อนุทิน 171875


dejavu monmon
เขียนเมื่อ

สิ่งที่พบ- ทราบมาว่า ผู้จะจบปริญญาตรีต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษ-เห็นเอกสารทางราชการผสมระหว่าง ภาษาไทยกับภาษาอังกฤษในหน่วยงานราชการ-ได้ยินคนในหน่วยงานวิจัยของประเทศพูดภาษาไทยที่แตกต่าง เช่น “เราเน้นส์สสส”-ภาษาคือเครื่องมือสื่อสาร

สิ่งที่คิด-ไม่ได้ปฏิเสธภาษาอังกฤษในฐานะเครื่องมือในการสื่อสารกลางและเป็นเครื่องมือสำคัญในการเข้าถึงความรู้ที่กว้างขึ้น แต่การให้นักศึกษาเรียนหลักสูตรภาษาไทยแล้วสอบผ่านภาษาอังกฤษ ดูกระไรอยู่ -เคยชินภาษาไทยและเลขไทยในหนังสือราชการ/ทางการ ของหน่วยงานราชการ แต่บางหน่วยงาน มีผู้ผ่านระบบการเรียนและชำนาญในภาษาอังกฤษ ขนาดที่เข้าใจลึกซึ้งในภาษาอังกฤษอย่างอัตโนมัติ แต่ปัญหาคือ การไม่สามารถแปลภาษาอังกฤษให้เป็นความเข้าใจด้วยภาษาไทยได้ จึงใช้ศัพท์ภาษาอังฤษคำ ภาษาไทยคำ โดยส่วนตัว ไม่ได้ยึดติดว่าภาษาดีหรือภาษาอังกฤษดี แต่เข้าใจว่า ถ้าตกลงว่าเราจะใช้ภาษาอะไรเป็นภาษาทางการ เราก็ควรจะใช้ภาษานั้น เฉพาะภาษาเดียวก็สร้างข้อกังขาให้กับผู้อ่านในระดับหนึ่งแล้ว เพราะบางคำเป็นคำโบราณที่ไม่คุ้นชินกับการเรียนรู้ในปัจจุบันอีก อย่างไรก็ตาม คิดว่า การใช้ภาษาไทยคำหนึ่ง และภาษาอังกฤษคำหนึ่ง ต่อไปก็คงชินกันไปเอง -การนำรูปแบบหนึ่งมาใช้กับอีกรูปแบบหนึ่งอาจจะเรียกว่าทักษะ /บูรณาการ ฯลฯ แต่ถ้าไม่แยกแยะระหว่างสองสิ่งที่มีที่ไปที่มาต่างกัน ก็จะทำให้ปะปนกันมั่ว ยังคงคิดเหมือนกับประเด็นก่อน แม้จะไม่เห็นด้วยแต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธการเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าการเปลี่ยนแปลงมีหลักการก่อนการเปลี่ยนแปลงก็จะดีไม่น้อย-ภาษาคือเครื่องมือสื่อสาร ไม่ใช่ตัวกำหนดว่าใครจะเป็นอะไร การเลือกใช้ภาษาเป็นรสนิยม บางคนชอบภาษาญี่ปุ่น บางคนชอบภาษาจีน แต่บางคนชอบภาษาโบราณ-การสื่อสารด้วยหัวใจอาจทำความเข้าใจระหว่างกันได้ดีกว่าภาษาสัญลักษณ์



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท