การพัฒนาวิธีการเรียนการสอนทางไกลของ ศนอ.


ได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุม และฝึกปฏิบัติการใช้ระบบ CMS ของ TEN จึงนำเอาประสบการณืมาเลาสู่กันฟัง
 

การประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการพัฒนาวิธีการเรียนการสอนทางไกล ด้วยระบบ e-Learning


การประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการพัฒนาวิธีการเรียนการสอนทางไกล
ด้วยระบบ e-Learning
2-8 กรกฏาคม 2550
ณ โรงแรมอโยธยาริเวอร์ไซด์ จ. พระนครศรีอยุธยา
สถาบันการศึกษาทางไกล สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน
--------------------------------------
วาระที่ 1 กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม และชี้แจงรายละเอียดการประชุมปฏิบัติการ
โดย นายบุณส่ง คูวรากูล ผู้อำนวยการสถาบันการศึกษาทางไกล
 

 แนวทางการพัฒนา e-Education และการบริหารจัดการงบประมาณ ภายใต้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ การวางแผนและการทำงานโครงการจะไม่อิสระเหมือนการดำเนินงานที่ผ่านมาที่มีสถานะเป็นกรม ดังนั้นการดำเนินงานจะต้องประสานงานกับ งานสาระสนเทศของสำนักงานปลัดกระทรวง แต่ขณะเดียวกัน เขาก็คิดเฉพาะในระบบโรงเรียน แต่เมื่อเป็นการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตาอัธยาศัย จึงมอบให้สำนักบริหารงาน กศน. ไปคิด จึงสามารถวางแผนการได้เป็นอิสระมากขึ้น รวมทั้งการบริหารงบประมาณ
 การจัดการศึกษานอกโรงเรียนปัจจุบันอาจจะมองเป็น 2 รูปแบบ คือ แบบกลุ่ม กับแบบทางไกล ซึ่งการศึกษาทางไกล ค่อนข้าง จะช่วยลดต้นทุนบางอย่างได้ เช่น เรื่องสื่อ ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว และไปถึงผู้เรียนได้อย่างกว้างขวาง และปัจจุบัน สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน ก็มีสื่อตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เผยแพร่อยู่ในระบบ           e-Learning รวมทั้งสื่ออื่นๆ ที่กำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
 ระบบ e-Learning ที่ให้บริการโดยสถาบันการศึกษาทางไกลในปัจจุบันกำลังพัฒนาให้สามารถใช้งานได้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น โดยปรับเป็น TEN Version 3 ที่ปรับระบบให้ตอบสนองความต้องการ การใช้งาน e-Learning มากขึ้น ซึ่งการประชุมครั้งนี้ จึงเป็นการมาเรียนนรู้การใช้งานระบบ e-Learning ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ ทั้งการใช้ระบบ CMS และ LMS รวมทั้งการทำเนื้อหาวิชาที่สร้างขึ้นให้อยู่ในมาตรฐาน SCORM

วาระที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพัฒนาและใช้งานระบบ TEN (Thailand Education Network)
 ฝึกปฏิบัติ/ทดลอง/ทดสอบ/ TEN Version3


วิทยากรจากบริษัท Progress
 ผู้แทนจากบริษัท Progress แนะนำและฝึกปฏิบัติ การสร้างสื่อโดยการใช้ระบบ CMS (Content Management System) ของ TEN Version3 และการใช้งานระบบ TEN โดยมีเนื้อหาที่ฝึกปฏิบัติ 3 เรื่องคือ
 1 การใช้ระบบ CMS ของ ระบบ TEN เพื่อสร้างและจัดการเนื้อหา (CMS) ในระบบ Offline
 2 การใช้โปรแกรม Reload Editor เพื่อสร้างบทเรียน (Content) ให้อยู่ในมาตรฐาน SCORM
 3 การใช้งานระบบ e-Learning I Square (TEN Version3)
 การฝึกปฏิบัติ ทั้ง  3 เรื่องโดยสรุปมีดังนี้

1 การใช้ระบบ CMS ของระบบ TEN
      ผู้เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการฝึกการใช้ระบบ CMS ของ ระบบ TEN เพื่อสร้างและจัดการเนื้อหา (CMS) แบบ Offline
 CMS และการใช้งาน
 CMS หรือ Content Management System เป็นระบบการสร้างและการจัดการเนื้อหาวิชาที่นำเข้าสู่ระบบ e-Learning โดยระบบ CMS เป็นระบบที่ติดตั้งที่เครื่อง Server ที่ทำหน้าที่สร้างเนื้อหาวิชาในหลักสูตรต่างๆที่จะนำเข้ามาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในระบบ e-Learning
 ระบบ CMS เดิม เป็นระบบที่ติดตั้งใน Server ของระบบ e-Learning ของสถาบันการศึกษาทางไกล หรือเรียกว่าระบบ TEN (Thailand Education Network) ผู้ที่ใช้ระบบนี้คือ ครูผู้สร้างเนื้อหา วิธีการใช้ จะต้องเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ และ Online เข้ามายัง Website ของ e-Learning แล้วจึงสร้างสื่อ เนื้อหาบทเรียนเข้าสู่ระบบ e-Learning
 ปัญหาที่พบคือ ผู้สร้างเนื้อหาจะต้อง Online ผ่านเครื่องข่าย Internet ไปยัง website ที่ให้บริการ e-Learning เพื่อสร้างเนื้อหา ซึ่งพบว่าทำให้การสร้างเนื้อหาทำได้อย่างล่าช้าหรือสรุปว่า มีความเป็นไปได้น้อยมากที่จะสร้างเนื้อหาบทเรียนผ่านทาง Internet ที่ห่างไกล ทำให้ไม่สามารถพัฒนาเนื้อหาบทเรียนเข้าสู่ระบบ e-Training ได้อย่างกว้างขวาง ครอบคลุม และหลากหลาย
 แนวทางการแก้ปัญหา ได้พัฒนาระบบ CMS แบบ Offline ที่ครูผู้สอนสามารถนำไปติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของตนเอง เพื่อใช้สร้างเนื้อหา เมื่อสร้างเสร็จ ก็นำเอาเนื้อหาที่สร้างนั้นไปใช้ โดยการ Export ออกมา ตามมาตรฐาน SCORM แล้วนำเข้าไป Import ใส่ไว้ในระบบ e-Learning

 แนวทางดังกล่าวนี้ บริษัท Progress ได้พัฒนาระบบ CMS ที่เดิมเคยติดตั้งไว้ที่ Server ให้สามารถนำมาติดตั้งในเครื่อง PC โดยจำลองเครื่อง PC ให้เป็น Web Server โดยติดตั้งโปรแกรม WM Server พร้อมทั้ง Software ของระบบ CMS ที่ใช้ใน TEN Engine ลงบนเครื่อง PC ทำให้สามารถสร้างเนื้อหาบทเรียน ที่เป็นสื่อ Multimedia ลงบนเครื่อง PC ได้เช่นเดียวกับการสร้างแบบเดิมที่ต้อง Online ผ่าน Internet ไปยังเครื่อง Server
 เมื่อสร้างเนื้อหาต่างๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว และตรวจสอบจนกระทั่งสมบูรณ์พร้อมที่จะนำไปใช้เพื่อการเรียนการสอนได้ สื่อที่เราสร้างนี้ เราอาจจะเรียกว่า Course ware ก็พร้อมที่จะนำไปใช้ วิธีการก็ทำได้โดยง่าย เพราะระบบ CMS นี้ สามารถที่จะปรับสื่อดังกล่าว ให้อยู่ในมาตรฐาน SCORM เพื่อให้สามารถนำไปใช้กับระบบ LMS ใดก็ได้ โดยโปรแกรมจะช่วยให้เรา Export สื่อ Course ware ที่อยู่ในมาตรฐาน SCORM ออกมาในรูป zip file ที่สามารถบันทึกลงแผ่น CD-ROM ที่พร้อมที่จะนำไปใช้ในการ Import เข้าสู่ระบบ e-Learning

 นำเนื้อหาที่บันทึกไว้ตามมาตรฐาน SCOMR Import เข้าสู่ระบบ LMS

 กระบวนการในการนำเอา Course ware เข้าสู่ระบบ e-Learning ของ สถาบัน การศึกษาทางไกล ซึ่งปัจจุบันใช้ระบบ TEN จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลระบบ ให้สามารถเข้าสู่ระบบได้ในฐานะครูผู้สอน (Instructor) โดยการเชื่อมต่อเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่เราใช้งาน กับ website ของ e-Learning โดยผ่านทางเครือข่าย Internet แล้วเข้าสู่ระบบ ต่อจากนั้น จึงเข้าสู่กระบวนการ สร้างหลักสูตร แล้วนำเอาสื่อที่สร้างและจัดทำในรูปแบบมาตรฐาน SCORM เข้าสู่ระบบ CMS ของระบบ TEN

 ฝึกปฏิบัติการติดตั้ง และใช้งาน ระบบ CMS
 การติดตั้งระบบ CMS มีขั้นตอนโดยสรุป ดังนี้
 1. ตรวจสอบระบบบ server ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยตรวจสอบว่า ติดตั้ง Web Server อะไรไว้หรือไม่ เช่น Apache หรือ IIS และถ้าติดตั้ง web server ให้ Stop service เอาไว้ก่อน
 ข้อระวัง กรณีที่ติดตั้งโปรแกรม Appserv เป็น Server ให้ Stop การทำงานของ Apache และ Stop การทำงานของ MySQL ด้วย โดยเฉพาะการยกเลิกการทำงานของ MySQL อาจจะต้อง Shutdown การทำงานของ MySQL
 2. ติดตั้ง WM Server เพื่อจำลอง Webserver ในเครื่องคอมพิวเตอร์ อีก 1 ชุด
 (โปรแกรมอยู่ในแผ่น CD-ROM ที่ PlugInserverwmservertools3.0.exe) การติดตั้งเพียงแต่ ดับเบิ้ลคลิกที่ file ชื่อ wmservertools3.0.exe แล้วทำตามขั้นตอน ซึ่งขั้นตอนที่สำคัญขั้นหนึ่งคือ ให้ติดตั้งโปรแกรมไว้ที่ drive C คือที่ C:\
 3. ติดตั้งระบบ CMS เพื่อติดตั้งระบบการจัดการเนื้อหา
(โปรแกรมอยู่ในแผ่น CD-ROM ที่ Programcmswmservertools3.0.exe)
ดำเนินการติดตั้งตามขั้นตอน โดยติดตั้งโปรแกรมนี้ใน Folder ที่ชื่อ WM
 4. ติดตั้ง lib โดยติดตั้งไว้ที่ Folder ชื่อ windows

    
ผู้เข้าร้วมประชุมปฏิบัติการฝึกปฏิบัติการใช้งานระบบ CMS

 ข้อดี และข้อจำกัด
 ผลดีของการใช้ ระบบ CMS แบบ Offline ช่วยให้ครูผู้สอนสามารถสร้างเนื้อหาลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จ ซึ่งจะทำงานได้รวดเร็วกว่าการสร้าง โดยการ Online ไปที่เครื่อง Server ซึ่งจะทำงานช้ามาก ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาที่ผ่านมา คือปัญหาไม่สามารถเพิ่มเนื้อหาวิชาได้อย่างกว้างขวาง
 ข้อจำกัดของการใช้ ระบบ CMS แบบ Offline
 1 ผู้ใช้งานจะต้องจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานให้เป็น Server และทำหน้าที่เป็น web server ซึ่งจะต้องมีความรู้พื้นฐานในเรื่องนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น จำลอง web server ไว้แล้ว จะต้องยกเลิกการใช้ในระบบเดิม
 2 การใช้งาน CMS ไม่ค่อยเหมาะสม เพราะใช้งานยาก ถ้าเปรียบเทียบกับการใช้โปรแกรมการสร้าง webpage ทั่วๆ ไปที่เป็นแบบ wysiwyg เช่น Dreamweaver หรือระบบ CMS อื่นๆ ที่พัฒนามาจาก Post nuke
 3 มีขั้นตอนในการสร้างค่อนข้างซับซ้อน และสับสนในการใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นตอนของการออกแบบโครงสร้างหลักสูตร และโครงสร้างเนื้อหา

2 การใช้โปรแกรม Reload Editor
 การใช้โปรแกรม Reload Editor เพื่อสร้างบทเรียน (Courseware) ให้อยู่ในมาตรฐาน SCORM โดยมีขั้นตอนการทำงาน 3 ขั้นตอน โดยขั้นตอนที่ 1 และ ขั้นตอนที่ 2 เป็นขั้นที่ต้องเตรียมการมาก่อนที่จะใช้โปรแกรม Reload Editor เพื่อสร้าง SCORM

            

 การสร้างสื่อ มีขั้นตอนดังนี้
 1 ขั้นเตรียมการ (Preparation)
 2 ขั้นออกแบบ (Instructional Design)
 3 ขั้นผลิตสื่อ (Media Production)
 4 ขั้นสร้างสื่อ (Course Builder)

  Preparation เป็นขั้นตอนการเตรียมข้อมูลและเนื้อหาที่จะนำมาสร้างสื่อ ซึ่งต้องเริ่มจากศึกษาหลักสูตร ความต้องการผู้เรียน และอื่นๆ หรืออาจจะเริ่มต้นจากสื่อที่สร้างไว้แล้วในรูปแบบของ e-Book ทีมีอยู่
  Instructional Design ออกแบบสื่อ ให้อยู่ในรูปแบบ Instruction โดยนำเอาเนื้อหาที่ได้สร้างไว้ในเอกสาร มาพิจารณาร่วมกับหลักสูตรที่นำมาสร้างเอกสาร นำมาออกแบบสื่อการเรียนรู้ โดยเพิ่มส่วนที่เป็นกระบวนการเรียนรู้ หรือ Instruction เข้าไปในสื่อ ทำให้สื่อนั้นเปลี่ยนจากตำราเรียน มาเป็นสื่อที่มีประบวนการเรียนรู้เข้าไปประกอบ สำหรับผู้ใช้สื่อได้ทำกิจกรรมต่างๆ ตามที่กำหนด ซึ่งจะส่งผลทำให้ ผู้นำเอาสื่อนี้ไปศึกษา สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ตามแนวทางของการเรียนการสอน ผ่านระบบ e-Learning

 ผลที่ได้รับจากขั้นตอนนี้คือ Story Board ที่พร้อมจะนำไปสร้าง Webpage เพื่อจัดทำเป็น Webbased Instruction ที่พร้อมที่จะนำไปสร้าง Courseware
 Media Production สร้างสื่อในรูปแบบ Webbased Instruction เป็นขั้นตอนที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ ที่ติดตั้ง Software ที่ใช้ในการสร้าง webpage ไม่ว่าจะเป็นประเภทที่เขียน Code โดยตรงเช่นโปรแกรมประเภท HTML Editor หรือโปรแกรมประเภท wysiwyg ผนวกกับโปรแกรมที่ใช้สร้างสื่อ Multimedia ต่างๆ โดยผลที่ได้รับจากขั้นตอนนี้คือ สื่อในรูแบบ webpage ที่สามารถเผยแพร่ได้ทั้ง ผ่านเครือข่าย Internet แบบ Online และการเปิดจากเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ Offline และเป็นสื่อที่พร้อมที่จะนำเข้าสู่ระบบ e-Learning เพราะผนวกกับกระบวนการเรียนรู้ (instruction) เข้าไปด้วย

  จัดทำสื่อให้อยู่ในมาตรฐาน SCORM โดยใช้โปรแกรม Reload Editor เป็นการนำเอาสื่อในรูปแบบ webbased instruction เข้ามาสร้าง SCORM หรือที่เราเรียกกันง่ายๆว่านำมาห่อ SCORM ผลที่ได้ในขั้นตอนนี้คือสื่อหรือ Course ware ที่พร้อมที่จะนำเข้าไปใส่ในระบบ e-Learning
 

 การใช้โปรแกรม Reload Editor

 

 เป็นโปรแกรม Free ware ที่ใช้งานได้ง่าย และมีความสามารถสูงในการสร้าง SCORM ตามมาตรฐาน SCORM 1.2 โดยโปรแกรมนี้ จะใช้กับเนื้อหาที่สร้างไว้เสร็จเรียบร้อยแล้วในรูปแบบ webpage ดังนั้น การใช้โปรแกรม Reload Editor เพื่อสร้าง SCORM จึงมีขั้นตอนดังนี้
 1 เตรียมต้นฉบับ Webpage โดย สื่อนี้ จะต้องสมบูรณ์คือมีทั้ง file เนื้อหา และ resource เช่น ภาพ flash หรือ Multimedia อื่นๆ ซึ่งสื่อ และ resource เหล่านี้ จะต้องบันทึกเก็บไว้ใน Folder
 สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ สื่อที่สร้างในรูปแบบ webpage ที่สร้างนี้ จะต้องสร้างไว้ตามมาตรฐาน SCORM โดยเฉพาะในเรื่อง Navigator หรือการ Link เชื่อมโยงระหว่าง Page
 2 กำหนดโครงสร้างเนื้อหาให้ชัดเจน โดยเฉพาะลำดับของหัวข้อ คือ หัวข้อหลัก หัวข้อย่อย (จะต้องเปิด Story board หรือ Flowchart มาดูอีกครั้ง) และที่สำคัญคือ ต้องดูรายละเอียดว่า ในหน้าหัวข้อนั้น มีเนื้อหาหรือไม่ หรือมีแต่หัวข้อเท่านั้น เพราะจะมีความสำคัญต่อการสร้างโครงสร้างเนื้อหาในโปรแกรม Reload
 สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ต้องทราบว่า หัวข้อนั้นตรงกับเนื้อหาที่เป็น file ชื่ออะไร อาจจะต้องพิมพ์ไว้ให้ชัดเจนเพื่อประกอบในการสร้างโครงสร้าง
 3 เปิดโปรแกรม และเลือก Option การใช้งานให้ถูกต้อง และเปิด Folder ที่เก็บต้นฉบับสื่อในรูปแบบ webpage

 4 สร้างโครงสร้างเนื้อหา ใน Manifest Pane ภายใต้ Icon ที่ชื่อ Organizations หัวข้อทีมีเนื้อหา ให้ใช้วิธีลากชื่อ file จาก resource pane มาวาง
 สิ่งที่สำคัญ เปลี่ยนชื่อ Icon แรก ที่อยู่ใต้ Organizations เป็นชื่อเรื่องของเนื้อหา เพราะชื่อนี้ จะไปปรากฏเป็นชื่อหลักสูตร ที่จะนำไปใช้ใน e-Learning จาก


 
 5 ตรวจสอบโดยการ Preview ที่ปุ่ม   เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์และความถูกต้องตามมาตรฐาน SCORM โดยจะไปเปิด Browser ขึ้นมา โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ด้านซ้ายเป็นหัวข้อ ด้านขวาเป็นเนื้อหา ส่วนด้านบน มี Navigation ที่ช่วยในการนตรวจสอบว่า การเปิดหัวข้อเป็ยไปตามข้อกำหนดของ SCORM ในเรื่อง การ Link ข้ามเนื้อหาหรือไม่

 6 บันทึก SCORM ในรูปแบบ zip file โดยคลิกที่ปุ่ม    โปรแกรมจะให้เลือกว่า จะ Zip ไว้ชื่ออะไร และเก็บไว้ที่ไหน ซึ่ง Zip file นี้คือ SCORM ที่จะนำไปใช้ในระบบ LMS ของ e-Learning

3. การใช้งาน TEN e-Learning Version3.0
 เป็นการฝึกปฏิบัติการใช้งานระบบ TEN โดยกลุ่มผู้ใช้งาน มี 3 กลุ่มคือ
 1 Administrator
 2 Instructors
 3 Students
 การฝึกปฏิบัติในครั้งนี้ เป็นการฝึกปฏิบัติในบทบาทของ Administrator และ Instructors ซึ่งเป็นบทบาทในระบบ LMS ของระบบ TEN ซึ่งการใช้งานนั้น จะต้องเชื่อมต่อ Internet ไปยังเครื่อง Server และทำงานแบบ Online
 การใช้งานนั้น ผู้ดูแลระบบ (Admin) และ ครู (Instructor) จะต้องเปิด website และ Login เข้าไปใช้ชื่อ และรหัสผ่านที่ได้รับอนุญาต
 

 การจะใช้งานในฐานะใดนั้น ขึ้นอยู่กับการ Login เข้าระบบ ว่า Login เข้าไปในชื่อใดซึ่งเมื่อเข้าระบบแล้ว เครื่องมือการใช้งานของแต่ละกลุ่ม USER จะแตกต่างกัน เช่น Toolbar สำหรับผู้ใช้งานที่เป็น Admin จะเป็นดังภาพ
 

 การใช้งานในฐานะ Admin
  Admin หรือผู้ดูแลระบบ จะมีบทบาทที่สำคัญหลักๆ 2 เรื่อง คือ การบริหารจัดการวิชา และ การบริหารจัดการผู้ใช้งาน ส่วนบทบาทอื่นๆ จะเป็นการใช้งานประกอบอื่นๆ
 

 ดังนั้น Admin จึงมีบทบาทสำคัญในการสร้างเนื้อหาวิชา และกำหนดผู้ใช้งานในระบบว่า มีใครบ้าง และมีรหัสผ่านอย่างไร
 การใช้งานในฐานะครูผู้สอน (Instructor)
 ครูผู้สอนจะมีบทบาทหลักที่สำคัญคือ จัดการเรียนการสอน โดยมีเมนูที่สำคัญคือเมนูเข้าห้องสอน ซึ่งมีเครื่องมือการทำงานต่างๆ ดังนี้
 

วาระที่ 3 สร้าง SCORM ชุดวิชาที่แต่ละภาคพัฒนา ในปีงบประมาณ 2550
 ผู้เข้าร่วมประชุม ปฏิบัติการสร้าง SCORM ชุดวิชาที่ได้พัฒนาในปีงบประมาณ 2549 โดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรีนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รับผิดชอบวิชาภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (TH 30) การทำ SCORM ในครั้งนี้ ใช้โปรแกรม Reload Editor เป็นโปรแกรมในการห่อ SCORM โดยมีขั้นตอนดังนี้
 1 ศึกษา ทบทวน โครงสร้าง ชุดวิชาที่ได้สร้างไว้แล้ว และจัดทำรายละเอียดโครงสร้างที่พร้อมในการนำไปใช้กับโปรแกรม Reload Editor โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำรายละเอียดชื่อ File กับหัวข้อ
 2 สร้าง SCORM ชุดวิชาภาษาไทย ด้วยโปรแกรม Reload Editor โดยปรับระดับหัวข้อ จากเดิม 4 ระดับ เปลี่นเป็น 3 ระดับ เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ทำการทดสอบความสมบูรณ์
 3 Export SCORM ในรูปแบบของ zip file
 4 บันทึกแผ่น CD-ROM และส่งต้นฉบับให้สถาบันการศึกษาทางไกล นำไปจัดการเรียนการสอนในระบบ e-Learning โดยใช้ TEN Version 3

ขอบกพร่องของชุดวิชาภาษาไทยระดับ ม.ปลาย
 การการตรวจสอบ ชุดวิชาภาษาไทย ม.ปลาย พบว่ามีจุดที่บกพร่องและควรแก้ไข ดังนี้
  1 ไม่มี Instruction เท่าที่ควร รูปแบบจึงมีลักษณะคล้าย e-Book เท่านั้น
 2 รูปแบบการนำเสนอเนื้อหา ไม่น่าสนใจ เพราะส่วนมากมีแต่ตัวหนังสือเท่านั้น
 3 การนำเสนอไม่คงเส้นคงวา เนื้อหา 5 สาระ มี 5 รูปแบบ
 4 Navigation ไม่เป็นจุดเด่นพอ ไม่รู้ว่าจบเนื้อหาหรือยัง

รายงานความก้าวหน้า และแผนการพัฒนา e-Learning ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แนวคิดการพัฒนาระบบ Network ทั้งระบบ
 การพัฒนา ICT ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบของ ICT ที่ต้องดำเนินการพัฒนาพร้อมๆกันทั้งระบบ หรือทุกองค์ประกอบ เพราะถ้าพัฒนาไม่สอดรับกัน ก็จะส่งผลให้การพัฒนาไม่ต่อเนื่อง แต่เมื่อมองปัจจัยที่ต้องทำงานตามลำดับความจำเป็น คือ
 ความพร้อมของเครื่อง Server และ Network ต้องยึดหลักที่สำคัญ 2 ประการคือ สามารถทำงานได้ หรือเราเรียกภาษาเราว่า มัน work และทำงานคงเส้นคงวา หรือเรียกว่า Stable หรือเสถียร
 การทำให้ Server และ Network ทำงาน อย่างมีประสิทธิภาพ โดยดูที่ตัวชี่วัดเบื้องต้นดังนี้
 ติดตั้ง web server ในเครื่อง Server
 มี Website ให้บริการ e-Learning
 มีระบบรักษาความปลอดภัย (Firewall)
 การสร้างเสถียรภาพ
 Server เปิดบริการได้ 24 ชั่วโมง (โครงสร้างทางกายภาพ)
 มีผู้รับผิดชอบ ดูแลระบบ
 แนวทางการดำเนินการ
 โครงการ Onsite Training พัฒนาผู้ดูแลระบบให้มีความสามารถในการติดตั้ง พัฒนา และ ดูแล Server พร้อมทั้งติดตั้ง web server เพื่อรองรับการพัฒนา e-Learning
 กระบวนการ Online Training
 กระบวนการ Knowledge Management

 ความพร้อมของ Software หลักการคือ มีระบบที่สามารถรองรับการใช้งาน e-Learning ที่สอดคล้องกับระบบที่ใช้อยู่ทั่วๆ ไป และสามารถใช้งานได้ง่าย สามารถพัฒนา ปรับปรุง และดูแลได้ด้วยตัวเอง
 การดำเนินการ ประสานงานกับ NECTEC เพื่อนำระบบ e-Learning ที่ได้พัฒนาไว้คือ Learnsquare มาใช้งาน แล้วติดตั้งระบบดังกล่าวลงบน web server โดยให้ผู้ดูแลระบบของแต่ละจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการติดตั้ง และพัฒนาระบบ

1 การพัฒนา Hardware และ ระบบ e-Learning (LMS)
 การติดตั้ง Server และเครือข่าย พัฒนาบุคลากร ผู้ดูแลระบบ ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด มีความรู้ ความสามารถในการติดตั้ง web server และระบบการรักษาความปลอดภัย พร้อมทั้งระบบการจัดการประสิทธิภาพการทำงาน Network เพื่อให้มีความพร้อมในการติดตั้ง และดำเนินการระบบ e-Learning พร้อมทั้งดูแลระบบ ให้สามารถทำงานให้บริการ e-Learning ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 การติดตั้งระบบ e-Learning พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ในการติดตั้งระบบ e-Learning (learnSquare) ที server ของ ศนจ. และพร้อมที่จะให้บริการ e-Learning ผ่านทาง Website ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด โดยมีความพร้อม 2 เรื่อง คือ
o พร้อมที่จะติดตั้งหลักสูตร และเนื้อหาเข้าสู่ระบบ CMS
o พร้อมที่จะจัดการเรียนการสอน ผ่านระบบ CMS
 การเชื่อมโยงเครือข่าย เชื่อมโยงเครือข่าย e-Learning ของทุกสถานศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือกเข้าศึกษาตามความต้องการ ได้อย่างกว้างขวาง โดยให้แต่ละ  website สร้าง Link  เพื่อเชื่อมโยงไปยัง website e-Learning ของจังหวัดต่างๆ
  
2 การพัฒนาบุคลากร
 การจัดการเรียนการสอน ดำเนินการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบ e-Learning โดยใช้ 2 วิธีการคือ
o การเรียนรู้จากการปฎิบัติจริงผ่านเครือข่าย e-Training
o อบรมทางไกล e-Training
o สัมมนาชั้นเรียน
 การจัดการเนื้อหา
o พัฒนาบุคลากรผ่านเครื่อข่าย e-Training เพือให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการเนื้อหา และการนำเนื้อหาเข้าสู่ระบบ e-learning
o ประชุมปฏิบัติการพัฒนาพัฒนาสื่อ e-Learning 
3 การพัฒนาหลักสูตร / สื่อ และระบบCMS
 การพัฒนาหลักสูตร หลักสูตรหน้าเดียว ตามระบบ e-Service
 การพัฒนาสื่อ 
4 การพัฒนากระบวนการเรียนการสอน
 ทดลองเปิดการเรียนการสอน
 ทดลองวางโครงสร้างการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย e-Learning


สรุปผลการประชุมปฏิบัติการ
 การประชุมปฏิบัติการ โครงการพัฒนาวิธีการเรียนการสอนทางไกลด้วยระบบ e-Learning ของสถาบันการศึกษาทางไกล ครั้งนี้ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

 1 แนวทางการพัฒนาระบบ e-Learning ได้เรียนรู้ และทราบทิศทาง และแนวโน้มในการจัดการศึกษาทางไกลในรูปแบบ e-Learning ของหน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียน และหน่วยงานต่างๆ
 2 การใช้งานระบบ TEN Version 3 ซึ่งเป็นระบบที่สถาบันการศึกษาทางไกล ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน โดยได้เรียนรู้การใช้งาน 3 เรื่องคือ
 การใช้ CMS แบบ Offline
 การใช้งาน Reload Editor เพื่อสร้าง SCORM
 การใช้งาน TEN Version 3
 3 การจัดทำ SCORM โดยได้ฝึกปฏิบัติ การจัดทำ SCORM ชุดวิชาที่ผลิตในปีงบประมาณ 2549

คำสำคัญ (Tags): #e-learning#cms#scorm
หมายเลขบันทึก: 109840เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2007 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ได้เข้ามาเรียนรู้ครับ ขอบคุณครับพี่ศรีเชาว์น สำหรับความก้าวหน้าแวดวงไอซีทีที่กศน.ต้องก้าวต่อไป

ขอบคุณท่าน ผอ. ดิสกุลครับ ที่เข้ามาเยี่ยมเยียน และ ให้กำลังใจบ่อยๆ

 แนวทางการพัฒนา e-Learning ของ ศนอ. ในปี 2550 ถึง 2551

  1. จัดทำสื่อเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับการติดตั้งและใช้งานระบบ        e-Learning เพื่อแจกจ่ายให้กับผู้รับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบ    e-Learning ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด (ขณะนี้ ผู้ดูแลระบบ ได้ผ่านการอบรมการติดตั้งระบบ e-Learning ไปแล้วในการอบรมแบบ Onsite Training)
  2. ประชุมปฏิบัติการพัฒนาสื่อ e-Learning โดยผู้แทนของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด ได้แก่ ผู้ดูแลระบบ และผู้ที่เคยผ่านประสบการณ์การเข้ารับการอบรม e-Training ของ ศนอ. มาแล้ว และมีประสบการณ์ในการใช้งานคอมพิวเตอร์ นำเอาเนื้อหาวิชาที่มีในคลังหลักสูตรมาสร้างสื่อเข้าสู่ระบบ e-Learning ของแต่ละจังหวัด (คัดเลือกเฉพาะจังหวัดที่มีความพร้อมก่อน)
  3. ผู้ผ่านการอบรม นำไปขยายผลต่อเนื่อง โดยให้ความรู้กับ ครู ศรช.หรือพนักงานราชการ เพื่อสร้างสื่อ เข้าสู่ระบบ e-learning ของแต่ละจังหวัด
  4. เปิดการอบรมผ่านระบบ e-Training เพื่อให้ความรู้พื้นฐานในการสร้างสื่อ e-Learning แก่จังหวัดในกลุ่มที่ 2 พร้อมทั้งหลักสูตร Advanceสำหรับจังหวัดที่เปิด e-Learning ในกลุ่มแรก
  5. ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งคณะทำงานเพื่อพัฒนาสือ วิชาทักษะชีวิต 1 ส่งให้สถาบันการศึกษาทางไกล

      เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวบรรลุผล ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำเป็นจะต้องสร้างระบบ e-Learning และเปิด website e-Learning เพื่อเป็นแบบอย่างแก่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด (ที่ผ่านมา ได้เปิดใช้แต่ระบบ e-Training แต่ยังไม่ได้เปิด website e-Learning) โดยดำเนินการดังนี้

  1. ย้ายเนื้อหาที่อยู่ในระบบ e-Training มาไว้ที่ website ระบบ e-Learning ที่จะเปิดใหม่ โดยใช้ระบบ LMS ที่พัฒนาโดย NECTEC คือ Learnsquare Version2 beta
  2. เปิด website อย่างเป็นทางการ แล้วจดทะเบียนชื่อ website (Domain name) กับสำนักบริหารงานการศึกษานอกดรงเรียน แล้วแจ้งให้ ศนจ. และ ศบอ. ต่างๆ ทราบดดยทั่วกัน
  3. พัฒนาบทเรียนตามหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องเพิ่มเติม โดยประสานงาน และพัฒนารร่วมกันกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด และสัมพันธ์กับระบบคลังหลักสูตร
  4.  เชื่อมโยง website e-learning ของ ศนอ. กับระบบ e-learning ของ ศนจ.ต่างๆ ที่จะเปิดใช้งานในระยะต่อไป รวมทั้งเชื่อมโยงกับระบบ e-learning ของภาคอื่นๆ 
  5. ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่อง ร่วมกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด ให้ครอบคลุมตามที่มีในคลังหลักสูตร (ประมาณ 200 หลักสูตร)

หลักสูตร การพัฒนาสื่อและการจัดการเรียนการสอนทางไกล ด้วยระบบ e-Learning 

  • 1 หลักการ
         แนวทางการพัฒนาระบบการเรียนการสอนทางไกล ผ่านเครื่องข่าย Internet ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และหน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาไว้ดังนี้
      1 ติดตั้งระบบ e-Learning ให้กับ website ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด ในการอบรมแบบ Onsite Training พร้อมทั้งจัดทำสื่อเพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับการติดตั้งและใช้งานระบบ e-Learning เพื่อมอบให้กับผู้รับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบ    e-Learning ของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด
      2 ประชุมปฏิบัติการพัฒนาสื่อ e-Learning โดยผู้แทนของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด ได้แก่ ผู้ดูแลระบบ และผู้ที่เคยผ่านประสบการณ์การเข้ารับการอบรม e-Training ของ ศนอ. มาแล้ว และมีประสบการณ์ในการใช้งานคอมพิวเตอร์ นำเอาเนื้อหาวิชาที่มีในคลังหลักสูตรมาสร้างสื่อเข้าสู่ระบบ e-Learning ของแต่ละจังหวัด (คัดเลือกเฉพาะจังหวัดที่มีความพร้อมก่อน)
      3 ผู้ผ่านการอบรม นำไปขยายผลต่อเนื่อง โดยให้ความรู้กับ ครู ศรช.หรือพนักงานราชการ เพื่อสร้างสื่อ เข้าสู่ระบบ e-learning ของแต่ละจังหวัด
      4 เปิดการอบรมผ่านระบบ e-Training เพื่อให้ความรู้พื้นฐานในการสร้างสื่อ e-Learning แก่จังหวัดในกลุ่มที่ 2 พร้อมทั้งหลักสูตร Advanceสำหรับจังหวัดที่เปิด e-Learning ในกลุ่มแรก
      5 ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งคณะทำงานเพื่อพัฒนาสือ วิชาทักษะชีวิต 1 ส่งให้สถาบันการศึกษาทางไกล
     5 ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่อง ร่วมกับศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด ให้ครอบคลุมตามที่มีในคลังหลักสูตร (ประมาณ 200 หลักสูตร)
         เพื่อให้ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด สามารถเปิดใช้งานระบบ e-Learning ได้ จำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาระบบ และ สื่อ   e-Learning ของแต่ละจังหวัด และความรู้ความสามารถดังกล่าว ไปพัฒนาระบบ e-Learning และพัฒนาสื่อเข้าสู่ระบบ e-learning เพื่อเปิดการเรียนการสอนทางไกล ผ่านเครือข่าย internet ต่อไป
  • 2 วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถ
        1 สามารถติดตั้งและใช้งานระบบ Learnsquare ได้
        2 สามารถสร้างสื่อการเรียนรู้ เข้าสู่ระบบ learnsquare ได้
        3 สามารถจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านเครือข่าย internet ในรูปแบบ e-learning ได้
  • 3 เนื้อหา
        1 ระบบ e-learning
        2 การผลิตสื่อการเรียนรู้
        3 การจัดการเรียนการสอนทางไกล ผ่านระบบ e-Learning
  • 4 ความรู้ และคุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม
     1 มีความรู้พื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ ดังนี้
         1.1 คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
         1.2 มีประสบการณ์การใช้งาน Internet
         1.3 มีประสบการณ์การสร้าง Graphic ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
     2 มีเครื่องคอมพิวเตอร์ และ Software ที่จะใช้ฝึกปฏิบัติ
  • 5 กลุ่มเป้าหมาย
     1 ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์
     2 บุคลากร ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด ที่รับผิดชอบด้านการจัดการเรียน    การสอน และพัฒนาสื่อ
     3 ครูผู้สอนการศึกษานอกโรงเรียน เช่น ครูอาสา ครู ศรช. เป็นต้น
  • 6 ระยะเวลาการฝึกอบรม
     ระยะเวลาอบรมตลอดหลักสูตร 30 ชั่วโมง
  • 7. ข้อกำหนดการอบรม
     1 การอบรมแบบ ชั้นเรียน เป็นการจัดการฝึกอบรม ที่ผู้เข้ารับการอบรม ได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติ โดยมีวิทยากรเป็นผู้ดำเนินการจัดกิจกรรมการอบรม ด้วยการบรรยาย สาธิต ฝึกปฏิบัติ และศึกษาจากสื่อในรูปแบบต่างๆ
     2 การอบรมทางไกลผ่านเครือข่าย Internet เป็นการฝึกอบรมผ่านทางเครือข่าย Internet ในระบบ e-Training โดยการเรียนรู้ด้วยตนเอง
     3 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องมีเวลาการฝึกอบรมตลอดหลักสูตร ร้อยละ 80 และมีผลงานคนละ 1 เรื่อง จึงจะได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสือรับรองการผ่านการฝึกอบรม
  • 8. รายละเอียดหลักสูตร
    ตอนที่ 1 ระบบ e-learning
     จุดประสงค์ปลายทาง
      เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบ e-Learning สามารถติดตั้งระบบ e-Learning และเข้าใจการใช้งานระบบ e-Learning ในสถานะของผู้ใช้งานต่างๆได้
     จำนวนชั่วโมง
      ใช้เวลาฝึกอบรมในตอนที่ 1 จำนวน 3 ชั่วโมง
    ตอนที่ 2 การผลิตสื่อการเรียนรู้
     จุดประสงค์ปลายทาง
      เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม สามารถผลิตสื่อการเรียนรู้ เพื่อใช้กับระบบ           e-Learning ด้วยวิธีการต่างๆ ได้
     จำนวนชั่วโมง
      ใช้เวลาฝึกอบรมในตอนที่ 2 จำนวน 18 ชั่วโมง
    ตอนที่ 3
      การจัดการเรียนการสอนทางไกล ผ่านระบบ e-Learning
     จุดประสงค์ปลายทาง
      เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม สามารถจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านระบบ      e-Learning ได้
     จำนวนชั่วโมง
      ใช้เวลาฝึกอบรมในตอนที่ 3 จำนวน 12 ชั่วโมง

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท