ดอกไม้


มณฑาทิพย์ อนุศรี
เขียนเมื่อ

แบบบันทึกรายวิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้(102321)

1.สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้ในรายวิชา
-รูปแบบและวิธีการสอนต่างๆ ทำให้เราสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคต
-วิธีการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
-ความรู้เกี่ยวกับห้องเรียนแบบเก่าและห้องเรียนในศตวรรษที่ 21

2.แง่คิด/ความรู้สึก/ความประทับใจที่มีต่อการเรียน และ/หรือ ผู้สอนในรายวิชา
ต่อการเรียน : วิชานี้มีความจำเป็นต่อผู้ที่จะศึกษาในวิชาชีพครู เพราะจะต้องนำความรู้และทักษะที่ได้นี้ไปใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนและจัดการศึกษาให้กับนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ พร้อมทั้งฝึกทักษะอย่างเต็มที่และสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตได้อย่างเหมาะสม
ต่อผู้สอนในรายวิชา :อาจารย์มีความน่ารัก เป็นกันเอง มีรูปแบบการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย กระตุ้นความสนใจผู้เรียน ทำให้ไม่น่าเบื่อ

3.สิ่งที่ผู้เรียนปรับปรุง/พัฒนาให้ดีขึ้นมีอะไรบ้าง
-ควรอ่านหนังสือก่อนไปเรียน และเมื่อเรียนเสร็จแล้วควรกลับมาทบทวนเนื้อหาที่เรียนไปแล้ว

4.ข้อเสนอแนะ
-อยากให้มีหนังสือประกอบการเรียนในรายวิชานี้ค่ะ

20
9
ภัทราภรณ์ แกมจินดา
เขียนเมื่อ

แบบบันทึกรายวิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ รหัส 102321.docx
“แบบบันทึกรายวิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ รหัส 102321”
1.สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้ในรายวิชานี้
สามารถนำทฤษฎีการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการจัดการชั้นเรียนให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น
รู้จักการวางแผนการสอนอย่างเป็นระบบทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
2.แง่คิด/ความรู้สึก/ความประทับใจที่มีต่อการเรียนหรือผู้สอนในรายวิชา
แง่คิด การจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21
ควรเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้
โดยครูผู้สอนเปรียบเสมือนโค้ชให้กับผู้เรียนโดยมีหน้าที่อำนวยความสะดวกและเอื้อต่อการเรียนรู้ให้แก่ศิษย์ “Teach
less learn more ” ครูสอนน้อยลงผู้เรียนเรียนรู้ให้มาก ดังคำสอนที่ ดร.สิริรัตน์ นาคิน
ได้กล่าวไว้ว่า “ครูไม่ได้ต้องการให้เธอสอนเก่ง แต่ครูต้องการให้เธอสอนเป็น”
ความรู้สึก รู้สึกดีและโชคดีที่ได้เรียนวิชานี้กับ ดร.สิริรัตน์ นาคิน
ความประทับใจที่มีต่อการเรียนหรือผู้สอนในรายวิชา ตอนแรกๆ ก็คิดว่าวิชานี้ยาก อาจารย์ต้องโหดมากแน่ๆเลย
แต่พออาจารย์สอน อาจารย์ใจดี อาจารย์สอนได้ดีและเข้าใจง่าย อาจารย์มาสอนพร้อมกับรอยยิ้ม J อาจารย์เป็นกันเอง ทำให้ห้องเรียนผ่อนคลาย
ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนดีผู้เรียนมีความสุขในการเรียนไปด้วย
3.สิ่งที่ตนเองควรปรับปรุงหรือพัฒนาให้ดีขึ้น
เมื่อดิฉันได้เรียนในรายวิชานี้แล้วดิฉันเชื่อว่าจะสามารถนำเทคนิคในการสอนและการวางแผนการสอนมาพัฒนาศักยภาพในการสอนของตัวเองให้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ
ต่อไป
4.ข้อเสนอแนะในรายวิชา/ผู้สอน
อยากให้อาจารย์มีเนื้อหาหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับรายวิชามาประกอบในการเรียนเพิ่มเติม
เพื่อส่งเสริมในการเรียนรู้และผู้เรียนสามารถกลับไปทบทวนเนื้อหาได้ด้วยตนเอง เพื่อเป็นประโยชน์ในการทำแบบทดสอบ และเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้กับผู้เรียน

17
8
เกียรติชัย ราชจินดา
เขียนเมื่อ

วิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ (102301)

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนในรายวิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้

จากการที่ได้ศึกษาในรายวิชาออกแบบและการจัดการเรียนรู้คือวิธีการควบคุมชั้นเรียน วิธีการออกแบบการสอน การเขียนแผน เทคนิคการสอน การจัดสภาพบรรยากาศในชั้นเรียนที่ดี การส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน รูปแบบการสอนที่หลากหลาย วีธีการสอนแบบต่างๆ

แง่คิด / ความรู้สึก / ความประทับใจที่มีต่อการเรียนรู้ / ครูผู้สอน

ความรู้สึกในการเรียนรายวิชานี้ ในช่วงแรกรู้สึกกลัวว่ามันจะยากและเรียนไม่เข้าใจ เพราะด้วยเนื้อหาวิชาค่อนข้างที่จะยาก แต่เมื่อได้เรียนแล้วรู้สึกประทับใจที่อาจารย์ได้สอนเนื้อหาสาระที่ยากให้เข้าใจได้ง่าย ด้วยเทคนิควิธีในการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างหลากหลาย

สิ่งที่ตนต้องพัฒนา

1. เวลาสอนจริงต้องปรับการพูดให้ช้าลง เพราะตอนสาธิตการสอนพูดเร็ว
2. เวลาเขียนแผนจะต้องเขียนอย่างละเอียดกว่าเดิม
3. ต้องศึกษาเทคนิค วิธีการ และเนื้อหาสาระความรู้ใหม่ๆ เพิ่มเติมอยู่เสมอ

ข้อเสนอแนะ

อยากให้ห้องเรียนกว้างขึ้นมีพื้นที่ในการทำกิจกรรม มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนมากกว่านี้

23
8
Ilham Hayeechebu
เขียนเมื่อ

การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21

ในศตวรรษที่ 21 เป็นการเรียนรู้ที่กำหนดแนวทางยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ โดยร่วมกันสร้างรูปแบบและแนวปฏิบัติในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นที่องค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมแห่งความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน คือ ครูต้องไม่สอนแต่ต้องออกแบบการเรียนรู้และอำนายความสะดวก ให้นักเรียนเรียนรู้จากการเรียนแบบลงมือปฏิบัติหรือลงมือกระทำด้วยตนเองแล้วการเรียนก็จะเกิดขึ้นจากภายในใจและสมองซึ่งจะทำให้เด็กจำได้ดีกว่าการนั่งท่องจำเพราะเด็กได้คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง ซึ่งในอดีตนักเรียนไปโรงเรียนเพื่อใช้เวลาในการเรียนวิชาต่างๆเพื่อต้องการเกรดและเพื่อให้ได้จบการศึกษาแต่ในปัจจุบันจะแตกต่างกันมาก เพราะการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 เป็นการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เตรียมตัวเพื่อใช้ชีวิตในโลกที่เป็นจริง เน้นการศึกษาตลอดชีวิตด้วยวิธีการสอนที่มีความยืดหยุ่น มีการกระตุ้นและจูงใจให้ผู้เรียนเป็นคนเจ้าคิดเจ้าปัญญาที่ยังแสวงหาการเรียนรู้แม้จะจบการศึกษาแล้วก็ตาม และภาพของห้องเรียนจะขยายกลายเป็นชุมชนที่ใหญ่ขึ้นมีสภาพแวดล้อมหรือบรรยากาศในห้องเรียนที่ดีและน่าอยู่ นักเรียนจะเป็นผู้ชี้นำตนเองได้มีการทำงานที่เป็นกลุ่มและอิสระได้ โดยหลักสูตรและการสอนจะมีลักษณะท้าทายสำหรับผู้เรียนทุกคนและจะคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งหลักสูตรที่ใช้จะเป็นหลักสูตรแบบยึดโครงงานและการบูรณาการ การสอนทักษะและเนื้อหาจะไม่เป็นจุดหมายปลายทางแต่นักเรียนจะต้องมีการเรียนรู้ผ่านการวิจัยและปฏิบัติในโครงงาน ซึ่งการประเมินจะเป็นการประเมินที่ผู้ถกประเมินมีส่วนร่วมในการประเมินตนเองด้วย

ดังนั้น การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 จะต้องเปลี่ยนแปลงทัศนะจากกระบวนทัศนะแบบดั้งเดิมไปสู่กระบวนการใหม่ที่ให้โลกของนักเรียนและโลกความเป็นจริงเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู้



อ้างอิง: http://lripsm.wixsite.com/21st/about_us.


23
8
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท