อนุทินล่าสุด


กิตติพงศ์ พลเสน
เขียนเมื่อ

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๔



ความเห็น (2)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กิตติพงศ์ พลเสน
เขียนเมื่อ

เพราะมีที่มา ถึงมีที่ไป ยิ่งประวัติศาสตร์ความเป็นชาติบ้านเมืองด้วยแล้วต้องใช้เวลาหลายชั่วอายุคนจึงเกิดเป็นปึกแผ่นขึ้นมาได้

ราชาในรัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี เป็นอีกหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ของชาติไทยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแลพัฒนาชาติบ้านเมืองมาจนถึงวันนี้

จะไปข้างหน้าได้ไกลเท่าใด การรู้ประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปให้มากเพื่อเข้าใจที่มานับว่ามีความสำคัญยิ่ง เพื่อไปข้างหน้าอย่างมีจุดหมาย

๒๓ ตุลาคม น้อมรำลึกถึงองค์พระปิยะมหาราช



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กิตติพงศ์ พลเสน
เขียนเมื่อ

๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๓ ร่วมถวายกฐินสามัคคี ณ วัดนาควิชัย จ.มหาสารคาม



ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กิตติพงศ์ พลเสน
เขียนเมื่อ

กราบนมัสการพระบรมธาตุนาดูน อ.นาดูน จ.มหาสารคาม ในฐานะคนมหาสารคาม มีโอกาสต้องมาครับ



ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กิตติพงศ์ พลเสน
เขียนเมื่อ

ร้านกาแฟและอาหาร #บ้านไร่ชายทุ่ง พิกัด อ.นาดูน จ.มหาสารคาม กับการเปิดร้านในวิถีของชุมชน บรรยากาศดี อุดหนุนคนพื้นที่ในวันที่ไปนมัสการพระธาตุนาดูนครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กิตติพงศ์ พลเสน
เขียนเมื่อ

กฐินสามัคคี

๑ เดือนหลังออกพรรษา เป็นช่วงถวายผ้ากฐินพร้อมบริวารต่าง ๆ แด่พระภิกษุสงฆ์ เป็นอีกช่วงที่พุทธศาสนิกชนจะได้เข้าวัดทำบุญ และแฝงไปด้วยกุศโลบายที่ทำให้ญาติมิตรพี่น้องได้พบปะกันในการทำกิจกรรม สร้างความรัก ความสามัคคีกันไปในตัว มีโอกาสจึงควรไปร่วมพิธีกันครับ

๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๓วัดนาควิชัย มหาสารคาม



ความเห็น (1)

ช่วงนี้ก็ร่วมเดินสายทำบุญทอดกฐินครับ วิถีธรรมแบบนี้ก่อเกิดสิ่งดีงามต่างๆ มากมายเลยครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กิตติพงศ์ พลเสน
เขียนเมื่อ

๔ ปี ในความทรงจำแห่ง #พระราชาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และ #เจ้าฟ้าที่ทรงเข้มแข็งที่สุด

จำได้ว่าเช้าวันที่ ๑๓ ต.ค. ๒๕๕๙ ชาวคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหิดล พร้อมใจกันเฝ้ารับเสด็จสมเด็จพระเทพฯ ที่ทรงเสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์มารับฟังการบรรยายที่คณะฯ ซึ่งเราทุกคนต่างทราบข่าวพระอาการประชวรของในหลวง รัชกาลที่ ๙ ขณะที่เฝ้ารอเราต่างอดที่จะถามกันไม่ได้ว่าสมเด็จพระเทพฯ จะยังคงเสด็จไหม ใจหนึ่งก็ตั้งใจมารับเสด็จเพื่อถวายกำลังใจให้ทั้ง ๒ พระองค์…..ถึงเวลาท่านทรงเสด็จตามปกติ และสิ่งที่เราได้เห็นได้เรียนรู้จากพระองค์ คือ ความตั้งใจในการกระทำหน้าที่ของพระองค์ ซึ่งพระองค์ให้ความสำคัญยิ่ง แม้ทรงมีหน้าที่อันยิ่งใหญ่หาที่สุดมิได้อยู่ด้วย (ขณะที่มีกระแสข่าวมากมายอันน่าใจหาย) จนตกบ่ายพระองค์ถึงเสด็จออกจากคณะฯ…..ซึ่งในเวลานั้นเรายังไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น จนมีแถลงการณ์ช่วงเย็นๆ ที่ทำให้คนไทยทุกคนหยุดหายใจไปชั่วขณะ……..แม้จะเป็นความทรงจำที่แสนจะทรมาน แต่เป็นแรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่ ที่ได้อยู่ใต้ร่มพระบารมีแห่ง #พระราชาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และ #เจ้าฟ้าที่ทรงเข้มแข็งที่สุด อย่างไม่มีวันลืม



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กิตติพงศ์ พลเสน
เขียนเมื่อ

ลูกวัยรุ่น #แม่วัยทอง #พ่อวัยทำงาน(หามรุ่งหามค่ำ)

วันก่อนคุยสัเพเหระกับแม่วัยปลายเจนเอ็กซ์ ที่แต่งงานและมีลูกช้า ตามสถานการณ์ทางเศรฐกิจและสังคม สิ่งหนึ่งที่คุณแม่กังวล คือ ตอนลูกกำลังเข้าสู่วัยรุ่น ตัวเองก็จะเข้าสู่วัยทอง และพ่อก็คงยุ่งกับหน้าที่การงานที่กำลังเติบโตพอดี เป็นอีกช่วงเวลาที่เปราะบางในการดูแลลูกให้พ้นช่วงวิกฤตินั้น ซึ่งก็ไม่ได้ต่างกับแนวโน้มโดยรวมด้านครอบครัวและประชากร ที่มีปัจจัยแวดล้อมทางสังคมเกี่ยวข้องเยอะทีเดียว

ท่านใดมีประสบการณ์แชร์ไอเดียร์ช่วยคุณแม่กันหน่อยครับ รับมือยังไงดี

http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsrbeta/th/ResearchClusters.aspx?ArticleId=45&fbclid=IwAR3lA_oaW6BeOlokJa9sWGh0-Y53fikZy0_KwLBIri_pKHRWF0i0khaHno8



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กิตติพงศ์ พลเสน
เขียนเมื่อ

วันที่ 13 สิงหาคม 2558 หลังบรรยาย R2R ให้สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค ได้สรุปไว้สั้นๆ ว่าท้ายที่สุด "Routine to Research ต้องนำไปสู่ Research as Routine" นั่นคือ ต้องทำงานวิจัยเสมือนหนึ่งเป็นงานประจำให้ได้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กิตติพงศ์ พลเสน
เขียนเมื่อ

...สุนทรภู่ ครูกวี ศรีสยาม

ความงดงาม ภาษา อักษรศิลป์

วรรณกรรม แฝงธรรมะ สุขอาจินต์

ศิลปิน ผู้ชื่อก้อง ของคนไทย...

๒๖ มิถุนายน วันสุนทรภู่



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กิตติพงศ์ พลเสน
เขียนเมื่อ

"เกิดน้อยด้อยคุณภาพ"

วลีดังกล่าวที่ ศ.ดร.ปราโมทย์ ประสาทกุล กล่าวไว้เพราะเหตุแห่งการลดลงของภาวะเจริญพันธุ์รวมของไทยอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากการวางแผนครอบครัวด้วยการคุมกำเนิดอย่างประสบความสำเร็จ รวมถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคมอื่นๆ ที่ทำให้คนไทยไม่อยากมีลูก แต่ในขณะเดียวกันในภาพรวมที่เกิดน้อยนั้น กลับพบว่ามีการเกิดในกลุ่มแม่ที่ไม่พร้อมโดยเฉพาะในวัยรุ่นกลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนติดอันดับโลก

ปรากฎการณ์นี้ควรตั้งรับตั้งแต่เนิ่นๆ เราได้เรียนรู้จากหลายประเทศว่าสังคมผู้สูงอายุเกิดขึ้นแน่ แต่ถ้าปล่อยให้การเกิดในกลุ่มที่ไม่พร้อมยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ แรงงานในอนาคตก็อาจจะยากหน่อยในเรื่องการพัฒนาคุณภาพ ในขณะเดียวกันในกลุ่มที่พร้อมแต่ตั้งครรภ์ยากก็ควรส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยีทางการแพทย์ เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ก็มีแนวโน้มได้รับความนิยมมากขึ้น จะช่วยคนกลุ่มนี้ได้อย่างไร

สิ่งเหล่านี้อาศัยการวางแผนในระยะยาว ซึ่งมีความจำเป็นยิ่งเพื่อการพัฒนาคุณภาพประชากรในทุกช่วงวัยและสร้างสมดุลของโครงสร้างประชากรอย่างแท้จริง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กิตติพงศ์ พลเสน
เขียนเมื่อ

"เราไม่มีทางทำงานคนเดียวได้ ต้องหาเพื่อนมาทำงานร่วมกัน" พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน รพ.องครักษ์ นครนายก สรุปบทเรียนให้นักศึกษาสาขาอนามัยชุม ชั้นปีที่ ๔ ฟัง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนงานปฐมภูมิ ที่ทุกภาคส่วนต้องมาร่วมด้วยช่วยกันในฐานะ "เพื่อน" หาใช่เจ้านาย ลูกน้อง หรือหัวโขนอื่นๆ ที่สวมอยู่ ไม่



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กิตติพงศ์ พลเสน
เขียนเมื่อ

๒๘ พ.ย.๕๗ พานักศึกษาสาขาอนามัยชุมชน ปี ๔ เข้าเรียนรู้ระบบสุขภาพชุมชนและการจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิ ในพื้นที่ CUP องครักษ์ นครนายก พบว่า ชุมชนยังมีวิถีดั้งเดิมอยู่พอสมควร มีบรรยากาศของ บ-ว-ร โดยมี อสม. และ รพ.สต. เป็นกลไกการขับเคลื่อนด้านสุขภาพเข้าร่วมด้วย มีทุนทางสังคมที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากร ภูมิปัญญาบางอย่างที่ใช้เป็นพลัง ที่สำคัญคือการสร้าง "ทีมสุขภาพ" โดยอาศัยเครือข่ายของความเป็น "เพื่อน" มีหมอเวชศาสตร์ครอบครัว นักจิตเวชชุมชน พยาบาลชุมชน นักวิชาการสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อสม. และภาคส่วนอื่นๆ ร่วมกันทำงาน โดยมี "ใจ" เป็นศูนย์รวม มีเป้าหมายสำคัญคือ การสร้างสุข โดย ทีมคนทำงานต้องมีความสุขด้วย

นับเป็นอีกหนึ่งพื้นที่เรียนรู้ที่ทำงานปฐมภูมิได้อย่างเป็นรูปธรรมที่น่าชื่นชม



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กิตติพงศ์ พลเสน
เขียนเมื่อ

แผนที่ความคิด: เครื่องมือช่วยวิเคราะห์ที่ทรงพลัง

วันนี้ชวนนักศึกษาปี ๔ คุยเรื่องการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยังยืน โดยใช้บทเรียนจากพีระโมเดล (พีระ ตันติเศรณี อดีตนายกเทศมนตรีเมืองสงขลา ที่ถูกยิงเสียชีวิต) พร้อมๆ กับสอนการใช้เครื่องมือช่วยจับประเด็นและวิเคราะห์ด้วยแผนที่ความคิด (Mind mapping) ซึ่งปัจจุบันมีโปรแกรมหลายตัวให้เลือกใช้ เวลาประมาณชั่วโมงเศษๆ ได้ทั้งสาระ และสรุปเป็นแผนที่ความคิดได้อย่างที่แสดงให้เห็น นับว่าเป็นเครื่องมือที่นำไปใช้จับประเด็นและวิเคราะห์ได้ดีทีเดียว ซึ่งจริงๆ ไม่เพียงมีโปรแกรมให้ใช้เท่านั้น หากแต่การเขียนแผนที่ความคิดด้วยมือ ก็นับว่ามีความคลาสสิคในตัว และเป็นศิลปะทางความคิดที่ดีอีกด้วย



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กิตติพงศ์ พลเสน
เขียนเมื่อ

ในเวทีติดตามความก้าวหน้าของการเสริมสร้างสมรรถนะการบริหารระบบสุขภาพอำเภอ (DHML) ที่แต่ละศูนย์ประสานงานการเรียนรู้ (LCC) ได้แลกเปลี่ยนสิ่งที่เริ่มทำในแต่ละพื้นที่ ทำให้เห็น "ความต่าง" ตามบริบทของแต่ละที่ เช่น ทางเกษตรวิสัย เมืองร้อยเอ็ด ได้ลงเรียนรู้ถึงวัฒนธรรมชุมชน ทางโคราช มีนักวิชาการมาจัดบรรยายก่อนลงลุยพื้นที่ ทางฉะเชิงเทรา-สมุทรปราการ ใช้วิธีการนำเสนอสิ่งที่เป็นทุนเดิมที่ทำอยู่แล้ว ฯลฯ ซึ่งจะอย่างไรก็ตามแต่ หากแต่ละที่สามารถสร้าง "กลไกการมีส่วนร่วม" ได้อย่างแท้จริง ทั้งในส่วนของเครือข่ายคนทำงาน และชุมชน ท้องถิ่น เพื่อกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ การเดินไปสู่ความยั่งยืนย่อมเป็นไปได้ แต่หากยังยึดติดอยู่กับความเป็นเจ้านาย ลูกน้อง ข้าราชการ ข้าราษฏร โดยไม่คำนึงถึงศักยภาพและภูมิปัญญาที่แต่ละคนมี ความยั่งยืนหาเกิดขึ้นได้ไม่



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กิตติพงศ์ พลเสน
เขียนเมื่อ

แนวคิดของการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อให้เกิดความยั่งยืน จุดเริ่มต้นสำคัญ คือ การเชื่อมั่นในศักยภาพของชุมชน ทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรมที่มี แล้วสร้างกลไกการดึงพลังนั้นออกมา คนทำงานต้องเปิด "กบาลทัศน์" ใหม่ ด้วยการถอดหัวโขนความเป็นข้าชการ เจ้าหน้าที่ ออก แล้วเอาหัวใจความเป็นมนุษย์ลงไปทำงาน



ความเห็น (1)

กบาลทัศน์ ชอบคำนี้ค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กิตติพงศ์ พลเสน
เขียนเมื่อ

๒๖ พ.ย.๕๗ ร่วม ลปลล. ในการประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ (DHML) ซึ่งเป็นการ "สร้างกระบวนการ" เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ บวกกับ "เนื้อหา" ที่จำเป็นเพื่อให้ "ทีมสุขภาพ" ร่วมเรียนรู้และทำงานกับทุคภาคส่วน ในการสร้างสุขภาวะให้กับประชาชนและชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งถึงแม้จะมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การเสริมสมรรถนะการจัดการระบบสุขภาพอำเภอแล้ว ยังทำให้เกิดการจัดการปัญหาสุขภาพในชุมชน และ การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ ซึ่งเป็นหัวใจของความยั่งยืน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กิตติพงศ์ พลเสน
เขียนเมื่อ

ลองสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเวทีขับเคลื่อนระบบสุขภาพอำเภอ (DHS) กับศูนย์ประสานการเรียนรู้ (LCC) คลองสวน ๑๐๐ ปี (บ้านโพธิ์) ซึ่งสรุปสั้นๆ ได้ว่า "ตำรา" อยู่ในตัวคนทำงานอยู่แล้ว เพียงแต่กระตุ้นพลังให้เกิดการนำออกมาใช้ในลักษณะของการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมเรียนรู้ และก้าวไปด้วยกัน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กิตติพงศ์ พลเสน
เขียนเมื่อ

๑๒ - ๑๓ พ.ย. ๕๗ ร่วมประชุมขับเคลื่อนการบริหารระบบสุขภาพอำเภอ (DHS) ภายใต้โครงการ DHML เขต ๖ ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ ซึ่งเน้นรูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในระดับอำเภอเพื่อการทำงานสร้างสุขภาวะให้ประชาชนในพื้นที่ ซึ่งหลังจากได้ขึ้นไปเรียนรู้กับชุมชนจัดการตัวเองปะกาเกอะญอห้วยหินลาดใน จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2557 ผมได้เรียนรู้ว่าหัวใจที่เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการขับเคลื่อนงานนี้ คือ LOVE

L = Learning ที่ต้องให้เกิดการร่วมคิด ร่วมเรียนรู้ ร่วมทำ

O = Opportunity ที่ต้องเปิดโอกาสให้กันและกัน ในบทบาทแต่ละคนแต่ละองค์กร

V = Variety ดึงความแตกต่างหลากหลายมาเป็นพลังการขับเคลื่อน

E = Empowerment สร้างและรวมพลังซึ่งกันและกันให้เกิดพลังการมีส่วนร่วม

ซึ่งทั้งหมดจะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วย "ความรัก = LOVE" ที่จะก้าวไปด้วยกันอย่างแท้จริง



ความเห็น (1)

องค์ประกอบเหมาะสม ลงตัวเลยนะครับ LOVE

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กิตติพงศ์ พลเสน
เขียนเมื่อ

๕ พ.ย. ๕๗ หารือกับ UNFPA ประเทศไทย ในการจัดทำเอกสารเพื่อตอบข้อสังสัยหรือรายละเอียดเกี่ยวกับการผลักดัน พ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ เพื่อสื่อสารกับประชาชนทั่วไป รวมถึง Policy Maker ทั้งหลาย โจทย์ไม่ง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่ไม่มีอะไรตั้งต้นกันเลย ที่สำคัญ ปัญหาเฉพาะหน้าที่กำลังเผชิญอยู่ก็มีแนวโน้มสูงขึ้น ในระยะยาวถ้าปัญหาเหล่านั้นไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะส่งผลถึงคุณภาพชีวิตประชากรในภาพรวมเลยทีเดียว ท่านใดมีข้อคิดเห็น คำถาม หรือประเด็นแลกเปลี่ยน เรียนเชิญครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กิตติพงศ์ พลเสน
เขียนเมื่อ

ทำบุญตักบาตรและร่วมถวายกฐินสามัคคี ณ วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม อ.สามโคก ปทุมธานี วัดสายตรงของพ่อแม่ครูอาจารย์ใหญ่สายวิปัสสนากรรมฐาน หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต



ความเห็น (2)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กิตติพงศ์ พลเสน
เขียนเมื่อ

พึ่งลองใช้ gotoknow on mobile ครั้งแรก ชีวิตง่ายขึ้นเยอะเลย ขอบคุณทีมพัฒนา gotoknow ครับ คงได้หันกลับมาเขียนบ่อยๆ หลังไปอยู่กับ facebook มานาน ^_^



ความเห็น (2)

มายืนยัน…g2k ของเขาดีจริงๆคร้าบ!!

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กิตติพงศ์ พลเสน
เขียนเมื่อ

๒๐ มีนาคม ๒๕๕๗ ร่วมประชุมเตรียมการจัดการเรียนเพื่อเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ (District Health System Management Learning: DHML) โดย สปสช.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กิตติพงศ์ พลเสน
เขียนเมื่อ

ประสบการณ์หมอเลื่อนตรวจ

วันนี้มาตามที่หมอนัด เพื่อตรวจผลการรักษาอาการติดเชื้อในกระเพาะอาหาร หลังกินยามาเดือนเศษ ผลปรากฏว่า พอมาถึง พยาบาลถามยืนยันก่อนเข้าตรวจ ผลปรากฎว่ากินยาฆ่าเชื้อหมดไปยังไม่ถึงเดือน เกรงว่าผลที่ออกมาอาจจะเป็นผลลบไม่จริงได้ (Negative false) หมายถึง ไม่พบการติดเชื้อ แต่อาจจะเป็นเพราะผลของยาที่เพิ่งทานหมดไปไม่นาน จึงปรึกษาหมอเจ้าของไข้ สรุปคือ อีกสามอาทิตย์มาตรวจใหม่ บทเรียนที่ได้ คือ

๑. พยาบาลมีความรอบคอบที่น่าชื่นชม 

๒. ควรทบทวนช่วงระยะเวลาการนัดตรวจหลังให้ยารักษา

๑๓ ก.พ. ๒๕๕๗



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

กิตติพงศ์ พลเสน
เขียนเมื่อ

๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ นักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ เดินทางไปฝึกภาคสนาม การพัฒนาอนามัยชนบทเบ็ดเสร็จ ณ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี ร่วมกับ นิสิตแพทย์ มศว. เป็นเวลา ๕ สัปดาห์ ติดตามรายละเอียดที่ http://www.ph.mahidol.ac.th/field/2557/ 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท