ดาบ ต้นไม้ ท้องฟ้า...ภาวนาแบบเซน


By the time sensei announced, "Meiso Yame! (Meditation Ends)," both my shoulders started to shake and sweats were pouring through my eyebrows I had to use my sleeves to wipe them afterwards.

 

kenzenichinyo

ภาพการฝึกสมาธิในสวนด้วยดาบไม้โดย นสพ.บางกอกโพสต์


 

**หมายเหตุ** เรื่องด้านล่างนี้ฉันไปยกมาจากบล๊อกที่เก็บภาพของฉันมาดื้อๆ แล้ววันนี้ ขี้เกียจแปลและเรียบเรียงเป็นวิชาการ ขอเชิญสมาชิกชาว gotoknow สนุกกับการอ่านเป็นเวอร์ชั่น soundtrack เสียงในฟิล์มก็แล้วกัน   เพราะฉันเหนื่อยมากแล้ว เนื่องจากวันนี้มีเรียนดาบถึงสองคลาส ต่อกัน คือ เทคนิคการใช้ดาบซามูไร (Battou Jutsu) และ spochan ที่เรียนพร้อมเด็กๆ  อนุบาลและประถมรร.ญี่ปุ่นในประเทศไทย   

 

อีกทั้งเป็นการเรียนกับเซนเซครั้งแรกหลังจากไปท่องยุทธภพ  เอ๊ย ไปรับทุนวิจัยที่ญี่ปุ่นเสียสามเดือนอีกด้วย  ถึงแม้เซนเซจะฝากฝังไปให้ฝึกต่อกับสำนักของเพื่อนของเซนเซของท่านอีกทีหนึ่งในโตเกียว  และที่นั่นซ้อมโหดกว่าที่นี่มากก็ตาม  เพราะฉันเพิ่งเห็นสัจธรรมว่า การวิ่งไล่จับนร.อนุบาลและป.๑  ญี่ปุ่นเข้ากระด้งนี่ทำให้ฉันเหนื่อยกว่าการแข่งชิงแชมป์โลกอีก  แหะ ๆ  

 
ตอนนี้ก็ว่าจะทยอยนำของเก่ามาไล่ลำดับการเรียนที่เมืองไทยของฉันก่อนจะบินไปวิจัยและแข่งที่ญี่ปุ่น เผื่อท่านทั้งหลายอาจจะได้รับประโยชน์จากการเล่าลักษณะนี้มากกว่า แต่ก็ไม่แน่ เผื่อมีเรื่องใดที่อยากจะแทรกก่อนก็อาจจะแทรก   ไม่มีข้อกำหนดตายตัว  วันนี้จะเป็นเรื่องตามคำขอของอาจารย์ของฉัน  ที่ท่านถามมาว่า  ท่าเอาดาบชี้ฟ้านี้คืออะไร....  J  ข้างล่างนี้เป็นคำอธิบายประกอบภาพนี้   ที่ฉันเขียนไว้ในบล๊อกเก็บภาพนั้น

 

If you look closely on the wooden sword I am holding, you would see the phrase "Ken Zen Ichi Nyo"  (剣禅一如) inscribed on it. 

 

Briefly speaking, it means sword and mind becoming one.   I first heard of this phrase when I read the novel about Musashi the legendary swordman.  Little did I knew that one day I myself  would be picking up the Bokuto (wooden sword) that is so big and heavy it reminds me of the wooden oar Musashi used in his last duel and got to feel it myself what this phrase really means.

 

In this photo, it was towards the end of our group practice.  Sensei led us into the garden, barefoot, to meditate in this position in circle around that big, hundred-year-old tree.   For how long, I didn't know, but long enough that sensei told us in the beginning that whoever could not hold the posture like you see in this photo throughout the end could mindfully lower the sword down midway to rest on the condition that their eyes must never leave the target (the tip of the sword) and they have to lift it up again slowly, mindfully.

 

Well, I have to thank my vipassana (mindfulness) meditation practice in Chiangmai because otherwise I wouldn't be able to make it!   I need to muster all the mental training I ever had in this life (and perhaps all the previous lives) to help me maintain my posture and focus.  Of course I could opt to rest but I would like to push myself to the limits also.  By the time sensei announced, "Meiso Yame! (Meditation Ends),"  both my shoulders started to shake and sweats were pouring through my eyebrows I had to use my sleeves to wipe them afterwards. 

 

But I loved the experience.  The big tree provided a great sense of focus and it was accommodating at the same time.  This is the way of the sword.  I like practicing at this place.  It reminds me of Musashi training himself among nature.  I could hear the waterfalls and the small creeks nearby.  And far away there were birds chirping and some other sounds of nature among the plants.  The sky was perfect blue and I love the way the wind breezed gently on my face.

 

I don't know what the future holds for me, but for the moment, I was enjoying learning to be in the present.  And looking at the tip of my Bokuto in the garden that day, what I saw ahead of me look very bright and promising indeed!

 

I really feel grateful for everyone who made it possible for me to have that experience.  I wish they could also have my peace of mind enjoyed at the very moment...

japanese swan

ภาพหงส์สีขาวลอยเดียวดายในลำน้ำท่ามกลางสีสันของฤดูใบไม้ร่วงของญี่ปุ่นสองข้างฝั่ง    ที่มาภาพ: http://farm1.static.flickr.com/10/13798883_80b54ea643.jpg


ความเห็น (17)

เราต่างก็เป็นคนที่เดินมาถึงหน้าประตู แล้วกลับนึกขึ้นได้ว่า ลืมกุญแจเอาไว้ที่ไหนสักแห่ง นึกเท่าไหร่ก็นึกไม่ออกว่ามันอยู่ที่ไหน แล้วจะให้ข้าพเจ้าแนะนำอะไรเล่า_

     หรือถ้าจะมีก็คงเป็นการขอยืมดาบของคุณนั่นแหละ พังประตูเข้าไป...แต่ว่าอย่าเลยนะ เราต่างก็ใช้ดาบของตนไปก่อนดีกว่า ถ้าดาบของใครคมกว่า แล้วค่อยว่ากันใหม่ ไม่แน่นะดาบของคุณ อาจช่วยเปิดประตูของข้าพเจ้าก็เป็นได้...

     แน่นอน เราก็ยังต้องฝึกต่อไปนั่นแหละทั้งชีวิตก็ได้ ขอให้ซาโตริก็แล้วกัน...กำลังใจที่มี ขอมอบให้ครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งอยู่ที่คุณแล้ว ไม่ได้ลึกซึ้งอะไร...

หมายเหตุ:-ดาบของคุณ มันอยู่ในมือของคุณ ไม่ใช่อาจารย์ แม้อาจารย์เองก็ขีดเส้นให้คุณเดินไม่ได้ อาจารย์เซนเซพยายามชี้หนทางให้เดินไปคุณแล้ว เห็นบ้างหรือไม่_ดาบไม่ได้อยู่ที่ใจ ใจก็ไม่ได้อยู่ที่ดาบ ถ้าคุณชื่นชมอาจารย์เซนเซ ดาบก็ยังอยู่ที่อาจารย์นั่นเอง_ขออภัยถ้าได้แสดงความเขลาออกไป
การเรียน ของคุณณัชร เหมือนกับการได้ฝึกสมาธิ อย่างอดทน ทุกวันลยนะคะ อ้อ ! อดทน และก็มีความสุขด้วย ................their eyes must never leave the target ...... ชอบประโยคนี้คะ นำไปคิดเปรียบเทียบได้หลายเรื่อง ....เคยอ่าน มูซาชิ มารอบหนึ่ง นานมากแล้วคะ อ่านแล้วก็รัก มูซาชิ ด้วยคะ--------------- คิดว่า เราจะทำใจของเราเป็นแบบ มูซาชิได้อย่างไร ตื่นเต้นกับ มูซาชิไปได้หน่อย ก็ไปอ่านเรื่องอื่น อีกแล้ว ....แล้วหนังสือเล่มนี้ นักศึกษา ม.อุบลฯ ก็ขอไปคะ ก็ให้ไปเลย ดีใจ ถ้าใครอยากมีใจแบบนี้ .....วันนี้จะไปซื้อ พระเอก กลับมาอ่านอีกรอบคะ.......แต่สู้ อ่าน แล้วฝึก ปฏิบัติแบบ คุณณัชร ไม่ได้.....ของจริง....แฮ่ะๆ

ขอบคุณที่อธิบาย

เข้าใจมากขึ้นว่าการฝึกซามูไร คือการฝึกใจ

สร้างวินัย ฝึกความอดทน สั่งสมสมาธิ คือพื้นฐาน

ท่าทางและเพลงดาบนั้น ล้วนมาจากธรรมชาติ

ประสานกันเป็นหนึ่งคือเอกภาพ

ซามูไรชั้นสูง...

ใช้ดาบมิใช่ฆ่าคน แต่ฆ่ากิเลสในใจตน

Hi P'Nash:
This is Yai from Vancouver ka. I have been in Thailand for a couple of weeks now but I haven't got a chance to check out gotoknow until just now. It's great seeing you here na! You have a lot to offer jing jing. Sorry I can't type Thai with this computer but will be back online more often with my own computer in the next two week and will be a follower of your blogs for sure : ) Happy New Year ka.
ps. we're going to Kyoto and will visit the martial arts centre there. I'll blog about the trip in 2 weeks time. stay tuned.
  • ตามมาแทบไม่ทัน
  • ขอบคุณที่ตามไปตอบหลวงพี่ ทึ่งมากครับ
  • ชอบประโยคนี้ครับ
  • it means sword and mind becoming one
  • เข้าใจผิดมานานว่าฟันท้องฟ้า ยิ้ม ยิ้ม

สวัสดีค่ะ คุณณัชร

        ติดตามอ่านเรื่องของคุณมาเรื่อยๆ  คุณณัชรเขียนเรื่องได้น่าอ่านมากเลยค่ะ  มีประสบการณใหม่ๆมาเล่าให้ฟังเรื่อยๆ  ดูการฝึกฟันดาบแบบญี่ปุ่น ทำให้นึกถึงการเรียนฟันดาบแบบมัธยมของไทยเลย  น่าจะสนุกพอๆกันนะคะ

        ปีนี้กำลังหาโอกาสไปชาร์ตแบตอยู่ค่ะ  อาจได้เจอกันในเดือนกุมภาพันธ์ 

         อยากถามคุณณัชรว่า  ตอนนี้ถือดาบแล้วรู้สึกว่าดาบเบาหรือยังคะ  ตามอ่านตอนแรกๆที่ฝึกเห็นบ่นว่าดาบหนักมากๆๆ

สวัสดีค่ะ ทุก  ๆ  ท่าน ขออภัยที่กลับเข้ามาตอบช้า เพราะบาดเจ็บเล็กน้อยจากการที่อาทิตย์ที่แล้วเซนเซเพิ่มเวลาเรียนเป็นสองคลาสยาวแล้วสอนเพิ่มอีก ๑  ศิลปป้องกันตัวโบราณขึ้นมาด้วย คือ การฝึกไม้พลอง(ไม้เท้า?) 

 

ดังนั้น นอกจากวิ่งไล่จับเด็กอนุบาลแล้ว เลยกล้ามเนื้อแขนขวาเดี้ยงไปชนิดต้องไปทำกายภาพอยู่หลายวัน  เพราะไปทำผิดท่า คือ เกร็งกล้ามเนื้อแขนที่ถือแท่งไม้ขึ้นบล๊อกดาบไม้เซนเซที่ฟาดลงมาแบบสั่งสอนถึงลูกถึงคนนั่นเอง

 

ถ้าใช้ "ใจ" เรียน และเคลื่อนไหวถูกวิธี  กายใจเป็นหนึ่งอย่างที่เซนเซสอน ไม่ไปเกร็งเสียก่อนด้วยความกลัว (เสียงมันดังสนั่นหวั่นไหวเลยนี่คะ แหะ ๆ) ก็คงไม่เจ็บอย่างนี้   นี่แหละน้า...ใจมนุษย์  เจ็บตัวเพราะความกลัวของตัวเองเป็นเหตุแท้ ๆ เชียว

 

คุณ อนุเซน  รินไซ ที่เคารพ  ขอบพระคุณมากค่ะที่กรุณาแวะเวียนเข้ามาอีกครั้ง  นึกว่าจะไม่ได้มีโอกาสเห็นข้อความ ข้อคิด จากคุณอีกเสียแล้ว

ล้ำลึกมากค่ะ ทุกข้อความ คำแนะนำที่คุณให้  จะน้อมรับฟังไว้และค่อย  ๆ ขบคิดพิจารณาปฏิบัติไป ชอบมากที่สุดที่ว่า ถ้ายังชอบเซนเซ  ดาบก็คงยังอยู่ที่เซนเซนั่นเอง....อื้อหือ...ลึกซึ้งจริง ๆ ค่ะ

คุณ ดอกแก้ว ที่รักและคิดถึง,  

สบายดีไหมคะ?  โอ๊ยยยย อย่างคุณดอกแก้วนั้นวิทยายุทธเลยหน้าข้าพเจ้าไปถึงไหน ๆ แล้ว  ไม่ต้องไปอ่านมูซาชิอีกรอบแล้วล่ะค่ะ (นอกจากอยู่ในอารมณ์อยากจะอ่านเล่นเฉย ๆ ฮิ ๆ)  ต้องบอกว่า  ขอไปเรียนรู้สิ่งที่คุณดอกแก้วได้เรียนทุกวันอย่างใกล้ชิดกับป่าและเด็ก ๆ ดีกว่า  เพราะนั่นคือของแท้ ของจริง ที่บริสุทธิ์สะอาดไม่มีอะไรเจือปนที่สุดแล้ว

 

ในภาพนี้ที่แบกดาบไม้ไปยืนใต้ต้นไม้ยักษ์   ก็เพียงเพราะต้องการหวนกลับคืนสู่ธรรมชาติของกายและใจตัวเองนั่นเองไม่ใช่อื่นไกล  ถึงบอกว่าในแง่นี้คุณดอกแก้วเซียนกว่าหลายขุม ฮิ ๆ

 

และจะว่าไปแล้ว ตอนที่อ่านมูซาชิ ก็แปลกนะคะที่ไม่ได้ชอบมูซาชิ หรือ นึกว่าเขาเป็นพระเอก ดันไปสนใจและชื่นชอบพระเซนในเรื่ององค์นั้นแทน    ที่ชื่อท่านทัคคุอัน น่ะค่ะ 

 

ตอนหลังแปลกมากเพราะทำวิทยานิพนธ์ไปมาแล้วมีเหตุไปโยงใยถึงท่านได้อีกในเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับมูซาชิ ชะรอยจะมีอะไรดลใจให้สนใจท่านเป็นพิเศษก็ไม่ทราบ ไปญี่ปุ่นหนนี้เลยดั้นด้นไปคารวะหลุมฝังศพท่านเสียเลย    แต่ไปแล้วก็สลดใจมากเพราะคุณดอกแก้วเชื่อไหมคะว่าคนญี่ปุ่นดูเหมือนจะลืมท่านกันเสียแล้ว  นี่ล่ะค่ะ ความไม่เที่ยง....

 

แล้วจะแวะไปคุยด้วยที่บล๊อกอีกนะคะ  เหลือกายภาพอีกสองวัน แหะ ๆ  แย่เลยหนนี้  ดีนะที่เซนเซมีหยุด๒อาทิตย์จากนี้   เพราะหนนี้บอบช้ำมาก    อยากจะเขียนอะไรอีกหลายอย่าง  ทำงานอะไรอีกหลายชิ้น  พอดีไม่ต้องเป็นอันทำกัน  ไปนอนแอ้งแม้งอยู่รพ.เสียแล้วข้าพเจ้า  รวมเวลาเดินทางแต่ละวันด้วยแล้วก็...จบข่าว หวังว่าวันเด็กที่ผ่านมา  ที่เด็กรักป่าคงจะสนุกสนานกันดีนะคะ คุณดอกแก้ว :)

 

ณัชร

 

อาจารย์ที่เคารพ,

ด้วยความยินดีค่ะอาจารย์   นาน ๆ ทีหนูจะได้ทำตัวเป็นประโยชน์เล็ก ๆ น้อย  ๆ ตอบคำถามอาจารย์ได้บ้างจากประสบการณ์ตัวเอง  เพราะปกติคอยแต่จะถามนู่นนี่อาจารย์อยู่เรื่อย

 

ที่อาจารย์สรุปมาทุกอย่างนั้นใช่หมดเลยค่ะ โห...หนูต้องอ่านทบทวนวรรณกรรมแทบตายกว่าจะมาสรุปได้ที่สองประโยคสุดท้ายของอาจารย์ แล้วเดิมนั้นหนูก็กะจะใช้ที่อาจารย์สรุปมานั้นน่ะค่ะ เป็นชื่อวิทยานิพนธ์  คือ

 

"Taming the Enemy Within: Constant Mindfulness Training of Japan's Peace-Time Samurai (Tokugawa Period 1603-1868)"

 

หรือ 

 

"เรียนรู้ศัตรูภายในใจ: การเจริญสติอย่างต่อเนื่องในชีวิตประจำวันของซามูไรญี่ปุ่นยุคปลอดสงคราม (ยุคโตกุกาว่า คศ.  ๑๖๐๓-๑๘๖๘)"

 

แต่ทีนี้อาจารย์ที่ปรึกษาหนูที่ญี่ปุ่นท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญทางสังคมวิทยา  ท่านเลยอยากให้มีการเปรียบเทียบเรื่องการเจริญสติในบริบทของแต่ละสังคม โดยให้โจทย์หนูยากมากเลยค่ะ

 

คือจะเป็นทั้งไทยด้วย  แล้วก็ญี่ปุ่นด้วยโจทย์หนึ่ง  (เราจะเอาซามูไรจากไหนไปเปรียบกับเขาล่ะคะเนี่ยอาจารย์ แหะๆ  เรามีการเจริญสติกันต่อเนื่องในชีวิตประจำวันกันในสังคมโบราณเหมือนเขาไหมคะ   หรือมีเฉพาะในวัด)  แล้วก็เปรียบเทียบระหว่างญี่ปุ่นเองในสองบริบทสังคมอีกโจทย์หนึ่ง

 

ระหว่างของญี่ปุ่นเองนั้นไม่ยาก  เพราะหนูจะเทียบสังคมโตกุกาว่า  กับสังคมยุคเมจิ  ซึ่งใช้วิเคราะห์จากเอกสารเกี่ยวกับบูชิโดทั้งสองยุคเอา  เพราะมันต่างกันมาก  ๆ เห็นได้ชัดเลยล่ะค่ะอาจารย์   สมัยที่ยังมีชนชั้นซามูไรจริง ๆ นั้นอิทธิพลเซนและ การนำการเจริญสติมาใช้ในทุก ๆ อย่างของชีวิตยังมีอยู่เยอะ   แต่พอเป็นยุคเมจิแล้วเป็นยุคชินโตแล้ว การเจริญสติก็ไม่เหลือเลย  บูชิโดเป็นเพียงอุดมการณ์ที่โดนนำไปใช้เป็นเครื่องมือการเมืองไปเสียอย่างนั้น

 

สรุปว่าหนูเลยได้ปรึกษาอาจารย์ผ่านบล๊อกเสียแล้วขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

 

ณัชร (กำลังมึนกับโจทย์)

สวัสดีจ้า....น้องYai,:)

Is this destiny or what?  I keep running into you EVERYWHERE on  the internet, except in person!  hee hee hee :-)

 

ได้แวะไปดูบล๊อกของใหญ่มาแล้ว ดีใจมากที่ได้อ่านเรื่อง Kyudo!   ได้รับความรู้มากมาย ขอบคุณนะจ๊ะ  สงสัยอีกหน่อยเราคงได้จัด  Workshop ด้วยกันแน่ ๆ เลยนิ ฮิ ๆ

 

แล้วได้อ่านประวัติใหญ่เพิ่มเติมด้วย ยิ่งนึกอนุโมทนาเข้าไปใหญ่ (จากเดิมที่รู้อยู่แล้วน่ะ)

 

จะไปเกียวโตเหรอ?  ไปเยี่ยมน้องสาวเหรอจ๊ะ? Bon Voyage นะ   ทำไมไปตอนนี้ล่ะ (ฟังดูเป็นหนีหนาวไปพึ่งหนาวยังไงก็ไม่รู้นิฮิ ๆ)   แต่เกียวโตก็สวยทุกฤดูแหละ   อิจฉาหนอๆ ๆ ๆ  เสียดายเราคลาดกันแค่อาทิตย์สองอาทิตย์เอง ไม่งั้นคงได้เจอกันที่โตเกียวเสียหน่อยด้วยเนอะ?  ว่าแต่ว่าอยู่กรุงเทพกี่วันเนี่ย?

 

พูดถึงเกียวโต....คิดถึงเกียวโตเหมือนกันเนอะ อารมณ์เหมือนเชียงใหม่เลยน่ะ  คือซ้ายก็วัด  ขวาก็วัด  ครั้งหนึ่งคิดว่ามีวัดมากกว่าเซเว่-อีเลเว่น  แต่ตอนนี้ไม่แน่ใจแล้ว

 

ไปศูนย์ศิลปป้องกันตัวด้วยเหรอ  ดีจัง  รู้แล้ว  ไป TaiKai  หรือเปล่า? ตอนต้นปี  เดือนแรกนี้พวก Kyudo เขาชอบมีแข่งหรือ โชว์กันเนื่องจากเป็นกิจกรรมคู่กับวันฉลองบรรลุนิติภาวะน่ะ  ตอนที่พี่ไปเกียวโตได้อ่านเอกสารของเมืองนั้น  เขาบอกประมาณวันที่๒๐  มค.นี้แหละใช่ไหม? ตกลงไปแข่งหรือว่าไปดูน่ะ?   

 

ถ้าเป็นพวกของสายพี่  คือดาบชนิดต่าง ๆ  กับพวกทวน  ไม้พลอง ฯลฯ   จะเป็นช่วงเดือน ๑๑ ที่ศาลเจ้าเมจินะ  และเขามีขี่ม้ายิงธนูด้วย  นั่นก็เท่มาก  แม่นเหลือเชื่อ ควบเร็วจะตาย และม้าก็ไม่ตื่นคนด้วย  บังเหียนโบราณด้วยนะ 

 

สวัสดีปีใหม่ด้วยคนจ้ะ,

 

พี่ณัชร

สวัสดีค่ะ คุณขจิต ผู้ว่องไวปานกามนิตหนุ่ม, ยิ้ม ยิ้ม

ก่อนอื่น ต้องออกตัวก่อนเลยค่ะว่า  ความจริงไปปล่อยไก่เสียหลายตัวหรือเปล่าก็ไม่รู้ที่ไปตอบในบล๊อกของคุณขจิต  เพราะตัวเองก็ยังนับว่าเป็นผู้รู้น้อยอยู่มาก  

 

ของจริงต้องนู่นเลยค่ะยกให้อ.พิชัย  เพราะถ้าจะมีความรู้ใดๆที่เกี่ยวกับทางธรรมนั้นก็ไปอาศัยครูพักลักจำมาจากอาจารย์ทั้งนั้นเลยล่ะค่ะ  ไม่มีที่อื่น แหะ ๆ

 

เพราะฉะนั้น  ถ้าจะชม ก็ขอยกความดี ความชอบ และเครดิต พร้อมทั้งอานิสงส์ผลบุญให้อ.พิชัยท่านไปทั้งหมด   ส่วนถ้าเกิดป้ำ ๆ  เป๋อ ๆ ตอบผิดพลาดไป  ก็ขอน้อมรับผิดไว้แต่เพียงผู้เดียวนะคะ  อาจารย์ท่านสอนมาดีแล้ว แต่ลูกศิษยอาจจะเผลอไปบ้าง เพิ่งเรียนก็อย่างนี้น่ะค่ะ จำผิด จำถูก  มีเพียงกุศลเจตนาเท่านั้น

 

ว่าแต่ว่า  คุณขจิต นำการ์ตูนน่ารักๆ เช่นลายซามูไร และลายเทปปันยากิ มาฝากไว้ในห้องคำถาม เหมือนที่นำไปฝากอาจารย์พิชัยบ้างซิคะ ฮิ ๆ  (เริ่มขอ)   จะได้มีโอกาสนำสีสันไปฝากท่านอื่น ๆ บ้างเวลาไปเยี่ยมบล๊อกเขา เหมือนที่คุณขจิตทำ   ฮิ  ๆ  ขอบพระคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ,

 

ณัชร

ป.ล.  ชอบประโยคนั้นเหมือนกันค่ะ  แต่ว่าทำยากมาก  แต่ว่าพอทำไปๆ แล้ว  จะพบว่า  แม้นดาบก็ไม่อยากมี  และใจก็มีอยากมีค่ะ  (มันทุกข์มากไงคะ)

คุณหมอ  อนิศรา สวัสดีค่ะ,

ขอบพระคุณมากค่ะ  ที่กรุณาแวะมาอ่าน และแวะให้คอมเม้นท์   การได้มีคนที่เคยรู้จักมักคุ้นแวะมาทักทาย  ก็อบอุ่นใจดีค่ะ

 

และไม่บังอาจรับคำชมหรอกค่ะ  ก็เพียงแต่เล่าเรื่องราวที่ได้ประสบไปตามความเป็นจริงเท่านั้น  ไม่มีอะไรอื่น    เชื่อว่าชีวิตทุกคนถ้านำมาเขียนเป็นเรื่องเล่า  ก็คงล้วนน่าอ่าน  เพียงแต่ไม่มีใครคิดจะเขียนเรื่องราวของตนอย่างละเอียดเท่านั้นเอง 

 

คุณหมอว่างั้นไหมคะ?

 

แปลกเหมือนกันที่คุณหมอพูดถึงดาบไทย  คือตัวเองคิดว่าอาจจะเคยเรียนท่าไหว้ครูกระบี่กระบองตอนมง๒  น่ะนะคะ  เพราะเป็นวิชาบังคับที่ทุกๆ คนต้องเรียนเหมือนกัน  แต่เชื่อไหมคะว่า  จำอะไรไม่ได้เลย   ทราบแต่ว่า  เป็นวิชาที่ไม่สนุก เหมือนรำไทย  และน่าเบื่อมาก

 

เลยคิดว่าชีวิตคนเรา ถ้าวิบากกรรมยังไม่ส่งผลให้ถึงเวลาที่จะสนใจอะไร ก็คงไม่สนใจ  ตอนนี้นะคะ อยากเรียนจะแย่   ตั้งแต่อยู่ญี่ปุ่นแล้วค่ะ  พยายามสืบหาที่เรียนต่าง ๆ เพราะคิดว่าถ้ามีแรง และเวลาเหลือ  ก็อยากจะเรียนเพื่อเปรียบเทียบสักเล็กน้อย 

 

หมายถึง นอกจากเรียนด้วยความเคารพและแสดงกตเวทิตาจิตต่อบรรพบุรุษไทยเราที่เสียสละรักษาบ้านเมืองไว้ให้เราน่ะนะคะ ก็อยากเรียนเพื่อเข้าใจวิธีคิดของคนไทยสมัยโบราณ เพื่อเปรียบเทียบว่ามีการนำการเจริญสติเข้าไปใช้ในการฝึกฝนวิชาดาบหรือไม่  อย่างไร

 

เพราะที่มาเรียนดาบญี่ปุ่นนี้  ไม่ได้เรียนเลยเพราะอยากเรียนดาบ  แต่มาเรียนเพราะเซนเซมาประกาศว่าจะสอนสมาธิแบบเซนน่ะค่ะ  เลยไปสมัคร  วิชาดาบนั้นเป็นผลพลอยได้ที่มาทีหลัง  แบบจับพลัดจับผลู

 

แต่จะว่าไปแล้ว  ก็ใช่ว่าจะมีความรู้ดีสักอย่าง ก็ยังเพิ่งเริ่มต้นเรียนทั้งสองอย่าง ล้มลุกคลุกคลานไปตามเรื่อง

 

ก็อธิษฐานอยากขึ้นไปเดือนกพ.เหมือนกันค่ะที่เชียงใหม่  สมัครไว้แล้ว   หวังว่าคงจะได้ไป แล้วคงได้เจอกันค่ะ

 

อ้อ, คำถามเรื่องดาบหนักไหมนั้น เป็นคำถามที่ดีมาก ๆ เลยค่ะ คุณหมอ

 

เพราะว่าคือหัวใจของการฝึกอย่างหนึ่งก็ว่าได้

 

เคยมีบางคนไปบ่นกับเซนเซหลังจากฝึกท่านี้น่ะนะคะว่า  ดาบหนัก

 

เท่านั้นเอง  โดนดุเลย  เซนเซบอกว่า  "ก็เพราะใจร้อนน่ะซี่"   แล้วเซนเซก็บอกต่อว่า "ถ้าใจไม่ร้อน  ก็ไม่หนัก"

 

ตอนแรกก็อยู่ในเหตุการณ์ด้วย   (และนึกดีใจที่ไม่ได้บ่นออกไป)  แต่ก็นึกในใจว่า  มันจะเป็นไปได้อย่างไร  ที่ดาบใหญ่ขนาดนี้จะไม่หนัก  (เท่าใบพายพายเรือน่ะค่ะ ไซส์มูซาชิจริง ๆ ค่ะ  และเป็นไม้จากญี่ปุ่น  ข้างในตัน มีนน.ที่ไม่น้อยเลย  ไม่อยากจะใช้คำว่าหนักมากอีก  นึกแล้วเสียวๆ กลัวเซนเซลอยมาดุกลางอากาศค่ะ ฮิ ๆ)

 

แต่พอฝึก ๆ ไป  แล้วก็นึก ๆ  ถึงสิ่งที่เซนเซเคยสอน ๆมาทั้งหมด  ทั้งเรื่องเทคนิคทางร่างกายจริง ๆเวลาฝึกดาบเหล็กจริงๆ  และเรื่องใจ  ไป ๆมา ๆ แล้วรู้สึกว่ามันไม่หนักอย่างที่คิดจริง ๆ ด้วยค่ะ

 

และมีอยู่หนนึง  (มั้งคะ ไม่น่าจะเกินสองหน)  ที่รู้สึกว่าดาบ  "เบา" หรือ "ไม่มีน้ำหนัก"   เลยด้วยซ้ำ   ไม่รู้ไปทำอีท่าไหน   ให้ทำอีกทีก็คงทำไม่ได้แล้ว   จริง ๆ คิดว่าคงจะฟลุคมาก ๆ น่ะค่ะที่ทุกอย่างลงตัวลงล็อคพอดี  ตอนนั้นคิดว่าสบายมาก   สามารถยืนได้นิ่งเฉยเลย   คิดว่าให้ยืนอีกเป็นชม.ก็ได้ (ทำซ่า...นั่น ทำเป็นไม่รู้จักความไม่เที่ยงเสียแล้ว)

 

แต่ทั้งหมดนี้   การฝึกนี้สอนให้รู้จักการมองเข้าไปใน ไจ" เราเสียล่ะมากกว่าค่ะ   นอกเหนือจากการสอนให้รู้จักมีเทคนิคในการอยู่กับปัจจุบันได้ดีน่ะนะคะ  การเห็นการแปรเปลี่ยนของใจในตลอดเวลานั้น  และเห็นเหตุและผลที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตลอดเวลา  มันก็ทำให้เราเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับตัวเองได้เยอะเหมือนกัน    โดยเฉพาะเวลาฝึกกับหมู่คณะนี่  มันเห็นอีกหลายอย่างด้วยค่ะ อธิบายไม่ถูก

 

แต่ที่แน่ ๆ  ตอนนี้เจอการเรียนอาวุธใหม่   แขนเดี้ยงไปแล้วเรียบร้อยค่ะคุณหมอ เจอเจ้าหน้าที่กายภาพเขาทำหน้างง ๆ เลยว่า    นี่คุณเจ็บครบทุกกล้ามเนื้อแขนเลยหรือนี่  เหมือนนักกีฬาเทนนิสและกอล์ฟรวมกัน

 

เขาถามว่าปกติมันต้องทำท่ายังไงหรือถึงได้เจ็บครบกล้ามเนื้อทุกมัดอย่างนี้   ก็เลยบอกเขาไปว่า ถ้าทำถูก มันจะไม่เจ็บ  แต่นี่ทำไม่ถูก มันจึงเจ็บ ส่วนเรื่องท่านั้น  ไม่มีท่าแน่นอนตายตัวถ้าหมายถึงเวลาเข้าสังเวียน เพราะเวลาสู้เพื่อเอาตัวรอด   หรือในการแข่งขันจริงๆ แล้ว  มันก็คือเหมือนมวยนั่นแหละ คือป่ายซ้ายป่ายขวาโรมรันฟันแทงทำยังไงก็ได้เพื่อทำคะแนนและปกป้องการโจมตีจากอีกฝ่าย

 

แต่ที่คันปากยุบยิบแต่ไม่กล้าบอกเจ้าหน้าที่กายภาพไปก็คือเรื่องของวิบาก  และเรื่องของทุกข์ของการเกิดแก่เจ็บตาย   เพราะเกิดเป็นคนยังไงก็หนีเรื่องทุกข์จากการเจ็บไม่ได้แน่   มันก็เป็นธรรมดาของมัน เราไปสร้างเหตุมันเอง   มันไม่ได้เป็นเพราะอะไรพิเศษของมันหรอก   ก็เป็นเพราะเรามีร่างกายธาตุขันธ์นั่นแหละ มันถึงเจ็บ แต่ขืนตอบอย่างนี้คนที่ไม่เข้าใจเขาคงรำคาญหรือคิดว่าเราบ้า  แล้วจะพาลนัดให้ไปคุยกับหมอโรคจิตต่อ   พอดีไม่ต้องกลับบ้านกัน แหะ  ๆ

 

สวัสดีค่ะ,

 

ณัชร

สวัสดีค่ะ คุณณัชร

      เรียนดาบไทย  หมอว่าเชียงใหม่น่าจะมีสอนนะคะ เพราะตอนเวลาไปดูโชว์ขันโตก จะมีตีกลองกะฟันดาบประจำหนะค่ะ  ลองถามจากที่จัดขันโตกประจำน่าจะได้ความนะคะ

      เรื่องดาบนี่  กีฬาอะไรที่ด้ามยาวๆ ไม่ค่อยถนัดเลยค่ะ  ตอนหมอเรียนก็ดูเหมือนจะแค่รำดาบ คิดเหมือนกันว่า มันน่าเบื่อจริงๆ ให้เต้นลีลาศยังสนุกกว่าเยอะแยะ  ยังจำได้ว่าตอนนั้นเรียนพุ่งแหลนไม่เอาอ่าวเลย  พุ่งไปมันตกข้างหน้าเลยได้ระยะเมตรเดียว โดนอาจารย์หัวเราะเยาะซะ  แต่มั่นใจว่าถ้าได้มาพุ่งตอนนี้น่าจะดีกว่าเดิม เพราะเรามีวิชาเจริญสติแล้ว

        พูดถึงดาบหนักนี่  หมอนึกถึงเสื้อตะกั่วตอนเรียนx-ray เลยค่ะ ต้องหอบเสื้อตะกั่วหนักพอดู เครื่องมือก็หนักจำได้ว่าเรียนอาทิตย์แรก เล่นเอาเหนื่อยไปทั้งกายและใจ ตื่นเช้ามาปวดเมื่อยไปหมดพอสักเดือนนึงมั๊งคะ เสื้อตะกั่วก็ไม่หนักแล้ว  อย่างอื่นหนักกว่าค่ะ 555

        รู้ข่าวว่าคุณณัชรป่วยหลายโรคขอให้หายดี สุขภาพแข็งแรงปกติโดยเร็วๆนะคะ  หมอว่าคุณเจอบททดสอบเร็วเลยเก่งเร็วเลยค่ะ  หมอซะอีกที่ยังแย่อยู่เลย เวลาเจ็บป่วยที ดูใจตัวเองจะป่วยกว่ากายซะอีก  สอบตกเรื่อยเลยแหละค่ะ

นึกว่าคุณณัชร ไปเที่ยวไหน ซะอีก

ไปมา โรงพยาบาลนี่เอง....รักษาสุขภาพนะคะ...

หนูณัชร

ชื่อวิทยานิพนธ์ ไพเราะห์และมีความหมายดีมาก

ศูตรในใจ หมายถึงถึง ความเกียจคร้าน ความไร้วินัย นิสัยจับจด ห่าม ไม่ซึมซับรับคำสอนในธรรมชาติ สติอ่อน จิตไม่ตั้งมั่น มัวเมาในสิ่งเพลิดเพลิน และ ขาดปัญญา

ไม่ว่าซามูไรหรือผู้ปฏิบัติ ต่างต้องผ่านบทเรียนชั้นต้นนี้

หนูอาจยกสังคมสมัยอยุธยา ซึ่งพอเปรียบเทียบได้กับสังคมญี่ปุ่น ในเรื่องของการอบรมการต่อสู้ วิชาการต่อสู้ด้วยมือปล่าวและเพลงดาบของสำนักพุทธไธยสวรรค์ก็ใช่ย่อย มีท่าที่อ้างอิงธรรมชาติ ลีลาของสัตว์ป่าและการตัดข่มนาม ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน หากสนใจจะแนะนำเพื่อนผูรู้ของอาจารย์ให้ และยกสังคมไทยสมัยสุโขทัยที่อาจารย์ว่าการเจริญสติในสมัยนั้นรุ่งเรืองมาก เพราะดูจากกิริยา มรรยาทไทยตลอดจนงานศิลปไทยในสมัยนั้น ต่างบ่งชี้ถึงการเข้าถึงพุทธธรรมทั้งสิ้น

ขอให้หายมึน K โดยไม่พึ่ง Y

ขอบพระคุณมากค่ะ อาจารย์ ที่สำหรับคำชมเรื่องชื่อวิทยานิพนธ์

และขอบคุณยิ่งกว่าที่ให้สติเรื่อง "ศัตรูในใจ" ค่ะ

หนูสะดุ้งไปแปดตลบ เพราะกำลังคิดว่าตัวเองกำลังเป็นครบทุกอย่าง  ต้องกำหนดเป็นการใหญ่แล้วไปเร่งทำการงานที่ยังคั่งค้างต่อไปค่ะ

เดี๋ยวหนูเขียนโครงเป็นคร่าว ๆ อีกทีแล้วจะอัพโหลดไฟล์ไว้ในนี้แล้วส่งลิ้งค์ไปให้อาจารย์ตรวจนะคะ  ถึงตอนนั้น อาจจะต้องรบกวนถามเพื่อนอาจารย์ที่ทราบเรื่องดาบพุทธไธยสวรรค์น่ะค่ะ

เรื่องการเจริญสติสมัยสุโขทัยหนูก็สนใจจะใส่เข้าไปค่ะ  กำลังนึกอยู่ว่าจะดึงประเด็นไหนเข้ามาเทียบให้เห็นชัดดี  เพราะซามูไรในที่นี้มองในแง่เป็น "ชนชั้นปกครอง" น่ะค่ะ

คล้าย ๆ กับการเจริญสติของชนชั้นปกครองนี่  ที่มีอิทธิพลไปถึงชนชั้นอื่น ๆ น่ะค่ะ  เดี๋ยวขอลงรายละเอียดก่อน แล้วจะอัพโหลดไฟล์ค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ,

ณัชร

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท