อาจารย์ไม่มีคุณภาพ


โฆษกในรายการ คุณสุภาพ คลี่กระจาย ได้ถามประเด็นปัญหาของอุดมศึกษาไทย คำตอบประเด็นหนึ่งที่ท่าน ผอ. พูดคือ..."อาจารย์ไม่มีคุณภาพ"

เพิ่งดูทีวีรายการ "เที่ยงวันทันข่าว" ทางช่อง ๑๑   ทางรายการเชิญ  ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ผู้อำนวยการ สมศ.ที่มีหน้าที่ประเมินคุณภาพสถาบันการศึกษา ตามที่เคยได้เขียนในบันทึกเรื่อง คุณภาพมหาวิทยาลัย ... ในสายตาของ สมศ.  มาเป็นแขกในรายการเรื่อง "อุดมศึกษา อุดมคุณภาพ"

โฆษกในรายการ คุณสุภาพ คลี่กระจาย ได้ถามประเด็นปัญหาของอุดมศึกษาไทย คำตอบประเด็นหนึ่งที่ท่าน ผอ. พูดคือ...

 "อาจารย์ไม่มีคุณภาพ"

เนื่องจากดิฉันได้ดูรายการประมาณไม่เกิน ๑๐ นาทีท้ายเท่านั้น ได้ยินแต่คำตอบข้างต้น เลยไม่ทราบว่าท่าน ผอ.ได้พูดปัญหาคุณภาพของอุดมศึกษาในประเด็นอื่นอีกหรือไม่  อย่างไรก็ดี แค่ประเด็นนี้ประเด็นเดียวก็แย่แล้วค่ะ ถ้าหลักฐานที่ สมศ.ได้ไปประเมินสถาบันอุดมศึกษามาได้บ่งชี้เช่นนี้...

ดิฉันลองมาวิเคราะห์ดูว่าอาจารย์ไม่มีคุณภาพ เป็นไปได้ในลักษณะอย่างไรบ้างนะคะ...

  1. ไม่มีความรู้

  2. วุฒิไม่ตรงกับวิชา/สาขาที่สอน

  3. อาจารย์ส่วนใหญ่ไม่เคยเรียนครุศาสตร์ เลยสอนไม่เป็น

  4. ไม่ update ความรู้ ใช้ตำราเดิม ไม่เคยปรับปรุงอุปกรณ์การสอน

  5. ไม่มีวิญญาณของความเป็นครู ไม่มีอุดมคติของความเป็นครู --> ไม่สนใจการสอน --> ถ่ายทอดไม่เป็น  (เพิ่มเติมคำว่า "วิญญาณ" โดยคุณ P สิทธิรักษ์ และเพิ่มเติมเรื่องไม่มีอุดมคติของความเป็นครูโดยคุณ P บางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา) )

  6. ไม่มีวิญญาณของความเป็นครู ไม่มีอุดมคติของความเป็นครู  --> ทำงานเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาไม่เป็น  --> ไม่เคยให้คำปรึกษาที่เป็นประโยชน์กับนักศึกษา 

  7. เปิดหลักสูตรมากไป --> สอนมากไป --> เดินทางมากไป -->เหนื่อย --> สอนไม่ได้คุณภาพ

  8. ไม่สนใจทำวิจัย/ทำวิจัยไม่เป็น --> ไม่มี publications --> ไม่มีตำแหน่งวิชาการ

  9. วุฒิความรู้น้อย/ประสบการณ์น้อย --> ทำวิจัยไม่เป็น --> ไม่มีนักศึกษาป.โท หรือ ผลิตนศ.ป.โท+ผลงานวิจัยที่ไม่มีคุณภาพ 

  10. ขาดจริยธรรมในการทำงาน ไม่ได้ทุ่มเทให้กับการทำงานในมหาวิทยาลัย เช่น เอาเวลาไปทำงานนอก

  11. ทำงานบริหารมากไป ไม่มีเวลามาตั้งใจสอนหรือทำวิจัย

  12. ขาดวิสัยทัศน์ โลกทัศน์ ซึ่งหลายๆ ท่าน ไม่สามารถหยั่งถึงวิสัยทัศน์หรือโลกทัศน์ของนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษาได้...  (จากหลวงพี่ PBM.chaiwut ) 

  13. ได้คนไม่มีคุณภาพมาเป็นอาจารย์ (จาก P ผศ. ดร. กานดา รุณนะพงศา )

    • ทางแก้  - เอาคนที่มีคุณภาพมาเป็นอาจารย์

    • ทางแก้  - พัฒนาอาจารย์ให้มีคุณภาพ

  14. ได้คนไม่มีคุณภาพมาเป็นอาจารย์ (จากน้อง P เม้ง )

    • ทางแก้ - จะเพิ่มคุณภาพ ก็คงต้องให้รากและผลทำงานร่วมกัน, การสร้างครูต้องสร้างเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ

  15. ได้คนไม่มีคุณภาพมาเป็นอาจารย์ (จาก P นายนิรันดร์ )

    • ทางแก้ - สร้างมาตรฐานในการคัดผู้ที่จะมาเป็นอาจารย์  การเข้มงวดในการคัดคนของหน่วยงาน(ทั้งรัฐและเอกชน) โดยผู้บริหารหน่วยงานต้องไม่มักง่ายในเรื่องมาตรฐานและสินน้ำใจ..

  16. ไม่ใส่ใจในผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม ไม่คิดแก้เชิงระบบ เชิงนโยบาย (จาก P ครูบา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ )

    • ทางแก้ - กลุ่มอาจารย์ก็ควรเสนอด้วย ไม่ใช่ตั้งรับอย่างเดียว

  17. จากข้อความของครูบา ทำให้ดิฉันคิดเพิ่มเติมว่า อาจารย์ที่ไม่มีคุณภาพนั้นยังขาดการมีส่วนร่วมต่อสังคมภายในมหาวิทยาลัย ดูแต่ผลประโยชน์และความก้าวหน้าของตัวเองเป็นหลัก

  18. ......

น่าจะมีอีกนะคะ ตอนนี้นึกได้เท่านี้ค่ะ ฝากหลายๆ ท่านที่เกี่ยวข้องช่วยให้ความเห็นด้วยค่ะ

อาจารย์ P ป้าเจี๊ยบ ได้ช่วยย้ำโจทย์ว่า ถ้าได้เฉพาะในประเด็นคุณภาพของอาจารย์ตามดัชนีชี้วัดของ สมศ. น่าจะชัดเจนขึ้นค่ะ

วัตถุประสงค์ของบันทึกนี้ไม่ได้ต้องการมากล่าวโทษหรือมาสาดโคลนกันนะคะ แค่คิดว่ามีประเด็นอะไรบ้างที่ทำให้อาจารย์ไม่มีคุณภาพ เพื่อจะได้คิดทางแก้   แล้วเรื่องจะแก้อย่างไรนั้น คงเป็นประเด็นหารืออีกครั้ง หรือจะนำเสนอมาพร้อมกันก็ได้เลยค่ะ ขอบคุณค่ะ...

หมายเลขบันทึก: 95952เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2007 13:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 04:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (66)

สวัสดีค่ะอาจารย์  กมลวัลย์  

  • คิดถึงจัง...ตอบตรงประเด็นไหมเอ่ย
  • เป็นอาจารย์ที่ไม่มีคุณภาพ...ก็เปลี่ยนเป็น...ครูที่คุณภาพเต็มเปี่ยม..สิคะ

เย้....โหว..โว..เหย่..เหย

สวัสดีค่ะครูอ้อย สิริพร กุ่ยกระโทก

ว่าจะแวะเข้าไปทักในบันทึกตั้งหลายทีแล้วค่ะ ไม่ได้ทำสักที  ; )

คงจะดีมากค่ะ ถ้าสามารถเปลี่ยนเป็นครูที่คุณภาพเต็มเปี่ยมได้ค่ะ แต่โบราณเขาว่า สอนอะไรก็ได้ แต่อย่ามาสอนพระกับครูบาอาจารย์ค่ะ สอนยาก....  สงสัยต้องหา incentive อะไรสักอย่าง หรือครูอ้อยว่าไงคะ...

กมลวัลย์....

เข้ามาเยี่ยม...

ตอบว่า ถูกทุกข้อ

และข้อ 12... ที่ละไว้ ขออนุญาตเติมดังนี้...

12. ขาดวิสัยทัศน์ โลกทัศน์ ซึ่งหลายๆ ท่าน ไม่สามารถหยั่งถึงวิสัยทัศน์หรือโลกทัศน์ของนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษาได้...

สำหรับข้อที่เติมเข้ามา อาจสรุปได้ว่า อาจารย์บางท่าน นักเรียนรู้สึกได้ว่า โง่กว่า.... ประมาณนั้น..

และขออนุญาตเพิ่มเติม...

13..................

เจริญพร 

  • นั่นสิคะ...พรุ่งนี้กับมะรืนนี้   ครูอ้อยกับคณะที่ไปรับการอบรมรุ่นแม่ไก่   ต้องกลับมาโรงเรียน  และขยายผลไปยังเพื่อนครูๆที่โรงเรียน   สอนครูที่มีแรงต้าน  นี่ยากจริงๆค่ะ
  • incentive คืออะไรคะ   อยากรู้จังค่ะ

กราบนมัสการหลวงพี่BM.chaiwut

ขอบพระคุณมากค่ะที่มาช่วยเติมข้อ 12. 

เห็นด้วยเช่นกันค่ะว่า นักเรียนบางคนอาจฉลาดกว่าครูที่มีโลกทัศน์แคบค่ะ

ขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ เดี๋ยวจะเข้าไปเติมของหลวงพี่ในบันทึกค่ะ..

สวัสดีค่ะ อ กมลวัลย์

อาจารย์ไม่มีคุณภาพ  ก็เนื่องมาจาก ได้คนไม่มีคุณภาพมาเป็นอาจารย์  ทางแก้ก็มีอยู่ 2 ทาง คือ เอาคนที่มีคุณภาพมาเป็นอาจารย์   หรือ  พัฒนาอาจารย์ให้มีคุณภาพ

ทำไมจึงได้คนที่ไม่มีคุณภาพมาเป็นอาจารย์  อาจเป็นเพราะสังคมไทยไม่ได้มีสิ่งส่งเสริมสนับสนุนให้คนมีคุณภาพมาเป็นอาจารย์  ส่วนใหญ่ เด็กที่เรียนดี ก็อยากจะเป็นวิศวกร แพทย์  นักธุรกิจ  ทนายความ ตุลาการ  ทางแก้ ก็อาจจะทั้งช่วยสร้างค่านิยม ให้สังคมเห็นคุณค่าของครูอาจารย์ที่ดี อีกทั้งเพิ่มเงินเดือนให้กับครูอาจารย์

ทำอย่างไรจึงจะพัฒนาอาจารย์ให้มีคุณภาพ  ต้องมองว่าจะพัฒนาในแง่วิชาการ หรือ ทัศนคติ  ถ้าในแง่วิชาการ ก็ต้องส่งเสริมการเรียนต่อ การอบรม  แต่ในแง่ทัศนคตินี้ แก้ค่อนข้างยาก  ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจะแก้อย่างไรดี  ที่จะทำให้อาจารย์ส่วนใหญ่มีทัศนคติว่าตนเองก็ผิดได้  ตนเองควรจะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา  และตนเองมีหน้าที่หลักในการทำให้บัณฑิตมีความรู้ มีคุณธรรม และมีคุณธรรม   ไม่อยากเห็นอาจารย์มีทัศนคติที่เน้นการทำให้ตำแหน่งทางวิชาการ เงินเดือน เงินวิจัย เงินที่ปรึกษาสูงขึ้น นั้นควรเป็นผลพลอยได้ที่ได้จากการทำงานที่เน้นการพัฒนาตนเองและบัณฑิตเป็นหลัก

สวัสดีอีกครั้งค่ะ ครูอ้อย สิริพร กุ่ยกระโทก

Incentive หรือคะ..... เนื่องจากสอนให้เปลี่ยนแปลงนิสัยยาก คงต้องสร้างแรงจูงใจในรูปแบบอื่นๆ แต่ก็ยังนึกไม่ค่อยออกแบบเป็นรูปธรรมค่ะ ขอคิดสักพักนะคะ เดี๋ยวต้องไปธุระข้างนอกอีก

ครูอ้อยงานเยอะนะคะ ดูแลสุขภาพด้วยค่ะ ที่บ้านตอนนี้ฝนตกปรอยๆ ค่ะ

สวัสดีครับ

P
ขอเพิ่มเติม ข้อ  13  วิญญานของความเป็นครู ไม่มี     คำว่า คุณครู  มีภาระหน้าที่หลักคืออะไร เป้าหมายที่จะบรรลุ อยู่ตรงไหน  ความสำคัญ ของคำว่า ครู เป็นยังไง  

ขอบคุณมากครับ

 

เจริญพรโยมกมลวัลย์

ถ้าลองเปลี่ยนคำถามใหม่เป็นว่า "อาจารย์ที่มีุีคุณภาพ" ต้องเป็นอย่างไร จะสร้างสรรค์จะจรรโลงใจกว่าไหม

 

เพราะประเด็นของการพูดคำว่า "ไม่" จะหยุดอยู่แค่การวิพากษ์และวิจารณ์ แล้วทุกอย่างก็เหมือนเดิม  แถมยังจะยิ่งแย่ลงกว่าเดิมอีก

แต่ถ้าพูดคำว่า "ใช่" น่าจะเป็นจุดเริ่มของการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาในทางที่ดีขึ้น

แต่พูด คุย ลงบล็อกนั้นก็คงจะไม่เพียงพอ (เพราะถ้าพอประเทศคงจะเจริญมากขึ้นกว่านี้ เพราะบล็อกโกทูโนว์ก็มีมาหลายปีแล้ว)

เปลี่ยนจากการพูดมาร่วมกันทำจะดีกว่าไหม 

ถึงแม้ว่าจะเป็นเทียนเล่มเล็ก ๆ แสงสว่างอาจจะน้อยนิด

แต่ถ้าถูกจุดขึ้นในเวลาและสถานที่ที่ถูกต้อง คนที่เห็นค่าอาจจะนำเทียนมาต่อและสามารถจุดแสงสว่างให้กับนักเรียนนักศึกษาและประเทศไทยได้อย่างที่โยมกมลวัลย์คาดหวัง

เจริญพร 

  • สวัสดีครับพี่
  • ทฤษฏีที่ไม่มีปฏิบัติไร้ผล  ปฏิบัติที่ไม่มีทฤษฏีรองรับไร้ราก
  • คำว่าครูหรืออาจารย์ ควรจะต้องผูกพันอยู่กับคำว่า ทฤษฏี และ การปฏิบัติ หรือเอาง่ายๆ ไปอีกก็คือ การคิดและทำ ก็จะกลายเป็นว่า
  • คิดแต่ไม่ทำไร้ผล ทำแต่ไม่คิดไร้ราก
  • การจะเพิ่มคุณภาพ ก็คงต้องให้รากและผลทำงานร่วมกันครับ ดังนั้น จากหลายๆ ข้อที่พี่กล่าวไว้ในบทความ ล้วนเกี่ยวข้องกับ รากและผลเป็นส่วนใหญ่  ด้วยเครื่องหมาย -->
  • คราวนี้จะเพิ่มคุณภาพอย่างไร เมื่อพูดถึงรากและผลแล้ว ก็คงต้องเทียบกับต้นไม้
  • สารอาหารให้กับต้นไม้มีอยู่ 16 ตัว ก็จะมีธาตุอาหารหลัก อาหารรอง อาหารเสริม
  • การจะให้ต้นไม้โตดีก็คงต้องให้อาหารหลักแน่นอน ที่ขาดไม่ได้ โดยการให้ก็ต้องมีรากที่ดีด้วยครับ ถึงจะทำให้ดูดซับอาหาร  ถามว่า รากของการให้หรือการสร้างครูคืออะไร ใครจะเป็นผู้ให้ แล้วให้สารอาหารอะไร
  • การดูดซึมของรากฝอยนั้น จะดูดซึมอาหารได้ดีที่สุด ดังนั้นการใส่ปุ๋ยเคมี ก็ต้องใส่ให้ถูกวิธีให้ตรงกับที่บริเวณรากฝอยอยู่ จะใส่ที่โคนต้นเลยก็อาจจะผิดที่ อ่านบทความจริงๆ ได้จากที่ ใส่ปุ๋ยให้พืชหรือต้นไม้ ควรใส่ตรงไหนอย่างไร
  • และก็จะเชื่อมโยงมายังครูและอาจารย์ และที่มาของครูและอาจารย์ได้เช่นกันครับ เพราะเป็นเรื่องเดียวกันเลยครับ
  • การดูดลำเลียงสารอาหารขึ้นลำต้นนั้น ต้นไม้แต่ละชนิดก็มีอัตราการรับ การดูดได้ต่างๆ กันครับ ดังนั้นการให้สารอาหารก็ต้องให้โดยทราบถึงผู้รับด้วย เช่นกัน
  • เมื่อทุกอย่างพร้อม การผลิดอกออกผลก็เกิดเมื่อมีสภาพที่พร้อม ในขณะที่ดอกกำลังออก รากก็ต้องทำงานหนักเช่นกันครับ รวมกันเป็นการเพิ่มศักยภาพในการสะสมอาหาร ใบก็สำคัญมากๆ จนได้มีการสะสมแล้วบ่มผลไม้ที่ผลิตขึ้นมาให้สุกงอมตามธรรมชาติ ที่จะออกไปสร้างต้นใหม่ ด้วยเมล็ด จากการขยายพันธุ์ต่อไป
  • การสร้างครูต้องสร้างเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ กำลังในการผลิตครูใครเป็นคนทำ จะช่วยกันสร้างครูได้อย่างไร เพื่อสอดคล้องกับคำว่า คุณภาพ ที่ทุกคนต้องการ
  • ขอบคุณมากนะครับ

ด้วยความเคารพค่ะอาจารย์ กมลวัลย์ 

  • ไม่มีความเป็นครู --> ทำงานเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาไม่เป็น  --> ไม่เคยให้คำปรึกษาที่เป็นประโยชน์กับนักศึกษา 

หนิงจะเจอข้อนี้เลยอ่ะค่ะ แต่ก็บางท่านนะคะ  โดยเฉพาะยิ่งเมื่อมาทำงานจัดการศึกษาของผู้พิการนี่แล้ว  รู้สึกดีใจมากค่ะที่ช่วยทำข้อนี้ให้กับเด็กๆได้  เพราะเขาต้องการมากๆค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ผศ. ดร. กานดา รุณนะพงศา

ขอบคุณค่ะอาจารย์ที่เสนอได้ตรงประเด็นดีมากค่ะ ที่อาจารย์บอกว่า "อาจารย์ไม่มีคุณภาพ  ก็เนื่องมาจาก ได้คนไม่มีคุณภาพมาเป็นอาจารย์  ทางแก้ก็มีอยู่ 2 ทาง คือ เอาคนที่มีคุณภาพมาเป็นอาจารย์   หรือ  พัฒนาอาจารย์ให้มีคุณภาพ" เดี๋ยวจะนำไปเพิ่มในบันทึกค่ะ

สำหรับประเด็น "ทำไมจึงได้คนที่ไม่มีคุณภาพมาเป็นอาจารย์" เราคงเห็นตรงกันค่ะ ว่ามันเป็นเรื่องของค่านิยม ดิฉันก็เพิ่งเขียนเรื่องทำนองนี้ไปในเรื่อง "ทำไมมาเรียนวิศวกรรมโยธา?" ค่ะ ทางแก้ยังยากอยู่เพราะเป็นเรื่องของค่านิยมในสังคม คล้ายๆ กับเรื่องอาจารย์ไม่มีคุณภาพนี่แหละค่ะ

เช่นเดียวกับประเด็นเรื่องที่ "ทำอย่างไรจึงจะพัฒนาอาจารย์ให้มีคุณภาพ" ก็เห็นด้วยกับอาจารย์เป็นอย่างมากค่ะ  ว่าการปรับทัศนคติคนในอาชีพนี้มันยากเหลือค่ะ เพราะส่วนใหญ่อัตตาสูงมาก รับผิดไม่เป็นซักเท่าไหร่ เพราะคนทั่วไปจะคิดว่าคนเป็นอาจารย์ควรจะรู้หมด ตอบได้หมด แก้ได้หมด ดังนั้นคนที่สวมหัวโขนอาชีพนี้ก็ต้องบอกว่าที่ตัวเองทำถูกต้องแล้ว ไม่งั้นอาจสร้างความเชื่อถือให้กับผู้อื่นไม่ได้ (จริงแล้วเราลืมกันไปว่าคนเป็นอาจารย์ก็ยังเป็นคนทั่วๆไปอยู่ ยังมีโอกาสเกิดกิเลส ลุ่มหลง มัวเมาได้เท่าๆกับคนอื่นๆ แต่บังเอิญมีอาชีพสอนคน เลยต้องมีคุณสมบัติอื่นๆ ที่ดีเพิ่มเติมขึ้นมา นั่นคือ...มีส่วนบวกเพิ่ม แต่ไม่ได้หมายความว่าส่วนลบจะหายไป)  ดิฉันว่าการที่เปลี่ยนทัศนคติอาจารย์ยากเพราะมีส่วนหนึ่งที่มาจาก occupational hazard นี่แหละค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ที่แวะเข้ามา ลปรร นะคะ ยินดีต้อนรับค่ะ ; )

สวัสดีค่ะคุณสิทธิรักษ์

ขอบคุณที่แนะนำนะคะ จะขอแก้คำว่า "ไม่มีความเป็นครู" เป็น "ไม่มีวิญญาณของความเป็นครู" แทนนะคะ..

จากการเชิญจาก ผศ.ดร. กานดา ให้มาแวะเยี่ยมกระทู้นี้ ... และจากการที่ได้อ่านกระทู้แล้วก็ทำให้ได้รู้ว่าหลายท่านกำลังรับทราบถึงปัญหาของการลดด้อยถอยลงของคุณภาพการศึกษาไทย ... และในกระทู้นี้ก็มองแค่ในประเด็นของอุดมศึกษา ... และผมก็อาจจะฟันธงได้เลยว่างยังไม่มีผู้ใดมีทางแก้ปัญหานี้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ ...

จากการที่แม่ผมเป็นครูชั้นประถม พ่อผมเป็นครูมัธยม ตั้งแต่เล็กจนโตได้คลุกคลีอยู่กับครูๆเพื่อนของพ่อแม่ผม จนกระทั่งผมได้มาเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ผมต้องขออภัยถ้าหากจะบอกว่าปัญหาทั้ง13 ข้อที่ลำดับกันมาข้างต้นนั้นเป็นเพียงปัญหาปลายเหตุ และการพยายามที่จะแก้ปัญหาที่ปลายเหตุก็รังแต่จะสร้างปัญหาใหม่ขึ้นมาอีก ...

ตามความเห็นของผมรากเง่าของปัญหาคือ ค่านิยม สังคม และวัฒนธรรมไทย ซึ่งกำลังถูกทำลายด้วยค่านิยม และวัฒนธรรมจากสังคมตะวันตก ...

กราบนมัสการค่ะ พระ ปภังกร ขนฺติวโร

ขออนุญาตเรียก หลวงน้อง นะคะ ไม่ทราบว่าเรียกอย่างนี้ได้หรือเปล่า ถ้าต้องเรียกให้ถูกต้องอย่างไร แจ้งได้นะคะ  และขออภัยถ้าเรียกไม่ถูกต้องในบันทึกนี้ค่ะ

เข้าใจในประเด็นที่หลวงน้อง   ต้องการให้เปลี่ยนโจทย์ให้เป็นแง่บวกค่ะ แต่บังเอิญคนเปิดประเด็นให้คิดคือ ผอ. สมศ. ท่านใช้คำนี้ แล้วก็การคุยกันโดยมองโจทย์ที่เป็นปัญหา อาจทำให้ได้ทางแก้ที่ตรงประเด็นและชัดเจนขึ้นก็ได้หรือเปล่าคะ  เพราะดิฉันมองว่ามันต่างกันบ้างค่ะ เช่น การแก้ปัญหาของคนที่พิมพ์ดีดสัมผัสไม่ได้ กับการทำให้คนพิมพ์ดีดดีขึ้น หรือ การแก้ปัญหาความยากจนของเกษตรกร กับการแก้ให้เกษตรการมีรายได้มากขึ้น มันไม่น่าจะเหมือนกันค่ะ

แล้วอีกอย่างก็คือ ตัวดิฉันอยู่ในอาชีพนี้ เขียนบันทึกเกี่ยวกับระบบการเรียนการสอนที่ไม่ดี รวมถึงนักเรียนที่ไม่เป็นนักเรียนมาบ้างแล้ว ก็ไม่อยากจะละเรื่องของอาจารย์ เพราะอาจารย์ก็ต้องทบทวนสำรวจบทบาทหน้าที่ของตน ดิฉันมองในแง่ดีน่ะค่ะ คือถ้าจะวิจารณ์ก็ต้องไม่ยกเว้นตัวเองค่ะ

เรื่องการปฏิบัติและช่วยกันทำ ดิฉันว่ามีแสงเทียนเล็กๆ อยู่หลายเล่มค่ะ ดิฉันเองก็พยายามจุดและคงแสงเทียนเล็กๆ ของตัวเองอยู่เหมือนกัน การมาเขียนใน G2K ทำให้เกิดกำลังใจ และทำให้รู้ว่ามีคนห่วงใยในสังคมในมุมต่างๆ ของประเทศ และเป็นการ ลปรร เพื่อนำไปปฏิบัติในส่วนที่ตัวเองจะทำได้ค่ะ..

อย่างที่หลวงน้องบอกว่า "แต่ถ้าถูกจุดขึ้นในเวลาและสถานที่ที่ถูกต้อง คนที่เห็นค่าอาจจะนำเทียนมาต่อและสามารถจุดแสงสว่างให้กับนักเรียนนักศึกษาและประเทศไทย" เป็นความหวังของดิฉันเช่นกันค่ะ แต่ตอนนี้ปฏิบัติธรรม(แบบชาวบ้าน) จนรู้ได้ถึงความเป็นอนิจจังของเรื่องต่างๆ พอสมควรค่ะ แต่ก็ยังไม่ละความพยายามที่จะจุดเทียน ตราบใดที่ยังสวมหัวโขนทำหน้าที่อาจารย์อยู่ค่ะ..

กราบนมัสการอีกครั้งค่ะ และขอขอบพระคุณที่ได้ให้ข้อแนะนำนะคะ...

 

ค่านิยม และวัฒนธรรมของสังคมในยุคโลกาภิวัตร คือรากเง่าของปัญหา ...

แนวคิดทุนนิยม การทำอะไรที่เห็นแก่เงินมันแทรกซึมเข้ามาในสังคมไทย และก็รวมถึงสังคมของครูด้วย ... ครูในสังคมไทยแต่ก่อนไม่ต้องการอะไรมากมายกับการที่ใครซักคนจะมาขอเป็นศิษย์ ก็มีแค่เพียงขันดอกไม้ ขัน  5 ขัน 8 มาบูชา ซึ่งหมายถึงการให้ความเคารพครูอาจารย์ และอาจารย์ก็จะประสิทธิ์ประสาทความรู้ให้อย่างเต็มใจ ...

ครูไทยสมัยใหม่บางส่วนที่ถูกทุนนิยมครอบงำทำอะไรเห็นแก่เงิน เช่น เปิดโรงเรียนกวดวิชา เวลาสอนในโรงเรียนไม่ใส่ใจ มิหนำซ้ำบังคับให้เด็กไปเรียนพิเศษกับตัวเองจึงจะได้เกรดดีๆ .. ครูทำเช่นนี้ผิดไหม เมื่อถามเขา เขาก็จะตอบว่า ใครๆ ก็ทำกัน ... และใครๆ ก็ทำกัน เอาเยี่ยงอย่างกันจริงๆ .. อย่างแพร่หลายอีกต่างหาก ... เป็นเหตุให้ครูที่มีอุดมการณ์ไม่ยอมทำเช่นนั้นอยู่ภายใต้ความกดดัน ที่ต้องยอมเป็นครูจนๆ

 

 

(ต่อ) ...

และครูจนๆ เหล่านี้ ก็จะค่อยๆเกิดความอยากรวยตามเขาครูดีๆ นับวันก็จะหายหด ...

ผลสืบเนื่องจากการเป็นครูที่เห็นแก่เงินคืออะไร .. ศิษย์หมดความเคารพเชื่อถือยำเกรง เหมือนสมัยก่อน เด็กก็จะเกิดความคิดว่า "ครูมีหน้าที่สอนให้ได้วิชา ตามที่ได้จ้างมา" ความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับศิษย์ดังเช่นผู้ให้บริการกับผู้ซื้อบริการ ความสัมพันธ์มันเปลี่ยนไปมาก และเคยมีกรณีที่เด็กด่าอาจารย์อย่างเสียหายที่สอนให้เขาสอบผ่านไม่ได้ ทั้งๆที่เด็กไม่ตั้งใจเรียนเสียเอง

สำหรับปัญหาที่ว่าอาจารย์ไม่มีคุณภาพ และอาจจะวัดได้ด้วยสาเหตุ 13 ข้อข้างต้น  และผมก็บอกว่า 13 ข้อนี้เป็นปัญหาปลายเหตุที่แก้ไขได้  เพราะอาจารย์ที่มึคุณภาพในความหมายของผม คือ อาจารย์ที่มีความเป็นครู (แบบสมัยก่อน) ...

แต่น่าเสียดายที่กระบวนการคัดสรรคนเข้ามาเป็นอาจารย์ในสมัยนี้ ถ้าไม่ใช้การสอบแข่งขันที่วัดกันแค่เพียงวิชาการ (ซึ่งคนเก่งๆไม่อยากมาสอบเพราะรายได้น้อย) ก็จะเป็นการรับกันตรงๆ มีการเอาทุนรัฐบาลมาเป็นแรงจูงใจและเป็นข้อผูกมัด ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีการใช้เส้นสายกันอย่างเอิกกะเริกทุกระดับองค์กร ...  ซึ่งนี่ก็ค่านิยมไทยอย่างหนึ่ง

(ต่อ) ...

ถ้าหากเราได้อาจารย์ที่มีความเป็นครูอย่างที่ผมว่าแล้ว เขาขาดอะไรใน 13 ข้อ ก็สามารถที่จะพัฒนาเพิ่มเติมได้ ขาดความรู้ ก็ส่งไปเรียน ขาดเทคนิคในการสอน ก็ส่งไปอบรม ซึ่งมันพัฒนาได้ ...

 แต่ถ้าหากได้อาจารย์ที่ไม่มีความเป็นครูเข้ามาแล้ว ถามว่าเราสามารถทำให้เขามีความเป็นครูที่ดีได้หรือไม่ ... ผมว่ายาก ... แต่ก็คงจะพอทำได้ .. แต่ผมก็ขอยกตัวอย่างหนึ่งไว้พิจารณากันเล่นๆ คือ ถ้าหากเราเจออาจารย์คนหนึ่งซึ่งสอนนักศึกษาไม่ค่อยได้คุณภาพ ตอนแรกเราคิดว่าอาจารย์คนนั้นคุณวุฒิยังไม่พอ ก็ให้ทุนส่งไปเรียนต่างประเทศ เรียนสำเร็จกลับมา ก็สอนเด็กไม่ได้คุณภาพเหมือนเดิม เพราะแกเอาความรู้ของแกไปหางานนอก หาเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง

นึกย้อนหลังก็เหมือนจะบาปครับอาจารย์

เมื่อครั้งเรียน ปี ๑  เป็นหนึ่งในหลายคนที่ (ก่อหวอด) ระดมทุนจากผองเพื่อนนักศึกษารายละไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ บาท เพื่อเป็นทุนให้อาจารย์ไปประกอบอาชีพอื่น

ณ ตอนนั้นเพราะเหตุว่า ใช้เวลากว่าร้อยละ ๗๐ เล่าความหลังและสัปหงก ส่วนเวลาที่เหลือก็เฮฮา เรื่อยเปื่อย

แต่ก็ไม่สำเร็จครับ เพราะในที่สุดมีการเปลี่ยนอาจารย์ในรายวิชานั้น

นึกย้อนหลังก็เหมือนจะบาปนะครับ 

 

สวัสดีค่ะน้อง เม้ง สมพร ช่วยอารีย์ ---------> http://www.somporn.net ---------> http://www.schuai.net

ชอบที่น้องเม้งเขียนว่า "ทฤษฏีที่ไม่มีปฏิบัติไร้ผล  ปฏิบัติที่ไม่มีทฤษฏีรองรับไร้ราก"

Deep thought นะคะ ; ) เล่นเอาพี่อ่านไปหลายรอบ อิ อิ

เอาล่ะค่ะ เข้า mode อาจารย์แล้วค่ะ...ฮะแฮ่ม..

โดยรวมน้องเม้งบอกว่าต้องปรับทั้งครูทั้งนักเรียนใช่ไหมคะ โดยเน้นที่การสร้างครู ที่ต้องบำรุงกันให้ถูกจุด ด้วยสารอาหารที่ถูกต้อง...

แต่พี่อยากบอกอย่างหนึ่งค่ะว่าต้นไม้กับคนไม่เหมือนกันค่ะ (อันนี้ได้มาจาก อ.ศิริศักดิ์  )  อ.ศิริศักดิ์ บอกทำนองว่าคนมีความอยาก ได้เท่าไหร่มักไม่ค่อยพอ แต่ถ้าเป็นต้นไม้ เราบำรุงอะไรไป ก็ได้ตามนั้น บำรุงดีก็ได้ผลดี แต่สำหรับคน อันนี้ไม่แน่ เพราะคนมีกิเลส แต่ต้นไม้ไม่มี ต้นไม้มีแต่ basic instinct ในการอยู่รอด

เพราะฉะนั้นการสร้างครู หรือการที่เรามาถกปัญหาการศึกษากันอยู่นี้ เราต้องเข้าใจด้วยว่า เรากำลังถกปัญหาที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ไม่แน่นอน ดังนั้นจึงเป็นปัญหาที่แก้ได้ไม่หมดเสียที และคงไม่มีวันหมด ตราบใดที่ยังเป็นเรื่องเกี่ยวกับคน....  แต่ไม่ใช่ไม่แก้นะคะ ต้องแก้ต้องปรับปรุง แต่ต้องรู้ว่าทางแก้เดียวใช้กับทุกคนในทุกวาระไม่ได้ค่ะ แล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคนจำนวนมาก เป็นเรื่องใหญ่ เราไม่กี่คนก็คงได้แต่บ่นๆ กันในภาพรวม แต่ทำได้ในภาพเล็กๆ ของเรา ... ดังนั้นต้องเข้าใจธรรม(ชาติ)..จะได้ไม่เป็นทุกข์ เวลาแก้ไม่ได้ หรือเห็นผลที่เราไม่ชอบใจค่ะ..

เดี๋ยวพี่จะรวมประเด็นของน้องเม้งขึ้นบันทึกนะคะ ขอบคุณที่เปิดโต๊ะกลมถกกันค่ะ : )

สวัสดีค่ะ คุณหนิง (DSS "work with disability" ( หนิง ))

เข้าใจเลยค่ะ...เพราะก็มีเพื่อนร่วมงานที่ทำหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาไม่เป็นเหมือนกันค่ะ แล้วก็ต้องบอกว่าตัวเองก็"เคย"ให้คำปรึกษาไม่เป็นเหมือนกันค่ะ  แต่ตอนนี้เห็นแล้วว่าระบบการให้คำปรึกษาสำคัญมาก เพียงแต่จะสร้างให้เด็กมาเชื่อถือเรา และมาหาเราก่อนมีปัญหาได้อย่างไร.... อาจารย์แต่ละท่านอาจมีเทคนิคส่วนตัว... แต่ที่ต้องมีคือความจริงใจ และต้องแสดงให้เด็กเห็นค่ะ เขาถึงจะเชื่อ...ดิฉันคิดว่าอย่างนั้นนะคะ

ดีมากเลยนะคะ ที่คุณหนิงช่วยเติมช่องว่างระหว่างนักศึกษากับอาจารย์หรือนักศึกษากับระบบ.. เป็นสิ่งที่ดีมากๆ ค่ะ

ขอบคุณนะคะ ที่แวะเข้ามา ลปรร ค่ะ

สวัสดีค่ะ ดร. ทินกร คำแสน

เห็นด้วยค่ะว่าเรื่องในบันทึกเป็นเรื่องปลายเหตุเท่านั้นค่ะ แต่เนื่องจากรายการที่ดู เป็นรายการที่พูดถึงอุดมศึกษา แล้วก็ไม่อยากโทษระบบต้นน้ำในตอนนี้ค่ะ แล้วก็ตัวดิฉันไม่มีประสบการณ์ตรงในระบบการศึกษาพื้นฐาน ถ้าเขียนอะไรไปอาจไม่ถูกต้องได้ค่ะ  แต่ถ้าอาจารย์สนใจเรื่องการศึกษาทั้งระบบนะคะ ลองไปดูบันทึกของน้องเม้ง "สภาการศึกษา G2K" น้องเม้งรวบรวมไว้เยอะมากค่ะ  

ที่ดิฉันเริ่มประเด็นในบันทึกนี้ เพราะสงสัยว่า สมศ.ประเมินได้หลักฐานบ่งชี้อะไร ท่าน ผอ.ถึงกล่าวถึงปัญหาอยู่ประเด็นเดียวคือ "อาจารย์ไม่มีคุณภาพ"  ไม่ได้พูดลงในเชิงลึก หรือปัญหาอื่นๆ ของระบบอุดมศึกษาเลย แต่เจาะลงที่คุณภาพอาจารย์อย่างเดียว แสดงว่าปัญหารุนแรงมาก (หรือเปล่า)   เสียดายที่ไม่ได้ดูรายการตั้งแต่ต้น ไม่งั้นอาจมีข้อมูลเสริมสำหรับปรับแก้ปัญหามากกว่านี้ค่ะ

สังคมไทยกำลังแย่อย่างที่อาจารย์บอกไว้ค่ะ ดิฉันเห็นด้วยค่ะว่า "ค่านิยม สังคม และวัฒนธรรมไทย ซึ่งกำลังถูกทำลายด้วยค่านิยม และวัฒนธรรมจากสังคมตะวันตก" เป็นปัญหาใหญ่จริงๆ... แก้ยาก เพราะต้องแก้ที่ความคิดของคนเป็นจำนวนมาก....คงต้อง ตกต่ำกันแบบสุดๆ สักที ถึงจะรู้ตัวกันมังคะ .. งานนี้ ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตาค่ะ...

เราต้องร่วมกันสู้กับสภาพแบบนี้ โดยถือเป็นหน้าที่ของเราต่อไปค่ะอาจารย์ ไม่ว่าจะได้ผลเล็กน้อยสักแค่ไหนก็ตาม..

ขอบคุณที่อาจารย์แวะมาให้ข้อคิดเห็นนะคะ..

คนนอกวงการของแจมครับ  จะกล่าวในเชิงอุปมาก็แล้วกัน  จะได้ลดดีกรีความ "แรง" และ "ตรง" ลงไปบ้าง  เพราะสองคำนี้ไม่ค่อยถูกโฉลกกับค่านิยม "ผู้ดี" ของเราเท่าไหร่

เอาเป็นว่าระบบการศึกษาทั้งระบบแล้วกัน  ไม่เจาะจงที่ใคร  ระบบการศึกษาของเราเป็นเหมือนต้นไม้  แต่เป็นต้นไม้ที่อยู่ในเรือนเพาะชำมาตลอด  เมื่อปี 2542 ก็มีข่าวดีว่า  จะนำต้นไม้ไปปลูกในป่าใหญ่  จะได้ช่วยกันดูแล  และเลือกต้นไม้ที่เหมาะสมที่จะใช้ประโยชน์กับท้องถิ่น

ขึ้นต้นก็ดูดีมีวิสัยทัศน์  แต่ไหงเปลี่ยนเรือนเพาะชำใหม่เสียนี่  เรือนเพาะชำนี้มีตั้งสองชั้นแหนะ  ออกจะเตี้ยกว่าของเก่าด้วย  แสงจากดวงอาทิตย์ก็ส่องถึงได้น้อย

โอ...แม่เจ้า...พอเอาเรือนเพาะชำมาครอบต้นไม้...แล้วยังมีหน้ามาบอกว่า...ทำไมต้นไม้ใบไม่ค่อยเขียวเลย...มันดูซีดไปนะ...เราจะทำอย่างไรดี...เปลี่ยนพันธุ์...เปลี่ยนปุ๋ยดีไหม...หรือต้องเปลี่ยนคนรดน้ำต้นไม้ดี...น่าสงสารไหมหละท่าน...ภูมิปัญญาท่านสูงส่งจริง ๆ

ไม่กล้าเอาเรือนเพาะชำออกไป...แต่อยากจะให้ต้นไม้แข็งแรง...สู้แดดสู้ฝน...

จะกระจายอำนาจทางการศึกษา...แต่มองไม่ออกว่า...อำนาจทางการศึกษาจริง ๆ อยู่ตรงไหน...กระจายอำนาจจริง ๆ ออกไปสิครับ...ปล่อยให้ท้องถิ่นได้เติบโตจริง ๆ...ไม่ต้องกลัวว่า "เรือนเพาะชำ" จะหมดความสำคัญหรอกครับ...เพราะหมดแน่นอน...เรือนเพาะชำไม่จำเป็นครับ...ต้นไม้สามารถเจริญเติบโต...และแข็งแรงได้ดีในธรรมชาติ

หากจริงใจจะแก้ปัญหาเรื่องนี้จริง ๆ ละก็  เอาเรือนเพาะชำสองชั้นที่ครอบต้นไม้ของเราอยู่ไปทำฟืน...ยังจะพอมีประโยชน์บ้างนะครับ...ต้นไม้จะได้เติบโตและแข็งแรงอย่างเต็มศักยภาพเสียที........

ด้วยความเคารพ

สวัสดีค่ะคุณมงคล ยะภักดี

ดิฉันว่าคุณมงคลได้ทำบุญด้วยซ้ำไปนะคะ ; ) เพราะคุณมงคลไปหยุดการกระทำบาปของเขาไม่ให้ทำร้ายนักศึกษาตั้งหลายคนด้วยการไม่ทำหน้าที่ของเขา..

ขอบคุณที่เล่าสู่กันฟังนะคะ : )

ขออนุญาตต่ออีกนิดนะครับ...ประเด็นนี้ด้านผู้เรียน

ตลอดระยะเวลาในการเรียนของผม...ผมรับผิดชอบตัวเองในเรื่องการเรียนทั้งหมด...ผมพึ่งอาจารย์น้อยมาก...ส่วนใหญ่ก็ปรึกษา...หนังสือผมก็หาอ่านเอง...ผมเคยขึ้นเครื่องบินไปเชียงใหม่เพื่อไปถ่ายเอกสารหนังสือที่มีเล่มเดียวในประเทศไทย...แล้วก็บินกลับ...(ยินดีแม้ใครจะบอกว่าบ้า)...

ผมว่าน่าจะหมดยุคที่มานั่งรอให้อาจารย์บรรยายให้ฟังละมั้ง...มันไม่ใช่บุคกระดานชนวนแล้วนะครับ...ข้อมูล  ความรู้มีอยู่ทุกแห่ง...ห้องเรียนเอาไว้คุยกันหนะถูกแล้ว...ต้องคุยกันให้สนุกด้วย...ห้องเรียนควรจะเป็นห้องสมุด...หรือที่ไหนก็ได้ที่ไม่ใช่ห้องเรียนหนะ...

เพราะเราชอบปลูกต้นไม้ในเรือนเพาะชำไง...ต้นไม้ของเราจึงพึ่งตัวเองไม่ได้...อ่อนแอ...

เรื่องนี้...ผู้เรียนต้องรับผิดชอบด้วยครับ...ผู้สอนก็ต้องรับผิดชอบด้วย...ผู้ดูแลระบบก็ต้องผิดชอบด้วย...และที่สำคัญอย่าไปจับผิดคนอื่น...ทำหน้าที่ของแต่ละคนให้สมบูรณ์...แล้วระบบจะทำหน้าที่ของมันเอง

รัก
  • พอเห็นหัวข้อรีบแวะเข้ามาดูค่ะ ในฐานะที่เข้าข่าย "ถูกพาดพิง"
  • ไม่ชอบใจสักเท่าไหร่ค่ะที่  ผอ. สมศ. บอกว่า "อาจารย์ไม่มีคุณภาพ" เล่นว่าเหมารวมอย่างนี้  เป็นเรื่องที่ทำให้ยากต่อการแก้ปัญหาค่ะ
  • การสรุปเช่นนั้น ขอตีความว่า "อาจารย์ไม่มีคุณภาพ เพราะไม่มีคุณสมบัติตามตัวชี้วัดของ สมศ. ค่ะ"  ตอบทื่อไปรึเปล่าเนี่ย...

การเรียนการสอนนั้นคู่กันอยู่ และมีสองฝั่งเสมอครับ เพราะการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจ จะต้องทำสองอย่างในสองฝ่ายด้วยกระบวนการที่ต่างกัน ฝ่ายหนึ่งส่งอีกฝ่ายหนึ่งรับ

บันทึกนี้กล่าวถึงครึ่งเดียวของปัญหาครับอาจารย์ (ซึ่งอาจารย์ตั้งโจทย์ไว้ชัดเจน)

แม้ในบริบทของการสอนซึ่งผมก็เห็นด้วยในหลายส่วนที่ทุกท่านแสดงความเห็นมา แต่ผมก็ยังรู้สึกว่าการสอนไม่ใช่การจับความรู้ยัดใส่สมองครับ

วัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน คือการถ่ายทอดความรู้ ต่อยอดจากความรู้เดิมให้แตกฉานลึกซึ้ง แต่เรื่องนี้บางทีคุยกันครึ่งเดียวอาจไม่ได้คำตอบที่ดีนะครับ คิดแบบคนที่ไม่ได้เป็น "คนนอก" ครับ

  • สวัสดีครับ ผมขอมองต่างมุมเพิ่มอีกนิดนะครับ
  • จริงๆ แล้วผมไม่ค่อยจะเห็นด้วยที่จะไปโทษ "ค่านิยม สังคม และวัฒนธรรมไทย ซึ่งกำลังถูกทำลายด้วยค่านิยม และวัฒนธรรมจากสังคมตะวันตก" ผมว่าเราไม่น่าจะไปโทษสังคมตะวันตกเลยครับ
  • ผมว่าเราน่าจะโทษตัวเราเองต่างหากครับ ที่เราไม่สร้างภูมิคุ้มกันให้กับสังคมไทยเราให้เด็กรู้จักเลือก ให้ครูรู้จักเสพ ให้ผู้บริหารรู้จักคิด ว่าอะไรควรอะไรไม่ควรที่จะนำมาใช้ต่างหากครับ
  • สังคมตะวันตกเป็นของเค้าอย่างนั้น เค้าก็มีรากเหง้าของเค้านะครับ เราก็มีรากเหง้าของเราอยู่ เราจะทำอย่างไรหล่ะครับที่จะให้รากเหง้าของเรามันอยู่และเกิดแต่สิ่งดีๆ และยังอยู่ในสังคมเรา ไม่ใช่อะไรเราก็รับๆ รับ รับ มาอย่างเดียว โดยไม่ผ่านกระบวนการโดยการใช้ปัญญาที่เรามี มองและดูว่าเหมาะสมแค่ไหนกับบ้านเรา เราจะยืนอยู่บนขาเราเองได้ไหมครับ
  • หากผมมีลูก ลูกผมกับลูกคนข้างบ้านทะเลาะกันผมต้องตีลูกผมไว้ก่อนนะครับ
  • หากเรารู้จักประเมินตัวเราผมว่าเราจะรู้ว่าเรามองแล้วมีส่วนไหนดีไม่ดี หากเราพร้อมจะปรับปรุง เราก็ทำได้ครับ
  • การศึกษาไทย หากจะเอากันให้จริงๆ แล้ว เราต้องแยกออกจากการเมือง นะครับ ไม่งั้นไม่มีทางหรอกครับ ที่จะพัฒนาได้ เพราะว่าตอนนี้ประเทศไทยเราหน่ะครับ ถูกปกครองด้วยการเมือง แทนที่จะเป็นการศึกษาปกครองประเทศ
  • จะมีใครกล้าแยกออกมาไหมครับ ที่จะแยกมาบริหารกันแยกส่วน โดยเอาเงินงบประมาณแผ่นดิน 10-20% มาใส่ในด้านการศึกษาไปเลย หรือมากน้อยแล้วแต่เป้าหมายในการพัฒนา โดยที่ไม่มีการเมืองมาเกี่ยวข้องในส่วนนี้เลย การศึกษาจะได้คิดและพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง เพราะการเมืองขึ้นกับพรรคการเมือง แล้วมีวาระ แต่การศึกษาต้องห้ามล้มเหลว การเมืองล้มเหลวได้ ก็ล้มไป แต่การศึกษาต้องยังอยู่ เด็กต้องมีชีวิตกันต่อไป
  • ต่อไปเมื่อแยกการศึกษาออกมาแล้วนะครับ ก็จัดการล้างส่วนที่เน่าๆ ในการศึกษาออกให้สะอาด ตรงไหนมีปัญหาก็ซ่อมเสีย แล้วสร้างครูให้เป็นอาชีพที่คนอยากเป็นให้ได้ มีการให้แรงจูงใจที่ดีในการเป็นครู การขาดสิ่งต่างๆ ไม่ว่าเทคนิคการสอน จิตวิทยาการเป็นครู เรื่องเหล่านี้ ใครๆ ก็สามารถจะเรียนรู้ได้ หากได้คนที่มีจิตใจอยากสอน อยากให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
  • ผมเองเป็นครูแบบไม่ได้เรียนผ่านกระบวนการทางศึกษาศาสตร์มาก่อน แต่ผมก็ต้องพร้อมจะศึกษาเรื่องเหล่านี้ ว่าต้องทำอย่างไรเช่นกัน
  • ต่อมา เมื่อการศึกษามีมาแล้ว การจะจัดการเรื่องการพัฒนาครูให้มีคุณภาพทำได้ไม่ยากครับ เพราะงบประมาณก็มี บริหารได้เต็มที่ อาจจะมีการสร้างชุดคณะกรรมการประเมินผลด้วย การจะสร้างการศึกษาให้บริการชุมชนจริง การศึกษาต้องเกิดจากความต้องการของชุมชนด้วย ตามรากเหง้าของแต่ละภาค เพราะแต่ละภาคจะต่างๆ กัน ดังนั้น การเรียนการสอน แล้วแต่สาขา ศึกษากันให้ดี หลักสูตรไม่เน้นรับต่างชาติมามากเกินไป จนเราเป็นง่อย
  • เมื่อคัดครูได้ แล้วครูที่ไม่ผ่านเกณฑ์ในระบบคุณจะทำอย่างไร ทำได้ง่ายๆ อาจจะมีการให้โอกาสครูปรับปรุงตัวเอง ให้แนวทางในการเรียนการสอน ให้ปรับความรู้เพิ่ม อาจจะมีการสอบคัดคุณภาพครูทุกๆ สามปี เปิดสอบเนื้อหา และเปิดสอบการสอน โดยที่คณะกรรมการการสอน อันนี้แบ่งงานกับทำตามภาคส่วนได้ เพื่อปรับปรุงและคัดออก (มันดูเหมือนจะโหดไปหน่อยครับ สำหรับครู แต่นี่หล่ะ ที่มาของคำว่าคุณภาพ)
  • คราวนี้ ทีมบริหารการศึกษาก็มีคณะกรรมการประเมินผลการบริหาร ครูก็มีคณะกรรมการประเมินผลครู โดยชุมชนมีส่วนร่วมด้วยครับ แล้วเด็กหล่ะครับ ใครประเมิน ก็สถาบันนี่หล่ะครับประเมินในการสอบเข้า หรือว่าไม่มีการสอบเข้าก็ได้ ตามรูปแบบที่วางไว้ อันนี้คิดกันได้ หากเล่นกันตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถม ดีขึ้นมาเรื่อยๆ ระดับอุดมศึกษา ก่อนสอนง่ายขึ้นครับ
  • ต่อมาถึงระดับของการสร้างคนดี มีคุณธรรม และปัญญา ส่งออกไปในองค์กรต่างๆ ในประเทศ เช่นการเมือง การศึกษา ภาครัฐ เอกชน ชุมชน และส่วนอื่นๆ ในประเทศ
  • คนที่มีปัญหาก็จะเริ่มจางลง ไปเองครับ แรงต้านก็จะหายไปครับ ระบบเจ้าพ่อ ระบบอะไรก็จะหดไปมากขึ้น เพราะเรามีการศึกษาให้กับชุมชนออกแบบการศึกษาให้กับตัวเองด้วย โดยทีมการศึกษาจะต้องทำงานกับภาคชุมชน การวิจัยก็ต้องเกิดการทำร่วมกัน
  • เมื่องานวิจัยก็มี การสอนก็ได้คุณภาพ ประเทศตะวันตกเค้าก็มาดูงานเมืองไทยเองหล่ะ ว่าเราจัดการบริหารกันอย่างไร
  • เราส่งคนมาดูงานในยุโรป ตะวันตกกันแล้วกลับไปก็ทำอะไรกันได้บ้างครับ นอกจากเขียนรายงานว่าได้อะไรบ้าง เราจะจัดการอย่างไร จัดการไม่ได้ใช่ไหมครับ เพราะมันโยงใยกันทั้งหมด นี่คือหนทางที่ผมแนะนำให้แยกออกมา
  • ซึ่งผมก็เขียนไว้ในบทความแยกกันบริหารจะได้ไหม เรื่องการศึกษาและการเมือง ลองเข้าไปเยี่ยมได้ที่นี่ ครับ การศึกษากับการเมืองควรรวมหรือแยกกันบริหาร คุณคิดอย่างไร
  • เมื่อการศึกษาไปได้ดีแล้ว ปัญหาอื่นๆ ก็ไม่ต้องมีอะไรมากครับ คือ ไม่ต้องเขียนกฏหมายให้ยุ่งยาก ซับซ้อน เพราะคนมีคุณธรรม ไม่ต้องส่งคนมาเรียนกฏหมายต่างประเทศมากมาย เพราะไม่จำเป็น ส่งไปฝึกงานหรือร่วมงานประชุมก็พอ
  • ไม่ต้องแก้ปัญหาการว่างงาน เพราะคนถูกวางแผนให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
  • และปัญหาอื่นๆ ไม่ต้องวุ่นวายกันต่อไป
  • การแยกการศึกษาออกมาจากการเมืองนั้น ห้ามนักการเมืองมาบริหารนะครับ เราจะไม่รับคนทำงานการเมืองมาทำงานทางด้านการศึกษาเพราะมันคนละเรื่องกัน ตอนนี้ต้องเข้าใจว่าการเมืองแทรกไปในวงการศึกษาทั่วทุกแห่ง เมื่อแยกออกมาจะลำบากในช่วงแรก แต่ผมเชื่อว่าไปได้ อันนี้ต้องขอความเห็นใจจากคนทำงานการเมือง หากเห็นอยากจะให้การศึกษาโตจริงๆ
  • แต่.....หากคนเล่นการเมืองให้ความสำคัญกับการศึกษาจริงๆ ไม่จำเป็นต้องแยกเลยครับ ที่พูดมาทั้งหมดนี้ เพราะหากเห็นความสำคัญและจริงใจในการแก้ไขปัญหาจริง รวมหรือแยกก็ไม่ใช่ประเด็น แต่นั่นหมายถึงว่าคนทำงานการเมืองจะต้องมีคุณภาพจริงๆ ที่เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นกิจที่หนึ่ง ส่วนตนมาเป็นอันดับสอง
  • ขอบคุณมากนะครับ ต้องขออภัยด้วยนะครับ หากความเห็นอาจจะตรงและแรงไปบ้าง แต่นี่คือความอัดอั้นในใจผมที่อยากจะบอกนะครับ
  • ส่วนเรื่องคุณภาพอาจารย์นั้น.....ผมว่าไม่ใช่ปัญหาใหญ่หรอกครับ.... กู้คืนระบบเก่าขึ้นมาให้ได้ก่อนครับ อย่าไปโทษตะวันตกครับ เพราะข้อดีเค้าก็มี เราควรเลือกข้อดีๆ มาปรับใช้ เรากล้าวิจารณ์คนไทย กันหรือเปล่าครับ เรากล้าจะวิจารณ์ทำให้เราเสียหน้าไหมครับ หากเรากล้าฉีกหน้าตัวเราเอง นั่นหล่ะเราพร้อมที่จะปรับปรุงระบบของเราแล้วครับ
  • ขอบคุณมากนะครับ ขอโทษด้วยครับที่พิมพ์ไปยาวมากเลยนะครับ ท่าทางจะยาวพอสมควรนะครับพี่กมลวัลย์

สวัสดีค่ะ

ไม่ค่อยเห็นด้วยที่อาจารย์ทินกรพูดว่า

ตามความเห็นของผมรากเง่าของปัญหาคือ ค่านิยม

ไม่มีรูป
ดร. ทินกร
P

สังคม และวัฒนธรรมไทย ซึ่งกำลังถูกทำลายด้วยค่านิยม และวัฒนธรรมจากสังคมตะวันตก ...

ทำไม เราไปโทษเขาฝ่ายเดียว ก็เราไม่มีภูมิคุ้มกัน ไม่มีอุดมการณ์ของเราเองบ้างหรือ

เราปฏิเสธทุนนิยมไม่ได้หรอกค่ะ มันมีทั้งข้อดี ข้อเสีย  การเป็นอาจารย์ อาจมีผลกระทบบ้าง เราก็อย่าให้มันครอบงำจนเกินไป ก็ได้ค่ะ

ดิฉันไม่ได้ชอบทุนนิยม แตไม่ปฏิเสธ แล้วแต่เราจะจัดการกับมันได้อย่างไร

^^^ คิดแบบคนที่ไม่ได้เป็นอาจารย์ (คือเป็นคนนอก) ครับ นิ้งกับสมองไม่สามัคคีกันอีกแล้ว
P

บันทึกนี้ร้อนแรง เข้ามาเยี่ยม ๒-๓ ครั้งแล้ว....

พอดีนึกขึ้นได้ เรื่องใบไม้ในกำมือ กล่าวคือ พระพุทธเจ้าตรัสอุปมาว่า ความรู้ที่พระองค์มีประดุจใบไม้ทั้งป่า ส่วนความรู้ที่ทรงนำมาแสดงประดุจใบไม้ในกำมือ... ประมาณนี้

อาตมาก็นำมาเปรียบเทียบว่า ความรู้ที่ครูสอนเท่ากับใบไม้ในกำมือ ส่วนความรู้ทั้งมวลเท่ากับใบไม้ทั้งป่า ดังนั้น ต้องไปเด็ดไปเก็บเอาเอง... ประมาณนี้

และอาตมาก็มักแนะนำเรื่องนี้อยู่เสมอ แต่ไม่ทราบว่าจะมีใครนำไปใช้บ้าง...

ก็ถือโอกาสเล่าเล่นๆ

เจริญพร  

  • เด็กเส้น ครับ เป็นปัญหาหนึ่ง
    คนเก่งอยู่ไม่ได้ และเข้าไม่ได้ แต่พวกพ้องญาติต้องเข้าได้แบบชนิดที่เรียกว่าล็อคเก้าอี้ไว้ การสอบเป็นเพียงพิธีรีตองเท่านั้น
  • วุฒิปลอมยังมีเลยครับ จบจากเนเธอร์แลนด์ แต่พูดอังกฤษไม่กระดิก เมืองหลวง(อามสเตอร์ดาม มั้ง) ชื่ออะไรจำไม่ได้
  • กพ.ไม่ตรวจสอบ ไม่วุ่นวาย แจ้งหรือปรึกษาก็บอกว่าเป็นทุกที่แหละ อยู่ใครอยู่มันละกันอาจาย์ (เป็นซะงี้)
  • ความเห็นอาจจะตรงและแรงไปนิด แต่ก็คือข้อเท็จจริงที่ปรากฎ
  • ทางแก้ คือ การเข้มงวดของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง แต่ไม่ใช่เข้มงวดเฉพาะเอกชนนะครับ เข้มทั้งม.รัฐด้วย มีกรรมการที่เป็นผู้ที่มีจริยธรรม ไม่ใช่เขาเชิญไปลงนามมาตรฐาน ใส่ซองให้ก็เซ็นกริ๊ก ห้าปีว่าไป เดี๋ยวเรียกใหม่นะหนู

พาดพิงผู้ใดต้องขออภัย .. แต่อยากให้การศึกษาไทยรุดหน้ากว่านี้ครับ รู้สึกว่าไม่ได้ย่ำอยู่กับที่ แต่กำลังถอยหลังลงคลองเสียด้วยซ้ำ คำว่าปริญญา นับว่าคุณค่าจะต่ำลงจากน้ำมือของผู้บริหารในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มักง่ายในเรื่องมาตรฐานและการรับสินน้ำใจ ครับ

ขอบพระคุณ

  • ระหว่างมีอาจารย์น้อย กับมีอาจารย์น้อยคุณธรรม อันไหนจะเป็นปัญหามากกว่ากัน

โรงเรียนเป็นเพียงโรงฝึกสัตว์เศรษฐกิจให้เข้าลู่วิ่ง

วัดกับโรงเรียนถูกแยกออกจากกันด้วยความคิดที่ว่า นั่นคือการพัฒนา

ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะทำให้วิถีชีวิตแบบเก่าๆของสังคมคืนมา ด้วยการเอาวัดกับโรงเรียนมารวมอยู่ด้วยกัน

สวัสดีค่ะ คุณ Pสวัสดิ์

ขออนุญาตอมยิ้มกับการเปรียบเทียบเรือนเพาะชำกับการกระจายอำนาจทางการศึกษานะคะ

แล้วก็ขอขอบคุณที่ได้ตอบโจทย์ในเรื่องตบมือข้างเดียวไม่ดังให้ด้วยค่ะ เพราะครูจะดีมากขนาดไหน ถ้านักเรียนไม่มาเรียน หรือไม่สนใจเรียน ก็....จบเหมือนกันค่ะ

ดิฉันไม่ขอตอบประเด็นอื่นๆ ว่าจะแก้ระบบการศึกษาอย่างไรเพิ่มเติมนะคะ เพราะรู้ว่าตัวเองก็คงได้แต่พูด ตอนนี้ขอแค่นำประเด็นที่ ผอ.สมศ. ตั้งโจทย์ไว้ มาแก้ในส่วนที่เกี่ยวข้องและอยู่ในอำนาจของตัวเองก่อนค่ะ : )

ขอบคุณที่เข้ามา ลปรร นะคะ

สวัสดีค่ะ อ. P ป้าเจี๊ยบ

ขอบคุณค่ะ ที่ช่วยเติมโจทย์ให้สมบูรณ์ขึ้นค่ะ จริงๆ แล้วก็ตั้งใจตั้งโจทย์แค่นี้เหมือนกันค่ะ แต่รีบร้อนไปหน่อย ก็เลยได้โจทย์สั้นๆ แต่กระทบ...กว้าง...มากค่ะ

เมื่อวานเพิ่งแวะไปอิสตันบูล (ผ่านบันทึกของอาจารย์)  : ) ยังนึกถึง Gyro อยู่เลยค่ะ เริ่มหิวแล้วสิ...

ขอบคุณอาจารย์ที่แวะเข้ามา ลปรร นะคะ

สวัสดีค่ะคุณ P Conductor

ขอบคุณที่นำเสนอในเรื่อง "การเรียน" ของนักเรียน กับ "การสอน" ของครู/อาจารย์ ต้องไปพร้อมๆ กันนะคะ ขาดทางใดทางหนึ่งมันก็เหมือนกับตบมือไม่ดัง ดิฉันเห็นด้วยค่ะ

ส่วนเรื่องที่ว่า "การสอนไม่ใช่การจับความรู้ยัดใส่สมอง" นั้นก็เห็นด้วยเหมือนกันค่ะ ที่นำบันทึกนี้ขึ้นมาก็เพราะได้ยินจาก ผอ. สมศ. แล้วก็มองในแง่ของตัวเองว่าเราน่าจะมาลองดูในส่วนของอาจารย์ที่เป็นผู้สอนเสียที น่าจะดีเหมือนกัน เพราะถ้าผู้สอนดี มีความเป็นครู หรือมีคุณภาพ (แต่ไม่ใช่คุณภาพตามที่ สมศ. กำหนดนะคะ เพราะดิฉันคิดว่า กำหนดอย่างไรก็ไม่สามารถวัดความเป็นครูของคนได้) นักเรียนก็จะไม่ถูกยัดความรู้ใส่สมองค่ะ (อันนี้สำหรับคนที่มาเรียนนะคะ)

แต่ตอนนี้การเปลี่ยนทัศนคติการเรียนการสอนจากที่ไม่ค่อยเป็นเรื่องเป็นราวในปัจจุบันให้ดีขึ้นนั้น มันค่อนข้างยากค่ะ เพราะคิดว่ายังไงก็ต้องใช้เวลานาน บางทีอาจต้องใช้เวลาชั่วชีวิต ... เพราะตอนนี้ทัศนคติหรือนิสัยของคนในรุ่นหนึ่งมันติดอยู่กับตัวเขาแล้ว จะแก้อย่างเบ็ดเสร็จ แก้เปลี่ยนนิสัยหรือค่านิยมก็คงเป็นไปไม่ได้ทั้งหมดค่ะ...

ตอนนี้คิดว่าต้องเริ่มแก้ที่ระบบการเรียนการสอนของเด็กเล็กรุ่นใหม่ แต่ดูสภาพปัจจุบันแล้ว การดำเนินการนี้คงเกิดยาก เพราะมันต้องปรับเปลี่ยนทั้งคนสอน และวิธีการเรียน... ในขณะเดียวกันก็ประคองคนที่อยู่ในระบบการศึกษาให้ค่อยๆ เปลี่ยน แต่คาดหวังการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีแบบทันตาเห็น คงเป็นไปไม่ได้ค่ะ...

ขอบคุณนะคะ ที่แวะเข้ามา ลปรร ค่ะ

 

สวัสดีค่ะ น้อง P เม้ง สมพร ช่วยอารีย์ ---------> http://www.somporn.net ---------> http://www.schuai.net

ที่พี่บอกว่าเห็นด้วยเพราะเราถูกสังคมนิยมครอบงำจริงๆ ค่ะ เรื่องการสร้างภูมิคุ้มกันนั้น ทำได้เมื่อเรารู้ทัน หรือเรามีความรู้มากพอค่ะ แต่ตอนที่ค่านิยมเหล่านี้เข้ามา พี่คิดว่าเรายังมีความรู้ไม่ทันเขาค่ะ เพราะฉะนั้นเราจะรับเกือบทุกอย่างที่เข้ามาค่ะ

พี่ว่าบางครั้งมันก็มีการแสวงหาผลประโยชน์จากตะวันตกหรือต่างชาติจริงๆ ถ้าน้องดูโครงการความช่วยเหลือบางโครงการดู จะเห็นว่าเหมือนเขาเอาเงินมาช่วย แต่จริงๆ แล้วเราต้องใช้คนของเขา ผู้เชี่ยวชาญของเขา วัสดุอุปกรณ์ที่ผลิตในประเทศเขาเท่านั้น เพราะฉะนั้นมันเป็นการขายของของเขา และหางานให้คนของเขาทำ โดยอยู่ในรูปของความช่วยเหลือ ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าเป็นอย่างนี้ทั้งหมด แล้วก็มีที่ร้ายกว่านี้เช่นในกรณีของอิรัก.. แต่อย่าลืมว่าที่หลักการความช่วยเหลือที่เขาใช้ส่วนใหญ่นั้นไม่ค่อยมีที่ช่วยเพราะอยากเห็นเราได้ดี แต่ช่วยเพราะมีผลประโยชน์แอบแฝงเสียมาก แล้วภูมิคุ้มกันเราก็ยังไม่ได้สร้าง มันไม่ทันกันอย่างที่น้องเม้งว่าน่ะค่ะ ถึงเวลานี้เราก็กรุงแตกไปแล้ว เพราะฉะนั้นการอยู่แบบกรุงแตกที่มีรัฐธรรมนูญเป็นของตัวเองจะอยู่อย่างไร ให้มันดีขึ้นบ้างเท่านั้นเองค่ะ

พี่เห็นด้วยที่น้องเม้งเขียนว่า "คุณภาพอาจารย์นั้น.....ผมว่าไม่ใช่ปัญหาใหญ่หรอกครับ.... " เพราะพี่คิดว่ามันเป็นปัญหาปลายเหตุจุดหนึ่งเท่านั้น... ที่พี่เอาโจทย์นี้ขึ้นมาเพราะ มันเป็นโจทย์เล็กลงมา แล้วก็บังเอิญ สมศ. มาสะกิดพอดี อีกอย่างปัญหานี้อยู่ในขนาดที่พี่พอจะทำได้ (ในส่วนของตัวเอง) เพราะทำใจแล้วว่าแก้คนอื่นไม่ได้ และแก้ทั้งระบบไม่ได้ในเวลานี้ค่ะ...เลยจะแก้ในส่วนของตัวเองก่อน..

ปัญหาการศึกษาเป็นปัญหาที่ใหญ่จริงๆ พี่ถึงเขียนไม่ออกเท่าไหร่ในบันทึก สภาการศึกษา G2K ... เพราะรู้ว่าประเด็นมันกว้าง เขียนเท่าไหร่ก็ไม่ครบ อีกอย่าง...ไม่ค่อยรู้ลึกในส่วนของการศึกษาในระดับอื่นๆ ด้วยค่ะ..

ตอนนี้กำลังจะพยายามจับประเด็นกลับเข้ามาเรื่องอาจารย์เท่านั้นเหมือนเดิมค่ะ.. แต่รู้สึกว่าเขียนตอบไปนอกโจทย์ หมดแล้ว : ) แต่ก็ดีเพราะเป็นการแลกเปลี่ยนความเห็นของคนที่เป็นห่วงเป็นใยสังคมค่ะ เห็นแล้วก็ดีใจค่ะ..

 

สวัสดีค่ะคุณ P sasinanda

เรื่องที่คุณ sasinanda  ไม่เห็นด้วย ดิฉันตอบไว้ตอนตอบน้องเม้งข้างต้นแล้วนะคะ 

ตอนนี้อย่างน้อยเราก็รู้ทันแล้ว ก็คงต้องมาช่วยกันสร้างภูมิคุ้มกัน สร้างอุดมการณ์ ให้กับคนรุ่นใหม่ๆ กันต่อไปค่ะ เพราะในสภาพสังคมปัจจุบัน ดิฉันเห็นด้วยว่าเราปฏิเสธทุนนิยมได้ยากค่ะ คนส่วนใหญ่อยู่ในระบบหรือติดกับดักอยู่ในระบบนี้ไปแล้วค่ะ แต่คำถามที่ว่าจะจัดการอย่างไรนี่สิคะ... คำตอบดิฉันว่าอยู่กับการศึกษา การให้ความรู้ การมีจริยธรรม คุณธรรม ของคนในสังคมค่ะ แต่ว่าจะทำอย่างไรให้สิ่งเหล่านี้เกิด..เราก็วนกลับมาที่ครอบครัว และการศึกษาค่ะ... ตอบเหมือนพายเรือในอ่างเลยนะคะ.. แต่รู้สึกว่ามันเป็นอย่างนี้จริงๆ ค่ะ..

กราบนมัสการหลวงพี่ PBM.chaiwut

ขอน้อมรับคำสอนที่หลวงพี่ยกไว้ไปปฏิบัติค่ะ

เคยอ่านที่ "พระพุทธเจ้าตรัสอุปมาว่า ความรู้ที่พระองค์มีประดุจใบไม้ทั้งป่า ส่วนความรู้ที่ทรงนำมาแสดงประดุจใบไม้ในกำมือ" แล้วค่ะ

ดิฉันคิดว่าคนเป็นครู อาจารย์ ก็ยังเป็นปุถุชนอยู่ ความไม่รู้ ความผิดพลาดย่อมมี ตอนนี้ในฐานะนี้ก็พยายามทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดค่ะ เคยบอกนักศึกษาเสมอค่ะ ว่าอย่าเชื่อที่อาจารย์บอกทั้งหมด อย่าเชื่อที่หนังสือเขียนไว้ทั้งหมด ให้ไปอ่านดู ศึกษาดู พิสูจน์ดูว่าจริงหรือไม่ก่อน แล้วค่อยเชื่อ... (น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของกาลามสูตร)  แต่ก็ไม่รู้จะมีสักกี่คนที่ทำอย่างที่ว่านี้ค่ะ...

ขอบพระคุณหลวงพี่ที่ได้เข้ามาให้ข้อชี้แนะนะคะ...

สวัสดีค่ะ อาจารย์ P นายนิรันดร์

จากที่อาจารย์ให้ข้อคิดเห็นไว้ น่าจะเป็นเรื่องที่มาของอาจารย์ที่ไม่มีคุณภาพใช่ไหมคะ... ทางแก้ก็คือคัดคน โดยอย่าใช้ระบบเด็กเส้น.. ผู้บริหารต้องไม่มักง่ายในมาตรฐานและสินน้ำใจ เดี๋ยวจะไปเพิ่มในบันทึกนะคะ

ขอบคุณมากๆ ค่ะ..

สวัสดีค่ะคุณ man in flame

น่าจะสรุปประเด็นได้ว่า คุณ man in flame เห็นว่าอาจารย์ขาดคุณธรรมนะคะ.. ขอบคุณที่เข้ามาช่วยเสริมนะคะ..

สวัสดีค่ะอาจารย์กมลวัลย์

  • รู้สึกชื่นชมคำตอบของอาจารย์ค่ะ   และ (คิดว่า) เข้าใจความรู้สึก  ที่อาจารย์บอกว่า ตอบไปแล้วก็เหมือนพายเรืออยู่ในอ่าง   เพราะปัญหาการศึกษาไทย  มิได้เกิดจากปัจจัยหนึ่งปัจจัยใดเพียงปัจจัยเดียว  แต่เกิดจากปัจจัยโยงใย  ที่เชื่อมโยง กระทบ ทั่วถึงกันหมด
  • และในความเป็นจริง ปัญหาการศึกษาไทย  ก็ไม่สามารถแก้ได้โดยการขุดรากถอนโคน  หรือเลิกระบบที่เป็นอยู่ได้  ในเวลาอันสั้น
  • ขณะเดียวกันก็รู้สึกมีกำลังใจ  ที่ได้เห็นการสื่อสารกันเรื่องนี้อย่างตั้งใจ  เพราะพลังของการสื่อสารนั้น อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ในสักวันหนึ่ง 
  • ซึ่งแม้ยังไม่ทราบว่าวันไหน แต่ก็ได้ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวทางความคิด  อันอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงบางอย่าง ในระดับปัจเจก  หรือในระบบย่อย  ของระบบใหญ่ได้ 
  • คำว่า แลกเปลี่ยนเรียนรู้  เป็นคำที่มีพลังแฝง หลังจากที่  แลก  และเรียนรู้จากกันและกันแล้ว  ก็อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างได้ในวันหน้า 
  • ดิฉันคิดเอาเองว่า  อย่างน้อยที่สุด  ก็อาจเกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและพัฒนาที่ตัวเราได้ 
  • เอ่อ...ดิฉันคิดปลอบใจตัวเอง  เพราะรู้สึกว่าพูดเรื่องนี้ทีไร  ก็ออกจะวนๆอยู่เหมือนกันอะค่ะ    : ) 

 

  ปัญหานี้อยู่ในระดับนโยบายสาธาณะ

  • สธารณะไทยคือ เอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ประเทศที่ขาดมิติทางสังคม พลังสังคมเพื่อส่วนรวมจะริบหรี่ นึกว่าตัวเองแก้ไขปัญหาของลูกหลานได้ อันดับแรกให้เข้าเรียนที่ดๆ สอบเข้ามหาวิทยาลัยดีๆได้ถือว่าจบ
  • ปัญหาสูงกว่านั้นรู้ไหม รู้แต่เฉยๆ เจอปัญหาตัวเองก็หาทางแก้ (ผ้าตัวเองให้รอดไปอย่างกระเสือกกระสน) ไม่คิดแก้ในเชิงหลักการ คิดในแง่หลักกู
  • ถ้าผู้ใช้บริการ(คนไทย สังคมไทย ลุกมาพูด มาตอแยระบบการศึกษามากกว่านี้ มีปัญหาก็เข้าไปดำเนินการอย่างจริงจัง เชื่อว่าผู้กำกับนโยบายหรือบริการการศึกษาจะไม่กล้านั่งทับขี้ เพราะรู้ว่าจะมาคนมาเปิดก้นดู เขาก็จะทำอะไรตรงไปตรงมา และจริงจังขึ้น
  • ตัวกำกับ ไม่ว่าจะมาตรการใดๆ ไม่ศักดิ์สิทธฺเท่ามาตรการทางสังคม บังเอิญว่ามาตรการนี้ยังไม่เกิดไม่แข็งแรง เพราะตัวสังคมเองก็แป๊ะเอี๊ยพอๆกัน โง่ที่ดุ้นทั้งระบบ เพราะเราไม่เอาการศึกษาเป็นตัวตั้ง ตั้งแต่สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาแล้ว ปัญหามันก็สะสมมาเรื่อยๆ จะมาแก้แบบประเดี๋ยวประด๋าวไม่ได้ มันก็เลยบูดหนักขึ้นมากขึ้น จนเกิดวิฤติศรัทธาระบบการศึกษา
  • การที่มีอาจารย์ลุกขึ้นมาคุยเรื่องนี้ ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี อย่างน้อยก็ไม่อมพะนำ พูดๆมาก หลายๆคน ดังๆ บ่อยๆ จะเป็นประกาย..สังคมเริ่มขยับแล้วนะ
  • ทำอย่างไรพลังทางสังคมจะระเบิดออกมา ระดับเผาโรงเรียนยิ่งดี ไม่ได้เห็นด้วยกับการเผาโรงเรียนแบบเอาไฟจุดราด
  • แต่สังคมเริ่มเผาด้วยการเกิดบ๊อบไล่ผู้บริหาร พวกบริหารเองก็ยังไม่สำนึก ยังปกป้อง ยังสอบสวนช่วยย้ายคนเลวให้ไปเลวที่อื่น เพราะคนสอบมันก็คิดเลวๆ ไม่ได้เอาระบบและอนาคตการศึกษาเป็นตัวตั้ง
  • เริ่มจะเป็น ความไม่ยอม ไม่ทน ทางสังคมมากขึ้น บางทีพลังIT.วิพากษ์วิจารณ์สู่สาธารณะจะมีผลมากขึ้น ถ้ามาผู้ใช้เส้นทางนี้อย่างมีความเป็นธรรม ไม่ใช่ใช้สาดโคลนกัน
  • อย่างที่อาจารย์ทำนี้ดีมาก เป็นจุดเริ่ม จะสำเร็จ จะเปลี่ยนยังอยู่อีกไกลนักก็ตาม
  • ช่วยกันกระตุ้นให้สังคมไทยลุกขึ้นมารับผิดชอบการศึกษาร่วมกัน วิพาษ์ เขียนถึงตัวอาจารย์โดยตรงๆ เฉพาะตัวเฉพาะรายที่เห็นว่าแย่ ชนตรงๆบ้าง ชนอ้อมๆบ้าง ชนกับผู้กำกับนโยบายบ้าง สร้างกระบวนการวิพากษ์วิจารณ์อย่างตรงไปตรงมา ถ้าทำได้เมื่อไหร่ผลมันก็เกิดขึ้น
  • ถ้าวันใด คนไทย 20% ลุกขึ้นมาเอาเรื่องระบบการศึกษา ทุกอย่างจะเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
  • กลุ่มอาจารย์ก็ควรเสนอด้วย ไม่ใช่ตั้งรับอย่างเดียว บอกไปเลยว่า ในส่วนของอาจารย์ ถ้าจะให้สอนดี มีมาตรฐาน สังคมต้องสนับสนุนอาจารย์อย่างไรบ้าง ไม่ใช่ปล่อยให้อาจารย์อยู่อย่างซังกะตายกับระบบเน่าๆ ปัจจัยเน่าๆ เงื่อนไขเน่าๆ แล้วจะเอาประสิทธิภาพเป็นเลิศ มันก็ตลก
  •  ปัญหาอยู่ที่แต่ละฝ่ายยังอมพะนำมากไปหน่อย ยังไม่คิดแก้เชิงระบบ เชิงนโยบาย เขียนเยอะ ผ่านบล็อกนี่แหละ อภินิหารจากบล็อกจะสื่อสารออกไปสู่สื่อต่างๆ นสพ.ทีวี.บทความ เวทีสัมมนา
  • คนไทยควรคิดและพูด+เขียนเรื่องปัญหาต่างๆมากกว่านี้ บางทีอาจมีความจำเป็นต้องเกิดปฏิกิริยาที่ร้อนแรงให้สมกับปัญหาที่หมกเม็ดรุนแรง อาจจะเกิดม๊อบทางการศึกษา ประชาชนเดินถือป้ายผ้าไปหน้าสำนักงานอธิการ..หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ปัญหาใหญ่จะล้างได้ตอนวิกฤติ เช่นญี่ปุ่น เยอรมัน ล้างกระดานกฎหมาย วางระบบใหม่ได้สะดวกในช่วงหลังสงครามโลก ยิ่งแพ้ยิ่งดีทำให้คนในชาติเกิดความตระหนกและตระหนักที่จะแก้ปัญหาอย่างจริงจัง  ประเทศเรากำลังแก้ปัญหาในสภาพปกติ ที่ทุกคนไม่หลอมรวมพลังสังคมกันได้ จึงแก้ไขปัญหายากมาก แทบทำไม่ได้เลย อยู่ในระดับแก้ผ้าเอาหน้ารอดไปวันๆ (แก้จนเคยชิน ไม่เคอะเขินแล้ว) 
  • อีตาเม้ง พยายามคิดและทำเรื่องนี้  เขาต้องการเพื่อน กำลังใจ ความเห็น ความถูกต้องของทุกฝ่าย ถ้ารวมพลังกันได้ จะเป็นนิมิตหมายที่ดี
  • อย่าโทษนักการเมือง ต้องโทษที่อาจารย์ สอนลูกศิษย์โง่ๆออกไป เมื่อเป็นรัฐมนตรีก็เป็นรัฐมนตรีโง่ๆ ทำเรื่องโง่ๆ

สวัสดีค่ะ อ. P ดอกไม้ทะเล

  • ขอบคุณอาจารย์ที่เข้าใจนะคะ คิดอย่างนั้นจริงๆ ว่า ตอบไปตอบมา เหมือนกำลังพายเรืออยู่ในอ่าง เพราะมันโยงไปหมด แล้วเราก็แท้ทั้งหมดคนเดียวไม่ได้ เราเพียงแต่นำเสนอประเด็นเล็กๆ ในส่วนตัวของเรา ที่อาจจะปรับแก้ที่ตัวเราได้
  • แท้จริงแล้วพวกเราในฐานะอาจารย์ (ที่ยังมีความเป็นครูอยู่) ก็คงทำงานกันอยู่ คนละไม้คนละมือ อย่างเต็มที่ เพียงแต่ว่าผลกระทบของการกระทำของเรา ยังเห็นไม่ชัดเจน แต่ผลกระทบในเชิงลบที่ออกมาเป็นข่าวของคนในวงการอีกกลุ่มหนึ่ง มันออกมากลบเรื่องดีๆ เสียหมด
  • ดังนั้น การเอาประเด็นที่ไม่ดีออกมานำเสนอ ที่ดิฉันตั้งใจ ก็เพียงการนำเสนอความจริงที่เคยได้เห็นได้ประสบ เผื่อว่าจะมีคนเห็นเหมือนกัน แล้วอาจมาแลกเปลี่ยนวิธีการ ปรับปรุงแก้ไข ให้เป็นประโยชน์ซึ่งกันและกันในที่นี้
  • แล้วอีกอย่างคือ หากบางคนยังไม่รู้ว่ามีอาจารย์ทำอย่างนี้อยู่ ก็จะได้รู้ว่าอาจารย์ที่ไม่มีคุณภาพ มีลักษณะอย่างไร
  • ดังนั้นดิฉันเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งค่ะ ที่อาจารย์บอกว่าการ"แลก" การ"เรียนรู้" จะนำไปซึ่งการ"เปลี่ยน"แปลง
  • ดีใจที่อาจารย์เข้าใจเจตนา และเข้าใจกระบวนการพายเรือในอ่างค่ะ : )

สวัสดีค่ะ P ครูบา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

ขอบคุณมากเลยค่ะ ที่ช่วยสรุปประเด็นต่างๆ ได้ตรงใจดิฉันจริงๆ บางเรื่องยังไม่กล้าเขียนเองเลยค่ะ : ) เช่น "แต่สังคมเริ่มเผาด้วยการเกิดม๊อบไล่ผู้บริหาร พวกบริหารเองก็ยังไม่สำนึก ยังปกป้อง ยังสอบสวนช่วยย้ายคนเลวให้ไปเลวที่อื่น เพราะคนสอบมันก็คิดเลวๆ ไม่ได้เอาระบบและอนาคตการศึกษาเป็นตัวตั้ง"  โดนใจจริงๆ 

อีกอันที่ดิฉันว่าตรงประเด็นมากๆ คือ "ปัญหาอยู่ที่แต่ละฝ่ายยังอมพะนำมากไปหน่อย ยังไม่คิดแก้เชิงระบบ เชิงนโยบาย " ซึ่งสำคัญมาก

ดิฉันได้นำประเด็นหลักๆ ที่สรุปจากข้อคิดเห็นของครูบา ในแง่ของคุณภาพอาจารย์ ไปลงในบันทึกนี้แล้วนะคะ ถ้าต้องการแนะนำเพิ่มเติม ก็ได้เสมอเลยนะคะ

เดี๋ยวจะเขียนไปหาน้องเม้ง ให้เอาข้อคิดเห็นของครูบา ไปใส่ในบันทึกรวมที่น้องเม้งด้วย จะได้เห็นเป็นภาพรวมทั้งหมดที่เดียวน่าจะดี ขออนุญาตล่วงหน้านะคะ

ขอบคุณครูบาที่ได้เข้ามาลปรร ให้ข้อคิดดีๆ เยอะเลยค่ะ

ผมได้ดูรายการ "รถโรงเรียน"  มีอยุ่โรงเรียนหนึ่ง จังหวัดอยูธยา มีครู 3 คน นักการ 1 คน

  •  ครูคนที่ 1 สอน ป 1 - 3  (ช่วงชั้นที่ 1)
  •  ครูคนที่ 2 สอน ป 4 - 6 (ช่วงชั้นที่ 2 )
  • อาจารย์ใหญ่ สอนวิชาพละ เกษตร และบริหาร โรงเรียน
  • นักเรียนในแต่ละช่วงชั้นเรียนห้องเดียวกัน เรียนวิชาเดียวกัน  ให้จับกลุ่มกันสอน พี่สอนน้อง อาจารย์ก็สอนพี่ ทำกันอย่างนี้ตลอด
  • น้ำท่วมครั้งที่ผ่านมา ท่วมถึง 2 เมตร แต่เด็กก็มาเรียน ชุมชนร่วมกันทำสะพานให้เด็กเดินมาเรียน

 ประเด็นก็คือ ผมได้ทราบมาจากเพื่อนที่เป็นครูประถม ของผมวา โรงเรียนลักษณะนี้ มีเยอะ นครนายกก็มีโรงเรียนลักษณะนี้ที่เพื่อนผมเคยเล่าให้ฟัง 

??????????????????????????????????

เล่าสู่กันฟัง !!!!!!!!!!!!!

สวัสดีค่ะคุณ

P

อ่านแล้วก็สะท้อนใจค่ะ ช่องว่างของการศึกษาช่างห่างเหลือเกินค่ะ ก็คงเหมือนกับคนรวย กับคนจนกระมังคะที่มีช่องว่างทางโอกาสต่างกันมาก

ครูบางคนก็ทำงานหนักเหลือเกิน จะเอาคุณภาพอะไรกับเขา ดิฉันว่าที่เขายังยินดีทำให้อยู่แบบนี้ก็เป็นบุญแล้ว.... เงินทองการเป็นอยู่ก็คงไม่ได้อะไรมาก เผลอๆ เป็นครูอัตราจ้างด้วย...

อาจารย์บางคนก็...................แล้วยังไม่รับผิดชอบงานอีกต่างหาก

ช่องว่างมันห่างจริงๆ

ก็คงต้องอาศัยคนที่เห็นและเกี่ยวข้องกับปัญหาช่วยกันพูดกันทำแบบนี้แหละค่ะ

ขอบคุณที่นำมา ลปรร นะคะ.....

   ครูประถม มัธยม สอนหนัก ก็มี มาก

   ค่าครองชีพก็ สูง

   ครูอุดมศึกษา สอนอย่างไรผมก็ไม่มั่นใจ

   ทุกวันนี้เห็นวิ่งรอกสอน จ้าละหวั่น

P

สวัสดีครับพี่กมลวัลย์

  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ ผมเข้ามาดูอยู่ตลอดนะครับ
  • คือผมพยายามโยงให้เห็นทั้งระบบ ในเรื่องการรับส่งไม้ในการวิ่งผลัดของการศึกษาแต่ละระดับนะครับ ตั้งแต่ ผู้ปกครองสร้างไม้ขึ้นมา แล้ววิ่งส่งไปให้กับ อนุบาล อนุบาลสอนสร้างปลูก แล้วส่งไม้ไปให้กับประถม ประถมส่งให้มัธยม ส่งไปจนถึงมหาวิทยาลัยนะครับ โดยเด็กคือไม้หรือต้นไม้ที่โตขึ้นเรื่อง  เด็ก(กาย ใจ สมอง) โตขึ้นเรื่อยๆ ผมเชื่อว่า หากจุดเปลี่ยนไม้เหล่านั้น ได้รับรู้ว่าไม้นี่คือไม้อะไร ต้นอะไรที่รับมา แล้วให้สารอาหารเหมือนที่เค้าเคยได้รับแบบดีๆ แล้วให้ต่อ ให้สอดรับกันแล้วเพิ่มเติมให้ หากขาดส่วนไหนก็เพิ่มให้ในจุดตรงนั้น ก่อนการจะบำรุงเพิ่มขึ้นในระดับของที่ช่วงวิ่งช่วงของเราครับ
  • ดังนั้นการทำความเข้าใจในช่วงจุดเปลี่ยนไม้ล้วนสำคัญมาก รู้ว่ารับอะไรมา บำรุงอย่างไร แล้วส่งต่อไปให้ใคร Input --->Process ---->Output ตามหลักเดิม ช่วงที่เรารับผิดชอบคือ Process ซึ่งต้องเข้าใจข้อมูลนำเข้า แล้วจะต้องผลิตส่งออกอย่างไร ในเรื่องของ กาย ใจ สมอง
  • ผมเชื่อว่าตรงนี้จะลดช่องว่างในสิ่งที่เด็กขาดได้ในเส้นทางลู่วิ่งที่เค้าวิ่งมาหาเราและวิ่งออกไป
  • ส่วนเรื่องต้นไม้นั้น ใช่เลยครับ ต้นไม้มันเดินไม่ได้ เลยต้องจำใจอยู่ในสิ่งที่ยึดติดอยู่ครับ แต่หากเราให้โดยน้อยไป ก็ต้องปรับ ให้มากไปก็ใช่ว่าจะดีครับ ก็จะประท้วงออกมาเสมอ หากให้ตรงกับที่ต้องการ มันจะแสดงส่วนดีๆ ของตัวเองออกมา เช่นเดียวกับ เด็กหรือคนนั่นหล่ะครับ
  • ส่วนเรื่องอาจารย์ ไม่มีคุณภาพ หากเราเข้าใจในกระบวนการนั้นทั้งหมด และเส้นทางลู่วิ่ง คนที่ได้มาก็คุณภาพแน่นอน ดังนั้น แก้ตรงนั้นแล้ว อาจารย์ไม่มีคุณภาพจะหายไปเอง เพราะคนที่สร้างออกไปทาง Output นั้นจะมีคุณภาพแล้วครับ หรือไม้ที่ส่งต่อออกไปมีคุณภาพ คุณภาพในที่นี้ ไม่ใช่ สับปะรดกระป๋องที่เหมือนกันหมดทุกกระป๋องนะครับ โดยแต่ละคนเค้ามีจุดเด่นของเค้าอยู่ในตัวของเค้าเอง หากเราดึงจุดเด่นของเค้าออกมาได้ ก็จะเยี่ยมครับ นั่นคือ จุดเด่นคนไหนที่จะเป็นครูได้ หรืออาจารย์ได้ เราก็จะได้คนคุณภาพมาเป็นอาจารย์แล้วหล่ะครับ
  • ส่วนเรื่องตัวชี้วัดในทางภายนอก ผมไม่เคยเชื่อระบบนี้ว่าจะวัดได้จริงๆ แต่ผมเชื่อระบบที่อยู่ในใจของแต่ละคนที่ให้ตัวเองวัดคุณค่าของตัวเอง หากทำได้แบบนี้ประเมินตัวเองได้ ผมเชื่อว่าไม่ต้องสร้างกฏอะไรมาวัดให้ยุ่งยากในการจะให้ครอบคลุมคนร้อยแปดประเภทเลยนะครับ คิดหาทางพัฒนาในเรื่องอื่นกันจะเป็นการต่อยอดที่ดีกว่า แต่นั่นคือเรามีข้อบกพร่องในส่วนตัวกันอยู่ทุกคนครับ เมื่อบกพร่องส่วนตัวมารวมๆ กันหลายๆ คน ก้กลายเป็นส่วนรวมขึ้นมา หากทำให้มันใหญ่ขึ้น มันก็จะโตขึ้นเรื่อยๆ จนท้ายที่สุดแล้ว เราก็ต้องมานั่งหนักใจอยู่นี่หล่ะครับ
  • ผมเขียนไปตามใจคิดนะครับ เลยขอจอดตรงนี้ก่อนนะครับ ก่อนจะหลุดจากลู่วิ่งนะครับ อิๆ
  • พี่สบายดีนะครับผม ขอบคุณพี่มากๆ เลยครับ

สวัสดีค่ะ คุณวรชัย หลักคำ
เมื่อ พ. 16 พฤษภาคม 2550 @ 14:50 จาก 203.172.184.3

  • ดิฉันเห็นด้วยค่ะ ที่บอกว่ามีครูมัธยมบางท่านที่ทำงานหนัก โดยเฉพาะครูในพื้นที่ห่างไกลในต่างจังหวัด แถมเงินเดือนก็น้อย เบี้ยเลี้ยงก็คงน้อย ส่วนนี้ดิฉันว่าน่าเห็นใจมาก
  • สำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยนั้น ก็อย่างที่ดิฉันเขียนไว้ในบันทึกแหละค่ะ ว่าบางคนก็ทำงานในหน้าที่น้อยมาก เอาเวลาไปทำงานข้างนอกเป็นที่ปรึกษาอะไรๆ บ้างก็มี เรื่องรายได้น่าจะสูงกว่าครูในระดับมัธยมค่ะ บางคนก็จะมีรายได้สูงเนื่องจากค่าสอนพิเศษต่างๆ ด้วยค่ะ
  • ขอบคุณที่แวะเข้ามา ลปรร นะคะ

สวัสดีค่ะ น้องเม้ง สมพร ช่วยอารีย์ ---------> http://www.somporn.net ---------> http://www.schuai.net

เรื่องการศึกาที่เปรียบกับการเลี้ยงหรือปลูกต้นไม้ให้โตโดยให้สารอาหารถูกที่ถูกจุดถูกเวลาก็เป็นสิ่งที่เหมาะสมที่จะต้องทำอยู่แล้วค่ะ  แต่ก็อย่างที่บอกนะคะ ปัจจัยของต้นไม้กับคนมันมีจุดที่ต่างกันมากๆ ก็คือนอกจากต้นไม้จะไปไหมมาไหนไม่ได้แล้ว ต้นไม้คิดแบบคนไม่เป็นค่ะ  พี่ยังอยากให้น้องเม้งพิจารณาปัจจัยกิเลสมนุษย์ลงไปด้วย... (เพราะพี่ว่าต้นไม้ไม่มีกิเลส อิอิ)

มนุษย์มีความต้องการเหลือเฟือ มีความปรารถนาที่จะได้อยากจะรับอยู่เสมอ..แต่การให้ยังค่อนข้างต่ำ (ผิดกับน้องเม้งเป็นอย่างมาก)  

ลองสังเกตเด็กเล็กๆ ดู จะเห็นได้ว่าเด็กซึมซับอะไรได้รวดเร็วมาก อยากรู้อยากเห็นมากขึ้นตลอดเวลา แม้ว่าเราจะไม่ได้กระตุ้น เขาจะถามทำไม อะไรๆๆๆๆ ตลอดเวลาโดยเราไม่ต้องบังคับ เขาอยากรู้เอง...คงเหมือนไม้เล็กๆ ที่ต้องการสารอาหารหล่อเลี้ยงให้ตัวเองโต 

แต่พอมาถึงจุดหนึ่ง พอโตขึ้น อาการตรงนี้มันหายไป อาจเป็นเพราะโตพอที่จะหาอาหารกินเองได้แล้ว สัญชาติญาณความอยากแบบพื้นฐานหมดไป  ไม่เหมือนต้นไม้ ที่อย่างไรก็ยังต้องการสารอาหารเหมือนเดิม เพียงแต่ตอนนี้ต้นโตขึ้นแล้ว เพราะฉะนั้นด้วยสัญชาติญาณในการอยู่รอด ก็จะแผ่กิ่งก้านสาขารับแดด รับฝน พลอยทำให้ไม้เล็กบางต้นใต้ไม้ใหญ่ตายได้ ซึ่งทุกอย่างก็เป็นไปตามธรรมชาติของไม้นั่นเอง ไม่มีสิ่งปรุงแต่ง ไม้ใหญ่ไม่ได้มีกิเลสอยากย้ายไปอยู่อีกที่หนึ่งเหมือนคน : ) 

เพราะฉะนั้น input ที่เราใส่เข้าไปมันอาจไม่พอดีสักที ตัว process ก็ไม่เหมาะสักที แล้ว output ที่ออกมาก็ไม่เคย perfect หรอกค่ะ เพราะอย่างไรก็ดี คนก็จะเป็นผู้ประเมินว่า perfect หรือไม่ แล้วถ้าตาชั่งในใจคนมันเปลี่ยน มันเบี้ยวได้ มันก็จะไม่มีอะไร perfect ได้หรอก มันเป็นธรรมชาติค่ะ

ดังนั้นการศึกษากับคนกับสิ่งที่น้องเม้งกำลังพยายามทำมันยาก แล้วก็คงไม่สำเร็จ (แบบร้อยเปอร์เซนต์) เพราะเรากำลังพูดถึงระบบที่ใหญ่มากๆ ปัจจัยมันเปลี่ยน คนมันเปลี่ยนได้ตามกิเลสตลอดเวลา  แต่ไม่ได้หมายความว่าน้องเม้งควรเลิกทำนะคะ ก็ค่อยๆ ทำ ค่อยๆ คิดไป ถึงเวลาน้องเม้งหรือพี่มีโอกาสเมื่อไหร่ ก็ลงมือทำ...ก็คงประมาณนี้แหละค่ะ  : )

 

P

สวัสดีครับพี่

  • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ สำหรับแนวทางอะไรมากมายครับ ที่เป็นประโยชน์กับตัวผมในการนำไปคิดต่อได้ครับ
  • จริงๆ ต้นไม้ก็มีหลายๆ แบบนะครับ ผมชอบที่นายแหลม...น้องแหลมก็แล้วกัน อรหันต์ชาวนา พูดไว้โดนใจผมมากๆ เลยครับ เค้าแบ่งต้นไม้ออกเป็นประเภทครับ เค้าบอกว่า
  • ต้นไม้ บางต้นพวกนี้นิพพานหรือตรัสรู้แล้ว หรือว่าได้รับปริญญา อะไรทำนองนี้นะครับ ประมาณว่า หากกินได้ เลี้ยงตัวเองได้ แม้ว่าจะอยู่กับที่ก็ตาม ไม่ว่าจะเอาไปปลูกทิ้งไว้ตรงไหน หรืองอกตรงไหนมันจะโตของมันเองตามธรรมชาติได้
  • บางประเภทต้องให้ก่อนในเบื้องต้น แล้วก็คอยดูแลจนอยู่ได้แล้วจากนั้น เค้าจะจัดการตัวเองได้
  • บางประเภทเค้าบอกว่าต้องดูแลเอาใจใส่ตลอดเวลา ไม่รู้จักโตเสียที พวกนี้ต้องคอยดูและให้อาหารให้น้ำตลอด ถึงจะได้ผลดีครับ
  • พี่เคยเห็นต้นไม้แบบที่เค้าเรียกว่า บ้าใบ ไหมครับ คือมีสารอาหารพวก ไนโตรเจนมากเกินไป ซึ่งตัวนี้มันจะมีผลต่อการบำรุงพืชในเรื่องการสร้าง กิ่งก้านสาขา นะครับ จะเห็นว่างอกงามดีมากครับ แต่ไม่มีผล คือไม่ออกดอกออกผลที่ควรเป็น นี่คือการเสพจากทรัพยากรที่มีอย่างไม่เพียงพอของต้นไม้
  • แต่ทั้งนั้นและทั้งนั้นครับ...ต้นไม้เคลื่อนที่ไม่ได้ มีข้อจำกัด ทำได้แค่เลื้อยไปปกคลุมเพื่อหาสารอาหารให้ตัวเองอยู่รอดเช่นกันครับ ตามสภาพที่เป็นอยู่ แต่มีข้อดีคือตัวต้นไม้เองเดินไม่ได้ แต่สร้างอาหารให้ตัวเองได้ ด้วยการสังเคราะห์แสง
  • แต่ คนเราเดินได้ แต่สังเคราะห์แสงไม่ได้ สร้างอาหารให้ตัวเองไม่ได้ เลยต้องไปเบียดเบียนสิ่งมีชีวิตอื่นมาให้ตัวเองได้กินไงครับ นี่คือความสมดุลครับ
  • ระหว่างคนกับต้นไม้  เดินได้ไม่ได้ กับสร้างอาหารเองไม่ได้และได้ ตามลำดับครับ จะเห็นว่าธรรมชาตินั้น สร้างสิ่งเหล่านี้ไว้แล้วอย่างลึกซึ้งมากๆ เลยครับ พี่ลองจินตนาการดูซิครับ หากคนสังเคราะห์แสงได้ แล้วเดินได้ด้วย จะเป็นอย่างไรหนอ...เพียงพอ หรือว่าไม่พอ...อยู่ที่ตรงไหน
  • ทุกสิ่งมีชีวิตเกิดมาพร้อมกับความเห็นแก่ตัวทุกๆ อย่างครับ เพียงแต่เราจะควบคุมให้สมดุลได้อย่างไร อยู่ตรงนั้นเป็นสำคัญ หากการให้ และรับ ไม่สมดุล ระบบจะเกิดปัญหาทันที
  • สังเกตดูนะครับ ว่าระบบใดที่ให้อย่างเดียว ไม่นานก็หมด ระบบใดที่รับอย่างเดียวไม่นานก็ตาย
  • ระบบใดที่ดีอยู่แล้ว และดีต่อไป มันจะยังอยู่ได้ต่อไปเสมอ....
  • วันหนึ่ง ผมอยากจะทราบว่า โรงเรียน มหาวิทยาลัยที่ตั้งๆ กันขึ้นมา อาจจะไม่มีประโยชน์เลยก็ได้ครับ หากการให้และรับไม่สมดุล จะมีระบบใหม่ที่ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างความสมดุลออกมาแทน ระบบเก่าที่เสื่อม ผมเชื่ออย่างนั้นครับ
  • วันหนึ่งการศึกษาแบบอัธยาศัยอาจจะรุ่งเรื่องกว่าการศึกษาในระบบก็ได้
  • หรือการศึกษาแบบนอกระบบจะเป็นตัวสำคัญกว่าในระบบก็ได้ครับ
  • คนเราต้องได้รับบทเรียนเท่านั้นครับ โดยเฉพาะการได้รับบทเรียนจากประสบการณ์ตัวเองเป็นสำคัญถึงจะเชื่อและตระหนักครับ ผมเชื่อว่าวันหนึ่งเราจะได้รับประสบการณ์หนักๆ เหล่านั้นร่วมกันครับ ไม่ช้าก็เร็ว แล้วจากวันนั้นที่เรามีโอกาสนี้ เราจะเข้าใจธรรมชาติ อยู่กับธรรมชาติ เห็นอกเห็นใจกันมากขึ้นครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ และมีความสุขในการทำงานนะครับ
  • ผมเขียนบทความหนึ่งเกี่ยวกับต้นไม้นะครับ เอามาฝากไว้เล่นๆ อ่านยามว่างนะครับ รู้เขารู้เรา ชีวิตและแง่คิดจาก "ต้นไม้"
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ ได้อะไรเพิ่มเติม แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เพื่อสิ่งที่มุ่งหวังร่วมกันนะครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ

สวัสดีค่ะ น้องเม้ง สมพร ช่วยอารีย์ ---------> http://www.somporn.net ---------> http://www.schuai.net

ประเด็นที่บอกว่า "สังเกตดูนะครับ ว่าระบบใดที่ให้อย่างเดียว ไม่นานก็หมด ระบบใดที่รับอย่างเดียวไม่นานก็ตาย"   อันนี้จริงค่ะ เพราะขัดกับหลักของธรรม(ชาติ) ขาดสมดุล ขาดความพอดี

แต่ "ระบบใดที่ดีอยู่แล้ว และดีต่อไป มันจะยังอยู่ได้ต่อไปเสมอ.... "  อันนี้พี่ว่าเป็นไปได้น้อยค่ะ เพราะเราจะพบว่าไม่มีระบบใด สิ่งใดอยู่ค้างฟ้า หรืออยู่ได้ตลอดกาล.. ดีก็ดีตลอด แย่ก็แย่ตลอด เป็นไม่มีค่ะ มันจะขึ้นลงปรับสมดุลไปเรื่อยๆ ค่ะ เมื่อไหร่มีแนวโน้มลง  พอลงจนสุด ก็จะมีการปรับสมดุล เมื่อไหร่มีแนวโน้มขึ้น ขึ้นสูงสุดแล้วก็จะตก  เพราะระบบประกอบด้วยคนและแนวความคิดที่เปลี่ยนแปลงตามคน

ขนาดพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นระบบการศึกษาทำความเข้าใจชีวิตและธรรมชาติยังมีการเสื่อม แต่ไม่ใช่"ธรรม"เสื่อมนะคะ "ธรรม"เป็นความจริง ไม่เสื่อม แต่คนที่นำมาปฏิบัติ ถ้าไม่บรรลุ ก็จะทำระบบเสื่อมค่ะ  ที่พี่ว่าไม่เสื่อมอีกอย่างคือความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ เช่น ความจริงที่ว่ามนุษย์เปลี่ยนใจได้ตลอดเวลาค่ะ  อิอิ

ถ้ามีแต่คนที่เข้าใจในธรรมชาติ และตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งดีๆ ที่เป็นประโยชน์ทั้งหมด พี่ว่าไม่ต้องมีระบบการศึกษาแบบทุกวันนี้ก็ได้ เพราะพ่อแม่ก็คงสอนลูกกันเอง ลูกเองก็เรียนด้วยความเต็มใจ แต่เนื่องจากคนมีหลากหลาย ขนาด DNA เดียวกันเป็นแฝด พี่ว่าเขายังคิดไม่เหมือนกันเลยค่ะ เพราะฉะนั้นยังต้องมีระบบการศึกษาเพื่อรองรับคนที่หลากหลายเป็นจำนวนมากอยู่

พี่เป็นพวก realist ค่ะ เลยจะฝากบอกว่า อย่าคาดหวังอะไรที่เกี่ยวกับคนมากค่ะ เพราะอะไรๆ ก็ไม่แน่ สิ่งที่"แน่นอน"ก็คือ"ความไม่แน่นอน"ค่ะ อิอิ

เขียนไปเขียนมา นอกเรื่องอีกแล้ว...พี่ได้ตามไปอ่านเรื่องต้นไม้แล้วนะคะ ขอบคุณที่ reference บันทึกนี้นะคะ : )

แล้วลปรรกันใหม่ค่ะ ขอให้มีความสุขในการทำงานเช่นเดียวกันนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

ตอนนี้คนเก่งๆ เขาเริ่มจะไม่สอนหนังสือกันแล้วครับ ได้ไม่คุ้มเสีย ทำเพื่อสังคม ทำเพื่อความมุ่งมั่นในความเป็นครู แต่สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง กับระบบชุ่ยๆ กับความมั่วต่างๆ ทำให้บุคลากรที่มีความสามารถหันไปทำธุรกิจ หรือรับจ้างเอกชนแบบเต็มเวลามากกว่าที่จะมานั่งวิจัยเอย นั่งเตรียมสอนเอย เพราะท้อแท้กลับ"ระบบ"ที่ด้อยคุณภาพ (อย่าลืมสิว่าต้นทุนบุคลากรทางสายผู้สอนสูงเหมือนกัน) ตราบใดที่ การสนับสนุน ของกฎระเบียบ มาตรฐาน ในด้านคุณภาพกับสวัสดิการของบุคลากรยังต่ำ ก็ยากที่จะพัฒนาประเทศแข่งกันนานาชาติได้.. บรูไน จ้างและให้สวัสดิการ ครูสูงแบบสบาย และเด็กเรียนฟรี ,เวียดนามเห็นคุณค่าของครู-อาจารย์มากจนสำคัญใกล้เคียงกับการสร้างโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ.(ตอนนี้เวียดนามแซงไทยไป10ปีแล้ว).. มีไม่น้อยนะครับที่บุคลากรไทยสายผู้สอนไปสอนหนังสือให้กับประเทศลาว และเวียดนาม และที่สำคัญเขาก็ดูและครู-อาจารย์ไทยดีไม่ด้อยไปกว่าคนในประเทศ

สวัสดีค่ะอาจารย์นิรันดร์

อ่านจากข้อคิดเห็นแล้ว ต้องบอกว่าเคยคิดเหมือนกันค่ะ ว่าท้อ...ไม่อยากทำแล้ว

แต่ตอนนี้ไม่คิดอย่างนั้นแล้วค่ะ เพราะมีหลายคนคิดทำไปแล้ว ตอนนี้ตราบใดที่ยังทำได้อยู่บ้าง ในส่วนของตัวเอง ก็ไม่ค่อยสนใจว่าเราเขียนด้วยมือ แล้วมีคนอื่นมาลบด้วยเท้า (เจอบ่อยจนชิน) เพราะมีบางส่วนที่เราทำ แล้วหลุดรอดระบบที่ด้อยคุณภาพไปได้บ้าง : ) ก็เป็นกำลังใจเล็กๆ น่ะค่ะ

ดิฉันเข้าใจค่ะ ที่อาจารย์หลายคนต้องการอะไรที่ดีๆ กว่านี้ แต่บังเอิญตอนนี้บ้านเรา การให้ความสำคัญกับครูมันน้อยมากๆ ดิฉันว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยได้สวัสดิการและการยกย่องมากกว่าครูนะคะ ในภาพรวมทั้งประเทศน่ะค่ะ แต่คงไปเทียบกับประเทศที่เขาเข้าใจเรื่องนี้และให้ความสำคัญกับการศึกษาคงไม่ได้หรอกค่ะ สวัสดิการและการยกย่องการคัดเลือกคนคงจะมากกว่าและเข้มข้นกว่าแน่นอนค่ะ

ก็คงต้องช่วยกันต่อไปนะคะ เมื่อไหร่ที่มีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้มากก็จะทำ แต่ถ้าไม่ได้ ทำได้เล็กๆ น้อยๆ ก็ยังต้องทำไปก่อนค่ะ...ก็เพื่อบ้านเมืองกับลูกหลานของเราเองน่ะค่ะ..

ขอบคุณที่แวะเข้ามาให้ข้อคิดเห็นอีกครั้งนะคะ..

สวัสดีครับ มาช้า ตามประเด็นไม่ทัน แต่คิดสั้นๆเอาจากางที่เห็นเพียงมุมหนึ่งเท่านั้นคือ "อาจารย์บางท่านที่ไม่มีคุณภาพนั้นผมเห็นว่าเป็นคนที่ไม่มีอุดมคติของความเป็นครู หรืออาจารย์ครับ"

อุดมคติในที่นี้ต้องย้อนไปดูครูในอดีตที่เป็นครูจริงๆน่ะครับ

สวัสดีค่ะคุณบางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)

ไม่เป็นไรหรอกค่ะ ค่อยๆ ตามมาอ่านตอนมีเวลาก็ได้ค่ะ ประเด็นมันเกี่ยวข้องกับเรื่องหลายๆ อย่างในระบบการศึกษาค่ะ เยอะจนคนเปิดประเด็นก็มึนไปบ้างค่ะ : )

เอาความเห็นคนบางทรายไปรวมในบันทึกนี้แล้วนะคะ ขอบคุณมากๆ ค่ะที่แวะมา ลปรร..

  • สวัสดีครับอาจารย์
  • อาจารย์ไม่มีคุณภาพ ผมว่ายังพอพัฒนาได้นะครับ แต่อาจารย์ขาดจรรยาบรรณและจิตวิญญาณนี่สิครับน่าห่วง

 

สวัสดีครับ ... อาจารย์กมลวัลย์

  • หุ หุ
  • ประเด็นอาจารย์นี่น้า .... มันเป็นประเด็นระดับประเทศ (น่าจะประเทศไทยนะครับ ไม่น่าเป็นประเทศอื่น) นี่
  • "อาจารย์ไม่มีคุณภาพ" นี่ ... ผมนึกถึงตัวเองก่อนใคร ๆ เลย
  • อาจารย์เคยดูรายการ "ถ้าคุณแน่ ต้องไม่แพ้เด็ก ป.4" ไหมครับ เวลาที่ผู้เข้าร่วมรายการแพ้ เด็ก ป.4 เค้าจะพูดว่า "ผมแพ้เด็ก ป.4"
  • อันนี้ผมจะพูดว่า "ผมเป็นอาจารย์ที่ไม่มีคุณภาพ ผมแพ้เด็ก ป.4" :)
  • เพราะผมไม่สามารถตามได้ทุกข้อ ... คล้าย ๆ โครงการบัณฑิตอุดมคติไทย ของ สกอ. นั่นแหละครับ
  • ผมไม่สามารถเป็นความใฝ่ฝันของผู้ที่มีคาดหวังแบบนี้ได้
  • มีแต่ "วิญญาณ หัวใจ และอุดมการณ์ของความเป็นครู" แต่เรียนไม่เก่ง
  • แค่รักมันไม่คงพอ :(
  • อาจารย์มหาวิทยาลัยต้องไม่เคยเรียนได้ศูนย์ ต้องสอบไม่ตกวิชาใด อันนี้ผมตกมาเยอะ อิ อิ ทำไม่ได้จริง ๆ

 

ถ้าจะคุยกันถึงเรื่องมาตรฐานความมีคุณภาพ คงเหนื่อยอีกตามเคยนะครับ

เช่น ที่ทำงานผม ตอนแรกอธิการฯ บอกจะไม่รับ อาจารย์วุฒิปริญญาตรี ... ทำไปทำมา มันมีสาขาขาดแคลนที่หาคนมาเป็นอาจารย์ไม่ได้ เลยต้องรับวุฒิปริญญาตรี แต่เพิ่มเกณฑ์ คือ ต้องเรียนได้ 3.00 ขึ้นไป (ไม่ยอมวัดคุณธรรมแห่งความเป็นครู วัดแต่เกรด อันนี้ผมไม่เห็นด้วย ถ้าจะวัดต้องวัดทั้งสองอย่างครับ)

อย่าว่าแต่ครูประถม มัธยมบ้านขาดแคลนเลยครับขนาดอาจารย์มหาวิทยาลัยก็ยังหายาก

ยิ่งไปพูดเรื่องคุณภาพ ยิ่งเหนื่อยใจกันมาก

ยิ้ม ๆๆ ครับ :)

สวัสดีค่ะคุณสุดทางบูรพา

ส่วนตัวแล้วคิดว่าการขาดจรรยาบรรณเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อาจารย์ไม่มีคุณภาพได้น่ะค่ะ แน่นอนเลยว่า ถ้าครูบาอาจารย์ขาดจรรยาบรรณ ขาดจิตวิญญาณในการเป็นครู ก็คงแย่แน่ๆ ค่ะ

ขอบคุณค่ะ 

สวัสดีค่ะอ. Wasawat Deemarn

จริงๆ แล้ว ส่วนตัวคิดว่า อาจารย์ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกอย่าง หรือต้องตอบคำถามทุกอย่างได้ค่ะ  เพราะบางครั้งถึงเคยเรียนแล้ว คนเราก็ลืมได้ค่ะ อย่าลืมว่าครู/อาจารย์ก็ยังเป็นมนุษย์ปุถุชนกันอยู่ เพียงแต่ต้องมี"ใจ"อย่างที่อาจารย์ว่าไว้ มีความรู้ในเรื่องที่สอน มีความพร้อมที่จะให้กับนักศึกษา ถ้าไม่รู้ก็ค้นคว้าเพิ่มเติมเสมอค่ะ

ส่วนตัวเองแล้ว ตอนมาทำงานสอนในมหาวิทยาลัย ไม่มีความเป็นครูเลยค่ะ ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง ก็ได้แต่เลียนแบบอาจารย์ที่เคยสอนเรามา เห็นอาจารย์ใช้ Text book ก็ใช้ตาม แล้วก็สอนไปตามนั้น อธิบายไปเรื่อยๆ กว่าจะรู้ และเข้าใจเพิ่มขึ้น ก็ใช้เวลาในการสอนไปหลายปี ปัจจุบันก็ต้องบอกว่ายังพัฒนาและปรับปรุงอยู่ค่ะ แต่ที่ได้เพิ่มมาแล้วคือ "ใจ" ในการสอน และอยากให้นักศึกษาได้ความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพจริงๆ ค่ะ 

ไอน์สไตน์ บอกว่า "จินตนาการสำคัญกว่าความรู้" อันนี้จริงหรือไม่ครับ

แบบนี้ Wasawat Style ต้องบอกว่า "ความเป็นครูสำคัญความเก่ง"

:)

ใช่ค่ะอาจารย์ Wasawat Deemarn

สำหรับตัวเองแล้ว ไม่ว่าคนจะประกอบอาชีพอะไร คนแต่ละคนควรมีธรรมะ เป็นเครื่องนำทาง เป็นหลักการในการดำรงชีวิตและปฏิบัติการงาน (ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด เพราะแต่ละศาสนาก็จะมีธรรมะของตนอยู่) มากกว่าการที่จะมีความเก่งในทางด้านเทคนิคค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท