความใกล้ชิดกัน ความพร้อมของครอบครัว เริ่มถอยหลังจริง ๆ  กลับให้วัตถุ+นิยม เข้ามามีอำนาจ เพราะมัวแต่หาเงินจนลืมสอนสั่งลูก ๆ หรือมองข้ามจิตใจ ของลูกไป บางครั้ง เราอาจจะสอนศีลธรรม ความถูกผิดซึ่งจะเป็นตัวอย่างให้ลูกจำได้ (ตามความคิดคือ อยากให้พ่อแม่ปัจจุบันนี้อยู่ใกล้ชิดกับลูกมากกว่านี้ อย่ามองข้ามจิตใจที่ต้องการความใกล้ชิดในวัยเด็ก เพราะจะมีผลต่อตอนโตได้ค่ะ )
    • การสอนระดับอนุบาลในข้อ 3 ราณีคิดว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญมาก ๆ จริง ๆค่ะ อยากให้ได้ครูเก่ง ๆเป็นคนสอนค่ะ สำคัญอย่ารำคาญเด็กค่ะ เห็นครูสมัยนี้ต่อหน้าพ่อแม่ดี ๆ แต่ลับหลังพ่อแม่ไม่เคยดูแลเด็กเลยค่ะ แถมตีแบบไม่มีเหตุผลค่ะ เป็นเพราะรำคาญค่ะ เห็นกับตานะค่ะไม่ขอพูดว่าโรงเรียนอะไร แต่มีจริงๆ ค่ะ
    • การที่เด็กจะผ่านขึ้นชั้นเรียนอยากให้ครูให้ความใกล้ชิดเด็ก ๆ  มองถึงปัญหาของเด็กในชั้นเรียนจริง ๆ ไม่ใช่ดูถูกเด็กค่ะ หรือไม่ชอบหน้า ทำให้เด็กไม่ชอบโรงเรียน หรือเกลียดโรงเรียนไปเลย อยากให้สอนให้เด็กทำความเข้าใจมากขึ้นอย่าใช้วิธีท่องจำ ใช้หลักเหตุและผลสอน เพราะทุกสิ่งล้วนมีที่มาที่ไป อยากให้สอนอย่างกระจ่างค่ะไม่ใช่สอนเร็ว ๆ เพราะกลัวเด็กจะถาม
    • ส่วนข้อ 4 และ ข้อ5 ที่เป็นการเรียนการสอนชั้นประถมศึกษาความสร้างแรงจูงใจให้เด็กมีส่วนร่วมระหว่างผู้เรียน ผู้สอน มีการสอนอย่างเห็นชัดเป็นรูปธรรม ไม่จำเป็นต้องอยู่แต่ในห้องเรียนเสมอไป มีกิจกรรมระหว่างการเรียนการสอน เพื่อไม่ให้เด็กเบื่อและรู้สึกสนุกไปกับการเรียน
    • อย่างวิชาเลขคณิตคิดในใจเนี่ยเป็นการประมวลวิธีคิดได้อย่างดี แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีค่ะ หรือวิชาอ่านเอาเรื่อง เป็นการฝึกคิด ฝึกอ่าน ฝึกพูด เดี๋ยวนี้ก็ไม่มี บางคนจบป.6 ยังอ่านไม่ค่อยได้เลย (ปัจจุบันนี้นะค่ะ)
    • ราณีไม่รู้เขาวัดกันอย่างไร ใครรู้ช่วยบอกด้วยนะค่ะว่าเกณฑ์การวัดผลในระดับประถมศึกษาวัดกันอย่างไร เดี๊ยวนี้เขามีแผนอย่างไรบ้าง
    • ส่วนข้อ 6 การเตรียมสร้างครูระดับมัธยมก็สำคัญ เพราะเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการศึกษามาก ๆ  ควรมีเกณฑ์การวัดมาตรฐานที่ดีค่ะและควรจะเป็นเกณฑ์เดียวกัน อาจารย์ควรได้รับการอบรมในเรื่องการเรียนการสอนแบบเดียวกันทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด เพื่อการถ่ายทอดจะได้เป็นแนวทางเดียวกันตามหลักของกระทรวงศึกษาฯ ค่ะ
    • ส่วนข้อ 7 การส่งมอบเด็กในระดับมัธยมต้นไปยัง สายอาชีพและสามัญ ควรวางแผนให้ต่อเนื่อง และไม่ขาดตอน ค่ะ เพราะว่าเด็กต้องทราบทิศทางการศึกษาต่อ หรือความชอบหรือการเรียนที่เด็กจะเลือกเพื่อตนเองในอนาคตเพราะทุกวันนี้ เลือกตามเพื่อนบ้าง ไม่รู้จะเรียนอะไร บางครั้งเรียนไปก็โดนรีไทร์บ้างเพราะไม่เคยวางแผนชีวิต หรือไม่รู้เลยด้วยซ้ำ เพราะไม่เคยมีการวางแผนการเรียนมา ไม่มีครูแนะแนว มาแนะนำว่าควรเรียนแขนงไหนดี  จริง ๆ ควรมีให้ชัดเจนไปเลย และต้องให้เด็กศึกษาให้ชัดเจน และมีการทดสอบความพร้อมก่อนที่เด็กจะไปเรียนจริง 
    • ส่วนข้อ 8 การเตรียมความพร้อมในการรับเด็กจากการวัดความสามารถและความรู้เด็กตามความจริงในการสอบเข้า  ไม่ใช่มีเท่าไรรับหมด แล้วปัญหาอาจตามมาทีหลังได้ 
    • หรือในอีกแง่หนึ่งการสอบเข้าก็ไม่ใช่เอาข้อสอบที่เด็กยังไม่เคยเรียนมาออก เพราะเด็กสมัยครูไม่เคยสอนในห้องเรียนแต่ถ้าจะเรียนต้องไปเรียนกับครูที่โรงเรียนพิเศษ ตกลงไปเรียนทำไมที่โรงเรียน ถ้าอยากเก่งไปเรียนที่โรงเรียนพิเศษดีกว่า ราณีคิดว่าไม่เป็นธรรม เดี๋ยวนี้กลายเป็นการค้าไปอีกรูปแบบหนึ่งไปแล้ว
    • ส่วนการที่เด็กจะจบออกไปควรมีความรู้โดยรวมใกล้เคียงกัน อาจมีการสอบวัดผลบ้างหรือสัมภาษณ์บ้างเพื่อที่เด็กจะได้มีการตื่นตัว หรือกระตือรือล้นบ้าง ไม่ใช่เรียนแบบได้หน้าลืมหลังอย่างนี้
    • ราณีมีตัวอย่างจะมาเล่าให้ฟังค่ะ  วันนี้นักศึกษาที่เรียนจบปี 4 สาขาการบัญชีนี่แหละค่ะ ขอสงวนชื่อนะค่ะ โทรมาหาราณีว่าอาจารย์ค่ะวันนี้หนูมาสัมภาษณ์งานค่ะ  หนูอยากถามอาจารย์ว่า ภาษีเงินได้นิติบุคคลคืออะไร  เสียภาษีเมื่อไร  ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานคืออะไร และอีกหลายคำถาม ราณีฟังแล้วอึ้ง ซึ่งทุกข้อที่เขาถามเป็นความรู้พื้น ๆ ทั้งนั้น แต่เขาไม่รู้ อันนี้ถ้าเป็นคุณเม้งจะคิดอย่างไรค่ะเนี่ย
    • เดี๋ยวเข้ามาบรรเลงต่อค่ะ
    • นี่เป็นเพราะคุณเม้งขอร้องนะเนี่ย อิ อิ เลยร่ายมาซ้า 555+ รับรองเรื่องนี้ไม่เบื่อหรอกค่ะ
    • ปล.นี่คือความเห็นส่วนตัวนะค่ะ อยากให้มีหลาย ๆ มุมมองค่ะ
    • ยอดเลยครับคุณราณี เยี่ยมครับ
    • บรรเลงต่อได้เลยครับ แบบนี้หล่ะครับ ปล่อยออกมาเลย จะได้หาแนวทางร่วมกันทั้งหมด
    • ผมยังไม่สรุปประเด็นใดๆ ก่อนนะครับ ให้ทุกคนแสดงความเห็นกันก่อนครับ
    • เชิญท่านๆ อื่นๆ ด้วยครับ ท่านที่เพิ่งเสนอไปมาต่อยอดเลยครับ
    • อาจจะจำลองเด็กในอุดมคติกันดูครับ ว่าอยากให้อะไรเค้าบ้าง ในการสร้างคนให้เป็นคนที่ต้องการของประเทศ ส่วนประเทศจะเดินไปทางไหน ตามที่น้องฟาร์มฝัน วิลเลี่ยมได้ถามไว้ด้วยนะครับ

    P
    P
    P
    P
    P
    P
    • เย้ได้วงน้ำชา สิบกว่าคนแล้วครับ เข้ากันมาอีกนะครับ ได้วงนี้ซักห้าร้อยคน เดี๋ยวจะทำขนมจีนเลี้ยงที่ลานหน้าบ้านเลยครับ
    • ทำน้ำแกงให้กินเลยครับ อ้าวชนแก้วครับ
    • ผมรู้นะว่ายังมีอีกหลายๆ ท่านนะครับ หากไม่รีบมาลงความเห็นเดี๋ยวผมไปแจกซองถึงบ้านเลยนะครับ ปรับขนมจีนคนละสองกิโลนะครับ
    • ขอบคุณมากครับ
    จะต่อไหมค่ะคุณเม้ง ลายตาหรือเปล่า แล้วคุณเม้งมีความคิดเห็นอย่างไร อย่าจิบชามากนะค่ะ เดี๋ยวท้องผูก และนอนไม่หลับ ฮ่าๆๆๆๆๆ
    P

    หากคุณราณียังไม่ง่วง ต่อได้เลยครับ แต่แนะนำให้นวดนิ้วก่อนนะครับ แล้วก็ร่ายมาได้เลยครับผม ลองดูครับ ว่ามีคนตุ๊กตา ตั้งแต่เด็กๆ มาจะสร้างเค้าอย่างไร ที่เป็นแบบที่ประเทศนี้ต้องการ แล้วน่าจะเป็นพันธุ์ที่ยั่งยืนนะครับ

    แบบนี้มีกำลังใจในการลุยครับผม เรียนเชิญท่านอื่นด้วยครับ

    คุณเม้ง  เยอรมัน  ครับ

    • ผมยังอ่านบันทึกและความคิดเห็นไม่ครบทุกท่านเลย  แต่ต้องรีบมารายงานตัวก่อน  เดี๋ยวกลับไปอ่านใหม่ครับ
    • เข้ามาทึ่ง อ.ราณี ค่ะ   ตอบจบครบประเด็นเลยอะ  ตรงจุดจังๆอีกต่างหาก
    • และเห็นด้วยกับ อ.ลูกหว้า นะคะ  กรณีแยกกลุ่มเด็ก(ในโอกาสอันควร) บางทีได้ผลกว่าสอนรวมกัน
    • พี่ยังไม่ได้สรุปนะคะน้องเม้ง  มาต่อเฉยๆ  กลัวโดนปรับหนมจีน  : )
    • ปล.ตกลงมีชามะนาวแล้วใช่ปะคะ  อิอิ 

    P
    สวัสดีครับพี่แอมป์
    • มีให้ทุกชาครับ แล้วแต่ต้องการครับ
    • ดีมากๆ เลยครับรวมพลังกันก่อนครับ แล้วกัดกินไปทีละประเด็นๆ วางแนวทางรวมกันครับ
    • ไม่มีหัวหน้าบนโต๊ะนี้นะครับ คุยกันถกกันได้เลยครับผม เชิญพรรคพวกพี่น้องเข้ามาร่วมกันด้วยนะครับ
    • ได้มองหลายๆ ประเด็นครับ

    เริ่มเห็นด้วยค่ะ เดี๋ยวราณีไปนวดนิ้วก่อนดีกว่าพรุ่งนี้ค่อยมาร่ายเพิ่มค่ะ ขอเชิญคุณสิทธิรักษ์  และพี่ดอกไม้ทะเลด้วยค่ะ และเห็นด้วยกับอาจารย์ลูกหว้าเช่นเดียวกันค่ะ

    ขอบคุณพี่แอมป์มากค่ะที่ทึ่ง ราณีก็ทึ่งของพี่เหมือนกันค่ะ มาเปิดอ่านหลายรอบแล้วค่ะ แต่ไม่กล้าเขียน   ได้โอกาสไม่มีใครเขียน ก็เลยถือโอกาสปั่นกระทู้ซะเลย ฮ่าๆๆๆๆๆ เขียนแบบเปิดก๊อกเขียนค่ะ เลียนแบบคุณเม้ง อิ อิ 

    P

    สวัสดีครับพี่

    • ชวนพี่อ้อยมาด้วยนะครับผม คิดถึงครับ
    • มาร่วมจัดประเด็นนี้กันจริงๆ ครับ
    • อ่านเลยครับ คิดประเด็นไหนออกพิมพ์ไว้ได้เลยครับ
    • ขอบคุณมากครับ

    คุณเม้ง  เยอรมัน  ครับ

    เรื่องวงการ ด้านการศึกษา  ผมขอยกธงขาวครับ  ขอเป็นผู้ชมและกองเชียร์อยู่ข้างเวทีนะครับ

    Hi...คุณเม้ง ช่างเป็นผู้อดทนในการนำเสนอมัก มากกก..ข้าน้อยขอคาราวะ สิ่งที่คุณเขียนเป้นส่วนหนึ่งที่ต้าผันตัวเองจากมัธยมสู่ประถมต้นนี่ละค่ะ
    P

    สวัสดีครับพี่

    • อย่ายกนะครับ ธงขาว ยกไม่ได้ครับ ยกได้แต่ไม่ใช่ยอมแพ้นะครับ
    • ชวนพี่อ้อยมาด้วยนะครับ การศึกษาก็คือเรื่องลูกของพี่นั่นหล่ะครับ ดังนั้นห้ามยกนะครับ มาเถิดครับ มาร่วมกันครับ
    • คุณลองมองดูครับ อยากให้ลูกเป็นอย่างไร ในสังคมนี้ประเทศนี้ครับ ส่งเสริมเค้าให้เค้าอยู่ได้อย่างไร เวลาเราจากไปครับ
    P

    สวัสดีครับ คุณต้า

    • ดีใจครับที่คุณเข้ามาร่วมวงชาด้วยกันครับ
    • ชงชาชนชาเพื่อการศึกษาครับ ลองเอาไปลองคิดนะครับ เป็นการบ้าน การสมองนะครับ ทำการบ้านกันดู เราอาจจะได้แนวทางอะไรร่วมกัน หลายๆ ระดับครับ วันหนึ่งผมอาจจะไปร่วมสอนนักเรียน ป.2,3 กับคุณก็ได้ครับ ตามโอกาส สร้างแรงจูงใจให้เด็กๆ ตัวน้อยๆครับ
    • ขอบคุณมากๆ เลยนะคับ ได้ไอเดียเจ๋งๆ แจ๋ว ๆ หรือคิดอย่างไรก็มาฝากได้เลยครับผม
    • ขอบคุณมากครับ
    • สวัสดีครับ
    • ท่านใดยังไม่นอนมาร่วมวงน้ำชาก่อนนอนครับ
    • คืนนี้ฝันดีครับ พรุ่งนี้มาลุยประเด็นนี้กันต่อครับผม
    • ขอบคุณมากๆ นะครับผม

    สวัสดีค่ะรัฐมนตรีช่วย

    • นั่งพิมพ์ตั้งนาน ไม่รู้มือไปโดนอะไร หายหมดเลย เฮ้อ วัยรุ่นเซ็งเลย ! ต้องนั่งลำดับความคิดใหม่เลย
    • ขอตอบข้อ 9 และข้อ 10แบบรวม ๆ ก็แล้วกัน ขี้เกียจพิมพ์รอบที่ 2 ยาว ๆ แล้ว เดี๋ยวคนอื่นเบื่อหมด อิ อิ
    • การเตรียมความพร้อมในการรับเด็กจากการวัดการสอบเข้า และการบริหารจัดการเด็กที่อยากเรียนและต้องการเรียน แม้ว่าผลการเรียนจะต่ำให้ทุกคนมีโอกาสเรียนตามที่หวัง ควรมีการจัดการที่เป็นระบบ มีการแบ่งรูปแบบในการสอบที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในการเรียนการสอน  ถ้าจะถามว่าเด็กทุกคนเก่งไหม ราณีตอบได้เลยว่าเก่งทุกคนค่ะ  แต่โอกาสของแต่ละคน หรือความพยายามของแต่ละคนไม่เท่าเทียมกัน มันจึงเกิดช่องว่างในเรื่องการศึกษา
    • การเรียนการสอนในสมัยนี้เป็นการเรียนการสอนที่สอนแต่ในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถสัมผัสได้จริง ๆ หรือเป็นแต่ในทางทฤษฎีอย่างเดียว ในภาคปฏิบัติไม่เห็น หรือไม่มีเลย จริง ๆ นะเนี่ยไม่ได้ล้อเล่นเลยค่ะ
    • การประยุกต์ใช้จากการเรียนการสอนเด็กสมัยนี้ก็คิดไม่เป็นค่ะ พอเกิดสถานการณ์เฉพาะหน้า คิดและตัดสินใจไม่ได้ เพราะกลัว และจำไม่ได้ว่าต้องทำอย่างไร เพราะที่เรียนทฤษฎีมาลืมหมดแล้ว ใช้ไม่เป็น
    • การเรียนการสอนต้องสอนให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมสอนแล้วกรณีตัวอย่างประกอบ เด็กจะได้ทำได้ และฝึกให้เด็กได้วิเคราะห์ในรูปแบบกรณีศึกษา ตั้งแต่ชั้นมัธยมต้นไปเลย เพื่อฝึกให้เป็นคนกล้าตัดสินใจ กล้าคิด กล้าที่จะวิเคราะห์ หรือแสดงความคิดเห็นในแต่ละเหตุการณ์
    • ในระดับสูงขึ้นไป ในระดับอุดมศึกษา ต้องสอนให้มีการเรียนกับการปฏิบัติงานควบคู่กัน หรือเห็น เข้าถึงการทำงานเช่น ใช้ในรูปแบบธุรกิจจำลอง  หรือมีการเรียนการสอนโดยเข้าถึงชุมชนหรือวิถีชีวิตชาวบ้าน หรือวัฒนธรรมไทยควบคู่ไปด้วย
    • เช่น เมื่อวันก่อนราณีฟังข่าวในโทรทัศน์ว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้จัดการเรียนการสอนโดยให้เด็กนักศึกษาไปมีส่วนร่วมการเรียนการสอนกับปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งมีการสอน การเลี้ยงสัตว์ ปลูกไร่สวนผสม หรือแม้แต่การทอผ้า ซึ่งมีปราชญ์ชาวบ้านเป็นผู้สอน แทนอาจารย์ ทำให้เกิดภูมิปัญญาที่ดี และนักศึกษาก็มีแนวคิดในแง่ดีกับชุมชน ดูแล้วถือว่าใช้ได้ค่ะเพราะเป็นโอกาสในสอนและถ่ายทอดกับระดับการเรียนในระบบด้วย ถือว่าเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นก สองตัวค่ะ
    • เมื่อเด็กเข้าถึงปัญหาที่แท้จริง จากการเรียนรู้ด้วยตนเอง จะทำให้ทราบถึงแก่นแท้ในการแก้ปัญหา และจะเป็นการปลูกฝังให้รักชาติไปด้วยในตัว  ไม่ใช่การสอนแต่ปากค่ะ  เขาเรียกว่า ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ
    • ต้องทำให้เด็ก ๆภูมิใจที่ใช้สินค้าไทย เอ๊ะ ทำไมวกมาเรื่องนี้ได้เนี่ย เง็งเลยเรา อิ อิ (มั่วนิ่มไปได้ยัยราณีเอ๊ย)
    • จากน้ำชาขอเป็นน้ำผลไม้ปั่นได้ไหมค่ะ มีประโยชน์ด้วย

    จิบน้ำชาก่อนครับ คุณ เม้ง ไฟแรง

    ไม่เคยเห็นความหลากหลายในสังคมบล๊อกอย่างนี้

    ช่วยกันถกปัญหาการศึกษา เห็นแล้วชื่นใจครับประเทศชาติจะมีอนาคตที่สดใส ดวงตะวันจะสาดแสงเจิดจ้าครับ

     

    • มองขึ้นไปสูงๆ (สูงสุด)
    • ก้มมองลงมาต่ำ (ต่ำสุด)
    • แล้วส่องกระจกดู
    รอคุณสิทธิรักษ์จิบน้ำชาก่อน อิ อิ เปลี่ยนเป็นน้ำผลไม้ได้ไหมเนี่ย มีรสชาดของชีวิตดีค่ะ 5555+


    สวัสดีครับทุกท่านที่น่ารัก 

    • P
    • P
    • P
    • P
    • P
    • P
    • ขอบคุณมากๆ เลยครับ ได้วงน้ำชา วงหนมจีน วงน้ำผลไม้ วงการศึกษา เพิ่มขึ้นครับ
      (ใครจะสั่งอย่างอื่นก็บอกมาได้ครับ จะทำส่งให้ข้ามทวีปเลยครับ ไตปลา ก็มีครับ น้ำพริกก็มีครับ อิๆๆๆ)
    • ผมอยากให้ทุกท่านที่เข้ามาในนี้ นะครับ อยากให้พี่น้องทุกท่าน เขียนอะไรที่รู้สึกเกี่ยวกับการศึกษาออกมาเลยนะครับ สิ่งที่เป็น สิ่งที่อยากได้ สิ่งที่ทำได้ และประเด็นอื่นๆครับ
    • การศึกษาตั้งแต่แรกเกิดจนตายนะครับ ผมให้วงกว้างแบบนี้ไปเลยครับ ไม่ว่าจะในระบบ นอกระบบ หรือแบบ อัธยาศัย ก็ตามครับ
    • และอยากจะเรียนเชิญท่านอื่นๆ ด้วยนะครับ
    • ขอบคุณมากครับ
    ชอบ  สะตอ  มากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
    P

    สวัสดีครับคุณราณี

    • ห้าๆๆ รมต.ช่วยหรือครับ ช่วยขุดดินได้ไหมครับ ผมชอบขุดดินครับ หรือช่วยลบกระดานดำให้ได้ไหมครับ หรือว่า ผมช่วยชงน้ำผลไม้ปั่นให้ได้ไหมครับ
    • ประเด็นที่คุณราณีว่ามา โดนหลายอย่างมากๆ เลยครับ เลยอยากจะช่วยให้คนอื่นมองและอ่านประเด็นของทุกๆ ท่านด้วยครับ
    • ผมชอบการเรียนการสอนแบบ ผสมผสานมากครับ คือ เอาระบบใน นอก และอัธยาศัยมารวมกันนะครับ นั่นคือ ในห้องเรียน นอกห้องเรียน ผสมชุมชน องค์กร เอกชน สังคมเข้าด้วยกัน ผสมผสานเหมือนการเกษตรแบบยั่งยืนต้องผสมผสานครับ
    • ขอบคุณมากๆเลยครับ

    P
    สวัสดีครับคุณสิทธิรักษ์
    • สะตอ ลูกเนียง ลูกเหรียง ธุง ที่สวนที่บ้านผมมีครับ จัดให้ครับผม ใครจะเอายอดชะอม มะเขือ แตกกวา ถั่วฝักยาว ใบมะม่วงหิมพานต์ และผักอื่นๆ กินกับหนมจีน ก็บอกได้นะครับ
    • มิสเตอร์ช่วยจัดให้ครับ

    การศึกษาไทย ไร้รั้วกั้น เชิญทุกท่าน ร่วมแสดงความเห็น

    • มามะ มาจอยกันจอยกัน มาซิมา มาจอยกันจอยกัน
    • มีภาพมาฝากครับ

    • ใครอยากเพิ่มเติมอะไร ใส่เพิ่มกันได้เลยครับ
    • ขอบคุณมากครับ

    อีกครั้งครับ ท่าน รมต.เม้ง คุณราณี

    การที่จะสอนเด็กให้เด็กมีความรู้เพิ่มพูล มีการรับรู้มากขึ้น  ต้องทำความเข้าใจเด็กคนนั้นๆ  และสำคัญที่สุดต้องให้เด็ก รักเรา เข้าใจเรา ชื่นชอบเรา เชื่อฟังเรา แล้วทุกสิ่งทุกอย่างจะพลั่งพลูเข้าไปในความทรงจำของเด็ก ไม่เฉพาะตำรา ความรู้รอบตัว และอื่นๆอีกมาย

    • ขอบคุณมากครับสำหรับ สะตอ
    • จิบน้ำชาต่อ
    เอ๊ะ   จะหมายความว่าเข้า เกียร์ใจ หรือเปล่า หรือเปล่า
    ถูก....ๆๆๆต้องนะค่ะ (เลียนแบบปัญญา อิ อิ) เข้าใจปัญหาของเด็กด้วยค่ะ  ขอบคุณค่ะคุณสิทธิรักษ์555555

    ส่งข้ามประเทศได้เลยครับ อิอิ

    P
    P
    P
    • ดีมากเลยครับ ทำความคุ้นเคยกันก่อนเลยครับ เดี๋ยวจะชนชา น้ำผลไม้ ชนจานหนมจีนกันได้ให้หรอยไปเลยครับ ผมส่งไปให้ทางไกลเลยครับคุณตาหยู อิๆ
    • ใช่แล้วครับ การให้ต้องเข้าใจผู้รับครับ
    • ผู้ส่งสาร ผู้รับสาร และสื่อ ต้องสอดคล้องกันครับ
    • จะทำให้เราทราบว่า ให้ร้อยครั้ง สุขใจร้อยครั้ง และยิ่งกว่าครับ

    คุณตาหยู

    ส่งอะไรข้ามประเทศครับ

    ของกิน ถนอมจิน(ขนมจีน) น้ำพริกผมชอบครับ

    แล้วส่งข้ามประเทศได้หรือเปล่า อิอิ

    P

    สวัสดีครับ

    • ได้เลยครับ เอาเขียวหวานไก่ด้วยไหมครับ
    • หรือว่าน้ำยาด้วยครับ
    • ที่นี่มีเส้นหลายๆ แบบครับ เส้นเวียดนาม ญี่ปุ่น และเส้นไทยครับ....
    • ไว้จะส่งมาวางให้ดูนะครับ ให้ดูรูปไปก่อนครับ อิๆๆ
    • วันนี้รบกวน มองฟ้าอีกรอบนะครับนะครับ

    สวัสดีครับน้องเม้ง

    โอโฮ...มีโต๊ะกลมแล้ว และมี รมต. รมต.ช่วย เอ เข้าท่า  เข้าท่า

    สำหรับประเด็น  ประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาการศึกษาไหม หากไม่พัฒนา จะปล่อยให้อยู่แบบนี้ จะได้ไหม หรืออย่างไร  พี่คิดว่าต้องพัฒนาครับ เหตุผลเล็กๆ บางส่วนนะครับ

    • ปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นรายวันนั้นส่วนหนึ่งมาจากระบบการศึกษาของเรา (มากน้อยแล้วแต่จะค้นหากัน) ถามว่าระบบการศึกษาที่กล่าวหากันนี้ ดูจะเป็นแพะ ที่ใครต่อใครก็มาลงที่นี่กันหมด ดูมันเป็นการคว้างปัญหาออกไปจากตัวเองแล้วให้ระบบรองรับปัญหานั้นๆ
    • พี่จำได้สมัยที่แฟนพี่มาเรียนที่ Gottingen เยอรมันนี่ พี่บินมาเยี่ยม และเที่ยวกันโดยเช่ารถเพื่อนนักศึกษาขับ วันหนึ่งเราจอดรถเดินลงไปดูสินค้าใน Supermarket มีเด็กสาวเดินข้ามถนนโดยขณะมีไฟแดงอยู่ เมื่อข้ามเสร็จ ก็มีผู้ใหญ่สองคนเดินผ่านมาเห็นจึงเรียกเด็กสาวนั่นมาแล้วตักเตืนว่าทำเช่นนั้นไม่ดี เราควรจะเคารพกติกาของบ้านเมือง ซึ่งต้องการความเป็นระเบียบเรียบร้อย หากทุกคนทำเช่นนั้นอะไรจะเกิดขึ้น เด็กสาวคนนั้นดูหน้าตาจะเปิ่น เขิน ต่อหน้าคนต่างชาติอย่างเรา และดูเหมือนเขารับฟังและขอโทษผู้ใหญ่สองคนนั่น  ฯลฯ พี่และแฟนพี่ตกใจ ทึ่ง อึ้ง กับกระบวนการทางสังคมให้คุณค่ากับสิ่งเหล่านี้มาก พี่นึกถึงว่าหากเป็นบ้านเราเด็กคงด่าสวนกลับมาแล้วล่ะ  การศึกษาอยู่นอกห้องเรียนด้วย สังคมต้องช่วยกัน
    • กรณีที่สอง ที่ขอนแก่นนานสัก 3-4 ปีแล้วมั๊ง มีป้ายติดที่สี่แยกโรงเรียนสนามบินว่า "ทำอะไรมีวินัยคือไทยแท้"  ในความหมายพยายามที่จะบอกว่าให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเคารพกฏจราจร และพยายามจะแก้คำเดิมที่มักพูดกันว่า "ทำอะไรตามใจคือไทยแท้"  ซึ่งเวลาผ่านมาถึงปัจจุบัน พี่รู้สึกว่ามันตรงกันข้าม การใช้รถใช้ถนนไม่มีการเคารพกฏจราจรเลย โดยเฉพาะ มอเตอร์ไซด์ ไฟแดงโล่  รถติดไฟแดงยาวเหยียด แต่เจ้ามอเตอร์ไซด์มอซ้ายมองขวาไม่มีรถวิ่งเลี้ยวก็ผ่าไฟแดงไปเลย เบิ้นรถด้วย แล้วก็เร่งจนควันขาวเต็มถนน  แล้วภาพเหล่านี้ก็มีมากขึ้น  ทุกสี่แยก ทุกจังหวัด ทุกเวลา ไม่ว่าชายว่าหญิง ไม่ว่าวัยรุ่นวัยดึก ไม่รู้เป็นอะไรกันไปหมดแล้ว  มันช่างตรงกันข้ามกับเรื่องที่เกิดที่เยอรมันเมื่อกี้เสียจริง  แม้แต่ลูกน้องพี่เองก็ทำที่มุกดาหาร  พี่เรียกมาคุยเสียนาน เขาให้เหตุผลว่า ก็เห็นเขาทำกัน และไฟแดงมันนาน ที่สำคัญไม่มีตำรวจอยู่...?? โอยนี่หรือ "ผู้ที่จบปริญญาจากมหาวิทยาลัย" "บัญฑิต" ผู้รู้ ..........เขาเป็นผู้มีความรู้แต่ไม่มีจริยธรรม  พี่ก็ตั้งคำถามว่าระบบการศึกษาเราให้อะไรแก่เด็ก สอน อบรมแค่ความรู้ หรืออย่างไร ในความรู้นั้นไม่มีผสมผสานจริยธรรม คุณธรรม ฯลฯ สติ สัมปชัญญะเลยหรือ มีแค่ความรู้ ซึ่งเอาเข้าจริงๆความรู้ที่ขึ้นไปรับปริญญามาจากองค์ท่านนั้นเอาออกมาใช้แค่ไหนกัน หลักสูตรเขาออกแบบอย่างไรกัน???
    • จากสองตัวอย่างนี้ เราจะไม่พัฒนาไม่ได้แล้ว
    • ถามว่าจะพัฒนาอย่างไร
    • เอ้า...ตอนนี้เราระดมคนทำรัฐธรรมนูญกันทั่วบ้านทั่วเมือง  ทำไมเราไม่ทำรัฐธรรมานูญการศึกษาบ้างเล่า  ก็ออกระดมความคิดทั่วราชอาณาจักรสยามประเทศ เอาต่างประเทศด้วยก็ได้อย่างที่น้องเม้งกำลังทำอยู่นี่แหละ รับฟังความเห็นมาจากทุกซอกมุมของประเทศ ทุกชนชั้น ทุกเพศทุกวัย  แล้วประมวลออกมา อย่าให้คนไม่กี่คนมากำหนดการศึกษาของชาติ
    • ผมขอโทษคุณครูบาอาจารย์ทุกท่านนะครับที่ผมกล่าวอยางนี้ 
    P

    สวัสดีครับพี่บางทราย

    • ดีมากๆ เลยครับพี่ ขอบคุณมากๆ ครับ ที่ให้ตัวอย่าง ที่พบเห็นในเยอรมัน ตอนผมเห็นก็ทำให้ทึ่งเช่นกันครับ
    • คือว่า ผมนั่งรถรางในเมืองจากบ้านมาเรียนครับ แล้วบังเอิญว่ามีเด็กวัยรุ่นคนสองคน นั่งแล้วยืดเท้าไปวางที่นั่งตรงกันข้าม โดยไม่ถอดรองเท้าเลย แล้วที่นั่งก็แบบว่าเป็นเบาะนุ่มๆทำจากผ้าคล้ายๆพรมนะครับ แล้วผมก็เฉยๆ ครับ พอรถจอดสถานีหนึ่ง คุณป้าคนหนึ่งก็ขึ้นมา แล้วมาเจอเด็กสองคนนั่น คุณป้าเตือนและสอนทันทีเลยครับ เด็กก็หดขาทันทีเลยครับ ผมเอาไปคิดต่อทำนองพี่นั่นหล่ะครับ แล้วในกรณีเดียวกันอาจารย์ผมมาจากฝรั่งเศส แล้วบอกว่า นี่เหตุการณ์แบบนี้ในเยอรมันสุดยอดจริง นี่หากที่ปารีส คนแก่คนนี้อาจจะโดนเด็กด่าไปแล้ว เพราะเค้าให้เกียรติเด็กมาก เหมือนว่าตามใจเด็ก
    • ตามทางม้าลายในเยอรมัน รถจะรีบไปธุระอะไรก็ตามหากมีคนกำลังจะข้ามทางม้าลาย รถต้องจอดสนิทรอให้คนผ่านไปก่อนครับ รถทุกคันจะต้องหยุดและจะต้องให้ทางเมื่อมีรถพยาบาลหรือรถตำรวจ หรือรถดับเพลิงมาแบบมีสัญญาณไซเรน
    • แต่ผมก็เจอว่า บางทีคนส่วนหนึ่งก็ข้ามฝ่าฝืนไฟจราจรเช่นกัน จะมีกลุ่มหนึ่งยืนรอจนให้ไฟสัญญาณคนเดิน และส่วนหนึ่งจะเดินข้ามไปเลย (คนเราหลากหลายครับ บางครั้งหากเรารอคนอื่นก็ต้องรอเพราะละอายใจ หากคนอื่นข้ามแล้วมีคนรอ เรารีบแต่จะข้ามก็ละอายใจ แต่ว่าก็ว่าครับ ผมก็ข้ามฝ่ามาแล้วแต่ตามบริบทครับ เช่นไม่มีรถซักคันในเวลายามวิกาล)
    • สิ่งที่พยายามกลั่นตรงนี้ก็ว่าจะไปให้ถึงจุดนั้นด้วยส่วนหนึ่งครับ แต่ผมอยากจะร่วมมือกับเพื่อนๆ G2K เพื่อให้เกิดแนวทางบางอย่างร่วมกันในการ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา สู่การนำไปใช้จริง แล้วนำไปใช้แล้ว เกิดปัญหามาแลกเปลี่ยนกัน หากได้ผลดี นำไปสู่การเผยแพร่ได้คำตอบที่ดี ที่มีผลต่อ รัฐธรรมนูญก็คงเป็นสิ่งที่ดีมากๆ นะครับ
    • เพราะเราจะร่างให้สวยอย่างไรก็ได้ครับ ผมกลับไปอ่านฉบับเก่าๆ ก็หรูๆ ทั้งนั้นครับ แต่มันสูงส่งมากในบางครั้งจนเอาไปทำจริงไม่ได้นะครับ ดังนั้นอยากให้ดึงฟ้าลงมาให้ต่ำๆ จะได้เอื้อมถึงครับ
    • ผมเลยต้องการความเห็นจากเพื่อนๆ ทุกคนครับ น่าจะได้แนวทางที่ดีนะครับ ไหนๆ เราก็ผ่านกับการศึกษามาแล้วทุกคน
    • มีจุดดีตรงไหนก็เอามาคุยกันครับ ตัวอย่างดีๆ ก็ดีมากๆครับ ตัวอย่างที่ต้องปรับปรุงก็มาหาทางร่วมกันปรับครับ เพราะหากไม่ปรับรุ่นเราตอนนี้ ไม่รู้จะไปปรับเมื่อไหร่ ดังนั้นมาเถิดครับ มาร่วมกันครับ อย่าคิดว่าตัวเองไม่มีความรู้หรือห่างไกลนะครับ ผมเชื่อว่าทุกคนมีไฟในเรื่องนี้นะครับ
    • ขอบคุณมากๆ นะครับ

    สวัสดีครับ คุณ เม้ง

    ขออนุญาติ เม้ง  ขอใช้บ้านเม้งเป็นที่คุยกับคุณบางทราย หน่อยครับ

    • ผมขอฟ้นธงเลยครับ เกี่ยวกับความจำเป็นในการพัฒนาการศึกษา
    • จะปล่อยให้เป็นไปอย่างนี้ต่อไปคงไม่ไหวครับ
    • ผมชอบใจ ที่คุณบางทรายพูดถึงเรื่องรัฐธรรมนูญจังเลย
    • มาครับ เชิญครับ  ผมร่วมด้วยคน
    • ขอบคุณเม้งมาก  รบกวนครับ
    • น้อรก
    P

    สวัสดีครับพี่

    • เต็มที่เลยนะครับ ไม่ต้องกังวล เขียนถามได้ทุกท่านเลยนะครับ เชิญมาร่วมกันจะได้ช่วยกันมองปัญหาให้กระจ่างครับ
    • การศึกษาคือเรื่องใกล้ตัวเรา ทิ้งไม่ได้ครับ การศึกษาไม่ใช่แค่เรื่องของครูกับเด็กครับ แต่เป็นเรื่องของคนทุกคน
    • เรียนเชิญท่านอื่นๆ ด้วยนะครับ
    • โหร้อนแรงจังครับ แสดงว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องรีบแก้ไข (แต่ก็เป็นมานานแล้วนี่ครับ ไม่เห็นแก้ได้สักที อิอิ)
    • สำหรับผมคิดว่า ชีวิตช่วงแรกเกิดจนประถมสำคัญสุดครับ
    • ทำยังไงก็ได้ให้เขามีคุณธรรม
    • ให้เขารู้ว่าเรียนไปทำไม เพื่ออะไร
    • ให้เข้าใจว่าชีวิตคืออะไร
    • มนุษย์ต่างกันอย่างไร
    • คนแต่ละคนเก่งไม่เหมือนกัน
    • คนกวาดขยะ กับนายก ถ้าทำงานสุจริตก็ไม่ต่างกัน
    • ผมขอแค่นี้ก็พอครับ

    ธรรมะสวัสดีครับ

    P

    สวัสดีครับน้องเทพ

    • ขอบคุณมากครับน้องบาว
    • จะบอกว่าปัญหานี้มันเก่าไปก็ไม่น่าจะใช่ครับ จะคิดว่าแก้ไม่ได้ก็ไม่น่าจะใช่ครับ พี่เชื่อว่าต้องแก้ไขได้ครับ และที่ที่ทำอยู่หลายๆ ที่ก็ทำได้ดีมากครับ เช่นโรงเรียนสัตยาสัย เพิ่งเข้าไปดูมาจากบทความของท่านไพบูลย์ ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม

      Best Blogger

    • บทความนี้นะครับ “โรงเรียนในฝัน” ที่เป็นความจริง และทำมาแล้ว 15 ปี
    • ลองไปอ่านดูนะครับ
    • หากมีเวลาลองระบายมาได้เลยครับ ว่าอึดอัดอะไรกับการศึกษาไทยเรา มองตั้งแต่ที่ตัวเองจำความได้ จุดเด่น จุดด้อย ให้รับรู้กัน เหมือนกับการที่เราชาร์จแบตเตอรี่ใหม่ๆ นะครับ เราต้องชาร์จมันให้ทุกอณูของเซลล์ตื่นเพื่อให้อายุการใช้งานของแบตฯยืนยาวครับ
    • ขอบคุณมากครับ 

    • อ้อ โรงเรียนนี้ผมได้ยินมานานแล้วครับ ของ ดร.อาจอง
    • เพื่อนผมคนหนึ่งเคยลองโทรไปที่โรงเรียนนี้ด้วยครับ ว่าอยากให้น้องไปเรียน
    • แต่ติดขัดเรื่องอะไรผมก็จำไม่ได้แล้วครับ จึงไม่ได้ไปเรียนครับ
    P

    ขอบคุณมากครับผม ท่านอื่นมีข้อมูลดีๆ กระบวนการดีๆ เกี่ยวกับการศึกษาเอามาร่วมบอกเล่ากันได้ครับ

    ร่วมถกกันต่อนะครับผม การศึกษา ปัญหาที่เจอ และแนวทางแก้ไข ระบายความรู้สึกในใจ บอกเล่าแลกเปลี่ยนกันนะครับ

     เมื่อสักครู่ได้แวะไปอ่านบันทึกนี้ของคุณบางทราย มาค่ะ     ชอบจัง......

    "เรื่องเล่าจากดงหลวง" เรื่องที่ 2 ผักหวานป่าและนวัตกรรมใหม่ของพ่อแสน

    คุณบางทราย  ตอบคำถามไว้     ทำให้ได้ข้อคิดเรื่อง "การสร้างคน" ทั้งคนที่จะเป็นต้นแบบ  และคนที่จะทำตามแบบ   ขออนุญาตคัดใจความที่กล่าวถึงการทำงานพัฒนาชนบทมาบางส่วน ดังนี้ 

                    "จากการคลุกคลีกับกระบวนการพัฒนาคนชนบทมา ตอบได้ว่าการเรียนรู้และความสำเร็จของการนำความรู้ไปใช้นั้น เป็นเรื่องเฉพาะคนเท่านั้น   เราสามารถวัดความรู้ของคนได้ว่าหลังกระบวนการเรียนรู้แล้วแต่ละคนรับรู้ไปเท่าใด..ทำไม่ยาก มีกรรมวิธีมากมายที่จะวัด 
                    แต่การจะนำความรู้นั้นๆไปปฏิบัติใช้ที่ซิ  ไม่มีใครระบุได้เลยว่าจะเอาไปทำได้ซักกี่คน เอาความรู้กี่ส่วนที่ได้ไปใช้ 
                    ดังนั้นเมื่อคนเรามีความแตกต่างในด้านเงื่อนไข ปัจจัย   สิ่งสำคัญของกระบวนการเรียนรู้คือ  เราต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ในหลักการ แล้วให้นำหลักการไปสร้างสรรค์เอาเองในทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับปัจจัย เงื่อนไขของแต่ละคน แต่ละครอบครัว แต่ละชุมชน....."
                   โจทย์ที่ถาม ตรงกับคำตอบนี้คือข้อ 11  ค่ะ : ) 

    ปล. อุ้ย....เงยขึ้นไปเห็นโมเดล พลัง G2K เร้าใจดี  น้องเม้งชอบคิดเป็นสมการอะ  เห็นหลายทีแล้ว  ครูสอนเลขตัวจริงเลยอะค่ะ   :-)

    P

    สวัสดีครับพี่แอมป์

    • ขอบคุณมากเลยครับ พี่ผมก็คิดว่าจะอ่านไปพอเจอประเด็นดีๆ จากการศึกษาก็เอามาฝากไว้ตรงนี้ จะได้รวมๆ ไว้ ดีมากเลยครับพี่
    • ไปเจอประเด็นในบทความคุณเบิร์ดด้วยครับ หลายๆ อย่าง เกี่ยวเนื่องกับจินตนาการครับ
    • ผมศรัทธากับกลุ่มคนทุกคนที่ปฏิบัติจริง ทำจริงครับ ดั่งที่มีคนกล่าวไว้ว่า

      ทฤษฏีที่ไม่มีการนำไปปฏิบัติ ไร้ผล
      การปฏิบัติที่ไม่มีทฤษฏีสนับสนุน ไร้ราก


    • ขอบคุณที่เอาคำตอบมาเสริมนะครับ ดีมากๆ เลยครับ
    • ส่วนทำเป็นโมเดลนั้น อยากให้ดูภาพรวมออกง่ายๆ ครับ ส่วนสมการเขียนอย่างไรก็ได้ครับ ขอให้อธิบายได้แล้วเข้าใจตรงกันครับ
    • ขอบคุณมากครับ

    น้องเม้งของพี่...

     

    เรื่องเกี่ยวเนื่องเรื่องเรียนของลูก โคตรอภิมหากระทู้มหัศจรรย์...พี่ใช้นามว่า พ่อเอง เข้าไปแลกเปลี่ยนกับเขา...พี่มาสรุปเฉพาะของพี่แล้ว...แต่ไม่รู้เก็บไว้ตรงไหน...

     

    เข้าไปอ่านดูที่กระทู้(บางคนบอกว่าต้องอ่านนานถึง 3 เดือน)...55555...

     

    แล้วพี่จะพยายามมาร่วมวงน้ำชาครับผม...

    อันนี้ต่างหากครับ...น้องเม้ง....ข้างบนเป็นแค่ตัดตอนมาและคนละกระทู้กัน....

    เรื่องเล่าจากพ่อลูกสาม - สถิติโรงเรียนบางอย่างที่น่าสนใจสำหรับพ่อแม่

     

    P

    สวัสดีครับพี่สอน

    • ขอบคุณมากครับพี่ จะตามไปอ่านนะครับ
    • โชคดีในการทำงานนะครับ

    สวัสดี รมต.ช่วย ที่รักนับถือ

    • ฉายานี้ใครตั้งให้นะเนี่ย  ดีจังเลย 
    •  วันนี้อากาศอึมครึม  เยือกเย็น 
    • คล้ายกับว่าจะมีเหตุอะไรเกิดขึ้น
    • เงียบๆ เชียบๆ
    • จิบน้ำชาร้อนๆดีกว่า
    • เลยวกเข้ามาชนแก้ว
    • น้อรก  
    P

    สวัสดีครับพี่ สิทธิรักษ์

    • ห้าๆๆๆ รมต. (รักแม่ตลอด) นะครับ
    • วันนี้พายุ มันจะวิ่งขึ้นไปทางพม่าครับ ทางเหนืออาจจะได้รับผลกระทบครับ
    • แล้วฝนตกอยู่ไหมครับตอนนี้ครับ
    • จิบชาร้อนๆ ใจเย็นๆ เอ้า น้อรก....
    • ขอบคุณมากครับ
    พ่อลูกสาม เอาเรื่องจริงๆ เบรอไปหมดไม่หวาย
    สวัสดีครับคุณเม้ง..มาเยี่ยมแล้ว  แฟนเยอะจัง  ประเด็นคำถามน่าสนใจทั้งสิ้น
          การเตรียมความพร้อมเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง  หากมาเริ่มที่สถานศึกษาก็คงสายไปเสียแล้ว  ต้องเริ่มตั้งแต่เด็กอยู่ในท้อง  ครอบครัว พ่อแม่ สำคัญอย่างยิ่ง  ในการสร้างพัฒนาการทางสมอง พัฒนาการทางคุณธรรมจริยธรรม  แล้วระบบโรงเรียนทุกระดับ  ต้องสานต่ออย่างเป็นเอกภาพ ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ  ทำเด่นเฉพาะตัว  แล้วโทษคนอื่น เด็กปรับตัวไม่ทันครับ  เส้นทางชีวิตของเด็กแต่ละคนเมื่อเขาเกิดมาควรได้รับสิทธิในการเลี้ยงดูแล ศึกษา เติบโตขึ้นมาอย่างชัดเจน  เหมือนเส้นทางวิชาชีพครูก็ต้องทำให้ชัดเจนเหมือนกัน ไม่ใช่วิ่งตามนโยบายการเมืองอย่างขาดจุดยืน 
           วันนี้แลกเปลี่ยนแค่นี้ก่อนนะ  ขอเป็นกำลังใจให้คุณเม้งมาช่วยกันดูแลเรื่องการศึกษาครับ
    P

    สวัสดีครับท่านอาจารย์ธเนศ

    • กราบขอบพระคุณมากๆ เลยนะครับ
    • ยอดเลยครับ ว่าต้องเตรียมกันตั้งแต่การวางแผนครอบครัวของคู่สามีภรรยากันเลยครับ ว่าพร้อมหรือไม่พร้อมในการที่จะมีลูก ตลอดจนการตั้งครรภ์ การเตรียมความพร้อม ต่างๆ จนเค้าคลอดออกมา ผมว่าการวิจัยของพ่อแม่ในช่วงนี้สำคัญมากๆ ทำอย่างไรให้เด็กไม่ขาดในเรื่องความอบอุ่น แล้วเติมเต็มให้เค้าได้ในทางที่ดี
    • พัฒนาการทางคุณธรรมจริยธรรม นี่ก็เด็ดมากครับ เพราะต้องทำตั้งแต่แรก แล้วสิ่งที่เค้าได้รับรู้มาก ต้องนำไปใช้ได้จริงนะครับ ทำให้ผมนึกถึงโฆษณาอีกแล้วครับทางวิทยุ เด็กผู้หญิงกับพ่อของเธอไปต่อคิวเข้าแถวเพื่อจะซื้ออะไรซักอย่าง แต่มีผู้ใหญ่คนหนึ่งไปแซวคิว เด็กทักทันทีเลยว่า คุณครูบอกว่าต้องมีระเบียบวินัย แต่ทำไมคนนั้นเค้าไม่ต่อแถวค่ะคุณพ่อ....
    • มีหลายๆ อย่างที่เด็กเรียนมาตอนเด็กๆ แล้วนิสัยดีๆ แต่เอามาใช้ในระบบใหญ่จริงไม่ได้ตรงนี้น่าคิดเช่นกันครับ
    • ผมถึงเอาระบบการเลี้ยงดูเด็กมาเทียบกับการวิ่งผลัดนะครับ แต่การเลี้ยงดูเด็กต้องมีการติดตามด้วย และส่งใจไปให้เค้าด้วยตอนที่ช่วงเค้ากำลังวิ่งอยู่ในแต่ละช่วงนั้น คือให้กำลังใจ ให้คำแนะนำในทางที่ดี
    • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับผม ว่างๆเชิญท่านอาจารย์เข้ามาอีกนะครับผม ได้หลายๆ ประเด็นนะครับ
    • โชคดีในการทำงานครับ

    สวัสดีค่ะน้อง P เม้ง สมพร ช่วยอารีย์ ---------> http://www.somporn.net ---------> http://www.schuai.net

    ขออนุญาตมาร่วมวงจิบน้ำชาด้วยคน มาช้า ดีกว่าไม่มาเลยใช่ไหมคะ ; )

    คำถามน้องเม้ง ตอบง่ายและตอบยากค่ะ คำตอบเหมือนชัดว่าต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลง แต่ที่ตอบยากคือ"ทำอย่างไรค่ะ"

    ภาพรวมคิดเหมือนคนอื่นๆ แหละค่ะว่าการศึกษาในระดับต่างๆ ไม่ต่อเนื่อง ทางเลือกของผู้เรียน ผู้ปกครองมีน้อย เพิ่งเขียนเรื่อง "ทำไมถึงมาเรียนวิศวกรรมโยธา?" ที่แสดงให้เห็นกระแสค่านิยม ที่มีส่วนผลักดันให้การศึกษาทั้งระบบล้มเหลวได้

    พี่ไม่ค่อยพบตัวอย่างที่เรามีทางเลือกให้เด็กไปเรียนครู เรียนเกษตรชุมชน เรียนแกะสลัก เรียนเป็นช่างไม้ ช่างประปาฯลฯ แล้วเรานำผลสำเร็จของคนๆ นั้นมาเชิดชู สักเท่าไหร่ มันทำให้คนดูถูกวิชาชีพที่ต้องใช้ "ฝีมือ" ในบางวิชาชีพ แล้วสุดท้ายก็ไม่มีคนไปเรียน ไปต่อยอด ทั้งๆ ที่เป็นวิชาชีพที่จำเป็นต่อการจรรโลงสังคม

    ทางแก้ทางหนึ่งอาจเป็นเรื่องของการสร้างกระแสคุณธรรม จริยธรรม เหมือนที่อ.ลูกหว้าให้ข้อคิดไว้ค่ะ แล้วก็สร้างกระแสนิยมในวิชาชีพอื่นๆ ที่ไม่ใช่หมอ ไม่ใช่วิศวฯ บ้าง

    ตอนนี้วิศวคอมพ์กำลังมาแรงค่ะ กำลังกลัวว่าผู้ใหญ่ในวันหน้าจะกลายเป็น square head ที่ไม่รู้จักมนุษยสัมพันธ์ กลายเป็นคอมพิวเตอร์เดินได้ แต่ไม่ค่อยมีจิตใจ มีแต่ logic แต่ถ้า logic ไม่ดีเนี่ยน่ะสิ  เสียวมากค่ะ เดี๋ยวจะมีเคสแบบเวอร์จิเนียเทคฯ เต็มไปหมด

    แค่นี้ก่อนนะคะ เขียนบ่นมากไปแล้วค่ะ ขอบคุณน้องเม้งค่ะ

    P

    สวัสดีครับคุณครูแอน

    • เห็นด้วยกับคุณครูมากๆ เลยครับ เรื่องการเรียนให้อยู่บนแนวทางของที่ทำเล ให้เหมาะสมกับที่ตั้งและภูมิปัญญาของท้องถิ่นนั้นๆ ด้วย แล้วค่อหาทางต่อยอดสูงๆ ขึ้นไปอีกที แต่ให้สิ่งที่อยู่ในชุมชนชัดเจนมากขึ้น
    • ไม่งั้นเราจะลืมหมดเลย เรากลายเป็นว่าเราเรียนแต่ไกลตัว แต่เราทำนาไม่เป็น เราไม่รู้ว่าจะปลูกผักอย่างไร แต่เรามุ่งเน้นจะทำอะไรต่ออะไรมากๆ จนในที่สุดไปเรียนจบมาไกลๆ ก็เอาแนวคิดต่างประเทศมาปรับใช้ในทางที่ไม่สอดคล้องกับรากเหง้าของไทยเอง ก็จะเกิดปัญหาความขัดแย้งได้
    • อีกอย่างการนำของจากต่างชาติมาใช้กับคนไทย ต้องทำการศึกษาอย่างดีก่อน ไม่สามารถจะโยกย้ายมาใช้แบบเบ้าเดียวกันได้ใช่ไหมครับ เพราะจะทำให้กลายเป็นขยะของชุมชนไปก็ได้ แต่หากสอดคล้องก็จะทำให้ชุมชนก้าวไปอีกระดับได้ แต่ต้องมีพื้นฐานเดิมของรากของชุมชนครับ
    • ผมชอบครับ ตอนผมเรียน ประถมมัธยม คุณครูพานักเรียนไปฝึกเกี่ยวข้าวกับ แกะ หรือ แกละ แบบตัดทีละรวง เกี่ยวทีละรวงเลยครับ แล้วฝึกการจับ การผูกเป็นกำ เป็นเลียง
    • คือเป็นเรื่องใกล้ตัว เหมือนไปลงแขกให้กับชาวบ้านนะครับ ทำให้ฟรีๆ เด็กได้เรียนรู้ ความผูกพันระหว่างชาวบ้าน ครู โรงเรียน นักเรียนก็เกิด โรงเรียนก็จะทำเพื่อชุมชน ไม่มีรั้วกั้น คนมีปัญหาก็จะวิ่งไปหาครู
    • ครูอยากได้ความร่วมมือก็ไปหาชุมชน ผมว่านี่หล่ะ จุดยืนและยั่งยืนของชุมชน ผมถึงไม่ค่อยชอบการมีรั้วกันของทุกๆ สถาบันครับ เพราะสังคมใหญ่นั้น ต้องไร้รั้วกันในเรื่องการเรียนรู้ครับ
    • เรื่องระบบการสอบเข้านี้ ต้องคิดกันให้ดีครับ ว่าจะเอาแบบไหนแล้วแบบไหนเหมาะกับไทยและยุติธรรมกับเด็ก และไม่แบ่งแยกกันมากเกินไป
    • อีกอย่างผมว่า หากเรากระจายอำนาจทางการศึกษาให้เป็นจริงในทางการปฏิบัติ กระจายหลายๆ อย่างๆออกไปจริงๆ จังๆ คงลดปัญหาได้เยอะเลยครับ แต่ต้องเจอปัญหาแน่นอน แต่หากจริงใจจะแก้ไขก็ไม่มีปัญหา ผมเชื่อว่าทุกฝ่ายให้อภัยครับ
    • เราจะวางแผนกันอย่างไรต่อดีครับ เรื่องเหล่านี้
    • ขอบคุณมากครับ
    P

    สวัสดีครับพี่กมลวัลย์

    • ขอบคุณพี่มากๆ เลยครับ
    • เด็ดมากๆ เลยครับ เดี๋ยวจะเข้าไปร่วมถกในประเด็นพี่ด้วยครับ
    • เพราะว่าเรามีค่านิยมให้เรียนอะไรที่ไม่ใช่ที่พ่อแม่เป็น โดยเฉพาะหากพ่อแม่เป็นเกษตรกร พ่อแม่ก็ไม่อยากจะให้ลูกต้องมาลำบากเหมือนพ่อแม่ อยากให้ลูกสบาย มีเงินใช้ มีครอบครัวที่ดี ส่วนนั่นคือจะเป็นคำตอบของลูกหรือไม่ก็ต้องอยู่ที่ลูกด้วยครับ
    • ผมว่าทางระบบใหญ่ควรจะกำหนดให้ชัดเจนว่าเมืองไทย ประกอบด้วยอะไรบ้าง ควรมีสาขาอาชีพอะไรเท่าไหร่ ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมแต่ละสาขา แล้วจบแล้ว ไม่ตกงานแน่นอน
    • อย่างงานเกษตรไม่ตกงานแน่นอนครับ ขอแค่อย่าขี้เกียจแค่นั้นเองครับ เพราะว่าทำแล้วก็ได้คิด ได้ฝึก ได้เชี่ยวชาญ
    • งานฝีมือต่างประเทศ นี่แพงมากๆ เลยนะครับ พวกช่างแกะสลักไม้อะไรทำนองนี้ แพงสุดๆ ที่นำมาขายเป็นสินค้า
    • ทางเกษตรก็น่าจะวางแผนได้หมด เรามีเกษตรตำบล อำเภอ จังหวัด กระจายอยู่ทั่วประเทศ รัฐก็ต้องใช้ระบบนี้ในการจัดการบริหารให้องค์กรทำงานได้ แล้วบริการชุมชนที่แท้จริง
    • แล้วกำหนดที่ที่จะปลูกแต่ละที่ไปให้ชัดเจน เกษตรกรไม่ต้องมาประท้วงเดินทางเข้าทำเนียบ ว่านี่ราคานี่นั่นตก ท่านต้องอุ้มนะ อะไรทำนองนี้นะครับ หากเราทำให้เค้าอยู่ได้ เค้ามีกิน ผมเชื่อครับ ว่าเป็นสุข แม้เราจะไม่ใช่เสือตัวที่หนึ่ง ทำไมเราต้องเป็นเสือครับ เป็นลูกแมวก็ได้ หากประเทศเราอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข มีกิน คนไม่ป่วย มาตรฐานการครองชีพ เป็นไปอย่างดี
    • ผมเข้าไปตามหมู่บ้านของเยอรมันบางที เค้าอนุรักษ์บ้านเก่าๆ ทั้งนั้น ครับ  ห้างต่างชาติ นี่หายากมากๆ เลยครับ
    • เหมือนที่เราเห็นว่าอาเจนตินามีห้าฝรั่งเศสเต็มประเทศ แต่ห้างเหล่านั้นไม่มีในเยอรมันเลยครับ เค้ามีร้านของเค้าเองส่วนใหญ่ให้คนทำมาหากินอยู่ได้
    • ทำไมไทยเราจะทำไม่ได้ครับ เรามีทรัพยากรที่ดีเต็มไปหมดทั่วไทย แค่เราต้องการคนที่มีคุณภาพ มาบริหารจัดการ ตลอดจนการทำงานเชื่อมโยงกันทุกๆ สาขาอาชีพ เราต้องลดกำแพงระหว่างองค์กรครับ ทางการศึกษาก็เช่นกัน
    • ผมว่าตอนนี้เรามี มรภ. ทั่วประเทศเลยครับ ซึ่งผมว่าเป็นข้อดีเหมือนกัน แต่ต้องพัฒนาศักยภาพในการพัฒนาอาจารย์ผู้สอน และทุกอย่างให้กระจายทั่วถึงให้เร็ว เพราะต้องดูและเรื่องคุณภาพด้วยให้ทั่วถึงกัน ซึ่งผมว่าต่อไปเด็กไม่ต้องวิ่งเข้าเมืองหลวงอย่างเดียว จะทำให้การกระจายเกิดที่แท้จริง อย่างที่องค์กรอื่นๆ เรามีอยู่แล้ว
    • ส่วนเรื่องสาขาการเรียนก็เช่นกันครับ เราต้องกระจาย ผมจะบอกว่า คนที่หันไปเรียนคอมพ์กันจริงๆ เราผลิตคนให้สร้าง หรือเราผลิตคนให้ใช้โปรแกรมต่างชาติครับ (ประโยคนี้เจ็บนะครับ หากเอาไปคิดให้ลึกๆ ผมต้องการเขียนให้เจ็บเพราะว่า วันข้างหน้าเราจะเจ็บมากกว่านี้ หากเรามีแต่คนใช้ ไม่มีคนสร้าง)
    • เรื่องคุณธรรมจริยธรรมต้องสร้างมาจากในท้องพ่อแม่เลยครับ โดยที่พ่อแม่ต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมก่อน ที่จะสร้างลูกให้มีคุณธรรมได้ ใช่ไหมครับ เพราะเด็กเล็กๆ จะบริสุทธิ์ แต่จะติดเชื้อจากพ่อแม่ ครอบครัว และสิ่งแวดล้อม ส่วนพันธุกรรมด้วยหรือเปล่า อันนี้ไม่แน่ใจครับ
    • ขอบคุณพี่มากๆ เลยนะครับ ที่เข้ามาทำให้ผมพล่ามได้อีกไกล อิๆ แต่ที่ว่ามานี้ก็เกี่ยวโยงกับการจัดการวางแผนการศึกษาทั้งสิ้นครับ
    P

    สวัสดีครับ อ.ลูกหว้า

    • สบายดีนะครับ
    • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ ขอโทษด้วยนะครับ ที่ตอบลำดับแต่ละคนไม่เป็นไปตามลำดับครับ
    • เรื่องที่อาจารย์เสนอมา เห็นด้วยครับผม เรื่องคุณธรรมจริยธรรมนั้น สำคัญมากๆ ครับเพราะว่า เรียนดี เรียนเก่งไม่ได้ หมายความว่าจะเป็นคนดี เพราะหากเรียนดีแล้วเห็นแก่ตัวสูงนี้ แย่เลยครับ ความรู้จะเป็นเหมือนดาบอีกคมหนึ่งทันที คือเฉียบคมในอีกด้านหนึ่งเลยครับ
    • ส่วนเรื่องที่สอง เรื่องการแบ่งเด็กเก่งหรือไม่เก่งออกจากกัน ใจหนึ่งผมก็เห็นด้วยเพราะง่ายต่อการสอน แต่อีกใจหนึ่งผมก็คิดว่าน่าจะสร้างบรรยากาศในการเรียนได้ ให้คนเก่งมาหัดเป็นครูแล้วใส่วิชาการให้ โดยเป็นผู้ให้ถ่ายเทให้กับเพื่อนๆ คนอื่นในชั้นเรียนด้วย น่าจะเกิดความกลมกล่อมได้เช่นกันใช่ไหมครับ แต่คงอยู่ที่วิธีการสอนมากกว่า
    • หากเกิดว่าเด็กเก่งเรียนกับเด็กเก่งด้วยกัน แล้วสอนง่าย แล้วในชั้นเรียนเด็กแข่งขันกัน ฟันกันด้วยคะแนนแล้วเห็นแก่ตัวสูงขึ้น ตอนออกมาสู่สังคมภายนอกก็อาจจะได้แนวทางการเห็นแก่ตัว ซึ่งไปเทียบกับอีกกลุ่มที่เรียนปานกลาง ก็จะต่างๆ กันอีกเช่นกัน แต่นั่นก็อยู่ตามประเด็นแรกคือคุณธรรมใช่ไหมครับ ต้องใส่เข้าไปอีกเช่นกัน
    • ผมเลยไม่แน่ใจว่าวิธีการไหนถูกหรือผิด หรือดีหรือไม่ดีนะครับ เพียงแต่ต้องค้นหาคำตอบที่ดีเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ครับ เช่น หากสอนเด็กเก่ง แล้วถ่ายทอดไม่เป็น ต่อไปคนเก่งๆ เหล่านี้จะนำความรู้ไปคุยกับชาวบ้านได้เข้าใจไหมครับ แต่หากเค้าเคยถ่ายทอดให้กับเพื่อนในชั้นเรียน ได้เข้าใจ ก็ฝึกความอดทน ฝึกใจเย็น ฝึกการค้นหากระบวนการง่ายๆ ให้เพื่อนเข้าใจได้ง่าย ฝึกการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
    • คนเรียนปานกลางก็ต้องปรับตัว ค้นหากระบวนการเรียนรู้มาปรับใช้กับตัวเองด้วย น่าจะเป็นการเรียนรู้ หรือที่เราเรียกที่นี่ว่า แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กันได้อย่างลงตัวก็ได้ใช่ไหมครับ
    • บางทีผมก็ไม่ค่อยเห็นด้วยเรื่องการแยกกลุ่มห้องคิง ห้องควีน ห้องธรรมดา เลยครับ ผมว่ามองอีกทีเป็นการเห็นแก่ตัวครูที่จะได้สอนง่ายเกินไปหรือเปล่า หรือว่าเป็นข้อดีที่จะทำให้เด็กไปถึงดวงดาวได้เร็วขึ้น แต่ช่องว่างระหว่างห้องก็ต้องนำมาคิดด้วยใช่ไหมครับ ว่าเป็นอย่างไร
    • แต่อย่างไรก็ตามครับ เห็นด้วยกับอาจารย์ว่า อยู่ที่ครูผู้สอนด้วย และผสมกับคุณธรรมจริยธรรมนะครับผม
    • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ โชคดีในการทำงาน และรักษาสุขภาพนะครับ
    ไม่มีความคิดเห็น แต่ขอบ่นล่ะกัน

    สวัสดีคะ 

    • ว่าจะเข้ามาอ่านเฉยๆ แต่เปลี่ยนใจออกความเห็นด้วยดีกว่า ถือเป็นการระบายไปด้วย อิๆๆๆ
    • เห็นด้วยนะที่เด็กๆ เราควรจะปลูกฝังคุณธรรม และจริยธรรมลงไปก่อนเพราะตอนโตแล้วคงยากที่จะทำ
    • ก้อคงต้องช่วยกันทั้งพ่อแม่และก้อครูที่โรงเรียนด้วย ช่วงนี้ผู้ใหญ่นี่แหละสำคัญ พอดีเพื่อนมีลูกเรียนประถมที่เทศบาล  คอน
    • เชื่อไหมว่าสมัยนี้โรงเรียนเทศบาล แข่งกันกัน จริงๆ มันก้อมีมานานแล้วหล่ะ แต่สมัยนี่แข่งกันสุดๆ  เดียวก้อสอบโน้นสอบนี่ สอบเข้าโรงเรียนดังๆ ประจำจังหวัด โรงเรียนไหนได้ที่ 1 ของเทศบาล อะไรทำนองนี่ แล้วใครรับกรรม ก้อเด็กนี่แหละ กิจกรรมน้อยมากๆ เย็บปักถักร้อย ปลูกต้นไม้ ทำอาหาร อะไรทำนองนี้ไม่มีแล้ว (ข้อมูลจากเพื่อนที่มีลูกเรียนเทศบาลบ่นให้ฟังคะ) เย็นๆ ก้อต้องเรียนพิเศษ นี่ไม่ได้เป็นความต้องการของผู้ปกครองนะ เทศบาลหรือโรงเรียนนี่แหละจัดให้คะ ทั้งที่จริงๆ แ้ล้วเรียนมาทั้งวันแล้ว แล้วแบบนี้จินตนาการจะบรรเจิดได้งัย เฮ้อ!!! อย่าว่าแต่เด็กเลย ผู้ใหญ่อย่างเรายังล้าเลย
    • ส่วนเด็กโตหรือ เฮ้อ!!! ก้ออย่างทีุ่คุณธรรมาวุธว่านั้นแหละ ให้เค้าได้เรียนรู้ว่าเรียนไปทำไม เรียนไปเพื่ออะไร อันนี้บอกตรงๆ นะสมัยเรียนก้อไม่ค่อยจะรู้เหมือนกันว่าเรียนทำไม เรียนเพื่ออะไร รู้แต่ว่าชอบอย่างเดียว
    • เคยไปสอนเด็กนักศึกษาราชมงคลเทคนิคกรุงเทพมา ได้ยินแต่ข่าวไม่ดี พวกเด็กตีกันหล่ะซิ อิๆๆๆ แต่ขอบอกว่าี่หลักสูตรที่นี่เค้าก้อดีนะ  พวกสายอาชีพมาเรียนต่อปตรีก้อมี พวกปตรีต่อเนื่องก้อมี  เรียนไปได้ปฎิบัติจริงด้วย บางสาขาจบไปก้อประกอบอาชีพเองได้เลย ไม่มีใครรับทำงานก้อไม่ต้องง้อ เช่นอย่าง หลักสูตร การท่องเทียว เนี่ย เค้าจัดโปรแกรมนำเที่ยวแบบ คนที่เป็นหนูทดลองก้ออาจารย์และก้อเพือนๆ นี่แหละ อิๆๆ มืออาชีพยังอาย ข อบอก
    • ส่วนปัญหาหรือ เชื่อไหมว่าเด็กวิศวะ ต่อเนื่องหลายคนหน่ะ ปฎิบัติไม่รู้นะ รู้แต่ว่ายังแก้สมการไม่ได้เลย แล้วเด็กบางคนน่ะ เรียนเป็นหน้าที่ เหมือนพ่อแม่จ้างเรียน ประมาณนั้นเลย ทำอย่างไรให้เค้ารู้ว่านั้นแหน่ะ เป็นความรู้ติดตัวไปประกอบอาชีพเลยหล่ะ ขอบ่นแค่นี้ก่อนคะไปหล่ะ
    ไม่มีรูป
    ไม่มีความคิดเห็น แต่ขอบ่นล่ะกัน

    สวัสดีครับ

    • ขอบคุณมากๆ เลยครับ
    • มาบ่นต่ออีกนะครับ ชอบๆ ครับผม ได้แนวทางมากขึ้นนะครับ
    • ขอบคุณล่วงหน้าครับ โชคดีในการทำงานนะครับ

    น้องเม้ง สมพร ครับ

                 นึกว่างานผ้าป่ากฐินลากพระแข่งโพนที่ไหน เพราะคราคร่ำไปด้วยฝูงชน เบียดเข้าขอบเวทีไม่ค่อยได้เอาเสียเลย จะได้ใกล้ไมโครโฟน(ชัวร์)เสียหน่อย ยิ่งมาทีหลังด้วยยิ่งแย่ใหญ่ แต่เมื่อคว้าชัวร์มาได้แล้วก็จะฮะโหล ๆ....ๆ ...เสียหน่อยนะ

                เรื่องการศึกษาคงต้องทำไปพร้อมๆกันทั้งการศึกษาในโรงเรียน นอกโรงเรียน และอัธยาศัย อย่างหน้ากระดานนะ จะให้อันไหนเดินอันไหนหยุดไว้ก่อนคงไม่ได้

               การเตรียมคนสำหรับพัฒนาประเทศระยะยาวอย่างการศึกษาในระบบ การศึกษาพื้นฐาน อุดมศึกษาก้ต้องทำ การศึกษาภาคประชาชน นอกโรงเรียน อัธยาศัยก็หยุดไม่ได้

             การศึกษาภาคประชาชน นอกระบบโรงเรียน การศึกษาที่ครอบคลุมประชากรส่วนใหญ่ดูว่าอ่อนด้อยไปมากนะ ทำอย่างไรให้เรียนรู้วันนี้จะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในวันนี้พรุ่งนี้ ไม่ต้องรอเมื่อสิบสองปีพื้นฐาน หรือจบอุดมศึกษาแล้วจึงจะใช้ความรู้ได้ ไม่แน่ว่าความารู้นั้นจะเก่าเสียแล้วก็ได้ มันน่าจะเสริมสร้างความเข้มแข็งการศึกษาภาคประชาชน นอกระบบโรงเรียน คนส่วนใหญ่ของประเทศ ให้เข้าถึงโอกาสทางการศึกษา อยากรู้อยากเรียนอะไรก็เอาได้เลย เป็นการศึกษาหรือเรียนรู้ชนิดที่กินได้ใช้ได้ทันทีไม่ต้องรอนาน....ทักษะชีวิตมากมายที่คนไทยต้องรู้ต้องเรียน ...เป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่เขาถนัดอยู่แล้วด้วย...ส่งเสริมให้เขาเข็มแข็ง

            คงต้องแยกให้ได้ว่ากลุ่มเป้าหมายไหนควรจะได้รับโอกาสอะไร เด็ก คนพิการ ผู้สูงอายุ เกษตรกร แรงงาน ฯลฯ

            ขอบคุณครับ

            

    ขอเข้ามารายงานก่อนว่าอ่านแล้วค่ะ แต่วันนี้ออกไปข้างนอกมาทั้งวัน เหนื่อยและง่วงมาก เดี๋ยวพรุ่งนี้ตื่นแล้วจะมาใหม่นะคะ

    คิดไว้ว่าจะมาตอบอ้อมๆไม่เป็นข้อๆตามทำถามแต่ จะมาเล่าประสบการณ์ที่เป็นนักเรียนและเป็นครูมา ตลอดชีวิตให้ฟังว่ามีความประทับใจอะไรบ้่าง เผื่อเอาไว้เป็นตัวอย่างว่ามันทำได้และมีคนเคยทำมาแล้ว

    ปัญหาอยู่ที่ว่าวิํธีการดีๆ ที่หลายๆโรงเรียนใช้ จะสามารถนำไปใช้ระดับประเทศได้อย่างไรมากกว่าค่ะ

    คือมี model แล้ว แต่จะช่วยให้แต่ละ ชุมชน องค์กร หรือ โรงเรียน สร้าง capacity เพิ่มให้ตนเองได้อย่างไร

    ผมห่วงลูกผมที่สุดก็เรื่องการศึกษานี่แหละครับ  เพราะเป็นรากฐานสำคัญของชีวิต 

    การศึกษาในระบบน่าห่วงที่สุดครับ  เพราะค่านิยมความรู้ลวงครับ  ไอ้ที่เชื่อมันไม่จริงตั้งแต่แรกแล้วครับ  แปลกครับ นั่งเรียนแล้ววัดความรู้จากการตอบข้อสอบครับ  ทั้งที่ความรู้เกิดจากการปฏิบัติจริงแล้วนำมาเขียน  คนที่อยู่ในเส้นทางการพัฒนาความรู้  ไม่มีใครยกย่อง  แต่คนที่ต่อยอดแล้วแปะชื่อตัวเอง  กลับได้รับผลบุญไป   อย่างนี้อันตรายผมว่า  เด็กจะไม่เห็นความจริงในการสร้างความรู้ (ว่าต้องลำบากแค่ไหนจึงจะสร้างเป็นความรู้ได้)  เห็นแต่คำตอบในเอกสาร เป็น  รายงานผลการสร้างความรู้ที่ต่อยอดมา   ไม่ใช่ กระบวนการเรียนรู้ที่แท้จริง ก็เลยเรียนแบบต่อยอดโดยไม่ตั้งฐานกระบวนการเรียนรู้จริง   แต่ตั้งฐานจากการตัด ต่อ แต่ง เติม แล้วสรุปว่าเป็นชื่อตัวเอง   ทำงี้ไปเรื่อยๆทุกระดับครับ เพราะค่านิยมเชื่อความรู้ลวงนี่แหละครับ

    ชาวนาปลูกข้าว  เราได้กินข้าวที่ชาวนาปลูก  แต่คนที่มาสัมภาษณ์เอาข้อมูลงานที่ชาวนาทำมาตลอดชีวิต  ไปจัดระบบโดยเทคนิคการเขียน แล้วส่งขอผลงาน ได้ตำแหน่ง  ได้ลาภยศสรรเสริญ  แต่ปลูกข้าวไม่เป็นครับ  แล้วชาวนาก็ไม่ได้ลาภยศสรรเสริญนั้นด้วย  ทั้งที่คนรู้จริงคือชาวนาครับ  แต่คนเอาไปเขียน    บางทีนะครับก็เป็นนักวิชาการที่ทำอย่างชาวนาไม่ได้  แล้วยังไม่รักชาวนาจริง  แต่เข้ามาเพื่อเอาข้อมูลไปทำประโยชน์ให้แก่ตนเอง    กระบวนการแบบนี้ยังมีอยู่ต่อเนื่องครับ

     ผมอ่านคำตอบของคุณหลายบันทึก ผมชอบแนวคิดคุณมากครับ    สมเป็นนักวิทยาศาสตร์ครับ   ผมอยากร่วมมือกับคุณเพราะคุณปฏิบัติได้จริง และมีอุดมการณ์สมเป็นคนหนุ่มไฟแรง เป็นโชคดีของมหาวิทยาลัยคุณครับ 

    ประเด็นการศึกษานี้ดีมากครับ  โจทย์ที่ตั้งเป็นประเด็น ก็ดีมากๆๆครับ   ผมอยากตอบมากแต่บางทีความคิดผมก็กระจาย   การขมวดเรื่องก็ยากสำหรับผม คือผมอาจจะเป็นคนอ่านจับประเด็นไม่เก่งนักครับ  แต่คุณเม้งตั้งโจทย์เก่งครับ  ถามแล้วอยากเข้ามาตอบครับ 

    จะเป็นไปได้ไหมครับ ผมอยากขออนุญาตคุณเม้งช่วยบันทึกตั้งโจทย์โฟกัสไปที่ปัญหาหลักๆสักเรื่อง  แล้วเปิดกว้างให้เข้ามาตอบ แบบที่คุณเม้งเคยทำมานั่นละครับ ดีมากๆครับ ว่าไปทีละบันทึก  แม้ว่าความสนใจและประสบการณ์ของคนหลากหลาย แต่ก็จะได้มีเป้าชัด  และขมวดแคบตีวงเข้ามาอีกหน่อย  จะได้ถกกันได้  ผมไม่อยากไปตอบที่อื่นครับ  อยากเข้ามาตอบที่บันทึกคุณเม้งครับ จบก่อนครับยืมเครื่องเขาโพสต์ครับ   เจ้าของมาแล้วครับ   ขอบคุณครับ

    ขอโทษครับคุณเม้ง ผมโพสต์ข้างบนแล้วลืมใส่ชื่อครับ   ผมเกิดที่นครศรีฯเหมือนกันครับ แต่ไปโตที่กรุงเทพฯ  ครับ

    • สวัสดีครับพี่น้องที่น่ารักทุกคน
    • พอดีวันนี้ออกไปข้างนอกมานะครับ เพิ่งกลับเข้ามา แล้วจะมาตอบทุกคนกันต่อ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอีกนะครับผม
    • ตอนนี้ผมมีกำลังใจมากๆ เลยครับเรื่องเกี่ยวกันการศึกษา เราร่วมถกกันแบบนี้จะทำให้เราได้แนวทางและนำไปสู่การแก้ปัญหาร่วมกัน ในระดับที่เราดูแลกันได้ก่อนครับ แต่ทำให้เกิดศักยภาพที่ทำได้ ให้ดีที่สุดครับ
    • ขอบคุณมากเลยครับ ท่านอื่นๆ เข้ามาก็ร่วมกันแสดงความเห็นนะครับ อยากให้ระบายออกมาให้หมดเลยครับ เกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะทุกคนเกี่ยวข้องกับการศึกษาหมดเลยครับ
    • ผมเชื่อมั่นว่าพลังเกิดจากความจริงใจต่อการแก้ไขปัญหาร่วมกันครับ
    P

    สวัสดีครับคุณครูนง

    • ขอบคุณมากๆ เลยครับคุณครู อีกอย่างขอแสดงความยินดีด้วยครับที่ครบรอบหนึ่งปี ในการเข้ามาเป็น G2K คนทำจริงรู้จริง
    • จริงบันทึกนี้ก็อยากให้มาทอดผ้าป่าหล่ะครับ แต่เป็นผ้าป่าทางการศึกษา แลกเปลี่ยนแนวทาง เปิดกว้างให้ตอบอะไรก็ได้ครับ อยากให้เป็นการระบายกันก่อนครับ แล้วค่อยเดินไปทีละประเด็นครับ
    • ผมเห็นด้วยมากๆ นะครับว่า ทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และอัธยาศัยต้องเดินไปด้วยกันครับ แล้วต้องทำจริงจัง
    • คือไม่ว่าคนแต่ละชีวิตจะเดินพลาดอย่างไร ก็มีแนวทางให้เค้าเดินต่อไปได้ บนเส้นทางการศึกษา แม้ว่าคนที่อยากจะทำงานที่บ้าน ลิขิตชีวิตเองในชุมชนก็สามารถจะเดินต่อไปได้เช่นกัน และดำรงร่วมอยู่กับชีวิตอื่นๆ ด้วยเช่นกันครับ
    • การศึกษาจริงๆ ไม่ควรจะเป็นธุรกิจ แต่ต้องเป็นระบบการเกื้อกูลทางการศึกษา เน้นการให้คือการงอก ให้สิ่งที่ตัวเองถนัดเป็นการงอกและเจริญของการศึกษา
    • การเตรียมคนให้พร้อมและอยู่กันอย่างเกื้อกูล ผมว่าน่าจะเป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้ชีวิตในโลกนี้เขียวชอุ่มครับ
    • ขอบคุณมากๆ เลยครับ

    สวัสดีครับ คุณ เม้งที่น่ารัก

    • ระยะนี้ผมมีปัญหาเรื่องงานจุกจิกมากมาย
    • แต่แวะเข้ามาเรื่อยๆ เพื่อศึกษาปัญหา"การศึกษา"  ซึ่งผมให้ความสนใจมากๆ
    • g2k อุดมไปด้วย นักการศึกษา บางครั้งผมมีความหวังอยู่นิดๆ ว่าปัญหาการศึกษาระดับประเทศจะได้รับการแก้ไขได้ไม่ยาก
    • ความคิดเห็นมากมาย ซึ่งอุดมไปด้วยพลัง ที่ใฝ่หาในการแก้ปัญหา สักวันซึ่งไม่นานนักคงจะสรุปได้ว่า เส้นทางการศึกษาควรไปอย่างไร
    • ขอบคุณมากครับ
    • ขอจิบน้ำชาสักจอกครับ  น้อรก
    P

    สวัสดีครับคุณมัทนา

    • สบายดีนะครับ ขอบคุณมากๆ เลยครับที่เข้ามาแวะเยี่ยมเข้าวงน้ำชาด้วยกันนะครับ
    • ดีมากๆ เลยนะครับ เรื่องการเล่านำเสนอความรู้สึกดีๆ ที่มีตั้งแต่การเรียนและการสอน ผมว่าอาจจะส่งผลต่อการนำไปใช้ หรือสร้างแรงจูงใจในทางการศึกษาได้ ระหว่างผู้ให้และผู้รับ ผ่านสารที่มีการปรับเพื่อให้เข้าต่อการสัมผัสรับรู้ของผู้รับได้อย่างง่ายๆ และเข้าถึงเนื้อหาตังสาระนั้นได้ง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
    • หากนำไปสู่การปฏิบัติแล้วได้ผลจริงซ้ำแล้วซ้ำอีก จะเกิดเป็นความประทับใจและทำให้การศึกษาเกิดความมั่นคงแบบยั่งยืนได้
    • หลายๆ ครั้งที่ผมมีโอกาสได้คุยกับท่านครูบาอาจารย์ของผม ส่วนใหญ่แล้วศิษย์จะมารู้สึกความหวังดีของคุณครูตอนที่ศิษย์เข้าไปทำงานแล้ว ว่าต้องนำไปใช้อย่างนั้นอย่างนี้ แล้วศิษย์เหล่านั้นจะคิดถึงครู มาเกิดความประทับใจภายหลังทำให้นึกถึงครูบาอาจารย์ขึ้นมาอย่างจับใจ
    • แต่หากเราสามารถลดระยะความรู้สึกนั้นให้เกิดการรับรู้ว่าสิ่งที่ครูให้นั้นคือความหวังดีตั้งแต่เนิ่นๆ แล้วเรียนรู้ไปด้วยกันทั้งครูและศิษย์เพื่อสร้างและต่อยอดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา อาจจะทำให้บรรยากาศทางการเรียนรู้ก้าวไปสู่ผลลัพธ์เร็วขึ้นได้ไหมครับ
    • แวะเข้ามาเขียนไว้อีกนะครับ ตามสิ่งที่ผมเขียนถามไว้นั้นแค่เป็นการจุดประเด็นให้พวกเราวิ่งเข้าสู่การศึกษาในระบบเท่านั้นครับ ยังมีการศึกษานอกระบบ และการศึกษาแบบอัธยาศัยอีกครับ ที่เราจะลืมไม่ได้ครับ และทำไปด้วยๆ กัน พร้อมๆ กัน อย่างที่คุณครูนงบอกนะครับ
    • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ อากาศที่นั่นเป็นไงบ้างครับ
    ไม่มีรูป
    สุทธิศักดิ์

    สวัสดีครับคุณสุทธิศักดิ์

    • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับที่ให้เกียรติเข้ามาร่วมวงชาด้วยกันครับ รับชาอะไรดีครับ ยังไงก็เข้ามาบ่อยๆ นะครับ มีโอกาสได้ร่วมแลกเปลี่ยนกันครับ
    • ผมชอบคำที่คุณเรียกว่า ความรู้ลวง จังครับ ทำให้ต้องคิดย้อนกลับใหม่หมดเลยว่าที่ทำๆ กันมานี้ คือความรู้อะไรกันแน่เลยครับ สิ่งที่เราเรียนๆ กันมาสั่งสมกันมา มันเป็นความรู้หรือเปล่า ความรู้ที่ได้ออกจากสมองแล้วกลายเป็นกระดาษ เมื่ออ่านขึ้นมาแล้วจดจำหรือแค่สัมผัสหรือรับรู้สิ่งนั้น มันเป็นความรู้หรือเปล่า หรือว่าต้องผ่านการประมวลผลซ้ำทบทวนอีกรอบ หรือว่าต้องนำไปใช้จริงจนเป็นผลแนวเดียวกันตามที่กล่าวไว้ ถึงจะเป็นความรู้แท้
    • การวิจัยหรือการร่วมทำงานทีมและปัญหาที่คุณได้นำเสนอมา อันนี้อันตรายจริงๆนะครับ การใช้ชุมชนเป็นบันไดเพื่อก้าวที่สูงกว่านี่ก็อันตรายมากๆ อันตรายต่อระบบนิเวศน์ทางความรู้ เผลอๆ อาจจะกลายเป็นนิเวศน์การศึกษาลวงไปโดยไม่รู้ตัวครับ
    • บางทีผมก็กลับมาย้อนถามตัวเองว่า ที่ทำๆ กันอยู่นี่ เป้าหมายของชีวิตคนคืออะไร แล้วเป้าหมายทางการศึกษาที่จะนำคนเหล่านั้นไปสู่เป้าหมายของชีวิตจะทำได้อย่างไร จะใส่อะไรลงไปหรือจะสร้างแรงจูงใจอย่างไรให้แต่ละชีวิตขับเคลื่อนชีวิตตัวเองให้ไปสู้เป้าหมายที่ตัวเองวางไว้อย่างมั่นคงและคู่คุณธรรม และส่งคุณค่าดีๆ แก่สังคมด้วย
    • สำหรับประเด็นนี้ที่ผมตั้งไว้ในบทความนี้ ผมว่าอาจจะทำให้คุณรวบจุดจากจริงๆนะครับ เพราะผมอยากให้เป็นอะไรก็ได้ เกี่ยวกับการศึกษา คือว่าอยากให้คุณระบายออกมาเลย แล้วเรามาเริ่มวางแผนหากแนวทางไปสู่การปฏิบัติจริง ที่ได้ผล และมีคุณค่ากับผู้รับรู้มากขึ้น
    • แล้วประเด็นในบทความต่อๆ จะเจาะไปเรื่อยๆ ครับ หรือคุณช่วยแนะนำด้วยก็ได้ครับ ว่าจะเน้นประเด็นอะไรต่อดีนะครับ มาได้มารวมๆ กันวางแนวทางร่วมกันครับ
    • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ มีอะไรแนะนำได้ทุกอย่างนะครับ ด้วยความยินดีเสมอครับ มีความสุขในการทำงานนะครับ และยินดีที่ได้รู้จักคนคอนอีกคนด้วยครับ มีอะไรบอกได้ตรงๆนะครับ หรืออีเมล์ถึงผมก็ได้นะครับ

      ขอคิดด้วยคน นะครับ

        - ผู้บริหารการศึกษา ทุกระดับ อย่าตามนักการเมืองนัก  รักอุดมการณ์และศักดิ์ศรีของตัวบ้าง ห่วงแต่ความก้าวหน้าตัวเอง ไม่ห่วงว่าเด็กจะได้อะไร

        -  ครูห่วงปากท้องของตัวเอง บางครั้งก็ลืมหน้าที่

       -  ต้นแบบในสังคมที่ดี ต้องเอามานำเสนอให้เด็กเห็นบ่อยๆ

       - อย่ายกย่องคนรวย จนเกินงาม ให้ยึดพอเพียง

      - เมืองไทยเป็นเมืองเกษตรกรรม ให้ส่งเสริมเกษตรกร เดี๋ยวนี้หันไปอุตสาหกรรมมาก ควรเป็นอุตสาหกรรมด้านการเกษตรจะดีกว่า

      - ให้เน้นระเบียบ วินัย เคารพกฎหมาย 

    P

    สวัสดีครับพี่สิทธิรักษ์

    • ขอบคุณมากเลยครับ ว่างช่วงไหนก็เข้ามาได้ตลอดนะครับ
    • เราชาวพลัง g2k และร่วมทั้งท่านที่ผ่านเข้ามาด้วยนะครับ แม้ว่าจะไม่ได้เป็นสมาชิกหรือยังไม่ได้สมัครก็ไปสมัครได้เลยนะครับ แล้วมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ
    • มาเถิดเพื่อนพี่น้องทุกท่าน มาร่วมระบาย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง ปัญหาการศึกษา และแนวทางแก้ไขที่คุณคิดกันเอาไว้ เพื่อนำไปสู่จุดที่พัฒนาอย่างลงตัวที่สุดครับ
    • ขอบคุณพี่มากๆ นะครับ จิบชาครับ น้อรก....

    สวัสดีค่ะคุณเม้ง

    เมื่อเข้ามาแล้วก็ต้องตอบล่ะค่ะ ( กำลังรำพึงในใจว่าไม่น่าเข้ามาเล้ย.. แต่ก็อดไม่ได้ ฮี่ ฮี่ ^ ^ )

    1. ประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาการศึกษาไหม หากไม่พัฒนา จะปล่อยให้อยู่แบบนี้ จะได้ไหม หรืออย่างไร...จำเป็นต้องพัฒนาค่ะ เพราะเราเริ่มเละเทะแล้ว..ในปัจจุบันเราให้ความสำคัญกับ " ความรู้ "..แต่ปรัชญาของการศึกษาคือการทำให้เกิด " ปัญญา "..( ปัญญาคือความฉลาดอันเกิดจากการเรียนและคิด )..มันก็เลยลักหลั่นพิกลเพราะปรัชญาการศึกษากับแนวทางจัดการศึกษามันไม่สอดคล้อง..
    2. การเตรียมเด็กเข้าอนุบาล ให้เรียนจากพ่อแม่หรือครอบครัว เราบกพร่องไหม หรือเพราะอะไร ครอบครัวพร้อมแค่ไหน (การศึกษาว่าแล้วก็เริ่มกันตั้งแต่แรกเกิดเลยครับ ข้อนี้มองถึงการศึกษาจากพระอรหันต์ที่บ้าน ก่อนส่งมอบเด็กให้กับการศึกษาในระดับอนุบาลครับ แต่การศึกษาจากพระอรหันต์ต้องทำต่อเนื่องตลอด)..ครอบครัวไทยยังไม่ค่อยพร้อมในการเตรียมความพร้อมของเด็กก่อนเข้าอนุบาลค่ะ..ถ้าจะว่าถึงสาเหตุจะยาวเกินไป..เอาเป็นว่าพ่อแม่ ผู้ปกครอง " มีหน้าที่ " ที่จะต้องฝึกลูกให้พร้อมก่อนการเข้าโรงเรียน ( ติดกระดุมเสื้อได้ ใส่รองเท้าได้  บอกเวลาต้องการจะเข้าห้องน้ำได้  จำชื่อตัวเองได้  ทานข้าวเองได้ ฯลฯ ) ไม่ใช่มองว่ายังเล็กอยู่ ทำให้จะดีกว่าหรือ เดี๋ยวโรงเรียนก็สอนเองนั่นแหละ..เพราะในทางจิตวิทยาเราจะมองว่า " คุณบกพร่อง " อย่างมากในฐานะของพ่อแม่ และผู้ปกครอง..มีความพยายามในการแก้ไขโดยอบรม " โรงเรียนพ่อแม่ " และถือเป็นหน้าที่ที่สถานพยาบาลทุกระดับ " ต้องทำ " เพื่อเตรียมความพร้อมตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึง 6 ปี ( เพราะเด็กต้องรับวัคซีนจนถึง 6 ปีค่ะ )..แต่ผลการปฏิบัติยังน้อยอยู่ เพราะติดปัญหาหลายๆอย่าง ก็คงต้องค่อยๆทำกันไปนั่นแหละค่ะ..แต่ย้ำอีกครั้ง พ่อแม่ ผู้ปกครอง มี " หน้าที่ " ที่ต้องรับผิดชอบการเติบโต งอกงามของเด็กอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งเป็นต้นแบบ เป็นผู้ปลูกฝัง และเป็นผู้ดูแล..การสร้างคนเป็นภาระที่หนักสำคัญและมีคุณค่าที่สุดของมนุษย์ค่ะ
    3. การเรียนในระดับอนุบาล ใครควรจะสอน สอนอย่างไรเพื่อให้สอดรับกับการเรียนใน ชั้นประถมศึกษา เตรียมเด็กอย่างไรให้เด็กเรียนได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะต้องย้ายสถานที่เรียน...สอนอย่างไรในวัยอนุบาล อืม ! สมัยแม่เบิร์ดเป็นครู แม่บอกว่า " ครู " ที่เก่งต้องสอนอนุบาล..ไม่ใช่ครูที่เพิ่งจบ แต่ต้องเป็นครูที่เก่งเจ้าค่ะ ( เก่งในความหมายของรู้ ทำ นำ แนะ และ รักและเข้าใจเด็กนะคะ มีประสบการณ์ว่างั้นเถอะ ^ ^)
    4. การเรียนในชั้นประถมศึกษาหกปีนั้น ใครควรจะสอน สร้างแรงจูงใจ ชุมชนรอบนอกมีส่วนสร้างเด็กไหม มีช่องว่างอย่างไรบ้างระหว่างผู้เรียน ผู้สอน ผู้แนะนำ บรรยากาศในการเรียนรู้ รับรู้จากชุมชนแบบไร้รั้วกั้น การส่งมอบเด็กจากชั้น ป.1 ถึง ป.2 มีการเตรียมพร้อม ความพร้อมระดับใด ที่จะส่งต่อให้เรียนรู้จนกว่าจะจบ ป. 6...การเรียนในชั้นประถมศึกษาเป็นการเรียนที่สำคัญไม่แพ้ชั้นอื่นๆ เพราะมีเด็กหลายๆคนที่ต้องยุติการเรียนแต่เพียงชั้นนี้..ควรเน้นที่กระบวนการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับ 5 ด้านคือ สิ่งเร้า ( stimulus )  การสัมผัส ( ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 : sensation )  การรับรู้ ( การตีความสัมผัสที่ได้ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่างเช่น ประสบการณ์เดิม ความพร้อม  สติปัญญา ฯลฯ : Perception ) ความคิดรวบยอด ( concept )  และการตอบสนอง ( Response ในที่นี้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม )..เน้นคุณธรรมและให้ความสำคัญกับท้องถิ่น ( ให้เกิดความภาคภูมิใจในถิ่นของตน )..ปราชญ์ชาวบ้าน  ผู้นำชุมชนควรเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการศึกษาของเด็ก และควรถามเด็กดูด้วยว่าเค้าต้องการเรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง และอย่างไรบ้าง ( ให้เด็กได้ประเมินผลการเรียนการสอนของเราดูบ้างเป็นไรล่ะคะ ^ ^ )
    5. การเตรียมพร้อม ความพร้อมของเด็กก่อนจะส่งมอบ ให้เด็กเปลี่ยนสถานที่เรียน หนทางการแนะแนว ตั้งแต่ระดับ ป.5,6 ก่อนก้าวไปสู่ระดับ มัธยมศึกษา มีความพร้อมและเตรียมการอย่างไร แล้วมีแผนอย่างไรจากนโยบายรัฐ...การแนะแนวเป็นสิ่งสำคัญที่เบิร์ดมาเรียนจิตวิทยาก็เพราะครูแนะแนว ( และไม่ชอบชีว ฯ ^ ^) ที่มีการทดสอบความถนัดและดูแลติดตามมาตลอด ( โรงเรียนราษฎร์ อาจให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากกว่า โรงเรียนรัฐที่ครูแนะแนวเป็นไม้ประดับ แต่เวลามีปัญหาก็เรียกครูแนะแนว )..อืม ! เบิร์ดยังไม่เห็นการสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมในเรื่องนี้นะคะ ( อาจมีนโยบายแต่การให้ความสำคัญ + การสนับสนุนยังลางเลือน เพราะเห็นมีแต่ส่งมาหาพวกเบิร์ดนี่แหละค่ะ )
    6. การเตรียมการสร้างครู ในระดับมัธยม เพื่อต้อนรับเด็กผู้เรียนที่มาจากที่ต่างๆ กันในการร่วมเรียนด้วยความหลากหลายจาก เด็ก ป.6 มีความพร้อมอย่างไร แนวทางการปรับพื้นฐาน กรณีพื้นฐานต่างกัน อย่างไร ก่อนจะเข้าสู่หลักสูตรมัธยมในระดับที่สูงกว่าได้ ทำอย่างไร ให้เกิดมาตรฐานร่วมกัน กับโรงเรียนที่อื่น ไม่ว่าจะต่างหรือในตัวอำเภอจังหวัด...การสร้างครูคงต้องเริ่มที่ " ใจ " มั้งคะ..คำว่า " ยอมรับ " เป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นจากข้างในอย่างจริงๆถึงจะส่งผลออกมาถึงข้างนอกที่ทำให้คนที่ได้สัมผัสรู้สึกได้ว่าอบอุ่น ปลอดภัย..การเปลี่ยนสถานที่เรียนเป็นวิกฤติอย่างหนึ่งในชีวิตของเด็ก..( และของครู เพราะต้องให้ความใส่ใจมากกว่าธรรมดา ^ ^)..การแบ่งระดับความสามารถของเด็กช่วยให้ครูสอนได้ง่ายขึ้น แต่น่าจะดีกว่านั้นถ้าให้เด็กได้สอนกันเองด้วย..หรือจะเป็นพี่สอนน้องก็ได้ค่ะ..ช่วยแบ่งเบาได้เยอะและทำให้เกิดความภูมิใจ ความเข้าใจ และยอมรับความแตกต่างในหมู่เด็กๆได้เป็นอย่างดีด้วย เด็กอ่อน เด็กพิเศษ  เด็กพิการก็ได้รับการดูแลให้พัฒนาตามศักยภาพของเค้า ( ทุกคนเติบโต งอกงามได้ในแนวทางของตนเองค่ะ )
    7. การส่งมอบเด็กในระดับมัธยมต้นไปยัง สายอาชีพและสามัญ ควรวางแผนอย่างไรให้ต่อเนื่อง และไม่ขาดตอน ตลอดจนช่องว่างทางพื้นฐาน ก่อนจะไปต่อยอดในระดับ ปวช. ม.ปลาย กศน. หรือชุมชนกรณีจะไปประกอบอาชีพเอง ตามพื้นฐานของครอบครัว....ถ้าเข้าใจปรัชญาการศึกษาในแนวทางเดียวกัน และได้รับการเตรียมความพร้อมมาตลอดทุกชั้นปี ( ดูแลเหมือนปลูกต้นไม้นั่นแหละค่ะ )..ไม่ว่าเด็กจะถูกส่งไปที่ไหนเค้าจะอยู่รอดได้เสมอ
    8. การเตรียมความพร้อมในการสร้างเด็กเพื่อส่งมอบให้กับสถาบันอุดมศึกษา เอกชน ปวส. ชุมชน และอื่นๆ หรือการศึกษานอกโรงเรียนทั้งหลาย สถาบันต่างๆ แล้วใครจะมาเป็นผู้สอน แนะนำ สร้างบรรยากาศในการเรียนได้ ชุมชนมีส่วนอย่างไร...ชุมชนควรมีส่วนร่วมตั้งแต่เด็กเข้าสู่ระบบการศึกษาแล้วค่ะ ..ถ้าเอาเรื่องราวของปราชญ์ชาวบ้าน เรื่องราวของชุมชน..เรื่องราวของนักคิด นักประดิษฐ์คนไทยมาให้ได้เรียนรู้ทุกระดับชั้นจะดีขึ้นมั้ยเนี่ย ^ ^...นินทาหน่อยละกันค่ะ..ตามกฎหมาย หรือ พรบ ( ต้องเป็นอะไรสักอย่างนี่แหละค่ะ ) อบต.ทุกที่ต้องมีศูนย์เด็กเล็ก และต้องได้มาตรฐาน..เพียงแต่มาตรฐานของศูนย์เด็กเล็กส่วนใหญ่จะเป็นมาตรฐานตามกระดาษที่ทำส่งประเมิน แต่คุณภาพจริงๆนั่นอีกเรื่องหนึ่ง..พอเข้าประถม ฯ ก็มีนโยบายสนับสนุนการศึกษา..แต่ก็...เฮ้อ ! วังเวง
    9. การเตรียมความพร้อมในการรับเด็กจากการวัดการสอบเข้า และการบริหารจัดการเด็กที่อยากเรียนและต้องการเรียน แม้ว่าผลการเรียนจะต่ำ ให้ทุกคนมีโอกาสเรียนตามที่หวัง ตลอดจนการเตรียมตัวรองรับเด็กที่ต้องการทำงานในระดับนี้ ควรมีการวางแผนอย่างไร เพื่อให้การเรียนการสอน ในมหาวิทยาลัยเกิดเพื่อสังคมจริงๆ การปรับพื้นฐานต่างๆ เพื่อออกไปเป็นมาตรฐานที่จะไปรับใช้สังคมได้ทุกองค์กร ตลอดจนชุมชนรากเหง้าของตัวเอง...ทำให้เค้าเข้าใจว่า Man does not live by scores..และทุกคนมีคุณค่าของตนเองเจ้าค่ะ ..สิ่งสำคัญคือผู้สอนที่ต้องมีการ " ยอมรับ " เด็กอย่างแท้จริง..( รายละเอียดเบิร์ดเคยอรรถาธิบายให้คุณเม้งทราบแล้ว )
    10. และอื่นๆ ในระดับชั้นสูงๆ ขึ้นไป..........คำตอบเหมือนเดิมค่ะ
    11. การศึกษาในระดับชุมชน....แบบคนสอนคน ตัวแทนสอนคน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน การถ่ายทอดเทคนิคต่างๆ ในชุมชน การเยี่ยมดูชุมชนตัวอย่าง การสร้างหมู่บ้านตัวอย่างในชุมชน เช่นหมู่บ้านปลอดสารพิษ..... อะไรทำนองนี้ อันนี้เป็นการศึกษาภาคชีวิตจริงภายในหมู่บ้าน องค์กรชาวบ้าน จนได้เป็นปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งจะมีโอกาสสอนและถ่ายทอดกับระดับการเรียนในระบบด้วย...เห็นด้วยว่าความรู้จากปราชญ์ชาวบ้านควรเอามาเรียนในทุกระดับ จะได้ภูมิใจใน " ไทย "..ค่ะ ( เราไม่ได้โง่กว่าใคร.. เพียงแค่เราไม่รู้ค่าในสิ่งที่เรามีเท่านั้นเอง )
    12. คุณบรรเลงต่อได้เลยครับ.............การสร้าง " ครู " คือคำตอบหนึ่งที่สำคัญ ให้มีทุนหนึ่งตำบลหนึ่งครู ( โดย อบต.ให้ทุนและจ้างงานนี่แหละค่ะ ก็เรายังมีพยาบาลทุน อบต.ได้เลย )...และการศึกษาไม่ควรรอนโยบาย ( ช้า  งุ่มง่าม และ ทำให้ โง่ ขออภัยยั้งไม่ทันจริงๆค่ะ )..ถ้ามีความพร้อม มีการสนับสนุนที่ดีจากหน่วยงานท้องถิ่นหรือชุมชนก็ให้ลงมือลุยไปเลย ให้มีอิสระทางความคิด สามารถจัดการศึกษาเองได้ ภาครัฐมีหน้าที่สนับสนุนอย่างเดียว น่าจะสนุกดีนะคะ...คุณเม้งเห็นว่ายังไงล่ะคะ ? อิ อิ

    สวัสดีครับ คุณวรชัย หลักคำ  ผ่านคุณเม้ง ไฟแรง

    ในเบื้องต้นมีความรู้สึกคล้ายผมมาก  ผมคงจะได้แลกเปลี่ยนกับท่านอีก

    ไม่มีรูป
    นายวรชัย หลักคำ

    สวัสดีครับคุณวรชัย

    • ขอบคุณมากเลย และยินดีต้อนรับเข้าวงชา รับชาอะไรดีครับ เชิญนั่งก่อนนะครับ
    • ปัญหาที่คุณนำเสนอมาหน่ะดีมากๆ เลยครับ และคิดว่าหลายๆ คนคงเข้าใจในจุดนี้กันหรือเจอแบบนี้กันอยู่เหมือนกันครับ
    • ในความเห็นของคุณแล้ว คุณคิดว่าปัญหาเหล่านี้เราจะร่วมกันหาทางออกอย่างไรดีครับ ที่จำไปสู่การเพิ่มพลังทางการศึกษาให้มีคุณภาพมากขึ้นนะครับ
    • เรามาลองดูว่าแนวทางการที่จะแก้แล้วนำไปสู่นโยบายหรือแนวทางที่กำหนด โดยที่นำไปสู่การใช้จริงได้ด้วย เราจะทำอย่างไรกันดีครับ
    • ช่วยๆ ออกความเห็นต่อนะครับ จะมีประโยชน์มากๆ เลยครับ
    • ขอบคุณมากนะครับ

    55555...กลายเป็น HUB การศึกษาไปอีกแล้ว..น้องเรา...

     

    พี่ไปชวนคนอื่นมาคุยด้วยดีกว่า...อย่าให้น้ำชาเย็นแล้วกัน...น้องรัก....55555

    P

    สวัสดีครับคุณเบิร์ด

    • เย้....คุณเบิร์ดมาแล้วครับ
    • มาพร้อมคำตอบเพียบเลยครับ เข้ามาแล้ว ต้องเข้ามาบ่อยๆ นะครับ วงน้ำชานี้ ผมใส่ยาเสน่ห์ลงไปแล้วครับ คือนั่งแล้วลุกไม่ได้ครับ อิๆ
    • เรียนเชิญทุกท่านอ่านความเห็นคุณเบิร์ดด้วยนะครับ มีอะไรหลายๆ อย่างเลยครับ ที่จี้จุดออกมา ให้เราเอามาคิด แล้วจะได้วางแผน หากแนวทางร่วมกันที่เน้นการนำไปใช้ได้จริง (เน้นการนำไปใช้จริงครับ หากมีนโยบายสนับสนุนก็คงดีมากๆ ทำให้การเข้าถึงและการนำไปใช้จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ)
    • การสร้างคนก็คงเหมือนการสร้างบ้าน หรือการปลูกต้นไม้อย่างที่คุณเบิร์ดว่าครับ เราจะมาเน้น นับแต่จำนวนดอก เมล็ดที่เป็นผล หรือมาบำรุงใส่ปุ๋ยเอาตอนที่จะออกดอก ก็คงไม่ทันแล้ว เพราะคงต้องบำรุงกันตั้งแต่การได้มาซึ่งเมล็ดที่ดี เพื่อจะได้เอาไปปลูกในที่ที่เหมาะสมแล้วดูแลเลี้ยงดูจนเข้าสู่ขั้นการโตต่างๆ บำรุงให้ถูกกับสิ่งที่พืชต้องการ จนกว่าจะได้เป็นผลผลิตที่มีคุณค่าให้รุ่นต่อไป นำไปใช้อย่างมีคุณค่ามากยิ่งขึ้นครับ
    • คุณเบิร์ดมีแนวทางข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการได้มาซึ่งครูที่เป็นครูไหมครับ แบบที่หวังไว้นะครับ ว่าการได้มาซึ่งครู ครูแบบที่มาด้วยใจ...เราจะได้มาอย่างไรดีครับ
    • ฝากกันแค่นี้ก่อน เดี๋ยวคุณเบิร์ดเหนื่อยครับ เพิ่งกลับเข้ามา ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ
    • รักษาสุขภาพด้วยครับ โชคดีในการทำงานครับ
    P

    สวัสดีครับพี่สอน

    • พี่สบายดีไหมครับ คิดถึงอย่างแรง
    • จริงๆ แล้วไม่ HUB นะครับ เอาแค่แบบธรรมดาครับ ชุมทางเขาชุมทองทางการศึกษา (บ้านผมเองครับ ชุมทางเขาชุมทอง)
    • พี่ต้องเข้ามาช่วยก่อไฟนะครับ ไม่งั้นได้ดื่มชาเย็นแน่ๆ นะครับ ผมเตรียมตัวชาไว้ให้ครับ แต่ต้องเรียนพี่ และท่านอื่นๆ มาช่วยต้มน้ำนะครับ ผมเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมเลยครับ
    • แล้วผมจะบริการชงให้ทุกท่านเองครับ
    • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับพี่ชายที่หวังดีอีกท่านหนึ่ง

    มาแล้วค่ะ....

    อย่างที่เกริ่นไว้ วันนี้ขอไม่บ่น แต่จะมาเล่าว่าสมัยเรียนว่าประทับใจอะไรบ้างนะคะ

    ต้องยอมรับว่ามัทโชคดีมากๆที่ได้เรียนโรงเรียนดีๆตั้งแต่อนุบาลจนถึงตอนนี้

    • ที่โรงเรียนอนุบาลมีครูที่รู้จักเด็กและครอบครัวของเด็กแบบ โตมาแล้วกลับไปเจอโดยบังเอิญ ครูยังจะเราและน้องเราได้ (เราจำไม่ค่อยได้ค่ะ แม่บอกถึงรู้ว่านี่ครู : P แต่ครูจำเราได้แม่นมากๆ)
    • ที่โรงเรียนอนุบาลมีสัตว์เลี้ยง มัทว่าเด็กได้อยู่ใกล้สัตว์ ได้อยู่ใกล้ธรรมชาติจะมีจิตใจที่ดีกว่าโตมากับเกมส์คอมนะคะ
    • โรงเรียนประถมของมัทนี่สุดยอด้เลยค่ะ ขอชมออกหน้าออกตานิด เพราะชอบมาจริงๆ รักมากๆ มีกิจกรรมเยอะมาก มีชมรมให้เข้า มัทเคยอยู่หลายชมรมค่ะ ชมรมวิทย์ สอนให้ทำสบู่ ยาสระผมเอง ชมรมภาษาไทยมีคุณ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์มาสอนแต่งกลอน ชมรมดนตรีการเชิญนักดนตรีมืออาชีพมาพูดมาเล่นดนตรีให้ฟัง
    • ผู้ปกครองมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในโรงเรียนมากค่ะ มาช่วยเป็นวิทยากรบ่อยมากๆ
    • โรงเรียนมีงานโขนประจำปี นร.ทุกคนรู้เรื่องรามเกียรติ์ ทุกคนเรียนนาฎศิลป์สัปดาห์ละครั้ง
    • เรียนศิลปะสัปดาห์ละครั้ง เรียนดนตรีสัปดาห์ละครั้ง นั่งสมาธิสัปดาห์ละครั้ง เรียนวิชาช่างไม้ ทำกรอบรูปกับที่ใส่ดินสอ เรียนการบ้านการเรืิอน เรียนงานประดิษฐ์ ปลูกผักสวนครัว
    • ได้ไปถวายตนเป็นพุทธมามากะที่วัดธรรมงคล ไปฝึกอาราธนาศีลอาราธนาธรรมที่วัดโพธิ ไปทัศนศึกษานอกสถานที่ทุกปี  คือความทรงจำมีแต่เรื่องนอกห้องเรียนซะมากอ่ะค่ะ
    • การจัดโต๊ะนั่งในห้องก็จัดเป็นกลุ่ม ไม่ได้นั่งหันหน้าเข้ากระดานทุกปีค่ะ แล้วแต่อาจารย์ ได้ฝึกพูดหน้าชั้นบ่อยมาก มัทเป็นคนขี้อายมากๆ ช่วยได้เยอะค่ะที่ได้ฝึก
    • ได้ทำงานเป็นกลุ่ม เล่นบทบาทสมมติก็บ่อยค่ะ
    • จำได้ว่าวิชาสปช. มีสอบ lab กริ๊งด้วย ตอนนั้นป. 5 เอง เรื่องหินชนิดต่างๆ แล้วก็เรื่องส่วนประกอบของพืช ได้ใช้กล้องจุลทรรศด้วย
    • แต่งกลอนกับเขียนเรียงความบ่อยมากค่ะ กระตุ้นต่อมความคิดสร้างสรรค์มาก
    • ในโรงเรียนมีแต่ขนมและอาหารที่มีประโยชน์ขาย ราคาก็ถูก
    • มีการเลือกตั้งประธานนักเรียนแบบเป็นเรื่องเป็นราวทีมผู้สมัครต้องหาเสียง เดินพบรุ่นน้อง มีการอภิปรายนโยบาย
    • ประธานรุ่นมัทตอนนี้เป็นนักร้องดังร้องเพลงปรัชญาและการเมืองไปแล้วค่ะ (ตุล แห่ง วง apartment คุณป้า นั่นเอง)
    • ห้องสมุดที่โรงเรียนก็มีหนังสือดีๆมากมาย เข้าห้องสมุดเป็นเรื่องเท่ห์ ชอบมากค่ะ
    • มีอ.นิสิตมาสอนเพิ่มสีสัน
    • นร. ป.6 ทุกคนต้องสลับกันมาชักธงชาติและนำสวดมนต์ตอนเช้า
    • มีพื้นที่ให้วิ่งเล่นมากมาย เคยเล่นเกมบอลลูนไม๊ค่ะ เล่นกันยาวมาก ได้รู้จักเพื่อนต่างห้อง เพื่อนรุ่นพี่รุ่นน้อง ชั้นนึงมีแค่ 4 ห้อง ก็รู้จักคุ้นหน้ากันหมดจนโตมานี่เลยค่ะ
    • พูดถึงการส่งต่อระหว่างระดับ มัทไม่เคยมีปัญหาเรื่องการหาเพื่อนเลยเพราะเพื่อนจากโรงเรียนเก่า มาโรงเรียนใหม่เพียบ จะต้องปรับตัวก็แต่เรื่องการเรียนเพราะตอนประถมเรียนสนุกได้เล่นเยอะ
    • พอมัธยมเรียนเป็นเรียน กิจกรรมยังมีอยู่แต่ไม่เท่าตอนประถม
    • ได้เล่นดนตรีไทยเป็นเรื่องเป็นราว
    • มัธยมนี่มัทชอบการแนะแนวมากค่ะ เหมือนที่คุณเบิร์ดเขียนไว้ สำคัญมากๆค่ะ อ.ต้องพร้อมคุยและมีข้อมูลทางเลือกให้เด็กมากๆ
    • มัทประทับใจเพื่อนค่ะ ช่วงวัยรุ่นนี้เพื่อนสำคัญ จะเสียไม่เสียก็ตรงนี้ วัฒนธรรมอ.ปกครองของโรงเรียนไทยเรานี่ก็น่ารักดีนะคะ
    • มองกลับไปมันก็สำคัญน่าดู แต่ต้องปกครองแบบสร้างสรรค์และรู้ทันเด็กให้เด็กเกรงใจเอง ไม่ใช่ให้เด็กเกลียดนะคะ
    • ตอนเรียนวิชาชีวะ มีชั่วโมงนึงให้ออกเดินไปตามคูน้ำเก็บตัวอย่างมาศึกษาชอบมากคะ
    • ทัศนศึกษาที่ชอบมากที่สุดคือตอนไปลพบุรี ไปเมืองเก่า เรียนประวัติศาสตร์ถึงที่
    • ตอนม. 3 เรียนสังคมเรื่องทวีปต่างๆ แต่ละกลุ่มต้องไปติดต่อสถานทูตหรือกงศุลเองเพื่อขอข้อมูล
    • ได้ทำงานศิลปะ งานเกษตร ตัดตอนกิ่ง ปลูกเห็ด
    • มีงานกีฬาสีที่นักเรีนรับผิดชอบกันเอง รุ่นพี่ดูแลรุ่นน้อง ทำ stand เชียร์เอง บริหารงานกันเอง อ.แทบไม่ต้องเข้ามาช่วยอะไรเลย ดูอยู่ห่างๆ
    • ที่นี่ก็มีอ.นิสิตค่ะ มีสีสันอีกแล้ว : ) อยู่ใกล้มหาวิทยาลัยด้วยก็ได้เห็นว่าพี่ๆในมหาวิทยาลัยเค้าใช้ชีวิตยังไง
    • นึกออกแค่นี้ค่ะ อ๋อ แถมอีกนิด....มัธยมนี้ทางถาดหลุมจนจบเลยค่ะ เอาช้อนส้อมและแก้วไปเองจากบ้าน : )
    ตอบไม่ตรงคำถามแต่หวังว่าจะพอเป็นแนวทางให้ได้นะคะ ว่าเรียนแบบทำให้เด็กมีความสุขสนุกไปด้วยก็ืทำได้ : ) ถ้าเป้าหมายคือ entrance ไว้มาเรียนแบบเรียนตอนโตแล้วก็ได้ค่ะ ตอนเล็กๆอย่าให้เด็กเครียดโดยไม่จำเป็นเลย ทำอะไรให้สร้่างใจสร้างจินตนาการสร้างทักษะการใช้ชีวิตการอยู่ร่วมกันกับคนอื่นดีกว่า

    ผมมาช้าไปหน่อยด้วยว่า ด้อยประสบการณ์ทางวิชาการศึกษาแต่ขอมองในมุมคนข้างนอกอาจจะเห็นอีกด้านก็ได้ครับ

    1.หางบเปลี่ยนหลังคาให้โรงเรียนประถมใหม่เถอะ ตอนนี้สังกะสีกลายเป็นสนิมสีน้ำตาลหมดแล้ว ร้อนด้วย พัดลมล่ะ

    2.โรงเรียนประถมเลิกทิฐิ จะเอาแต่ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษากันเถอะ ยุบซะโรงเรียนที่มีเด็กไม่กี่คนรวมกันเป็นโรงเรียนใหญ่ทรัพยากรจะได้ไม่กระจายมาก คุ้มค่า พัฒนาได้ มาตรฐานเกิด

    3.มาตรฐานที่แตกต่างกันมากในชนบทกับเมือง แก้ไงช่วยกันเถอะท่านผู้มีอำนาจ ให้ค่าตอบแทนครูเก่ง ๆ ไปอยู่ในโรงเรียนประจำอำเภอเลย

    4.ครูที่อยู่ในหมู่บ้านพื้นถิ่นอยู่แล้วใช่จะเป็นจุดแข็งกลายเป็นอ่อน เช่นเด็กไม่ค่อยให้ความเกรงใจนักด้วยเห็นเป็นคนบ้านเดียวกัน  วิธีแก้ก็ต้องวางระบบระเบียบในโรงเรียนให้ได้ครับ อย่ากินเหล้าให้เด็กเห็น เล่นไพ่ให้เด็กดู อย่าทะเลาะกับชาวบ้าน

    5. ผมไม่เชื่อว่าเราจะทำอะไรได้หากครูไม่ลงมือทำ  ดังนั้นต้องส่งเสริมให้องค์กรวิชาชีพครูทำยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรของท่านเอง และองค์กรที่ดูแลคุณภาพการศึกษาทำงานควบคู่ไป ไม่นาน มาตรฐานคุณภาพการศึกษาในระดับประถมคงเป็นไปได้

    6. ระดับอุดมศึกษามีนักวิชาการที่เก่ง ทั้งวิชาการทั้งการปฏิบัติ หาวิธีรวมตัวช่วยคิดช่วยทำก็น่าจะดีได้

    การเลือกตั้งอธิการบดีช่วยได้นะผมว่า หรือไม่งั้นก็เปิดโอกาสให้สภามหาวิทยาลัยสรรหาผู้บริหารเลย

             สุดท้ายแปลกถึงแปลกมากที่สุด องค์กรที่เราคิดว่าสุดยอดที่สุด รวบรวมผู้คน จอมยุทธ์ทั้งเหนือใต้ออกตก ผู้รู้ ผู้ตื่นทั้งหลาย ทั้งจากสำนักตะวันตก ตะวันออก ท้องถิ่น ต่างถิ่น หลากหลาย อย่างมหาวิทยาลัยทั้งหลายนั่นล่ะครับ   ศึกภายในทั้งในใจของนักวิชาการที่ถือทิฐิ ทั้งภายในองค์กรที่รวบรวมสำนักวิชามากมาย  ก็ยังแก้ปัญหาไม่ได้เลย ดังนั้นการขับเคลื่อนองค์กรที่โดนกระทบจากปัญหาภายนอกด้วยแล้วยากส์ครับ   ขจัดศึกภายในให้ได้ก่อนนะผมว่า

                 สรุป ระดับประถม มัธยม ต้องให้ความสำคัญให้มากทุ่มไปเยอะ ๆ หน่อยเขายังขาดอีกเยอะ คน เงิน วัสดุ วิธีการ ขาดหมด

                         ระดับอุดมศึกษา รวมอาชีว ด้วยขจัดปัญหาศึกภายในให้ได้ก่อนครับแล้วน่าจะดีเองเพราะในระดับนี้ทรัพยากรพร้อมอยู่แล้ว

                   เอาแบบถึงลูกถึงคนไปนิดน่ะครับ ออกรส ๆ ขอบคุณครับ อาจารย์เม้ง

    P

    สวัสดีครับคุณมัทนา

    • ขอบคุณมากๆ เลยครับ
    • ยอดเยี่ยมเลยครับ แบบนี้ทำให้ผู้อ่านมีแรงจูงใจในการสร้างอะไรให้เกิดในโรงเรียนได้เยอะเลยครับ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมตัวอย่างที่อาจจะปรับใช้ให้เข้ากับพื้นที่ และลักษณะของสังคมที่นั่น
    • กิจกรรมแบบนี้หล่ะครับ เป็นการทำให้เด็กคลุกคลีกับชุมชนนักเรียนเองและเข้าถึงสังคม หรือ ชุมชนรอบข้างด้วย
    • ท่านอื่นๆ ว่าอย่างไรกันบ้างครับ ผมว่ากิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ แต่ละที่ก็มีความแตกต่างกัน ทำให้เราเปิดแนวทางในการสร้างแรงจูงใจให้กับทั้งผู้เรียนและผู้ให้ได้เลย กิจกรรมที่เด็กคิดและสร้างสรรค์จากแรงจินตนาการด้วยกันเองก็ดีมากๆ เลยครับ
    • ชักทำให้ผมอยากเขียนสิ่งดีๆ แบบนี้บ้างเหมือนกันครับ เดี๋ยวเราอาจจะยกรูปแบบเหล่านี้ ไปไว้ในบทความถัดไปก็ดีครับ เพื่อมาสร้างแรงจูงใจกันก่อน ดีไหมครับ คุณมัทว่าไงบ้างครับ
    • สร้างแรงจูงใจทุกระดับชั้นเลยครับ ผมอาจจะขออนุญาตนำข้อความของคุณมัทไปเป็นตัวอย่างในบทความได้ไหมครับ ในการเป็นการสร้างแรงจูงใจกันต่อ พร้อมรอกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากท่านอื่นๆ ด้วยครับ
    • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ
    P

    สวัสดีครับคุณสุมตรชัย

    • ยินดีต้อนรับครับผม เชิญนั่งจิบชากันก่อนครับ
    • คุณมีบทบาทสำคัญคนหนึ่งเหมือนกันคับ ในการจะพัฒนาการศึกษานะครับ
    • เพราะสิ่งที่คุณเสนอมานั้น ล้วนเป็นการสะท้อนออกมาให้เห็นถึงว่าเรามีความบกพร่องบางอย่างในระบบ หากร่วมมือแก้ไขร่วมกัน จะนำไปสู่ทางที่ดีได้ครับ
    • แต่เราจะร่วมแก้ไขหรือหาทางออกอย่างไรดีครับ คุณมีแนวทางอะไรที่ทำอยู่บ้างไหมครับ หรือมีทางออกจะนำเสนอไหมครับ อาจจะมาช่วยกันมองหาแนวทางคนละเล็กคนละน้อย หรือท่านอื่นเห็นมีทางออกในการนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้ ก็จะเป็นการดีมากๆ เลยนะครับ
    • เข้ามานำเสนอไว้อีกนะครับ เต็มที่เลยนะครับ

    สวัสดีค่ะคุณเม้ง

    โดนยาเสน่ห์ของเจ้าของบล็อกเข้าแล้ว..เอา comment ให้ถึง 200 เลยมั้ยคะ ? กะปั่น scoll bar โดยเฉพาะเลยนะเนี่ย

    " คุณเบิร์ดมีแนวทางข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการได้มาซึ่งครูที่เป็นครูไหมครับ แบบที่หวังไว้นะครับ ว่าการได้มาซึ่งครู ครูแบบที่มาด้วยใจ...เราจะได้มาอย่างไรดีครับ "

    คงต้องเริ่มที่การคัดเลือกก่อนล่ะค่ะ..ระบบการคัดเลือกที่เน้นเพิ่มไปที่การให้แสดงวิสัยทัศน์ เจตคติต่อวิชาชีพครู..น่าจะเป็นเรียงความ แล้วมากรองอีกทีตอนสัมภาษณ์..เพราะการเขียนทำให้เราได้รู้ถึงกระบวนการคิดของคนได้อย่างหนึ่ง ว่ามีระบบระเบียบแค่ไหน..วกวนหรือไม่ ( ครูต้องถ่ายทอดได้ค่ะ )..และมีทักษะการคิดแค่ไหน ..เบิร์ดไม่แน่ใจว่าเดี๋ยวนี้การสอบเป็นปรนัยหรือเปล่า แต่เบิร์ดมองว่าข้อสอบอัตนัยก็บอกอะไรเราได้เยอะเหมือนกันค่ะ

    อีกอย่างที่จะสร้างแรงจูงใจคือการสร้างค่านิยมใหม่ให้ครูเป็นทางเลือกหนึ่งในสาม ( หรือห้าก็ได้ ) ของอาชีพยอดนิยม..แม่เบิร์ดเล่าให้ฟังว่าสมัยก่อนมีอยู่ 3  อาชีพที่นักเรียนใฝ่ฝัน คือ หมอ  ครู  และนักบัญชี เพราะฉะนั้นเด็กเก่งๆในห้องจะเลือก 3 อาชีพนี้เป็นหลัก..เราจึงได้คนเก่งมาเป็นครู และเป็นครูที่มีประสิทธิภาพด้วยสิคะ..เพราะเป็นอาชีพที่มีเกียรติและได้รับการยกย่อง ( อักษรศาสตร์จุฬา ฯ เป็นเป้าหมายสูงสุดของคนเป็นครูเลยนะคะ )..ทำให้เกิดกระแสนี้อีกทีเป็นไรเล่าคะ ? แถมทุนให้เด็กๆได้เรียน ( เอาเงิน อบต. อบจ. เทศบาล ฯลฯ มาให้ก็ได้ค่ะ เสริมทุนคุรุทายาท เพราะเด็กข้างนอกส่วนใหญ่ก็อยากเป็นครูนะคะ ) เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในวงศ์ตระกูล ศักดิ์ศรีความเป็นครูจะมาให้ได้ยลในบัดดลเลยล่ะค่ะ..^ ^

    คุณเม้งเป็นครูเพราะอะไรคะ ?...เบิร์ดมีความเชื่อว่าโดยธรรมชาติของคนเราจะชอบสอน ( ถ้าเรารู้ว่ามีคนฟังเราและเราสอนได้ดีพอที่จะทำให้คนอื่นเข้าใจ )..เมื่อเป็นอย่างนี้การผลิต " ครู " ดีๆไม่น่าจะยากเท่าไหร่..กระบวนการผลิตของแต่ละสถาบันก็พยายามที่จะทำให้ดีที่สุดอยู่แล้ว..ถ้าเราทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นครูได้..ก็น่าจะได้ครูดีๆเหมือนกัน

    แต่ที่สำคัญคือคุณภาพของทรัพยากรที่เข้าไปให้เราคัดเลือก..ถ้าได้รับการดูแล ปลูกฝังสิ่งดีๆ มาตลอดตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงเวลาที่มาให้เราคัดเลือก เช่นมีความอดทน  ความขยัน  มีคุณธรรม จริยธรรมพร้อมมูล.." ครู " ในฝันก็ไม่ใช่ฝันที่ไกลเกินเอื้อมเลยค่ะ

    เอาแค่นี้ก่อนนะคะ..แล้วจะมาปั่น scoll bar ให้ใหม่ค่ะ ^ ^

    P
    สวัสดีครับคุณเบิร์ด
    • นั่นแน่ โดนน้ำชาเสน่ห์เข้าแล้วครับ ยิ้มๆ
    • ที่ผมเลือกเป็นครูอ่านได้จากที่นี่ครับ ทำไมผมเลือกพายเรือลำนี้ ในคลองการศึกษา ซึ่งคุณเบิร์ดก็อ่านเรียบร้อยแล้วครับ
    • ตอนนี้ผมก็คิดว่า จะทำอย่างไรให้สิ่งดีๆที่เด็กได้ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่ตอนแรกๆ จะคงอยู่ได้นาน และความดีตรึงอยู่ในหัวจิตหัวใจของเค้าตลอดไปให้ยั่งยืนที่สุด
    • ครอบครัวนั้นสำคัญมากครับๆ เลยครับ ผมเองก็ไม่ได้รู้ว่าตัวเองอยากเป็นอะไร มาคิดได้เอาก็ตอน ช่วง ม.ปลายที่เริ่มชอบสอน แต่ ป.ตรี ก็ชัดเจน จนทราบอนาคตของตัวเอง และมีเป้าหมายชัดว่าต้องเดินอย่างไรในชีวิตนี้ครับ หากไม่มีอะไรทำให้เพี้ยนเสียก่อน อิๆ
    • ตอนนี้บ้านเรา มักเรียนกันตามแนวแฟชั่น ผมกำลังคิดว่าจะทำอย่างไร ที่จะให้อาชีพครูเป็นแฟชั่นดีครับ จะให้ผมไปเดินแบบบนถนนคนเดินดิน ก็ไม่น่าจะขายได้เลยครับ จะทำอย่างไรดีครับ อิๆ
    • คุณเบิร์ดมีสูตร ทำน้ำผลไม้ปั่นไหมครับ เผื่อจะได้ปั่นอุดมการณ์ในหัวเด็กๆ ให้อยากจะเป็นครู อยากเป็นนักคิดค้น วิจัยทั้งวิทย์และศิลป์ นักจิตวิทยาที่ให้อาหารทางใจกับคนทำอาชีพเหล่านี้เพื่อที่จะทำให้ความรู้ทางจิตวิทยาซึมไปยังทุกสายอาชีพ
    • สงสัยต้องกลับไปปลูกข้าว แล้วใส่อุดมการณ์ลงไปในนั้น คนกินข้าวจะได้มีอุดมการณ์ อิๆ
    • หากมีวิธีการปลูกอุดมการณ์ ปลูกจินตนาการ(คุ้นๆ ไหมครับ) ปลูกศีลธรรมจริยธรรม ปลูกจิตสาธารณะเข้าไป คงยอดๆ เลยครับ
    • ความรู้ผมไม่ค่อยกลัว ผมว่าเราปลูกกันได้ แต่สิ่งด้านบนนั้นปลูกกันได้แต่จะทำอย่างไรให้คงทน หรือยืดยาวที่เป็นไปได้มากที่สุด
    • สงสัยต้องรณรงค์กันที่ พ่อแม่พันธุ์ ถึงจะได้ผลผลิตดีๆ หรือเปล่าครับ พ่อแม่พันธุ์ที่มีคุณภาพ(ทางใจ)
    • ผมกำลังคิดเหมือนกัน ว่าผมจะกินอุดมการณ์ได้นานขนาดไหน อิๆ คุณเบิร์ดว่า หากเลขศูนย์ ตกใส่หัวผมซักสิบหลัก ผมจะหกล้มคว่ำหัวคมำไหมครับ
    • เราจะเลือกคืนที่อยากจะมาเป็นครูได้ครับ หากคนจำนวนมาก อยากเป็นครูครับ กระบวนการในการคัดเลือกคนนั้น มีเยอะครับ แม้ว่าตัววัดทางศีลธรรมจรรยา จะไม่เหมือนเทอร์โมมิเตอร์ก็ตามว่าไหมครับ 
    • ขอบคุณมากๆ นะครับ

    สวัสดีค่ะคุณเม้ง

    ชงชาอู่หลงก้านอ่อน ของดีเมืองเชียงรายมาให้ดื่มค่ะ

    เบิร์ดสนใจอันนี้ค่ะ.." ตอนนี้ผมก็คิดว่า จะทำอย่างไรให้สิ่งดีๆที่เด็กได้ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่ตอนแรกๆ จะคงอยู่ได้นาน และความดีตรึงอยู่ในหัวจิตหัวใจของเค้าตลอดไปให้ยั่งยืนที่สุด "..ได้คำตอบว่าอย่างไรคะ ?

    " ตอนนี้บ้านเรา มักเรียนกันตามแนวแฟชั่น ผมกำลังคิดว่าจะทำอย่างไร ที่จะให้อาชีพครูเป็นแฟชั่นดีครับ จะให้ผมไปเดินแบบบนถนนคนเดินดิน ก็ไม่น่าจะขายได้เลยครับ จะทำอย่างไรดีครับ อิๆ "...ช่วยกันโปรโมตให้คุณค่า " ครู "..ค่ะ..ไทยมี " วันครู " นะคะ ( ไม่มีวันหมอ วันพยาบาล วันนักจิต ฯลฯ )..และมี " ประเพณีไหว้ครู " ในวันไหว้ครูตอนเปิดเทอมซะด้วย..ความงดงาม ความอ่อนน้อม  ความกตัญญูที่มีให้กับครูยังจารอยู่ในใจเลยค่ะ..ในบทสวดมนต์นอกจากสรรเสริญคุณพระศรีรัตนตรัย ก็ยังมีบทสวดสรรเสริญคุณบิดามารดา และบทสวดสรรเสริญคุณ " ครู " อีกด้วย..เราโตมากับสิ่งเหล่านี้ค่ะ ดึงขึ้นมาให้คุณค่าอย่างจริงจังก็น่าจะไม่ยาก..( เพียงแต่ " วันครู " ไหงกลายเป็นวันที่ครูเมาที่สุดอีกวันหนึ่งไปได้ก็ไม่ทราบเหมือนกันค่ะ )..ส่วนคุณเม้งท่าจะเดินแบบ เบิร์ดว่าคุณเม้งทำอยู่แล้วบนถนนชีวิตของคุณเม้งเองไงคะ มิใช่ถนนแฟชั่นคนเดินดินแต่อย่างใด อิ อิ..แบบอย่างที่ดีมีค่ากว่าคำสอนมากมายค่ะ

    " คุณเบิร์ดมีสูตร ทำน้ำผลไม้ปั่นไหมครับ เผื่อจะได้ปั่นอุดมการณ์ในหัวเด็กๆ ให้อยากจะเป็นครู อยากเป็นนักคิดค้น วิจัยทั้งวิทย์และศิลป์ นักจิตวิทยาที่ให้อาหารทางใจกับคนทำอาชีพเหล่านี้เพื่อที่จะทำให้ความรู้ทางจิตวิทยาซึมไปยังทุกสายอาชีพ " ...มีแต่สูตรปลูกฝัง คัดสรร  ดูแลค่ะพอไหวมั้ยคะ ?

    " ผมกำลังคิดเหมือนกัน ว่าผมจะกินอุดมการณ์ได้นานขนาดไหน อิๆ คุณเบิร์ดว่า หากเลขศูนย์ ตกใส่หัวผมซักสิบหลัก ผมจะหกล้มคว่ำหัวคมำไหมครับ "...ทุกสิ่งจะพิสูจน์คุณค่าของตัวเองเมื่อเจอบททดสอบค่ะ....^ ^

    " เราจะเลือกคนที่อยากจะมาเป็นครูได้ครับ หากคนจำนวนมาก อยากเป็นครูครับ กระบวนการในการคัดเลือกคนนั้น มีเยอะครับ แม้ว่าตัววัดทางศีลธรรมจรรยา จะไม่เหมือนเทอร์โมมิเตอร์ก็ตามว่าไหมครับ "...เห็นด้วยค่ะ..โดยเฉพาะคำว่า " ถ้ามีคนจำนวนมากอยากเป็นครู "..คำว่าศีลธรรมน่าจะมีการระบุลงไปเลยว่าจะดูอะไรบ้าง เช่น ความซื่อสัตย์  ความขยันหมั่นเพียร  อะไรทำนองนี้น่ะค่ะ เพราะอาจมีบางคนเข้าใจว่าเป็นศีล 5 ! เท่านั้น ( แถมตีความแบบอ้างเหตุผลเข้าข้างตัวเองอีก..กะเหน็บบางอย่างในสังคมเล่นน่ะค่ะอย่าเพิ่งงง อิ อิ )

    Scoll bar เหลือกี่มิลแล้วคะ ^ ^

     

     

     

     

     

     

    สวัสดีครับคุณเบิร์ด
    ผมไปตอบคุณตาหยูไว้ที่ บทความนี้ครับ คะแนนชีวิต ส่งเสริมคนดี เพื่อได้คนเก่งและดี น่าสนใจเลยทีเดียวครับ เกี่ยวกับบทความที่คุณตาหยูเขียนไว้  
    P
    • สวัสดีครับคุณตาหยู
    • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับสำหรับบทความคะแนนชีวิต
    • เห็นด้วยครับ ว่าให้มีคะแนนความดี คะแนนทางความเป็นคน คนดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสาธารณะ
    • สำหรับตัววัดนั้น ดูเหมือนจะยาก แต่ก็ทำได้ไม่ยากอย่างที่คุณมัท ยกตัวอย่างมานะครับ
    • หากจะให้ความดีนั้นต่อเนื่อง ก็ทำได้โดยให้เด็กแต่ละคนมีตารางความดีของตัวเองครับ โดยเริ่มตั้งแต่ก่อนเข้าโรงเรียนกันไปเลย
    • โดยตารางความดีนี้จะมีผลต่อการเรียนสูงขึ้น ในชั้นอื่นๆ โดยมีการจูงใจให้เด็กสร้างความดี เป็นคนดี มีจิตใจดี เอื้อเฟื้อต่อสังคม จิตสาธารณะ มันมาตั้งแต่เด็กเลยครับ
    • เหมือนเป็นผลงานทางวิชาการนะครับ แต่อันนี้เป็นผลงานทางความดีที่ได้ทำ โดยรายการของคุณความดีที่เด็กได้ทำ อาจจะได้รับคำรับรองจาก พ่อแม่ หรือครูประจำชั้นหรือครูใหญ่ในโรงเรียนก็ได้ (อันนี้แล้วแต่ความเหมาะสม)
    • อย่างน้อยผมเชื่อว่าเป็นแรงจูงใจ ช่วยให้เด็กหันมาสนใจความดี เพราะการทำความดีนี้ต้องจริงใจทำตั้งแต่เด็กๆ ทำให้พ่อแม่ที่อยากให้ลูกได้เรียนเข้ามหาวิทยาลัยดีๆ หรือว่าจะเรียนสูงขึ้นนั้น พ่อแม่จะให้สร้างกระบวนการสอนและดูแลเด็กกันอย่างจริงจังตั้งแต่เริ่มแรกครับ
    • ส่วนการสอบเข้าแต่ละที่ หากมีปัญหาต้องคัดเลือกคน ก็ต้องใช้หลักการที่วางไว้ โดยใช้ ใบตารางความดีของตัวเอง ประกอบกับ เรียงความบางอย่างให้เด็กประมวล และประเมินตัวเองทางการมีจิตใจเป็นคนจิตสาธารณะ (อันนี้ทำเพื่อให้เด็กรู้จักการประเมินตน) ส่วนการตรวจสอบเด็กอีกรอบ ทำได้โดยผ่านกระบวนการสอบสัมภาษณ์ หรือมีข้อสอบเรียงความอย่างที่คุณมัท ว่าก็ได้ครับ ซึ่งผมเชื่อเหลือเกินว่า จะได้แนวทางต่างๆ กันแน่นอน แล้วสามารถวัดอะไรได้เยอะพอสมควรครับ
    • ดังนั้น ตารางคุณความดีของตัวเอง ประกอบกับรายงานการประเมินตัวเอง จะมีส่วนในการสนับสนุนในส่วนของ คะแนนชีวิต ที่คุณตาหยู คิดไว้ด้วยครับ
    • โดยตารางความดีและบทความสรุปชีวิตตัวเอง จะมีผลต่อการสมัครหางานทำด้วย ไม่ว่าจะเป็นรัฐ เอกชน รัฐวิสาหกิจ และอื่นๆ
    • ดังนั้น จะมีคนหันมาสนใจเรื่องความดีด้วย นอกจากเกรดที่ให้สูงๆ
    • คุณคิดว่าทำได้ไหมหล่ะครับ เวลาจะไปสมัครงาน
    • เมื่อก่อนเค้าบอกว่า ดูเกรด คะแนน แล้วต่อมา ให้ดูกิจกรรมที่เคยทำ  เราก็เพิ่มตารางคุณความดีเข้า พร้อม ใบประเมินชีวิตตัวเอง เข้าไป
    • ดังนั้น เด็กที่โตขึ้น ก็จะโตพร้อมกับเก็บคะแนนชีวิตเข้าไปด้วย ตารางความดีนี้ จะเป็นตัวคานให้กับคนหรือเด็ก หากเค้าจะทำผิด เพราะคุณความดีเหล่านั้น จะถูกบันทึกไว้ในสมองแล้ว หากคิดจะทำอะไรในด้านลบ จะส่งผลต่อคุณค่าความดีของเค้าด้วย เช่นอาจจะบันทึกจุดบอดของตัวเองลงไปด้วย
    • หากคิดให้ลึกเข้าไปอีกคือ สามารถทำความดีบริการสังคมเพื่อลดรายการติดลบในกิจกรรมที่ผิดพลาดได้ด้วย อย่างที่เมาแล้วขับ ก็อาจจะตามด้วยการบริการสังคม หนึ่งเดือนต่อสังคม ด้วยวิธีการต่างๆ โดยใช้ความดีในการทดแทน
    • ดังนั้น ครอบครัวจะหันมาให้ความสำคัญทางด้านนี้มากขึ้น แทนที่จะส่งลูกไปเรียนติวสมอง ก็จะส่งลูกไปเรียนติวจิตใจดี อาจจะมีโรงเรียนติวคุณธรรมเกิดทั่วประเทศ พ่อแม่อาจจะส่งลูกไปศึกษาธรรมมากขึ้น หรือในด้านศาสนาอื่นก็ตามครับ
    • ดังนั้นในใบเกรดของเด็กก็จะมีบันทึกคะแนนสมอง คะแนนจิตใจ คะแนนร่างกาย(ความพร้อมตามที่วางไว้) ก็น่าจะพร้อมแล้วผมเชื่อว่าทำได้ เริ่มกันตั้องแต่ ครอบครัว อนุบาล ประถม มัธยม มหาวิทยาลัย การทำงาน ไปจนถึงวันตาย  วันตายก็เอาใบคุณค่าชีวิต มาเปิดให้คนรับรู้เลยครับ แจกในงานก็ได้ เป็นใบสรุปตารางความดีของคนๆ นั้นๆ ไปเลยครับ
    • คุณคิดว่า ผมเพ้อ....หรือว่า...ผมฝันครับ แล้วคุณคิดว่าทำได้ไหมครับ
    • ตอนนี้มีโรงเรียนหลายๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อสร้างคุณธรรม แต่เราจะเริ่มทำก็ไม่ได้เสียหายอะไร คุณว่าอย่างไร เพ้อหรือฝัน เชิญร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นนะครับ
    • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ
    P

    สวัสดีครับคุณเบิร์ด

    • สวัสดียามเช้านะครับ
    • ขอบคุณมากๆ เลยครับ ที่มาช่วยตอบหลายๆ อย่างครับ น่าสนใจมากๆ เลยครับ พร้อมดื่ม

      ชงชาอู่หลงก้านอ่อน ของดีเมืองเชียงรายมาให้ด้วย  ขอบคุณมากครับ

    • มีแต่สูตรปลูกฝัง คัดสรร  ดีเลยครับ สูตรปลูกฝัง และสูตรสร้างความต่อเนื่อง ให้สามารถปลูกฝังตัวเองเป็นด้วย จะทำให้มีการต่อยอดเข้าไปด้วย
    • ทุกสิ่งจะพิสูจน์คุณค่าของตัวเองเมื่อเจอบททดสอบค่ะ....^ ^  ขอบคุณมากเลยครับ
    • ขอบคุณมากๆ เลยครับ ยอดจริงๆ เลยครับ
    • มีความสุขใจการทำงาน และขอให้ทำงานแบบอมยิ้มทั้งวันนะครับ (เอ ปกติก็เป็นอยู่แล้วใช่ไหมครับ)
    สุภาพบุรุษเทพศิรินทร์

        กราบเรียนพี่ๆที่เคารพทุกท่าน  กระผมไม่ได้รู้จักกับใครเป็นพิเศษ  เป็นแค่เด็กมัธยมคนหนึ่งที่หลงเข้ามาแล้วได้พบกับมุมมองดีๆที่ทุกท่านได้เขียนและเสนอกันมา  ผมคงไม่มีหลักการหรือทฤษฎีอะไรแต่ขอแสดงความคิดเห็นในมุมเด็กที่อยากเป็นครูครับ 

         ผมมีความเห็นว่าอาชีพครูควรเป็นอาชีพที่คนเก่งระดับต้นๆควรมาเป็นกันไม่ใช้ให้คนที่ไม่มีที่ไปหรือเรียกว่า  เอาเป็นคณะสุดท้ายเหมือนปัจจุบัน  เพราะคนเราตอนนี้กำลังหลงอยู่ในกิเลสเห็นแต่ผลประโยชน์ส่วนตนมองว่าเป็นครูแล้วจน  จึงไม่เป็นหรือเมื่อเป็นก็เป็นส่งๆ  สอนจบกลับบ้าน  ขอบอกไว้เลยว่าครูมีหน้าที่ที่ต้องหาความรู้ตลอดเวลาจะเอาแค่งูๆปลาๆไปสอนก็ได้อายเด็กพอดี  "ต้องรู้จริง"  เด็กจะได้ไม่ต้องไปพึ้งที่เรียนพิเศษ  ผมระบายมาพอสมควรแล้ว

          ในปัจจุบันมีครูหลายท่านที่มีอุดมการณ์ทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กให้เป็นคนดี  มีภูมิค้มกัน  มีทักษะด้านกิจกรรม  เช่น  ครูที่ทำลูกเสือ  ครูที่ทำวงโย ฯลฯ  ถ้าทุกคนแค่รับผิดชอบหน้าที่ของตน  พัฒนาส่วนที่ตนรับผิดชอบ  ก็จะเป็นอีกแนวทางที่สร้างเยาวชนได้  ลองสักเกตุกันสิครับว่าครูเหล่านี้ได้อะไรตอบแทน นอกจากเงินเดือนที่ทรงตัวกลับกันบางคนทำแต่ผลงานไม่เคยมาพัฒนาเด็กอย่างแท้จริง  กลับมีเงินเดือน2-3เท่าของครูที่ยึดอุดมการณ์  ใครจะมีทางออกให้ครูเหล่านี้บ้างครับ

          ลองทำการศึกษาเหมือนการค้าขายดูบ้างสิครับ  แข่งกันพัฒนา  ใครพัฒนาคนดีมีความรู้ได้มากกว่าก็ควรได้รับค่าตอบแทนที่คู่ควร  ใครสอนไม่ดีก็รับค่าตอมแทนน้องลง  จะได้มีการแข่งขันกันบ้างไม่งั้นชีวิตครูคงไม่มีรสชาติ  แล้วจะเอาอะไรเป็นตัววัดนี่เป็นประเด็นที่กระผมอยากเสนอให้  ร.ร.มีนโยบายเด็กเป็นคนให้คะแนนครูบ้าง  และครูก็ให้คะแนนเด็ก  โดยมีองค์กรรัฐเข้ามาควบคุมเราก็ไม่ควรเอาความคิดเด็กเกเร  ไม่ตั้งใจเรียนมาตัดสินครู  รู้ได้ไงว่าเด็กเกเรก็ดูจากผลประเมินเด็กที่ครูส่ง  ที่นี้ก็ให้มีการแก้ไขครูส่วนที่ไม่มีประสิทธิภาพอาจมีการไล่ออกถ้าเป็นการค้าก็เรียกได้ว่าครูผู้นั้นล้มละลาย  มีอย่างนี้อาชีพครูจะได้มีสีสันกับเข้าบาง 

        เสนอ  1.ลองแข่งปั่นเด็กโอลิมปิกแข่งกันดีป่าครับ  2.ลองแข่งปั่นนักเขียนที่มีคุณภาพ 3.ลองปั่นให้เด็กทำหนังสือพิมแข่งกันระหว่างร.ร. 4.ลองปั่นเด็กให้เขียนเรียงความ  การ์ตูน  ภาษาต่างๆแข่งกัน  

    ประมาณนี้ครับ  แล้วเอาตรงนี้เป็นส่วนตัดสินเรื่องขั้นจะดีกว่ามั้ยครับ  ลองไปคิดกันเล่นๆดูนะครับ 

    สวัสดีครับน้อง สุภาพบุรุษเทพศิรินทร์

    • ขอบคุณมากๆ เลยครับ นับว่าข้อคิดเห็นของน้องที่มอบไว้ที่นี่ เป็นข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์มากๆ ครับ
    • และควรจะมีเด็กไทย คิดในแนวทางสะท้อนกลับให้ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเห็นบ้างครับ ว่าเด็กคิดอย่างไร จะได้นำมาปรับใช้ เรียนรู้ร่วมกัน หากเด็กเห็นว่าสิ่งใดไม่ใช่หรือไม่น่าจะตรงที่เด็กคิด ก็น่าจะสะท้อนให้กับผู้ให้ทราบเช่นกัน
    • พี่ว่าน้องสะท้อนได้ดีมากๆ ครับ ชวนเพื่อนมาร่วมพูดคุยประเด็นเหล่านี้ดูนะครับ บริเวณสวนมุมหนึ่งของโรงเรียนในยามว่าง หรือช่วงพักเที่ยง เป็นอาหารสมอง เพราะวันหนึ่ง น้องๆ จะเป็นพลังที่ต้องร่วมสร้างสรรค์สังคมเช่นกัน
    • พี่จะขออนุญาตนำความเห็นน้องไปเปิดเป็นบทความใหม่นะครับ เพื่อให้คนเห็นว่า เด็กคนหนึ่งมองหรือสะท้อนอะไรให้เห็นบ้างะครับ
    • ขอบคุณมากครับ

    สวัสดีครับน้อง

    พี่ไปเปิดบทความใหม่ไว้ที่นี่นะครับ ด้วยความเห็นดีๆ ของน้องนะครับ

    อาหารสมอง จากมุมมองของน้องมัธยม... (การศึกษา)

    ขอบคุณมากๆ นะครับ ไปร่วมกันนำเสนอได้นะครับ

    ขอให้โชคดีในการเรียนนะครับ 

    มาเยียม...คุณ

     เม้ง สมพร ช่วยอารีย์

    เออ..จริงสินะ...ที่ว่า...ทำดีให้เห็นนั้นเย็นใจ

    ถูกต้องนะครับ...

    สวัสดีครับ อ.อุทัย

        สบายดีนะครัีบ เพิ่งมาเห็นว่า อาจารย์มาเขียนไว้ครับ

    ทำดีให้เห็นนั้นเย็นใจ มัวทุกข์์ทำไมใจมันร้อน ครับ

    มีโอกาสคงได้ไปไหวและเสวนาบ้างนะครัีบ

    คิดถึงบรรยากาศเ่ก่าๆ สมัยรุ่นอบรม อาจารย์ใหม่ร่วมกันนะครับ

    คิดถึงเสมอนะครับ

    การศึกษาในเยอรมันก็กำลังจะเปลี่ยนรูปแบบเป็นระบบเก็บค่าเล่าเรียนแบบบ้านเราเขาก็กำลังเจริญตามเรา...๖๐๐ปี กับร้อยปี....โชคดีที่เกิดมาในสมัยการศึกษาที่ยังไม่ต้องใช้เงินมากมายนักทั้งในเมืองไทยและเยอรมัน...ก็ยังงงๆอยู่มีเหลนเรียนอนุบาลใกล้บ้านเห็นมีรูปติดโชว์เมื่อเรียนจบต้องให้ค่านิยมด้วยการใส่เสื้อครุยหมวกแดงและมีการฉลองกันแบบในมหาวิทยาลัยเมืองไทย..ค่าเรียนเทอมละ๘พันธรรมดาๆแบบชาวบ้านนี่ก็เป็นกันแบบนี้เดี๋ยวนี้..ที่เยอรมันเขารับปริญญากันทางไปรษณียหรือกับเจ้าหน้าที่สารบาญ...สมัยนั้น..ตอนรับใบที่ว่าก็บอกเพื่อนๆที่เยอรมันว่า..อิฉันงงค่ะ..เพื่อนก็เลยไปหาหมวกและเสื้อครุยที่ทำด้วยกระดาษเรียนแบบขับรถรอบมหาวิทยาลัยเป็นที่สนุกสนาน..คิดว่าเมื่อเยอรมันเก็บค่าเล่าเรียนอีกหน่อยค่านิยมแบบบ้านเราก็คงตามมา..ป่ามันหมดไม่มีอะไรมาพิมพ์แบ้งค..ก็คงจะไม่ต้องใช้ค่าเทอมละมัง....

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท