​ครูในศตวรรษที่ 21


ครูในศตวรรษที่ 21

การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 มีการเรียนรู้ที่จะปรับไปจากเดิม เน้นการเรียนรู้จากชุดความรู้ที่มีความชัดเจน พิสูจน์ได้ เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาคำตอบด้วยตนเอง หัวใจสำคัญที่สุดของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ก็คือ แรงบันดาลใจ จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จุดอ่อนของการศึกษาไทย คือ ผู้เรียนไม่ได้ทักษะที่สำคัญต่อชีวิต แต่ได้วิชาเพื่อเอาไปตอบข้อสอบ ครูผู้สอนต้องให้ความสำคัญ ต้องสร้างให้ผู้เรียนเกิดความเป็นมนุษย์ ทักษะการเรียนรู้ และแรงบันดาลใจ ทั้งนี้ครูผู้สอนจะต้องมีความตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้ เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนมีทักษะ ก็คือ ทักษะการเรียนรู้ (Learning Skills) มุ่งเน้นความรู้ความสามารถ ทักษะจำเป็น ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และสมรรถนะของการรู้ทัน คือ ทักษะ 3R และ 7C ครูผู้สอนจะต้องใช้สื่อเทคโนโลยีในการถ่ายทอดความรู้ ทำให้ผู้เรียนมีความสนใจ เพลิดเพลินที่อยากจะร่วมทำกิจกรรมในชั้นเรียนด้วย และเน้นที่ผู้เรียนเป็นหลัก ซึ่งครูผู้สอนเหมือนเป็นโค้ช คอยแนะนำ ให้คำปรึกษา เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถนำความรู้ สิ่งที่เรียนไปบูรณาการและต่อยอดได้

การวัดและประเมินผลในศตวรรษที่ 21 นั้น เป็นการวัดแบบ Constructive assessment นิยมเรียกว่า การวัดผลเชิงประจักษ์ ตามทฤษฎีการเรียนรู้ Constructivism Theory ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง จะมีบุคลิกลักษณะที่คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเองได้ กระบวนการเรียนการสอนได้รับความรู้และตรวจสอบความรู้ คือกระบวนการเดียวกัน ไม่เพียงแต่ประเมินจากการสอบเท่านั้น แต่จะประเมินได้จากการสังเกตผู้เรียน ดูจากการทำงาน และประเมินถึงมุมมองของผู้เรียน ซึ่งการประเมินบางอย่าง สามารถยกตัวอย่างได้ เช่น การอภิปรายปากเปล่า แผนภูมิ แผนที่ความคิด ลงมือปฏิบัติจริง และทดสอบล่วงหน้า เป็นต้น ซึ่งวิธีการวัดเหล่านี้ก็จะมีการวัดที่แตกต่างกันของรูปแบบ แต่ก็สามารถสังเกตผู้เรียน รู้คุณภาพและคุณสมบัติของผู้เรียนได้เหมือนกัน โดยจะเน้นที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สังเกตพฤติกรรม และความคิดของผู้เรียน จะมีกรอบแนวคิดของการวัดและประเมินผล ก็คือ การสำรวจ คือ เรียนรู้อะไรนอกเหนือจากบทเรียนบ้าง สร้างสรรค์ คือ มีแนวคิด ความรู้ เข้าใจอะไรใหม่ๆ ที่นำเสนอได้ เรียนรู้ คือ รู้อะไร สามารถทำอะไรได้บ้าง เข้าใจ คือ หลักฐานอะไรที่คล้ายๆ กัน สามารถประยุกต์การเรียนรู้ในขอบเขตได้บ้าง และแบ่งปัน คือ ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้เพื่อช่วยเหลือบุคคล ชั้นเรียน ชุมชน หรือโลกได้อย่างไร

แหล่งข้อมูล : http://journal.feu.ac.th/pdf/v9i1t2a10.pdf

หมายเลขบันทึก: 618616เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2016 23:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2016 23:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะคะ ได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้นเลยค่ะ

ชอบมากๆค่ะ นำข้อมูลดีๆมาลงอีกนะคะ

เนื้อหามีความน่าสนใจ เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้นค่ะ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะคะ

ข้อมูลน่าสนใจ เนื้อหาครบถ้วนมากค่ะคุณพัช

เนื้อหาดีค่ะ อ่านเข้าใจง่าย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท