สรุป ลปรร.PCA NODEสิชล ครั้งที่3 อ.หลังสวน ตอนที่ 4


ประเด็น เรื่อง การจัดการสุขภาพโดยชุมชนต้นแบบ

การจัดการสุขภาพโดยชุมชนต้นแบบ

ชุมชนวังตะกอ อ.หลังสวน

ชุมชนต้นแบบวังตะกอ พื้นฐานเดิมของชุมชนเป็นชุมชนที่เข็มแข็งทั้งผู้นำชุมชน องค์กรชุมชนและประชาชน เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว  สิ่งที่กลุ่มงานเวชฯ โรงพยาบาลหลังสวนดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านสุขภาพให้แก่ชุมชนนั่นคือ  การคืนข้อมูลด้านสุขภาพแก่ชุมชนเพื่อให้ชุมชนนำขอมูลที่ได้เป็นฐานในการขับเคลื่อนให้เกิดความรับรู้ความตระหนัก ด้านสุขภาพที่ดีร่วมกัน หน่วยบริการสาธารณสุขได้โน้มเข้าหาชุมชนอย่างเป็นธรรมชาติที่สุดโดยการประยุทธศาสตร์ของหน่วยงานให้มีความสอดคล้องและรองรับปัญหาด้านสุขภาพในชุมชนอย่างแท้จริง  ช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของชุมชนในด้านวิชาการเพียงเท่านั้น ที่เหลือเป็นบทบาทของชุมชนเอง เพื่อสร้างแรงจูงใจ ความภาคภูมิใจของคนในชุมชน ทำให้การแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในชุมชนเกิดประสิทธิภาพที่ชาวบ้านยอมรับได้

จากการเล่าเรื่อง สรุปสาระสำคัญของการเรียนรู้ได้ดังนี้

-ปรับแนวคิด ยุทธศาสตร์ ของหน่วยงานร่วมกับชุมชน  โดยใช้พื้นที่เป็นที่ตั้ง ชาวบ้านเป็นเจ้าของ รัฐเป็นฝ่ายสนับสนุน

-คืนข้อมูลด้านสุขภาพให้แก่ชุมชนเพื่อเป็นฐานในการดำเนินงานของชุมชน

-ใช้เวทีประชาคมเป็นพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นร่วมกันระหว่างรัฐกับประชาชน

1.ปรับแนวคิด ยุทธศาสตร์ ของหน่วยงานร่วมกับชุมชน 

2.จัดเวทีประชาคมเพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นร่วมกันระหว่างองค์กรภาครัฐกับประชาชน

3.เตรียมแผนรับสถานการณ์ด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

4.สร้างแนวทางปฏิบัติงานต่างๆร่วมกัน เพื่อให้คนในองค์กรสามารถเรียนรู้งานได้ทุกงานและมีแนวในการปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน

-มีความไวต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  ทำงานกับชุมชนอย่างเป็นธรรมชาติ  นำภูมิปัญญาชาวบ้านผสมผสานกับภูมิปัญญาเจ้าหน้าที่

-ทีมงานต้องยึดประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ทำงานเป็นทีม  ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เป็นตัวแทนกันได้

สิ่งที่จะกลับไปทำ/สิ่งที่จะนำไปใช้

1.ปรับแนวคิด ยุทธศาสตร์ ของหน่วยงานร่วมกับชุมชน 

2.จัดเวทีประชาคมเพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นร่วมกันระหว่างองค์กรภาครัฐกับประชาชน

3.เตรียมแผนรับสถานการณ์ด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

 

ข้อคิดที่ได้รับ การทำงานในชุมชนต้องอาศัยกลุ่มองค์กร ผู้นำชุมชน  แกนนำชาวบ้าน เป็นแกนนำในการสร้างรากฐานของความเข้มแข็งในการดำเนินงาน  การทำงานต้องทำตัวให้กลมกลืนกับชาวบ้านอย่างเป็นธรรมชาติ  การคืนข้อมูลให้กับชุมชนเป็นแนวทางหนึ่งในการกระตุ้นให้ชุมชนเกิดความรู้  เกิดแนวร่วมในขับเคลื่อนงานในชุมชนต่อไป

 

4.สร้างแนวทางปฏิบัติงานต่างๆร่วมกัน เพื่อให้คนในองค์กรสามารถเรียนรู้งานได้ทุกงานและมีแนวในการปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน

หมายเลขบันทึก: 414673เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2010 21:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีค่ะ
  • เราและชุมชน เรียนรู้ไปด้วยกันนะคะ คิดเองได้ทำเองได้ เป็นสิ่งที่เหมาะสม
  • คิดเองไม่ได้ ทำเองไม่ได้ เราต้องช่วยเหลือ และให้เวลา
  • ขอบคุณมากค่ะ

ชุมชนนาถ่อน  อำเภอธาตุพนม  จังหวัดนครพนม เป็นชุมชนเข้มแข็ง ด้านการจัดการสุขภาพแบบมีส่วนร่วม โดยมีทุกภาคส่วนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม มีการใช้เครื่องมือแผนที่ทางเดินยุทธศาตร์เป็นตัวเชื่อม มี อบต.และกองทุนหลักประกันสุขภาพพื้นที่หรือท้องถิ่น เป็นผู้ให้การสนับสนุน  มี อสม.และผู้นำชุมชน เป็นผู้ขับเคลื่อนกิจกรรมสุขภาพในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมทุกกลุ่มสิทธิประโยชน์  มี สสอ.และ CUP เป็นพี่เลี้ยง ที่ผ่านมาพบว่า " ภาคีเครือข่าย" กลุ่มพลังชุมชน"และองค์กรเอกชน ประชาชนพึงพอใจต่อการดำเนินงานของชุมชนแห่งนี้ จนได้รับรางวัลระดับเขตและระดับประเทศหลายรางวัล เช่น รางวัลดีเด่นด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน  รางวัลตำบลต้นแบบการเรียนรู้การจัดการสุขภาพของชุมชน เป็นต้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท