ดอกไม้


วราภรณ์
เขียนเมื่อ

ค่ำนี้ฉันไปสอนเด็กวัดที่โรงเรียนสัมมาสิกขาปฐมอโศก

หยูดไปสามสัปดาห์ให้เด็กกลับบ้านเทศกาลวันแม่

กลับมาเรียนอีกสามสัปดาห์หยุดเทศกาลกินเจ
วันนี้เร่งสอนให้ทัน อัดแน่นด้วยเนื้อหา...

เหนื่อยแต่ก็สนุก สายลมที่นี่พัดเย็นใจ ไร้กลิ่นอายแห่งมารยา
ขอบคุณเด็ก ๆ ที่ทำให้ปณิธานที่ตั้งไว้เป็นจริง


ธรรมทิพย์
๒ กันยายน ๒๕๕๗

5
0
วราภรณ์
เขียนเมื่อ

เจ็บไหม ?

วัยรุ่นยุคใหม่........คลั่งไคล้เกาหลี
ญี่ปุ่นดูดี .............ติดตามดั้นด้น
อาหารการกิน.......ศาสตร์ศิลป์สืบค้น
รากเหง้าแห่งตน...ไม่รู้ที่มา

ธรรมทิพย์
๒ กันยายน ๒๕๕๗

4
0
ธิ
เขียนเมื่อ

เราจะมุ่งมั่นทำจนสำเร็จ  ไปด้วยกันพร้อมเพรียงอย่างมีความสุข  ไม่ทิ้งใครแม้แต่คนเดียว

 

11
6
วราภรณ์
เขียนเมื่อ
  • ครูในหมวดจัดไปเที่ยวพักผ่อนชายทะเล  เพลิดเพลินกับอาหารทะเลที่ชื่นชอบ
    ถามฉันว่าจะไปไหม ? ฉันปฏิเสธว่าไม่ไปเพราะอึดอัดกับการปิ้งย่างเนื้อเพื่อน
    อย่างสนุกสนานเอร็ดอร่อย....ฉันได้แต่มองด้วยความรู้สึกหดหู่
  • ฉันแปลกไหมที่คิดต่าง  และเห็นต่างจากคนส่วนใหญ่
    "การไม่เบียดเบียนกันเป็นสุขในโลก"
6
5
ใบบุญ
เขียนเมื่อ

๒ กันยายน ๒๕๕๗

  • เช้าวันนี้ นึกว่าฝนจะตกทั้งวัน เพราะเมื่อคืนฝนตกทั้งคืน ถือเป็นอีกวันที่ฝนตกปริมาณน้ำมากพอสมควร นอกจากนี้เช้ามา ยังมีละอองฝนโปรยปราย แต่ก็ยังดีที่พอจะมีแดดออกให้ได้ไออุ่นบ้างในช่วงเที่ยง 
  • วันนี้ แม่ยังคงอยากกินโอเลี้ยงเช่นเดิมเหมือนทุกๆวัน ถึงแม้ว่าอากาศจะเย็น 
  • ช่วงนี้ กำลังอยู่ระหว่างพยายามหาอะไรมาจูงใจให้แม่ไปดื่มเครื่องดื่มอย่างอื่นที่น่าจะมีประโยชน์มากกว่า โอเลี้ยง เนื่องจากแม่เป็นผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ซึ่งจะมีบางคืนที่นอนไม่หลับ ต้องกินยาช่วยในการนอนหลับก่อนนอน ซึ่งการนอนไม่หลับจะมีผลให้อารมณ์ไม่ดี คุณหมอแนะนำให้พยายามเลี่ยง น้ำชา กาแฟ แต่ท่านชอบทั้ง น้ำชา กาแฟ เลยค่ะ 
9
4
คุณมะเดื่อ
เขียนเมื่อ


โหล...เทส...! .... เรียนมิตรรักแฟนเพลงที่คิดถึงทุกคน... คุณมะเดื่อกลับมาแล้วจ้าาา

พร้อมกับนำบุญมาฝากทุกคน  มารับบุญกันด้วยนะจ๊ะ.....สาธุ  !  แล้วติดตามบันทึก

อิืมบุญพร้อมกับภาพสวย ๆ ในโอกาสต่อไปนะจ๊ะ  ...  คืนนี้...ดึกแล้ว  และยังง่วงไม่

หายเลยจ้ะ  ฝันดี  ราตรีสวัสดิ์นะจ๊ะ....!

10
5
ชยพร แอคะรัจน์
เขียนเมื่อ

บทที่ 5  การเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกยางพารา

สภาพพื้นที่เดิมที่จะใช้สำหรับปลูกในแต่ละท้องที่แต่ละแห่งจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ในการเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกจึงสามารถทำได้หลายวิธี ในกรณีที่เป็นสวนยางเก่า ป่า หรือมีไม้อื่นขึ้นอยู่ จะต้องโค่นล้มไม้เหล่านี้ออกเสียก่อน การโค่นอาจทำโดยใช้แรงคน เลื่อย ใช้ขวานฟันหรือใช้เลื่อยยนต์ก็ได้ โดยตัดให้เหลือตอสูงจากพื้นดินประมาณ 50-60 เซ็นติเมตร จากนั้นจะต้องทำการฆ่าตอโดยใช้ยาฆ่าตอ 245-T 1 ส่วน ผสมน้ำมันโซล่า 16 ส่วน ทาตอในขณะที่ยังสดอยู่ จะทำให้ตอตายและผุสลายเร็วขึ้น หรืออาจใช้รถแทรกเตอร์ไถต้นไม้ทั้งหมดเลยก็ได้ วิธีนี้จะถอนรากถอนโคนออกได้หมด แต่มีข้อเสียบางประการคือ การสูญเสียหน้าดินมาก

หลังจากโค่นยางเก่าหรือต้นไม้อื่นลงหมดแล้ว ต้องเก็บไม้ใหญ่ออก จากนั้นเก็บเศษไม้ต่าง ๆ รวมกันไว้เป็นกองเรียงเป็นแนวตามพื้นที่ ตามให้แห้งทำแนวกันไฟ แล้วเผาเศษไม้เหล่านั้นหลังจากเผาเสร็จควรเก็บปรนที่ยังเผาไหม้ไม่หมดรวมกันเผาอีกครั้ง

เมื่อเผาปรนเสร็จเรียบร้อยทำการเตรียมพื้นที่โดยไถ 2 ครั้ง พรวน 1 ครั้ง ส่วนในพื้นที่ที่ยังมีตอยางเก่าหรือตอไม้อื่นอยู่ อาจเตรียมดินลำบากหน่อย

แต่ถ้าในกรณีที่เป็นพื้นที่ที่มีความลาดเทมาก เช่นตามควรหรือเนินจะต้องทำขึ้นบันไดหรือต้านดินเพื่อสกัดกั้นไม่ให้น้ำฝนชะล้างเอาดินไหลตามน้ำไปหมด ขั้นบันไดอาจทำเฉพาะต้นหรือยาวเป็นแนวเดียวกัน อ้อมเป็นวงรอบไปตามไหลควรหรือเนินก็ได้ โดยให้ระดับขนานกับพื้นดิน ความกว้างของขั้นบันไดอย่างน้อยที่สุดควรเป็น 1.5 เมตร แต่ละขั้นให้ตัดดินลึกและเอียงเข้าไปในทางเป็นเนินดิน ตรงขอบด้านนอกทำเป็นคันดินสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร กว้าง 60-70 เซ็นติเมตร ระยะห่างระหว่างขั้นบันไดอยู่ระหว่าง 8-10 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความลาดชันของควรหรือเนิน ถ้าชันมากระยะระหว่างขั้นบันไดก็ควรจะห่างออก 

ระยะปลูก และการวางแนวปลูก

การกำหนดระยะปลูกและการวางแนวปลูกจะต้องพิจารณาถึงสิ่งต่าง ๆ เช่นพันธุ์ยางที่ใช้ปลูก สภาพพื้นที่เป็นต้น

สำหรับระยะปลูกในที่ราบ จากการทดลองค้นคว้าพบว่าต้นยางจะเจริญเติบโตได้ดีที่สุดต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 20 ตารางเมตรต่อ 1 ต้น สำหรับการแนะนำเจ้าของสวนในเรื่องระยะปลูกจึงต้องคำนึงถึงเรื่องพื้นที่ที่จะให้ต้นยางดังกล่าวเป็นหลัก ส่วนจะใช้ระยะเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับว่าจะปลูกพืชแซมระหว่างแถวยางหรือไม่

การใช้ระยะระหว่างแถวกว้าง วัชพืชจะมีพื้นที่ในการเจริญเติบโตมากเช่นเดียวกัน ถ้าใช้ระยะระหว่างแถวแคบเกินไปหรือมีระยะน้อยกว่า 2.5 เมตร ต้นยางจะเบียดเสียดกันแย่งธาตุอาหารกันและจะชะลูดขึ้นไป เจริญเติบโตทางด้านข้างน้อย ในเรื่องนี้ทางสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางได้กำหนดระยะปลูกยางในพื้นที่ราบไว้ดังนี้

ระยะปลูกยาง (เมตร) จำนวน (ต้นต่อไร่) หมายเหตุ
3x7 76 ปลูกพืชแซม
2.5x8 76 ปลูกพืชแซม
3x8 67 ปลูกพืชแซม
3.5x7 67 ปลูกพืชแซม
4.6 67 ไม่ปลูกพืชแซม

ส่วนการกำหนดแถวหรือการจัดวางแนวปลูกเพื่อให้ได้สวนยางที่มีลักษณะสวยงามเป็รระเบียบในการวางแผนจัดสร้าง ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. กำหนดแถวหลัก การกำหนดแถวหลักควรจะวางขวางทิศทางการไหลของน้ำ เพื่อลดการชะล้างหน้าดิน การกำหนดแถวหลักจะต้องให้ห่างจากแนวสวนยางเก่าไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร และไม่ควรกำหนดแถวหลักไปตามแนวเดียวกับสวนยางเก่าเนื่องจากต้นยางที่ปลูกใหม่จะถูกแย่งอาหารและได้รับแสงไม่เพียงพอ

2. จัดเล็งแนวการทำแถวหลัก เมื่อได้กำหนดแถวหลักว่าจะใช้ในแถวใดแล้วก็จะวัดระยะจากเขตสวนด้านที่จะเริ่มทำแถวแรกเข้าไปในแนวตั้งฉากใช้ระยะห่าง

(ที่มา : www .natres .psu .ac .th /Department/PlantScience/510-211/.../rubber .doc)

7
0
ชยพร แอคะรัจน์
เขียนเมื่อ

ใบให้คะแนน การสอบภาคปฏิบัติ

วันที่สอบ .......................................................................

ชื่อผู้เข้าสอบ............................................................................................................

ตำแหน่งที่สมัครเข้าสอบ ...........................................................................................

หัวข้อ ไม่ผ่าน 1 อ่อน 2 พอใช้ 3 ดี 4 ดีมาก 5
การแต่งกาย
บุคลิก ลักษณะ
การรักษาเวลา
ความถูกต้อง เหมาะสม ของเนื้อหา วิชาการ
การปฏิบัติ

อื่น ๆ (ถ้ามี) ...............................................................................................................

.................................................................................................................................

ลงชื่อ...................................................................................... กรรมการ ผู้ให้คะแนน

(........................................................................................)

6
0
ชยพร แอคะรัจน์
เขียนเมื่อ

วิชาการผลิตยางพารา 1 (03-160-105) 1-4-3

1. สภาวะการปลูกยางพาราของประเทศไทย
2. ลักษณะทางพฤษศาสตร์
3. พันธุ์ และการขยายพันธุ์
--- สอบกลางภาค
4. วัสดุปลูก และการเตรียมดิน
5. การเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกยางพารา
--- สอบปลายภาค

บทที่ 1 บทที่ 2 บทที่ 3 บทที่ 4 บทที่ 5

6
1
prayat duangmala
เขียนเมื่อ

วันนี้เช้าไหว้พระสวดมนต์เสร็จก็ทำงานบ้าน..และจ้างชายหนุ่มและวัยกลางคนที่ว่างงาน ช่วยตัดหญ้า ที่สวนยูคาฯ และปลูกต้นสักเสริมลงในแปลก อีกยี่สิบกว่าต้นแซม เอาไว้อีกสักห้าสิบปีข้างหน้าไว้ให้ลูกหลาน.. ก็ไม่รู้ว่าจะเหลือหรือเปล่า..แต่ก็ถือว่าเพิ่มต้นไม้ให้ประเทศมากขึ้นอีกยี่สิบขึ้นไป..

6
1
ชยพร แอคะรัจน์
เขียนเมื่อ

หลักและวิธีส่งเสริมการเกษตร (Principle and Methods of Agriculture Extension 03-020-203 3-0-3) 1. ความหมายความสำคัญของการส่งเสริมการเกษตร 2. หลักการส่งเสริมการเกษตร 3. วิธีการส่งเสริมการเกษตร 4. การวางแผนดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร 5. กระบวนการเรียนรู้ของเกษตรกร 6. การยอมรับของเกษตรกร 7. การเขียนโครงการและการประเมินผล 

------------------------ 

บทที่ 1.ความหมายความสำคัญ -1.1.ส่งเสริมการเกษตร หมายถึง การนำความรู้ทางการเกษตร ไปถ่ายทอดให้แก่เกษตรกร โดยกระบวนการศึกษานอกโรงเรียน -1.2.ความสำคัญของการส่งเสริมการเกษตร 1.)ทำให้เกิดการพัฒนาการเกษตรของประเทศ 2.)ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรมีคุณภาพดีขึ้น 3.)ทำให้องค์ความรู้ต่างๆได้ถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ 4.)ทำให้เกิดการประสานงานกันในหลายหมู่คณะ ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน -1.3.หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1.)กรมส่งเสริมการเกษตร 2.)กรมวิชาการเกษตร 3.)หน่วยงานที่มีองค์ความรู้ต่าง ๆ ในภาครัฐและเอกชน 4.)หน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้อง 

บทที่ 2. หลักการส่งเสริมการเกษตร -2.1.ต้องเป็นเรื่องที่ตรงกับความต้องการของเกษตรกร -2.2.ต้องสอดคล้องกับแผนการพัฒนาประเทศ -2.3.เกษตรกรต้องมีความสะดวกในการมารับการส่งเสริม -2.4.ต้องง่ายต่อการเรียนรู้ของเกษตรกร -2.5.เกษตรกรต้องมีส่วนร่วมมากที่สุด -2.6.ต้องใช้ทรัพยากรต่าง ๆ อย่างคุ้มค่าที่สุด -2.7.ต้องมีการประเมินผลและสรุปการส่งเสริม -2.8.ต้องมีการวางแผนการพัฒนาต่อไป 

บทที่ 3. วิธีส่งเสริมการเกษตร -3.1. การส่งเสริมการเกษตร มี 5 วิธีการ ได้แก่ 1.การส่งเสริมแบบกลุ่ม 2.การส่งเสริมแบบตัวต่อตัว 3.การส่งเสริมแบบสื่อมวลชน 4.การส่งเสริมแบบแปลงสาธิต 5.การส่งเสริมแบบทัศนศึกษา -3.2. วิธีการที่เหมาะสมที่สุด จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ 1.งบประมาณ 2.เวลา 3.สถานที่ 4.หลักสูตร 5.จำนวนเกษตรกร 6.ความพร้อมของวิทยากร 7.วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการส่งเสริม 

บทที่ 4. การวางแผนส่งเสริมการเกษตร -4.1.การสำรวจความต้องการของเกษตร -4.2.การกำหนดเวลาและสถานที่ -4.3.การจัดหาบุคลากรและวัสดุอุปกรณ์ -4.4.การเขียนโครงการ -4.5.การขออนุมัติโครงการ -4.6.การดำเนินการตามโครงการ -4.7.การประเมินผลและสรุปโครงการ -4.8.การวางแผนเพื่อการพัฒนาในขั้นตอนต่อไป 

บทที่ 5. การเรียนรู้ของเกษตรกร -5.1.การรับรู้ - เกษตรกรจะรับรู้ได้มากที่สุด ดีที่สุด เมื่อเกิดการรับรู้ จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้ครบถ้วนสมบูรณ์ -5.2.การคงทนของความรู้ - การทวนย้ำ การเยี่ยมเยือน การติดตาม ประเมินผลอยู่อย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ ความรู้ที่ได้รับไปนั้น มีความคงทนได้นาน -5.3.การยอมรับของเกษตรกร - เกษตรกรจะยอมรับการส่งเสริมเมื่อ 1.)เขาสามารถปฏิบัติได้จริง 2.)การลงทุนไม่สูงเกินไป 3.)ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า 4.)ใช้เวลาไม่นานเกินไปในการได้รับผลตอบแทนคืน 5.)มีความยั่งยืน 6.)อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 7.)ไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียม ประเพณี และศีลธรรม 

บทที่ 6. การใช้สื่อประกอบการส่งเสริม -6.1.ประเภทของสื่อ 1.)สื่อที่ให้เสียง 2.)สื่อที่ให้ภาพ ก.)ภาพนิ่ง ข.)ภาพเคลื่อนไหว 3.)สื่อที่เป็นวัตถุ ก.)วัตถุ ข.)บุคคล -6.2.หลักการใช้สื่อแต่ละชนิด 1.)ต้องเห็น-ได้ยิน สัมผัส ได้ชัดเจน 2.)ต้องช่วยลดเวลาในการส่งเสริมได้ 3.)ต้องเพิ่มความรู้ความเข้าใจ 4.)ต้องสะดวกในการใช้ 

บทที่ 7. การเขียนโครงการ -7.1.ส่วนประกอบของโครงการ 1.)ชื่อโครงการ 2.)หลักการและเหตุผล 3.)ผู้รับผิดชอบโครงการ - ที่ปรึกษาโครงการ - หัวหน้าโครงการ - ผู้ร่วมโครงการ 4.)วัตถุประสงค์ 5.)สถานที่ดำเนินงาน 6.)แผนการดำเนินงาน กิจกรรม วันที่ปฏิบัติ 7.)งบประมาณ 8.)การประเมินผลการดำเนินงาน 9.)ผลที่คาดว่าจะได้รับ 10.)ปัญหาและอุปสรรค 11.)ลงชื่อ ผู้เสนอโครงการ -7.2.หลักการเขียนโครงการ 1.)มีความเป็นไปได้สูง 2.)ใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างคุ้มค่า 3.)มีที่ปรึกษาที่ดี 4.)มีผู้ร่วมงานที่ดี 5.)มีการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้หลากหลาย 6.)สอดคล้องกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมของเกษตรในท้องถิ่น 7.)สามารถติดตามและประเมินผลได้ชัดเจน

5
0
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท