ไม่อยากให้คนไข้กลับไปโดยไม่ได้รับการรักษา


เมื่อตอบคำถามอาจารย์ไม่ได้ อาจารย์ก็ไม่ให้ผมทำงานเลยในวันนั้น

ได้รับฟังจากนักศึกษาว่า  บางครั้งนัดผู้ป่วยมาในคลินิก  แต่เมื่อผมตอบคำถามอาจารย์ไม่ได้  อาจารย์ก็ไม่ให้ผมทำงานเลยในวันนั้น  และให้ผู้ป่วยกลับไปโดยไม่ได้รับการรักษาเลย  ผมรู้สึกทั้งสงสารและเกรงใจผู้ป่วย  แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ผมไม่อยากให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่ดี เพราะอาจมีผลต่อรุ่นน้องๆ ในอนาคต

ขอให้เจ้าของคำถามและผู้เข้ามาอ่านบล็อกช่วยอีเมล์ถึงอาจารย์อ๊อดด้วยครับว่าได้รับประโยชน์จากคำแนะนำของเราหรือไม่ อย่างไร เพื่อเราจะได้นำไปปรับปรุง จะขอบคุณมาก

คำสำคัญ (Tags): #ปัญหาคลินิก
หมายเลขบันทึก: 79265เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2007 10:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ปัญหานี้ดูเหมือนมีคำตอบชัดเจนอยู่แล้ว  คืออาจารย์ท่านนั้นคิดว่าหากนักศึกษาไม่มีความรู้พอในงานนั้น จะให้ลงมือรักษาผู้ป่วยได้อย่างไร 

อย่างไรก็ตาม  ทางออกของสถานการณ์เช่นนี้อาจไม่จำเป็นต้องเป็นลักษณะ all or none เสมอไป  หากสิ่งที่นักศึกษาไม่รู้นั้นไม่ถึงกับเป็นสิ่งที่ "ต้องรู้"  แต่เป็นเพียงสิ่งที่ "ควรรู้" 

การลงโทษหรือตักเตือนนักศึกษาที่ไม่ได้เตรียมตัวให้พร้อมก่อนทำงานในคลินิกนั้น คงมีวิธีอื่นๆ อีก  การลงโทษนักศึกษา แต่กลับดูเหมือนลงโทษผู้ป่วย  ก็อาจส่งผลกระทบต่อภาพรวมของคณะได้เหมือนกัน

ศิษย์เมื่อทราบถึงความอึดอัดจากเหตุการณ์เช่นนี้ที่จะเกิดขึ้นกับทั้งอาจารย์  ผู้ป่วย และของตนเองแล้ว  ก็ควรที่จะต้องเตรียมตัว  เตรียมความรู้มาให้ดีที่สุดก่อนนัดผู้ป่วยมารักษา  โดยเฉพาะในสิ่งที่ "ต้องรู้" ทั้งหมด 

ครูเชื่อว่าหากศิษย์เตรียมตัวมาดี  แม้จะตอบคำถามผิดไปบ้าง อาจารย์ผู้คุมก็จะยอมยกโทษ และพร้อมที่จะแนะนำให้อย่างแน่นอน

ผมขออนุญาตร่วมแสดงความคิดเห็นนะครับ 

ผมเห็นด้วยกับอาจารย์ครับ 

การทำงานโดยเฉพาะกับผู้ป่วย มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก  บางครั้งการใช้ระเบียบกฎเกณฑ์  หลักการที่เข้มงวดก็ไม่ได้ส่งผลดีเสมอไป  และอาจจะสร้างภาพลบให้กับสถานบริการอีกต่างหาก

หากจะสั่งสอนหรือแนะนำ (หรือดุด่าว่ากล่าว  ลงโทษ )  อะไรให้กับนักศึกษาก็ควรจะไม่ให้มีผลกระทบต่อผู้ป่วยหรือประชาชนที่ไม่ได้มีส่วนกระทำผิดอะไรด้วยเลย 

ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลหรือบริษัท  ต้องให้ความสำคัญกับผู้มารับบริการหรือลูกค้าเป็นอันดับแรก ครับ

 

พี่คิดว่าการที่ลงโทษโดยไม่ให้ทำการรักษาผู้ป่วยใน visit นั้นเลยก็ไม่ดี แต่ต้องดูด้วยว่าสิ่งที่เราไม่รู้นั้นส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติมากเพียงใด เราต้องพิจารณาดูด้วย เนื่องจากบางครั้งถ้าอาจารย์คิดว่าอาจส่งผลมาก หรือทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ผิด ๆ ต่อไป ก็อาจส่งผลเสียมากกว่า ก็อาจมีความจำเป็นที่จะต้องให้เราหยุดทำ แล้วให้ไปทบทวนความรู้หรือฝึกปฏิบัติเพิ่มเติม ซึ่งเราก็สามารถให้การรักษาผู้ป่วยใน visit นั้นได้โดยการให้ความรู้แก่ผู้ป่วย ถ้าเราสามารถอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจในสภาวะการเป็นโรคของผู้ป่วย รวมถึงทำให้ผู้ป่วยได้เข้าใจในขั้นตอนการรักษามากขึ้น ก็น่าจะมีประโยชน์ในระยะยาวนะคะ อย่าคิดว่าการรักษาคือการ treatment เพียงอย่างเดียว การสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ผู้ป่วยก็สำคัญมาก โดยเฉพาะเรายังเป็นนักศึกษาอยู่การสร้างความน่าเชื่อถือ และความสัมพันธ์อันดีระหว่างเราและผู้ป่วย จะทำให้เราสามารถปฏิบัติงานได้ดีกว่าการที่เราสามารถ treatment ได้เพียงอย่างเดียวค่ะ

จากประสบการณ์การทำงานอันน้อยนิด ก็เคยอยู่ในสถานการณ์นี้เช่นเดียวกัน แต่คนละสถานภาพ เชื่อว่าการที่อาจารย์แต่ละท่านพิจารณาให้นักศึกษาหยุดงานที่ทำอยู่แล้วให้ผู้ป่วยกลับนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล (ไม่ใช่อารมณ์) และผ่านการกลั่นกรองแล้วว่าหากปล่อยให้นักศึกษาปฏิบัติงานต่อไป โดยปราศจากการเตรียมตัวที่เหมาะสม อาจก่อให้เกิดปัญหาตามมาได้ ซึ่งในการเรียนรู้ของนักศึกษาเพื่อให้การรักษาแก่ผู้ป่วยนั้นในบางกรณีไม่สามารถทำได้โดยการชี้แนะแต่เพียงอย่างเดียว (การดุด่าว่ากล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร ไม่ได้ทำให้นักศึกษาสามารถทำงานในคาบนั้นได้ดีขึ้นในพริบตา) อาจต้องการเวลาเพิ่มเติมในการฝึกทักษะ หรือเตรียมความพร้อมเพื่อตัดสินใจหรือลำดับขั้นตอนที่จะปฏิบัติต่อไป ซึ่งเป็นข้อจำกัดของสถานพยาบาลที่เป็นโรงเรียนที่จำเป็นต้องใช้เวลาในการรักษามากกว่าสถานพยาบาลทั่วไปอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นการปฏิบัติงานของนักศึกษาภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของอาจารย์ทันตแพทย์ และมีขอบเขตการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วยตามลักษณะวิชาชีพ (ไม่เหมือนร้านทำผมหรือสปาที่ง้อลูกค้าได้เต็มที่) โดยส่วนตัวแล้วในเหตุการณ์นั้นมีอยู่ 3 ทางเลือก คือทางแรกให้การรักษาผู้ป่วยด้วยตนเอง โดยนักศึกษาจะเสียโอกาสการเรียนรู้บางอย่างไป หรือให้นักศึกษาหยุดงานชั่วคราวเพื่อคุยนอกรอบ หากเข้าท่าก็ปฏิบัติงานต่อ หากคุยแล้วไม่เข้าท่าก็จำเป็นต้องหยุดงานในคาบนั้นเพื่อให้นักศึกษากลับไปเตรียมความพร้อมและนัดผู้ป่วยกลับมารักษาต่อในครั้งต่อไป ซึ่งการจะตัดสินใจอย่างไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์แวดล้อมด้วย โดยจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักศึกษาได้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มความสามารถ ในขณะเดียวกันผู้ป่วยก็ได้รับการรักษาที่ดีและเหมาะสม
ผู้เข้าชมที่เป็นคนไข้คนหนึ่ง

      ในกรณีเช่นนี้  ผมคิดว่า  ก่อนให้นักศึกาลงคลินิก  ให้มีการทบทวนสิ่งที่ต้องรู้ก่อนระหว่างอาจารย์กับศิษย์เพราะบางคนทบทวนมาแล้วอาจจะตกหล่นไป  ตกใจเป็นความสุดวิสัยจริงๆ  ซึ่งทบทวนแล้วก็จะทำให้ไม่มีคำว่าไม่รู้อีก 

       การให้คนไข้ที่นักมาไม่ได้ทำการรักษากลับไป  ทำให้คนไข้เสียเวลา  เสียค่ารถ   เสียความมั่นใจในสถาบัน  เป็นเหตุทำให้คนไข้ไม่อยากเข้ารับการรักษาที่คลินิกที่นักศึกษาทำ  ขาดความเชื่อมั่น   ส่งผลให้ในอนาคตคนไข้คงจะผิดนัดเรื่อยๆ   หรือไม่เข้ารับการรักษาที่นี่   ทำให้นักศึกษาจิตตก  ไม่มีคนไข้   สถาบันผลิตทันตแพทย์ที่จิตไม่สมบูรณ์   ซึ่งผลนี้เสียหายร้ายแรงต่อคณะโดยตรงเลยนะครับ    

     แตหากนักศึกษาไม่ไหวจริงๆ   แม้คำถามง่ายๆ  ตอบไม่ได้มีผลกระทบร้ายแรงต่อคนไข้  ก็ควรให้มีอาจารย์ทำการรักษาคนไข้รายนั้นกลับไป  อย่างน้อยก็ไม่เสียเที่ยวที่มาครับ

   ความคิดเห็นของผมคงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การรักษา  และการเรียนของนักศึกษาได้มีการปรับกันนะครับ   เพื่อความสุขของทั้งคนไข้และทันตแพทย์เองครับ      ผมคิดเป็นอย่างไรแสดงความเห็นได้ครับอาจารย์ และนักศึกษา  ขอบคุณครับ

ผมว่ากรณีอยุ่ที่อารมณ์ของอาจารย์ มากกว่านะครับ

ผมไม่ได้ลบหลู่อาจารย์ทุกท่าน

แต่ผมพูดถึงบางท่านที่ไม่มีความเหมาะสม ใช้อารมณ์ ไม่มีเหตุผลในการตรวจ

นอกจากนักศึกษาจะเครียด ทำไรไม่ถูกแล้ว คนไข้ยังต้องมานั่งฟังคนโมโหใส่เด็กนักเรียน

คิดเองละกันนะครับเป็นถึงหมอว่าบรรยากาศในคลีนิคจะเป็นอย่างไร

การที่นักศึกษาไม่มีความรู้ ไม่ให้ทำคนไข้ เป็นสิ่งถูกครับผมเห็นด้วย แต่ควรอธิบายเหตุผล พูดจากันดีดี ลูกศิษย์ก็คน มีชีวิตและจิตใจ

เห็นด้วยกับความคิดที่ 5

และน่าเป็นห่วงสภาพจิตใจทั้งอาจารย์ทันตแพทย์และนักศึกษา คงเครียดหนักกันทั้ง 2 ฝ่าย อาจารย์เครียด นศ.ไม่ได้อย่างที่คาดหวัง นศ.คงเครียดที่ตัวเองไม่ได้อย่างใจตัวเองเช่นกันและคงอยากให้อาจารย์ลงโทษด้วยวิธีที่เมตตาส่งเสริมการเรียนการสอนที่สร้างสรรค์กว่านี้ เหตุการณ์นี้คงไม่ได้เกิดแค่ครั้งเดียวและกับนักศึกษาคนเดียวแน่นอน ใครหนอจะยื่นมือเข้าช่วยเหลือ !

ที่แน่ๆ ผู้ป่วยโชคร้ายมาก และผู้ปกครองนักศึกษาคงสงสารลูกหลานสุดหัวใจ

ขอเป็นกำลังใจให้นักศึกษาอดทนและปรับปรุงตัวให้พร้อมและเรียนรู้วิธีคลายความเครียดที่ถูกต้องเหมาะสม

และขอเป็นกำลังใจให้อาจารย์ได้ค้นพบวิธีสนับสนุน ช่วยเหลือประคับประคอง ที่จะให้โอกาสนักศึกษาได้เรียนรู้

บางทีการที่คนไข้ต้องรอคิวหรือรอให้คุณหมอติดต่อมามันก็นานเกิดไปนะค่ะ

หรือบางทีก็รอจนลืมไปแล้วด้วยซ้ำว่าต้องไปรักษาฟัน

แล้วก็ลืมหน้าหมอที่เป็นคนนัดไปแล้วด้วย (. .)!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท