(ขอบคุณภาพประกอบบันทึกจาก Internet)
ในเวลาที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดนโยบายในด้านการเผยแพร่ความรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาเซียน เพื่อสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมของครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษาและประชาชน เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ ตลอดจนกำหนดนโยบายด้านการพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษาและประชาชน ให้มีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน เช่น ความรู้ภาษาอังกฤษ ภาษาเพื่อนบ้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะและความชำนาญที่สอดคล้องกับการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรม
แต่พอได้ดูสถิติต่างๆ ของประเทศไทยเปรียบเทียบกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ดังตัวอย่างในภาพข้างล่างแล้ว ก็น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เพราะชี้ว่า เด็ก เยาวชนและคนไทยทั่วไป จะอยู่ในฐานะเสียเปรียบคนในประเทศสมาชิกอาเชียนอื่นๆ เมื่อประชาคมอาเซียนมาถึง ถ้าหากมัวชะล่าใจไม่หาทางแก้ไขจุดอ่อนต่างๆ ที่มีอยู่
ด้วย “คุณภาพของคนไทย” เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ที่จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถให้ความร่วมมือและแข่งขันได้อย่างมีศักดิ์ศรี กับประเทศสมาชิกอื่นๆ ในประชาคมอาเซียน ผู้เขียนจึงขอเสนอทางเลือกทางรอดของประเทศไทยในเวทีอาเซียน นั่นก็คือ “การสร้างคนไทยให้เป็นคนคุณภาพ” โดย “การสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพ” ขึ้นมา ซึ่งจะมีโอกาสทำได้สำเร็จกว่าการแก้ไขคนรุ่นเก่า ดังภาษิตไทยที่ว่า “ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก”
ไม้อ่อน ณ ที่นี้ หมายถึง “วัยเด็กตอนต้น หรือเด็กฐมวัย (Early Childhood)” ซึ่งอยู่ในช่วงอายุแรกเกิดถึง 6 ปี (การกำหนดอายุในแต่ละช่วงวัยในที่ต่างๆ มักไม่ค่อยตรงกัน) เนื่องจากเป็นวัยที่มีอัตราการเจริญงอกงามและพัฒนาการในทุกๆ ด้านสูงที่สุด และเป็นวัยของการสร้างฐานบุคลิกภาพ ที่จะส่งผลสำคัญต่อบุคลิกภาพเมื่อโตขึ้น จึงเป็นวัยที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการปลูกฝังทักษะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เปรียบเสมือนเหล็กที่ยังร้อน ที่สามารถตีให้เป็นรูปทรงต่างๆ ตามที่ต้องการได้ง่าย ดังภาษิตตะวันตกที่ว่า “Strike while the iron is hot.” อนึ่ง การได้รับการปูพื้นฐานที่ดีไปจากบ้าน จะทำให้สถานศึกษาซึ่งรับช่วงต่อในการพัฒนาอนุชน สามารถทำหน้าที่อย่างได้ผลมากขึ้น ดังคำคมของอริสโตเติ้ลปราชญ์ชาวกรีกที่ว่า “”Well begun is half done.”
สารสนเทศ (Information) ที่ผู้เขียนนำมาใช้ประกอบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เป็นคนเต็มคน มาจาก 2 แหล่งใหญ่ๆ แหล่งแรกคือ ประสบการณ์เชิงวิชาการของผู้เขียน ซึ่งมาจากการศึกษาอบรมหลักสูตรต่างๆ ด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย การก่อตั้งโปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัย ในสัดกัดคณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี (ณ ขณะนั้น) การผลิตครูปฐมวัย การเขียนตำราด้านพัฒนาการและการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย และที่สำคัญที่สุด คือ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) กับครูและผู้ปกครองของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1 (อายุ 4-5 ปี) ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยคู่ขนานกันไประหว่างบ้านกับโรงเรียน เป็นเวลา 2 ปี (รวมช่วงการศึกษานำร่อง การศึกษาเต็มรูป และการขยายผล) โดยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ดังตัวอย่างหลักฐานบางส่วนในภาพ
“กิจกรรมสร้างเสริมพัฒนาการเด็ก” จะเป็นกิจกรรมที่กำหนดหรือเสนอแนะให้ผู้ปกครองจัดให้กับเด็กในวันหยุดสุดสัปดาห์ ให้สอดคล้องกับหน่วยประสบการณ์ที่ครูจัดให้กับเด็กที่โรงเรียนในสัปดาห์ที่ผ่านมา อนึ่ง ในสารจะมีความรู้สำหรับผู้ปกครองชุด “การสอนลูกให้เป็นคนเก่ง ดี และมีความสุข” ฉบับละ 1 ตอน ดังตัวอย่าง เนื้อหาบางส่วนในตอนที่ 8 เล่านิทานให้ลูกฟัง ซึ่งจะบอกถึงประโยชน์ของการเล่านิทาน มีคำแนะนำวิธีการเลือกหนังสือนิทาน และวิธีการเล่านิทานที่จะช่วยให้เด็กได้รับทั้งความเพลิดเพลินและเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ด้วย
สื่อวีดิทัศน์ที่ใช้มีหลายประเภท ได้แก่ เพลง นิทาน งานประดิษฐ์ เกมการแข่งขัน สารคดี และสถานการณ์จำลอง เป็นต้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในบันทึกที่เกี่ยวข้อง เรื่อง “สอนลูกดูทีวี”…และ…“ดูรายการดีๆ จะเกิดคุณ”
โปรดติดตามตอนที่ 2 ที่จะกล่าวถึงสารสนเทศแหล่งที่สอง ที่ผู้เขียนจะนำมาใช้ประกอบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตรหลานจากช่วงปฐมวัยให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ ซึ่งมาจากประสบการณ์ในชีวิตจริงของผู้เขียน ทั้งในบทบาทของการเป็น “ลูก” ที่กำพร้าพ่อมาตั้งแต่ช่วงปฐมวัย (อายุประมาณ 4 ปี) เคยกินข้าวกับต้มหัวหอมแดงจิ้มน้ำพริกอย่างเดียวเพราะความขัดสน ตั้งใจจะรับแม่ไปอยู่ด้วยหลังแม่เกษียณอายุราชการ เพื่อชดเชยที่มีโอกาสอยู่กับแม่น้อยมาก และจะได้ดูแลให้แม่ให้ได้สุขสบายบ้างหลังตรากตรำในการเลี้ยงดูลูกทั้งห้ามานาน แต่ก็ไม่มีโอกาสเพราะแม่ด่วนจากไปหลังเกษียณอายุราชการเพียงไม่กี่เดือน และในบทบาทของการเป็น “แม่” ที่ต้องเลี้ยงลูกกำพร้าสองคนมาตั้งแต่ช่วงปฐมวัย แม่ที่รักลูกสุดหัวใจ แต่ในด้านการกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดูลูก มีทั้งที่ทำได้เหมาะสมก่อให้เกิดผลดี และที่ทำผิดพลาดไปก่อให้เกิดความเสียหาย ซึ่งจะนำมาเป็นอุทาหรณ์สำหรับกัลยาณมิตรในการดูแลบุตรหลาน ตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนเติบใหญ่
ขอขอบคุณทุกท่าน ที่กรุณาเข้ามาอ่าน ให้กำลังใจ และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
...ส่วนตัวแล้วคิดว่าการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเป็นการเปิดประเทศต้อนรับซึ่งกันและกัน มีการไปมาหาสู่กันด้วยระบบการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่งที่ทันสมัย สะดวกรวดเร็วทั้งการให้ความร่วมมือ และการให้ความช่วยเหลือกันในด้านเศรษฐกิจการเงิน ด้านการเกษตร การอุตสาหกรรม การแพทย์ การสาธารณะสุข การศึกษา และวิทยาศาสตร์ ฯลฯ...จึงอยากเห็นคนในทุกสถาบันของประเทศมีความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจที่ดีต่อกันก่อน... โดยเฉพาะสถาบันครอบครัวนะคะพี่ผศ.วิไล...
การเลี้ยงลูกที่เริ่มต้นที่บ้านส่งผลต่อเด็กตอนเป็นผู้ใหญ่มากเลยนะครับ
ชอบใจข้อมูลเรื่องอาเซียน ภาษาที่ใช้สื่อสารเป็นสิ่งสำคัญจริงๆครับ
ขอบคุณมากๆครับ
* เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ...การบ่มเพาะ..ปลูกฝังจริยธรรม..ภูมิปัญญา จากครอบครัวเป็นเรื่องสำคัญมากๆ
* ได้เคยเขียนเรื่องอย่างนี้ ชื่อ บันทึก :
ใช่แล้วค่ะอาจารย์....ในฐานะที่เป็นย่าจึงพยายามให้ความรัก + ความอบอุ่น ไม่ทอดทิ้งเจ้าฟ้าครามเพื่อบ่มเพาะให้เขาเป็นคนที่เต็มคนและมีคุณภาพไงค่ะ...พาเจ้าฟ้าครามมาสวัสดีด้วยค่ะ...
-สวัสดีครับอาจารย์แม่ไอดิน
-ตามมาอ่านและร่วมศึกษาแนวทางการสร้างคน..ครับ
-มีโอกาสได้ร่วมทำงานในพื้นที่โดยการส่งเสริมการดำเนินงานกลุ่มยุวเกษตรกร หวังไว้ว่าเด็ก ๆจะได้ซึมซับและมีความภูมิใจในอาชีพการเกษตร...ครับ
-สำหรับความร่วมมือได้รับเป็นอย่างดีจากผู้ปกครองสมาชิก
-ขอเป็นส่วนหนึ่งในการบ่มเพาะต้นกล้าเล็ก ๆ จากที่นี่ครับ..
-ขอบคุณครับ
เมื่อเด็กมาถึงมือเรา แต่นำเอา วัฒนธรรมใหม่ ที่ไม่พึงประสงค์ติดตัวมา ต้องใช้เวลาเกลานานมากนะคะ
ต้องใช้จิตวิทยาสูงมาก สำเร็จบ้างล้มเหลวบ้าง ระลึกถุงอาจารย์แม่มาก ส่งที่อยู่ให้ครูหยินด้วย
ขอบคุณกัลยาณมิตรทุกท่านมากนะคะ ที่กรุณามาให้กำลังใจและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมื่อวานจนถึงวันนี้ไอดินฯ ยังไม่เสร็จภารกิจที่มีกับทางโรงเรียนที่จะไปทำหน้าที่เป็นครูอาสาเลยค่ะ เสร็จภารกิจแล้ว เย็นๆ จะกลับมาพูดคุยกับแต่ละท่านะคะ
ขอบคุณ "น้อง ดร.พจนา " มากนะคะ ที่ให้แนวคิดที่เป็นหัวใจของการก่อตั้งประชาคมอาเซียน ที่มุ่งก่อให้เกิดความร่วมมือใน 3 ด้านใน 3 เสาหลัก ได้แก่ 1) ด้านความมั่นคงและการเมือง 2) ด้านเศรษฐกิจ และ 3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม ดังความเห็นของน้องที่ว่า "การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเป็นการเปิดประเทศต้อนรับซึ่งกันและกัน มีการไปมาหาสู่กันด้วยระบบการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่งที่ทันสมัย สะดวกรวดเร็วทั้งการให้ความร่วมมือ และการให้ความช่วยเหลือกันในด้านเศรษฐกิจการเงิน ด้านการเกษตร การอุตสาหกรรม การแพทย์ การสาธารณะสุข การศึกษา และวิทยาศาสตร์ ฯลฯ...จึงอยากเห็นคนในทุกสถาบันของประเทศมีความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจที่ดีต่อกันก่อน... โดยเฉพาะสถาบันครอบครัว"
โครงการความร่วมมือหนึ่งที่พี่เห็นว่า น่าสนใจมากคือ "โครงการป่าอาเซียน" ซึ่งสัมพันธ์กับ "การจัดการเรียนรู้ธรรมชาติศึกษา" ที่พี่จะกล่าวถึงในบันทึกตอนที่ 2 และจะขอนำภาพและสารสนเทศจากบันทึกของน้องไปประกอบด้วยนะคะ
ขอบคุณ "ลูกขจิต" มากนะคะ ที่สนับสนุนว่า การเลี้ยงดูบุตรหลานในวัยเด็ก ส่งผลต่อบุคลิกลักษณะของบุตรหลานเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่...ขออนุญาตกระซิบว่า สิ่งหนึ่งที่อาจารย์แม่อยากเห็นตรงกันกับคุณแม่ของลูกขจิต ก็คือ การมีครอบครัวของลูกขจิต เพราะเห็นความพร้อมในทุกๆ ด้านที่จะสร้างอนุชนที่มีคุณภาพให้กับประเทศชาติ
ตอนให้โอวาทนักเรียนในพิธีไหว้ครู อาจารย์แม่รับเป็นครูอาสาสอนเด็ก ป.4-6 ที่โรงเรียนบ้านหนองฝาง เพราะพบว่า ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของเด็กๆ แทบเป็นศูนย์ ทั้งสามชั้นเรียนรวมกัน ครูคนเดียวสอนทุกวิชา เมื่อวานคุยกับคูณครูที่สอน บอกภาคเรียนนี้ยังไม่ได้เรียนภาษาอังกฤษเลย พอขอดูหนังสือภาษาอังกฤษที่ครูใช้ ครูไม่มีแม้แต่เล่มเดียวทั้งสามชั้น และไม่มีแผนการสอน อาจารย์แม่เลยให้หนังสือไว้ศึกษา
ก่อนเปิดเรียนครูบอกว่าได้ไปอบรมการสอนภาษาอังกฤษมา อาจารย์แม่เลยขอสำเนาเอกสารการอบรมทั้งเล่มเพื่อเป็นกรอบในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกับครู ซึ่งจะใช้หลักการเรียนรู้ภาษาแบบสนุกๆ เพื่อให้เด็กรักการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ และจะนำกิจกรรมต่างๆ ตามที่ลูกขจิตเผยแพร่ ไปประยุกต์ใช้ด้วยค่ะ อาจารย์แม่ได้ไปสำรวจและมอบใบแจ้งราคา Projector ให้ครูนำไปเสนอที่ประชุม เพราะอยากให้เด็กเรียนรู้จาก Multimedia ด้วยค่ะ เลยพยายามจูงใจให้ครูเห็นประโยชน์ของการมี Projector ในการพัฒนางานด้านต่างๆ ไม่เฉพาะใช้ในการสอนภาษาอังกฤษ)
สวัสดียายไอดิน
๑.ป๋าเดแวะมาให้กำลังใจ และชื่นชมในความสามารถของท่านครับ
๒.บ้านเราเป็นอย่างไรบ้างครับ ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลไหมครับ ส่วนที่พิษณุโลกฝนดีมาก
๓.ผมไม่ได้เข้าบล๊อกเสียนาน พึ่งเข้าวันนี้ครับ
เคารพท่านทั้งสองเสมอ
ขอบพระคุณมากค่ะ "พี่ใหญ่" คงไม่ใช่เฉพาะบันทึกที่พี่ใหญ่แนะนำนะคะ มีอีกหลายบันทึกของพี่ใหญ่เลยค่ะ ที่น้องจะขออนุญาตนำไปอ้างอิงในบันทึกตอนที่ 2 ดังภาพ และตัวอย่างข้อความที่ยกไปอ้าง "...อดีต คือรากฐานของ ปัจจุบัน สู่ อนาคต..ที่เป็นวัฏจักร..หากเริ่มต้นดีๆ และพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วย คุณธรรมนำความรู้..ทั้งสามช่วงเวลาคือองค์ประกอบที่เกื้อหนุนกัน..."
ขอบคุณ "คุณย่าบุษยมาศ" มากนะคะ ไอดินฯ ประทับใจในสายสัมพันธ์ย่า-หลานและการใส่ใจในการกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดู ตลอดจนการบันทึกเรื่องราวและภาพพัฒนาการของหลาน ของคุณย่าบุษยมาศเป็นอย่างยิ่ง และจะขออนุญาตนำไปเป็นกรณีตัวอย่างในบันทึกตอนที่ 2 ด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ
ชื่นชม "คุณเพชรน้ำหนึ่ง" ข้าราชการคุณภาพ ที่ได้ดำเนินโครงการดีๆ ที่มีคุณประโชน์ต่อทั้งอนุชนและผู้ใหญ่ในชุมชน และขอบคุณในหลายๆ บันทึกของคุณเพชรน้ำหนึ่ง ที่นำความสุขใจมาให้อาจารย์แม่ไอดินฯ จากการถูกกระตุ้นเตือนให้นึกถึงความสุขในอดีต และเป็นแรงบันดาลใจให้ก่อตั้งศูนย์เรียนรู้ธรรมชาติศึกษา แหล่งรวบรวมสารสนเทศเกี่ยวกับทรัพยากรทุกชนิดในป่าอีสาน เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้สนใจค่ะ
ขอบคุณค่ะ "ครูหยิน" คุณครูผู้เป็นปูชนียบุคคล สำหรับที่อยู่ดูจากภาพล่างนะคะ
ขอบคุณ "ป๋าเด" มากนะคะ ที่ไม่ทอดทิ้งยายไอดินฯ นานๆ ครั้งเข้ามาก็ไม่เป็นไรหรอกค่ะ ขอเพียงอย่าหายไปเลยก็พอ ไม่งั้นชาว GotoKnow คิดถึงแย่เลย อย่าลืมว่า ป๋าเดก็เป็นส่วนหนึ่งของบ้าน GotoKnow นะคะ
เดือน พ.ค. ฝนตกแค่ 5 วัน (พ่อใหญ่สอบันทึกไว้) แต่เดือน มิ.ย. นี้ ตกแทบทุกวันเลยค่ะ
-ขอบคุณยายไอดินฯที่ไม่ทอดทิ้งป๋าเด...ป๋าเดไม่เคยคิดจะทอดทิ้งเพื่อนๆชาว GotoKnow คนไหนเลยมีแต่ชาวGotoKnow นั่นแหละทอดทิ้งป๋าเด.......?????
--เดือนนี้ป๋าเดจะไปแข่งวู้ดบอลคัดเลือกตัวแทนภาค ๕ เพื่อให้ได้สิทธิ์ไปแข่งขันกีฬาแห่งชาติปีนี้ที่โคราชบ้านเอ็ง....ส่วนเดือนกรกฎาคมป๋าเดเป็นตัวแทนจังหวัดไปแข่งขันกีฬาวู้ดบอลผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย ที่จังหวัดภูเก็ต ยายไอดินส่งกำลังใจไปเชียร์ป่าเดบ้างเด้อ ผลเป็นอย่างไรจะเล่าสู่ฟัง
-ฝนบ้านเราตกดีนะป๋าเดกลับบ้านไปงานวันเกิดแม่เมื่อ ๑ มิ.ย.ที่ผ่านมาน้องก็กำลังจะได้ทำนาแล้วถ้าฝนตกก็ไม่ได้ตัดยางใช่ใหมยายไอดินฯ.....เล่าเรื่่องสวนยาง (ทำมาหากิน) บ้างนะ แล้วยายไอดินฯไปเป็นครูอาสาโรงเรียนไหนเอ๋ย.....
แล้วยายไอดินฯ จะส่งใจไปเชียร์ "ป๋าเด" ทุก Matches เลยนะคะ ดีจังเลยได้ทั้งแข่งกีฬา ทั้งได้เที่ยวทั่วไทย ตอนเขียนเล่าอย่าลืมเพิ่มภาพแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดที่ได้ไปเยือน ให้ชมบ้างนะคะ
ตอนนี้ยายไอดินฯ กำลังเตรียมเป็นครูภาษาอังกฤษ ต้องลดหลักสูตรจากระดับปริญญาตรีมาเป็นระดับ ป.4-6 ต้องปรับตัวมากเหมือนกันค่ะ ดีใจที่เสนอขอให้ทางโรงเรียนซื้อ Projector เพื่อให้เด็กเรียนจาก IT ได้ ไม่คิดเลยว่าทางโรงเรียนจะตอบสนองเร็วขนาดนี้ เมื่อเช้าโทรฯ ถามความคืบหน้า ครูที่จะสอนด้วยกันบอกว่าซื้อมาเรียบร้อยแล้ว (ยายไอดินฯ เข้าเมืองไปส่งพ่อใหญ่สอขึ้นเครื่องไป กทม.แล้วต่อไปเชียงใหม่ ไปเยี่ยมลูกหลานที่ลำพูน ผลัดกันไปค่ะ) จะสอนวันพฤหัสฯ และศุกร์วันละชั่วโมงครึ่งค่ะ เรียนรวมทั้ง 3 ชั้น โรงเรียนที่ตั้งฟาร์มนั่นแหละค่ะ
เรื่องกรีดยาง ฝนตกก็เลยไม่ค่อยได้กรีดค่ะ น้ำยางหน้านี้ก็ไม่ค่อยไหล คนกรีดขายแล้วบอกขอรับเงินไปทั้งหมด เป็นอย่างนี้แหละลูกน้องพ่อใหญ่สอ เขาไม่คิดเลยว่า แต่ละปีเราลงทุนไปเยอะ เฉพาะค่าปุ๋ยก็เป็นแสน...
สาธุ...ขอบคุณ "น้องมะเดื่อ" มากนะคะ ที่นำบุญมาฝากพี่ ดีใจด้วยค่ะ ที่ได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนฝ่ายหญิง ไปต่อยอดที่โคราช เห็นน้องบอกว่าเครียดๆ กับบรรยากาศที่โรงเรียน และการได้ออกไปเปลี่ยนบรรยากาศกับกิจกรรมภายนอก ได้ทำให้ผ่อนคลายขึ้น ช่วงนี้เองก็อยู่ในบรรยากาศของการเตรียมเป็นครูอาสาจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสมรรถนะในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารให้กับเด็ก ป.4-6 ค่ะ
“วัยเด็กตอนต้นหรือช่วงปฐมวัย” เป็นวัยที่มีอัตราการเจริญงอกงามและพัฒนาการในทุกๆ ด้านสูงที่สุด และเป็นวัยของการสร้างฐานบุคลิกภาพ ที่จะส่งผลสำคัญต่อบุคลิกภาพเมื่อโตขึ้น จึงเป็นวัยที่เหมะสมที่สุดสำหรับการปลูกฝังทักษะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เปรียบเสมือนเหล็กที่ยังร้อน ที่สามารถตีให้เป็นรูปทรงต่างๆ ตามที่ต้องการได้ง่าย"
สวัสดีค่ะ ตามมาเรียนรู้กับอาจารย์ค่ะ ขอเก็บเกี่ยวความรู้ ประสบการณ์กับอาจารย์ค่ะ ศิษย์มีความเชื่ออย่างอาจารย์กล่าวไว้ในข้างต้นเช่นกันค่ะ วัยเด็กตอนต้นเปรียบเหมือนผ้าขาวหากผู้ใหญ่เราแต่งแต้มสีสันที่สดใส สวยงาม (ปลูกฝังสิ่งดีๆ) ให้กับเขา ก็เชื่อได้ว่าอนาคตข้างหน้าย่อมเป็นเยาวชนที่มีคุณภาพค่ะ
ขอบพระคุณค่ะอาจารย์
มาแจ้งอาจารย์แม่ว่า
ส่งมาที่ ห้อง 1414 สิริภัสร์เพลส เลขที่ 81 หมู่ 12 ตำบลกำแพงแสน
อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140 ครับ
ขอบพระคุณมากครับ รอดูผักเจริญเติบโต
คงไม่จมน้ำไปก่อนนะครับ 555
มาแจ้งอาจารย์แม่ว่า
หมวก ปากกา และข้าวโพด เดินทางมาถึงแล้วครับ
ขอบพระคุณมาก
จะฝากหมวกและปากกาให้ครูหยินและครูมะเดื่อนะครับ
ข้าวโพดผมขอเพาะก่อนแล้วจะขยายพันธุ์ให้สมาชิกต่อไปครับ
ขอบคุณมากๆครับ
ขอบคุณ "ลูกขจิต" มากนะคะ ที่แจ้งข่าวพร้อมภาพสิ่งของที่อาจารย์แม่ส่งไปให้ เห็นลูกขจิตบอกจะส่งต่อไปให้น้องมะเดื่อกับครูหยิน อาจารย์แม่รู้สึกเกรงใจมาก อาจารย์แม่แค่ให้ช่วยมอบให้เวลาเจอกัน เพราะเห็นมีโอกาสพบกันบ่อยน่ะค่ะ
ดีจังค่ะ ที่ลูกขจิตจะเพาะเมล็ดข้าวโพดข้าวก่ำ เพื่อขยายพันธุ์แล้วนำไปแจกสมาชิกต่อ จากที่อาจารย์แม่ค้นข้อมูลเกี่ยวกับข้าวโพดพันธุ์นี้ สรุปได้ว่า ในการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ "ดาวเด่นในการประชุมครั้งนี้ ก็คือ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพด จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งชูข้าวโพดพันธุ์ใหม่พันธ์ข้าวก่ำ จุดขายคือสารสีม่วง ที่เรียกว่าแอนโทไซยานีน ซึ่งมีมากมายในข้าวโพดชนิดนี้ที่สามารถนำไปสกัดเป็นส่วนผสมของอาหารเพื่อสุขภาพ เพราะสารนี้ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันคอเลสเตอรอล ป้องกันมะเร็ง ฯลฯ ซึ่งข้าวโพดพันธุ์นี้มีสารชนิดนี้มากกว่าพืชตัวอื่นๆ ทั้งฝัก ใยไหม ลำต้น แม้แต่ "ซัง" ก็ยังสามารถสกัดสารชนิดนี้ออกมาได้ ล่าสุดมีการสนับสนุนการแปรรูปไปสู่วิสาหกิจชุมชน ตั้งแต่การขายฝักข้าวโพดต้ม ทำคุกกี้ สู่แปรรูปเป็นสแน็ก และท้ายที่สุดนำมาผสมน้ำมะเกี๋ยง น้ำมะเม่า หรือบลูเบอรี่ จำหน่ายเป็นน้ำสมุนไพรและเตรียมจะต่อยอดสู่ธุรกิจยารักษาโรค ด้วยการทำวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับความสามารถในการรักษาโรคมะเร็ง และโรคอื่น ๆ เกี่ยวกับข้าวโพดข้าวก่ำโดยเฉพาะ
อาจารย์แม่นำภาพผักที่ปลูก มา Update ด้วยค่ะ
ขอบคุณอาจารย์แม่มากครับ
เมล็ดผักโตไวมาก
ดีใจที่เห็นชมจันทร์และผักชนิดอื่นโต
เจ้าตะคึกใช้เวลางอกนานมากๆครับ
ข้าวโพดพันธุ์นี้น่าสนใจผมจะเพาะเอาไว้มากๆเอาไว้แจกสมาชิกเรานะครับ
ขอบคุณอาจารย์แม่มากๆครับ
สวัสดียายไอดินฯ
ทีมชายของป๋าเดได้ที่ ๓ อดไปโคราช แต่ทีมหญิงได้เหรียญเงินทั้งสองรายการคือประเภททีมนับคะแนน และประเภททีมนับประตู รวมทั้งสิ้น ๑๑ คน ได้สิทธิ์ไปแข่งขันในฐานะทีมรองชนะเลิศ ส่วนป๋าเดก็ต้องเป็นผู้จัดการทีมพาคณะไปจ้า...สัญญาว่าจะเขียนในบล๊อกนะครับยายไอดินฯ...
สวัสดียายไอดิน
เห็นเงียบหายไม่สบายหรือเปล่าว...ดูข่าวฝนตกหนักนะอุบลฯ เป็นอย่างไรบ้าง ป๋าเดกลับจากภูเก็ตแล้วทีมชายได้ที่ 4 แพ้ที่ 3 เพียงแต้มเดียว (ชายมีทั้งหมด 46 ทีม) ส่่วนทีมหญิงได้ที่ 5 (มีทั้งหมด 30 ทีม) ขอโทษที่มีรูปมาฝากยายไอดินฯน้อยมากดูได้นะบล๊อกนะครับ.....
เพิ่มเติมอีกนะยายไอดิน......ป๋าเดฝากหาข้อมูลน้องชายเพื่อนเป็นครูสอนแถวบ้านยายไอดินฯ (เพื่อนป๋าเสียชีวิตนานแล้วเป็นนักมวยและเป็นทหารอากาศ บ้านอยู่ห้วยขะยุง ป๋าเดเคยให้ลูกสาวเพื่อนมาเป็นอาจารย์อัตราจ้างสอนที่ วพ.ที่ชัยภูมิ) น้องชายคนนี้เป็นครู ชื่อครูโต้ง...นะอยากติดต่อกับน้องไม่ได้พบกันนานมาก
เป็นบทความที่ดีมากครับ สำคัญมากสำหรับ คนรุ่นใหม่ที่เป็นพ่อและแม่คน ขออนุญาตินำเผยแพร่ในเครือข่ายของผมด้วยครับ