หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลในศตวรรษที่ 21


หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลในศตวรรษที่ 21

ในศตวรรษที่ 21 การศึกษาถูกพัฒนาให้สอดคล้องกับความเป็นจริง การเรียนการสอนเน้นการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง ผู้เรียนต้องมีทักษะในการอ่าน เขียน และคำนวณ ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานในการออกไปดำรงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นโลกที่เทคโนโลยีสารสนเทศมีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ดังนั้น การจัดการเรียนรู้ตามเนื้อหาวิชาจึงไม่อาจเพียงพอต่อความต้องการของผู้เรียน จึงมีการส่งเสริมให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าเอง โดยครูมีหน้าที่แนะนำและออกแบบกิจกรรมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ แต่การเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นก็มาพร้อมกับการเผยแพร่ข่าวสารอย่างไร้ระเบียบ อาจตรงกับความเป็นจริงบ้างหรือไม่ตรงบ้าง ดังนั้นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะด้านสารสนเทศจึงจำเป็นมากในศตวรรษที่21 เพราะจะทำให้ผู้เรียนรู้เท่าทัน และเลือกนำสารสนเทศมาใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม นอกจากนี้ทักษะอีกด้านที่ขาดไม่ได้ในการสั่งสมความพร้อมให้เด็กในศตวรรษที่ 21 คือทักษะด้านชีวิตและอาชีพ ผู้เรียนต้องสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพในอนาคต เชื่อมโยงความรู้เพื่อใช้แก้ปัญหาและประกอบอาชีพในอนาคตได้ กล่าวสั้นๆคือ เป็นการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความเป็นจริงนั่นเอง
เมื่อการจัดการเรียนรู้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม บทบาททางการเรียนรู้ของผู้เรียนเปลี่ยนเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง ดังนั้นบทบาทของครูจึงเปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน เราปฏิเสธไม่ได้ว่าครูคือบุคลากรที่สำคัญมากทางการศึกษา จากเดิมครูมีหน้าที่ให้ความรู้โดยการบรรยาย แต่ในศตวรรษที่ 21 บทบาทหน้าที่ของครูได้เปลี่ยนเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน เน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการศึกษาและปฏิบัติด้วยตนเอง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจึงส่งผลต่อการพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 คือ ต้องมุ่งพัฒนาผู้เรียน เน้นผลลัพธ์ที่เกิดจากตัวผู้เรียนเป็นหลัก

ด้านการวัดและการประเมินผลในศตวรรษที่ 21 ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ ซึ่งสรุปได้ดังนี้

1.การวัดผล ประเมินผล และการเรียนต้องรู้เป็นกระบวนการเดียวกัน
2.ผลการวัดผล ประเมินผล ต้องทำเพื่อการปรับปรุง และพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในขณะนั้น และในโอกาสต่อไป
3.ผู้เรียนจะได้รับการแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนา ไปพร้อมๆกับการเรียนรู้ ดังนั้นจึงไม่มีการสอบตก หรือเรียนซ้ำชั้น
4.ศักยภาพของผู้เรียนย่อมสามารถ “แสดงออกได้ Reflections” ด้วยวิธีต่างๆที่เหมาะสม และสามารถพัฒนาได้ตลอดเวลา
5.เนื่องจาก การเรียนรูในศตวรรษที่ 21 เป็นการเรียนรู้จาก “โลกแห่งความเป็นจริง Real World” ดังนั้น จึงไม่มี “ข้อสอบแบบ Question Paper and Answer Sheet”ใดๆไปวัดศักยภาพของผู้เรียนได้
6.การเรียนรูในศตวรรษที่ 21 ที่เป็น “ความรู้วิชาการ Academic Knowledge” ที่ใช้แผนการเรียนแบบ Learning by Doing และใช้หนังสือเรียน Textbooks ชุดเดียวกัน จะได้ผลสัมฤทธิ์มากกว่าการเรียนการสอนโดยวิธีอื่น

แหล่งสืบค้นข้อมูล

www.peerapanasupon.com

www.gotoknow.org

www.glf.or.th

www.acdemai.edu

สืบค้นเมื่อ วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2559

หมายเลขบันทึก: 618560เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2016 20:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2016 20:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

การเรียนการสอนเน้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะเป็นสิ่งที่ดี จะเกิดประโยชน์เป็นอย่างมากในชีวิตจริงของผู้เรียน

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท