อนุทินล่าสุด


dejavu monmon
เขียนเมื่อ

ขณะเดินไปซื้ออาหารเพื่อ ๒ มื้อ ความคิดนี้ก็เกิดขึ้นมโนทัศน์เรื่องคู่ในพุทธศาสนาสืบเนื่องจากเมื่อวานคุยกับเพื่อนที่จังหวัดนนทบุรีทางไลน์ส่วนตัว อันหนึ่งที่เราคุยกันคือ “ของบางอย่างที่เราอยากได้ ความอยากนั้นจะยุติลงด้วยคำของคู่ครอง” อย่างเพื่อนอยากได้รถมือสองแต่ราคา ๓ ล้าน เพื่อโทรไปบอกสาวที่บ้าน สาวที่บ้านบอกว่า “เพื่ออะไร” ทุกอย่างก็จบลงด้วยการวางหู เป็นอันเข้าใจกันความคิดหนึ่งก็ผุดขึ้นในใจของผมคือ “คู่ครองกับคู่บุญนั้นต่างกัน”ผมเข้าใจว่า ถ้าเป็นคู่บุญ จะแสดงให้เห็นถึงความเสมอกันในหลายด้าน เช่น ความเสมอกันในเรื่องความเชื่อ ความเสมอเหมือนกันในเรื่องความพฤติ ความเสมอกันในเรื่องความคิด ดังนั้น ถ้าฝ่ายหนึ่งมีเจตนาแบบใด อีกฝ่ายหนึ่งก็เข้าทำนองเดียวกันมีอีกคู่หนึ่งที่ผุดขึ้นขณะเดินไปซื้ออาหารวันนี้คือ “คู่กรรม” คำนี้น่าจะชินหูสำหรับคนที่ชอบดูนวนิยาย พระเอกในเรื่องคือ โกโบริ/โอโมริเมื่อพิจารณาคู่กรรม น่าจะสัมพันธ์ กับ “คู่บุญ” แต่เป็นความสัมพันธ์ข้างเดียวกรรม ในพุทธศาสนา แปลว่า การกระทำการกระทำในพุทธศาสนา ว่าไว้ ๓ อย่างคือ การกระทำทางกาย การกระทำทางวาจา และการกระทำทางใจมีความเป็นไปได้ที่การกระทำทั้ง ๓ ทางจะไปในทิศใดทิศหนึ่งระหว่าง (๑) การกระทำดี ส่งผลเป็นความดี (๒) การกระทำไม่ดี ส่งผลเป็นความไม่ดี การกระทำดีและไม่ดี มีรากฐานมาจากเชื้อไวรัสทางใจ ๒ แบบที่ต่างสายพันธ์กันการกระทำดี มาจาก ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลงการกระทำไม่ดี มาจาก โลภ โกรธ หลงถ้าคู่กรรมคือคู่บุญ แสดงว่า ทั้งคู่มีความประพฤติที่มาจากไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ที่ไปร่วมกันได้ถ้าคู่กรรมคือคู่บาป แสดงว่า ทั้งคู่มีความประพฤติที่มาจาก โลภ โกรธ หลง ที่ไปร่วมกันได้ ความเป็นคู่ไม่ได้จบเพียงเท่านั้นพุทธศาสนายังกล่าวถึงความเป็นคู่ที่มากไปกว่านั้นนรก-สวรรค์ดี-ชั่วสังขตธรรม-อสังขตธรรมนิพพาน ไร้คู่๒๕๖๕๐๖๑๕๐๗.๕๓ น.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
dejavu monmon
เขียนเมื่อ

วิทยากรบอกว่า “เราต้องโกหก เสกสรร ปั้นแต่ง เพื่อให้ได้ทุนวิจัย…”

ผมได้แต่อุทานในใจว่า “โอ โอ” ทำให้คิดว่า ถ้าระบบเป็นแบบนี้ เราจะหาความจริงจากที่ใด ถ้าวิจัยคือการค้นหาความจริง แต่การค้นหาเริ่มต้นความไม่จริง ผลจะออกมาแบบใด

๒๕๖๔๑๐๑๕๑๐.๕๔



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
dejavu monmon
เขียนเมื่อ

สิ่งที่พบ- ทราบมาว่า ผู้จะจบปริญญาตรีต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษ-เห็นเอกสารทางราชการผสมระหว่าง ภาษาไทยกับภาษาอังกฤษในหน่วยงานราชการ-ได้ยินคนในหน่วยงานวิจัยของประเทศพูดภาษาไทยที่แตกต่าง เช่น “เราเน้นส์สสส”-ภาษาคือเครื่องมือสื่อสาร

สิ่งที่คิด-ไม่ได้ปฏิเสธภาษาอังกฤษในฐานะเครื่องมือในการสื่อสารกลางและเป็นเครื่องมือสำคัญในการเข้าถึงความรู้ที่กว้างขึ้น แต่การให้นักศึกษาเรียนหลักสูตรภาษาไทยแล้วสอบผ่านภาษาอังกฤษ ดูกระไรอยู่ -เคยชินภาษาไทยและเลขไทยในหนังสือราชการ/ทางการ ของหน่วยงานราชการ แต่บางหน่วยงาน มีผู้ผ่านระบบการเรียนและชำนาญในภาษาอังกฤษ ขนาดที่เข้าใจลึกซึ้งในภาษาอังกฤษอย่างอัตโนมัติ แต่ปัญหาคือ การไม่สามารถแปลภาษาอังกฤษให้เป็นความเข้าใจด้วยภาษาไทยได้ จึงใช้ศัพท์ภาษาอังฤษคำ ภาษาไทยคำ โดยส่วนตัว ไม่ได้ยึดติดว่าภาษาดีหรือภาษาอังกฤษดี แต่เข้าใจว่า ถ้าตกลงว่าเราจะใช้ภาษาอะไรเป็นภาษาทางการ เราก็ควรจะใช้ภาษานั้น เฉพาะภาษาเดียวก็สร้างข้อกังขาให้กับผู้อ่านในระดับหนึ่งแล้ว เพราะบางคำเป็นคำโบราณที่ไม่คุ้นชินกับการเรียนรู้ในปัจจุบันอีก อย่างไรก็ตาม คิดว่า การใช้ภาษาไทยคำหนึ่ง และภาษาอังกฤษคำหนึ่ง ต่อไปก็คงชินกันไปเอง -การนำรูปแบบหนึ่งมาใช้กับอีกรูปแบบหนึ่งอาจจะเรียกว่าทักษะ /บูรณาการ ฯลฯ แต่ถ้าไม่แยกแยะระหว่างสองสิ่งที่มีที่ไปที่มาต่างกัน ก็จะทำให้ปะปนกันมั่ว ยังคงคิดเหมือนกับประเด็นก่อน แม้จะไม่เห็นด้วยแต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธการเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าการเปลี่ยนแปลงมีหลักการก่อนการเปลี่ยนแปลงก็จะดีไม่น้อย-ภาษาคือเครื่องมือสื่อสาร ไม่ใช่ตัวกำหนดว่าใครจะเป็นอะไร การเลือกใช้ภาษาเป็นรสนิยม บางคนชอบภาษาญี่ปุ่น บางคนชอบภาษาจีน แต่บางคนชอบภาษาโบราณ-การสื่อสารด้วยหัวใจอาจทำความเข้าใจระหว่างกันได้ดีกว่าภาษาสัญลักษณ์



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
dejavu monmon
เขียนเมื่อ

มีความคิดผุดขึ้นขณะขับรถผ่านพื้นที่ขายรถยนต์ที่ใหญ่โตหรูหราโดยเชื่อมโยงไปสู่ชีวิตของหลายๆคนที่ต้องออกจากงานและกำลังถูกบีบจากหน่วยงานเพื่อให้ออกโดยที่หน่วยงานไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ ในช่วงผลกระทบจากระบบเศรษฐกิจโลก เชื่อมโยงไปสู่อีกภาพหนึ่งคือหญิงกลางคนยอมขโมยของในร้านเพื่อนำไปให้ลูกได้มีอะไรที่เหมือนๆกับคนทั่วไป ความคิดนั้นคือ “หลายคนยังไม่ร่ำรวยด้วยเงินทอง ก็วิ่งแสวงหาทางเพื่อให้ได้ซึ่งเงินทอง คนที่ไม่มีเงิน เมื่ออยากได้อะไรสนองความต้องการ ก็ไม่สามารถจะนำเงินไปแลกเพื่อสิ่งสนองความต้องการได้ เขาก็ต้องแสวงหาเท่าที่จะทำได้ คนที่รวยเงินแล้วก็ซื้ออะไรๆที่สนองความต้องการของตน เมื่อร่ำรวยแสนรวย ขณะที่สิ่งที่ต้องการบนโลกนี้ไม่มีอีกแล้ว แต่ก็ยังรู้สึกว่าอะไรๆที่ใส่เข้ามาในตัวเองทั้งหลายทั้งหมดที่ผ่านมา ยังไม่ได้ทำให้ความต้องการในใจลึกๆหมดไปได้ ยังมีความต้องการซ่อนลึกอยู่ไม่รู้จบ ในเมื่อไม่มีอะไรในโลกมาสนองความต้องการนั้นแล้ว เงินที่หามาสุดแสนจะร่ำรวย ก็ดูเหมือนไร้ประโยชน์ ดังนั้น คนที่ต้องการอะไรต่างๆนอกจากปัจจัยจำเป็นของการดำรงชีวิต รู้อย่างนี้แล้วจะต้องการเงินไปทำไม ถ้าเงินเป็นเพียงเครื่องมือเพื่อนำไปแลกสิ่งต่างๆสนองความต้องการ การมีเงินล้นฟ้าเพื่อแลกสิ่งต่างๆมาเพื่อสนองความต้องการก็ยังไม่ได้ทำให้ความต้องการหมดไป ปัญหาจริงๆจึงอาจไม่ใช่การไม่มีเงิน และไม่ใช่การที่สิ่งต่างๆตามที่ต้องการไม่มีอยู่บนโลก



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
dejavu monmon
เขียนเมื่อ

ระหว่างการพูดคุยถึงการหาวิธีการใดที่เป็นบรรยากาศความผ่อนคลายระหว่างผู้เรียนกับผู้ดูแลชั้นเรียน วงพูดคุยจึงจัดพื้นที่ผ่อนคลายให้ผู้เรียนหลังเลิกเรียน ภาพสถานการณ์ความรุนแรงที่โคราชยังคงวนเวียนเข้ามาในหัว ด้วยความเสียดายจึงบันทึกความคิดลงบนกระดาษ และคาดว่ากระดาษดังกล่าวนี้ก็คงเหมือนกระดาษก่อนๆ คือจัดวางไว้กลุ่มหนึ่ง เมื่อมากก็จะถูกจัดเก็บลงกล่อง แล้วหายไปกับสายลม วันนี้จึงนำข้อความจากกระดาษมาเขียนลงในอนุทิน

สังคมกับความรับผิดชอบร่วมต่อความไม่เป็นธรรม

  • การเพิกเฉยต่อความไม่เป็นธรรม เช่น “ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับฉัน” ทั้งที่ “ฉันคือส่วนหนึ่งของสังคม” และ “ถ้าฉันเดือดร้อนฉันก็ถามหาความเป็นธรรมจากสังคมเหมือนกัน”
  • การขัดขวางความไม่เป็นธรรม “การมีส่วนร่วมในการขัดขวางความไม่เป็นธรรมเท่ากับการสร้างสังคมที่ดี” “การไม่ขัดขวางเท่ากับการสนับสนุน”
  • การเพิกเฉยต่อความไม่เดือดร้อนของสังคมเท่ากับการไม่ควรอยู่ในสังคม (ดังนั้น ผมคนหนึ่งจึงไม่ควรอยู่/ในวงเล็บนี้เพิ่งคิดได้ในขณะกำลังพิมพ์)
  • การไม่เพิกเฉยจะทำอย่างไร…การเขียน…การพูด…การทำ


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
dejavu monmon
เขียนเมื่อ

ขณะกำลังล้างชามขนมจีนเช้านี้ ความคิดแล่นไปถึงข้อเขียนของพนักงานมหาวิทยาลัยท่านหนึ่งกรณี "เปอร์เซ็นต์การมีงานทำของบัณฑิต" และหวนนึกไปถึงการที่หลักสูตรต่างๆต้องผลิตบัณฑิตให้มีงานทำ ข้อความนี้ก็ผุดขึ้นในสมองว่า "ถ้าผลิตบัณฑิตให้มีงานทำ เราไม่จำเป็นต้องส่งลูกหลานเข้าเรียนหนังสือเพื่อจะไปมีงานทำ หากการปฏิบัติคือการเรียนรู้ ดังนั้น ก็ควรให้ลูกหลานไปทำงานเพื่อให้เกิดความชำนาญในความรู้นั้นๆไปเสียเลย ทำไมต้องอ้อมไปเรียนหนังสือก่อนมีงานทำ มิสู้จะมีงานทำไปด้วยเรียนในเรื่องนั้นๆไปด้วยหรอกหรือ เป้าหมายของการผลิตบัณฑิตที่แท้จริงควรจะเป็นอะไร? เป็นการผลิตเพื่อตอบรับระบบอุตสาหกรรมของโลกหรือ แท้จริงแล้ว คงไม่มีคนที่ไม่มีงานทำ แต่ถ้าวัดว่า คนมีงานทำคือคนที่ไปทำงานรับจ้างได้ค่าตอบแทนจากสถานประกอบการต่างๆ ก็จะมีคนจำนวนหนึ่งไม่มีงานทำ เพียงเพราะเขาสร้างงานด้วยตนเอง เป็นเจ้านายตนเอง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
dejavu monmon
เขียนเมื่อ

เช้านี้เป็นไปตามความภาพเงาของความคาดหวัง ตื่นเช้ายังคงนอนหลับตา ณ ที่เดิม พลิกตัวนอนคว่ำ ครวญคิดว่าวันนี้จะทำอะไรบ้าง (แต่รู้สึกได้ว่าอารมณ์ไม่สดชื่น) จึงกำหนดแผนงานในใจและการจัดการที่คาดว่าเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้นั้น แต่มีใจหนึ่งบอกว่า วันนี้น่าจะมีปัญหา สิ่งที่คาดว่าจะทำ จะไม่ได้ทำ ถึงอย่างนั้นก็ยังกำหนดว่าจะทำอยู่ดี

เมื่อเริ่มแต่งตัวจะออกไปทำงาน ทุกอย่างที่วางแผนไว้ก็เปลี่ยนแปลง แม้แต่เวลาที่กำหนดไว้ก็เปลี่ยนแปลงเช่นกัน เพราะมีงานจรเข้ามาเบียดงานหลัก การอยู่ร่วมกันในสังคม สังคมคือพลังอย่างหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของบุคคล มานั่งกินข้าวแล้วครวญคิดใหม่ ดูเหมือนเรื่องแบบนี้คือแผนงานที่วางไว้จะไม่เป็นไปตามแผนนี้ จะเข้ามาซ้ำๆเสมอ ทำให้คิดได้ว่า สิ่งเหล่านี้อาจเตือนให้เราอย่าได้คาดหวังกับสิ่งที่หวังนั้นอย่างเด็ดขาดเสมอไป เราจำเป็นจะต้องปรับตัวตามกระแสที่เข้ามามีบทบาทในชีวิต และเป็นไปได้ของความมั่นคงอาจจะคือ ความไม่มั่นคง ไม่มั่นใจนักว่านี่คืออนิจจตาหรือไม่



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
dejavu monmon
เขียนเมื่อ

วันนี้ขณะนั่งตรวจข้อสอบ ความคิดนี้เกิดขึ้น "ตรวจงานเหมือนซื้อหวย" นั่นหมายความว่า ขณะที่นั่งตรวจงานเด็ก หยิบงานมาตรวจทีละชิ้น ผมเฝ้าแต่ภาวนาว่า ขอให้เด็กๆทำข้อสอบได้ทีเถอะ เรียกว่า ต้องลุ้นกันเลยทีเดียว .... มาคิดอีกที ถ้าการศึกษาเป็นอย่างซื้อหวย จะเกิดอะไรขึ้น และการศึกษาที่กำลังเป็นอยู่ในเวลานี้จำนวนหนึ่ง เป็นการศึกษาแบบซื้อหวยจริงๆ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
dejavu monmon
เขียนเมื่อ

ระหว่างอาบน้ำหลังจากล้างรถเสร็จ ความคิดนี้ก็ผุดขึ้น "งานที่สบาย อาจไม่ใช่งานที่มาจากวุฒิการศึกษาสูง (ทางสังคม) เพราะบุคคลที่มีวุฒิการศึกษาสูงยังต้องทำงานตอบระบบโดยไม่หยุดและไม่รู้จะได้หยุดเมื่อไร งานที่สบาย น่าจะคืองานที่ขึ้นกับความพึงพอใจ บุคคลอาจไม่จำเป็นต้องมีวุฒิการศึกษาสูงอย่างที่สถาบันการศึกษาพยายามจะกล่อมเกลาความคิดที่ว่า มีวุฒิการศึกษาสูงจะได้ทำงานสบาย"...."ถ้าการเรียนเพื่อไปทำงานเพื่อให้ได้เงินมาก ทำไมเราต้องผ่านการเรียนแล้วไปทำงานเพื่อให้ได้เงิน ทำไมเราไม่ทำงานเพื่อให้ได้เงินโดยผ่านระบบการเรียนไปเรียน เพราะการทำงานก็คือการเรียน"




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
dejavu monmon
เขียนเมื่อ

วันศุกร์ที่ ๘ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ มีข้อความนี้เกิดขึ้นในสมองของผม ข้อความนั้นคือ "ความทุกข์ทั้งหลาย ต่อให้เราหนีไปไกลสุดหล้าฟ้าเขียว มันก็ติดตามไปไม่ลดละ แท้จริง เรานั่งอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ แล้วสลัดมันทิ้งไป มันก็จะไปจากเราในทันที โดยที่เราไม่จำเป็นต้องหนีไปที่ใดเลย"



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
dejavu monmon
เขียนเมื่อ

โจทย์มีว่า "จงให้ความหมายของ "การเปลี่ยนแปลงทางสังคม" ตามแนวคิดของนักคิดทางสังคมมาอย่างน้อย ๒ ท่าน วิเคราะห์ให้เห็นว่า แนวคิดของทั้งสองท่านเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร?" มีนักศึกษาคนหนึ่งตอบว่า "แนวคิดการใช้โทรศัพท์ในปัจจุบัน โทรศัพท์ในปัจจุบัน บางคนใช้ถูก บางคนใช้ผิด เพราะเป็นโลกที่เปิดกว้าง สามารถสื่อสารหากันได้ ยิ่งตอนนี้มีการใช้อินเตอร์เน็ต ในโทรศัพท์ยิ่งมีโลกกว้างไปใหญ่..." อีกคนหนึ่งตอบว่า "มีการใช้อินเตอร์เน็ตมาขึ้น ติดต่อกันได้ง่าย..." ผู้รับผิดชอบวิชาอย่างผม ควรที่จะอยู่บนระบบการศึกษานี้อีกหรือ? เพราะสิ่งที่ลงทุนไปกับสิ่งที่ปรากฎไม่สอดคล้องกันเลย ทำให้คิดว่า (๑) เราต้องเริ่มจากเด็กคนนี้ใหม่ทั้งหมด (๒) มันเกิดอะไรขึ้นกันแน่กับการอ่านโจทย์แล้วตีความโจทย์ หรือว่า โจทย์ไม่อาจสื่อความหมายที่สอดคล้องกับระนาบความคิดของเด็กได้... บันทึกนี้เขียนไว้เพื่อเตือนความจำว่า ครั้งหนึ่งเกิดเหตุแบบนี้กับผม



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
dejavu monmon
เขียนเมื่อ

เดือนนี้ ผมเริ่มเตรียมการเพื่อหวังว่าปลายปีหน้า ผมคงต้องบอกลาสถาบันการศึกษาที่ให้ชีวิตผมมากว่า ๑๐ ปี แต่วันนี้ ผมนั่งตรวจข้อสอบอัตนัย ผมพบอะไรบางอย่างในการตอบข้อสอบของนักศึกษา (๑) การตอบข้อสอบของนักศึกษาขาดฐานความรู้ (หลักการ) ดังนั้น จึงมีนักศึกษาจำนวนหนึ่งที่ตอบตามความเข้าใจของตนเอง อันที่จริง ความเข้าใจของตนเองควรอยู่หลังฐานความรู้ที่ผู้รู้ได้ศึกษามาก่อน (๒) การเขียนอะไรลงไปก็ได้ในข้อเขียนที่ตนพยายามตอบ ดังนั้น คำตอบที่เขียนจึงไม่ใช่คำตอบของโจทย์ที่ผู้ออกข้อสอบตั้งไว้เพื่อประเมิน (๓) การขาดรูปแบบการเขียน การจัดสัดส่วนของการเขียน และการขาดการตีความโจทย์

จากข้อสังเกตนี้ ทำให้ผมอยากทำบันทึกถึงคณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตรฯ ถึงกรณีที่จะต้องเพิ่มเรื่องอะไรลงไปบ้างกับหลักสูตรที่จะเกิดขึ้นใหม่ เอาเป็นว่า แค่เพียงเขียน "ภาษาไทย" เรายังไม่ไหวเลย ดังนั้น (๑) การตีความข้อความของภาษา (๒) ระเบียบในการเขียนเอกสาร (๓) การจัดระดับความคิด (๔) การใฝ่ใจต่อการอ่าน ทั้งการอ่านเบื้องหลังข้อเขียน ความหมายของข้อเขียน และประเมินภาพรวมของข้อเขียน (๕) การคัดไทย

เฉพาะ (๒) และ (๕) เป็นเรื่องของภาษาไทย ส่วน (๑) (๓) และ (๔) เป็นเรื่องของการฝึกฝนปัญญา

เอเมน



ความเห็น (1)

เห็นด้วย พวกเรากำลังเผชิญปัญหาเช่นนี้

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
dejavu monmon
เขียนเมื่อ

ขณะดูหนังเมตทริก มีความคิดที่ไม่เกี่ยวกับหนังเกิดขึ้น "การศึกษาตามโลก โลกหมุนไม่หยุด ถ้าเราหยุดตามโลก เราจะอยู่หน้าโลก"



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
dejavu monmon
เขียนเมื่อ

วันนี้เข้าประชุมเกี่ยวกับการประกันคุณภาพหลักสูตร ระหว่างนั้นมีความคิดว่า เรากำลังนำระบบมาจักการสถานการณ์ทั้งหมด การนำระบบมาจัดการเพราะเราเชื่อมั่นในระบบ ความเป็นระบบคือความแน่นอน ซึ่งรวมถึงความตายตัว เช่น ถ้าทำได้อย่างนี้ จึงได้คะแนนเท่านี้..คำถามคือ ระบบที่นำมาเพื่อคุมการศึกษาของมนุษย์สอดคล้องกับความต้องการของมนุษย์หรือไม่ และที่น่าคิดเพิ่มเติมคือ คนคุมระบบไม่ใช่ผู้ปฏิบัติการ





ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
dejavu monmon
เขียนเมื่อ

จากการที่หลายๆคนไม่ได้รับการต่อสัญญาจ้าง ทันทีที่รับรู้เรื่องนี้ ทำให้ผมอยากเขียนบทความเรื่อง "การไม่ต่อสัญญาจ้าง : บาปกรรมหรือบุญกรรม (บาปของผู้มีอำนาจทางการศึกษา หรือบุญของสถาบันการศึกษา)" แต่มีงานทีต้องเร่งรีบ จึงไม่ได้เขียนบทความที่อยากเขียนนั้น



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
dejavu monmon
เขียนเมื่อ

คืนวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๘ เพื่อนโทรมาปรึกษา (ระบาย) เกี่ยวกับการที่มหาวิทยาลัยไม่ต่อสัญญาจ้าง ซึ่งไม่ใช่เขาคนเดียว ดังนั้น หลายคนกำลังเดือดร้อนกับสิ่งที่ไม่คิดว่าจะเกิดขึ้น แต่มันเกิดขึ้นจริง สำหรับเพื่อนของผมคนนี้ ดูแล้วไม่ใช่คนมีพิษมีภัยกับใคร วันนี้เขาไม่ได้รับการต่อสัญญา จากที่ทำงานมาเป็นเวลา ๑๕ ปี และที่หนักกว่านั้นคือ ภรรยาของเขาก็ไม่ได้รับการต่อสัญญาเช่นกัน อายุงานเท่ากัน บ้านยังต้องผ่อน ลูกยังเรียนหนังสือปฐมวัย ผมฟังแล้วอนาถใจ แต่ก็คงได้แค่ฟังเท่านั้น นี่อาจเป็นระบบใหม่ของมหาวิทยาลัยไทยที่ต้องการก้าวไปข้างหน้าทัดเทียมนานาอารยะประเทศ บางความคิดผมก็คิดว่า มหาวิทยาลัยไทยควรจะเป็นอย่างไรกันแน่ เราควรปลูกความรักไว้กับที่ที่ให้ปัจจัยสี่กับเราหรือว่าเราควรมองว่าองค์กรเป็นเพียงอะไรบางอย่างที่ไม่จำเป็นต้องผูกพันใดๆ ค่อนข้างสับสนว่า องค์กรคุณธรรมมันมีจริงหรือ นอกจากนั้น ไม่ต่อสัญญาการทำงาน แต่ขอให้สอนไปจนสิ้นเทอม (อีกสองเดือนกว่า) ในฐานะอะไรหนอ เช้านี้ เพื่อนที่สอนภาษาอังกฤษเปรยขึ้นว่า หากรู้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างนี้ ผมไปสอบบรรจุข้าราชการเป็นครูมัธยมดีกว่า

ขอไว้อาลัยต่อผู้นำของประเทศที่คิดหวังให้มหาวิทยาลัยก้าวหน้า แต่คาดว่า ชาวบ้านก็ยังคงทำนาแบบใช้สารเคมีกันอยู่เหมือนเดิม และเด็กส่วนหนึ่งจำนวนมากก็ยังเอ็นทรานซ์ไม่ผ่านกัน ขอให้มีความสุขกันทุกผู้ทุกนาม



ความเห็น (2)

นี่แหละ คือ ความไม่มั่นคงจริง ๆ ที่เกิดขึ้นในสถาบันอุดมศึกษาของไทยเวลานี้ … เขาคงจะไม่ภักดีต่อองค์กรมากไปกว่าภักดีต่อครอบครัวของตนเอง

การออกนอกระบบ ผมเห็นว่าบางครั้งก็มีปัญหาเกี่ยวกับผู้ที่ทำงาน

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
dejavu monmon
เขียนเมื่อ

อาจารย์สมภาร พรมทา เขียนไว้ใน fb เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๘ เวลา ๒๓.๑๐ น. ข้อความนั้นติดในสมองผมมาจนวินาทีนี้ ข้อความนั้นคือว่า "...สำหรับผม (อ.สมภาร) ความสนุกทางวิชาการที่เกิดจากอาจารย์ส่วนกลางไปสอนให้ความรู้นักศึกษาภูธร มีค่ากว่าการพยายามทำให้มหาวิทยาลัยส่วนกลางเพียงสองสามแห่งติดอันดับโลก..ติดทำไม วิ่งล้ำหน้าไปทำไม เมื่อพี่น้องเราส่วนใหญ่ยังล้มลุกอยู่ข้างหลัง..." (ข้อความนี้เกิดจากการที่อาจารย์ไปสอนที่ขอนแก่น)

อาจารย์สัญชัยถามอุปติสสะ (ถ้าจำไม่ผิดน่าจะคือสารีบุตร ผู้ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่ามีปัญญามาก) ว่า "ในโลกนี้ คนโง่หรือคนฉลาดมากกว่ากัน" อุปติสสะตอบว่า "คนโง่มากกว่า" อาจารย์สัญชัยจึงพูดว่า "ถ้าอย่างนั้น คนฉลาดจงไปหาสมณโคดม (พระพุทธเจ้า) ส่วนคนโง่ให้มาหาเราเถิด.."



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
dejavu monmon
เขียนเมื่อ

วันนี้รู้สึกเศร้า...และไม่อยากทำหน้าที่นี้จริงๆ เมื่อพบว่า "งานที่นักศึกษายืนยันเป็นมั่นเหมาะว่าทำเอง ช่วยกันทำสองคนกับเพื่อน เป็นงานเดียวกันกับงานของนักศึกษาต่างมหาวิทยาลัยทางภาคเหนือ งานชิ้นดังกล่าวข้อความเหมือนกันตลอดชิ้นงาน ที่ต่างกันเพียงตัวเลขและสถานที่เท่านั้น" .... ความหวังว่าจะให้นักศึกษาได้รู้จักการผลิตความรู้ด้วยตนเอง ความซื่อสัตย์ในการผลิตความรู้ แต่ดูจะเปล่าดาย....มีอยู่ชิ้นหนึ่ง นักศึกษาลืมเปลี่ยนสถานที่ จึงเอาน้ำยาลบ ผมพบว่า ตรงกับงานของอีกสถานศึกษาหนึ่งเช่นกัน..../ ขอแสดงความขอบคุณนักศึกษาที่ได้ผลิตงานด้วยความสามารถของตนเอง โดยไม่ได้ไปลักขโมยความรู้จากท่านอื่น



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
dejavu monmon
เขียนเมื่อ

เด็กๆ เดี๋ยวนี้ฉลาดในการใช้เครื่องมือแสวงหาความรู้ การรายงานในชั้นเรียน ใช้การอ่านจากหน้าจอโทรศัพท์ที่เก็บภาพมา การเก็บความรู้ก็ไม่ต้องจด เพราะจะใช้โทรศัพท์ถ่ายภาพจากเพาเวอร์พอยท์...ต่อไปในอนาคต เด็กๆจะตกใจว่า คนสมัยโบราณเขาเขียนกัน ดูลายมือแต่ละคนสิโยกไปเย้มา เหนื่อยเปล่าๆ แต่เขาจะไม่รู้ว่า การได้มาซึ่งอักษรแต่ละตัวนั้น ต้องใช้ความอดทนเพียงใด



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
dejavu monmon
เขียนเมื่อ

วันนี้มีการคุยกันระหว่างเพื่อนถึงกรณี "การจ้างทำวิทยานิพนธ์" ของมหาวิทยาลัยบางแห่ง ในจำนวนนั้น เข้าใจว่าทางฝ่ายบริหารทราบดี ทำให้นึกไปถึงหลายวันก่อนที่มีการคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้ในกลุ่ม.... วันนี้ผมได้ข้อสรุปบางประการ (๑) โดยมากเป็นหลักสูตรทางการเมือง (๒) ในหน่วยงานของรัฐ จะมีหน่วยงานย่อยที่เปิดหลักสูตรแนวธุรกิจการศึกษา โดยผู้ที่เข้าเรียนในหลักสูตรนั้น จะต้องจ่ายเงินสูงกว่าปกติ หน่วยงานดังกล่าวจะมีการบริหารจัดการตนเอง ในส่วนหนึ่งคือการจ้างอาจารย์ ซึ่งรายได้จะเข้ามหาวิทยาลัยส่วนหนึ่ง และจะเข้าหน่วยงานดังกล่าวส่วนหนึ่ง ในกรณีจ้างทำวิทยานิพนธ์นั้น เป็นเรื่องการบริหารจัดการของหน่วยงานนั้นๆ แต่ถ้าผลเสียที่ออกมา ก็จะออกมาแบบเสียหายแก่ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยทั้งหมด สำหรับมหาวิทยาลัยเอกชนที่ค่อนข้างโด่งดังในเวลานี้ น่าจะเป็นที่รู้ๆกัน อย่างไรก็ตาม หลักสูตรบางหลักสูตรที่ไม่สนใจ "จ่ายครบจบแน่" มักจะมีผู้เรียนน้อยลง และมีอันต้องปิดหลักสูตรในภายหลัง (๓) ดูเหมือน ผู้เรียนไม่ได้ต้องการความรู้ หากแต่ต้องการใบรับรองความรู้มากกว่า อีกอย่างหนึ่ง ความรู้ของผู้เรียนและผู้รับผิดชอบวิชานั้นไม่แตกต่าง ดังนั้น หน่วยงานในความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย/กำกับของมหาวิทยาลัยจะเป็นเพียงตราสำหรับรับรองความรู้เท่านั้น (๔) ผู้ที่อยู่ในหน่วยงานของรัฐบางคน เมื่อเกษียณเพราะการเรียนแบบจ่ายครบจบแน่ ก็จะเข้ามามีบทบาทในการจัดการหลักสูตรแบบนี้ต่อไป....อนึ่ง ความคิดดังกล่าวนี้ อาจเป็นการมองการศึกษาในแง่ร้าย เพราะในความเป็นจริง ภาพลบทางการศึกษาดังกล่าวนั้น เป็นเพียงเม็ดฝุ่นเม็ดเล็กๆเท่านั้น เมื่อพิจารณาระบบการศึกษาโดยรวม

บันทึกไว้ในความทรงจำ ๑๒.๕๑ น.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
dejavu monmon
เขียนเมื่อ

เช้าตรูของวันนี้ มีความคิดขึ้นว่า "ผมเหลวไหล (ไม่เอางานเอาการ) มากว่า ๒ เดือน ถึงเวลาที่ต้องสะสางงานที่ค้างไว้เสียที กับ ๒ บทความที่รับปากอาจารย์ไว้" 



ความเห็น (4)

ประมาณเดียวกันครับ…สู้ๆ ครับ

พรุ่งนี้..ผมมีสะสางงาน…ประชุม….หวังว่าคงจะผ่านไปด้วยดี…สาธุ…

สงสัยจะประมาณเดียวกันในหลายคน...สาธุ การสะสางงานให้สำเร็จเป็นความเจริญของชีวิตแท้ๆ

ความสำเร็จอยู่ที่ก้าวแรก ก้าวเมื่อไร สำเร็จเมื่อนั้น สู้ ๆ ค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
dejavu monmon
เขียนเมื่อ

รู้สึกอย่างไรกับคดีฆ่าพ่อ-แม่....ผมรู้สึกอนาถครับ...แต่ก็ต้องพยายามทำความเข้าใจว่า ทุกอย่างล้วนมีที่มา...ป้องกันไว้ก่อนจะดีกว่า



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
dejavu monmon
เขียนเมื่อ

"สิ่งน่ากลัวในวงการการศึกษาอย่างหนึ่งคือ การศึกษาแบบฉาบฉวย" ความคิดนี้เกิดขึ้นระหว่างนั่งดูจำนวนผู้สอบผ่านเข้าศึกษาในหลักสูตรหนึ่ง ซึ่งผู้สอบผ่านมีจำนวนมากทีเดียว ผนวกกับความคิดที่ว่า มีบางคนที่เรียนจบโดยไม่ได้ทำวิทยานิพนธ์ด้วยตนเอง 09.43/05.03.2557



ความเห็น (2)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
dejavu monmon
เขียนเมื่อ

ใหญ่แค่ไหนสุดท้ายก็เล็ก...การทดลอง ให้ซื้อโทรทัศน์เครื่องใหญ่สุดมานั่งดูสักหนึ่งปี แล้วจะพบว่า ความใหญ่ดังกล่าวจะกลายเป็นความเล็ก...เหตุที่โทรทัศน์ใหญ่กลายเป็นเครื่องเล็กได้ เพราะเราไม่เคยพอใจกับสิ่งที่มีและเป็น...แนวคิดนี้ใช้กับการแสวงหาความยิ่งใหญ่ของบางคนได้ เพราะสุดท้ายความยิ่งใหญ่จะเล็กลง..ความคิดนี้เกิดขึ้นขณะนอนดูหนังช่องสนุกจากทีวี ๑๙ นิ้ว 28.02.56-08.50 น.



ความเห็น (2)

เมื่อใจไม่พออะไรก็ยังเล็กอยู่ใช่เลยครับ

ตอนเป็นเด็กตู้กับข้าว ตู้เสื้อผ้า มีขนาดใหญ่มากๆเวลาจะเปิดต้องเขย่งเท้าจึงจะจับที่เปิดถึง…พอโตขึ้นกลับไปเห็นยังนึกขำ…ไม่ได้ใหญ่โตมากมายเลย

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
dejavu monmon
เขียนเมื่อ

คนไทยน่าจะเก่งเรื่องธุรกิจ เพราะคนไทยชอบซื้อหวย 08.00-27.02.2556



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท