เคล็ดลับในการทำความเข้าใจอัลกุรอาน ตอนที่ 1


บันทึก “เคล็ดลับในการทำความเข้าใจอัลกุรอาน”นี้ เป็นบันทึกสรุปซึ่งผมบันทึกจากการอ่านบทความของ Dr. Shalah Abdul Fattah al-Kholidiy ซึ่งชื่อเดิมของบทความคือ “Dasar memahammi Alquran” ผมเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่สนใจจึงนำมาลงในบล็อกนี้ครับ

การทำความเข้าใจอัลกุอานนั้นวายิบ

 นี่เป็นบันทึกจากการอ่านบทความของ Dr. Shalah Abdul Fattah al-Kholidiy ซึ่งชื่อเดิมของบทความคือ Dasar memahammi Alquran” ซึ่งผู้เขียนบทความสรุปมาจากหนังสือ "kitab Mafaatiihu Li at-Ta’ammuli  ma’al Qur’aan"  อีกทีหนึ่ง ผมเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ สำหรับท่านที่สนใจ จึงนำมาลงเผยแพร่ในบล็อกนี้ครับ

การทำความเข้าใจอัลกุรอานนั้นDr. Shalah Abdul Fattah al-Kholidiy เขียนไว้ว่าเป็นสิ่งที่วายิบ (จำเป็น) โดยอ้างจากอายะฮฺ (โองการ) อัลกุรอานที่ว่า

  أَفَلَا يَتَدَبَّرُونَ الْقُرْآنَ أَمْ عَلَى قُلُوبٍ أَقْفَالُهَا

พวกเขามิได้พิจารณาใคร่ครวญอัลกุรอานดอกหรือ?แต่ว่าบนหัวใจของพวกเขามีกุญแจ หลายดอกลั่นอยู่ (ซูเราะฮฺ มุหัมมัด : 47 : 24)

มีหลายสิ่งที่เราควรจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับอัลกุรอานและการมีปฏิสัมพันธ์กับอัลกุรอาน นั่นก็คือ

 

  • ควรให้ความสำคัญกับระเบียบวิธีในการอ่านอัลกุรอาน(Adab Tilawah)
  • อ่าน 1 ซูเราะฮฺ 1 ญุซฺ หรือ 1 รุกุอฺ ด้วยการอ่านอย่างช้าๆ  มีสมาธิ  อ่านอย่าง พิจารณาใคร่ครวญ  และอ่านอย่างมีชีวิตชีวา และไม่ควรให้ความสำคัญ กับการวางเป้าหมายของการอ่านใน 1 วัน ว่าจะต้องอ่านจบ 1 ซูเราะฮฺ  1 ญุซฺ หรือจำนวนเท่านั้นเท่านี้เพียงเท่านั้น  
  • แต่ให้ความสำคัญกับการพิจารณาใคร่ครวญความหมายของอายะฮฺ หนึ่งๆ ที่อ่านอย่างลึกซึ่งเพื่อที่จะได้รับรู้ความหมายที่อยู่ภายในอายะฮฺนั้นๆ  อ่าน ด้วยความรู้สึกและอ่านอย่างมีชีวิตชีวา  รวมถึงการตั้งใจฟังการอ่านของคน อื่น หรือฟังจากเครื่องบันทึกเสียง ด้วยการทำเช่นนี้ซ้ำๆ จนกระทั่งได้รับรู้ ความหมายที่อยู่ภายในของอายะฮฺ ดังกล่าว
  • ศึกษาแบบแยกย่อย  เช่น การเรียบเรียงคำ  ประโยค  ความหมายที่อยู่ภายใน ของอายะฮฺนั้นๆ  สาเหตุแห่งการประทาน (อัซบาบุลนูซุล) จนสามารถ เข้าใจอย่างแท้จริงถึงความมุ่งหมายของอายะฮฺ (โองการ) ดังกล่าวและ บริบทอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
  • ควรอ้างอิงไปยัง ความเข้าใจของบรรดาสลาฟุซซอลิหฺ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งความเข้าใจของเหล่าศอหาบะฮฺ (สาวกของท่านนบี )  ด้วยเหตุที่พวกเขาเหล่านั้น  เป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอัลกุรอานยิ่ง กว่าเราแม้ในขณะนี้ก็ตาม เนื่องจากพวกเขาได้รับการชี้แนะโดยตรง จากท่านนบี   ด้วยเหตุนั้น ในแง่ของคุณธรรมและความรู้ของพวกเขา เราจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอ้างอิงความเข้าใจของบรรดาศอหาบะฮฺก่อนเป็นลำดับแรก  นอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันไม่ให้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับอัลกุรอาน ของเรานั้นคล้อยตามอารมณ์ (นัฟซู) ของเราอีกด้วย
  • ควรศึกษาทัศนะของบรรดานักตัฟซิร (นักอรรถาธิบายความหมาย อัลกุรอาน) ที่ทรงความรู้และเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ
  <p class="MsoNormal"><span style="font-size: 10pt; font-family: Verdana; color: navy"></span><strong><span style="font-size: 10pt; font-family: Verdana; color: navy"><em> </em></span></strong><span style="font-size: 10pt; font-family: Verdana; color: navy"></span><strong><span style="font-size: 10pt; font-family: Verdana; color: navy"></span></strong></p>
หมายเลขบันทึก: 109839เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2007 11:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท