การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21


การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21

การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 จะเน้นการเรียนรู้มากกว่าการสอน จึงต้องมีทักษะการเรียนรู้ ที่เหมาะสำหรับยุคของเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างต่อเนื่อง แนวทางในการศึกษาในศตวรรษที่ 21 คือการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติ (Learning by Doing) เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดความสนใจในการเรียนรู้ สามารถแบ่งปันความรู้ และเกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ครูในศตวรรษนี้ต้องเปลี่ยนบทบาทเป็น “โค้ช ” โดยครูจะออกแบบการเรียนรู้ และอำนวยความสะดวก ให้แก่นักเรียน เนื่องจากปัจจุบันความรู้มีมาก ครูต้องสอนเฉพาะเนื้อหาที่สำคัญ ๆ ที่ทำให้ผู้เรียนนำความรู้ต่อยอดได้ ส่วนความรู้ที่ไม่ได้สอน ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ด้วยตนเอง วิธีการของการศึกษา จะต้องเปลี่ยนเป้าหมายจากให้ความรู้ เป็น ให้ทักษะ เปลี่ยนจาก ผู้สอนเป็นหลัก เป็น ยึดผู้เรียนเป็นหลัก ครูต้องมีบทบาทในการจัดการศึกษา ได้แก่การจัดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมสร้างสรรค์ การคิดของผู้เรียนสอดคล้องกับความจำเป็น ความต้องการ และความเป็นไปได้ในปัจจุบันของพวกเขา ครูต้องใช้การเล่นเพื่อรู้ ซึ่งเป็นวิธีการสำคัญในการพัฒนาผู้เรียน ครูจึงต้องตื่นตัวและเตรียมพร้อมในการจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียนมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกในศตวรรษที่ 21 เด็กในศตวรรษที่ 21 นี้ จะต้องมีความรู้ ความสามารถ และทักษะจำเป็น โดยเน้นที่องค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะที่เกิดกับตัวผู้เรียน

การวัดและประเมินผลแห่งการเรียนรู้ของศตวรรษที่ 21

เพื่อตรวจสอบคุณภาพของคนที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้มากกว่าการวัดค่าความรู้ความจำ และความเข้าใจที่ได้จากหนังสือเรียน การวัดและประเมินผลไม่เพียงแต่การทดสอบเท่านั้นแต่ยังมีการสังเกตนักเรียน ดูการทำงานของนักเรียน และประเมินไปถึงมุมมองของนักเรียนด้วย วิธีการประเมิน เช่น

-การอภิปรายปากเปล่า ผู้ประเมินสามารถรู้ถึงคุณภาพ และคุณสมบัติของผู้ถูกประเมินได้อย่างชัดเจน

-แผนภูมิ KWL (H) (What we know,สิ่งที่เรารู้ What we want to know, สิ่งที่เราต้องการจะรู้ What we have learned สิ่งที่เราได้เรียนรู้แล้ว, How we know it วิธีการที่เราหาความรู้) เป็นเทคนิคการประเมินที่ดี ที่เป็นการแสดงถึงความคืบหน้าของนักเรียนตลอดระยะเวลาของการศึกษา

-แผนที่ความคิด Mind Mapping คือแผนการในการปฏิบัติการเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ว่า จะทำอะไร จะทำอย่างไร จะทำเมื่อไร เพื่อให้เกิดผลอย่างไร

-ลงมือทำจริงๆ Hands-on activities ผู้วัดผลประเมินผลสามารถใช้แบบตรวจสอบรายการและสังเกต เพื่อประเมินความสำเร็จของนักเรียน ด้วยสิ่งของเครื่องใช้จริงๆ

-ทดสอบล่วงหน้า Pre-testing ช่วยให้ครูตรวจสอบความรู้เก่า ที่นักเรียนจะนำมาต่อยอดความรู้ใหม่ เพื่อที่คุณครูจะนำมาใช้ประโยชน์ในการจัดประสบการณ์ และสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนรู้


อ้างอิง

www.gotokhow.org

www.journal.feu.ac.th

www.qlf.or.th

www.veharkarn.com

หมายเลขบันทึก: 617990เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2016 22:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2016 19:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

อ่านแล้วเข้าใจง่าย ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลลดีๆนะคะ

เนื้อหาดีมาก ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะคะ

การศึกษาที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต นับเป็นเรื่องที่ดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท