ต่อจากคำถามเดิมค่ะ


กราบสวัสดีปีใหม่ 2007 ค่ะอาจารย์  หนูขอรบกวนอาจารย์อีกทีและต้องขอโทษที่ไม่ได้ขยายความที่มาของคำถามก่อนทำให้อาจารย์ไม่เข้าใจ  เรื่องเป็นอยู่ว่าหนูนำข้อความบางส่วนมารวมกับความเข้าใจส่วนตัวจาก blog ที่อาจารย์เคยลงไว้ชื่อว่าทิศทางปฏิรูปอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21 ค่ะ  ดังนั้นหนูขออนุญาตถามคำถามว่าความร่วมมือในระดับนานาชาติจะทำให้หลีกเลี่ยงการซ้ำซ้อนกันได้อย่างไร  ขอบคุณค่ะ



ความเห็น (1)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

dhanarun
เขียนเมื่อ

          ยอมรับเลยค่ะว่า อาจารย์วัชราเป็นผู้ที่ใฝ่เรียนรู้และศึกษาอย่างละเอียดจริงๆ  ทำให้อาจารย์เองต้องกลับไปทบทวนข้อเขียนที่คัดลอกมาอีกครั้ง

          จากข้อความที่คัดลอกไว้ใน ทิศทางการปฏิรูปอุดมศึกษาของโลกในศตวรรษที่ 21 ความตอนท้ายๆ ดังนี้


          ความเป็นนานาชาติเป็นทั้งธรรมชาติและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและการเมืองในยุคใหม่ต่อสถาบันอุดมศึกษา โดยการร่วมมือกันในระดับนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษานั้นควรจะร่วมมือกันในระดับภูมิภาค (regional integration) เป็นหลักและควรจะเป็นการร่วมมือกันเพื่อพัฒนา
ศักยภาพของแต่ละประเทศเป็นประเด็นสําคัญ ไม่ควรเน้นเพื่อเป็นแหล่งในการถ่ายทอดความรู้จากภายนอกเท่านั้น และควรหลีกเลี่ยงการดำเนินงานในลักษณะซํ้าซ้อนให้มาก  ในงานของความเป็นนานาชาตินี้ควรเริ่มด้วยการรับรองการศึกษาและวุฒิปริญญาซึ่งกันและกัน เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและอาจารย์ร่วมกัน การมีเครือข่ายก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อจะได้นำไปสู่การเรียนรู้ และยกระดับคุณภาพซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะควรให้ความสนใจกับเครือข่ายของเครือข่าย (network of networks) เพื่อให้ระบบที่มีอยู่แล้วดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ


          การดำเนินงานในลักษณะซ้ำซ้อน ที่รายงานนั้นระบุไว้ตอนต้นๆ ของรายงาน มีดังนี้ค่ะ

          "นอกจากกระทรวงศึกษาธิการและทบวงมหาวิทยาลัยที่จัดอุดมศึกษาแล้ว ยังมีหน่วยงานอื่นๆ ที่จัดอุดมศึกษาในลักษณะเฉพาะทาง เพื่อผลิตกำลังคนตามความต้องการของแต่ละหน่วยงานอีก 8 กระทรวง และ 1 หน่วยงาน  ได้แก่ กระทรวงกลาโหม  กระทรวงสาธารณสุข  กระทรวงมหาดไทย  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  กระทรวงคมนาคม  กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม  กระทรวงยุติธรรม สำนักนายกรัฐมนตรี และสภากาชาด โดยจัดทั้งหลักสูตรระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญา........"

          "การจัดอุดมศึกษาซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของหลายกระทรวง  แม้จะมีผลดีในแง่ก่อให้เกิดความหลากหลายและการแข่งขันเพื่อพัฒนาคุณภาพ  แต่เนื่องจากขาดกลไกการประสานการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ  ที่มีประสิทธิภาพ  ทำให้ไม่มีเอกภาพในการกำหนดนโยบาย  และมาตรฐานอุดมศึกษา  เกิดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงาน และการจัดหลักสูตรการเรียนการสอน  หลายหน่วยงานต่างมุ่งขยายการจัดการศึกษาในส่วนที่ตนรับผิดชอบ  โดยมิได้คำนึงถึงสภาพโดยรวมของประเทศ และการประสานการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด  ทำให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ"


          อาจารย์คิด (เอง) นะคะว่า ความซ้ำซ้อนของการจัดการศึกษาดังกล่าวข้างต้น  ทำให้เกิดความยากลำบากในการจัดทำมาตรฐานหลักสูตรในสาขาที่ซ้ำซ้อนกัน  เป็นผลให้การเทียบเคียงกับนานาชาติ หรือความเป็นสากลเป็นไปได้ยาก และการรับรองการศึกษาและวุฒิปริญญาซึ่งกันและกัน เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและอาจารย์ร่วมกัน ก็เป็นไปได้ยากตามต่อกันเป็นขบวน...

          ไม่ทราบว่า อาจารย์ตอบได้ตรงประเด็นหรือเปล่านะคะ อาจถูกหรือผิดก็ได้ อย่าเชื่อทั้งหมด...   :)

 

 



ความเห็น (1)
  • ขอบพระคุณค่ะอาจารย์ที่ช่วยตอบคำถามที่ต้องแปลความ  ก่อนอื่นหนูขอชื่นชมในความเข้าใจและมวิสัยทัศน์ของอาจารย์ที่มีต่อคำถามของหนู ซึ่งการตอบคำถามของอาจารย์ในครั้งนี้ทำให้หนูมองภาพรวมได้ชัดเจนขึ้นและนำไปสู่ความคิดต่อยอดเพื่อพัฒนาวิชาชีพนักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอกก่อให้เกิดความร่วมมือในระดับประเทศและนานาชาติ 

                                    ด้วยความเคารพอย่างสูง

                                อาจารย์  วัชรา แก้วมหานิล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท