จิตวิญญาณคนไข้..ประเมิน...อย่างไรดี


เมื่อหลายปีก่อน เมื่อเราเริ่มๆจะดำเนินการเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบอกให้ผู้เขียน"เชิญอาจารย์ท่านหนึ่งมาแชร์ประสบการณ์" 

เพราะเห็นว่า อาจารย์ท่านนั้น มี tacit knowledge ซึ่งผู้เขียนรับผิดชอบงาน KM อยู่ด้วย 

อาจารย์ท่านนี้ เป็นผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแล้ว 

ท่านมักจะเล่าเรื่องดีๆที่ท่านได้สะสมปฏิบัติมาตลอดชีวิตให้คุณหมอคุณพยาบาลฟังทุกวัน 

เมื่อผู้เขียนไปพบท่าน จึงเห็นว่า "นี่คือ จิตวิญญานของท่าน เป็นเรื่องที่ท่านอยากทำให้ลูกศิษย์ได้ดิบได้ดี ในฐานะครูบาอาจารย์ " 

ผู้เขียนจึงนำเอาประสบการณ์เหล่านี้ มาใช้เพื่อประเมินและพูดคุยกับคนไข้และญาติในหอผู้ป่วยหนัก 

ว่าท่านชอบอะไร เก่งและเชี่ยวชาญอะไร อยากถ่ายทอดอะไรให้คนรุ่นหลังบ้าง 

ผู้เขียนไม่เคยรู้มาก่อนว่า มี"แบบประเมินด้านจิตวิญญานด้วย" 

จนปัจจุบันก็ไม่ทราบว่ามี ไม่มีใครแนะนำ 

การทำงานกับผู้ป่วยระยะสุดท้ายของผู้เขียน มักจะทำด้วยใจ หรือ by heart (จำมาจากนักดนตรี บอกว่า by heart คือไม่มี โน้ตเพลง)

ซึ่งก็มักจะได้ผลหลายครั้ง อย่างเช่นว่า ขอซื้อเตียงที่นอนอยู่ว่าอาจจะมีเจ้าของ โดยการวางเหรียญบาทไว้ใต้ที่นอนคนไข้ 

บางคน บอกว่า ถ้าลูกหายดี จะให้ลูกบวช ซึ่งลูกก็หายกลับมาฟื้นตื่นดีทั้งๆที่นอนไม่ได้สติมาหลายวัน แถมเซ็นให้การยินยอมไม่ปั้มหัวใจแล้วด้วย 

นี่....ก็เป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างหนึ่ง 

ผู้เขียนมาทบทวนดูว่า จิตวิญญานของพวกเราส่วนใหญ่ มักจะออกแนวศาสนา และสิ่งที่มองไม่เห็น 

การที่ญาติทำอย่างนั้นเพราะเรา(พยาบาล) ชี้แนะด้วยหรือเปล่า 

เพราะวันดีคืนดี เราก็นิมนต์หลวงพ่อ มารับบิณฑบาตรบ้าง รับสังฆทานบ้าง รดน้ำมนต์บ้าง 

ตั้งศาลพระพรหม ทำศาลาพระประธาน ให้ญาติๆคนไข้ไปบ่นไปไหว้ 

โดยไม่ทราบได้เลยว่า คนไข้และญาติชอบด้วยหรือเปล่า 

แต่....คิดอีกที สิ่งเหล่านี้ ก็เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ 

ทำให้เรามั่นใจขึ้นได้มาก 

เวลาที่ผู้เขียน ผ่านพระประธาน ผ่านวัด ผ่านพระฉายาลักษณ์ ก็มักจะพนมมือไหว้และขอพรอยู่เสมอ

ทั้งๆทีคิดว่า นี่ไม่ใช่ จิตวิญญาน หรอกนะ  

ดังนั้น การประเมินจิตวิญญานของคนไข้ของผู้เขียน 

จึงเป็นการพูดคุย หรือซักประวัติ เสียมากกว่า 

ให้รู้ว่า กิจวัตร ของคนไข้ชอบทำอะไรบ้าง

หากอยากจะทำก็ไม่ได้ห้าม อยากจะสนับสนุน 

ให้เกิดความอิ่มเอมใจ ทั้งคนไข้และผู้ดูแลรวมถึงพยาบาลอย่างเราๆด้วย 

จิตวิญญาน บางครั้ง เรายังไม่รู้สึกเลยว่าทำการประเมินคนไข้เสียด้วยซ้ำ

คนไข้และญาติก็เล่าให้ฟังเอง 

ผู้เขียนจึงอยาก สรุปเองว่า 

การฟัง การดู การพูดคุย การสังเกต การใส่ใจดูแลใกล้ชิด 

เป็นเครื่องมือในการประเมินคนไข้ได้เป็นอย่างดี 

................

คำสำคัญ (Tags): #จิตวิญญาน#pal2know3
หมายเลขบันทึก: 575309เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2014 21:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 สิงหาคม 2014 21:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ที่บอกว่า "จิตวิญญาน บางครั้ง เรายังไม่รู้สึกเลยว่าทำการประเมินคนไข้เสียด้วยซ้ำ"

แต่มาจาก การฟัง การดู การพูดคุย การสังเกต การใส่ใจดูแลใกล้ชิด

ซึ่งเครื่องมือการประเมินเหล่านี้ เข้าใจว่าคงมีเทคนิคการเข้าไปปฎิสัมพันธ์ แล้วนำไปสู่การเข้าใจจิตวิญญาณของคนไข้ใช่มั้ยคะ อยากรู้จังค่ะว่าการประเมิน by heart ที่ pa_daeng เล่า ทำได้อย่างไรบ้าง จะได้แอบเก็บเทคนิคไปเล่าต่อในชุมชน Pal2know ^_^ 

ทีมงานขออนุญาติรวมบทความไว้ที่นี่ นะคะ

สวัสดีป้าแดง...

"การฟัง การดู การพูดคุย การสังเกต การใส่ใจดูแลใกล้ชิด

เป็นเครื่องมือในการประเมินคนไข้ได้เป็นอย่างดี"

คือจิตวิญญาณ ผู้ให้บริการ 

"การฟัง การดู การพูดคุย การสังเกต การใส่ใจดูแลใกล้ชิด

เป็นเครื่องมือในการประเมินคนไข้ได้เป็นอย่างดี "

เห็นด้วยมากครับ เข้าใจบริบทคนไข้มากที่สุดนับเป็นแบบประเมินที่ดีครับ

"ทุกๆคน..เกิดมา..มีกรรม..เป็นของตน"...จิตและกาย..สลายแยกออกจากกัน...ไม่มีใคร..ทำแทนกันได้..คือคำว่า"ตาย"...ซึ่ง..เป็นสัจจธรรม...(กรรม..คือ..ผลของการกระทำ)... 

รักเมตตาเผื่อแผ่รู้เขารู้เรา...ค้ำจุนโลก..ได้นะเจ้าคะ...(ยายธีแอบคิดตามประสา..น่ะอ้ะะะๆ)

การเข้าไปดูแลด้านร่างกาย การสัมผัสอย่างอ่อยโยน การถามสารทุกข์ของผู้ป่วยในแต่ละวันและให้เวลาผู้ป่วยและญาติโดยนั่งพูดคุยข้างเตียง ผู้ป่วยจะค่อยๆเล่าให้ฟังเองว่าต้องการให้เราทำอะไรให้และเขาจะต้องกลับไปทำอะไร

ถ้ามีแนวคำถามที่จะใช้ประเมินด้านจิตวิญญาณจะทำให้เราประเมินได้ตรงมากขึ้น

เปรียบเสมือนเกาให้ถูกที่คันค่ะ ป้าแดง

รักและเมตตาค้ำจุนโลกค่ะ

ป้าแดงครับ

การช่วยคนไข้ที่เป้นผู้ป่วยระยะสุดท้ายไม่มีหลักสูตรตายตัวเลยนะครับ

ลองอ่านอันนี้ของหมอสกล

ป้าแดงต้องชอบแน่ๆเลยครับ

https://www.gotoknow.org/posts/580117

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท