ความสุขเมื่อทำ KM


ทุกคนต้องเจอกับตนเองจึงจะเข้าใจเข้าถึงได้ อธิบายนั้นก็ได้แค่ภาพลาง ๆ เนื้อแท้ต้องทำเองและเจอเองครับ
         มีเพื่อนร่วมงานเคยพูดล้อผมว่า "เติ้นเคเอ็มขึ้นสมอง" (เติ้น : ภาษาคนใต้พูดถึงตัวบุคคล คล้าย ๆ กับ คำว่า "ลุง ป้า น้า อา พี่ น้อง คุณ " ที่ใช้พูดบ่อยคือให้เกียรติกับคู่สนทนาเป็นสำคัญ  คือมีความรู้สึกที่ดีต่อเขาว่างั้นครับ)  
         ผมก็ได้แต่ยิ้ม ๆ แล้วตอบไปแบบเรียบง่ายว่า.. "ก็มีความสุขดีนี่เวลาทำ
เคเอ็ม"  เขาก็พูดทีเล่นทีจริงว่า อธิบายซิมันสุขอย่างไร ไม่เชื่อ...และหัวเราะ   โดนแบบนี้ต้องคุยให้ฟังกันหน่อย  แต่จะคุยอย่างไรมันก็ยากที่จะให้เขาเข้าใจความรู้สึกของเรา  เพราะมันเป็นเรื่องของความรู้สึกที่มีอยู่ที่ได้พบประสบมา มันไม่มีตำรา ไม่มีรูปแบบอะไร จับต้องไม่ได้ แต่รู้สึกได้.. ความรู้สึกนี่จะวัดกันอย่างไรดี  

         ผมบอกเพียงว่าหากเราพบคนดี ๆ บ่อย ๆ พูดคุยกันแบบมีสาระ เปิดใจคุยกัน   มีอะไรก็แบ่งกันแลกกันด้วยความจริงใจช่วยเหลือกัน ก็มีความสุขมากแล้ว  เพราะในวงพูดคุยหากทุกคนเข้าถึง และเข้าใจในคน KM ด้วยกัน ทุกอย่างเรียบง่ายไม่มีพิธีการอะไร ไม่มีกรอบ ขอบเขต ชั้น  แต่ก็ไม่บ่อยนักที่จะเจอดังที่ว่า..  แต่ถ้าเจอกันได้จริง ๆ จะมีความสุขใจมาก ให้เกียรติแบ่งปัน ช่วยเหลือ ร่วมมือ ให้กำลังใจ ไม่มีการแข่งขัน อะไรอีกมากมายที่ไม่สามารถกล่าวได้

         เพื่อน ๆ บอกว่า เท่าที่เจอมาทำ KM ที่ไรเห็นมีแต่คนพูดเก่งพูดอยู่คนเดียว  หรือบางครั้งก็แย่งกันพูดจนไม่รู้จะฟังใคร  และในที่สุด KM ก็เป็นเรื่องน่าเบื่อ ผมก็บอกว่านั้นไม่ใช่ KM มั้ง เขาจัด KM จริงแต่มันไม่ได้เกิด KM  ไม่ใช่เท่าแต่ท่านที่เจอ  ผมก็เจอมาแล้วหลายวงหลายเวที  แต่นั้นเมื่อวิเคราะห์แล้วมันไม่ใช่เวที KM นี่  ถ้าเป็นแบบนั้น เราจะเรียกว่า KM ไม่ได้เลย  แล้วจะเรียกว่าอะไรล่ะเขาถาม ผมก็บอกว่าผมตั้งชื่อให้ไม่ได้หรอกเพราะไม่รู้จะตั้งว่าอะไร  แต่ที่แน่ ๆ ไม่ใช่  KM แน่นอน
         แล้ววง KM เป็นอย่างไรล่ะ ?  แบบไหนกัน ?  เขาก็ถามผมไปเรื่อย ๆ ผมก็ไม่รู้จะตอบอย่างไรดี  เพราะ KM ที่ผมเคยทำมาก็คือการทำกิจกรรมเรื่องของความเป็นจริง  ไม่ใช่เรื่องของจินตนาการ  หรือทำเพื่อให้ได้ทำ สามารถตอบคำถามที่ใครถามว่า  "ทำ KM ยัง"  ตอบว่า "ทำแล้ว"  คือทำเพื่อรายงานและนับจำนวน ผมจึงตอบแบบให้ไปคิดเอาเองว่า.. 

        พระท่านสอนอะไรเราบ้างเวลาเราไปวัด ฟังเทศน์  ฟังธรรม   หรือตอนที่เราเรียนหนังสือ  ครูเคยสอนเราเรื่อง อริยสัจสี่ ก็เป็นอย่างนั้นแหละ  หากเข้าใจหลักธรรมคำสอนพุทธศาสนานั่นคือใช่เลย  ที่ผมตอบโดยกล่าวเรื่องของธรรมะ  อ้างถึงดังนี้เพราะในช่วงแรกของการเรียนรู้ของผม เรื่อง KM ก็มีผู้รู้ก่อนผมบอกมาหรือชี้แนวทางให้เรียนรู้ดังที่ว่านั้น...  ทั้งพูดคุย  อ่านหนังสือ  ตอนแรก ๆ ก็งง ๆ ไม่เข้าใจได้สักเท่าไหร่  มีวิทยากรถ่ายทอด  ทั้งหนังสือเอกสาร การฟังบรรยาย  มีการกล่าวถึง อริยสัจสี่  ซึ่งเป็นหลักธรรมพุทธศาสนา  ว่าด้วยการหลุดพ้นจากทุกข์ ... 

เป็นดังนี้แล้วผมเองก็หวลนึกถึงตอนเรียนชั้นประถม ที่โรงเรียนวัดเทวสิทธิ์ เป็นโรงเรียนวัด ในตำบลนาบอน อำเภอนาบอน(ปัจจุบัน) แต่ไม่ได้เรียนในวัดแล้วในช่วงที่ผมเรียน ในช่วงที่เรียนมีวิชาหน้าที่พลเมือง ศีลธรรม ซึ่งเรียนคู่กัน คุณครูพาพวกเราไปหาหลวงพ่อให้สอนเราเสมอ สอนให้เป็นคนดี สอนให้สวดมนต์ ทำใจให้สงบ ผมรู้สึกได้เมื่อนึกถึงตอนนั้นว่า เมื่อไปวัดมีความสุขใจจริง ๆ เวลาหลวงพ่อสอน วัดร่มรื่นเงียบสงบ  เพราะเวลาก่อนไปวัดคุณครูสั่งไปล่วงหน้าไปถึงวัด ห้ามเล่น ห้ามหยอกล้อ ห้ามคุย ให้ฟังหลวงพ่อสอน

ผมจึงศึกษาอ่านหนังสือธรรมะเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น  รู้ว่าสอนให้เรารู้จักพิจารณาตามหลักความเป็นจริงของชีวิต  ก็ทำให้เข้าถึงได้มากขึ้น  อาจไม่เข้าใจแจ่มแจ้งแต่ก็พอรู้ว่าเป็นอย่างนั้น  ก็คือ
     1. ทุกข์ คือ การมีอยู่ของทุกข์  ทุกข์อะไร
     2. สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์  อะไรที่ทำให้เป็นทุกข์
     3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ การเข้าใจความจริงของชีวิตนำไปสู่การดับ
                ความเศร้าโศกทั้งมวล อันยังให้เกิดความสงบและความเบิกบาน 
     4. มรรค คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ ให้พ้นจากความทุกข์ และ ความโศกเศร้า
                ทั้งมวล
ในขณะที่เราไม่รู้ในการจัดการอะไรสักอย่าง เรารู้สึกไม่สบายใจเพราะเราไม่รู้จะจัดการอย่างไร ก็คือทุกข์ของเราแน่ ๆ เหตุของมันก็คือเราไม่รู้วิธีจัดการ เราจึงต้องหาวิธีนั่นคือจัดการให้เรารู้ และนำไปใช้จัดการกับเรื่องนั้น เมื่อสำเร็จได้เราพ้นทุกข์ สบายใจในที่สุด อย่างอื่นที่ตามมาก็คือได้มิตรภาพ สุขใจเมื่อรู้ว่าเพื่อนให้ด้วยความจริง เพื่อนยิ้มเมื่อเรากล่าวขอบคุณ  ทุกคนต้องเจอกับตนเองจึงจะเข้าใจเข้าถึงได้ อธิบายนั้นก็ได้แค่ภาพลาง ๆ เนื้อแท้ต้องทำเองและเจอเองครับ

 

หมายเลขบันทึก: 414674เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2010 21:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)
  • สวัสดีค่ะ
  • KM ยากจริงๆค่ะ ยากที่จะสร้างความเข้าใจให้คนอื่น
  • คนเก่งจริงก็ไม่พูด คนเก่งไม่จริง ก็ชอบพูดจัง คนเหมือนกันไปทั่ว
  • คงต้องอาศัยเวลา
  • ขอบคุณค่ะ

    pa_daeng สวัสดีครับ ขอบคุณที่มาแลกเปลี่ยนนะครับ ที่ถามกันมาก็คล้าย ๆ กัน หลาย ๆ องค์กร ที่ยังมีบุคลากรบางส่วนยังคิดว่าเป็นงานที่เพิ่มขึ้นอยู่ครับ ก็เลยยังขับไม่ค่อยเดิน

 

สวัสดีครับนายหัว ชาญวิทย์

พักนี้ผมเข้านครหลายครั้งไป รพ.มหาราช แต่ไม่เจอนายหัวปองและนายหัวเชียรเลย......

แลกเปลี่ยน ว่าด้วยเรื่อง KM ("เติ้นเคเอ็มขึ้นสมอง) ผมมองว่ามันก็คล้ายๆกับการทำแผนชิวิตชุมชน และการจดบันชีครัวเรือน ..

ส่วนมากคนในชุมชนรู้แล้ว ทำแล้ว จดแล้ว พัทลุงได้ชื่อว่าทำแผนชุมชนทั้งจังหวัด แต่พื้นที่ที่เอาแผนมาเรียนรู้แก้ปัญหา และต่อยอดแผนยังมีน้อยมาก

ผมมองว่าเรื่องเหล่านี้ ต้องสร้างศรัทธา สร้างการเรียนรู้ จดบัญชีครัวเพื่อนเรียนรู้ปัญหา แก้ปัญหาตัวเอง แล้วเอามาแลกเปลี่ยนกับคนข้างบ้าน สร้างศรัทธาให้เห็นจริง แก้ปัญหาได้จริง ไม่ใช่เขามาบอกให้จดก็จด จดแล้วก็ไม่รู้ทำอะไรได้

KM ก็เหมือนกัน ในหน่วยงานรพ.พูดกันมากก่อนหน้านี้ แต่วันนี้พูดเรื่อง HA จนลืมฐาน KM ........

ตอนนี้ สุขกายสบายใจ ไม่ต้องทำไหร ตัดไม้ยางขาย รายได้ดีครับ

  •  บังหีมครับ ตอนจบของการขายไม้ยางจบได้อย่างสวยงามเลย ไม้ยางราคาดีด้วยช่วงนี้
  • ทุกกิจกรรมที่ทำ ๆ กันมาผลก็คล้าย ๆ กัน คือคนมองสิ่งที่ทำเป็นชิ้น ๆ ที่ต้องการจับต้องได้ครับ ไม่คำนึงถึงกระบวนการ กระบวนงาน (เช่น ถ้าทำต้องเป็นเล่ม ถามว่าก่อนได้มาเป็นเล่มทำมาอย่างไร มักจะไม่มีรายงานตรงประเด็นนี้)
  • มองที่ KM ถ้าถามว่าทำแผนแล้วยังเขาก็บอกว่าทำแล้ว เอาเล่มให้ดูนั่นหมายถึงเขาสำเร็จแล้ว
  • ถามต่อว่าเอาแผนไปปฏิบัติแล้วยัง ปฏิบัติแล้วเอารายชื่อที่เซ็นการประชุมมาให้ดู
  • แต่ถ้าถามว่าได้อะไรบ้างองค์ความรู้เอาไปใช้ต่ออย่างไร ก็คือจะไม่ค่อยมีบันทึกองค์ความรู้  แต่ถ้าได้มาก็มักเก็บอยู่เฉย ๆ ไม่ได้นำไปใช้ต่อ ยากนะ..
  • ในส่วนที่บังเล่ามาก็คล้ายกัน ทำบัญชีก็คือ เขียนลงในสมุดถือว่าทำแล้ว เขายังมองไม่เห็นคุณค่า ไม่ตั้งใจเรียนรู้มากกว่า กับการที่ไม่รู้ ให้ทำก็ทำ ก็ถือว่าเสร็จ ทำไปทำไมนั่นมักไม่มีคนหาคำตอบ ยาก..เหมือนกัน

 

 

  • สาธุๆๆ
  • อิอิ
  • ในวง MK ก็เป็น KM ได้
  • หลายคนยากที่จะเข้าใจ(ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุ/ตำแหน่ง ฯ)
  • เพราะเขามีม่านบังอยู่
  • ก็คงต้องให้เป็นไปตามธรรมชาติ
  • สบายดีนะครับ

 คุณสามสัก ขอบคุณมากครับขอน้อมรับคำอวยพร
และขอพรนั้นสนองกลับคืนแก่ท่าน ร้อยเท่าทวีคูณ

คุณ สารินี ไกรพจน์

ขอบคุณมากครับขอน้อมรับคำอวยพร และขอพรนั้นสนองกลับคืนแก่ท่าน ร้อยเท่าทวีคูณ

KM เขาวางตำแหน่งให้เป็นขนมที่ไม่มีคนอยากรับประทาน

เรายังทานได้ ก็ทานไป ไม่มีใครแย่ง

ถ้าบอกใครว่าทำ KM จะทำให้บรรยากาศน่าเบื่อ กระบวน

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ้าทำให้สนุก คงได้ประโยชน์มาก

คนร่วมก็ไม่คิดว่า กำลังอยู่ในกระบวนการจัดการความรู้

หวัดดีคับ

  • เดี๋ยวนี้ บรรยากาศ ไม่ค่อยอำนวย
  • สภาพแวดล้อม ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้
  • มีทั้ง W และ T

 

กำลังนอนคิด เรื่อง สรุปบทเรียนการทำ KM ในที่ทำงาน

ตอนนี้คิดออกแล้วค่ะ

ขอบคุณนะคะ..ที่เขียนได้ตรงใจค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • ลำดวน และน้องกุ้งเคยเจอเหตการณ์เช่นนี้เช่นกันค่ะ
  • ยากที่จะบอกให้ใครๆ...ที่ปิดกั้นตัวเองจากการเรียนรู้เข้าใจได้
  • แต่เมื่อถึงเวลาที่ต้องรายงาน เราก็จะเจอคำพูด"ต้องให้เจ้าแม่ KM รายงาน..."
  • แต่เท่าที่พบเห็น ในกระบวนงานของทุกกลุ่ม เขาใช้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอยู่แล้ว
  • แต่ไม่รู้ตัวว่าได้จัดการความรู้กันอยู่แล้วในกระบวนการทำงาน...

สวัสดีครับ คุณเสี่ยวิทย์

KM เขาวางตำแหน่งให้เป็นขนมที่ไม่มีคนอยากรับประทาน

- ขนม KM ไม่ค่อยมีใครอยากทานจริง ๆ ครับ

เรายังทานได้ ก็ทานไป ไม่มีใครแย่ง

- ส่วนหนึ่งคือเขาไม่รู้จะทานอย่างไรครับ

ส่วนคนที่ได้ทานแล้ว ได้รู้รสชาติ ก็ติดใจทุกคน

ถ้าบอกใครว่าทำ KM จะทำให้บรรยากาศน่าเบื่อ กระบวน

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ้าทำให้สนุก คงได้ประโยชน์มาก

- ส่วนหนึ่งคนที่ชวนเพื่อนทาน ไม่ได้ทำขั้นตอนการทานให้น่าทาน

คนร่วมก็ไม่คิดว่า กำลังอยู่ในกระบวนการจัดการความรู้

- อยู่ที่การจัดโต๊ะทาน ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท