อนุทิน 137252


ชยพร แอคะรัจน์
เขียนเมื่อ

หลักและวิธีส่งเสริมการเกษตร (Principle and Methods of Agriculture Extension 03-020-203 3-0-3) 1. ความหมายความสำคัญของการส่งเสริมการเกษตร 2. หลักการส่งเสริมการเกษตร 3. วิธีการส่งเสริมการเกษตร 4. การวางแผนดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร 5. กระบวนการเรียนรู้ของเกษตรกร 6. การยอมรับของเกษตรกร 7. การเขียนโครงการและการประเมินผล 

------------------------ 

บทที่ 1.ความหมายความสำคัญ -1.1.ส่งเสริมการเกษตร หมายถึง การนำความรู้ทางการเกษตร ไปถ่ายทอดให้แก่เกษตรกร โดยกระบวนการศึกษานอกโรงเรียน -1.2.ความสำคัญของการส่งเสริมการเกษตร 1.)ทำให้เกิดการพัฒนาการเกษตรของประเทศ 2.)ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรมีคุณภาพดีขึ้น 3.)ทำให้องค์ความรู้ต่างๆได้ถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ 4.)ทำให้เกิดการประสานงานกันในหลายหมู่คณะ ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน -1.3.หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1.)กรมส่งเสริมการเกษตร 2.)กรมวิชาการเกษตร 3.)หน่วยงานที่มีองค์ความรู้ต่าง ๆ ในภาครัฐและเอกชน 4.)หน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้อง 

บทที่ 2. หลักการส่งเสริมการเกษตร -2.1.ต้องเป็นเรื่องที่ตรงกับความต้องการของเกษตรกร -2.2.ต้องสอดคล้องกับแผนการพัฒนาประเทศ -2.3.เกษตรกรต้องมีความสะดวกในการมารับการส่งเสริม -2.4.ต้องง่ายต่อการเรียนรู้ของเกษตรกร -2.5.เกษตรกรต้องมีส่วนร่วมมากที่สุด -2.6.ต้องใช้ทรัพยากรต่าง ๆ อย่างคุ้มค่าที่สุด -2.7.ต้องมีการประเมินผลและสรุปการส่งเสริม -2.8.ต้องมีการวางแผนการพัฒนาต่อไป 

บทที่ 3. วิธีส่งเสริมการเกษตร -3.1. การส่งเสริมการเกษตร มี 5 วิธีการ ได้แก่ 1.การส่งเสริมแบบกลุ่ม 2.การส่งเสริมแบบตัวต่อตัว 3.การส่งเสริมแบบสื่อมวลชน 4.การส่งเสริมแบบแปลงสาธิต 5.การส่งเสริมแบบทัศนศึกษา -3.2. วิธีการที่เหมาะสมที่สุด จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ 1.งบประมาณ 2.เวลา 3.สถานที่ 4.หลักสูตร 5.จำนวนเกษตรกร 6.ความพร้อมของวิทยากร 7.วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในการส่งเสริม 

บทที่ 4. การวางแผนส่งเสริมการเกษตร -4.1.การสำรวจความต้องการของเกษตร -4.2.การกำหนดเวลาและสถานที่ -4.3.การจัดหาบุคลากรและวัสดุอุปกรณ์ -4.4.การเขียนโครงการ -4.5.การขออนุมัติโครงการ -4.6.การดำเนินการตามโครงการ -4.7.การประเมินผลและสรุปโครงการ -4.8.การวางแผนเพื่อการพัฒนาในขั้นตอนต่อไป 

บทที่ 5. การเรียนรู้ของเกษตรกร -5.1.การรับรู้ - เกษตรกรจะรับรู้ได้มากที่สุด ดีที่สุด เมื่อเกิดการรับรู้ จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้ครบถ้วนสมบูรณ์ -5.2.การคงทนของความรู้ - การทวนย้ำ การเยี่ยมเยือน การติดตาม ประเมินผลอยู่อย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ ความรู้ที่ได้รับไปนั้น มีความคงทนได้นาน -5.3.การยอมรับของเกษตรกร - เกษตรกรจะยอมรับการส่งเสริมเมื่อ 1.)เขาสามารถปฏิบัติได้จริง 2.)การลงทุนไม่สูงเกินไป 3.)ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า 4.)ใช้เวลาไม่นานเกินไปในการได้รับผลตอบแทนคืน 5.)มีความยั่งยืน 6.)อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 7.)ไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียม ประเพณี และศีลธรรม 

บทที่ 6. การใช้สื่อประกอบการส่งเสริม -6.1.ประเภทของสื่อ 1.)สื่อที่ให้เสียง 2.)สื่อที่ให้ภาพ ก.)ภาพนิ่ง ข.)ภาพเคลื่อนไหว 3.)สื่อที่เป็นวัตถุ ก.)วัตถุ ข.)บุคคล -6.2.หลักการใช้สื่อแต่ละชนิด 1.)ต้องเห็น-ได้ยิน สัมผัส ได้ชัดเจน 2.)ต้องช่วยลดเวลาในการส่งเสริมได้ 3.)ต้องเพิ่มความรู้ความเข้าใจ 4.)ต้องสะดวกในการใช้ 

บทที่ 7. การเขียนโครงการ -7.1.ส่วนประกอบของโครงการ 1.)ชื่อโครงการ 2.)หลักการและเหตุผล 3.)ผู้รับผิดชอบโครงการ - ที่ปรึกษาโครงการ - หัวหน้าโครงการ - ผู้ร่วมโครงการ 4.)วัตถุประสงค์ 5.)สถานที่ดำเนินงาน 6.)แผนการดำเนินงาน กิจกรรม วันที่ปฏิบัติ 7.)งบประมาณ 8.)การประเมินผลการดำเนินงาน 9.)ผลที่คาดว่าจะได้รับ 10.)ปัญหาและอุปสรรค 11.)ลงชื่อ ผู้เสนอโครงการ -7.2.หลักการเขียนโครงการ 1.)มีความเป็นไปได้สูง 2.)ใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างคุ้มค่า 3.)มีที่ปรึกษาที่ดี 4.)มีผู้ร่วมงานที่ดี 5.)มีการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้หลากหลาย 6.)สอดคล้องกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมของเกษตรในท้องถิ่น 7.)สามารถติดตามและประเมินผลได้ชัดเจน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท