บทเรียนการปฎิรูปการศึกษาเข้าสู่แนวทางการรับใช้สังคมของมหาวิทยาลัยนำร่อง ๖ แห่ง (ตอนที่ ๑)


ขอนำบทเรียนการปฎิรูปการศึกษาเข้าสู่แนวทางการรับใช้สังคม ของ มหาวิทยาลัยนำร่อง 6 แห่ง คือ ม.มหิดล ม.ธรรมศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ม.เทคโนโลยี่พระจอมเกล้าธนบุรี ม.ราชภัฏอุตรดิตถ์ และสถาบันอาศรมศิลป์ มาถ่ายทอดให้ทราบถึงการลงมือปฏิบัติจริงที่ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ของการปฏิรูปการศึกษาเพื่อผลิตบัณทิตพลเมืองดีผู้รับผิดชอบต่อสังคมของประเทศ ที่น่าจะเป็นแรงบันดาลใจ สำหรับผู้เกี่ยวข้องในวงการศึกษา นำไปปรับใช้ตามบริบทของสังคมแต่ละแห่งต่อไป

สืบเนื่องจากบันทึกเรื่อง"สนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาผลิตบัณทิตมีคุณภาพเพื่อสังคมเป็นสุข"

http://www.gotoknow.org/blog/nongnarts/448028

ข้าพเจ้าขอนำบทเรียนการปฎิรูปการศึกษาเข้าสู่แนวทางการรับใช้สังคม ของ มหาวิทยาลัยนำร่อง 6แห่ง คือ ม.มหิดล ม.ธรรมศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ม.เทคโนโลยี่พระจอมเกล้าธนบุรี ม.ราชภัฏอุตรดิตถ์ และสถาบันอาศรมศิลป์ มาถ่ายทอดให้ทราบถึงการลงมือปฏิบัติจริงที่ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ของการปฏิรูปการศึกษาเพื่อผลิตบัณทิตพลเมืองดีผู้รับผิดชอบต่อสังคมของประเทศ ที่น่าจะเป็นแรงบันดาลใจ สำหรับผู้เกี่ยวข้องในวงการศึกษา นำไปปรับใช้ตามบริบทของสังคมแต่ละแห่งต่อไป

ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกูล รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เล่าถึงประสบการณ์ที่เริ่มต้นด้วยการจัดตั้ง "ศูนย์อาสาสมัครมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" และสร้างกลไกสนับสนุนการบ่มเพาะจิตอาสาของนักศึกษา จนเกิดการปรับเปลี่ยนหลักสูตร TU 100 วิชาพลเมือง สำหรับนักศึกษาปีที่หนึ่ง ซึ่งเป็นรายวิชาใหม่ ที่เน้นการเรียนรู้แบบ Problem- Based Learning และ Project-Based Learning ที่เชื่อมโยงตนเองว่า อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดปัญหา และสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง เพื่อสร้างจิตสำนึกในการเป็นพลเมืองดีให้กับสังคม

กระบวนการเรียนรู้ จะสร้างบทบาทใหม่ให้นักศึกษาเป็น "ประธานการเรียนรู้" และอาจารย์ผู้สอนเป็น "วิทยากรกระบวนการ" อีกทั้งมีการขยายผลวิธีการเรียนการสอนไปสู่นักศึกษาปีที่สี่ ในรายวิชาจริยธรรมของนักกฏหมาย คณะนิติศาสตร์ ที่ได้นำความรู้ และกระบวนการเรียนรู้ไปทำงานร่วมกับชุมชน เพื่อแก้ปัญหาตามโจทย์ของชุมชน เป็นการเรียนรู้เพื่อบริการสังคม

ผศ.สุนันทา วิบูลย์จันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงรูปแบบการดำเนินการในเรื่องนี้ว่า เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ที่เน้นให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ หรือเครื่องมือที่ได้จากวิชาชีพ และวิชาเฉพาะ ไปช่วยแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สังคม โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ๓ วิชา สำหรับนักศึกษาชั้น ปีที่ ๑ คือ มมศท๑๐๑ การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ มมศท ๑๐๒ สังคมศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์ และ มมศท ๑๐๓ ศิลปวิทยาการเพื่อการพัฒนามนุษย์ ตามแนวคิดของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) คือการศึกษาต้องพัฒนาคนให้เป้นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ด้วยการดำเนินชีวิตได้ดีงาม มีความสุข อยู่กับสังคม ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม อย่างเกื้อกูล สามารถนำความรู้หรือเครื่องมือที่ได้จากวิชาชีพ/วิชาเฉพาะ ไปช่วยแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สังคม

รศ.อำนาจ เย็นสบาย คณบดีวิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้เล่าถึงที่มาของการจัดตั้งวิทยาลัยแห่งนี้ที่จังหวัดสระแก้ว (เทียบเท่าคณะ) เพื่อพัฒนาบุคลากรในท้องถิ่นเป็นหลัก โดยจัดหลักสูตรตามความต้องการของท้องถิ่น ด้วยการสร้างความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้อง ๕ ด้าน คือ ผู้บริหารระดับท้องถิ่น NGO ชุมชน ผู้ประกอบการ และมหาวิทยาลัย โดยมี เป้าหมายเพื่อผลิตบัณทิตคืนถิ่นให้เป็นผู้นำชุมชน ที่เป็นคนมีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรมจริยธรรม และมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

รศ.ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้กล่าวถึงยุทธศาสตร์สำคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้น การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการกับการทำงาน ( Work Integrated Learning:WIL ) ให้นักศึกษาเรียนรู้จากโจทย์ของสังคม อันประกอบด้วยโจทย์ชุมชน และสถานประกอบการ เพื่อให้มีโอกาสได้เข้าใจปัญหาที่แท้จริง ก่อนการลงมือแก้ไขปัญหาของชุมชนและสถานประกอบการ

รศ.ดร.ฉัตรนภา พรหมมา อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำเสนอรูปแบบของการศึกษาควบคู่การพัฒนาท้องถิ่น โดยสนับสนุนอาจารย์และบุคลากรอย่างโดดเด่นด้านพัฒนานวัตกรรม การบริหารจัดการแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาพื้นที่ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรภาคีอย่างเป็นระบบ โดยใช้งานวิจัย เป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงข้อมูล สถานการณ์ปัญหา และ คน ในพื้นที่ ผ่านรูปแบบการบริหารจัดการ ๔ ด้าน ที่เรียกว่า RICN Model (R=Research , I=Integration , C=Communication , N=Network ) เพื่อเชื่อมโยงบุคลากร นักศึกษา และทรัพยากรในมหาวิทยาลัย ร่วมกันแก้ปัญหาของท้องถิ่นและสังคม

รศ.ประภาภัทร นิยม รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย สถาบันอาศรมศิลป์ ได้เล่าถึงหัวใจสำคัญของกระบวนการเรียนรู้เพื่อสังคมที่สถาบันแห่งนี้ ว่า ต้องการสร้าง ทักษะภายในตน ด้วยการฝึกฝน กาย ใจ สติปัญญา เพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์และร่วมเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างมีคุณภาพ โดยมีองค์ประกอบของกลไกขับเคลื่อน ๓ ด้านคือ การเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง (Deep Learning) การเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง (Learning by Doing) การเรียนรู้จากการสื่อสาร (Communication- Based Learning)

ผลการจัดการศึกษาในลักษณะดังกล่าว ทำให้นักศึกษา เห็นคุณค่าและความรู้ที่ตนได้รับ นำไปใช้ในการทำงาน เกิดทักษะในวิชาชีพอย่างแท้จริง ในขณะที่กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสถาบันฯและชุมชน ได้มีส่วนเสริมสร้างศักยภาพผู้นำชุมชน ให้สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง

ในตอนที่ ๒ ข้าพเจ้าจะได้นำบทเรียนรู้จากการบอกเล่าของผู้ปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง คือ ผู้บริหารการศึกษา อาจารย์ผู้สอน นักศึกษา และชาวบ้านในชุมชน จากเวทีสัมมนานี้ ถ่ายทอดให้ทราบต่อไป

หมายเลขบันทึก: 449065เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2011 18:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2016 14:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
  • สวัสดีค่ะ พี่ใหญ่
  • จากหลักการสู่การปฏิบัติ
  • น่าชื่นชม  ยอดเยี่ยมทุกท่านค่ะ

สวัสดีค่ะ   

    ดานำลำไยมาฝากค่ะ  ถ้าทานลำไย

     แล้วเก็บเมล็ดทำเป็นผงไว้นะคะ

 

 

http://gotoknow.org/blog/kanda02/449216

 

สวัสดีวันพระค่ะพี่ใหญ่

เห็นนิมิตหมายดีๆ ของการศึกษาเชิงรุก เข้าถึงชุมชนค่ะ

ฝากความคิดถึงผ่านสายฝนพรำ สุขสันต์และฝันดีค่ะ

สวัสดียามดึกนะคะพี่ใหญ่ ชื่นชมในการจัดการศึกษาที่ท่านผู้ใหญ่ให้ความสำคัญ วันนี้ฝนยังตกพร่ำๆ ชุ่มฉ่ำจริงๆค่ะ

สวัสดีค่ะพี่ใหญ่ที่คิดถึง

  • เป็นเรื่องที่น่ายินดีมากนะคะ ถ้าทำได้จริงนับว่าเป็นโชคดีของประเทศไทยค่ะ
  • เนื่องในโอกาสวันเข้าพรรษานี้น้องขอฝากความรู้สึกที่ดีดีจากใจดวงน้อยๆมาถึงพี่ใหญ่ด้วยนะคะ " จิตสงบ ใจสบาย กายเป็นสุข " ค่ะพี่
  • ด้วยความระลึกถึงเสมอค่ะ

พี่ใหญ่ครับ ชัดเจนมากเลยนะครับในแต่ละมหาวิทยาลัย ขอบคุณครับที่นำมาถ่ายทอดให้อ่าน...

ผมเองก็กำลังเดินทางในระยะต้นครับ  แม้จะไม่ได้สอนวิชาพลเมืองโดยตรง  แต่ก็โหมโรงเรื่องกิจกรรมนอกชั้นเรียนเรื่องจิตอาสามาต่อเนื่อง และเห็นเป็นรูปธรรมขึ้นทุกระยะๆ

ตอนนี้เปิดวิชา "พัฒนานิสิต" กำลังเรียนและสอนได้ไม่ถึงเทอม  เน้นให้ผู้สอนเป็น เพียงผู้นำ "กระบวนการ"  มีบรรยายแค่ 30 % ที่เหลือเป็นการเรียนรู้ผ่านการ "ทำจริง"  มีเป้าหมายเป็นพื้นที่ในมหาวิทยาลัยและพื้นที่รายรอบมหาวิทยาลัย...

ปีการศึกษา 2554  เป็นปีขับเคลื่อนเรื่อง "จิตสาธารณะ"  ซึ่งคาดว่าคงไม่หลงทางเท่าไหร่นัก เพราะเอา "อัตลักษณ์" ของนิสิต และลักษณะคุณธรรม 4 ประการของนิสิตมหาวิทยาลัยมาเป็น "ฐานคิด" ...

ขอบพระคุณครับ

สวัสดีค่ะพี่นงนาท

โลกเปลี่ยนไป การศึกษาไทยไม่หยุดนิ่ง ชื่นชมในความมุ่งมั่นพัฒนานี้ค่ะ

Ico48 น้องครูธรรมทิพย์ Ico48 น้องกานดา Ico48 น้อง poo Ico48 น้องRinda

Ico48 น้องมนัสดา Ico48 น้องดร.ขจิต Ico48 น้องแผ่นดิน Ico48 น้องถาวร

Ico48 น้องกล้วยไม้สีชมพู Ico48    น้องชยันต์ เพชรศรีจันทร์

Ico48    น้อง ผอ.บวร Ico48    น้องบ้านเรียนสมดุลชีวิต รังสิตคลอง 7

Ico48    น้องมะลิ มะลิ สิงห์ชัย Ico48    น้องTum Laksana Rodtrakul

Ico48    น้องมะปรางเปรี้ยว Ico48    น้องหนานเกียรติ

ขอบคุณมากค่ะสำหรับดอกไม้และกำลังใจแก่บทเรียนดีๆจากการปฏิบัติจริงในการพัฒนาวิชาการสายรับใช้สังคมของ ๖ มหาวิทยาลัยนำร่อง เช่นนี้..

..บทเรียนเหล่านี้ สะท้อนการขยายกรอบและบริบทในการเรียนรู้ที่จะทำให้นักศึกษาพัฒนาจิตสำนึกร่วม และพัฒนาทักษะในการทำงานในพื้นที่ชุมชน ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่ายในการแก้ปัญหาสังคมที่ตรงจุดค่ะ..

 

 

Ico256     น้องหนานเกียรติ

พี่ใหญ่ขอรำลึกถึงสิ่งดีๆมากมายที่เธอมอบแก่สังคม..สะท้อนจากบทความและกิจกรรมดีๆ ที่เธอเขียนแบ่งปันให้พวกเราได้อ่านตลอดมา..

การเคลื่อนไหวครั้งสุดท้ายของเธอในบ้าน G2K ได้หยุดอยู่ที่บันทึกนี้และก่อนหน้านี้ของพี่ใหญ่..เธอมามอบทั้งดอกไม้เป็นกำลังใจและความระลึกถึงกัน..เราจะต่างมีกันและกันในใจตลอดไป..พี่กำลังจะขึ้นบันทึกตอนต่อไป หวังว่าเธอจะได้อ่านต่อจากอีกมิติหนึ่งด้วยความสุขนะคะ..

ไม่ต้องห่วงน้องกวางและหลานเฌวา..พวกเราเหล่ากัลยาณมิตรที่นี่ จะดูแลใส่ใจดวงใจของเธออย่างดีที่สุดค่ะ..

 

    ขอเป้นส่วนร่วมมาเติมเต็มการศึกษาที่หายไป  วิชาและจรณะ และร่วมเอาใจใส่อนุชนร่วมกันค่ะ 

     กัลยณมิตรอีกคนค่ะ

       ยาดมเอง

...เห็นด้วยกับแพทย์ใหญ่ ..... กับ..... แนวคิด และวิธีการ  นะคะ ..... 


ขอบคุณพี่ใหญ่ค่ะ 

น้องพานทอง../น้อง Dr.Ple.../น้องพีรวัศ

* สวัสดีค่ะ ขอบคุณมากสำหรับกำลังใจมอบแก่บันทึกนี้ค่ะ

* น้องพานทอง..การศึกษาแนวใหม่บนพื้นฐานของจิตอาสาเพื่อสังคม คือการปูทางสู่ความสุขร่วมกันอย่างยั่งยืนค่ะ

* น้อง Dr.Ple...เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขวิกฤตของชาติในทุกๆด้าน..ขอหวังให้ได้เห็นการขับเคลื่อนอย่างจริงใจและจริงจังจากทุกกฝ่ายนะคะ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท