อาจารย์ยม
อาจารย์ อาจารย์ยม บทบาทนักวิชาการ คือการชี้ทางสว่างให้สังคม นาคสุข

ภาพรวม: การบริหารทรัพยากรมนุษย์: เรื่อง "คน" ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป


HRM คืออะไร มีหลักการอย่างไร HRM สำคัญอย่างไร มีบทบาทอย่างไร สมรรถนะของคนทำงาน HRM ควรมีอย่างไร

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน

ผมเปิด blog นี้ ขึ้นมา เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ "ภาพรวม การบริหารทรัพยากรมนุษย์" และเพื่อมีไว้แชร์ความรู้เกี่ยวกับการบริหาร การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทุนมนุษย์ เพราะยุคนี้ เป็น "ยุคแห่งการแบ่งบันความรู้" บนพื้นฐานของ "เศรษฐกิจฐานความรู้" เราคงจะละเลยเกี่ยวกับองค์ความรู้ต่าง ๆ ไม่ได้อีกต่อไป โดยเฉพาะองค์ความรู้เกี่ยวกับ "การบริหารจัดการเรื่อง คน"

เพราะว่า

"คนเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา ขององค์กร

คนเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ ขององค์กร"

"เรื่อง การบริหารคน ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป"

"ไม่มีองค์กรใด สังคมใด ประเทศชาติใดเจริญได้โดยไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องคน" 

ขอเชิญ นักศึกษา ท่านผู้อ่าน ผู้สนใจทั่วไปทุกท่าน ค้นหาความรู้ สาระที่เป็นประโยชน์ดังกล่าวได้ในบล๊อคนี้ 

ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน

 



ความเห็น (20)

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

เมื่ออาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม ผมได้รับเกียรติ จาก ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ให้ไปบรรยาย  ให้กับ นักศึกษา ป.โท  หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร   สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในหัวข้อ "ภาพรวม การบริหาราทรัพยากรมนุษย์" และถือเป็นจุดประกายให้เกิดบล๊อคนี้

 

โดยภาพรวม นักศึกษา ป.โท ลาดกระบังฯ เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่น่าสนใจ มาก ครับ ตื่นตัว ตั้งใจศึกษาหาความรู้  สดใส เป็นบุคลากรที่มีคุณค่าของสังคม สมกับเป็นนักศึกษาของสถาบันเทคโนโลยี่เจ้าคุณทหารลาดกระบังฯ ซึ่งเป็นสถาบันที่ทรงเกียรติ และมีศักดิ์ มีศรี สร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า ให้กับสังคม ประเทศชาติ 

 

องค์ความรู้ที่ได้รับมอบหมายให้ไปบรรยาย คือ เรื่อง ภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์”  ผมได้ทำสรุปรายงานสาระ โดยย่อ มาให้ทราบดังนี้   

 

วัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน  

ภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ที่ผมกำหนดไว้คือ  
  1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ และบทบาทของทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อองค์การ
  2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ไปบูรณการกับองค์ความรู้อื่น
  3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการทำงานและการดำเนินชีวิตได้
เกณฑ์การวัดผลการเรียน ในส่วนที่ผมรับผิดชอบเรื่อง  “ภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีเกณฑ์ดังนี้  
  • 10% การเข้าชั้นเรียน และการมีส่วนร่วมในห้องเรียน      
  • 10% ส่งการบ้านทาง Blog ภายในวันพุธ
  • 30% ทำรายงานตามที่ได้รับมอบหมาย case study
  • 50% สอบปลายภาค                                                                                     
เมื่อนักศึกษาได้เรียนรู้ ภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์  นักศึกษาก็ควรที่จะได้พูดคุยหรือตอบ คำถาม กับผู้อื่นได้ว่า
  1. Personnel administration กับ HR management ต่างกันหรือไม่อย่างไร
  2. การบริหารทรัพยากรมนุษย์คืออะไร มีบทบาทอย่างไร
  3. หลักในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ดี ควรมีหลักการบริหารจัดการอย่างไร
  4. บริหารทรัพยากรมนุษย์มีกี่กระบวนการ อะไรบ้าง  จงอธิบาย
  5. ทุนมนุษย์คืออะไร ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
  6. นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ดี ควรมีสมรรถนะอย่างไร
  7. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในองค์การของท่าน มีการจัดการอย่างไร ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่อย่างไร

Scope โดยย่อของการบรรยาย-ถาม-ตอบ  มีดังนี้
  1. สิ่งที่นักศึกษาคาดหวัง ต้องการเรียนรู้ในภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์(เน้นธุรกิจอาหาร)
  2. วิวัฒนาการ-ภารกิจ-ปรัชญา-เป้าหมายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
  3. ความหมาย  HR และกระบวนการของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
  4. บทบาทและสมรรถนะของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์
  5. ปัญหาในภาพรวมของ HRM ในธุรกิจอาหาร
  6. ยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรมนุษย์  จากสภาพปัญหาที่พบ
  7. ถาม - ตอบ
 

เนื้อหาสาระโดยย่อ เกี่ยวกับ "ภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีดังนี้

 1. ความหมายของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ อาจกล่าวได้ว่า คือการบริหารคนให้บรรลุเป้าหมายองค์การ 3 ประการดังนี้ ลูกค้าพึงพอใจผลประกอบการ การดำเนินงานขององค์กรดี

พนักงานมีความพึงพอใจ

 

 2. ความแตกต่างระหว่าง Personnel Administration กับ HRM 

 Personnel Administration
  • มองคนเป็น Cost ดูแลแค่เข้ามา และก็ให้ออกไป.
  • ดูแลคนตั้งแต่วันเริ่มงาน และวันสุดท้ายของการจ้าง
  • เป็นกระบวนการทำงานเกี่ยวกับคน เน้นเอกสาร
  • สรรหาตามความต้องการ เน้นปริมาณ และทันกาล
  • เน้นควบคุม ขาด ลา มา สาย  การจ่ายค่าจ้าง
  • ไม่สนใจด้านแรงงานสัมพันธ์ ฯลฯ
  HRM
  • มองคนเป็น ทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดในองค์การ
  • ให้การดูแลตั้งแต่ ก่อนเข้าและหลัง
  • เป็นกระบวนการทำงานที่สอดคล้องกับโครงสร้าง กลยุทธ์และวิสัยทัศน์ขององค์การ
  • การสรรหาและคัดเลือกจะมีการวางแผน  มีการกำหนดสมรรถนะ และคุณสมบัติตามลักษณะงาน
  • มุ่งเน้นวัฒนธรรมและค่านิยมเดียวกันในองค์การ
  • มุ่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเน้นคุณภาพชีวิตการทำงาน
  • บริหารทัศนคติพนักงาน ให้การมีส่วนร่วมฯลฯ

  

3. ความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์
  • ช่วยลดปัญหาด้านคน
  • เพิ่มขีดความสามารถ
  • เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  • เพิ่มคุณภาพขององค์กร
  • เพิ่มคุณภาพาสินค้า/บริการ
  • เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร
  • ช่วยลดต้นทุนของการปฏิบัติการ ฯลฯ

 

4. บทบาทใหม่ของฝ่ายทรัพยากรมนุษย์
  • การเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์  Strategic Partner  เน้นความสำเร็จหรือประสิทธิผลขององค์การ
  • การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง   Change Agent  เน้นการอำนวยการและนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง
  • People Champion เน้นการมองคนว่าเพิ่มคุณค่าให้องค์กรได้
  • การเป็นผู้เชี่ยวชาญ ในงานวิชาชีพ  Functional Expert เน้นประสิทธิภาพของกระบวนการทำงาน

5. กระบวนการในงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ 

 INPUT
  • การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมายของฝ่าย HRM ให้สอดคล้อง กับ วิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ธุรกิจ
  • การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ
  • การวางแผนกำลังคน
  • การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน
  • การสรรหาและเลือกสรร การดูแลก่อนเข้ามาเป็นสมาชิกองค์กร
  • การบรรจุแต่งตั้ง
 PROCESSES การดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์
  • การตรวจสอบผลการปฏิบัติตามแผน
  • การปรับปรุงพัฒนาการทำงานอย่างต่อเนื่อง
  • การสร้างพันธมิตรในองค์การ และนอกองค์การ
  • การทดลองปฏิบัติราชการ
  • การประเมินผลการปฏิบัติงาน
  • การเลื่อนตำแหน่ง
  • การเลื่อนขั้นเงินเดือน
  • การพัฒนาบุคคล
  • สวัสดิการ
 OUTPUT
  • การพ้นจากการเป็นพนักงาน/ลูกจ้าง
  • การดูแลหลังพ้นสภาพการจ้าง
  • การรายงานผลการปฏิบัติงาน
  • ความพึงพอใจของพนักงาน
  • ผลประกอบการขององค์การ
  • ความพึงพอใจของลูกค้า
  • สภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี
  • ทุนมนุษย์ ตามแนวคิด ทฤษฎี 8K’s ของ ศ.ดร.จีระ
6. ทฤษฎีทุน 8 ประการขับเคลื่อนองค์การ- ของ ศ.ดร.จีระ
  • Human Capital ทุนมนุษย์
  • Intellectual Capital  ทุนทาปัญญา
  • Ethical Capital  ทุนทางจริยธรรม
  • Happiness Capital ทุนแห่งความสุข
  • Social Capital ทุนทางสังคม
  • Sustainability Capital  ทุนแห่งความยั่งยืน
  • Digital Capital ทุนทาง IT
  • Talented Capital    ทุนทาง Knowledge, Skill และ Mindset
7. หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เน้น ความสุข  ความสำเร็จ ความยั่งยืน
  • หลักคุณธรรม
  • หลักนิติธรรม
  • หลักสมรรถนะ
  • หลักผลงาน
  • หลักคุณภาพชีวิต
  • หลักการมีส่วนร่วม
8. หลักการบริหารจัดการที่ดี (Good governance) หลักนิติธรรมหลักคุณธรรมหลักความโปร่งใสหลักการมีส่วนร่วมหลักความรับผิดชอบหลักความคุ้มค่า

9. ตัวอย่างปัญหาในการบริหารทรัพยากรมนุษย์(ในธุรกิจอาหาร) เช่น
  • ปัญหาด้านคุณภาพสินค้า-บริการ   สาเหตุของปัญหา เช่น คนขาดความรู้ ทักษะ คน ขาดคุณภาพ
  • ปัญหาการผลิตสินค้า-บริการไม่ทัน สาเหตุของปัญหา เช่น การใช้กำลังคนด้อยมีประสิทธิผล
  • ปัญหาการลาออกของพนักงานระดับล่างสูง  สาเหตุของปัญหา เช่น  สัญญาจ้างกำหนดระยะเวลา  อัตราค่าจ้าง สวัสดิการไม่เพียง ไม่จูงใจเพียงพอ
  • ปัญหา ความขัดแย้งในหน่วยงาน ระหว่าง หัวหน้ากับพนักงาน  สาเหตุของปัญหา เช่น ไม่มีระบบพัฒนาบุคลากรที่ดี ขาดการส่งเสริมด้านภาวะผู้นำ จริยธรรมที่ดี
  • ปัญหาพนักงานพนักงาน ไม่เคารพ ไม่ศรัทธาหัวหน้างาน  สาเหตุของปัญหา เช่น หัวหน้างานขาดทักษะ ขาดความรู้การสร้างอำนาจ บารมี  พนักงานขาดการอบรมอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น

10. การกำหนดยุทธศาสตร์ ควรศึกษาปัญหา จากปัญหาในองค์กร  ให้แก้ไขและป้องกันปัญหา โดยศึกษาจากสาเหตุของปัญหาจากแนวคิด ทฤษฎี Objective Three  ต้นไม้แห่งปัญหา ต้นไม้แห่งความสำเร็จ 

 ตัวอย่างการกำหนดยุทธศาสตร์จากปัญหา
ปัญหา สาเหตุ ยุทธศาสตร์
ปัญหาด้านคุณภาพสินค้า-บริการ   คนขาดความรู้ ทักษะ คน ขาดคุณภาพ ยุทธศาสตร์พัฒนาความรู้ด้านคุณภาพให้กับพนักงาน
ปัญหาการผลิตสินค้า-บริการไม่ทัน การใช้กำลังคนด้อยมีประสิทธิผล ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพกำลังคนทีมีอยู่
ปัญหา ความขัดแย้งในหน่วยงาน หัวหน้างานขาดทักษะ ขาดความรู้ ยุทธศาสตร์พัฒนาหัวหน้างาน
  หน่วยงาน HRM  - หรือหน่วยงานที่มีบุคลากรเป็นจำนวนมาก แลและให้ความสำคัญกับคน  ต้องเป็นองค์การที่พร้อมรับเปลี่ยนแปลง
  • ต้องจัดทำแผนกลยุทธ์  √
  • มีการปรับองค์การใหม่ให้เข้ากับสถานการณ์
  • มีการปรับวัฒนธรรมการทำงาน ?
  • มีการจัดทำแผนกลยุทธ์
  • เน้นการบริหารด้วยผลงาน
บทบาทและสมรรถนะผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ ยุคใหม่ 7 ประการ
  1. คิดเชิงบวก มากกว่าเชิงลบ (Positive Thinking)
  2. คิดเชิงระบบ (System Thinking)
  3. ผู้ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Change Agent)
  4. ผู้กล้าปรับเปลี่ยน/กล้าเสี่ยง (Innovator และ Risk Taker)
  5. ผู้ให้บริการช่วยเหลือผู้อื่น (Service-minded Leader)
  6. ผู้เอื้อประสานสัมพันธ์ ผนึกกำลัง (Coordinator/Collaborator)
  7. ผู้สอน ผู้แนะนำ พี่เลี้ยง (Instructor/Coach/mentor)ผู้มีวิสัยทัศน์ (Visionary Leader)
กิจกรรมที่มีระหว่างการเรียนการสอน
  1. ถาม-ตอบข้อสงสัย ปัญหา หรือสิ่งที่ นักศึกษาปราถนาที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์(เน้นธุรกิจอาหาร)
  2.  การถามประเด็นปัญหา ด้าน HRM เรื่องคน ที่นักศึกษาพบในองค์การ
  3. แนวทางแก้ไข ป้องกันปัญหา
  4.  กิจกรรมกลุ่ม ให้ศึกษา  “การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การของสมาชิกกลุ่ม  วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ปัญหา กลยุทธการจัดการ  ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา
  5. นอกเหนือจากที่แจ้งไป จากข้อ 3 เตรียมเสวนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการเรียนการสอนครั้งต่อไป 
  6.  เขียน Blog “การเรียนการสอนครั้งนี้ ได้ประเด็นอะไร ที่น่าสนใจ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ อย่างน้อย 3-5 ประเด็น ลงใน Blog ของ ศ.ดร.จีระ เช่นเคย ภายในวันพฤหัสฯที่จะถึงนี้

จุดเด่นที่พบ

 
  • นักศึกษาส่วนใหญ่ตั้งใจศึกษาดีมาก
  • นักศึกษามีประเด็นคำถาม สิ่งที่อยากเรียนรู้ที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์กับ
  • นักศึกษาถามคำถามครอบคลุม เรื่อง เทคนิคการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เช่น  
  • เทคนิดการสรรหา คัดเลือก
  • เทคนิคการพัฒนาบลุคลกร การจูงใจ
  • การบริหารทัศนคติ
  • การแรงงานสัมพันธ์
  • ภาวะผู้นำ
  • ทักษะหัวหน้างาน
  • การให้คุณให้โทษ
  • การบริหารความขัดแย้ง
  • การจัดการกับพนักงานที่มีปัญหา  
  • หลักสูตร มีการจัดผู้มีความรู้ ผู้มีประสบการณ์ตรง หลากหลายมาให้ความรู้แก่นักศึกษา ฯลฯ

ต่อจากบล๊อคข้างต้น

 

อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตุและข้อเสนอแนะ ต่อ เพื่อน ๆ อาจารย์ที่เรียน ป.เอก ด้วยกัน และท่านผู้สนใจ ที่จะสามารถทำให้การเรียนการสอน เป็นผลดีกับนักศึกษาได้มากยิ่งขึ้น ก็คือ

  1. การกำหนด เวลาการสอนไว้ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง (ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับ จำนวนนักศึกษา และประเด็นคำถาม กรณีศึกษา และสิ่งที่นักศึกษาปราถนาจะเรียนรู้เพิ่มเติม)  เนื่องจาก "ภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์" เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาวิชา การบริหารทรัพยากรมนุษย์ กล่าวคือเป็นความรู้พื้นฐานของ การศึกษาวิชา HRM สำหรับผู้ที่ไม่ได้มาจากสาย HRM. HRD หากปูพื้นไว้แน่น จะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาในการเรียนรู้ ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในเชิงลึกต่อไป
  2. จัดกิจกรรม HRM Clinic ให้นักศึกษา ทั้งระหว่างเรียน และหลังเรียนไปแล้ว โดยให้อาจารย์/วิทยากรผู้มีประสบการณ์ตรง วิเคราะห์ประเด็นที่นักศึกษาสงสัย และต้องการเรียนรู้เป็นพิเศษ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับนักศึกษาทุกคน
  3. การให้มีการประเมินอาจารย์ผู้สอน แบบ 360 องศา โดยปราศจากการเมืองใด ๆ  ปราศจากการติฉินนินทา การคิดลบล่วงหน้าประการใด เพื่อให้ได้ผลที่โปร่งใส่ เป็นธรรม
  4. การนำผลประเมินมาพัฒนาการเรียนการสอนในโอกาสต่อไป
  5. ให้โอกาสนักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นทุก ๆ คน ทั้งสิ่งที่ต้องการรู้เป็นพิเศษ ด้าน HRM กรณีศึกษา เช่น
  • ปัญหาด้านการสรรหาคัดเลือก
  • ปัญหาด้านการพัฒนาบุคลากร
  • ปัญหาด้านแรงงานสัมพันธ์
  • ฎีกา ศาลแรงงาน กรณี ความขัดแย้งฯ
  • ปัญหาการพ้นสภาพการจ้าง
  • ปัญหาการบริหารทุนทรัพยากรมนุษย์ฯลฯ

 

เพราะว่า "เรื่อง คน ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ไม่มีองค์กรใด สังคมใด ประเทศชาติใดเจริญได้โดยไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องคน"    ขอเชิญ นักศึกษา ท่านผู้อ่าน ผู้สนใจทั่วไปทุกท่าน ค้นหาความรู้ สาระที่เป็นประโยชน์ดังกล่าวได้ในบล๊อคนี้ 

 

ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่าน

 

 

 

 

---------------------------------------

 

หนังสืออ้างอิง

 

 

สำนักงาน ก.พ.  เอกสารประกอบการอบรม หลักสูตร NEW HRM การบริหารทรัพยากรบุคคล ภาครัฐแนวใหม่

 

จีระ หงส์ลดารมภ์(2548) เอกสารประกอบการเรียนการสอนโครงการปริญญาเอกฯ แนวโน้มการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต

 

ยม นาคสุข.(2549) องค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารองค์การ งาน และเรื่องทรัพยากรมนุษย์ (http://gotoknow.org/blog/HRM-YOM5/57899 accessed on September 8-December 13, 2006) 

 

Robert S.Kaplan(2005), HUMAN CAPITAL. (U.S.A.), Harvard Business School Publishing

 

 

R.WAYNE MONDY, ROBERT M. NOE(2006), HUMAN RESOURCE MANAGEMENT. (U.S.A.), Personnel Prentice Hall

นาย วรพจน์ สู่เสน เมื่อ อา. 08 ก.ค. 2550 @ 20:25 [ 315005 ]

เรียน อ.จีระ , อ.ยม , ทีมงาน Chira Academy และผู้อ่านทุกท่าน

ผม นายวรพจน์ สู่เสน นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

เนื่องจากในวันที่ 8/7/50 ที่ผ่านมา ( ผมเขียน Blog วันเดียวกันนี้ ) เป็นวันแรก ที่ผมได้มีโอกาสเรียนกับ อ.ยม นาคสุข หัวข้อโดยรวมที่ อ.ยม สอน คือ "ภาพรวมของการบริหารทรัพยากรมนุษย์" อ.ยม จะมีความรู้เสริมให้จากประเด็นต่างๆที่เราถาม

ที่ผมพอจะจับประเด็นได้ ขอยกตัวอย่างดังนี้

การแก้ไขปัญหา ให้หาสาเหตุของปัญหาแล้วแก้

ในการทำอะไรทุกๆอย่าง ต้องมียุทธศาสตร์ ( การวางแผน ) เสมอ

การจะมองอะไรให้มอง 2 ด้านเสมอ ( ด้านดีและไม่ดี )

แต่ให้มีทัศนคติเป็นบวกเสมอ

ถ้ามีปัญหาอะไร อย่าหนีปัญหา แต่ให้คิดหาวิธีการแก้ไข

สิ่งต่างๆที่ อ.ยมได้ถ่ายทอดมาในวันนี้ เป็นการพูดถึงปัญหาด้านทรัพยากรมนุษย์ต่างๆที่ทุกคนเคยพบเจอมา ทำให้ทุกคนมองภาพออกได้ง่าย และสามารถเก็บเกี่ยวเทคนิคต่างๆ ของ อ.ยมไปใช้ได้ทุกคน

ขอบคุณครับ

Nuntaga Boonsuk เมื่อ อา. 08 ก.ค. 2550 @ 20:48 [ 315028 ]

กราบเรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์, คุณยม นาคสุข และท่านผู้อ่านทุกท่าน

  ดิฉัน นางสาวนันทกา บุญสุข นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จากการที่ดิฉันเข้าเรียนในวันที่ 8 กรกฎาคม 2550 เวลา 9.00 – 13.00 น. เรื่อง ภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์  ดิฉันได้รับประเด็นโป๊ะเชะจากท่านอ.ยม  ดังจะกล่าวในหัวข้อหลักๆ 3 ประเด็น คือ 
  1. แก้ปัญหาที่สาเหตุในทุกๆองค์กรย่อมมีปัญหาเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาของทั้งองค์กร ของฝ่าย ของแผนก หรือแม้แต่ตัวบุคคลเอง ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาก็ต้องแก้ปัญหา แต่การแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพต้องแก้ปัญหาที่สาเหตุไม่ใช่ที่ตัวปัญหาและคนทุกคนต้องมองปัญหาที่เกิดจากตัวเราเองก่อนว่าตัวเรามีข้อบกพร่องอย่างไร อย่าโทษแต่คนอื่น ดังเช่นที่คุณยมยกตัวอย่างบริษัทที่พนักงาน Strike (มีการนัดหยุดงาน) การแก้ปัญหาของผู้บริหารควรถามสาเหตุก่อนว่าที่นัดกันหยุดงานเพราะอะไร? จะได้แก้ปัญหาได้ตรงจุด
  2. คนที่เป็นคนเก่งจะต้องเป็นคนดีด้วย คงไม่มีใครที่ดีพร้อมไปหมดทุกเรื่อง ทุกคนต่างมีทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งในตัวเอง แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว คนที่เก่งมักจะได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้า แต่คนเก่งมีจุดอ่อน คือ ความดื้อรั้น ไม่ยอมรับฟังใครเพราะคิดว่าตัวเองเก่งที่สุด ดังนั้น การที่คนเก่งจะเป็นคนดีด้วยนั้น ต้องคิดบวก (Positive thinking) และเชื่อว่าทุกคนอยากเป็นคนดี แล้วชีวิตจะยั่งยืน ดังเช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านเป็นคนเก่ง มีโครงการที่พระองค์พระราชดำริขึ้นมากมาย และท่านก็เป็นคนดีด้วย ทรงอุทิศพระวรกาย เสียสละทำงานหนักเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของคนทั้งประเทศ จนทุกวันนี้คนทั้งประเทศรักและเทิดทูนท่าน ท่านเป็นคนเก่งและเป็นคนดี ท่านจึงยั่งยืนจนทุกวันนี้
  3. หลักในการสร้างอำนาจการที่หัวหน้าจะมีอำนาจนั้นมีหลักปฏิบัติอยู่ 5 ประการ คือ
  • ให้-หัวหน้าต้องให้โอกาส, ให้ความรู้, ให้อภัย และให้รางวัลกับลูกน้อง
  • ติ-เมื่อลูกน้องทำผิดต้องตำหนิ เพื่อให้ลูกน้องเข้าใจและไม่ทำผิดอีก แต่การตำหนิจะต้องใช้เหตุผล ไม่ใช่อารมณ์
  • ผู้รู้มากกว่า-หลักการง่ายๆก็คือ นำจุดอ่อนของลูกน้องมาเป็นจุดแข็ง ลูกน้องจะได้ชื่นชมและนำมาเป็นแบบอย่าง
  • อ้างอิง-ใช้อำนาจอ้างอิง เช่น กฎขององค์กร หรือ ประธานองค์กรเพื่อให้ลูกน้องตระหนักถึงความสำคัญและเต็มใจปฏิบัติงาน
  • ทางนิติกรรม-จะต้องมีการออกจดหมายหรือแจ้งข่าวสารในการดำเนินงานต่างๆ เพื่อให้การทำงานมีระบบ
ประเด็นทั้ง 3 เรื่องนี้ มีประโยชน์มาก เพราะสามารถนำไปใช้ได้ในทุกๆองค์กร เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินงานได้ตรงตามวัตถุประสงค์ขององค์กร, ลูกค้าพึงพอใจ และพนักงานก็พึงพอใจด้วยเช่นกัน
วสพร บุญสุข เมื่อ จ. 09 ก.ค. 2550 @ 13:17 [ 315533 ]
กราบเรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ ยม นาคสุข และท่านผู้อ่านทุกคน  

ดิฉันนางสาว วสพร บุญสุข นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 

  วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม 2550  เป็นวันแรกได้เรียนกับอาจารย์ยม นาคสุขทำให้ดิฉันได้รับความรู้ในเรื่อง การจัดการทรัพยากรมนุษย์ 3 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นที่หนึ่ง คือ เรื่องของการวางแผน (การสอบ) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของเรา ทุกคนต้องมีการวางแผน ต้องมีการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ตรงตามเป้าหมาย  ซึ่งสอดคล้องกับกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์คือต้องมี Input + process + output   ประเด็นที่สอง คือ การแก้ไขปัญหา ทุกปัญหา ต้องหาสาเหตุก่อนที่จะแก้ไขปัญหา ต้องแก้ที่สาเหตุเสมอไม่ใช่แก้ที่ตัวปัญหา ยกตัวอย่างเช่น คนปวดท้อง ทานยาแก้ปวดท้อง แล้วยังไม่หาย แต่สาเหตุจริงคือความเครียด ดังนั้นจึงต้องแก้ปัญหาโดยการออกกำลังกาย และพักผ่อน จะทำให้ลดความเครียดได้ อาการปวดท้องจะหาย คือการแก้ปัญหาตรงสาเหตุที่เกิดขึ้น  ประเด็นที่สาม คือ ปัญหาใหญ่ขององค์กร คือ System และ Human เพราะว่าองค์กรต้องมีทั้งระบบหรือมนุษย์ที่ดีก่อน ถึงจะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ เริ่มต้นจากมนุษย์ต้องเป็นคนกระทำให้เกิดระบบ ดังนั้นทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นส่วนสำคัญที่สุดในองค์กร ประเด็นที่สี่ คือ Prosonnel Administration เป็นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคแรก ทำงานวันต่อวัน จะดูแลเมื่อเข้ามาทำงานในองค์กร แตกต่างกับ Human Resources Management  เป็นการบริหารทรัพยากรมนุษย์จะดูแลก่อนเข้ามาทำงาน ระหว่างทำงาน ออกจากการทำงาน รวมถึงครอบครัวด้วย  สรุปทั้ง 4 ประเด็นนี้ ดิฉันได้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์มากขึ้น สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน  และต้องเริ่มต้นบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ตัวดิฉันเองก่อนที่จะไปบริหารทรัพยากรมุษย์ในองค์กร จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ  
วสพร บุญสุข เมื่อ จ. 09 ก.ค. 2550 @ 13:17 [ 315533 ]
กราบเรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ ยม นาคสุข และท่านผู้อ่านทุกคน  

ดิฉันนางสาว วสพร บุญสุข นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 

  
วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม 2550  เป็นวันแรกได้เรียนกับอาจารย์ยม นาคสุขทำให้ดิฉันได้รับความรู้ในเรื่อง การจัดการทรัพยากรมนุษย์ 3 ประเด็น ดังนี้ 
ประเด็นที่หนึ่ง คือ เรื่องของการวางแผน (การสอบ) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของเรา ทุกคนต้องมีการวางแผน ต้องมีการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ตรงตามเป้าหมาย  ซึ่งสอดคล้องกับกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์คือต้องมี Input + process + output   
ประเด็นที่สอง คือ การแก้ไขปัญหา ทุกปัญหา ต้องหาสาเหตุก่อนที่จะแก้ไขปัญหา ต้องแก้ที่สาเหตุเสมอไม่ใช่แก้ที่ตัวปัญหา ยกตัวอย่างเช่น คนปวดท้อง ทานยาแก้ปวดท้อง แล้วยังไม่หาย แต่สาเหตุจริงคือความเครียด ดังนั้นจึงต้องแก้ปัญหาโดยการออกกำลังกาย และพักผ่อน จะทำให้ลดความเครียดได้ อาการปวดท้องจะหาย คือการแก้ปัญหาตรงสาเหตุที่เกิดขึ้น  
ประเด็นที่สาม คือ ปัญหาใหญ่ขององค์กร คือ System และ Human เพราะว่าองค์กรต้องมีทั้งระบบหรือมนุษย์ที่ดีก่อน ถึงจะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ เริ่มต้นจากมนุษย์ต้องเป็นคนกระทำให้เกิดระบบ ดังนั้นทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นส่วนสำคัญที่สุดในองค์กร 
ประเด็นที่สี่ คือ Prosonnel Administration เป็นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคแรก ทำงานวันต่อวัน จะดูแลเมื่อเข้ามาทำงานในองค์กร แตกต่างกับ Human Resources Management  เป็นการบริหารทรัพยากรมนุษย์จะดูแลก่อนเข้ามาทำงาน ระหว่างทำงาน ออกจากการทำงาน รวมถึงครอบครัวด้วย  
สรุปทั้ง 4 ประเด็นนี้ ดิฉันได้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์มากขึ้น สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน  และต้องเริ่มต้นบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ตัวดิฉันเองก่อนที่จะไปบริหารทรัพยากรมุษย์ในองค์กร จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ  
วสพร บุญสุข เมื่อ จ. 09 ก.ค. 2550 @ 13:17 [ 315533 ]

กราบเรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ ยม นาคสุข และท่านผู้อ่านทุกคน

 

ดิฉันนางสาว วสพร บุญสุข นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

 

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม 2550 เป็นวันแรกได้เรียนกับอาจารย์ยม นาคสุขทำให้ดิฉันได้รับความรู้ในเรื่อง การจัดการทรัพยากรมนุษย์ 3 ประเด็น ดังนี้

 

ประเด็นที่หนึ่ง คือ เรื่องของการวางแผน (การสอบ) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของเรา ทุกคนต้องมีการวางแผน ต้องมีการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้ตรงตามเป้าหมาย ซึ่งสอดคล้องกับกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์คือต้องมี Input + process + output

 

ประเด็นที่สอง คือ การแก้ไขปัญหา ทุกปัญหา ต้องหาสาเหตุก่อนที่จะแก้ไขปัญหา ต้องแก้ที่สาเหตุเสมอไม่ใช่แก้ที่ตัวปัญหา ยกตัวอย่างเช่น คนปวดท้อง ทานยาแก้ปวดท้อง แล้วยังไม่หาย แต่สาเหตุจริงคือความเครียด ดังนั้นจึงต้องแก้ปัญหาโดยการออกกำลังกาย และพักผ่อน จะทำให้ลดความเครียดได้ อาการปวดท้องจะหาย คือการแก้ปัญหาตรงสาเหตุที่เกิดขึ้น

 

ประเด็นที่สาม คือ ปัญหาใหญ่ขององค์กร คือ System และ Human เพราะว่าองค์กรต้องมีทั้งระบบหรือมนุษย์ที่ดีก่อน ถึงจะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ เริ่มต้นจากมนุษย์ต้องเป็นคนกระทำให้เกิดระบบ ดังนั้นทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นส่วนสำคัญที่สุดในองค์กร

 

ประเด็นที่สี่ คือ Prosonnel Administration เป็นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคแรก ทำงานวันต่อวัน จะดูแลเมื่อเข้ามาทำงานในองค์กร แตกต่างกับ Human Resources Management เป็นการบริหารทรัพยากรมนุษย์จะดูแลก่อนเข้ามาทำงาน ระหว่างทำงาน ออกจากการทำงาน รวมถึงครอบครัวด้วย

 

สรุปทั้ง 4 ประเด็นนี้ ดิฉันได้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์มากขึ้น สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน และต้องเริ่มต้นบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ตัวดิฉันเองก่อนที่จะไปบริหารทรัพยากรมุษย์ในองค์กร จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ

อรุณี แซ่ตั้ง เมื่อ อ. 10 ก.ค. 2550 @ 07:53 [ 316115 ]

เรียนศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์ และ อาจารย์ยม  นาคสุข ที่เคารพ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

  

ดิฉันนางสาวอรุณี แซ่ตั้ง นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

  

จากการที่อาจารย์ยม ได้กรุณามาสอนเรื่อง ภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในวันอาทิตย์ที่  8 กรกฎาคม 2545 ที่ผ่านมาทำให้ดิฉันได้รับความรู้เกี่ยวกับความสำคัญและ หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพิ่มขึ้นอย่างมาก

  

นอกจากนั้น  อาจารย์ยม ยังได้ให้ประเด็นที่น่าสนใจหลาย ๆเรื่องซึ่งล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งสิ้น และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับทั้งในชีวิตประจำวันและในหน้าที่การงาน  ซึ่งประเด็นที่น่าสนใจที่สุดสำหรับดิฉัน 3 หัวข้อคือ

  
  1. การทำงานใดๆ ก็ตามเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้นมาต้องเริ่มพิจารณาที่ตัวเองก่อน  อย่าโทษคนอื่นเพื่อที่จะได้แก้ไขที่ตัวเราและเกิดการพัฒนา
  2. การแก้ปัญหาต้องเริ่มแก้ที่สาเหตุ รากเหง้าของปัญหาอย่ามุ่งแก้ที่ตัวของปัญหาแต่เพียงอย่างเดียวจึงจะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง  
  3.  ปัญหาขององค์กรต่างๆมีอยู่สองเรื่องคือ เรื่องระบบ และเรื่องคน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคนเนื่องจากคนเป็นกลไกในการขับเคลื่อนระบบ ถึงระบบจะดีแค่ไหนถ้าคนที่ควบคุมระบบไม่ดีก็ไม่สามารถทำให้องค์กรเจริญได้ 
 สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณ อาจารย์ยม เป็นอย่างมากที่เสียสละเวลามาให้ความรู้ และให้คำแนะนำตอบคำถามต่างๆของนักศึกษา และที่ขาดเสียไม่ได้คือขอบพระคุณ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์  ที่ได้เสียละเวลาวางแผนการสอนพวกเราเป็นอย่างดี ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ในการเรียนและการทำงานเป็นอย่างสูง
อรุณี แซ่ตั้ง เมื่อ อ. 10 ก.ค. 2550 @ 07:53 [ 316115 ]

เรียนศ.ดร. จีระ  หงส์ลดารมภ์ และ อาจารย์ยม  นาคสุข ที่เคารพ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

  

ดิฉันนางสาวอรุณี แซ่ตั้ง นักศึกษาปริญญาโท คณะเทคโนโลยีการเกษตร สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

  

จากการที่อาจารย์ยม ได้กรุณามาสอนเรื่อง ภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในวันอาทิตย์ที่  8 กรกฎาคม 2545 ที่ผ่านมาทำให้ดิฉันได้รับความรู้เกี่ยวกับความสำคัญและ หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพิ่มขึ้นอย่างมาก

  

นอกจากนั้น  อาจารย์ยม ยังได้ให้ประเด็นที่น่าสนใจหลาย ๆเรื่องซึ่งล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งสิ้น และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับทั้งในชีวิตประจำวันและในหน้าที่การงาน  ซึ่งประเด็นที่น่าสนใจที่สุดสำหรับดิฉัน 3 หัวข้อคือ

  
  1. การทำงานใดๆ ก็ตามเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้นมาต้องเริ่มพิจารณาที่ตัวเองก่อน  อย่าโทษคนอื่นเพื่อที่จะได้แก้ไขที่ตัวเราและเกิดการพัฒนา
  2. การแก้ปัญหาต้องเริ่มแก้ที่สาเหตุ รากเหง้าของปัญหาอย่ามุ่งแก้ที่ตัวของปัญหาแต่เพียงอย่างเดียวจึงจะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง  
  3. ปัญหาขององค์กรต่างๆมีอยู่สองเรื่องคือ เรื่องระบบ และเรื่องคน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคนเนื่องจากคนเป็นกลไกในการขับเคลื่อนระบบ ถึงระบบจะดีแค่ไหนถ้าคนที่ควบคุมระบบไม่ดีก็ไม่สามารถทำให้องค์กรเจริญได้ 
 

สุดท้ายนี้ขอขอบพระคุณอาจารย์ยมเป็นอย่างมากที่เสียสละเวลามาให้ความรู้ และให้คำแนะนำตอบคำถามต่างๆของนักศึกษา

 

และที่ขาดเสียไม่ได้คือขอบพระคุณ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์  ที่ได้เสียละเวลาวางแผนการสอนพวกเราเป็นอย่างดี ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ในการเรียนและการทำงานเป็นอย่างสูง
นิรชร ไชยกาญจน์ เมื่อ อ. 10 ก.ค. 2550 @ 18:09 [ 316678 ]
กราบเรียนศ.ดร.จีระ , อาจารย์ยม และท่านผู้อ่านblogทุกท่าน   ดิฉันนางสาวนิรชร ไชยกาญจน์ นักศึกษาระดับปริญญาโทสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สจล.  จากการที่ได้มีโอกาสได้ฟังการบรรยายของอาจารย์ยม เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เกี่ยวกับภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทำให้ดิฉันมีความคิดเห็นดังนี้
  1. การที่เราจะบริหารงานต่างๆในองค์กรให้ประสบความสำเร็จ ได้นั้น ซึ่งตัวดิฉันเองแบ่งความสำเร็จในการทำงานออกเป็น 2 ด้านคือ
  • 1.1 ด้านผลงานจากการทำงานคือ หน่วยงานสามารถปฏิบัติงานได้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางแผนไว้ เช่น ทำการผลิตได้ตามแผนการผลิตโดยมี%ตำหนิไม่เกิน1%เทียบกับผลผลิต
  • 1.2  ด้านความร่วมมือในการทำงานคือ ทุกคนที่อยู่ในทีมงานเดียวกันสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข(Happiness)ในการทำงาน
 

ซึ่งการจะทำให้ประสบความสำเร็จดังกล่าวได้นั้นควรจะต้องมีการนำหลักการบริหารแบบHRMมาใช้มากกว่าแบบ Personel administration เพราะหลักการดังกล่าวจะเน้นการดูแลให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์มากกว่า ซึ่งจะทำให้บุคลากรที่อยู่ในองค์นั้น ๆ มีศักยภาพในการทำงานและยินดีที่จะทำงานเต็มความสามารถให้กับองค์กร ทำให้องค์กรนั้นๆมีการพัฒนาไปในทางที่ดีอย่างต่อเนื่อง

  

สิ่งที่สำคัญที่สุดของการที่จะทำให้เกิดการบริหารที่มีหลักการ HRMได้นั้น ต้องเริ่มที่ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต้องมีนโยบายและเป็นผู้ริเริ่มที่จะทำ เพราะถ้าหากหน่วยงานต่างๆ ต้องการจะทำแต่ผู้บริหารระดับสูงไม่เห็นด้วยก็คงจะเกิดระบบนี้ได้ยาก ซึ่งเป็นหน้าที่หลักที่ทางฝ่ายบุคคล จะต้องดำเนินการเป็นอันดับแรก เพื่อให้การดำเนินงานตามแผนที่วางไว้เดินต่อไปได้

  นอกจากนี้สิ่งที่ดิฉันได้รับเพิ่มเติมนอกเหนือจากความรู้ทางด้านHRแล้ว อาจารย์ยังได้พูดถึงการทำงานหรือการเรียนที่ดีอีกว่า ควรจะต้องมีการวางแผนและกำหนดเป้าหมายในการเรียน เพื่อที่เราจะได้ไม่เสียเวลาและเสียโอกาสที่ดีๆไปขอขอบคุณอาจารย์ยมไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ 
นายปริญญา รักพรหม เมื่อ พ. 11 ก.ค. 2550 @ 00:04 [ 317000 ]

เรียน ศ.ดร.จีระ  หงลดารมย์, อ.ยม  นาคสุข สวัสดีเพื่อนๆ AFIM6 และท่านผู้อ่านทุกท่าน  

  

ผมนายปริญญา  รักพรหม นักศึกษา ป.โท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

  

สำหรับการเรียนในวันอาทิตย์ที่ 8 ก.ค.50 ที่ผ่านมาซึ่งเป็นหัวข้อเกี่ยวกับเรื่องภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารเนื้อหาที่ อ.ยม ได้นำมาสอนลูกศิษย์ในวันนั้นถือว่าเป็นประโยชน์มากครับ

  

เพราะจะเกี่ยวข้องกับนักศึกษาโดยตรงซึ่งส่วนใหญ่ก็ทำงานอยู่ในภาคอุตสาหกรรมเกษตร-อาหาร การเรียนการสอนก็เป็นบรรยากาศที่เน้นการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็แลกเปลี่ยนความรู้กันตามแนวทางที่ ท่าน อ.จีระได้วางไว้

  

ต้องขอขอบคุณอาจารย์ทั้ง 2 ท่านมากครับ ที่ได้ช่วยปูพื้นฐานและชี้นำความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความรู้ความสามารถ 

  

สำหรับการบริหารงานในองค์กรนั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเกี่ยวข้องกับการบริหารคนและบริหารระบบ โดยเฉพาะการทำงานที่เกี่ยวข้องคนนั้นเป็นเรื่องที่ยากและสำคัญมาก เพราะว่าคนเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญมากที่สุดในองค์กร

  

ใครจะบอกว่ามีเงินทุนมาก ทุ่มงบประมาณพัฒนาทางเทคโนโลยี เครื่องมือให้ทันสมัยเพื่อยกระดับและคุณภาพขององค์กรให้ดีขึ้นนั้นยังไม่เพียงพอและจะไม่ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนได้ หากไม่ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลขององค์กรให้มีคุณภาพ

  

องค์กรจะก้าวหน้าอย่างมั่นคงผู้บริหารจำเป็นจะต้องกำหนดยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาคุณภาพทรัพยากรบุคคลภายในองค์กรให้ดีเพื่อให้บุคลากรได้พัฒนาความรู้ ความสามารถ ทักษะการทำงาน และมีความภูมิใจในงานที่ทำ

  

นอกจากรายได้ที่ได้รับอย่างเหมาะสมจากองค์กรแล้วนั้นบุคลากรจะมีความภูมิใจมากหากผลการทำงานได้เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จขององค์กร การนำหลักการง่ายๆ คือ PDCA (Plan Do Check Action) นอกจากจะนำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพงานแล้ว ยังมีความสำคัญในการช่วยพัฒนาบุคลากรให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ คิดแก้ไขปัญหา อย่างต่อเนื่องครับ 

  หลักการนี้สามารถนำไปใช้ได้กับทุกๆสายงานไม่เฉพาะด้านอุตสาหกรรมอาหาร หากมีโอกาสอยากให้ อ.ยม ช่วยแนะนำความรู้ด้านระบบ TQM ด้วยครับ. ขอบคุณครับ  
Miss Supaporn Numrungroj เมื่อ พ. 11 ก.ค. 2550 @ 01:18 [ 317015 ]

กราบเรียน ท่าน อาจารย์ศ. ดร. จีระ,อาจารย์ยม, เพื่อนๆนักศึกษา MBA อาหารและท่านผู้อ่านทุกๆท่านค่ะ

  

ดิฉัน น.ส. สุภาภรณ์ นำรุ่งโรจน์ นศ.MBAอาหาร ภาควิชาบริหารธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

  

รู้สึกเป็นเกรียติเป็นอย่างยิ่งที่เป็นความโชคดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นลูกศิษย์ ท่านอ.จีระแล้ว ยังได้มีโอกาสได้เป็นลูกศิษย์ อ.ยม ด้วยรู้สึกภูมิใจและภูมิใจที่วิชา HR นี้ให้ความสำคัญกับ Human เป็นอย่างมาก ที่มีผู้มีประสบการณ์ตรงหลากหลายมาให้ความรู้แก่พวกเราทุกคนค่ะ

  จากเมื่อวันที่ได้เรียนกับอาจารย์ยม เป็นวันแรกอาจารย์ได้เล่าประวัติ,ประสบการณ์ต่าง ๆ ของท่าน ให้ทราบและมาดูที่ web เพิ่มเติมรู้สึกทึ่งในความสามารถของอาจารย์ยม  ที่อยู่ในวงการอุตสาหกรรมอาหารที่ใกล้ตัวพวกเราและมองภาพพวกเราออกว่ามีพื้นฐานเป็นอย่างไร  ทำให้ทราบว่าอาจารย์ยม  ท่านได้ปฏิบัติตามสิ่งที่ท่าน  อ.จีระย้ำอยู่เสมอว่าคนเราต้อง  ใฝ่รู้ และ หาความรู้อย่างต่อเนื่อง ไม่มีจุดสิ้นสุด ที่จะเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าได้        จากการเรียนวิชา HR เมื่อวันที่ 8/7/50 ซึ่งอาจารย์ยม  ได้สอนและถ่ายทอดความรู้ในเรื่องภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีดังนี้·         

ความสำคัญของ HRM หลังจากได้เรียนรู้และได้ตระหนักว่า HRM นั้นมีความสำคัญ มีประเด็น ดังนี้

 
  1. HRM เป็นระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ดีในปัจจุบัน กล่าวคือ เป็นระบบที่มีการดูแลคนเหมือนคนในครอบครัว ที่ต้องให้ความรัก,ความเอาใจใส่และห่วงใยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต่างจากระบบ Personnel Management ที่เป็นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มองคนเป็นแค่สินค้า หรือเครื่องจักร ที่ยิ่งนานวันจะเสื่อมลง เท่านั้น    ให้แต่ค่าจ้าง เมื่อรับเข้ามาและก็ให้ออกไป ซึ่งไม่ให้ความสำคัญกับคน แต่เน้นความต้องการผลิตสินค้าให้ปริมาณมาก กล่าวคือ คิดวิธีหรือทำยังไงก็ได้ให้ได้ product ที่มากที่สุด ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ได้เจอมากับตนเอง รู้สึกถึงไม่มีความรู้สีกที่ดีกับองค์กรนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารและผู้จัดการที่ใช้ระบบแบบนี้    ปัญญาที่พบคือ ภาวะสมองไหล พนักงานตั้งแต่ระดับพนักงานถึงระดับผจก.ฝ่าย เกิดการเข้า-ออก อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบเกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะในเรื่องของ ระบบคุณภาพต่างๆของบริษัท ไม่แข็งแรงพบจุดบอดต่างๆมากมาย ไม่มีบุคลากรที่มีคุณสมบัติหรือความสามารถมากพอที่จะทำให้องค์กรเติบโตไปได้ และฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคลไม่มีความใส่ใจหรือดูแลพนักงานในองค์กรเลย    เขียนเป็นแผนแต่ไม่ได้นำมาปฏิบัติกับพนักงานในองค์กร  ซึ่งการใช้ระบบ HRM นั้นจะต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้และความใส่ใจ เข้าใจกับระบบนี้และให้ความสำคัญกับระบบ HRM เป็นอย่างดี   สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ ต้องมีการลงทุนกับคนสูงกว่า Personnel Management เพราะ ระบบ HRM เป็นระบบที่ให้ความสำคัญกับคนเป็นอันดับแรก เพราะถ้าในองค์กรขาดคนที่เป็นทั้งคนเก่งและคนดีนั้น ก็จะไม่สามารถทำให้องค์กรนั้นประสบความสำเร็จหรือเติบโตต่อไปได้ และเป็นระบบที่ต้องใช้ปัจจัยต่างๆมากมายที่จะ support ได้ที่เป็นสิ่งสำคัญและหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย เพราะในปัจจุบันเศรษฐกิจไทยไม่คร่องตัว ทำให้องค์กรต่างๆ เกิดการ save cost เกิดขึ้น ทำให้ทุกองค์กรไม่สามารถใช้ระบบ HRM นี้ได้
  2. กับประเด็นที่ว่าการทำงานกับองค์กรนั้น ระยะเวลาในการทำงานกับองค์กรไม่ใช่สิ่งสำคัญ ซึ่งดิฉันเห็นด้วยกับอาจารย์เป็นอย่างยิ่งและโป๊ะเฉ๊ะ เป็นอย่างมาก เพราะ ต้องพิจารณาอย่างอื่นมาเกี่ยวข้องด้วย เช่น บุคคลนั้นได้มีการทำงานอะไรให้กับองค์กรบ้าง และ บุคคลนั้นอาจต้องการทำงานที่ท้าทายและใช้เวลากับองค์กรนั้นไม่มากนักหรือไม่ยึดติดกับองค์กรนั้นไปตลอดชีวิต เพื่อที่จะนำประสบการณ์ไปต่อยอดกับการดำเนินชีวิตของตนเองและครอบครัวต่อไปได้     
 คนที่ทำงานดีหรือมี talent ไม่จำเป็นต้องอยู่นาน เพราะบางคนอยู่ในองค์นานเป็น 10 ปี แต่อาจมีผลงาน สู้คนที่อยู่ 1-3 ปี ไม่ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Master ที่ใช้ฝีมือตนเอง ไม่ได้ copy มากจากของคนอื่น  และผู้บริหารต้องมาพิจารณาด้วยว่า บุคคลนั้นได้ทำอะไรให้องค์กรบ้าง ควรให้ผลตอบกับเขาที่ทำงานให้กับบริษัทอย่างเต็มที่และจะทำให้เกิดความรู้สึกและผูกผันเหมือนบริษัทเป็นครอบครัวแห่งที่ 2  ·        ปัญญาที่พบด้านคนจากประสบการณ์ของดิฉัน มีประเด็น ดังนี้
  1. การบ้าอำนาจ หัวหน้างานใช้แต่อำนาจอย่างเดียว ไม่มีความรักและความจริงใจให้กับลูกน้อง หวังผลประโยชน์ฝ่ายเดียว ทำให้ลูกน้องไม่เกิดความศรัทธา เคารพ นับถือและให้เกรียติ กล่าวคือ ไม่มีบารมี
  2. ใช้คนคุ้มมาก กล่าวคือ ทำงานเกินกำลังที่จะทำไหว ทำให้เกิดความเหนื่อยล้าและทำให้ทำงานได้ไม่ดีและผิดพลาดขึ้นบ่อย
  3. ลด O.T. กับพนักงาน แต่งานต้องเสร็จเรียบร้อย ซึ่งทำได้ยากและทำให้พนักงานเกิดความเครียด และไม่มีความสุขกับการทำงาน
  4. กดกันกับลูกน้องตลอดเวลา ไม่ใจกว้างกับลูกน้อง ต้องมีผลประโยชน์มาแลกเปลี่ยนเสมอ อิจฉาลูกน้อง ไม่ส่งเสริมหรือพัฒนาลูกน้อง กล่าวคือ ส่งเสริมตนเองและพัฒนา traing ตนเอง
  5. ตามความคิดของดิฉัน คิดว่า ผู้บริหารที่ดีควรที่จะ ให้ กับลูกน้องมากๆ เช่น ความรู้เกี่ยวกับงาน แก้ปัญหาให้กับลูกน้องได้ และควรเห็น ลูกน้องเป็นคนในครอบครัว เช่น พี่น้อง ซึ่งจะทำให้เกิดการทำงานที่มีความสุขทั้งต่อตนเองและบุคคลอื่นด้วย เมื่อลูกน้องทำผิดสามารถตำหนิได้แต่ไม่ควรโยนความผิดให้เขา หัวหน้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบด้วย ต้องให้เกรียติกับลูกน้องเป็นอย่างมากห้ามดูถูกคนเป็นเด็ดขาดถึงการศึกษาจะต่ำกว่าเราก็ตาม เพราะเราทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน 
 นี่แหละค่ะที่ดิฉันคิดว่า ถึงจะเป็นหัวหน้าที่ดีได้ ซึ่ง ดิฉันก็นำมาปฏิบัติแต่ก็ยอมรับค่ะ ว่าไม่ได้ 100 % ซึ่งก็มีปัญหาอย่างอื่นมาเกี่ยวข้องด้วย 

สรุป จากหัวข้อต่างๆที่กล่าวมา ก็เกิดจากวิธีสร้างอำนาจของผู้บริหารที่ดี หรือ อำนาจทั้ง 5 ในอย่างต่ำ 8 ชั่วโมง / วัน มีดังนี้

  1. อำนาจสร้างด้วยการให้
  2. อำนาจสร้างด้วยการติ
  3. อำนาจสร้างด้วยการเป็นผู้รู้มากกว่า
  4. อำนาจสร้างด้วยการอ้างอิง
  5. อำนาจทางนิติกรรม                               
 

ขอบคุณค่ะ     

     

น.ส. สุภาภรณ์  นำรุ่งโรจน์  

         รหัสนักศึกษา 50066215                
รสสุคนธ์ น้อยจินดา เมื่อ พ. 11 ก.ค. 2550 @ 10:08 [ 317202 ]
กราบเรียน ศ.ดร.จีระ หงลดารมภ์ อาจารย์ยม นาคสุข และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

 

ดิฉัน นางสาวรสสคนธ์  น้อยจินดา  นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

  

จากที่ได้เรียนในวันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เวลา 9.00 – 13.00 น. เรื่อง ภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นการเรียนครั้งแรกกับอาจารย์ยม รู้สึกชื่นชอบบรรยากาศในการเรียนเป็นอย่างมาก เนื้อหาที่เรียนที่ดิฉันจับประเด็นได้หลักๆ 3 ประเด็น ดังนี้

  

ประเด็นแรก การวางแผน วางยุทธศาสตร์  คือ การจะทำอะไรต้องมีการวางแผนล่วงหน้า อย่างที่ท่านอาจารย์ถามนักศึกษาเกี่ยวกับการเก็บ A ของแต่ละคน ต้องมีการวางแผนในการเรียน วางยุทธศาสตร์ไว้ก่อน แล้วพยายามปฏิบัติให้ได้ตามแผนนั้น 

  

ประเด็นที่สอง การแก้ปัญหาต้องแก้จากสาเหตุ  ศึกษาถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา อย่ามองข้ามตนเอง ถ้าปัญหาเกิดจากตนเองก็ต้องแก้ก่อนที่จะไปกล่าวโทษคนอื่น

  

ประเด็นที่สาม การบริหารจัดการคนเก่ง ให้ทั้งเก่งและมีคุณธรรม จริยธรรม ทำการวิเคราะห์คนเก่ง ถ้าเป็นคนเก่งแต่อ่อนด้านความดี ต้องเร่งการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าขององค์กร

  

จากประเด็นที่สรุปได้ทั้งสาม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารตนเองและบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร มองภาพให้กว้างขึ้น มี Positive thinking อีกทั้ง ยังได้รับความรู้เพิ่มเติมจากการตอบคำถามของท่านอาจารย์ยมที่นักศึกษาร่วมกันถาม

ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ยมมากค่ะ 
อรนุช หล่ำสกุลไพศาล เมื่อ พ. 11 ก.ค. 2550 @ 11:17 [ 317247 ]

กราบเรียนศ.ดร.จีระ , อาจารย์ยม และท่านผู้อ่านblogทุกท่าน 

  

ดิฉันนางสาวอรนุช หล่ำสกุลไพศาล นักศึกษาระดับปริญญาโทสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สจล. จากการที่ได้มีโอกาสได้ฟังการบรรยายของอาจารย์ยมเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

  

เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนวิชา HR ซึ่งอาจารย์ยมได้มาสอนและถ่ายทอดความรู้ในเรื่องภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีดังนี้

   หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์  ที่ได้เรียนรู้ เช่น Personnel administration กับ HR management ต่างกันตรงที่  
Personnel administration HR management
  • มอง คน เป็นต้นทุน
  • เริ่มดูแล คน เหล่านั้นต่อเมื่อเขาเหล่านั้นได้เข้าเป็นพนักงานขององค์กรแล้ว ในช่วงการทดลองงานจะยังไม่มีการดูแล และจะดูแลตั้งแต่เริ่มทำงานจนถึงวันสุดท้ายของการจ้างงาน
  • กระบวนการทำงานด้านคน เน้นตามเอกสารทั้งการควบคุมขาด ลา มาสาย การจ่ายค่าจ้าง และจัดหาคนตามความต้องการ เน้นปริมาณ ไม่สนใจเรื่องแรงงานสัมพันธ์
  • มองคนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า
  • เริ่มดูแลคนตั้งแต่เข้างาน แม้จะอยู่ในช่วงการทดลองงาน จนถึงหลังการทำงาน รวมถึงมุ่งพัฒนาให้เกิดการมีส่วนร่วม รวมถึงสร้างวัฒนธรรม ปรับทัศนคติ ค่านิยมของพนักงาน ให้ตรงกัน
  • การคัดเลือก สรรหาจะมีการวางแผน มีการกำหนดสมรรถนะ และคุณสมบัติตามลักษณะงาน เน้นกระบวนการทำงานที่สอดคล้องกับโครงสร้าง กลยุทธ์ และวิสัยทัศน์ขององค์กร
  

ในบริษัทมีการลาออกกันสูง แล้วก็ต้องทำการฝึกงานให้กับคนที่เข้ามาใหม่ อย่างที่ อาจารย์ยม แนะนำว่า

  

การแก้ปัญหาต้องแก้ที่ต้นเหตุ ต้องถามตัวเอง “Why” 5 ครั้งแล้วถึงจะได้คำตอบออกมาโดยเริ่มจากถามตัวเราเองก่อน why!why!why!why!why!

  

แม้แต่เรื่องแรงงานสัมพันธ์ แรกก็ไม่รู้เลยว่าคืออะไร แล้วทำไมต้องมี เพราะที่ทำงานมีแต่สหภาพแรงงาน ก็พึ่งทราบจากอาจารย์ยม ว่าแรงงานสัมพันธ์คืออะไร ทำไมจึงต้องมี 

  

ทำไมจึงต้องมี แรงงานสัมพันธ์ เพราะแรงงานสัมพันธ์ มีไว้เพื่อรับฟังความคิดเห็นของพนักงานในองค์กร อย่างเช่นห้องน้ำไม่เพียงพอ โรงอาหารไม่มีความสะอาด เป็นต้น

  

แรงงานสัมพันธ์ก็จะนำข้อเสนอเหล่านั้นไปแจ้งให้ เจ้าขององค์กร หรือบุคคลที่สามารถจัดการในข้อเรียกร้องเหล่านั้นได้ แต่ถ้าแรงงานสัมพันธ์ ทำได้แค่เพียงบอกว่า ทนทนไป ก็จะก่อให้เกิดการพูดคุยกัน รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นแผนก แล้วจดทะเบียนจนเกิดเป็นสหภาพแรงงาน

  

การพัฒนาบุคลากร คือต้องดูว่าองค์กรเรามีคนเก่งกี่เปอร์เซ็นต์ และเรื่องที่สองต้องดูว่าเขาอ่อนอะไร แล้วจึงเสริมให้เขา อย่างความรู้ ทัศนะคติ คุณธรรม ถามตัวเองว่าเคยเสริมให้เขาหรือไม่ แล้วทำไมถึงไม่ทำ

  

สิ่งที่สำคัญคือก่อนที่เราจะ Change คนอื่น เราต้อง Positive ก่อน เมื่ออาจารย์พูดถึงเรื่อง การคิดบวก จึงถามตัวเองทันทีว่าเราไม่เคยคิดถึงเรื่องการคิดบวกเลย

  

ยอมรับว่าตอนที่อาจารย์ยม พูดถึงเรื่องนี้ งง ว่าจำเป็นด้วยหรือ เมื่อทบทวนดูแล้วจึงรู้ว่าเมื่อลองคิดบวกกับคนที่ร่วมงานด้วยในช่วงวันจันทร์-อังคารที่ผ่านมานี้ ทำให้รู้สึกสบายใจอย่างบอกไม่ถูก

  

การติเพื่อก่อ ถือเป็นเทคนิคหนึ่ง คือควรทำโดยทันทีเมื่อลูกน้องทำผิด ด่าคนให้เพราะ ติเพื่อก่อ ติเพื่อให้เกิดการสร้างสรรค์ อาจใช้อำนาจอ้างอิง  อำนาจทางนิติกรรม โดยให้โอกาส ความรู้ ให้อภัย ให้คุณ ให้โทษ บริหารเขาเหมือนลูกและน้องให้ความเป็นกันเอง

  

แต่ก่อนอื่นการที่เราจะเป็นผู้นำ จะติเขาได้ต้องรู้ให้มากกว่าลูกน้อง ต้องดูว่าลูกน้องมีจุดอ่อนอะไร แล้วนำจุดอ่อนเหล่านั้นทำเป็นจุดแข็งของเรา

  

ช่วงท้ายชั่วโมง อาจารย์ยมได้ย้ำว่าการจะทำอะไรต้องมีทุนความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม มีปัญญา มีทุนทาง IT รู้จักพอประมาณ ไม่ทำอะไรเกินตัว

ทำแล้วต้องยั่งยืน ตามทฤษฏี 8 K’s ของท่านอาจารย์จีระ
สุมิตรา พนาอภิชน เมื่อ พ. 11 ก.ค. 2550 @ 11:55 [ 317282 ]

สวัสดี อาจารย์ จีระ, อาจารย์ ยม และท่านผู้อ่านทุกท่าน   

       

เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2550 ที่ผ่านมา ดิฉัน นางสาว สุมิตรา พนาอภิชน ได้เข้าศึกษาวิชา Human Resources Management กับอาจารย์ ยม ณ. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต พอจะสรุปเป็นประเด็นได้ดังต่อไปนี้

  

1. คนที่จะทำอะไรแล้วประสบความสำเร็จได้นั้น สิ่งที่แรกที่ต้องมีคือ การทำจิตให้นิ่งหรือการมีสมาธิในการที่จะทำสิ่งต่างๆ และการมีความเชื่อมั่นในสิ่งที่จะทำว่าจะต้องประสบความสำเร็จ เพราะจิตของมนุษย์เรานั้นจะเป็นไปตามที่คิด ถ้าเราคิดว่าคงไม่สำเร็จแน่งานนั้นก็อาจจะไม่สำเร็จดังที่จิตได้คิด

  

2. การที่เราจะมองหรือตัดสินใครสักคนว่าเป็นคนเช่นไรนั้น ให้มอง 2 ด้าน คือ ด้านบวกและด้านลบ แต่ส่วนใหญ่แล้วคนเรามักจะมองคนอื่นเฉพาะที่เป็นด้านลบเท่านั้น ดังนั้น คนที่จะประสบความสำเร็จในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้ดีนั้น สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการมองคนให้มองสองด้าน แล้วนำสิ่งที่ได้มาวิเคราะห์ก่อนที่จะตัดสินใจว่า คนๆนั้นเป็นคนไม่ดี และผู้บริหารที่ดีต้องมีความเชื่อว่า  คนมีความสำคัญที่สุดในองค์กร พนักงานไม่ใช่ต้นทุน แต่เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุดในองค์กร และคนทุกคนต้องการที่จะเป็นคนดี และถ้าองค์กรใดที่สามารถบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรได้ดี  ผลกำไรก็จะตามมา

  3. การบริหารคนเก่งนั้น ต้องเริ่มตั้งแต่กระบวนการรับสมัครพนักงานที่มีความสามารถมาร่วมงาน เมื่อได้คนเก่งมาทำงานด้วยแล้ว องค์กรต้องมีแผนในการพัฒนาทรัพยากร. มีหลักสูตรในการอบรม อย่างเช่น หลักสูตรพฤติกรรมพึ่งประสงค์ เช่น การสอนให้คนเป็นคนตรงต่อเวลา มีความซื่อสัตย์ เป็นคนเอื้ออาทรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน หรือแม้แต่การให้พนักงานมีสวนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และองค์กรน่าจะนำทฤษฎีมัสโรลมาใช้ในการทำยุทธ์ศาสตร์ ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์  ว่าเราต้องการอะไร และจะทำสิ่งที่เราต้องการได้อย่างไร สำหรับในเรื่องปัจจัยพื้นฐานของคน บทบาทสำคัญของผู้นำองค์กร มีอยู่ 3 อย่างคือ
  1. ลูกค้าพึงพอใจ (Customer Satisfaction)
  2. ผลประกอบการการดำเนินงานขององค์กรดี   (Organization Result)
  3. พนักงานมีความพึงพอใจ (Employee Satisfaction)
 

เครื่องมือที่ใช้ช่วยในการจัดการเรื่องคน เช่น Internal audit, morning meeting, weekly or monthly meeting, PDCA4) วิธีในการสร้างอำนาจมีอยู่ 5 วิธี คือ การให้ (เช่น การให้โอกาส. การให้ความรู้, การให้อภัย.รางวัล หรือแม้แต่การให้ความใกล้ชิด), การติ, การเป็นผู้รู้มากกว่า (คือต้องรู้ให้มากกว่าลูกน้อง โดยดูที่จุดอ่อนของลูกน้องแล้ว นำจุดอ่อนนั้นมาเป็นจุดแข็งของเรา), อำนาจอ้างอิง, อำนาจทางนิติกรรม

  

จากสิ่งที่ ดิฉันได้กล่าวมาในข้างต้นนั้น สามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้ที่ทำงานหรือแม้แต่ในชีวิตประจำวันได้ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาตนเองหรือการพัฒนาพนักงานที่อยู่ใต้อำนาจการบริหาร  สำหรับตัวของดิฉันเองเป็นเพื่อพนักงาน office สิ่งที่จะนำมาใช้ได้ก็เป็นเรื่องการตัดสินคนว่าคนนั้นเป็นคนดีหรือเป็นเลวนั้น  เราต้องรู้จักวิเคราะห์ทางด้านบวกและด้านลบ ก่อนจึงจะตัดสินว่าคนๆนั้นเป็นคนเช่นไร

  สุดท้ายนี้ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์จีระและอาจารย์ยม ที่ได้เสียสละเวลาอันมีค่ามาให้ความรู้กับดิฉันและเพื่อน และที่ลืมไม่ได้ต้องขอขอบคุณ พี่เอ้ พี่เอ และพี่นะ ที่คอยช่วยประสานงานจนเกิดการเรียนรู้ในวันนี้ขึ้นมาได้  
วิศรุต แสงโนรี เมื่อ พ. 11 ก.ค. 2550 @ 15:53 [ 317446 ]

เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อาจารย์ยม นาคสุข และผู้อ่านทุกท่านครับ 

  

กระผมนายวิศรุต แสงโนรี นักศึกษาสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง    

  

จากการเรียนเมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 ก.ค.50 ที่ผ่านมา ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ อาจารย์ยม ที่เสียสละเวลามาให้ความรู้ในการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจอาหาร แม้เนื้อหาของอาจารย์อาจไม่ได้เจาะจงกับการบริหารธุรกิจธุรกิจอาหารโดยตรงแต่การให้ แง่คิด และการยกตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงในการทำงานมาแสดงนั้น ทำให้ผมได้เห็นภาพเกี่ยวกับงานบริหารทรัพยากรมนุษย์  ซึ่งผมไม่มีประสบการณ์ทางด้านนี้เลย ได้ง่ายขึ้น  

  

อาจารย์ได้สอนให้มีสติ จิตต้องนิ่งในการเรียน ซึ่งทำให้เรียนได้เข้าใจง่ายขึ้น  สิ่งที่ผมได้จากการเรียนครั้งนี้ คือ

 
  1. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ การบริหารทัศนคติ การแก้ปัญหาเราต้องแก้จากสาเหตุ เช่น คนงานลาออก   อาจเกิดจากสัญญาจ้างไม่มั่นคง และการแก้ปัญหาต้องแก้จากตัวเราก่อน ยิ่งถ้าเป็นผู้บริหารต้องสำรวจตัวเองก่อนจะกล่าวโทษผู้อื่น
  2. คนเราต้องมีเป้าหมาย  และออกไปหาความรู้เพื่อพาตัวเองไปสู่เป้าหมายให้ได้ ถึงแม้เรายังไปไม่ถึงเป้าหมายแต่เราก็ยังมีโอกาสในการไปถึงเป้าหมายเสมอถ้าเรายังไม่หมดความพยายาม
  3. การสร้างอำนาจ ทำได้โดย การให้  การติ  การเป็นผู้รู้มากกว่า  การอ้างอิง  นิติกรรม
    สิ่งที่ผมประสบอยู่ในการทำงาน คือ คนงานในภาคการเกษตรมีอัตราการลาออก มาทำงานไม่ตรงเวลาบ่อยๆ การเก็บเกี่ยวผลผลิตมีปัญหาเนื่องจากคนงานขาดความรู้ที่ถูกต้อง   

 

จากการเรียนในครั้งนี้ทำให้ผมได้ความรู้ที่จะสามารถนำไปใช้เพื่อลดอัตราดังกล่าว กล่าวคือจะนำเรื่อง การให้สัญญาจ้างที่ยาวกว่าเดิมคือจ้างเป็นปี แทนสัญญาจ้างเป็นเดือนและให้เงินพิเศษเมื่อมีงานเพิ่มขึ้นในบางช่วง และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนงาน อาจมีการจัดเลี้ยงประจำปีเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี

  

การลงพื้นที่ในการทำงานสอบถามปัญหาต่างๆ และให้ความรู้ที่ถูกต้องในการทำงานด้วยการจัดโครงการอบรมการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ถูกวิธีจากนักวิชาการทางการเกษตร   

   

ข้อเสนอแนะ อยากให้อาจารย์ยม ช่วยแนะนำการรับคนในการเข้าทำงานโดยละเอียดด้วยครับ 

 ต้องขอขอบคุณอาจารย์ยมอีกครั้งสำหรับข้อมูลดีดี ทำให้ผมได้มีแนวทางในการแก้ปัญหาและพัฒนาตัวเองให้เป็นคนที่ดีมีคุณภาพมากขึ้นคับ  
นายอานนท์ ร่มลำดวน เมื่อ พ. 11 ก.ค. 2550 @ 18:40 [ 317587 ]

เรียน ศ.ดร. จิระ  อาจารย์ ยม พี่ๆชาว Chira academy และท่านผู้อ่าน blog ของพวกเราชาวนักศึกษา ป.โท ลาดกระบังทุกท่านครับ 

  

ในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ( 8 ก.ค 50 ) นับว่าเป็นอีกวันที่ผมรู้สึกยินดีที่ได้รับคำแนะนำจากท่านผู้มีประสบการณ์ทางด้าน HR อีกท่านหนึ่ง นั่นก็คือ ท่านอาจารย์ ยม ภายในระยะเวลาเพียงแค่ไม่กี่ขั่วโมงทำให้ผมขยายภาพได้มากขึ้นต่อเนื่องจากที่ได้รับคำแนะนำจากท่านอาจารย์จิระ ซึ่งสามารถสรุปได้แยกเป็นหัวข้อได้ดังนี้ 

  1.ความสำคัญของ HRM    หลังจากที่ได้ฟังคำชี้แนะจากท่านอาจารย์ ยม แล้วผมขออนุญาตสรุปแบบสั้นๆตามแนว Thinking concept  หรือแนวความเข้าใจของผมคือ 

HRM ก็เป็นเสมือนกับแรงหรือเฟืองกลางที่จะสามารถพลักดันเพื่อให้ทุกๆ คนเกิดความสุข ( ทุนแห่งความสุข ) ทั้งในด้านของลูกจ้าง และองค์กร

   

ดังนั้นในการใส่แรงหรือหมุนเฟืองนั้นจะต้องใช้ความรู้ความเข้าใจอย่างดีเพื่อที่ให้แรงหรือเฟืองนั้นหมุนไปอย่างเป็นไปอย่างมีระบบสมดุลและต่อเนื่อง 

  

2.หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ดี จากแนวความคิดเรื่องแรงหรือเฟืองที่ขับเคลื่อนองค์กรที่ต้องใช้เทคนิคและความรู้ความเข้าใจการการผลักหรือหมุนเฟืองนั้นนอกจากจะต้องรู้จังหวะในการใส่แรงหรือผ่อนแรงว่าจังหวะแบบนี้ควรที่จะต้องใส่แรงอย่างไรตลอดจนถึงต้องเป็นแรงที่ถูกต้อง สมดุลเพื่อให้แรงหรือเฟืองนั้นหมุนไปอย่างถูกทิศ ถูกที่ ถูกเวลา ด้วยจึงจะเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

  

3.การนำแนวความคิดไปประยุกต์ใช้ จากแนวความคิดที่ท่านอาจารย์ทั้งสองแนะนำและให้ความรู้กับผมและเพื่อนๆทำให้ผมนึกถึงและย้อนกลับมามองในเนื้องานที่ผมทำอยู่นั้นมีการพัฒนาด้าน HR หรือเป็นเพียงแค่ PA ธรรมดาเทียบกับแนวความคิดที่ผมได้มานั่นก็คือการใส่แรงหรือเฟืองไปถูกต้องหรือไม่

  

ซึ่งในการทำงานร่วมกันของทีมงานหรือองค์กรของผมจะยึดถือนโยบายหลัก ก็คือ

   นโยบาย 3 T เพื่อเป็นตัวกำหนดให้พนักงานและองค์กรสามารถบรรลุจุดประสงค์ร่วมกันได้นั่นก็คือ
  • Trust
  • Transparency
  • Team work   
    และยังมีสิ่งที่จะต้องยึดมั่นไว้ในใจ ( Keep in mine ) อีก 4 C  นั่นคือ  
  • Clean & Clear
  • Compromises Communication
  • Control   
 

สรุปก็คือ  จริงๆแล้วนโยบาย 3 T และ  4 C นั้นก็เป็นการพัฒนาทางด้าน HR อย่างหนึ่งเพียงแต่ที่ผ่านมาผมมองสิง่เหล่านี้เป็นแค่ Tool อย่างหนึ่งในการทำงานแค่นั้น

 

ซึ่งจากการถ้าไม่ได้รับคำแนะนำจากท่านอาจารย์ทั้งสองแล้วผิดก็คงยังไม่สามารถเกิดภาพและสามารถเชื่อมโยงในแนวความคิดในเรื่อง HR ได้แบบนี้ว่าที่จริงแล้วสิ่งที่ดำเนินการทำอยู่แล้วนั้นล้วนแล้วแต่พูดถึงเรื่องคนทั้งสิ้น และเป็นการปรับในแง่ทัศนคติของผู้ทำงาน เพื่อให้เกิดความสุขของผู้ทำงานและการประสบความสำเร็จขององค์กร

ซึ่งหลังจากนี้ผมจะนำความรู้ที่ได้จากท่านอาจารย์ทั้งสองท่านมาพัฒนาและปรับใช้ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้นกว่าเดิมขอขอบพระคุณครับ       
Kanyarat Lapdecho เมื่อ พ. 11 ก.ค. 2550 @ 18:19 [ 317573 ]

กราบเรียนศ.ดร.จีระ , อาจารย์ยม  และท่านผู้อ่านblogทุกท่าน  

  

ดิฉันนางสาวกัญญารัตน์  ลาภเดโชนักศึกษาปริญญาโทสาขาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร  จากการที่ได้มีโอกาสได้ฟังการบรรยายของอาจารย์ยม

  

เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนวิชา HR ซึ่งอาจารย์ยมได้มาสอนและถ่ายทอดความรู้ในเรื่องภาพรวมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์จีระและอาจารย์ยม และคณะที่ได้เสียสละเวลาอันมีค่ามาให้ความรู้แก่ดิฉัน  ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้จริง 

  

สิ่งที่ได้อย่างยิ่งคือการที่เราต้องรู้จักใฝ่ความรู้ให้แก่ตัวเอง  ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาคนสิ่งที่ได้จากการเรียนครั้งนี้มีดังนี้

 

1.    ผู้นำต้องประกอบไปด้วย  ทุนมนุษย์  ทุนทางปัญญา  อำนาจ และยุทธศาสตร์ต่างๆเช่น  การสร้างแรงจูงใจ  การสร้างทัศนคติที่ดี การตอบสนองความต้องการ  เป็นต้น  เพื่อใช้ในการจัดการการบริหารทรัพยากรมนุษย์  ซึ่งการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้นไม่ใช่แค่ในที่ทำงาน  แต่สามารถใช้ได้กับการอยู่ร่วมกันในสังคม  ครอบครัว  เพื่อน  พี่น้องได้เป็นอย่างดี

 

2.   การแก้ปัญหาต่างๆในองค์กร  ควรที่จะแก้ที่ต้นเหตุดูที่สาเหตุของปัญหา  โดยเริ่มจากดูที่ตัวเราเอง  ตั้งแก่นโยบาย  กฎระเบียบต่างๆ  อีกทั้งสวัสดิการที่ให้แค่คนในองค์กรนั้นเพียงพอหรือตรงต่อความต้องการของคนใจองค์กรหรือไม่  เมื่อทราบถึงปัญหาแล้วควรที่จะมีการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน  และมีการปรับปรุงข้อกำหนดต่างๆให้สอดคล้องกับสถานการณ์  แต่ภายใต้พื้นฐานของความพอใจทั้งสองฝ่ายคือฝ่ายพนักงานเองและผู้บริหารเองด้วย  การบริหารองค์กรควรมีการรับฟังความคิดเห็นของคนในองค์กรด้านต่างๆ  ซึ่งจะทำให้คนในองค์กรเกิดความเชื่อมั่นแก่องค์กรเกิดทัศนคติที่ดีกับองค์กรเองไปถึงเมื่อเข้าลาออกจากองค์ไปแล้ว

 

3.   การบริหารทรัพยากรมนุษย์ต้องมีการวางแผน  วางยุทธศาสตร์  ตั้งแต่การสรรหาพนักงาน  ตลอดจนการฝึกอบรมพนักงาน  หรือแม้กระทั้งการวางตำแหน่งหน้าที่งานให้เหมาะสมกับคนกับพนักงานนั้นๆ ตลอดจนการฝึกอบรม  การให้ความรู้แก่คนในองค์กร  เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องคนไม่มีคุณภาพ  ที่อาจจะทำให้เกิดปัญหาต่างๆแก่องค์กรได้ในภายหลังสิ่งที่ได้

  จากการเรียนครั้งนี้เป็นเหมือนความรู้  ที่เล่าผ่านประสบการณ์ทำให้ได้เชื่อโยงถึงประสบการณ์ที่ตัวเองเคยประสบมาจริง  และสามารถนำประสบการณ์นั้นไปประยุกต์ใช้ได้  เห็นถึงความสำคัญในการที่เราจะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เทคนิคต่างๆที่จะนำมาใช้ในแต่ละสถานการณ์ต่างๆการเปลี่ยนทัศนคติด้านลบของคนให้เป็น ด้านบวกการสร้างความจงรักภักดีให้แก่คน  ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถของเราอย่างยิ่ง  เพราะสิ่งที่จำเป็นและสิ่งที่ยากที่สุดขององค์กรคือ  การจัดการคน 
นางสาวศศิวิมล ทับเวช เมื่อ พ. 11 ก.ค. 2550 @ 18:58 [ 317599 ]

กราบเรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์ อ. ยม นาคสุข และท่านผู้อ่านทุกท่าน

  

ดิฉันนางสาวศศิวิมล ทับเวช นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาการจัดการธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 

  

เนื่องจากว่าในวันอาทิตย์ที่ 8 ก.ค.50 ได้เรียนวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จากเวลา 9.00-13.15 น. สรุปได้ดังนี้

 

1.    การแก้ปัญหาต้องดูที่สาเหตุเป็นหลัก เพราะในบางครั้งการแก้ปัญหาที่ไร้ทิศทางหรือเข้าใจในปัญหาผิดก็ย่อมให้ไม่สามารถแก้ปัญหานั้นได้ เช่น ทำไมพนักงานจึงลาออกเยอะ วิธีการคิดก็คือ ทุกคนต้องการปัจจัย4 ความปลอดภัย ความรัก และการยอมรับ (กฎของมาสโลว์) จากข้อมูลดังกล่าวก็ต้องนำมาคิดว่าเราได้ให้สิ่งเหล่านี้กับพนักงานหรือยัง

 

2.    วิธีการสร้างอำนาจ

 
  1. การให้ เช่น โอกาส ความรู้ อภัย
  2. ติ เพื่อให้มีการปรับปรุงที่ดียิ่งขึ้น
  3. ผู้รู้มากกว่า ทำให้เรามีความน่าเชื่อถือ
  4. การอ้างอิง เช่น ระเบียบบริษัท เจ้านายที่ตำแหน่งสูงกว่าเรา         
  5. นิติกรรม มีการแจ้งข่าวสาร จดหมายซึ่งวิธีการดังกล่าวจำเป็นต้องทำทุกวัน
 

3.    การวางแผนทั้งในเรื่องการทำงาน เรียน หรือการดำเนินชีวิต ซึ่งต้องสร้างเป้าหมายที่จะปฏิบัติ เพราะถ้าไม่มีการวางแผน เราจะกระทำแบบเลื่อนลอย และไปสู่เป้าหมายนั้นไม่มีประสิทธิภาพ

4.    หลักการเรียนที่ดี คือสนใจ   ใส่ใจ  เอาใจใส่  สุดท้ายนี้ดิฉันขอกราบขอบพระคุณศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์ อ. ยม นาคสุข เป็นอย่างสูงที่ได้ให้ความรู้ และประสบการณ์ และดิฉันจะนำความรู้ไปพัฒนาสังคมให้ดีที่สุด  

ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่จบทางด้านบริหารทรัพยากรมนุษย์ จึงได้รู้ว่า การที่นำหลักการต่างๆๆ ไปปฏิบัติจริง ซึ่งเป็นเรื่องยากเพราะต้องอาศัยประสบการณ์และการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ขอบคุณมากนะค่ะทำให้มีความรู้เพิ่มมากขึ้นจากการศึกษาภายในห้องเรียนที่เคยศึกษามา ทำให้นึกภาพออกได้มากขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท