การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21


การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21

การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 แตกต่างจากยุคศตวรรษก่อนๆ โดยสิ้นเชิง ซึ่งในศตวรรษที่ 21 มวลประสบการณ์ที่หลักสูตรควรจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จะมิใช่การจดจำเนื้อหาวิชาอีกแล้ว แต่จะเป็นการเรียนรู้และลงมือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความรู้และต่อยอดความรู้นั้นได้ด้วยตนเอง จะมีความยืดหยุ่น สร้างสรรค์ ท้าทาย และซับซ้อน เป็นการศึกษาที่จะทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างเต็มไปด้วยสิ่งท้าทาย และปัญหา รวมทั้งโอกาสและสิ่งที่เป็นไปได้ใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้น วิธีการสอนที่มีความยืดหยุ่น มีการกระตุ้นและจูงใจให้ผู้เรียนมีความเป็นคนเจ้าความคิดเจ้าปัญญา ที่ยังคงแสวงหาการเรียนรู้แม้จะจบการศึกษาออกไป การสอนทักษะในศตวรรษที่ 21 ซึ่งแยกกัน ในบริบทของวิชาหลักและ รูปแบบสหวิทยาการในศตวรรษที่ 21 มุ่งเน้นไปที่การให้โอกาสสำหรับการใช้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ในเนื้อหาและวิธีการตามความสามารถในการเรียนรู้ ช่วยให้วิธีการเรียนรู้นวัตกรรมที่บูรณาการการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนแนวทางเพิ่มเติมในการใช้ปัญหาเป็นฐาน และทักษะการคิดขั้นสูง สนับสนุนให้รวมทรัพยากรของชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้าน แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน

การวัดผลประเมินผลแห่งศตวรรษที่ 21 เป็นการวัดผลแบบ "การวัดผลเชิงประจักษ์ หรือ Authentic Assessment" ตามทฤษฏีการเรียนรู้ Constructivism Theory ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ด้วยมุมมองที่ว่า ผู้เรียนที่ "ผ่าน"ประสบการณ์สิ่งใดสิ่งหนึ่งมาแล้ว ย่อมมีความรู้ความสามารถแท้จริงในเรื่องนั้นๆ และผู้เรียนที่ได้ "ลงมือทำจริงๆ" โดยการ Learning by Doing มาแล้ว ย่อมสามารถสร้างคุณสมบัติให้พวกเขา มีบุคลิกลักษณะ "Character" ที่ "คิดเป็น ทำเป็น และสามารถแก้ปัญหาได้" กระบวนการเรียนการสอน การได้รับความรู้ และการตรวจสอบความรู้ คือกระบวนการเดียวกัน และเกิดขึ้นพร้อมๆกันในขณะที่มีการเรียนการสอนเกิดขึ้น ดังนั้น การประเมินจะไม่เป็นเพียง แต่ในการทดสอบ การประเมินจะไม่เป็นเพียงแต่ใน "การทดสอบ" เท่านั้น แต่ยังมีการสังเกตนักเรียน ดูการทำงานของนักเรียน และ ประเมินไปถึงมุมมองของนักเรียนด้วย เพื่อตรวจสอบคุณภาพของคนที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ มากกว่า การวัดค่าความรู้ความจำ และความเข้าใจที่ได้จากหนังสือเรียน

แหล่งอ้างอิง

www.gotoknow.org

http://lripsm.wixsite.com

หมายเลขบันทึก: 618704เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2016 18:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2016 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

อ่านแล้วได้ความรู้เพิมเติมมากค่ะ

ข้อมูลครบถ้วน น่าสนใจมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท