ดิฉันเป็นคนขี้ลืม จำกระทั่งประวัติตัวเองยังไม่ค่อยจะได้ บันทึกไว้ซะบ้างก็ดีค่ะ ดิฉันเป็นชาว กทม. แต่กำเนิดตอนเป็นเด็ก คุณพ่อและคุณแม่ของดิฉันเป็นครูสอนภาษาจีนในโรงเรียนประถม ดิฉันเป็นลูกคนหัวปี จึงได้เข้าเรียนชั้นประถมในโรงเรียนที่มีภาษาที่ 2 เป็นภาษาจีน และครูตัวจริง ครูคนแรกในชีวิตของดิฉัน คือคุณพ่อและคุณแม่นั่นเอง
กระทั่งจบชั้นประถมต้น (ป.4) และต้องเปลี่ยนโรงเรียน เข้าเรียนชั้นประถมปลาย (ป.5 - ป. 7 สมัยนั้น) ทำให้ดิฉันเป็นเด็กประหลาดกว่าเด็กอื่น คือเรียนภาษาอังกฤษไม่รู้เรื่องเลย โชคดีที่ได้ คุณตา พุฒ จารุวัฒนะ เจ้าของโรงเรียนจับตัวไปเรียนพิเศษทุกเย็นหลังเลิกเรียน ตอนเป็นเด็กไม่เคยนึกว่าพิเศษตรงไหน ใครบอกให้ทำอะไรก็ทำ แต่พอโตเป็นผู้ใหญ่ หวลระลึกถึงแล้ว รู้สึกประทับใจและซาบซึ้งใจในพระคุณของคุณตาพุฒเหลือเกินและรู้ตัวว่าเรานี้หนอมีบุญจริงๆ ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้ดิฉันรัก(แต่ไม่เก่ง)ภาษาอังกฤษมาจนถึงปัจจุบันนี้
ชั้นมัธยมดิฉันเข้าเรียนที่โรงเรียนสตรีวิทยา กทม. ก็พอถูลู่ถูกังจนจบ และ Entrance ติดคณะเทคนิคการแพทย์ สาขารังสีเทคนิค ม.มหิดล ซึ่งดิฉันเลือกเป็นอันดับ 1 เพียงเพราะชื่อสาขานี้เท่ดี ยังไม่รู้เลยว่าเรียนไปทำไม เรียนจบเอาเมื่อ พ.ศ. 2523 ปริญญาตรี วท.บ. รังสีเทคนิค ม. มหิดล B.Sc. (Radiological Technology)
ความที่เห็นคุณพ่อ คุณแม่ เป็นครู ตั้งแต่เล็กกระมัง ที่ทำให้ดิฉันอยากเป็นครูเหมือนกัน ดังนั้น หลังจากจบ ป.ตรี และทำงานในโรงพยาบาลศิริราชเพียงปีเดียว ดิฉันก็ลาออกจากคณะแพทย์ เพื่อเข้ารับราชการ ในตำแหน่งอาจารย์ ระดับ 4 ของภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ ม.มหิดล ที่ที่ดิฉันเรียนจบมานั่นเอง (สมัยก่อน ป.ตรี ก็เป็นอาจารย์ได้)
อยู่ๆไป โลกมันเปลี่ยนแปลงไม่หยุดยั้ง ดิฉันเห็นท่าไม่ดี จึงขอลาเรียนต่อโท เพื่อพัฒนาตนเอง จนปี พ.ศ. 2536 ก็ได้ ปริญญาโท วท.ม. วิทยาศาสตร์รังสี ม. มหิดล M.Sc. (Radiological Science) มาประดับบารมีอีก 1 ใบ
ชีวิตของดิฉันจะว่าไม่หวือหวา ก็ว่าได้ ค่อนข้างเรียบๆ ไปตามยถากรรม กล่องสมบัติที่มีค่าพอจะสะสมในช่วงชีวิตการทำงานช่วงต้น ก็มี ตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 6 ใน พ.ศ. 2533 และตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ระดับ 8 ใน พ.ศ. 2543
จนกระทั่ง ต.ค. 2543 ดิฉันตัดสินใจขอลาออกจากราชการมาสมัครเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ ที่คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ความน่าท้าทายของงาน และสภาวะแวดล้อมที่ดีของต่างจังหวัด ทำให้วิถีชีวิตของดิฉันเปลี่ยนแปลงไปมาก ชีวิตของนักบริหารเริ่มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตดิฉันนับแต่ย่างก้าวเข้ารั้ว มน. ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2544 ดิฉันเริ่มงานแรกด้วยการเป็นประธานคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา คณะสหเวชศาสตร์ ม.นเรศวร ต่อด้วย ตำแน่งรองคณบดีฝ่ายวิชาการ ที่ควบงานประกันคุณภาพด้วย
ปลายปี พ.ศ. 2547 ดิฉันวางแผนจะเรียนต่อ ป.เอก จึงลาออกจากการเป็นรองคณบดี แต่เกิดเหตุขัดข้อง ทำให้ไม่สามารถทำตามแผนได้ และไม่ทราบฟ้าลิขิตอย่างไร พอต้นปี พ.ศ. 2548 ดิฉันก็ได้รับเกียรติจากท่านอธิการบดี ให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอธิการบดี เพื่อช่วยงานท่านรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ (ผศ.ดร.วิบูลย์ วัฒนาธร) ด้านการประกันคุณภาพ ของมหาวิทยาลัย
เพียงแค่ครึ่งปี ที่ช่วยงานท่านรองฯ คลื่นสึนามิ ก็โถมเข้าพลิกวิถีชีวิตของดิฉันอีก ดิฉันต้องลาออกจากตำแหน่งผู้ช่วยอธิการบดี เพื่อกลับมาช่วยงานคณะ โดยดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าภาควิชารังสีเทคนิคแทนท่านเดิมที่ลาออกเพื่อเตรียมไปศึกษาต่อระดับ ป.เอก
และเดือนเดียวหลังจากนั้น ชีวิตดิฉันก็มี After shock อีก ด้วยการเข้ามาดำรงตำแหน่งคณบดี คณะสหเวชศาสตร์ อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้
ถัดจากนี้ ติดตามเส้นทางชีวิตของดิฉันได้จาก Blog gotoknow ณ ที่นี้ จะเป็นที่ที่ช่วยให้ดิฉันไม่ลืมวันคืนที่ผ่านไป.....(ถึงลืมก็ค้นได้)
ประวัติแบบเป็นทางการ เป็นดังนี้
การศึกษา
2524 ปริญญาตรี วท.บ. รังสีเทคนิค ม. มหิดล B.Sc. (Radiological Technology)
2536 ปริญญาโท วท.ม. วิทยาศาสตร์รังสี ม. มหิดล M.Sc. (Radiological Science)
2539 Cert. Total Medical Imaging and Radiation Therapy Technology. Japan
การทำงาน
2524 รับราชการ ตำแหน่งอาจารย์ ระดับ 4 สังกัด ภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2533 ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 6
2543 ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ระดับ 8
ต.ค. 2543 ลาออกจากราชการมาสมัครเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ตำแหน่งสำคัญ
2538 ประธานสภาอาจารย์คณะเทคนิคการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ ม.มหิดล
2540 ประธานอนุกรรมการประสานงานเอกซเรย์ชุมชน คณะเทคนิคการแพทย์ ม.มหิดล
2544 ประธานคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา คณะสหเวชศาสตร์ ม.นเรศวร
2544 รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะสหเวชศาสตร์ ม.นเรศวร
2548 ผู้ช่วยอธิการบดี ม.นเรศวร
2548 หัวหน้าภาควิชารังสีเทคนิค คณะสหเวชศาสตร์ ม.นเรศวร
2548 - 30 ก.ย.52 คณบดีคณะสหเวชศาสตร์ ม.นเรศวร
4 ต.ค. 2553 คณบดีคณะสหเวชศาสตร์ ม.พะเยา
ดูงาน/ฝึกอบรม/ประชุมวิชาการ
2539 ประชุม RSNA 82nd ที่ Chicago, USA
ดูงานโรงงานผลิตเครื่องเอกซเรย์ Instrumentrarium ประเทศ Finland
2540 ประชุม ECR’97 ที่ Vienna, Austria
2544 ดูงานระบบ PACS ของโรงพยาบาล ประเทศ Singapore
2545 ดูงานมหาวิทยาลัย NUS: National University of Singaporeประเทศ Singapore
2546 ดูงานโรงงานผลิตอุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด ประเทศ Netherlands
2548 ดูงานแหล่งฝึกงานโครงการสหกิจศึกษา NUH: National University Hospital ประเทศ Singapore
แต่งตำรา
2525 ร่วมแต่งตำรา เรื่อง Computed Tomography
2538 ร่วมแต่งตำรา เรื่อง “การควบคุมคุณภาพของภาพเอกซเรย์”
2541 แต่งตำราอิเลกทรอนิกส์บนซีดีรอม เรื่อง เทคนิคและการจัดท่าในการถ่ายภาพเอกซเรย์x-ray
งานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว
1. มาลินี ธนารุณ. เปรียบเทียบคุณสมบัติในการใช้งานของชุดเครื่องมือวัดความไวฟิล์มสองยี่ห้อ. จุลสารชมรมอุปกรณ์การแพทย์ 2544 : 10(20) : 1-8.
2. มาลินี ธนารุณ. ผลของความสว่างของตู้อ่านฟิล์มและแสงสว่างรอบข้างต่อการอ่านฟิล์มเอกซเรย์เต้านม. จุลสารชมรมอุปกรณ์การแพทย์ 2542 : 9(19) : 1-10.
3. มาลินี ธนารุณ, จิตต์ชัย สุริยะไชยากร, ชวลิต วงษ์เอก, มานัส มงคลสุข.การสร้างเครื่องมือวัดความถูกต้องของการวางแนวคอลลิเมเตอร์ และลำรังสี. วารสารรังสีเทคนิค 2540 ; 22(2) : 31-38.
4. Wongse-ek C, Dhanarun M, Suriyachaiyakorn C, Mongkolsuk M, Sricome P, Suibjuntara J.Evaluation of radiographic film viewing box luminance and uniformity of brightness.Thai J Radiological Tech 1997; 22(3) : 55-60.
5. มานัส มงคลสุข, จิตต์ชัย สุริยะไชยากร, มาลินี ธนารุณ, ชวลิต วงษ์เอก. การวัดขนาดของโฟคอลสปอต : เปรียบเทียบระหว่างวิธีกล้องรูเข็ม, แผ่นทดสอบรูปดาว, และเทคนิคเร็ชโซลิวชัน. วารสารรังสีเทคนิค 2540; 22(1) : 17-24.
6. จิตต์ชัย สุริยะไชยากร, ชวลิต วงษ์เอก, มานัส มงคลสุข, มาลินี ธนารุณ.เครื่องมือวัดการจัดวางแนวกริด. วารสารรังสีเทคนิค 2539 : 21(2) : 39-42.
7. มานัส มงคลสุข, จิตต์ชัย สุริยะไชยากร, มาลินี ธนารุณ, ชวลิต วงษ์เอก.การประเมินคุณภาพเครื่องเอกซเรย์วินิจฉัย ในโรงพยาบาลของรัฐเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารรังสีเทคนิค 2538 ; 20(3) : 81-92.
ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น
2541 สิ่งประดิษฐ์ “ชุดเครื่องมือคิวซีภาพเอกซเรย์”
2542 โปรแกรมฐานข้อมูลบริการชุมชน
2546 นำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา ในงานรังสีเทคนิคนานาชาติภาคพื้นเอเชีย ครั้งที่ 14 ณ ร.ร. สยามซิตี้ กรุงเทพฯ 19 – 22 ส.ค. 46 เรื่อง Simple Method for Quality Control of Automatic
X- ray Film Processing
2547 พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเอกซเรย์เอกซโพเชอร์เทคนิค
Curriculum Vitae
PERSONAL PROFILE
NAME | Mrs.Malinee |
SURNAME | Dhanarun |
DATE OF BIRTH | April 11, 1956 |
AGE | 52 years |
NATIONALITY | Thai |
RELEGION | Buddhism |
MARITAL STATUS | married |
HOME ADDRESS | 332/9 Mhu 7, Mhuban Phitsanu-River-Park-Home, Amphur Muang, Phitsanulok. 65000 THAILAND. |
TEL : | 055-96-6257 |
FAX : | 0-5526-1935 |
Mobile : | 089-858-9508 |
E-mail : |
EDUCATIONAL BACKGROUND
INSTITUTION | CITY/ COUNTRY |
YEAR | ATTENDED | QULIFICATION OBTAINED | SUBJECT |
FROM | TO | ||||
Mahidol University | Bangkok THAILAND |
1976 | 1980 | Bachelor of science | Radiological Technology |
Mahidol University | Bangkok THAILAND |
1990 | 1993 | Master of science | Radiological Science |