อนงค์ศิริ
รองศาสตราจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย

คำตอบ


ความขี้ลืม

นางสาวปัญญา วิวัฒวันทนา

อนงค์ศิริ
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ตอบ ปัญญา

อ้าว อ้าว นึกว่ามีแค่คนแก่ๆ  ที่ชอบลืม

หนุ่มๆสาวๆ ลืมเหมือนกันเหรอ  (แฮ่ม !)  อ่านะ ฟังเพลงนี้สิ

จำ จำ จำ บอกให้จำ ทำไมกลับลืม    ลืม ลืม ลืม บอกให้ลืมทำไมกลับจำ  แหมมันน่าขำ  ๆ บอกให้จำทำไมกลับลืม  บอกให้ลืมทำไมกลับจำ

ความทรงจำของคนเราหมอบอกว่ามี 2  ประเภทคือความจำระยะสั้นและความจำระยะยาว ความจำระยะสั้นจะบันทึกข้อมูลได้เพียง 5 - 7 รายการ และอยู่ได้นานประมาณ 60  วินาที แต่ความทรงจำระยะยาวอยู่ได้นานหลายนาทีจนถึงหลายปี เชื่อมั้ยว่า มากมายถึง 100 ล้านล้านรายการ(คอมพิวเตอร์เก่งยังจำเพียง  พันล้านรายการ)

แต่ความจำระยะยาวต้องอาศัยการตอกย้ำ เช่น การฝึกซ้อม ท่องจำหรือเรียนรู้อย่างมีความหมาย  เป้นแบบฝังใจ ประทับใ

ที่เราลืมเพราะสมองบันทึกเป็นความจำระยะสั้น  อยากให้จำระยะยาวต้องหาวิธีช่วยย้ำ ช่วยเตือนความจำ  ไงล่ะ

เอ๊ะ !~~~~  แล้วที่เรียน เรียนไป จะจำได้รึเปล่า  เถอะนะอ่านหนังสือมากๆ ทำเครื่องหมาย ทำสัญลักษณ์ ช่วยความจำและอ่านอย่างมีสมาธิ รับรองว่า  ไม่ลืมครูแน่ ว้าย !!!!!!ดีค่ะ  ปัญญาถามเพื่อน ๆคงได้ประโยชน์ด้วย  อย่าลืมแวะมาคุยกันอีกนะคะ/จากครู

สายตา

น.ส.เจนจิรา กระจ่างโฉม 48161206 (sec B)

อนงค์ศิริ
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ตอบ เจนจิรา  กระจ่างโฉม

สายตาสั้น(Myopia) เกิดจากลูกตาช่วงหน้าไปถึงหลังยาวเกินไป  แม้จะมองวัตถุที่อยู่ใกล้ได้ชัดเจน แต่สำหรับวัตถุที่อยู่ไกล แสงจะตกที่จุดโฟกัสสายตาก่อนถึงจอตา ทำให้เห็นภาพไม่ชัดเจน แว่นตาที่ใช้เลนส์เว้าจะช่วยปรับให้ภาพวัตถุที่อยู่ไกลมาโฟกัสที่จอตา

เมื่ออายุมากขึ้น แก้วตาจะยืดหยุ่นน้อยลงและปรับโฟกัสใกล้ไกลได้ไม่ดี  จะมองสิ่งที่อยู่ไกลชัดเจนกว่าสิ่งที่อยู่ใกล้  จึงเชื่อกันว่าคนที่สายตาสั้นมาก่อนพออายุมากขึ้นสายตาน่าจะปรับได้  เราควรดูแลสายตา ปรึกษาหมอตาและดูแลสุขภาพทั้งกายและจิต สม่ำเสมอ

ครูตอบเท่าที่ครูพอจะรู้นะคะ  เดี๋ยวคนอื่นจะถามว่าแล้วกลายเป็นหมอเสียเมื่อไหร่  ? !!!  ขอบใจนะคะที่แวะมาคุยกัน อย่าลืมอ่านบทความอื่น ๆด้วยจ๊ะ /จากครู

คนสวยที่มีปัญหาค่ะ

นางสาวพิไลลักษณ์ อะกะเรือน 48121328 sec.H

อนงค์ศิริ
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ตอบ พิไลลักษณ์ คนสวยที่มีปัญหา

ชื่อหัวข้อว่ามีปัญหา  ครูอ่านตั้งนานก็ไม่เจอ แต่เป็นปัญหาว่าทำไมอาจารย์ไม่ดุ   อาจารย์ดุเป็นหรือเปล่า  ว๊าว!!

สงกะสัยว่าเป็นอาจารย์ต้องดุเป็นด้วยเหรอ ?!!

ครูให้เกียรติศิษย์ของครูเสมอ มีเหมือนกันที่บางห้องก็อาการหนัก     คุยกันเสียงดัง  และคนที่คุยนั้นนะ  ไม่มีอะไรหลงเหลือหรอก ไม่ว่า จะสุ จิ ปุ ลิ  ไม่ได้ทำอะไรเลย แถมคะแนนทดสอบก็เกือบได้(แฮ่ม)

อยากให้คิดมากๆ  ครูไม่อยากตำหนิใครหรอกเพราะพวกเรากำลังจะเป็นครูพันธุ์ใหม่  อยากให้ศิษย์ในอนาคตเป็นอย่างไร แบบพิมพ์ควรเป็นอย่างนั้นจ๊ะ  ขอบใจที่แวะมาคุย อย่าลืมอ่านบทความและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วยนะคะ/จากครู 

วิชาแหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นต้องเรียนแบบใหนครับถึงจะเข้าใจ

นายสามารถ ไคร้จักร์

อนงค์ศิริ
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ตอบสามารถนะครับ

ที่เราเรียนกันทุกวันนี้เข้าใจอะเป่า  เอ๋  สงกาสัยว่าจะไม่เข้าใจแน่ๆถ้างั้นครูมีคำแนะนำ  อ่านะ  ที่ครูสอนทุกวันนี้ มีทั้งอธิบาย อภิปราย ศึกษา ค้นคว้าตามลำพัง แบ่งกลุ่มย่อย  สรุปและนำเสนอ ให้ไปสืบค้นแหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น และแบบPhilips 66  มากมายสุดท้ายผู้เรียนต้องสรุปเป็นความรู้ ความเข้าใจของตนเอง  ถ้ายังไม่เข้าใจ เหรอ.......แฮ่ม

เทอมหน้าลงทะเบียนใหม่   ว้าย !!!!!!!?????  

 ขอบคุณครับที่เข้ามาแจม  อ่านบทความและแสดงความคิดเห็นด้วยนะครับ  ครูหวังว่าพวกเราคงได้ A  หรืออย่างน้อยก็ได้  B  นะครับ

สมอง 2 ซีก

กนกอร เด็กหลังห้องSec B

อนงค์ศิริ
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ตอบกนกอรจ้ะ

ครูคิดว่าความชอบเกิดจากเจตคติมากกว่าการทำงานของสมอง ถ้าจะให้เรียนนั้นเขาเรียนได้  เพราะการทำงานของสมองที่เอื้อ แต่ที่เกิดอาการชอบหรือชัง  อาจเป็นเพราะเทคนิคการสอนของครู บรรยากาศในการเรียนรู้ที่น่าเบื่อหน่าย  หรืออาจจะถูกลงโทษให้ได้รับความอับอายในอดีต จึงฝังใจจำ  ไม่อยากเรียน หรือวิชานี้ไม่ได้ตอบสนองความต้องการพื้นฐานเช่น ไม่ได้รับการยอมรับ ไม่ได้การยกย่องหรือไม่ประสบความสำเร็จ ก็จะไม่ชอบเอามัก มาก

คำถามของหนุดีจัง เป็นการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมาใช้ ว่าแต่ว่า..มีใครส่ายหน้าเมื่อเรียนวิชาแหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมั่ง ก็ช่วยบอกครูด้วยนะ  (จะได้ไม่เผลอให้   A ไงล่ะ  อิ อิ ) แล้วแวะมา

แจมอีกนะคะ/จากครู

 

เรียนอาจารย์ที่เคารพ

สมศักดิ์ เครือจันทร์ รหัส 47121644 หมู่เรียน พล47ค5.1S.B

อนงค์ศิริ
เขียนเมื่อ
คำตอบ

หวัดดีคร้าบ 

ดีใจอ่ะ  ที่เข้ามาแจม  ถามว่าอารายนะ

อ๋อทำไมการเรียนรู้ต้องคู่กับภูมิปัญญาท้องถิ่น  เอ๊ะ !  คำถามแปลกจัง

แล้วคิดว่ามันคู่กันจริงๆเหรอ  เถอะน่า มีคู่นะดีมันจะไม่เหงางัย

กว่าจะเป็นความรู้  กว่าจะเป็นภูมิปัญญา มีระบบขั้นตอนอย่างไร

ลองทบทวนอีกทีนะครับ  ครูว่ามันยิ่งกว่าปาท่องโก๋ เสียอีก   อิ อิ/จากครู

ทำไมเราจึงต้องเรียน

ประวิทย์ ท้าววังหน้า sec B

อนงค์ศิริ
เขียนเมื่อ
คำตอบ

เอ๋....เล่นตั้งคำถามครูอย่างเนี้ย

ทำท่าจะต้องเรียนเสียใหม่ละมั้ง   !!!!!??????

แสดงว่าตอนครูนำเสนอท่าจะใจลอย

เอาเถอะ อาจจะหงุดหงิดที่โดนบังคับให้เรียนวิชานี้

ครูก็ตอบแบบตรงๆว่า เพราะมันเป็นวิชาบังคับ   อิ  อิ

ถามว่าทำไมมันจึงสอดคล้องกันก็เพราะมันแทบจะเป็นตัวเดียวกัน ใช่มั้ยล่า   โอเค เข้ามาแจมกะครูก็ขอขอบใจ  ถามปัญหาหัวใจกะครูก็ได้นะ  จะได้ไม่ไปโดดตึก เมื่ออกหัก  แฮ่ม  ครูเย้าเล่นน่า

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

นาย ปรัชญา ใจซื่อ

อนงค์ศิริ
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ตอบปรัชญานะครับ

ครูดีใจที่แวะมาแจม  อยากให้อ่านบทความอื่น ๆ ด้วยนะครับ คลิกเข้าไปใน  ปั้บผญา(พจนานุทิน) และรายการอื่น ๆนะครับ

คำถามน่าสนใจมาก  น่าตอบด้วย  แต่ครูคิดว่า  ศึกษาความเหมือนในความแตกต่าง  ศึกษาความแตกต่างในความเหมือน  นะครับ  วิชานี้เน้นการฝึกปฏิบัติ  ส่งงานครบหรือเปล่า  อ่านหนังสืออีกหน่อยแสดงความคิดเห็นด้วยภูมิความรู้ของเรา  ครูว่าได้ A  ง่ายจัง เอ้า อึ้บ เอาใจช่วยนะครับ   /จากครู

ขอโทษครับอาจารย์

นายธีรพงษ์ พละ48

อนงค์ศิริ
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ตอบคนเก่งพละ

ครูสัญญาว่าครูจะไม่บอกใครอ่านะ   ว่าวันนั้นมีใครบางคนคุยกัน เอ้ย !เสวนาต่างหาก  เสวนาทางวิชาการ  แหละนะ เพียงแต่เสียงมันประมาณ   กี่เดชิเบลก็จำไม่ได้  ทำเอาคนนั่งฟังข้างหน้าเอาคิ้วขมวดกัน  เท่านั้นเอง  รู้จักขอโทษ  ก็สุดยอดนะครับ เอกพละเป็นสุภาพบุรุษSpirit Sport  อย่างนี้สิถึงจะเรียกว่าศิษย์ของครู  ใกล้จะสอบแล้วเตรียมตัวให้พร้อมนะครับ ทั้งรวบรวมงานที่จะส่ง หรือนำเสนอและทบทวนบทเรียนสอบ Final  ครูให้อภัยสำหรับคนระลึกรู้เสมอ และสัญญาว่า ครูไม่บอกใครเด็ดขาด  รับรองไม่มีใครได้ยิน  อิ อิ/จากครู

ถามเพื่อพัฒนาตนเอง

Aphatsara Saechang 48161255

อนงค์ศิริ
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ตอบอาภัสรา

ครูขอบใจที่เข้ามาแวะเยี่ยม Blog  ของครู และเอาลูกยอมาฝาก   ครูถือคติว่า ครูคนเก่ง หรือมีความสามารถ คือคนที่สร้างศิษย์ให้เก่งกว่าตน  ศิษย์ของครูเก่งหรือยัง ถ้าเก่งครูก็พบความสำเร็จแล้วจ๊ะ  คนอ่านมาก ฟังมาก จะมีข้อมูลมาก นิสัยรักการอ่านจะสร้างได้โดยตระหนักว่ามีอะไรอีกมากมายที่เราไม่รู้  เมื่อไม่รู้ก็ต้องอ่านมาก ฟังมากนะคะเหมือนหัวใจนักปราชญ์ คือ สุ (สุต = ฟัง)  จิ(จินตน = การคิด) ปุ(ปุจฉา=ถาม)และลิ (ลิขิต = เขียน) "การอ่านหนังสือดีๆทั้งหลาย ก็เหมือนกับการได้สนทนากับคนที่ดีที่สุดในหลายศตวรรษที่ผ่านมา"(Rene   Descartes ,1596-1650) 

หนูควรทำอย่างไรหรือคะ

จงตั้งเอาใจเจ้า   เป็นสำเภาอันโสภา

ความเพียรเป็นโยธา  แขนซ้ายขวาเป็นเสาใบ ฯ ดีไหมคะ /จากครู

แหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น

ตีตี้ [ Jung Jae ]

อนงค์ศิริ
เขียนเมื่อ
คำตอบ

เอ๋ !  บอกนิคเนมแล้วครูจะทราบได้ยังไงน้า  ว่ามีคนแวะเข้ามาแจม

แต่ก็ขอบใจที่สนใจ  คำถามน่าสนใจมากนะครับ  ครูคิดว่าสวนแต่ละ

ประเทศคือภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดความนึกคิด วิถีชีวิตและวัฒนธรรม

นำมาประยุกต์จะเกิดคุณประโยชน์มหาศาล  ดูแต่ที่เรานำเอาสวนญี่ปุ่น

มาปรับแต่งบ้านเราไงล่ะ  ดูแบบเอาไว้ แล้วลองนำมาจัดที่บ้าน หรือ

ที่โรงเรียนในอนาคต นะคะ  หากเราศึกษาหลักการตกแต่งสวนของแต่

ละแบบ แต่ละประเทศ  ก็มีหลักในการจัดและมีความหมาย  ด้วยเหตุนี้ไ

ไงล่ะที่ครูอยากให้ไปศึกษา เรียนรู้  แล้วแวะมาคุยอีกนะครับ/ครู

อาจารย์ครับ

อัศวิน จอมเที่ยง

อนงค์ศิริ
เขียนเมื่อ
คำตอบ

อัศวินครับ

ครูเลยไม่ทราบว่าพวกเราได้ประวัติและผลงานของครูครบหรือยัง หรือยังต้องการอีก พรุ่งนี้ครูจะลองเอาติดรถไป หากอัศวินและเพื่อนต้องการก็มาเอาได้นะครับ

โอเค เป็นคนแรกของ Sec  H ที่เข้ามาแจมคุยกะครู  เป็นคำถามที่อยากตอบด้วยล่ะ  ครูไม่ค่อยเหมือนคนอื่นนะคะ  คือ ครูจะทำปัจจุบันให้ดีที่สุด  ส่วนอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น จะเป็นอะไร อย่างไร ครูยังไม่สนใจ เพราะเราไม่สามารถคาดการณ์ เหตุการณ์ที่จะเกิดในอนาคตได้ก็ดูครูสิ  ไม่เคยคิดว่าจะต้องมาเป็นอาจารย์สอน มร.ชม.  ไม่ได้เตรียมตัวมาก่อนจริง ๆ แต่ครูกลับได้มา  เพราะครูทำงานในอดีตให้ดีที่สุดกระมัง   เพราะฉะนั้น  ครูคิดว่า  เรียนตอนนี้ให้ดีที่สุด เรียนให้รู้จริงเรียนให้สนุก  แล้วจะมีคำตอบตามมา  เพราะเราทำอดีตไว้ดี ปัจจุบันจึงได้ดี  จึงเชื่อว่าทำปัจจุบันให้ดี  อนาคตจะต้องดีตามมา  The  future  not   our to  see.......ขอบใจที่เข้ามาแวะคุย  มาอ่านบ่อยๆนะแสดงความคิดเห็นในหัวข้ออื่นๆด้วย/  ครูนะครับ

หลักที่สำคัญในการเรียนครู

piyachat

อนงค์ศิริ
เขียนเมื่อ
คำตอบ
ความรู้ที่มีเป็นการสั่งสมประสบการณ์ ค่อย ๆเรียนรู้แล้ววันหนึ่งเราจะรู้ด้วยตนเองว่าเราเป็นอย่างไร  ประการสำคัญคือ  เรียนรู้จากทุกสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรา  และเป็นนักปราชญ์ที่มีหัวใจเต็มร้อย สุ จิ ปุ ลิ สม่ำเสมอไงล่ะ  เอ้า อึ้บ เอาใจช่วยอยู่เด้อ   อ้อขอบใจที่ชมครู รูปนี้หลานสาวเป็นคนใส่ให้  บอกว่ารูปอื่น เป็นผู้คงแก่(เรียน)

จะพัมนาสู่การเป็นครูมืออาชีพอย่างไร

รำแพน วุฒิสารวัฒนา

อนงค์ศิริ
เขียนเมื่อ
คำตอบ

การพัฒนาสู่ครูมืออาชีพ  ไม่ควรรอให้เงินเดือนถึง เพราะวิชาชีพครูเป็นวิชาชีพเดียวที่สามารถสร้างตำแหน่งให้กับตนเองอย่างไม่จำกัด  ครูน้อย ครูประชาบาลในอดีตประสบความสำเร็จสูงสุดถึงระดับอธิบดีด้วยสมองและสองมือ  ด้วยความรักในวิชาชีพ รักนักเรียน รักการสอน ขยันขวนขวายหาความรู้และประสบการณ์การสอนอย่างไม่หยุดยั้ง

ดังนั้น  ครูผู้รักความก้าวหน้าในวิชาชีพก็จะเริ่มต้นสนใจวางแผนการเรียนการสอนหรือการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ศึกษาหาความรู้อย่างไม่เบื่อหน่าย พัฒนารูปแบบการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน สอดคล้องกับหลักสูตร ดังคำกลอนที่ครูเคยแต่งไว้ว่า

                  "รู้ตน  รู้คน  รู้งาน      รักการอ่าน การเขียน เพียรศึกษา

วางแผนการสอนพัฒนา               เด็กไทยก้าวหน้าไม่รั้งรอ

ทำงานทุกอย่างเป็นระบบ            เจนจบกระบวนการเกิดก่อ

รวบรวมหลักฐานเพียงพอ            จะขอตำแหน่งใดก็ได้เอย

อาจารย์ 3

piyachat

อนงค์ศิริ
เขียนเมื่อ
คำตอบ

อาจารย์  3  เป็นตำแหน่งทางวิชาการสำหรับข้าราชการครูที่มีเงินประจำตำแหน่ง  ในอดีต  ข้าราชการครูมีตำแหน่ง  ครู 1  ระดับ 1 - 4 อาจารย์ 2  ระดับ 5 - 7  อาจารย์  3  ระดับ  6 -  9  จะเข้าสู่ตำแหน่งอาจารย์ 3ได้ต้องมีเงื่อนไข เวลาในการปฏิบัติการสอน เงินเดือน ครบตามเกณฑ์ที่ กำหนด โดยพัฒนางานในหน้าที่ที่รับผิดชอบให้เกิดประสิทธิภาพ เกิดคุณภาพต่อนักเรียน มีนวัตกรรมการเรียนการสอนตามเกณฑ์   ตำแหน่งครู เป็นระดับปฏิบัติการ  ตำแหน่งอาจารย์ 2 เป็นระดับชำนาญการ  ตำแหน่งอาจารย์ 3 เป็นระดับชำนาญการพิเศษระดับ  9 เป็นผู้เชี่ยวชาญ  แต่ศึกษานิเทศก์  ระดับ 4 - 6 เป็นระดับปฏิบัติการ ระดับ  7 เป็นระดับชำนาญการ  ระดับ  8 เป็นผู้เชี่ยวชาญระดับ 9 เป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษ 

ต่อมามีการปรับเปลี่ยนตามพระราชบัญญัติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  ตำแหน่ง ครู อาจารย์  ทุกตำแหน่ง ปรับชื่อเป็น  ครู เหมือนกัน แต่มีครู  (คศ. 1) คือระดับ  1- 5ครู(คศ.2) ระดับ  6 - 7ครู(คศ.3) คือระดับ  8  ครู (คศ. 4) คือ ระดับ  9  ศึกษานิเทศก์ ก็ปรับเป็นศึกษานิเทศก์ (คศ.2) ระดับ 5 - 7 ศึกษานิเทศก์ (คศ.3) ระดับ 8 ศึกษานิเทศก์(คศ.4 )ระดับ  9

สรุปคือ   โลกสมมติ แต่ทำให้ชีวิตเราอยู่ในกรอบและขอบเขตที่เขาสมมติจริง ๆ อยากก้าวหน้าต้องศึกษา เรียนรู้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ก็จะเลื่อนระดับ รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งหลายท่านประสบความสำเร็จ แต่หลายท่านเกิดทุกข์มากมาย

การเรียน

Blue 47161336

อนงค์ศิริ
เขียนเมื่อ
คำตอบ

การเรียนการสอนและการวัดผลประเมินผลเปลี่ยนไปแล้ว

นักศึกษาที่ยังคงเรียนแบบเดิมๆ คือมุ่งเฉพาะสอบ จะต้องผิดหวัง

เพราะครูเน้นกิจกรรม ฝึกปฏิบัติจริง  เรียนรู้จากการกระทำจนสรุปเป็น

องค์ความรู้ของตนเองมากกว่า(นอกจากบางรายวิชาที่อาจจะยังไม่

เปลี่ยนแปลง)   ครูคิดว่าทำปัจจุบันให้ดี  อนาคตจะตามมาเอง

ครูให้กำลังใจนะคะ   ส่งงานทุกชิ้นที่ครูมอบหมาย อ่านหนังสืออีกนิด

มีแต่คนพบความสำเร็จ  เชื่อไหมคะ   ขอบใจที่แวะมาเยี่ยมครู/

ครูอนงค์ศิริ   วิชาลัย

 

การอ่านหนังสือ

Patcharin Kittiwong 48161426 Sec:E

อนงค์ศิริ
เขียนเมื่อ
คำตอบ

พัชรินทร์ 

ครูวุ่นทั้งวัน เพราะทำวิจัยและต้องเตรียมตัวไปช่วยโรงเรียนตชด.พรุ่งนี้

เยี่ยมมากที่เข้ามาถามใน ห้องนี้ได้  การอ่านหรือเรียนหนังสือ แน่นอน

ต้องเริ่มจาก  มีศรัทธาในสิ่งที่เรียนเป็นอันดับแรก  แล้วจึงมีวิริยะตาม

มา  สติเป็นตัวควบคุม  ระลึกตัวเสมอไม่ว่าจะทำอะไร  ที่ไหน สมาธิ

เป็นสิ่งแน่วแน่ มุ่งมั่นในกิจนั้นๆ แล้วจะเกิดปัญญารอบรู้เอง

ดีใจที่ศิษย์ปรารภอยากเข้าอบรมฝึกสมาธิ  เพราะปารมี(ความดีที่สร้างสม)

แต่ละคนไม่เท่ากัน  เอ  แต่คะแนนสอบmidterm  ก็อยู่ในระดับดีอยู่นะ

ถ้าฝึกสมาธิอีก รับรองจะเรียนเก่งยิ่งขึ้น/จากครูอนงค์ศิริ  วิชาลัย

ก่อนจะไปเป็นครู และ หลังจากเป็นครู

ปิยะฉัตร ปุกอิ่ง

อนงค์ศิริ
เขียนเมื่อ
คำตอบ

เกิดเป็นคนแสนยาก  แต่เกิดเป็นคนสอนคนยากกว่า

ปัจจุบันมีผู้รับจ้างสอนมากกว่า "ครู" 

ในความคิดของครู ยึดหลักของความเป็นครู ต้องอุดมด้วย  3  สุ

สุวิชาโน เป็นผู้รอบรู้ในศาสตร์และศิลป์ที่สอน  สุปฏิปันโน ต้องปฏิบัติได้

ปฏิบัติดีในสิ่งที่ตนเองสอนและสุสาสโน  เป็นผู้สอนดีหรือมีศิลป์ในการสอน

จงภูมิใจที่ได้เป็นครู  ม.ล.ปิ่น  มาลากุล  กล่าวว่า

เกียรติของครู  สูงสุด    ดุจฟ้าร้อง

แต่..คนมอง     ไม่เห็น     จึงเผ่นหนี

ถ้าเกียรติครู     ร่ำร้อง     เหมือนกลองตี

ป่านฉะนี้       เสียงร้อง     ดังก้องเมือง

ดูครูจูหลิง  เป็นตัวอย่าง  นะคะ/ครูอนงค์ศิริ   วิชาลัย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท