อนุทิน 137118


ชยพร แอคะรัจน์
เขียนเมื่อ

บทที่ 5  การเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกยางพารา

สภาพพื้นที่เดิมที่จะใช้สำหรับปลูกในแต่ละท้องที่แต่ละแห่งจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ในการเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกจึงสามารถทำได้หลายวิธี ในกรณีที่เป็นสวนยางเก่า ป่า หรือมีไม้อื่นขึ้นอยู่ จะต้องโค่นล้มไม้เหล่านี้ออกเสียก่อน การโค่นอาจทำโดยใช้แรงคน เลื่อย ใช้ขวานฟันหรือใช้เลื่อยยนต์ก็ได้ โดยตัดให้เหลือตอสูงจากพื้นดินประมาณ 50-60 เซ็นติเมตร จากนั้นจะต้องทำการฆ่าตอโดยใช้ยาฆ่าตอ 245-T 1 ส่วน ผสมน้ำมันโซล่า 16 ส่วน ทาตอในขณะที่ยังสดอยู่ จะทำให้ตอตายและผุสลายเร็วขึ้น หรืออาจใช้รถแทรกเตอร์ไถต้นไม้ทั้งหมดเลยก็ได้ วิธีนี้จะถอนรากถอนโคนออกได้หมด แต่มีข้อเสียบางประการคือ การสูญเสียหน้าดินมาก

หลังจากโค่นยางเก่าหรือต้นไม้อื่นลงหมดแล้ว ต้องเก็บไม้ใหญ่ออก จากนั้นเก็บเศษไม้ต่าง ๆ รวมกันไว้เป็นกองเรียงเป็นแนวตามพื้นที่ ตามให้แห้งทำแนวกันไฟ แล้วเผาเศษไม้เหล่านั้นหลังจากเผาเสร็จควรเก็บปรนที่ยังเผาไหม้ไม่หมดรวมกันเผาอีกครั้ง

เมื่อเผาปรนเสร็จเรียบร้อยทำการเตรียมพื้นที่โดยไถ 2 ครั้ง พรวน 1 ครั้ง ส่วนในพื้นที่ที่ยังมีตอยางเก่าหรือตอไม้อื่นอยู่ อาจเตรียมดินลำบากหน่อย

แต่ถ้าในกรณีที่เป็นพื้นที่ที่มีความลาดเทมาก เช่นตามควรหรือเนินจะต้องทำขึ้นบันไดหรือต้านดินเพื่อสกัดกั้นไม่ให้น้ำฝนชะล้างเอาดินไหลตามน้ำไปหมด ขั้นบันไดอาจทำเฉพาะต้นหรือยาวเป็นแนวเดียวกัน อ้อมเป็นวงรอบไปตามไหลควรหรือเนินก็ได้ โดยให้ระดับขนานกับพื้นดิน ความกว้างของขั้นบันไดอย่างน้อยที่สุดควรเป็น 1.5 เมตร แต่ละขั้นให้ตัดดินลึกและเอียงเข้าไปในทางเป็นเนินดิน ตรงขอบด้านนอกทำเป็นคันดินสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร กว้าง 60-70 เซ็นติเมตร ระยะห่างระหว่างขั้นบันไดอยู่ระหว่าง 8-10 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความลาดชันของควรหรือเนิน ถ้าชันมากระยะระหว่างขั้นบันไดก็ควรจะห่างออก 

ระยะปลูก และการวางแนวปลูก

การกำหนดระยะปลูกและการวางแนวปลูกจะต้องพิจารณาถึงสิ่งต่าง ๆ เช่นพันธุ์ยางที่ใช้ปลูก สภาพพื้นที่เป็นต้น

สำหรับระยะปลูกในที่ราบ จากการทดลองค้นคว้าพบว่าต้นยางจะเจริญเติบโตได้ดีที่สุดต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 20 ตารางเมตรต่อ 1 ต้น สำหรับการแนะนำเจ้าของสวนในเรื่องระยะปลูกจึงต้องคำนึงถึงเรื่องพื้นที่ที่จะให้ต้นยางดังกล่าวเป็นหลัก ส่วนจะใช้ระยะเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับว่าจะปลูกพืชแซมระหว่างแถวยางหรือไม่

การใช้ระยะระหว่างแถวกว้าง วัชพืชจะมีพื้นที่ในการเจริญเติบโตมากเช่นเดียวกัน ถ้าใช้ระยะระหว่างแถวแคบเกินไปหรือมีระยะน้อยกว่า 2.5 เมตร ต้นยางจะเบียดเสียดกันแย่งธาตุอาหารกันและจะชะลูดขึ้นไป เจริญเติบโตทางด้านข้างน้อย ในเรื่องนี้ทางสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางได้กำหนดระยะปลูกยางในพื้นที่ราบไว้ดังนี้

ระยะปลูกยาง (เมตร) จำนวน (ต้นต่อไร่) หมายเหตุ
3x7 76 ปลูกพืชแซม
2.5x8 76 ปลูกพืชแซม
3x8 67 ปลูกพืชแซม
3.5x7 67 ปลูกพืชแซม
4.6 67 ไม่ปลูกพืชแซม

ส่วนการกำหนดแถวหรือการจัดวางแนวปลูกเพื่อให้ได้สวนยางที่มีลักษณะสวยงามเป็รระเบียบในการวางแผนจัดสร้าง ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. กำหนดแถวหลัก การกำหนดแถวหลักควรจะวางขวางทิศทางการไหลของน้ำ เพื่อลดการชะล้างหน้าดิน การกำหนดแถวหลักจะต้องให้ห่างจากแนวสวนยางเก่าไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร และไม่ควรกำหนดแถวหลักไปตามแนวเดียวกับสวนยางเก่าเนื่องจากต้นยางที่ปลูกใหม่จะถูกแย่งอาหารและได้รับแสงไม่เพียงพอ

2. จัดเล็งแนวการทำแถวหลัก เมื่อได้กำหนดแถวหลักว่าจะใช้ในแถวใดแล้วก็จะวัดระยะจากเขตสวนด้านที่จะเริ่มทำแถวแรกเข้าไปในแนวตั้งฉากใช้ระยะห่าง

(ที่มา : www .natres .psu .ac .th /Department/PlantScience/510-211/.../rubber .doc)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท