ใส่ปุ๋ยให้พืชหรือต้นไม้ ควรใส่ตรงไหนอย่างไร


การที่เราใส่ปุ๋ยบริเวณรอบทรงพุ่มก็เพราะว่า บริเวณปลายรากมักจะอยู่บริเวณทรงพุ่มเป็นรากใหม่ๆ และรากฝอยจะมีบริเวณนั้น ซึ่งรากฝอยเป็นรากที่สำคัญในการดูดน้ำ และสารอาหารจากดิน

สวัสดีครับ

      วันนี้นำเสนอการใส่ปุ๋ยให้กับต้นไม้และพืชนะครับ ว่าจะใส่บริเวณใดเหมาะหรือไม่เหมาะ ใส่ไกลหรือใกล้ลำต้น ดีไม่ดีอย่างไร หลายคนคงทราบกันดีแล้วนะครับ ว่าปกติเวลาใส่ปุ๋ย กรณีที่ปุ๋ยเป็นเม็ดเช่นปุ๋ยเคมี เรามันจะใส่บริเวณที่บริเวณทรงพุ่ม รอบเป็นวงกลม เพราะตามหลักของพืชแล้วจะแตกรากออกเป็นวงกลม รอบทิศทางและส่วนหนึ่งก็ลงดินเช่นรากแก้วที่ยึดลำต้นให้อยู่ได้และมั่นคง

     การที่เราใส่ปุ๋ยบริเวณรอบทรงพุ่มก็เพราะว่า บริเวณปลายรากมักจะอยู่บริเวณทรงพุ่มเป็นรากใหม่ๆ และรากฝอยจะมีบริเวณนั้น ซึ่งรากฝอยเป็นรากที่สำคัญในการดูดน้ำ และสารอาหารจากดิน (ดูดในรูปของไอออนที่ได้จากการแตกตัวของธาตุต่างๆซึ่งเป็นธาตุประกอบ) และไอออนเหล่านั้นก็จะมีคุณสมบัติพิเศษคือ มันจะสามารถเคลื่อนที่ได้ด้วย โดยปกตไอออนจะเคลื่อนที่จากที่ที่มีความเข้มข้นสูงไปยังความเข้มข้นต่ำ นั่นคือ รากก็จะทำหน้าที่ดูดไอออนเข้าสู่ราก และบริเวณรากเองก็จะมีความเข้มข้นของไอออนต่ำลงครับ และจะทำให้สารอาหารหรือกลุ่มของไอออนที่อยู่ห่างจากรากจะวิ่งเคลื่อนที่เข้าหาราก และจะโดนรากดูดเข้าไปในรากผ่านทางท่อน้ำเข้าไป นั่นเอง

    จะเห็นได้ว่าหากเราเอาปุ๋ยไปโรยที่รอบโคนต้นหรือใกล้โคนต้นมันจะไม่ได้ผลเท่าไหร่ เพราะรากฝอยบริเวณใกล้ๆลำต้นเป็นรากแก่เป็นส่วนใหญ่ศักยภาพในการดูดสารอาหารจะมีต่ำมาก ในที่นี้จะไม่กล่าวถึงการนำพาสารอาหารของด้วยสิ่งมีชีวิตเช่น ราบริเวณรากนะครับ หากเราใส่ปุ๋ยบริเวณลำต้นกว่าสารอาหารจะเคลื่อนที่ด้วยการแพร่กว่าจะไปถึงรากฝอยก็ใช้เวลาหรือโดนพืชชนิดอื่นดูดนำไปใช้เสียก่อน

    ดังนั้นการใส่ปุ๋ยให้แก่พืชแต่ละชนิดท่านต้องทราบตำแหน่งของรากฝอย หรือบริเวณของรากฝอยด้วยครับ จะทำให้ใส่ได้ตรงจุดและการนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพครับ กรณีการใส่ปุ๋ยเม็ดควรจะมีการกลบด้วยดินด้วย ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้หรือปล่อยไว้ให้ปุ๋ยลอยอยู่บนดินนะครับ 

 ตัวอย่างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ นะครับในการดูสารอาหารของรากพืช (สีต่างๆ แสดงถึงการแพร่ของสารอาหาร สีแดงคือความเข้มข้นของสารอาหารสูงครับ สีเขียวก็ลดลง จนถึงสีน้ำเงินจะมีความเข้มข้นต่ำ)

ตัวอย่างการโตของรากและแสดงชั้นความเข้มข้นของสารอาหารบริเวณรอบๆ รากพืช 

 

ดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ http://www.iwr.uni-heidelberg.de/groups/ngg/People/schuai/Somporn.NET/RootNu2/index.htm

แล้วปุ๋ยที่ท่านใส่กันอยู่ปัจจุบันตอนนี้ ท่านใส่อย่างไรกันบ้างครับ มีอะไรมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้นะครับ

ขอแสดงความนับถือครับ

สมพร ช่วยอารีย์  

หมายเลขบันทึก: 82138เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2007 06:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • ได้ใส่ปุ๋ยให้ต้นไม้ครั้งสุดท้ายนานมากแล้วครับ เป็นปุ๋ยคอก  ก็เทไว้ที่โคนต้นนั่นแหละแล้วแต่เวรแต่กรรมต้นไม้จะหากินเอง
  • ขอบคุณความรู้ดี ๆ เรื่องการดูแลต้นไม้
  • คงต้องหาโอกาสดูแลต้นไม้บ้างแล้วแหละครับ  มีคนบอกว่าการดูแลต้นไม้ เป็นการขัดเกลาจิตใจให้อ่อนโยนอีกรูปแบบหนึ่ง...จริงป่าวครับคุณเม้ง
  • จริงครับผม
  • ไม่น่าเชื่อว่าเราปล่อยให้มันอยู่ตามยถากรรม แต่เรากลับได้รับประโยชน์จากต้นไม้เยอะมากครับ
  • หากคนเข้าใจต้นไม้มากกว่านี้ เราคงไม่ต้องรับผลกระทบอะไรหลายๆ อย่างนะครับ
  • ขอบคุณมากครับ

ผมขอมองต่างมุมฐานะนักปฐพีหัวโบราณครับ

แต่ก่อนผมคิดว่าใส่ที่ราก เดี๋ยวนี้ผมกลับคิดว่าน่าจะใส่ที่ดิน จุดที่ดินจะเก็บสำรองเอาไว้ได้ครับ

หรือถ้าไม่มีก็ต้องพัฒนาขึ้นนมาครับ

การสำรองสำคัญกว่าการใช้ครับ

เพราะสำรองนำไปสู่ความยั่งยืน การใช้นำไปสู่การหมดไป (อย่างน้อยก็ที่ความคิด)

ตอนนี้เรากำลังพัฒนาเกษตรยั่งยืน และเกษตรอินทรีย์ที่ลดการเบียดเบียน ระบบสำรองจึงสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ

การใส่ให้กับดินจึงสำคัญมากขึ้นครับ

กราบสวัสดีครับ

P
  • ขอบคุณมากครับสำหรับแนวคิดที่ดีมากครับ
  • เห็นด้วยครับ สำหรับการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ไม่ว่าจะปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยพืชสดครับ ใส่ให้ดินดี ดินดี ก็มีจุลินทรีย์ เป็นตัวย่อย สำหรับปุ๋ยอินทรีย์ทำแบบที่ ท่าน ดร.ว่าได้เลยครับ พรวนดินให้เข้ากันด้วยครับ เกิดช่องว่างในดินครับ
  • และเห็นด้วยกับระบบสำรองครับ และระบบการสร้างการเชื่อมโยงให้ครบวงจรครับ มีการหมุนเวียนครับ
  • แต่ที่ผมมองในส่วนของการใส่ปุ๋ยพวกเคมี หรือธาตุอาหารที่พืชพร้อมจะนำไปใช้เลย อันนี้หากใส่ผิดที่รับรองได้คับ เหมือนตำน้ำพริกละลายมหาสมุทรแน่นอนครับ หากไม่ศึกษาว่าตรงไหนที่ควรใส่ครับ แต่หากดินดีโดยทั่วไป ก็ไม่มีปัญหาครับผม
  • ในแต่ละช่วงชีวิตของพืชคงต้องการอาหารที่แตกต่างกันครับ ว่าแล้วเหมือนหมูที่ต้องให้กินอาหารสูตร ส. ต่างๆ ตามวัยครับ
  • ขอบคุณมากครับ สำหรับความเห็นดีๆ ผมชอบแนวคิดของ ดร.แสวงครับ ได้ให้แนวทางให้ผมคิดค้น และค้นคว้าต่อยอดได้ครับ
  • ยินดีสำหรับทุกความเห็นอื่นๆ ครับ ผมไม่ใช่ผู้รู้ทั้งหมด แต่พร้อมจะรับรู้และเรียนรู้จากสิ่งที่เห็นต่างจากทุกคนครับ
  • มีประเด็นเพิ่มครับ ตอนนี้มีการทดลองตัวหนึ่งที่ผมเข้าไปร่วมโครงการอยู่ครับ Hairy Root Reactor เป็นการปลูกพืชแบบไม่มีใบ ไม่มีลำต้น ไม่มีดิน แต่ปลูกในอากาศ แล้วฉีดสารอาหารโดยการพ่นครับ น่าสนใจทีเดียวในความคิดของคนสมัยนี้ แล้วสิ่งที่ได้จากการทำนั้นคือ สารที่เอาไปใช้ในการบำรุงผิวหน้า หรือไรต่อไรอีกมากครับ
  • คนก็มีแนวทางในการโกงธรรมชาติ หากเรียนรู้มากขึ้น แต่หากเอาเปรียบธรรมชาติมาก เราก็จะวอดวายเช่นกันครับ

สวัสดีครับทุกท่าน

  • อยากจะแลกเปลี่ยนการใส่ปุ๋ยให้กับต้นไม้ด้วยคนครับ
  • จริงๆแล้วการใส่ปุ๋ยของคุณย่ามแดงไม่ผิดน่ะครับสำหรับกรณีของปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์ เพราะปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ เป็นอินทรียวัตถุที่ต้องมีการย่อยสลายและทับถมลงสู่ดินครับ
  • ส่วนการใส่ปุ๋ยเคมีจะต้องกลบ ฝัง ให้อยู่ใต้ผิวดินเพื่อให้รากพืชสามารถดูดไปใช้ประโชยน์ เนื่องจาก ธาตุอาหารบางตัวถ้าไม่ฝังไว้ก็จะระเหยหนีไปได้ (อ.แสวง คงทราบดีครับ)
  • ส่วนการสำรองของ อ.แสวง ก็คงเหมือนที่ อ.เม้งว่าแหละครับ คงไม่ใช่กรณี ของ ปุ๋ยเคมี แต่ถ้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด แน่นอนครับ ต้องใส่เคมี ร่วมกับอินทรีย์
  • ว่าจะเขียนให้ยาวกว่านี้ แต่เนื่องจาก อ.เม้งลงบทความนี้ไว้ตั้งแต่ เดือน มี.ค. ไม่แน่ใจว่าจะมีใครเข้ามาบ้างหรือปล่าว ครับ
  • ถ้ายังมีใครเข้ามาขอเสียงหน่อยครับ เนื่องจากตอนนี้ บ้านเราบ้ายางกันขนาดหนัก อยากจะเสนอวิธีการใส่ปุ๋ยยางพารามาให้พิจารณา เพราะเท่าที่ออกไปเทียวตามพื้นที่ต่างๆ ก็พบการใส่ปุ๋ยยางโดยการหว่านทิ้งหว่านขว้างเหมือนกันได้มาเปล่าๆ เหมือนที่ อ.เม้งว่าแหละครับ
  • สาธุฯ

P

สวัสดีครับพี่แดง

  • สบายดีนะครับพี่
  • ดีเลยครับ มาร่วมกันแสดงความเห็นกระจายสิ่งที่ควรเป็นให้รับรู้กันนะครับ
  • ปุ๋ยคอก หรืออินทรีย์ มันมีจุลินทรีย์ สิ่งมีชีวิตเพียบ แค่ปุ๋ยเคมีมันคือเหมือนน้ำเกลือนะครับ ดูดซึมแล้วก็ใช้กันได้เลย ไม่ต้องย่อย ส่วนปุ๋ยอินทรีย์ ก็เหมือนเรากินข้าวเข้าไปนั่นหล่ะครับ ต้องย่อยกันก่อน กระบวนการย่อยก็ต่างกัน ระหว่างย่อยข้าวเหนียว กับย่อยแกงคั่วกลิ้ง ใช่ไหมครับ พี่แดง
  • สำหรับกระทู้ ปั่นให้เกิดการกวนหมวนครับ แล้วจะนำไปสู่การรับรู้ ได้อ่านบทความได้ครับพี่ เพราะตัวเนื้อหามันจะมีประโยชน์ของมันครับ
  • รบกวนพี่ช่วยให้คำแนะนำการใส่ปุ๋ยยางก็ดีนะครับพี่ เพราะผมเห็นแล้วไม่อยากให้ชาวบ้านต้องเสียเงินซื้อปุ๋ยฟรีๆ นะครับ เพราะว่าหากโรยปุ๋ยไว้บนผิวดินแล้วนั้น รับรองว่า NPK ที่ต้นยางต้องการคงยากมากๆ ที่จะได้กิน โดยเฉพาะ ไม่มีน้ำหรือฝนตกเลยนะครับ หากใส่ปุ๋ยแล้วไม่กลบตรงนี้คือเหมือนทิ้งเงินฟรีเลยใช่ไหมครับ
  • ต่างจากการหวานข้าวเปลือกให้ไก่กินครับ ที่ไก่จะไปจิกกินได้ หรือโรยเม็ดอาหารให้ปลาในสระน้ำบ่อเลี้ยงปลา ที่ปลาว่ายไปจิกกินได้ครับ
  • ส่วนรากต้นไม้จะต้องใส่ให้ตรงที่ตำแหน่ง ตรงเวลาที่ต้องการ ตรงฤดูกาลที่เหมาะสม ตรงการบำรุง
  • ใครที่รักต้นไม้ ที่ไปเห็นต้นไม้ตามร้านขายต้นไม้ แล้วเห็นแล้วสวยจัง แล้วเคยเอามาเลี้ยงดูไหมครับ ว่าหลังจากนั้น อาการมันจะต่างๆ กันไป อาจจะไม่ค่อยสวยเหมือนที่ทางร้านเค้าเลี้ยง ถามว่า เพราะอะไร.....
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ
โต๊ะ สุชาติ โต๊ะทอง

สวัสดีครับพี่ๆทุกคน ผมกำลังจะกลับบ้านไปดูแลสวนยางที่จังหวัดสุราด สิ้นเดือนกันยายนนี้ แต่ผมไม่มีความรู้เกี่ยวกับสวนยางเลย จึงอยากรบกวนพี่ๆช่วยแน่ะนำด้วยครับ

สวัสดีค่ะคุณเม้ง

อ่านและรับความรู้เรื่องการใส่ปุ๋ย ปกติที่บ้านจะใช้ปุ๋ยธรรมชาติ เศษกิ่งไม้ ใบไม้ และหาซื้อปุ๋ยคอกบ้าง โดยเฉพาะถ้าเป็นพวกผลไม้ จะใช้ขี้แดดนาเกลือ ที่ได้จากการทำนาเกลือ ทำให้ผลไม้มีผลที่หวานขึ้นด้วยค่ะ

ความรู้เรื่องการใช้ขี้แดดนาเกลือนี้ได้มาจากกลุ่มมหาวิชชาลัยภูมิปัญญาท้องถิ่นสมุทรสงครามค่ะ

คุณเม้งสบายดีนะคะ  รักษาสุขภาพค่ะ

(^__^)

 

สวัสดีครับ ผมเพิ่งได้เข้าใจ วิธีใส่ปุ๋ย เนี่ยแหละครับ ผมได้ใส่ผิดมาตลอด คือ ใส่ ปุ๋ย วิทยาศาสตร์ เร่งใบ (เม็ดสีฟ้า) เร่งดอก (เม็ดสีแดง) ใส่ ทุก 15 วัน โดยใส่แบบ โรยลงไปที่รอบๆ โคนต้น ครับ ผมว่า ต้นที่ เป็นไม้ดอก ดอกจะเล็กลง ครับ ไม้ใบบางต้น จะมีใบใหม่ ที่มีอาการ หงิกงอ ครับ แต่ ตระกูลกล้วย ไม่มีปัญหาครับ จะออกใบ ขึ้นมา มากขึ้น ครับ จะสอบถามว่า ถ้าเราใส่ ปุ๋ย วิทยาศาสตร์ และ ใช้ดินกลบ เราเปลี่ยนเป็น ใช้ ปุ๋ยคอก กลบแทนได้หรือไม่ ครับ // หรือ ต้นไม้ที่เราเลี้ยง ในบ้าน หากเราต้องการให้ ดอกงาม ใบงาม ต้นเจริญเติบโต ดี เราใช้ ปุ๋ยคอก ธรรมชาติ ทั่วไป ใส่อย่างเดียวเพียงพอหรือไม่ ครับ ถ้าเพียงพอ ก็จะงด ใส่ ปุ๋ยวิทยาศาตร์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท