โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3 (ช่วงที่ 6 ระหว่างวันที่ 30 กันยายน - 3 ตุลาคม 2558)


สวัสดีครับลูกศิษย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ ชาว Blog

ภารกิจสำคัญของผมอีกภารกิจหนึ่งนับจากวันนี้ คือ การได้รับเกียรติจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มอบให้ผมเป็นครูใหญ่ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โครงการพัฒนาผู้นำเพื่ออนาคตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3สำหรับบุคลากรของคณะแพทย์ฯ และหน่วยงานเครือข่ายของคณะแพทย์ จำนวน 55 คน ต่อเนื่องจากรุ่นที่ 1 และ 2 ซึ่งได้พัฒนาผู้นำรุ่นใหม่สำหรับการทำงานของคณะแพทย์ฯ ในอนาคตไปแล้วจำนวน 100 คน เมื่อปีที่ผ่านมา

ผมขอขอบคุณท่านคณบดี รศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มอ. พญ.กันยิกา ชำนิประศาสน์ ศ.นพ.สงวนสิน รัตนเลิศ ท่านรองคณบดีทั้ง 2 ท่านซึ่งให้เกียรติผมและทีมงานเสมอ และขอชื่นชมที่ท่านเป็นผู้นำที่มีปรัชญาและความเชื่อเรื่องทุนมนุษย์ว่าเป็นทุนที่สำคัญที่สุดที่จะขับเคลื่อนความเป็นเลิศขององค์กร ซึ่งเป็นความเชื่อและศรัทธาที่ทำให้ผมมุ่งมั่นทำงานในเรื่องทุนมนุษย์ หรือ ทรัพยากรมนุษย์ มากว่า 35 ปี

โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3 จะเป็นกิจกรรมการเรียนรู้หลักสูตรต่อเนื่องระยะยาว รวม 20 วัน โดยในช่วงที่ 6 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 กันยายน - 3 ตุลาคม 2558

ผมขอเปิด Blog นี้ เพื่อเป็นคลังความรู้ของพวกเรา และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนมุมมองของลูกศิษย์ของผมและท่านที่สนใจหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Blog นี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

บันทึกการเรียนรู้

วันที่ 30 กันยายน 2558

วิชาที่ 34

Learning Forum & Workshop

หัวข้อ “เทคนิคการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ”

โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

การแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เรียนไม่รู้จบ

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติได้นำเสนอกรณีศึกษาการแก้ปัญหาของสปช.

สี่มิติที่ไทยไปได้ต้องมีการเมืองและเทคโนโลยีด้วย แผน 12 ที่จะใช้ปี 2559 มีการพัฒนาการเมืองและเทคโนโลยี จะกระทบมหาวิทยาลัยด้วย การเมืองเป็นสิ่งที่กำหนดบรรยากาศ

รัฐธรรมนูญต้องระบุการวางแผนระยะยาว เพราะการวางแผนประเทศใช้เวลา 5 ปีไม่พอ

ความคิดร่วมกัน อีก 20 ปี ไทยจะต้องเป็นประเทศพัฒนาแล้วให้ได้ โดยเน้นมิติต่างๆ

การวางแผนมหาวิทยาลัยครั้งต่อไปต้องล้อกับแผน 12

ถ้ามหาวิทยาลัยเป็นเรือหาปลา น้ำขึ้น ปลามาก คือ เศรษฐกิจดี แต่บรรยากาศอึมครึมไม่กล้าออกเรือ ก็ไม่สามารถแสวงหาประโยชน์ได้

Charles Kepner และ Benjamin Tregor ทำสถาบัน Kepner & Tregor ที่ Houston เขียนหนังสือความสมเหตุสมผล “The Rational Manager” เป็นหนังสือขายดี

Peter Drucker เป็นชาวออสเตรีย เป็นนักคิดเรื่องบริหารจัดการที่เน้น Effectively (สัมฤทธิผล) หรือ Result เป็นการคัดค้านแนวคิดวิศวกรรมศาสตร์ที่เน้น Efficiency (สมรรถภาพ) หรือ Cost คือการกระทำ (Process) แต่ในการทำงานต้องเน้นทั้ง Effectively และ Efficiency

แนวโน้มในอเมริกาเน้น Process เพราะคิดว่า ถ้าไม่มีกระบวนการ ก็จะบริหารและประเมินไม่ได้

แต่ในการแพทย์ อาจจะต้องเน้น Result ทำให้คนไข้หายป่วย

ในไทย ตอนหลังเน้น KPIs เน้น Result เพราะเราอยู่ในยุค multiple right answers ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์

หลังจากรบกับญี่ปุ่น อเมริกาเยียวยาญี่ปุ่น โดยส่ง Peter Demming และMalcolm Balridge ไปสร้าง Quality Control Cycle ต้นตอของ Toyota Way และเป็นต้นตระกูล ISO ซึ่งเน้นลดต้นทุน ประหยัดเวลา รักษาน้ำใจ ถ้าลูกน้องสมรรถภาพไม่ดีก็จะเสีย 3 อย่างนี้ ต้องเน้น Process แม้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ก็ต้องเน้น Law and Financial Compliances

นี่เป็น Process ที่สำคัญ ในศตวรรษที่ 21 ต้องการทางเลือกที่เหมาะสมหลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน (multiple right answers VS dilemma) ยุคนี้เป็น Synergy หาแนวร่วม ทุกเรื่องถูกต้องแต่ต้องขึ้นกับบริบท

ผู้นำในองค์กรที่ lonely ควรมีคุณสมบัติ 5 ข้อ

1.จัดการเวลาเก่ง ระดับปฏิบัติจะมีรายละเอียดลงใน Diary มากทุกๆครึ่งชั่วโมง แต่ถ้าระดับสูง ก็จะมีรายละเอียดน้อยลง แบ่งเป็นช่วงเช้าและช่วงบ่าย ควรมี Diary 3 เล่ม คือ

1.1 เล่มไว้ที่ทำงาน จะทำอะไร

1.2 เล่มที่บ้าน ทำอะไรแล้วบ้าง

1.3 เล่มที่ฝากเลขาหน้าห้อง จดว่าทำอะไร ในกรณีออกไปไหนเกินครึ่งชั่วโมง บางทีก็ฝากเพื่อร่วมงานจดก็ได้ กรณีที่ไม่มีเลขา

ถ้าเหมือนกันทั้ง 3 เล่มก็ประสบความสำเร็จ

ถ้าเก็บครบ 10 ปีจะเป็นภูมิปัญญาของแต่ละบุคคล

2. Priority ซึ่ง Peter Drucker เขียนหนังสือ Effective Executive เป็นแรงบันดาลใจอาจารย์ไกรฤทธิ์

Priority คือความสำคัญก่อนหลัง จัดลำดับโดยเขียนเป็นรูปขนมพายหรือพิซซ่า คนเก่งคนทำงานทีละอย่าง แต่ก็ต้องมีความสามารถทำงาน Multi-tasks ได้ แต่ก็จะทำให้มั่วได้ เวลาหมอไปอยู่โรงพยาบาลไกลๆ มีคนประสบอุบัติเหตุมามากมาย หมอต้องผ่าตัดหลายรายในวันเดียว

Peter Drucker เน้น ให้ทำอะไรก่อนหลัง First thing first เน้น Timely คือจังหวะเวลา ทำอะไรถูกจังหวะ กาลเทศะ

3. Contribution เขาจ้างคุณมาทำอะไร ต้องเขียนให้ชัด จะได้ไม่ถูกรบกวนโดยลูกน้องซึ่งควรจะทำงานของเขาแค่มาขอให้คุณช่วย การเขียน Contribution จะช่วยให้ทำงานดีขึ้น ควรเน้น Only Goal และใช้เวลา 40% กับงานชนิดนี้

4. Strength จุดแข็ง ต้องสามารถค้นหาให้ได้ จะทำให้ทีมเก่งมาก Strength มักถูกปนกับ Weakness ของคนซึ่งมีถึง 90% ควรจำจุดแข็งแต่ละคนแล้วเน้นจุดนั้น

5. การแก้ปัญหาและตัดสินใจ

Output (O)/Input (I) = high productivity ใส่เงินมาก ได้ผลตอบแทนสูง

ในระหว่างทาง เกิด Deviation สิ่งที่ต่างจากแผน นั่นคือปัญหาที่แท้จริงซึ่งประกอบด้วย

5.1 Unexpected ไม่ได้คาดไว้ก่อน เป็นคำถามที่ตอบไม่ได้ คนที่มาเล่าปัญหามักเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา ต้องตั้งสติ จับใจความสำคัญ พบ Deviation ซึ่งเป็น Expected แต่คนละเลยที่จะรับผิดชอบ ถ้าทำแบบนี้ได้ จะลดปัญหาได้ 80%

ควรมี Risk Management คือ audit the future ต้อง forecast คือคาดการณ์ล่วงหน้า ประเทศที่พัฒนาแล้วทำ Risk Management เก่ง แก้ไขแผน ไม่ใช่แก้ผลลัพธ์

5.2 Cause Unknown ไม่รู้ว่าเกิดจากเหตุอะไร หมอรักษาตาม symptom อาการป่วยไม่ใช่ต้นเหตุเพราะบางครั้งไม่ทราบสาเหตุ พระพุทธเจ้ากล่าวว่า เหตุที่เราไม่รู้จึงคิดว่าสังขารมีจริง เวลาพบปัญหาเล็กๆ ให้พยายามทำนาย

5.3 Big Concern น่าห่วง เวลาฟังปัญหา ต้องถอยออกมา จะเห็นปัญหาอีกมุมที่ชัดเจน คณะแพทยศาสตร์ต้องหา Global Niche จะทำทุกเรื่องไม่ได้ ต้องตั้งสติมองว่าเป็นปัญหาใหญ่หรือไม่

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ท่านคณบดีเป็น Lifelong learners ท่านมาฟังทั้ง 3 รุ่น

อาจารย์ไกรฤทธิ์ลงลึกในฐานะนักวิทยาศาสตร์แต่ก็ประยุกต์กับความเป็นจริงได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่อยากเห็น

อยากให้กระเด้งมากขึ้น โดยนำไปปะทะปัญหาอื่นๆ ในที่สุด นักวิทยาศาสตร์ก็จะทำด้านบริหารได้ดีกว่านักสังคมศาสตร์

ควรฟังมาก แล้วประยุกต์กับสภาพความเป็นจริงคือเป็น Process and Knowledge จะทำให้แม่นยำ

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ (บรรยายเนื้อหาต่อ)

Workshop

ถ้าท่านเป็นเลขานุการอาวุโส คณะแพทย์ แต่ท่านไปเข้าห้องน้ำ 5 นาที กลับมาพบกระดาษติดอยู่ให้เลือกทำอะไรก่อนหลัง เพราะอะไรระหว่าง

1.ตอบแฟนที่งอนเดือนหนึ่งที่โทรมานัดกินข้าว ซึ่งให้โทรหรือส่งไลน์ตอบด่วน

2.หมออาวุโสที่อธิการต้องการพบโทรมาจากออสเตรเลียแล้วจะกำลังไปอังกฤษ ขอให้ส่งอีเมลก่อนเที่ยงว่าจะมาเมืองไทยได้ไหมเพื่อมาพบอธิการ

3.อธิการชะโงกมาบอกให้อาจารย์หมอจองอาหารสำหรับประชุมให้ดีที่สุด

กลุ่ม 1 นำเสนอโดย กาญจนา

เราเป็นเลขา

มองจุดแข็งแฟนคืออะไร

ในกรณีทำเองคนเดียว ใช้คนอื่นไม่ได้

สิ่งแรก ตอบอีเมล ถ้าไม่ทำ กระทบคนรอ เขาต้องซื้อตั๋ว ถ้ารอจะตกเครื่อง ผู้บริหารระดับสูงมีโอกาสเจอกันถือเป็นโอกาสทอง

ในขณะเดียวกัน ก็ใส่ blue tooth โทรจอง ขณะพิมพ์อีเมลได้

สิ่งที่สอง แฟนเข้าใจว่าเราเห็นความสำคัญต่องาน โทรช้าไม่เป็นไร

ลำดับ 2-3-1

ในกรณีมีคนอื่นช่วย

เราโทรหาแฟน เพราะต้องทำด้วยตนเอง

คะแนนที่ได้รวม 20

กลุ่ม 2 นำเสนอโดย อรพรรณ

เรื่องแฟน เป็นเรื่องเรื้อรัง ไม่น่าเป็น Big Concern น่าจะแก้หลังจาก 5 นาทีนี้เป็นลำดับสุดท้าย

เรื่องส่งอีเมล ต้องถามอธิการก่อนว่าท่านจะพบหรือไม่ แม้ไม่พบน่าจะเลื่อนไปพบ จึงเป็นอันดับ 2

เรื่องจองอาหาร อธิการเผชิญปัญหาและต้องการความช่วยเหลือ น่าจะใช้เวลา 5 นาทีไปจอง เพราะใช้เวลาในการหาร้านที่ดีที่สุด

ลำดับ 3-2-1

คะแนนที่ได้รวม 9

กลุ่ม 3

2-3-1

ตอบอีเมลก่อน เพราะเป็นเรื่องกระทบกับองค์กร เพราะคนมาพบอธิการ มีธุระสำคัญที่จริง

ตอนที่ท่านสั่งจองร้าน ก็โทรถามท่านได้

เรื่องแฟนไม่มีผลกระทบ

คะแนนที่ได้รวม 12

กลุ่ม 4 นำเสนอโดย สุชาดา

ทั้งสามข้อสำคัญ

พยาบาลสามารถทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน

เริ่มที่เปิดอีเมล คาจอ

โทรจองร้านโปรดนาย จองเสร็จ โทรรายงานนาย และถามว่าจะตอบอีเมลอย่างไร

ได้คำตอบแล้วตอบอีเมล

โทรหาแฟน

คะแนนที่ได้รวม 22

กลุ่ม 5

จุดแข็งแฟนคือหล่อและรวยเพราะเป็นอธิการ ควรโทรหาแฟนก่อน แล้วจองร้านอาหารแถวสุวรรณภูมิเพื่อจะได้ไปพบอาจารย์หมอที่มาจากต่างประเทศ

คะแนนที่ได้รวม 17

เฉลย

ลำดับ 1-3-2

แฟนสำคัญที่สุด บ้านจะแตก ต้องตอบก่อน

คนไทยใช้ SUG

Serious- Email 7 คะแนน

Urgent –Lunch 3 คะแนน

Growth บานปลายแฟน 5 คะแนน

ปัญหาเกี่ยวกับคนบานปลายได้

แต่คนมักทำเรื่องด่วน อย่าเซ็นระหว่างรีบ Urgent not important

เรื่อง Serious ต้องแหวกเข้าที่ประชุมเพื่อให้อธิการเขียนคำสั่งมา

นี่คือตัวอย่าง Multiple Right Answers

วิธีที่ดีที่สุดคือให้คนสลับการทำงาน ให้บางคนได้มีโอกาสพักร้อนตามลำดับแบบมีระบบ

กลุ่ม 1 ใช้แนวทางที่เสนอมาประกอบการวิเคราะห์

ขอให้จำการหารือในกลุ่มจะสะท้อนความเป็นแต่ละบุคคล

บางทีบรรยากาศการทำงานทำให้คนทำผิดไม่ได้ คนจึงเลือกทำเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และความรู้สึกก่อน

HR ในอนาคต ต้องเป็นช่วยแก้ปัญหาเรื่องคนเป็นอันดับแรก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คณะแพทย์มีงานมาก หลักสูตรนี้จะช่วยให้ทำงานอย่างมีความสุขมากขึ้น

ถ้าสามารถทำระบบงานคณะแพทย์และโรงพยาบาลให้เข้ากับชีวิตเรา จะทำให้มีเวลาคิดสิ่งต่างๆได้มากขึ้น

ควรดูกรณีศึกษาระดับหัวหน้างานที่บริหารหน่วยงานได้ประสบความสำเร็จ แล้วนำมาปฏิบัติตาม

ภาวะผู้นำยุคใหม่เป็น Servant Leadership ปัญหาคือ นายต้องไปรับปัญหาจากการทำงานที่ด้อยคุณภาพจากคนระดับล่าง

จากบทความดร.จีระ มีโมเดลการตัดสินใจ ปัญหาในไทยคือมีผลประโยชน์ทับซ้อน จึงตัดสินใจแปลกออกไป

วิชาที่ 35

Learning Forum & Workshop

หัวข้อ “จากแนวคิดการตลาดสู่การปรับใช้ของคณะแพทยศาสตร์ ม.อ.”

โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

Workshop

1. ผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละกลุ่มเลือกว่าจะเป็นทีมไทยแลนด์ หรือทีมมอ. หรือทีมคณะแพทย์ หรือภาควิชา

2. ในวันที่ 1 มกราคม 2559 จะเป็น AEC แบ่งประเทศอาเซียนเป็นกลุ่มๆ แล้วผูกมิตรบางกลุ่มก่อนแล้วนำมาเป็นแนวร่วมเพื่อให้ท่านเป็นผู้นำของอาเซียนในเรื่องที่สนใจแล้วจึงไปหารือกับประเทศอื่นๆในอาเซียนที่เหลือ

แนวทางในการทำ Workshop

1.เวลาตัดสินใจ สมาชิกในทีมควรทบทวนว่าทุกคนมีความเข้าใจตรงกันก่อน

2.กำหนดนิยามเกิน 140 คำ

3.เสนอทางเลือกมาเพื่อพิจารณาตัดสินใจประมาณ 4 ข้อ

4.ในการเลือกประเทศกลุ่มแรก ต้องเป็นพวกที่ชวนได้ง่ายและมีบารมีพอที่จะไปโน้มน้าวพวกอื่นๆได้ด้วย แต่ไม่ต้องบอกว่าไทยจะเป็นผู้นำ

5.ต้องค้นหาจุดแข็งของพันธมิตรที่จะร่วมมือ และค้นหาจุดแข็งของไทยเพื่อไปชักชวนให้พันธมิตรมาร่วมมือ นี่คือการตลาด

ต้องมองว่าลูกค้าต้องการอะไร (Demand Side) และมีลูกค้าซื้อซ้ำ (Sustainability) คือมีการพึ่งพามีสิ่งที่ดีเกื้อกูลกัน

ในการผูกมิตรกับประเทศอื่น

1.วิเคราะห์ Must เช่น คุณสมบัติที่สำคัญที่ต้องมีในทุกกลุ่มและช่วยเสริมประโยชน์ให้แก่ประเทศไทย แต่ต้องไม่เกิน 5 ข้อ แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน ทำให้สามารถคัดประเทศที่จะเป็นพันธมิตรได้เหมาะสม

2.วิเคราะห์ Want เป็นด้านที่ต้องการจะร่วมมือ โดยกำหนดน้ำหนักของแต่ละเกณฑ์ก่อนแล้วเรียงลำดับตามน้ำหนักมากไปหาน้อย แล้วนำประเทศที่มีคะแนน Must สูง 2 อันดับแรกมาเปรียบเทียบคะแนนรวม ถ้าทุกประเทศมี Must เท่ากัน ต้องเปรียบเทียบคะแนนรวมของทุกประเทศ

โครงสร้างการเป็นผู้บริหารที่ดีต้องมี Must list ซึ่งต่างจาก Want list ซึ่งมีน้ำหนักแต่ละเกณฑ์ที่ต่างกันไป

ระดับบริหารต้องถามด้าน Must

ระดับปฏิบัติการต้องถามด้าน Want

กลุ่ม 4

ไทยมีจุดเด่นด้านอาหาร ครัวไทยไปครัวโลก

เลือกผูกมิตรกับประเทศเหล่านี้ตามลำดับ

1.พม่า เพราะมีพื้นฐานทางวัฒนธรรมใกล้เคียงไทย อยู่ติดประเทศไทย มีทรัพยากรสมบูรณ์มากกว่า และแรงงานถูกกว่า

ส่วนข้อดีของไทยคือมีอุตสาหกรรม การขนส่งที่ดีกว่า มีแรงงานที่มีคุณภาพกว่า อาหารไทยมีชื่อเสียงในระดับโลก

เวียดนาม

2. กลุ่มประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชา เพราะมีแหล่งทรัพยากรที่อยู่ใกล้ประเทศไทยและถูกกว่า

ส่วนจุดแข็งของประเทศไทยคือ เป็นจุดศูนย์กลางสำหรับประเทศเหล่านี้ เวลาที่ประเทศเหล่านี้ส่งสินค้าก็ต้องผ่านประเทศไทยทำให้ประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลางการกระจายสินค้า

3.มาเลเซีย เพราะหลังจากอาหารไทยได้เข้าสู่ตลาดแล้ว ควรสร้างมูลค่าเพิ่มให้อาหาร โดยทำเป็นอาหารฮาลาล ซึ่งประเทศมาเลเซียเป็นประเทศที่เหมาะสมจะร่วมมือด้วย มาเลเซียมีพรมแดนติดกับไทย ทำให้สามารถขนส่งสินค้าผ่านทางบกและทางรถไฟได้ และที่สำคัญคือมาเลเซียเป็นประเทศมุสลิม ก็จะเปิดประตูสู่ตลาดมุสลิมให้ไทยได้

ส่วนจุดแข็งของประเทศไทยคือมีทรัพยากรมากกว่า มีตลาดแรงงานที่ราคาถูกกว่า มีอุตสาหกรรมต่างๆของไทย ลาว พม่า เวียดนาม กัมพูชาที่จะไปร่วมกับมาเลเซีย

4.กลุ่มประเทศอินโดนีเซีย บรูไนและฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีชาวมุสลิม เมื่อประเทศเหล่านี้รับสินค้าไทยไปขายแล้ว จะเกิดการขยายตลาดขึ้นต่อไป

5.สิงคโปร์เพราะเปรียบเสมือนพ่อค้าคนกลาง รับสินค้ามาแล้วขายไป ไม่ได้มีแหล่งผลิตที่มากเพราะประเทศเป็นเกาะ ค่าแรงแพงมาก แต่มีจุดเด่นที่สำคัญเป็นแหล่งของเงินทุน มีท่าเรือที่เป็นศูนย์กลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากยุโรปมามาเลเซียก็ต้องผ่านช่องแคบมะละกา เพราะฉะนั้นค่าขนส่งสินค้าก็จะถูกกว่าของไทย ส่วนประเทศอื่นๆรวมทั้งไทย มีทรัพยากรมากกว่า มีราคาถูกกว่า มีระบบอุตสาหกรรมที่ใหญ่กว่า มีแรงงานที่มีคุณภาพกว่า ราคาถูกกว่า

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ไทยนำจุดแข็งคืออาหารไทย ไปขายพม่าซึ่งถือเป็น Synergy ที่สำคัญเพราะพม่ามีทรัพยากร แรงงานค่าแรงถูก และวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกับไทย

กลุ่มนี้ตอบโจทย์ตรงคำถาม ทุกครั้งที่ไปร่วมมือกับแต่ละกลุ่มประเทศก็เสริมจุดแข็งให้มีอำนาจการต่อรองทางการตลาดมากขึ้น ควรนำกัมพูชา ลาว พม่ามาร่วมมือก่อนแล้วจะชวนเวียดนามได้ง่ายขึ้น เพราะถ้าไม่รวมกลุ่ม ก็จะตกขบวน เมื่อได้เวียดนามมาร่วมกลุ่มแล้ว ก็สามารถชักชวนฟิลิปปินส์มาร่วมมือ แล้วจะขนาบจีนได้ในทะเลจีนใต้ ในที่สุดจีนก็ได้เกาะพาราเซลกับสแตปเลได้

กลุ่มนี้นำเสนอได้ดี คือเน้นเรื่องอาหารและเป็นความคิดที่ดีที่ใช้อาหารฮาลาลเชื่อมโยงก็สามารถได้มาเลเซีย อินโดนีเซียและบรูไน ประเทศสุดท้ายที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ขายคือสิงคโปร์ เมื่อเดือนกันยายน 2558 สิงคโปร์วางตำแหน่งของประเทศเป็น Restaurant of the World หน้าร้านทำการขายอาหาร แต่ไทยเป็นครัวโลก หลังร้าน เมื่อมีการจัดฟอร์มูล่าวันครั้งที่แล้วมีการตั้งโต๊ะขายอาหารไทยที่ท่าเรือคลากคีย์ คลากคีย์มีความยาว 700 เมตร มีร้านอาหารไทย 150 กว่าร้าน ซึ่งใหญ่กว่าในประเทศไทย และเป็นร้านอาหารไทยที่ไม่เคยเห็นในประเทศไทย เพราะสิงคโปร์มองว่าจุดรวยที่สุดคือ Customer Contact จุดที่รวยที่สุดของคณะแพทย์คือ OPD ต้องจ่ายเงินสด ถ้า OPD ไม่เป็นที่นิยม ก็จะลำบากกันทั้งโรงพยาบาลและถือเป็น Marketing Shift

กลุ่ม 1

จากภูมิศาสตร์ ไทยอยู่ใจกลางอาเซียน ด้านบนมีพม่า จีน ฝั่งขวามีลาว กัมพูชา เวียดนาม ส่วนด้านล่างก็มีมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซียและบรูไน เฉียงออกไปอีกคือฟิลิปปินส์การทำ logistics และการคมนาคมของอาเซียนต้องผ่านไทย ต้องพัฒนาการขนส่งทุกทิศทาง ได้แก่ ทางใต้ ไปมาเล อินโด บรูไน ซึ่งประเทศเหล่านี้เลือกผ่านไทยเพื่อไปจีน

ตอนบน เชื่อมโยงพม่า ไปจีน จีนเป็นประเทศที่พัฒนาและต้องการธุรกิจต่อธุรกิจ ก็ต้องการต่อลงมาถึงบรูไน ควรจะทำ logistics และ transportation ที่เข้าได้ทุกที่ แล้วจะเกิดธุรกิจอื่นๆตามมา เช่น Medical Hub การท่องเที่ยว อาหาร บทบาทของไทยเป็นผู้เชื่อมต่อทุกจุดเข้าด้วยกัน

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

นี่คือภูมิปัญญาของคณะนี้ และภูมิใจที่อาจารย์จีระมีส่วนร่วม สิ่งที่นำเสนอคือ Food Hub และ Logistics Hub ถือว่ายอดเยี่ยม

ถ้าทำถนนจากทวายผ่านโป่งน้ำร้อนที่กาญจนบุรี ออกดานัง รวมระยะทาง 270 กิโลเมตร ก็จะใช้เวลาเดินทาง 7 ชั่วโมง จะทำให้จีนลำเลียงน้ำมันจากพม่าโดยไม่ต้องมีปัญหากับมาเลเซียและฟิลิปปินส์ทำให้ประหยัดเวลาและค่าขนส่งมากขึ้น

นพ.อนุพงศ์ นิติเรืองจรัส

ทำไมไทยยังไม่ขุดคอคอดกระ

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ต้องแก้หลักสูตรที่เรียนในโรงเรียนนายร้อย ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร เรียนหลักสูตรนายร้อยเวสปอยท์ บอกเมื่อ 20 ปีที่แล้วว่า ประเทศไทยจะเจริญขึ้นมาก ถ้าแก้หลักสูตรที่ทหารเชื่อว่า อังกฤษจะสั่งให้มาเลเซียยึดสงขลา แล้วที่นี่ก็จะกลายเป็นโรงพยาบาลทหารของมาเลเซีย ซึ่งเคยเป็นแล้วตอนสงครามโลก

ลอร์ดหลุยซ์เม้าท์แบตเท็นมีลูกชายเป็นอุปราชชื่อดยุค ออฟ เอดินเบอระ พระสวามีของพระนางเจ้าอลิซาเบธที่ยึดมาเลเซียและสิงคโปร์ ลอร์ดหลุยซ์เม้าท์แบตเท็นสัญญาไว้กับโต๊ะมีนาไว้ว่าถ้ายึดอินเดียและพม่าได้ จะให้รางวัลเป็นสาธารณรัฐปัตตานี ถึงสงขลาและสะเดา ซึ่งตรงนั้นมีน้ำมันดิบ แหล่งก๊าซ บางทีอาจจะปกป้อง 7 จังหวัดภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไปไม่ได้ นี่คือเหตุผลที่จะแบ่งแยกดินแดนส่วนหนึ่ง แต่ไทยเชิญลูกเขยรูสเวลมาเป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยคนแรกเพื่อกันอังกฤษให้ไทย ซึ่งร่วมกับเสรีไทยสายอเมริกาบอกว่าจะขอปลดอาวุธคนไทยเอง ทำให้มีปัญหากับอังกฤษ

อีกตอนหนึ่งที่มาเลเซียช่วยอังกฤษยึดบังคลาเทศและพม่า แล้วก็นำคนบังคลาเทศซึ่งรบเก่งมากไปยึดอินเดีย กลุ่มนี้ปัจจุบันคือโรฮิงยา ตอนคืนโรฮิงยากลับคืนให้พม่าที่เมืองยะไข่ พม่าไม่ให้สัญชาติ ตอนที่อังกฤษปกครอง คนพม่าไปสมัครเสมียนศาล ต้องไปสมัครกับโรฮิงยา โรฮิงยาจึงรบกับพม่ามาจนถึงปัจจุบัน ไทยก็เดือดร้อนมาจนถึงปัจจุบัน

กลุ่ม 2

เลือกความร่วมมือด้านเกษตร

จุดแข็งของไทยคือเป็นอู่ข้าว อู่น้ำ มีภูมิศาสตร์อยู่บนภาคพื้นทวีป มีความเหมาะสมในการเพาะปลูกมาก ประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลางอาเซียน คมนาคม การศึกษา ส่งเสริมการศึกษาในด้านเกษตร มหาวิทยาลัยมีคณะที่เกี่ยวกับการเกษตรมากมาย

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ขอชื่นชมที่ได้ค้นพบเรื่องนี้

คณะเกษตรของไทยติด 100 อันดับแรกของโลก

กลุ่ม 2

จะเน้นความร่วมมือเกษตร โดยเฉพาะข้าว เป็นเรื่องสถานการณ์ความเพียงพอของผลผลิตการเกษตรที่มีต่อความต้องการของประชากรในภูมิภาคอาเซียน ชาวอาเซียนนิยมบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก

จากเดิม ไทยเคยเป็นที่ผลิตและส่งออกข้าวรายใหญ่ในภูมิภาค แต่ในปัจจุบันนี้ ประเทศผู้ผลิตข้าวรายใหญ่คือ

เวียดนาม ส่วนนอกอาเซียนก็คือจีน

ปัญหาไทยผลิตไม่พอบริโภค ทำให้ต้องนำเข้าข้าวซึ่งแพงกว่าผลิต ทำให้ค่าครองชีพไทยสูง ประชากรเดือดร้อน

ในการสร้างความร่วมมือ จะเลือกกลุ่มผู้ผลิตข้าวคือ ไทย ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม

ในกลุ่มนี้เลือกลาวเป็นประเทศแรกเพราะการเมืองมีเสถียรภาพกว่าและสงบกว่า ให้ความสำคัญกับไทยโดยส่งนักศึกษามาเรียนที่ไทยมาก ไทยส่งเสริมเทคโนโลยีเกษตร ลดต้นทุนผลิต อาจจะคาบเกี่ยวไปยังนโยบายของประเทศ เมื่อมีต้นทุนการขนส่งที่สูง อาจทำให้ต้นทุนการผลิตสูงไปด้วย ไทยยังควรทำการประกันราคาข้าวและสินค้าเกษตรอยู่ แต่ควรมีกระบวนการที่โปร่งใสมากขึ้น แล้วขยายความร่วมมือไปยังประเทศอื่นๆในอาเซียน

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ขอบคุณกลุ่มนี้ที่ให้กำลังใจการประกันราคาข้าว

เทรนด์เรื่องอาหารประกอบด้วย

1.Good to eat

2.Safe to eat

3.Enough to eat

ไทยมี 3 อย่างนี้ครบ

ถ้ามีสงครามนิวเคลียร์ ประเทศที่จะเก็บสำรอง Seed อาหารของโลกในรูป Frozen

Norway เก็บ seed เขตอบอุ่น ผลไม้ พืชไร่ พืชสวน

ไทยเก็บ tropical seed ทั้งหมดของโลกที่ใต้ภูเขาลพบุรี

บราซิลเก็บ Fruit tree ไม้ยืนต้น

มาลีเก็บ seed ผัก หญ้า

ประเทศไทยก็จะเป็น Agro Hub after the Nuclear War

กลุ่ม 2

ไทยยังไม่ได้วางแผนการจัดสรรที่ดิน

เวลาน้ำท่วม พื้นที่อุตสาหกรรมได้รับความเดือดร้อนซึ่งเดิมเป็นพื้นที่เหมาะกับการเกษตรมากกว่า แต่จัดสรรไปเพราะเห็นแก่ผลประโยชน์

กลุ่ม 5

จะสร้างความร่วมมือการแพทย์ แบ่งกลุ่มประเทศในอาเซียนดังนี้

กลุ่ม 1 ที่ยากจนกว่าไทย อาจให้ความช่วยเหลือ ค้นคว้า สาธารณสุข การฝึก

มีโรคคล้ายๆไทย

กลุ่ม 2 มองความร่วมมือแบบเสมอภาค เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ประชากร จะทำให้ได้ชื่อเสียงและเครดิต

ดึงกลุ่ม 3

คือ กลุ่มรวย เป็นการซื้อขายบริการการแพทย์

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

กลุ่มนี้คิดแบบลดหลั่น เริ่มต้นช่วยคนที่พึ่งเราก่อน คบเพื่อนเมื่อเก่งแล้ว แล้วคบคนที่เราจะเรียนจากเขา

จุดอ่อนคือ ยังเน้น Supply side ต้องสนใจสิ่งที่ประเทศพันธมิตรต้องการด้วย

ไทยเน้น Preventive healthcare เป็น Promotive healthcare

สิงคโปร์ให้ทุนหมอไทยเพื่อพัฒนา Biotech ของสิงคโปร์อย่างก้าวกระโดด

Preventive healthcare, Promotive healthcare และ Alternative healthcare เป็นแนวโน้ม

เทรนด์โลกคือ โรคจากพฤติกรรม ต้องทำการตลาดเรื่องนี้ให้ได้

กลุ่ม 3

ส่งเสริมความร่วมมือการรักษาพยาบาล

ไทยเป็นศูนย์กลางอาเซียน

ประเทศรอบนอก ค่าจ้างแรงงานต่ำ แต่อุตสาหกรรมไม่เข้มแข็ง

ประเทศแหล่งพลังงาน มาเล บรูไน พม่า

ประเทศเศรษฐกิจดี สิงคโปร์

การแพทย์แบ่งเป็น 3 กลุ่ม

คล้ายกลุ่มที่แล้ว

ไทยอยู่กลุ่มกลาง เอาความรู้ไปให้แก่ประเทศความรู้น้อยกว่า มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษา ทำ MOU

กลุ่มที่ใกล้เคียงไทย เช่น มาเล อินโด ฟิลิปปินส์ แต่ค่ารักษาในมาเลสูงกว่า จึงมารักษาในไทย ควรส่งเสริมให้ชาวมาเลมารักษามากขึ้น รายได้เข้าประเทศมากขึ้น มอ.มีองค์ความรู้ ความชำนาญการแพทย์ที่สูง

สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ในอาเซียน มีสาขามาจากยุโรปและอเมริกา การรักษาคุณภาพสูง ควรแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี เขาก็ขายของให้ไทยได้มากขึ้น ไทยก็มีเทคโนโลยีใช้มากขึ้น

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ชอบที่กล่าวมาจากการเน้น Market Focus

กลุ่มนี้เน้น Health service hub เน้น High Value Chain

ควรนำผลประชุมกลุ่มครั้งนี้ไปอ่านทบทวน จะพบว่า ไทยก็มีดี แล้วนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาช่วยวิเคราะห์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทั้งวันทำให้ความรู้หลายเรื่อง

เมื่อเช้าเน้นการตัดสินใจ Kepner ทำให้ได้โมเดลการตัดสินใจที่เป็นประโยชน์

ศักยภาพคนในรุ่นนี้มีทุนทางปัญญา การเข้าใจการกระเด้งไปสู่ 3V’s เป็นเส้นทางเดินที่มี Benchmark ที่กำหนดการทำงานในกลุ่มอื่นๆด้วย

หัวข้อตอนบ่ายเป็นการมองการตลาดแบบวิชาการ เป็นการกระเด้งให้เห็นภาพใหญ่ขึ้น มีการพูดถึง Sector อื่นด้วย ทำให้เห็นขอบเขตการมองปัญหาที่ไม่ได้อยู่แค่ภาคสาธารณสุขเท่านั้น

การจัดประเทศอาเซียนเป็นกลุ่มย่อยๆทำให้ศึกษาแต่ละกลุ่มได้ดีขึ้น

ขอให้นำแก่นที่ได้รับไปคิด

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ขอบคุณที่ให้กำลังใจ ทำให้มีความหวังในรุ่นถัดไป

คุณภาพในการทำ Workshop ขอให้ถ่ายทอดให้รุ่นถัดไป และลูกค้า

วันนี้ท่านพูดถึงสิ่งท้าทายให้ถูก

วิชาที่ 36

Panel Discussion& Workshop

หัวข้อ Crucial Conversation”

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ร่วมกับ อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Conversation แม้เป็นการสื่อสารที่ไม่เป็นทางการก็อาจจะสำคัญกว่าการสื่อสารที่เป็นทางการเสียอีก

คนเงียบก็ถือเป็น Non-verbal Conversation

บางทีการสื่อสารอาจจะเป็น Visible และ Invisible

Crucial Conversations คือ ส่วนหนึ่งที่จะทำให้ปัญหาในองค์กรลดลง ลดการขัดแย้งในองค์กร มี Solutions เพิ่มขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็อาจจะแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ นำไปสู่ Value Creation และ Value Diversity อย่างคาดไม่ถึง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ได้อ่านและได้เจอกับผู้เขียนโดยตรง และได้นำเรื่องนี้มาใช้ในการพัฒนาคนหลายแห่ง ผู้เขียนเป็นลูกศิษย์ของ Steven Covey เจ้าพ่อ 7 Habits ซึ่งถือว่ามีครูดี และทำวิจัยอย่างหนักว่าทำไม การสื่อสารในองค์กร (กรณีศึกษาในสหรัฐอเมริกา) จึงไม่ประสบความสำเร็จ

เรื่องเล็ก ๆ อย่างการสนทนา แต่ถ้าฝึกฝน ปรับตัวได้ก็จะกระเด้งไปสู่เรื่องใหญ่ คือ สามารถนำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศได้

ข้อเสียของหนังสือเล่มนี้ คือContext หรือ บริบทเป็นตะวันตก ดังนั้น จุดสำคัญ คือ จับหลักการใหญ่ ๆ หรือ Principle ว่า หลักของ Crucial Conversations คืออะไร?

การสื่อสารมีหลายวิธี เช่น

1.ทางการ / ไม่เป็นทางการ

2.ทางการพูดและฟัง (Verbal) คือ ใช้เสียง

แต่ ท่าที สีหน้า ท่าทางที่เรียกว่า Non – Verbal ก็สำคัญมาก และอาจจะไม่ได้ศึกษาผลกระทบเหล่านี้มากนัก

การสื่อสารที่ดี คือ ไม่สื่อสาร บางจังหวะไม่พูดจะดีกว่า แต่บางจังหวะพูดก็ดี คล้าย ๆ แนวคิดผู้นำของผม เรื่อง Rhythm and Speed คือ จังหวะ หรือ กาลเทศะ

การสื่อสารที่ดีต้องควบคุมอารมณ์อย่าให้หลุด ให้ใช้ 5K’s ของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ คือ ทุนทางอารมณ์ (Emotional Intelligence)

การสื่อสารที่ดีต้องมี 2I’s คือ

Inspiration สร้างแรงบันดาลใจให้คนอยากทำ

Imagination สร้างจินตนาการ

การสนทนาภายใต้บรรยากาศตึงเครียด

(1)ฟังอย่างตั้งใจ

(2)สนทนาสั้นแต่ชัดเจนเข้าใจง่าย ถ้าไม่เข้าใจ ก็ต้องถามให้ชัดเจน

(3)เวลาสื่อสาร ต้องแสดงความห่วงใย

(4)ขอโทษ หรือ แสดงความเสียใจ ให้อภัย

(5)มองโลกในแง่บวก อย่าสร้างปัจจัยลบเพิ่มเติม อย่าให้ไฟลุกลาม เกริ่นล่วงหน้าก่อนที่จะวิจารณ์

เรื่องนี้จะเป็นจุดสำคัญและหักเห เพราะดูเหมือนว่า เรื่องเล็ก ๆ เรื่อง Conversation ในทางวิชาการมีความหมาย คล้าย ๆ ว่า “Insignificant” หรือ ไม่สำคัญนักแต่จริง ๆ แล้วมีสาระมาก ควรลงลึก และใช้กรณีศึกษาของคณะฯ ใน หลาย ๆ ชนิดของงาน ชนิดของกลุ่ม บุคลากรที่หลากหลาย และชนิดของการสนทนา – ยกตัวอย่างให้ชัด ๆ เช่น การสร้างบรรยากาศอย่างไรที่ไปสู่ความสำเร็จ

เช่นเวลาที่เจรจาเรื่องใหญ่ ๆ สำคัญ บางครั้งจะเน้นการสร้างบรรยากาศ เช่น ทานข้าวกลางวันหรือเย็น สร้างบรรยากาศให้ Relax อย่า formal มากไป จึงเป็นที่มาของแนวคิด Morning Coffee หรือ การรับประทานอาหารร่วมกันแบบสบาย ๆ

Google เน้นการหารือแบบไม่เป็นทางการ

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ได้ยินเรื่อง Crucial Conversations 7-8 ปีที่แล้ว ประทับใจมากเพราะคนไทยมักเกรงใจ ไม่กล้าพูดตรงไปตรงมา

Crucial Conversations คือการพูด แต่ระหว่างทางต้องมีศิลปะซึ่งหลักการ 5 ข้อที่อาจารย์จีระให้มาตรงมาก

คณะแพทย์ควรสนใจ Crucial Conversations อาจารย์จีระได้ยกกรณีศึกษาของ Google ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการเพราะต้องการให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ในวงการแพทย์ก็ต้องสื่อสารแบบตรงไปตรงมา ถ้าพลาดเพียงเล็กน้อยก็มีปัญหาต่อชีวิตของคนไข้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การสื่อสารยังรวมไปถึงการสื่อสารกับคนนอกองค์กรด้วย

ชมวีดิทัศน์ Crucial Conversations

Joseph Grenny เป็นลูกศิษย์ของ Stephen Covey และเป็นหนึ่งในผู้เขียนหนังสือ Crucial Conversations ศ.ดร.เคยได้ไปฟังบรรยายจาก Joseph Grenny ใน workshop ที่จัดโดยคุณพรทิพย์ แพคริม

คุณพรทิพย์ อัยยิมาพันธ์ CEO ของ Pacrim Grop ได้อ่านหนังสือ พบว่าเรื่องนี้เป็นประโยชน์ต่อคนไทยด้วย

Joseph Grenny เคยทำงานร่วมกับ Stephen Covey เหมือนกับคุณพรทิพย์

จากประสบการณ์ทำงานร่วมกับ Stephen Covey ซึ่งควรจะลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์เพราะเป็นสินทรัพย์สำคัญ

Crucial Conversations เริ่มจากการสงสัยว่าทำไมจึงเกิดปัญหาในครอบครัวหรือองค์กร ก็พบว่ามาจากการสื่อสารที่ไม่ตรงไปตรงมาซึ่งมาจากการกลัวเสียหน้า

การสื่อสารสำคัญเพราะมีผลต่อผลผลิต ความปลอดภัย และผู้นำมีหน้าที่สื่อสาร การสื่อสารทีมีคุณภาพมีผลต่อคุณภาพองค์กรด้วย

คุณพรทิพย์บอกว่า ปัญหาคือคนพูดลับหลัง เวลาที่จะให้พูด ก็ไม่พูด ทำให้ปัญหาสะสมในองค์กร นำไปสู่การไม่ไว้วางใจกัน

เนื่องจากคนขาดทักษะในการให้ feedback ตรงไปตรงมาให้คนยอมรับได้

Joseph Grenny กล่าวว่า เรื่องนี้มีการทำกรณีศึกษามาเป็นเวลา 20 ปีพบว่าคนคาดหวังจากการสื่อสาร และการสื่อสารมีผลต่อการเพิ่มผลผลิตด้วย แนวคิดพื้นฐานคือ คนไม่คุยกัน

เมื่อมีการสนทนาภายใต้บรรยากาศตึงเครียด ควรมีเหตุผลว่าควรจะพูดหรือไม่พูด

ต้องทำให้คนรู้สึกปลอดภัย แล้วจะกล้าเปิดใจพูด

ต้องแสดงความห่วงใยก่อนแล้วนำเสนอข้อเท็จจริงเพื่อให้คนรู้สึกปลอดภัย

คุณพรทิพย์บอกว่า คนวิตกไปล่วงหน้าว่าเจ้านายจะไม่ฟัง ควรจะเอาชนะความกลัวก่อน ถ้าเจ้านายมองเห็นความจริงใจ ก็จะรับฟัง

Joseph Grenny ได้นำเสนอการเอาชนะกลัว ก็ต้องมีความสามารถในการนำเสนอ

การสื่อสารไม่ใช่การเปลี่ยนองค์กรเป็นประชาธิปไตย แต่ผู้นำต้องเข้าใจว่าไม่มีใครฉลาดกว่าการที่ทุกคนคิดร่วมกัน

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมลสรุปว่า

ฝรั่งเน้นเรื่องกำหนดระยะเวลาและคุณภาพงาน เป็นเรื่องสำคัญ จะเกิดไม่ไว้วางใจ เจ้านายไม่มอบงานให้ลูกน้องทำงาน เพราะลูกน้องไม่กล้าอธิบายปัญหาเรื่องส่งงานไม่ทัน งานไม่มีคุณภาพ เรื่องนี้มีผลต่อคณะแพทย์ที่ต้องรักษาคนไข้

ในการทำให้เป็นไปตามกำหนดระยะเวลาและคุณภาพงาน ก็ต้องมีเครื่องมือช่วย

ในเรื่องการแก้ปัญหา ทุกคนมีหวังดี แต่ต้องทำให้ผู้สนทนาปลอดภัย แต่ถ้าไม่แก้ปัญหาเล็ก ก็จะลุกลามไปสู่ปัญหาใหญ่

การสื่อสารจะต้องมีความตรงไปตรงมาแต่ต้องมีศิลปะ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กล้าออกความเห็นได้แต่ต้องฉลาดพูดด้วย

WORKSHOP

กลุ่ม 1

ยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่เป็นปัญหาของการสนทนาที่คณะแพทย์ฯ 2 เรื่อง เหตุผล คือ อะไร?

เรื่องการไม่กล้าพูดเพราะกลัวไม่เกิดความปลอดภัยและมีผลกระทบย้อนกลับมายังตัวเรา เป็นการไม่จริงใจในการให้โอกาสแสดงความคิดเห็น ขอให้คณะเปิดใจ จะทำให้รับทราบปัญหา และนำไปสู่การพัฒนาอีกมากมาย

เรื่องการฟ้องร้อง คือคนไข้ต้องการคำตอบและเหตุผล บางครั้งไม่มีเวลา และปริมาณงานจึงไม่สามารถช่วยคลี่คลายปัญหาได้ คนไข้ต้องการให้ฟังก่อน อย่าเพิ่งพูดสวนไป มีครั้งหนึ่งญาติคนไข้ไม่ได้รับบริการที่ต้องการจึงอารมณ์เสีย เจ้าหน้าที่จึงแสดงความเข้าใจและขอโทษพร้อมทั้งได้ชี้แจงว่าทั้งคนไข้และหมอก็เหนื่อย เพราะคนไข้ต้องอดอาหารเพื่อรอตรวจ หมอก็ต้องรักษาคนไข้หลายรายจึงมีความเหนื่อยเหมือนกัน อาจจะต้องรอนานหน่อย ขอให้ญาติผู้ป่วยเลือกว่าจะยังให้คนไข้รอการรักษาหรือไม่

กลุ่ม 2

ยกตัวอย่างกรณีศึกษาการสนทนาที่ประสบความสำเร็จ (คือ เกิดโอกาสหรือได้ประโยชน์จาการสนทนา) ที่คณะแพทย์ฯ 2 เรื่อง เหตุผล คือ อะไร?

จากการเป็นผู้รับบริการ

เรื่องที่ลูกป่วยไปรักษาฉุกเฉิน ต้องรอการรักษา แต่หมออธิบายสื่อสารว่าต้องลำดับการรักษารายที่ฉุกเฉินกว่า แต่ก็บอกว่าจะเจาะเลือดก่อน เป็นการแจ้งความคืบหน้าว่ายังเป็นการดูแล ประทับใจที่คุณหมอบอกว่า ถ้ารอผลเลือด จะแจ้งให้ทราบทันที

พยาบาลก็ขอโทษทันทีที่แม่แจ้งว่า หมอบอกให้เจาะเลือดและให้น้ำเกลือ

เรื่องการส่งตัวกลับไปรักษาที่โรงพยาบาลสงขลา เคยพูดกับญาติหลายครั้ง แต่ญาติไม่พร้อม จึงได้อธิบายให้ทราบว่า ไม่มีแผนรักษาเป็นเพียงการประคับประคอง แล้วบอกว่า คนไข้ถามถึงญาติ ได้ฟังญาติอธิบายติดขัดปัญหาอะไรถ้าย้ายโรงพยาบาล พร้อมทั้งได้นำเสนอทางเลือกในการแก้ปัญหา และเสนอข้อดีที่ทำให้ดูแลพ่อให้ได้ใกล้ชิด

กลุ่ม 3

สรุป 3 ประเด็นหลัก ๆ ที่กลุ่มคิดว่าได้เรียนรู้จากการฟังเรื่อง Crucial Conversations และจะนำมาปรับใช้กับคณะแพทย์ฯ ของเรา

1.หยุดเพื่อคิดและฟัง

อย่ากลัว

หาข้อเท็จจริง สื่อด้วยจริงใจ

การปรับใช้

หัวหน้าต้องสร้างบรรยากาศในการสนทนา อาจทานข้าวหรือ Morning Brief

ดร.จีระ

ควรขยายไปในคณะแพทย์มากขึ้น

กลุ่ม 4

การฝึกทักษะในคณะแพทย์ฯ เรื่องการสนทนาที่มีประสิทธิภาพในคณะแพทย์ฯ ควรจะเน้นจุดใดบ้าง และจะทำอย่างไรให้สำเร็จ และเชื่อมโยงกับการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ของคณะตามทฤษฎี8K’s+5K’s อย่างไร

การสนทนาในคณะแพทย์

เจ้านาย-น้อง

ผู้ให้บริการ-ผู้รับบริการ

ควรพูดให้เกิดความน่าเชื่อถือแล้วทำให้เกิดการยอมรับ โดยเน้นความจริง ต้องขึ้นกับความจริงใจด้วย ต้องผสมผสานให้เกิดการสอดคล้องกัน สร้างความไว้ใจแล้วเขาก็จะเชื่อถือ

การเชื่อมโยง

ต้องมีทุนทางจริยธรรม ทำให้เกิดทุนอื่นๆ

มีทุนทางอารมณ์ ทุนทางทัศนคติ และมีทุนทางสังคมให้เกิดกระบวนการ

ความน่าเชื่อถือมาจากความรู้ ปัญญา ผสมอย่างสอดคล้อง

กลุ่ม 5

การฝึกทักษะในคณะแพทย์ฯ เรื่องการสนทนาที่มีประสิทธิภาพในคณะแพทย์ฯ ควรจะเน้นจุดใดบ้าง และจะทำอย่างไรให้สำเร็จ และเชื่อมโยงกับการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ของคณะตามทฤษฎี 8K’s+5K’s อย่างไร

การสนทนา การพูดความจริง และตรงประเด็น ผู้พูดต้องฝึกทักษะ

การทำให้สำเร็จ ต้องสร้างบรรยากาศความปลอดภัยและจริงใจ ผู้บริหารฟังอย่างตั้งใจ

มีเวลาที่เหมาะสมในการพูด

การเชื่อมโยง

สำคัญสุดคือ อารมณ์ ต้องปรับก่อนพูดกับคนอื่น

ทุนทางปัญญา ทุนทางทัศนคติที่ดีต่อกัน

ทุนแห่งความยั่งยืน พูดแล้วสร้างมิตรภาพที่ยั่งยืน

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ชอบมากทุกกลุ่ม

กลุ่มแรกมีความค้างคาใจ แต่ก็ทำให้เห็นทั้งสองด้าน แต่ก็เห็นภาพขยายในกลุ่มอื่น

แก่นของวิชานี้คือได้เรียนรู้ร่วมกัน กระตุ้นความเป็นเลิศกันและกันแบบ Learn, Share, Care

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจารย์ธีระศักดิ์พูดเรื่องทุนทางอารมณ์ ในอนาคตควรฝึกเรื่องนี้

ในโลก งานกับอารมณ์ต้องไปด้วยกัน

ขอชมเชยเพราะตรงประเด็นมาก

ต้องให้ความสำคัญ Dignity, Respect และ Purpose, Meaning

เราต้องเคารพคนไม่ใช่แค่เฉพาะคนมีตำแหน่งเท่านั้น

วันที่ 1 ตุลาคม 2558

วิชาที่ 37

กิจกรรมรักษ์ใจ – รักษ์กาย (2)

  • จิตวิทยาการแก้ไขอาการ วิตก กังวล กลัว
  • รักษ์ใจ….ไม่เครียด ด้วยหัวเราะบำบัด
  • ฯลฯ

โดย ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม

การบริหารจัดการกับความเครียด

ปัญหาคือคนชอบใช้สมองหลายส่วนทำงานพร้อมกันจึงเกิดความเครียดกายไม่อยู่กับจิตทำให้เกิดความเครียด ทางแก้ความเครียดคืออยู่กับปัจจุบัน

ความเครียดเป็นบ่อเกิดของโรคทุกชนิด

สิ่งที่ทำให้เราเครียดมากที่สุดในยุคนี้ เพราะต้องดิ้นรนให้ได้มากที่สุด

1.ความมั่งมี มีเงินทอง ไม่เคยหยุด ต้องคอยหาเพิ่ม บางทีตัวเงินไม่ทำให้เราเครียด แต่การบริหารเงินไม่เป็นทำให้เครียดมากกว่า มีงานมาก ก็เครียด ไม่มีงานทำ ก็เครียด

2.ความมีชื่อเสียง ไม่เคยหยุดสร้างภาพ ดาราบางคนเวลาแต่งงานสร้างภาพว่ารวยมาก แต่ไม่รวยจริง

3.ได้เลื่อนยศ ตำแหน่งสูง ไม่เคยต้องหยุดดิ้นรน

4.การมีอำนาจ ไม่เคยหยุดเอาชนะ พอหมดอำนาจ ก็เครียด

5.สวยหล่อ มีเสน่หาทางเพศ ไม่หยุดทำศัลยกรรม ไม่หยุดทำคุณไสย ทำให้หมอหันไปเรียนด้านผิวหนัง ความงาม คนสวยหล่อ ทำให้เกิดการนอกใจ พอหมดความรัก ก็มีความเครียด ควรคิดว่าใจงามคือสิ่งที่ดี ความงามคือความเปลี่ยนแปลง

คนไม่เข้าใจว่าต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง แต่ต้องการความแน่นอน จึงเป็นบ่อเกิดความเครียด

กุญแจบริหารความเครียดคือปรับอารมณ์ความรู้สึก และสร้างสมดุลกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว

คนไทยกินน้ำแข็ง แต่ในความเป็นจริงน้ำแข็งเหมาะกับประเทศหนาว พ่อสอนให้กินข้าวต้มร้อนตอนเช้าจึงสบาย แต่ตอนที่ไปอยู่ที่บอสตัน อากาศหนาว ฝรั่งบอกให้กินน้ำผลไม้เย็นๆตอนเช้า ยืดอกทำให้อุ่นขึ้น ที่ร้านไอศกรีมที่ประเทศหนาว มีคนต่อแถวยาว เพราะกินไอศกรีมขณะอากาศหนาวจะเป็นการปรับสมดุลร่างกาย เพราะทั้งนอกและในร่างกายเย็นเท่ากัน แต่ถ้ากินในช่วงอากาศร้อนจะทำให้ไม่สบายเพราะร้อนปะทะเย็น

เรามีความเครียดเพราะกินของจากต่างท้องถิ่น ทำให้เปิดปัญหาสุขภาพและความเครียด เช่นกินทุเรียนเทศทำให้รักษามะเร็งได้ยาก

บุหรี่เป็นควันพิษแต่คนคิดว่าเป็นความสุขที่สามารถคลายเครียด

เมื่อเกิดความเครียด ก็สามารถหายได้โดยการสร้างความสมดุล

มะเร็งเกิดจากความไม่สมดุล เวลากินเนื้อ ก็ดื่มน้ำอัดลม ทำให้เพิ่มความเป็นกรดในเลือด มะเร็งกลัวอากาศบริสุทธิ์ และน้ำบริสุทธิ์มากที่สุด

ความเครียดมีผลบวกและลบ

ด้านบวก

1.ทำให้ตั้งใจมากขึ้น

2.ผลงานมากขึ้น ดีขึ้น ทำอะไรได้มากขึ้น

3.ทำอะไรได้รวดเร็วขึ้น

ด้านลบ

1.ขาดแรงจูงใจ

2.ประสิทธิภาพต่ำ

3.ซึมเศร้า

พลังชีวิต พลังจิต เอาไปใช้เป็น พลังความคิด 4 พลังความรู้สึก 3 พลังการกระทำ 3 หน่วย

ปัญหาคือคนนำไปใช้ผิดสัดส่วน ขาดสมดุล เครียดแล้วกินมาก หรือกินอะไรไม่ลง

บางคนต้องแข่งขันการเรียน ความกดดันสูง ถอนผมมากินคลายเครียด

บางคนใช้อารมณ์มากไป ทำให้มีความคิดน้อย ทำให้อารมณ์ก้าวร้าว

บางคนใช้พลังงานทำงานมากไป ทำงานไม่หยุด เป็นโรคประสาทวันสุดสัปดาห์

ต้องรู้จักพักผ่อน

ธรรมชาติสร้างให้ผู้ชายใช้สมองซีกซ้าย ผู้หญิงใช้สมองซีกขวา

ผู้หญิงเป็นโรคซึมเศร้ามาก เพราะไม่ได้ใช้สมองซีกขวา ผู้หญิงทั่วโลกถนัดมือขวา 70% เพราะเรียนและทำงานในสิ่งที่ส่งเสริมให้ใช้แต่สมองซีกซ้าย จึงมีคนไข้เป็นวิศวกรและนักบัญชีมาก

ผู้หญิงจำเป็นต้องใช้สมองซีกขวามากขึ้น เช่น รักสวยรักงาม ช็อปปิ้ง เกิดการสัมผัสรับรู้ศิลปะ มองความสัมพันธ์ ซื้อของฝากคนอื่นๆ มากมาย ผู้หญิงต้องฟังเพลงและร้องเพลง ผู้หญิงต้องพูด (เม้าท์)

ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เครียดมากที่สุดในโลก ผู้หญิงญี่ปุ่นจึงเครียด ทำให้มีสถาบันสอนให้เม้าท์

คนเก่งมากๆมักจะถนัดมือซ้าย ไม่ควรตีคนถนัดซ้ายให้ถนัดมือขวา

ควรลดความเครียดโดยใช้มันสมองทั้งสองข้าง

ส่วนนิ้วโป้งที่เท้าเป็นส่วนสมอง อีก 4 นิ้วเป็นเรื่องอารมณ์และความรู้สึก

สมองสามส่วน

1.สมองส่วนนึกคิด เกี่ยวกับการนึกคิด ความทรงจำ ภาษาพูด สัญลักษณ์

2.สมองส่วนอารมณ์ เกี่ยวกับการแสดงอารมณ์ ความรู้สึก ความสัมพันธ์

3.สมองส่วนสัญชาตญาณ จิตไร้สำนึก อยู่ทุกเซลล์รักษาโรคได้หมด

ทั้งสามส่วนทำงานร่วมกันเป็นภาวะภวังค์

ส่วนที่เครียดมากที่สุดคือส่วนนึกคิด เราใช้ความคิดเก็บกดอารมณ์ สมองส่วนนึกคิดไปควบคุมสมองส่วนสัญชาตญาณ

เซลล์สมองงอกจากด้านล่างสู่บน

สมองส่วนหน้าเป็นส่วนที่ดีที่สุด

การออกกำลังกายที่ผิดคือ ออกกำลังกายแล้วมากิน และออกกำลังกายโดยไม่เคลื่อนไหวเท้า

ควรเดินก้าวยาวๆ เดินเอาปลายเท้าลงก่อนเต็มฝ่าเท้า

บริหารนิ้วมือโป้งและนิ้วก้อย เพื่อพัฒนาสมอง เมื่อนิ้วโป้งข้างหนึ่งยกขึ้น และนิ้วก้อยอีกข้างชี้ลง ทำสลับกัน

ขยับนิ้วมือทั้ง 10 นิ้วเข้าออกหนักแน่นเป็นจังหวะ ทำให้ ปอด ลำไส้แข็งแรง

ตบมือ ถูมือโดยให้ 5 นิ้วทั้งสองข้างสัมผัสกันให้อุ่น-ร้อน นำพลังฝ่ามือทั้งสองข้างแผ่เข้าไปที่ม่านตาให้สมองดี (ม่านตาเป็นสีส้ม ถือว่าผ่อนคลาย) แล้วเอาฝ่ามือทั้งสองข้างไว้ข้างหูดึงพลังเสียออก

บริหารดวงตาโดยใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างกดบริเวณโหนกแก้มและคิ้วทั้งสองข้างให้แน่นประมาณ 2 นาทีครึ่งหรือ 14-16 ลมหายใจ หลับตาปี๋เป็นสีม่วง เลิกคิ้วขึ้นเป็นสีส้มถือว่าสมองดีมาก

แดดที่มีวิตามินดีที่สุดคือช่วงเที่ยง เพราะมี UVB

ถ้าไม่เจอแดด ทำให้ซึมเศร้า ทำให้คนฆ่าตัวตายมากอย่างในกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย

ผู้ชายไทยมีชู้มากที่สุดในโลก ผู้หญิงไทยมีชู้มากที่สองในโลก ที่หนึ่งเป็นบราซิล ซึ่งเป็นประเทศในเขตร้อน การโดดแดด ทำให้ฮอร์โมนเพิ่มขึ้น

แดดทำให้เซลล์เติบโตแข็งแรง คนที่แข็งแรงที่สุดเป็นคนผิวดำ

คนเป็นต้อถ้าเจอแดดจะดีขึ้น

สารเซอโรโทนิน ไม่ถูกแดดกระตุ้นหลั่งออกมาจะเกิดอาการนอนไม่หลับ

Aura 7 สีเกิดจากแดด

เห็นสีอะไรต้องตา แสดงว่าขาดอาหารสีนั้น

ลมหายใจทำให้เกิด Aura 7 สี

การขับถ่ายเป็นจะต้องม้วนท้องเป็นเลข 8 ก่อน การนวดหน้าจะทำให้ขี้ออกเพราะสมองผ่อนคลาย

ระบำหน้าท้องจะทำให้ขับถ่ายได้ง่ายเพราะเป็นการบริหารลำไส้

เวลานั่งต้องหายใจเข้าเพื่อเก็บพลังชีวิต

เวลายืนเหมือนออกกำลังกายต้องหายใจออก จึงจะดี

ควรยืนหายใจออกโดยหลับตา สำรวจลมหายใจ

1.เวลาหายใจเข้าลมไปที่ใด

คำตอบที่ถูกคือ ควรไปถึงท้องน้อยดีที่สุด ถ้าถึงแค่อกบนเริ่มมีโรค อากาศเป็นตัวฟอกเลือดดีที่สุด

2.เวลาหายใจเข้าลักษณะท้อง หรือหน้าอกเป็นอย่างไร

คำตอบที่ถูกคือ ท้องพองออกจึงจะดี ท้องยุบ แสดงว่ามีความเครียด ถ้าไม่ยุบ ไม่พอง แสดงว่ามีความเครียด

3.หายใจเข้ามีระยะเวลามากกว่าหรือน้อยกว่าหายใจออก

คำตอบที่ถูกคือ คนสุขภาพดีต้องหายใจออกนานกว่าเข้า 2 เท่า กิจกรรมฝึกร้องเพลงทำให้หายใจออกนานกว่าเข้า

4.เวลาหายใจเข้าใช้จมูกอย่างเดียว หรือใช้ปากด้วย

คำตอบที่ถูกคือ ควรใช้จมูก 95% ใช้ปาก 5% ของเสียให้ออกทางปาก ควรฝึกร้องเพลงโอเปร่า

5.เวลาหายใจเข้า อากาศจากจมูกเดินทางไปไหนต่อ

คำตอบที่ถูกคือ อากาศจากจมูกไปยังโพรงจมูกแล้วต่อไปยังสมอง การหายใจเป็นจะเหมือนดมดอกไม้หอมคือขึ้นไปยังโพรงจมูกทำให้สดชื่น คนกินเผ็ด เช่นพริก ทำให้แข็งแรงเพราะมันขึ้นไปยังโพรงจมูก

6.ลมเข้าจมูกข้างไหนมากกว่ากัน

คำตอบที่ถูกคือควรให้เข้า 2 ข้างเท่ากันจะได้มีสุขภาพดี ทำได้โดยออกกำลังกายอย่างหนัก ฝึกพลังปราณ แกว่งแขน ส่วนคนที่เก็บกดมักหายใจเข้าข้างซ้ายมากกว่า คนที่ใช้ความคิดมักหายใจเข้าข้างขวามากกว่า

เมื่อเซลล์สมองตึงเครียด สมองส่วนสัญชาตญาณจะคลายเซลล์ที่ติดพิษออกโดยการหาว

หายใจเข้า-กลั้น-ออก (1-4-2) ช่วยให้ต่อมน้ำเหลือง กระเพาะ ลำไส้ สุขภาพและสมองดี ตอนยกแขนขึ้น หายใจเข้า ตอนปล่อยแขนลง หายใจออก

โรคซึมเศร้ามีหลายสาเหตุ มีอาการ เอาแต่นอน แต่นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ไม่สัมพันธ์กับใคร แยกตัว คิดหมกมุ่น ไม่เข้าสังคม ไม่อยากทำอะไร

คนไทยเป็นโรคกรดไหลย้อน 30% อาการไอบ่อย แสบช่องอก เกิดจากนอนไม่พอ เครียดมากไป กินไม่เป็นเวลา เคี้ยวไม่ละเอียด กินแล้วนอน เมื่อเป็นกรดไหลย้อน ก็จะเป็นหอบหืดด้วย แก้ได้โดยการหัวเราะ

การหัวเราะแบ่งเป็นขั้นดังนี้

  • อุ่นเครื่อง
    • ยกมือขวาขึ้นพร้อมกับยกเท้าซ้ายขึ้นสลับข้างกันพร้อมแอ่นหน้าแอ่นหลังให้กระดูกไขสันหลังยืดหยุ่นแข็งแรง
    • ยกมือซ้ายแตะหน้าขาขวา โดยยกขาขึ้นมา 90 องศาแล้วทำสลับกัน
    • ยักสะโพกไปซ้ายและขวาสลับกัน
    • โยกท้องเป็นเลข 8
    • เหวี่ยงแขนออกไปสุดๆรอบตัวทางซ้าย ขวาสลับกัน
    • ยกไหล่ซ้าย เกร็ง ทิ้งไหล่ ทำสลับข้าง แล้วหมุนไหล่
    • หมุนรอบคอเป็นเลข 8
    • ยิ้มกว้างจนแก้มปริ (บาน) สลับกับเลิกหน้าผากขึ้นบน (เบิก)
    • กวาดสายตามองไปรอบๆ ให้คิดในสิ่งที่มองเห็นในปัจจุบัน ถ้าความคิดกระโดดจากปัจจุบันไปอนาคตที่ร้ายๆ คือวิตกจริต ให้หันมาคิดถึงปัจจุบัน ถ้าต้องการความแน่นอน จะเกิดความกังวล แก้โดยทำให้ดีที่สุดในขณะนั้น ความกลัวเกิดจากการถูกกระตุ้นให้คิดไปทางลบ ถูกกรรโชกอารมณ์และถูกคุกคามทางพฤติกรรมให้สะเทือนขวัญ การแก้ความกลัวต้องค่อยๆเผชิญ อยู่กับมัน ให้จิตเข้าไปดูแลสอดส่อง (Mindsight)
  • ท้องหัวเราะ ยกหัวแม่มือ หายใจเข้าโพรงจมูกไปยังสมอง ลงคอ ลงท้อง แน่นกลั้นไว้ แล้วเปล่งเสียง โอ ซ้ำๆ
  • อกหัวเราะ หายใจเข้าโพรงจมูกไปยังสมอง ลงคอ ลงอก ลงท้องแน่นกลั้นไว้ กางแขนกว้าง หงายมือ หมุน เปล่งเสียง อา ซ้ำๆ
  • คอหัวเราะ หายใจเข้าโพรงจมูกไปยังสมอง ลงคอ ลงอก ลงท้องแน่นกลั้นไว้ ยกแขนชู 3 นิ้ว นิ้วโป้ง ชี้กลาง ชี้แขนไปข้างหน้า เปล่งเสียง อู ซ้ำๆ
  • หน้าหัวเราะ หายใจเข้าโพรงจมูกไปยังสมอง ลงคอ ลงอก ลงท้องแน่นกลั้นไว้ ทำมือเคลื่อนเป็น เลข 8 เปล่งเสียง เอ ซ้ำๆ
  • แขนหัวเราะ หายใจเข้าโพรงจมูกไปยังสมอง ลงคอ ลงอก ลงท้องแน่นกลั้นไว้ ยกมือสองข้างสูงขึ้นโยกไปซ้ายขวาสลับกัน พร้อมยกเท้าสลับข้าง เปล่งเสียง อา ซ้ำๆ
  • เอวหัวเราะ หายใจเข้าโพรงจมูกไปยังสมอง ลงคอ ลงอก ลงท้องแน่น กลั้นไว้ โยกสะโพกส่ายเป็นวงรี เปล่งเสียง อู ซ้ำๆ
  • ไหล่หัวเราะ หายใจเข้าโพรงจมูกไปยังสมอง ลงคอ ลงอก ลงท้องแน่น กลั้นไว้ โยกไหล่ไปด้านหลัง เปล่งเสียง เอ ซ้ำๆ
  • สมองหัวเราะ หายใจเข้าโพรงจมูกไปยังสมอง ลงคอ ลงอก ลงท้องแน่น กลั้นไว้ ใช้พลังจากท้องน้อย ปิดปากหัวเราะให้เสียงก้องอยู่ในสมอง เปล่งเสียง อึม ซ้ำๆ
  • จิตสมอง หัวเราะ หายใจเข้าโพรงจมูกไปยังสมอง ลงคอ ลงอก ลงท้องแน่น กลั้นไว้ เปล่งเสียง โอ ยาวไว้ให้เสียงก้องอยู่ในสมอง ทำซ้ำโดยเปลี่ยนการออกเสียงเป็น โอม ยาวไว้ให้เสียงก้องอยู่ในสมอง

หายใจเข้าโพรงจมูกไปยังสมอง ลงคอ ลงอก ลงท้องแน่น กลั้นไว้ โยกไหล่ไปด้านหน้าเหมือนว่ายน้ำท่าฟรีสไตล์

ต่อมาใช้ฝ่ามือแตะบนส่วนของร่างกายที่เป็นจุดแข็ง แล้วย้ายไปแตะจุดอ่อนเพื่อถ่ายพลัง ต่อมาย้ายไปแตะทั่วตัวบอก รัก ซ้ำๆกัน ขอบคุณส่วนต่างๆของร่างกายที่ทำหน้าที่อย่างดีให้แก่ร่างกาย

หายใจเข้าโพรงจมูกไปยังสมอง ลงคอ ลงอก ลงท้องแน่น กลั้นไว้ หัวเราะดังๆ พร้อมตะโกนออกไปว่า ฉันมีความสุข สุขภาพฉันดี

หลับตาแล้วคิดถึงสิ่งที่อยากทำแล้วฝันจะเป็นจริง คิดว่าอีก 1 ปีข้างหน้าจะทำอะไร แล้วเปล่งเสียง โอม ลืมตาขึ้น ทำมือโอบเพื่อน ยืนเป็นวงกลม แล้วเปล่งเสียง โอม คนที่เป็นโรคมายืนหลับตาในวงไม่ต้องยกมือ เวลาคนไข้เจ็บป่วยมาก ใช้เสียงนี้รักษาได้ ทำให้คนไข้หลับสบาย

หลับตาคิดถึงสิ่งที่ดี คิดว่าอย่ายึดติดกับอะไร

ลืมตาแล้วจับมือกับเพื่อนร้องเพลงดังนี้

“สิ่งดีดีจะไม่มีวันจาง และยังคงเหมือนเก่า

หากวันใดวันที่ไม่มีเรา อยากให้เธอได้ยอมรับ

การเจอกันต้องมีวันจาก ความรักมีเส้นทางของมัน

มีเรื่องราวที่เราเคยผ่าน ที่เราจะจำมันเก็บไว้

หากเธอคิดถึงฉัน ถึงแม้ไม่ได้เจอ

ให้เธอรู้ฉันยังอยู่ไม่ไกล

เมื่อไหร่ที่คิดถึงฉัน ให้รักแทนดวงตา

ฉันจะมาเจอเธอที่หัวใจ

จากกันไปเราเข้าใจกันดี จะไม่มีน้ำตา

อดทนรอรอแค่วันเวลา ที่จะเจอกันอีกครั้ง

คำที่เคยทักทายวันก่อน มาถึงตอนกล่าวคำร่ำลา

ยังไม่รู้หนทางข้างหน้า จะกลับมาเจอกันอีกไหม

หากเธอคิดถึงฉัน ถึงแม้ไม่ได้เจอ

ให้เธอรู้ฉันยังอยู่ไม่ไกล

เมื่อไหร่ที่คิดถึงฉัน ให้รักแทนดวงตา

ฉันจะมาเจอเธอที่หัวใจ

เมื่อไหร่ที่คิดถึงฉัน ให้รักแทนดวงตา

ฉันจะมาเจอเธอที่หัวใจ”

เมื่อร้องเพลงจบ ไปกอดเพื่อนแล้วพูดเรื่องดีๆกับเพื่อน

เมื่อเซลล์ทั่วกายกำลังอุ่น ต้องรู้จักสะกดจิต สร้างความเชื่อให้เซลล์รู้ว่าร่างกายต้องการอะไร

การร้องเสียง อึมและโอมกระตุ้นเซลล์สมอง ให้เกิด พลัง และ Aura 7 สีออกจากร่างกาย

วันที่ 2 ตุลาคม 2558

วิชาที่ 38

Learning Forum & Workshop

หัวข้อ “วัฒนธรรมองค์กร – การบริหารการเปลี่ยนแปลง”

โดย ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

วิทยากรอิสระด้านทรัพยากรมนุษย์

คนไทยมีวัฒนธรรมเกรงใจ (Kreng Jai) เวลาที่เกิดความไม่ถูกต้อง ก็ไม่กล้าแสดงออก ควรจะเปลี่ยนวัฒนธรรมนี้ไป การให้ Feedback แบบนี้ยากกว่า

คนไทยมีวัฒนธรรมหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง (Conflict Saving) เพราะไม่อยากมีปัญหา

อีกวัฒนธรรมคือรักษาหน้า (Face-Saving)

วัฒนธรรมเหล่านี้ติดตัวคนไทยเข้ามาในองค์กร ทำให้เกิดการปล่อยปละละเลย เกิดการทำผิดซ้ำ วัฒนธรรมเหล่านี้หยุดไม่ให้เราเปิดใจคุยกัน

เจ้านายต้องให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงตอนประเมินผลงาน แต่ปัญหาคือ ประเมินออกมาดี แต่พฤติกรรมจริงของลูกน้องคือแย่

ถ้าไม่เปิดใจคุยกัน จะมีผลต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นอุปสรรคต่อการสร้างองค์กรการเรียนรู้ ปัญหาคือคนรู้ไม่พูดเพราะกลัวคนอื่นคิดว่าอวดเก่ง คนไม่รู้ก็ไม่ถามเพราะกลัวเสียหน้า การเรียนรู้ส่วนใหญ่ของคนในองค์กรคือการเรียนในห้องเรียน แต่ที่จริงเป็นแค่ 10% เท่านั้น

จากวิจัย ปัจจุบันการเรียนรู้ในองค์กร10% เกิดในห้องเรียน เป็นทางการ คนต้องเรียน Leadership, Competency และ Functional เมื่อเกิด Gap ต้องส่งพนักงานไปรับการอบรม หลาย Competency สามารถเรียนรู้ได้จาก On-the-job Training (OJT) 70% ส่วน 20% เรียนจากคนอื่น เรียนรู้จากความผิดพลาด ต้องกล้าเปิดใจคุยกัน

ทุกองค์กรมี Competency เช่น สวทช.ใช้ Competency ของก.พ. คือการสั่งสมประสบการณ์ความเป็นมืออาชีพ ปัญหาคนที่เรียนรุ่นเดิม กลับมาเรียนใหม่เพราะยังมี Gap ปัญหาคือหัวหน้าเป็นนักวิทยาศาสตร์ปริญญาเอกคาดหวังลูกน้องฝ่ายสนับสนุนให้เก่งเหมือนตนเอง พวกลูกน้องจึงประเมินไม่ผ่าน การกระทำแบบนี้ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา

วัฒนธรรมองค์กรคือจิตวิญญาณองค์กร

วัฒนธรรมองค์กรคณะแพทยศาสตร์ประกอบด้วย

1.Teamwork ทีม

2.Quality คุณภาพ

3.Service บริการ

4.Morale มีคุณธรรม

5.Risk บริหารความเสี่ยง

6.Safety ความปลอดภัย

ควรจะเป็นความเชื่อของทุกคนในคณะแพทยศาสตร์ จึงจะเป็นวัฒนธรรมองค์กร ถ้ายังไม่ใช่ ก็จะเป็นแค่แนวประพฤติปฏิบัติ ปัญหาคือพนักงานยังไม่เข้าใจพฤติกรรมที่ดีคืออะไร แค่เข้าใจเป็นคำๆ แต่ละคนเข้าใจต่างกัน

การถ่ายทอดให้พนักงานแต่ละคนเข้าใจมีผลกระทบต่อแบรนด์ของคณะแพทยศาสตร์ ซึ่งสะท้อนออกมาถึงวัฒนธรรม ถ้าจะเน้นให้บริการที่ดี แต่ผู้รับบริการได้ประสบการณ์ที่ไม่ดี ก็ไม่ได้แบรนด์ด้วย

ในการอธิบายวัฒนธรรมองค์กร ต้องตอบคำถามว่า

1.วัฒนธรรมข้อนี้หมายถึงอะไร

2.ทำไมจึงมีความสำคัญต่อองค์กร

3.พฤติกรรมที่พึงประสงค์เป็นอย่างไร

4.พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เป็นอย่างไร

5.ความขัดแย้งที่ลงตัว เช่น ทำงานเร็วและมีคุณภาพ แต่ถ้าตั้งใจ ก็จะประสบความสำเร็จได้มากกว่า (ข้อนี้อาจจะไม่จำเป็นสำหรับวัฒนธรรมบางข้อ)

หัวหน้างานต้องคอยเป็นพี่เลี้ยงและโค้ชลูกน้องในทีม

การโค้ช (Coach) คือ การสนทนา (Conversation or Dialogue) สามารถสอดแทรกค่านิยมเข้าไปได้ การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นต้องมี Feed Forward ได้รับคำแนะนำแล้วเดินไปข้างหน้า ถ้าเปิดใจคุยกันจะเกิดการเรียนรู้ หัวหน้าที่เป็นโค้ชที่ดีต้องออกแบบการสนทนาได้ดี (Conversation Designer) และจะเป็นการสร้างวัฒนธรรม หลายองค์กรนำระบบนี้มาใช้ ต้องเริ่มตั้งแต่ระดับสูงลงมาจึงจะเป็นวัฒนธรรมการโค้ชหรือการพูดคุยอย่างเปิดใจ การให้ Feedback ไม่ใช่การวิจารณ์ แต่เป็นการให้ข้อเสนอแนะ

วัฒนธรรมนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้ถ้าทุกคนเข้าใจ ตั้งแต่การทำงานในคณะเกิดการเปลี่ยนแปลงมาก ในการเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้ง อาจจะไม่ดีขึ้น คนในองค์กรจะรู้สึกว่าเปลี่ยนอีกแล้ว บางรายต่อต้าน บางรายไม่เห็นประโยชน์ จึงเป็นความท้าทาย ไม่อยากจะเปลี่ยนแปลงเป็นทีม ถ้าสร้างคนในทีมให้เกิดความผูกพันในทีมและงาน ก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงได้สำเร็จ คณะแพทย์มีการทำเรื่อง Engagement และมีการประเมินแล้ว ผลการผูกพันก็ดี

คำถาม

มีวิธีกระตุ้นให้คนใกล้เกษียณทำงานให้สอดคล้องกับเพื่อนร่วมงานอย่างไร

คำตอบ

ปัญหาคือถ้าทำแล้วเงินเดือนตัน เขาก็ไม่ทำงาน หัวหน้างานอาจจะบอกเขาว่า ช่วงการก่อนเกษียณสามารถทำประโยชน์ให้องค์กรได้มากมาย ต้องตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน ควรถามว่า เขาอยากจะทำอะไรที่ยังไม่เคยทำ หัวหน้าต้องกล้าหยุดพฤติกรรมที่พนักงานพวกนี้อยากอยู่เฉยๆ ถ้ายังไม่ทำ หรือทำช้า ต้องหารือว่าเกิดจากปัญหาอะไร อาจจะมอบหมายให้พวกนี้มาถ่ายทอดความรู้ให้แก่คนรุ่นหลัง มาทำงานกับรุ่นน้อง ถือเป็น In-field Coaching ถ่ายทอดประสบการณ์ ถือเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร มีวิธีดึงเอาศักยภาพคนใกล้เกษียณหลายวิธี แต่ต้องรู้จักเขาดี ใช้การถามเป็นการนำ Toyota Way ใช้ 5Why ถามทำไมจนถึงต้นตอ จะทำให้ทราบว่าอะไรที่หยุดเขาไม่ให้ทำ หรือไม่ทำงานตามเป้าหมาย

การทำแผน Successor Plan จากการสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือก มีคนเดียวที่พร้อมทั้งความรู้ ทัศนคติและศักยภาพ บางครั้งพวกคนใกล้เกษียณมีปัญหากับเด็ก Gen Y แต่รุ่นใหม่ที่มาแรงคือ Gen Me มาพร้อมกับสังคมดิจิตอล ผู้ใหญ่ไม่ควรคาดหวังให้เด็กปรับตัวอย่างเดียว ผู้ใหญ่ต้องปรับตัวด้วย ต้องคุยกันมากๆ

จากการวิจัยคือ การรับเด็ก Gen Y มาทำงาน มักปฐมนิเทศแบบเดิมๆคือให้นั่งฟัง น่าเบื่อมาก

ในการปฐมนิเทศ เด็ก Gen Y ควรส่งเสริมให้เด็กมีเครือข่ายได้พบกับคนที่ประสบความสำเร็จในองค์กร ต้องถามความคาดหวังเด็ก และบอกเขาว่าจะเจออะไร ต้องเน้นวัฒนธรรมองค์กรและข้อเท็จจริงให้มาก ต้องชี้แจง Career Path มีเป้าหมาย KPIs ชัดเจน คืองานที่ทำทุกวัน

Performance Management System

  • ตั้งเป้าหมาย
  • ประเมินปีละ 2 ครั้ง
  • ให้รางวัล

ในระหว่างปี หัวหน้าต้องติดตามการทำงานของลูกน้องเป็นระยะตาม PDCA (Plan, Do, Check, Act) ต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้พนักงานตรวจสอบการทำงานตนเอง หัวหน้าต้องโค้ชและให้ Feedback ทำได้ทุกโอกาสเมื่อมีข้อเท็จจริงปรากฏ เป็นวัฒนธรรมการทำงานมุ่งผลสัมฤทธิ์ ต้องมีการพัฒนาลูกน้อง ให้เหมาะสมกับแต่ละคน

ต้องมีการสื่อสารสองทางระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง

ตั้งเป้าหมายตามเกณฑ์ SMART คือ

1.Specific

2.Measurable

3.Attainable

4.Relevant

5.Time

ตั้งเป้าหมายให้ชัดตั้งแต่ต้นปี ทำให้เกิดความเข้าใจกันและประเมินผลมีคุณภาพ

EQ อารมณ์เป็นเรื่องสำคัญ ต้องบริหารให้ดี ถ้าลูกน้องกำลังโกรธ ต้องรอให้อารมณ์เขาเย็นลง แล้วจึงค่อยพูด

คำถาม

ในกรณีที่มีความขัดแย้งกัน มีแนวทางการแก้ไขความขัดแย้งอย่างไร

คำตอบ

ถ้าคิดกับคนอื่นดี ก็จะเห็นว่าเขาดี แต่ถ้าคิดกับคนอื่นไม่ดี แม้ว่าเขาจะคิดดีแต่เราก็ไม่เห็นเขาดี ควรถามสาเหตุความไม่พอใจ หัวหน้าที่ทะเลาะกับลูกนี้มีแต่เสีย ถ้าเป็นความขัดแย้งที่เกิดจากต่างสายงาน เคยมีการจัดกิจกรรม Workshop แจกกระดาษสีแทนแต่ละแผนก ใช้ Appreciative Inquiry (AI) ต้องหาจุดชมคนให้เป็น โดยเขียนถึงแผนกอื่นในแง่ชื่นชม และคำขอร้องให้ทำอะไร แล้วประมวลกันเองว่าหน่วยงานอื่นมองอย่างไร และหน่วยงานตนมองตนเองอย่างไรทั้งด้านจุดอ่อนและจุดแข็ง ปัญหาคือกำหนดวัฒนธรรมองค์กรสวยหรู แต่ไม่เป็นจริงตามนั้น ในวันสุดท้ายของกิจกรรม มีพนักงานที่บริการลูกค้าดีแต่มีปัญหากับเพื่อนร่วมงาน ก็ได้ขอโทษที่ใช้พฤติกรรมไม่ดี ถ้าตัดความคิดความแตกต่างออกไปแล้วหันหน้าคุยกันจะได้เรียนรู้จากกันมากขึ้น

คำถาม

ถ้าองค์กรเป็น Young Generation ทั้งหมด จะให้ใครมาเป็นตัวกลางแก้ไขความขัดแย้ง

คำตอบ

อาจจะต้องจัดการคุยกันเป็นกลุ่มย่อย (Dialogue) แต่คนกลางเป็นผู้มีอายุน้อย ก็ต้องให้คนกลางแจ้งว่าขออนุญาตหารือและเรียนรู้จากผู้ใหญ่ เข้าไปด้วยความนอบน้อม พูดเชิงปรึกษาหารือให้ข้อเสนอแนะ แต่ถ้ามีความเห็นขัดแย้ง ก็ต้องระวัง

คำถาม

ในหน่วยงาน มีหลายระดับ หลายกลุ่ม จะแก้ปัญหาความขัดแย้งในกลุ่มอย่างไร

คำตอบ

เคยนำ 2 หน่วยงานมาคุยกัน เกี่ยวกับเป้าหมายการทำงานในคณะ อะไรที่เป็นปัญหาให้เสนอมา โดยมองทั้งหน่วยงานตนและอีกหน่วยงาน ทำให้ทราบว่าทุกคนต้องทำงานอะไร ต้องหาวิธีเหมาะสมในการคุยกัน

การเปลี่ยนแปลงทุกครั้งต้องใจแข็ง ถ้าไม่ทำก็ไม่รู้ว่ามันดี

คำถาม

ถ้ามีปัญหา Violence ทั้งภาษาและการกระทำในที่ทำงาน ควรทำอย่างไร

คำตอบ

นำคนที่สร้างปัญหามาคุย แม้ว่าเขาจะมีเหตุผลจะทำ ก็บอกเขาว่า ถ้าเขาเจอการกระทำแบบนี้จะรู้สึกอย่างไร แต่ไม่ต้องแสดงออกรุนแรงเพื่อโต้ตอบเขา ถ้ามีการทะเลาะวิวาท ต้องใช้วินัยชี้ให้เห็นว่าผิด และตักเตือนไม่ได้ผล ก็ต้องลงโทษ

Workshop

อธิบายวัฒนธรรมองค์กร

กลุ่ม 5

ค่านิยม

จิตสำนึกด้านความเสี่ยงและความปลอดภัย

What is it?

การตระหนักในความเสี่ยงและความปลอดภัยในการปฏิบัติงานตลอดเวลา ในแต่ละสาขาอาชีพของผู้ปฏิบัติงาน ผู้รับบริการและองค์กร

Why?

เนื่องจากการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขมีโอกาสเกิดความเสี่ยง และอาจส่งผลกระทบต่อการเสียชีวิต เสียงบประมาณโดยไม่จำเป็น

Positive

1.มีจิตสำนึกในการทำงานของตัวเอง ไม่ประมาท และควรระมัดระวังในการทำงานตลอดเวลา

2.คาดการณ์แนวโน้มจุดเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและหาแนวทางป้องกัน

3.ใส่ใจในคุณภาพและปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนด

4.ทบทวนแผนจัดการความเสี่ยงให้ทั่วถึงและสม่ำเสมอ

Negative

ละเลย ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน

เพิกเฉย ธุระไม่ใช่ ไม่รู้และไม่ถาม

ขี้เกียจและไม่ยอมรับความผิดพลาด

Paradox

งานเสี่ยง ปลอดภัย และได้มาตรฐาน

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

ต้องสร้างความตระหนักมากขึ้น

กลุ่ม 4

ค่านิยม

Morale มีคุณธรรม

What is it?

คือ คุณธรรม ซึ่งเป็นหลักของความดีงามที่แสดงออกทั้งกาย วาจา ใจ จนเป็นนิสัย

ซึ่งสอดคล้องกับกิจของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง

Why?

1.ทำให้องค์กรน่าเชื่อถือ

2.ทุกคนทำงานอย่างมีความสุข

3.เกิดความยุติธรรม ไม่คดโกง

4.เกิดความดีงามในองค์กร

Positive

1.ความโปร่งใส ยุติธรรม

2.ความมีระเบียบวินัยในตนเองอย่างเป็นนิสัย

3.แบบอย่างที่ดี

4.ให้ความเคารพ

Negative

1.ทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วได้ดีมีถมไป

2.ทำดีเสมอตัว ทำผิดเมื่อไร เพื่อนเอาตาย

3.เน้นวัตถุนิยม ไม่มีจิตอาสา ถ้าไม่มีผลตอบแทนจะไม่ทำ

4.การประเมินผลไม่ชัดเจน

5.ความลำเอียง

6.ไม่มี Standard ที่เป็นแบบอย่างที่ดี

Paradox

1. ทำดีได้ยาก

2. ต้องใช้เวลานานในการบ่มเพาะและต้องสั่งสมอย่างต่อเนื่อง

กลุ่ม 1

ค่านิยม

Team การทำงานเป็นทีม

What is it?

การทำงานร่วมกันให้บรรลุเป้าหมาย

Why?

มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ 8วามสามารถในการทำงาน ได้แลกเปลี่ยนมุมมองที่หลากหลาย งานบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ

Positive

เกิดความสามัคคี เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

เกิดความกล้าแสดงความคิดเห็น ต่อรองกล้าตัดสินใจ เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน เกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน

Negative

เกิดการตัดสินใจล่าช้า ไม่ทันการ กลัว ไม่กล้าแสดงออก

อาจเกิดความขัดแย้ง ไม่ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การชักนำของผู้นำ

Paradox

การทำงานร่วมกันหลายคน อาจดูยุ่งยาก ไม่คล่องตัว ใช้เวลา แต่หากทุกคนเปิดใจยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างซึ่งกันและกัน ก็จะทำให้เกิดการทำงานเป็นทีมและจะนำไปสู่

การทำงานที่มีประสิทธิภาพ

กลุ่ม 2

ค่านิยม

Customer Service มุ่งบริการ

What is it?

ตอบสนองความต้องการผู้รับบริการ

Why?

เป็นองค์กรบริการที่เน้นประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง สร้างภาพลักษณ์ที่ดีและความประทับใจและชื่อเสียงให้องค์กร

Positive

1.Service Mind รวมถึงการแสดงออกที่สอดคล้องกันด้วยกายและใจ

2.กระตือรือร้นในการให้บริการ (Service Recovery Process)

3.วิธีการสื่อสาร การบอกกล่าว

Negative

1.หน้างอ พูดไม่เพราะ ไม่เหมาะสม

2.ละเลย เพิกเฉย ไม่ให้ข้อมูล เกี่ยงงาน นิ่งดูดาย

3.ไม่สนใจเพราะคิดว่าไม่ใช่หน้าที่ของตน

Paradox

ภาระงาน Workload/เวลาเร่งรีบ หากเพิ่มการให้ข้อมูล เอาใจใส่ ก็จะสามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้รับบริการได้

กลุ่ม 3

ค่านิยม

Quality คุณภาพ

What is it?

ถูกต้องตามมาตรฐานนานาชาติในด้าน

1.ด้านคุณภาพการรักษาพยาบาล

2.ด้านคุณภาพการเรียนการสอน

3.ด้านคุณภาพการวิจัย

และปราศจากข้อผิดพลาดทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี ตอบสนองความต้องการผู้รับบริการท่น่าพึงพอใจ

Why?

1.ถูกต้อง แม่นยำ เป็นที่น่าเชื่อถือ

2.คุณภาพการรักษา ต้องปลอดภัย ถูกต้องตามหลักมาตรฐาน และความรู้ทางการแพทย์ที่เปลี่ยนแปลงเร็ว ต้องทันสมัย พัฒนาอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ เพื่อให้ได้คุณภาพ

Positive

1.ใฝ่รู้

2.เรียนรู้สิ่งใหม่อย่างต่อเนื่อง

3.ประเมินและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

4.การตัดสินใจ รับการประเมินจากองค์กรภายนอก เข้าร่วมการประเมินคุณภาพจากองค์กรภายนอก เช่น HA TQA

Negative

1.การทำงานซ้ำๆแบบเดิมไม่ได้พัฒนา

2.มองระบบงานที่จะได้ทำเพิ่มเป็นภาระงานเพิ่มขึ้น

3.ไม่สนใจข้อร้องเรียนของผู้รับบริการ ไม่มองภาพรวม

Paradox

ทำงานให้มีคุณภาพ ให้ได้มาตรฐานในระดับนานาชาติ แม้จะทำได้ยากแต่ถ้าพัฒนาความรู้ ความสามารถ ศึกษามาตรฐานสากล ก็จะสามารถพัฒนาคุณภาพบริการ คุณภาพงานได้สำเร็จทัดเทียมระดับสากล

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

อาจต้องปรับภาษา ให้ออกมาเป็นพฤติกรรมเลย ถ้าเขียนได้ชัด ก็วัดได้ชัด

วันที่ 3 ตุลาคม 2558

วิชาที่ 40

Learning Forum

หัวข้อ ทฤษฎีกระเด้ง.. จากห้องเรียนผู้นำที่คณะแพทยศาสตร์ มอ. รุ่น 2 และ รุ่น 3

.. สู่ก้าวอนาคตแบบ 3 V

โดย ผู้บริหารระดับสูงของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ตัวแทนรุ่น 1 นพ.สุทธิพงษ์ ทิพชาติโยธิน และนายปราถนา แดนพิชิตโชค

ตัวแทนรุ่น 2 ผศ.สุรพงษ์ ชาติพันธุ์ และ นพ.กิตติศักดิ์ ศรีพงษ์

ตัวแทนรุ่น 3 ผศ.นพ.วรวิทย์ วณิชสุวรรณ์ และคุณกาญจนา แซ่เฮ้ง

ดำเนินรายการโดย อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ตัวแทนรุ่น 1 นพ.สุทธิพงษ์ ทิพชาติโยธิน

ยังเก็บทฤษฎีกระเด้งไว้เสมอ

3V

ทำอยู่แล้ว V1

V2 V3 เป็นเรื่องใหม่ เหมือนเปิดโลกทัศน์ใหม่ เรื่อง Diversity เป็นเรื่องการคิดนอกกรอบ รวมแล้วเป็นทฤษฎีกระเด้ง

สิ่งที่ได้ไป ดีใจที่มีรุ่นต่อๆไป จึงพยายามส่งต่อไปให้ทีม ถ้าหลายคนร่วมมือดี กระเด้งได้สูง

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

นพ.สุทธิพงษ์เน้น Value Diversity เปิดโลกทัศน์ ถ้าร่วมมือกันก็มีแรงส่ง

ตัวแทนรุ่น 1 นายปราถนา แดนพิชิตโชค

บางเรื่องที่น่าจะใฝ่รู้เพิ่ม ก็ขึ้นกับโอกาส ขอบคุณคณะที่ให้โอกาสพัฒนา

ขึ้นกับทีมบริหารคณะแพทย์ ก็วางแผนไว้ล่วงหน้าจะพัฒนาด้านใด ผลผลิตคือการศึกษา รักษา วิจัย

ผู้บริหารมีแนวคิด 4M

Man, Money, Machine, Management

ในนโยบายคณะ กล่าวว่า การเสริมสร้างเครือข่ายบูรณาการ ต้องพัฒนาคน

ทฤษฎีกระเด้ง ตอนแรก ไม่ค่อยเชื่อ ต้องลองปฏิบัติก่อน

คณะแพทยศาสตร์รวมหลายสาขาอาชีพมาทำงานให้

Learning how to learn กล่าวถึงทฤษฎี Turn idea to action to sustainability

ถ้าต้องการให้กระเด้งเป็นเลิศต้องร่วมมือกับทุกฝ่าย

ไม่เคยคิดว่าเศรษฐกิจพอเพียงเชื่อมโยงเป็นแนวปฏิบัติให้เห็น ตรงกับ 2R และ 2I ของอาจารย์จีระ

คณะแพทย์ยั่งยืนตามเศรษฐกิจพอเพียง

ควรดูแลแนวร่วมให้เกิดความสมบูรณ์แบบในภาคใต้แบบกระเด้ง

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

คุณปราถนา บอกว่าไม่คาดว่าโอกาสจะมา

ดร.จีระบอกว่าการเรียนรู้คือโอกาสการปะทะกันทางปัญญา ทำให้เกิดชุมชนการเรียนรู้

คุณปรารถนาเน้นขั้นตอน แต่สุดท้ายผสมกลมกลืนกับความเป็นเลิศของแต่ละท่าน

สิ่งสำคัญคือทำให้สำเร็จ

ควรเน้นความจริง ตรงประเด็น ทำให้การทำงานแหลมคม

ทั้งสองคนเน้น Diversity แต่คุณปราถนาบอกว่าเป็นความร่วมมือสหวิทยากร

ตัวแทนรุ่น 2 ผศ.สุรพงษ์ ชาติพันธุ์

ตอนแรกก็สงสัยว่าทำไมก็มาเรียน แต่ก็มาเรียนทุกครั้ง

ความรู้แม้จำไม่ได้หมด แต่ได้นำไปประยุกต์ รู้สึกมีคุณค่า

Learning how to learn สำคัญ เรียนด้วยตนเอง ก็ดี หรือได้รับฟังประสบการณ์

สร้างวัฒนธรรมเรียนรู้สำคัญ ได้นำไปพัฒนานักศึกษาให้เรียนรู้นำไปใช้ได้จริง

สิ่งสำคัญคือได้เครือข่าย เพื่อน กลุ่ม ทำให้ความสัมพันธ์ดีมาก ยังคงสื่อสารผ่านไลน์กลุ่ม นัดทำกิจกรรมทางไลน์ ช่วยเหลือกัน

รุ่น 3 น่าจะได้เครือข่ายที่ยั่งยืนแบบนี้

Learn, Share, Care สำคัญ เรียนรู้แล้ว ต้องนำไปให้คนอื่น

คณะอยากให้แต่ละรุ่นนำความรู้ไปเผยแพร่ให้คนอื่นทราบ ก็ออกเป็น care

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

อาจารย์จีระท้าทายตลอด บอกว่า ไม่อยากเรียน ก็ออกไป ถ้าฝ่าด่านนี้ได้ ก็เรียนรู้ต่อไปได้

Learning How to learn เช่น Learn, Share, Care

Copy ความรู้ที่เรียน Understand เข้าใจ และกระเด้งเป็น Value

สำคัญที่สุด V ที่ดร.จีระชื่นชอบมากที่สุดคือ นำความหลากหลายมาสร้างพลัง

ตัวแทนรุ่น 2 นพ.กิตติศักดิ์ ศรีพงษ์

จากการเรียนจากดร.จีระ ทำให้ได้เพื่อนในรุ่น มีความรัก ความผูกพัน คุ้นเคย ก่อนเรียนและหลังเรียนต่างกันทำให้มีความสุขในการทำงานเพราะรู้จักหลายคน

เนื้อหาหลักที่ประทับใจคือกระเด้ง นำไปสู่สิ่งต่างๆ

มีความคิดว่าสิ่งที่ทำตอบโจทย์ 3V หรือไม่ เป็นเรื่องของความยั่งยืน

ตั้งแต่เรียนมา วิชานี้ก็เป็นวิชาทักษะในชีวิตด้วย เช่นมีวิชาเต้นรำ Crucial Conversation การคิดเชิงกลยุทธ์ ถือเป็นของดีที่ทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิต ทำให้รู้จักวางแผนชีวิต ก็จะกระเด้งถ่ายทอดความรู้ให้ลูกต่อไป

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

นพ.กิตติศักดิ์ตอนแรกดูเป็นคนจริงจัง ตอนหลังมาอยู่กลับกลุ่มก็เบิกบาน

นพ.กิตติศักดิ์ ได้พูดเรื่องความสุขในการทำงาน และความสัมพันธ์ ซึ่งสำคัญมาก

กระเด้งคือการนำไปสู่สิ่งใหม่ๆ

เหตุคือความจริง แต่จะนำไปสู่ผลต้องใช้ R2

สิ่งที่ชอบคือ ท่านได้สิ่งที่โรงเรียนไม่ได้สอน

ขอบคุณนพ.กิตติศักดิ์

ตัวแทนรุ่น 3 คุณกาญจนา แซ่เฮ้ง

ได้รับทราบข่าวจากคุณอุษณีย์จึงสนใจที่อยากจะมาเรียน ตนเองเป็นคนขาดโอกาสทางการศึกษา เพราะต้องทำงานที่ตนเองรัก

วันแรกที่ได้เรียน เรียนไม่รู้เรื่องเลย พอมาเจอดร.จีระ บอกว่า ไม่จำเป็นต้องเรียนสูง แต่สามารถมีความรู้เท่ากับคนการศึกษาสูงได้ อย่าท้อแท้

ดร.จีระจัดตารางมาเพื่อสร้างคนเป็นผู้นำ โดยบอกว่าให้ปรับตัวเองก่อน ตอนแรกตนเองไม่อยากทำงานตำแหน่งบริหาร เพราะยากมาก ทำงานกับแพทย์ ซึ่งปรับอะไรยาก

พอมาฟังอาจารย์จีระ ก็ทำให้เข้าใจว่าเรากำลังจะได้รับการพัฒนาเป็นผู้นำ เราจึงปรับทัศนคติ หาตนเองให้เจอ มองต่อไป จะวางแผนพัฒนาตนและงานอย่างไร

และเน้นให้ระลึกถึงพระบิดาตลอด

3V

Value Added มากกว่าที่เราคิด แค่มานั่งเรียน ก็เพิ่มความรู้ที่มีเพื่อเปลี่ยนตนเอง สร้างความคิดใหม่ เรียนรู้ไปสู่สังคม AEC ทำ CSR นำความรู้ไปปรับใช้ในองค์กร

อาจารย์ตอบโจทย์ให้แล้วว่าเราจะเจออะไรเมื่อเป็นผู้บริหาร

แล้วกระเด้งไป Value Creation เราอาจไม่มีโอกาสแลกเปลี่ยนให้ผู้บริหารทราบ แต่การเรียนทำให้เกิดความรู้มากขึ้น

ถ้าไม่มาโครงการนี้ จะไม่เข้าใจสหสาขาวิชาจะทำงานร่วมกันอย่างไร และอาจารย์ส่งเสริมให้มอง Diversity นอกคณะแพทย์ด้วย Connection สำคัญมาก

ถือว่าได้คุณค่ามากกว่าที่มีเพียงได้มาพบกัน

ลูกบอลกระเด้งไม่ได้ถ้าไม่เติมลม ต้องเติมความรู้จะได้กระเด้งสูงและไกลแม้เราเป็นจุดเล็ก และก็สำคัญต่อองค์กร

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

คุณกาญจนากระเด้งสูงมาก เพราะลงลึกมาก

ท่านอาจารย์ธีระวัฒน์ บอกว่า คนคณะแพทย์ฉลาดลึก แต่โง่กว้าง

คุณกาญจนามุ่งมั่นทำงานรู้ลึก

กระเด้งได้เพราะขั้นตอนในหลักสูตรนี้

ความรู้ในหลักสูตรได้แนวทางจากการที่ดร.จีระหารือกับคณะแพทย์

กระบวนการแสดงให้เห็นส่งผ่านความรู้

ทุกรุ่นทำได้เพราะกระบวนการ

สิ่งที่เห็นคือความร่วมมือ ความสัมพันธ์ในรุ่น

การกระเด้งเหมือนลมส่งไปในลูกบอล ต้องทำให้ลูกบอลแข็งจึงกระเด้งได้

ตัวแทนรุ่น 3 ผศ.นพ.วรวิทย์ วณิชสุวรรณ์

ขอขอบคุณที่ได้มีโอกาสมาเรียน

ตอนแรกไม่มั่นใจว่าจะมีเวลา เรียน แต่พยายามถามเพื่อน มีความมุ่งมั่น

ขอขอบคุณคณะผู้บริหาร ทำเพื่อบุคลากร ให้คณะแพทย์อยู่ยั่งยืนมาก จึงอยากทำอะไรให้คณะบ้าง

ดร.จีระ เตือนให้ out of box ทำให้มั่นใจว่าคิดนอกกรอบเป็นเรื่องดี อาจารย์มีเครือข่ายมาก

ตอนแรกก็เป็นกบฏบ่นมีการบ้านมาก ทำไมต้องทำ

อาจารย์จีระทำคุณประโยชน์ให้แก่คณะแพทย์มาก

อาจารย์ที่สิงคโปร์ตื่น 6 โมงเช้าทุกวัน นำเสนอความรู้มากมาย มีความสามารถประสาน Diversity มี Innovation

ทุนมนุษย์สำคัญมาก มอ.กำลังเริ่มต้น อยากสร้างพลังให้ทุกคนมีพลังร่วมกันพัฒนาตนเอง คิดดี ทำดี

กิจกรรมปลูกต้นไม้ช่วงเช้า ดำเนินการตาม 3V ปลูกพะยูงเพื่อพยุงคณะแพทย์ให้งอกงามและยั่งยืนต่อไป

เราน่าจะประสบความสำเร็จ และ Stronger together


โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อฟังข่าวโครงการ

http://mcot-web.mcot.net/fm965/site/streaming/id/5...

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม 2558 ทาง FM 96.5 MHz

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่านข่าวโครงการ

http://www.gotoknow.org/posts/595945

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์ ประจำวันที่ 7-22 ตุลาคม 2558

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อดูข่าวโครงการ

https://www.youtube.com/watch?v=olKnPwiovYE&feature=youtu.be

ที่มา: รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ “ดร.จีระ” . ตอน: ห้องเรียนคณะแพทยศาสตร์ มอ.รุ่นที่ 3 : การเรียนรู้นอกห้องเรียน

(ตอนที่ 3) ออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม 2558 ทางสถานีโทรทัศน์ TGN


คุณจีระสุข ชินะโชติแจ้งว่า สัมภาษณ์รศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ คณบดีคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เกี่ยวกับ โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3ได้ออกอากาศแล้วมีรายละเอียดในลิ้งค์นี้

Ms. Jeerasuk Chinashote informed that the interview with Assoc. Prof. Sutham Pincharoen, MD, the Dean of the Faculty of Medicine, Prince of Songkla University about MED PSU Human Capital Development Program 3 was broadcast as shown in this link.

https://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/111/706/original_suthaminterviewam9182102015.MP3?1443746380

ที่มา: สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 88 MHz และ AM 918 kHz. วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม 2558 ระหว่างเวลา 7.00-8.00 น.

Source: Radio Thailand. on FM 88 MHz and AM 918 kHz. on Friday 2 October 2015 at 7.00-8.00 a.m.


วิชาที่ 37

กิจกรรมรักษ์ใจ – รักษ์กาย (2)

  • จิตวิทยาการแก้ไขอาการ วิตก กังวล กลัว
  • รักษ์ใจ….ไม่เครียด ด้วยหัวเราะบำบัด
  • ฯลฯ

โดย ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม



วิชาที่ 38

Learning Forum & Workshop

หัวข้อ “วัฒนธรรมองค์กร – การบริหารการเปลี่ยนแปลง”

โดย ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

วิทยากรอิสระด้านทรัพยากรมนุษย์


วิชาที่ 39

นำเสนอโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานของคณะแพทย์ ม.อ. ต่อผู้บริหาร

โดยตัวแทนของทั้ง 5 กลุ่ม (กลุ่มละ 20 นาที)

ร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นแนวทางสู่การปฏิบัติเพื่อความสำเร็จ

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

รศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ

คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

นายแพทย์บุญประสิทธิ์ กฤตย์ประปา

รองอธิการบดีฝ่ายบุคคลและประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

วิทยากรอิสระด้านทรัพยากรมนุษย์

ผศ.กิตติ ชยางคกุล

ดำเนินรายการ โดย อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล


กลุ่มที่ 4 Family-centered Care Model for Traumatic Brain Injury Patients co-operated with University of Washington

หลักการและเหตุผล (ความสำคัญและความจำเป็นของโครงการ)

โรงพยาบาลสงขลานครินทร์เป็นโรงพยาบาลที่รับส่งต่อผู้ป่วยอุบัติเหตุระดับที่ 1 มีจำนวนผู้ป่วยผู้ป่วยอุบัติเหตุประมาณ 10,000-12,000 คนต่อปี คิดเป็น 800-1000 คนต่อเดือน ในจำนวนผู้ป่วยเหล่านี้มีผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บทางศีรษะแบบรุนแรงประมาณ 80 คนต่อปี ที่ต้องได้รับการช่วยเหลือจากผู้ดูแล ถ้าการดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ไม่ถูกต้องส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดแผลกดทับ ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและไม่สามารถกลับไปทำงานได้

University of Washington เป็นโรงพยาบาลที่รับส่งต่อผู้ป่วยอุบัติเหตุระดับที่ 1 เช่นกัน รับผู้ป่วยจาก 5 รัฐ ได้แก่ Washington, Alaska, Montana, Idaho และ Wyoming

มีผู้ป่วยอุบัติเหตุ 76,500 คนต่อปี มี Harborview Injury Prevention and Research Center (HIPRC) ซึ่งเป็นหน่วยวิจัยด้านอุบัติเหตุโดยเฉพาะ และ UW School of Public Health and Department of Global Health ซึ่งเป็นภาควิชาที่ดูแลเรื่องปัญหาสุขภาพของโลกซึ่งอุบัติเหตุเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตหลักของโลก

การร่วมมือกันกับต่างประเทศเป็นการทำตามวิสัยทัศน์ของคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่มีเป้าหมายเป็นคณะแพทยศาสตร์ชั้นเลิศที่มุ่งสู่ระดับนานาชาติเพื่อการแลกเปลี่ยนบุคลากร ทำวิจัยและสร้างนวัตกรรมร่วมกัน และการสร้างหลักสูตรทางการแพทย์และพยาบาลร่วมกัน การมีความแตกต่างของประชากร กลไกการบาดเจ็บที่แตกต่าง วัฒนธรรมที่หลากหลาย การรักษาที่แตกต่างตามเทคโนโลยี ทำให้ทั้งสองประเทศได้เรียนรู้ร่วมกันตามพันธกิจของคณะแพทยศาสตร์ ได้แก่ การผลิตและพัฒนาแพทย์ บุคลาการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ คุณธรรม และจริยธรรม โดยยึดถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง การสร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพ ได้รับการอ้างอิงระดับนานาชาติ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในสังคมไทย และการให้การบริการวิชาการที่ตอบสนองความต้องการของสังคมไทยและเชื่อมโยงสู่เครือข่ายสากล

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

  • จัดตั้งศูนย์ดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุทางสมองแบบรุนแรง ภายใต้การดูแลของ trauma excellent center ของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
  • จัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุทางสมองแบบรุนแรงอย่างต่อเนื่อง
  • ติดต่อและประสานงานกับหน่วยงานที่สามารถดูแลผู้ป่วยแบบต่อเนื่อง
  • เพิ่มความรู้และความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุทางสมองแบบรุนแรงให้กับประชาชนทั่วไป
  • สร้างเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุกับต่างประเทศ

กรอบแนวคิดของโครงการและยุทธศาสตร์ (ทฤษฎีสำคัญที่เกี่ยวข้อง/นำเสนอข้อมูลที่ได้ศึกษาเพื่อหายุทธศาสตร์หรือแนวทางในการทำโครงการนี้)

การดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุทางสมองแบบรุนแรงที่บ้านต้องดูแลในหลายๆด้าน ได้แก่ การให้ออกซิเจนกับผู้ป่วยที่บ้าน การดูแลแผลเจาะคอ การจัดยาหลายชนิดให้ถูกต้อง การดูแลการให้อาหารทางสายจมูกหรือที่สายกระเพาะอาหารโดยตรง การดูแลสายสวนปัสสาวะ การดูแลพลิกตัวเพื่อป้องกันแผลกดทับ

การดูแลเหล่านี้ต้องมีการฝึกฝน ใช้เวลา ซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงาน อารมณ์ ของผู้ดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ได้ ดังนั้นการเตรียมผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยก่อนการกลับบ้าน จึงมีประโยชน์มากในการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน4 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลแทรกซ้อนตามมาได้

การติดตามดูแลผู้ป่วยที่บ้านเป็นจุดอ่อนของการดูแลผู้ป่วยของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เนื่องจาก ผู้ดูแลอาจทำได้ไม่ถูกต้อง การทำหัตถการต่างๆอาจไม่ถูกตามวิธีการมาตรฐาน ดังนั้นการติดตามดูแลผู้ป่วยที่บ้านจึงมีความสำคัญ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้แก่ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ แผลกดทับ การขาดออกซิเจน ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยต้องกลับมานอนโรงพยาบาลเพื่อรักษาภาวะแทรกซ้อนนั้นๆได้

ขั้นตอน/วิธีการดำเนินงาน/timeframe

  • ปรึกษาร่วมกับพยาบาลหอผู้ป่วยศัลยกรรมประสาทและคลินิคปฐมภูมิ
  • ทำแบบสอบถามเรื่องปัญหาและความต้องการความช่วยเหลือโดยผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วย
  • ประเมินความต้องการของผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วย
  • สอนผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยตามความต้องการก่อนกลับบ้าน
  • ติดต่อประสานงานกับโรงพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อการติดตามเยี่ยมบ้าน เริ่มจากเทศบาลคอหงส์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (พสต) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช)

แหล่งเงินทุนและงบประมาณ

กองทุนวิจัยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วิธีการประเมินผล

เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลเป็นคนประเมินการดูแลผู้ป่วยว่าทำได้ถูกต้องหรือไม่

ผลที่คาดว่าจะได้รับและการเพิ่มมูลค่าแบบ 3V

Value added : เพิ่มประสิทธิภาพของการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุแบบรุนแรง และ เครือข่ายโรงพยาบาลสงขลานครินทร์

Value diversity : ความต่างของการดูแลผู้ป่วยในแต่ละประเทศ ผสมผสานกับวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ ทำให้ดูแลผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง

Value creation : TBI office of PSU and network

ปัจจัยที่เป็นอุปสรรค และปัจจัยแห่งความสำเร็จของโครงการ

ปัจจัยที่เป็นอุปสรรค

  • ผู้ป่วยไม่ต้องการเปิดเผยสภาวะการบาดเจ็บของตัวเอง
  • ผู้ป่วยไม่ได้ให้ที่อยู่ปัจจุบัน (ไม่ตรงกับข้อมูลในบัตรประชาชน) ทำให้การติดตามผู้ป่วยที่บ้าน ทำไม่ได้
  • ผู้ดูแลผู้ป่วยมีหลายคน ทำให้การฝึกสอนต้องทำหลายครั้ง
  • การทำงานข้ามหน่วยงานกับโรงพยาบาลในเครือสาธารณสุขซึ่งดูแลรับผิดชอบต่างพื้นที่ต้องอาศัยการติดต่อกับ สสจ พสต เพื่ออาศัยความร่วมมือในการติดตามผู้ป่วย
  • การติดต่อกับต่างประเทศใช้ค่าใช้จ่ายสูง

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

  • โรงพยาบาลสงขลานครินทร์เป็นศูนย์รับส่งต่อผู้ป่วยอุบัติเหตุระดับ 1 ซึ่งมีผู้ป่วยอุบัติเหตุเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นจำนวนมาก Harborview Medical Center, University of Washington เป็นศูนย์รับส่งต่อผู้ป่วยอุบัติเหตุระดับ 1 เช่นกัน แต่ผู้ป่วยของแต่ละประเทศมีกลไกการบาดเจ็บที่แตกต่างกัน มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน3 ทำให้มีการดูแลผู้ป่วยที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันได้ ส่งผลต่อการทำวิจัย/นวัตกรรม/หลักสูตรการศึกษา ร่วมกัน

บทสัมภาษณ์ทัศนะของผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการนี้เป็นอย่างไร เห็นด้วยหรือไม่ มองปัจจัยที่เป็นอุปสรรคและปัจจัยที่จะทำให้โครงการนี้สำเร็จอย่างไร

คุณอรพิน นวลช่วย; Discharge planner ประจำหอผู้ป่วยศัลยกรรมประสาท แสดงความเห็นด้วยในการเตรียมผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยก่อนการกลับบ้าน เพื่อเป็นการลดอัตราการนอนโรงพยาบาลจากผลแทรกซ้อนจากการทำหัตถการต่างๆที่ผู้ดูแลผู้ป่วยต้องทำที่บ้าน ถึงแม้จะมีการสอนแล้วก็ตาม การทำหัตถการนั้นๆเองที่บ้านอาจทำได้ไม่ถูกต้องสมบูรณ์ได้

คุณสุมาลี วังธนากร; Head of PCU(Primary Care Unit) การติดตามผู้ป่วยต่อเนื่องต้องอาศัยความร่วมมือจากตัวผู้ป่วยเอง ผู้ดูแลผู้ป่วย ครอบครัวและญาติ ดังนั้นการไปเยี่ยมบ้านผู้ป่วยทำให้ได้เห็นสิ่งแวดล้อมที่บ้าน ทำให้ทีมที่ให้ความช่วยเหลือได้เห็นสภาพความเป็นจริงและให้การช่วยเหลือได้อย่างถูกต้อง แต่ยังขาดแคลนบุคลากรที่สามารถเข้าพิ้นที่ได้อย่างต่อเนื่อง แพทย์และพยาบาลส่วนใหญ๋ทำงานตั้งรับอยู่ในโรงพยาบาล

นพ.ธีระ พิรัชวิสุทธิ์; Associate Dean of International Affair เห็นด้วยกับการทำ MOU กับประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งขณะนี่คณะแพทย์ยังไม่มี connection ด้วย ทำให้เพิ่มโอกาสความร่วมมือทางการศึกษา การวิจัย และนวัตกรรมของทั้งสองฝ่าย

ร่วมให้ข้อเสนอแนะและแสดงความคิดเห็น กลุ่ม 4

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

มหาวิทยาลัยก็ดีหรือคณะแพทย์ก็ดีไม่สามารถอยู่แบบเดิมได้ ถึงแม้มี MOU ต้อง Turn MOU สู่ Identity ให้เห็นว่าการร่วมมือกับต่างประเทศเป็นสิ่งสำคัญ และให้ทำอยู่ในระดับชาติด้วย อย่าง สีจึ้นผิงมา ประเทศจีนมองได้ ไทยก็มองได้ การเจรจาต่อรองขึ้นอยู่กับ Networking กับ Connection

ที่ชอบอีกเรื่องหนึ่งคือการ Link ไปสู่ Value Diversity คือเอาความหลากหลายของไทยและต่างประเทศเป็นพลัง อาจยากในการเริ่มต้น

ใน UW อยู่ในอันดับที่ 14 ของโลก ซึงถ้าการเสนอแนะครั้งนี้เป็นการ Turn idea into reality แต่ว่า Step ที่เดิน ต้องเดินในจุดเล็ก ๆ ก่อน ให้เดินไปสู่จุดที่สำเร็จ ซึ่งมี Connection อยู่แล้ว ขอชื่นชมในจุดทีเรียกว่า Upside เน้นการทำในสิ่งที่มีความสามารถ การ Joint Venture การแลกเปลี่ยน Professor

คณบดีสุธรรม

ชื่นชมกลุ่มนี้ที่กล้าคิด กล้านำเสนอ ใช้ความแข็งของทีมงานมาประกอบกัน แต่ Family Center มาได้อย่างไร

ตอบ คือคิดเองว่าอยากให้เป็นการช่วยเหลือกันในครอบครัว ซึ่งสามารถเป็นจุดขายที่ไปใช้ในต่างประเทศ ถ้ามีคนในครอบครัวดูแลได้จะได้ Train ขึ้นมา

คณบดีสุธรรม คิดว่า โครงการนี้น่าจะไปต่อยอดได้ ถ้าถามว่าคนอเมริกันต้องการอะไร ปัญหาที่จะกลัวมากที่สุดใน 20 ปีข้างหน้า คือ เรื่องของการก่อการร้าย อเมริกันต้องเตรียมอะไรในอนาคตเพื่อดูแลสถานการณ์เต็ม ๆ เราต้องเรียนรู้ในการจัดการที่ดี ใช้ศักยภาพของหลาย ๆ หวอดซึ่งภายในสามารถพูดกันได้

Family Center มองอีกคำนึงคือ การต่อเนื่องจากโรงพยาบาลไปยังครอบครัว ถ้ามีผู้สูงอายุจะชัดเจนว่านอนโรงพยาบาลกี่เดือน อยู่บ้านกี่เดือน จะทำอย่างไร

โรงพยาบาลชุมชนกับที่บ้านเป็นอย่างไร เป็นการใช้ Diversify ใช้โรงพยาบาลที่บ้านมาเป็นทีม คำว่า Family Center ต่อยอดได้ สามารถใช้จุดแข็งคนไทยเป็นประโยชน์ การแพทย์ในปัจจุบันนั้นไปกันญาติออกไป จึงอยากให้ฝากแนวคิดนี้เยอะ ๆ

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

แต่เดิมนั้นโครงการนี้ไม่เป็นนวัตกรรมเลย แต่ผู้นำเสนอยังยืนยันว่าเป็น MOU และสามารถทำได้ดี

คนที่มุ่งมั่นสูงแล้วรับฟังสมาชิกในกลุ่มจึงออกมาเป็นโครงการที่กระเด้งไปเป็นนวัตกรรม

  • Trauma Center
  • Family Center
  • ลงไปสู่ผู้ป่วยทางสมองอย่างรุนแรง และมีวิธีการจัดการที่ครบ คิดเรื่องการหาลงทุน คิดครบวงจร
  • จากกระบวนการC-U-V รับฟังแล้วไป Understand แล้วออกมาเป็น 3 V

ผศ.กิตติ ชยางคกุล

จากหัวข้อที่ทำมามีนวัตกรรมหลายตัวในโปรเจคนี้ มีนวัตกรรมหลายตัว อยากให้ไปวางแผนดี ๆ ที่รวมร่างแล้วเป็นอะไร แล้วเป็นความพร้อมในการเป็น MOU ได้

การสร้าง Center ถ้าอยากไปทำ MOU จะทำอย่างไร เช่น สร้าง Model Family Care ถ้าทำชัด จะไปทำเป็น MOU หรือการพัฒนาในการดูในเรื่อง Center ก็ได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ในอนาคตอเมริกา อาจมองเป็นจุดแข็งในการส่งคนป่วยมา Trend ที่แนะนำคณบดีไปเรื่อง UW ถ้าต้องการให้ ดร.จีระ เป็น ทูต ก็ยินดีที่จะทำ ก่อนอื่นควรเริ่มในจุดแข็งก่อน แล้วค่อยกระเด้ง ต้อง Turn MOU into Practice

ในรุ่น 3 ถ้ามี Project ระดับ International สักหนึ่งอันถือว่าถูกต้อง และสามารถไป Link กับ UW ได้ ถ้าที่ประชุมเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดีเป็นทิศทางที่เป็นประโยชน์และเห็นว่าจะช่วยได้ ก็ยินดีช่วยอยู่แล้ว และเป็นศิษย์เก่า UW ด้วย ถือว่าเป็นอะไรที่ลงตัวพอสมควร

นายแพทย์บุญประสิทธิ์ กฤตย์ประปา

มีเรื่อง 2 เรื่องที่ซ้อนกันอยู่คือ Trauma และการดูแลคนไข้เรื้อรัง เราส่งคนไข้เรื้อรังไปดูแลที่บ้านได้น่าจะดี เราต้องมีกระบวนการในการดูแลตรงนี้ต่อ แต่การ Empower ครอบครัวสำคัญ

ปัจจุบันคนในเมืองต้องดูแล แต่อาจไม่สามารถดูแลได้ทุกครอบครัว เพราะบางครอบครัวไม่สามารถดูแลได้ คนรวยส่วนใหญ่จ้าง Day home care ควรมีการแนะนำเมื่อมีปัญหาหาคน Support ได้ด้วย

Trauma เป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะคนเสียชีวิตเป็นอันดับ 2 ของโลก ถ้าทำสิ่งนี้จะเป็นประโยชน์มากเลยต่อสังคมไทยและมีผลต่อ Global ด้วย

มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน มีการต่อยอดนวัตกรรมจากสิ่งที่ทำ

ทั้งสองเรื่องดีทั้งสองเรื่อง ถ้าทำต้องจับให้ชัด และเน้นการทำเพื่อไปช่วยคน และถ้าทำสิ่งนี้โอกาสประสบความสำเร็จเกินครึ่งแต่ว่าไม่ง่าย

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

สิ่งนี้เรียกว่านวัตกรรมสร้างรายได้

สิ่งที่สร้างคือมาตรฐานในการฝึกคนดูแลผู้ป่วย ถ้าสร้างมาตรฐานได้ การดูแลคนป่วยจะได้มาตรฐานไปด้วย ถ้าบุคคลในครอบครัวทำเป็นจะได้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเดินทางจะช่วยเศรษฐกิจครอบครัวได้ด้วย และสามารถตอบโจทย์ในสังคมบางแห่งได้

ไม่ง่ายแต่ให้กำลังใจ ถ้าสามารถทำได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ซ่อนไว้ 2 เรืองคือ International Cooperation ทั้งในระดับ World Class และระดับกลาง ถ้าเราไป UW ได้ เราต้องสามารถไประดับเดียวกับเราด้วย ให้กินทุก Sector ให้เอา Issue ที่สำคัญต่อเรา มาคุยกัน

คำว่า 3 V คนไทยไม่ชอบคิดว่าความหลากหลาย เห็นไม่ตรงกันก็ทะเลาะกัน การสอนหนังสือต้องมี Diversity อยู่แล้ว

กลุ่มที่ 3 โครงการจัดตั้งอาคารที่พัก ที่จอดรถและจำหน่วยเวชภัณฑ์และยาสำหรับผู้ป่วยศรีตรังคอมเพล็กซ์

สภาพปัญหาคือ

ผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน ที่มีปัญหาเรื่องที่พักและที่จอดรถ และการซื้อของเวชภัณฑ์

จุดผ่อนปรนโรงพยาบาลที่ญาติคนไข้มาเฝ้าญาติ

ทำไม พวกเขาถึงอยู่ตรงนี้ ?

จริง ๆ อยากช่วยเหลือผู้ป่วยและญาติคือมีความทุกข์ ทั้งผู้ป่วยยากไร้ และคนชั้นกลางที่มาดูแลผู้ป่วยมีความยากลำบาก

ปัญหาที่พบเพิ่มเติมคือ

  • มีการเอาผลประโยชน์จากผู้ป่วยฉายแสง
  • การจำหน่ายวัสดุทางการแพทย์ ไม่มีที่สามารถตอบโจทย์ให้คนไข้เข้าถึงได้ ไม่เพียงพอ ไม่หลากหลาย วัสดุมีจำกัด การจำหน่ายสินค้าข้างนอกราคาแพงมาก เป็นอุปกรณ์จำเพาะไม่สามารถซื้อตามร้านทั่วไป ถ้าสามารถแก้ปัญหานี้ได้จะดีมาก เน้นการออกนอกระบบ
  • ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ด้านสิทธิผู้ป่วย
  • เรื่องที่พัก มีความจำเป็นต้องนอนรักษาพยาบาล มีประเด็นเรื่องค่าใช้จ่ายในที่พักส่วนใหญ่ต้องการห้องเดี่ยว ห้องชุด ห้องรวม
  • ปัญหาเรื่องที่จอดรถ ต้องการถึง 93% และถ้าคิดราคาสามารถจ่าย 13.7 บาทต่อชั่วโมง
  • ศูนย์จำหน่ายและให้เช่าอุปกรณ์การแพทย์
    • เพื่อตอบสนองความต้องการด้านที่พักอาคารและจอดรถให้แก่ผู้ที่มาใช้บริการของโรงพยาบาล
    • เพื่อเป็นสถานที่จำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์และบริการด้านสุขภาพ
    • สร้างรายได้ให้กับองค์กรเพื่อรองรับการออกนอกระบบราชการในอนาคต

ราคาห้องพักโดยเฉลี่ย 450-1500 บาท อาคารเย็นศิริไม่ไหวเนื่องจากคนเยอะมากจริง ๆ

กลุ่มเป้าหมาย

1.ผู้ป่วยและญาติที่มารับบริการ

2. ผู้ต้องการที่พักเพื่อรับบริการทางการแพทย์ เช่น รอรับการตรวจ ,วินิจฉัยทางการแพทย์

วัตถุประสงค์

วิสัยทัศน์คณะแพทยศาสตร์ 2556-2559

เป็นคณะแพทยศาสตร์ชั้นเลิศระดับนานาชาติเพื่อสังคมไทย

มุ่งเน้นการศึกษาเป็นเลิศ บริการที่เป็นเลิศ วิจัยที่เป็นเลิศ

สร้าง Core Competency

  • การสร้างเครือข่ายเพื่อบูรณาการภารกิจ (Network)
  • การบริหารตนเพื่อให้บรรลุความเป็นเลิศ
  • การบริหารจัดการแบบบูรณาการเพื่อนำองค์กรสู่ความเป็นเลิศ

พันธกิจ

  • ผลิตและพัฒนาแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ คุณธรรมและจริยธรรม โดยยึดถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
  • ให้บริการด้านรักษาพยาบาลที่เป็นเลิศจนถึงระดับเหนือกว่าตติยภูมิ (Super tertiary care) ด้วยจิตวิญญาณ โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์
  • สร้างงานวิจัยที่มีคุณภาพได้รับการอ้างอิงระดับนานาชาติและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในสังคมไทย
  • ให้บริการวิชาการที่ตอบสนองความต้องการของสังคมไทย และเชื่อมโยงสู่เครือข่ายสากล

ปรัชญาชี้นำ “ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง”

ค่านิยม 1.ทำงานเป็นทีม 2.มุ่งเน้นผู้รับบริการ 3.มุ่งเน้นคุณภาพ 4.จิตสำนึกด้านความเสี่ยงและความปลอดภัย 5.ยึดหลักคุณธรรม

แหล่งเงินทุนและงบประมาณ

จะมีเงินทุนจริงหรือไม่

ลองไปเขียนแบบขึ้นมา

มีจอดรถข้างใน มีออฟฟิศ มีศูนย์ Nursing Care มีข้างบนทำเป็นที่พัก

จัดโซนพื้นที่ในการบริหารจัดการ

  • เพื่อให้ผู้ป่วยใช้หมุนเวียนใน Complex และที่บ้าน
  • จัดสวัสดิการที่นอนที่พัก แยกห้องคนไข้ติดเชื้อ
  • รถรับส่ง และสาธารณูปโภคต่างๆ
  • ลงทะเบียนผู้ป่วย และหน่วยคัดกรองอาการเจ็บป่วย
  • มีบริการทางการพยาบาล อาหารทางสายยาง
  • หน่วยแพทย์ 1669 / 1700
  • พื้นที่จำหน่ายอาหาร
  • อุปกรณ์ทางราคาถุก หมุนเวียนให้ยืม
  • ปลอดภัยของอาคาร วงจรปิด
  • บุคลากรดูแลอาคาร (เพิ่มรายได้)
  • เจ้าหน้าที่ รปภ. (เพิ่มรายได้)
  • การเรียนการสอน การวิจัย
  • Upgrade => อาคารเย็นศิระ (เดิมสำหรับผู้ป่วยยากไร้ แต่ต้องการให้เป็นของระดับชั้นกลาง)

แหล่งงบประมาณภายใน

  • มูลนิธิโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ : อสังหาริมทรัพย์ เส้นถนนกาญจนวนิช หน้ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • งบประมาณจากคณะแพทยศาสตร์ : งบการบริหารจัดการ
  • งบประมาณจากมหาวิทยาลัย : อสังหาริมทรัพย์

แหล่งงบประมาณภายนอก

  • มูลนิธิท่งเซีย เซี่ยงตึ๊ง : บริจาคเงินสำหรับการก่อสร้างอาคาร จำนวน 100 ล้านบาท (ยินดีที่จะสร้างโรงเรียนอยู่ข้างหน้ามหาวิทยาลัยเพื่อคนไม่มีโอกาสการศึกษาได้ศึกษาดี ๆ หน้าที่คืออยากให้ ม.อ.ไปหาพื้นที่ และที่ดินว่าสามารถเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่)
  • ที่ดินที่เจ้าของอุทิศทำประโยชน์เพื่อการกุศล : ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล
  • ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
  • คหบดีในภาคใต้เพื่อร่วมบริจาค

ผลที่คาดว่าจะได้รับ และการคุณค่าแบบ 3 V (นำเสนอผลการศึกษาที่นำเสนอให้ห้องเรียนช่วงที่ 5)

- Value added เป็นการสร้างรายได้ให้กับโรงพยาบาล

- Value creation เป็นการช่วยเหลือผู้ป่วยและญาติที่มา รับบริการในสงขลานครินทร์

- Value diversity เป็นการร่วมมือกันระหว่างโรงพยาบาล ชุมชน และสังคม

ปัจจัยที่เป็นอุปสรรค และปัจจัยแห่งความสำเร็จของโครงการ

- นโยบายของคณะฯ

- งบประมาณ ในเรื่องของที่ดิน

- การบริหารจัดการ การดำเนินการต่อและจัดทำจริง

บทสัมภาษณ์ทัศนะของผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการนี้เป็นอย่างไร เห็นด้วยหรือไม่ มองปัจจัยที่เป็นอุปสรรคและปัจจัยที่จะทำให้โครงการนี้ สำเร็จอย่างไร

  • รศ.ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล
  • นายวันชัย ลีลศิธร
  • ศ.คลินิกเกียรติคุณ ธีรวัฒน์ กุลทนันท์

เรื่องสร้างตึก เห็นด้วยเพราะเป็นการหาเงินนอกระบบเข้าสู่มหาวิทยาลัย เคยคิดโครงการฯอยู่แล้วแต่ที่ดินที่หามาไกลเกินไป ที่จอดรถอยากเอาบริเวณร้านขายยาเป็นที่จอดรถด้วยแต่เป็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัย แต่ยังไม่ตอบโจทย์ ซึ่งหารือในอนาคตต่อไป

ชอบเรื่องอุปกรณ์ทางการแพทย์ขายของมือสอง อยากให้ทำเลย

เรื่องจุดผ่อนปรน เห็นด้วย เพราะว่าอาจก่อให้เกิดปัญหากับคนทำงาน

เห็นด้วย และถ้ามหาวิทยาลัยพร้อมจะเดินเข้ามาเอง

ท่านบอกว่าโมเดล ศิริราชปิยการุณ สำเร็จได้จากทีท่านทำ ซึ่งถ้าเชิญพระบรมวงศานุวงศ์ หรือพระเทพฯเข้ามาจะช่วยให้โครงการสำเร็จและเป็นที่ยอมรับได้

ร่วมให้ข้อเสนอแนะและแสดงความคิดเห็น กลุ่ม 3

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

ได้ยินแนวคิดหลายครั้ง ถ้าที่ดินอันนี้ไกลจากโรงพยาบาลเป็น Separate Building จะมีปัญหาหรือไม่ และจะมีการเชื่อมโยงอย่างไร

ตอบ โดยหลักการได้เกิดก็ดีใจแล้ว แต่ถ้าดีที่สุดและตอบโจทย์ได้ควรอยู่ข้างหน้าโรงพยาบาล ที่คิดไว้ มี 85 ไร่ ถ้าใช้จริงน่าจะ 50 ไร่ ที่เหลือสร้างโรงเรียน

ประเด็นที่ ดร.จีระ อยากชื่นชมคือ คิดใหญ่ เป็นการมอง Quality ก่อนที่จะมองเรื่องเงิน ถ้างานดีแล้วเงินจะมาเอง

สิ่งที่ขอชมเชยคือ วิธีคิด และ Methodology ในการนำเสนอ ในที่สุดถ้ามี Quality และความมุ่งมั่นเงินจะมาเอง ให้มองเรื่องเป้าหมาย ความตั้งใจ และความจริงที่จะเกิดขึ้น

คณบดีสุธรรม ปิ่นเจริญ

มองจาก Vision คือเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์ แต่คำถามต่อไปคือ Who want to pay ? ใครควรเป็นคนจ่าย? จริง ๆ ควรเป็นรัฐบาล

ถ้าดูแลผู้ยากจน ผู้ยากไร้ มีองค์กรนานาชาติ ที่ต้องการบริจาคให้เพื่อศรัทธาจริงๆ

การศรัทธาเป็นอีกบริบทที่คณะแพทยศาสตร์พยายามทำอยู่ แต่โครงการฯ นี้น่าจะ 1,000 ล้านบาท ผู้บริจาคหลัก 1,000 ล้านบาท ต้องบริหารศรัทธาอย่างมาก เกิดจากวิจัย มุ่งมุ่น เห็นบารมี ชัดเจน ไมวอกแวกจะช่วยสร้างศรัทธา

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ถามคำแรกคือ จะเอาที่ดินกับเงินมาตรงไหน เราตั้งโจทย์จริงว่าโครงการต้องเป็นนวัตกรรมและ 3 V แต่โครงการไม่เกิดมาง่าย ๆ แต่ถ้าโครงการนี้เกิดขึ้นจริง

ตึกนี้เป็นนวัตกรรมหรือไม่ เป็นเพียงแนวคิดใหม่ที่ดีงามที่เริ่มจากศรัทธา เห็นเพื่อนมนุษย์เป็นกิจทีหนึ่ง เห็นถึงความมุ่งมั่นในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เกิดขึ้นจริง จะเป็นสะพานทอดไปสู่จุดหมาย

หลายสิ่งหลายอย่างถ้าใส่เข้าไปจะเพิ่มความหลากหลายเช่น อาคาร เป็น Green Building ปลอดเชื้อ , Logistics จะสร้างให้เกิด Flow อย่างไร ,ศูนย์ยา ถ้าเป็นศูนย์จำหน่ายยาทีเกิดบริหารจัดการแบบใหม่ ,อาหารทางการแพทย์ ดึงงานวิจัยมาใช้ , ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ก็เป็นทางนวัตกรรม , กระบวนการจัดการที่ดี ก็จะเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรม และถ้ามีที่พัก ญาติผู้ป่วยบวกกับโรงเรียน จะเกี่ยวข้องในการบริหารจัดการอย่างไร

นวัตกรรมจะช่วยให้เราเดินไปสู่เป้าหมายมากยิ่งขึ้น

ผศ.กิตติ ชยางคกุล

ตัวที่ประธานได้ไปคือตัว Methodology ที่ให้ไป ให้เอา Method ในการคิดไปครอบในนวัตกรรม ถ้าทำต่อก็ยินดี

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

ถ้าไม่สนนวัตกรรมจะเป็นการแก้ปัญหา อาจมีแนวคิดอื่นช่วยบรรเทาปัญหา เพราะระยะเวลาสร้างจริง ๆ จะมี 5-10 ปี ให้เอาของที่มีอยู่รอบ ๆ มหาวิทยาลัย หรือเป็นการไป Deal กับที่อื่นที่มีอยู่ อาจช่วยได้

ระยะเวลาในการสร้างนานมาก เป็น Big things to do

นายแพทย์บุญประสิทธิ์ กฤตย์ประปา

จินตนาการเริ่มจากปัญหาที่มีเริ่มจากที่พักญาติผู้ป่วย และที่จอดรถ จริง ๆ แล้วคนละเรื่องแต่เชื่อมไปด้วยกัน ขอชื่นชมในความกล้าในการเข้าคุย ถ้า ม.อ.Match โครงการดี ๆ จะมีคนช่วยอีกเยอะ แต่มีนวัตกรรมอีกหลายอย่างที่เราสามารถเชื่อม เช่น ประชาสัมพันธ์ มีการ Link กับโรงแรม โรงพยาบาลรอบ ๆ ทีพักต่าง ๆ รอบ ม.อ. ความต้องการจริง ๆ อยู่ที่ Management ว่าทำได้หรือไม่

ที่ ๆ ต่อยอดได้คือ เย็นศิระ สามารถแยกเป็นผู้ป่วยยากไร้ และครอบครัว ถ้าทางวัดยอม น่าจะคุยได้ง่ายกว่าข้างหน้ามหาวิทยาลัย

เห็นปัญหาเมื่อจินตนาการสร้าง ถ้าสร้างไม่ได้ อยากให้คิดทางแก้ปัญหาเพิ่มเติมซึ่งมีอีกหลายช่องทาง

ปัญหาที่จอดรถเป็นปัญหาของคณะแพทยศาสตร์ มีมาหลายปีแล้ว น่าที่จะแก้ไข

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

Session นี้เป็น Session ของการวางแนวคิดที่มาร่วมเสนอกัน ขอบคุณที่คณบดีบอกว่าโครงการนี้เป็นโครงการช่วยคนจน แต่คนจนอาจไม่ได้ประโยชน์เท่าไหร่ ส่วนนายแพทย์บุญประสิทธิ์ กล่าวว่าวัดมีประโยชน์ที่สุด Multi Story สูงมาก ๆ มีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นมาก

ไอเดียดีมาก แต่พอฟัง คณบดีสุธรรมก็รู้ว่าไม่ใช่คำตอบที่แท้จริง แต่เป็น Idea ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจะทำอย่างไร ถ้ามีการใช้รถส่งในการเดินทางก็จะช่วยแก้ปัญหาที่จอดรถด้วยเช่นกัน

อาจารย์สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช

ขอชื่นชมที่มุ่งมั่นออกมาชัดเจน เป็นนวัตกรรมทางความคิดที่เป็นความฝันที่เป็นจริงได้ โปรเจคนี้ไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้ ให้บวกด้วยการบริหารความศรัทธาจากมวลชน แต่ถ้าอยู่ไกลทำไมไม่ทำสงขลาให้เหมือนกรุงเทพ เป็นขอใช้รถไฟฟ้าใต้ดินอาจเป็นประโยชน์ต่อหาดใหญ่ได้มากกว่าก็ได้

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ไม่อยากให้ทิ้ง เพราะมีสิ่งที่มีอยู่เยอะสามารถนำไปต่อยอดได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เรื่องการรู้จักกับเจ้าของที่ดินคือ ดร.กันตธีร์ เป็นประโยชน์ที่ดี เพราะ เป็นคนที่อยากทำประโยชน์เพื่อสังคมเพราะเขาต้องการมี Dignity

กลุ่มที่ 5 โครงการ หน่วยดูแลหลังวายชนม์ Departure Care Unit (DCU)

เป็นเรื่องเกี่ยวกับกิจการกุศลและศรัทธา เป็นเรื่องเล็ก ๆ ที่เด็ดดอกไม้กระทบถึงดวงดาว

หลักการและเหตุผล

หลักการคือ มีคนไข้เยอะ เมื่อเสียชีวิตมีความยุ่งยากและลำบากในการดำเนินการให้ราบรื่นไปได้ ที่ผ่านมาตัวอย่างล่าสุดจากเจ้าหน้าที่คลังเสียชีวิต ญาติทำอะไร ไม่ถูกมีการติดต่อที่ยุ่งยากมากมาย ในทางโรงพยาบาลมีหลาย ๆ หน่วยที่เข้ามาทำหัตถการผู้ป่วยแล้วผู้ป่วยเสียชีวิต ผู้เสียชีวิตจะทำออะไรต่อ ไม่มีเจ้าหน้าที่ดูแลและจัดการเรื่องนี้ คือเกิดปัญหาในเรื่องญาติ และหน่วยงานในโรงพยาบาล จึงคิดตั้งหน่วย DCU ในการดูแลรักษาปัญหาเหล่านี้ได้

ผู้เสียชีวิตประมาณปีละ 1,000 คน ต่อปี แม้ว่าไม่มาก แต่ญาติอีกหลายคนมีความเดือดร้อน

  • ญาติอยู่ในห้วงทุกข์ และขาดความรู้ และข้อมูลการดำเนินการต่อไป
  • หลายหน่วยงานในรพ.ไม่มีพื้นที่และเจ้าหน้าที่ดูแลผู้ป่วยที่เกิดเสียชีวิตในระหว่างการตรวจรักษา
  • ดูแลและช่วยเหลือผู้ป่วยและญาติแม้กระทั่งหลังเสียชีวิต

(ใช่แต่เพียงรักษากายของผู้ป่วย แต่ยังดูแลญาติกระทั่งจากลาไปด้วยน้ำใจของกัลยาณมิตร)

วัตถุประสงค์

จัดตั้งหน่วยงานการกุศลขึ้นมาดูแลญาติและผู้ป่วยหลังเสียชีวิต เพื่อให้ญาติสามารถจัดการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่เสียชีวิตออกจากโรงพยาบาลและมีข้อมูลในการจัดการฌาปนกิจได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนและสะดวกรวดเร็ว

ในที่นี้หมายถึงทุกชนชาติ ทุกศาสนาที่จะได้รับบริการหน่วยอันนี้

เป้าหมาย : สามารถจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาได้สำเร็จ และสามารถดำเนินงานได้จริง

วิธีการดำเนินงาน

หน่วยงาน : หน่วยดูแลผู้ป่วยหลังวายชนม์

ลักษณะการดำเนินงาน : ช่วยเหลือโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย (รับบริจาคผ่านมูลนิธิ รพ.สงขลานครินทร์)

สำนักงาน : ห้องตรงข้ามห้องทำพิธีกทางศาสนาชั้น B

เจ้าหน้าที่ : ปริญญาตรี 1 คน และ ปวส./อนุปริญญา 1 คน

บทบาทหน้าที่

  • หาข้อมูลและรวบรวมความรู้เกี่ยวกับการจัดการร่างผู้เสียชีวิตที่ถูกต้องเหมาะสมกับหลักศาสนาต่างๆ
  • ดูแลและจัดเตรียมห้องประกอบพิธีทางศาสนาให้พร้อมสำหรับการทำพิธีเคลื่อนย้ายร่างผู้เสียชีวิตออกจากรพ.
  • ให้ความช่วยเหลือและให้ข้อมูล เกี่ยวกับขั้นตอนและ พิธีการในการเคลื่อนย้ายร่างผู้เสียชีวิตออกจากโรงพยาบาล และการฌาปนกิจ
  • จัดทำและดูแล website หรือ webpage ของหน่วยงาน DCU เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลและช่องทางการติดต่อกับสังคมภายนอก
  • จัดทำสื่อที่ให้ข้อมูลและสร้างช่องทางหรือโอกาสสำหรับการบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ผ่านทางมูลนิธิโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
  • สอบถามและสำรวจความคิดเห็นเพื่อหาความต้องการความช่วยเหลือในประเด็นที่เพิ่มเติ
  • สอบถามญาติผู้ป่วยและประเมินการให้บริการของร้านค้าหรือบุคคลที่ปรากฏอยู่ในหนังสือข้อมูลเพื่อนำไปปรับเปลี่ยนข้อมูลในหนังสือแนะนำญาติ

- ประสานงานแจ้งการเสียชีวิตกับทางราชการ

- ข้อมูลตัดสินใจ ฉีดฟอร์มาลิน(ฟรี) หรือบรรจุโลงเย็น

- การแต่งหน้าร่างผู้เสียชีวิต

- การทำพิธีเคลื่อนย้ายร่างออกจากโรงพยาบาล

- ข้อมูลรายชื่อ ราคา พร้อมเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ

ในรูปคู่มือและคำแนะนำ เช่น รถขนส่งศพไปยังวัด สุเหร่า หรือป่าช้า รายชื่อวัดในเขตสงขลาและในจังหวัดอื่นๆ ร้านจำหน่ายโลงศพ ร้านทำอาหารเลี้ยงในงาน ร้านจัดดอกไม้ และดอกไม้จันท์ แหล่งจำหน่ายดอกกัลป์พฤกษ์ รายชื่อช่างภาพที่รับถ่ายงานศพ แหล่งลอยอังคาร และเรือที่ให้บริการ

งบประมาณการดำเนินงาน

- งบปรับปรุงสถานที่และวัสดุครุภัณฑ์ของหน่วยงาน

- งบปรับปรุงห้องทำพิธีทางศาสนาและภูมิทัศน์โดยรอบ

- งบเงินเดือนเจ้าหน้าที่

- งบกิจกรรม (จากมูลนิธิโรงพยาบาลสงขลานครินทร์)

Value Added

- เป็นกิจกรรมของคณะแพทยศาสตร์ที่เป็นการช่วยเหลือสังคมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

- สามารถสร้างความประทับใจแก่ญาติในการดูแลรักษาและบริการจากทางโรงพยาบาล (เสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่โรงพยาบาลฯ)

Value Creation

- เป็นหน่วยงานที่ดูแลผู้เสียชีวิตและญาติอย่างครอบคลุมทุกขั้นตอน ที่เป็นทางการและเป็นแห่งแรกในประเทศไทย

Value Diversity

- เป็นประโยชน์และมีคุณค่าต่อคนทุกเชื้อชาติ ศาสนา และทุกเศรษฐฐานะ

- มีความหลากหลายในกระบวนการปฏิบัติ มีการสร้างเครือข่ายในการจัดการ และลักษณะงาน มีการติดต่อประสานงานกับหลาย ๆ หน่วยงาน ทั้งในโรงพยาบาลและนอกโรงพยาบาล ก่อให้เกิดงาน สร้างอาชีพและสร้างรายได้

“ขอให้ประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ... ประโยชน์เพื่อนมนุษยเป็นกิจทีหนึ่ง..”

ร่วมให้ข้อเสนอแนะและแสดงความคิดเห็น กลุ่ม 5

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอชื่นชมในวิธีการที่ Simple และสามารถนำมา Execution ด้วย สิ่งที่ต้องระมัดระวังคือ ถ้าตัดสินใจมีบุคลากรที่ทำเรื่องนี้ คือ เขาต้องบริหารงานเฉพาะหน้าแล้วเขาต้องไป Update

งานใน Website ด้วย ถ้าที่ประชุมเห็นว่าเป็นประโยชน์ก็น่าจะไป Implement

การไปดูถึงคนไม่มีความรู้มากนัก แต่ Diversity ถ้ามี DCU ไป Support จะช่วยผ่อนเบาความทุกข์ได้บ้าง

เป็น Simple Project ที่ไม่ Simple คือ Obvious และชัดมาก และไปจบที่ 3 V

ผศ.กิตติ ชยางคกุล

เคยมีการนำเสนอว่า โปรเจคนี้มี 2 อารมณ์นิดนึงคือเป็นโครงการที่กระทบกับความรู้สึกมาก ทำให้ไม่กล้าทำอะไรที่แปลกหรือแตกต่างให้มันชัด มีกรอบเดิมอยู่คือเป็นอยู่แล้ว ถ้าศูนย์นี้ตั้งขึ้นมา อาจ Create บางตัวที่เป็น Product ใหม่ ๆ มา Serve ได้ น่าจะมี Fact บางตัวที่น่าเสนอว่าปัญหาเรื่องญาติหรือผู้ป่วย ตัวองค์กรหรือโรงพยาบาลจะแก้อะไรที่เป็นรูปธรรมได้บ้าง เป็นลักษณะปัญหาทางการปฏิบัติจริง ๆ ว่าถ้ามีปัญหาจะมาแก้ปัญหาอะไรในการดำเนินการของคณะแพทยศาสตร์ได้ จะได้ไม่รู้สึกเป็นแบบ Emotional มาก

คณบดีสุธรรม ปิ่นเจริญ

ทางการแพทย์ได้ Manage Decease ได้ดี เข้าใจว่า ถ้าเสียชีวิตแล้วดีขึ้นจะเป็นคุณูปการที่ดี แต่ก่อนมีร่วมกตัญญูกับปอเต็กตึ้ง มีความมุ่งมั่นมากในการดูแลศพ ทางโรงพยาบาลทุกแห่งมีร้านขายโรงศพ มีการยิงกันในบางครั้ง ที่เล่าคือ Management ในตอนหลังเสียชีวิต เป็นเรื่องของการกุศล ดีงาม ธุรกิจสีขาว สีเทา สีดำ

การแยกแยะระหว่างการกุศล กับธุรกิจนำ มีระบบบริหารเงิน

มีพุทธศาสนาที่บริหารบุญ

โครงการนี้เริ่มต้นเป็นกิจกุศล เป็นความตั้งใจที่จะทำดีมาก ตรงกับวิสัยทัศน์ของ ม.อ.

การวิเคราะห์ มี 3 ส่วนคือ

  • Hardware สถานที่และระบบการเคลื่อนย้ายศพ
  • Humanware ไม่อยู่ที่จำนวน อยู่ที่วุฒิ แต่อยู่ที่ใจของเขา แต่อย่างไรเขาก็ต้องมีค่าใช้จ่าย ทำ Information ให้เปิดเผยและโปร่งใส
  • ศพต้องอยู่ 2 ชั่วโมงเพื่อป้องกันการตายแล้วฟื้น

อย่างไรก็ตาม การคิดโครงการต้องไม่เบ็ดเสร็จ ต้องไปต่อ เช่น รถโรงพยาบาลส่งต่อไป มีส่วนที่จะดำเนินธุรกิจต่อเนื่อง ให้ไปสู่ที่มีความสุข

สรุปคือ สนับสนุนให้ทำ เพราะคิดว่าเริ่มบ้างแล้ว มีการดูเรื่องออกแบบสถานที่ แต่ที่อยากฝากไว้คือเรื่องบุคลากร ถ้าเราไม่ใช้เองก็มีญาติพี่น้องมากใช้

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

เป็น Simple ที่เป็นเรื่องจริง และจริงใจ

บุคลากร ความก้าวหน้าต้องคุยกันตรง ๆ เพราะถ้าอยู่ตรงนี้ไม่สามารถทำอะไรได้ หรือถ้ามองให้เป็นแบบใหญ่เลยก็คือเป็น Step หนึ่งที่จะก้าวไปสู่ภาคใต้

ความท้าทายคือการเก็บข้อมูลจากความหลากหลาย ถ้าทำตรงนี้ก่อนจะเป็นข้อมูลให้กับญาติและผู้เสียชีวิต

ถ้าจะทำสามารถตั้งเป็นบริษัทลูกของคณะแพทยศาสตร์ได้ ไม่จำเป็นต้องรับของที่โรงพยาบาลเท่านั้น อาจตั้งเป็น Business Unit ได้เลย อาจมีการรับอาสาสมัคร

ด้วยพื้นฐานที่ไม่คิดค่าตอบแทนแต่การมีบุคลากรมีค่าใช้จ่าย เพียงแค่ทุนที่หามา Cover หรือไม่

โครงการนี้ได้ใจ และรู้สึกเป็นที่พึ่ง เป็นความคิดของการเริ่มต้นที่ดี

ตอบ ที่กำหนดเรื่องบุคลากรไว้อย่างนั้น เนื่องจาก ร.พ.สงขลานครินทร์ มีหน่วยงานที่ทำตรงนี้เยอะอยู่ ถ้ามีหน่วยงานนี้เกิดขึ้นจริงอาจเชิญคนทีทำหน่วยงานด้านนี้มาปฏิบัติงานได้ วัตถุประสงค์คือบุคลากรที่มีคืออยากให้มาดูแล Website

สิ่งที่จะทำเป็น Non Profit Organization และอยากให้ข้อมูลเป็นหลัก เรื่องรถขนส่ง การจัดอาหาร เพียงให้ข้อมูล Co-ordinate และกำกับเรื่องQuality

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

สิ่งที่เสนอมามีนวัตกรรมซ่อนอยู่ เช่นกระบวนการบริหารจัดการเครือข่าย เช่นใช้ไอที มีเวปไซด์ เวปเพจต่าง ๆ มีมุสลิม Partner Care Unit มีการเก็บข้อมูลในภาคใต้ ต่อยอดด้านภาษา เกิดเป็นนวัตกรรม

การเอาคนมาทำงานถ้าไม่มีคนเสียชีวิตคุ้มค่าหรือไม่ แต่ถ้าจ้างคนมาบริหารจัดการและเก็บข้อมูลด้วยน่าจะเป็นประโยชน์ การบริหารจัดการเครือข่าย ต้นแบบมุสลิม การศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรม

บุคลากรเกษียณอายุราชการ จะมาช่วยตอบโจทย์ได้อย่างไร เป็นการกระจายรายได้ทางเศรษฐกิจ เป็นการให้บริการที่ดี เอามาช่วยเหลือสังคม และผู้ยากไร้

นายแพทย์บุญประสิทธิ์ กฤตย์ประชา

1.Non Profit Organization สามารถทำธุรกิจแข่งกับเอกชนได้ จ้างคนที่ดีได้ กำไรที่เหลือก็มาช่วยองค์กรได้ด้วย

2. การจัดการห้องเก็บศพ ไม่ค่อยมีใครอยากทำ คนที่จัดการศพทีผ่านมาจะทำแบบหยาบ ๆ แต่ถ้าคนที่ทำจัดการศพด้วยความเคารพ เขาจะรู้สึกขอบคุณโรงพยาบาลมาก และอาจไม่โกรธที่โรงพยาบาลทำคนตาย ถ้าโรงพยาบาลทำให้อย่างดี เขาจะรู้สึกรักโรงพยาบาลมาก และสามารถเป็นที่เรียนของนักศึกษาที่เรียกว่า มรณานุสติ สามารถสร้างคุณค่าได้มหาศาล สามารถเก็บเงินได้และไปทำประโยชน์ต่อไป เอาเงินคนรวยมาช่วยคนไม่มีเงินได้

แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

โครงการนี้ตอบโจทย์ทุกอย่างคือการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในโรงพยาบาล แต่ขาดการต่อยอดอย่างชัดเจน เป็นโครงการที่สามารถทำได้หมด เราอย่าไปตั้งว่าบุคลากรมีปัญหา ที่สนับสนุนโครงการนี้เพราะโรงพยาบาลเกิดปัญหา โรงพยาบาลทำอยู่แล้ว ทำไมไม่ต่อยอดไปข้างหน้า ไม่ต้องกลัวว่าไม่มีรายได้เข้ามา เราไม่ต้องการได้รายได้เป็นกอบเป็นกำ แต่ทุกอย่างตอบโจทย์ที่ดีของโรงพยาบาล จะได้ไม่ต้องมีปัญหาคนไข้ Case Death แล้วหาคำตอบในการแก้ไขไม่ได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มองเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ใกล้แล้วและฝากคณบดีเรื่องนี้ด้วย

คณบดีสุธรรม ปิ่นเจริญ กล่าวว่าภารกิจที่สำเร็จต้องมี Process Ownership คือมีหน่วยงานใดที่ดูแลเรื่องนี้อยู่หรือไม่ หรือมีหน่วยใกล้เคียงขยายมาดูแล Ownership นี้ หรือขยาย Unit ต้องการแบบไหน

ตอบ เรื่องสังกัดของหน่วยงานจะสังกัดมูลนิธิ ร.พ.สงขลานครินทร์ หรือคณะแพทยศาสตร์สงขลานครินทร์ มีการ Form องค์กรนี้ขึ้นมา

คนที่เป็นกรรมการต้องมาจากหลายฝ่าย หน่วยนี้ต้องทำงานต่อเนื่องเกี่ยวพันกับเจ้าหน้าที่ห้องศพด้วย

อาจารย์ภรณี คิดว่ารูปแบบที่ชัดเจนคงไปคุยอีกที กรรมการบริหารน่าจะมาจากหลายหน่วยงาน อาจเป็นหน่วยงานหลัก 4 หน่วยงาน แล้วใครเป็นประธานอาจไปดูอีกที

กลุ่มที่ 1 โครงการ บัตรพีเอสยู แคร์ การ์ด (PSU Care Card)

หลักการและเหตุผล

โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ แพทยศาสตร์ มอ. เป็นโรงพยาบาลที่ :-

1. รองรับผู้ป่วยที่ภาวะซับซ้อน

2. รับ Referผู้ป่วยของภาคใต้

3. ขาดการเข้าถึงการบริการ

4. ระบบสิทธิการรักษายังไม่ครอบคลุ่ม

5. ผู้เข้ารับการรักษารับภาระค่าใช้จ่าย เพื่อบริหารจัดการตัวเอง

6. ปี 2559 จะมีการออกนอกระบบ

วัตถุประสงค์ / เป้าหมาย

1. เพื่อให้ผู้รับบริการโดยเน้นบุคลากรภายใน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สามารถเข้าถึงบริการของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์อย่างทั่วถึง

2. เพื่อให้ผู้รับบริการมีสิทธิ์การรักษาที่ครอบคลุมมากขึ้น

3. เพื่อเพิ่มรายได้ให้องค์กร สามารถชดเชยกับรายจ่ายที่สูญเสียไป

กรอบแนวคิดของโครงการและยุทธศาสตร์

  • การจัดสรรงบประมาณนโยบายสิทธิ 30 บาท ของกระทรวงสาธารณสุข มีการจัดสรรการรักษาพยาบาล โดยคิดต่อหัว วงเงินงบประมาณมีจำกัดและมีแนวโน้มลดลงทุกปี

จากการพยากรณ์ค่าใช้จ่ายต่อหัวด้วยการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นเช่นเดียวกัน พบว่าค่าใช้จ่ายต่อน่าจะถึงเกือบ 5,000 บาทต่อหัวภายในสิบปี

2. บุคลากร ญาติบุคลากร และบุคคลทั่วไป ต้องการการเข้าถึงการบริการโรงพยาบาล

3. ประชาชนหรือบุคลากร เริ่มได้รับผลกระทบจากสิทธิการรักษา ทำให้มีการหาช่องทางเพื่อรองรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

4. ภาระของส่วนเกินสิทธิค่ารักษา ที่ต้องจ่าย

5. บริษัทประกันชีวิตและประกันสุขภาพ มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น

วิธีการดำเนินงาน

  • ค้นหาข้อมูลความเป็นไปได้ของระบบประกันสุขภาพ บัตรสุขภาพจากบริษัทประกันต่างๆ และโรงพยาบาลเอกชน
  • สำรวจความต้องการของผู้รับบริการโดยเน้นกลุ่มบุคลากรนอกคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รวมถึงญาติสายตรงของบุคลากรนอกคณะแพทยศาสตร์
  • สัมภาษณ์ความเป็นไปได้จากผู้บริหารทั้งภายในและภายนอก
  • วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการและปรับปรุงโครงการตามคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ

การนำเสนอทางเลือก :-

- มอ.ประกันสุขภาพ

1. ก่อตั้งบริษัทและบริหารจัดการเอง

2. ร่วมกับบริษัทประกัน

- บัตรสุขภาพมอ. สามารถ บริหารจัดการเองโดย รพ.เอง

รูปแบบที่ 1 ก่อตั้งบริษัทและบริหารจัดการเอง

โดยทำตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การกำหนดเงื่อนไขการจัดตั้งบริษัท จำกัด หรือ บริษัทมหาชน จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจประกันชีวิต หรือ ธุรกิจประกันวินาศภัย สำหรับ ปี 2558

- ตั้งชื่อบริษัท และสถานที่ตั้ง ที่เป็นสัดส่วนของตัวเอง โดยเป็น

บริษัทจำกัด หรือ บริษัทมหาชนจำกัด

- มีทุนจดทะเบียน กรณีธุรกิจประกันชีวิต จะไม่ต่ำกว่า 500 ล้าน

กำหนดจำนวนหุ้นและมูลค่าหุ้นไม่ต่ำกว่า 100 บาท

- ผู้ถือหุ้นต้องมีสัญชาติไทย ไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนหุ้น

- คณะกรรมการต้องมีไม่น้อยกว่า 7 คน

รูปแบบที่ 2 ร่วมกับบริษัทประกัน

ประสานงานกับบริษัทประกันต่างๆ ที่จะยอมรับข้อเสนอแนะโครงการประกันสุขภาพ

ข้อดี

- ลดความเสี่ยงในการรับผิดชอบค่าใช้จ่าย

- ไม่มีทุนในการก่อตั้ง

ข้อเสีย

- ข้อเสนอที่ รพ.เสนอกับบริษัท อาจไม่เป็นไปในแนวทางข้อตกลงเดียวกัน (ระหว่างเรื่องธุรกิจ กับ จรรยาบรรณของโรงพยาบาล)

ตัวอย่างรูปแบบประกันสุขภาพ

  • โรงพยาบาลจะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามวงเกินสิทธิของผู้ป่วย
  • โรงพยาบาลจะได้รับรายได้ กรณีเป็นผู้ขายประกันประมาณ 40 % ของวงเงินประกันปีแรก และลดลงในปีที่ 2 อีกทั้งยังต้องแบ่งสัดส่วนให้กับบุคลากรที่เป็นผู้ขาย อีก 10-15 %

การรองรับการตรวจผู้ป่วย มอ.ประกัน/บัตรสุขภาพ

  • จุดให้บริการ ได้แก่ อาคารรัตนชีวรักษ์ อาคารบริการวิชาการ อาคารเฉลิมพระบารมีชั้น 1 เครือข่ายคลินิกโรงพยาบาล ม.อ.
  • Admit ได้แก่ อาคารเฉลิมพระบารมี 11 และ 12 อาคารรัตนชีวรักษ์
  • บุคลากรรองรับประจำคลินิก (หมุนเวียนจากการทำงานประจำ) ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สนับสนุน
  • อัตราค่าตอบแทน ได้แก่ OT เทียบเท่า รพ.เอกชนของพยาบาล และเจ้าหน้าที่สนับสนุน ค่า DF (Doctor Free) ของแพทย์

การบริหารเงินที่ได้จากโครงการ

  • ต่อยอดโครงการพิเศษ เช่น ศรีตรังคอมเพล็กซ์ สาขา ย่อยโรงพยาบาลมอ.
  • คืนสู่สังคม ในรูปแบบของการสร้างงานพัฒนาชุมชน
  • พัฒนาด้านการวิจัยการเรียนการสอนของคณะแพทยศาสตร์

วิธีการดำเนินงาน

ท่านคณบดี คณะแพทยศาสตร์ ¤ ข้อเสนอแนะและแนวทางการจัดทำ

1. กำหนดกลุ่มเป้าหมายของลูกค้าประกัน

1.1 ข้าราชการ ทุกคณะ ยกเว้นคณะแพทยศาสตร์ (เพราะอยากเข้าถึง มอ.)

1.2 พนักงานมหาวิทยาลัยทุกคณะ ยกเว้นคณะแพทยศาสตร์ (ควรคิดแบบยกเข่งเหมารวมทั้งหมด)

1.3 ครอบครัวของบุคคลคณะแพทยศาสตร์ (ไม่รวมพนักงานในคณะแพทยศาสตร์)

2. การคิดกำไรขาดทุน / คุ้มค่าหรือไม่

2.1 คิดรายได้ – รายจ่าย = กำไร

รายได้ = จำนวนคนเข้าร่วมโครงการ * เงินประกัน เช่น 1,000 คน * 2,000 บาท = 2,000,000 บาท

รายจ่าย = รายจ่ายที่เกิดขึ้น / ค่ายาที่เกินสิทธิ์

2.2 ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เช่น สิทธิที่เป็นส่วนเกินสิทธิข้าราชการ ประกันสังคม ยานอกบัญชีที่แพงมาก % การใช้ยานอกบัญชีหลัก

3. จุดอ่อน

3.1 ต้องสร้างกลไกที่ดี เพื่อรองรับในทุกๆ ด้าน (ขาดทุน – กำไร)

3.2 จะเป็นประกันแบบไหน

3.2.1 ตรวจสุขภาพ

3.2.2 แบบไม่ต้องมีตรวจสุขภาพ

3.3 ศึกษาข้อมูล / เพิ่มเติมให้มาก เช่น สิทธิต่างๆ (ค่าห้องตรวจพิเศษ)

3.4 คนที่จะซื้อบริการจะเป็นผู้ป่วยที่อยากใช้สิทธิ จะทำให้ระบบขาดทุนหรือไม่

4. การบริการจัดการ

ศ.คลินิกเกียรติคุณ ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

¤ ข้อเสนอแนะและแนวทางการจัดทำ

1. ต้องมีเงินสำรอง (เงินจากมูลนิธิ)

2. แยกสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมสิทธิที่ได้รับ

3. แจ้งสิทธิประโยชน์ที่ผู้รับประกันจะได้รับอย่างตรงไปตรงมา

4. รูปแบบการดำเนินการ ควรจะเป็นกองทุน / มูลนิธิ

5. กำไรจากการดำเนินการ จะนำมาใช้ประโยชน์ในด้านในบ้าง

6. ควรทำควบคู่กับระบบ fast track เพื่อรองรับผู้ป่วยกลุ่มนี้

7. ทำเป็น step เริ่มจากจุดเล็กๆ เช่น ครอบครัวของบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ และ บุคลากรนอกคณะ

8. ควรปรับตามนโยบายสาธารณสุข แต่ละยุค

9. คืนเงินบางส่วน ให้กับผู้ที่ไม่ได้ใช้บริการ เพื่อดึงดูดความสนใจให้มาใช้บริการมากขึ้น

10. คณะผู้บริหารควรให้การสนับสนุน โครงการ

พญ. กันยิกา ชำนิประศาสน์ รองคณบดีฝ่ายการคลังและบริหาร

  • ข้อเสนอแนะและแนวทางการจัดทำวัตถุประสงค์

1. เพื่ออะไร เช่น เพื่อหารายได้เข้าคณะ ส่งเสริมให้เข้าถึงการบริการ เพื่อส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดี

2. การจัดสรรเงินที่ได้มาทำอะไรบ้าง เช่น การลงทุนเพื่อต่อยอดให้มีเงินเพิ่มเติม

3. สิทธิที่ได้รับเพิ่มจากสิทธิ์ปัจจุบันที่ใช้อยู่ เช่น ตรวจสุขภาพประจำปี/สิทธิ์ตรวจกับแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง/ เปิดเป็น Private section เพื่อสามารถเข้าถึงบริการได้เร็ว

4. ทำระบบ fast track เฉพาะโรค เช่น โรคหัวใจ มะเร็งสำไส้ มะเร็งเต้านม

5. เพิ่มช่องทางการเข้าถึงบริการ เช่น คลินิก หรือ โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ

6. จะทำอย่างไรให้ผู้บริหารเห็นความสำคัญของโครงการนี้ และให้การสนับสนุนโครงการ

วิธีการดำเนินงาน

การนำเสนอทางเลือก PSU Care Card

จากการวิเคราะห์จำนวนบุคลากรนอกคณะแพทยศาสตร์ รวมทั้งสิ้น 8,594 คน

จากผลสำรวจบุคลากร 140 คน มีความสนใจเข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 80% คิดเป็น

จำนวน 6,875 คน

ในจำนวนนี้ใช้บัตร PSU Care Card ที่ขั้นต่ำต้องจ่าย = 750 บาท/เดือน

จะมีรายรับเป็น 6,875 คน x 750 บาท = 5,156,250 บาท/เดือน

คิดเป็นรายรับ = 61,875,000 บาท/ปี

รายจ่าย (จากข้อ 4.1)6,875 คน x5,000 = 34,375,000 บาท/ปี

คำนวณ รายรับ – รายจ่าย = กำไร

61,875,000-34,375,000 = 27,500,000 บาท/ปี

คิดเป็นกำไร = 44%

5. สรุปแผนการดำเนินงานเบื้องต้น

แหล่งเงินทุนและงบประมาณ

1.มูลนิธิโรงพยาบาลสงขลานครินทร์

2. สหกรณ์ออมทรัพย์

วิธีการประเมินผล

  • การเติบโตของจำนวนผู้รับบริการที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปี
  • กำไรที่ได้รับเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี

ผลที่คาดว่าจะได้รับ และค่าแบบ 3 V

1. เพิ่มรายได้ให้องค์กรนำไปชดเชยรายจ่ายของโรงพยาบาล (Value added)

2. เป็นระบบใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครดำเนินการมาก่อน (Value creation)

3. เป็นการผสมผสานความร่วมมือด้านการบริหารจัดการร่วมกันระหว่างบุคลากรจากทุกหน่วยงานในองค์กร และนำรายได้ไปสนับสนุนและพัฒนางานด้านอื่นๆ (Value diversity)

ปัจจัยความสำเร็จของโครงการ

1 คณะและมหาวิทยาลัยให้ความร่วมมือและสนับสนุนโครงการนี้

2. บุคลากรมีสุขภาพดี

3. บุคคลภายนอกให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการ

4. แยกสถานที่เพื่อรองรับการบริการผู้ป่วยกลุ่มบัตรพีเอสยู แคร์ การ์ด

5. การปรับระบบการบริการให้เทียบเท่าเอกชน

แนวคิดการริเริ่มโครงการ

เริ่มต้นจากการคิดโครงการคือหารายได้เข้าสู่คณะแพทยศาสตร์ และการดูแลบุคลากรและครอบครัวในมหาวิทยาลัย การดูแลไปหาหมอ เป็นค่าใช้จ่ายส่วนนึง และทราบว่าเราต้องป็นคนจ่ายค่าประกันสังคมเอง

ค่าใช้จ่ายที่คิดเป็นอัตราเดียวกับประกันสังคม

จึงคิดในลักษณะที่เป็นสวัสดิการ การเก็บเงินประกันสังคมเป็นกำไรสูงสุด ณ ตรงนี้จึงพยายามดึงไปให้คนไข้ 30 บาท ถ้าทำได้ดีและเห็นประโยชน์ตรงนี้จริงจะไม่แตะกลุ่ม30บาท

จะดึงเงินกลุ่มพอมีรายได้มาช่วยคนไม่มีรายได้จะทำอย่างไร

สิ่งที่จะทำคือต่อยอดทางการศึกษา เศรษฐศาสตร์ และ Marketing

ร่วมให้ข้อเสนอแนะและแสดงความคิดเห็น กลุ่ม 1

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เน้นเหมือนกับการทำของกลุ่มประเทศที่เจริญแล้วที่มุ่งไปที่ประกันสุขภาพ ถ้าเราไม่มีระบบทดแทน Morale จะลดลงอย่างมาก เมื่อทุกคนมีสิทธิจะขาดคุณภาพ แต่ถ้าต้องการมีคุณภาพต้อง Pay for it

เรื่องต้นทุนค่าใช้จ่ายไปเอามาจากข้าราชการไม่ถูกต้อง เราต้องได้การรักษาพยาบาลที่มีมาตรฐาน

สวัสดิการคือ มีความรู้สึกอบอุ่น เป็นความมั่นคงทางจิตใจ ซึ่งถ้าเราไม่รีบทำและมอบให้ตลาด จะทำให้ความจงรักภักดี หรือ Performance ลดลง อยากให้ชนะเล็ก ๆ ก่อน แต่บัตรนี้ต้องบัตรที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในกลุ่มราชการ ถ้าซื้อมาแล้ว Quality Service น่าจะสูงขึ้น อย่างไรก็ตามต้องไปปรับค่าใช้จ่าย เพราะ 30 บาท เป็นค่าใช้จ่ายเฉลี่ย

Trend ของประกันสุขภาพต้องมา ถ้าเป็นประกันสังคมต้องอยู่ในระบบคือเป็นนายจ้าง ลูกจ้าง แต่ 30 บาท คุณภาพของ Health Care ไม่ดี

คิดว่าแนวทางตรงนี้น่าจะถูกเพียงแต่เราจะไปปรับตัวเลขเป็นเท่าไหร่ ต้องหาลูกค้าข้างนอกขึ้นมาด้วย

ขอชื่นชมและเป็นการเอา Finance การตลาดมาใช้ในระบบ Health Care

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

มีการใช้ค่าหัวของรัฐในการดู

คณบดีสุธรรม ปิ่นเจริญ

เรื่องนี้มี Fact มีหลักคิด มีการเชื่อมโยงกับภายนอก อยากถามว่าขณะนี้เรามีบัตรประกันหรือสมาชิก ในมุมมองของลูกค้าคล้ายกันคือจ่ายเงินล่วงหน้า

ประเด็นคือได้สิทธิอะไร

  • Hotel Service คือสิ่งแวดล้อมสวย บรรยากาศดี ห้องพิเศษ
  • Medical Care คือ มีมาตรฐานการบริการ ที่เห็นคือขายการเข้าถึง ม.อ. เพราะเมื่อไหร่ที่เข้าถึงพิเศษอาจยาก แต่สามารถทำได้ โจทย์คือทำอย่างไรให้ Public ไม่เสียการเข้าถึง
  • หลักการประกันคือกระจายความเสี่ยง จ่ายเงินล่วงหน้า มี 2 ช่องให้เลือกคือ ภาคบังคับ และสมัครใจ

หลักการคือ

  • เรา Manage mandatory หรือไม่ เราต้องเช็คก่อน
  • สวัสดิการมีบัตร 30 บาท บัตรราชการ พนักงานมหาวิทยาลัยมีสิทธิไม่เท่ากัน
  • เราต้องมีการคำนวณส่วนต่างที่ได้คืนคือเท่าไหร่
  • สิทธิ์คือจะสวัสดิการเอง หรือประกันสังคม แล้ว On Top ประกันสังคม
  • กรณีขายการเข้าถึงต้องระมัดระวังอย่างมาก
  • มาตรฐานแต่ถ้าต้องการ On Top จะเป็นการซื้อประกันในลักษณะ Premium เป็นการซื้อล่วงหน้า เริ่มต้นเมื่อการประกาศว่า Basic Standard ประเทศไทยเป็นอย่างไร มีหลายหน่วยงานในการช่วยกันคิดมาก

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

โครงการนี้มีวิธีการคิดที่ดีและ Methodology ครบ แต่ไม่ใช่เรื่องยากที่จะเสร็จภายในวันเดียว มีการปรับตาม Comment แต่จุดอ่อนก็มีคือ ไม่ได้ใส่ Premium หรือ Excellence Center เข้าไป

มีการคิดถึงช่องทางคณะแพทยศาสตร์

เป็นแนวคิดตอบโจทย์สังคม เพราะคำนึงถึงคนอื่นในมหาวิทยาลัย และช่วยหารายได้ทางเศรษฐกิจ มีการคิดร่วมกัน ช่วยแก้ปัญหาของมหาวิทยาลัย มีความมานะพยายาม

ในส่วนตัวยังชื่นชม จุดอ่อนก็มี แต่ต้องนำไปปรับ

นายแพทย์บุญประสิทธิ์ กฤตย์ประชา

ในส่วนที่มหาวิทยาลัยจัดอยู่แล้วคือ มีกองทุนพัฒนามหาวิทยาลัย สามารถไปที่ไหนก็ได้ไม่เกิน 20 ครั้ง ครั้งละ 800 บาท สามารถจ่ายส่วนเกินได้ แต่สามารถทำให้ดีกว่านี้ได้หรือไม่ เช่นคนสุขภาพดีสามารถจ่ายเงินที่ลดลงเนื่องจากไม่ป่วยเหมือนทำประกัน

โครงการนี้อาจเกิดผิดที่ ผิดเวลา เพราะต้องมีระบบเอกชนรองรับ จะรับได้ทันทีเลย

โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ น่าจะทำอย่างนี้ อย่าปล่อยให้เอกชนทำอยู่ฝ่ายเดียว ทำไมไม่ทำเอง ดึงให้อาจารย์ไม่ต้องออกไปภาคเอกชน แล้วโครงการนี้จะสอดรับพอดี แต่ต้องมี Value Added มากกว่าสุขภาพ เช่นต้องมีโครงการป้องกันสุขภาพโรคหัวใจ หลอดเลือด ฯลฯ และมีคนไปสอนเขา สามารถจัดรถบริการไปรับได้เลย

เป็นโครงการที่ทำได้ยาก เพราะว่าเป็นลักษณะเทา ๆ แต่ที่คิดไว้คือดีมากกว่าเสีย แต่ต้องมีระบบเอกชนรองรับเพราะเตียงเต็ม และระบบตรวจพิเศษ ไม่มีหมอมาตรวจ เพราะคนเยอะมาก ถ้าไม่มีระบบต่างหากแยกออกมา วิธีคิดที่พูดออกมายากมาก แต่ถ้าไป Private Section สามารถไปได้ทันทีเลย

ทุกคนเริ่มเห็นลู่ทาง แต่ต้องออกแรงเยอะ คือเหนื่อย

ตอบ การมีพื้นที่รองรับ อาจลองใช้พื้นที่บางส่วน มีการแบ่งเวลาในการทำงานเป็น 20 % และมีคนที่พร้อมจะช่วยเยอะมาก มีทั้งส่วนที่ดีและไม่ดีแต่ต้องกล้าที่จะทำ กล้าที่จะคิด และกล้าที่จะเริ่มต้น

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ตั้งแต่รุ่น 1 – 3 ประเด็นเรื่อง Premium Service มีการซ้อนตลอดเวลา และเมื่อซื้อแล้วต้องคำนึงถึงบริการที่จะตามมาด้วย ถ้าบริการไม่ดีจะทำให้ขวัญและกำลังใจลดลงไป ก่อนออกนอกระบบมาที่นี่อยู่แล้ว แต่ถ้าออกนอกระบบไม่มี Priviledge อาจมีระบบเล็ก ๆ ทดแทน Facilitate ในระยะสั้น เห็นด้วยที่เชิญอดีตคณบดีศิริราชมาทุกครั้ง เพราะศิริราชเขาได้ก้าวไปแล้ว ถ้าจ่ายเพิ่มแล้วได้สิทธิเพิ่มก็ดีแต่ถ้าราชการไม่ได้สิ่งนี้อาจเกิดการ Upset

กลุ่มที่ 2 One Stop Service Check-up Center (OSSCC)

เป็นเรื่องที่ Back to basic คือการแพทย์เชิงป้องกันแทน ใจความสำคัญคือตรวจสุขภาพ ตรวจหาความเสี่ยงของคนที่ทำให้เกิดโรค ปัจจัยเสี่ยงทั้งหมด ก็คือเป็นโรคแล้ว มีความจำเป็นหรือไม่ที่ต้องตรวจสุขภาพ จำเป็นจะตรวจปีละ 1 ครั้ง

การตรวจสุขภาพที่ดี ที่มีประโยชน์ต้องคุ้มค่า มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันมากกว่ารักษา คือดูว่าจะเป็นโรคอะไร ไม่ใช่ดูปัจจัยเสี่ยงที่จะเป็นโรค ทำให้การตรวจในปัจจุบันก้าวไปผิดคือหาโรคไม่ใช่ปัจจัยเสี่ยง

การตรวจสุขภาพที่ดีต้อง

  • ซักประวัติประเมินหาปัจจัยเสี่ยง
  • ตรวจร่างกายทั่วไปละตรวจตามปัจจัยเสี่ยง
  • ตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยตรวจตามปัจจัยเสี่ยง
  • สรุปประเมินปัจจัยเสี่ยงแก้ไขโรคและให้คำแนะนำการปฏิบัติตัว

สถานการณ์ปัจจุบัน

มีผู้ใช้บริการ 2 กลุ่มคือ กลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มผู้ไม่ป่วยแต่ต้องการตรวจสุขภาพประจำปีเป็น Package ปัญหาคือการเป็นสถานที่เดียวกัน ทำให้เกิดความอึดอัด รอนานขึ้น มีปัญหาเรื่องการเข้าถึงยาก

ปัญหาการใช้บริการ

  • Service mind เป็นจุดอ่อน ผู้บริหารเห็นปัญหา พยายามจัดระบบการตรวจ และนอกเวลา
  • มีทุกอย่างแต่ระบบการบริหารจัดการที่ดีไม่เพียงพอ
  • ขาดความร่วมมือและเชื่อมโยงกับท้องถิ่น

ถ้ามีศูนย์นี้จะเพิ่มช่องทางการรับบริการให้เข้าถึงการบริการได้ง่ายขึ้น แต่รายได้ไม่ได้เน้น เป็นเพียงผลพลอยได้ คิดว่าถ้าเราให้ก่อน สิ่งทีได้กลับมาต้องมากแน่นอน

สิ่งที่ขาดคือการทำงานร่วมกับชุมชน จึงควรมีการเสริมความสัมพันธ์กับชุมชน มียุทธศาสตร์ที่เน้นการสร้างความร่วมมือ

ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน ยังทำงานร่วมกับชุมชนอยู่ จัดบริการเพื่อให้ส่งเสริมการเข้าถึงบริการ จัดสรรพื้นที่บริการ แยกระหว่างผู้ตรวจกับผู้ป่วย

การรวบรวมข้อมูล

มีคนรอตรวจ 1,760 ราย

ย้อนไป 15-19 ปี มีคนมาตรวจเกือบ 10,000 คน

ความแตกต่าง

คือเน้นให้ชุมชนมีความตระหนัก ให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น เน้นจำกัดบริการ

รูปแบบพื้นที่ คิดว่าน่าจะเป็นศูนย์อุบัติเหตุครั้งที่ 2 เพราะคาดว่าจะมีการสร้างศูนย์เอกซเรย์เพิ่ม

ถ้า Deal กับการแพทย์ดี ๆ จะได้ไม่เสียการก่อสร้างห้อง

วัตถุประสงค์หลัก

1.จัดตั้ง One Stop service check-up center ที่มีการตรวจรักษาพยาบาลแบบ one stop service เพื่อส่งเสริมให้มีการเข้าถึงการบริการที่สะดวก รวดเร็ว

2. จัดสรรพื้นที่ให้บริการระหว่าง ผู้รับบริการที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา ผู้รับบริการกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องการตรวจสุขภาพ

3. สร้างเครือข่ายการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก ระหว่างชุมชนกับคณะแพทยศาสตร์

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้รับบริการที่ต้องการตรวจสุขภาพ

วิธีการดำเนินงาน

  • เน้นการบริการแบบ One Stop Service เน้นการทำงาน Part time อาจมีการจ้างแพทย์ และพนักงานช่วยการพยาบาล
  • ออกหน่วยส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก จัดอบรมให้ความรู้ต่อแกนนำสุขภาพในชุมชน เพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับคณะแพทยศาสตร์ ร่วมมือกับงานเวชศาสตร์ชุมชน โดมีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการตรวจสุขภาพเพื่อกำหนดพื้นที่และหัวข้อทางสุขภาพในการลงพื้นที่ชุมชน

บุคลากรประจำหน่วย

แพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ พยาบาล/ผู้ปฏิบัติงานพยาบาล นักรังสีเทคนิค การเงิน/ธุรกการ/การตลาด/พนักงานช่วยการพยาบาล

การประเมินผล

1.เกิด One stop service check-up center (OSSCC)

2. เกิดระบการให้บริการเชิงรุกและสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการสร้างเสริมสุขภาพแก่ชุมชน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

  • Chief executive Officer
  • คณะแพทย์เป็นโรงเรียนแพทย์แห่งแรกในภาคใต้ มีปรัชญาชี้นำและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน “ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง”
  • ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ข้าราชการและลูกจ้างบมีสิทธิ์ตรวจสุขภาพปีละ 1 ครั้ง
  • Team work

ผลผลิตของโครงการ (Output)

  • มี one stop service check-up center
  • เกิดจุดบริการใหม่ที่ให้บริการแยกจากผู้ป่วยทั่วไปเพิ่มความสะดวกในการเข้ารับบริการ ลดความแออัดของพื้น
  • เกิดเครือข่ายการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก ระหว่างชุมชนกับคณะแพทยศาสตร์

3V

Value Diversity คือมีความร่วมมือในองค์กรของเรา และชุมชน ตัวบุคลากรมาจากหลายวิชาชีพ

Value Added คือการตรวจสุขภาพเดิมมีอยู่แล้ว แต่มีคุณค่ามากขึ้น

Value Creation คือไม่ได้เน้นที่ตรวจหาโรค แต่เป็นการตรวจเพื่อปัจจัยเสี่ยง

ร่วมให้ข้อเสนอแนะและแสดงความคิดเห็น กลุ่ม 2

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า

  • รุ่นนี้มีการ Check Case ของรุ่น 1และรุ่น 2
  • ชอบเพราะ OSSCC ไปหาชุมชน และชาวบ้าน ไม่ต้องมาแออัดที่โรงพยาบาล

ตัวอย่างแผนกีฬาชาติ เน้นเรื่องการออกกำลังกาย แต่การออกกำลังกายของคนไทยมีสักกี่เปอร์เซ็นต์ ไม่ได้เน้นตรวจสุขภาพอย่างเดียว แต่เน้นเรื่องการมี Healthy Life ด้วย ให้มีวินัยในการออกกำลังกาย

คณบดีสุธรรม ปิ่นเจริญ

ก่อนที่จะมาถึงโรงพยาบาล มันจะต้องผ่านจุดเริ่มเป็นก่อน ถ้าจัดการพฤติกรรมสุขภาพได้ โรงพยาบาลจะมีคนไข้น้อยลง

การตรวจสุขภาพในปัจจุบันเป็นช่องทางหาเงินของโรงพยาบาลเอกชน แต่บางทีอาจไม่เป็นอะไรเลย มาที่ ม.อ. จะเน้นเรื่องออกกำลังกาย

การช่วยประเทศรอดคือ การตรวจสุขภาพช่วยให้คนมาคุยกับเรา และเป็นการปิดกั้นไม่ให้เกิดโรคในภายหลัง การแพทย์ในอนาคตจะเป็น Prediction และให้มีการตัดตอนไม่ให้เป็นโรคนั้น เป็นการใช้พฤติกรรมง่าย ๆ และต้นทุนถูกกว่า

มียุทธศาสตร์คณะแพทยศาสตร์อยู่แล้ว แต่อ้างอิงไม่ถูก

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

การนำเสนอครั้งแรกไม่ดีเลยเพราะมองว่าใคร ๆ ก็ทำกัน ได้มีการพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ จากแต่ละ Comment จนพัฒนาเป็นการนำเสนอในครั้งนี้

การสร้างมิติใหม่ของวงการสุขภาพเน้นการป้องกันแต่ที่อื่นเป็นการค้นหาโรค

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เสนอว่าน่าจะมี Tele Medicine อยากให้รุ่น 3 ไปคิด ที่นี่เป็นตัวอย่างที่ดีมากทำให้งานชัดเจน

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

เห็นด้วยและคิดว่าทำได้เลย

นายแพทย์บุญประสิทธิ์ กฤตย์ประชา

การตรวจสุขภาพ บางครั้งตรวจเสร็จแล้วก็ยังทำตัวเหมือนเดิม ประเด็นเรื่องการตรวจสุขภาพ ระบบราชการไม่ Work เพราะไม่สามารถบังคับแพทย์ไปตรวจไม่ได้ เพราะแพทย์จะบอกว่าไม่มีหน้าที่สอง บางครั้งอยากให้เอา Private Sector ไปจับ ทำเป็น่ลักษณะการป้องกันโรค แล้วให้คำแนะนำตามช่วงอายุว่าควรทำอะไร แต่จริง ๆ เป็นเรื่องที่บุคลากรทางการแพทย์สนใจมาก

ขณะนี้กำลังทำเรื่อง Happy workplace ร่วมกับ สสส. อาจเอาโครงการนี้มาสอดคล้องว่าจะทำอย่างไร ให้เป็นเรื่องเดียวกันคือ การดูแลสุขภาพคน คือเน้นเรื่องป้องกันโรค

โรคคนไทย คนมีอายุจะมีโรคหลอดเลือดหัวใจ ความดันสูง เบาหวาน มะเร็งฯลฯ คนวัยหนุ่มสาวจะเป็นเรื่องอุบัติเหตุ คน ม.อ. ต้องทำตัวเป็นตัวอย่างของสังคม สร้างเป็นวัฒนธรรมให้เกิดขึ้น และถ้ามี Center แบบนี้จะช่วยในการ Recommendation ของโรค

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

พูดถึงทั้ง 15 โครงการเพื่อนำสู่การเตรียมออกนอกระบบ เน้นการแก้ปัญหาตามหลักศาสนาพุทธ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค และเกิด แก่ เจ็บ ตาย

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

สนับสนุนวัฒนธรรมการสร้างความปลอดภัยให้เกิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อสร้างเป็นนวัตกรรมจริง ๆ ทั้ง 5 กลุ่ม

  • กลุ่มนวัตกรรมทางจิตวิญญาณ
  • กลุ่มนวัตกรรมด้านบริการ
  • กลุ่มนวัตกรรมด้านการเงิน
  • กลุ่มนวัตกรรมทางสังคม

อะไรที่เกิดขึ้นใหม่เป็นนวัตกรรม

อาจารย์ ภรณี

สิ่งที่นำเสนอเป็น Detail อาจนำเสนอ Hi-light ไม่หมด ยังไม่เห็น Methodology เชิงรุก ยังไม่เห็นวิธีการดำเนินการเชื่อมโยงชุมชนชัดเจน แต่ที่นำเสนอเป็นแนวคิดที่ดีและอยากให้เกิด

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อดูข่าวโครงการ

https://www.youtube.com/watch?v=O108zJoJphA

ที่มา: รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ “ดร.จีระ”

ตอน : กรณีศึกษาการพัฒนา “ทุนมนุษย์” เพื่อความยั่งยืน

ออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม 2558

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่านข่าวโครงการต่อเนื่อง

http://www.gotoknow.org/posts/598553

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์ ประจำวันที่ 17-31 ธันวาคม 2558

Please click this link to read the news of the follow-up project.

http://www.gotoknow.org/posts/598554

Source: FIHRD-Chira Academy Newsletter Fortnightly on December 17-31, 2015 (English Version)

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อฟังข่าวโครงการต่อเนื่อง

http://mcot-web.mcot.net/fm965/site/streaming/id/5...

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk ตอน โครงการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ออกอากาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม 2558 ทาง FM 96.5 MHz.

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อดูข่าวโครงการต่อเนื่อง

https://www.youtube.com/watch?v=xlhiNC4Dw8M

ที่มา:รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ “ดร.จีระ” ตอน Networking กับการผนึกกำลังสร้างกระบวนการเพื่อเรียนร­ู้สู่สังคม
ออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม 2558 ทางสถานีโทรทัศน์ TGN

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อฟังข่าวโครงการต่อเนื่อง

http://mcot-web.mcot.net/fm965/site/streaming/id/567f8625938163070e8b4689#.VoCsALaLSt8

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk ออกอากาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม 2558 ทาง FM 96.5 MHz

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่านข่าวโครงการต่อเนื่อง

http://www.gotoknow.org/posts/599203

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์ ประจำวันที่ 6-20 มกราคม 2559

หมายเลขบันทึก: 595466เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2015 10:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มกราคม 2016 14:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)

ถ้าหากคุณเป็นนายกรัฐมนตรีกับการรวมกลุ่มในกลุ่มประเทศอาเซียน

การรวมกลุ่มทางด้านการเกษตร (ข้าว)

เหตุผล : สถานการณ์ความเพียงพอของผลผลิตทางด้านการเกษตรที่มีต่อความต้องการของประชากรในภูมิภาคอาเซียน จากเดิมประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกข้าวผลิตผลทางด้านการเกษตรรายใหญ่ในภูมิภาค แต่ปัจจุบันการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของการบริโภคทำให้มีการนำเข้าจากประเทศในกลุ่มอาเซียนและประเทศจีน อำนาจในการต่อรองเรื่องราคาค่อนข้างน้อย

(ถ้าหากเราต้องบริโภคผลิตผลทางด้านการเกษตรที่มีราคาแพง นั่นหมายถึง ค่าครองชีพของเราจะสูงขึ้นตามไปด้วย)

จุดแข็งของประเทศไทย :

  • ประเทศไทยเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ
  • ภูมิประเทศเหมาะสำหรับทำการเกษตร
  • แรงงานราคาถูก และมีการเคลื่อนย้ายแรงงาน (แรงงานราคาถูกและการเคลื่อนย้ายแรงงานสะดวก ได้แก่ ลาว พม่า กัมพูชา)
  • เป็นศูนย์กลางคมนาคม (ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ)
  • สถาบันการศึกษาด้านการเกษตร (มีอยู่ในหลายมหาวิทยาลัย)

เป้าหมาย : เพื่ออำนาจในการต่อรองด้านการเกษตรกับประเทศคู่ค้า เปลี่ยนจากคู่ค่ามาเป็นพันธมิตร และการพัฒนาภูมิภาคอาเซียนให้มีความยั่งยืนด้านอาหาร มุ่งสู่การเป็นครัวโลก

กลุ่มประเทศอาเซียน ประกอบด้วย ไทย ลาว พม่า กัมพูชา เวียตนาม มาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

กลุ่มประเทศผู้ผลิตข้าว ประกอบด้วย ไทย ลาว พม่า กัมพูชา เวียตนาม

(อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน)

เลือกประเทศลาวมาร่วมมือกัน : ความมีเสถียรภาพทางด้านการเมืองของลาว และประเทศลาวส่งนักศึกษามาเรียนในประเทศไทย (ส่งเสริมการศึกษาด้านการเกษตร)

พืชผลทางการเกษตรที่เด่นในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง พืชผัก ผลไม้ อ้อย ยางพารา เป็นต้น

แนวทาง : การส่งเสริมด้านการเกษตร โดยการประกันราคาผลิตผลด้านการเกษตรและสร้างมาตรฐานในการผลิตสินค้าด้านเกษตรกรรมป้อนสู่ตลาด (ทั้งตลาดภายในและภายนอกกลุ่ม) อันนำไปสู่อำนาจการต่อรองในเรื่องของราคากับประเทศคู่ค้า

การลดต้นทุนการผลิตด้านการเกษตร เช่น การควบคุมค่าขนส่ง (ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตในทุกด้าน เช่น ปุ๋ย แรงงาน การขนส่ง)

การวางแผนบริหารจัดการพื้นที่ด้านการเกษตร (ไม่ปล่อยให้เป็นเขตอุตสาหกรรมจนหมด)

บริมาส ศักดิ์จิรพาพงษ์

30 กย.58 “จากแนวคิดการตลาดสู่การปรับใช้ของคณะแพทยศาสตร์ มอ. / เทคนิคการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ผู้นำองค์การที่ lonely ควรมีคุณสมบัติ 5 ข้อ

  1. จัดการเวลาเก่ง
  2. Priority การให้ความสำคัญก่อนหลังกับงาน เป็นการให้ลำดับงาน การทำงานหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน ทำให้มั่วและขาดประสิทธิภาพ คนเก่งล้มเหลวเพราะจับงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน
  3. Contribution ลองคิดดู เขาจ้างเรามาทำอะไร เขียนให้ชัด
  4. Strength จุดแข็ง ค้นหาให้ได้ ซึ่งจะสามารถนำมีที่ธรรมดาให้ดีที่สุดได้ เราจำจุดแข็งของลูกน้องแต่ละคนให้ได้
  5. ปัญหาในงาน และการตัดสินใจ
  • Unexpected ภายใต้สถานการณ์ ไม่คาดคิด
  • Cause unknownไม่รู้สาเหตุของปัญหาว่าอะไรกันแน่ ไม่แน่ใจ
  • Big concern ความน่าเป็นหว่ง มองปัญหาให้ออกว่าเป็นปัญาใหญ่หรือเล็ก

Crucial Conversations โดย อจ. จีระ หงส์ลดารมภ์ การสนทนา ซึ่งการสนทนาจะทำให้ปัญหาความไม่เข้าใจ และความขัดแย้งลดลงได้ กรณีการสื่อสารบางครั้งการสื่อสารอาจจะไม่ต้องพูด เพียงแต่สังเกต ท่าที สีหน้า การพูด การฟัง ก็จะรับรู้ได้ การควบคุมอารมณ์เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสาร หลายครั้งที่เราสื่อสารโดยขาดการควบคุมอารมณ์ ทำให้ความขัดแย้งบานปลาย ได้ ควร มีเวลาสำหรับการสนทนาที่เหมาะสม

วินีกาญจน์ คงสุวรรณ

วิชาที่ 34 หัวข้อ เทคนิคการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

การตัดสินใจ “The rationale manager” นักเขียนที่มีชื่อเสียงที่ได้เขียนหนังสือเรื่องนี้ และอาจารย์ได้แนะนำนักเขียน Charler kepner, Benjamin Tregor, Peter Drucker สมรรถภาพ (Process) (Cost/Feeling) (Peter Demming) (Malcolm Balridge) (ISO) (Multiple right answers) (Dilemma: คุณสมบัติที่ควรมีคือ Problem solving and Decision making ทำให้คนธรรมดากลายเป็นคนที่มีคุณภาพสูง) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ 1) คนที่จัดการกับเวลาเก่ง อาจารย์พูดถึง Diary เล่มที่ 1 เก็บไว้ที่โต๊ะทำงาน เล่มที่ 2 ทบทวนว่าตัวเองทำอะไรเก็บไว้ที่บ้าน และเล่มที่ 3 ให้คนช่วยบันทึก เป็น Wisdom จะเป็นคนเก่งมากๆที่เอาไว้ดูได้ทำให้ Diary ทั้ง 3 เล่มใกล้เคียงกัน 2) การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา (Priority) ความสำคัญก่อนหลัง, คิดถูกแต่ผิดจังหวะ... การคำนึงถึง Deviation คือความแปรปรวน จุดละเลย ...พายุในถ้วยชา

Problem ในการบริหาร 1) Unexpected (no body managed) / Risk Management (การ Audit Future ต้องมีการคาดการณ์ล่วงหน้าได้จะ Audit ได้ดี และควร Audit the plan) / Compliance Auditing /Walk your talk 2) Cause: Unknown (พยายาม Forecast) 3) Big Concern: น่าห่วง (Niche = Position) เป็นปัญหามดๆ หรือปัญหาใหญ่ You have all the problem, but you have some….

ผลสัมฤทธิ์ (Result)(KPI’s) ได้ฝึกการตัดสินใจจาก กรณีตัวอย่าง 5 นาทีก่อนเที่ยง ขณะที่ท่านเป็นเลขาฯ ทีมคน สำคัญ 1) ตอบแฟน (yes, no) 3) จอง Lunch (Best) 2) ตอบ e-mail (yes, no)

Why? ซุก...Multiple right answers (SUG) 2 - Seriousness = e-mail 3 - Urgent = จอง Lunch 1 - Growth = ตอบแฟน ปัญหาเรื่องคน เป็นปัญหาที่มีโอกาสปานปลายสูง เรื่องด่วนคือเรื่องไม่สำคัญที่คนรอบข้างลืม ต้องตระหนักว่า....ข้อใดสำคัญ.....? Management Thinking และอะไรคือ การเกื้อกูลให้ยั่งยืน....คือการพึ่งพากันแบบธรรมชาติ.....Sustainability & Symbiosis…

วินีกาญจน์ คงสุวรรณ

วิชาที่ 36 หัวข้อ Crucial Conversation

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ร่วมกับ อ.พิชญ์ภูรี จันทรกมล

Crucial conversation: การสนทนาที่สำคัญ

การพูดอย่างไร?....โดยไม่เกรงใจ...จะพูดเรื่องยากๆได้อย่างไร? แต่ยังคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกันอยู่ เพื่อความร่วมมือ และการเกิดการเปลี่ยนแปลง...ซึ่งผู้นำควรกระตุ้นให้ผู้ร่วมงานกล้าพูด....

การทูต.....การมีวุฒิภาวะทางปัญญา สำคัญกว่าคือการถาม และการท้าทายจากการสนทนา...

Crucial conversation under stress

1) Listen first, 2) Be brief & clear to others not YOU, 3) Make it Personal คือ care ตัวบุคคล และความรู้สึกของเขา, 4) ขอโทษ หรือแสดงความเสียใจ,5) Positive Approach คือ มองโลกในแง่บวกอย่าสร้างปัจจัยลบเพิ่มเติม อย่างให้ไฟลุกลาม

**การพูดอย่างไร ตรงไปตรงมาแต่ไม่ได้ทำให้เกิดปัญหา, การพูดตรงแต่ปราศจากอคติ Productivity & Quality & Safety & Effectiveness คือ Strategies

เมื่อรู้สึกปลอดภัย ก็จะกล้าพูด.....ต้องเริ่มจาก Overcome ชนะความกลัว

Empower Leader

......ไม่มีคนใดคนหนึ่งฉลาดกว่าเราทั้งหมดรวมกันทั้งหมด….

การทำงานร่วมกันมี 2 เรื่องสำคัญคือ เวลา และคุณภาพของงาน ปัญหาที่ตามมา คือความไว้วางใจ

Competency คือ Skill Knowledge and Attitude ทำให้คนฟัง Safe

....กล้าหาญไม่พอ...ให้ฉลาดในการพูดด้วย....

การเรียนรู้ร่วมกัน Learn Share Care….

บริมาส ศักดิ์จิรพาพงษ์

1/10/58 กิจกรรมรักษ์ใจ รักษ์กาย(2) จิตวิทยาการแก้ไขอาการวิตก กังวล กลัว ไม่เครียด ด้วยหัวเราะบำบัด เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยให้เราสามารถนำหลักการและวิธีการมาใช้ได้ปฏิบัติได้ในยามที่เราเจอะกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้เราอาจจะเกิดภาวะความเครียดได้โดยไม่รู้ตัว ซึ่งในยุคนี้สิ่งที่ทำให้คนยุคนี้เครียดที่สุดเพราะต้องดิ้นรนอย่างได้สิ่งเหล่านี้กันมาก ได้แก่ ความมั่งมี มีเงินทอง มีชื่อเสียง คนรู้จัก ได้เลื่อนยศ ตำแหน่งสูง อำนาจ มีอภิสิทธิ์ สวยหล่อ มีเสน่หาทางเพศ ซึ่งล้วนเป็นพ่อเกิดของความเครียดและเป็นทุกข์ทั้งสิ้น กุญแจสำคัญของการบริหารความเครียดคื่อการรู้จักปรับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมการกระทำของตนเองให้สมดุลกันรวมทั้งการสมดุลกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวและการใช้เสียงหัวเราะในแบบต่าง ๆ มาช่วยได้มาก


วินีกาญจน์ คงสุวรรณ

1 ตค 58 – วิชาที่ 37 กิจกรรมรักษ์ใจ – รักษ์กาย โดย ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม

เรียนรู้จิตวิทยาการแก้ไขอาการ วิตกกังวล กลัว,รักษ์ใจ...ไม่เครียดด้วยหัวเราะบำบัด, การบริหารสมอง กินอาหาร 7 สีเป็นประจำดี และการทำความเข้าใจพลังออร่า กับการเยียวยาตนเอง

การเปล่งเสียงเป็นภาษาพูด “What shall I do a today” เมื่อเซล์สมองตึงเครียด ใช้สมองไม่เต็ม หายใจไม่เต็มแน่นลึก ใบหน้าไร้อารมณ์ สมองส่วนสัญชาตจะคลายเซลล์ที่ยึดติดคลายพิษออกด้วยการ “หาว” ออกทันที Yawning การตั้งใจหาวแรงๆเสียงดังๆเพิ่มพลังสมอง The Energy Yawn…. การได้ฝึกทักษะบริหารสมอง, การหายใจเข้า 5 กลั้น 4 ออก 14 ทำให้เกิดพลังปราณ ให้หายใจเข้า กลั้น ออก, การหายใจเข้า แกว่งแขนไปข้างหลัง และหายใจออกแกว่งแขนมาข้างหน้า การหัวเราะบำบัด

Every Cell of your Body Believe Every Word You Think; You Say; You Feel, You Act….หัวเราะบำบัด....จนมาถึงความซาบซึ้งคือ เพลงสุดท้ายในชั้นเรียนที่สะท้อนความสุขในการอยู่ร่วมกัน ส่งพลังให้แก่กันด้วยความรัก...ให้รักแทนดวงตา...ฉันจะมาหาเธอที่..”หัวใจ”

ปทุมพร พิบูลย์ผล

ช่วงที่ 6

วันพุธ ที่ 30 กันยายน 2558

วิชาที่ 32

People Management and Engagement

การใช้ Coaching ในการบริหารจัดการและการช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการบริหาร

Coaching เป็นการชี้แนะแนวทางให้เกิดผลที่มุ่งหวังให้ประสบความสำเร็จในเป้าหมาย โดยการใช้กระบวนการถาม-ตอบ โดยให้ผู้ที่ถูก Coaching เป็นคนหาคำตอบเอง และผู้ทำ Coaching จะเป็นคนที่สรุปประเด็นที่ได้เก็บรายละเอียดมาตลอดการสนทนาให้ในท้ายที่สุด นั่นคือ การได้คำตอบในการที่จะให้ดำเนินต่อไป

วิชาที่ 33

จากประสบการณ์ของคุณเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข สู่การพัฒนาการทำงานของคณะแพทย์ ม.อ.

หลักการในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ คือ การให้ความจริงใจต่อกัน ดังนั้น ควรนำหลักการนี้ไปใช้กับการทำงานในคณะแพทย์ ม.อ.และนำมาซึ่งความสำเร็จในการบริหารจัดการ

ช่วงที่ 6

วันพุธ ที่ 30 กันยายน 2558

วิชาที่ 34

จากแนวคิดการตลาดสู่การปรับใช้ของคณะแพทย์ ม.อ.

การเรียนรู้หลักการตลาดผ่านกระบวนการวิเคราะห์ศักยภาพในตนเอง การรู้สมรรถภาพของตนเองอันนำไปสู่สัมฤทธิผล (Efficiency vs Effectively)

วิชาที่ 35

ในกระบวนการตัดสินใจเมื่อในสถานการณ์ที่ต้องเลือกที่จะปฏิบัติ สามารถใช้ SUG (S = Serious, U = Urgent, G = Growth) ประกอบการตัดสินใจเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

นอกจากนี้ การใช้คุณสมบัติที่โดดเด่นอันเป็นจุดแข็งก็ยังเป็นอีกส่วนที่ต้องคำนึงถึงในการตัดสินใจเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

วิชาที่ 36

Crucial Conversation

ปัญหาที่พบจากการสื่อสารที่มักจะพบเจอ ได้แก่ ปัญหาของการไม่พูดจากันภายในองค์กร แต่กลับพูดจากันเอง อันทำให้เกิดความขัดแย้งและเข้าใจผิด เกิดความไม่ไว้วางใจ ในบางคราวความกลัวก็เป็นอีกส่วนที่ทำให้ไม่กล้าพูดหรือแสดงความคิดเห็นเพราะเกรงกลัวต่อผลจากการพูด ทำให้ผู้บริหารอาจจะไม่รับทราบปัญหาที่เกิดและอาจจะนำมาสู่ความเสียหายได้

การพูดการสื่อสารควรใช้เหตุผลเป็นกระบวนการหลักในการตัดสินใจที่จะพูดหรือไม่พูดให้เหมาะสมกับสถานการณ์

ปทุมพร พิบูลย์ผล

วันพฤหัสบดี ที่ 1 ตุลาคม 2558

วิชาที่ 37

กิจกรรมรักษ์กาย-รักษ์ใจ

จิตวิทยาการแก้ไขอาการ วิตก กังวล กลัว

บ่อเกิดความเครียด คือ การที่ดิ้นรน อยากมี อยากได้

  • Wealthy มั่งมีเงินทอง
  • Famous มีชื่อเสียง
  • Prestige ตำแหน่ง
  • Power อำนาจ
  • Sexy สวย/หล่อ

วิธีการกำจัดความเครียด/การบริหารจัดการความเครียด มีกุญแจสำคัญ คือ การรู้จักปรับอารมณ์ ความรู้สึก ความนึกคิด และพฤติกรรม การกระทำของตนเองให้สมดุลกัน รวมทั้งต้องสมดุลกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว (The Key Word Is ..Balance)

รักษ์ใจ...ไม่เครียดด้วยหัวเราะบำบัด

การหัวเราะเป็นการปลดปล่อยความเครียดที่มีอยู่ในร่างกายของเรา เราจะต้องเรียนรู้การหายใจที่ถูกต้อง การหัวเราะที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดโปร่งและสร้างสมดุลให้กับร่างกาย นอกจากนี้ พฤติกรรมการกินก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเครียดอีกด้วย ฉะนั้น การกินอาหาร 7 สี จะช่วยบำรุงร่างกาย และส่งเสริมพลังออร่าในกายเราให้ส่องสว่างมากยิ่งขึ้น

สุนิสา ฉัตรมงคลชาติ กลุ่ม 2

ถึงแม้คอร์สจะจบไปแล้วแต่อยากบอกอาจารย์จิระและทีมงานทุกท่าน

ประโยชน์ที่ตนเองได้รับจากคอร์สพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะแพทยศาสตร์ มอ.มากที่สุด

คือทำให้เกิดการเติบโตของตนเองจากข้างในขึ้นมาก

ขอขอบคุณจอมยุทธทุกท่าน

และที่ประทับใจมากคือช่วงที่ได้มีโอกาสพบกับท่านชวน และคุณพจนารถ ซีบังเกิด

ขอขอบคุณจากใจ

เยาวรัตน์ ทวีวงศ์ กลุ่ม 4

ช่วงที่ 6 วันพุธ ที่ 30 กันยายน 2558

วิชาที 34 จากแนวคิดการตลาดสู่การปรับใช้ของคณะแพทย์ ม.อ. และวิชาที่ 35 หัวข้อ เทคนิคการแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

คุณสมบัติ 5 ข้อที่ทำให้คนธรรมดาเป็นคนเก่ง

1. Time = จัดการกับเวลาเก่ง โดยการทำสมุดบันทึก 3 เล่ม

2. Priority = ความสำคัญ ก่อน-หลัง

3. Contribution = ต้องตอบให้ได้ว่าเขาจ้างเรามาทำอะไร

4. Strenght = จุดแข็ง โดยวิเคราะห์คนใกล้ตัวให้ได้ว่าเขามีจุดแข็งอะไร

5.Problem soving , Decision Marking = รู้ปัญหาในงาน และปัญหาทกเรื่อง และสามารถจัดการปัญหานั้นได้

ในการประเมินปัญหาและการตัดสินใจโดยการใช้ SUG ซึ่งมี 3 อย่างประกอบ ได้แก่ 1.)S = Serious : ความสำคัญสูง 2.) U = Urgent : ความเร่งด่วนสูง 3.)G = Growth : เรื่องธรรมชาติถ้าปล่อยไว้จะบานปลาย ประกอบการตัดสินใจเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการทำงาน


วิชาที่ 36 Crucial Conversation : การพูดให้ถึงแก่น

ความสำคัญในการสนทนา ต้องฝึกการพูด ที่พูดแล้วปลอดภัย เพราะว่าในปัจจุบันปัญหาที่พบจากการสื่อสารในองค์คือการไม่พูดกันภายในองค์กร แต่กลับพูดจากันเอง อันทำให้เกิดความขัดแย้งและเข้าใจผิด เกิดความไม่ไว้วางใจกัน การพูดการสื่อสารควรใช้เหตุผลเป็นกระบวนการหลักในการตัดสินใจที่จะพูดหรือไม่พูดให้เหมาะสมกับสถานการณ์

การสื่อสารที่ดีต้องควบคุมอารมณ์อย่าให้หลุด โดยใช้หลัก 5 K และยึดหลัก 2 I's คือการสร้างแรงบันดาลใจ และ การสร้างจินตนาการ ซึ่งผู้นำที่ดีต้อง ฟังเรื่องที่ลูกน้องมาปรึกษา พูดกระชับ เจาะจง ได้ใจความ พูดเข้าไปในจิตใจ มองโลกในแง่ดี อย่าให้ไฟลุกลาม และรู้จักขอโทษหรือแสดงความเสียใจ


เยาวรัตน์ ทวีวงศ์ กลุ่ม 4

วันที่ 1 ตุลาคม 2558

วิชาที่ 37 กิจกรรมรักษ์ใจ - รักษ์กาย โดย ดร.วัลภ ปิยะมโนธรรม

จิตวิทยาการแก้ไขอาการวิตก กังวล กลัว และรักษ์ใจ.....ไม่เครียด ด้วยหัวเราะบำบัด เป็นกิจกรรมที่ไม่เคยได้เรียนมาก่อน และรู้สึกได้ถึงพลังอันมหาสารจากการที่ออกมายืนกลางห้องโดยรายล้อมด้วยเสียงของทุกๆคน รู้สึกดีมากค่ะ ประกอบกับเทคนิคต่างๆในการคลายเครียดและเสียงหัวเราะที่บัดโรค รวมถึงการเลือกรับประทานอาหาร 7 สีเพื่อประโยชน์ต่อร่างกาย วันนี้เป็นอีกวิชาหนึ่งที่รู้สึกผ่อนคลายและมีความสุข และสามารถนำมาใช้กับตัวเองและคนรอบข้างได้ดี


เยาวรัตน์ ทวีวงศ์ กลุ่ม 4

วันที่ 2 ตุลาคม 2558

วิชาที่ 38 การนำเสนอโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานของคณะแพทย์ มอ.ต่อผู้บริหารโดยตัวแทนของทั้ง 5 กลุ่ม

จากการที่ได้เรียนมาทำให้เห็นว่าทุกกลุ่มมีความสามารถในการคิดและทำโครงการขึ้นมาได้ดี โดยการคิดนอกกรอบ มีนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นมา ถึงแม้จะโดนทักท้วงบ้างแต่ทุกกลุ่มก็ยังสุ้ และจะดีมากถ้าทั้ง 5 โครงการเป็นจริงได้

วิชาที่ 39 วัฒนธรรมองค์กร - การบริหารการเปลี่ยนแปลง โดย ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

วัฒนธรรมไทย ส่วนใหญ่ มีความเกรงใจ หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง และรักษาหน้า ถ้าปล่อยให้สังคมเป็นแบบนี้ต่อไปลูกน้องจะดื้อยา และส่งเสริมให้ทำผิดไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นเราควรเปิดใจคุยกัน

ลักษณะที่ดีของหัวหน้า ได้แก่ เข้าใจสไตด์ของตนเอง และลูกน้อง เข้าใจวิธีการพูดคุย อย่าคุยกับลูกน้องเวลาที่เขาโกรธ ให้เขาเล่าให้ฟังก่อน อย่าคิดไปเอง อย่าทะเลาะกับลูกน้องเพราะจะทำให้ตัวเองเสีย


เยาวรัตน์ ทวีวงศ์ กลุ่ม 4

วันที่ 3 ตุลาคม 2558

วิชาที่ 40 ทฤษฎีกระเด้ง.. จากห้องเรียนผู้นำที่คณะแพทยศาสตร์ มอ. รุ่น 2 และ รุ่น 3 สู่ก้าวอนาคตแบบ 3 V

จาการได้รับฟังความคิดเห็นของทั้ง 3 รุ่น ทำให้ทราบว่าทุกคนได้รับประโยชน์จากโครงการนี้มากทั้งตนเอง และองค์กร ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้จริงทั้งในการใช้ชีวิตและการทำงาน

การเพิ่มเติมในงานที่มีอยู่ให้ดีขึ้น ประกอบด้วย การได้เปิดโลกทัศน์ ได้แก่ 4 M และการไม่คาดว่าโอกาสจะมา ใช้ 2 R ,4L

คนเราไม่จำเป็นต้องเรียนสูง ก็สามารถเก่งได้ ถ้ามีการปรับตัว การสร้างตัวเรา หาตัวเองให้เจอ และวางแผนในการพัฒนาตนเอง

พิธีปิดและมอบวุฒิบัติเป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งทีประทับใจมากและเก็บไว้ในความทรงจำตลอดไปค่ะ ซึ่งได้เห็นความสามัคคีของทีมงาน และบุคคลากรทุกคนที่ตั้งใจทำออกมา

ปาริชาต ไพนุพงศ์ กลุ่ม 3

บันทึกการเรียนรู้

วันที่ 30 กันยายน 2558-3 ตุลาคม 2558

วิชาที่ 34 “เทคนิคการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ”

โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

- ในการทำงานต้องเน้นทั้ง Effectively (สมรรถภาพ) และ Efficiency (สัมฤทธิผล) ซึ่งในทางการแพทย์ต้องเน้น ที่ result คือ ทำให้คนไข้หายป่วย

- ปัจจุบันเป็นยุค multiple right answers VS dilemma ซึ่งมีคำตอบที่ถูกต้องหลายทางเลือกขึ้นกับบริบทที่เหมาะสม

- คุณสมบัติ 5 ข้อที่ทำให้เป็นคนเก่ง คือ (1)Time คือ จัดการเวลา (2)Priority การจัดลำดับความสำคัญ (3) Contribution เขาจ้างคุณมาทำอะไร (4) Strength ค้นหาจุดแข็งของทีม (5)Problem solving & decision making การแก้ปัญหาและตัดสินใจ

- Problem: ปัญหา คือ การเกิด Deviation จากแผน ประกอบด้วย(1) Unexpected (2) Cause Unknown (3) Big Concern ควรวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิด และมี Risk Managementคาดการณ์ล่วงหน้า แก้ไขแผน

วิชาที่ 35 “จากแนวคิดการตลาดสู่การปรับใช้ของคณะแพทยศาสตร์ ม.อ.”

โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ภายใต้โจทย์ในวันที่ 1 มกราคม 2559 จะเป็น แบ่งประเทศอาเซียนเป็นกลุ่มๆ แล้วผูกมิตรบางกลุ่มก่อนแล้วนำมาเป็นแนวร่วมเพื่อให้ท่านเป็นผู้นำของอาเซียนในเรื่องที่สนใจแล้วจึงไปหารือกับประเทศอื่นๆในอาเซียนที่เหลือ

- การฝึกตัดสินใจร่วมกันในทีมนั้น ทุกคนต้องมีความเข้าใจตรงกัน ต้องมีการกำหนดนิยาม และเสนอทางเลือกมาเพื่อพิจารณาตัดสินใจ

- ในการเลือกประเทศ AEC กลุ่มแรก ควรเลือกพวกที่ชวนง่ายและมีบารมีพอที่จะไปโน้มน้าวพวกอื่นๆได้ด้วย แต่ไม่ต้องบอกว่าไทยจะเป็นผู้นำ

- ต้องค้นหาจุดแข็งของพันธมิตร และค้นหาจุดแข็งของตนเองเพื่อชักชวนให้พันธมิตรมาร่วมมือ นี่คือการตลาด

- ต้องมองว่าลูกค้าต้องการอะไร (Demand Side) และมีลูกค้าซื้อซ้ำ (Sustainability) คือมีการพึ่งพามีสิ่งที่ดีเกื้อกูลกันในการผูกมิตรกับประเทศอื่น

- วิเคราะห์ Must /วิเคราะห์ Want : โครงสร้างการเป็นผู้บริหารที่ดีต้องมี Must list ซึ่งต่างจาก Want list ซึ่งมีน้ำหนักแต่ละเกณฑ์ที่ต่างกันไป

วิชาที่ 36 “Crucial Conversation”

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ร่วมกับ อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

Crucial Conversations คือ ส่วนหนึ่งที่จะทำให้ปัญหาในองค์กรลดลง ลดการขัดแย้งในองค์กร มี Solutions เพิ่มขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็อาจจะแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ นำไปสู่ Value Creation และ Value Diversity อย่างคาดไม่ถึง

การสื่อสารที่ดีต้องมี 2I’s คือ Inspiration และImagination

การสนทนาภายใต้บรรยากาศตึงเครียด (1)ฟังอย่างตั้งใจ (2)สนทนาสั้นแต่ชัดเจนเข้าใจง่าย ถ้าไม่เข้าใจ ก็ต้องถามให้ชัดเจน (3)เวลาสื่อสาร ต้องแสดงความห่วงใย (4)ขอโทษ หรือ แสดงความเสียใจ ให้อภัย (5)มองโลกในแง่บวก อย่าสร้างปัจจัยลบเพิ่มเติม เกริ่นล่วงหน้าก่อนที่จะวิจารณ์

วิชาที่ 37 “จิตวิทยาการแก้ไขอาการ วิตก กังวล กลัว / รักษ์ใจ….ไม่เครียด ด้วยหัวเราะบำบัด”

โดย ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม

-การบริหารความเครียด คือปรับอารมณ์ความรู้สึก และสร้างสมดุลกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว และอยู่กับปัจจุบัน

โดยการสร้างสมดุลในการใช้พลังชีวิต พลังจิต เอาไปใช้เป็น พลังความคิด 4 พลังความรู้สึก 3 พลังการกระทำ 3 หน่วย

-ผู้หญิงจำเป็นต้องใช้สมองซีกขวามากขึ้น เช่น รักสวยรักงาม สัมผัสรับรู้ศิลปะ ฟังเพลงและร้องเพลง ควรลดความเครียดโดยใช้มันสมองทั้งสองข้าง

-การฝึกเติมพลังชีวิต ด้วยการฝึก หายใจ หัวเราะ การเปล่งเสียงโอม และพลังจากการแบ่งปันความสุขจากเพื่อนร่วมรุ่นในกิจกรรมครั้งนี้

วิชาที่ 38 “วัฒนธรรมองค์กร – การบริหารการเปลี่ยนแปลง”

โดย ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

-วัฒนธรรมที่เป็นปัญหา คือ ความเกรงใจ การหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง (Conflict avoidance) และรักษาหน้า (Face-Saving)

-วัฒนธรรมองค์กร คือ จิตวิญญาณองค์กร ควรจะเป็นความเชื่อของทุกคน ถ้ายังไม่ใช่ ก็จะเป็นแค่แนวประพฤติปฏิบัติ จึงต้องถ่ายทอดให้พนักงานแต่ละคนเข้าใจ ซึ่งมีผลกระทบต่อแบรนด์

-ในการอธิบายวัฒนธรรมองค์กร ต้องตอบคำถามว่า (1)วัฒนธรรมข้อนี้หมายถึงอะไร (2)ทำไมจึงมีความสำคัญต่อองค์กร (3)พฤติกรรมที่พึงประสงค์เป็นอย่างไร (4)พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เป็นอย่างไร(5)ความขัดแย้งที่ลงตัว เช่น ทำงานเร็วและมีคุณภาพ แต่ถ้าตั้งใจ ก็จะประสบความสำเร็จได้มากกว่า

-หัวหน้างานต้องคอยเป็นพี่เลี้ยงและโค้ชลูกน้องในทีม ถ้าเปิดใจคุยกันจะเกิดการเรียนรู้ และจะเป็นการสร้างวัฒนธรรม

วิชาที่ 40 “ทฤษฎีกระเด้ง.. จากห้องเรียนผู้นำที่คณะแพทยศาสตร์ มอ. รุ่น 2 และ รุ่น 3.. สู่ก้าวอนาคตแบบ 3 V”

-การเรียนรู้ทฤษฎีต่างๆ ภายใต้วัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ กระตุ้นให้เราพัฒนาศักยภาพตนเอง และร่วมมือกันพัฒนาองค์กร ซึ่งต้องพยายามกระเด้งแบบ3 V ให้ทันยุคของความเปลี่ยนแปลงอย่ารวดเร็ว

-เครือข่ายที่รู้จักและผูกพันกันมากยิ่งขึ้น

-เป็นช่วงเวลาที่มีคุณค่ามาก เพราะสิ่งที่ได้รับ คือ Opportunity Learn Share Care

นางอินทิรา ไพนุพงศ์ กลุ่ม 1

วิชาที่ 35 30 กันยายน 2558 เทคนิคการแก้ไขปัญหาและการตัดสินที่มีประสิทธิภาพ ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุญยเกียรติ

ผู้นำในองค์กรที่ lonely ควรมีคุณสมบัติ 5 ข้อ

1.จัดการเวลาเก่ง ระดับปฏิบัติจะมีรายละเอียดลงใน Diary มากทุกๆครึ่งชั่วโมง แต่ถ้าระดับสูง ก็จะมีรายละเอียดน้อยลง ควรมี Diary 3 เล่ม คือ

1.1 เล่มไว้ที่ทำงาน จะทำอะไร 1.2 เล่มที่บ้าน ทำอะไรแล้วบ้าง 1.3 เล่มที่ฝากเลขาหน้าห้อง จดว่าทำอะไร ในกรณีออกไปไหนเกินครึ่งชั่วโมง บางทีก็ฝากเพื่อร่วมงานจดก็ได้ กรณีที่ไม่มีเลขา

ถ้าเหมือนกันทั้ง 3 เล่มก็ประสบความสำเร็จ ถ้าเก็บครบ 10 ปีจะเป็นภูมิปัญญาของแต่ละบุคคล

2. Priority คือความสำคัญก่อนหลัง จัดลำดับ คนเก่งคนทำงานทีละอย่าง เน้น ให้ทำอะไรก่อนหลัง First thing first เน้น Timely คือจังหวะเวลา ทำอะไรถูกจังหวะ กาลเทศะ

3. Contribution เขาจ้างคุณมาทำอะไร ต้องเขียนให้ชัด จะได้ไม่ถูกรบกวนโดยลูกน้องซึ่งควรจะทำงานของเขาแค่มาขอให้คุณช่วย การเขียน Contribution จะช่วยให้ทำงานดีขึ้น ควรเน้น Only Goal และใช้เวลา 40% กับงานชนิดนี้

4. Strength จุดแข็ง ต้องสามารถค้นหาให้ได้ จะทำให้ทีมเก่งมาก Strength มักถูกปนกับ Weakness ของคนซึ่งมีถึง 90% ควรจำจุดแข็งแต่ละคนแล้วเน้นจุดนั้น

5. การแก้ปัญหาและตัดสินใจ

Output (O)/Input (I) = high productivity ใส่เงินมาก ได้ผลตอบแทนสูง

ในระหว่างทาง เกิด Deviation สิ่งที่ต่างจากแผน นั่นคือปัญหาที่แท้จริงซึ่งประกอบด้วย

5.1 Unexpected ไม่ได้คาดไว้ก่อน เป็นคำถามที่ตอบไม่ได้ คนที่มาเล่าปัญหามักเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา ต้องตั้งสติ จับใจความสำคัญ ควรคาดการณ์ล่วงหน้า แล้วทำ Risk Management เก่ง แก้ไขแผน ไม่ใช่แก้ผลลัพธ์

5.2 Cause Unknown ไม่รู้ว่าเกิดจากเหตุอะไร เวลาพบปัญหาเล็กๆ ให้พยายามทำนาย

5.3 Big Concern น่าห่วง เวลาฟังปัญหา ต้องถอยออกมา จะเห็นปัญหาอีกมุมที่ชัดเจน

วิชาที่ 36 Panel Discussion ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ อ.พิชญ์ภูรี จันทรกมล

Conversation แม้เป็นการสื่อสารที่ไม่เป็นทางการก็อาจจะสำคัญกว่าการสื่อสารที่เป็นทางการเสียอีก

คนเงียบก็ถือเป็น Non-verbal Conversation บางทีการสื่อสารอาจจะเป็น Visible และ Invisible

Crucial Conversations คือ ส่วนหนึ่งที่จะทำให้ปัญหาในองค์กรลดลง ลดการขัดแย้งในองค์กร มี Solutions เพิ่มขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็อาจจะแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ นำไปสู่ Value Creation และ Value Diversity อย่างคาดไม่ถึง การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสามารถนำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศได้

การสื่อสารมีหลายวิธี เช่น

1.ทางการ / ไม่เป็นทางการ 2.ทางการพูดและฟัง (Verbal) คือ ใช้เสียง แต่ ท่าที สีหน้า ท่าทางที่เรียกว่า Non – Verbal ก็สำคัญมาก

การสื่อสารที่ดี คือ ไม่สื่อสาร บางจังหวะไม่พูดจะดีกว่า แต่บางจังหวะพูดก็ดี คล้าย ๆ แนวคิดผู้นำของผม เรื่อง Rhythm and Speed คือ จังหวะ หรือ กาลเทศะ การสื่อสารที่ดีต้องควบคุมอารมณ์อย่าให้หลุด

การสื่อสารที่ดีต้องมี 2I’s คือ

Inspiration สร้างแรงบันดาลใจให้คนอยากทำ Imagination สร้างจินตนาการ

การสนทนาภายใต้บรรยากาศตึงเครียด

(1)ฟังอย่างตั้งใจ (2)สนทนาสั้นแต่ชัดเจนเข้าใจง่าย ถ้าไม่เข้าใจ ก็ต้องถามให้ชัดเจน

(3)เวลาสื่อสาร ต้องแสดงความห่วงใย (4)ขอโทษ หรือ แสดงความเสียใจ ให้อภัย

(5)มองโลกในแง่บวก อย่าสร้างปัจจัยลบเพิ่มเติม อย่าให้ไฟลุกลาม เกริ่นล่วงหน้าก่อนที่จะวิจารณ์

วิชาที่ 37 กิจกรรมรักษ์ใจ – รักษ์กายจิตวิทยาการแก้ไขอาการ วิตก กังวล กลัวรักษ์ใจ….ไม่เครียด ด้วยหัวเราะบำบัดโดย ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม

การบริหารจัดการกับความเครียด

ปัญหาคือคนชอบใช้สมองหลายส่วนทำงานพร้อมกันจึงเกิดความเครียดกายไม่อยู่กับจิตทำให้เกิดความเครียด ทางแก้ความเครียดคืออยู่กับปัจจุบัน

ความเครียดเป็นบ่อเกิดของโรคทุกชนิด สิ่งที่ทำให้เราเครียดมากที่สุดในยุคนี้ เพราะต้องดิ้นรนให้ได้มากที่สุด

1.ความมั่งมี มีเงินทอง ไม่เคยหยุด ต้องคอยหาเพิ่ม บางทีตัวเงินไม่ทำให้เราเครียด แต่การบริหารเงินไม่เป็นทำให้เครียดมากกว่า มีงานมาก ก็เครียด ไม่มีงานทำ ก็เครียด

2.ความมีชื่อเสียง ไม่เคยหยุดสร้างภาพ ดาราบางคนเวลาแต่งงานสร้างภาพว่ารวยมาก แต่ไม่รวยจริง

3.ได้เลื่อนยศ ตำแหน่งสูง ไม่เคยต้องหยุดดิ้นรน

4.การมีอำนาจ ไม่เคยหยุดเอาชนะ พอหมดอำนาจ ก็เครียด

5.สวยหล่อ มีเสน่หาทางเพศ ไม่หยุดทำศัลยกรรม ไม่หยุดทำคุณไสย ทำให้หมอหันไปเรียนด้านผิวหนัง ความงาม คนสวยหล่อ ทำให้เกิดการนอกใจ พอหมดความรัก ก็มีความเครียด ควรคิดว่าใจงามคือสิ่งที่ดี ความงามคือความเปลี่ยนแปลง

คนไม่เข้าใจว่าต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง แต่ต้องการความแน่นอน จึงเป็นบ่อเกิดความเครียด

กุญแจบริหารความเครียดคือปรับอารมณ์ความรู้สึก และสร้างสมดุลกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว

ความเครียดมีผลบวกและลบ

ด้านบวก

1.ทำให้ตั้งใจมากขึ้น 2.ผลงานมากขึ้น ดีขึ้น ทำอะไรได้มากขึ้น 3.ทำอะไรได้รวดเร็วขึ้น

ด้านลบ

1.ขาดแรงจูงใจ 2.ประสิทธิภาพต่ำ 3.ซึมเศร้า

พลังชีวิต พลังจิต เอาไปใช้เป็น พลังความคิด 4 พลังความรู้สึก 3 พลังการกระทำ 3 หน่วย

ปัญหาคือคนนำไปใช้ผิดสัดส่วน ขาดสมดุล เครียดแล้วกินมาก หรือกินอะไรไม่ลง บางคนต้องแข่งขันการเรียน ความกดดันสูง ต้องรู้จักพักผ่อน ธรรมชาติสร้างให้ผู้ชายใช้สมองซีกซ้าย ผู้หญิงใช้สมองซีกขวา ผู้หญิงจำเป็นต้องใช้สมองซีกขวามากขึ้น เช่น รักสวยรักงาม ช็อปปิ้ง เกิดการสัมผัสรับรู้ศิลปะ มองความสัมพันธ์ ซื้อของฝากคนอื่นๆ มากมาย ผู้หญิงต้องฟังเพลงและร้องเพลง ผู้หญิงต้องพูด (เม้าท์) และได้เรียนรู้เทคนิคการหัวเราะบำบัด

วิชาที่ 38 วัฒนธรรมองค์กร-การบริหารการเปลี่ยนแปลง ดร.ศิริลักษณ์ เมฆ์สังข์

คนไทยมีวัฒนธรรมเกรงใจ เวลาที่เกิดความไม่ถูกต้อง ก็ไม่กล้าแสดงออก ควรจะเปลี่ยนวัฒนธรรมเปลี่ยนเป็น การให้ Feedback และการหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง เพราะไม่อยากมีปัญหา และการรักษาหน้า วัฒนธรรมเหล่านี้ติดตัวคนไทยเข้ามาในองค์กร ทำให้เกิดการปล่อยปละละเลย เกิดการทำผิดซ้ำ วัฒนธรรมเหล่านี้หยุดไม่ให้เราเปิดใจคุยกัน

เจ้านายต้องให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงตอนประเมินผลงาน แต่ปัญหาคือ ประเมินออกมาดี แต่พฤติกรรมจริงของลูกน้องคือแย่ ถ้าไม่เปิดใจคุยกัน จะมีผลต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นอุปสรรคต่อการสร้างองค์กรการเรียนรู้ ปัญหาคือคนรู้ไม่พูดเพราะกลัวคนอื่นคิดว่าอวดเก่ง คนไม่รู้ก็ไม่ถามเพราะกลัวเสียหน้า การเรียนรู้ส่วนใหญ่ของคนในองค์กรคือการเรียนในห้องเรียน แต่ที่จริงเป็นแค่ 10% เท่านั้น

จากวิจัย ปัจจุบันการเรียนรู้ในองค์กร10% เกิดในห้องเรียน เป็นทางการ คนต้องเรียน Leadership, Competency และ Functional เมื่อเกิด Gap ต้องส่งพนักงานไปรับการอบรม หลาย Competency สามารถเรียนรู้ได้จาก On-the-job Training (OJT) 70% ส่วน 20% เรียนจากคนอื่น เรียนรู้จากความผิดพลาด ต้องกล้าเปิดใจคุยกัน

วัฒนธรรมองค์กรคือจิตวิญญาณองค์กร

หัวหน้างานต้องคอยเป็นพี่เลี้ยงและโค้ชลูกน้องในทีม สามารถสอดแทรกค่านิยมเข้าไปได้ การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นต้องมี Feed Forward ได้รับคำแนะนำแล้วเดินไปข้างหน้า ถ้าเปิดใจคุยกันจะเกิดการเรียนรู้ หัวหน้าที่เป็นโค้ชที่ดีต้องออกแบบการสนทนาได้ดี และจะเป็นการสร้างวัฒนธรรม หลายองค์กรนำระบบนี้มาใช้ ต้องเริ่มตั้งแต่ระดับสูงลงมาจึงจะเป็นวัฒนธรรมการโค้ชหรือการพูดคุยอย่างเปิดใจ การให้ Feedback ไม่ใช่การวิจารณ์ แต่เป็นการให้ข้อเสนอแนะ

วัฒนธรรมนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ได้ถ้าทุกคนเข้าใจ ตั้งแต่การทำงานในคณะเกิดการเปลี่ยนแปลงมาก ในการเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้ง อาจจะไม่ดีขึ้น คนในองค์กรจะรู้สึกว่าเปลี่ยนอีกแล้ว บางรายต่อต้าน บางรายไม่เห็นประโยชน์ จึงเป็นความท้าทาย ไม่อยากจะเปลี่ยนแปลงเป็นทีม ถ้าสร้างคนในทีมให้เกิดความผูกพันในทีมและงาน ก็จะสามารถเปลี่ยนแปลงได้สำเร็จ คณะแพทย์มีการทำเรื่อง Engagement และมีการประเมินแล้ว ผลการผูกพันก็ดี

วิชาที่ 39 นำเสนอโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานคณะแพทย์ มอ ต่อผู้บริหาร

ได้ฟังการนำเสนอของสมาชิกในกลุ่ม โดยใช้หลักการ 3 V ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้บริหาร ถึงความเป็นไปได้ของโครงการ และความตั้งใจในการค้นคว้า หาข้อมูล ความตั้งใจในการทำงาน ของแต่ละกลุ่ม

วิชาที่ 40 ทฤษฎีกระเด้ง..จากห้องเรียนผู้นำ รุ่น 2 และรุ่น 3 …..สู่อนาคตแบบ 3 V

เป็นบรรยากาศการเรียนรู้จากรุ่นพี่ ถึงรุ่นน้อง ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พูดคุยสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน เปิดใจ พูดคุยถึงประสบการณ์ที่ได้รับ การนำสิ่งที่ได้เรียนรู้นำไปปรับใช้ในการทำงาน นำหลักการแนวคิด 3 V นำมาใช้ ให้มองให้กว้างขึ้น มองเป็นระบบ การสร้างเครือข่ายเพื่อความร่วมมือกัน ใน การพัฒนาคณะแพทย์ต่อไป

จันธิมา มหัทธนาภรณ์ กลุ่ม 3

สรุปบทเรียนวันที่ 30 กันยายน 2558

- Cructial conversation ในมุมมองของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อ.พิชญ์ภูรี

เรื่องเล็ก ๆจากการสนทนา ถ้าได้รับการฝึกฝน และมีการปรับตัวก็จะกระเด้งไปสู่เรื่องใหญ่

การสื่อสารมีหลายวิธี เป็นแบบทางการ และไม่เป็นทางการ รวมถึงท่าทางการพูดและฟัง (verbal) คือการใช้น้ำเสียง การสื่อสารที่ดีบางครั้งบางจังหวะ คือไม่สื่อสาร คือรู้จังหวะและกาลเทศะ (Rhythm and Speed) การสื่อสารต้องรู้จักควบคุมอารมณ์อย่างให้หลุด ให้ใช้ 5 K's คือ Emotional Intelligence

การสื่อสารที่ดีต้องใช้ 2 I's คือ Inspiration (สร้างแรงบันดาลใจ) และ Imagination (สร้างจินตนาการ)

ปัญหาเรื่้อรังที่มักเกิดขึ้นจากการสนทนา คือ การไม่คุยกัน

กล้าหาญแต่ไม่มี skill อาจตายได้ ต้องฝึก skill ในการพูด พูดอย่างไรให้ save

กล้าหาญไม่พอ ต้องฉลาดในการพูดด้วย


สรุปบทเรียนวันที่ 1 ตุลาคม 2558

-กิจกรรมรักษ์ใจ รักษ์กาย โดย ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม

สิ่งที่ทำให้คนยุคนี้เครียดที่สุด เพราะต้องดิ้นรนอยากได้ในสิ่งเหล่านี้

1. มั่งมีเงินทอง (wealthy) ไม่เคยหยุดต้องคอยหาเพิ่ม(กลัดกลุ้ม รุ่มร้อน)

2. มีชื่อเสียงและคนรู้จัก (famous) ไม่เคยหยุดต้องสร้างภาพ (อิจฉาตาร้อน)

3. ได้เลื่อนยศ ตำแหน่งสูง (Prestige) ไม่เคยหยุดต้องดิ้นรน (หวั่นไหว คอยระแวง)

4. อำนาจ มีอภิสิทธิ์ (power) ไม่เคยหยุดต้องเอาชนะ (แก่งแย่ง ก้าวร้าว)

5. สวย หล่อ มีเสน่ห์ทางเพศ (sexy) ไม่เคยหยุดไปทำศัลยกรรม ไสยศาสตร์ (หวาดกลัว ย้ำคิด ย้ำทำ)

กุญแจสำคัญในการบริหารความเครียด คือ การรู้จักปรับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด และพฤติกรรมการกระทำของตนเองให้สมดุลกัน รวมทั้งการสมดุลกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว


สรุปบทเรียนวันที่ 2 ตุลาคม 2558

- วัฒนธรรมองค์กร การบริหารการเปลี่ยนแปลง / ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

สิ่งที่หยุดเราไม่ให้เราเปิดใจ กั้กๆ ไว้ ประนีประนอม ขาดการสื่อสารแบบเปิดใจคุยกัน ซึ่งการสื่อสารแลกเปลี่ยนมีความสำคัญมาก มาจาก

-ความเกรงใจ (Kreng Jai)

-หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง Conflict Avoidace

- รักษาหน้า (Face Saving)

เราใช้สัดส่วนในการเรียนรู้จากงาน 70% เรียนรู้จากคนอื่น 20% และ เรียนรู้จากห้องเรียน 10%

เวลาเกิดปัญหา เราใช้เวลาในการไปหาคนผิดมากกว่า ทั้งๆที่รู้ว่าใครทำ

วัฒนธรรมองค์กร คือ จิตวิญญาณ ความเชี่ื่อ ค่านิยม และวิธีที่คนในองค์กรแสดงออกมา

ทั้งหมดมีผลกระทบต่อ brand ขององค์กร

หน้าที่ของหัวหน้างาน ต้องทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง โค๊ท ลูกน้อง (จากการสนทนา การโค้ท คุยกัน)

จะมีการให้ข้อมูลไปข้างหน้า ไม่ใช้ feedback ซึ่งจะถอยหลัง ถ้าเปิดใจคุยกันจะเกิดการ learning เกิดการ sharing และแลกเปลี่ยน เกิดจากรายบุคคลจนกลายเป็นทีม และเกิดการเรียนรู้ หัวหน้างานต้องออกแบบการสนทนาได้ ต้องเปิดโอกาสให้ลูกน้องพูด


สรุปบทเรียนวันที่ 3 ตุลาคม 2558

ทฤษฎีกระเด้ง..จากห้องเรียนผู้นำ รุ่น 2 และรุ่น 3 สู่ก้าวอนาคตแบบ 3 V

เป็นการสร้างบรรยากาศพูดคุยระหว่างรุ่นพี่ และรุ่นน้อง มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การนำสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ไปปรับใช้ในการทำงาน และชีวิตประจำวัน โดยการใช้หลักการแนวคิด 3 V นำมาปรับใช้ เพื่อการพัฒนาคณะแพทย์ของเราต่อไป


30 กย.2558

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากบทเรียน คือ

1.การจัด(จด)ตารางการปฏิบัติงานประจำวัน ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน และควรให้คนอื่นจดด้วยแล้วนำมาเปรียบเทียบว่าอันไหนใช่ที่สุด

2.การจัดลำดับความสำคัญของงานให้ถูกต้อง

3.การแก้ปัหาและการตัดสินใจกับเหตการณ์ที่สำคัญ

4.crutial conversation เรียนรู้การสื่อสารทั้งทางการและไม่เป็นทางการ (คิดก่อนพูด ฝึก รู้จังกวะและกาลเทศะ..

สรุป.ข้อคิดวันที่1 ตค.2558

การจะทำให้สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคภัย..ต้องมีการปรับสมดุล.ตั้งแต่ความคิด กาย จิต และสิ่งแวดล้อม..ฝึกทักษะการหัวเราะบำบัด..เป็นต้น..

ข้อคิด 2 ตค.2558

บทเรียนจาก อ.ศิริลัษณ์

1. การเรียนรู้ส่วนใหญ่ได้จากห้องเรียนเพียง10% เรียนรู้จากบุคคลอื่น20%และจากการปฏิบัติงานจริงถึง70%....

2.การcoaching ที่ดีควรสร้างบรรยากาศให้เกิดความไว้วางใจระหว่างกัน.รู้จักจัวหวะ เวลาและ..โค้ทก็ต้องกมั่นฝึกฝน..คนเองอยู่เสมอ..เอาใจเขามาใส่ใจเรา..เปลี่ยน

3ตค.2558

สรุปทฤษฎีกระเด้ง..จากห้องเรียน โดยตัวแทนทั้ง 3 รุ่น

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้เรียนทั้ง3รุ่น ..ซึ่งนำบทเรียน ทฤษฎีต่างๆ ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ในชีวิตประจำวัน และการทำงาน...ซึ่งจะทำให้คณะแพทย์ของเรามีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น

ส่วนงานเลี้ยงจบโครงการสุดนอดมากคะ..รู้สึกถึงความสุข ความรัก ความผูกพัน..จากทั้งทีมงานอ.จิระ..และจากทั้งผู้เข้าอบรมทั้ง 3รุ่น...

วันที่ 2 ตุลาคม 2558

วิชาที่ 38 “การนำเสนอโครงการเชิงนวัตกรรม ของทั้ง 5 กลุ่ม”

โครงการเชิงนวัตกรรมของทั้ง 5 กลุ่ม ได้รับการแก้ไขและปรับปรุงให้พร้อมที่จะสามารถนำไปนำเสนอเพื่อดำเนินการ และมีความเป็นไปได้ในการดำเนินการมากขึ้น โดยโครงการจะเป็นไปในทิศทางของการพัฒนาและส่งเสริมการทำงานในคณะแพทย์ให้มีความก้าวหน้าและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

วิชาที่ 39 “วัฒนธรรมองค์กร – การบริหารการเปลี่ยนแปลง”

แนวคิดพื้นฐานในการบริหารงานบุคคลที่มีความจำเป็นจะต้องเรียนรู้ธรรมชาติของบุคคลในองค์กร และนำไปสู่การจัดการบริหารให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผลขององค์กร

การจัดการบริหารให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางด้านวัฒนธรรมให้มีความยืดหยุ่น และการสื่อสารกันอย่างตรงไปตรงมาในองค์กรมีความสำคัญต่อการทำงานในทุกส่วนขององค์กร โดยเฉพาะการพูดคุยกันเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น แทนที่จะเก็บปัญหาไว้แล้วทำให้ปัญหานั้นเรื้อรังแก้ไขได้ยากกว่าเดิม

วันที่ 3 ตุลาคม 2558

วิชาที่ 4 “ทฤษฏีกระเด้ง”

คือ การต่อยอดทางความคิด และการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากรุ่นสู่รุ่น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดจากการจัดการอบรมในหลักสูตร จากรุ่นที่ 1 ถึง รุ่นที่ 3 มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาให้การทำงานของคณะแพทยศาสตร์มีความยั่งยืนในการพัฒนาในหลายๆด้าน การเจริญเติบโตตามแนวคิด 3V

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันนับว่าเป็นการพัฒนาตนเองอีกอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะกับตนเองที่ได้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ เป็นการพัฒนาตนเอง โดยผ่านการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในอีกองค์กร และได้นำเอาความรู้ที่ได้มาถ่ายทอดให้แก่เพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นผลดีต่องานที่รับผิดชอบเป็นอย่างยิ่ง

วันที่ 3 ตุลาคม 2558

วิชาที่ 40 “ทฤษฏีกระเด้ง”

คือ การต่อยอดทางความคิด และการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากรุ่นสู่รุ่น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดจากการจัดการอบรมในหลักสูตร จากรุ่นที่ 1 ถึง รุ่นที่ 3 มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาให้การทำงานของคณะแพทยศาสตร์มีความยั่งยืนในการพัฒนาในหลายๆด้าน การเจริญเติบโตตามแนวคิด 3V

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันนับว่าเป็นการพัฒนาตนเองอีกอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะกับตนเองที่ได้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ เป็นการพัฒนาตนเอง โดยผ่านการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในอีกองค์กร และได้นำเอาความรู้ที่ได้มาถ่ายทอดให้แก่เพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นผลดีต่องานที่รับผิดชอบเป็นอย่างยิ่ง

กัญญนัช กนกวิรุฬห์ กลุ่ม 1

กัญญนัช กนกวิรุฬห์ กลุ่ม 1

วันที่ 6 สิงหาคม 2558

วิชาที่ 11 และ 12: รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

การรู้จักตัวเราเอง นำไปสู่การสร้างความรู้ และเกิดเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต สิ่งนี้จะนำไปปรับใช้ในชีวิตตนเอง

จากการบรรยายของอาจารย์ทำให้รู้จักการคิดแบบ Strategic thinking มากขึ้น ช่วยการพัฒนาระบบความคิด เพราะระบบคิดสำคัญกว่าความรู้ โดยให้เป็นไปตาม positive sum game ให้มากที่สุด

การบริหารจัดการต้องรู้จักวางเป้าหมาย ทุกเป้าหมายต้องมี 2 เป้า คือ เป้าหมายของลูกค้า และเป้าหมายขององค์กร ความรู้นี้ เพิ่งเคยได้เรียนเป็นครั้งแรก จะนำไปปรับใช้กับบริบทของภาระงานที่ตนรับผิดชอบค่ะ

วันที่ 7 สิงหาคม 2558

วิชาที่ 13: กิจกรรมรักษ์ใจ-รักษ์กาย โดย อ.ณภัสวรรณ จิลลานนท์ และ อ.กิตติภพ สังฆกิจ

เป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน ได้ออกกำลังกายและฝึกทักษะในการเต้นลีลาศเพื่อเข้าสังคม และยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้รู้จักกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนมากขึ้นด้วยค่ะชอบมากค่ะ

วันที่ 8 สิงหาคม 2558

วิชาที่ 14: ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ และ ผศ.ดร.ชเนฏฐวัลลภ ณ ขุมทอง

Knowledge management คือสามารถเอาความรู้ที่มีมาแบ่งปันให้ผู้อื่นได้

เวลาเจอปัญหาในการทำงาน จงถามว่า อะไรผิด จะได้ Knowledge เพราะการถามว่าใครผิด ก็จะได้แค่คนผิด

วิชาที่ 15 : ศ. (พิเศษ) วิชา มหาคุณ และ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

การเป็นผู้นำที่ดี ต้องสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ สามารถกระตุ้นให้ทุกคนเสนอไอเดียได้

ผู้นำที่ดีต้องสามารถตัดสินใจได้ ว่า Yes or No และที่สำคัญคือ ต้องเป็น คนดี มีทั้งคุณธรรม (Ethics) และจริยธรรม (Moral)

การเป็นผู้นำทีดี อาจใช้วิธีการเรียนรู้จาก Role model ในที่นี้ ศร.ดร.จีระเป็นตัวอย่างของ Role model ที่ดี อาจารย์เป็นผู้นำที่ดี ส่งผลดีต่อผู้อื่นในวงกว้าง

วันที่ 20 สิงหาคม 2558

วิชาที่ 16: ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา

รู้จักการกำหนดเป้าหมายขององค์กร โดยพิจารณาจากปัจจุบัน ว่าเราอยู่ในระดับใด และกำหนดเป้าหมายให้ชัด ว่าเราต้องการไปอยู่ในระดับใด อย่างไรก็ตาม การพัฒนาก็ต้องเน้นไปที่การป้องกันโรค มากกว่าการรักษาโรค

วิชาที่ 17: ศ.ดร.อารี วิบูลย์พงศ์

ได้เรียนรู้วิธีการประเมินโครงการ รู้จักการตั้งคำถามวิจัย ขั้นตอนการทำวิจัย

วันที่ 22 สิงหาคม 2558

วิชาที่ 19 : อาจารย์ลักขณา จำปา

ได้เรียนรู้เทคนิคการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ประทับใจมากค่ะ

วิชาที่ 20: อ.กฤษณ์ รุยาพร

รู้จักการบริหารจัดการองค์กร ให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข โดยกำหนดคนทำงานให้ตรงกับความถนัดของผู้ร่วมงาน เพราะเมื่อคนในองค์กรมีความสุข จะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

วันที่ 3 กันยายน 2558

วิชาที่ 21: ศึกษาดูงาน Asiatique

เรียนรู้การวางเป้าหมาย ที่ถูกกำหนดโดย Vision และ Mission ในองค์กร มุ่งให้ทุกคนเข้าสู่เป้าหมายเดียวกัน เรียนรู้วิธีการคิด กระบวนการพัฒนาพื้นที่เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กร ชุมชม และประเทศ

วิชาที่ 22: การบินไทย

การสร้าง Brand เป็นสิ่งสำคัญที่สะท้อนภาพลักษณ์ขององค์กร มีผลต่อจิตใจของลูกค้า ทำอย่างไรให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกมี Loyalty ต่อองค์กรให้ได้

วันที่ 4 กันยายน 2558

วิชาที่ 23: การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.)

เรียนรู้การพัฒนาและบริหารทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพ เราต้องรู้จักว่าคนที่ทำงานร่วมกับเราเป็นอย่างไร การทำงานเป็นทีมเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องสร้างให้เกิดขึ้นในองค์กรให้ได้

วิชาที่ 24: โครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์

ได้เรียนรู้วิถีชุมชน การพัฒนาทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยยังคงรักษาเอกลักษณ์ในชุมชนนั้นไว้ได้อย่างกลมกลืน และพัฒนาคนในชุมชนนั้นๆให้กลับมาพัฒนาบ้านเกิด เป็นเรื่องที่น่าประทับใจมากค่ะ

วิชาที่ 25: การร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายนักศึกษา

ได้แนวคิดจากวิทยากรที่เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ ทั้งแนวคิดในการดำเนินชีวิตและการทำงาน ดีมากค่ะ

วันที่ 5 กันยายน 2558

วิชาที่ 26: นิทรรศน์รัตนโกสินทร์

ประทับใจมากค่ะ ได้รู้รากเหง้าของประเทศ ของตนเอง รู้ประวัติศาสตร์ของชาติ ทำให้เกิดสำนึกรักในบ้านเกิดมากยิ่งขึ้นค่ะ

วันที่ 17 กันยายน 2558

วิชาที่ 27: ศ.คลินิกเกียรติคุณ ธีรวัฒน์กุลทนันทน์ และ รศ.วิลาวัณย์ เสนารัตน์

ประทับใจในการทำงานของอาจารย์ทั้ง 2 ท่านมากค่ะ ช่วยเป็นแรงบันดาลใจในการทำงานที่ยากให้สำเร็จได้ค่ะ

คติ “อ่อนน้อมถ่อมตน ทุกคนมีดี อย่าดูถูกใคร”

วิชาที่ 28: รศ.นพ.เรืองศักดิ์ ลีธนาภรณ์

เรียนรู้วิธีการทำ PDCA story board เป็นประโยชน์มากค่ะ

วันที่ 18 กันยายน 2558

วิชาที่ 29: นายสุริยา ยีขุน นายสมพร ศิริโปราณานนท์ และ นายเมธา ปุญยประวิตร

รู้จักชีวิตในชุมชนใกล้เคียงมากขึ้น รู้จักการสร้างมูลค่าเพิ่มจากจุดแข็งที่ตนมีในชุมชน

วิชาที่ 30: ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย

ประทับใจกับการบรรยายมากที่สุดค่ะ ได้รับฟังรูปแบบการทำงานของท่าน ที่น่ายกย่องและเป็นแบบอย่างที่สุด

วันที่ 19 กันยายน 2558

วิชาที่ 31 และ 32: อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด

คุณค่าของคน อยู่ที่การทำประโยชน์ให้ผู้อื่นด้วย การบรรยายของอาจารย์ เหมือนการเปิดโลกให้รู้จักอีกศาสตร์หนึ่ง ที่ช่วยปรับเปลี่ยนทัศนคติของคนรอบข้างได้ รู้จักการฟังที่แท้จริง ต้องฟังจาก context ไม่ใช่ content ไม่เอาเรื่องของตัวเองไปตัดสินผู้อื่น การทำ Life coaching มีประโยชน์มากๆค่ะ

วิชาที่ 33: นายเทิดพงษ์ ไชยนันทน์

ได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของท่าน ที่ต่อสู้ในหลายรูปแบบ สิ่งเหล่านี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้ทำงานอย่างมุ่งมั่นต่อไปค่ะ

วันที่ 30 กันยายน 2558

วิชาที่ 34 และ 35: ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

วันนี้ได้มีเรียนรู้กับอาจารย์อีกครั้ง ยังประทับใจในกระบวนการคิด การทำงานให้เกิดทั้ง Efficiency (สมรรถภาพ) และ Effectively (สัมฤทธิ์ผล) รู้จักกระบวนการตัดสินใจ เลือกแบบที่มีคำตอบมากกว่าหนึ่งข้อ เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา

วิชาที่ 36: ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การสื่อสารที่ดี ต้องมีทั้ง Inspiration และ Imagination ได้เรียนรู้ทักษะการสื่อสารให้ประสบความสำเร็จ ที่มีทั้ง Tangible/ intangible, Visible/invisible

ผู้พูดจะเริ่มพูดเมื่อเค้ารู้สึกปลอดภัย และต้องเริ่มจากการรู้จักการฟังที่ดี

วันที่ 1 ตุลาคม 2558

วิชาที่ 37: ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม

การเรียนครั้งนี้ได้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันมากค่ะ รู้จักการหายใจอย่างถูกวิธี การทานอาหาร การดำรงชีวิตอย่างถูกวิธี รู้จักการผ่อนคลายตนเอง เรียนรู้การทำ หัวเราะบำบัด สนุกมากค่ะ

วิชาที่ 38: นำเสนองานกลุ่ม

ตัวเองได้นำเสนองานกลุ่มที่ 1 ทำให้ได้ข้อคิดในการวางแผน การดำเนินงาน และการปฏิบัติเพื่อความสำเร็จ ได้ประโยชน์มากค่ะ

วิชาที่ 39: ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

ประทับใจมากๆค่ะ ได้เรียนรู้ว่า การสร้างวัฒนธรรมมีส่วนสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้มาก การมีวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ส่งผลต่อ Brand ขององค์กร การสร้าง Coaching culture มีการพูดคุยแบบเปิดใจ ทำให้องค์กรสามารถทำงานร่วมกันได้ดีมากยิ่งขึ้น รู้จักการทำ Appreciation inquiry จะนำความรู้ที่ได้ทั้งหมด ไปใช้ในงานประจำค่ะ

วิชาที่ 40:

การได้เข้าร่วมฟังการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นการช่วยขมวดประเด็นต่างๆที่ได้เรียนรู้จากหลักสูตรทั้งหมด เป็นประเด็นสำคัญที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริงผ่านการแชร์ประสบการณ์จากรุ่นที่ 1 2 และ 3 สิ่งสำคัญนอกจากความรู้ที่ได้จากการอบรมครั้งนี้นั้น การสร้างเครือข่ายพันธมิตรที่กว้างขวางมากขึ้น เป็นสิ่งที่ได้รับและมีค่ามากค่ะ

อ้อยใจ นวลรอด กลุ่ม1

วันพุธ ที่ 30 กันยายน 2558

จากแนวคิดการตลาดสู่การปรับใช้ของคณะแพทย์ ม.อ. และหัวข้อ เทคนิคการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ที่มีประสิทธิภาพ โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

-ให้จัดทำให้มีสมุด3 เล่ม เพื่อจดบันทึกสิ่งที่ทำ สิ่งที่อยากจะทำ สิ่งที่ทำไปแล้ว

-คุณสมบัติ 5 ข้อที่ทำให้คนธรรมดาเป็นคนเก่ง

1. Time = จัดการกับเวลาเก่ง โดยการทำสมุดบันทึก 3 เล่ม

2. Priority = ความสำคัญ ก่อน-หลัง

3. Contribution = ต้องตอบให้ได้ว่าเขาจ้างเรามาทำอะไร

4. Strenght = จุดแข็ง โดยวิเคราะห์คนใกล้ตัวให้ได้ว่าเขามีจุดแข็งอะไร

5. Problem soving , Decision Marking = รู้ปัญหาในงาน และปัญหาทุกเรื่อง และสามารถจัดการปัญหานั้นได้

Crucial Conversation โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ร่วมกับ อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

องค์กรควรให้ความสำคัญกับการสื่อสาร เพราะการสื่อสารทำให้ผู้ส่ง และ ผู้รับ เข้าใจหรือไม่เข้าใจ

วันที่ 1 ตุลาคม 2558

กิจกรรมรักษ์ใจ - รักษ์กาย โดย ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม

สอนให้รู้จักตนเอง มีเหตุ ต้องมีผล การบริหารสมอง การรู้จักตัวตนและการบริหารจิต ด้วยวิธีต่างๆ
การดูแลตนเองโดยการรับประทานอาหาร

วันที่ 2 ตุลาคม 2558

การนำเสนอโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานของคณะแพทย์ มอ.ต่อผู้บริหารโดยตัวแทนของทั้ง 5 กลุ่ม

เมื่อได้ฟังทุกกลุ่ม กิจกรรมที่นำเสนอล้วนเป็นประโยชน์ต่อองค์กร คณะแพทยศาสตร์ เมื่อผู้บริหารองค์กรรับฟัง ขอให้ช่วยพิจารณาว่ากิจกรรมอะไรบ้างที่จะสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์

วัฒนธรรมองค์กร - การบริหารการเปลี่ยนแปลง โดย ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีควรเป็นอย่างไร หัวหน้า ลูกน้อง แต่ละคนมีบทบาทของตัวเอง การเข้าใจธรรมชาติของแต่ละคน เพื่อจะได้บริหารองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วันที่ 3 ตุลาคม 2558

ทฤษฎีกระเด้ง.. จากห้องเรียนผู้นำที่คณะแพทยศาสตร์ มอ. รุ่น 1 รุ่น 2 และ รุ่น 3.. สู่ก้าวอนาคตแบบ 3 V

-การถ่ายทอดประสบการณ์เมื่อเรียนรู้ทฤษฎีแล้ว นำมาปฏิบัติแล้วเกิดผลอย่างไรบ้าง การนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

-เกิดความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นพี่ รุ่นน้อง

-เกิดการแลกเปลี่ยนทางปัญญา

-เกิดองค์ความรู้ที่ยั่งยืน

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อดูกิจกรรมต่อเนื่อง

http://www.naewna.com/politic/columnist/21824

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท