ทั้งกลอนที่แต่งก็ไพเราะจับจิต
ทั้งหมู่มิตรก็ยิ้มแย้มมาพร้อมหน้า
เสน่หาน้องโอ๋นี่แหละที่ชวนมา
นำพาครอบครัว G๒K ให้รุ่งเรือง
รักมากๆ
ขอกอดแน่นๆ
โอ๋ น้องรัก พี่เห็น "function" นี้มาสักระยะแล้วจ้า....แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจ
ก่อนหน้านี้...ก่อนที่จะมี "function" นี้ พี่ก็ไปติดใจ Blog อนุทินของท่าน อ.หมอวิจารณ์ ที่เขียนสไตล์อ่านรู้เรื่องคนเดียว
ก็เลย ปิ๊งๆ เปิด Blog ตัวเองอีก 1 Blog ตามอย่างบ้าง
แต่....ความที่พี่ปิ๊งว่า...
มีอีกหลายเรื่องนี่หว่า ที่เราอยากบันทึกแบบไม่ให้ใครอ่าน เพราะเขิน... ไม่ใช่เพราะเหนียวความรู้ดอกนะจ๊ะ ....เพราะเขินจริงๆ ก็เลยเป็น Blog ส่วนตั๊ว...ส่วนตัว หน่ะจ่ะ เขียนเก็บอย่างเดียว
พอน้องมาชวน พี่ก็เลยตามน้องโอ๋ไปอ่านทำความเข้าใจ ติดใจ "อนุทิน" ของ GotoKnow เสียแล้ว ของเล่นใหม่ของคนเวลาน้อยค่ะ ก็เลยพอเข้าใจขึ้นบ้าง
มันจะมีประโยชน์กับคนอื่นจริงๆ หรือจ๊ะ ไอ้ที่อ่านไม่รู้เรื่องเนี่ย...
แล้วทุกวันนี้ พี่กำลังหาวิธีป้องกันโรคสำลักข้อมูลข่าวสาร พยายามใช้ IT แบบพอเพียง
ขนาดพอเพียงเนี่ยนะ ก็มีทั้ง E-office ต้องเซ็นทุกวัน มี E-mail ที่ต้องเปิดเช็คทุกวัน มี Blog ที่ปวารนาตัวแล้วปาวารนาตัวอีกว่าจะต้องเขียนทุกวัน (มีตั้ง 4 blog หลักๆ รวมอนุทินส่วนตัวด้วยนะจ๊ะ) แล้วก็มี msn ที่เปิดไว้คุยกับลูกสาว (เท่านั้น) อ้อ! ยังมี Dhanarun's space ที่ที่เหมือนอาณาจักรส่วนตัว แต่ก็รับแขกเสมออีก (แบบไม่ต้องตอบ) ทั้งนี้ ไม่นับโทรมือถือ ที่เป็นปัจจัยที่ 5 ของชีวิต
ดังนั้น...ถ้ามีใครมาขอ ad Hi5 Tag ฯลฯ อีก พี่จึงไสมารถ ไม่สามารถจริงๆ คงตายหยังเขียดแน่ๆ....
แค่นี้...ก็เสียเพื่อนไปหลายคนแล้ว เพราะตอบไม่ทัน
แต่ก็สนุกดีนะ....ไม่งั้นคงตามเด็กๆ ยุคใหม่ไม่ได้....
แล้วนี่น้องโอ๋ว่า พี่จะเปิดอนุทิน ของ G2K อีกดีไหมจ๊ะ???
ขอประทานโทษจริงๆ นะคะ ที่ตอบช้า เพราะก่อนหน้านี้ดิฉันมีภารกิจที่ต้องเดินทางมากทีเดียว กลับมาจึงต้องรีบทยอยสะสางงานค้าง รวมทั้งคำถามต่างๆ ใน Blog ด้วยค่ะ ต้องตอบแน่ๆ ค่ะ
สำหรับคำถามนะคะ ถ้านักรังสี ในที่นี้หมายถึงภาพรวมของคนในวิชาชีพนี้
ที่นี่ คงพอมีคำตอบได้บ้างค่ะ
แหม !! เรื่องลับๆ เนี่ย ถ้าไม่รักกันจริงก็ไม่บอกหรอกนะคะ....
Blog tag ช่วยสร้างมิตรได้ดีนะคะ ไม่ลองดูบ้างเหรอคะ สนุกดีออก
อาจารย์ไปดูหนังเรื่องพระนเรศวร ตามเสียงเชียร์ มาแล้วค่ะ หลังจากตะลอน ตะลอน ไปทำงานต่างจังหวัดมาหลายแห่งตลอด 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ก็กลับมาพักด้วยการดูหนัง
ค่ะ สนุกมากจริงๆ ด้วย ทั้งสนุก มีสาระ และฉากงดงามอลังการมาก... ดูแล้ว รู้สึกโชคดีที่เกิดมาเป็นคนไทย อยู่บนผืนแผ่นดินไทยที่มีอารยธรรมอันล้ำค่า หาที่ใดในโลกเปรียบปานได้ยาก
อ้อ! อาจารย์ชอบบทที่พระสุพรรณกัลยา โกยดินใส่ห่อผ้า เก็บไว้เตือนใจ และวางไว้บนหิ้งบูชา ซึ้งดีเนอะ....
สวัสดีค่ะ หนูน้อยจาไม (ทำไม?) ช่างซักช่างถามเสียจริง แต่คุณแม่ไม่เบื่อหรอกค่ะ ชอบเสียอีกที่มีลูกช่างซัก แสดงว่าลูกเราฉลาด
เรื่องเครียดหนะนะ เป็นเรื่องธรรมชาติ อาจารย์จึงมีเรื่องให้เครียดเหมือนกันค่ะ ยกตัวอย่างง่ายๆ เมื่อกี้นี้เพิ่งตอบหนูเสร็จ พอกดปุ่มตอบคำถาม ปรากฎว่า Network error โอ้พระเจ้า... รอสักครู่ กลับมาดูใหม่ ที่เขียนเมื่อกี้หายหมดเลย อย่างงี้จะไม่ให้เครียดได้งัย
แต่...เครียดอยู่ไม่นานหรอกค่ะ ประสบการณ์ชีวิต และการฝึกจิตให้รู้ตัวอยู่เสมอ จะทำให้คลายเครียดได้เร็วค่ะ อาจารย์ก็ได้แต่หวังว่าฝึกบ่อยๆ ไม่ว่าอะไรจะเกิด ก็ปล่อยให้มันเกิดได้โดยไม่เกิดความเครียดให้ต้องคลาย ฟังแล้วงงไหมค่ะ ??
ลองฝึกดูซิคะ...ดีน้า...ยิ่งฝึกแต่เยาว์วัย จะยิ่งดี เรียนก็เก่งเพื่อนก็แยะ เพราะใครๆ ก็รัก....
สวัสดีค่ะจีระศักดิ์
ก่อนอื่นอาจารย์ขอแสดงความยินดีด้วยค่ะ ที่สอบข้อเขียนผ่าน ซึ่งนั่นเป็นเรื่องยากที่สุดแล้ว
วันนี้แล้วซินะค่ะ ที่ต้องสอบสัมภาษณ์ ไม่ต้องกังวลใดใดเลย เพราะเป็นเรื่องง่ายกว่าสอบข้อเขียน 100 เท่า
ยาแก้ความประหม่า คือ จินตนาการ เวลาอยู่ต่อหน้าอาจารย์ผู้สัมภาษณ์ ให้จินตนาการนะคะว่า เขาคือคนที่เราสนิทสนมคุ้นเคยมานานและเป็นคนที่เรารักมาก สมมุติว่าเป็นแม่ก็ได้ เป็นเพื่อนสนิทก็ได้นะคะ (ให้รู้สึกอย่างนั้นให้ได้จริงๆ)
พอเวลาอาจารย์ท่านถามอะไร ให้ยึดหลัก การเป็นผู้ฟังที่ดี ดังนี้
ประสบการณ์ต่างๆ จะช่วยให้เราเก่งขึ้น และช่วยให้เราแกร่งขึ้นค่ะ ขออวยพรให้โชคดี และประสบแต่ความสำเร็จนะคะ
สวัสดีค่ะ หนูศิริลักษณ์
เมื่อสมัครเป็นสมาชิก Blog แล้ว สิ่งที่ยากที่สุดในตอนเริ่มต้นคือการเขียนบันทึกแรกใน Blog เราจะรู้สึกว่า ไม่รู้จะบันทึกเรื่องอะไรดี ยิ่งถ้าวันหนึ่งๆ เราไม่ได้ทำกิจกรรมอะไร นอกจากเรียนหนังสือตามตารางสอน ก็จะยิ่งรู้สึกฝืดมาก
วิธีหาเรื่องมาบันทึก ไม่ใช่ด้วยการอ่านแล้วคัดลอกของคนอื่นมาเขียน (ยกเว้นว่า เป็นสิ่งดีมีคุณค่าจริงๆ และคิดว่าน้อยคนที่จะรู้) แต่ต้องเขียนขึ้นจากประสบการณ์ของตนเอง แล้วบวกด้วยความคิดเห็นเล็กๆน้อยๆ (เชิงบวก) ของเราไว้
วิธีที่ดีในการหาประสบการณ์เพื่อบันทึก ขณะที่เป็นนิสิตในรั้วมหาวิทยาลัย ก็คือ การร่วมกิจกรรมที่เราสนใจ และมีประโยชน์ต่างๆ
และด้วยความพยายามที่จะบันทึก ขณะร่วมกิจกรรม เราก็จะคอยสังเกตและจดจำ บางทีก็ต้อง short note หรือเตรียมเครื่องบันทึกภาพ หรือเครื่องบันทึกเสียงเอาไว้ช่วยบันทึก (เหมือนอย่างที่เราพยายามเก็บทุกคำพูดของอาจารย์ตอน lecture ไงค่ะ)
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าวันนี้ หนูได้เข้าร่วมกิจกรรม วันเปิดงานกีฬาวิทย์ฯสุขภาพ และรู้สึกประทับใจ ในฐานะผู้ชมธรรมดาคนหนึ่ง หรือในฐานะกรรมการ ฯลฯ ก็สามารถเก็บเกี่ยวบางช่วงบางตอนที่ประทับใจนั้น หรือทั้งหมด มาบันทึกใน Blog ได้
การบันทึกบ่อยๆ จะทำให้การใช้ภาษาของเราดีขึ้นด้วย ข้อดีของการบันทึกอย่างเปิดเผยใน Blog ก็คือ มีผู้ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม ช่วยต่อยอดความรู้และความคิดของเรา เปิดโลกทรรศน์ของเราให้กว้างขึ้น ทำให้ได้รู้จักกัลยณมิตรมากมาย โดยไม่จำเป็นต้องไปมาหาสู่กัน แม้จะอยู่ห่างไกลกันเพียงไรก็ตาม
ลองดูนะคะ แล้วจะตอบคำถามที่ถามอาจารย์ได้ด้วยตนเองว่า " เกรดเฉลี่ยทำให้ได้งานทำ และกิจกรรมทำให้ทำงานได้ " มันเป็นความจริงหรือไม่?
โอโห....ทราบได้ยังงัยคะว่าเพิ่งร่ำเรียนมาจาก "ท่านอาจารย์ของอาจารย์" หมายถึง ผศ.พญ.วัลลี สัตยาศัย มาไม่นานนี้เอง
ตัวดิฉันเองไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนี้เลย แต่ก็สนใจอยู่ไม่น้อย ดิฉันยินดีถ่ายทอด เท่าที่ได้เรียนมา เท่าที่เข้าใจ อย่างหมดเปลือกค่ะ (เพราะไม่รู้อะไรมากนัก) กรุณาติดตามเป็นตอนๆ ใน Blog ของดิฉันนะคะ ดิฉันจะทยอยบันทึกให้ได้อ่านค่ะ
ขอบคุณค่ะที่ถาม
ความจริงอาจารย์ไม่ได้มีวิชาชีพเป็นนักประชาสัมพันธ์ แท้จริงแล้วจึงไม่มีความรู้ด้านนี้เลย
แต่ก็ได้เสาะหามาตอบที่ใกล้เคียงที่สุด จากหนังสือ ชื่อ "ชุดพื้นฐานปรัชญา จริยศาสตร์สำหรับผู้เริ่มเรียน" ของ ศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ ดังนี้ ค่ะ
จริยธรรมของสื่อมวลชน
หวังว่าคงจะนำไปประยุกต์ตามความประสงค์ได้นะคะ
ด้วยความปรารถนาดี
ยอมรับเลยค่ะว่า อาจารย์วัชราเป็นผู้ที่ใฝ่เรียนรู้และศึกษาอย่างละเอียดจริงๆ ทำให้อาจารย์เองต้องกลับไปทบทวนข้อเขียนที่คัดลอกมาอีกครั้ง
จากข้อความที่คัดลอกไว้ใน ทิศทางการปฏิรูปอุดมศึกษาของโลกในศตวรรษที่ 21 ความตอนท้ายๆ ดังนี้
ความเป็นนานาชาติเป็นทั้งธรรมชาติและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและการเมืองในยุคใหม่ต่อสถาบันอุดมศึกษา โดยการร่วมมือกันในระดับนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษานั้นควรจะร่วมมือกันในระดับภูมิภาค (regional integration) เป็นหลักและควรจะเป็นการร่วมมือกันเพื่อพัฒนา
ศักยภาพของแต่ละประเทศเป็นประเด็นสําคัญ ไม่ควรเน้นเพื่อเป็นแหล่งในการถ่ายทอดความรู้จากภายนอกเท่านั้น และควรหลีกเลี่ยงการดำเนินงานในลักษณะซํ้าซ้อนให้มาก ในงานของความเป็นนานาชาตินี้ควรเริ่มด้วยการรับรองการศึกษาและวุฒิปริญญาซึ่งกันและกัน เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและอาจารย์ร่วมกัน การมีเครือข่ายก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อจะได้นำไปสู่การเรียนรู้ และยกระดับคุณภาพซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะควรให้ความสนใจกับเครือข่ายของเครือข่าย (network of networks) เพื่อให้ระบบที่มีอยู่แล้วดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การดำเนินงานในลักษณะซ้ำซ้อน ที่รายงานนั้นระบุไว้ตอนต้นๆ ของรายงาน มีดังนี้ค่ะ
"นอกจากกระทรวงศึกษาธิการและทบวงมหาวิทยาลัยที่จัดอุดมศึกษาแล้ว ยังมีหน่วยงานอื่นๆ ที่จัดอุดมศึกษาในลักษณะเฉพาะทาง เพื่อผลิตกำลังคนตามความต้องการของแต่ละหน่วยงานอีก 8 กระทรวง และ 1 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงกลาโหม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กระทรวงยุติธรรม สำนักนายกรัฐมนตรี และสภากาชาด โดยจัดทั้งหลักสูตรระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญา........"
"การจัดอุดมศึกษาซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของหลายกระทรวง แม้จะมีผลดีในแง่ก่อให้เกิดความหลากหลายและการแข่งขันเพื่อพัฒนาคุณภาพ แต่เนื่องจากขาดกลไกการประสานการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ไม่มีเอกภาพในการกำหนดนโยบาย และมาตรฐานอุดมศึกษา เกิดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงาน และการจัดหลักสูตรการเรียนการสอน หลายหน่วยงานต่างมุ่งขยายการจัดการศึกษาในส่วนที่ตนรับผิดชอบ โดยมิได้คำนึงถึงสภาพโดยรวมของประเทศ และการประสานการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ"
อาจารย์คิด (เอง) นะคะว่า ความซ้ำซ้อนของการจัดการศึกษาดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความยากลำบากในการจัดทำมาตรฐานหลักสูตรในสาขาที่ซ้ำซ้อนกัน เป็นผลให้การเทียบเคียงกับนานาชาติ หรือความเป็นสากลเป็นไปได้ยาก และการรับรองการศึกษาและวุฒิปริญญาซึ่งกันและกัน เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและอาจารย์ร่วมกัน ก็เป็นไปได้ยากตามต่อกันเป็นขบวน...
ไม่ทราบว่า อาจารย์ตอบได้ตรงประเด็นหรือเปล่านะคะ อาจถูกหรือผิดก็ได้ อย่าเชื่อทั้งหมด... :)
กุหลาบงามส่งมาแทนใจรักนะคะ
ขอให้ปีใหม่ ๒๕๕๐ นี้ และทุกๆ วันที่มาถึง โปรดนำพาแต่ความสุข ความเจริญรุ่งเรือง ความเป็นที่รัก ความสมหวัง ความสำเร็จ ความสมบูรณ์แห่งพลานามัย และความงามแห่งจิตใจ ให้เป็นของคุณสมพรตลอดไปนะค่ะ
ด้วยรักและนับถือ
สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๐ ค่ะ อาจารย์ Beeman ที่นับถือ
ขอให้ปีใหม่ที่จะถึงนี้ และในทุกวันเวลานาทีในปัจจุบัน นำแต่ความสุขสวัสดี ความเจริญรุ่งเรือง มาสู่อาจารย์และครอบครัวอันเป็นที่รัก
และขอให้ rating ของท่านผู้อ่าน ***Beeman Blog*** พุ่งกระฉูด กวาดรางวัลสุดคะนึงมาอีกหลายๆ รางวัลนะคะ
อ.วัชรา ค่ะ
ต้องขอโทษจริงๆ ค่ะ ไม่ทราบว่าจะขยายความอย่างไร ? เพราะอาจารย์เองอ่านแล้วก็ไม่เข้าใจ
ประโยคที่ว่า "เมื่อมหาวิทยาลัยออกนอกระบบแล้วจะต้องมีความร่วมมือในระดับนานาชาติเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน"
ไม่ทราบว่าอาจารย์ตัดตอนมาจากบทความเรื่องอะไร มีที่มาไหมค่ะ เกี่ยวกับที่อาจารย์เคยนำมาลง Blog หรือปล่าวค่ะ? ถ้ามีข้อมูลมากกว่านี้ อาจจะช่วยให้เข้าใจและตอบคำถามได้นะคะ
แม่นแล้ว สงสัยจะใช่แน่แล้วละค่ะ ว่าเราเป็นเพื่อนเก่าดึกดำบรรณพ์กันตั้งแต่สมัยเรียนชั้นประถม
ดิฉันเรียนชั้นประถมปีที่ 1 และ 2 ที่โรงเรียนสว่างวิทยา เป็นโรงเรียนสอนภาษาจีนที่คุณแม่ของดิฉันเป็นครูสอนอยู่ คุณแม่ของดิฉันมีชื่อไทยว่า สุวรรณา สันติมากร ชื่อจีนว่า ถังเหวินชิง เป็นคนไหหลำ (และสวยมาก)
คุณพ่อของดิฉันตอนนั้นก็เป็นครูและผู้จัดการโรงเรียนจีนอีกแห่งหนึ่ง ชื่อ โรงเรียนสิงฟ้า อยู่แถวคลองเตย พอดิฉันจบชั้นประถม 2 ก็ย้ายมาเรียนต่อที่โรงเรียนสิงฟ้า ตั้งแต่ประถม 3 ถึง 4
คุณพ่อของดิฉันเป็นคนแต้จิ๋ว (ดิฉันหน้าเหมือนพ่อมากกว่า จึงได้ความสวยของแม่มาไม่มากนัก) คุณพ่อมีชื่อไทยว่า สุชัย สันติมากร ชื่อจีนว่า หงจือเหลียง
ดีใจจังเลยค่ะ ที่ Blog พาเพื่อนเก่าให้ได้มาพบกัน และที่น่าแปลกก็คือ เหมือนเราทั้งสองไม่ได้ห่างจากกันเท่าใดนัก เพราะคุณศิริรัตน์เป็นนักเทคนิคการแพทย์ ส่วนดิฉันก็เป็นอาจารย์สาขารังสีเทคนิค เราต่างก็อยู่ในวงการสหเวชศาสตร์เหมือนกัน
นี่ถ้ามีคอมพิวเตอร์อยู่ใกล้ๆ คุณพ่อและคุณแม่ของเรา เผลอๆ เพื่อนเก่ารุ่นคุณพ่อคุณแม่ คงได้นัดสังสรรค์กันแน่เทียว
ยินดี ที่ได้พบกันอีกครั้งค่ะ