ตีความ "ลานบ้าน GotoKnow"


เรื่องนี้ความจริงไม่ต้องอ้างบันทึกการประชุมก็ได้ครับ เพราะตอนที่ฟังท่านอาจารย์วรภัทร์พูดนั้น รู้สึกว่าโดนจริงๆ

เดินไปบอกกล้าว่า จดไว้ซิครับ นี่ requirement สำคัญเลยนะ ได้คำตอบที่แสนชื่นใจว่า มะปรางจดครับ พร้อมกับยิ้่มหวานอีกดอกหนึ่ง ว่าแล้ว ศิลปินกล้าก็นั่งดื่มด่ำกับอรรถรสของการประชุมอย่างเลือดเย็นต่อไป

ลานบ้าน GotoKnow 

ลานบ้าน หมายถึงลานเอนกประสงค์ภายในอาณาบริเวณบ้าน เป็นสถานที่สำหรับจัดกิจกรรมได้หลายอย่าง สำหรับกลุ่มคนหลายกลุ่ม หลายวัตถุประสงค์ จัดพร้อมกันก็ได้ สลับกันก็ได้

ก่อนที่อาจารย์วรภัทร์จะพูดถึงคำนี้ ท่านได้ยกตัวอย่าง เว็บบอร์ด Manager Room สนทนาประสาธรรมะ สำหรับผู้บริหาร ตัวผมรู้สึกชอบข้อเสนอนี้มาก ว่ากันที่จริงก็ได้เคยเสนอความคิดเรื่องเว็บบอร์ดให้ผู้เกี่ยวข้องพิจารณาครั้งหนึ่งแล้ว ก่อนการปรับปรุงประสิทธิภาพ GotoKnow ครั้งแรก

ในครั้งนั้น ความคิดเรื่องเว็บบอร์ดดูจะยังไม่มีความจำเป็น

  • อยากให้ข้อความต่างๆ รวมกันอยู่ในระบบเดียว เพื่อความสะดวกในการรวบรวมความรู้+ประสบการณ์ของบล๊อกเกอร์
  • ปัญหา scaleability และ performance ยังไม่เกิดขึ้น: ที่จริงแล้ว เมื่อย้ายกลับเมืองไทย ระบบเร็วขึ้นมากจนทุกคนพอใจ

แต่ผมมีประสบการณ์ในการรองรับชุมชนออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงมาก่อน สิบปีที่แล้วเมื่อย้าย pantip.com กลับมาเมืองไทย เริ่มต้นก็เป็นอาการเดียวกัน คือเมื่อระบบเร็วขึ้น คนก็เข้ามามาก จนในที่สุดดิสก์ก็ทำงานไม่ไหว (และระเบิด) ในคราวที่ sanook.com ย้ายตามมา ก็ได้เตือนให้ระวังเรื่องนี้ไว้

ทฤษฎีสองนัครา: ความพอดีที่ไม่พอดี 

ความสำเร็จของ GotoKnow นั้น ไม่สามารถจะสัมผัสได้ด้วยความรู้สึกผิวเผิน จะเข้าใจ GotoKnow ได้นั้น จะต้องลองใช้เป็นระยะเวลาหนึ่ง นอกจากความรู้และประสบการณ์ที่มีรวบรวมอยู่อย่างมากมายในบันทึกและความคิดเห็นแล้ว GotoKnow ยังมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกที่มีพลวัตสูง มีความหลากหลายของคนทำงานจากหลายสาขาวิชาชีพ

สำหรับคนที่ "ติด" สิ่งที่ GotoKnow เสนอให้ ทุกคนคงตอบว่า GotoKnow ดี แต่หากถามว่าดีอย่างไร ก็คงจะได้คำตอบที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้เป็นเพราะสังคมประชาธิปไตยมีความแตกต่างกันเสมอ สมาชิกมีสิทธิ์ที่จะเลือก และเลือกสรรค์ได้อย่างอิสระ

  • GotoKnow ควรจะเป็นอะไร ? เป็นอยู่อย่างนี้ ดีที่สุดแล้วหรือไม่ ?
  • GotoKnow จะเป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่ทุกคนต้องการได้อย่างไร ?
  • GotoKnow จะเป็นเครื่องมือช่วยประสานความต้องการของมวลสมาชิก สร้างให้เกิดพลังได้อย่างไร ?


จากมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน น่าอ่านหัวข้อ 2.5) ในรูปแบบของข้อเสนอที่จะประสานการจัดการ+การพัฒนา GotoKnow เข้ากับสมาชิกเพื่อให้ GotoKnow เป็นของผู้ใช้อย่างแท้จริง

GotoKnow ในฐานะของบล๊อก

GotoKnow เป็นบล๊อกตลอดมา บล๊อกคือบล๊อก บล๊อกไม่ได้เป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่บล๊อก

ในการเขียนบล๊อก สมาชิกแต่ละท่านเขียนบันทึกในพื้นที่ของตนเอง เปิดโอกาสให้สมาชิกหรือผู้สนใจท่านอื่นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้-ให้ความคิดเห็นได้ ในกระบวนการนี้เปรียบเหมือนการกลั่นกรองบันทึกไปในตัว เมื่อเห็นว่าสิ่งใดที่ไม่ถูกต้อง ก็สามารถแลกเปลี่ยน สอบถาม ทัดทานได้

ในช่วงหนึ่งปีที่ผมใช้ GotoKnow มา สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเช่นกัน ทั้งที่ดีและไม่ดี แม้ว่าจะเป็นสิทธิ์ของสมาชิก แต่ผมก็อดเสียดายทรัพยากรและความทุ่มเทของทีมงานไม่ได้เมื่อเห็น

  • เรื่องเจ๊าะแจ๊ะ: ชีวิตไม่สามารถจะซีเรียสอยู่ตลอดเวลาได้ แต่ GotoKnow ก็เป็นสถานที่พิเศษ ที่มีผู้ใช้อ้างอิงอยู่มาก (40% มาจาก Google) -- ผมไม่ได้เสนอให้เลิกเจ๊าะแจ๊ะ หรือเปลี่ยนบล๊อกเกอร์ให้เป็นพวกไร้วิญญาณ แต่เสนอให้จัดสถานที่ที่เหมาะกว่าบล๊อกให้ผ่อนคลายในลักษณะนี้ได้
  • เรื่องเฉพาะกาล: สมควรที่ GotoKnow จะเก็บข้อความเหล่านี้ไว้ตลอดไปหรือไม่ -- จะดีกว่าหรือไม่หากมีที่ทางเฉพาะสำหรับกิจกรรมในแต่ละครั้ง
  • บันทึกแห่งความว่างเปล่า: บันทึกที่ไม่มีอะไรให้แก่ผู้อ่าน -- เป็นบันทึกที่ผู้เขียนไม่ได้ถามตัวเองว่าจะบอกอะไรผู้อ่าน และผู้อ่านจะได้อะไร
  • สั้นจนไม่รู้เรื่อง: บล๊อกเกอร์ส่วนใหญ่ไม่ชอบอ่านข้อความยาวๆ แต่ในขณะเดียวกัน ข้อความสั้นๆ แบบที่ "เขียน" กับ "ไม่เขียน" ไม่แตกต่างกัน อย่างนี้ถ้าไม่เขียนก็ไม่สิ้นเปลืองใช่ไหมครับ

หลักการของ Usability 

การออกแบบ GotoKnow เป็นไปตามหลักการของ Usability คือ

  • Learnability: เรียนรู้ง่าย (ถ้าไม่รู้ก็เดาได้ง่าย)
  • Memorability: จดจำได้ง่าย
  • Ease of use: ใช้งานง่าย มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ทำงานเร็วและถูกต้อง
  • Errorless: ความผิดพลาดเกิดขึ้นน้อย
  • Satisfaction: ผู้ใช้มีความพึงพอใจ

อย่างตัวผม เห็น GotoKnow แล้วก็ใช้เลย ไม่ได้เข้ารับการอบรมใดๆ เพราะสิ่งที่มีอยู่บน GotoKnow เรียนรู้ได้เอง (ถ้าไม่กลัว)

GotoKnow เองก็เป็นระบบเปิดที่ทีมพัฒนารับฟังความคิดเห็นของผู้ใช้อยู่ตลอดเวลา ขอข้อเสนอที่ชัดเจนและมีเหตุผล "ไม่ต้องใช้เส้น" เช่นผมเองก็เสนอปรับปรุงไปหลายอย่างแล้ว เช่น embedded RSS feed ใน HTML header หรือตัวเลขในวงเล็บที่แสดงจำนวนแพลนเน็ตที่รวมบล๊อกของเราเข้าไว้ด้วย ฯลฯ

เว็บบอร์ด 

เว็บบอร์ดอาจจะเป็นทางออกที่ดีสำหรับปัญหาหลายอย่าง ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงทุกครั้ง ก็จะกระทบต่อทีมที่ทำงานเสมอ ซึ่งสมาชิกทุกท่านคงทราบอยู่แล้วว่ามีภาระหนักเพียงใด 

ก่อนจะเปลี่ยนแปลงใดๆ เราน่าจะมาคุยกันถึงภาพในอนาคตก่อน พยายามทำความเข้าใจกว่าว่าเรากำลังจะเปลี่ยนไปเป็นอะไร จะได้อะไร จะเสียอะไร จะต้องทำอะไร และจะต้องระวังอะไรบ้าง

  1. เว็บบอร์ดสร้างเป็น ลานบ้าน GotoKnow ได้หลายลาน (plaza หรือ forum) เพิ่ม/ลด/ปิด/แยกได้ตามความจำเป็น
  2. เว็บบอร์ดใช้ระบบทะเบียนสมาชิกของ GotoKnow -- ไม่เปิดรับลงทะเบียนแก่สมาชิกใหม่ กล่าวคือผู้ใช้จะต้องลงทะเบียนเป็นบล๊อกเกอร์ที่ GotoKnow แล้วเท่านั้น ใช้ชื่อบัญชีกับรหัสผ่านชุดเดียวกับ GotoKnow
  3. จำเป็นต้องมีอาสาสมัครเป็นผู้่ควบคุม (moderator) เพื่อให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ แบ่งเบาภาระจากทีมงาน
  4. ทำงานอัตโนมัติ ไม่สร้างภาระแก่ทีมงานเกินความจำเป็น

บันทึกนี้ เขียนออกแนวหฤโหดอีกแล้ว แต่เรื่องที่ต้องเขียน ก็ต้องเขียน ถ้าไม่ชอบก็ต้องขออภัยเป็นอย่างสูงนะครับ

ขอเชิญแสดงความคิดเห็นได้ อย่ามัวแต่ไปคิดว่าเป็นเรื่องเทคนิคเลยครับ -- มันไม่ใช่เรื่องเทคนิค แต่เป็นเรื่องของเราทุกคนที่มีศัพท์เทคนิคปนอยู่ต่างหาก

คำสำคัญ (Tags): #gotoknow.org
หมายเลขบันทึก: 151201เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2007 01:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
พัฒนาอะไรก็ว่าไปแต่อย่าให้พัฒนาไปหาจุดจบก็แล้วกัน  นั่นคือความเหมือน  ติดรูปแบบ ปล่อยให้เป็นตามธรรมชาติ  แบบสิ่งมีชีวิต  จะสถิตย์อยู่ตลอด
  • ครูอ้อยเดินตามลุงเอกค่ะ 
  • ครูอ้อยปฏิบัติได้ทุกอย่างค่ะ 
  • ครูอ้อยเป็นกำลังใจให้นะคะ

 

"ช่วยกันครับ เพื่อบ้านของเรา" 

ตามจริงแล้ว ผมต่อต้านอย่างที่สุดหากจะทำให้ gotoknow ไปสู่การพัฒนาแบบไร้วิญญาณของความมีชีวิต ชีวา บนข้อมูลวิชาการที่แข็ง(จริงหรือเปล่าไม่รู้)

gotoknow ที่เป็น บล๊อกที่มีชีวิตน่าใช้ทุกวันนี้ก็เพราะ กลุ่มเจาะแจ๊ะนี่หละ ดังนั้น ผมจึงเห็นว่า เจาะแจ๊ะต่อไปให้มีสีสัน

แต่...

เจาะแจ๊ะ อย่างไรให้มีศาสตร์? ถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของผู้คนในสังคม gotoknow ให้มีความสุข ความพอดี พึงพอใจกันทั้งสองฝ่าย เรามีเงื่อนไขเรื่อง อัตรารองรับของระบบ และ การอ้างอิงจากเวป search เป็นคลังความรู้ที่มีชีวิตขนาดใหญ่ที่สุดของไทย เป็นบล๊อกที่มีผู้คนเริ่มรวมตัวกันปฏิสัมพันธ์กันเพื่อทำสิ่งดีๆให้กับสังคม

จึงขอสนุบสนุนแนวทางตามนี้

  • เรื่องเจ๊าะแจ๊ะ: ชีวิตไม่สามารถจะซีเรียสอยู่ตลอดเวลาได้ แต่ GotoKnow ก็เป็นสถานที่พิเศษ ที่มีผู้ใช้อ้างอิงอยู่มาก (40% มาจาก Google) -- ผมไม่ได้เสนอให้เลิกเจ๊าะแจ๊ะ หรือเปลี่ยนบล๊อกเกอร์ให้เป็นพวกไร้วิญญาณ แต่เสนอให้จัดสถานที่ที่เหมาะกว่าบล๊อกให้ผ่อนคลายในลักษณะนี้ได้
  • เรื่องเฉพาะกาล: สมควรที่ GotoKnow จะเก็บข้อความเหล่านี้ไว้ตลอดไปหรือไม่ -- จะดีกว่าหรือไม่หากมีที่ทางเฉพาะสำหรับกิจกรรมในแต่ละครั้ง
  • บันทึกแห่งความว่างเปล่า: บันทึกที่ไม่มีอะไรให้แก่ผู้อ่าน -- เป็นบันทึกที่ผู้เขียนไม่ได้ถามตัวเองว่าจะบอกอะไรผู้อ่าน และผู้อ่านจะได้อะไร
  • สั้นจนไม่รู้เรื่อง: บล๊อกเกอร์ส่วนใหญ่ไม่ชอบอ่านข้อความยาวๆ แต่ในขณะเดียวกัน ข้อความสั้นๆ แบบที่ "เขียน" กับ "ไม่เขียน" ไม่แตกต่างกัน อย่างนี้ถ้าไม่เขียนก็ไม่สิ้นเปลืองใช่ไหมครับ
  • พี่อย่าทิ้ง G2K นะคะ

    สวัสดีค่ะ

     ไม่ค่อยมีความรู้ คำว่า เจ๊าะแจ๊ะ ช่วยอธิบายหน่อย ในมุมมองของเจ้าของบันทึก จะได้กลับไปพิจารณา บทความของตน

      อีกอย่างเมื่อทราบความหมายที่ต้องการ หลายๆคน ก็จะได้ช่วยกันแสดงความเห็น ว่าที่อธิบายนี้ครบถ้วนหรือไม่ จะได้ร่วมกันตัดสินจะได้เป็นมติกลุ่ม สมกับที่G2K เป็นเวบแห่งมหาชน ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ก่อตั้งแต่แรก

      ธรรมชาติ เหมือนลุงเอกว่า มีชีวิตชีวาเหมือนน้องเอกพูด และพร้อมจะทำตามมติกลุ่มตามครูอ้อยบอก

    ช่วยกันสร้างสรรค์ ให้สังคม G2K น่าอยู่กันต่อไป

    ขอบคุณค่ะ

    สวัสดีค่ะ

    • ป้าแดงชอบความเป็น blog ที่เป็นเอกลักษณ์ของ gotoknow ค่ะ อยากให้เป็นแบบนี้ต่อไป
    • ส่วนเรื่องบันทึก ออกแนวเฮฮา แต่แฝงสาระ ก็น่าจะคลายเครียดได้บ้างนะคะ
    • -----
    • ขอบคุณสำหรับความมุ่งมั่นและทุ่มเทเพื่อชาวเราค่ะ
    • ขอบคุณค่ะ

    เฮฮา....มากไป -------> ลืมศาสตร์?

    ศาสตร์...มากไป-------> ลืมเฮฮา?

    ....

    อะไร คือ ความพอดีที่ลงตัว...

    คือภาระที่ผู้ใช้...หันกลับมาทบทวน

    เป้าประสงค์...ปลายทางของ GotoKnow คืออะไร..

    เพิ่ม...ลด...สิ่งใด... ได้เสมอภายใต้ความยืดหยุ่นและจิต...ที่ดีงาม แห่ง "ความพอดี" (= พอเพียง = ทางสายกลาง)

    ...

    (^_______^)

    กะปุ๋ม

     

    ตั้งข้อสังเกตค่ะ..

    รบกวน...คุณ conductor...โปรดไขข้อสงสัยด้วยค่ะ

    (^_____^)

    กะปุ๋ม

    ผมคิดว่าคุณค่าของ GotoKnow อยู่ที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกครับ สนุกที่ได้อ่านการต่อยอดความคิดอันหลากหลาย เรียนรู้จากความคิดและประสบการณ์ของผู้อื่น แลกเปลี่ยนจนเข้าใจมากขึ้น นำข้อคิดต่างๆ ไปปฏิบัติจนแตกฉาน

    แต่คำถามสำคัญในบันทึกนี้คือ GotoKnow ในสถานะของบล๊อก เป็นเครื่องมือที่เหมาะสมหรือไม่ มีเครื่องมือที่ดีกว่านี้ หรือควรมีเครื่องมือเสริมหรือไม่ ถ้ามีควรจะมีลักษณะอย่างไร -- บันทึกนี้ ถามถึงอนาคตว่าพวกเราอยากจะให้ GotoKnow เป็นอย่างไร มีอะไรครับ เป็นคำถาม what และ why

    เรื่องพวกนี้ ต้องวางแผนล่วงหน้า แต่ผมก็จนใจไม่รู้จะวางแผนอะไร ถ้ายังไม่รู้ว่าจะทำอะไรกันนะครับ (ตอบคำถาม how) ซึ่งทั้งหมดนี้ ต้องพิจารณาประกอบกับข้อจำกัดของทรัพยากร และกฏหมายด้วย ต่อให้มีแผนเลิศ แต่ปฏิบัติไม่ได้ ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นหรอกนะครับ 

    ถึงสรุปว่าเอาเท่านี้ดีอยู่แล้ว ไม่ต้องทำอะไรอีก ผมก็รับได้ครับ 

    เผอิญเข้ามาตรงนี้พอดีไม่ได้ล็อกอิน แต่อยากแจมข้อมูลที่เคยจำได้จากอ.จันทวรรณ คิดว่าเคยได้ยินว่า feature ในลักษณะเว็บบอร์ดสำหรับกลุ่มใน GotoKnow ก็เป็นเป้าหมายหนึ่งในเบื้องต้นนะคะ แต่เนื่องจากภาระต่างๆมากมายที่อ.จัน ต้องแบกรับมาตลอด ทำให้สิ่งต่างๆซึ่งเป็น user's requirements ที่อ.จันเคยสำรวจไว้นั้น ยังไม่เสร็จสิ้น และการที่พวกเราทำไปใช้ไปแล้วเสนอสิ่งต่างๆก็ทำให้ลักษณะที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่แรกยังไม่ได้ทำให้เสร็จสักที คิดว่าอ.จันทวรรณคือผู้ที่สามารถจะชี้แจงสิ่งที่ plan ไว้ได้ดีที่สุดค่ะ แต่ตอนนี้เราคงต้องช่วยกันร้องเพลงรอ ให้เธอรับบทที่สำคัญที่สุดอีกบทหนึ่งในชีวิตก่อนนะคะ

    มาเรียนรู้ มารับความคิดเห็นครับ

    สวัสดีค่ะ

    อ่านดูเฉพาะเรื่อง หัวข้อ...ลานบ้านGtoKnow แล้ว

    นึกได้ว่า  เคยอ่านผ่านๆคร่าวๆมากๆ จาก

    Micro Trends โดย Mark J. Penn

    พบว่า....มีงานวิจัยในอเมริกาที่ชี้ให้เห็นว่าพวกที่ชื่นชอบ และติดตามเทคโนโลยีสมัยใหม่นั้นจะเป็นพวกที่ชอบสังคม ชอบเข้าสมาคมกับผู้อื่น  มากว่า พวกที่ไม่ชอบเทคโนโลยี่ด้วยซ้ำ

    ในขณะพวกที่ไม่ได้ติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ นั้นกลับมีคุณลักษณะเป็นพวกที่ชอบเก็บตัวมากกว่า

    แถมพวกที่สนใจเทคโนโลยีใหม่ๆ จะไม่ได้สนใจเฉพาะเทคโนโลยีอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังสนใจในกีฬา ข่าวสาร และแฟชั่นมากกว่าพวกที่ไม่ค่อยให้ความสนใจต่อเทคโนโลยี

    นอกจากนี้ถ้าดูจากแนวโน้มที่พบเห็นในปัจจุบันจะพบว่าพวกที่สนใจเทคโนโลยีนั้น ก็มักจะใช้เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือในการเข้าสังคมมากขึ้น

     ไม่ว่าจะผ่าน MSN หรือผ่านเวบบอร์ดต่างๆ หรือผ่านทางเวบต่างๆ เช่น Facebook หรือ Myspace ที่กลายเป็นสังคมและชุมชนออนไลน์ขนาดใหญ่ ดูเหมือนว่าเทคโนโลยีจะกลายเป็นเครื่องมือที่ทำให้คนเข้าสังคม และสมาคมกับผู้อื่นได้มากขึ้น

    พวกที่ขี้อายทั้งหลาย ดีใจและชื่นชอบ การสื่อสารออนไลน์กันมาก

    หันมาดูตัวดิฉันเอง พบว่า ตัวเองก็เป็นแบบที่เขาพูดถึงค่ะ และเที่ยวได้ไปเป้นสมาชิกพวกweb board ต่างๆหลายแห่ง จนบางทีลืม password ไม่รู้เก็บไว้ที่ไหน

    วันนี้ เข้าไปที่Facebook พบว่า มีสมาชิกอีกมากมายเพิ่มขึ้น คนไทยก็มีมาก

    จึงอยากจะสรุปตรงนี้ว่า ความคิดเรื่องเว็บบอร์ด ในความเห็นของดิฉัน ดีมากเลยค่ะ น่าจะใช้ได้ดีสำหรับเรา

    แต่ประเด็นว่า อนาคตว่าพวกเราอยากจะให้ GotoKnow เป็นอย่างไร  เป็นคำถาม what และ why  รวมถึงแผนงาน ซึ่งจะต้องพิจารณาเรื่องข้อจำกัดของทรัพยากรและก.ม.ด้วย คงขอผ่านก่อน ยังไม่ขอให้ความเห็นนะคะ

     

    P

    Conductor

     

    • บ่นศาสตร์ ในโกทูโนไม่ควรสนับสนุนให้แตกแขนงสาขาออกไป...

    เจริญพร 

    สังคมชาวบล็อกดูได้จากบันทึก  หากมุ่งแต่จะให้ศาสตร์  ให้ตำราก็โหยหาไปเถอะไม่มีใครมาไม่มีใครสน  หากมุ่งแต่ให้ศิลป์ก็บินไปไม่ได้นาน  ศาสตร์ผสมศิลป์นั่นคือสิ่งที่สังคมชาวบล็อกต้องการ  จะลานบ้าน  ลานโรงเรียน  ลานโรงแรม  แถมลานวัด  ก็ซัดกันเข้าไป  สังคมไทยเป็นอย่างไรกคงได้อย่างนั้น

    ลักษณะนิสัยประจำชาติของไทยดูได้ดังต่อไปนี้

    รักสงบ เคารพอาวุโส เชื่อโชคลางของขลัง เชื่อกฎแห่งกรรม ยอมตามผู้มีอำนาจ รักเอกราช สุกเอาเผากิน ไม่ยอมให้ใครดูหมิ่น รักถิ่นและครอบครัว อ่อนน้อมถ่อมตัว ชอบผู้นำ ทำสำรวย ชอบบันเทิง(สนุก) เมตตากรุณา ผักชีโรยหน้า ไม่กระตือรือร้น เป็นคนใจกว้าง ช่างอดช่างทน กตัญญูกตเวที ชอบมีอภิสิทธิ์ จิตใจเอื้ออารี โอนอ่อนผ่อนตาม มีความเกรงใจ ให้อภัยเสมอ ตามใจต่างชาติ ฉลาดเลือกงาน ทำการมักเบ่ง เคร่งครัดเคารพแด่พระมหากษัตริย์

    สภาวิจัยแห่งชาติได้ประมวลไว้เป็นร้อยกรองโดยสมบูรณ์

    ลุงเอกบอกว่า
    คงต้องผสมผสานทั้งศาสตร์และศิลป์เข้าด้วยกัน 
    คุณครูที่มุ่งแต่ศาสตร์  วาดภาพแต่ในตำรา 
    หามีปัญญาไม่
    เราไม่ทิ้งศาสตร์  แต่ศิลปในการสอน การนำเสนอเนื้อหา ที่ไม่ต้องยึดติดแต่ในห้องเรียนเหลี่ยมๆ
    โต๊ะเก้าอี้เรียงเป็นแถวๆ
     
    ไม่สร้างปัญญาการเรียนรู้สักเท่าไร
    คงต้องไปดูภายนอกห้องเรียนแล้วนำมาเล่าเรื่องอย่างที่ชาวบล็อกเขาทำกัน(บันทึกเก่า)

    ทำอะไรห่างไกลตัวตนก็มีแต่นำไปสู่จุดจบของชีวิต ขอนมัสการพระคุณเจ้าแบบสร้างสรรค์บ้างได้ใหม

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท